ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมีนาคม 2567 และไตรมาสแรกของปี 2567

ข่าวเศรษฐกิจ Friday April 5, 2024 10:56 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมีนาคม2567 เท่ากับ 107.25(ปีฐาน 2562 =100)

Highlights ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือนมีนาคม 2567 เท่ากับ 107.25 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ 0.47 (YoY) ซึ่งเป็นการลดลงในอัตราที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง (เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2567 ลดลงร้อยละ 1.11 และ 0.77 ตามลำดับ) โดยสาเหตุสำคัญของการลดลงเนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพด้านพลังงานของภาครัฐยังคงดำเนินการอยู่ ได้แก่ การตรึงราคาค่ากระแสไฟฟ้าและน้ำมันดีเซล ประกอบกับการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มอาหาร ได้แก่ น้ำมันพืช เนื้อสุกร และผักสด เนื่องจากฐานราคาของปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับสูง และเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อ สูงขึ้นร้อยละ 0.03 (MoM) จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ผักสดและผลไม้สด เนื่องจากสภาพอากาศร้อนส่งผลให้ปริมาณผลผลิตลดลง และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตามสถานการณ์พลังงานในตลาดโลก ขณะที่ไตรมาสที่ 1ปี 2567เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.79

ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้นร้อยละ 0.37 (YoY)เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ลดลงร้อยละ 0.01 (MoM)และไตรมาสที่ 1เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.44 1. เทียบกับเดือนมีนาคม 2566 ลดลงร้อยละ 0.47(YoY)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.57 ตามการลดลงของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ 5.27 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และปลาทู และกลุ่มผักสดลดลงร้อยละ 5.51 จากการลดลงของราคามะนาว กะหล่ำปลี และมะเขือเทศ ในขณะที่มีสินค้าราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 3.85 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียวและขนมอบ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 3.81 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมสด และนมถั่วเหลือง กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 2.05 จากการสูงขึ้นของราคาองุ่น ส้มเขียวหวาน และกล้วยหอม กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.18 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำตาลทรายกะทิสำเร็จรูป และน้ำพริกแกง กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 2.13 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) และน้ำหวาน กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.83 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และอาหารว่าง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.51 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)*หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.40 ตามการลดลงของราคาสินค้าในหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ 0.09 จากการลดลงของราคาเสื้อยืดบุรุษและสตรี หมวดเคหสถานลดลงร้อยละ 0.87 จากการลดลงของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ผงซักฟอก และน้ำยาปรับผ้านุ่ม และหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารลดลงร้อยละ 0.41จากการลดลงของราคาน้ำมันดีเซล เป็นสำคัญ ในขณะที่มีสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.31 จากการสูงขึ้นของราคาแป้งทาผิวกาย ค่าแต่งผมชาย และกระดาษชำระ หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.48จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องถวายพระ และค่าทัศนาจรในประเทศและต่างประเทศ หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.45 จากการสูงขึ้นของราคาสุรา บุหรี่ และไวน์ และกลุ่มการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 0.15 จากการสูงขึ้นของค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ต และแบตเตอรี่สำรอง

เดือนมีนาคม ปี 2567 และไตรมาสที่ 1 ปี 2567 2. เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2567สูงขึ้นร้อยละ 0.03(MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.15 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าสูงขึ้นร้อยละ 0.10 จากการสูงขึ้นของราคาเสื้อยืดบุรุษ และกางเกงขายาวบุรุษ หมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 0.05 จากการสูงขึ้นของราคาค่าเช่าบ้าน น้ำยาปรับผ้านุ่ม และผลิตภัณฑ์ซักผ้า หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 0.43 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าโดยสารเครื่องบิน หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.01จากการสูงขึ้นของราคาค่าถ่ายเอกสาร และอาหารสัตว์เลี้ยง และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.29 จากการสูงขึ้นของราคาสุรา เบียร์ และไวน์ ในขณะที่หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 0.56 จากการลดลงของราคาน้ำยาระงับกลิ่นกาย โฟมล้างหน้า และผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว สำหรับกลุ่มการสื่อสารราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.13 โดยมีสาเหตุหลักจากการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ 0.01 จากการลดลงของราคาขนมปังปอนด์ อาหารจากธัญพืช และขนมอบ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ 0.86 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และไก่ย่าง กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 0.68 จากการลดลงของราคาไข่ไก่ ไข่เป็ด และครีมเทียม กลุ่มเครื่องประกอบอาหารลดลงร้อยละ 0.06 จากการลดลงของราคาน้ำมันพืช เครื่องปรุงรส และน้ำพริกแกง และกลุ่มอาหารบริโภคในบ้านลดลงร้อยละ 0.02 จากการลดลงของราคาอาหารโทรสั่ง (delivery) และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มผักสดสูงขึ้นร้อยละ 1.92 จากการสูงขึ้นของราคามะนาว แตงกวา และถั่วฝักยาว กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 0.17 จากการสูงขึ้นของราคาส้มเขียวหวาน สับปะรด และฝรั่ง กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.42 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำหวาน น้ำดื่มบริสุทธิ์ และกาแฟผงสำเร็จรูป และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.04 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้าและอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)

3. ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.79(YoY) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.87 จากการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ 6.09 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และปลาทู กลุ่มผักสดลดลงร้อยละ 6.67 จากการลดลงของราคามะนาว แตงกวา และมะเขือ สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 3.90 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียว กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 3.85 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมสด และนมถั่วเหลือง กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 1.27 จากการสูงขึ้นของราคาทุเรียน กล้วยหอม และมังคุด กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.21 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำตาลทราย กะทิสำเร็จรูป และน้ำพริกแกง กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.96 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) กาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม และกาแฟผงสำเร็จรูป กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.96 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และอาหารว่าง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.64 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.72 โดยมีปัจจัยหลักจากการลดลงของหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ 0.14 จากการลดลงของราคาเสื้อยืดสตรีและบุรุษ หมวดเคหสถานลดลงร้อยละ 0.81 จากการลดลงของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ผงซักฟอก และน้ำยาปรับผ้านุ่ม หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารลดลงร้อยละ 1.35จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสำคัญ สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.72 จากการสูงขึ้นของราคาแป้งทาผิวกาย ยาสีฟัน และกระดาษชำระ หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.52 จากการสูงขึ้นของราคาค่าถ่ายเอกสาร และอาหารสัตว์เลี้ยง หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.19 จากการสูงขึ้นของราคาบุหรี่ สุรา และไวน์และกลุ่มการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 0.15 จากการสูงขึ้นของราคาค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ต

4. ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ลดลงร้อยละ 0.21(QoQ) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.83 ตามการลดลงของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ 0.67 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ 0.15 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 2.22กลุ่มผักสดลดลงร้อยละ 8.92 กลุ่มผลไม้สดลดลงร้อยละ 0.20 สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.44 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.38 กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านและกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.15 และ 0.20 ตามลำดับหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.24 จากการสูงขึ้นของสินค้าหมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 0.35หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.04หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 0.26หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.03 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.40 ในขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ 0.20

เดือนมีนาคม ปี 2567 และไตรมาสที่ 1 ปี 2567

สนักงนนโยบยและยุทธศสตร์กรค (สนค.)5. อัตราการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ (YoY) จำแนกรายภาค เดือนมีนาคม 2567

อัตราการเปลี่ยนแปลง(YoY) จำแนกรายภาค มีรายละเอียดดังนี้

รวมอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มภาค

การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล -0.06 0.03 -0.12 2. ภาคกลาง -0.56 -0.65 -0.49 3.ภาคเหนือ-0.56 -0.52 -0.60 4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ -0.63 -0.77 -0.52 5. ภาคใต้-0.80 -1.27 -0.45 ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าลดลงในทุกภูมิภาค โดยอัตราเงินเฟ้อของภาคใต้ ลดลงมากที่สุด โดยลดลงร้อยละ 0.80รองลงมาได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลดลงร้อยละ 0.63 ภาคกลางและภาคเหนือ ลดลงเท่ากันที่ร้อยละ 0.56 ในขณะที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ลดลงน้อยที่สุด โดยลดลงร้อยละ 0.06

เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาคได้แก่ เนื้อสุกร มะนาว ค่ากระแสไฟฟ้า และน้ำมันดีเซล สำหรับสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ข้าวสารเจ้า น้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล์

6. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ ไตรมาสที่ 2 ปี 2567

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาสที่ 2ปี 2567 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เนื่องจาก (1) ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลมีแนวโน้มจำกัด (2) อัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มอ่อนค่ากว่าไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 และช่วงเดียวกันของปีก่อน (3) ฐานค่ากระแสไฟฟ้าที่ต่ำในปีก่อนหน้า โดยเฉพาะในเดือน พ.ค. 2566 เนื่องจากรัฐบาลมีการดำเนินมาตรการลดราคาค่ากระแสไฟฟ้าค่อนข้างมาก และ (4) การปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ทำให้ราคาในหมวดที่เกี่ยวข้องปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่มีปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ (1) ฐานที่สูงของราคาเนื้อสุกรและผัก รวมทั้งราคาในปีนี้มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ จากปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก (2) เศรษฐกิจขยายตัวในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มต่ำกว่าคาดการณ์เดิมในช่วงต้นปี และ (3) การแข่งขันที่สูงขึ้นของผู้ประกอบการค้าส่งและค้าปลีกขนาดใหญ่ รวมทั้งการเติบโตของการค้าอีคอมเมิร์ซ ทำให้มีการใช้นโยบายส่งเสริมการค้าจำนวนมาก โดยเฉพาะการปรับลดราคาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2567 จากเดิมที่ระหว่างร้อยละ (-0.3)-1.7 (ค่ากลาง 0.7)เป็นระหว่างร้อยละ 0.0 -1.0 (ค่ากลาง 0.5)โดยปรับเพิ่มค่ากรอบล่างจากร้อยละ -0.3 เป็นร้อยละ 0.0 เนื่องจากราคาพลังงานในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้อัตราเงินเฟ้อมีโอกาสติดลบน้อยลง ขณะที่ปรับลดค่ากรอบบนจากร้อยละ 1.7 เป็นร้อยละ 1.0 เนื่องจากรัฐบาลมีแนวโน้มดำเนินมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพอย่างต่อเนื่อง ทำให้ค่าครองชีพในส่วนที่เกี่ยวข้องต่ำกว่าปีก่อนหน้า รวมทั้งเศรษฐกิจขยายตัวได้ต่ำกว่าคาดการณ์เดิม สำหรับค่ากลางเดิมปรับลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 0.7มาอยู่ที่ร้อยละ 0.5เนื่องจากในไตรมาสที่ 1ของปี 2567อัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพด้านพลังงาน รวมทั้งราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดติดลบต่อเนื่อง

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ