ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศเดือนธันวาคม 2566 และปี 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 25, 2024 14:07 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาส่งออก เดือนธันวาคม 2566 เท่ากับ 109.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 1.4 (YoY) ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ที่ร้อยละ 1.3 ปัจจัยหลักเป็นผลจากราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง จากภาวะอุปทานตึงตัว ประกอบกับความต้องการของตลาดในหลายกลุ่มสินค้ายังขยายตัวดี และส่งผลให้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 9.2 ได้แก่ ข้าว ราคาสูงขึ้นจากอุปทานข้าวในตลาดโลกยังตึงตัว ขณะที่ความต้องการของตลาดยังมีอย่างต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ตามปริมาณผลผลิตในตลาดที่น้อยลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยธรรมชาติ รวมถึงการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังและศัตรูพืช และผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ตามความต้องการจากตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 2.1 ได้แก่ น้ำตาลทราย ราคายังทรงตัวสูงตามอุปสงค์น้ำตาลทั่วโลกเพิ่มขึ้น สำหรับอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ประกอบการผลิต และความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ตามความต้องการสินค้าเทคโนโลยีรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น สำหรับทองคำ ได้รับอานิสงส์จากการอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐฯ และการลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ทำให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 7.9 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามทิศทางความเคลื่อนไหวราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง

ดัชนีราคานำเข้า เดือนธันวาคม 2566 เท่ากับ 110.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 0.7 (YoY) ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ลดลง เนื่องจากอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกลดลง อย่างไรก็ตาม ความต้องการนำเข้าสินค้าเพื่อใช้ประกอบการผลิตและบริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศยังขยายตัวดี โดยหมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 9.1 ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันตลาดโลกลดลง สอดคล้องกับราคาก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ที่ราคายังคงต่ำกว่า ปี 2565 เนื่องจากปริมาณการสำรองก๊าซยังอยู่ในระดับสูง และหมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 0.7 ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ได้รับปัจจัยกดดันจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความต้องการสินค้าเพื่อการลงทุนลดลง ขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวน้อยลงตามทิศทางตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว เนื่องจากได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์การขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์คลี่คลาย อย่างไรก็ตาม หมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.4 ได้แก่ ทองคำ ราคายังทรงตัวสูงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ตามความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น สำหรับอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ ราคาสูงขึ้นตามความต้องการสินค้าเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 2.1 ได้แก่ ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผักและผลไม้ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม และเสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ ตามความต้องการสินค้าเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ และรองรับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 1.2 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์ และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ตามทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ฟื้นตัวดีขึ้น โดยเฉพาะความต้องการยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก และดัชนีราคานำเข้า ปี 2567 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากปีก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ฐานที่ต่ำในปีที่ผ่านมา 2) ทิศทางการค้าโลกที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้น 3) วัฏจักรการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่เริ่มกลับมาขยายตัวได้ดี 4) ราคาสินค้าเกษตรยังอยู่ในระดับสูงจากผลกระทบภาวะเอลนีโญ และ 5) สถานการณ์ความไม่สงบระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงอิสราเอลและปาเลสไตน์ที่ยืดเยื้อ และนำไปสู่เหตุการณ์ความไม่สงบในทะเลแดง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเส้นทางการขนส่งทางเรือของโลก ทำให้ค่าระวางเรือและต้นทุนสินค้าปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ 1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าอาจช้ากว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะความไม่แน่นอนในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน 2) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังไม่คลี่คลาย อาจส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนโลก 3) อัตราดอกเบี้ยนโยบายในหลายประเทศยังทรงตัวในระดับสูง และ 4) ความผันผวนของราคาน้ำมัน และอัตราแลกเปลี่ยนอัตราการค้า (Term of Trade) เดือนธันวาคม 2566

อัตราการค้าของไทย ในเดือนธันวาคม 2566 เท่ากับ 99.4 (เดือนพฤศจิกายน 2566 เท่ากับ 98.6) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า และปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 24 ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้ายังสูงกว่าราคาส่งออก เป็นผลจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภค

นำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าสินค้าทุน

การสูงขึ้นของราคาส่งออก สำหรับแนวโน้มอัตราการค้า ปี 2567 คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 ต่อไปอีกระยะหนึ่ง YoY

ตามทิศทางราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวในระดับสูง รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันคาดว่าจะปรับสูงขึ้นตามไปด้วยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองดัชนีเศรษฐกิจการค้าสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์โทร 0 2507 5821

1. เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2566 (MoM) สูงขึ้นร้อยละ 0.1 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.7 ได้แก่ ข้าว โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายการจำกัดการส่งออกข้าวของอินเดีย และความกังวลด้านความมั่นคงทางอาหารของประเทศคู่ค้า ประกอบกับค่าเงินบาทซึ่งอยู่ในระดับที่อ่อนค่า จึงเอื้อให้ข้าวไทยสามารถแข่งขันได้ ยางพารา จากการระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในภาคใต้ของไทย ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ทำให้อุปทานตึงตัว และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ราคาสูงขึ้นเนื่องจากธุรกิจเอทานอลได้รับอานิสงส์จากการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว และปริมาณผลผลิตมีน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการ หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.1 ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะอาหารสุนัขและแมว ราคาสูงขึ้นตามการเติบโตของตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงที่สำคัญอย่างจีน อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นในต่างประเทศ และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี ราคาสูงขึ้นจากความกังวลเกี่ยวกับเส้นทางการขนส่งทางเรือธัญพืชในทะเลดำที่ได้รับผลกระทบจากการที่ยูเครนโจมตีเรือรบของรัสเซีย และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.1 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น และทองคำ จากการอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ความต้องการทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 5.8 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ จากความกังวลเกี่ยวกับอุปทานส่วนเกิน เนื่องจากหลายประเทศในกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน ยังคงผลิตเกินกว่าเป้าหมายที่ตกลงกันเกือบ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประกอบกับอุปสงค์น้ำมันของโลกชะลอลง2. เทียบกับเดือนธันวาคม 2565 (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 1.4 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นเกือบทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 9.2 ได้แก่ ข้าว ราคาสูงขึ้นเนื่องจากหลายประเทศในเอเชียซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวสำคัญ ตัดสินใจที่จะจำกัดการส่งออก เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ลดลง ส่งผลกระทบต่อการผลิตข้าว รวมถึงอินเดียยังคงมีมาตรการจำกัดการส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่พันธุ์บาสมาติ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง จากความต้องการใช้เอทานอลในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อยลงจากปัญหาภัยธรรมชาติและโรคระบาด และผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง จากความต้องการในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจีน หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 2.1 ได้แก่ น้ำตาลทราย เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ลดลงในอินเดียซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลทรายรายใหญ่ ทำให้ผลผลิตอ้อยในประเทศน้อยกว่าที่คาดการณ์ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ราคาสูงขึ้นสอดคล้องกับดัชนีราคาอาหารทะเลที่บางบริษัท/หน่วยงานจัดทำขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการที่มีอย่างต่อเนื่อง และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ตามความนิยมผลไม้ไทยในจีน รวมถึงมีการเพิ่มจำนวนรถไฟขนส่งสินค้าเกษตรไปจีน และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ราคาสูงขึ้นจากความต้องการรถยนต์รุ่นใหม่ที่เพิ่มขึ้นในตลาดต่างประเทศ อัญมณีและเครื่องประดับ โดยเฉพาะทองคำ ได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐฯ และการลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ตามความต้องการสินค้าเทคโนโลยีรุ่นใหม่ที่เพิ่มขึ้น และเครื่องจักรกล อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากความต้องการเครื่องมือกลที่เพิ่มสูงขึ้นในตลาดส่งออกสำคัญอย่างอินเดีย โดยเฉพาะเครื่องมือไฟฟ้า เนื่องจากภาคการก่อสร้างของอินเดียกำลังเติบโต ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 7.9 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ราคาลดลงเนื่องจากอุปสงค์ภาคอุตสาหกรรมของประเทศในเอเชียโดยเฉพาะจีนปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจจีนยังฟื้นตัวไม่เต็มที่

3. เฉลี่ยทั้งปี 2566 เทียบกับปี 2565 (AoA) สูงขึ้นร้อยละ 1.1 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นเกือบทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 5.3 ได้แก่ ข้าว ราคาสูงขึ้นเนื่องจากภาวะเอลนีโญทำให้สภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร้อนและแห้งแล้งกว่าปกติ ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตข้าวลดลงทั้งในประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ตามความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับไทยได้ทำความร่วมมือกับรัฐวิสาหกิจจีนในการทำข้อตกลงส่งออกผลไม้ไปยังจีน โดยเฉพาะสินค้าทุเรียน และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง จากการเผชิญกับโรคระบาดใบด่างและศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 3.1 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ราคาสูงขึ้นตามความนิยมบริโภคอาหารทะเล โดยเฉพาะปลาทูน่าในสหรัฐฯ น้ำตาลทราย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศผู้ผลิตสำคัญของโลก อาทิ บราซิล และอินเดีย ทำให้การเก็บเกี่ยวอ้อยล่าช้า และอาหารสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะอาหารสุนัขและแมว ตามความต้องการผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารสัตว์ระดับพรีเมียมที่ยังอยู่ในระดับสูง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.0 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามยอดขายรถยนต์ในตลาดสำคัญอย่างสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะรถบรรทุกและรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เครื่องใช้ไฟฟ้า ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ความเป็นเมืองขยายตัว และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ได้แรงหนุนจากตลาดปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ขยายตัว รวมถึงคาดการณ์ว่าอุปสงค์เซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) โลกได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุด ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 7.0 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลกที่ลดลง ประกอบกับอิรักซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายสำคัญ มีการเจรจาความขัดแย้งผลประโยชน์แหล่งขุดเจาะน้ำมัน Kurdistan และ Kirkuk สำเร็จ ส่งผลให้มีการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งนี้เพิ่มขึ้น 0.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน4. ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 1.4 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นเกือบทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรมสูงขึ้นร้อยละ 8.6 ได้แก่ ข้าว เนื่องจากประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่อย่างอินเดียกำหนดนโยบายระงับสงออกขาวบางชนิด และผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง ทำให้ปริมาณขาวโดยรวมในตลาดโลกลดลง ไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป ตามความต้องการของตลาดที่มีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอุปทานที่ตึงตัวเนื่องจากมีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในยุโรปช่วงฤดูหนาว และกุ้งสดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป เนื่องจากอุปทานตึงตัวจากการที่เอกวาดอร์ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่ของโลกเผชิญภัยแล้ง ทำให้ไม่มีไฟฟ้าพอใช้สำหรับอุตสาหกรรมกุ้ง หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 2.4 ได้แก่ น้ำตาลทราย ราคาสูงขึ้นจากภาวะเอลนีโญที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตที่น้อยลง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ราคาสูงขึ้นตามความนิยมของตลาดหลัก อาทิ สหรัฐฯ ทั้งในด้านความสะดวกในการบริโภค ประโยชน์ต่อสุขภาพ และความยั่งยืนทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ราคาสูงขึ้นตามตลาดผลไม้จีนที่เติบโต และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ประกอบกับข้าวสาลีได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอุปทานที่ตึงตัวเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาว ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขนส่ง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.8 ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ และความต้องการรถยนต์รุ่นใหม่เพิ่มขึ้นเครื่องใช้ไฟฟ้า ราคาสูงขึ้นตามความนิยมเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะที่เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน และมีความสามารถในการควบคุมทางไกล และทองคำ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 5.6 ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป ราคาลดลงตามความเคลื่อนไหวของราคาตลาดโลก เนื่องจากความต้องการชะลอลงตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

5. ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) สูงขึ้นร้อยละ 0.2โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.8 ได้แก่ ข้าว ราคาสูงขึ้นเนื่องจากหลายประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และอิรักนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นเพื่อกักตุน ท่ามกลางผลผลิตข้าวที่ลดลงจากภาวะเอลนีโญ และมาตรการห้ามส่งออกข้าวบางชนิดของอินเดีย และกุ้งสดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป ราคาสูงขึ้นตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลสิ้นปีโดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.8 ได้แก่ น้ำตาลทราย จากการที่อินเดียซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตน้ำตาลทรายรายใหญ่ของโลก ประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้ต้องขยายเวลาจำกัดการส่งออกน้ำตาลโดยไม่มีกำหนด อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ตามความนิยมบริโภคสินค้าประเภทปลาและอาหารทะเลกระป๋องพรีเมียม และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ราคาสูงขึ้นตามความนิยมของผู้บริโภคจีนที่มีความต้องการหลากหลาย อีกทั้งมีรายได้สูงขึ้น ทำให้มีกำลังซื้อสูง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ เม็ดพลาสติก โดยเฉพาะโพลิโพรพิลีน เนื่องจากมีความต้องการจากอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น รวมถึงต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้นจากความตึงเครียดในทะเลแดง ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งสำคัญ และทองคำ เนื่องจากเงินเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่า ทำให้ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 4.1 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามความต้องการใช้น้ำมันของโลกที่ชะลอลง6. ภาพรวมดัชนีราคาส่งออก ปี 2566 ภาพรวมดัชนีราคาส่งออก ปี 2566 มีการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.1 เป็นการขยายตัวต่อเนื่องตลอดทั้งปี แต่มีทิศทางชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2565 ที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.2 ซึ่งเป็นไปตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ได้ส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนของโลก รวมถึงราคาพลังงานและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ความต้องการสินค้าชะลอลง อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าเกษตรยังขยายตัวได้ดี เนื่องจากเผชิญกับสถานการณ์ภัยแล้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรลดลง ประกอบกับช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ค่าเงินบาทเริ่มมีทิศทางอ่อนค่า สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันด้านราคา และการส่งออกให้กับสินค้าไทย ส่งผลให้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นเกือบทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม ได้แก่ ข้าว ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากปริมาณผลผลิตน้อยลงจากผลกระทบภัยแล้ง สำหรับไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ตามความต้องการของตลาดที่ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป น้ำตาลทราย อาหารสัตว์เลี้ยง และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ตามต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น และความต้องการสินค้าในอุตสาหกรรมอาหารขยายตัว และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ตามความต้องการสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประกอบกับเครื่องปรับอากาศได้รับอานิสงส์จากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น สำหรับทองคำ ตามความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ราคาลดลงตามทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลก

7. แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก ปี 2567 แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก ปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรที่ยังอยู่ในระดับสูง จากผลกระทบปัญหาภัยแล้ง และการไม่มีสัญญาณชัดเจนในการฟื้นข้อตกลงกรณีรัสเซียให้ยูเครนขนส่งธัญพืชผ่านทะเลดำ ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของโลก ประกอบกับความกังวลด้านต้นทุนพลังงานจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย และสถานการณ์ความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ รวมถึงความขัดแย้งในทะเลแดงที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเส้นทางการขนส่งทางเรือของโลก โดยอาจทำให้ค่าระวางเรือและต้นทุนสินค้าอุปโภคบริโภคปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ วัฏจักรการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมคาดว่าจะกลับมาขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีแนวโน้มเติบโตตามอุปสงค์การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจาก (1) การฟื้นตัวที่ช้าของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะตลาดหลักอย่างจีนที่ยังเผชิญวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ (2) สถานการณ์ความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ที่อาจลุกลามไปสู่ความขัดแย้งระดับภูมิภาค จนนำไปสู่การเข้าร่วมสงครามของอิหร่าน ที่จะสร้างแรงกดดันต่อเส้นทางการค้าในช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันปริมาณกว่าร้อยละ 20 ของทั้งโลก และอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลกและกระทบต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ (3) ผลกระทบจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้หลายประเทศมีการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ส่งผลให้ความต้องการสินค้าปรับตัวลดลง และ (4) ความผันผวนของค่าเงินบาท อาจทำให้ดัชนีราคาส่งออกขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์

1. เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2566 (MoM) ลดลงร้อยละ 0.6 โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง คือ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 5.8 ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป ผลจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ในทะเลแดงเริ่มคลี่คลาย โดยบริษัทขนส่งสินค้าทางเรือคาดว่าจะกลับมาเดินเรือได้หลังจากหยุดเส้นทางไปชั่วคราว รวมถึงอุปสงค์น้ำมันในจีนมีแนวโน้มชะลอตัวโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม เนื่องจากปริมาณสำรองก๊าซยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับไทยมีความต้องการนำเข้า LNG ลดลง เนื่องจากแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติในประเทศเริ่มมีการจัดส่งก๊าซธรรมชาติได้มากขึ้น สำหรับถ่านหิน ราคาสูงขึ้นเนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ทำให้ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 1.2 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์ เนื่องจากความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่มขึ้น หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 0.9 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ตามความต้องการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เป็นผลจากต้นทุนที่ปรับสูงขึ้นจากการผลิตอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 0.5 ได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า ตามความต้องการสินค้าสำเร็จรูปรุ่นใหม่ที่ทยอยออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น รวมถึงต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ โดยเฉพาะทองคำ ราคาสูงขึ้นจากนโยบายการเงินที่เริ่มผ่อนคลายจากการชะลอตัวของอัตราดอกเบี้ย ทำให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น สำหรับปุ๋ย ราคาลดลงเนื่องจากปริมาณปุ๋ยที่มีมากขึ้น และราคาในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 0.4 ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์โลหะ ตามความต้องการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งในภาคการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามความต้องการอุปกรณ์แบบพกพาและคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น2. เทียบกับเดือนธันวาคม 2565 (YoY) ลดลงร้อยละ 0.7 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 9.1 ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป ตามความต้องการใช้ที่มีแนวโน้มลดลงจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว สำหรับก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ราคาลดลงตามปริมาณการสำรองก๊าซที่ยังอยู่ในระดับสูง และหมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 0.7 ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ปรับตัวลดลงจากการชะลอตัวของภาคการผลิตและภาคบริการ สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวน้อยลงตามทิศทางตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว เนื่องจากได้รับรวมทุกรายการ-0.7 การพัฒนาให้สามารถใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.4 ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงิน-9.1 หมวดสินค้าเชื้อเพลิง

แท่งและทองคำ โดยเฉพาะทองคำ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจทั่วโลก หมวดสินค้าทุน-0.7

อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า ได้รับปัจจัยหนุนจากสถานการณ์การขาดแคลนชิ้นส่วน2.4 เซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกที่มีแนวโน้มคลี่คลายลง ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของการลงทุน2.1 ภาคเอกชน หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 2.1 ได้แก่ ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ กาแฟ ชา เครื่องเทศ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ตามความ1.2 ต้องการอุปโภคบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากกระแสการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันที่กำลังแพร่หลาย เนื่องจากความต้องการบริโภคยาและเวชภัณฑ์ของคนไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบที่นำมาเป็นส่วนผสมยาปรับตัวเพิ่มขึ้น และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 1.2 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เป็นผลจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ รวมถึงความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าทั้งแบบสาธารณะและส่วนบุคคลมีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ประกอบกับหลายประเทศทั่วโลกสนับสนุนให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองดัชนีเศรษฐกิจการค้าสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์โทร 0 2507 5821

3. เฉลี่ยทั้งปี 2566 เทียบกับปี 2565 (AoA) ลดลงร้อยละ 0.9 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง คือ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 10.9 ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และถ่านหิน ตามความต้องการใช้ที่ปรับตัวลดลง จากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ขณะที่หมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.4 ได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า เนื่องจากความต้องการใช้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในการพัฒนาประเทศยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ โดยเฉพาะทองคำ ราคายังทรงตัวสูง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น สำหรับเคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผลจากการลงทุนในภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มมากขึ้น รวมถึงต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ตามความต้องการใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบในการบริโภคเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 2.2 ได้แก่ ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด และสบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง ตามความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สำหรับผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ตามความต้องการใช้ยาในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นจากการเข้าสู่สังคมสูงวัย ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบที่นำมาเป็นส่วนผสมของยาปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังจากมีการระบาดของโควิด -19 หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 1.3 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ รถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เป็นผลจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศทยอยฟื้นตัว ประกอบกับปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่เริ่มคลี่คลาย รวมถึงความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุนการใช้พลังงานต่ำและช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 0.3 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์และการทดสอบ และผลิตภัณฑ์โลหะ ราคาปรับตัวสูงขึ้น ตามความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมและภาคอสังหาริมทรัพย์4. ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า (YoY) ลดลงร้อยละ 0.4 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 8.6 ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ตามปริมาณการสำรองก๊าซยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับประเทศไทยมีความต้องการนำเข้า LNG ลดลง เนื่องจากแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติในประเทศเริ่มจัดส่งก๊าซธรรมชาติได้มากขึ้น สำหรับน้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป ตามทิศทางราคาพลังงานโลกที่ชะลอตัวตามอุปสงค์ในภาคอุตสาหกรรมที่ลดลงในช่วงก่อนหน้า และหมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 0.6 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รวมถึงสินค้าคงคลังที่มีอยู่ในปริมาณมาก ขณะที่หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.6 ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ โดยเฉพาะทองคำ ตามความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็งแปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป และพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ตามความต้องการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตและบริโภคเพิ่มขึ้น สำหรับสินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการใช้เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มขึ้น หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 2.3 ได้แก่ รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก รถยนต์นั่ง และส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ราคาสูงขึ้นตามความต้องการรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 1.6 ได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ตามความต้องการใช้ในการอุปโภคและบริโภคที่เพิ่มขึ้น และผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ตามความต้องการนวัตกรรมทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

5. ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) สูงขึ้นร้อยละ 0.1โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น คือ หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 0.6 ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ โดยเฉพาะทองคำ ตามความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตามความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น และปุ๋ย ราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ตามความต้องการใช้ในพื้นที่เพาะปลูกที่มีการขยายตัว ทำให้ความต้องการใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 0.9 ได้แก่ รถยนต์นั่ง ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ตามความต้องการสินค้าที่ชะลอลง หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 0.4 ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป ตามทิศทางความเคลื่อนไหวราคาน้ำมันตลาดโลก และหมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 0.4 ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการลงทุนที่ชะลอตัว สำหรับหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการเปลี่ยนแปลงในบางกลุ่มสินค้าสำคัญ โดยกลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักและผลไม้ และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ตามความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ตามความต้องการใช้ที่ชะลอลง 6. ภาพรวมดัชนีราคานำเข้า ปี 2566 ภาพรวมดัชนีราคานำเข้า ปี 2566 หดตัวเฉลี่ยร้อยละ 0.9 จากปี 2565 ที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 11.1 ซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 โดยเป็นผลจากราคาสินค้าเชื้อเพลิงลดลงต่อเนื่องเกือบตลอดทั้งปี ตามความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังยืดเยื้อ ส่งผ่านไปยังนโยบายทางการเงินที่เข้มงวด และส่งผลให้ทิศทางการค้าโลกชะลอตัว โดยหมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง คือ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และถ่านหิน ตามทิศทางราคาตลาดโลกที่ปรับลดลง ตามความต้องการที่ชะลอลง ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ทองคำ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เคมีภัณฑ์ และสินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ตามความต้องการสินค้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต และส่งออก หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักและผลไม้ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ และผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชภัณฑ์ ตามความต้องการนำเข้าเพื่อใช้อุปโภคบริโภคอย่างต่อเนื่อง หมวดสินค้าทุน ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ และผลิตภัณฑ์โลหะ เนื่องจากความต้องการเพื่อใช้ลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และรถยนต์นั่ง ตามความต้องการนำเข้าชิ้นส่วนเพื่อรองรับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ และรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

7. แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า ปี 2567 แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า ปี 2567 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากปัจจัยฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า รวมถึงเป็นผลจากราคาวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศที่อาจปรับตัวสูงขึ้น จากการที่รัสเซียยุติข้อตกลงส่งออกธัญพืชยูเครนผ่านทะเลดำ ภาวะเอลนีโญที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดลดลง และแนวโน้มราคาพลังงานที่อาจกลับมาปรับตัวสูงขึ้น ตามอุปสงค์การใช้พลังงานโลกที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจจีนที่ประสบปัญหาการเติบโตต่ำสุดในรอบ 3 ทศวรรษ ท่ามกลางวิกฤตในภาคอสังหาริมทรัพย์และภาระหนี้สินของรัฐบาลท้องถิ่นที่อยู่ในระดับสูง ความกังวลด้านข้อพิพาทระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวัน ที่สร้างความไม่พอใจให้กับจีน และอาจนำไปสู่ความตึงเครียดในช่องแคบไต้หวัน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตชิปที่สำคัญของโลก ส่งผลกระทบต่อสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี อาทิ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ สถานการณ์ความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ รวมถึงความขัดแย้งในทะเลแดงที่ทำให้เส้นทางขนส่งทางเรือมีระยะทางมากขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อต้นทุนสินค้า จนอาจนำไปสู่ภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก รวมถึงการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ อาจส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์

อัตราการค้าของไทย ในเดือนธันวาคม 2566 เท่ากับ 99.4 (เดือนพฤศจิกายน 2566 เท่ากับ 98.6) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า และปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 24 ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก
          อัตราการค้าของไทย ในเดือนธันวาคม 2566 เท่ากับ 99.4 (เดือนพฤศจิกายน 2566 เท่ากับ 98.6) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า และปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 24 ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้ายังสูงกว่าราคาส่งออก สาเหตุหลักเป็นผลจากราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก         สำหรับกลุ่มสินค้าที่ราคาส่งออกยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคานำเข้า (ได้เปรียบในอัตราการค้า) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลางจากต่างประเทศในการผลิต เช่น เคมีภัณฑ์ เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก และกลุ่มสินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในการผลิต เช่น ผลไม้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผลไม้ ผัก ผักกระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผัก เป็นต้น

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก (เสียเปรียบในอัตราการค้า) ได้แก่ น้ำมันดิบ ทองคำ น้ำมันสำเร็จรูป ทองแดงและผลิตภัณฑ์ นมและผลิตภัณฑ์นม และผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้ง นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า สิ่งทอและเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า และกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เป็นต้นแนวโน้มอัตราการค้า ปี 2567 คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ตามทิศทางราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวในระดับสูง รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นตามไปด้วย

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

แท็ก ดัชนีราคา  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ