กรุงเทพโพลล์: “ความเชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่ (ประยุทธ์ 2/1)”

ข่าวผลสำรวจ Tuesday July 30, 2019 09:10 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่ (ประยุทธ์ 2/1) 4.52 คะแนน โดยมีความเชื่อมั่นด้านการเมืองมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ

โดยเรื่องที่อยากให้ รัฐบาลแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนมากที่สุด คือ ปัญหาค่าครองชีพของแพง ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและปัญหาภัยแล้ง

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความเชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่ (ประยุทธ์2/1)” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,176 คน พบว่า

ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่ (ประยุทธ์2/1) เฉลี่ยในภาพรวม 4.52คะแนน โดยมีความเชื่อมั่นด้านการเมืองมากที่สุด (4.80 คะแนน) รองลงมาคือด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม(4.67 คะแนน) และด้านเศรษฐกิจ (4.18 คะแนน) เมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า

ตัวชี้วัดด้านการเมืองที่ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่นมากที่สุดคือ ด้านการธำรงรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข (6.58 คะแนน) ส่วนตัวชี้วัด ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่นมากที่สุดคือ ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (5.37 คะแนน) และตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจที่ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่นมากที่สุดคือด้านศักยภาพของคนไทย (5.08 คะแนน)

ทั้งนี้ประชาชน ร้อยละ 41.5 ระบุว่า ค่อนข้างคาดหวังถึงคาดหวังมากต่อการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ (ประยุทธ์2/1)ขณะที่ร้อยละ 58.5 ระบุว่า ไม่ค่อยคาดหวังถึงไม่คาดหวังเลย

ส่วนเรื่องที่อยากให้รัฐบาลประยุทธ์ 2/1 แก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนที่สุดร้อยละ 75.9 คือ ปัญหาค่าครองชีพของแพงรองลงมาร้อยละ 61.3 คือปัญหาราคา สินค้าเกษตรตกต่ำและร้อยละ 50.8 คือปัญหาภัยแล้ง

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1.ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อเชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่ (ประยุทธ์ 2/1)
ความเชื่อมั่นในด้านต่างๆ คะแนนความเชื่อมั่น

(เต็ม10คะแนน)

1)ด้านการธำรงรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข 6.58 2) ด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากภาครัฐ 4.45 (ถูกต้อง เป็นกลาง และเป็นประโยชน์) 3)ด้านความสามารถในการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบัน 4.34 4) ด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น 3.85 ความเชื่อมั่นด้านการเมือง (เฉลี่ยรวม) 4.80 5) ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5.37 6) ด้านความรักและสามัคคีของคนในชาติ 4.76 7) ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 4.41 (โจรกรรม ชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกายภัยจราจร อาหารปนเปื้อนและมลพิษ) 8) ด้านกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย 4.12 (ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและความเท่าเทียมกันในการบังคับใช้กฎหมาย) ความเชื่อมั่นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (เฉลี่ยรวม) 4.67 9) ด้านศักยภาพของคนไทย (การศึกษาสุขภาพความรู้ความสามารถความซื่อสัตย์มีวินัยพัฒนาได้) 5.08 10) ด้านภาพลักษณ์ต่อ นานาประเทศทั่วโลก 4.59 11)ด้านความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน 4.50 (ด้านการผลิต เป็นแหล่งท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน) 12) ด้านฐานะการเงินของประเทศ 3.55 (เงินคงคลัง หนี้ของประเทศ ทุนสำรองระหว่างประเทศ) 13) ด้านสถานะทางเศรษฐกิจของคนในประเทศ 3.20 (รายได้เพียงพอกับรายจ่าย การมีงานทำ การกินดีอยู่ดี) ความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ (เฉลี่ยรวม) 4.18 เฉลี่ยรวมทุกด้าน 4.52 2.ความคาดหวังที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ ค่อนข้างคาดหวังถึงคาดหวังมาก ร้อยละ 41.5

(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างคาดหวัง ร้อยละ 27.9 และคาดหวังมาก ร้อยละ 13.6)

ไม่ค่อยคาดหวังถึงไม่คาดหวังเลย ร้อยละ 58.5

(โดยแบ่งเป็น ไม่ค่อยคาดหวังร้อยละ31.9 และไม่คาดหวังเลย ร้อยละ 26.7)

3.เรื่องที่อยากให้รัฐบาลใหม่แก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนที่สุดต่อจากนี้ไป 5 อันดับแรก คือ
ปัญหาค่าครองชีพของแพง ร้อยละ 75.9 ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ร้อยละ 61.3 ปัญหาภัยแล้ง ร้อยละ 50.8 ปัญหายาเสพติดอาชญากรรม ร้อยละ 48.3 ปัญหาคอร์รัปชั่น ร้อยละ 37.2 รายละเอียดการสำรวจ วัตถุประสงค์การสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่ ในด้านต่างๆ รวม 13 ด้าน หลังจากได้ ครม. ชุดใหม่ รวมถึงความคาดหวังต่อการปฏิบัติหน้าที่และเรื่องที่ต้องการให้แก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ?3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 22-24กรกฎาคม2562

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 27 กรกฎาคม 2562

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ