ทำเนียบรัฐบาล--12 เม.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสีย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. จัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อจัดให้มีระบบรวมสำหรับการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดมลพิษชุมชนและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญในการสำรวจวางแผนปฏิบัติการ ออกแบบ ก่อสร้าง จัดการและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสีย โดยวิธีการทำข้อตกลงร่วมกับราชการส่วนท้องถิ่น ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสียโดยระบบรวมตามวิธีการที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนด นอกจากนี้ ยังสามารถตั้งบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด เพื่อประกอบกิจการจัดการน้ำเสียในพื้นที่ หรือถือหุ้นหรือเข้าเป็นหุ้นส่วนหรือร่วมกิจการกับบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์แก่กิจการของ อจน.
2. กำหนดทุนประเดิมของ อจน. มาจากแหล่งที่สำคัญ คือ ค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บจากบุคคลผู้ใช้บริการระบบรวมของ อจน. เงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาล เงินสมทบจากราชการส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ซึ่งตกลงเข้าร่วมโครงการระบบการจัดการน้ำเสียกับ อจน. และเงินที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
3. กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหาร อจน. ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้ทรง-คุณวุฒิอีกไม่เกิน 5 คน เป็นกรรมการ พร้อมทั้งกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
4. กำหนดคุณสมบัติ อัตราเงินเดือน การพ้นจากตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการ อจน. และวิธีการบริหารงานของ อจน. ไว้
5. กำหนดข้อจำกัดอำนาจของผู้อำนวยการ อจน. ไว้เพื่อป้องกันมิให้มีการบริหารงานในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของ อจน.
6. กำหนดระบบควบคุมการเงินและทรัพย์สินของ อจน. ไว้เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของ อจน.คณะรัฐมนตรีได้ให้ข้อสังเกตในเรื่องอำนาจของ อจน. และรูปแบบ ตลอดจนการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม นัดหารือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาช่วยตรวจสอบในข้อกฎหมาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 11 เมษายน 2538--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสีย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. จัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อจัดให้มีระบบรวมสำหรับการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดมลพิษชุมชนและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญในการสำรวจวางแผนปฏิบัติการ ออกแบบ ก่อสร้าง จัดการและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสีย โดยวิธีการทำข้อตกลงร่วมกับราชการส่วนท้องถิ่น ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสียโดยระบบรวมตามวิธีการที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนด นอกจากนี้ ยังสามารถตั้งบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด เพื่อประกอบกิจการจัดการน้ำเสียในพื้นที่ หรือถือหุ้นหรือเข้าเป็นหุ้นส่วนหรือร่วมกิจการกับบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์แก่กิจการของ อจน.
2. กำหนดทุนประเดิมของ อจน. มาจากแหล่งที่สำคัญ คือ ค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บจากบุคคลผู้ใช้บริการระบบรวมของ อจน. เงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาล เงินสมทบจากราชการส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ซึ่งตกลงเข้าร่วมโครงการระบบการจัดการน้ำเสียกับ อจน. และเงินที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
3. กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหาร อจน. ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้ทรง-คุณวุฒิอีกไม่เกิน 5 คน เป็นกรรมการ พร้อมทั้งกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
4. กำหนดคุณสมบัติ อัตราเงินเดือน การพ้นจากตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการ อจน. และวิธีการบริหารงานของ อจน. ไว้
5. กำหนดข้อจำกัดอำนาจของผู้อำนวยการ อจน. ไว้เพื่อป้องกันมิให้มีการบริหารงานในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของ อจน.
6. กำหนดระบบควบคุมการเงินและทรัพย์สินของ อจน. ไว้เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของ อจน.คณะรัฐมนตรีได้ให้ข้อสังเกตในเรื่องอำนาจของ อจน. และรูปแบบ ตลอดจนการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม นัดหารือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาช่วยตรวจสอบในข้อกฎหมาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 11 เมษายน 2538--