ก้าวสู่ปีที่ 4 ในการบริหารประเทศของรัฐบาล คสช. ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 5.38 คะแนน จากเดิม 4.99 คะแนน โดยด้านการแก้ปัญหา ทุจริตคอร์รัปชั่นและด้านกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย เป็นด้านที่มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมากที่สุด
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความเชื่อมั่นประเทศไทย กับการก้าวสู่ปีที่ 4 ของ คสช.” โดยเก็บข้อมูลกับประชาช นจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,127 คน พบว่า
ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยเฉลี่ยในภาพรวม 5.38 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากผลสำรวจในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 0.39 คะแนน โดยมีความเชื่อมั่นด้านการเมืองมากที่สุด (5.67 คะแนน) รองลงมาคือด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (5.58 คะแนน) และด้านเศรษฐกิจ (4.89 คะแนน)
เมื่อแยกพิจารณาจากด้านที่ได้ความเชื่อมั่นมากที่สุดไปน้อยที่สุดพบว่า ความเชื่อมั่นด้านการเมืองในภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 5.67 คะแนน เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจครั้งก่อน 0.55 คะแนน (5.12 คะแนน) โดยตัวชี้วัดด้านการเมืองที่ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่นมากที่สุดคือ ด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น (5.92 คะแนน) ขณะที่ตัวชี้วันที่ได้คะแนนน้อยที่สุด คือ ด้านการปฏิรูปการเมืองและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย (5.43 คะแนน)
ส่วนความเชื่อมั่นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 5.58 คะแนน เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจครั้งก่อน 0.80 คะแนน (4.78 คะแนน) โดยตัวชี้วัดด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อมที่ได้คะแนนมากที่สุดคือ ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (6.08 คะแนน) ส่วนด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน (5.01 คะแนน)
สำหรับความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจในภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 4.89 คะแนนลดลงจากผลสำรวจครั้งก่อน 0.18 คะแนน (5.07 คะแนน) โดยตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจที่ได้คะแนน มากที่สุดคือ ด้านความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน (5.57 คะแนน) ส่วนด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ ด้านสถานะทางเศรษฐกิจของคนในประเทศ (4.01 คะแนน)
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพโดยรวมของประเทศไทยในปัจจุบัน
ความเชื่อมั่นในด้านต่างๆ คะแนนความเชื่อมั่น(เต็ม 10 คะแนน)
มิ.ย.2558 มิ.ย.2559 มิ.ย.2560 เปลี่ยนแปลง 1) ด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น 5.15 4.44 5.92 1.48 2) ด้านการปฏิรูปการเมืองและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย 5.36 4.88 5.43 0.55 (คุณภาพนักการเมือง ระบบเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมของประชาชน ) 3) ด้านความสามารถในการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบัน/คสช. 6.16 5.73 5.68 -0.05 4) ด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากภาครัฐ 5.8 5.44 5.66 0.22 (ถูกต้อง เป็นกลาง และเป็นประโยชน์) ความเชื่อมั่นด้านการเมือง (เฉลี่ยรวม) 5.62 5.12 5.67 0.55 5) ด้านความรักและสามัคคีของคนในชาติ 5.12 4.62 5.34 0.72 6) ด้านกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย 5.27 4.5 5.89 1.39 (ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและความเท่าเทียมกันในการบังคับใช้กฎหมาย) 7) ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5.72 5.39 6.08 0.69 8) ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 5.1 4.63 5.01 0.38 (โจรกรรม ชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกายภัยจราจร การปนเปื้อนในอาหารและมลพิษ) ความเชื่อมั่นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (เฉลี่ยรวม) 5.3 4.78 5.58 0.8 9) ด้านสถานะทางเศรษฐกิจของคนในประเทศ 4.95 4.71 4.01 -0.7 (รายได้เพียงพอกับรายจ่าย การมีงานทำ การกินดีอยู่ดี) 10) ด้านฐานะการเงินของประเทศ 4.93 4.64 4.45 -0.19 (เงินคงคลัง หนี้ของประเทศ ทุนสำรองระหว่างประเทศ) 11) ด้านศักยภาพของคนไทย 5.43 5.12 5.54 0.42 (การศึกษา/สุขภาพ/ความรู้ความสามารถ/ความซื่อสัตย์มีวินัย และพัฒนาได้) 12) ด้านความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน 6.15 5.8 5.57 -0.23 (ด้านการผลิต เป็นแหล่งท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน) ความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ (เฉลี่ยรวม) 5.37 5.07 4.89 -0.18 เฉลี่ยรวมทุกด้าน 5.43 4.99 5.38 0.39รายละเอียดการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของประเทศไทย ในด้านต่างๆ รวม 12 ด้าน ซึ่งกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ในการบริหารประเทศของรัฐบาล คสช. เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบ เลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 27-28 มิถุนายน 2560 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 1 กรกฎาคม 2560ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 605 53.7 หญิง 522 46.3 รวม 1,127 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 142 12.6 31 ปี - 40 ปี 197 17.5 41 ปี - 50 ปี 300 26.6 51 ปี - 60 ปี 298 26.4 61 ปี ขึ้นไป 190 16.9 รวม 1,127 100การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 719 63.8 ปริญญาตรี 326 28.9 สูงกว่าปริญญาตรี 82 7.3 รวม 1,127 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 150 13.3 ลูกจ้างเอกชน 243 21.6 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 443 39.3 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 55 4.9 ทำงานให้ครอบครัว 5 0.4 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 175 15.5 นักเรียน/ นักศึกษา 30 2.7 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 26 2.3 รวม 1,127 100--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--