การจัดทำปฏิญญาระดับรัฐมนตรีในการประชุมภาคีป่าไม้แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 11 (The eleventh session of the United Nations Forum on Forests: UNFF11)

ข่าวการเมือง Tuesday May 12, 2015 16:45 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบในหลักการต่อเอกสาร Non-Paper on Possible Elements for Inclusion in the Ministerial Declaration of UNFF11 และเอกสาร Non-Paper on Possible Elements for Inclusion in the UNFF11 Resolution on the IAF Beyond 2015 ของการประชุม United Nations Forums on Forests สมัยที่ 11

2. เห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์สำหรับหัวหน้าคณะผู้แทนไทย (Statement by Head of Delegation, Thailand at the High Levels Segment of the Eleventh Session of the United Nations Forum on Forests)

3. มอบหมายให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุม United Nations Forum on Forests สมัยที่ 11 เป็นผู้พิจารณาให้การรับรองปฏิญญาระดับรัฐมนตรี (Ministerial Declaration) และร่างข้อมติ International Arrangement on Forest (IAF) Beyond 2015 ของการประชุม United Nations Forums on Forests สมัยที่ 11

4. หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแก้ไขถ้อยคำของเอกสาร Non-Paper ทั้ง 2 ฉบับ และ ร่างแถลงการณ์สำหรับหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้ ทส. สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง

สาระสำคัญของเรื่อง

1. เอกสาร Non-Paper on Possible Elements for Inclusion in the Ministerial Declaration of UNFF11 และเอกสาร Non-Paper Possible Elements for Inclusion in the UNFF11 Resolution on the IAF Beyond 2015 เป็นเอกสารที่แสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่การยืนยันความสำคัญในด้านต่าง ๆ ของป่าไม้รวมถึงความก้าวหน้าและความท้าทายของการดำเนินการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายข้อตกลงต่าง ๆ ด้านการป่าไม้ระหว่างประเทศ และเน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของตราสารที่ไม่ผูกพันทางกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ทุกชนิด และเป้าหมายระดับสากลเกี่ยวกับป่าไม้ ซึ่งจะนำไปสู่การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน

2. ร่างแถลงการณ์สำหรับหัวหน้าคณะผู้แทนไทย (Statement by Head of Delegation, Thailand at the High Levels Segment of the Eleventh Session of the United Nations Forum on Forests) จะกล่าวถึงการแบ่งปันประสบการณ์ในการจัดการที่ดี (Best Practice) ผ่านยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการจัดการป่าไม้ที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน เช่น การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ การน้อมนำแนวทางพระราชดำริของราชวงศ์ไทยมาใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดเพื่อป้องกันการทำลายป่าและลดความเสื่อมโทรมของป่า การสนับสนุนแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือในระดับนานาชาติ เพื่อการตรวจติดตาม การประเมินผล และการรายงานสถานการณ์ด้านป่าไม้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดการป่าไม้ในระดับนานาชาติ

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 พฤษภาคม 2558--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ