ทำเนียบรัฐบาล--24 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการมาตรการเร่งด่วนเรื่องการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. เห็นชอบในเรื่องเป้าหมาย มาตรการแนวทางปฏิบัติ และหน่วยงานรับผิดชอบ
3. เห็นชอบในหน่วยงานหลักที่จะเป็น focal point ดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติดังรายชื่อหน่วยงานที่คณะกรรมการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาวิกฤติการณ์ขาดแคลนกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะช่างเทคนิค นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรในภาคอุตสาหกรรม จึงควรมีมาตรการเร่งด่วนเรื่องการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้น สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อยกระดับทักษะช่างฝีมือ ช่างเทคนิค วิศวกร และบุคลากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีคุณภาพตามความต้องการของตลาดแรงงาน
1.2 เพื่อให้เกิดการยอมรับถึงความสำคัญและสถานะของกำลังแรงงานฝีมือและกำลังงานที่มีทักษะ
2. เป้าหมาย
2.1 กำหนดวิชาชีพเป้าหมาย วิชาชีพขาดแคลนให้ทันต่อเหตุการณ์
2.2 กำหนดมาตรฐานวิชาชีพที่ขาดแคลน ตลอดจนค่าตอบแทนและการควบคุมการประกอบวิชาชีพอันตราย
2.3 กำหนดให้มีมาตรการเพื่อยกระดับความรู้และทักษะกำลังคนที่อยู่ในตลาดแรงงานให้ได้มาตรฐานที่กำหนด ภายใน 5 ปี
2.4 ให้สถานศึกษาด้านวิชาชีพให้ความรู้และฝึกอบรมทักษะในวิชาชีพนั้น ๆ (Initial Traning) อย่างเพียงพอ ซึ่งสามารถช่วยให้ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านนี้ได้อย่างมีคุณภาพและรวดเร็วตามที่ตลาดแรงงานต้องการ
2.5 สนับสนุนสถาบันฝึกอบรมเทคโนโลยีเป้าหมายเฉพาะด้านให้มีขีดความสามารถฝึกอบรม (further traning) เพิ่มขึ้นอีกปีละเท่าครึ่ง หรือประมาณ 5 เท่าใน 5 ปี
2.6 จัดตั้งสถาบันฝึกอบรมเทคโนโลยีตามเป้าหมายที่ขาดแคลน ให้ได้ครบทุกสาขา และดำเนินการได้ภายใน 5 ปี
3. แนวทางปฏิบัติ
3.1 ให้คณะกรรมการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำหนดวิชาชีพขาดแคลน
3.2 สนับสนุนคณะกรรมการมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เพื่อชี้นำการฝึกอบรมวิชาชีพไปสู่ระดับที่สูงขึ้น
3.3 สนับสนุนคณะกรรมการค่าจ้างแห่งชาติ กำหนดแนวทางการให้ค่าตอบแทนในส่วนของทักษะ
3.4 แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดแนวทางควบคุมวิชาชีพที่ก่อให้เกิดอันตรายและมลภาวะต่อสังคม
3.5 ให้มีการจัดการด้านการเงิน การคลัง ภาษีอากร ในการเร่งสนับสนุนสถาบันฝึกอบรมที่มีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันฝึกวิชาชีพระดับสูงให้มีศักยภาพ ประสิทธิภาพและคุณภาพในการฝึกอบรมบุคลากรให้เพิ่มขึ้นมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
3.6 ให้ภาครัฐส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพระดับสูงเฉพาะด้านในสาขาที่ขาดแคลน โดยการลงทุนในสิ่งปลูกสร้าง อุปกรณ์ เครื่องมือและบุคลากร โดยให้ภาคเอกชนร่วมสนับสนุนด้านบุคลากรผู้ฝึกและงบประมาณ
3.7 ให้มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ใน 2 ระดับ
ก. ระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ให้เน้นระบบการฝึกอบรมต่อเนื่อง (further training)
ข. ระดับอุตสาหกรรมขนาดกลางหรือขนาดเล็ก สนับสนุนให้มีศูนย์ฝึกอบรม (training center) เป็นส่วนกลาง
3.8 ให้มีระบบการจัดการ การบริหาร ตลอดจนการอำนวยความสะดวก เพื่อให้มีครูฝึกและอาจารย์ทีมีทักษะเพิ่มมากขึ้น โดยให้มีการรักษาบุคลากรที่มีอยู่ในประเทศ หรือนำเข้าจากต่างประเทศ
3.9 ให้คณะกรรมการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 1 คณะ เพื่อติดตามข้อมูลและผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนการจัดทำข้อมูลความต้องการกำลังคนให้ทันสมัยอยู่เสมอ โดยรายงานต่อคณะกรรมการฯ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาและข้อขัดข้อง ทั้งในรูปการเงิน การคลัง ภาษี ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 24 มิถุนายน 2540--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการมาตรการเร่งด่วนเรื่องการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. เห็นชอบในเรื่องเป้าหมาย มาตรการแนวทางปฏิบัติ และหน่วยงานรับผิดชอบ
3. เห็นชอบในหน่วยงานหลักที่จะเป็น focal point ดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติดังรายชื่อหน่วยงานที่คณะกรรมการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาวิกฤติการณ์ขาดแคลนกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะช่างเทคนิค นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรในภาคอุตสาหกรรม จึงควรมีมาตรการเร่งด่วนเรื่องการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้น สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อยกระดับทักษะช่างฝีมือ ช่างเทคนิค วิศวกร และบุคลากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีคุณภาพตามความต้องการของตลาดแรงงาน
1.2 เพื่อให้เกิดการยอมรับถึงความสำคัญและสถานะของกำลังแรงงานฝีมือและกำลังงานที่มีทักษะ
2. เป้าหมาย
2.1 กำหนดวิชาชีพเป้าหมาย วิชาชีพขาดแคลนให้ทันต่อเหตุการณ์
2.2 กำหนดมาตรฐานวิชาชีพที่ขาดแคลน ตลอดจนค่าตอบแทนและการควบคุมการประกอบวิชาชีพอันตราย
2.3 กำหนดให้มีมาตรการเพื่อยกระดับความรู้และทักษะกำลังคนที่อยู่ในตลาดแรงงานให้ได้มาตรฐานที่กำหนด ภายใน 5 ปี
2.4 ให้สถานศึกษาด้านวิชาชีพให้ความรู้และฝึกอบรมทักษะในวิชาชีพนั้น ๆ (Initial Traning) อย่างเพียงพอ ซึ่งสามารถช่วยให้ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านนี้ได้อย่างมีคุณภาพและรวดเร็วตามที่ตลาดแรงงานต้องการ
2.5 สนับสนุนสถาบันฝึกอบรมเทคโนโลยีเป้าหมายเฉพาะด้านให้มีขีดความสามารถฝึกอบรม (further traning) เพิ่มขึ้นอีกปีละเท่าครึ่ง หรือประมาณ 5 เท่าใน 5 ปี
2.6 จัดตั้งสถาบันฝึกอบรมเทคโนโลยีตามเป้าหมายที่ขาดแคลน ให้ได้ครบทุกสาขา และดำเนินการได้ภายใน 5 ปี
3. แนวทางปฏิบัติ
3.1 ให้คณะกรรมการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำหนดวิชาชีพขาดแคลน
3.2 สนับสนุนคณะกรรมการมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เพื่อชี้นำการฝึกอบรมวิชาชีพไปสู่ระดับที่สูงขึ้น
3.3 สนับสนุนคณะกรรมการค่าจ้างแห่งชาติ กำหนดแนวทางการให้ค่าตอบแทนในส่วนของทักษะ
3.4 แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดแนวทางควบคุมวิชาชีพที่ก่อให้เกิดอันตรายและมลภาวะต่อสังคม
3.5 ให้มีการจัดการด้านการเงิน การคลัง ภาษีอากร ในการเร่งสนับสนุนสถาบันฝึกอบรมที่มีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันฝึกวิชาชีพระดับสูงให้มีศักยภาพ ประสิทธิภาพและคุณภาพในการฝึกอบรมบุคลากรให้เพิ่มขึ้นมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
3.6 ให้ภาครัฐส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพระดับสูงเฉพาะด้านในสาขาที่ขาดแคลน โดยการลงทุนในสิ่งปลูกสร้าง อุปกรณ์ เครื่องมือและบุคลากร โดยให้ภาคเอกชนร่วมสนับสนุนด้านบุคลากรผู้ฝึกและงบประมาณ
3.7 ให้มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ใน 2 ระดับ
ก. ระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ให้เน้นระบบการฝึกอบรมต่อเนื่อง (further training)
ข. ระดับอุตสาหกรรมขนาดกลางหรือขนาดเล็ก สนับสนุนให้มีศูนย์ฝึกอบรม (training center) เป็นส่วนกลาง
3.8 ให้มีระบบการจัดการ การบริหาร ตลอดจนการอำนวยความสะดวก เพื่อให้มีครูฝึกและอาจารย์ทีมีทักษะเพิ่มมากขึ้น โดยให้มีการรักษาบุคลากรที่มีอยู่ในประเทศ หรือนำเข้าจากต่างประเทศ
3.9 ให้คณะกรรมการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 1 คณะ เพื่อติดตามข้อมูลและผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนการจัดทำข้อมูลความต้องการกำลังคนให้ทันสมัยอยู่เสมอ โดยรายงานต่อคณะกรรมการฯ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาและข้อขัดข้อง ทั้งในรูปการเงิน การคลัง ภาษี ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 24 มิถุนายน 2540--