ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนตุลาคม 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 4, 2022 12:23 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนตุลาคม 2565 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 47.7จากระดับ 46.4ในเดือนก่อนหน้า แม้ว่าจะยังคงอยู่ในช่วงไม่เชื่อมั่น แต่นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีเนื่องจากมีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4และอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 3ปี (นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2562)ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 37.1มาอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 3ปี (นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2562)ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 37.1มาอยู่ที่ระดับ 38.7และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 52.5มาอยู่ที่ระดับ 53.7สาเหตุของการปรับเพิ่มขึ้นโดยรวมเป็นผลจากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวจากการผ่อนคลายมาตรการของภาครัฐหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดและความรุนแรงในโควิด-19คลี่คลาย โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่เข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงปลายปี และการผ่อนปรนมาตรการของการเดินทางระหว่างประเทศในหลายประเทศ ทำให้ต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของหลายประเทศ ต้องเฝ้าระวังซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค

เมื่อพิจารณาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า ปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจไทย ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 43.98 รองลงมาคือ ด้านมาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 10.87 ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 8.73 ด้านภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 8.40 ด้านเศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 7.98 ด้านราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 7.40 ด้านการเมือง คิดเป็นร้อยละ 6.55 ด้านสังคม/ความมั่นคง ร้อยละ 5.80 และด้านอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.29 ตามลำดับ กลุ่มผู้บริโภคที่มีความเชื่อมั่นดีขึ้น มองว่าเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก และมาตรการของภาครัฐเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคที่มีความเชื่อมั่นลดลงเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นปัจจัยลบต่อความเชื่อมั่น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจำแนกรายภาค

เมื่อพิจารณารายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขี้นได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 43.8มาอยู่ที่ระดับ 48.5โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก เศรษฐกิจไทย ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และมาตรการของรัฐ

ภาคเหนือ จากระดับ 45.9มาอยู่ที่ระดับ 46.9โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของรัฐ และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากระดับ 47.8มาอยู่ที่ระดับ 49.8 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของรัฐ และภัยพิบัติ/โรคระบาด

ภาคใต้ จากระดับ 46.8มาอยู่ที่ระดับ 48.5โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ราคาสินค้าเกษตร และเศรษฐกิจโลก

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ภาคกลาง จากระดับ 45.4 มาอยู่ที่ระดับ 44.9 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และมาตรการของรัฐ นอกจากนี้ ปัจจัยทางภัยพิบัติ สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ มีการเปลี่ยนแปลงของอันดับมากที่สุด ปรับตัวขึ้นมาอยู่อันดับที่ 5จากอันดับที่ 7ในเดือนก่อน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายอาชีพ

เมื่อพิจารณาจำแนกรายอาชีพ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ได้แก่ กลุ่มเกษตรกร ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 47.9มาอยู่ที่ระดับ 49.1โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ราคาสินค้าเกษตร และภัยพิบัติ/โรคระบาด

กลุ่มพนักงานเอกชน จากระดับ 44.0มาอยู่ที่ระดับ 45.3โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและมาตรการของรัฐ

กลุ่มผู้ประกอบการ จากระดับ 47.2มาอยู่ที่ระดับ 49.2โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของรัฐ และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

กลุ่มรับจ้างอิสระ จากระดับ 44.4มาอยู่ที่ระดับ 45.5โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของรัฐ และภัยพิบัติ/โรคระบาด

กลุ่มพนักงานของรัฐ จากระดับ 51.5มาอยู่ที่ระดับ 52.9และกลุ่มนักศึกษา จากระดับ 45.6มาอยู่ที่ระดับ 45.7โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของรัฐ และเศรษฐกิจโลก

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า ได้แก่ กลุ่มไม่ได้ทำงาน/บำนาญ ดัชนีปรับตัวลดลงจากระดับ 41.3 มาอยู่ที่ระดับ 40.9 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย การเมือง และมาตรการของรัฐ

เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 48.8มาอยู่ที่ระดับ 50.0

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ