คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการย้ายแรงงานไทยออกจากเขตกุชกาติฟ ฉนวนกาซา ดังนี้
1. กระทรวงแรงงานและกระทรวงการต่างประเทศได้มีการประสานงานและมอบหมายให้ฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ จัดทำแผนปฏิบัติการรองรับการย้ายแรงงานไทยออกจากพื้นที่ โดยได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 3,000,000.- บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ของฝ่ายแรงงานฯ และสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้มีการประชุมหารือกับเจ้าหน้าที่ของทางการอิสราเอล เพื่อให้มีการประสานงานและความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ในการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองแรงงานไทยในการย้ายออกจากพื้นที่มายังที่พักที่ทางการอิสราเอลจัดเตรียมไว้ให้ เพื่อเป็นที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับการหางานใหม่ให้ทำ และในระหว่างการดำเนินการถอนนิคมชาวยิวออกจากเขตยึดครองบริเวณฉนวนกาซา กระทรวงแรงงานได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของฝ่ายแรงงานฯ ประจำอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับทางการอิสราเอลในการให้ความช่วยเหลือและหางานใหม่ให้กับแรงงานไทย รวมถึงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กับแรงงานไทยในกรณีต้องการเดินทางกลับประเทศไทยด้วย
2. รัฐบาลอิสราเอลกำหนดนโยบายให้ถอนนิคมชาวยิวออกจากเขตยึดครองบริเวณฉนวนกาซา เพื่อส่งมอบพื้นที่ดังกล่าวให้กับปาเลสไตน์ โดยกองกำลังทหารและตำรวจจะเริ่มปฏิบัติการย้ายชาวอิสราเอลและแรงงานต่างชาติออกจากพื้นที่ดังกล่าวทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2548 และคาดว่าจะดำเนินการได้แล้วเสร็จภายใน 3 สัปดาห์
3. ปัจจุบันมีแรงงานไทยทำงานอยู่ในอิสราเอล จำนวน 27,050 คน เป็นแรงงานถูกกฎหมาย จำนวน 26,025 คน และเป็นแรงงานผิดกฎหมาย จำนวน 1,025 คน ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในภาคเกษตร สำหรับแรงงานไทยที่ลักลอบเข้าไปทำงานในพื้นที่กุชกาติฟ ฉนวนกาซา เดิมมีอยู่จำนวนประมาณ 300 — 400 คน โดยพื้นที่ดังกล่าว กระทรวงแรงงานไม่อนุญาตให้แรงงานไทยเข้าไปทำงาน เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่ไม่มีความปลอดภัยจากการสู้รบกันระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอลอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้มีการชักจูงโน้มน้าวให้แรงงานไทยย้ายออกจากพื้นที่ดังกล่าวตลอดเวลา จนถึงขณะนี้คาดว่ามีแรงงานไทยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวประมาณ 100 คน
4. สำหรับแผนการย้ายแรงงานต่างชาติออกจากพื้นที่ดังกล่าวของทางการอิสราเอลจะดำเนินการ ดังนี้
4.1 แรงงานต่างชาติถูกกฎหมายที่ทำงานในพื้นที่ดังกล่าวจะถูกส่งไปที่พักชั่วคราวที่เมือง Arad และในกรณีนายจ้างเดิมไม่ยอมย้ายออกจากพื้นที่หรือไม่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรอีกต่อไป ทางการอิสราเอลจะหางานใหม่ให้ภายใน 3 วัน หากยังหางานไม่ได้จะให้วีซ่าพำนักในอิสราเอลได้เป็นเวลา 1 เดือน และต้องออกไปหานายจ้างใหม่ด้วยตนเอง หากไม่สามารถหานายจ้างใหม่ได้ภายในระยะเวลา 1 เดือน จะต้องเดินทางกลับประเทศตนเอง อย่างไรก็ตาม ทางการอิสราเอลได้ให้ความช่วยเหลือโดยจัดเตรียมนายจ้างไว้ส่วนหนึ่งแล้ว
4.2 แรงงานต่างชาติที่ผิดกฎหมายทางการอิสราเอลจะดำเนินการแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่พักอาศัยในอิสราเอลเกินกว่า 5 ปี จะถูกเนรเทศกลับประเทศตนเอง สำหรับกลุ่มที่พักอาศัยอยู่ไม่เกิน 5 ปี ทางการอิสราเอลจะหางานใหม่ให้ทำซึ่งขึ้นอยู่กับนายจ้างว่าต้องการหรือไม่ เนื่องจากทางการอิสราเอลอนุญาตให้แรงงานต่างชาติทำงานในประเทศได้ไม่เกิน 5 ปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 สิงหาคม 2548--จบ--
1. กระทรวงแรงงานและกระทรวงการต่างประเทศได้มีการประสานงานและมอบหมายให้ฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ จัดทำแผนปฏิบัติการรองรับการย้ายแรงงานไทยออกจากพื้นที่ โดยได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 3,000,000.- บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ของฝ่ายแรงงานฯ และสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้มีการประชุมหารือกับเจ้าหน้าที่ของทางการอิสราเอล เพื่อให้มีการประสานงานและความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ในการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองแรงงานไทยในการย้ายออกจากพื้นที่มายังที่พักที่ทางการอิสราเอลจัดเตรียมไว้ให้ เพื่อเป็นที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับการหางานใหม่ให้ทำ และในระหว่างการดำเนินการถอนนิคมชาวยิวออกจากเขตยึดครองบริเวณฉนวนกาซา กระทรวงแรงงานได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของฝ่ายแรงงานฯ ประจำอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับทางการอิสราเอลในการให้ความช่วยเหลือและหางานใหม่ให้กับแรงงานไทย รวมถึงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กับแรงงานไทยในกรณีต้องการเดินทางกลับประเทศไทยด้วย
2. รัฐบาลอิสราเอลกำหนดนโยบายให้ถอนนิคมชาวยิวออกจากเขตยึดครองบริเวณฉนวนกาซา เพื่อส่งมอบพื้นที่ดังกล่าวให้กับปาเลสไตน์ โดยกองกำลังทหารและตำรวจจะเริ่มปฏิบัติการย้ายชาวอิสราเอลและแรงงานต่างชาติออกจากพื้นที่ดังกล่าวทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2548 และคาดว่าจะดำเนินการได้แล้วเสร็จภายใน 3 สัปดาห์
3. ปัจจุบันมีแรงงานไทยทำงานอยู่ในอิสราเอล จำนวน 27,050 คน เป็นแรงงานถูกกฎหมาย จำนวน 26,025 คน และเป็นแรงงานผิดกฎหมาย จำนวน 1,025 คน ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในภาคเกษตร สำหรับแรงงานไทยที่ลักลอบเข้าไปทำงานในพื้นที่กุชกาติฟ ฉนวนกาซา เดิมมีอยู่จำนวนประมาณ 300 — 400 คน โดยพื้นที่ดังกล่าว กระทรวงแรงงานไม่อนุญาตให้แรงงานไทยเข้าไปทำงาน เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่ไม่มีความปลอดภัยจากการสู้รบกันระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอลอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้มีการชักจูงโน้มน้าวให้แรงงานไทยย้ายออกจากพื้นที่ดังกล่าวตลอดเวลา จนถึงขณะนี้คาดว่ามีแรงงานไทยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวประมาณ 100 คน
4. สำหรับแผนการย้ายแรงงานต่างชาติออกจากพื้นที่ดังกล่าวของทางการอิสราเอลจะดำเนินการ ดังนี้
4.1 แรงงานต่างชาติถูกกฎหมายที่ทำงานในพื้นที่ดังกล่าวจะถูกส่งไปที่พักชั่วคราวที่เมือง Arad และในกรณีนายจ้างเดิมไม่ยอมย้ายออกจากพื้นที่หรือไม่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรอีกต่อไป ทางการอิสราเอลจะหางานใหม่ให้ภายใน 3 วัน หากยังหางานไม่ได้จะให้วีซ่าพำนักในอิสราเอลได้เป็นเวลา 1 เดือน และต้องออกไปหานายจ้างใหม่ด้วยตนเอง หากไม่สามารถหานายจ้างใหม่ได้ภายในระยะเวลา 1 เดือน จะต้องเดินทางกลับประเทศตนเอง อย่างไรก็ตาม ทางการอิสราเอลได้ให้ความช่วยเหลือโดยจัดเตรียมนายจ้างไว้ส่วนหนึ่งแล้ว
4.2 แรงงานต่างชาติที่ผิดกฎหมายทางการอิสราเอลจะดำเนินการแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่พักอาศัยในอิสราเอลเกินกว่า 5 ปี จะถูกเนรเทศกลับประเทศตนเอง สำหรับกลุ่มที่พักอาศัยอยู่ไม่เกิน 5 ปี ทางการอิสราเอลจะหางานใหม่ให้ทำซึ่งขึ้นอยู่กับนายจ้างว่าต้องการหรือไม่ เนื่องจากทางการอิสราเอลอนุญาตให้แรงงานต่างชาติทำงานในประเทศได้ไม่เกิน 5 ปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 สิงหาคม 2548--จบ--