สรุปภาวะเศรษฐกิจสาคัญในภาคใต้ เดือนเมษายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 1, 2010 13:41 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือน เมษายน ปี 2553 ขยายตัว จากรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นตามราคาและปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น ผลผลิตสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นตามผลผลิต จากการทำประมงทะเล แม้ว่าผลผลิตกุ้งจาก การเพาะเลี้ยง ลดลง ขณะเดียวกัน การท่องเที่ยวขยายตัวทั้งภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคใต้ตอนล่าง ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมแม้จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน แต่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้ความต้องการแรงงาน และการลงทุนของภาคเอกชนขยายตัว รวมไปถึงเงิน ฝากและสินเชื่อที่ขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการลดลง สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลง

1. ภาคเกษตร ดัชนีรายได้ของเกษตรกร ในภาคใต้ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 114.0 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาและปริมาณผลผลิต โดยดัชนีราคาพืชผลเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 101.1 ตามราคายาง แผ่นดิบชั้น 3 ที่สูงถึงกิโลกรัมละ 112.26 บาท เทียบกับ ราคากิโลกรัมละ 51.63 บาท ในเดือนเดียวกันปีก่อน และ ราคาปาล์มน้ำมันกิโลกรัมละ 3.63 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ส่วนดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4

การทำประมงทะเล ขยายตัวต่อเนื่อง ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นท่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.3 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 ผลจากเรือประมงที่ทำประมงในน่านน้ำอินโดนีเซียนำสัตว์น้ำ ขึ้นท่าเทียบเรือสงขลาและปัตตานีเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ส่วนสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือระนองลดลง จากการทำประมงในน่านน้ำพม่าลดลง ผลกระทบจากเอลนิโญ

การเพาะเลี้ยงกุ้ง ผลผลิตกุ้งภาคใต้ลดลงร้อยละ 3.5 เนื่องจากมีการเร่งจับในช่วงก่อนหน้า นอกจากนี้ผลผลิต บางส่วนเสียหายจากโรคระบาดและสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออ้านวย ด้านราคากุ้งเฉลี่ยที่ตลาดทะเลไทยลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนเกือบทุกขนาด โดยกุ้งขนาด 50 ตัว/กิโลกรัม ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 129.05 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.5

2. ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.8 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 19.7 เป็นผลจากการผลิตอาหารทะเลแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูปลดลงร้อยละ 7.3 และการผลิต ยางแปรรูปลดลงร้อยละ 11.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก จีนซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ชะลอการสั่งซื้อยางจากไทย เนื่องจากราคา ยางอยู่ในระดับสูง จึงนำยางในคลังสำรองมาใช้เพื่อลดต้นทุนและมีการคาดว่า ราคาจะมีแนวโน้มลดลง ด้านการผลิต ถุงมือยาง อาหารทะเลบรรจุกระป๋อง และไม้ยางแปรรูป เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ขณะที่ผลผลิตน้ามันปาล์มดิบเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนเล็กน้อยเพียงร้อยละ 1.4 ชะลอลงมากเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 ในเดือนก่อน

3. การท่องเที่ยว ขยายตัว ต่อเนื่อง จากเดือนก่อน แม้ว่าจะมีสถานการณ์ชุมนุมทางการเมือง ก็ตาม โดยนักท่องเที่ยวที่ผ่านตรวจคนเข้าเมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4 ตามการเพิ่มขึ้น ทั้งในภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคใต้ตอนล่าง ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในภาคใต้ฝั่งตะวันออกแม้ว่าจะหดตัว แต่ก็มีนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางท่องเที่ยว ในช่วงเทศกาลวันหยุดสงกรานต์เพิ่มขึ้นเป็นผลให้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยของภาคใต้ในเดือนนี้ยังอยู่ในอัตราสูง เฉลี่ยร้อยละ 61.1

4. การจ้างงาน ความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น จากตำแหน่งงานว่างที่ผู้ประกอบการแจ้งผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 และผู้ที่ได้รับการบรรจุงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.7 อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้มาสมัครงานลดลงร้อยละ 16.6 ส่วนข้อมูลด้านการประกันตนตามมาตรา 33 จากสำนักงานประกันสังคม ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.0 จากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4

ในเดือนมีนาคม 2553 อัตราการว่างงานในภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนที่มีอัตราการว่างงานร้อยละ 1.8 แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่มีอัตราการว่างงานร้อยละ 1.2

5. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัว จากปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ รายได้เกษตรกรและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดี โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคใต้ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 7.5 ตามการเพิ่มขึ้นของเครื่องชี้ทุกหมวดทั้ง การจดทะเบียนรถภาษีมูลค่าเพิ่ม การใช้เชื้อเพลิง และการใช้ไฟฟ้าในที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ จึงมีผลให้การบริโภคชะลอลง

6. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนโดยรวม ขยายตัว โดยเครื่องชี้ภาคการลงทุนขยายตัว โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 การส่งเสริมการลงทุนของ BOI มีจำนวนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 341.9 โดยโครงการลงทุนส่วนใหญ่เป็นธุรกิจต่อเนื่องจากสินค้าเกษตร และด้านพลังงาน ส่วนการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลรายใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 113.8

7. ภาคการคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่างๆ ในภาคใต้ ลดลงจาก เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.3 โดยรายจ่ายลงทุนและรายจ่ายประจำ ลดลงร้อยละ 11.9 และ 31.8 ตามล้าดับ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเบิกจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ลดลงร้อยละ 61.0

ส่วนการจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.0 จากการจัดเก็บภาษีสรรพากรและภาษีสรรพสามิตเป็นส้าคัญ

8. การค้าต่างประเทศ มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สรอ. ขยายตัวร้อยละ 90.1 จากการส่งออกได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.0 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 107.9 โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มสินค้า โดยเฉพาะมูลค่าการส่งออกยางเพิ่มขึ้นมากตามราคายางที่ปรับสูงขึ้น ด้านการนำเข้าขยายตัวเกือบทุกกลุ่ม มีเพียงการนำเข้าสัตว์น้ำที่มีมูลค่าลดลง

9. ภาค การเงิน ผลจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจและการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ประกอบกอบกับราคาสินค้าเกษตรที่ส้าคัญ โดยเฉพาะยางพาราที่ปรับสูงขึ้น ท้าให้ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2553 คาดว่าเงินฝากและเงินให้สินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้ขยายตัวร้อยละ 7.9 และร้อยละ 7.2 ตามล้าดับ เมื่อเทียบกับสิ้นเดือนเดียวกันของปีก่อน

10. ระดับราคา อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.9 ชะลอลงจากร้อยละ 4.6 ในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ชะลอลงจากร้อยละ 6.5 ในเดือนก่อนหน้าเป็นร้อยละ 5.5 ในเดือนนี้ ตามการลดลงของราคาอาหารสด ขณะที่หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มชะลอลงจากร้อยละ 3.4 เป็นร้อยละ 2.8 ทั้งนี้ ในเดือนนี้ มีการยกเลิกมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนในรายจ่ายค่าน้ำประปา และมีการปรับเพิ่ม โครงสร้างอัตราค่าโดยสารเครื่องบินส้าหรับเที่ยวบินในประเทศ

ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.7

ธนาคารแห่งประเทศไทย ส้านักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : นาฏน้อย แก้วมีจีน

โทร.0-7423-6200 ต่อ 4329

e-mail : [email protected]

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ