ทำเนียบรัฐบาล--23 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบความคืบหน้าการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการประนอมหนี้ของสถาบันการเงิน ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. สรุปความคืบหน้าของการดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
อยู่ระหว่างการติดตามทวงถามและรวบรวมข้อมูลจากสถาบันการเงิน ซึ่งธนาคารกำหนดให้รายงานเดือนละครั้งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่ต้องรายงานซึ่งในทางปฏิบัติสถาบันการเงินมักจะจัดส่งข้อมูลล่าช้า ไม่ทันกำหนด ปัจจุบันธนาคารได้พิจารณาแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยจัดการประชุมชี้แจงสถาบันการเงิน เรื่อง แบบรายงานและภาษีที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2541 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมแบบรายงานให้เป็นมาตรฐานยิ่งขึ้น รวมทั้งขยายกำหนดการจัดส่งรายงานจากเดิมเป็น 21 วัน นับจากวันสิ้นเดือนที่ต้องรายงาน
2. การดำเนินงานของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
2.1 ธนาคารได้แถลงข่าวความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2541
2.2 คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้แถลงข่าวเรื่องมาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2541
2.3 คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2541 และจะมีการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2541
2.4 งานที่ได้ดำเนินการแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการ
1) ประสานงานและติดตามการออกมาตรการภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ดังนี้
- กรมสรรพากรได้จัดให้มีการประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงโครงสร้างนี้เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการขอยกเว้นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และค่าธรรมเนียม (กรณีการโอนที่ดิน) และอากรแสตมป์(กรณีการโอนที่ดิน และยานพาหนะ) โดยให้มีการแนบหนังสือรับรองในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการโอน เช่นสัญญาการจดทะเบียนจำนอง ขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้ไขรูปแบบของหนังสือรับรองดังกล่าว
- คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2541 ได้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนและการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ จากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราช-บัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 และมีมติให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนและการจดทะเบียนจำนองอาคารชุดเหลือร้อยละ 0.01 เช่นเดียวกับกรณีอสังหาริมทรัพย์ โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยออกประกาศกระทรวงมหาดไทยลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยการลดหย่อนค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2542 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของกรมที่ดิน
2) ตามที่คณะกรรมการ กรอ. ได้มีมติให้จัดตั้งคณะกรรมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในต่างจังหวัด นั้น เจ้าหน้าที่จากกระทรวงมหาดไทยได้หารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2541 เกี่ยวกับการจัดตั้งคณะอนุกรรมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน ประธานหอการค้าจังหวัด และประธานสภาอุตสาหกรรมแห่ง-ประเทศไทย เป็นรองประธาน และอนุกรรมการอื่นอีก 13 คน โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. รวบรวมประเด็นปัญหา และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับปัญหาหนี้เสียที่เกิดขึ้นในจังหวัด และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ประจำจังหวัดโดยไม่จำกัดวงเงินที่ต้องพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
2. มีหน้าที่เป็นองค์กรกลางที่ให้ความเห็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่และลูกหนี้ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการประนอมหนี้ตามนโยบายรัฐบาล
3. พิจารณาตัดสินและปรับปรุงโครงสร้างหนี้และประนอมหนี้ โดยได้รับความเห็นชอบเป็นมติในรูปคณะอนุกรรมการ ถือว่าความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการต้องเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย (ลูกหนี้ - เจ้าหนี้)
4. หากลูกหนี้ เจ้าหน้าที่ไม่เห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการมีมติเห็นชอบให้ถือว่าการประนอมหนี้ โดยคณะอนุกรรมการได้สิ้นสุดลงแล้วให้เจ้าหน้าที่ ลูกหนี้ไปตกลงกันเอง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 พฤศจิกายน 2541--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบความคืบหน้าการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการประนอมหนี้ของสถาบันการเงิน ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. สรุปความคืบหน้าของการดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
อยู่ระหว่างการติดตามทวงถามและรวบรวมข้อมูลจากสถาบันการเงิน ซึ่งธนาคารกำหนดให้รายงานเดือนละครั้งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่ต้องรายงานซึ่งในทางปฏิบัติสถาบันการเงินมักจะจัดส่งข้อมูลล่าช้า ไม่ทันกำหนด ปัจจุบันธนาคารได้พิจารณาแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยจัดการประชุมชี้แจงสถาบันการเงิน เรื่อง แบบรายงานและภาษีที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2541 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมแบบรายงานให้เป็นมาตรฐานยิ่งขึ้น รวมทั้งขยายกำหนดการจัดส่งรายงานจากเดิมเป็น 21 วัน นับจากวันสิ้นเดือนที่ต้องรายงาน
2. การดำเนินงานของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
2.1 ธนาคารได้แถลงข่าวความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2541
2.2 คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้แถลงข่าวเรื่องมาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2541
2.3 คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2541 และจะมีการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2541
2.4 งานที่ได้ดำเนินการแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการ
1) ประสานงานและติดตามการออกมาตรการภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ดังนี้
- กรมสรรพากรได้จัดให้มีการประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงโครงสร้างนี้เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการขอยกเว้นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และค่าธรรมเนียม (กรณีการโอนที่ดิน) และอากรแสตมป์(กรณีการโอนที่ดิน และยานพาหนะ) โดยให้มีการแนบหนังสือรับรองในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการโอน เช่นสัญญาการจดทะเบียนจำนอง ขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้ไขรูปแบบของหนังสือรับรองดังกล่าว
- คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2541 ได้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนและการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ จากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราช-บัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 และมีมติให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนและการจดทะเบียนจำนองอาคารชุดเหลือร้อยละ 0.01 เช่นเดียวกับกรณีอสังหาริมทรัพย์ โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยออกประกาศกระทรวงมหาดไทยลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยการลดหย่อนค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2542 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของกรมที่ดิน
2) ตามที่คณะกรรมการ กรอ. ได้มีมติให้จัดตั้งคณะกรรมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในต่างจังหวัด นั้น เจ้าหน้าที่จากกระทรวงมหาดไทยได้หารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2541 เกี่ยวกับการจัดตั้งคณะอนุกรรมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน ประธานหอการค้าจังหวัด และประธานสภาอุตสาหกรรมแห่ง-ประเทศไทย เป็นรองประธาน และอนุกรรมการอื่นอีก 13 คน โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. รวบรวมประเด็นปัญหา และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับปัญหาหนี้เสียที่เกิดขึ้นในจังหวัด และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ประจำจังหวัดโดยไม่จำกัดวงเงินที่ต้องพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
2. มีหน้าที่เป็นองค์กรกลางที่ให้ความเห็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่และลูกหนี้ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการประนอมหนี้ตามนโยบายรัฐบาล
3. พิจารณาตัดสินและปรับปรุงโครงสร้างหนี้และประนอมหนี้ โดยได้รับความเห็นชอบเป็นมติในรูปคณะอนุกรรมการ ถือว่าความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการต้องเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย (ลูกหนี้ - เจ้าหนี้)
4. หากลูกหนี้ เจ้าหน้าที่ไม่เห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการมีมติเห็นชอบให้ถือว่าการประนอมหนี้ โดยคณะอนุกรรมการได้สิ้นสุดลงแล้วให้เจ้าหน้าที่ ลูกหนี้ไปตกลงกันเอง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 พฤศจิกายน 2541--