ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อภาวะค่าครองชีพ ราคาน้ำมันและพลังงานเชื้อเพลิงที่มีข่าวปรับตัวสูงขึ้น
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนมีนาคม 2555 จากประชาชน สาขาอาชีพต่างๆ จานวน 3,046 คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา จาก 25.8 เป็น 23.0 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ปัจจุบันปรับตัวลดลงจาก 15.7 เป็น 14.4 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต (3 เดือน) ปรับตัวลดลงจาก 32.6 เป็น 28.8 พบว่า ค่าดัชนีทุกรายการปรับตัวลดลง เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อภาวะค่าครองชีพ ราคาน้ำมันและพลังงานเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทำให้ค่าใช้จ่ายในภาคครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งภัยแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตภาคการเกษตร
ส่วนค่าดัชนีในด้านต่างๆ พบว่า ผู้บริโภคมีความคาดหวังต่อรายได้ในอนาคตลดลง เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรบางชนิดปรับตัวลดลง ประกอบกับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมยังอยู่ในระหว่างการปรับตัวจากนโยบายค่าแรงขั้นต่าที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 เมษายน ประชาชนยังมี ความกังวลและไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจจากข่าวความไม่แน่นอนในด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐอเมริกา ส่วนความเชื่อมั่นในด้านการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบันและอนาคต ยังเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง เนื่องจากประชาชนยังมีความต้องการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง การวางแผนซื้อรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ใน 6 เดือนข้างหน้า ยังอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความกังวลต่อปัญหา ค่าครองชีพที่สูงขึ้นและยังรู้สึกว่าภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ดีขึ้นเป็นผลต่อเนื่องมาจากสถานการณ์ น้ำท่วมปลายปีที่ผ่านมา
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนมีนาคม 2555 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา พบว่าภูมิภาคที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนี้ ภาคกลาง จาก 11.7 เป็น 15.8 และภาคเหนือ จาก 25.6 เป็น 26.2 ส่วนภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง คือ กรุงเทพฯ/ปริมณฑล จาก 27.0 เป็น 23.9 ภาคตะวันออก จาก 14.7 เป็น 12.8 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก 33.7 เป็น 28.7 และภาคใต้ จาก 31.1 เป็น 25.2 เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อภาวะค่าครองชีพ ราคาน้ำมันและพลังงานเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทา ให้ค่าใช้จ่ายในภาคครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งภัยแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตภาคการเกษตร
ผู้บริโภคในทุกพื้นที่ ต้องการให้แก้ไขปัญหา ราคาสินค้า ราคาน้ำมัน ค่าครองชีพ การว่างงาน เศรษฐกิจทั่วไป ยาเสพติด และคอรัปชั่นตามลาดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ผู้บริโภคต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาดังนี้
กรุงเทพฯ/ปริมณฑล ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ
ภาคกลาง ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ค่าครองชีพและราคาน้ำมัน
ภาคเหนือ ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ
ภาคตะวันออก ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้า/ราคาน้ำมันเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ค่าครองชีพและการว่างงาน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ
ภาคใต้ ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ
บทสะท้อนจากข้อคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่างๆ
1.ดูแลราคาน้ำมันและพลังงาน เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภค
2.แก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน โดยการปรับลดหรือตรึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภค พร้อมทั้ง ปรับขึ้นค่าแรงเพื่อให้ประชาชนอยู่ได้ เพราะในปัจจุบันประชาชนมีหนี้เพิ่มมากขึ้นในหลายครัวเรือน
1.ปราบปรามการทุจริตและคอรัปชั่นอย่างจริงจัง แก้ไขปัญหายาเสพติด อาชญากรรมและปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2.สร้างความเชื่อมั่นในรัฐบาลและเร่งสร้างความมั่นคงทางการเมืองภายในประเทศ เนื่องจากส่งผลต่อ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ
1. บริหารจัดการน้าอย่างรอบคอบ เร่งพัฒนาคลองชลประทานเพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า รวมทั้งเร่งวางแผนการขุดคลองเชื่อมเพื่อให้น้ำไหลลงทะเล รวมทั้งเร่งวางแผนระยะยาวเพื่อป้องกันน้ำท่วมและภัยแล้ง
1.แก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง โดยการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
2.ดูแลราคาสินค้าการเกษตร แก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะมันสำปะหลังเพื่อให้เหมาะสมกับต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะค่าปุ๋ยและค่าน้ำมันที่แพงขึ้นมาก
---------------------------------------
ระดับของค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100 โดยมีเกณฑ์การอ่านค่า ดังนี้
- ดัชนีมีค่า เข้าใกล้ 100 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ “ดี”
- ดัชนีมีค่า เข้าใกล้ 0 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ “ไม่ดี”
ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
โทรศัพท์ 0-2507-6554 โทรสาร 0-2507-5806 www.price.moc.go.th