กรุงเทพโพลล์: “ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย…เพื่อประชาชนฐานราก”

ข่าวผลสำรวจ Monday June 26, 2017 08:10 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 64.3 เห็นด้วยว่าควรให้สวัสดิการเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย โดยร้อยละ 48.4 ระบุว่าโครงการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยจะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ ได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด และร้อยละ 39.6 ระบุว่าทำให้รัฐบาลสามารถการแก้ปัญหาได้ตรงจุดฐานราก

ทั้งนี้สวัสดิการที่ผู้ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยควรได้รับ คือการรักษาพยาบาลฟรี หรือมีส่วนลดค่ารักษาในรพ.เอกชนขณะที่ประชาชนทั้งประเทศไม่ว่าจนหรือรวยก็ควรได้สวัสดิการ ด้านการรักษาพยาบาลเช่นกัน

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย…เพื่อประชาชนฐานราก” โดยเก็บข้อมูลจาก ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,210 คน พบว่า

ความเห็นต่อโครงการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยที่เพิ่งผ่านไปว่าจะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ได้เพียงใด ประชาชนร้อยละ 51.6 ระบุว่าช่วยได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ ร้อยละ 48.4 ระบุว่าช่วยได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

ส่วนสวัสดิการจากภาครัฐที่ผู้ผ่านการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยควรได้รับมากที่สุด ประชาชนร้อยละ 24.4 ระบุว่า ควรรักษาพยาบาลฟรี หรือมีส่วนลดค่ารักษาในรพ.เอกชน รองลงมาร้อยละ 23.0 ระบุว่า ควรให้เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ และร้อยละ 18.3 ระบุว่า ควรจัดหางานสำหรับผู้ว่างงาน

ทั้งนี้เมื่อถามว่ารัฐควรให้สวัสดิการเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยหรือคนทั้งประเทศอย่างเสมอภาคกันประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 64.3 ระบุว่าควรให้สวัสดิการเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย ขณะที่ร้อยละ 35.7 ระบุว่าควรให้สวัสดิการกับคนทั้งประเทศเสมอภาคกัน

โดยสวัสดิการที่ภาครัฐควรมีให้กับประชาชนทั้งประเทศทั้งคนรวยและคนจน ประชาชนร้อยละ 43.4ระบุว่าสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล (รักษาฟรีคงบัตรทองคุณภาพการ รักษาพยาบาลเสมอภาคกัน) ร้อยละ 17.5 ระบุว่าด้านการลดค่าครองชีพได้แก่ลดราคาสินค้าจัดขายของถูกลด/ฟรีค่าน้ำ - ค่าไฟรถเมล์-รถไฟฟรีฯลฯ และร้อยละ 13.8 ระบุว่า ด้านการ อบรมวิชาชีพ/ สร้างอาชีพ

สำหรับโครงการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยจะส่งผลต่อการบริหารประเทศอย่างไรนั้น ประชาชนร้อยละ 39.6 ระบุว่าทำให้รัฐบาลสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดฐานราก รองลงมา ร้อยละ 26.1 ระบุว่าทำให้รัฐบาลได้ฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาประเทศ และร้อยละ 18.1 ระบุว่าทำให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณแผ่นดินสูงขึ้น

โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ผลจากการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยจะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนได้เพียงใด
ช่วยได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด                                                  ร้อยละ          48.4
(โดยแบ่งเป็น ช่วยได้ค่อนข้างมาก ร้อยละ 40.5 และช่วยได้มากที่สุดร้อยละ 7.9)

ช่วยได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด                                                  ร้อยละ          51.6
(โดยแบ่งเป็นช่วยได้ค่อนข้างน้อยร้อยละ 37.4 และช่วยได้น้อยที่สุดร้อยละ 14.2)

2.  ประชาชนที่ผ่านการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยควรได้รับสวัสดิการจากภาครัฐมากที่สุดคือ
รักษาพยาบาลฟรี /มีส่วนลดค่ารักษาในรพ.เอกชน                                    ร้อยละ          24.4
ให้เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ                                                    ร้อยละ          23.0
จัดหางานให้ผู้ที่ว่างงาน                                                       ร้อยละ          18.3
คูปองส่วนลดค่าน้ำค่าไฟค่าเดินทาง                                               ร้อยละ          11.1
ให้เงินทุนในการสร้างงานสร้างอาชีพ                                             ร้อยละ          10.7
การลดหย่อนดอกเบี้ยกู้ยืม                                                      ร้อยละ           4.6
จัดหาที่อยู่อาศัย/ซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยราคาพิเศษ                                       ร้อยละ           4.3
ส่วนลดเมื่อซื้อสิ้นค้าอุปโภคบริโภค                                                ร้อยละ           3.5

3. รัฐควรให้สวัสดิการเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยหรือคนทั้งประเทศเสมอภาคกัน
ควรให้สวัสดิการเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย                                            ร้อยละ          64.3
ควรให้สวัสดิการกับคนทั้งประเทศเสมอภาคกัน                                       ร้อยละ          35.7

4. สวัสดิการที่ภาครัฐควรมีให้กับประชาชนทั้งประเทศทั้งคนรวยและคนจน  มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
ด้านการรักษาพยาบาล อาทิ รักษาฟรี คงบัตรทอง คุณภาพการรักษาพยาบาลเสมอภาคกัน        ร้อยละ          43.4
ด้านการลดค่าครองชีพ ได้แก่ ลดราคาสินค้า จัดขายของถูก ลด/ฟรีค่าน้ำ - ค่าไฟ            ร้อยละ          17.5
รถเมล์-รถไฟฟรี ฯลฯ
ด้านการอบรมวิชาชีพ/ สร้างอาชีพ                                               ร้อยละ          13.8
ด้านการควบคุมราคาสินค้าเกษตร                                                ร้อยละ           8.0
ด้านการเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ                                                  ร้อยละ           5.4

5.โครงการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยจะส่งผลต่อการบริหารประเทศอย่างไร
ทำให้รัฐบาลสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดฐานราก                                      ร้อยละ          39.6
ทำให้รัฐบาลได้ฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาประเทศ                                      ร้อยละ          26.1
ทำให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณแผ่นดินสูงขึ้น                                         ร้อยละ          18.1
ทำให้รัฐบาลได้สร้างฐานคะแนนนิยม                                              ร้อยละ          16.2

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับนโยบายลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยของรัฐบาล ในประเด็นต่างๆ รวมถึงผลที่รัฐบาลได้รับข้อมูลจากการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปโดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ?3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)และ คำถามปลายเปิดที่ผู้ตอบตอบได้เองโดยอิสระ (Open ended)จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ ลงรหัสก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 19-21 มิถุนายน 2560

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 24 มิถุนายน 2560

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                          585      48.3
          หญิง                          625      51.7
          รวม                        1,210       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                  144      11.9
          31 ปี – 40 ปี                  259      21.4
          41 ปี – 50 ปี                  317      26.2
          51 ปี - 60 ปี                  301     24.89
          61 ปี ขึ้นไป                    189      15.6
          รวม                        1,210       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                 787        65
          ปริญญาตรี                      331      27.4
          สูงกว่าปริญญาตรี                  92       7.6
          รวม                        1,210       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                   156      12.9
          ลูกจ้างเอกชน                   255      21.1

ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 493 40.7

          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง           36         3
          ทำงานให้ครอบครัว                 1       0.1
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ       211      17.4
          นักเรียน/ นักศึกษา                25       2.1
          ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม       33       2.7
          รวม                        1,210       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ