ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 28, 2022 10:01 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

สนักงนนโยบยและยุทธศสตร์กรค (สนค.)ดัชนีราคาส่งออกเดือนพฤศจิกายน 2565 เท่ากับ 108.0 ดัชนีราคานำเข้าเดือนพฤศจิกายน 2565 เท่ากับ 111.6 เมื่อเทียบกับระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงร้อยละเมื่อเทียบกับระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนพฤศจิกายน 2564 (YoY)สูงขึ้น3.1 1. เดือนพฤศจิกายน 2564 (YoY)สูงขึ้น6.4 2. เดือนตุลาคม 2565 (MoM) สูงขึ้น0.1 2. เดือนตุลาคม 2565 (MoM) ลดลง0.5 3. เฉลี่ย 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) ปี 2565

สูงขึ้น4.3 3. เฉลี่ย 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) ปี 2565

สูงขึ้น11.6 เทียบกับปี 2564 (AoA)เทียบกับปี 2564 (AoA)Highlights

ดัชนีราคาส่งออก เดือนพฤศจิกายน 2565 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวร้อยละ 3.1 (YoY)ชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ที่ร้อยละ 3.2 โดยหมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นในอัตราชะลอลง ที่ร้อยละ26.3 โดยเฉพาะน้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งเป็นผลจากฐานสูงของปีก่อนหน้าที่ยังทรงตัวในระดับสูง ประกอบกับความต้องการใช้น้ำมันของประเทศสำคัญอย่างประเทศจีนลดลง หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 5.6 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปอาหารสัตว์เลี้ยง และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 3.0 ได้แก่ ข้าว ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูปและกุ้ง ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ราคาสูงขึ้นแต่อยู่ในทิศทางชะลอลง ตามความต้องการของประเทศจีนที่หดตัวเป็นสำคัญ และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.6 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตามความต้องการของตลาด ประกอบกับสถานการณ์ขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์เริ่มคลี่คลาย ทำให้สามารถผลิตเพื่อส่งออกได้เพิ่มมากขึ้น

ดัชนีราคานำเข้า เดือนพฤศจิกายน 2565 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 (YoY) ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 7.3 โดยหมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 30.9 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 35.2 ได้แก่ น้ำมันดิบ ซึ่งเป็นผลจากฐานสูงของปีก่อนหน้า และเป็นไปตามทิศทางความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันตลาดโลก สำหรับก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม สูงขึ้นในอัตราชะลอลงเช่นกัน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนก๊าซที่ลดลง จากสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนที่ยังไม่คลี่คลาย หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 4.3 ชะลอลงจากร้อยละ 5.7 ในเดือนก่อนหน้า ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสาร จากความต้องการที่ชะลอตัวลง ขณะที่ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ ชะลอตัวตามทิศทางเศรษฐกิจโลก และผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ราคาชะลอลงจากสถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 2.2ชะลอลงจากร้อยละ 2.7 ในเดือนก่อนหน้า ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามอุปสงค์โลกที่ชะลอตัว และหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.2 ได้แก่ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 5.0 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์

แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกและนำเข้า เดือนธันวาคม 2565 คาดว่าดัชนีราคาส่งออกและนำเข้าจะยังคงมีแนวโน้มชะลอลงเล็กน้อย เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์ จากผลกระทบของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด และการกลับมาแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศจีน ซึ่งส่งผลต่อราคาสินค้าที่มิใช่อาหารเป็นสำคัญ รวมถึงค่าระวางเรือที่ลดลงทำให้ต้นทุนการผลิตของประเทศต่าง ๆ ลดลงอัตราการค้า (Term of Trade)เดือนพฤศจิกายน 2565

อัตราการค้าของไทย ในเดือนพฤศจิกายน 2565 เท่ากับ 96.8 (เดือนตุลาคม 2565 เท่ากับ 96.2) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก โดยมีปัจจัยหลักจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ทรงตัวสูงกว่าปีก่อนหน้า ส่งผลให้ราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออกนอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูง จะยังคงส่งผลให้อัตราการค้าไทยอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 ต่อไปอีกระยะหนึ่ง

1. เทียบกับเดือนตุลาคม 2565 (MoM)สูงขึ้นร้อยละ 0.1แต่มีการเปลี่ยนแปลงของแต่ละหมวดสินค้า ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นประกอบด้วย หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.4 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ จากผลของต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับความต้องการในตลาดโลกเพิ่มขึ้น น้ำตาลทราย ราคาสูงขึ้นตามปริมาณผลผลิตน้ำตาลของบราซิลและอินเดียที่ลดลง สำหรับไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ราคาสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น โดยเฉพาะผลผลิตปาล์มน้ำมันที่มีแนวโน้มลดลงจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.1 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ จากปัญหาชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่เริ่มคลี่คลาย ทำให้สามารถผลิตได้เพิ่มมากขึ้นขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 1.0 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ จากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ประกอบกับความต้องการใช้น้ำมันของจีนมีแนวโน้มปรับตัวลดลง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศจีนที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหมวดสินค้าเกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 0.5 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ราคาลดลงเนื่องจากผลกระทบจากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวประกอบกับปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกสำหรับยางพารา ราคาลดลงเนื่องจากความต้องการใช้ยางในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องปรับตัวลดลง โดยเฉพาะตลาดจีนที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ประกอบกับปริมาณยางออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก สำหรับข้าว ราคาสูงขึ้นเนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลง รวมถึงความต้องการของตลาดยังมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้สำหรับการบริโภคในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ปีใหม่ และตรุษจีน

2.เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2564 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 3.1โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ26.3 ได้แก่น้ำมันสำเร็จรูป เป็นผลจากฐานในปีก่อนหน้ายังทรงตัวสูง หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 5.6 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ โดยเฉพาะสินค้าน้ำมันปาล์ม ราคาสูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ลดลง รวมถึงความต้องการสินค้ายังขยายตัวได้ดี หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 3.0 ได้แก่ ข้าว ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูปและกุ้ง ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากตลาดมีความต้องการในการบริโภคอย่างต่อเนื่อง สำหรับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ราคาสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอลงตามความต้องการจากประเทศจีนที่หดตัว และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.6 ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้า จากสถานการณ์การขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่เริ่มคลี่คลาย ทำให้สามารถผลิตได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงความต้องการของตลาดที่ยังมีอย่างต่อเนื่อง

3. เฉลี่ยม.ค. -พ.ย. ปี 2565 เทียบกับปี 2564 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 4.3โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ46.2 โดยเฉพาะน้ำมันดิบ ตามทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวสูงกว่าช่วงปีก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนที่ยืดเยื้อ และมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตร หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 6.4 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง และไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ รวมถึงความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 3.1 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากความต้องการใช้เป็นพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ยางพารา ราคาสูงขึ้น ตามความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง สำหรับผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ตามความต้องการสินค้าอาหารที่ขยายตัวและหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.3 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากการใช้ชิ้นส่วนและอุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่และต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติกและเคมีภัณฑ์ เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น

4. แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกเดือนธันวาคม2565

แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก เดือนธันวาคม 2565 คาดว่ามีแนวโน้มต่ำกว่าคาดการณ์เดิมเล็กน้อย เป็นผลมาจาก (1) เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวเนื่องจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงความขัดแย้งที่ยืดเยื้อระหว่างยูเครนและรัสเซีย และความขัดแย้งที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นระหว่างจีนและสหรัฐฯ จากกรณีไต้หวัน นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกยังได้รับผลกระทบของเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก การดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด และนโยบาย ZEROCOVID-19 ของประเทศจีน (2) ต้นทุนปัจจัยการผลิตสินค้าขั้นกลางจากต่างประเทศมีแนวโน้มลดลงจากค่าระวางเรือปรับตัวลดลง และ (3) เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า ทำให้ผู้ส่งออกไทยบางส่วนมีความได้เปรียบด้านการกำหนดราคาส่งออก โดยเฉพาะสินค้าที่มีการใช้วัตถุดิบจากในประเทศเป็นส่วนใหญ่

1. เทียบกับเดือนตุลาคม 2565 (MoM) ลดลงร้อยละ 0.5โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลงประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 4.0 ได้แก่ น้ำมันดิบ เป็นผลจากความต้องการใช้น้ำมันที่ชะลอตัวลงตามความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ประกอบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มอ่อนค่า ส่งผลให้น้ำมันดิบที่ซื้อขายมีราคาถูกลงสำหรับก๊าซธรรมชาติ ปรับตัวลดลงสอดคล้องกับราคาก๊าซในตลาดยุโรป เนื่องจากความกังวลจากปัญหาการขาดแคลนก๊าซในช่วงฤดูหนาวลดลงชั่วคราว และน้ำมันสำเร็จรูป ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ลดลง หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ลดลงร้อยละ 0.3 ได้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสาร เนื่องจากอุปสงค์ของตลาดโลกลดลง และผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เนื่องจากความต้องการใช้ในช่วงหลังโควิด-19 ลดลง หมวดสินค้าทุนลดลงร้อยละ 0.1 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลง และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เนื่องจากความกังวลเศรษฐกิจโลกถดถอย ส่งผลให้ความต้องการลงทุนชะลอตัวลง ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.9 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ จากราคาต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 0.6 ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ทำให้ความต้องการเพิ่มขึ้น สำหรับอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า ราคาสูงขึ้นตามต้นทุนและความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น

2. เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2564 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 6.4โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 30.9 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 35.2 ได้แก่ น้ำมันดิบ ซึ่งเป็นผลจากฐานสูงของปีก่อนหน้า และเป็นไปตามทิศทางความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันตลาดโลกสำหรับก๊าซธรรมชาติปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนในอัตราที่ชะลอตัวลง ตามความกังวลปัญหาการขาดแคลนก๊าซที่ลดลงชั่วคราว หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 4.3 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 5.7 ในเดือนก่อนหน้า ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสาร จากความต้องการชะลอตัวลง ขณะที่เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ ชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจ และผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ราคาชะลอลงจากสถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น หมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 2.2ชะลอตัวลงจากร้อยละ 2.7 ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าสำคัญที่ราคาขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามอุปสงค์โลกที่ชะลอตัวลง และหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.2 ได้แก่ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 5.0 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์

3. เฉลี่ยม.ค. -พ.ย. ปี 2565 เทียบกับปี 2564 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 11.6โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 54.3 ได้แก่น้ำมันดิบก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และน้ำมันสำเร็จรูป ผลจากสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนที่ยังยืดเยื้อ ทำให้ราคาพลังงานผันผวนอย่างมาก หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 6.0 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสาร ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม โดยเฉพาะยารักษาโรค ที่ความต้องการใช้ในช่วงโควิด-19 ยังสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การสูงขึ้นของราคามีทิศทางชะลอตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่คลี่คลายลงหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 5.0 ได้แก่ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์อื่น ๆโดยเฉพาะอลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์ ทองแดงและผลิตภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ ตามต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นและหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 3.8 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เนื่องจากความต้องการเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ความต้องการมีแนวโน้มลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 4.1 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์

4. แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า เดือนธันวาคม2565 แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า เดือนธันวาคม 2565 มีแนวโน้มต่ำกว่าคาดการณ์เดิมเล็กน้อย เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่ำกว่าคาดการณ์ จากผลกระทบของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด และการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศจีน ส่งผลต่อราคาสินค้าที่มิใช่อาหาร นอกจากนี้ ค่าระวางเรือที่ลดลงทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศลดลง

อัตราการค้าของไทย ในเดือนพฤศจิกายน 2565 เท่ากับ 96.8(เดือนตุลาคม 2565 เท่ากับ 96.2) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงต่ำกว่า 100 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน แสดงถึง อัตราการค้าของไทยมีความเสียเปรียบเชิงโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากราคาส่งออกที่เสนอขายต่ำกว่าราคานำเข้าที่ซื้อเข้ามา

อัตราการค้าของไทย ในเดือนพฤศจิกายน 2565 เท่ากับ 96.8 (เดือนตุลาคม 2565 เท่ากับ 96.2) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า และยังต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน สะท้อนว่า ไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก โดยมีปัจจัยหลักจากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูงกว่าปีก่อนหน้า (การนำเข้าน้ำมันมีสัดส่วนสูงกว่าการส่งออกน้ำมัน) ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้ารวมสูงกว่าดัชนีราคาส่งออกรวม

สำหรับกลุ่มสินค้าที่ราคาส่งออกยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคานำเข้า (ได้เปรียบในอัตราการค้า) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลางจากต่างประเทศในการผลิตเช่น เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และกลุ่มสินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในการผลิตเช่น ผลไม้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผลไม้ ผัก ผักกระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผัก และผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้ง เป็นต้น

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก (เสียเปรียบในอัตราการค้า) ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป นมและผลิตภัณฑ์นม ทองแดงและผลิตภัณฑ์ และทองคำ นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ แผงวงจรไฟฟ้า สิ่งทอและเสื้อผ้า และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้นแนวโน้มอัตราการค้าไทย เดือนธันวาคม 2565คาดว่าจะมีความเสี่ยงปรับตัวลดลงจากช่วงก่อนหน้า ตามทิศทางราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าปีก่อนหน้า ซึ่งจะส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่าการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาส่งออก และจะส่งผลให้อัตราการค้าไทยยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 100ต่อไปอีกระยะหนึ่ง

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


แท็ก ดัชนีราคา  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ