ธนาคารแห่งประเทศไทย 29 กันยายน 2538เรียน ผู้จัดการ บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทุกบริษัท ที่ธปท.งพ.(ว)2107/2538เรื่องเอกสารประกอบรายงานฐานะเงินตราต่างประเทศ ตามที่ธนาคารได้มีหนังสือถึงบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ที่ ธปท.งพ.(ว) 721/2537 เรื่อง การดำรงฐานะเงินตราต่างประเทศและการยื่นรายงาน ลงวันที่ 21 เมษายน 2537 และต่อมาได้มีหนังสือที่ ธปท.งพ.(ว) 1138/2537 เรื่อง รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำรงฐานะเงินตราต่างประเทศ ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2537 และหนังสือที่ ธปท.งพ.(ว) 2117/2537 เรื่องซักซ้อม ความเข้าใจ เรื่องสิทธิในการซื้อเงินตราต่างประเทศ ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2537 ความละเอียดแจ้งอยู่แล้ว นั้น เพื่อให้ธนาคารได้ทราบในรายละเอียดเกี่ยวกับภาระความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน และการดำเนินการในการดูแล และลดความเสี่ยงของบริษัท อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ธนาคารกำหนดให้บริษัทเงินทุน และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทุกบริษัท ยื่นเอกสารประกอบรายงานฐานะเงินตราต่างประเทศ (แบบ บ.ง.5) อีก 2 ฉบับ เริ่มตั้งแต่รายงาน ณ วันสิ้น เดือนตุลาคม 2538เป็นต้นไป ดังนี้ (1) เอกสารแสดงรายละเอียดของสัญญา option (ตามแบบตาราง บ.ง.5/2 แนบ) (2)เอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเงิน ให้กู้ยืมที่มีเงื่อนไขให้ลูกหนี้รับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ให้แสดงในรูปแบบเช่นเดียวกับรายงาน บ.ง.4 : รายงานการให้กู้ยืมและลูกหนี้ และ/หรือการลงทุนรายใหญ่ในรูปเอกสาร (hard copy) 1 ชุด และในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ (Computer Readable Form) ลงในแผ่น Diskette อีก 1 ชุด โดยให้แสดงหมายเหตุ"เงินให้กู้ยืมที่มีเงื่อนไขให้ลูกหนี้รับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน" ลงในรายงานรูปเอกสาร และLable ของแผ่น Diskette ให้ทราบด้วย อนึ่ง ในการจัดทำรายงานฐานะเงินตราต่างประเทศ (แบบ บ.ง. 5 ) เงินให้กู้ยืมที่มีเงื่อนไขให้ลูกหนี้ รับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน จะไม่อยู่ในข่ายให้นับเข้าเป็นสินทรัพย์ เงินตราต่างประเทศ หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ย หรือต้นเงินเกินกว่า7 วัน นับแต่วันครบกำหนดชำระแม้ว่าจะมีการต่ออายุสัญญาเงิน ให้กู้ยืมหรือตั๋วสัญญาใช้เงินออกไปจากระยะเวลาที่กำหนดไว้แต่เดิมก็ตามทั้งนี้ ไม่รวมกรณี ที่ลูกค้าอาจไม่สามารถชำระหนี้ได้ภายใน7 วัน นับแต่วันครบกำหนด เนื่องจากความล่าช้าในพิธีการเรียกเก็บเงิน หรือเนื่องจากเหตุสุดวิสัยอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับฐานะของลูกค้า จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฎิบัติต่อไป ขอแสดงความนับถือ วิจิตร สุพินิจ ผู้ว่าการ สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบตาราง บ.ง.5/2 พร้อมคำอธิบายประกอบการจัดทำ ส่วนพัฒนาธุรกิจสถาบันการเงิน ฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน โทร. 2835837, 2835868ตาราง บ.ง.5/2 รายละเอียดของสัญญา Option บริษัท....................จำกัด ณ วันที่.......................————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————— หนี้สินที่เกี่ยวข้อง ——————————————ประเภทผู้ขาย จำนวนเงิน วันที่ซื้อ อายุสัญญา วันที่ exercise Strike price อัตรา Premium จำนวนเงิน วันครบ หมายเหตุ (ล้านบาท) (ล้านบาท) กำหนดชำระ ————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————— ————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————— รวมปริมาณการทำสัญญา——————————————————————————รวมยอดคงค้าง ณ วันสิ้นเดือน————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————— คำอธิบายประกอบการจัดทำเอกสารแสดงรายละเอียดของสัญญา Option (ตาราง บ.ง.5/2) ให้บริษัทเงินทุน และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จัดทำเอกสารแสดงรายละเอียดของสัญญา Option ณ วันสิ้นเดือนของทุกเดือน โดยใช้แบบตาราง บ.ง.5/2 และยื่นมาพร้อมกับแบบ บ.ง.5และตาราง บ.ง.5/1 ต่อฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่ต้องรายงาน พร้อมทั้งแนบสัญญา Option ซึ่งมีเงื่อนไขต่างจากสัญญา Option แบบพื้นฐานมาด้วย ในการจัดทำตาราง บ.ง.5/2 ให้ระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้ - ประเภทสัญญา option เช่น Option แบบพื้นฐาน, Trigger Option หรือ Collar Option เป็นต้น - ชื่อธนาคารผู้ขาย Option - มูลค่า Option โดยเทียบค่าเป็นเงินบาทตามเกณฑ์การแปลงค่าในการจัดทำแบบ บ.ง.5 และแสดงมูลค่าเป็นเงินสกุลต่างประเทศไว้ในวงเล็บ พร้อมแสดงปริมาณรวม ของการ ทำสัญญา Option ในระหว่างเดือนและยอดคงค้าง ณ วันสิ้นเดือนด้วย - วันทำสัญญา Option กับธนาคารผู้ขาย - อายุสัญญา Option - วันที่ exercise สัญญา option - Strike price ที่กำหนดไว้ในสัญญา Option -อัตราค่าธรรมเนียมการซื้อสัญญา Option (Option premium) และให้ระบุเงื่อนไข การจ่าย Premium ไว้ในช่องหมายเหตุด้วย -มูลค่าหนี้สินเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยเทียบค่าเป็นเงินบาท ตามเกณฑ์การ แปลงค่าในการจัดทำแบบ บ.ง.5 และแสดงมูลค่าเป็นเงินสกุลต่างประเทศไว้ในวงเล็บ พร้อมแสดงวันครบกำหนดชำระหนี้สินนั้น - ให้ระบุการยกเลิกสัญญา Option เงื่อนไขการใช้สิทธิซื้อเงินตราต่างประเทศและลักษณะ พิเศษของ Option ซึ่งต่างจาก Option แบบพื้นฐาน (เช่น สัญญา Option ที่มี strike price สูงกว่า At-the-money-forward และมีเงินฝากไว้กับธนาคาร พาณิชย์เท่ากับจำนวนที่ตั้งสำรองเผื่อผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน) ไว้ในช่องหมายเหตุเอกสารนี้ เป็นส่วนประกอบของหนังสือเวียนที่ธปท. งพ. (ว) 2107/2538 เรื่อง เอกสารประกอบรายงานฐานะเงินตราต่างประเทศ ลงวันที่ 29 กันยายน 2538