ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนพฤศจิกายน 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 7, 2023 09:49 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

เดือนพฤศจิกายน 2565 (YoY)ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.3 สาเหตุหลักจากหมวดเหล็กและผลิตเหล็ก ลดลงร้อยละ 3.0 จากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีนทำให้มีอุปทานเหล็กส่วนเกินสูง และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ลดลงร้อยละ 2.1 จากการลดลงของยางมะตอย ที่ลดลงตามราคาปิโตรเลียมและการแข่งขันที่สูง ขณะที่ดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ สูงขึ้นเกือบทุกหมวด เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการก่อสร้างโครงการต่อเนื่องของภาครัฐ โครงการก่อสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจ และโครงการอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.3 ดัชนีราคาลดลงเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กลดลง ผลกระทบจากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีนทำให้มีปริมาณเหล็กส่วนเกินสูง ยังคงส่งผลต่อราคาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีหมวดกระเบื้อง หมวดวัสดุฉาบผิว และหมวดสุขภัณฑ์ที่ดัชนีราคาลดลงจากผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อระบายสินค้าในช่วงปลายปี ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต และหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ดัชนีราคาสูงขึ้นจากความต้องการใช้ในการก่อสร้างต่อเนื่องที่ยังไม่แล้วเสร็จในโครงการของทั้งภาครัฐและเอกชน1. เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2565(YoY)ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.3 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 7.9 จากการสูงขึ้นของ ไม้พื้น ไม้ฝา ไม้คาน ไม้โครงคร่าว ไม้แบบ และเสาเข็มไม้ เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 0.7 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม ปูนฉาบสำเร็จรูป และปูนกาวซีเมนต์ เนื่องจากความต้องการใช้ในภาคการก่อสร้างทั้งภาครัฐและเอกชนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.2 จากการสูงขึ้นของท่อระบายน้ำคอนกรีต คอนกรีตผสมเสร็จ และคอนกรีตหยาบ เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ (ซีเมนต์ หิน ทราย) สูงขึ้น รวมทั้งความต้องการใช้ในภาคการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 3.0 จากการลดลงของเหล็กตัวซีเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ผิวข้ออ้อย เหล็กแผ่นเรียบ ลวดผูกเหล็ก และท่อสแตนเลส จากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีนทำให้มีปริมาณเหล็กส่วนเกินสูง

หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา กระเบื้องลอนคู่ และกระเบื้องเคลือบปูพื้น ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (ดิน หินแร่ สี)

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 3.1 จากการสูงขึ้นของสีเคลือบน้ำมัน สีรองพื้นปูน สีรองพื้นโลหะ สีน้ำอะครีลิคทาภายใน และภายนอก ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (ผงสี กาว)

หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 3.2 จากการลดลงของอ่างล้างหน้าเซรามิก โถส้วมชักโครก และราวจับสแตนเลส เนื่องจากผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 1.3 จากการสูงขึ้นของสายเคเบิล THW สายส่งกำลังไฟฟ้า NYYสายไฟฟ้า VCTท่อ PVCและท่อระบายน้ำเสีย PVCสูงขึ้นเนื่องจากมีความต้องการใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจที่เพิ่มขึ้น

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 2.1 จากการลดลงของยางมะตอยที่ ลดลงตามราคาปิโตรเลียมและการแข่งขันที่สูงมากกว่าปีที่ผ่านมา

2.เทียบกับเดือนตุลาคม 2566 (MoM) ลดลงร้อยละ 0.3

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของท่อระบายน้ำคอนกรีต และคอนกรีตผสมเสร็จ ตามความต้องการใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจ เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า โครงการก่อสร้างระบบประปา เป็นต้น

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 0.7 จากการลดลงของท่อเหล็กดำ เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ผิวข้ออ้อย ท่อเหล็กเคลือบสังกะสี เหล็กรางน้ำ และลวดผูกเหล็ก จากปัญหาวิกฤตอสังริมทรัพย์ของจีนทำให้มีปริมาณเหล็กส่วนเกินสูง ส่งผลต่อราคาอย่างต่อเนื่อง

หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 0.5 จากการลดลงของกระเบื้องยาง PVCปูพื้นเนื่องจากผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย

หมวดวัสดุฉาบผิว ลดลงร้อยละ 0.2 จากการลดลงของสีรองพื้นปูน ซิลิโคน น้ำมันเคลือบแข็งสำหรับภายใน และภายนอก เนื่องจากผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย

หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 0.5 จากการลดลงของกระจกเงา ฝักบัวอาบน้ำ ราวจับสแตนเลส และสายฉีดชำระ เนื่องจากผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อระบายสต๊อกสินค้า

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของท่อ PVC ข้องอท่อประปา และข้อต่อท่อประปา จากความต้องการใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจ

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อย 1.5 จากการลดลงของยางมะตอยที่ลดลงตามราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 6.1 จากการสูงขึ้นของไม้พื้น ไม้ฝา ไม้คาน ไม้แบบ บานประตู วงกบประตูและหน้าต่างเนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 2.1 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป สูงขึ้นตามความต้องการใช้ในภาคการก่อสร้างทั้งภาครัฐและเอกชนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.4 จากการสูงขึ้นของคอนกรีตผสมเสร็จ ท่อระบายน้ำคอนกรีต และพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง ตามการสูงขึ้นราคาวัตถุดิบ (ซีเมนต์ หิน ทราย)

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 3.7 จากการลดลงของเหล็กตัวซีเหล็กฉาก เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ผิวข้ออ้อย เหล็กรางน้ำ และลวดผูกเหล็ก เนื่องจากมีปริมาณเหล็กส่วนเกินสูง จากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีน

หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.9 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา กระเบื้องลอนคู่ กระเบื้องเคลือบปูพื้น และกระเบื้องยาง PVCปูพื้นเนื่องจากราคาวัตถุดิบ (ดิน หินแร่ สี) สูงขึ้น

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 3.4 จากการสูงขึ้นของสีเคลือบน้ำมัน สีน้ำอะครีลิคทาภายใน -ภายนอก สีรองพื้นปูน และสีรองพื้นโลหะ ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ (กาว)

หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากการสูงขึ้นของอ่างล้างหน้าเซรามิก ที่ปัสสาวะเซรามิก กระจกเงา และที่ใส่สบู่ เนื่องจากความต้องการใช้ในการก่อสร้างและปรับปรุงซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

          หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 1.1 จากการสูงขึ้นของ         สายเคเบิล THWสายส่งกำลังไฟฟ้า NYYสายไฟฟ้า VAFและท่อระบายน้ำเสีย PVC เนื่องจากมีความต้องการใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐเพิ่มขึ้น

4. แนวโน้มดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนธันวาคม ปี 2566

มีแนวโน้มทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบเดือนเดียวกันของปี 2565 ตามราคาสินค้าหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในตลาดโลกและไทยที่ลดลงจากสถานการณ์การอสังหาริมทรัพย์ในจีนที่ยังซบเซา รวมถึงมาตรการลดค่าไฟฟ้า และราคาน้ำมันดีเซลของภาครัฐ ที่มีส่วนชะลอการสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต ประกอบกับระดับอัตราดอกเบี้ยของไทยและหนี้สินของครัวเรือนที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา และการลงทุนของภาครัฐที่ล่าช้า ซึ่งอาจทำให้ความต้องการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์หรือโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ชะลอตัว

อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันยังมีความผันผวน และราคาสินค้าวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องยังอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงปลายปี และต้นปี 2567 รวมถึงมาตรการช่วยเหลือด้านหนี้สินให้กับประชาชน อาจเป็นแรงส่งทำให้ความต้องการด้านอสังหาริมทรัพย์และสินค้าวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างไม่เป็นไปตามที่คาดไว้

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ