ทำเนียบรัฐบาล--21 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อเร่งรัดผลักดันการส่งออกปี 2539 ให้เป็นไปตามเป้าหมาย และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการโดยทันที สำหรับมาตรการ เฉพาะหน้า และถือเป็นมาตรการเร่งด่วน ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
1.1 เร่งลดต้นทุนการผลิต โดยลดหรือยกเลิกภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อให้อยู่ในระดับที่ สามารถจะแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ เร่งรัดการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและการคืนภาษีนำเข้าวัตถุดิบ ตามมาตรา 19 ทวิ และพิจารณาหาทางช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้บริการท่าเรือ เช่น ภาระหน้าท่า (Terminal Handling Charge : THC) ค่าออกใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading Charge) และค่า CFS (Container Freight station) ฯลฯ ให้เหมาะสม และเร่งพิจารณาผ่านร่างพระ ราชบัญญัติการประกอบธุรกิจพาณิชยนาวี รวมทั้งปรับลดค่ากระแสไฟฟ้าในช่วง peak hour ให้เท่าอัตรา ปกติ
1.2 แก้ไขปัญหาการตลาด โดยจัดประชุมหารืออัครราชทูตฝ่ายการพาณิชย์ เพื่อแลก เปลี่ยนข้อคิดเห็น พิจารณาภาวะตลาดประเทศคู่ค้า ฐานะการแข่งขันของสินค้าไทย และแนวทางการ พัฒนาศักยภาพในการแข่งขันเจรจาเพื่อขอขยายสิทธิ GSP ให้ได้ประโยชน์แก่การส่งออกมากที่สุดพิจารณา ผ่านร่างกฎหมายต่อต้านการทุ่มตลาดและตอบโต้การอุดหนุนให้มีผลบังคับใช้โดยเร็วเพื่อเป็นเครื่องมือ ทางการค้า และจัดคณะผู้แทนการค้าไปเจาะตลาดเป็นรายสินค้าในประเทศเป้าหมาย รวมทั้งพัฒนา ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการส่งเสริมและขยายตลาดส่งออก
1.3 แก้ไขกฎระเบียบของทางราชการ โดยเร่งรัดการใช้วิธีการประเมินราคาเพื่อ การศุลกากรตามข้อตกลง แกตต์โดยไม่ต้องรอให้ถึงกำหนด เพื่อลดภาระภาษี และปรับลดขั้นตอนการดำ เนินการสำหรับสินค้าที่ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพ และต้องขออนุญาตส่งออก โดยให้มีศูนย์ดำเนิน การออกเอกสารที่จำเป็นในการส่งออกรวมกันที่จุดเดียว รวมทั้งปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรทั้งระบบให้ แล้วเสร็จ และเร่งประกาศใช้โดยเร็ว โดยเฉพาะในส่วนของภาษีวัตถุดิบ
2. ระยะกลาง
2.1 พัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต และยกระดับคุณภาพสินค้า
2.2 เสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนกับต่างประเทศ
3. ระยะยาว
3.1 มี National Agenda หรือแผนแม่บทแห่งชาติที่มีเป้าหมายชัดเจน
3.2 กรอบแนวทางที่มีอยู่ในขณะนี้คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 สมุดปกขาวการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ แผนแม่บทเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ของไทย แผนส่งออก 20 ปี
ทั้งนี้ แผนแม่บทดังกล่าวจะเป็นกรอบแนวทางในการกำหนดทิศทางการพัฒนาด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของไทยในตลาดโลก
3.3 พัฒนาเพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าบริการให้สาขาที่มีศักยภาพในการแข่งขัน เช่น การเป็นศูนย์การศึกษา การักษาพยาบาล การท่องเที่ยวในภูมิภาค การเงินการธนาคาร ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจร้านอาหาร การขายส่ง - ขายปลีก การให้บริการด้านการสื่อสาร การคมนาคม เป็นต้น
3.4 ร่วมมือกับประเทศคู่ค้าสำคัญในการสร้างเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจเฉพาะสาขา เช่น ความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
3.5สนับสนุนให้มีการจัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนของ ไทยกับของต่างประเทศในด้านต่าง ๆ เช่นด้านข้อมูลข่าวสารการค้า การลงทุน เพื่อเสริมสร้าง ความพร้อม และลดความเสี่ยงในด้านการลงทุน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 20 สิงหาคม 2539--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อเร่งรัดผลักดันการส่งออกปี 2539 ให้เป็นไปตามเป้าหมาย และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการโดยทันที สำหรับมาตรการ เฉพาะหน้า และถือเป็นมาตรการเร่งด่วน ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
1.1 เร่งลดต้นทุนการผลิต โดยลดหรือยกเลิกภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อให้อยู่ในระดับที่ สามารถจะแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ เร่งรัดการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและการคืนภาษีนำเข้าวัตถุดิบ ตามมาตรา 19 ทวิ และพิจารณาหาทางช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้บริการท่าเรือ เช่น ภาระหน้าท่า (Terminal Handling Charge : THC) ค่าออกใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading Charge) และค่า CFS (Container Freight station) ฯลฯ ให้เหมาะสม และเร่งพิจารณาผ่านร่างพระ ราชบัญญัติการประกอบธุรกิจพาณิชยนาวี รวมทั้งปรับลดค่ากระแสไฟฟ้าในช่วง peak hour ให้เท่าอัตรา ปกติ
1.2 แก้ไขปัญหาการตลาด โดยจัดประชุมหารืออัครราชทูตฝ่ายการพาณิชย์ เพื่อแลก เปลี่ยนข้อคิดเห็น พิจารณาภาวะตลาดประเทศคู่ค้า ฐานะการแข่งขันของสินค้าไทย และแนวทางการ พัฒนาศักยภาพในการแข่งขันเจรจาเพื่อขอขยายสิทธิ GSP ให้ได้ประโยชน์แก่การส่งออกมากที่สุดพิจารณา ผ่านร่างกฎหมายต่อต้านการทุ่มตลาดและตอบโต้การอุดหนุนให้มีผลบังคับใช้โดยเร็วเพื่อเป็นเครื่องมือ ทางการค้า และจัดคณะผู้แทนการค้าไปเจาะตลาดเป็นรายสินค้าในประเทศเป้าหมาย รวมทั้งพัฒนา ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการส่งเสริมและขยายตลาดส่งออก
1.3 แก้ไขกฎระเบียบของทางราชการ โดยเร่งรัดการใช้วิธีการประเมินราคาเพื่อ การศุลกากรตามข้อตกลง แกตต์โดยไม่ต้องรอให้ถึงกำหนด เพื่อลดภาระภาษี และปรับลดขั้นตอนการดำ เนินการสำหรับสินค้าที่ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพ และต้องขออนุญาตส่งออก โดยให้มีศูนย์ดำเนิน การออกเอกสารที่จำเป็นในการส่งออกรวมกันที่จุดเดียว รวมทั้งปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรทั้งระบบให้ แล้วเสร็จ และเร่งประกาศใช้โดยเร็ว โดยเฉพาะในส่วนของภาษีวัตถุดิบ
2. ระยะกลาง
2.1 พัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต และยกระดับคุณภาพสินค้า
2.2 เสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนกับต่างประเทศ
3. ระยะยาว
3.1 มี National Agenda หรือแผนแม่บทแห่งชาติที่มีเป้าหมายชัดเจน
3.2 กรอบแนวทางที่มีอยู่ในขณะนี้คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 สมุดปกขาวการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ แผนแม่บทเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ของไทย แผนส่งออก 20 ปี
ทั้งนี้ แผนแม่บทดังกล่าวจะเป็นกรอบแนวทางในการกำหนดทิศทางการพัฒนาด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของไทยในตลาดโลก
3.3 พัฒนาเพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าบริการให้สาขาที่มีศักยภาพในการแข่งขัน เช่น การเป็นศูนย์การศึกษา การักษาพยาบาล การท่องเที่ยวในภูมิภาค การเงินการธนาคาร ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจร้านอาหาร การขายส่ง - ขายปลีก การให้บริการด้านการสื่อสาร การคมนาคม เป็นต้น
3.4 ร่วมมือกับประเทศคู่ค้าสำคัญในการสร้างเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจเฉพาะสาขา เช่น ความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
3.5สนับสนุนให้มีการจัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนของ ไทยกับของต่างประเทศในด้านต่าง ๆ เช่นด้านข้อมูลข่าวสารการค้า การลงทุน เพื่อเสริมสร้าง ความพร้อม และลดความเสี่ยงในด้านการลงทุน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 20 สิงหาคม 2539--