ทำเนียบรัฐบาล--7 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เรื่องโครงการการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน การบริหารงานไม่ผูกพันกับกฎระเบียบของราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยมอบให้กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการในขั้นต้น และเมื่อมีพระราชบัญญัติองค์กรมหาชนประกาศใช้ จึงให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติต่อไป
2. เห็นชอบให้มีคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง แต่งตั้งโดยกระทรวงพาณิชย์ ประกอบด้วยผู้แทนภาครัฐบาลและเอกชน เพื่อทำหน้าที่วางนโยบาย กำหนดแผนและเป้าหมายการทำงาน กำหนดระบบการบริหารงาน ควบคุมและกำกับดูแล การบริหารงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ คณะอนุกรรมการหลัก 3 คณะ หรืออาจเพิ่มจำนวนได้ในกรณีที่จำเป็น ทั้งนี้ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการพัฒนาวัตถุดิบและตรวจสอบคุณภาพ คณะอนุกรรมการพัฒนาเทคโนโลยี บุคลากร และการออกแบบ คณะอนุกรรมการพัฒนาและขยายตลาดสินค้า
3. ให้กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ได้รับเงินเป็นค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในการจัดตั้งปีแรก ปีงบประมาณ 2542 จำนวน 60 ล้านบาท ในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป เพื่อให้สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ดำเนินการต่อไป ส่วนค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป ให้ใช้จ่ายจากเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
4. สถานที่ตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ : อาคารวิจัยและทดสอบอัญมณี จุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย ในระยะเริ่มต้น
5. หน้าที่ความรับผิดชอบของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับ
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ จะเป็นศูนย์กลางพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ในระดับประเทศและระดับภูมิภาค ในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันด้วยการพัฒนาองค์ความรู้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาระบบบริหารจัดการ และการประกันคุณภาพ รวมทั้งการพัฒนาระบบธุรกิจอัญมณีของประเทศไทย โดยจะมุ่งเน้นความเป็นเลิศ 5 ประการ ได้แก่ ขุดเป็น ดูเป็น ออกแบบเป็น ทำเป็น และขายเป็น
ความเป็นมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ตั้งสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งมีฐานะเป็นฝ่ายหนึ่งของกองบริการอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2532
ข้อเท็จจริงในปัจจุบัน สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ ได้เสนอให้มีการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติขึ้น เพื่อเป็นองค์กรหลักในการดำเนินการทุกกิจกรรมอย่างครบวงจร กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ประชุมหารือกับสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2541 โดยที่ประชุมของทั้ง 2 กระทรวงได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ โดยได้รับความร่วมมือจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในด้านสถานที่และบุคลากรจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รูปแบบองค์กรและการบริหาร
1. สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน การบริหารงานไม่ผูกพันกับกฎ ระเบียบปฏิบัติและข้อบังคับของราชการและรัฐวิสาหกิจ เมื่อมีพระราชบัญญัติองค์การมหาชนประกาศใช้ จึงให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป ในการจัดตั้งปีแรก คือปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ให้กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ รับเงินเป็นค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไปให้กับสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติในการดำเนินงานต่อไป
2. ให้สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ มีคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง คือ คณะกรรมการบริหารสถาบันอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ แต่งตั้งโดยกระทรวงพาณิชย์ ประกอบด้วยผู้แทนทั้งภาครัฐบาล ภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษาและจากภาคเอกชน โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่วางนโยบาย กำหนดแผนและเป้าหมายการทำงานกำหนดระบบการบริหารงาน ควบคุมและกำกับดูแลการบริหารงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ทั้งนี้ ให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ กรมทรัพยากรธรณี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และกรมส่งเสริมการส่งออก ให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยให้ประสานงานกับสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติต่อไป
3. ให้มีคณะอนุกรรมการหลัก 3 ชุด ประกอบด้วย
1) คณะอนุกรรมการพัฒนาวัตถุดิบและตรวจสอบคุณภาพ โดยกรมทรัพยากรธรณี เป็นหน่วยประสานงาน
2) คณะอนุกรรมการพัฒนาเทคโนโลยี บุคลากร และการออกแบบ โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นหน่วยประสานงาน
3) คณะอนุกรรมการพัฒนาและขยายตลาดสินค้า โดยกรมส่งเสริมการส่งออกเป็นหน่วยประสานงาน
ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งและดำเนินการ ในการจัดตั้งปีแรก ได้รับเงินเป็นค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จำนวน 60 ล้านบาท ในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป โดยผ่านกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ และใช้เงินจากกองทุนเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินการในปีต่อไป
ระเบียบการบริหารงานของสถาบัน ให้คณะกรรมการบริหารสถาบันอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ รับไปดำเนินการและเมื่อมีพระราชบัญญัติองค์การมหาชนประกาศใช้ จึงให้ดำเนินการเป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 กันยายน 2541--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เรื่องโครงการการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน การบริหารงานไม่ผูกพันกับกฎระเบียบของราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยมอบให้กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการในขั้นต้น และเมื่อมีพระราชบัญญัติองค์กรมหาชนประกาศใช้ จึงให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติต่อไป
2. เห็นชอบให้มีคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง แต่งตั้งโดยกระทรวงพาณิชย์ ประกอบด้วยผู้แทนภาครัฐบาลและเอกชน เพื่อทำหน้าที่วางนโยบาย กำหนดแผนและเป้าหมายการทำงาน กำหนดระบบการบริหารงาน ควบคุมและกำกับดูแล การบริหารงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ คณะอนุกรรมการหลัก 3 คณะ หรืออาจเพิ่มจำนวนได้ในกรณีที่จำเป็น ทั้งนี้ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการพัฒนาวัตถุดิบและตรวจสอบคุณภาพ คณะอนุกรรมการพัฒนาเทคโนโลยี บุคลากร และการออกแบบ คณะอนุกรรมการพัฒนาและขยายตลาดสินค้า
3. ให้กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ได้รับเงินเป็นค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในการจัดตั้งปีแรก ปีงบประมาณ 2542 จำนวน 60 ล้านบาท ในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป เพื่อให้สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ดำเนินการต่อไป ส่วนค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป ให้ใช้จ่ายจากเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
4. สถานที่ตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ : อาคารวิจัยและทดสอบอัญมณี จุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย ในระยะเริ่มต้น
5. หน้าที่ความรับผิดชอบของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับ
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ จะเป็นศูนย์กลางพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ในระดับประเทศและระดับภูมิภาค ในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันด้วยการพัฒนาองค์ความรู้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาระบบบริหารจัดการ และการประกันคุณภาพ รวมทั้งการพัฒนาระบบธุรกิจอัญมณีของประเทศไทย โดยจะมุ่งเน้นความเป็นเลิศ 5 ประการ ได้แก่ ขุดเป็น ดูเป็น ออกแบบเป็น ทำเป็น และขายเป็น
ความเป็นมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ตั้งสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งมีฐานะเป็นฝ่ายหนึ่งของกองบริการอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2532
ข้อเท็จจริงในปัจจุบัน สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ ได้เสนอให้มีการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติขึ้น เพื่อเป็นองค์กรหลักในการดำเนินการทุกกิจกรรมอย่างครบวงจร กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ประชุมหารือกับสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2541 โดยที่ประชุมของทั้ง 2 กระทรวงได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ โดยได้รับความร่วมมือจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในด้านสถานที่และบุคลากรจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รูปแบบองค์กรและการบริหาร
1. สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน การบริหารงานไม่ผูกพันกับกฎ ระเบียบปฏิบัติและข้อบังคับของราชการและรัฐวิสาหกิจ เมื่อมีพระราชบัญญัติองค์การมหาชนประกาศใช้ จึงให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป ในการจัดตั้งปีแรก คือปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ให้กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ รับเงินเป็นค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไปให้กับสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติในการดำเนินงานต่อไป
2. ให้สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ มีคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง คือ คณะกรรมการบริหารสถาบันอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ แต่งตั้งโดยกระทรวงพาณิชย์ ประกอบด้วยผู้แทนทั้งภาครัฐบาล ภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษาและจากภาคเอกชน โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่วางนโยบาย กำหนดแผนและเป้าหมายการทำงานกำหนดระบบการบริหารงาน ควบคุมและกำกับดูแลการบริหารงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ทั้งนี้ ให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ กรมทรัพยากรธรณี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และกรมส่งเสริมการส่งออก ให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยให้ประสานงานกับสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติต่อไป
3. ให้มีคณะอนุกรรมการหลัก 3 ชุด ประกอบด้วย
1) คณะอนุกรรมการพัฒนาวัตถุดิบและตรวจสอบคุณภาพ โดยกรมทรัพยากรธรณี เป็นหน่วยประสานงาน
2) คณะอนุกรรมการพัฒนาเทคโนโลยี บุคลากร และการออกแบบ โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นหน่วยประสานงาน
3) คณะอนุกรรมการพัฒนาและขยายตลาดสินค้า โดยกรมส่งเสริมการส่งออกเป็นหน่วยประสานงาน
ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งและดำเนินการ ในการจัดตั้งปีแรก ได้รับเงินเป็นค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จำนวน 60 ล้านบาท ในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป โดยผ่านกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ และใช้เงินจากกองทุนเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินการในปีต่อไป
ระเบียบการบริหารงานของสถาบัน ให้คณะกรรมการบริหารสถาบันอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ รับไปดำเนินการและเมื่อมีพระราชบัญญัติองค์การมหาชนประกาศใช้ จึงให้ดำเนินการเป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 กันยายน 2541--