การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของบริษัทเงินทุน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Friday October 6, 2000 06:18 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

6 ตุลาคม 2543เรียน ผู้จัดการ บริษัทเงินทุนทุกบริษัท ที่ ธปท.สนส.(11)ว.2600/2543 เรื่อง การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของบริษัทเงินทุน ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้อนุญาตให้บริษัทเงินทุนขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจเพิ่มเติมเป็นลำดับมาดังที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหนังสือเวียนแจ้งให้ทราบ ดังนี้ (1) หนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท.งพ.(ว)566/2535 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2535 เรื่อง การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ (2) หนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท.งพ.(ว)1834/2535 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2535 เรื่อง การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของบริษัทเงินทุน (3) หนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท.งพ.(ว)2269/2538 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2538 เรื่อง การประกอบธุรกิจดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ (4) หนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท.ง.(ว)2116/2542 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2542 เรื่อง การนำส่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ กรณีเป็นตัวแทนหรือนายหน้า บัดนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามมาตรา 20(6) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2528 อนญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจการเป็นตัวแทนเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการจำหน่ายหน่วยลงทุน ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานของบริษัทเงินทุน ธนาคารต่างประเทศไทย จึงขอยกเลิกหนังสือเวียนดังกล่าวข้างต้นทั้ง 4 ฉบับ โดยนำเรื่องการขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจเงินทุนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้อนุญาตไว้แล้วในหนังสือเวียนทั้ง 4 ฉบับ ดังกล่าว และที่อนุญาตเพิ่มเติมมารวมไว้ในหนังสือเวียนฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงขอแจ้งเพื่อทราบและถือปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ธุรกิจที่อนุญาตเป็นการทั่วไป (1) การเป็นนายหน้าตัวแทนจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลและตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออก (2) การให้บริการข่าวสารข้อมูล ซึ่งได้แก่การศึกษารวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ด้านเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน ฯลฯ เพื่อนำเสนอและจำหน่ายแก่ประชาชน (3) การเป็นที่ปรึกษาเพื่อนำบริษัทเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Sponsor) ซึ่งได้แก่ การดำเนินการ ดังนี้ (ก) จัดเตรียมและยื่นแบบคำขอและเอกสารต่างๆ ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด (ข) ติดต่อประสานงานกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ค) กระทำการใดๆ จนเป็นที่พอใจว่าผู้บริหารของบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เข้าใจถึงหน้าที่ ความรับผิดชอบ กฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และวิธีการปฏิบัติในการเป็นบริษัทจดทะเบียน ตลอดจนต้องปฏิบัติตามข้อตกลงในการเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียน (ง) ให้ความเห็นต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัทที่ยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีทีมงานบริหาร ที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์เหมาะสมที่จะเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียน (4) ธุรกิจการดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ บัตรเงินฝาก และตราสารแห่งหนี้ (Custodian Service) ซึ่งรวมถึง (ก) การรับหรือส่งมอบหลักทรัพย์ การรับหรือจ่ายเงินค่าหลักทรัพย์ การรับเงินปันผล และการส่งมอบผลประโยชน์อันเกิดจากหลักทรัพย์นั้นๆ และ (ข) การเป็นตัวแทนผู้รับมอบฉันทะจากลูกค้าในการเข้าประชุมใหญ่ ผู้ถือหุ้นและลงคะแนนเสียง ทั้งนี้ การมอบฉันทะดังกล่าวจะต้องระบุชัดเจนว่าให้ลงคะแนนเสียงเรื่องใดและอย่างไร (5) ธุรกิจการเป็นตัวแทนเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการจำหน่ายหลักทรัพย์ หมายถึง การเป็นตัวแทนของบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อสนับสนุนการจำหน่ายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยประกอบธุรกิจภายใต้ขอบเขตดังนี้ (ก) แจกจ่ายหนังสือชี้ชวนหรือเอกสารการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์จำหน่าย (ข) แจกจ่ายหรือรับใบขอซื้อหรือใบจองซื้อหลักทรัพย์ (ค) รับชำระเงินค่าซื้อหลักทรัพย์หรือค่าจองซื้อหลักทรัพย์ (ง) ยืนยันการซื้อหลักทรัพย์ (จ) ส่งมอบหลักทรัพย์ให้ผู้ซื้อ (ฉ) คืนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ที่ไม่ได้รับการจัดสรรหลักทรัพย์ (6) ธุรกิจการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ หมายถึง การให้บริการจัดทำทะเบียนหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งได้แก่ การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหลักทรัพย์ การเป็นตัวแทนจ่ายเงินในกรณีที่เกี่ยวข้อง เช่น การจ่ายเงินปันผล การจ่ายเงินเพื่อไถ่ถอนคืนหลักทรัพย์ เป็นต้น (7) ธุรกิจการให้บริการรับคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนเพื่อส่งให้บริษัทหลักทรัพย์สำหรับกองทุนเปิด หรือส่งให้บริษัทหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมสำหรับกองทุนเปิด ทั้งนี้ บริษัทเงินทุนต้องทำหน้าที่เฉพาะการส่งผ่านคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนเท่านั้น จะไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดราคามิได้ ข้อ2. ธุรกิจที่อนุญาตโดยกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไข (1) ธุรกิจการจัดการออก จัดจำหน่ายและค่าตราสารแห่งหนี้ ซึ่งบริษัทเงินทุนจะประกอบธุรกิจนี้ได้จะต้องยืนขออนุญาตต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย โดยบริษัทเงินทุนที่ยื่นคำขออนุญาตจะต้องมีคุณสมบัติตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง เงื่อนไขการอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบกิจการจัดการออก จัดจำหน่ายและค่าตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2535 (2) ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ กรณีเป็นตัวแทนหรือนายหน้า ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 12 เมษายน 2542 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ กรณีเป็นตัวแทน หรือนายหน้า โดยบริษัทเงินทุนที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจนี้ ให้ยืนคำขอต่อธนาคารแห่งประเทศไทย และเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบแล้ว ให้บริษัทเงินทุนที่ได้รับความเห็นยืนขอรับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังกล่าวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะคำนึงถึงปัจจัย ดังต่อไปนี้ (1) ฐานะการเงิน ความสามารถในการดำรงเงินกองทุนตามเกณฑ์ที่ทางการกำหนดและกันเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ครบตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด (2) คุณสมบัติของผู้บริหาร (3) ระบบการจัดการ ระบบการบัญชี และระบบควบคุมภายใน (4) การปฏิบัติตามกฎหมาย (5) นโยบายและมาตรการในการควบคุมและบริหารความเสี่ยงในการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ เฉพาะกรณีเป็นตัวแทนหรือนายหน้า ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศกำหนดตามมาตรา 22 ตรี แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขแล้ว อนึ่ง ในกรณีที่บริษัทเงินทุนประสงค์จะขายหลักทรัพย์โดยที่ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง บริษัทเงินทุนจะทำได้เฉพาะเพื่อป้องกันความเสี่ยงของตน และมีหลักฐานที่ชัดแจ้งว่าจะได้หลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ในอนาคต ทั้งนี้ บริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ดี ในการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์บางประเภท นอกจากได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์แล้ว ยังจะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อีกด้วย จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ ขอแสดงความนับถือ (นางธารษา วัฒนเกส) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ผู้ว่าการ แทนสิ่งที่ส่งมาด้วย 1. ประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2535 เรื่อง เงื่อนไขในการอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบกิจการจัดการออก จัดจำ หน่ายและค้าตราสารแห่งหนี้ 2. ประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 12 เมษายน 2542 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ กรณีเป็นตัวแทน หรือนายหน้า ฝ่ายนโยบายสถาบันการเงินโทร.283-5876,283-5305หมายเหตุ [ ] ธปท.จะจัดให้มีการประชุมชี้แจงในวันที่..........เวลา.........ณ......... [x] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง ครุฑ ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ กรณีเป็นตัวแทน หรือนายหน้า _______________________________________________ เพื่อเป็นการขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจเงินทุนให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ กรณีเป็นตัวแทนหรือนายหน้าได้ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ยืมและผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7(5) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 และมาตรา 20(6) วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2528 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ กรณีเป็นตัวแทน หรือนายหน้า เป็นกิจการอื่นที่อนุญาตให้บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ประกอบกิจการได้ ข้อ 2 บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ใดประสงค์จะประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืม และให้ยืมหลักทรัพย์ กรณีเป็นตัวแทนหรือนายหน้า ให้ยื่นคำขอต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาคำขอตามวรรคหนึ่ง และเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบยื่นขอรับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ กรณีเป็นตัวแทนหรือนายหน้า ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการกำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2542 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ครุฑ ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง เงื่อนไขในการอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบกิจการจัดการออก จัดจำหน่ายและค้าตราสารแห่งหนี้ ___________________________ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20(6) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2528 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบกิจการจัดการออก จัดจำหน่าย และค้าตราสารแห่งหนี้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. บริษัทเงินทุนใดประสงค์จะประกอบกิจการจัดการออก จัดจำหน่ายและค้าตราสารแห่งหนี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ให้ขออนุญาตต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยยืนคำขอต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะพิจารณาอนุญาตเฉพาะบริษัทเงินทุนที่มีคุณสมบัติดังนี้ (1) เป็นบริษัทที่มีฐานะการเงินอยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยมีเงินกองทุนสุทธิไม่ต่ำกว่าห้าร้อยล้านบาท และมีสินทรัพย์รวมสุทธิไม่ต่ำกว่าห้าพันล้านบาท (2) เป็นบริษัทที่มีฐานะการดำเนินงานดี โดยพิจารณาจากฐานะสภาพคล่องความสามารถในการชำระหนี้ คุณภาพของสินทรัพย์และความสามารถในการทำกำไรติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีหลังสุดก่อนยื่นคำขอ (3) เป็นบริษัทที่มีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานในอดีตของบริษัท ประกอบกับประวัติและความสามารถของผู้บริหาร (4) เป็นบริษัทที่มีการจัดการที่รอบคอบและเชื่อถือได้ มีระบบบัญชีตามมาตรฐานทั่วไป มีระบบการควบคุมภายในที่ดี และมีการติดตามหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ (5) เป็นบริษัทที่ให้ความร่วมมือหรือให้ความช่วยเหลือตามนโยบายของทางการเป็นอย่างดี และปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายและคำสั่งของทางการอย่างเคร่งครัด ตลาอดเวลาที่ผ่านมา ข้อ 2. ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2535 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสนสว31-กส37004-25431009ด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ