ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนสิงหาคม 2563

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 3, 2020 14:25 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนสิงหาคม 2563 เท่ากับ 102.29

Highlights อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนสิงหาคม 2563 เทียบกับเดือนเดียวกันของในรอบ 6 เดือน และเป็นการหดตัวในอัตราที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของกลุ่มอาหารสดร้อยละ 2.44 ที่สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยเฉพาะผักสดที่มีราคาสูงที่สุดในรอบ 13 เดือน เนื่องจากฝนตกชุก และความต้องการเนื้อสุกรยังสูงต่อเนื่องทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ ขณะที่ราคากลุ่มพลังงานเริ่มทรงตัวแต่ยังต่ำกว่าปีก่อน สำหรับสินค้าอุปโภค-บริโภคอื่น ๆ ยังเคลื่อนไหวสอดคล้องกับปริมาณสินค้า ความต้องการ และมาตรการส่งเสริมการขาย ส่งผลให้เงินเฟ้อพื้นฐานที่หักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว สูงขึ้นร้อยละ 0.30 (YoY)

เฉลี่ย 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) เงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ -1.03 (AoA)และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 0.33 (AoA)

1. เทียบกับเดือนสิงหาคม 2562 (YoY)ลดลงร้อยละ -0.50

โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*

หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ -1.73 จากการลดลงของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ -4.50 ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดที่ลดลงร้อยละ -14.33 ส่งผลให้ราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานลดลงร้อยละ -9.70 หมวดเคหสถาน(ก๊าซหุงต้ม ค่าน้ำประปา น้ำยาปรับผ้านุ่ม) ลดลงร้อยละ -0.12 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อยืดบุรุษ เสื้อยกทรง เสื้อเชิ้ตบุรุษ) ลดลงร้อยละ -0.04 ค่าโดยสารสาธารณะ(ค่าโดยสารรถไฟลอยฟ้า ค่าโดยสารเรือ)ลดลงร้อยละ -0.02 การสื่อสาร(เครื่องรับโทรศัพท์มือถือ) ลดลงร้อยละ-0.04 และหมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯ(ค่าทัศนาจรต่างประเทศ ค่าห้องพักโรงแรม) ลดลงร้อยละ -0.22 ขณะที่หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลจากสินค้าบางรายการหมดโปรโมชั่น (ยาสีฟัน โฟมล้างหน้า ค่าแต่งผมชาย แชมพู) สูงขึ้นร้อยละ 0.31 ส่วนหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ราคาเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง

หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.62 จากข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเหนียว) สูงขึ้นร้อยละ 1.49 เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร กระดูกซี่โครงหมู ไก่สด ปลาหมึกกล้วย) สูงขึ้นร้อยละ 3.12 ผักสด (ผักชี มะเขือเทศ ต้นหอม ผักคะน้า) สูงขึ้นร้อยละ 13.94 เครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) ซอสหอยนางรม น้ำปลา) สูงขึ้นร้อยละ 3.09 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มรสช็อกโกแลต กาแฟผงสำเร็จรูป) สูงขึ้นร้อยละ 1.96 และอาหารบริโภคในบ้านนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.48 และ 0.88 ตามลำดับ ได้แก่ ข้าวแกง/ข้าวกล่อง กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด ข้าวราดแกง อาหารแบบตะวันตก อาหารเช้า ขณะที่ผลไม้ (ส้มเขียวหวาน มะม่วง องุ่น ลองกอง มะละกอสุก แตงโม ชมพู่) ลดลงร้อยละ -4.99 จากปริมาณผลผลิตส่วนเกินในตลาดมาก จากความต้องการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนสิงหาคม2563

2. เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2563(MoM)สูงขึ้นร้อยละ 0.29โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้

หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.76 ตามการสูงขึ้นของเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร ไก่ย่าง กระดูกซี่โครงหมู) สูงขึ้นร้อยละ 1.09 ไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมผง) สูงขึ้นร้อยละ 1.47 ผักสดและผลไม้ สูงขึ้นร้อยละ 4.14 ประกอบด้วย ผักสด(มะเขือเทศ ต้นหอม แตงกวา ผักคะน้า มะเขือ) สูงขึ้นร้อยละ 7.23 และ ผลไม้สด (ส้มเขียวหวาน มะม่วง กล้วยน้ำว้า ฝรั่ง) สูงขึ้นร้อยละ 2.03 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(ชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม เครื่องดื่มรสช็อกโกแลต) สูงขึ้นร้อยละ0.03 อาหารบริโภค-ในบ้าน(ข้าวแกง/ข้าวกล่อง กับข้าวสำเร็จรูป อาหารโทรสั่ง(delivery) ก๋วยเตี๋ยว) สูงขึ้นร้อยละ 0.08 และอาหารบริโภค-นอกบ้าน(ข้าวราดแกง อาหารเย็น-อาหารตามสั่ง) สูงขึ้นร้อยละ 0.04 ขณะที่สินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) ลดลงร้อยละ -0.37 และเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช กะทิสำเร็จรูป ซอสพริก) ลดลงร้อยละ -0.25

หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.01 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด ยกเว้นน้ำมันดีเซล ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าชยานพาหนะ (LPG)สูงขึ้นร้อยละ 0.16 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(เครื่องถวายพระ ค่าห้องพักโรงแรม) สูงขึ้นร้อยละ 0.05 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(ไวน์) สูงขึ้นร้อยละ 0.01 ขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อยกทรง กางเกงขายาวบุรุษ) ลดลงร้อยละ-0.03 หมวดเคหสถาน(ปูนซีเมนต์ ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม) ลดลงร้อยละ-0.02 การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(สบู่ถูตัว น้ำยาระงับกลิ่นกาย ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว) ลดลงร้อยละ -0.09 และ ค่าโดยสารสาธารณะ (ค่าโดยสารเครื่องบิน) ลดลงร้อยละ -0.07 ส่วนหมวดการสื่อสารราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง

3. เฉลี่ย 8 เดือน (ม.ค. -ส.ค.) ปี 2563 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA)ลดลงร้อยละ -1.03โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -2.25 ตามการลดลงของหมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ก๊าซหุงต้ม) ลดลงร้อยละ -1.45 หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารลดลงร้อยละ -4.76 ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -15.65 และการสื่อสารลดลงร้อยละ -0.04 ขณะที่สินค้าและบริการที่ราคาปรับสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เครื่องแบบนักเรียนอนุบาล เสื้อยืดสตรี) สูงขึ้นร้อยละ 0.06 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(ยาสีฟัน น้ำยาระงับกลิ่นกาย ค่าแต่งผมชาย แชมพู) สูงขึ้นร้อยละ 0.37 ค่าโดยสารสาธารณะ (ค่าโดยสารรถประจำทางโดยสารรถสองแถว ค่าโดยสารรถตู้) สูงขึ้นร้อยละ 2.77 และหมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(ค่าเดินทางไปเยี่ยมญาติและทำบุญ ค่าเล่าเรียน -ค่าธรรมเนียมการศึกษา) สูงขึ้นร้อยละ 0.22 ส่วนหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง

หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.08 ตามการสูงขึ้นของข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า) สูงขึ้นร้อยละ 6.14 จากความต้องการของตลาดมีอย่างต่อเนื่อง เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร กระดูกซี่โครงหมู ปลาดุก ปลานิล ปลาทู) สูงขึ้นร้อยละ 1.75 ไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมเปรี้ยว ไข่เป็ด ไข่เค็ม) สูงขึ้นร้อยละ 1.19 เครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) น้ำปลา ซอสหอยนางรม) สูงขึ้นร้อยละ 2.82 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มรสช็อกโกแลต น้ำดื่มบริสุทธิ์) สูงขึ้นร้อยละ 2.05 อาหารบริโภค-ในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด) สูงขึ้นร้อยละ 0.66 และอาหารบริโภค-นอกบ้าน(อาหารเช้า ข้าวราดแกง อาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)) สูงขึ้นร้อยละ 0.49 ขณะที่สินค้าในหมวดผักและผลไม้ลดลงร้อยละ-2.41 ประกอบด้วยผักสด (พริกสด มะนาว กะหล่ำปลี ต้นหอม มะเขือ) ลดลงร้อยละ -3.97 และผลไม้สด (มะม่วง เงาะ ลองกอง ส้มเขียวหวาน มังคุด) ลดลงร้อยละ -2.81

4. การเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ (YoY) จำแนกรายภาค ดังนี้

รูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาจำแนกรายภาคเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยลดลงทุกภาค มีปัจจัยสำคัญจากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ก๊าซหุงต้ม จากมาตรการลดราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน เพื่อลดผลกระทบค่าครองชีพประชาชน รวมทั้งผลไม้สดที่ราคาลดลง (ส้มเขียวหวานและมะม่วง) ขณะที่ปัจจัยบวกมาจากเนื้อสุกร ที่มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ อีกทั้งราคาผักสดที่สูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตได้รับความเสียหายในแหล่งเพาะปลูกภาคเหนือและภาคกลาง

5. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกันยายน 2563

อัตราเงินเฟ้อเดือนกันยายน 2563ยังมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่ลดลง โดยมีปัจจัยสำคัญจากราคาพลังงานที่เริ่มทรงตัว ความต้องการบริโภคที่เริ่มดีขึ้นตามมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐ และราคาอาหารสดหลายชนิดที่ปรับตัวสูงกว่าปีก่อนตามสภาพอากาศและภัยธรรมชาติที่แปรปรวน ประกอบกับฐานราคาสินค้าหลายชนิดในปีก่อนอยู่ในระดับต่ำ

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ ทั้งปี 2563 ที่ร้อยละ (-1.5) -(-0.7) (ค่ากลางอยู่ที่ -1.1) โดยมีสมมติฐานปี 2563 ดังนี้

  • ราคาน้ำมันดิบดูไบเคลื่อนไหวในช่วง35-45เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
  • อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวระหว่าง30.5-32.5บาท/เหรียญสหรัฐ
  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)หดตัวร้อยละ(-8.6)-(-7.6)(อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย)

ซึ่งหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ อาจมีการทบทวนกรอบการคาดการณ์เพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์อีกครั้งในระยะต่อไป

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ