มาตรการเตรียมพร้อมและแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากปัญหาหมอกควัน

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 8, 2012 14:33 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอสรุปมาตรการเตรียมพร้อมและแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากปัญหาหมอกควัน ดังนี้

คำแนะนำหน่วยงานราชการในการรับมือกับปัญหาหมอกควันกรณีที่ระดับ PM 10 ต่ำกว่า 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

1. ควรควบคุมมิให้เกิดการเผา หากพบว่ามีการเผาควรรีบดำเนินการควบคุมจัดการดับไฟทันที

2. ติดตามข้อมูลสถานการณ์ระดับ PM 10 ทุกวัน

3. หน่วยงานสาธารณสุขทุกแห่ง ให้คำแนะนำกับประชาชนในการปฏิบัติงาน และป้องกันตนเองจากผลกระทบที่เกิดจากหมอกควัน และให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอด หอบหืด ภูมิแพ้ เป็นต้น โดยสามารถใช้แนวทางคำแนะนำประชาชนในสถานการณ์หมอกควันที่ทางกรมควบคุมโรคได้จัดทำขึ้น

4. เตรียมการในเรื่องหน้ากากหรือผ้าปิดปากปิดจมูก สำหรับกรณีที่อาจเกิดปัญหาระดับ PM 10 สูงขึ้น เช่นประสานกับ อสม.หรือกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชนให้จัดทำผ้าปิดปากปิดจมูกใช้เอง

5. โรงพยาบาล หน่วยบริการสาธารณสุขทุกแห่ง รวบรวมและรายงานข้อมูลผู้ป่วยใน 4 กลุ่มโรค ได้แก่ กลุ่มโรคตาอักเสบ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิด กลุ่มโรคทางเดินหายใจทุกชนิด และกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ ที่เป็นกลุ่มโรคที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาหมอกควัน

กรณีที่ระดับ PM 10 อยู่ในช่วง 120-150 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

1. ควรควบคุมมิให้เกิดการเผา หากพบว่ามีการเผาควรรีบดำเนินการควบคุมจัดการดับไฟทันที

2. ติดตามข้อมูลสถานการณ์ระดับ PM 10 ทุกวัน

3. ขอให้ทุกหน่วยงานงดการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมสำหรับเด็ก และผู้สูงอายุ

4. หน่วยงานสาธารณสุขทุกแห่ง ให้คำแนะนำกับประชาชนในการปฏิบัติตน และป้องกันตนเองจากผลกระทบที่เกิดจากหมอกควัน และให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับกลุ่มเสี่ยงได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอด หอบหืด ภูมิแพ้ เป็นต้น โดยสามารถใช้แนวทางคำแนะนำประชาชนในสถานการณ์หมอกควันที่ทางกรมควบคุมโรคได้จัดทำขึ้น

5. หน่วยบริการสาธารณสุข โรงพยาบาลทุกระดับ จะต้องเตรียมความพร้อมในภาวะฉุกเฉินสำหรับรองรับ ผู้ป่วย รวมทั้งอุบัติเหตุที่เป็นผลมาจากปัญหาหมอกควัน

6. หน่วยบริการสาธารณสุข โรงพยาบาลทุกระดับ จำต้องทำการสำรองยาให้พร้อมสำหรับผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาหยอดตา ยาแก้แพ้ ยาแก้หวัด และยาสำหรับหอบหืด

7. หน่วยบริการสาธารณสุข โรงพยาบาลทุกระดับ จะต้องจัดเตียงรองรับผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ และหญิงตั้งครรภ์

8. โรงพยาบาล หน่วยบริการสาธารณสุขทุกแห่ง รวบรวมและรายงานข้อมูลผู้ป่วยใน 4 กลุ่มโรค ได้แก่ กลุ่มโรคตาอักเสบ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิด กลุ่มโรคทางเดินหายใจทุกชนิด และกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ ที่เป็นกลุ่มโรคที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาหมอกควัน

กรณีที่ระดับ PM 10 มากกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

1. ควรควบคุมมิให้เกิดการเผา หากพบว่ามีการเผาควรรีบดำเนินการควบคุมจัดการดับไฟทันที

2. ติดตามข้อมูลสถานการณ์ระดับ PM 10 ทุกวัน

3. ขอให้ทุกหน่วยงานงดการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมสำหรับเด็ก และผู้สูงอายุ

4. โรงเรียน สถานเด็กเล็ก ต้องงดกิจกรรมที่จัดภายนอกอาคาร แต่หากเกิดปัญหาหมอกควันรุนแรง ส่งผลกระทบต่อการเดินทางของเด็ก หรือไม่สามารถหาสถานที่ภายในโรงเรียนที่หลีกเลี่ยงจากหมอกควันได้ อาจพิจารณาหยุดเรียนชั่วคราว หากเป็นไปได้

5. หน่วยงานสาธารณสุขทุกแห่ง ให้คำแนะนำกับประชาชนในการปฏิบัติตน และป้องกันตนเองจากผลกระทบที่เกิดจากหมอกควัน และออกเยี่ยมเยียนให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับกลุ่มเสี่ยงได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอด หอบหืด ภูมิแพ้ เป็นต้น โดยสามารถใช้แนวทางคำแนะนำประชาชนในสถานการณ์หมอกควันที่ทางกรมควบคุมโรคได้จัดทำขึ้น

6. หน่วยบริการสาธารณสุข โรงพยาบาลทุกระดับ จะต้องเตรียมความพร้อมในภาวะฉุกเฉินสำหรับรองรับผู้ป่วย รวมทั้งอุบัติเหตุที่เป็นผลมาจากปัญหาหมอกควัน

7. หน่วยบริการสาธารณสุข โรงพยาบาลทุกระดับ จะต้องทำการสำรองยาให้พร้อมสำหรับผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาหยอดตา ยาแก้แพ้ ยาแก้หวัด และยาสำหรับหอบหืด

8. หน่วยบริการสาธารณสุข โรงพยาบาลทุกระดับจะต้องจัดเตรียมความพร้อมในการรับ-ส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล

9. หน่วยบริการสาธารณสุข โรงพยาบาลทุกระดับ จะต้องจัดเตียงรองรับผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ และหญิงตั้งครรภ์

10. โรงพยาบาล หน่วยบริการสาธารณสุขทุกแห่ง รวบรวมและรายงานข้อมูลผู้ป่วยใน 4 กลุ่มโรค ได้แก่ กลุ่มโรคตาอักเสบ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิด กลุ่มโรคทางเดินหายใจทุกชนิด และกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ ที่เป็นกลุ่มโรคที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาหมอกควัน

คำแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับประชาชนในสถานการณ์ปัญหาหมอกควันกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค มีคำแนะนำในการปฏิบัติตัวสำหรับประชาชนในกรณีที่เกิดปัญหาหมอกควัน ดังนี้

ระดับ PM 10 หรือทัศนะการมองเห็น ข้อควรปฏิบัติ ระดับ PM 10 น้อยกว่า 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือ - ช่วยกันดูแลไม่ให้มีการเผา เพื่อป้องกันมลพิษที่อาจจะเกิดขึ้นได้ สามารถมองเห็นเสาไฟฟ้าได้ไกลประมาณ 4 เสา (ปกติ) - ถ้าเห็นพื้นที่ใดมีการเผา ควรแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
  • ในผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง* (ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์

หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับปอด โรคหอบหืด ภูมิแพ้ ถุงลมโป่งพอง

และโรคเกี่ยวกับหัวใจหลอดเลือด) ควรเตรียมยาให้พร้อม เพิ่มการ

สังเกตอาการผิดปกติ และหากมีปัญหาสุขภาพให้ไปพบแพทย์

ที่โรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ระดับ PM 10 ระหว่าง 120 - 150 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร - งดกิจกรรมการเผา รวมทั้งการสูบบุหรี่ที่จะเพิ่มปัญหาควันมากขึ้น

หรือ สามารถมองเห็นเสาไฟฟ้าได้ไกลประมาณ 3 เสา - หากพบว่ามีการเผา ให้รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (มีผลกระทบต่อสุขภาพสำหรับกลุ่มเสี่ยง) - กลุ่มเสี่ยง*ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง

ที่ต้องออกแรงยาวนาน

  • กรณีที่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่ที่มีฝุ่น ควัน ควรใช้ผ้าหรือหน้ากากเพื่อปิด

ปากปิดจมูก

  • ปิดคลุมอาหารที่รับประทาน เพื่อมิให้สัมผัสกับฝุ่น
ระดับ PM 10 ระหว่าง 150 - 200ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร - งดกิจกรรมการเผา รวมทั้งการสูบบุหรี่ที่จะเพิ่มปัญหาควันมากขึ้น
หรือ สามารถมองเห็นเสาไฟฟ้าได้ไกลประมาณ 2 เสา - ช่วยกันดูแลในชุมชน ไม่ให้มีการเผา หากพบว่ามีการเผา (มีผลกระทบต่อสุขภาพทุกคน) ให้รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • กลุ่มเสี่ยง*ให้งดการออกกำลังกาย หรือกิจกรรมกลาแจ้ง
  • ผู้ที่มีร่างกายปกติ ให้งดการออกกำลังกายกลางแจ้ง
  • กรณีที่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่ที่มีฝุ่น ควัน ควรใช้ผ้าหรือหน้ากาก

เพื่อปิดปากปิดจมูก

  • ปิดคลุมอาหารที่รับประทาน เพื่อมิให้สัมผัสกับฝุ่น
  • ควรล้างมือบ่อย ๆ
ระดับ PM 10 มากกว่า 200 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรหรือ - งดกิจกรรมการเผา รวมทั้งการสูบบุหรี่ที่จะเพิ่มปัญหาควันมากขึ้น สามารถมองเห็นเสาไฟฟ้าได้ไกลประมาณ 1 เสา - ช่วยกันดูแลในชุมชน ไม่ให้มีการเผา หากพบว่ามีการเผา (มีผลกระทบต่อสุขภาพมากต่อทุกคน) ให้รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ในกลุ่มเสี่ยง * ให้อยู่เฉพาะในบ้านงดกิจกรรมนอกบ้านทั้งหมด

จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น

  • ในผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์ ไม่มีโรคประจำตัวทุกคน ควรจำกัดระยะเวลา

ที่อยู่ภายนอกอาคารหรือกลางแจ้งให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น

  • กรณีที่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่ที่มีฝุ่น ควัน ควรใช้ผ้าหรือหน้ากากเพื่อ

ปิดปากปิดจมูก

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มีนาคม 2555--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ