ทำเนียบรัฐบาล--25 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2539 - 2543 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบ แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2539 - 2543”เพื่อ พัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าวให้มีความพร้อมที่จะตอบสนองความต้องการและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟร์แวร์ และอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่น ๆ ของ ประเทศให้เจริญเติบโตได้อย่างมั่นคงต่อไป แนวทางดังกล่าวประกอบด้วย
1.1 การกำหนดผลิตภัณฑ์เป้าหมายการพัฒนา ซึ่งในขั้นต้นกำหนดไว้ 5 รายการ คือ water fabrication, integrated circuit design, fiber optic manufacturing, switching and transmission equipment for telecommunication และ software industry สำหรับในขั้นต่อไป กระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์เทค โนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ จะร่วมกันศึกษาและประกาศรายงานผลิตภัณฑ์เป้าหมาย การพัฒนาต่อไป
1.2 กลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกอบด้วย การจัดตั้งและพัฒนา พื้นที่ Free Trade Zone สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การวางรากฐานการพัฒนาเทคโนโลยี โดยใช้มาตรการจูงใจและกระตุ้นให้ภาคเอกชนเกิดการตื่นตัวด้านการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาบุคลากร ทุกระดับสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้มาตรการจูงใจทั้งทางภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี การปรับ ปรุงโครงสร้างภาษีอากรของวัตถุดิบ เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงเป็นการเอื้ออำนวยให้แข่งขันกับต่าง ประเทศได้ การพัฒนาระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ให้ทัดเทียมระบบสากล และการปรับปรุงระบบ การอนุญาตและพิธีการของทางราชการให้มีความคล่องตัวและประหยัดค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจอุต สาหกรรมยิ่งขึ้น
1.3 สำหรับกลไกประสานและติดตามการดำเนินการสมควรให้คณะกรรมการพัฒนาอุต สาหกรรมแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาดังกล่าว
2. ให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กรมศุลกากร สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กระ ทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การสื่อสาร แห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ทบวงมหา วิทยาลัย และกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการตามกลยุทธ์และมาตรการดำเนินการตามที่กระทรวงอุต สาหกรรม โดยให้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการทุก 3 เดือน
3. สำหรับเรื่องงบประมาณ ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณคือ สำนักงาน เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนาแล้วในปี 2539 จำนวน 2.3 ล้านบาท และปี 2540 จำนวน 4.8 ล้านบาท นอกจากนี้ สำนักงบประมาณยังมี ความเห็นเพิ่มเติมว่ากลไกของรัฐโดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรมจะต้องเป็นแกนนำชักจูงให้ภาค เอกชนให้ร่วมมือด้วยอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยมี ความเห็น เพิ่มเติมในประเด็นต่าง ๆ เช่น ขอเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาอุต สาหกรรมแห่งชาติ และปรับปรุงกลยุทธ์การดำเนินการบางส่วนเพื่อให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 24 กันยายน 2539--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2539 - 2543 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบ แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2539 - 2543”เพื่อ พัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าวให้มีความพร้อมที่จะตอบสนองความต้องการและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟร์แวร์ และอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่น ๆ ของ ประเทศให้เจริญเติบโตได้อย่างมั่นคงต่อไป แนวทางดังกล่าวประกอบด้วย
1.1 การกำหนดผลิตภัณฑ์เป้าหมายการพัฒนา ซึ่งในขั้นต้นกำหนดไว้ 5 รายการ คือ water fabrication, integrated circuit design, fiber optic manufacturing, switching and transmission equipment for telecommunication และ software industry สำหรับในขั้นต่อไป กระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์เทค โนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ จะร่วมกันศึกษาและประกาศรายงานผลิตภัณฑ์เป้าหมาย การพัฒนาต่อไป
1.2 กลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกอบด้วย การจัดตั้งและพัฒนา พื้นที่ Free Trade Zone สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การวางรากฐานการพัฒนาเทคโนโลยี โดยใช้มาตรการจูงใจและกระตุ้นให้ภาคเอกชนเกิดการตื่นตัวด้านการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาบุคลากร ทุกระดับสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้มาตรการจูงใจทั้งทางภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี การปรับ ปรุงโครงสร้างภาษีอากรของวัตถุดิบ เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงเป็นการเอื้ออำนวยให้แข่งขันกับต่าง ประเทศได้ การพัฒนาระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ให้ทัดเทียมระบบสากล และการปรับปรุงระบบ การอนุญาตและพิธีการของทางราชการให้มีความคล่องตัวและประหยัดค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจอุต สาหกรรมยิ่งขึ้น
1.3 สำหรับกลไกประสานและติดตามการดำเนินการสมควรให้คณะกรรมการพัฒนาอุต สาหกรรมแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาดังกล่าว
2. ให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กรมศุลกากร สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กระ ทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การสื่อสาร แห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ทบวงมหา วิทยาลัย และกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการตามกลยุทธ์และมาตรการดำเนินการตามที่กระทรวงอุต สาหกรรม โดยให้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการทุก 3 เดือน
3. สำหรับเรื่องงบประมาณ ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณคือ สำนักงาน เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนาแล้วในปี 2539 จำนวน 2.3 ล้านบาท และปี 2540 จำนวน 4.8 ล้านบาท นอกจากนี้ สำนักงบประมาณยังมี ความเห็นเพิ่มเติมว่ากลไกของรัฐโดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรมจะต้องเป็นแกนนำชักจูงให้ภาค เอกชนให้ร่วมมือด้วยอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยมี ความเห็น เพิ่มเติมในประเด็นต่าง ๆ เช่น ขอเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาอุต สาหกรรมแห่งชาติ และปรับปรุงกลยุทธ์การดำเนินการบางส่วนเพื่อให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 24 กันยายน 2539--