สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนสิงหาคม ปี 2558

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday September 30, 2015 10:16 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 20/2558

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนสิงหาคม 2558 ภาพรวมยังคงชะลอตัว โดยอุปสงค์ยังอ่อนแอ เนื่องจากรายได้ครัวเรือนและธุรกิจรวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ในระดับต่ำ ส่วนการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวจาก ปีก่อน แม้จะลดลงจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งคาดว่าเป็นผลกระทบระยะสั้นจากเหตุระเบิดในกรุงเทพฯ และการชุมนุมทางการเมืองของมาเลเซียในช่วงปลายเดือน ด้านผลผลิตสินค้าเกษตรและการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว ส่าหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานปรับขึ้นเล็กน้อย อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงติดลบจากราคาพลังงาน เป็นสำคัญ

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้มีดังนี้

ดัชนีรายได้เกษตรกรยังอยู่ในระดับต่ำจากแรงกดดันด้านราคาสินค้าเกษตรที่ลดลงตามราคาในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์โลกทั้งยาง ปาล์มน้ำมัน และกุ้งขาว โดยราคายางมีปัจจัยลบเพิ่มขึ้นจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะเดียวกันตลาดมีความกังวลต่อเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญชะลอลงมากส่งผลให้เงินหยวนอ่อนค่า และราคาน้ำมันดิบโลกลดต่ำสุดในรอบกว่า 6 ปี ขณะที่ราคาปาล์มน้ำมันลดลงเนื่องจากสต็อกในประเทศอยู่ในระดับสูงมาก ด้านราคากุ้งขาวได้รับผลกระทบจากคู่แข่งที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้นเช่นกัน

การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลบวกจากเงินบาทที่อ่อนค่า โดยการผลิตยางแปรรูปเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา และการผลิตไม้ยางพาราแปรรูปเพิ่มขึ้นจากตลาดจีนที่ยังมีคำสั่งซื้อต่อเนื่อง เพื่อใช้ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่กระเตื้องขึ้นจากการยกเลิกมาตรการควบคุมตลาดอสังหาริมทรัพย์บางส่วน ประกอบกับราคาไม้ยางอยู่ในระดับต่ำจูงใจให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ส่วนการผลิตอาหารทะเลกระป๋องเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากราคาวัตถุดิบทูน่ามีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากการเข้าสู่ช่วงการห้ามใช้อุปกรณ์บางประเภทจับปลาจึงมีการเร่งซื้อ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนลดลงจากความต้องการของตลาดตะวันออกกลางที่ลดลงมากเป็นสำคัญ สำหรับการผลิตอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งลดลงจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบและการออกกฎระเบียบของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU)

อย่างไรก็ตามการส่งออกเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหดตัวจากทั้งด้านปริมาณและราคาในเกือบทุกสินค้า มีเพียงปริมาณการส่งออกยางที่ขยายตัวจากการส่งออกยางแผ่นรมควันในสต็อกของรัฐบาลไทยให้กับบริษัทในจีน และการส่งออกยางแท่งไปจีนเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนยางคอมพาวนด์

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเมื่อปรับฤดูกาลลดลงจากเดือนก่อน จากการลดลงของนักท่องเที่ยวมาเลเซียเป็นสำคัญ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองในมาเลเซียช่วงปลายเดือน และเหตุระเบิดบริเวณสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในกรุงเทพฯ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามคาดว่าผลกระทบเป็นเพียงระยะสั้น แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนการท่องเที่ยวยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี โดยขยายตัวสูงทั้งฝั่งอันดามัน อ่าวไทย และภาคใต้ตอนล่าง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานต่ำที่เดือนเดียวกันปีก่อนยังคงใช้ประกาศกฎอัยการศึก

ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอลงจากเดือนก่อน โดยเฉพาะยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการลดลงหลังจากกระเตื้องขึ้นในเดือนก่อน สะท้อนว่าภาคครัวเรือนยังมีความระมัดระวังเรื่องการ ใช้จ่าย เนื่องจากรายได้เกษตรกรยังอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายในหมวดยานยนต์มีสัญญาณดีขึ้นบ้างจากการส่งเสริมการขาย โดยเฉพาะการลดราคารถบรรทุกส่วนบุคคลรุ่นเก่าเพื่อเปิดตัวรุ่นใหม่ ขณะที่เครื่องชี้ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนยังหดตัว อาทิ พื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลที่ยังซบเซาตามการชะลอตัวของอสังหาริมทรัพย์ และมูลค่าการน่าเข้าสินค้าทุนเพื่อการผลิตลดลง มีเพียงการน่าเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียมที่ขยายตัว

การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐในส่วนของรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นตามการเร่งเบิกจ่ายเงินของกรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมืองในจังหวัดยะลาและนราธิวาส เป็นส่าคัญ เนื่องจากใกล้สิ้นสุดปีงบประมาณ ส่าหรับรายได้ภาครัฐเพิ่มขึ้นตามการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเครื่องดื่ม และภาษีน้ำมัน เป็นสำคัญ

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานปรับฤดูกาลอยู่ที่ร้อยละ 1.23 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับร้อยละ 1.12 ในเดือนก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงติดลบต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.50 ตามการลดลงของราคาพลังงานเป็นส่าคัญ ขณะที่ราคาอาหารสดขยับขึ้นตามราคาปลาและสัตว์น้ำ และราคาผักและผลไม้เพิ่มขึ้นจากผลกระทบของภัยแล้ง ส่งผลให้ราคาอาหารส่าเร็จรูปปรับเพิ่มขึ้น

ผลจากภาวะเศรษฐกิจและรายได้จากการเกษตรที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ครัวเรือนมีภาระค่าใช้จ่ายในการครองชีพประกอบกับการระดมเงินฝากไม่เข้มข้นในภาวะที่การให้สินเชื่อค่อนข้างทรงตัวส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2558 ยอดเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้ต่ำสุดในรอบ เดือน และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 0.4 จากเงินฝากประจำและบัตรเงินฝากที่หดตัวต่อเนื่อง สำหรับเงินให้สินเชื่อหดตัวร้อยละ 4.6 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงการบันทึกบัญชีไปยังสำนักงานใหญ่ของสถาบันการเงินบางแห่ง

ธนาคารแห่งประเทศไทย ส่านักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716

E-mail : Arunyas@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ