ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น โดยเป็นผลมาจากนโยบายและมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือและลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนกรกฎาคม 2555 จากประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ จำนวน 3,155 คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา จาก 27.6 เป็น 29.1 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้น จาก 20.9 เป็น 21.5 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต (3 เดือน) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 32.1 เป็น 34.2 เนื่องจาก นโยบายและมาตรการต่างๆของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือประชาชน เช่น การขยายเวลาลดอัตราภาษีนน้ำมันดีเซล การอนุมัติ การแทรกแซงราคายางพารา รวมทั้งการออกประกาศราคาแนะนำอาหารสำเร็จรูปของกระทรวงพาณิชย์เพื่อช่วยลดค่าครองชีพของประชาชน แต่ทั้งนี้ค่าดัชนียังต่ำกว่าเส้น 50 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมีความเชื่อมั่นไม่เต็มที่นัก เนื่องจากยังมีความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองภัยธรรมชาติและผลกระทบจากวิกฤติการเงินในยุโรป
ค่าดัชนีในด้านความคาดหวังที่มีต่อรายได้ในอนาคต(3 เดือนข้างหน้า)ปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากนโยบายการดูแลราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าวและมันสำปะหลังมาตรการแทรกแซงราคายางพารา ซึ่งช่วยให้เกษตรกรมีรายได้และเงินออมมากขึ้น มีหนี้สินลดลงส่วนความเชื่อมั่นในด้านการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคทที่จำเป็นทั้งในปัจจุบันและอนาคตปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งนี้ดัชนีมีค่าสูงกว่า 50 บ่งชี้ให้เห็นว่าประชาชนงมีการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างต่อเนื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นด้านการวางแผนซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆใน 6 เดือนข้างหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ความเชื่อมั่นด้านการวางแผนซื้อรถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลง เนื่องจากประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายสูงและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะตลาดโลก ทำให้ประชาชนต้องปรับตัวและระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
ผู้บริโภคในเกือบทุกภาค ต้องการให้แก้ไขปัญหา ราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ แต่ผู้บริโภคในส่วนกรุงเทพฯ/ปริมณฑล ต้องการให้แก้ไขปัญหา ราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือค่าครองชีพและราคาน้ำมัน
1. ดูแลและควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและอาหารสำเร็จรูป
2. ดูแลโครงสร้างราคาน้ำมันและราคาพลังงาน
3. หาแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาว
4. สร้างบรรยากาศทางการเมืองให้มีเสถียรภาพเพื่อกระตุ้นการลงทุน รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน
5. สร้างเศรษฐกิจของประเทศให้แข็งแกร่ง เร่งลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ
1. แก้ไขปัญหายาเสพติด อาชญากรรม ปราบปรามผู้ที่มีอิทธิพลในพื้นที่รวมทั้งป้องกันและปราบปรามการทุจริตและคอรัปชั่น
2. แก้ไขปัญหาเงินกู้นอกระบบ
3. แก้ไขปัญหาความยากจน ส่งเสริมอาชีพสู่ชุมชน รวมทั้งแก้ไขปัญหาสังคมโดยเฉพาะสิทธิสตรีและเด็ก
1. แก้ไขปัญหาราคาสินค้าตกต่ำ ผลักดันราคาสินค้าเกษตร รวมทั้งสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรมากขึ้น
---------------------------------------
ระดับของค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100 โดยมีเกณฑ์การอ่านค่า ดังนี้
- ดัชนีมีค่า เข้าใกล้ 100 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ “ดี”
- ดัชนีมีค่า เข้าใกล้ 0 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ “ไม่ดี”
ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
โทรศัพท์ 0-2507-6554 โทรสาร 0-2507-5806 www.price.moc.go.th