ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศเดือนมีนาคม 2565 และไตรมาสแรกของปี 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 25, 2022 11:18 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

Highlights

ดัชนีราคาส่งออก เดือนมีนาคม 2565 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ยังคงสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 4.5(YoY) ปัจจัยหลักจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว ทำให้มีความกังวลสินค้าที่สำคัญมีแนวโน้มขาดแคลนและไม่สมดุลกับอุปสงค์ที่กำลังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกปรับตัวเร่งขึ้น ส่งผลต่อเนื่องไปยังต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น และทำให้ดัชนีราคาส่งออกสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง เร่งตัวสูงขึ้นร้อยละ 56.4 ตามราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 5.9 จากไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ น้ำตาลทราย เนื่องจากถูกใช้เป็นพืชพลังงานทดแทนราคาน้ำมันที่สูงขึ้น สำหรับอาหารสัตว์เลี้ยง ตามต้นทุนวัตถุดิบอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.6 จากสินค้าเม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และเหล็ก เนื่องจากเป็นสินค้าเกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ยาง และรถยนต์ ตามความต้องการสินค้าของประเทศคู่ค้าที่ขยายตัว และหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.6 จากผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา และผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ตามความต้องการนำเข้าเพื่อบริโภค และใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องของประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น

ดัชนีราคานำเข้า เดือนมีนาคม 2565 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ร้อยละ 14.5 (YoY) สูงสุดในรอบมากกว่า 13 ปี ทั้งนี้ หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 69.2 จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 7.6 ได้แก่ เคมีภัณฑ์ ตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทองคำ ตามความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย สำหรับปุ๋ย ผลจากรัสเซียระงับการส่งออกปุ๋ย ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 5.0 คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสารที่มีผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีเทคโนโลยีที่สูงขึ้น และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 4.1 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากต้นทุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และผลิตภัณฑ์โลหะ ตามต้นทุนเหล็กที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 2.9 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และรถยนต์นั่ง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าเงินของประเทศผู้ส่งออกอ่อนค่า

แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกและนำเข้าในช่วงที่เหลือของปี 2565 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่อาจได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งส่งผลให้มีความไม่แน่นอนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญของโลก ทั้งผลกระทบทางตรง เนื่องจากสินค้าที่รัสเซียและยูเครนเป็นผู้ผลิตสำคัญ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมาก เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ ปุ๋ย ข้าวสาลี เหล็ก และนิกเกิล เป็นต้น ขณะที่ผลกระทบทางอ้อม เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรและการตอบโต้ทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งจะเป็นผลกระทบวงกว้างที่ส่งผลต่อราคาสินค้าและต้นทุนการผลิต เช่น (1) สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันและพืชพลังงานทดแทนมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น (2) สินค้าที่ใช้ทดแทนข้าวสาลีมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น (3) สินค้าทางการเกษตรมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จากต้นทุนปุ๋ยที่เพิ่มขึ้น (4) สินค้าที่ใช้เหล็กและนิกเกิลเป็นวัตถุดิบในการผลิตมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น (5) ต้นทุนการขนส่งระหว่างประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และ (6) ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ตามความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นอัตราการค้า (Term of Trade)เดือนมีนาคม 2565

อัตราการค้าของไทย ในเดือนมีนาคม 2565 เท่ากับ 95.2 (เดือนกุมภาพันธ์ 2565 เท่ากับ 97.3) ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำสุดนับจากเริ่มจัดทำดัชนีในปี 2543 สะท้อนถึง ไทยมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก ปัจจัยหลักเป็นผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกเร่งตัวสูงขึ้นมาก ส่งผลให้ราคานำเข้า (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันมากกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก รวมถึงทำให้สินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันปรับสูงขึ้นตาม ด้วยเหตุนี้ หากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังปรับตัวสูงขึ้น จะเป็นข้อจำกัดต่อการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราการค้าไทยในระยะต่อไป 1. เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2565 (MoM)สูงขึ้นร้อยละ 1.1 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 17.3 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ เนื่องจากตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ยืดเยื้อ ประกอบกับ กลุ่มโอเปกพลัสมีการปรับเพิ่มกำลังการผลิตเพียงเล็กน้อย ทำให้อุปทานน้ำมันดิบยังคงตึงตัว และราคาเร่งสูงขึ้นต่อเนื่อง หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.8 ได้แก่ ยางพารา เนื่องจากความต้องการใช้ของโลกเพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณผลผลิตในตลาดน้อยลง จากการเข้าสู่ฤดูกาลปิดกรีดยางและการระบาดของโรคใบร่วง นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ราคาสูงขึ้นจากความต้องการใช้มันสำปะหลังของประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะจีนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการให้ความสำคัญเกี่ยวกับนโยบายด้านพลังงานสะอาด ส่งผลให้มีความต้องการใช้มันสำปะหลังในอุตสาหกรรมเอทานอลเพิ่มขึ้น สำหรับผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง และปลาสดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป ราคาปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการบริโภค และต้นทุนอาหารสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.8 ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ น้ำตาลทรายจากความต้องการนำเข้าทั่วโลกเพิ่มขึ้น ประกอบกับ มีการนำผลผลิตไปผลิตเป็นพลังงานทดแทนราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น สำหรับเครื่องดื่ม อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และอาหารสัตว์เลี้ยง ราคาสูงขึ้นตามความต้องการของตลาดเพื่อใช้ในการบริโภค รวมถึงต้นทุนวัตถุดิบ และค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากผลของราคาเม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และเหล็ก เนื่องจากเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยางตามความต้องการของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว ทำให้ความต้องการของตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้น และทองคำ ผลจากความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย จากความกังวลต่อความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน

2.เทียบกับเดือนมีนาคม 2564 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 4.5 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 56.4 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบตามทิศทางราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น เนื่องจากผลของสถานการณ์เศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้น ทำให้ความต้องการน้ำมันเพื่อใช้ในการบริโภคเพิ่มขึ้น ประกอบกับผลความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ทำให้ราคาน้ำมันเร่งสูงขึ้นหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 5.9 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ อาหารสัตว์เลี้ยง ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงความต้องการบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง สำหรับน้ำตาลทราย ราคายังทรงตัวในระดับสูงกว่าปีก่อนหน้าค่อนข้างมาก เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้น จึงมีความต้องการนำอ้อยไปผลิตเอทานอลเพื่อทดแทนราคาน้ำมัน หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.6 จากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก รถยนต์ เคมีภัณฑ์ และเหล็ก ตามความต้องการสินค้าของประเทศคู่ค้าที่ขยายตัว รวมถึงบางสินค้าเกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.6 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา ผลไม้สด แช่เย็นแช่แข็ง และแห้ง และไก่สด แช่เย็นแช่แข็ง และแปรรูป ตามความต้องการนำเข้าเพื่อบริโภค และใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องของประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น ข้าวโพด และกากถั่วเหลืองปรับสูงขึ้น

3. ไตรมาสที่ 1ปี 2565 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 3.9 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 47.4 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ จากผลของความต้องการใช้น้ำมันและสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 5.4 โดยเฉพาะน้ำตาลทราย จากความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้น และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงความต้องการบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.5 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ความต้องการสินค้าจากตลาดต่างประเทศมีแนวโน้มขยายตัว สำหรับเม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ สูงขึ้นตามสินค้าเกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น และหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.5 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ตามความต้องการบริโภคของตลาดที่เพิ่มขึ้น และความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งอุตสาหกรรมเอทานอลและอุตสาหกรรมผลิตถุงมือยาง และยางรถยนต์ เป็นต้น ขณะที่สินค้าข้าว และกุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ราคาลดลง เนื่องจากการเผชิญกับการแข่งขันด้านราคา ประกอบกับความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ ส่งผลให้ความต้องการบริโภคกุ้งลดลง

4. ไตรมาสที่ 1ปี 2565 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) สูงขึ้นร้อยละ 1.7 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 17.1 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบโลกที่ทยอยปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ตามความต้องใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น และสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้อุปทานน้ำมันดิบตึงตัวต่อเนื่องหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 3.2 ได้แก่ ยางพารา ตามปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง ขณะที่ความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สินค้าข้าวตามความต้องการสินค้าข้าวเพิ่มขึ้นของประเทศผู้นำเข้าสำคัญ สำหรับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูปขยายตัวตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทั้งการนำเข้าเพื่อบริโภคและใช้ในอุตสาหกรรมเอทานอลเพื่อเป็นพลังงานทดแทนราคาน้ำมันที่สูงขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 1.7 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ตามต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนการขนส่งระหว่างประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะข้าวสาลีแนวโน้มราคาปรับสูงขึ้น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนซึ่งเป็นผู้ส่งออกสินค้าประเภทธัญพืชและข้าวสาลีเป็นหลักในตลาดโลก และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมสูงขึ้นร้อยละ 0.9 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์ยางตามคำสั่งซื้อสินค้าจากตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น สำหรับเม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และทองคำ ผลจากความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย จากความกังวลต่อความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน

ดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนมีนาคม 2565
1. เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2565 (MoM) สูงขึ้นร้อยละ 3.4โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 16.0 ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป และก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ ความต้องการใช้น้ำมันของโลกที่เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว และถ่านหิน จากความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาว และหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ รวมทุกรายการ3.4 1.0 ได้แก่เคมีภัณฑ์ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ผลจากราคาน้ำมันทำให้ต้นทุนและค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับความต้องการใช้มีแนวโน้มฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก และทองคำ ผลจากความต้องการซื้อหมวดสินค้าเชื้อเพลิง16.0 สินทรัพย์ปลอดภัย จากความกังวลต่อความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ขณะที่ ปุ๋ย ราคาปรับสูงขึ้นเนื่องจากปัญหาสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลกระทบต่อการนำเข้าแม่ปุ๋ยหมวดสินค้าทุน0.3 ที่จะนำมาผลิตปุ๋ยเคมี และปุ๋ยบางสูตรเริ่มมีการขาดตลาด หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 0.8 ได้แก่ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป1.0 โอไมครอนยังอยู่ในอัตราที่สูง เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน จากความต้องการใช้ในชีวิตประจำวันที่เพิ่มสูงขึ้น นมและผลิตภัณฑ์นม และผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค0.8 ผัก ผลไม้ จากความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น หมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 0.3 ได้แก่ผลิตภัณฑ์โลหะ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับความต้องการลงทุนหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง-0.5 เครื่องจักรที่เพิ่มขึ้น เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ เนื่องจากเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 0.5 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และรถจักรยานยนต์ เนื่องจากมีการชะลอการผลิตรถยนต์บางรุ่น เป็นผลจากการขาดแคลนชิปและชิ้นส่วน 2. เทียบกับเดือนมีนาคม 2564 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 14.5 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 69.2 ได้แก่น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และน้ำมันสำเร็จรูป ผลจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งรัสเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ของโลกหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 7.6 ได้แก่ เคมีภัณฑ์ ตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้นจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทองคำ ผลจากราคาน้ำมันและรวมทุกรายการ14.5 ความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย สำหรับปุ๋ย จากกรณีสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและหมวดสินค้าเชื้อเพลิง69.2 ยูเครน ทำให้รัสเซียระงับการส่งออกปุ๋ย ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้นพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช จากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 5.0 ได้แก่ หมวดสินค้าทุน4.1 เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด และเครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสารที่มีผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีเทคโนโลยีที่สูงขึ้น นมและผลิตภัณฑ์นม หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป7.6 ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้ และเนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ผลจากความต้องการหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค5.0 ในการบริโภคเพิ่มสูงขึ้น และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 4.1 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์โลหะ จากต้นทุนการผลิตและความต้องการหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง-2.9 ในการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากต้นทุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน ประกอบกับภาวะขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ เนื่องจากเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 2.9 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และรถยนต์นั่ง 3. ไตรมาสที่ 1ปี 2565 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 12.6 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 59.9 ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป และก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 7.1 ได้แก่ ปุ๋ย ผลจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้รัสเซียระงับการส่งออกปุ๋ย รวมทุกรายการ12.6 ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น ส่วนสินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและหมวดสินค้าเชื้อเพลิง59.9 ผลิตภัณฑ์ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ราคาปรับตัวสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบที่ปรับสูงขึ้น สำหรับพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช และสัตว์น้ำสดแช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป หมวดสินค้าทุน3.7 ราคาปรับตัวสูงขึ้น จากค่าขนส่งระหว่างประเทศ นอกจากนี้ เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก ราคาสูงขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมัน และความต้องการใช้หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป7.1

เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 4.7 หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค4.7 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ผลจากการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ จากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง-3.5 ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม จากมาตรการป้องกันรักษาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันเชื้อไวรัสอย่างต่อเนื่อง หมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 3.7 ได้แก่เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลจากต้นทุนวัตถุดิบและความต้องการที่เพิ่มขึ้นขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 3.5 ได้แก่ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ผลจากชิ้นส่วนบางรุ่นที่ราคาปรับลดลง4. ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) สูงขึ้นร้อยละ 4.9 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 23.5 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน หมวดสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้นร้อยละ 1.8 ได้แก่ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน และผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ ผลจากรวมทุกรายการ4.9 ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19ที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง หมวดสินค้าเชื้อเพลิง23.5 หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 1.9 ได้แก่ ปุ๋ย ผลจากต้นทุนหมวดสินค้าทุน1.5 วัตถุดิบในการผลิตที่ปรับสูงขึ้น ส่วนสินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ราคายังทรงตัวอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ ราคาพืชและผลิตภัณฑ์หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป1.9 จากพืช และสัตว์น้ำสด แช่เย็นแช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป ได้รับผลกระทบจากต้นทุนการขนส่งที่ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค1.8

ราคาเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก หมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 1.5 ได้แก่ผลิตภัณฑ์หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง0.1 โลหะ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และราคายังคงสูงขึ้น ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องขณะที่ราคาเครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์และการทดสอบ ปรับตัวสูงขึ้นจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้มีความต้องการที่เพิ่มขึ้น และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.1 โดยเฉพาะส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และรถยนต์นั่ง

อัตราการค้าของไทย ในเดือนมีนาคม 2565 เท่ากับ 95.2 (เดือนกุมภาพันธ์ 2565 เท่ากับ 97.3)ลดลงต่ำกว่าระดับ 100 เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แสดงถึง อัตราการค้าของไทยมีความเสียเปรียบเชิงโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากราคาส่งออกที่เสนอขายต่ำกว่าราคานำเข้าที่ซื้อเข้ามา อัตราการค้าของไทย ในเดือนมีนาคม 2565 เท่ากับ 95.2 (เดือนกุมภาพันธ์ 2565 เท่ากับ 97.3) ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำสุดนับจากเริ่มจัดทำดัชนีในปี 2543 และลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 สะท้อนถึงไทยมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก ปัจจัยหลักเป็นผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกเร่งตัวสูงขึ้นมาก ส่งผลให้ราคานำเข้า (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันมากกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก รวมถึงทำให้สินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันปรับสูงขึ้นตาม ด้วยเหตุนี้ หากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังปรับตัวสูงขึ้น จะเป็นข้อจำกัดต่อการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราการค้าไทยในระยะต่อไป

สำหรับกลุ่มสินค้าที่ราคาส่งออกยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าราคานำเข้า (ได้เปรียบในอัตราการค้า) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลางจากต่างประเทศในการผลิตเช่น เคมีภัณฑ์เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และกลุ่มสินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในการผลิตเช่น ผัก ผักกระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผัก ผลไม้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผลไม้ และผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้ง เป็นต้น

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก (เสียเปรียบในอัตราการค้า) ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ทองคำ นมและผลิตภัณฑ์นม และทองแดงและผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เครื่องใช้ไฟฟ้า และสิ่งทอและเสื้อผ้า เป็นต้น แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกและนำเข้าในช่วงที่เหลือของปี 2565คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่อาจได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกและนำเข้าในช่วงที่เหลือของปี 2565 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่อาจได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งส่งผลให้มีความไม่แน่นอนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญของโลก ทั้งผลกระทบทางตรง เนื่องจากสินค้าที่รัสเซียและยูเครนเป็นผู้ผลิตสำคัญ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมาก เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ ปุ๋ย ข้าวสาลี เหล็ก และนิกเกิล เป็นต้น ขณะที่ผลกระทบทางอ้อม เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรและการตอบโต้ทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งจะเป็นผลกระทบวงกว้างที่ส่งผลต่อราคาสินค้าและต้นทุนการผลิต เช่น (1) สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันและพืชพลังงานทดแทนมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น (2) สินค้าที่ใช้ทดแทนข้าวสาลีมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น (3) สินค้าทางการเกษตรมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จากต้นทุนปุ๋ยที่เพิ่มขึ้น (4) สินค้าที่ใช้เหล็กและนิกเกิลเป็นวัตถุดิบในการผลิตมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น (5) ต้นทุนการขนส่งระหว่างประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และ (6) ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ตามความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น

นอกจากผลกระทบระยะสั้นที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และต้นทุนการผลิตสูงขึ้นแล้ว ในระยะยาวคาดว่าดัชนีราคาส่งออกและดัชนีราคานำเข้า จะได้รับผลจากมาตรการคว่ำบาตรของทั้ง 2 ฝ่าย ที่มีการดำเนินการตอบโต้อย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่กฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อจำกัดใหม่ระหว่างประเทศ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของความร่วมมือ การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศครั้งสำคัญของโลกอีกครั้ง และส่งผลต่อเนื่องต่อราคาสินค้าและต้นทุนการผลิตในระยะกลางและระยะยาวต่อไป

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ