สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่ 2 ปี 2557

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday August 4, 2014 14:15 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 14/2557

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ไตรมาสที่ 2 ปี 2557 ทรงตัวจากไตรมาสก่อน โดยมีปัจจัยบวกจากการผลิตภาคเกษตรและอุตสาหกรรมขยายตัวดีขึ้น แม้ว่าการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การเมืองและผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนตอนล่างรวมทั้งความไม่สะดวกในการเดินทางของนักท่องเที่ยว ด้านราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะยางพารายังคงอยู่ในระดับต่ำส่งผลต่อรายได้ครัวเรือนเกษตรและการส่งออกลดลง ท่าให้ภาคเอกชนระมัดระวังในการใช้จ่าย นอกจากนี้สถาบันการเงินระมัดระวังคุณภาพสินเชื่อมากขึ้น ส่วนอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น และอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นตามราคาอาหารส่าเร็จรูปและพลังงาน เป็นส่าคัญ

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

รายได้เกษตรลดลงร้อยละ 11.5 จากผลด้านราคาเป็นส่าคัญ โดยดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 12.1 ตามราคายางพาราที่ยังเผชิญกับแรงกดดันจากปัจจัยด้านอุปทานทั้งในประเทศและต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง และความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ทางด้านดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากผลผลิตปาล์มที่เพิ่มขึ้นมาก ขณะที่ผลผลิตกุ้งขาวยังไม่ฟื้นตัวจากปัญหาโรคกุ้งตายด่วน

ภาคการท่องเที่ยวยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองท่าให้หลายประเทศเพิ่มระดับการเตือนภัย ขณะเดียวกันในพื้นที่ชายแดนตอนล่างยังได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ระเบิดในพื้นที่อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และมีปัญหาความไม่สะดวกในการเดินทางของนักท่องเที่ยวจากปัญหารถโดยสารจากมาเลเซีย ส่งผลให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาภาคใต้ลดลงร้อยละ 5.3 หดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนและอัตราเข้าพักอยู่ในระดับต่าที่ร้อยละ 54.1 อย่างไรก็ตามการท่องเที่ยวฝั่งอันดามันยังคงขยายตัวตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีน รัสเซียและออสเตรเลีย เป็นส่าคัญ

มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 12.1 ตามการส่งออกยางที่ลดลงจากผลด้านราคา แม้จีนและสหภาพยุโรปน่าเข้าเพิ่มขึ้นตามการผลิตยางล้อในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ขยายตัวก็ตาม และการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปลดลงตามความต้องการที่ชะลอตัวของตลาดเวียดนามและอินโดนีเซีย ส่วนการส่งออกสัตวน้ำลดลงจากการขาดแคลนวัตถุดิบกุ้งขาว ขณะที่การส่งออกถุงมือยางเพิ่มขึ้นจากความต้องการของตลาดหลักสหรัฐอเมริกาและมีการส่งออกไปตลาดใหม่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้การส่งออกอาหารทะเลกระป๋องเพิ่มขึ้นตามค่าสั่งซื้อของผู้น่าเข้าทั้งตลาดตะวันออกกลางและสหรัฐอเมริกา เนื่องจากทิศทางราคาวัตถุดิบทูน่ามีแนวโน้มสูงขึ้นจึงเร่งสั่งซื้อ

อย่างไรก็ตามการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ5.3 ตามปริมาณผลปาล์มน้ำมันที่เข้าโรงงานมาก และการผลิตอาหารกระป๋องและถุงมือยางเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการส่งออกที่ขยายตัว ขณะที่การผลิตยาง อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป และไม้ยางพารา ลดลง

ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในระดับต่าที่ร้อยละ 1.8 ใกล้เคียงกับร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อน ตามการใช้จ่ายในหมวดยานยนต์ที่ยังไม่ฟื้นตัวจากผลของโครงการรถยนต์คันแรกที่ได้เร่งอุปสงค์การซื้อรถไปในช่วงก่อนหน้า ประกอบกับรายได้เกษตรกรลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ท่าให้มีการระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตามเริ่มมีสัญญาณดีขึ้นในช่วงปลายไตรมาส จากสถานการณ์การเมืองที่เริ่มคลี่คลายท่าให้ความเชื่อมั่นปรับดีขึ้น

ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 5.3 เนื่องจากผู้ประกอบการยังรอประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง ส่งผลให้เครื่องชี้ส่าคัญลดลง ทั้งมูลค่าการน่าเข้าสินค้าทุน ยอดการจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล

ณ สิ้นมิถุนายน 2557 สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 6.0 ชะลอจากที่ขยายตัวร้อยละ 8.6 ในไตรมาสก่อน โดยชะลอตัวทั้งสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ และอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ส่วนเงินฝากขยายตัวร้อยละ2.7 ชะลอลงจากเงินฝากประจ่าที่หดตัวมาก

แรงกระตุ้นจากภาคการคลังลดลง โดยการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการลดลงร้อยละ 7.6 เป็นการลดลงของการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นเนื่องจากได้เร่งเบิกจ่ายไปในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่รายได้จากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 จากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตและศุลกากร

ส่าหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.08 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อน ตามราคาอาหารส่าเร็จรูปที่เร่งตัวต่อเนื่องจากการส่งผ่านต้นทุนก๊าซหุงต้มและต้นทุนราคาเครื่องประกอบอาหาร

ธนาคารแห่งประเทศไทย ส่านักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716

e-mail : Arunyas@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ