การออกประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Monday January 29, 2007 11:25 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                                  29 มกราคม 2550 
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ธนาคารออมสิน
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
ที่ ฝกช.(02)ว.39/2550 เรื่อง การออกประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินและหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเงินสำรอง บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศและการรายงาน
ด้วยเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินได้ออกประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน(ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 29 มกราคม 2550 เพิ่มทางเลือกในการกันเงินสำรอง และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1.ยกเลิกประกาศเจ้าพนักงานควบคุมแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2549 และให้ใช้ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน ฉบับที่ 10 แทนฉบับที่ 7
2.ธุรกรรมเงินตราต่างประเทศแลกเงินบาทโดยไม่ต้องกันเงินสำรองที่เคยยกเว้นไว้เดิมตามประกาศเจ้าพนักงานควบคุมแลกเปลี่ยนเงิน ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2549 และประกาศเจ้าพนักงานควบคุมแลกเปลี่ยนเงิน ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2549 ยังคงได้รับการยกเว้น และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งได้กำหนดไว้ในประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยน ฉบับที่ 10 ด้วยแล้ว
3.การออกประกาศเจ้าพนักงานควบคุมแลกเปลี่ยนเงิน ฉบับที่ 10 ครั้งนี้ ธปท.เห็นควรเพิ่มทางเลือกให้การนำเงินตราต่างประเทศแลกเงินบาทตามรายการต่อไปนี้ไม่ต้องกันเงินสำรองและผ่อนคลายระเบียบที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมอีกรวม 6 รายการ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
(1) เงินกู้ยืมเงินตราต่างประเทศทั้งที่เป็นเงินกู้ยืมทั่วไปและเงินกู้ยืมระหว่างบริษัทในเครือ(Inter-company Loan) และเงินตราต่างประเทศที่ได้รับการออกตราสารหนี้ ซึ่งมีการป้องกันความเสี่ยงแบบ Plain Vanilla กับสถาบันการเงินในประเทศไทย(on-shore) เท่ากับจำนวนเงินที่นำมาแลก(Fully Hedge) ในรูปของ FX Swap หรือ Cross Currency Swap
สำหรับเงินกู้ยืม และเงินรับจากการออกตราสารหนี้อายุมากกว่า 1 ปี ให้ป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวไม่น้อยกว่า 1 ปี
(2) สินเชื่อเงินตราต่างประเทศเพื่อการส่งออกในลักษณะของ Packing Credit อายุไม่เกิน 180 วัน ที่สถาบันการเงินในประเทศให้แก่ลูกค้าในประเทศ และผู้กู้ยืมสัญญาว่าจะนำเงินตราต่างประเทศที่จะได้รับจากค่าสินค้าในอนาคตมาชำระคืนให้ครบถ้วน
(3) การชำระ NPL ที่ซื้อหรือจ่ายตามภาระค้ำประกันให้แก่บุคคลในประเทศไทย เมื่อคดีถึงที่สุดหรือมีเอกสารทางการที่แสดงถึงภาระที่ต้องชำระมาแสดงต่อสถาบันการเงิน
(4) เพิ่มประเภทตราสารทุนที่ได้รับการยกเว้นกันสำรอง จากเดิมที่จำกัดเฉพาะหุ้นทุนในตลาด SET และ MAI และ NVDR สัญญาล่วงหน้าในตลาด TFEX และ AFET ให้ครอบคลุมถึงใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นทุน (Warrant) สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน(Transferable Subscription Right) และใบสำคัญแสดงสิทธิในตราสารทุน(Depositary Receipt)
ทั้งนี้ ตราสารที่ยกเว้นเพิ่มเติมดังกล่าว ต้องเป็นตราสารที่เกี่ยวกับหุ้นทุนเท่านั้นไม่รวมถึงประเภทที่มี option ที่ไม่เกี่ยวข้องกับหุ้นทุน
(5) ขยายระยะเวลาเงินบาทนำเข้าบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ(NRBA) จากเดิมต้องส่งออกในวันเดียวกันเป็นต้องส่งออกภายใน 3 วันทำการ และสำหรับเงินบาทเข้าบัญชี มูลค่าต่ำกว่า 1 ล้านบาท ไม่ต้องส่งออกภายใน 3 วันทำการตามระเบียบ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายการโดนของจ้าของบัญชี
(6) เพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระเงินบาทค่าสินค้าและบริการระหว่างประเทศ NR รายใดประสงค์จะขอมีบัญชีเงินบาทเพื่อประโยชน์ในการชำระค่าสินค้าโดยเฉพาะ(Special Non-resident Baht Account for Trade and Services: SNT) สามารถขอมีบัญชีเงินบาทดังกล่าวได้ โดยเงินบาทที่ฝากเข้าบัญชีไม่ต้องถอนออกภายใน 3 วันทำการ และสามารถเก็บเงินบาทนั้นไว้ในบัญชี เพื่อใช้จ่ายชำระค่าสินค้าและบริการในประเทศไทยได้ แต่ต้องมียอดคงค้างในบัญชี ณ สิ้นวันไม่เกิน 100 ล้านบาท และเงินบาทในบัญชี SNT ให้โอนระหว่างบัญชี SNT เท่านั้น
3.ยกเลิกระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกันเงินสำรองตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเงินสำรองแนบหนังสือเวียน ที่ ฝกช.(02)ว.70/2549 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2549 และหนังสือเวียนที่ ฝกช.(02)ว.1/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับ Special Non-resident Baht Account for Securities:SNS และ Non-resident Baht Account:NRBA ลงวันที่ 8 มกราคม 2550 โดยรวบรวมและปรับถ้อยคำ หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกันเงินสำรองต่างๆ ให้ชัดเจนมากขึ้น ตามที่แนบมาพร้อมนี้ เพื่อประโยชน์ต่อการอ้างอิงและถือปฏิบัติต่อไป
อนึ่ง การปรับหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติการกันเงินสำรองของ ธปท.ทำให้ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ(Non-resident:NR) มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการเลือกมีบัญชีเงินบาท ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท คือ
(1) บัญชี NRBA ที่สามารถเปิดได้ตามปกติอยู่แล้ว เพื่อใช้ประโยชน์ในการชำระเงินทุกประเภทธุรกรรมตามระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยน
(2) บัญชี SNS เป็นบัญชีพิเศษที่ใช้เพื่อประโยชน์การลงทุนในตราสารที่เกี่ยวกับหุ้นและสัญญาล่วงหน้าในตลาด TFEX และ AFET
(3) บัญชี SNT เป็นบัญชีพิเศษที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการชำระค่าสินค้าและบริการ
ทั้งนี้ เงินบาทในบัญชีแต่ละประเภทสามารถโอนไปมาระหว่างบัญชีประเภทเดียวกันเท่านั้น ยกเว้นบัญชี SNS ที่สามารถรับโอนจากบัญชี NRBA ได้
ธปท.ขอความร่วมมือสถาบันการเงินชี้แจง NR ให้เข้าใจหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการฝากถอนเงินบาทในบัญชีแต่ละประเภทและให้ตรวจสอบคู่ค้าของ NR ให้แน่ใจว่ามีบัญชีเงินบาทประเภทที่สามารถโอนระหว่างกันได้ก่อนตกลงทำธุรกรรมเพื่อป้องกันปัญหาการไม่สามารถชำระธุรกรรมที่ตกลงกันจากข้อจำกัดการโอนระหว่างบัญชีของ NR
จึงเรียนมาเพื่อทราบ และถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ)
เจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยน
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน
เงิน(ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 29 มกราคม 2550
2. หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกันสำรอง บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่น ที่อยู่นอกประเทศและการรายงาน
ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ
โทรศัพท์ 02-356-8630-3 02-356-7345-6
หมายเหตุ: มีการประชุมชี้แจงจะนัดหมายต่อไป
ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน
(ฉบับที่ 10)
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคัล เรื่อง คำสั่งรัฐมนตรีไห้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคน 2547 เจ้าพนักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเปลี่ยนเงิน(ฉบับที่7)ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2549
(2) หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับ Special Non-resident BahtAccount for Securities: SNS และ NOn-resident Baht Account: NRBA ตามหนังสือเวียนที่ ฝกช.(02)ว.1/2550 ลงวันที่ 8 มกราคม 2550
ข้อ 2 ในการรับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเสเป็นเงินบาทในกรณีดังต่อไปนี้
(1) เงินตราต่างประเทศที่เป็นเงินกู้ โดยตรงเงินกู้ขอหน่วยงานราชการ และเงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์
(2) เงินตราต่างประเทศที่เป็นเงินกู้ที่ได้ทำสัญญากู้ก่อนวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2549
(3) การขายเงินตราต่างประเทศที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาการซื้อขายเงินตราต่างประเทสที่ทำไว้กับนิติบุคคลรับอนุญาตก่อนวันที่ 19 ธันวาคม 2549
(4) การรับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาทจากนิติบุคคลรับอนุญาติ(Interbank) เพื่อทำธุรกรรมของตนเอง
(5) เงินตราต่างประเทศที่นำมาขายหรือแลกเปลี่ยนโดย
(ก) สถานทูตไทย สถานกงสุลไทย หรือหน่วงงานรัฐบาลไทยที่ตั้งอยู่นอกประเทศไทย
(ข) สถานทูตต่างประเส สถานกงสุล ทบวงการชำนัญพิเศษแห่งองค์กรสหประชาชาติ องค์การหรือสถาบันระหว่างประเทศ ที่ประจำการในประเทศไทย
(6) การต่ออายุสัญญาป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน โดยการทำธุรกรรม Swap กับนิติบุคคลรับอนุญาตเดิม
(7) เงินลงทุนในตราสารทุนและเงินลงทุนในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเงินสำรองที่แนบท้ายประกาศนี้
(8) เงินตราต่างประเทศที่เป็นเงินกู้หรืองเงินจากกการออกตราสารหนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธิปฏิบัติเกี่ยวกับเงินสำรองที่แนบท้ายประกาศนี้
(9) เงินตราต่างประเสที่เป็นเงินค่าซื้หนี้ที่ผ่านกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ตามคำสั่งศาลหรือจากหน่วยงานทางการเงินภาระค้ำประกันตามคำสั่งศาลหรือหน่วยงานทางการ
(10) เช็คเดินทางและธนบัตรเงินตราต่างประเทศ
ให้นิติบุลคลรับอนุญาตเรียกให้ผู้ขายหรือผู้แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแสดงเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และเมื่อนิติบุคคลรับอนุญาติตรวจสอบจนเป็นที่พอใจว่าเอกสารหลักฐานนั้แท้จริงและถูกต้อง และเงินตราต่างประเทศดังกล่าวเป็นเงินตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดจริงให้นิติบุคคล รับอนุญาตรับซื้อหรือและเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้โดยไม่ต้องกันเงินสำรองร้อยละ 30 ตามประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่6)ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2549
ข้อ 3 ในกรณีที่นิติบุคคลรับอนุญาตพบภายหลังว่าลูกลูกค้าที่ได้รับการกันเงินสำรองปฎิบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ และวิธีปฎิบัติเกี่ยวกับเงินสำรองตามระกาสฉบับนี้ให้นิติบุคคลรับอนุญาตส่งเรื่องการขออนุญาตทำธุรกรรมครั้งต่อๆไปสำหรับลูกค้ารายนั้นให้เจ้านพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินเป็นผู้พิจารณาอนุญาต
ข้อ 4 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2550
(นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ)
เจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเงินกันสำรอง บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ และการรายงาน
หมวด 1 ความทั่วไป
1.ธุรกรรมที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องกันสำรองไว้ในประกาสเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบิตเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2549
2. ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยกับเงินสำรองที่แนบหนังสือเวียนท่ ฝกช.(02)ว.70/2549 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 7 )ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2549 รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับ Special Non-resident BahtAccount for Securities: SNS และ NOn-resident Baht Account: NRBA จามหนังสือเวียนที่ ฝกช.(02)ว.1/2550 ลงวันที่ 8 มกราคม 2550 และให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้แทน
หมวด 2 วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกันเงินสำรองและการขอคืนเงินสำรอง
1.การเก็บเงินสำรองในการรับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาท
เมื่อนิติบุคคลรับอนุญาตจะรับซื้อ หรอรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่มีมูลค่าตั้งแต่ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่า ให้นิติบุคคลรับอนุญาติให้ผู้ขายหรือแลกเปลี่ยนแจ้งวัตถุประสงค์ในการขายหรือแลกเปลี่ยน และทำความตกลงกับผู้ขายหรือผู้แลกเปลี่ยนเพื่อตกลงยินยอมให้นิติบุคคลรับอนุญาตกันเงินตราต่างประเทศที่รับซื้อหรือแลกเปลี่ยน(ต่อไปนี้เรียกว่า เงินสำรอง) ไว้ตามแบบที่เจ้าพนักงานกำหนด และให้นิติบุคคลรับอนุญาตดำเนินการดังนี้
1.1 กรณีเงินตราต่างประเทศที่เป็นสินค้า ค่าบริการ หรือเงินทุนหรือเงินกู้ยืมที่บุคคลไทยรับคืนจากต่างประเทศ และที่ได้รับยกเว้น ไม้ต้องกันเงินสำรองตามประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 29 มกราคม 2550 ให้นิติบุคคลรับอนุญาตเรียกให้ผู้ขายหรือผู้และเปลี่ยนยื่นเอกสารหลักฐานดังกล่าวแท้จริงและถูกต้อง ให้รับซื้อหรับแลกเปี่ยนงินตราต่างประเทศนั้นเป็นเงินบาทได้เต็บจำนวน
1.2 กรณีเงินตราต่างประเทศเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากในข้อ 1.1 ให้นิติบุคคลรับอนุญาตกันเงินสำรองไว้ร้อยละ 30 ส่วนที่เหลือให้รับซื้อหรือรับแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทได้
29 มกราคม 2550
เรียน ผู้จัดการ
บริษัทหลักทรัพย์ทุกแห่ง
นายหน้า หรือตัวแทนซื้อขายล่วงหน้า
ที่ ธปท.ฝกช.(02) ว.147/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับ Special Non-resident Baht Account for Securities: SNS
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีหนังสือเวียนถึงท่านลงวันที่ 22 ธันวาคม 2549 และวันที่ 8 มกราคม 2550 ขอความร่วมมือท่านควบคุมดูแลการชำระราคาของลูกค้า Non-resident ที่ประสงค์จะลงทุนในหุ้นทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตลาดหลักทรัพย์ MAI เงินลงทุนในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) และตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น
ธปท.ได้ยกเว้นการกันเงินสำรองเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในตราสารทุนโดยเพิ่มประเภทตราสารทุนที่ได้รับการขยายความให้รวมถึง Warrant, Depository Receipt และ Transferable Subscription Right ทั้งนี้ ได้แนบหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเงินสำรองที่ปรับใหม่แทนฉบับเดิมเพื่อท่านใช้อ้างอิงและถือปฏิบัติต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ(แทน)
สิ่งที่ส่งมาด้วย หนังสือเวียนที่ ฝกช.(02) ว.39/2550 เรื่อง การออกประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน และหลักเกณฑ์และวิธี
ปฏิบัติเกี่ยวกับการกันเงินสำรอง บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ และการรายงาน
ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ
สายตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0-2356-8630-33, 0-2356-7345-6
29 มกราคม 2550
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ธนาคารออมสิน
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
ที่ ฝกช.(02) ว.39/2550 เรื่อง การออกประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินและหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกันเงินสำรอง บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศและการรายงาน
ด้วยเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินได้ออกประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 29 มกราคม 2550 เพิ่มทางเลือกในการกันเงินสำรอง และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1.ยกเลิกประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2549 และให้ใช้ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน ฉบับที่ 10 แทนฉบับที่ 7
2.ธุรกรรมเงินตราต่างประเทศแลกเงินบาทโดยไม่ต้องกันเงินสำรองที่เคยยกเว้นไว้เดิมตามประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2549 และประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2549 ยังคงได้รับการยกเว้น และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งได้กำหนดไว้ในประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ฉบับที่ 10 ด้วยแล้ว
3.การออกประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ฉบับที่ 10 ครั้งนี้ ธปท.เห็นควรเพิ่มทางเลือกให้การนำเงินตราต่างประเทศแลกเงินบาทตามรายการต่อไปนี้ไม่ต้องกันเงินสำรองและผ่อนคลายระเบียบที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมอีกรวม 6 รายการ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
(1)เงินกู้ยืมเงินตราต่างประเทศทั้งที่เป็นเงินกู้ยืมทั่วไปและเงินกู้ยืมระหว่างบริษัทในเครือ (Inter-company Loan) และเงินตราต่างประเทศที่ได้รับจากการออกตราสารหนี้ ซึ่งมีการป้องกันความเสี่ยงแบบ Plain Vanilla กับสถาบันการเงินในประเทศไทย (on-shore) เท่ากับจำนวนเงินที่นำมาแลก (Fully Hedge) ในรูปของ FX Swap หรือ Cross Currency Swap
สำหรับเงินกู้ยืม และเงินรับจากการออกตราสารหนี้อายุมากกว่า 1 ปี ให้ป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวไม่น้อยกว่า 1 ปี
(2)สินเชื่อเงินตราต่างประเทสเพื่อการส่งออกในลักษณะของ Packing Credit อายุไม่เกิน 180 วัน ที่สถาบันการเงินในประเทศให้แก่ลูกค้าในประเทศ และผู้กู้ยืมสัญญาว่าจะนำเงินตราต่างประเทศที่จะได้รับจากค่าสินค้าในอนาคตมาชำระคืนให้ครบถ้วน
(3)การชำระ NPL ที่ซื้อหรือจ่ายตามภาระค้ำประกันให้แก่บุคคลในประเทศไทย เมื่อคดีถึงที่สุดหรือมีเอกสารทางการที่แสดงถึงภาระที่ต้องชำระมาแสดงต่อสถาบันการเงิน
(4)เพิ่มประเภทตราสารทุนที่ได้รับการยกเว้นกันสำรอง จากเดิมที่จำกัดเฉพาะหุ้นทุนในตลาด SET และ MAI และ NVDR สัญญาล่วงหน้าในตลาด TFEX และ AFET ให้ครอบคลุมถึงใบสำคัยแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นทุน (Warrant) สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (Transferable Subscription Right) และใบสำคัญแสดงสิทธิในตราสารทุน (Depositary Receipt)
ทั้งนี้ ตราสารที่ยกเว้นเพิ่มเติมดังกล่าว ต้องเป็นตราสารที่เกี่ยวกับหุ้นทุนเท่านั้น ไม่รวมถึงประเภทที่มี Option ที่ไม่เกี่ยวข้องกับหุ้นทุน
(5)ขยายระยะเวลาเงินบาทนำเข้าบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (NRBA) จากเดิมต้องส่งออกในวันเดียวกันเป็นต้องส่งออกภายใน 3 วันทำการ และสำหรับเงินบาทเข้าบัญชีมูลค่าต่ำกว่า 1 ล้านบาท ไม่ต้องส่งออกภายใน 3 วันทำการตามระเบียบ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายการโอนของเจ้าของบัญชี
(6)เพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระเงินบาทค่าสินค้าและบริการระหว่างประเทศ NR รายใดประสงค์จะขอมีบัญชีเงินบาทเพื่อประโยชน์ในการชำระค่าสินค้าโดยเฉพาะ (Special Non-resident Baht Account for Trade and Services: SNT) สามารถขอมีบัญชีเงินบาทดังกล่าวได้ โดยเงินบาทที่ฝากเข้าบัญชีไม่ต้องถอนออกภายใน 3 วันทำการ และสามารถเก็บเงินบาทนั้นไว้ในบัญชี เพื่อใช้จ่ายชำระค่าสินค้าและบริการในประเทสได้ แต่ต้องมียอดคงค้างในบัญชี ณ สิ้นวันไม่เกิน 100 ล้านบาท และเงินบาทในบัญชี SNT ให้โอนระหว่างบัญชี SNT เท่านั้น
3.ยกเลิกระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกันเงินสำรองตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเงินสำรองแนบหนังสือเวียนที่ ฝกช.(02)ว.70/2549 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2549 และหนังสือเวียนที่ ฝกช.(02)ว.1/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับ Special Non-resident Baht Account for Securities: SNS และ Non-resident Baht Account: NRBA ลงวันที่ 8 มกราคม 2550 โดยรวบรวมและปรับถ้อยคำ หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกันเงินสำรองต่างๆ ให้ชัดเจนมากขึ้น ตามที่แนบมาพร้อมนี้ เพื่อประโยชน์ต่อการอ้างอิงและถือปฏิบัติต่อไป
อนึ่ง การปรับหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติการกันเงินสำรองของ ธปท.ทำให้ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident: NR) มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการเลือกมีบัญชีเงินบาท ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท คือ
(1)บัญชี NRBA ที่สามารถเปิดได้ตามปกติอยู่แล้ว เพื่อใช้ประโยชน์ในการชำระเงินทุกประเภทธุรกรรมตามระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
(2)บัญชี SNS เป็นบัญชีพิเศษที่ใช้เพื่อประโยชน์การลงทุนในตราสารที่เกี่ยวกับหุ้นและสัญญาล่วงหน้าในตลาด TFEX และ AFET
(3)บัญชี SNT เป็นบัญชีพิเศษที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการชำระค่าสินค้าและบริการ
ทั้งนี้ เงินบาทในบัญชีแต่ละประเภทสามารถโอนไปมาระหว่างบัญชีประเภทเดียวกันเท่านั้น ยกเว้นบัญชี SNS ที่สามารถรับโอนจากบัญชี NRBA ได้
ธปท.ขอความร่วมมือสถาบันการเงินชี้แจง NR ให้เข้าใจหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการฝากถอนเงินบาทในบัญชีแต่ละประเภทและให้ตรวจสอบคู่ค้าของ NR ให้แน่ใจว่ามีบัญชีเงินบาทประเภทที่สามารถโอนระหว่างกัน ได้ก่อนตกลงทำธุรกรรม เพื่อป้องกันปัญหาการไม่สามารถชำระธุรกรรมที่ตกลงกันจากข้อจำกัดการโอนระหว่างบัญชีของ NR
จึงเรียนมาเพื่อทราบ และถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ)
เจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1.ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 29 มกราคม 2550
2.หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกันเงินสำรอง บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศและการรายงาน
ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ
โทรศัพท์ 02-356-8630-3, 02-356-7345-6
หมายเหตุ: มีการประชุมชี้แจงจะนัดหมายต่อไป
ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน
(ฉบับที่ 10)
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คำสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2549 เจ้าพนักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2549
(2) หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเงินสำรองที่แนบหนังสือเวียนที่ ฝกช.(02)ว.70/2549 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2549
(3) หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับ Special Non-resident Baht Account for Securities: SNS และ Non-resident Baht Accoung: NRBA ตามหนังสือเวียนที่ ฝกช.(02)ว.1/2550 ลงวันที่ 8 มกราคม 2550
ข้อ 2 ในการรับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาทในกรณีดังต่อไปนี้
(1) เงินตราต่างประเทศที่เป็นเงินลงทุนโดยตรง เงินกู้ของหน่วยงานราชการ และเงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์
(2) เงินตราต่างประเทศที่เป็นเงินกู้ที่ได้ทำสัญญาเงินกู้ก่อนวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2549
(3) การขายเงินตราต่างประเทศที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาการซื้อขายเงินตราต่างประเทศที่ทำไว้กับนิติบุคคลรับอนุญาตก่อนวันที่ 19 ธันวาคม 2549
(4) การรับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาทจากนิติบุคคลรับอนุญาต (Interbank) เพื่อธุรกรรมของตนเอง
(5) เงินตราต่างประเทศที่นำมาขายหรือแลกเปลี่ยนโดย
(ก) สถานทูตไทย สถานกงสุลไทย หรือหน่วยงานรัฐบาลไทยที่ตั้งอยู่นอกประเทศไทย
(ข) สถานทูตต่างประเทศ สถานกงสุล ทบวงการชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ องค์การหรือสถาบันระหว่างประเทศ ที่ประจำการในประเทศไทย
(6) การต่ออายุสัญญาป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน โดยการทำธุรกรรม Swap กับนิติบุคคลรับอนุญาตเดิม
(7) เงินลงทุนในตราสารทุนและเงินลงทุนในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเงินสำรองที่แนบท้ายประกาศนี้
(8) เงินตราต่างประเทศที่เป็นเงินกู้หรือเงินจากการออกตราสารหนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับสำรองที่แนบท้ายประกาศนี้
(9) เงินตราต่างประเทศที่เป็นเงินค่าซื้อหนี้ที่ผ่านกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ตามคำสั่งศาลหรือจากหน่วยงานทางการหรือเงินภาระค้ำประกันตามคำสั่งศาลหรือหน่วยงานทางการ
(10) เช็คเดินทางและธนบัตรเงินตราต่างประเทศ
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ