ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศเดือนสิงหาคม 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 26, 2022 12:00 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาส่งออกเดือนสิงหาคม 2565 เท่ากับ 108.2 ดัชนีราคานำเข้าเดือนสิงหาคม 2565 เท่ากับ 113.0 เมื่อเทียบกับระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงร้อยละเมื่อเทียบกับระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนสิงหาคม 2564 (YoY)สูงขึ้น4.6 1. เดือนสิงหาคม 2564 (YoY)สูงขึ้น12.1 2. เดือนกรกฎาคม 2565 (MoM) ลดลง0.1 2. เดือนกรกฎาคม 2565 (MoM) ลดลง0.6 3. เฉลี่ย 8เดือน (ม.ค.-ส.ค.) ปี 2565

สูงขึ้น4.6 3. เฉลี่ย 8เดือน (ม.ค.-ส.ค.) ปี 2565 เทียบกับปี 2564 (AoA)เทียบกับปี 2564 (AoA)Highlights

ดัชนีราคาส่งออก เดือนสิงหาคม 2565 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 (YoY) ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 47.2 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 47.9 โดยเฉพาะราคาน้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบปรับตัวลดลงจากอุปสงค์ชะลอตัวท่ามกลางความกังวลเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 7.3 ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยง ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลง เนื่องจากอินโดนีเซียผ่อนคลายข้อจำกัดการส่งออก และผลผลิตในประเทศมาเลเซียเพิ่มขึ้น รวมทั้งอุปสงค์ของโลกชะลอตัว หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ5.3 เนื่องจากราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้น ตามความกังวลผลผลิตในอินเดียที่ลดลงและผลผลิตของปากีสถานได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากอุทกภัยครั้งใหญ่ อย่างไรก็ตาม ราคาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงตามความต้องการจากประเทศจีนที่หดตัว นอกจากนี้ ราคายางพาราเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงจากผลกระทบของเศรษฐกิจจีนชะลอตัว โดยเฉพาะยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศจีนที่หดตัวทำให้ความต้องการใช้ยางพาราลดลงและหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.4 โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ราคายังคงสูงขึ้นจากต้นทุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งภาวะขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ยังไม่คลี่คลาย

ดัชนีราคานำเข้า เดือนสิงหาคม 2565 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนขยายตัวที่ร้อยละ 12.1 (YoY) ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 56.7ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า ที่ร้อยละ 57.7 โดยราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงจากความกังวลของเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ประกอบกับคาดว่าน้ำมันดิบจากอิหร่านมีแนวโน้มจะกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้ง หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 7.4 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสาร ผลจากต้นทุนของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สูงขึ้น หมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 4.9 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบจากต้นทุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ประกอบกับภาวะขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์และหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 4.3 โดยเฉพาะสินแร่โลหะทองแดงและอลูมิเนียมปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตที่ลดลงทั้งจากสหภาพยุโรปและจีน ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤติพลังงานทำให้มีการหยุดการผลิตในบางช่วง ขณะที่ราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง หลังจากรัสเซียกลับมาส่งออกปุ๋ยในระดับปกติ ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 3.7 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกและนำเข้าในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปี 2565 (ก.ย. -ธ.ค.) คาดว่าดัชนีราคาส่งออกและนำเข้ามีแนวโน้มปรับตัวลดลง โดยเฉพาะการปรับตัวลดลงของดัชนีราคานำเข้าส่งผลให้อัตราการค้าไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุสำคัญจาก (1) เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่ำกว่าคาดการณ์ จากผลกระทบของความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ เงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก การดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด และการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศจีน (2) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีทิศทางชะลอตัวลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 (3) สินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้บางประเทศยกเลิกนโยบายจำกัดการส่งออก และรัสเซียและยูเครนได้ลงนามในข้อตกลงส่งออกธัญพืช (4) ต้นทุนค่าระวางเรือมีแนวโน้มลดลง และ (5)เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า ทำให้ผู้ส่งออกไทยบางส่วนมีความได้เปรียบด้านการกำหนดราคาส่งออก โดยเฉพาะสินค้าที่มีการใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่อัตราการค้า (Term of Trade)เดือนสิงหาคม 2565

อัตราการค้าของไทย ในเดือนสิงหาคม 2565 เท่ากับ 95.8 (เดือนกรกฎาคม 2565 เท่ากับ 95.3) ต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก โดยมีปัจจัยหลักจากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังทรงตัวสูงกว่าปีก่อนหน้า ส่งผลให้ราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก อย่างไรก็ตาม แนวโน้มราคาน้ำมันที่เริ่มลดลงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าช่วงก่อนหน้าน่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้อัตราการค้าของไทยในระยะต่อไปปรับตัวดีขึ้น

1. เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2565 (MoM)ลดลงร้อยละ 0.1โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 3.7 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามความต้องการใช้น้ำมันโลกมีแนวโน้มปรับตัวรวมทุกรายการ-0.1 ลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากผลกระทบของการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด รวมทั้งเศรษฐกิจจีนได้รับผลกระทบจากใช้มาตรการเข้มงวดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หมวดสินค้าเกษตรกรรม-0.1 หมวดสินค้าเกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 0.1 ได้แก่ ยางพารา ตามความต้องการใช้ยางพาราลดลงโดยเฉพาะตลาดจีนจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว เช่นเดียวกันกับ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่ได้รับหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร0.1 ผลกระทบจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัว ขณะที่หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.1 ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยง ผลจากต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับความต้องการหมวดสินค้าอุตสาหกรรม0.1 ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันปาล์มหดตัว เนื่องจากปริมาณผลผลิตและสต็อกของประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น ประกอบกับอุปสงค์จากตลาดโลกชะลอตัว และหมวดสินค้าหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง-3.7 อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากผลของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ตามการใช้ชิ้นส่วนที่มีเทคโนโลยีที่สูงขึ้น2.เทียบกับเดือนสิงหาคม 2564 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 4.6โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.2 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 47.9 โดยเฉพาะราคาน้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบปรับตัวลดลงจากอุปสงค์ชะลอตัวท่ามกลางความกังวลรวมทุกรายการ4.6 เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว และมีความเสี่ยงเศรษฐกิจประเทศสำคัญจะเข้าสู่ภาวะถดถอย หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 7.3 ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยง ตามต้นทุนวัตถุดิบหมวดสินค้าเกษตรกรรม5.3 ที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลง เนื่องจากอินโดนีเซียผ่อนคลายข้อจำกัดการส่งออก ประกอบกับผลผลิตในประเทศมาเลเซียเพิ่มขึ้น รวมทั้งอุปสงค์ของโลกชะลอตัว หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 5.3 7.3

ในอินเดียที่ลดลงและผลผลิตของปากีสถานได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากอุทกภัยครั้งใหญ่ อย่างไรก็ตาม ราคาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงตามความต้องการจากประเทศจีนที่หดตัว หมวดสินค้าอุตสาหกรรม2.4

นอกจากนี้ ราคายางพาราเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงจากผลกระทบของการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน โดยเฉพาะยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศจีนที่หดตัวทำให้ความต้องการใช้ยางพาราลดลงและหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง47.2

หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.4 โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ราคายังคงสูงขึ้นจากต้นทุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งการขาดแคลนชิ้นส่วนสำคัญอย่างเซมิคอนดักเตอร์ยังไม่คลี่คลาย 3. เฉลี่ยม.ค. -ส.ค. ปี 2565 เทียบกับปี 2564 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 4.6โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 53.5 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันดิบ และก๊าซปิโตรเลียมเหลว ตามราคาน้ำมันดิบตลาดโลกรวมทุกรายการ4.6 ที่ปรับตัวสูงกว่าปีก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนที่ยืดเยื้อ และมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตร รวมทั้งประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ไม่สามารถเพิ่มกำลังหมวดสินค้าเกษตรกรรม2.8 การผลิตน้ำมันตามข้อตกลง เพราะบางประเทศประสบปัญหาในการผลิต หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 6.5 ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยง ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ รวมถึงความต้องการบริโภคหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร6.5 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ราคาสูงขึ้นมากในช่วงครึ่งแรกของปี เนื่องจากความกังวลด้านอุปทานที่ไม่เพียงพอ และน้ำตาลทราย เนื่องจากความต้องการนำผลิตภัณฑ์จากอ้อยไปผลิตหมวดสินค้าอุตสาหกรรม2.5 เป็นเอทานอลเพื่อทดแทนน้ำมันที่ราคาสูงขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.5 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากการใช้ชิ้นส่วนและหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง53.5 อุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่และต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.8 ได้แก่ มันสำปะหลัง เนื่องจากความต้องการใช้เป็นพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น สำหรับไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และไก่แปรรูป เนื่องจากต้นทุนอาหารสัตว์เลี้ยงที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่อุปสงค์จากตลาดโลกยังคงขยายตัวต่อเนื่อง 6. แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปี 2565 แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปี 2565 (ก.ย. -ธ.ค.) คาดว่าดัชนีมีแนวโน้มปรับตัวชะลอตัวลง เป็นผลมาจาก (1) เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีอย่างต่อเนื่อง และเป็นอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ ทั้งความขัดแย้งที่ยืดเยื้อระหว่างยูเครนและรัสเซีย และความขัดแย้งที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นระหว่างจีนและสหรัฐฯ จากกรณีไต้หวัน นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกยังได้รับผลกระทบของเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก การดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด และการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศจีน (2) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีทิศทางชะลอตัวลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 สอดคล้องกับความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัว (3) ราคาพืชพลังงานทดแทนมีแนวโน้มลดลง ตามราคาน้ำมันที่ลดลง (4) ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มลดลง ทั้งอุปสงค์ที่คาดว่าจะชะลอตัวบ้างตามเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวได้ต่ำกว่าคาดการณ์เดิม รวมทั้งต้นทุนการผลิตจะปรับตัวลดลง โดยเฉพาะราคาปุ๋ยที่ปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุดแล้ว (5) ต้นทุนปัจจัยการผลิตสินค้าขั้นกลางจากต่างประเทศมีแนวโน้มลดลงจากค่าระวางเรือปรับตัวลดลง และ (6) เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า ทำให้ผู้ส่งออกไทยบางส่วนมีความได้เปรียบด้านการกำหนดราคาส่งออก โดยเฉพาะสินค้าที่มีการใช้วัตถุดิบจากประเทศเป็นส่วนใหญ่ 1. เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2565 (MoM) ลดลงร้อยละ 0.6โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 4.1 ได้แก่ น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป ราคาลดลงตามความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ราคาก๊าซธรรมชาติยังคงปรับตัวสูงขึ้น สอดคล้องกับราคาก๊าซในตลาดยุโรป ที่ได้รับผลกระทบจากการส่งมอบก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียที่ลดลง ขณะที่อุปสงค์รวมทุกรายการ-0.6

มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่แปรปรวน หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงหมวดสินค้าเชื้อเพลิง-4.1 ร้อยละ 0.1 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์ 0.3 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่หมวดสินค้าทุน0.3 ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ จากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 0.3 ได้แก่ ทองคำ เนื่องจากมีการเร่งซื้อหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป0.3 ในช่วงที่ราคาปรับตัวลดลงมาก จนส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสั้นๆ อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมราคาทองคำมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากธนาคารกลางหลายประเทศหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค0.0 ปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการลงทุนทองคำมีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ ราคาเหล็กปรับตัวลดลง เนื่องจากอุปสงค์ที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะจากวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีนหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง-0.1 ทำให้ความต้องการใช้ของจีนปรับตัวลดลงอย่างมาก และหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการเปลี่ยนแปลงในบางกลุ่มสินค้าสำคัญโดยกลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ที่มีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคาลดลง เช่น เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ2. เทียบกับเดือนสิงหาคม 2564 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 12.1โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 56.7 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 57.7 โดยรวมทุกรายการ12.1 ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงจากความกังวลของเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงมาก ประกอบกับคาดว่าน้ำมันจากประเทศอิหร่านจะกลับเข้าสู่ตลาด หากสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตรยกเลิกหมวดสินค้าเชื้อเพลิง56.7 มาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน หมวดสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้นร้อยละ 7.4 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสาร ผลจากต้นทุนของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่หมวดสินค้าทุน4.9 สูงขึ้น หมวดสินค้าทุนสูงขึ้นร้อยละ 4.9 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากต้นทุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ประกอบกับภาวะขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์และหมวดหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป4.3

สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปสูงขึ้นร้อยละ 4.3 โดยเฉพาะสินแร่โลหะทองแดงและหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค7.4 อลูมิเนียมปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตที่ลดลงทั้งจากสหภาพยุโรปและจีน ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤติพลังงานทำให้มีการหยุดการผลิตในบางช่วง ขณะที่ราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นในหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง-3.7 อัตราที่ลดลง หลังจากรัสเซียกลับมาส่งออกปุ๋ยในระดับปกติ ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งลดลงร้อยละ 3.7 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์3. เฉลี่ยม.ค. -ส.ค. ปี 2565 เทียบกับปี 2564 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 13.0โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 62.2 ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และน้ำมันสำเร็จรูป ผลจากรวมทุกรายการ13.0 สถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนที่ยืดเยื้อ รวมถึงอุปสงค์น้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่แปรปรวน หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 6.1 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน หมวดสินค้าเชื้อเพลิง62.2 โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสารมีการใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม หมวดสินค้าทุน4.2 โดยเฉพาะยารักษาโรคและวิตามิน ที่ความต้องการใช้ในช่วงโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้น หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 6.0 ได้แก่ เคมีภัณฑ์ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับสูงขึ้น หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป6.0 ด้านเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ราคาปรับตัวสูงมากในช่วงต้นปี เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้น และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 4.2 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค6.1 เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูง และเป็นสินค้าหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง-3.6 เทคโนโลยีสมัยใหม่ ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 3.6 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ 6. แนวโน้มดัชนีราคานำเข้าในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปี 2565 แนวโน้มดัชนีราคานำเข้าในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปี 2565 (ก.ย. -ธ.ค.) คาดว่าแรงกดดันจากดัชนีที่อยู่ระดับสูงมีแนวโน้มลดลง เป็นผลมาจาก (1) เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่ำกว่าคาดการณ์ จากผลกระทบของความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ เงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก การดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด และการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศจีน (2) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีทิศทางชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ 2 สอดคล้องกับความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัว (3) สินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้บางประเทศยกเลิกจำกัดการส่งออก และรัสเซียและยูเครนได้ลงนามในข้อตกลงส่งออกธัญพืช (4) ต้นทุนค่าระวางเรือมีแนวโน้มลดลง และ (5) สินค้าโลหะมีค่า อย่างเช่นทองคำ มีแนวโน้มปรับตัวลดลง เนื่องจากประเทศเศรษฐกิจสำคัญดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดมากขึ้น ทำให้สินทรัพย์อื่นๆ ในตลาดเงินตลาดทุนมีความน่าสนใจลงทุนมากกว่าทองคำ

อัตราการค้าของไทย ในเดือนสิงหาคม 2565 เท่ากับ 95.8(เดือนกรกฎาคม 2565 เท่ากับ 95.3) ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันแสดงถึง อัตราการค้าของไทยมีความเสียเปรียบเชิงโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากราคาส่งออกที่เสนอขายต่ำกว่าราคานำเข้าที่ซื้อเข้ามา

อัตราการค้าของไทย ในเดือนสิงหาคม 2565 เท่ากับ 95.8 (เดือนกรกฎาคม 2565 เท่ากับ 95.3) ต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน สะท้อนว่าไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก โดยมีปัจจัยหลักจากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูงกว่าปีก่อนหน้า (การนำเข้าน้ำมันมีสัดส่วนสูงกว่าการส่งออกน้ำมัน) ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้ารวมสูงกว่าดัชนีราคาส่งออกรวม

สำหรับกลุ่มสินค้าที่ราคาส่งออกยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคานำเข้า (ได้เปรียบในอัตราการค้า) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลางจากต่างประเทศในการผลิตเช่น เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และกลุ่มสินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในการผลิตเช่นผลไม้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผลไม้ ผัก ผักกระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผัก และผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้ง เป็นต้น

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก (เสียเปรียบในอัตราการค้า) ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป นมและผลิตภัณฑ์นม ทองแดงและผลิตภัณฑ์ และทองคำ นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า สิ่งทอและเสื้อผ้า และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้นแนวโน้มอัตราการค้าไทยในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปี 2565 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากช่วงก่อนหน้า ตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลกและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญมีแนวโน้มปรับลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าชะลอตัวลงในอัตราที่มากกว่าการชะลอตัวลงของดัชนีราคาส่งออก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอัตราการค้าไทยยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 และอาจต้องใช้เวลาต่อไปอีกระยะหนึ่งก่อนที่จะกลับมาอยู่เหนือระดับ 100

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


แท็ก ดัชนีราคา  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ