ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศเดือนเมษายน 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 25, 2023 12:12 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาส่งออกเดือนเมษายน 2566 เท่ากับ 109.0 ดัชนีราคานำเข้าเดือนเมษายน 2566เท่ากับ 112.1 เมื่อเทียบกับระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงร้อยละเมื่อเทียบกับระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนเมษายน 2565 (YoY)สูงขึ้น0.9 1. เดือนเมษายน 2565 (YoY)ลดลง0.3 2. เดือนมีนาคม 2566 (MoM) สูงขึ้น0.4 2. เดือนมีนาคม 2566 (MoM) สูงขึ้น0.9 3. เฉลี่ย 4เดือน (ม.ค.-เม.ย.) ปี 2566

สูงขึ้น1.7 3. เฉลี่ย 4เดือน (ม.ค.-เม.ย.) ปี 2566

สูงขึ้น1.5 เทียบกับปี 2565 (AoA)เทียบกับปี 2565 (AoA)Highlights

ดัชนีราคาส่งออก เดือนเมษายน 2566 (ปี 2555=100)เท่ากับ 109.0เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.9(YoY)ทรงตัวเท่ากับเดือนก่อนหน้า ปัจจัยหลักเป็นผลจากอุปสงค์โลกยังฟื้นตัวไม่เต็มที่จากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม หมวดสินค้าที่ยังส่งผลให้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 3.4จากร้อยละ 4.5 ได้แก่อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยงน้ำตาลทราย และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ขยายตัวตามความต้องการสินค้าจากต่างประเทศที่มีอย่างต่อเนื่องหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.4จากร้อยละ 2.9 ได้แก่ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป ขยายตัวตามความต้องการเพื่อนำไปใช้ประกอบอาหาร และใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปเพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่ร้อยละ 1.1 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตามความต้องการสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพิ่มขึ้น ประกอบกับสถานการณ์การขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์เริ่มคลี่คลาย สำหรับทองคำ ราคาสูงขึ้นเนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากเงินเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่า และความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง หดตัวน้อยลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 9.2 จากร้อยละ 11.2 โดยเป็นผลจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปเป็นสำคัญดัชนีราคานำเข้า เดือนเมษายน 2566 (ปี 2555=100)เท่ากับ 112.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.3(YoY) เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน แต่ติดลบน้อยลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ที่ลดลงร้อยละ 1.7ปัจจัยหลักเป็นผลจากราคาในหมวดสินค้าเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ ลดลงร้อยละ 9.2จากร้อยละ 15.3 จากฐานราคาน้ำมันในช่วงก่อนหน้าที่ยังทรงตัวระดับสูง ขณะที่หมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าสูงขึ้นประกอบด้วย หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 2.3จากร้อยละ 3.2 ได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ และเสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ ยังขยายตัวได้ดีตามความต้องการบริโภคและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ ที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากสภาพอากาศร้อนจัดทำให้ความต้องการเพิ่มขึ้นหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.2เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.1 ได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ และเครื่องเพชรพลอยอัญมณี เงินแท่งและทองคำ ตามความต้องการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตและบริโภคเป็นสำคัญ หมวดสินค้าทุน สูงขึ้นที่ร้อยละ 1.4 เท่ากับเดือนก่อนหน้า ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการใช้เพื่อการลงทุน และเครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการทดสอบ ตามความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะวัสดุสิ้นเปลืองประเภทหลอด และเข็มฉีดยา และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง กลับมาสูงขึ้นร้อยละ 0.2เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 0.6 ได้แก่ รถยนต์นั่ง เป็นผลจากอุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มกลับมาฟื้นตัว ส่งผลให้ความต้องการรถยนต์ทั้งส่วนบุคคลและเชิงพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น

แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก และดัชนีราคานำเข้า เดือนพฤษภาคม 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าสำคัญ 2) ผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ 3) ประเทศคู่ค้าหลักยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด เพื่อควบคุมปัญหาเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง 4) ราคาน้ำมันปรับลดลงจากปีก่อนหน้าค่อนข้างมาก ตามความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว 5)ความผันผวนของค่าเงินบาท และ 6) ความเสี่ยงจากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนสูง และอาจส่งผลต่อกำลังซื้อของประเทศคู่ค้าอัตราการค้า (Term of Trade)เดือนเมษายน 2566

อัตราการค้าของไทย ในเดือนเมษายน 2566 เท่ากับ 97.2 (เดือนมีนาคม 2566 เท่ากับ 97.7) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า และยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 16ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้ายังสูงกว่าราคาส่งออก ส่งผลให้ราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก อย่างไรก็ตาม แนวโน้มอัตราการค้า เดือนพฤษภาคม 2566 คาดว่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น หากราคาน้ำมันยังเคลื่อนไหวอยู่ในทิศทางขาลง เนื่องจากราคานำเข้ามีแนวโน้มลดลงมากกว่าราคาส่งออก ประกอบกับฐานราคานำเข้าที่สูงมากในปี 2565 1. เทียบกับเดือนมีนาคม 2566 (MoM)สูงขึ้นร้อยละ 0.4โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 3.8 โดยเฉพาะน้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามตลาดที่ได้รับแรงหนุนจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน และสร้างความกังวลต่ออุปทานที่อาจตึงตัวมากกว่าปัจจัยทางอุปสงค์เล็กน้อย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.4 ได้แก่ ข้าว เนื่องจากความต้องการนำเข้าเพื่อเพิ่มระดับสต็อกข้าวของประเทศคู่ค้า อาทิ จีน ฟิลิปปินส์ และกลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกา สำหรับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ราคาสูงขึ้นเนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง จากปัญหาโรคระบาดในมันสำปะหลัง และปัญหาภัยธรรมชาติ ขณะที่ความต้องการใช้มันสำปะหลังยังคงเพิ่มขึ้นและไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป ตามต้นทุนการผลิตไก่ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ขณะที่ความต้องการจากตลาดต่างประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ เครื่องดื่ม ตามแนวโน้มความต้องการของตลาดที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง และน้ำตาลทราย ตามปริมาณผลผลิตที่ลดลงจากการเผชิญปัญหาภัยแล้งประกอบกับราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้มีการนำอ้อยไปผลิตเอทานอล และทำให้ปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายลดลง ขณะที่อาหารสัตว์เลี้ยงภาพรวมราคายังทรงตัว แต่ความต้องการประเภทอาหารสุนัขแบบแห้ง (DryDogFood)และอาหารแมวแบบเปียก (WetCatFood) ยังเป็นที่ต้องการของตลาด และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.2เช่นกัน ได้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด จากปรากฎการณ์เอลนีโญที่รุนแรงสุดในรอบ 20 ปี ทำให้ความต้องการใช้เพิ่มขึ้น รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านประเภทอื่น ๆ ที่เติบโตตามการขยายตัวของตลาดที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวได้ดีจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นหลังสถานการณ์การขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์เริ่มคลี่คลายและทองคำ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐฯ และการเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย 2.เทียบกับเดือนเมษายน 2565 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 0.9โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 3.4 ได้แก่อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ตามอุปสงค์โลกที่เพิ่มขึ้น สำหรับน้ำตาลทราย ราคาสูงขึ้นจากอุปทานน้ำตาลโลกที่ตึงตัว หลังจากอินเดียไม่อนุญาตให้ส่งออกน้ำตาลเพิ่ม เนื่องจากผลผลิตน้ำตาลในประเทศน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.4 ได้แก่ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูปตามความต้องการบริโภคของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สำหรับข้าว ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากระดับสต็อกข้าวของผู้บริโภคข้าวรายใหญ่ของโลกลดลง อาทิ จีน ซึ่งประสบปัญหามรสุมฤดูร้อนและปัญหาน้ำท่วมอย่างหนักในช่วงปลายปี 2565 และปัจจุบันกำลังประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง ทำให้มีความต้องการข้าวเพื่อเพิ่มระดับในสต็อกของภาครัฐเพิ่มขึ้น และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากทั่วโลกมีความต้องการแปรรูปเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อาหาร เครื่องดื่ม อาหารสัตว์ และเอทานอล และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.2 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ตามความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ประกอบในอุตสาหกรรมยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะคาดว่าจะยังมีแนวโน้มเติบโตที่ดี ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 9.2 โดยเฉพาะน้ำมันสำเร็จรูป ตามทิศทางความเคลื่อนไหวราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ลดลงมากกว่าปีก่อนหน้า รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งอาจส่งผลต่อความต้องการใช้น้ำมัน3. เฉลี่ยม.ค. -เม.ย. ปี 2566 เทียบกับปี 2565 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 1.7โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 4.5 ได้แก่อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ตามความต้องการบริโภคอย่างต่อเนื่อง สำหรับอาหารสัตว์เลี้ยง ยังเติบโตได้ดีจากตลาดสำคัญอย่างสหรัฐฯ ที่นำเข้าอาหารสัตว์เลี้ยงจากไทยในสัดส่วนที่สูง และน้ำตาลทราย ราคาสูงขึ้นจากผลผลิตน้ำตาลโลกที่ลดลง ขณะที่ความต้องการนำอ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลเพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงไขมันและน้ำมันจากพืช อาทิ น้ำมันปาล์ม เนื่องจากปริมาณผลปาล์มตลาดโลกลดลงในช่วงก่อนหน้า ประกอบกับความต้องการน้ำมันปาล์มของโลกยังเพิ่มสูงขึ้น หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 3.6 ได้แก่ ข้าว ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง มันสำปะหลัง และไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป ตามความต้องการบริโภคและใช้ในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ไก่และไข่ไก่ ยังได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก ในสหภาพยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และประเทศแถบอเมริกาใต้ ทำให้ปริมาณผลผลิตขาดตลาด หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.3 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ จำพวกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯ จีน และไต้หวัน ทำให้ปริมาณการผลิตไม่เพียงพอและราคาสูงขึ้น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศที่ขยายตัวได้ดีตลอดจนความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้าในตลาดอาเซียนที่เติบโตต่อเนื่องตามการขยายตัวของความเป็นเมือง ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นเล็กน้อย ที่ร้อยละ 0.2 จากสินค้าแร่และเชื้อเพลิงอื่น ๆ เป็นสำคัญ4. แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกเดือนพฤษภาคม 2566 แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก เดือนพฤษภาคม 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นผลมาจาก(1) เศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้ายังคงเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียที่ยืดเยื้อ ซึ่งเป็นอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ (2) ผลกระทบจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้หลายประเทศมีการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ส่งผลให้ความต้องการสินค้าปรับตัวลดลง(3) ราคาน้ำมันมีแนวโน้มชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว (4)ต้นทุนปัจจัยการผลิตสินค้าขั้นกลางจากต่างประเทศมีแนวโน้มลดลง (5) ความผันผวนของค่าเงินบาท และ 6) ความเสี่ยงจากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนสูง และอาจส่งผลต่อกำลังซื้อของประเทศคู่ค้า1. เทียบกับเดือนมีนาคม 2566 (MoM) สูงขึ้นร้อยละ 0.9โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 3.0 ได้แก่น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป จากความกังวลเกี่ยวกับอุปทานที่ตึงตัวเนื่องจากประเทศในกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน (โอเปกพลัส) ประกาศปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลงรวมถึงความต้องการใช้น้ำมันของจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ราคาลดลงเนื่องจากปริมาณการสำรองก๊าซในปัจจุบันยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับสภาพอากาศที่ไม่หนาวรุนแรง ทำให้ราคาก๊าซที่เคยขึ้นสูงปรับตัวลดลงค่อนข้างเร็วในปัจจุบัน หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 0.6 ได้แก่ เครื่องเพชรพลอยอัญมณี เงินแท่ง และทองคำ โดยเฉพาะทองคำ ราคาปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตสถาบันการเงินธนาคารสหรัฐฯ และการอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐฯ ได้ส่งผลให้มีแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น สำหรับอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น และเคมีภัณฑ์ เนื่องจากเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.4 ได้แก่ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก และรถยนต์นั่ง ราคาสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของตลาดรถยนต์ในประเทศและหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 0.3 ได้แก่เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เนื่องจากความต้องการที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องขณะที่หมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 0.2 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เนื่องจากความต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ลดลงหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย จากก่อนหน้าที่ความต้องการเคยเร่งตัวสูงขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดรุนแรง สอดคล้องกับ HDDที่มีความต้องการลดลงจากการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ลดลง สำหรับผลิตภัณฑ์โลหะ และเครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ราคาสินค้าเริ่มชะลอตัวลงจากกำลังซื้อที่ลดลงดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนเมษายน 2566 2. เทียบกับเดือนเมษายน 2565 (YoY)ลดลงร้อยละ 0.3โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลงคือ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 9.2 ติดลบน้อยลงจากเดือนก่อนหน้า ที่ร้อยละ 15.3 ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ตามทิศทางความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันตลาดโลก และก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ตามความต้องการใช้ที่ชะลอลง ขณะที่หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 2.3 ได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ และเสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆยังขยายตัวตามความต้องการอุปโภคบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง สำหรับเครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ และเครื่องซักผ้า ที่ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่เพื่อรองรับความสะดวกสบาย และตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เติบโตต่อเนื่อง ทำให้สนับสนุนความต้องการใช้เพิ่มขึ้น หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.2 ได้แก่อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น และเคมีภัณฑ์ ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ปรับตัวดีขึ้นหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 1.4 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการใช้เพื่อการลงทุน และเครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการทดสอบ ตามความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะวัสดุสิ้นเปลืองประเภทถุงมือยาง หลอด และเข็มฉีดยา และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ รถยนต์นั่ง เป็นผลจากความต้องการซื้อรถยนต์ใหม่ ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น3. เฉลี่ยม.ค. -เมษายน ปี 2566 เทียบกับปี 2565 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 1.5โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้นประกอบด้วย หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 3.6 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ตามความต้องการของผู้บริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.6 ได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับปัจจัยหนุนจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่เริ่มคลี่คลาย ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเคมีภัณฑ์ ตามทิศทางอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ขยายตัวดีขึ้น รวมถึงการฟื้นตัวของภาคการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 1.7 ได้แก่เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการทดสอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ราคายังปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการสินค้าเพื่อการลงทุน ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 2.5 ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป เนื่องจากความต้องการใช้ทั่วโลกลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว สำหรับก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ราคาลดลงเนื่องจากปริมาณการสำรองก๊าซในปัจจุบันยังอยู่ในระดับสูง และความต้องการใช้ที่ลดลง และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 0.2 โดยเฉพาะส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ โดยได้รับผลกระทบจากผู้บริโภคที่ชะลอการตัดสินใจซื้อ4. แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า เดือนพฤษภาคม2566 แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า เดือนพฤษภาคม 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มปรับลดลงเล็กน้อยเนื่องจากทิศทางการค้าโลกที่เติบโตชะลอลงจากผลกระทบของความขัดแย้งทางภูมิฐศาสตร์ที่ยังไม่คลี่คลาย การดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ราคาน้ำมันที่ปรับลดลงมากกว่าปีก่อนหน้า และค่าระวางเรือที่ลดลง ทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศลดลง ประกอบกับฐานราคาของปีก่อนหน้าที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้ามีแนวโน้มลดลง

อัตราการค้าของไทย ในเดือนเมษายน 2566 เท่ากับ 97.2(เดือนมีนาคม 2566 เท่ากับ 97.7) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า และยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 16 ติดต่อกัน สะท้อนถึงไทยมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก

อัตราการค้าของไทย ในเดือนเมษายน 2566 เท่ากับ 97.2 (เดือนมีนาคม 2566 เท่ากับ 97.7) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า และยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 16 ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก ส่งผลให้ราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก

สำหรับกลุ่มสินค้าที่ราคาส่งออกยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคานำเข้า (ได้เปรียบในอัตราการค้า) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลางจากต่างประเทศในการผลิตเช่น เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิวเคมีภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และกลุ่มสินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในการผลิตเช่น ผลไม้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผลไม้ ผัก ผักกระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผัก และผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้ง เป็นต้น

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก (เสียเปรียบในอัตราการค้า) ได้แก่ น้ำมันดิบ ทองคำ น้ำมันสำเร็จรูป ทองแดงและผลิตภัณฑ์ และนมและผลิตภัณฑ์นม นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอและเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า และกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เป็นต้น

          แนวโน้มอัตราการค้าไทย เดือนพฤษภาคม 2566 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นหากราคาน้ำมันยังอยู่ในทิศทางชะลอลง ประกอบกับฐานราคานำเข้าที่สูงมากในปี 2565          ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

แท็ก ดัชนีราคา  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ