ทำเนียบรัฐบาล--23 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ระบบการบริการสาธารณสุขเพื่อชุมชน และเรื่อง การประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาอุปัทวภัย พร้อมทั้งข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. เรื่องระบบการบริการสาธารณสุขเพื่อชุมชน
1.1 การปฏิรูปการเงินการคลัง (Health Financing) เนื่องจากวิธีการจัดระบบการเงินการคลัง จะมีผลอย่างมากต่อพฤติกรรม (behaviour) ทั้งของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ทั้งยังเป็นกลไกในการสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้น (equity) ทั้งระหว่างคนจนกับคนรวย และภูมิภาคเมืองกับชนบท
1.2 การปฏิรูประบบบริการ (Health Service Organization) การปฏิรูประบบบริการเพื่อให้ระบบบริการสามารถพัฒนาทั้งประสิทธิภาพและคุณภาพของตนเอง เช่น การสร้างระบบเครือข่ายที่เหมาะสมระหว่างสถานบริการที่เป็นด่านแรก (first contact)กับสถานพยาบาลที่รับการส่งต่อ (referal level) และระหว่างรัฐและเอกชน (private - public mix) การพัฒนาระบบบริหารของโรงพยาบาลของรัฐโดยการลดระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ (deregulate) เพื่อให้รัฐสร้างระบบบริหารที่สามารถแข่งขัน (compete) กับเอกชนได้
1.3 การปฏิรูปสิทธิของผู้รับบริการ (consumers right) เพื่อให้ผู้รับบริการมีทางเลือกผู้ให้บริการที่ตนเองพอใจได้ขณะเดียวกันก็มีสิทธิในการที่จะขอให้มีการปรับปรุงคุณภาพของบริการหากตนเองได้รับบริการที่ไม่เหมาะสม
2. เรื่องการประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาอุปัทวภัย ได้ดำเนินการเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารจัดการระบบเวชกรรมฉุกเฉินของประเทศไทย การจัดระดับขนาดของเหตุฉุกเฉิน แนวทางการแบ่งเขตภูมิภาคในประเทศไทย หน่วยให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินหน่วยให้บริการการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ การรับแจ้งเหตุ การสื่อสาร บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในระบบเวชกรรมฉุกเฉิน งบประมาณสนับสนุนระบบ และการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มอบให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุขรับไปพิจารณาดำเนินการ แล้วแจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 มิถุนายน 2541--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ระบบการบริการสาธารณสุขเพื่อชุมชน และเรื่อง การประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาอุปัทวภัย พร้อมทั้งข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. เรื่องระบบการบริการสาธารณสุขเพื่อชุมชน
1.1 การปฏิรูปการเงินการคลัง (Health Financing) เนื่องจากวิธีการจัดระบบการเงินการคลัง จะมีผลอย่างมากต่อพฤติกรรม (behaviour) ทั้งของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ทั้งยังเป็นกลไกในการสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้น (equity) ทั้งระหว่างคนจนกับคนรวย และภูมิภาคเมืองกับชนบท
1.2 การปฏิรูประบบบริการ (Health Service Organization) การปฏิรูประบบบริการเพื่อให้ระบบบริการสามารถพัฒนาทั้งประสิทธิภาพและคุณภาพของตนเอง เช่น การสร้างระบบเครือข่ายที่เหมาะสมระหว่างสถานบริการที่เป็นด่านแรก (first contact)กับสถานพยาบาลที่รับการส่งต่อ (referal level) และระหว่างรัฐและเอกชน (private - public mix) การพัฒนาระบบบริหารของโรงพยาบาลของรัฐโดยการลดระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ (deregulate) เพื่อให้รัฐสร้างระบบบริหารที่สามารถแข่งขัน (compete) กับเอกชนได้
1.3 การปฏิรูปสิทธิของผู้รับบริการ (consumers right) เพื่อให้ผู้รับบริการมีทางเลือกผู้ให้บริการที่ตนเองพอใจได้ขณะเดียวกันก็มีสิทธิในการที่จะขอให้มีการปรับปรุงคุณภาพของบริการหากตนเองได้รับบริการที่ไม่เหมาะสม
2. เรื่องการประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาอุปัทวภัย ได้ดำเนินการเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารจัดการระบบเวชกรรมฉุกเฉินของประเทศไทย การจัดระดับขนาดของเหตุฉุกเฉิน แนวทางการแบ่งเขตภูมิภาคในประเทศไทย หน่วยให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินหน่วยให้บริการการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ การรับแจ้งเหตุ การสื่อสาร บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในระบบเวชกรรมฉุกเฉิน งบประมาณสนับสนุนระบบ และการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มอบให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุขรับไปพิจารณาดำเนินการ แล้วแจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 มิถุนายน 2541--