16 กุมภาพันธ์ 2549เรียน ผู้จัดการ บริษัทเงินทุนทุกบริษัท ที่ ฝนส.(21)ว.72/2549 เรื่อง นำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศ เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการให้กู้ยืมเงิน หรือลงทุน หรือก่อภาระผูกพันหรือ จ่ายเงินตามภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับเงินกองทุนของบริษัทเงินทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ขอนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดอัตรส่วนการให้กู้ยืมเงิน หรือลงทุน หรือก่อภาระผูกพันหรือจ่ายเงินตามภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับเงินกองทุนของบริษัทเงินทุน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 และมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 และที่แก้ไขแล้ว ธปท.ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการให้กู้ยืมเงิน หรือลงทุน หรือก่อภาระผูกพันหรือจ่ายเงินตามภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับเงินกองทุนของบริษัทเงินทุน ลงวันที่ 19 มกราคม 2549 ด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และได้นำลงใรชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 123 ตอนพิเศษ 20ง ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2549 เป็นต้นไป สรุปสาระสำคัญของการปรับปรุงประกาศครั้งนี้ 1.เพิ่มเติมนิยาม "ก่อภาระผูกพัน" ให้ครอบคลุมถึงการการค้ำประกันการเพิ่มทุนหรือการค้ำประกันในลักาณะอื่นใด เพื่อประโชน์ในการกู้ยืมของบุคคลหนึ่งบุคคลใด และการทำสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน 2.ปรับปรุงวิธีการคำนวณมูลค่าเทียบเท่าที่จะนับเป็นการก่อภาระผูกพันจากสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินจากเดิม 2 วิธี เป็น 4 วิธี คือวิธี Original Exposure และ Current Exposure ทั้งแบบมีNetting Agreement และไม่มี Netting Agreement เพื่อให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติสากลและรองรับธุรกรรมทางการเงินใหม่ๆ 3.กำหนดค่า Credit Conversion Factors สำหรับการคำนวณมูลค่าเทียบเท่าที่จะนับเป็นการก่อภาระผูกพันจากสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินด้านตราสารทุนเพิ่มเติม 4.กำหนดให้บริษัทเงินทุนใช้ผลรวมของ Notional Amount ที่บริษัทเงินทุนจะได้รับในสถานการณ์ที่เป็นประโยชน์กับบริษัทเงินทุนมากที่สุดที่อาจจะเกิดขึ้น (Effective Notional Amount) ในการคำนวณมูลค่าเทียบเท่าที่จะนับเป็นการก่อภาระผูกพันจากสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินที่มีการพัฒนาจากอนุพันธ์ทางการเงินพื้นฐานย่อยๆ หรือมีการ Leverage จำนวนเงินตามสัญญาหรือมีการแลกเปลี่ยนจำนวนเงินตามสัญญาหลายครั้ง 5.กำหนดคุณลักษณะของข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตที่เข้าข่ายการประกันความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพที่เข้าข่ายได้รับการลดหย่อนในเรื่องลูกหนี้รายใหญ่ จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ ขอแสดงความนับถือ (นางทองอุไร ลิ้มปิติ) ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบายสถาบันการเงิน ผู้ว่าการ แทนสิ่งที่ส่งมาด้วย ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการให้กู้ยืมเงิน หรือลงทุนหรือก่อภาระผูกพันหรือจ่ายเงินตามภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับเงินกองทุนของบริษัทเงินทุนฝ่ายนโยบายความเสี่ยงสอบถามข้อ 1 โทร.0-2283-5304, 0-2283-5303สอบถามข้อ 2-5 โทร.0-2283-5307, 0-2283-6820หมายเหตุ [X] ธนาคารจะจัดให้มีการประชุมชี้แจงเฉพาะในเรื่องการคำนวณมูลค่าเทียบท่าที่จะนับเป็นการก่อภาระผูกพันจากสัญญษอนุพันธ์ ทางการ เงินในวันที่ 15 มีนาคม 2549 เวลา 10.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมอาคาร 3 ชั้น 7 ธนาคารแห่งประเทศไทย (บริษัทเงินโปรดแจ้งรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม ตำแหน่ง และเบอร์ติดต่อ บริษัทละ 2 ท่าน มาที่ศูนย์บริหารข้อมูล สายนโยบาย สถาบันการเงิน ทางโทรสารหมาเลข 0-2356-7504 หรือ โทรศัพท์หมายเลข 0-2356-7791 ภายในวันที่ 10 มีนาคม 2549) [ ] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการให้กู้ยืมเงิน หรือลงทุน หรือก่อภาระผูกพันหรือ จ่ายเงินตามภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับเงินกองทุนของบริษัทเงินทุน 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกำหนดแนวทางการกำกับให้บริษัทเงินทุนมีการให้กู้ยืมเงิน ลงทุน หรือก่อภาระผูกพันหรือจ่ายเงินตามภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดด้วยความรัดกุม มีระบบการประเมิน บริหารและควบคุมความเสี่ยงที่เกิดจากธุรกรรมดังกล่าวที่มีประสิทธิภาพ และปรับปรุงแนวทางการกำกับดูแลการคำนวณภาระผูกพันสำหรับการทำสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินให้รองรับพัฒนาการตลาดการเงิน 2.อำนาจตามกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 และมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ที่แก้ไขแล้ว ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราส่วนการให้กู้ยืมเงิน หรือลงทุน หรือก่อภาระผูกพันหรือจ่ายเงิน ตามภาระผูกพันเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับเงินกองทุนของบริษัทเงินทุนด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามที่กำหนดในประกาศฉบับนี้ 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ทุกบริษัท 4.เนื้อหา 4.1 ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการให้กู้ยืมเงิน หรือลงทุน หรือก่อภาระผูกพันหรือจ่ายเงินตามภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับเงินกองทุนของบริษัทเงินทุน ลงวันที่ 29 เมษายน 2546 4.2 ในประกาศนี้ (1)"เงินกองทุน"หมายความว่า เงินกองทุนตาม(1)(2)(3)(4)(5) และ(6) ของบทนิยามคำว่า "เงินกองทุน"ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ที่แก้ไขแล้ว ทั้งนี้ ให้หักเงินตามตราสารใน(6)ของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนอื่นที่บริษัทเงินทุนนั้นถือไว้และสินทรัพย์อื่น ใดตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด เงินกองทุนตาม (1)(2)(3) และ(4) ไม่รวมถึงเงินที่บริษัทเงินทุนได้รับเนื่องจากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผล และให้หักผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวดการบัญชีออกก่อนและหักค่าแห่งกู๊ดวิลล์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ทั้งนี้ให้รวมเรียกว่าเงินกองทุนชั้นที่ 1 (2)"ก่อภาระผูกพัน"หมายความว่า รับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงิน สลักหลังตั๋วเงินที่ผู้รับสลักหลังมีสิทธิไล่เบี้ย ค้ำประกันการกู้ยืมเงิน หรือค้ำประกันการขายขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงิน การค้ำประกันการเพิ่มทุนหรือการค้ำประกันในลักษณะอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการกู้ยืมเงินของบุคคลหนึ่งบุคคลใด การรับประกันการจำหน่ายตราสารแสดงสิทธิในหนี้แบบรับประกันทั้งจำนวน (Firm Underwrite) และการทำสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน ได้แก่อนุพันธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยน อนุพันธ์ด้านอัตราดอกเบี้ย อนุพันธ์ด้านตราสารทุน และอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit Derivatives) รายละเอียดตามเอกสารแนบ 1 ทั้งนี้ การทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินดังกล่าว จะต้องเป็นธุรกรรมที่กระทำเพื่อป้องกันความเสี่ยงของบริษัทเงินทุนเท่านั้น (3)"ตั๋วเงินที่มีคุณภาพ"หมายความว่า (3.1) ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนอื่นรับรอง หรือรับอาวัล (3.2) ตั๋วแลกเงินที่บริษัทเงินทุนอื่นเป็นผู้สั่งจ่ายเพื่อจัดหาเงินทุนจากประชาชน (3.3) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่สั่งจ่ายหรือออกโดยบริษัท ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ตั้งแต่ระดับ AA ขึ้นไป หรือตั๋วแลกเงินที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ระดับ AA ขึ้นไป โดยสถาบันจึดอันดับความน่าเชื่อถือซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 4.3 อัตราส่วนการให้กู้ยืมเงิน หรือลงทุน หรือก่อภาระผูกพัน หรือจ่ายเงินตามภระผูกพันเพื่อบุคคลเหนึ่งบุคคลใดต่อเงินทุน การให้กู้ยืมเกินเหรือลงทุนในกิจการของผู้อื่นหรือก่อภาระผูกพันหรือจ่ายเงินตามภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดของบริษัทเงินทุนต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดหรืออัตราส่วนกับเงินกองทุนชั่นที่ 1 ของบริษัทเงินทุน หักด้วยจำนวนเงินตามสัญญาการทำธุรกรรม Credit Derivatives ที่บริษัทเงินทุนซื้อประกันความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์อ้างอิงจากบุคคลนั้น โดยไม่ได้รับเงินสดเป็นประกันการรับประกันความเสี่ยงดังกล่าวดังต่อไปนี้ แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า (1) จำนวนเงินที่บริษัทเงินทุนให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือลงทุนในกิจการของบุคคลนั้นรวมกันเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินร้อยละ 25 (2) จำนวนเงินที่บริษัทเงินทุนก่อภาระผูกพันะหรือจ่ายไปตามำระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดร่วมกันเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินร้อยละ 25 (3) จำนวนเงินที่บริษัทเงินทุนให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือลงทุนในกิจการของบุคคลนั้นตาม (1)และ ก่อภาระผูกพัน หรือจ่ายไปตามภาระผูกพันเพื่อบุคคลนั้น ตาม (2) รวมกันเมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ ต้องไม่เกินร้อยละ 35 ให้บริษัทเงินทุนถือปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณภาระผูกพันสำหรับการทำสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน ตามรายละเอียดในเอกสารแนบท้ายประกาศฉบับนี้ (เอกสารแนบ 2) 4.4 การนับลูกหนี้ตั๋วเงิน การให้กู้ยืมเงิน โดยวิธีการรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงินให้ถือเป็นการให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลดังกล่าวต่อไปนี้ ซึ่งเมื่อรวมกับการให้กู้ยืมเงินหรือลงทุนกรณีอื่นๆ แล้วต้องไม่เกินอัตราส่วนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4.3 ด้วย (1) กรณีที่เป็นตั๋วแลกเงินที่มีธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนอื่นนั้นรับรอง หรือ รับอาวัล ให้นับธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนอื่นทุกรายที่รับรองและรับอาวัลตั๋วเงินที่มีคุณภาพเป็นลูกหนี้ (2) กรณีเป็นตั๋วเงินที่มีคุณภาพที่ไม่มีธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนอื่นรับรอง หรือรับอาวัล ให้นับผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วเงินที่มีคุณภาพเป็นลูกหนี้ (3) กรณีตั๋วเงินนั้นไม่ใช่ตั๋วเงินที่มีคุณภาพ ให้นับผู้ทรงซึ่งขายตั๋วเงินและบุคคลซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วเงินเป็นลูกหนี้ 4.5 ข้อยกเว้นในการคำนวณการให้กู้ยืมเงิน หรือลงทุน หรือก่อภาระผูกพันหรือจ่ายเงินตามภาระผูกพัน การคำนวณการให้กู้ยืมเงิน หรือลงทุน หรือก่อภาระผูกพันหรือจ่ายเงินตามภาระผูกพันตามความใน 4.3 ไม่หในบรวมถึงรายการที่กำหนดในเอกสารแนบท้ายประกาศฉบับนี้ (เอกสารแนบ3) 4.6 คุณลักษณะของข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตที่เข้าข่ายการประกันความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตที่จะเข้าข่ายเป็นการประกันความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับการลดหย่อนการกำกับดูแลเกี่ยวกับอัตราส่วนการให้กู้ยืม ลงทุนหรือก่อภาระผูกพัน หรือจ่ายเงินตามภาระผูกพันเพื่อบุคลหนึ่งบุคคลใดกับเงินกองทุนจะต้องมีคุณลักษณะทุขข้อตามเอกสารแนบ 4 4.7 ประกาศนี้ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2549 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม 2549 (ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย เอกสารแนบ1 สัญญาอนุพันธ์ทางการเงินประเภทต่างๆ"อนุพันธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยน"ได้แก่ สัญญาดังต่อไปนี้ (1) Foreign Exchange Forward Contracts (2) Foreign Exchange Futures (3) Currency Options Purchase (4) Cross Currency Interest Rate Swaps (5) อนุพันธ์ทางการเงินอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน"อนุพันธ์ด้านอัตราดอกเบี้ย" ได้แก่ สัญญาดังต่อไปนี้ (1) Forward Rate Agreements (2) Interest Rate Futures (3) Interest Rate Options Purchase (4) Interest Rate Swaps (5) อนุพันธ์ทางการเงินอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน"อนุพันธ์ด้านตราสารทุน"ได้แก่ สัญญาดังต่อไป (1) Equity Index Futures (2) Equity Index Options Purchase (3) อนุพันธ์ทางการเงินอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน"อนุพันธ์ด้านเครดิต"ได้แก่ สัญญาดังต่อไปนี้ (1) Crdit Default Swaps (2) สัญญาอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน เอกสารแนบ2 วิธีการคำนวณภาระผูกพันสำหรับการทำสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน (ก)ให้บริษัทเงินทุนใช้วิธีการคำนวณแบบ Current Exposure ในการคำนวณภาระผูกพันสำหรับการทำสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินกับคู่สัญญาทุกราย ยกเว้นคู่สัญญาที่ทำเฉพาะสัญญาอนุพันธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยน หรือนุพันธ์ด้านอัตราดอกเบี้ย บริษัทเงินทุนอาจเลือกใช้วิธีการคำนวณภาระผูกพันดังกล่าว แบบ Original Exposure ก็ได้(ข)ในกรณีที่บริษัทเงินทุนได้มีการลงนามในสัญญาที่ยินยอมให้หักกลบลบหนี้ระหว่างกัน (Netting Agreement) ที่มีเงื่อนไขครบถ้วน สามารถเลือกใช้วิธีการคำนวณภาระผูกพันสำหรับการทำสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินแบบมี Netting ได้ ทั้งนี้ สัญญาที่ยินยอมให้หักกลบลบหนี้ระหว่างกัน (Netting Agreement) ที่มีเงื่อนไขครบถ้วน ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (1) เป็นสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย และเป็นสัญญษ Master Agreement ที่ครอบคลุมถึงสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินทุกสัญญาที่บริษัทเงินทุนทำกับคู่ค้ารายนั้น ๆ (2) ในกรณีที่มีคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดนัดชำระหนี้ (Default) ล้มละลาย เลิกกิจการหรือเหตุอื่นในทำนองเดียวกัน สัญญาหักกลบลบหนี้จะต้องกำหนดให้บริษัทเงินทุนต้องชำระหนี้ให้กับคู่ค้า หรือรับชำระหนี้จากคู่ค้าเป็นยอดรวมสุทธิเพียงยอดเดียว (Single Legal Obligation) โดยยอดรวมสุทธิดังกล่าวเป็นผลรวมสุทธิของยอดกำไรและขาดทุนที่ได้จากการวัดมูลค่ายุติธรรม (Mark to market) ของสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินที่บริษัทเงินทุนทำกับคู่ค้าทุกสัญญา (3) ที่ปรึกษากฎหมายอิสระได้ให้ความเห็นชอบอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่าการหักกลบลบหนี้ตาม (2) สามารถกระทำได้ โดยไม่ขัดกับ (3.1) กฎหมายของประเทศที่สำนักงานใหญ่ของนิติบุคลซึ่งเป็นคู่สัญญานั้นตั้งอยู่นอกจากนี้ หากคู่สัญญาเป็นสาขาของนิติบุคคลต่างประเทศ การหักกลบลบหนี้จะต้องไม่ขัดกับกฎหมายที่สาขาของนิติบุคคลนั้นตั้งอยู่ด้วย (3.2) กฎหมายที่ไช้บังคับกับการทำธุรกรรมนั้น ๆ และกฎหมายอื่นๆ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการหักกลบลบหนี้ (4) ไม่มีเงื่อนไขที่มีผลบังคับให้คู่สัญญาฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญาจะต้องชำระหนี้ในวงเงินจำกัด หรือไม่ต้องชำระหนี้ให้กับคู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญา หากคู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญามีฐานะเป็นเจ้าหนี้สุทธิ หลังการหักกลบลบหนี้ (Walkaway Clause)ค. วิธีการคำนวณภาระผูกพันที่กำหนด สามารถสรุปได้ตามตาราง ดังนี้ กรณีไม่มี Netting Agreement กรณีมี Netting Agreement หรือเงื่อนไข่ไม่ครบถ้วน ที่มีเงื่อนไขครบถ้วนCurrent Exposure CEA=CCE+PFCE gross CEA=NCCE+PFCE NetOriginal Exposur CEA=Notional Amount*CCF ตาราง2 CEA=Notional Amount*CCF ตาราง2 โดยที่ (1)CEA (Credit Equivalent Amount) คือ มูลค่าเทียบเท่าที่จะนับเป็นการ"ก่อภาระผูกพัน"จากสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน (2)Notional Amount คือ จำนวนเงินตามสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน ทั้งนี้ สำหรับสัญญาสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินซึ่งมีการพัฒนาจากสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินพื้นฐานย่อยๆ หรือมีการ Leverageจำนวนเงินตามสัญญาหรือมีการแลกเปลี่ยนจำนวนเงินตามสัญญาหลายครั้ง (Structrued Product) ให้บริษัทเงินทุนใช้ผลรวมของ Notional Amount ของทุกธุรกรรมย่อยที่ใช้คำนวณจำนวนเงินที่จะได้รับในสถานการณ์ที่เป็นประโยชน์กับบริษัทเงินทุนมากที่สุดที่อาจจะเกิดขึ้น (Effective Notional Amount) แทนจำนวนเงินตามสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน (Notional Amount) (3)CCF(Credit Conversion Factor) คือ ค่าแปลงสภาพตามที่กำหนดไว้ในตารางที่1 และตารางที่ 2 โดยการเลือกใช้ค่า CCF ตามตารางใดให้ดูตามคำอธิบายที่กำหนดในแต่ละวิธี (4)CCE(Current Credit Exposure) คือ ผลรวมด้านกำไรที่ได้จากการวัดมูลค่ายุติธรรม ในปัจจุบัน ของการทำอนุพันธ์ทางการเงินทุกสัญญาที่บริษัทเงินทุนทำกับคู่ค้ารายเดียวกัน (5)PFCE gross(Potential Future Credit Exposure:PFCE Gross)คือ ผลรวมของการวัดมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเท่ากับผลรวมของการนำ Notional Amount ของทุกสัญญาที่ทำกับคู่ค้ารายเดียวกันไปคุณด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor)ที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดไว้ในตรารางที่1 (6)NCCE(Net Current Credit Exposure) คือ ยอดรวมสุทธิของกำไรและขาดทุนที่ได้จากการวัดมูลค่ายุติธรรมของสัญญาอนุพันธ์ทารการเงินทุกสัญญาที่บริษัทเงินทุนทำกับคู่ค้ารายเดียวกันทั้งนี้ หากยอดรวมสุทธิดังกล่าวออกมามีค่าเป็นลบหรือศูนย์ Net Current Credit Exposure จะมีมูลค่า (7)PFCE Net(Potential Future Credit Exposure for Netted Transaction:PFCE Net) คือ ผลรวมของการวัดมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตสำหรับกรณีที่มี Netting Agreementซึ่งกำหนดให้ PFCE Net มีค่าดังนี้ PFCE Net=0.4*PFCE Groos+0.6*NGR*PFCE Gross โดย NGR (Net to gross ratio) คือ อัตราส่วนระหว่าง NCCE ซึ่งคำนวณตาม(6)หารด้วย CCE ซึ่งคำนวณตาม(4)โดยบริษัทเงินทุนสามารถเลือกคำนวณ NGR ได้ 2 วิธี ดังนี้ (7.1)การคำนวณค่า NGR สำหรับคู่สัญญาแต่ละราย (Counterparty by Counterparty Approach) โดยใช้ค่า NCCE individual และ CCE individual ที่คำนวณจากสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินทุกสัญญาที่มีการลงนามในสัญญาที่ยินยอมให้หักกลบลบหนี้ระหว่างกัน (Netting Agreement) ที่มีเงื่อนไขครบถ้วน ที่บริษัทเงินทุนทำกับคู่ค้ารายนั้นๆ (7.2)การคำนวณหาค่า NGR สำหรับคู่สัญญาทุกราย (Aggregate Approach) โดยใช้ค่า NCCE Aggregate และ CCE Aggregate ที่คำนวณจากผลรวมของ NCCE IndividualและCCE Individualของคู่สัญญาทุกรายที่บริษัทเงินทุนมีการลงนามในสัญญาที่ยินยอมให้หักกลบลบหนี้ระหว่างกัน(Netting Agreement) ที่มีเงื่อนไขครบถ้วนโดยบริษัทเงินทุนจะต้องใช้ค่า NGR ที่หาจากวิธีนี้ในการคำนวณ PFCE Net สำหรับคู่สัญญาทุกราย (8)สำหรับกรณีที่คู่ค้ารายเดียวกันทำสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า(Foreign Exchange Forward Contracts) หรือสัญญาอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีจำนวนเงินตามสัญญาเท่ากับกระแสเงินสดที่ต้องรับและจ่ายกันจริง ทั้งด้านซื้อและด้านขาย บริษัทเงินทุนสามารถนำสัญญาที่เป็นรายการตรงกันข้ามกัน มีวันครบกำหนดวันเดียวกัน (Same Maturity Date) และสกุลเงินเดียวกัน(Same Currency Pair) มาหักกลบลบกันได้ หากคู่สัญญาได้ทำสัญญาได้ทำสัญญาที่ระบุว่าให้สามารถหักกลบลบหนี้ได้ตามกฎหมาย ดังนี้ (8.1)สำหรับบริษัทเงินทุนที่ใช้วิธีการคำนวณแบบ Current Exposure: ให้คูณ Notional Amount ทั้งด้านซื้อและด้านขายที่ครบกำหนดวันเดียวกันด้วยค่าแปลงสภาพ(Credit Conversion Factor) ในตารางที่1 แล้วจึงนำผลคูณที่ได้มาหักกลบลบกัน โดยส่วนต่างที่ได้รับนั้นก็คือ ค่าPFCE Gross หรือ PFCE Net สำหรับสัญญาที่กล่าว (8.2)สำหรับบริษัทเงินทุนที่ใช้วิธีการคำนวณแบบ Original Exposure: ให้คูณ Notional Amount ทั้งด้านซื้อและด้านขายที่ครบกำหนดวันเดียวกันด้วยค่าแปลงสภาพของกรณีไม่มี Netting Agreement ในตารางที่ 2 แล้วจึงนำผลคูณที่ได้มาหักกลบกัน โดยส่วนต่างที่ได้รับนั้นก็คือ CEA(Credit Equivalent Amount) สำหรับสัญญาที่กล่าว ตารางที่ 1 Credit Conversion Factor สำหรับการทำอนุพันธ์ทางการเงิน กรณีที่บริษัทเงินทุนใช้วิธีการคำนวณแบบ Current Exposureอายุที่เหลือของสัญญา1/ อนุพันธ์ด้าน อนุพันธ์ด้าน อนุพันธ์ด้าน อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย ตราสารทุนไม่เกิน 14 วัน 0 0 0.06ไม่เกิน 1 ปี 0.01 0 0.06 เกิน 1 ปี-5 ปี 0.05 0.005 0.08เกิน 5 ปี ขึ้นไป 0.075 0.015 0.101/สำหรับสัญญาที่มีการรับหรือจ่ายชำระเงินกัน ณ วันที่ที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยมีการปรับอัตราอ้างอิงซึ่งมีผลให้สัญญากลับไปมีมูลค่าตลาดเท่ากับศูนย์ อายุที่เหลือของสัญญาในกรณีนี้หมายถึง ระยะเวลาคงเหลือก่อนการปรับอัตราอ้างอิงครั้งต่อไป ตารางที่ 2 Credit Conversion Factor สำหรับสัญญาอัตราแลกเปลี่ยนและสัญญาอัตราดอกเบี้ย กรณีที่บริษัทเงินทุนเลือกใช้วิธีการคำนวณแบบ Original Exposure กรณีไม่มี Netting Agreement กรณีมี Netting Agreement หรือเงื่อนไขไม่ครบถ้วน ที่มีเงื่อนไขครบถ้วนอายุสัญญา สัญญาอัตรา สัญญาอัตรา สัญญาอัตรา สัญญาอัตรา แลกเปลี่ยน ดอกเบี้ย แลกเปลี่ยน ดอกเบี้ยไม่เกิน14วัน 0 0 0 0ไม่เกิน1ปี 0.02 0.005 0.015 0.0035 เกิน1ปี-2ปี 0.05 0.01 0.0375 0.0075สำหรับทุกๆ1ปีที่เพิ่มขึ้น 0.03 0.01 0.0225 0.0075 เอกสารแนบ3 ข้อยกเว้นในการรวมคำนวณการให้กู้ยืมเงิน ลงทุน หรือก่อภาระผูกพันหรือจ่ายเงินตามภาระผูกพัน (1)ให้กู้ยืมหรือลงทุนโดยการซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารหนี้ดังต่อไปนี้ (ก)หลักทรัพย์รัฐบาลไทย หรือตราสารแสดงสิทธในหนี้ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (ข)หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย (ค)หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยองค์การของรัฐ หรือนิติบุคคลที่มี กฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (2)ให้กู้ยืมเงิน รับอรงตั๋วเงิน รับอาวัลตั๋วเงิน ค้ำประกัน หรือก่อภาระผูกพันอื่นใด โดยมีหลักทรัพย์ หรือตราสารดังต่อไปนี้เป็นประกัน (ก)หลักทรัพย์รัฐบาลไทย หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยกระทรงการคล้ง (ข)หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย (ค)หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยองค์การของรัฐ หรือนิติบุคคลที่มี กฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น การคำนวณราคาของหลักประกันตาม (2) ให้ถือตามราคาดังนี้ (1)กรณีหลักทรัพย์รัฐบาลไทยต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ตราไว้ (2)กรณีหุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ประเภทระบุอัตราดอกเบี้ย ต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ตราไว้ (3)กรณีหุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ประเภทไม่ระบุอัตราดอกเบี้ย ต้องไม่เกินร้อยละ 60 ของจำนวนเงินที่ตราไว้ (3)การให้กู้ยืมเงิน ลงทุนโดยซื้อตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือก่อภาระผูกพันโดยมีบุคคลอื่นทำข้อตกลงกับบริษัทเงินทุนนั้นว่า บุคคลอื่นนั้นจะรับความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit risk) ในกรณีที่บริษัทเงินทุนไม่ได้รับชำระเงินคืนหรือกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่กำหนดขึ้นเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้(Credit event) กับผู้กู้ยืม ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือคู่สัญญาตามภาระผูกพันอ้างอิง ทั้งนี้ไม่เกิดกว่ามูลค่าความเสียหาที่ผู้รับประกันตกลงจะรับชดเชยให้ภายใต้ข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต หรือไม่เกินจำนวนเงินที่มีสิทธิหักกลบลบหนี้กับผู้รับความเสี่ยงนั้น หรือไม่เกินมูลค่าตลาดของหลักทรัพย์รัฐบาลไทยที่นำมาวางเป็นประกันการรับประกันความเสี่ยงของผู้รับประกัน เว้นแต่กรณีที่ข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตไม่เข้าข่ายเป็นการรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างมีประสิทธิภาพ ให้หารือ ธปท. เกี่ยวกับวิธีการคำนวณอัตราส่วนการให้กู้ยืม ลงทุน หรือก่อภาระผูกพันหรือจ่ายเงินตามภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับเงินกองทุนต่อไป (ยังมีต่อ)