ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมกราคม 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 6, 2023 11:40 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 7.4 จากการสูงขึ้นของไม้พื้น ไม้ฝา ไม้คาน ไม้โครงคร่าว ไม้แบบ แผ่นไม้อัด และวงกบหน้าต่าง เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 4.6 จากการสูงของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นทั้งราคาวัตถุดิบ (แร่ยิปซั่ม หินปูน) และราคาพลังงาน (ถ่านหิน น้ำมัน)

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 2.6 จากการสูงขึ้นของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง คานคอนกรีตสำเร็จรูป คอนกรีตบล๊อกก่อผนังมวลเบา ผนังคอนกรีต และชีทไพล์คอนกรีต เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นทั้งจากวัตถุดิบ (เหล็ก ซีเมนต์ หิน ทราย) และราคาพลังงาน

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นร้อยละ 4.2 สินค้าสำคัญที่ปรับสูงขึ้น ได้แก่ เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย-ผิวเรียบ ชีทไพล์เหล็ก เหล็กตัว Iเหล็กตัว Hท่อเหล็กกลวงสี่เหลี่ยมจตุรัส ท่อเหล็กร้อยสายไฟ ตะแกรงเหล็กสำเร็จรูป และเหล็กฉาก เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากราคาพลังงาน

หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.8 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องแกรนิต กระเบื้องลอนคู่ และกระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 1.5 จากการสูงขึ้นของสีเคลือบน้ำมัน สีรองพื้นปูน สีรองพื้นโลหะ สีทาถนนชนิดสะท้อนแสง และสีน้ำอะคริลิคทาภายใน ตามราคาเคมีภัณฑ์ (ผงสี กาว) ที่ปรับตัวสูงขึ้น

          หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.6 จากการสูงขึ้นของโถส้วมชักโครก อ่างล้างหน้าเซรามิก      ที่ปัสสาวะเซรามิก กระจกเงา และที่ใส่สบู่ เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบ (ดินขาว)    และราคาพลังงาน

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 1.5 จากการสูงขึ้นของท่อ PEถังบำบัดน้ำเสีย ระบบไม่อัดอากาศ ตะแกรงกรองผง ถังดักไขมัน สายไฟฟ้า VCTและสายส่งกำลังไฟฟ้า NYY เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบ (เม็ดพลาสติก สแตนเลส โลหะ)

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 4.1 จากการสูงขึ้นของยางมะตอย (ตามการสูงขึ้นของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม) และหิน ดิน ทราย (ต้นทุนการผลิตและค่าขนส่ง) 2.เทียบกับเดือนธันวาคม 2565 (MoM) สูงขึ้นร้อยละ 0.5 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าแต่ละหมวด ดังนี้(%) MoM

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 2.8 จากการสูงขึ้นของ ไม้แบบ แผ่นไม้อัด รวมทุกหมวด0.5

วงกบหน้าต่าง เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทั้งจากพลังงานและค่าดำเนินการ ประกอบกับความต้องการใช้ในการซ่อมแซมอาคารที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติก่อนหน้านี้หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้2.8 หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 0.2 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ (แร่ยิปซั่ม หิน ทราย) และสารเคมีที่เป็นหมวดซีเมนต์0.2 ส่วนประกอบปรับราคาสูงขึ้น

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต0.0 หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากการสูงขึ้นของเหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย-ผิวเรียบ เหล็กฉาก เหล็กตัว Iเหล็กตัว Hและเหล็กรางน้ำ ตามราคาวัตถุดิบ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก0.5 ที่ปรับสูงขึ้น (เศษเหล็ก บิลเล็ต)

หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.2 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา หมวดกระเบื้อง

0.2 กระเบื้องลอนคู่ และกระเบื้องเคลือบปูพื้น

หมวดวัสดุฉาบผิว ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง หมวดวัสดุฉาบผิว0.0 หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของฉากกั้นห้องอาบน้ำสำเร็จรูป ราวจับสแตนเลส ฝักบัวอาบน้ำ สายน้ำดี และสายฉีดชำระจากราคาต้นทุน (สแตนเลส หมวดสุขภัณฑ์0.3 พลาสติก PVC) ที่สูงขึ้น และความต้องการใช้ปรับปรุงอาคารของภาคเอกชน

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของสายไฟฟ้า VCT หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา0.3 สายส่งกำลังไฟฟ้า NYY ท่อ PVC และสายเคเบิล THWเนื่องจากราคาวัตถุดิบยังอยู่ในระดับสูง

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 0.7 จากสินค้าสำคัญ คือ หิน ทราย ต้นทุน หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ0.7 ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง และยางมะตอย ตามการสูงขึ้นของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมก่อนหน้านี้3.แนวโน้มดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง กุมภาพันธ์ ปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อนตามราคาวัตถุดิบ ค่าขนส่ง และต้นทุนการผลิต อาทิ ค่าไฟฟ้า ค่าแรงที่ได้รับแรงกดดันจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ และการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงต้นทุนทางการเงิน ปรับสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน รวมทั้งได้รับแรงขับเคลื่อนจาก โครงการก่อสร้างและซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศที่ได้รับการสนับสนุนจากการเปิดประเทศของจีน การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน มีส่วนทำให้ภาคการก่อสร้างและธุรกิจที่เกี่ยวข้องปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการและราคาสินค้าวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะส่งผลต่อราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์ และปัจจัยในประเทศ ทั้งการทยอยลดนโยบายส่งเสริมภาคอสังหาริมทรัพย์ อาทิ การสิ้นสุดมาตรการ LTV (Loan To Value) และการปรับค่าธรรมเนียมการโอนเพิ่มขึ้น การปรับอัตราดอกเบี้ยและราคาประเมินที่ดินใหม่ที่สูงขึ้น จะกดดันความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศ และส่งผลให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ