ทำเนียบรัฐบาล--20 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานครและชุมชนในประเทศ ไทย ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร และชุมชนในประเทศไทย มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นรองประธานกรรมการ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1.1 จัดทำและกำกับแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ
1.2 สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.3 ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบาย และแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
1.4 ดำเนินการอื่นใดเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศตามที่นายกรัฐมนตรี มอบหมาย
1.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานได้ตามความจำเป็น
2. ให้ความเห็นชอบในหลักการให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองใน บรรยากาศตามแผนปฏิบัติการ เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในกรุงเทพมหานคร และชุมชนในประเทศไทย ประกอบด้วยแนวทางในการดำเนินงานของหน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องดำเนินการเพิ่มเติมจากมาตร การที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน กฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งแยกมาตรการดำเนินการ ตามแผนปฏิบัติการฯ ตามแหล่งกำเนิดหรือแหล่งที่มาของฝุ่นละอองในบรรยากาศ 8 ประเภทด้วยกัน คือ
2.1 รถเครื่องยนต์ดีเซล (ควันดำ) ประกอบด้วยมาตรการฯ 36 ข้อ
2.2 รถจักรยานยนต์ (ควันขาว) ประกอบด้วยมาตรการฯ 13 ข้อ
2.3 การบรรทุกและขนส่งสินค้า (ฝุ่นดิน ทราย และเศษวัสดุต่าง ๆ) ประกอบด้วยมาตรการฯ 5 ข้อ
2.4 การก่อสร้างต่าง ๆ ได้แก่ ถนน อาคาร และสิ่งก่อสร้างต่างๆ (ฝุ่นดิน ทราย ปูน และ เศษวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ) ประกอบด้วยมาตรการฯ 12 ข้อ
2.5 ฝุ่นดินบนท้องถนนและไหล่ถนน ประกอบด้วยมาตรการฯ 5 ข้อ
2.6 โรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการต่าง ๆ ประกอบด้วยมาตรการฯ 7 ข้อ
2.7 การเผาในที่แจ้ง ประกอบด้วยมาตรการฯ 1 ข้อ
2.8 ถนนทางเข้าและออกหมู่บ้านในชนบท ประกอบด้วยมาตรการฯ 1 ข้อ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 19 ธันวาคม 2538--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานครและชุมชนในประเทศ ไทย ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร และชุมชนในประเทศไทย มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นรองประธานกรรมการ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1.1 จัดทำและกำกับแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ
1.2 สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.3 ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบาย และแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
1.4 ดำเนินการอื่นใดเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศตามที่นายกรัฐมนตรี มอบหมาย
1.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานได้ตามความจำเป็น
2. ให้ความเห็นชอบในหลักการให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองใน บรรยากาศตามแผนปฏิบัติการ เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในกรุงเทพมหานคร และชุมชนในประเทศไทย ประกอบด้วยแนวทางในการดำเนินงานของหน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องดำเนินการเพิ่มเติมจากมาตร การที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน กฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งแยกมาตรการดำเนินการ ตามแผนปฏิบัติการฯ ตามแหล่งกำเนิดหรือแหล่งที่มาของฝุ่นละอองในบรรยากาศ 8 ประเภทด้วยกัน คือ
2.1 รถเครื่องยนต์ดีเซล (ควันดำ) ประกอบด้วยมาตรการฯ 36 ข้อ
2.2 รถจักรยานยนต์ (ควันขาว) ประกอบด้วยมาตรการฯ 13 ข้อ
2.3 การบรรทุกและขนส่งสินค้า (ฝุ่นดิน ทราย และเศษวัสดุต่าง ๆ) ประกอบด้วยมาตรการฯ 5 ข้อ
2.4 การก่อสร้างต่าง ๆ ได้แก่ ถนน อาคาร และสิ่งก่อสร้างต่างๆ (ฝุ่นดิน ทราย ปูน และ เศษวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ) ประกอบด้วยมาตรการฯ 12 ข้อ
2.5 ฝุ่นดินบนท้องถนนและไหล่ถนน ประกอบด้วยมาตรการฯ 5 ข้อ
2.6 โรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการต่าง ๆ ประกอบด้วยมาตรการฯ 7 ข้อ
2.7 การเผาในที่แจ้ง ประกอบด้วยมาตรการฯ 1 ข้อ
2.8 ถนนทางเข้าและออกหมู่บ้านในชนบท ประกอบด้วยมาตรการฯ 1 ข้อ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 19 ธันวาคม 2538--