ทำเนียบรัฐบาล--14 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการร่วมทุนระหว่างการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และเปโตรนาสในโครงการท่อส่งก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย และโครงการโรงแยกก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ร่วมลงทุนกับเปโตรนาส (PETRONAS) ประเทศมาเลเซีย ในการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในประเทศไทยและมาเลเซีย โดย ปตท. ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50 เพื่อดำเนินโครงการท่อส่งก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย (Trans - Thailand - Malaysia Pipeline หรือ TTM) และโครงการโรงแยกก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย มีเงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 1,034 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 41,360 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงินจากส่วนของทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 คิดเป็นส่วนทุนของ ปตท. ในการร่วมทุนไม่ต่ำกว่า 137 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 5,480 ล้านบาท โดยอนุมัติให้ ปตท. ได้รับจัดสรรงบลงทุนดังกล่าวเป็นกรณีพิเศษเพิ่มเติมจากวงเงินลงทุนที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอนุมัติให้จ่ายได้ตามข้อกำหนดของ Retained Income
2. ให้ความเห็นชอบในหลักการร่างสัญญาซื้อขายก๊าซฯ กับกลุ่มผู้ขายจากแปลง A-18 ร่างสัญญาการให้ยืมคืน ร่างสัญญาผู้ถือหุ้นบริษัทร่วมทุนและร่างสัญญาแม่บทการร่วมทุนกับเปโตรนาส และให้มีการลงนามในสัญญาดังกล่าวภายหลังผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานอัยการสูงสุด
3. ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการในข้อ 1 ดังนี้
3.1 การให้ ปตท. อนุญาตหรือให้สิทธิในระยะยาวแก่บริษัทร่วมทุนดำเนินการก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซฯ ในเขตระบบขนส่งก๊าซฯ ทางท่อของ ปตท. โดยจัดทำเป็นสัญญาระยะยาว 30 ปี
3.2 การได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในสิทธิประโยชน์สูงสุดภายใต้เขตส่งเสริมการลงทุนเขต 3 เนื่องจากโครงการจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง และเพื่อให้ค่าบริการของโครงการอยู่ในระดับที่เหมาะสม
3.3 การสนับสนุนการจัดการด้านภาษีในการขนส่งก๊าซฯ ทั้งออกจากพื้นที่พัฒนาร่วมและนำก๊าซฯ เข้าและออกประเทศไทย เพื่อมิให้เกิดผลกระทบและความเหลื่อมล้ำด้านภาษีจากการขนส่งก๊าซฯ และเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันด้านภาษีกับผู้บริโภคก๊าซฯ ทั้งในประเทศไทยและมาเลเซีย
3.4 ความร่วมมือจากหน่วยราชการต่าง ๆ เช่น กรมทางหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในการอนุญาตให้ใช้เขตทางเพื่อดำเนินการวางท่อก๊าซฯ กรมชลประทานในการก่อสร้างโรงแยกก๊าซฯ กรมทรัพยากรธรณีในการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมสำหรับใช้ในโครงการ เป็นต้น
สำหรับโครงการท่อส่งก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย ในระยะแรกจะเป็นการก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซฯ เพื่อรองรับการพัฒนาก๊าซฯ จากแปลง A-18 โดยจะทำการวางท่อก๊าซฯ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 34 นิ้ว ระยะทาง 352 กิโลเมตร มีกำลังการส่งก๊าซฯ ประมาณ1,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เชื่อมแหล่งก๊าซฯ จากแปลง A-18 กับระบบท่อส่งก๊าซฯ ของเปโตรนาสในรัฐ Kedah ทางเหนือของมาเลเซียรวมทั้งจะมีการติดตั้งหน่วยจำกัดคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อปรับปรุงคุณภาพก๊าซฯ ท่อส่งก๊าซฯ ส่วนนี้จะให้บริการขนส่งก๊าซฯ ของเปโตรนาสกลับประเทศของตน ซึ่งจะเริ่มในปลายปี 2544 พร้อมทั้งให้บริการขนส่งก๊าซฯ ของ ปตท. ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ทางภาคใต้ตอนล่างของไทย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มมีความต้องการในระดับ 2 - 3 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ในปี 2545 และสามารถทำการพัฒนาตลาดก๊าซฯให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องได้ถึงระดับ 130 - 190 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ในระยะที่สองจะมีการวางท่อส่งก๊าซฯ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 นิ้ว ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร เชื่อมต่อแหล่งก๊าซฯ ในแปลง A-18 กับระบบท่อส่งก๊าซฯ ของ ปตท. ในอนาคตในแปลง B-17 เพื่อรองรับการซื้อก๊าซฯ ของ ปตท. จากส่วนขยายการผลิตของแปลง A-18 ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในส่วนกลาง ซึ่งคาดว่าจะมีความต้องการใช้ก๊าซฯ ดังกล่าวภายในปี 2548/2550
โครงการโรงแยกก๊าซไทย - มาเลเซีย จะมีการติดตั้งโรงแยกก๊าซฯ หน่วยที่ 1 ขนาดรับก๊าซฯ 425 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับก๊าซฯ ที่จะขึ้นฝั่งที่จังหวัดสงขลาในระยะแรก โดยการแยกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และก๊าซธรรมชาติเหลว (NGL) ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางปี 2545 และในระยะที่สองจะมีการติดตั้งโรงแยกก๊าซฯ หน่วยที่ 2 เพื่อให้บริการแยกก๊าซฯให้กับส่วนขยายการผลิตจากแปลง A-18 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2550
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 กันยายน 2542--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการร่วมทุนระหว่างการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และเปโตรนาสในโครงการท่อส่งก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย และโครงการโรงแยกก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ร่วมลงทุนกับเปโตรนาส (PETRONAS) ประเทศมาเลเซีย ในการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในประเทศไทยและมาเลเซีย โดย ปตท. ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50 เพื่อดำเนินโครงการท่อส่งก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย (Trans - Thailand - Malaysia Pipeline หรือ TTM) และโครงการโรงแยกก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย มีเงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 1,034 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 41,360 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงินจากส่วนของทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 คิดเป็นส่วนทุนของ ปตท. ในการร่วมทุนไม่ต่ำกว่า 137 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 5,480 ล้านบาท โดยอนุมัติให้ ปตท. ได้รับจัดสรรงบลงทุนดังกล่าวเป็นกรณีพิเศษเพิ่มเติมจากวงเงินลงทุนที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอนุมัติให้จ่ายได้ตามข้อกำหนดของ Retained Income
2. ให้ความเห็นชอบในหลักการร่างสัญญาซื้อขายก๊าซฯ กับกลุ่มผู้ขายจากแปลง A-18 ร่างสัญญาการให้ยืมคืน ร่างสัญญาผู้ถือหุ้นบริษัทร่วมทุนและร่างสัญญาแม่บทการร่วมทุนกับเปโตรนาส และให้มีการลงนามในสัญญาดังกล่าวภายหลังผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานอัยการสูงสุด
3. ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการในข้อ 1 ดังนี้
3.1 การให้ ปตท. อนุญาตหรือให้สิทธิในระยะยาวแก่บริษัทร่วมทุนดำเนินการก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซฯ ในเขตระบบขนส่งก๊าซฯ ทางท่อของ ปตท. โดยจัดทำเป็นสัญญาระยะยาว 30 ปี
3.2 การได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในสิทธิประโยชน์สูงสุดภายใต้เขตส่งเสริมการลงทุนเขต 3 เนื่องจากโครงการจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง และเพื่อให้ค่าบริการของโครงการอยู่ในระดับที่เหมาะสม
3.3 การสนับสนุนการจัดการด้านภาษีในการขนส่งก๊าซฯ ทั้งออกจากพื้นที่พัฒนาร่วมและนำก๊าซฯ เข้าและออกประเทศไทย เพื่อมิให้เกิดผลกระทบและความเหลื่อมล้ำด้านภาษีจากการขนส่งก๊าซฯ และเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันด้านภาษีกับผู้บริโภคก๊าซฯ ทั้งในประเทศไทยและมาเลเซีย
3.4 ความร่วมมือจากหน่วยราชการต่าง ๆ เช่น กรมทางหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในการอนุญาตให้ใช้เขตทางเพื่อดำเนินการวางท่อก๊าซฯ กรมชลประทานในการก่อสร้างโรงแยกก๊าซฯ กรมทรัพยากรธรณีในการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมสำหรับใช้ในโครงการ เป็นต้น
สำหรับโครงการท่อส่งก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย ในระยะแรกจะเป็นการก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซฯ เพื่อรองรับการพัฒนาก๊าซฯ จากแปลง A-18 โดยจะทำการวางท่อก๊าซฯ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 34 นิ้ว ระยะทาง 352 กิโลเมตร มีกำลังการส่งก๊าซฯ ประมาณ1,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เชื่อมแหล่งก๊าซฯ จากแปลง A-18 กับระบบท่อส่งก๊าซฯ ของเปโตรนาสในรัฐ Kedah ทางเหนือของมาเลเซียรวมทั้งจะมีการติดตั้งหน่วยจำกัดคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อปรับปรุงคุณภาพก๊าซฯ ท่อส่งก๊าซฯ ส่วนนี้จะให้บริการขนส่งก๊าซฯ ของเปโตรนาสกลับประเทศของตน ซึ่งจะเริ่มในปลายปี 2544 พร้อมทั้งให้บริการขนส่งก๊าซฯ ของ ปตท. ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ทางภาคใต้ตอนล่างของไทย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มมีความต้องการในระดับ 2 - 3 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ในปี 2545 และสามารถทำการพัฒนาตลาดก๊าซฯให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องได้ถึงระดับ 130 - 190 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ในระยะที่สองจะมีการวางท่อส่งก๊าซฯ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 นิ้ว ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร เชื่อมต่อแหล่งก๊าซฯ ในแปลง A-18 กับระบบท่อส่งก๊าซฯ ของ ปตท. ในอนาคตในแปลง B-17 เพื่อรองรับการซื้อก๊าซฯ ของ ปตท. จากส่วนขยายการผลิตของแปลง A-18 ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในส่วนกลาง ซึ่งคาดว่าจะมีความต้องการใช้ก๊าซฯ ดังกล่าวภายในปี 2548/2550
โครงการโรงแยกก๊าซไทย - มาเลเซีย จะมีการติดตั้งโรงแยกก๊าซฯ หน่วยที่ 1 ขนาดรับก๊าซฯ 425 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับก๊าซฯ ที่จะขึ้นฝั่งที่จังหวัดสงขลาในระยะแรก โดยการแยกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และก๊าซธรรมชาติเหลว (NGL) ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางปี 2545 และในระยะที่สองจะมีการติดตั้งโรงแยกก๊าซฯ หน่วยที่ 2 เพื่อให้บริการแยกก๊าซฯให้กับส่วนขยายการผลิตจากแปลง A-18 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2550
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 กันยายน 2542--