ดัชนีภาวะธุรกิจส่งออก (Export Business Index) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ (Febuary 2018)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 26, 2018 14:39 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีมูลค่าส่งออก

ภาพรวมดัชนีภาวะธุรกิจส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 2561 เท่ากับ49.4 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ในระดับ 49.5 ดัชนีต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่า ผู้ส่งออกมีมุมมองว่าภาวะการส่งออกมีแนวโน้มลดลง จากสินค้าคงคลัง เพราะวัตถุดิบและต้นทุนสินค้าคงคลังสูงขึ้น ทำให้มีการจัดการบริหารสินค้าคงคลังให้น้อยลง และจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออก จำนวน 309 ราย มีรายละเอียดผลการสำรวจดังนี้

ดัชนีมูลค่าส่งออก เดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีค่าเท่ากับ 50.3 แสดงว่า มูลค่าการส่งออกมีทิศทางที่ดี สาเหตุหลักมาจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวตามเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เช่น เคมีภัณฑ์และพลาสติก

สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ข้าว และอาหารสำเร็จรูป

ขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าส่งออก ลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทออาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง เชื้อเพลิงและพลังงาน และเครื่องเล็กทรอนิกส์

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ เดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีค่าเท่ากับ 50.0 แสดงว่า คำสั่งซื้อใหม่มีแนวโน้มทรงตัว แต่การส่งออกยังคงได้รับปัจจัยบวก จากการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการค้าโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่นและอาเซียนที่ยังคงเติบโตได้ดี

สินค้าที่มีมูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง น้ำตาลทราย เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ข้าว และอาหารสำเร็จรูป

ขณะที่สินค้าที่มูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ ลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง เชื้อเพลิงและพลังงาน และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีการจ้างงาน

ดัชนีการจ้างงาน เดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีค่าเท่ากับ 50.5 แสดงให้เห็นว่าการจ้างงานของภาคการส่งออกเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ยาง

สินค้าที่มีมูลค่าการจ้างงาน เพิ่มขึ้น ได้แก่ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ยาง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ยางพารา อาหารสำเร็จรูป และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

ขณะที่สินค้าที่มูลค่าการจ้างงาน ลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และเชื้อเพลิงและพลังงาน

ดัชนีสินค้าคงคลัง

ดัชนีสินค้าคงคลังเดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีค่าเท่ากับ 46.8 ซึ่งมีค่าต่ำกว่า 50 แสดงว่ามูลค่าสินค้าคงคลังยังคงมีแนวโน้มลดลง ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มความผันผวนของค่าเงิน ทำให้มีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้น้อยลงโดยสินค้าคงคลังที่ ลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ข้าว อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง เชื้อเพลิงและพลังงาน อาหารสำเร็จรูป และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

ขณะที่มูลค่าสินค้าคงคลังที่ เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ยาง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป

ปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ

ปัญหา
  • ค่าเงินบาทที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ส่งผลให้สูญเสียรายได้จากการส่งออก และความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออก
  • ขาดแคลนตู้บรรจุสินค้าสำหรับการส่งออก (ตู้คอนเทนเนอร์) ทำให้ไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าต่างประเทศได้ทันตามกำหนดเวลา เรือดีเลย์ ไม่มีเรือส่งออกสินค้า อีกทั้งท่าเรือกรุงเทพหนาแน่นส่งผลกระทบไปถึงท่าเรือแหลมฉบังด้วย
  • มาตรการความร่วมมือระหว่างประเทศในการควบคุมการส่งออกยางพารา เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านราคาในตลาดส่งผลให้ผู้ประกอบการยางพาราส่งออกได้น้อยลง
  • ความต้องการของตลาดต่างประเทศและความไม่แน่นอนของสภาพเศรษฐกิจโลก
  • ภาวะการขาดแคลนแรงงานไทยและต่างด้าว รวมทั้งการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุน
  • ขาดแคลนวัตถุดิบในประเทศ เช่น มันสำปะหลัง และกุ้งเพื่อใช้ในการแปรรูป

ข้อเสนอแนะ

ภาครัฐควรดำเนินการ ดังนี้

  • ดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนมาก เพื่อช่วยให้ความสามารถในการแข่งขันด้านอัตราแลกเปลี่ยนของไทยที่ลดลงเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้า
  • ดูแลต้นทุนด้านแรงงานให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้
  • ส่งเสริมสิทธิประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศ

ที่มา: กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


แท็ก การส่งออก  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ