สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 กันยายน 2564

ข่าวการเมือง Tuesday September 7, 2021 18:17 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
		วันนี้ (7 กันยายน 2564)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี  (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล  ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย

1. 	เรื่อง 	ร่างพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ....
2. 	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบางตลาด
ตำบลคลองเกลือ และตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. .... 				และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อ
กิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่ตำบลบางตลาด ตำบลคลองเกลือ
และตำบลบ้านใหม่  อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
3. 	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงแสมดำ
เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และตำบลคอกกระบือ อำเภอเมืองสมุทรสาคร 				จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับ
บางขุนเทียน-เอกชัย พ.ศ. ?.
4. 	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น					รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
5. 	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ?.
6. 	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนพยานบุคคลและพยานผู้เชี่ยวชาญของ
ศาลปกครอง พ.ศ. ?.
7. 	เรื่อง 	ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันพระบรมราชชนก
กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ?.
8. 	เรื่อง 	ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 					กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ?.
9. 	เรื่อง 	ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์				อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย 				พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ สังคม

10. 	เรื่อง 	สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ
ครั้งที่ 1/2564
11. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการให้ความช่วยเหลือ				คนไร้ที่พึ่ง (กลุ่มคนไร้บ้าน) เพื่อการส่งเสริมศักยภาพด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต				และความเป็นอยู่ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน 				สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
12. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณาญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาการป้องกันและ				แก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 					ระลอกใหม่


13. 	เรื่อง 	รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2564
14. 	เรื่อง 	สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและ
ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 4 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 					2564)
15. 	เรื่อง 	เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร					ท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
16. 	เรื่อง 	การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของรัฐ (โครงการบ้าน				ล้านหลัง)
17. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม
ครั้งที่ 32/2564
18. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราช					กำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2564
19. 	เรื่อง 	ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือ				จำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาและ					เสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 3 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ				วันที่ 30 สิงหาคม 2564
20. 	เรื่อง 	การปรับอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครูสำหรับ				นักเรียนในโรงเรียนเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา

ต่างประเทศ

21. 	เรื่อง 	การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด					ย่อมภายใต้กรอบความร่วมมือสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย
22. 	เรื่อง 	การเพิ่มเงินอุดหนุนเงินสมทบเพื่อดำเนินงานของคณะกรรมการประสานงาน					เกี่ยวกับสำรวจทรัพยากรธรณีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ 				(Coordinating Committee for Geoscience Programmes in East and 					Southeast Asia: CCOP)
23. 	เรื่อง 	ผลการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-คงคา ครั้งที่ 11
24.  	เรื่อง 	ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคด้านการปฏิรูปโครงสร้าง (APEC Structural 				Reform Ministerial Meeting: SRMM) ครั้งที่ 3 ผ่านระบบการประชุมทางไกล
25.  	เรื่อง 	ผลการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจ				และการค้าและกลไกสนับสนุนอื่น ๆ เพื่ออำนวยความร่วมมือหลังจากเสร็จสิ้นการ				ทบทวนนโยบายการค้าระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยและ					กระทรวงการค้าระหว่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และ
ไอร์แลนด์เหนือ
26.  	เรื่อง 	การประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่ม
แม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ครั้งที่ 7 (7th GMS Summit) ผ่านระบบการประชุม				ทางไกล
27.  	เรื่อง 	การร่วมรับรองและให้ความเห็นชอบเอกสารและท่าทีไทยในการประชุมรัฐมนตรี				เศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 53 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
28.  	เรื่อง  	ร่างถ้อยแถลงของประธานร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือ				ลุ่มน้ำโขง - สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 11


29.  	เรื่อง 	การเพิ่มจุดนำเข้าและจุดส่งออกในภาคผนวกของพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการ				กักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สาม					ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างกระทรวงเกษตรและ					สหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชน				จีน

แต่งตั้ง

30. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ					ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย)
31. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ					ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงคมนาคม)
32. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง 					(กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
33. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง 					(สำนักนายกรัฐมนตรี)
34. 	เรื่อง 	การโอนข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่าย					ข้าราชการประจำ
35. 	เรื่อง 	การโอนข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
36.	เรื่อง 	แต่งตั้งข้าราชการประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความ				มั่นคงของมนุษย์)
37. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง 					(กระทรวงสาธารณสุข)
38. 	เรื่อง 	ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของอธิบดีกรมการแพทย์
39. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการแทน				ตำแหน่งที่ว่าง
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
















กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ....
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบดังนี้
		1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตและความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอ                สภาผู้แทนราษฎรต่อไป
		2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
		ทั้งนี้ คค. เสนอว่า
		1. โดยที่พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม มีการใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ทำให้มีบทบัญญัติบางมาตราที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และไม่เอื้ออำนวย           ต่อการดำเนินกิจการและการบริหารงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ดังนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการประกอบกิจการท่าเรือ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์และอำนาจการดำเนินกิจการท่าเรือ รวมทั้งปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจของคณะกรรมการ กทท. ให้มีความเหมาะสม ปรับปรุงคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของประธานกรรมการ กรรมการ และผู้ว่าการ กทท. เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ สมควรปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับกิจการที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ตลอดจนบทบัญญัติเกี่ยวกับบทกำหนดโทษ และการเปรียบเทียบปรับ เพื่อให้                การประกอบกิจการท่าเรือมีความคล่องตัวและเกิดประโยชน์สูงสุด จึงจำเป็นต้องตราร่างพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ฉบับนี้
		2. คค. ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้แล้ว โดยดำเนินการผ่านเว็บไซต์ กทท. www.port.co.th ระหว่างวันที่ 3 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 และได้มีหนังสือถึงหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จำนวน 1 ครั้ง เพื่อรับฟังความคิดเห็น เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 และให้แจ้งผลกลับมาภายในวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 นอกจากนี้ ได้จัดทำสรุปผลการ              รับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายพร้อมทั้งเปิดเผยเอกสารดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ ww.port.co.th ตามแนวทางของมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการ               เพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมาย และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 รวมทั้งได้จัดทำแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และ               กรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว
		สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
		แก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์และอำนาจการดำเนินกิจการของ กทท. ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจของคณะกรรมการ กทท. ปรับปรุงคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของประธานกรรมการ กรรมการ และ               ผู้ว่าการ กทท. ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับกิจการที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และบทบัญญัติเกี่ยวกับบทกำหนดโทษและการเปรียบเทียบปรับ รายละเอียดดังนี้
		1. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุม ปรับปรุง และให้ความสะดวกและความปลอดภัยแก่กิจการท่าเรือและการเดินเรือภายในอาณาบริเวณและการอื่น เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
		2. กำหนดให้ กทท. มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับท่าเรือหรือที่เป็นประโยชน์แก่ กทท.
		3. กำหนดให้ กทท. มีอำนาจกระทำการต่าง ๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์ และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
			3.1 สร้าง ซื้อ จัดหา จำหน่าย เช่า ให้เช่า จ้าง รับจ้างและดำเนินงานเกี่ยวกับเครื่องใช้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือ
			3.2 ถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองหรือทรัพยสิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา              ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง แลกเปลี่ยน โอนหรือรับโอนหรือการดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับทรัพยสิทธิที่มีผู้บริจาคให้
			3.3 กำหนดอัตราค่าภาระ การจัดเก็บ และการยกเว้นค่าภาระการใช้ท่าเรือ บริการ และความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือ และออกระเบียบเกี่ยวกับวิธีชำระค่าภาระดังกล่าว
			3.4 จัดระเบียบว่าด้วยการใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือ
			3.5 จัดระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
			3.6 กู้ยืมเงินทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร
			3.7 ขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำภายในอาณาบริเวณ หรือนอกอาณาบริเวณ ทั้งนี้             ต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย
			3.8 ควบคุม ปรับปรุง และให้ความสะดวกและความปลอดภัยแก่กิจการท่าเรือและ           การเดินเรือภายในอาณาบริเวณ
			3.9 กำหนดอัตราค่าภาระต่าง ๆ และจัดเก็บค่าการะภายในอาณาบริเวณ และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการขุดลอกร่องน้ำนอกอาณาบริเวณ
			3.10 ออกพันธบัตรหรือตราสารอื่นใดเพื่อการลงทุนหรือเพื่อประโยชน์แก่กิจการท่าเรือ
			3.11 จัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักรเพื่อประกอบกิจการท่าเรือหรือกิจการที่เกี่ยวเนื่องหรือที่เป็นประโยชน์แก่ กทท. ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของ กทท. ทั้งนี้ บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดดังกล่าวจะมีคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของ                  คนต่างด้าวถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียนของบริษัทนั้นไม่ได้
			3.12 ลงทุนหรือเข้าร่วมกิจการกับบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร                เพื่อประกอบกิจการท่าเรือหรือกิจการที่เกี่ยวเนื่องหรือที่เป็นประโยชน์แก่ กทท. หรือถือหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร เพื่อประกอบกิจการท่าเรือหรือกิจการที่เกี่ยวเนื่องหรือที่เป็นประโยชน์แก่ กทท.
			3.13 ก่อตั้งสิทธิหรือทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร
			3.14 บริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และ             การบรรทุกขนถ่ายสินค้าเพื่อประโยชน์แก่กิจการของ กทท.
			3.15 ประกอบกิจการที่เกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินที่ กทท. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครอง
			3.16 กระทำการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดการให้สำเร็จ                 ตามวัตถุประสงค์ของ กทท.
		4. กำหนดให้มีคณะกรรมการ กทท. ประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คน กรรมการอื่นไม่น้อยกว่า 6 คน แต่ไม่เกิน 9 คน ให้ผู้ว่าการ กทท. เป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง ให้ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการจะต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย และจะต้องเป็นผู้มีความรู้และจัดเจนเกี่ยวกับการท่าเรือ 1 คนเป็นอย่างน้อย และเกี่ยวกับการขนส่งการเดินเรือ พาณิชยกรรม การเศรษฐกิจ การคลัง การบริหาร วิศวกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือนิติศาสตร์ โดยให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่น นอกจากนี้ ให้คณะกรรมการนี้มีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ กทท.
		5. กำหนดให้ประธานกรรมการและกรรมการต้องไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ กทท. และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
		6. กำหนดให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ว่าการ กทท. ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ผู้ว่าการ กทท. มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละไม่เกิน 4 ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน ทั้งนี้              ผู้ว่าการ กทท. ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
		7. กำหนดให้การกู้ยืมเงินทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักรเป็นจำนวนเกิน 100 ล้านบาท จำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ราคาเกิน 10 ล้านบาท จัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักรเพื่อประกอบกิจการท่าเรือหรือกิจการที่เกี่ยวเนื่อง หรือที่เป็นประโยชน์แก่ กทท. ภายในขอบ                แห่งวัตถุประสงค์ของ กทท. ลงทุนหรือเข้าร่วมกิจการกับบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักรเพื่อประกอบกิจการท่าเรือหรือกิจการที่เกี่ยวเนื่อง หรือที่เป็นประโยชน์แก่ กทท. หรือถือหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดทั้งภายใน และภายนอกราชอาณาจักรเพื่อประกอบกิจการท่าเรือหรือกิจการที่เกี่ยวเนื่องหรือที่เป็นประโยชน์               แก่ กทท. ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน
		8. กำหนดให้ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุม ปรับปรุง และให้               ความสะดวกและความปลอดภัยแก่กิจการท่าเรือและการเดินเรือภายในอาณาบริเวณมีโทษปรับ ตามที่ กทท. ประกาศกำหนด หรือถูกระงับการให้บริการ หรือทั้งปรับและถูกระงับการให้บริการ นอกจากนี้ ผู้ใดไม่ชำระค่าภาระ ค่าเช่า ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม หรือค่าตอบแทนตามอัตราที่กำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10 เท่าของอัตราสูงสุด ทั้งนี้ เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบหรือ             เมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ดำเนินคดีต่อไป
		9. กำหนดให้บรรดากฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ใน           วันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบางตลาด ตำบลคลองเกลือ และตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่ตำบลบางตลาด ตำบลคลองเกลือ และตำบลบ้านใหม่                  อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบางตลาด ตำบลคลองเกลือ และตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่ตำบลบางตลาด ตำบลคลองเกลือ และตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. ....  รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป และรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
		ทั้งนี้ คค. เสนอว่า
		1. เนื่องจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีความจำเป็นต้องใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการขนส่งมวลชน โดยจำเป็นต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 และจำเป็นต้องใช้อสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 เพื่อดำเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช ? เมืองทองธานี เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค และเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด รวมทั้งเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการสำรวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพ ลักษณะ และการเข้าใช้ประโยชน์บน เหนือ หรือใต้พื้นดิน หรือพื้นน้ำ เพื่อการวางแผนหรือออกแบบกิจการขนส่งมวลชนในบริเวณโครงการรถไฟฟ้าสายดังกล่าว
		2. โครงการรถไฟฟ้า สายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช ? เมืองทองธานี มีจุดเริ่มต้น              แนวเส้นทางบนถนนแจ้งวัฒนะ เชื่อมต่อกับสถานีศรีรัช (PK-10) ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี ก่อนเลี้ยวขวาเข้าสู่พื้นที่เมืองทองธานีไปตามถนนแจ้งวัฒนะ - ปากเกร็ด 39 ขนานกับทางพิเศษอุดรรัถยา ผ่านวงเวียนเมืองทองธานี ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานี MT-10 และวิ่งต่อเนื่องไปยังจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานี MT-02 รวมระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ประกอบด้วย 2 สถานี โดยมีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ของหน่วยงานของรัฐ และพื้นที่เอกชน รวมทั้งสิ้น 83 แปลง รวมทั้งมีอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรื้อถอน 16 รายการ
		3. คณะกรรมการ รฟม. ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2563 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563 ได้มีมติอนุมัติให้ รฟม. ดำเนินการตราร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบางตลาด ตำบลคลองเกลือ และตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่ตำบลบางตลาด ตำบลคลองเกลือ และตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. ?. รวม 2ฉบับ ตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช - เมืองทองธานี
		4. สำนักงบประมาณแจ้งว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และการเบิกจ่ายเงินค่าทดแทนตามโครงการรถไฟฟ้าสายดังกล่าว รฟม. และผู้รับสัมปทานจะร่วมกันดำเนินการ โดยผู้รับสัมปทานจะสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าวของ รฟม. ซึ่งผู้รับสัมปทานจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งหมด อันไม่ก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณแผ่นดิน ทั้งนี้ การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและการเบิกจ่ายค่าทดแทน รฟม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประชาชนที่จะได้รับเป็นสำคัญ รวมถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้น                 อย่างรอบคอบในทุกมิติด้วย
		5. รฟม. ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบกับโครงการรถไฟฟ้าสายดังกล่าวตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว
		6. คค. ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยได้จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าสายดังกล่าวตามแบบฟอร์มที่กระทรวงการคลังกำหนด เพื่อให้เป็นไป           ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2561 ตามข้อ 6.7ประกอบด้วยรายละเอียดโครงการ แผนบริหารจัดการ ประมาณการรายจ่าย แหล่งเงินที่ใช้ตลอดระยะเวลาดำเนินการ และประโยชน์ที่จะได้รับ
		สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
		กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน เพื่อดำเนินกิจการรถไฟฟ้าฯ และกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน เพื่อดำเนินกิจการขนส่งมวลชนฯ ในท้องที่ตำบลบางตลาด ตำบลคลองเกลือ และตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช - เมืองทองธานี

3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และตำบลคอกกระบือ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-เอกชัย พ.ศ. ?.
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และตำบลคอกกระบือ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-เอกชัย พ.ศ. ?.  ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
		ทั้งนี้ คค. เสนอว่า
		1. กรมทางหลวงได้ดำเนินการสำรวจและออกแบบรายละเอียดโครงการสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน - เอกชัย กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจาก            กรมทางหลวงได้รับงบประมาณประจำปี 2562 เพื่อดำเนินการก่อสร้างงานโยธา โครงการทางยกระดับบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 สายธนบุรี - ปากท่อ (ถนนพระราม 2) ช่วงบางขุนเทียน - เอกชัย ซึ่งลงทะเบียนชื่อและหมายเลขทางหลวงสายนี้ว่า ทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน - เอกชัย ตอนทางยกระดับบางขุนเทียน - เอกชัย เพื่อให้เป็นทางเลือกของการเดินทางเชื่อมต่อการเดินทางจากกรุงเทพมหานครสู่ภาคใต้ โดยโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 สายกรุงเทพมหานคร - ปากท่อ            ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทและแผนดำเนินการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของกรมทางหลวง เพื่อพัฒนาโครงข่ายทางหลวงมาตรฐานสูงรองรับการเดินทางและขนส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล จังหวัดต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศไทย ตามแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง     20 ปี (พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2579) ซึ่งจะก่อสร้างเป็นทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี - ปากท่อ (ถนนพระราม 2) ผ่านท้องที่เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
		2. ลักษณะของโครงการ เป็นการก่อสร้างทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2) ตามมาตรฐานทางหลวงพิเศษ มีการควบคุมการเข้าออกอย่างสมบูรณ์โดยมีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อกับโครงข่ายทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) บริเวณ กม. 11+959.904 (ทางหลวงหมายเลข 35) ในเขตพื้นที่เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และสิ้นสุดบริเวณ กม. 20+295.417 (ทางหลวงหมายเลข 35) ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร รวมระยะทาง 10 กิโลเมตร โดยออกแบบเป็นทางหลวงพิเศษ ขนาด 6 ช่องจราจร (ทิศทางละ 3 ช่องจราจร) โครงสร้างทางยกระดับอยู่บนเกาะกลางของทางหลวงหมายเลข 35 มีจุดขึ้น -               ลง จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ด่านบางขุนเทียน ด่านพันท้ายนรสิงห์ และด่านมหาชัย 1 โดยเก็บค่าผ่านทางแบบคิดตามระยะทาง (ระบบปิด) ซึ่งกำหนดไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสมตลอดแนวโครงการ
		3. ดังนั้น กรมทางหลวงมีความจำเป็นต้องกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน - เอกชัย กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรสาคร เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจร และการขนส่งทางบก อันเป็นกิจการสาธารณูปโภค เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด
		4. กรมทางหลวงได้ดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (E/A) และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้พิจารณาเห็นชอบรายงานดังกล่าวแล้ว รวมทั้งจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบกับโครงการก่อสร้างถนนสายดังกล่าว ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 แล้ว ซึ่งผลการรับฟังความคิดเห็นโดยรวมต่อโครงการมีประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว
		5. สำนักงบประมาณ (สงป.) แจ้งว่า จะจัดสรรงบประมาณให้กรมทางหลวงตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว
		6. คค. ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับโครงการสร้างทางหลวงพิเศษสายดังกล่าวตามแบบฟอร์มที่กระทรวงการคลังกำหนด เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2561 ประกอบด้วยรายละเอียดโครงการ แผนบริหารจัดการ ประมาณการรายจ่าย แหล่งเงินที่ใช้ตลอดระยะเวลาดำเนินการ และประโยชน์ที่จะได้รับ
		สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
		กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และตำบลคอกกระบือ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน - เอกชัย

4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..)             พ.ศ. ?.
 		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย            การยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ของกระทรวงการคลัง (กค.) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ กค. รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการโดยเร่งด่วน แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
		ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่นิติบุคคลสำหรับรายรับที่เป็นเงินค่าทดแทนเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และยกเว้นอากรแสตมป์สำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการขายหรือถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่        30 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีข้อสังเกตเพิ่มเติมให้กระทรวงการคลังพิจารณาทบทวนหลักการและเนื้อหาสาระของกฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) พ.ศ. 2509 และพระราชกฤษฎีกา               (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 ในกรณีการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีธุรกิจเฉพาะ และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) พ.ศ. ?.
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) พ.ศ. ?. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตรา 10 (3) ให้มีความชัดเจน ตามความเห็นของ                  สำนักงบประมาณ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้สำนักงาน ก.พ.ร. กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
		ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว โดยเป็นการปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบัน               เพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 ทั้งฉบับ ซึ่งร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้แตกต่างจากร่างพระราชกฤษฎีกาที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการ เนื่องจากมีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาจำนวนมาก ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้กฎหมาย
		สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
		เป็นการปรับปรุงวัตถุประสงค์ หน้าที่และอำนาจของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) (สธท.) และแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติต่าง ๆ ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 ดังนี้
		1. กำหนดนิยามคำว่า ?สถาบัน? ?คณะกรรมการ? ?ผู้อำนวยการ? ?เจ้าหน้าที่??ลูกจ้าง? และ ?ผู้ปฏิบัติงาน?
		2. กำหนดให้ สธท. มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
			2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการอนุวัติข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติ            ต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่มิใช่การคุมขัง หรือ ?Bangkok Rules? เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
			2.2 ศึกษา วิจัย และเผยแพร่มาตรฐานและบรรทัดฐานของสหประชาชาติเกี่ยวกับ               การดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา รวมทั้งแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด และการช่วยเหลือผู้กระทำผิดหลังพ้นโทษให้กลับคืนสู่สังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนากระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยและต่างประเทศ
			2.3 ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรมด้านหลักนิติธรรม เสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งให้ความรู้ทางกฎหมายและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม โดยประสานความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และหน่วยงานต่างประเทศหรือระหว่างประเทศ เพื่อนำไปสู่ความเคารพในหลักนิติธรรมและวัฒนธรรมแห่งการเคารพกติกา
			2.4 เป็นศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศระดับนานาชาติด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาในด้านการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดโดยจะเน้นความร่วมมือกับสหประชาชาติสถาบันสมทบ (Programme Network Institute) และความร่วมมือในกรอบอาเซียน
			2.5 ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของกระบวนการยุติธรรมของไทยให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เพื่อให้เกิดความร่วมมือทางด้านกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศ
 		3. กำหนดให้ สธท. มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
			3.1 ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และทรัพยสิทธิต่าง ๆ
			3.2 ก่อตั้งสิทธิหรือทำนิติกรรมทุกประเภท เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบัน
			3.3 ทำความตกลงและร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศในกิจการที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน
			3.4 จัดให้มีและให้ทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบัน
			3.5 เข้าร่วมทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลในกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสถาบัน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
			3.6 ถือหุ้นหรือเข้าเป็นหุ้นส่วนในกิจการของนิติบุคคลอื่นเพื่อส่งเสริมกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสถาบัน โดยต้องไม่มีวัตถุประสงค์หลักในการมุ่งแสวงหากำไรโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
			3.7 กู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน
			3.8 เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน หรือค่าบริการในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการกำหนด
			3.9 เป็นตัวแทน หรือมอบหมาย หรือว่าจ้างให้บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นประกอบกิจการ            ต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน
			3.10 กระทำการอื่นใดที่จำเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบัน
			3.11 ปฏิบัติงานหรือดำเนินการอื่นใดตามที่คณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการมอบหมาย
		4. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า ?คณะกรรมการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย? ประกอบด้วย
			4.1 ประธานกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงทางด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านบริหาร หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสถาบัน
			4.2 กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนสี่คน ได้ แก่ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม และอัยการสูงสุด
			4.3 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินห้าคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการยุติธรรมหรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสถาบัน
			4.4 ให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง และให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ตามความจำเป็น
			4.5 ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เว้นแต่เป็นผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
		5. กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลทั่วไปซึ่งกิจการ และการดำเนินการของสถาบัน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และให้รวมถึง (1) กำหนดนโยบายการบริหารงาน การจัดหาทุน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสถาบัน (2) อนุมัติงบประมาณประจำปี รายงานการเงิน แผนการลงทุน และการดำเนินโครงการตามที่คณะกรรมการกำหนด (3) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการให้ทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบัน (4) ให้คำแนะนำหรือเสนอแนะการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคอันเกิดจากการบริหารจัดการ ตลอดจนเสนอคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการในกรณีมีปัญหาหรืออุปสรรคเกี่ยวกับการประสานงานในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และหน้าที่และอำนาจของสถาบัน (5) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสถาบัน
		6. กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการ และการดำเนินการของสถาบัน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และให้รวมถึง (1) กำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสถาบัน (2) อนุมัติงบประมาณประจำปี งบการเงิน และแผนการลงทุนของสถาบัน (3) ดูแลฐานะและความมั่นคงทางการเงิน ให้ความเห็นชอบรายงานทางการเงิน พิจารณารายงานของผู้ตรวจสอบการเงิน (4)  กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการให้ทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบัน (5) ให้คำแนะนำหรือเสนอแนะการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคอันเกิดจากการบริหารจัดการ ตลอดจนเสนอคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการในกรณีมีปัญหาหรืออุปสรรคเกี่ยวกับการประสานงานในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสถาบันตาม (ก) - (ญ) สำหรับกรณีตาม (5) (ฉ) การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินของสถาบัน รวมทั้งการบัญชีและการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
		7.กำหนดให้ให้มีคณะที่ปรึกษาพิเศษคณะหนึ่ง เรียกว่า ?คณะที่ปรึกษาสถาบันเพื่อการยุติธรรม    แห่งประเทศไทย? ประกอบด้วยประธานคณะที่ปรึกษาพิเศษซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้ง และที่ปรึกษาพิเศษซึ่งประธานคณะที่ปรึกษาพิเศษแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นนักวิชาการ หรือผู้ชำนาญการ จำนวนไม่เกินห้าคน ให้คณะที่ปรึกษาพิเศษมีหน้าที่ให้ความเห็น คำแนะนำ และคำปรึกษาแก่คณะกรรมการและผู้อำนวยการในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกฤษฎีกานี้
		8. กำหนดให้ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานคณะที่ปรึกษาพิเศษ ที่ปรึกษาพิเศษ ที่ปรึกษาของคณะกรรมการ ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ ประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
		9. กำหนดให้สถาบันมีผู้อำนวยการคนหนึ่ง เป็นผู้บริหารกิจการของสถาบันภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการ และให้คณะกรรมการเป็นผู้มีอำนาจสรรหา แต่งตั้ง และถอดถอนผู้อำนวยการ การสรรหาผู้อำนวยการให้เป็นไปตามระเบียบของคณะกรรมการซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์กลางที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
		10. กำหนดให้การแต่งตั้งผู้อำนวยการต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุต้องแต่งตั้งผู้อำนวยการ และหากมีเหตุผลจำเป็นให้คณะกรรมการขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกินหกสิบวัน                      หากดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าวให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแต่งตั้งผู้อำนวยการ
		11. กำหนดให้คณะกรรมการเป็นผู้กำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้อำนวยการตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
		12. กำหนดให้เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานของสถาบันมีสามประเภท คือ (1) เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง ได้แก่ ผู้ซึ่งปฏิบัติงานโดยได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างจากงบประมาณของสถาบัน (2) ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่               ผู้ซึ่งสถาบันจ้างให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญโดยมีสัญญาจ้าง (3) เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมาปฏิบัติงานของสถาบันเป็นการชั่วคราว
		13. กำหนดให้เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของสถาบัน รัฐมนตรีอาจขอให้ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในกระทรวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนอื่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ มาปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานในสถาบันเป็นการชั่วคราวได้ ทั้งนี้ เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างของผู้นั้น และมีข้อตกลงที่ทำไว้ในการอนุมัติ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับอนุมัติให้มาปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการ หรือออกจากงานไปปฏิบัติงานใด ๆ และให้นับระยะเวลาระหว่างที่มาปฏิบัติงานในสถาบัน สำหรับ                  การคำนวณบำเหน็จบำนาญหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นทำนองเดียวกันเสมือนอยู่ปฏิบัติราชการ หรือปฏิบัติงานเต็มเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติให้มาปฏิบัติงานในสถาบันให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตามวรรคหนึ่งมีสิทธิได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าตำแหน่งและเงินเดือนเดิมตามข้อตกลงที่ทำไว้ในการอนุมัติ
		14. กำหนดให้การบัญชีของสถาบัน ให้จัดทำตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการเงินการบัญชีและการพัสดุของสถาบัน ตลอดจนรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละครั้ง ในการตรวจสอบภายในให้มีผู้ปฏิบัติงานของสถาบันทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในโดยเฉพาะ และให้รับผิดชอบขึ้นตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด ในการแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนเงินเดือน เลื่อนตำแหน่ง และลงโทษทางวินัยของผู้ตรวจสอบภายในให้ผู้อำนวยการและคณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาร่วมกันแล้วเสนอให้คณะกรรมการให้ความเห็นชอบก่อนจึงดำเนินการได้
		15. กำหนดบทเฉพาะกาลให้บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งใดที่ออก             ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 และใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชกฤษฎีกานี้ จนกว่าจะมีระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งปีนับ             แต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนพยานบุคคลและพยานผู้เชี่ยวชาญของศาลปกครอง พ.ศ. ?.
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนพยานบุคคลและพยานผู้เชี่ยวชาญของศาลปกครอง พ.ศ. ?. ตามที่สำนักงานศาลปกครอง (ศป.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงยุติธรรมและสำนักงบประมาณไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ ศป. รับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
		ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ ศป. เสนอ เป็นการยกเลิกพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนพยานบุคคลและพยานผู้เชี่ยวชาญของศาลปกครอง พ.ศ. 2544 ทั้งฉบับ และกำหนดขึ้นใหม่ในเรื่องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายเงินให้แก่พยานบุคคลและพยานผู้เชี่ยวชาญ กำหนดอัตราค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าที่พักของพยานบุคคลและพยานผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งกำหนดให้ศาลปกครองจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นให้แก่หน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐ นิติบุคคล หรือบุคคล ซึ่งคณะกรรมการบริหารศาลปกครองได้เห็นชอบด้วยแล้ว
	 	สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
 		1. กำหนดให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนพยานบุคคลและพยานผู้เชี่ยวชาญของ           ศาลปกครอง พ.ศ. 2544
 		2. กำหนดบทนิยามคำว่า ?ศาล? ?ค่าป่วยการ? และ ?ค่าใช้จ่ายอื่น?
		3. กำหนดให้พยานบุคคลและพยานผู้เชี่ยวชาญที่ศาลเรียกมาให้ถ้อยคำหรือทำความเห็น ซึ่งมิใช่พยานที่คู่กรณีอ้าง มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่นตามที่กำหนด
		4. กำหนดให้การจ่ายเงินให้แก่พยานบุคคลหรือพยานผู้เชี่ยวชาญ ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณและให้จ่ายเมื่อพยานบุคคลหรือพยานผู้เชี่ยวชาญได้ปฏิบัติหน้าที่เสร็จสิ้น หรือเมื่อได้มาตามคำสั่งของศาลในแต่ละครั้ง แล้วแต่กรณี และในกรณีที่พยานบุคคลหรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่ศาลเรียกมา แต่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ได้เป็นความผิดของผู้นั้น ให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่นแก่พยานบุคคลหรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่มาศาลได้ สำหรับวิธีการเบิกจ่าย หลักฐาน และเอกสารการเบิกจ่ายเงินให้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลปกครอง (ก.บ.ศป.) ว่าด้วยการเงิน
 		5. กำหนดให้ประธานศาลปกครองสูงสุดอาจกำหนดแนวปฏิบัติของศาลในการกำหนดค่าป่วย              การ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่นของพยานบุคคลหรือพยานผู้เชี่ยวชาญได้
		6. กำหนดอัตราค่าป่วยการพยานบุคคลและพยานผู้เชี่ยวชาญดังนี้
พระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนพยานบุคคล
และพยานผู้เชี่ยวชาญของศาลปกครอง พ.ศ. 2544	ร่างพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนพยานบุคคล
และพยานผู้เชี่ยวชาญของศาลปกครอง พ.ศ. ?.
1. ค่าป่วยการพยานบุคคล วันละไม่เกิน 300 บาท 	พยานบุคคล ไม่เกินวันละ 1,000 บาท

2. ค่าป่วยการพยานผู้เชี่ยวชาญ วันละไม่เกิน 1,000 บาท	พยานผู้เชี่ยวชาญ
	ขั้นต่ำครั้งละ 2,000 บาท	ขั้นสูงครั้งละ 20,000 บาท
3. ค่าป่วยการพยานผู้เชี่ยวชาญที่ทำเป็นรายงานการศึกษา การวิจัย หรือการตรวจสอบ ไม่เกิน 5,000 บาท ต่อรายงานความเห็นหนึ่ง 	พยานผู้เชี่ยวชาญ
	ขั้นต่ำครั้งละ 3,000 บาท	ขั้นสูงครั้งละ 30,000 บาท
 		7. กำหนดอัตราค่าพาหนะและค่าที่พักพยานบุคคลและพยานผู้เชี่ยวชาญดังนี้
พระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนพยานบุคคล
และพยานผู้เชี่ยวชาญของศาลปกครอง พ.ศ. 2544	ร่างพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนพยานบุคคล
และพยานผู้เชี่ยวชาญของศาลปกครอง พ.ศ. ?.




ค่าพาหนะเดินทางหรือค่าที่พักของพยานบุคคลและพยานผู้เชี่ยวชาญ รวมกันไม่เกินวันละ 1,000 บาท 	พยานบุคคลและพยานผู้เชี่ยวชาญ
	1. ผู้ที่เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ 	เบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์และอัตราค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยนั้น
	2. บุคคลนอกจากข้อ 1 	เบิกจ่ายได้โดยเทียบเท่ากับตำแหน่งข้าราชการฝ่ายศาลปกครองประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ
 		8. กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นให้แก่หน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐ               นิติบุคคล หรือบุคคลใด ๆ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์บุคคล เอกสาร วัตถุ สถานที่ การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ หรือการตรวจใด ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริง ความเห็นหรือรายงานความเห็น ดังนี้
พระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนพยานบุคคล
และพยานผู้เชี่ยวชาญของศาลปกครอง พ.ศ. 2544	ร่างพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนพยานบุคคล
และพยานผู้เชี่ยวชาญของศาลปกครอง พ.ศ. ?.
	ค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์บุคคล เอกสาร วัตถุ สถานที่ การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ หรือการตรวจใด ๆ
	1. หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง
	2. นิติบุคคล หรือบุคคลใด ๆ 	เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินอัตราที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามข้อ 1 ที่ตรวจพิสูจน์ในประเภทเดียวกัน ในกรณีจำเป็นที่จะต้องจ่ายเกินกว่านั้นหรือไม่มีอัตรานั้นเทียบเคียงให้อยู่ในดุลพินิจของศาล

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ?.
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ?. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
		ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข (สธ) และได้ดำเนินการตามขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 แล้ว
 		สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
  		จัดตั้งส่วนราชการในสถาบันพระบรมราชชนก สธ. ดังต่อไปนี้
		(1) สำนักงานอธิการบดี
  		(2) คณะพยาบาลศาสตร์
 		(3) คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์
 		(4) สำนักวิชาการ

8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กระทรวง                   การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ?.
 		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ?. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง                     การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
		ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการปรับปรุงการจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และได้ดำเนินการตามขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 แล้ว
		สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
 		ปรับปรุงการจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสียใหม่ โดยแก้ไขชื่อ ?คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์?                  เป็น ?คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี? และแก้ไขชื่อ ?คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม? เป็น              ?คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมสร้างสรรค์? เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจและการดำเนินงานในปัจจุบัน

9. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ....
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. .... ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
		ทั้งนี้ ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. .... เป็นการปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2536 เพื่อให้การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีความเหมาะสม สามารถสนองพระราชกระแสที่ให้มีการกลั่นกรองอย่างรัดกุม และยังคงสามารถรักษาไว้ซึ่งคุณค่าและเกียรติยศแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อย่างแท้จริง
		สาระสำคัญของร่างระเบียบฯ
		ปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2536 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน โดยพิจารณานำแนวทางการกลั่นกรองการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี 2563 มากำหนดเป็นหลักเกณฑ์ของร่างระเบียบฯ และการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้
		1. กำหนดคุณสมบัติ คุณลักษณะ และลักษณะต้องห้าม ของผู้สมควรได้รับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เพิ่มเติมจากระเบียบฯ พ.ศ. 2536 ดังนี้
			1.1 เป็นผู้ปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชนจนถึงขนาดสมควรได้รับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยพิจารณาผลการประเมินการปฏิบัติราชการหรือการปฏิบัติงานตามภารกิจที่กฎหมายกำหนด ซึ่งต้องมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่าระดับดี
			1.2 เป็นผู้มีความประพฤติดี มีความอุตสาหะ ซื่อสัตย์สุจริต เอาใจใส่ต่อหน้าที่อย่างดียิ่ง โดยต้องเป็นผู้ไม่อยู่ระหว่างถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ไม่อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีอาญา (เว้นแต่พนักงานอัยการรับแก้ต่างคดีนั้น) และไม่อยู่ระหว่างถูกไต่สวนหรือชี้มูลความผิดโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
			1.3 เป็นผู้มีทัศนคติที่ดีและจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
		2. ยกเลิกหลักเกณฑ์บางประการเพื่อให้มีความเหมาะสมกับหลักการกระทำความดีความชอบและไม่เกิดความเหลื่อมล้ำในระบบการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้
			2.1 ยกเลิกอำนาจของคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นกรณีพิเศษนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ของระเบียบฯ
			2.2 ยกเลิกหลักเกณฑ์ที่ให้ขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายสูงขึ้นอีกหนึ่งชั้นตราในปีที่เกษียณอายุราชการ เนื่องจากไม่ได้สะท้อนผลงานหรือความดีความชอบที่สมควรได้รับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
			2.3 ยกเลิกการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปีติดกันต่างบัญชีกัน เพิ่มเติมจากที่ระเบียบฯ ได้ห้ามการเสนอขอพระราชทานปีติดกันในบัญชีเดียวกันไว้แล้ว
		3. ปรับปรุงบัญชีการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่บุคคลต่าง ๆ จากเดิม 44 บัญชี เป็น 32 บัญชี และปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้มีความเหมาะสม ดังนี้
			3.1 ยกเลิกบัญชีการเสนอขอพระราชทานให้แก่องคมนตรี ซึ่งตำแหน่งดังกล่าวได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นข้าราชการในพระองค์
			3.2 ยกเลิกบัญชีการเสนอขอพระราชทานให้แก่สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เนื่องจากได้มีการยกเลิกกฎหมายว่าด้วยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว
			3.3 ยกเลิกบัญชีการเสนอขอพระราชทานให้แก่คู่สมรสของผู้ดำรงตำแหน่ง จำนวน 12 บัญชี
			3.4 ยกเลิกบัญชีการเสนอขอพระราชทานให้แก่ข้าราชการที่จำแนกตำแหน่งเป็น 11 ระดับ (ระบบซี) และปรับปรุงบัญชีการเสนอขอพระราชทานให้แก่ข้าราชการที่จำแนกประเภทตำแหน่ง (ระบบแท่ง) ระดับเชี่ยวชาญและทักษะพิเศษให้ขอพระราชทานได้ถึงชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) จากเดิมขอได้ถึงชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
			3.5 กำหนดบัญชีการเสนอขอพระราชทานให้แก่ข้าราชการขึ้นใหม่ประกอบด้วยกรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ร่างบัญชี 16) และกรณีข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น (ร่างบัญชี 17) ซึ่งมีการกำหนดตำแหน่งและระดับแตกต่างจากข้าราชการพลเรือนสามัญ
			3.6 กำหนดบัญชีการขอพระราชทานให้แก่ผู้มีความดีความชอบดีเด่น เช่น เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเจ้าหน้าที่ผู้ทุพพลภาพจากการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งได้นำหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเสนอขอพระราชทานให้แก่เจ้าหน้าที่ดังกล่าวมากำหนดเป็นหลักการในระเบียบนี้ (ร่างบัญชี 31)
			3.7 กำหนดตำแหน่งที่สมควรเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เกิดขึ้นใหม่ โดยเทียบเคียงกับตำแหน่งอื่นตามระเบียบฯ หรือมีตำแหน่งลักษณะเดียวกันอยู่ในบัญชีท้ายระเบียบฯ พ.ศ. 2536 แล้ว เช่น ผู้แทนการค้าไทย ผู้ช่วยรัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐสภา ที่ปรึกษาและเลขานุการของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
			3.8 กำหนดให้ผู้บริหารและพนักงานของหน่วยธุรการขององค์การของรัฐที่เป็นอิสระ เช่น สำนักงาน กสทช. และธนาคารแห่งประเทศไทย เสนอขอพระราชทานตามเกณฑ์เดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งเป็นหน่วยธุรการขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นส่วนราชการ (ร่างบัญชี 28)
			3.9 กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นข้าราชการ (พนักงานมหาวิทยาลัย) ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ขอพระราชทานได้ตามชั้นตราเดียวกับหลักเกณฑ์ของข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งเดียวกัน
			3.10 กำหนดหลักเกณฑ์การเสนอขอพระราชทานให้แก่พระราชอาคันตุกะ แขกของรัฐบาล หรือชาวต่างประเทศ ที่กระทำคุณประโยชน์แก่ประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยให้กระทรวงการต่างประเทศและสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีร่วมกันพิจารณาความเหมาะสมของชั้นตรา
			3.11 ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ดังนี้
				(1) กรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐสภา ต้องดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 30 วัน 90 วัน หรือ 120 วัน นับแต่วันที่ดำรงตำแหน่ง จนถึงวันก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่ขอพระราชทาน แล้วแต่กรณี เพื่อให้มีระยะเวลากระทำความดีความชอบเพื่อประกอบการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ปัจจุบันไม่มีการกำหนดไว้)
				(2) กรณีผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐสภา ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา และกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา กำหนดระยะเวลาดำรงตำแหน่งเพื่อขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราให้มีความเหมาะสม
				(3) กรณีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กำหนดระยะเวลาดำรงตำแหน่งให้ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราทุก 2 ปี เพื่อให้มีความแตกต่างจากผู้ใต้บังคับบัญชาที่ดำรงตำแหน่งในระดับหรือชั้นยศเดียวกัน
				(4) ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ไม่มีฐานะเป็นพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ กำหนดให้ดำรงตำแหน่งมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ เพื่อให้สอดคล้องกับวาระการดำรงตำแหน่งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ปัจจุบันกำหนดเฉพาะกรณีผู้บริหารที่มีฐานะเป็นพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ ต้องเป็นพนักงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ปีบริบูรณ์)
 		4. ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานครื่องราชอิสริยาภรณ์ และกำหนดให้มีคณะกรรมการเพียงคณะเดียว

เศรษฐกิจ สังคม

10. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติเสนอสรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ (คณะกรรมการฯ) ครั้งที่ 1/2564              เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อสั่งการรองนายกรัฐมนตรี               (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ประธานกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ (ประธานกรรมการฯ) ต่อไป
		สาระสำคัญของเรื่อง
		ในคราวประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ซึ่งมี                        รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) เป็นประธาน ที่ประชุมมีมติในเรื่องสำคัญต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. ข้อสั่งการของประธานกรรมการฯ
			1.1 มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน (รง.) เร่งรัดปรับปรุงบันทึกข้อตกลงด้านการจ้างแรงงานระหว่างประเทศไทย (ไทย) กับประเทศคู่ภาคี (สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม) ในประเด็นแรงงานต่างด้าวภาคเกษตรและรายงานความก้าวหน้าในการประชุมครั้งต่อไป
			1.2 มอบหมายให้ รง. รายงานความก้าวหน้าการปรับปรุงบันทึกข้อตกลงด้านการจ้างแรงงาน ด้านแรงงานต่างด้าวภาคเกษตร พร้อมทั้งจัดส่งรายละเอียดของบันทึกข้อตกลงด้านการจ้างแรงงาน              ด้านแรงงานต่างด้าวภาคเกษตร (ฉบับปรับปรุง) (ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว) ให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 เพื่อจะได้พิจารณาร่วมกันต่อไป [สศก. แจ้งว่า อยู่ระหว่างเร่งรัดให้ รง. ดำเนินการดังกล่าว]
		2. (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านสับปะรด พ.ศ. 2564 - 2565 ที่ประชุมเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ และให้หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ และรายงานผลปฏิบัติงานให้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาสับปะรดทราบทุกรายไตรมาส ทั้งนี้ ประธานกรรมการฯ มีข้อสั่งการให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องนำหลักการเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) มาเป็นแนวทางในการดำเนินการ รวมทั้งเพิ่มมูลค่าจากทุกส่วนของสับปะรดและสิ่งเหลือใช้ ไปดำเนินการให้เป็นรูปธรรม
		3. แนวทางการบริหารจัดการผลผลิตสับปะรดช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2564 ที่ประชุม              มีมติ ดังนี้ (1) เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการผลผลิตสับปะรดช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2564 โดยใช้กลไกคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัดและคณะทำงานด้านการตลาดระดับจังหวัด (เซลล์แมนจังหวัด) (2) ให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสานผู้ว่าราชการจังหวัดในแหล่งผลิตสับปะรดให้            เร่งแก้ไขปัญหาผลผลิต โดยกำหนดเป็นมาตรการเชิงรุกให้เห็นผลสัมฤทธิ์และเป็นรูปธรรมและรายงานให้                     ฝ่ายเลขานุการฯ ทราบทุกไตรมาสเพื่อเสนอต่อที่ประชุมครั้งต่อไป และ (3) เชิญผู้แทนโรงงานแปรรูปสับปะรดและผู้แทนชาวไร่สับปะรดหารือเกี่ยวกับแนวทางการจัดทำบันทึกข้อตกลงซื้อขายสับปะรดโรงงาน

11. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการให้ความช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่ง              (กลุ่มคนไร้บ้าน) เพื่อการส่งเสริมศักยภาพด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
		คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการให้ความช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่ง (กลุ่มคนไร้บ้าน) เพื่อการส่งเสริมศักยภาพด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
		เรื่องเดิม
		1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการให้ความช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่ง (กลุ่มคนไร้บ้าน) เพื่อการส่งเสริมศักยภาพด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะ รวม 6 ประเด็น ได้แก่ (1) ควรจัดทำระบบฐานข้อมูลกลางเพื่อรวบรวมข้อมูลและรายงานสถานการณ์คนไร้ที่พึ่ง รวมทั้งจัดทำระบบการติดตามสถานการณ์ปัญหาที่เป็นปัจจุบัน (2) ควรสร้างมาตรการและกลไกการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่งร่วมกับท้องถิ่นและชุมชน  (3) ควรมีมาตรการในการให้ความช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งในรูปแบบการให้บริการสวัสดิการเคลื่อนที่อย่างทั่วถึง และให้บริการแบบศูนย์พักพิงชั่วคราว (4) ควรปรับปรุงและดำเนินมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งคนไร้ที่พึ่งไปยังหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามกฎหมายเฉพาะ (5) ควรให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์            (อพม.) เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานและเชื่อมประสานการช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งในพื้นที่ และ (6) ควรให้ พม. เป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
		2. รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้ พม. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและ                    ความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
		ข้อเท็จจริง
		พม. ได้พิจารณาหารือร่วมกับหน่วยงานตามข้อ 2 เพื่อพิจารณาศึกษารายงานและข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยสรุปผลการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ดังนี้
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการ	ผลการพิจารณา
1. ควรจัดทำระบบฐานข้อมูลกลางเพื่อรวบรวมข้อมูลและรายงานสถานการณ์คนไร้ที่พึ่ง รวมทั้งจัดทำระบบการติดตามสถานการณ์ปัญหาที่เป็นปัจจุบัน 	- พม. มีระบบจัดเก็บข้อมูลผู้ทำการขอทานและคนไร้ที่พึ่งทั่วประเทศ มีระบบบริการทางสังคม เพื่อเก็บข้อมูลและการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม โดยระบบทั้งหมดมีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นควรให้มีการออกแบบระบบที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ กับฐานข้อมูลกลาง และปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน รวมทั้งลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลร่วมกันและจัดประเภทกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนและควรมีการออกแบบระบบป้องกันกลุ่มเป้าหมายที่มีอาการทางจิตเวช
- ที่ประชุมเห็นควรให้มีการจัดทำระบบข้อมูลกลางในการบันทึกข้อมูลคนไร้ที่พึ่ง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเข้าข้อมูลคนไร้ที่พึ่งลงในระบบข้อมูลกลางและมีการกำหนดสิทธิบุคคลในการเข้าถึง
2. ควรสร้างมาตรการและกลไกการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่งร่วมกับท้องถิ่นและชุมชน	- พม. ได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการให้ความคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งผู้ทำการขอทาน รวมทั้งมีกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อให้องค์กรสาธารณประโยชน์หรือองค์กรสวัสดิการชุมชนขอรับการสนับสนุนเงินเพื่อจัดทำโครงการด้านสวัสดิการสังคม
- ปัจจุบันยังไม่มีองค์กรที่ดำเนินการวิสาหกิจเพื่อสังคมที่เกี่ยวข้องกับคนไร้ที่พึ่ง โดยที่ประชุมเห็นควรให้มีการส่งเสริมให้มีองค์กรวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งส่งเสริมให้มูลนิธิ สมาคม และวิสาหกิจชุมชนมายื่นจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม เพื่อรับการส่งเสริมจาก สวส. ต่อไป
3. ควรมีมาตรการให้ความช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งในรูปแบบการให้บริการสวัสดิการเคลื่อนที่อย่างทั่วถึงและให้บริการแบบศูนย์พักพิงชั่วคราว	- พม. โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ มีการให้บริการในรูปแบบสถานีสวัสดิการเคลื่อนที่ในทุกจังหวัดเพื่อสำรวจคนไร้ที่พึ่ง และประชาสัมพันธ์แจ้งสิทธิให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐาน โดยที่ผ่านมามีสถานีสวัสดิการจำนวน 77 แห่ง รวมทั้งมีการให้บริการสถานแรกรับโดยศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งทั่วประเทศ และมีการทดลองเปิดบริการที่พักชั่วคราว หรือ ?บ้านปันสุข?
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นว่าการลงพื้นที่ในรูปแบบหน่วยเคลื่อนที่ควรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และควรใช้กลไกการทำงานตามบันทึกความร่วมมือต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว
- ที่ประชุมเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการคุ้มครองและจัดสวัสดิการแก่คนไร้ที่พึ่ง เช่น การแก้ไขสถานะทางทะเบียนราษฎรการให้สิทธิรักษาพยาบาล เป็นต้น รวมทั้งจัดตั้งศูนย์พักชั่วคราวในรูปแบบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตของคนไร้ที่พึ่งในแต่ละพื้นที่ โดยส่งเสริมให้ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเป็นผู้ดำเนินการและ            มีภาครัฐเป็นผู้สนับสนุน
4. ควรปรับปรุงและดำเนินมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งคนไร้ที่พึ่งไปยังหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามกฎหมายเฉพาะ	- กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการมีการให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายที่มีความหลากหลายโดยไม่จำกัดเฉพาะคนไร้ที่พึ่ง แต่รวมถึงผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งการให้บริการแก่กลุ่มบุคคลข้างต้นจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเฉพาะ โดยในปัจจุบันกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะให้การคุ้มครองในเบื้องต้นและประสานส่งต่อไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่รับผิดชอบกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เนื่องจากการให้บริการของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการไม่ใช่บริการที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเฉพาะได้ ซึ่งมักจะเกิดปัญหาว่าไม่สามารถส่งต่อกลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการตามกฎหมายเฉพาะได้ เนื่องจากสถานคุ้มครองตามกฎหมายเฉพาะรับกลุ่มเป้าหมายเต็มจำนวน ซึ่งจำเป็นต้องมีแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป
- ที่ประชุมเห็นควรให้หน่วยงานที่มีภารกิจด้านการคุ้มครองกลุ่มเป้าหมายเฉพาะต้องมีความพร้อมในการดำเนินการดังกล่าว รวมทั้งเห็นควรให้มีการทบทวนกฎหมาย คำสั่ง และประกาศ เพื่อให้มีการประสานส่งต่อกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. ควรให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานและเชื่อมประสานการช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งในพื้นที่	- พม. ให้ความสำคัญกับการสร้างและพัฒนา อพม. โดยมีการจัดทำระบบข้อมูลการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพ อพม. ในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งตระหนักถึงการมีค่าตอบแทนเพื่อ อพม. สามารถปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ความเดือดร้อนของกลุ่มเป้าหมาย โดยในปัจจุบันมี อพม. ทั้งสิ้น 134,400 คน ครอบคลุมทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ
- ที่ประชุมเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของ อพม. ซึ่ง พม. มีเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวน อพม. ให้ครบ 547,000 คน เพื่อรองรับการให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายทางสังคมทั่วประเทศในสัดส่วน อพม. 1 คนให้การดูแล 40 ครัวเรือน รวมทั้งให้มีระบบสนับสนุนการทำงานและผลักดันสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมกับ อพม. โดยเทียบเคียงกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
6. ควรให้ พม. เป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง	- ปัจจุบันภายใต้พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และคณะอนุกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัด เป็นกลไกในการขับเคลื่อนทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ เพื่อเสนอนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
- พม. โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งในชุมชนตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง  พ.ศ. 2557 ซึ่งในอนาคตจะพิจารณาขยายจำนวนศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งในชุมชนให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศตามความจำเป็นและสภาพปัญหา
- ที่ประชุมเห็นควรให้มีการส่งเสริมให้องค์กรที่ดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือมีส่วนร่วมในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งให้สามารถจัดบริการสวัสดิการแก่คนไร้ที่พึ่งได้ตามมาตรฐานการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง โดยรัฐให้การสนับสนุนงบประมาณ ทรัพยากรในการดำเนินงาน และองค์ความรู้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

12. เรื่อง ผลการพิจารณาญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่
		คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณาญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ ของสภาผู้แทนราษฎร ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
		เรื่องเดิม
		1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ ของสภาผู้แทนราษฎร มาเพื่อดำเนินการ โดยสภาผู้แทนราษฎรได้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 การบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 การบริหารจัดการด้านแรงงานต่างด้าว และการบริหารจัดการด้านข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ รวมทั้งข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ควรมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเป็นรูปธรรม และมีการจัดตั้งสถานกักกันในรูปแบบขององค์กรซึ่งเป็นสถานที่ของหน่วยงานนั้นสำหรับกักกันบุคลากรของหน่วยงานที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ รวมทั้งสถานที่กักกันโรคท้องที่สำหรับผู้ที่เดินทางข้ามจังหวัดโดยเร็วควรกำหนดพื้นที่เสี่ยงเพื่อกำหนดมาตรการที่ใช้ในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพื้นที่นั้น ๆ
		2. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ สธ. เป็นหน่วยงานหลักรับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสภาผู้แทนราษฎร ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
		ข้อเท็จจริง
		สธ. ได้ดำเนินการตามคำสั่งรองนายกรัฐมนตรีตามข้อ 2 โดยสรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้
ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ	ผลการพิจารณา
1. มาตรการรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019
	ควรมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเป็นรูปธรรมและมีการจัดตั้งสถานกักกันในรูปแบบขององค์กรซึ่งเป็นสถานที่ของหน่วยงานนั้น	สธ. โดยกรมควบคุมโรค ได้กำหนดขั้นตอนการขออนุญาตดำเนินการการจัดตั้งสถานกักกันในรูปแบบขององค์กร (Organizational Quarantine: OQ) วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกักกันผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ทั้งที่มีสัญชาติไทย หรือไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งเป็นบุคคล หรือกลุ่มบุคคลเฉพาะที่เป็นสมาชิกขององค์กรที่เดินทางมาปฏิบัติภารกิจขององค์กร ตัวอย่างเช่น ทำงานตามสัญญาจ้างและมีเอกสารจ้างงาน กลุ่มนักเรียน/นักศึกษา การฝึกทางการทหาร เป็นต้น
2. การบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019
	ควรกำหนดพื้นที่เสี่ยง เพื่อกำหนดมาตรการที่ใช้ในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพื้นที่นั้น ๆ เช่น หากพื้นที่ใดมีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงและมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ควรกำหนดให้เป็นพื้นที่สีแดง และสามารถใช้มาตรการที่รุนแรงที่สุด คือการ Lockdown ได้ เป็นต้น	มท. เห็นว่า หากมีความจำเป็นที่จะต้องมีการ Lockdown ควรกำหนดหลักเกณฑ์และเหตุผลในการ Lockdown โดยคำนึงถึงความสมดุลในการกักกันโรคกับเศรษฐกิจ ถ้า Lockdown เป็นเวลานานเกินไปจะส่งผลให้เกิดความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ ถ้า Lockdown เป็นเวลาน้อยเกินไป ทำให้ไม่สามารถกักกันโรคได้
3. การบริหารจัดการด้านแรงงานต่างด้าว
	ควรมีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนแรงงานต่างด้าว และจังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวทำงานอยู่	รง. โดยกรมการจัดหางาน ได้มีการเก็บข้อมูลแรงงานต่างด้าว ได้แก่ ชื่อ เพศ วัน/เดือน/ปีเกิด เลขที่หนังสือเดินทาง ข้อมูลนายจ้าง/สถานประกอบการ ประเภทกิจการ ตำแหน่ง ฯลฯ ซึ่งจำนวนคนต่างด้าวคงเหลือ ณ ธันวาคม 2563 ที่ทำงานในประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 2,512,328 คน ได้แก่ คนต่างด้าวประเภทฝีมือ จำนวน 142,996 คน คนต่างด้าวประเภทตลอดชีพ จำนวน 68 คน ชนกลุ่มน้อย จำนวน 64,166 คน คนต่างด้าวประเภททั่วไป จำนวน 2,305,098 คน
อว. รายงานว่า จากการศึกษาจะเห็นว่าแรงงานต่างชาติจะมีส่วนเข้ามาฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยหลังจากโควิด 19 อย่างไรก็ตาม การพึ่งพิงแรงงานข้ามชาติมากเกินไปอาจจะส่งผลเสียในระยะยาวได้ ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจชะลอการใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีซึ่งอาจทำให้ประเทศไทยติดกับดักรายได้ปานกลางต่อไป
4. การบริหารจัดการด้านข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์
	หน่วยงานภาครัฐจะต้องมีการประชาสัมพันธ์และแจ้งข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะตามความเป็นจริง ชัดเจน เร่งด่วน และฉับพลัน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็นเพื่อป้องกันความสับสนของประชาชนโดยเฉพาะผู้ว่าราชการจังหวัดและสาธารณสุขจังหวัดจะต้องมีการชี้แจงข้อเท็จจริงโดยตลอดเป็นระยะ ๆ	ดศ. รายงานว่า ?ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม? มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบ ข้อมูลที่เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ และระบบอินเทอร์เน็ตที่มีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน           ต่อประชาชนโดยตรงหากวิเคราะห์แล้วมีแนวโน้มว่าอาจเป็นข่าวปลอม จะทำการประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบข้อมูล และดำเนินการเผยแพร่ข้อเท็จจริงผ่านช่องทางต่าง ๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้แก่ เว็บไซต์, Line, Facebook, Twitter ให้ประชาชนได้รับทราบต่อไปโดยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคโควิด 19 อย่างต่อเนื่อง
5. ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
	ศธ. ต้องดูแลป้องกันมิให้เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ไปสู่นักเรียนนักศึกษา ซึ่งมีจำนวนมากในสถานศึกษา	ศธ. เห็นชอบต่อข้อเสนอแนะดังกล่าว เนื่องจากนักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษามีเป็นจำนวนมาก และหากเกิดการแพร่ระบาดในสถานศึกษาจนต้องปิดเรียน จะทำให้เกิดปัญหาด้านการศึกษาและส่งผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก อาทิ การใช้เวลาหน้าจอมากเกินไป ขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน และอาจก่อให้เกิดความเครียดทั้งเด็กและครู รวมไปถึงเกิดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา เป็นต้น

13. เรื่อง รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2564
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2564 (เดือนเมษายน - มิถุนายน 2564) ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 พฤษภาคม 2563) ที่ให้ กนง. ประเมินภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มของประเทศและรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ที่ประชุม กนง. เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 และ 23 มิถุนายน 2564 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี โดย กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าลงและไม่ทั่วถึงมากขึ้นเมื่อเทียบกับประมาณการเดิม และคาดว่าในปี 2564 และ 2565 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 และ 3.9 ตามลำดับ ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปยังเผชิญกับความไม่แน่นอนและความเสี่ยงด้านต่ำอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ (1) ความยืดเยื้อของการระบาดและการกลายพันธุ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (2) เม็ดเงินเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจอาจน้อยกว่าคาด (3) ฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจโดยเฉพาะภาคบริการอาจได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากการระบาดระลอกใหม่จนต้องปิดกิจการและเลิกจ้างแรงงานจำนวนมาก และ (4) ปัญหาห่วงโซ่การผลิตหยุดชะงัก (Supply Disruption) และต้นทุนค่าขนส่งทางเรือที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจส่งออกของประเทศไทย (ไทย) มากกว่าที่คาด
		ทั้งนี้ กนง. เห็นว่าโจทย์สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน คือ การจัดหาและการกระจายวัคซีนที่เหมาะสมให้เพียงพอและทันการณ์และควรเร่งดำเนินมาตรการทางการเงินโดยเฉพาะสินเชื่อฟื้นฟูและการเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งจะช่วยภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบได้อย่างตรงจุดมากกว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและทุกภาคส่วนต้องเร่งผลักดันมาตรการต่าง ๆ ให้เห็นผลโดยเร็วเพื่อช่วยประคับประคองเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในระยะ 6 เดือนข้างหน้า
		2. การประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินเพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงิน
			2.1 เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวต่อเนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนและภาคบริการที่ปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ภายหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและผลของมาตรการให้เงินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ประกอบกับได้รับแรงส่งจากการส่งออกในเอเชียที่ขยายตัวดีและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มฟื้นตัวเนื่องจากการแพร่ระบาดที่คลี่คลายและความคืบหน้าของการกระจายวัคซีนในหลายประเทศ รวมถึงนโยบายการคลังที่ออกมาเพิ่มเติมและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ซึ่งมีส่วนช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดย กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าในปี 2564 และ 2565 จะขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 และ 4.1 ตามลำดับ นอกจากนี้ ภาครัฐทั่วโลกได้ดำเนินมาตรการการเงินการคลังอย่างต่อเนื่องเพี่อบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาและธนาคารกลางอังกฤษเริ่มส่งสัญญาณการปรับเปลี่ยนทิศทางนโยบายการเงินหากเศรษฐกิจกลับมาขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องและแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อกลับมาอยู่ที่เป้าหมายได้อย่างยั่งยืนซึ่งอาจทำให้ภาวะการเงินโลกเริ่มตึงตัวขึ้นในระยะต่อไป
			2.2 ภาวะการเงินและเสถียรภาพระบบการเงินไทย
				2.2.1 ภาวะการเงินไทยโดยรวมยังผ่อนคลาย อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดการเงินอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะปานกลางและระยะยาวปรับลดลงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตระยะยาวของสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ ประกอบกับมีอุปสงค์จาก            นักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ การออกพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 25641 (พ.ร.ก. ให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ) มูลค่า 5 แสนล้านบาทส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับสูงขึ้นบ้างตามการคาดการณ์ปริมาณพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อ้างอิงของธนาคารพาณิชย์โดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำ และอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อปล่อยใหม่ปรับลดลงโดยเฉพาะวงเงินขนาดใหญ่
				2.2.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐและดัชนีค่าเงินบาทอ่อนค่า  ลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนตามสถานการณ์การระบาดระลอกสามในไทยและการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ โดย กนง. เห็นควรให้ติดตามพัฒนาการของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด และสนับสนุนให้ผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของอัตราแลกเปลี่ยน (FX Ecosystem) อย่างต่อเนื่อง
				2.2.3 เสถียรภาพระบบการเงินไทยยังคงเปราะบางจากผลกระทบของโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและมีความไม่แน่นอนมากขึ้นจากฐานะทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ของทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อ่อนแอ นอกจากนี้ระบบการเงินไทยยังเผชิญความเสี่ยงในระยะข้างหน้าจากการ           ฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังไม่แน่นอนสูง ทำให้ต้องพึ่งพาความต่อเนื่องของมาตรการช่วยเหลือด้านการเงินการคลังเพื่อบรรเทาผลกระทบและยังต้องติดตามฐานะทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้อย่างใกล้ชิด
		3. แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทย
			3.1 ประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.8 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายในประเทศและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ อย่างไรก็ตาม การออก พ.ร.ก. ให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ และแผนการจัดหาและ             การกระจายวัคซีนของไทยที่มีความชัดเจนมากขึ้น รวมถึงการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวดีตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าจะช่วยเป็นแรงสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยชะลอลงไม่มากนัก ส่วนประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2565 คาดว่า             จะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 3.9 โดยยังมีเม็ดเงินสนับสนุนเศรษฐกิจจากภาครัฐต่อเนื่องและคาดว่าไทยจะสามารถสร้างระดับภูมิคุ้มกันหมู่ได้ภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ซึ่งจะช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวและสามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้มากขึ้น
			3.2 มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยในปี 2564 และ 2565 มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นที่ร้อยละ 17.3 และ 4.9 ตามลำดับ โดยการส่งออกสินค้าในระยะต่อไปมีแนวโน้มขยายตัวดีตามแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า
			3.3 ประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2564 มีแนวโน้มขาดดุลโดยคาดว่าจะขาดดุล 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงและต้นทุนขนส่งและราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ส่วนปี 2565 คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงจากการประเมินครั้งก่อนอยู่ที่ 12.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับรายรับจากนักท่องเที่ยวที่ปรับลดลงตามประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ
			3.4 การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอลงตลอดช่วงครึ่งแรกของปี 2564 เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงและมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้น อย่างไรก็ตามการบริโภคภาคเอกชนจะทยอยฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 จากมาตรการให้เงินเยียวยาและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของภาครัฐและการกระจายวัคซีนที่มีความคืบหน้ามากขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับดีขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายในภาคการท่องเที่ยวและบริการฟื้นตัวได้ในปี 2565 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.0 และ 6.0 ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ
			3.5 ประมานการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ในปี 2564 และ 2565 โดยอัตราเงินเฟ้อในปี 2564 ได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากปัจจัยด้านอุปทาน ซึ่งเป็นผลจากอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานที่            ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากประมาณ                  การครั้งก่อนจากผลของมาตรการลดค่าไฟฟ้าที่จะสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบเป้าหมายตลอดช่วงประมาณการ ขณะที่ประมาณการอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงเป็นร้อยละ 0.2 และ 0.3 ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ ตามแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ที่อยู่ในระดับต่ำและมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าลงจากการระบาดหลายระลอก
1พ.ร.ก. ให้อำนาจ กค.ฯ กู้เงินได้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564

14. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 4 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2564)
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 4 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2564) สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
		1. นโยบายหลัก 12 ด้าน
นโยบายหลัก	มาตรการ/การดำเนินการ
1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์	(1) ส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น ยกระดับชุมชนท้องถิ่นสู่ชุมชนดิจิทัล และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนตั้งแต่ระบบการผลิต การแปรรูป และการตลาด จำนวน 61 ชุมชน
(2) จัดกิจกรรมจิตอาสา ผ่านโครงการ ?จิตอาสารักษ์แม่น้ำ? โดยเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์คุณภาพน้ำในคลองและลุ่มน้ำสายหลัก รวมทั้งตรวจกำกับดูแลโรงงานที่ระบายน้ำลงสู่ลำน้ำสาธารณะ จำนวน 300 โรงงาน
2) การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ	จับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายผ่านชายแดนทางบกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 243 ครั้ง และสกัดกั้นยาเสพติดในพื้นที่ชายแดน เช่น สามารถจับกุมยาเสพติดประเภทยาบ้าได้ 322.13 ล้านเม็ด และประเภทกัญชา 17,392.93 กิโลกรัม
3) การทำนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม	(1) ติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย โดยติดตามทับหลังและได้รับคืนจากสำนักงานสืบสวนเพื่อความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ สหรัฐอเมริกา จำนวน 2 รายการ
(2) เปิดตัวห้องสมุดดิจิทัล ?หอสมุดแห่งชาติ ไม่หยุดให้ความรู้ชวนอ่านหนังสือออนไลน์? ได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้กับงานด้านมรดกศิลปวัฒนธรรม โดยให้บริการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) จำนวน 2,200 เรื่อง หนังสือพิมพ์และนิตยสารออนไลน์จาก 100 ประเทศทั่วโลก จำนวน             60 ภาษา
4) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก	(1) พัฒนาระบบตรวจลงตราอิเล็กทรอนิกส์ (e-Visa) เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการตรวจลงตราแก่ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยให้สะดวก รวดเร็ว และลดการสัมผัสระหว่างบุคคล โดยขยายการให้บริการ e-Visa ในสถานเอกอัคราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลก
(2) ขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ในมิติต่างประเทศ โดยเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีกับประเทศที่มีศักยภาพส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม แสวงหาโอกาสทางธุรกิจให้ผลิตภัณฑ์และบริการ BCG และส่งเสริมให้            นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรม BCG
5) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย	เรื่อง	มาตรการ/การดำเนินการ
(1) เศรษฐกิจมหภาค การเงินและการคลัง	เร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำ 1,734,145.19 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 5.38 และมีการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน 402,774.87 ล้านบาท (รวมก่อหนี้) ซึ่งสูงกว่าเป้าหมาย              ร้อยละ 5.34 (ข้อมูล ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2564)
(2) การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม	(2.1) พัฒนาของเสียเป็นทรัพยากรทดแทนและสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีรีไซเคิลเพื่อพัฒนาและประยุกต์ใช้วัตถุดิบแทนในอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์
(2.2) พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงเทคโนยีหรือแนวโน้มการค้าโลก โดยดำเนินโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเชิงลึกให้กับผู้ประกอบการ SMEs ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวน 614 โครงการ
(3) การพัฒนาภาคเกษตร	เฝ้าระวัง ควบคุม และกำจัดโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin Disease) โดยดำเนินการแก้ไขและควบคุมการระบาด เช่น ควบคุมการเคลื่อนย้ายโค กระบือ และใช้วัคซีนควบคุมโรคจำนวน  60,000 โดส และส่งเสริมโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก จำนวน 264 ราย
(4) การพัฒนาภาคการท่องเที่ยว	ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยแนวคิด BCG Model เช่น การขับเคลื่อนแผนการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวและกีฬาสีขาวและการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวยั่งยืนในพื้นที่พิเศษเป้าหมายดำเนินโครงการมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย โดยยึดแนวทางและมาตรการป้องกันความเสี่ยงเรื่องโรคติดเชื้อจากไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จำนวน 9,049 ราย และดำเนินโครงการพื้นที่ปลอดภัย (Safety Zone) โดยการพัฒนาและยกระดับพื้นที่ท่องเที่ยวต้นแบบให้มีความปลอดภัย ถูกสุขอนามัย เป็นธรรม 5 กลุ่มพื้นที่ต้นแบบ
(5) การพัฒนาการค้าการลงทุนเพื่อมุ่งสู่การเป็นชาติการค้า การบริการ และการลงทุนในภูมิภาค	จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน มีมูลค่า 1,027,632.41 ล้านบาท และผลักดันเปิดช่องทางผ่านแดนภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จำนวน 2 แห่ง
(6) การพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน 	ส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าและสถานีอัดประจุไฟฟ้า จำนวน 641 แห่ง และสนับสนุนการวิเคราะห์ทดสอบระบบรางรถไฟและส่วนเชื่อมต่อการขนส่งให้แก่ผู้ประกอบการไทยแบบครบวงจร มากกว่า 40 โครงการ
(7) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและมุ่งสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ	ขยายโครงการอินเทอร์เน็ตและโทรคมนาคมในพื้นที่ ดำเนินการนำร่อง เช่น โครงการนำร่องด้านเกษตรดิจิทัล   ณ ศูนย์ฝึกอบรมผาหมี จังหวัดเชียงราย และโครงการนำร่องสถานีอัจฉริยะ (Smart Station) ด้วยเทคโนโลยี 5G  ณ สถานีกลางบางซื่อ
(8) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม	ส่งมอบห้องแยกโรคความดันลบสำหรับโรงพยาบาลสนาม รวม 15 ชุด และสนับสนุนการบริหารข้อมูลเชิงพื้นที่ในสถานการณ์โควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานครให้กับศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) โดยนำระบบบูรณาการข้อมูล iMap มาใช้ในการสนับสนุนการบริหารข้อมูลเชิงพื้นที่
(9) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่	พัฒนาผู้ประกอบการสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ (New Economy Academy: NEA) จำนวน 19,469 ราย และยกระดับผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพและศิลปหัตถกรรมไทยสู่สากลด้วยนวัตกรรมและคุณค่าแห่งศิลปาชีพ โดยมีผู้ประกอบอาชีพสร้างผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมได้รับการพัฒนาศักยภาพแล้ว จำนวน 280 ราย และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมเกิดมูลค่า 4,720,000 บาท

6) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค	ดำเนินโครงการพัฒนาทักษะกำลังแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยมีแรงงานในสถานประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับ 10 อุตสาหกรรม เข้ารับการฝึกอบรม 1,833 คน และจัดแสดงพื้นที่เศรษฐกิจอัจฉริยะต้นแบบในพื้นที่เขตลาดพร้าวและเขตปทุมวัน เพื่อส่งเสริมและขับเคลื่อนผู้ประกอบการในพื้นที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 12 ประเภท
7) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก	(1) จำหน่ายสินค้าชุมชนผ่านระบบ e-Commerce ผ่านเว็บไซต์ thailandpostmart.com โดยมีผู้ลงทะเบียนเป็นผู้ขายสินค้า 5,670 ร้าน
(2) กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี มีสมาชิกประเภทบุคคลธรรมดา จำนวน 14,762,717 คน วงเงินอนุมัติ 218 ล้านบาท
8) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย	ออกประกาศแนวปฏิบัติการเก็บค่าเทอมลดภาระผู้ปกครองในช่วงโควิด-19 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น และส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะทุกช่วงวัย โดยส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และยกระดับโรงเรียนขนาดเล็ก
9) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม	จัดตั้งโรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ รองรับผู้ป่วยได้                       224 เตียง และดำเนินโครงการสร้างเสริมศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการจัดบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ มี อสม. และหมอประจำบ้าน ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วย 917,869 คน
10) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน	แก้ปัญหาผักตบชวาและวัชพืชในแหล่งน้ำ โดยจัดเก็บแล้ว จำนวน 750,949 ตัน และดำเนินโครงการสนับสนุนคณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัด (คทช. จังหวัด) ในการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล จำนวน 4,862 แปลง
11) การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ	ส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขนาดใหญ่ (Big Data) โดยพัฒนาระบบบริหารจัดการเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ภายใต้ชื่อ CO-link เพื่อแก้ปัญหาการจัดสรรผู้ป่วยเข้าสู่ระบบรักษาภายใน 24 ชั่วโมง
12) การป้องกันปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบและกระบวนการยุติธรรม	ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดีสำเร็จ จำนวน 9,993 เรื่อง ทุนทรัพย์ 5,965.07 ล้านบาท และขับเคลื่อนงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 โดยมีศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน จำนวน 378 แห่ง และมีข้อพิพาททางแพ่งและข้อพิพาททางอาญาที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยสามารถยุติ 659 คดี
		2. นโยบายเร่งด่วน 12 เรื่อง
นโยบายเร่งด่วน	มาตรการ/การดำเนินการ
1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน	ให้ความช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์และเกษตรกร เช่น ลดภาระดอกเบี้ยให้สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่มีหนี้เงินกู้เพื่อการเกษตร 362,933 ราย และปรับปรุงแผนที่แปลงที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน 133,367 ไร่
2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน	(1) ดำเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยได้โอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแล้ว 20,042.70 ล้านบาท และจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและเงินอื่น ผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-Social Welfare) 61,524.34 ล้านบาท
(2) ดำเนินโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เดือนละ 600 บาท ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี จำนวน 2,148,363 คน
3) มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก	(1) เร่งรัดขยายตลาดส่งออกและธุรกิจในต่างประเทศเชิงรุก โดยมีผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริม 3,735 ราย เกิดมูลค่าเจรจาการค้า 16,290.84 ล้านบาท
(2) ส่งเสริมอุตสาหกรรมรายคลัสเตอร์ 1,951 ราย เกิดมูลค่าการค้า 3,766.27               ล้านบาท
4) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม	(1) โครงการประกันรายได้เกษตรกร ปีการผลิต 2563/64 ได้แก่ ข้าว ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
(2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 จำนวน 1,448,861 ราย
5) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน	(1) โครงการจ้างงานระยะสั้นแก่แรงงานที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 ดำเนินการจ้างเหมาบริการโดยการจัดซื้อจัดจ้างแรงงานที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 105 คน ได้รับค่าจ้างเดือนละ 10,500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน โดยมีสถานประกอบการขอสินเชื่อ                 51 ราย และสามารถรักษาการจ้างงานไว้ได้ 1,478 คน
6) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต	(1) ส่งเสริมการลงทุนในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ดำเนินการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนฯ 145 โครงการ มีมูลค่าเงินลงทุน 73,480 ล้านบาท
(2) สนับสนุนการลงทุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เขตเศรษฐกิจพิเศษและเมืองอัจฉริยะ โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน                      2600 เมกะเฮิรตซ์ ให้แก่บริษัทประกอบกิจการโทรคมนาคม จำนวน 2 บริษัท
7) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 	(1) พัฒนาครูวิทยาการคำนวณ เพิ่มสมรรถนะการสอนในศตวรรษที่ 21 โดยจัดการประชุมการปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณให้กับครูผู้สอน               มีครูผ่านการอบรม 435 คน
(2) ส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) โดยจัดอบรมออนไลน์หลักสูตรการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครู รุ่น 2 ให้แก่ครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มีผู้ผ่านการอบรม 141,354 คน
8) การแก้ไขปัญหา                ยาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้	ให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เช่น มอบเงินยังชีพรายเดือนแก่บุตรผู้เสียชีวิต/บาดเจ็บสาหัส/พิการ                  4,879 ราย และมอบเงินยังชีพรายเดือนแก่ผู้พิการตามลักษณะความพิการ 785 ราย
9) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน	(1) พัฒนางานบริการระบบบริการออนไลน์ (Digital Service) โดยพัฒนาระบบ MEASY ผ่าน www.eservice.mea.or.th ซึ่งประชาชนสามารถขอรับบริการในเรื่องต่าง ๆ ได้ เช่น การลงทะเบียนคืนเงินหลักประกัน และการขอใช้ไฟฟ้าใหม่
(2) พัฒนาระบบศูนย์กลางการบริการประชาชนในการติดต่อราชการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร (Citizen Portal) โดยเปิดระบบให้ประชาชนใช้บริการแอปพลิเคชัน ?ทางรัฐ? มีบริการประชาชนกว่า 10 บริการ เช่น สิทธิประกันสังคม และ
สิทธิหลักประกันสุขภาพ
10) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย	(1) โครงการปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือบรรเทาปัญหาภัยแล้งในพื้นที่การเกษตรและเติมน้ำในเขื่อนตามที่ร้องขอ โดยมีพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง 166.07 ล้านไร่
(2) โครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลระยะไกลเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่แล้งซ้ำซากหรือน้ำเค็ม โดยดำเนินการเจาะบ่อบาดาล 88 บ่อ และก่อสร้างระบบกระจายน้ำ
15 แห่ง มีครัวเรือนได้รับประโยชน์ 2,250 ครัวเรือน และปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น
2.63 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

15. เรื่อง เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการเตรียมความพร้อมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และเห็นสมควรกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามแผนงานการเลือกตั้งต่อไป
		มท. เสนอว่า
		1. ปัจจุบันสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ได้ครบวาระการดำรงตำแหน่ง ทั่วประเทศแล้ว ในเดือนพฤษภาคม 2561 โดยที่สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าวยังคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 85/2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 1/2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 25 ธันวาคม พุทธศักราช 2557 คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 64/2559 เรื่อง การให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่ง และการแต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 18 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 6/2560 เรื่อง การแต่งตั้งนายกเมืองพัทยา ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2560
		2. ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ วันที่ 6 ตุลาคม 2563 ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดก่อน ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้วเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2563 การดำเนินการเลือกตั้งเสร็จสิ้น และได้มีการประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้ว
		3. คณะรัฐมนตรีได้มีมติวันที่ 12 มกราคม 2564 ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นของเทศบาล ซึ่ง กกต. ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีแล้วเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2564 การดำเนินการเลือกตั้งเสร็จสิ้น และได้มีการประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีแล้ว
		4. คณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มท. ซึ่งแต่งตั้งตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 2181/2563 ลงวันที่ 8 กันยายน 2563 โดยมีรองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นประธานกรรมการ ได้มีการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันอังคารที่ 31 สิงหาคม 2564 เพื่อเตรียมความพร้อมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา สรุปผลการประชุมได้ดังนี้
1) การดำเนินการของ มท.
    1.1) ข้อมูลจำนวนราษฎรที่ใช้ในการแบ่งเขตเลือกตั้ง สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ได้ประกาศจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 10 มีนาคม 2564
    1.2) การรวมหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 45 กรณีหมู่บ้านใดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล มีราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนไม่ถึง 25 คน ให้รวมหมู่บ้านนั้นกับหมู่บ้านที่มีพื้นที่ติดต่อกัน และเมื่อรวมกันแล้วจะมีราษฎรถึง 25 คนเป็นเขตเลือกตั้ง ภายในวันที่ 31 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง ทั้งนี้ มท. โดยกรมการปกครองดำเนินการสำรวจและประกาศรวมหมู่บ้านที่มีราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรไม่ถึง 25 คน กับหมู่บ้านอื่นที่มีพื้นที่ติดต่อกันเป็นเขตเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2564 จำนวน 41 จังหวัด 108 อำเภอ 130 ตำบล 216 หมู่บ้าน รวม 156 เขตเลือกตั้ง ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว
    1.3 การเตรียมความพร้อมด้านงบประมาณค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มท. โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้แจ้งจังหวัดกำชับองค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565 ขององค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา โดยกำหนดรายการค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นไว้ในข้อบัญญัติ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มเติม สำหรับกรณีการจัดการเลือกตั้งภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไว้พร้อมแล้ว
2) การดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
    2.1) ออกระเบียบและประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
    2.2) การดำเนินการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครบทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว และคณะกรรมการการเลือกตั้งสามารถประกาศแต่งตั้งได้ทันทีที่มีการประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
    2.3) ดำเนินการอบรมผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ เสร็จสิ้นแล้ว สำหรับการอบรมกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะดำเนินการเมื่อมีการประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
    2.4) ดำเนินการจัดทำแผนงานการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายการดำเนินการ ดังนี้
กรอบระยะเวลา	การดำเนินการ
วันที่ 1 ? 14 กันยายน 2564
วันที่ 1 ? 15 ตุลาคม 2564

วันที่ 28 พฤศจิกายน ? 12 ธันวาคม 2564	คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

3) การดำเนินการของ สลค.
    ได้ประกาศราชกิจจานุเบกษาการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยา เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 และประกาศราชกิจจานุเบกษาการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 เสร็จสิ้นแล้ว
		ทั้งนี้ ความพร้อมของ มท. และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยทั้งสองฝ่ายมีความพร้อมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ประกอบกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไว้แล้ว
		ประกอบกับพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 142 บัญญัติในการเลือกตั้งครั้งแรกภายหลังจากที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ให้แจ้งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบ และเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นแล้ว ให้ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการงดการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และกำหนดวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นสิ้นผลบังคับสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น




16. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง)
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้
		1. เห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง) โดยขอปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในระดับราคาที่เหมาะสมกับศักยภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ในอัตราดอกเบี้ยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น
		2. อนุมัติงบประมาณจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี จำนวน 700 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
		สาระสำคัญของเรื่อง
		กค. รายงานว่า
		1. ผลการดำเนินโครงการบ้านล้านหลัง ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2564 ธอส. มียอดอนุมัติสินเชื่อตามโครงการบ้านล้านหลังแก่ลูกค้ารายย่อย (Post Finance) จำนวน 52,514 ราย เป็นจำนวนเงิน 39,522.37 ล้านบาท (กรอบวงเงินโครงการ 50,000 ล้านบาท) โดยแบ่งเป็น 1) กลุ่มรายได้/เดือน/คนไม่เกิน 25,000 บาท จำนวน 43,643 ราย เป็นจำนวนเงิน 33,049.02 ล้านบาท และ 2) กลุ่มรายได้/เดือน/คนเกิน 25,000 บาท จำนวน 8,871 ราย เป็นจำนวนเงิน 6,473.35 ล้านบาท ซึ่ง ธอส. คาดว่า ภายในเดือนสิงหาคม 2564 จะมียอดการทำนิติกรรมทั้งสิ้น จำนวน 40,000 ล้านบาท โดยมียอดรวมเงินชดเชยส่วนต่างระหว่างรายได้ดอกเบี้ยรับตามแผนวิสาหกิจของ ธอส. กับรายได้ดอกเบี้ยรับจากโครงการบ้านล้านหลัง ประมาณ 3.212.47 ล้านบาท และจะมีวงเงินการชดเชยของโครงการบ้านล้านหลังคงเหลือ จำนวน 1,453.84 ล้านบาท (กรอบวงเงินการชดเชย จำนวน 4,666.31 ล้านบาท)
		2. เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในระดับราคาที่เหมาะสมกับศักยภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ในอัตราดอกเบี้ยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ประกอบกับปัจจุบันมีประชาชนสนใจและยื่นคำร้องขอสินเชื่อใกล้เต็มกรอบวงเงินโครงการแล้ว และยังมีประชาชนให้ความสนใจในโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง กค. จึงขอเสนอการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีโครงการบ้านล้านหลัง โดยปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการดังกล่าวสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ	เดิม มติคณะรัฐมนตรี (20 พฤศจิกายน 2561 12 มีนาคม 2562 และ 16 มิถุนายน 2563)	ขอทบทวน/ปรับปรุงในครั้งนี้
ชื่อโครงการ	โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง)	โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2)
กรอบวงเงินรวม	50,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 1) กลุ่มรายได้/เดือน/คน ไม่เกิน 25,000 บาท (กรอบวงเงิน 40,000 ล้านบาท) และ 2) กลุ่มรายได้/เดือน/คนเกิน 25,000 บาท (กรอบวงเงิน 10,000 ล้านบาท)	ปรับเพิ่มอีก จำนวน 20,000 ล้านบาท สำหรับโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 (ในครั้งนี้ ธอส. ไม่กำหนดเกณฑ์รายได้ผู้กู้)
(รวมวงเงินโครงการ 70,000 ล้านบาท)
เกณฑ์รายได้ผู้กู้สำหรับลูกค้าทั่วไป	- ผู้กู้รายได้/เดือน/คนไม่เกิน 25,000 บาท เงินงวดผ่อนชำระรายเดือนไม่เกิน 1 ใน 2 ของรายได้สุทธิ/เดือน
- ผู้กู้รายได้/เดือน/คนเกิน 25,000 บาท เงินงวดผ่อนชำระรายเดือนไม่เกิน 1 ใน 3 ของรายได้สุทธิ/เดือน	เงินงวดผ่อนชำระรายเดือนไม่เกิน 1 ใน 2 ของรายได้สุทธิ/เดือน (ในครั้งนี้ ธอส. ไม่กำหนดเกณฑ์รายได้ผู้กู้)
อัตราดอกเบี้ย	? คงที่ร้อยละ 3 ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี สำหรับผู้กู้ที่มีรายได้/เดือน/คนไม่เกิน 25,000 บาท ปีที่ 6 จนถึงตลอดอายุสัญญากู้เงิน
- ลูกค้ารายย่อย = MRR - ร้อยละ 0.75 ต่อปี
- ลูกค้าสวัสดิการหักเงินเดือน = MRR - ร้อยละ 1.00 ต่อปี
- กรณีซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวเนื่อง = MRR
? คงที่ร้อยละ 3 ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี สำหรับผู้กู้ที่มีรายได้/เดือน/คนเกิน 25,000 บาท ปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญากู้เงิน
- ลูกค้ารายย่อย = MRR - ร้อยละ 0.50 ต่อปี
- ลูกค้าสวัสดิการหักเงินเดือน = MRR - ร้อยละ 1.00 ต่อปี
- กรณีซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวเนื่อง = MRR ตั้งแต่ปีที่ 1 จนถึงตลอดอายุสัญญากู้เงิน	ปีที่ 1 - ปีที่ 4 คงที่ร้อยละ 1.99 ต่อปี
ปีที่ 5 - ปีที่ 7 = MRR - ร้อยละ 2.00 ต่อปี
ปีที่ 8 จนถึงตลอดอายุสัญญากู้เงิน
- ลูกค้ารายย่อยทั่วไป = MRR - ร้อยละ 0.75 ต่อปี
- ลูกค้าสวัสดิการหักเงินเดือน = MRR - ร้อยละ 1.00 ต่อปี
- กรณีซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวเนื่อง = MRR
ระยะเวลาดำเนินโครงการ	ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและสิ้นสุดการทำนิติกรรม เมื่อ ธอส. ให้สินเชื่อเต็มตามกรอบวงเงิน ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 30 ธันวาคม 2564 	ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีโครงการบ้านล้านหลังในครั้งนี้ จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2566 หรือก่อนกำหนดระยะเวลาดังกล่าว หาก ธอส. ให้สินเชื่อเต็มตามกรอบวงเงินของโครงการแล้ว
		หมายเหตุ : หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน
                     2561 12 มีนาคม 2562 และ 16 มิถุนายน 2563
		3. จากการเสนอขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีโครงการบ้านล้านหลังเพื่อดำเนินโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 ธอส. จะขอรับการชดเชยจากรัฐบาลสำหรับส่วนต่างระหว่างรายได้ดอกเบี้ยรับตามแผนวิสาหกิจของ ธอส. กับรายได้ดอกเบี้ยรับจากโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 เพิ่มเติมอีก จำนวน 700 ล้านบาท โดยนำไปรวมกับเงินชดเชยภายใต้กรอบงบประมาณส่วนที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายจากโครงการบ้านล้านหลัง จำนวน 1,453.84 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 ทั้งนี้ ธอส. จะทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความเหมาะสมและความจำเป็นต่อไป และขอไม่นับรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non - Performing Loans : NPLs) ที่เกิดจากการดำเนินโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 ในการคำนวณตัวชี้วัดด้านความสามารถในการบริหาร NPLs ตามบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ



17. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 32/2564
 		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คณะกรรมการฯ) เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรอง การใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 32/2564 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 ที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อเสนอแนวทางการดำเนินการตามมาตรา 6 วรรคสาม (ครั้งที่ 8) การพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน พื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563  (พระราชกำหนดฯ) และการพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ดังนี้
 		1. อนุมัติให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5 (3) มาใช้เพื่อการตามมาตรา 5 (2) เพิ่มเติม (ครั้งที่ 8) จำนวน 862.2055 ล้านบาท เพื่อรองรับการดำเนินการตามมาตรการช่วยเหลือ เยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดตามข้อเสนอของกระทรวงแรงงาน ทั้งนี้ ภายหลังการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้กรอบวงเงินกู้คงเหลือเพื่อการตามมาตรา 5 (2) เพิ่มขึ้นเป็น 862.2055 ล้านบาท และกรอบวงเงินกู้คงเหลือเพื่อการตามมาตรา 5 (3)  ลดลงเป็น 3,129.8927 ล้านบาท
 		2. อนุมัติให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการย่อยภายใต้แผนเร่งรัดการเข้าถึงวัคซีน COVID-19 ส หรับประชาชนไทย กรอบวงเงินรวม 1,810.6800 ล้านบาท โดยให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจากเดิมสิ้นสุดเดือนกันยายน 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 และให้เปลี่ยนแปลงรายการ ใช้เงินเหลือจ่าย และยกเลิกรายการ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เห็นชอบแล้ว ทั้งนี้ เห็นควรให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด
 		3. มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข กำกับติดตามหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ภายใต้แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เร่งดำเนินการแผนงาน/โครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยในกรณีที่พิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินการต่อเนื่องและไม่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้เร่งจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาตามขั้นตอนข้อ 18 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ) ตามขั้นตอนต่อไป
 		4. อนุมัติให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็น สาระสำคัญของโครงการภายใต้แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุขฯ จำนวน 3 โครงการ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เห็นชอบแล้ว ทั้งนี้ เห็นควรให้กรม ควบคุมโรค ดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด
 		5. อนุมัติให้สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็น สาระสำคัญของโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจาก มาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งเป็นการปรับปรุงจำนวนนายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในพื้นที่ 29 จังหวัดให้เป็นปัจจุบันและเพิ่มจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้ลงทะเบียนเพิ่มเติม เพื่อให้ครอบคลุมผู้ประกอบการและแรงงานในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐทำให้กรอบวงเงินของโครงการฯ เพิ่มขึ้นจาก 17,050.4145 ล้านบาท เป็น 17,912.6200 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นจำนวน 862.2055 ล้านบาท โดยใช้จ่ายภายใต้แผนงานหรือโครงการกลุ่มที่ 2 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ และขยายระยะเวลาในการเบิกจ่ายและดำเนินโครงการฯ จากเดิม ไม่เกินวันที่ 29 ตุลาคม 2564 เป็น ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้ เห็นควรให้สำนักงานประกันสังคม และกระทรวงแรงงาน ดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด
 		6. อนุมัติให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการฯ โดยเป็นการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ จากเดิมตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 เป็นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 และรับทราบการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของโครงการฯ ให้สามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้แก่อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นได้เท่าที่จ่ายจริงและสามารถถัวจ่ายได้ทุกรายการในอัตราคนละไม่เกิน 9,500 บาท โดยให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้ เห็นควรให้กระทรวงมหาดไทย และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น  ดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด
 		7. อนุมัติให้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกาญจนบุรี กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการฯ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว และอนุมัติให้จังหวัดตาก จังหวัดสงขลา และจังหวัดสกลนคร เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการฯ และอนุมัติให้จังหวัดระนอง ยุติการดำเนินกิจกรรมย่อย จำนวน 2 กิจกรรม วงเงิน 0.4215 ล้านบาท ภายใต้โครงการพัฒนาและยกระดับสถาบันเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้ เห็นควรให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด
 		8. รับทราบโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 4 รวม 14 จังหวัด จำนวน 1,434 โครงการ กรอบวงเงินรวม 3,753,782,278 บาท โดยให้ใช้จ่ายเงินจากงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ทั้งนี้ เห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบ ดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 29/2564  และกรณีที่เป็นโครงการก่อสร้าง ปรับปรุง และซ่อมแซมถนนหรือเสริมผิวทางด้วยยางพารา เห็นควรให้สำนักงบประมาณ พิจารณาความเหมาะสม เหตุผล และความจำเป็นในการดำเนินการเป็นรายเส้นทางอีกครั้ง เนื่องจากโครงการลักษณะดังกล่าวมีงบประมาณในการดำเนินการค่อนข้างสูง เพื่อให้การใช้จ่ายเกิดความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ เห็นควรมอบหมายให้จังหวัดลพบุรีและอ่างทองเร่งดำเนินการเกี่ยวกับการขอใบอนุญาต เจาะน้ำบาดาลก่อนเริ่มดำเนินโครงการเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
 		9. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบ เร่งปฏิบัติตามขั้นตอนการขอรับการจัดสรร งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และแนวทางการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564  โดยเคร่งครัด
 		10. มอบหมายให้ สศช. ประสานกับกระทรวงมหาดไทยให้เร่งจัดส่งข้อเสนอโครงการของ จังหวัดที่เหลือเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป เพื่อให้ทันกับกรอบระยะเวลาในการ ด เนินโครงการฯ ที่มีอยู่ค่อนข้างจำกัด

18. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม               พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คณะกรรมการฯ) เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดังนี้
		1. อนุมัติโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย เพิ่มเติม จำนวน 12 ล้านโดส (Sinovac) ของกรมควบคุมโรค กรอบวงเงินรวม 4,254.3600 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เพื่อรองรับการฉีดวัคซีนสูตรผสมเพื่อเพิ่มความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่รวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากปัจจุบันเป็นช่วงระยะเวลาที่วัคซีนมีจำกัด การส่งมอบวัคซีน AstraZeneca มีความคลาดเคลื่อนจากแผนที่กำหนดไว้ ขณะที่วัคซีน Pfizer คาดว่าจะเริ่มส่งมอบได้ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ประกอบกับการฉีดวัคซีนในขณะนี้เป็นการฉีดวัคซีนไขว้ระหว่างวัคซีน Sinovac และ AZ ซึ่งจะทำให้ร่นระยะเวลาการฉีดลงได้และยังทำให้เกิดภูมิคุ้มกันในระดับสูงตามผลการวิจัย ซึ่งจะช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่ประชาชน ลดอัตราการป่วย/การเสียชีวิต และลดค่าใช้จ่ายภาครัฐในการดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรคโควิด-19 รวมทั้งลดผลกระทบ/ฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจและสังคมให้กลับสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว ทั้งนี้ เห็นควรให้กรมควบคุมโรคพิจารณากำหนดเงื่อนไขของสัญญาให้มีความยืดหยุ่นในกรณีที่มีวัคซีนที่มีความสามารถต้านทานไวรัสกลายพันธ์ได้มากขึ้น ให้บริษัทฯ ส่งมอบวัคซีนรุ่นใหม่ดังกล่าวทดแทนวัคซีนเดิม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อแผนการจัดหาวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้แก่ประชาชนไทย
		2. มอบหมายให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ  (สบน.) สามารถจัดหาเงินกู้ พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 โดยเคร่งครัดตามขั้นตอนต่อไป
		3. อนุมัติโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด เพิ่มเติมจำนวน 1 เดือน ของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กรอบวงเงิน 16,103.3280 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานหรือโครงการกลุ่มที่ 2 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้ เห็นควรให้สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับข้อสังเกตเพิ่มเติมของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
		4. มอบหมายให้สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายวัน เพื่อให้ สบน. สามารถจัดหาเงินกู้ พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 โดยเคร่งครัดตามขั้นตอนต่อไป
		5. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม เร่งพิจารณาความเหมาะสมในการจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนและรถจักรยานยนต์สาธารณะที่ไม่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 เนื่องจากอายุเกินคุณสมบัติที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดไว้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของภาครัฐเป็นไปอย่างครอบคลุม

19. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 3 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 3 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 รวม 10 จังหวัด (แพร่ พิษณุโลก ตาก สุโขทัย ร้อยเอ็ด สุรินทร์ อำนาจเจริญ พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี และสระแก้ว) จำนวน 1,766 โครงการ วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 2,909,015,572 บาท ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เพื่อให้จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ในฐานะหน่วยรับงบประมาณ เป็นผู้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามขั้นตอนและแนวทางที่เคยปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยจะได้แจ้งให้จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะหน่วยรับงบประมาณ รับทราบความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ตามผลพิจารณาของคณะกรรมการฯ ในคราวประชุม ครั้งที่ 29/2564 ไปประกอบการดำเนินการตามขั้นตอน รวมทั้งจัดทำแผนการปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และยืนยันความพร้อมของโครงการ รวมถึงประมาณการค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยคำนึงถึงศักยภาพและความสามารถในการใช้จ่าย ความคุ้มค่า ประหยัด เป้าหมาย และประโยชน์ที่ทางราชการและประชาชน จะได้รับเป็นสำคัญ ตลอดจนปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายืระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วนอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะเวลาดำเนินการ และความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในทุกมิติต่อไป

20. เรื่อง การปรับอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครูสำหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครูสำหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ให้ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครูเพิ่มขึ้น 450 บาท/คน/ปี โดยปรับอัตราจาก 8,582.50 บาท/คน/ปี เป็น 9,032.50 บาท/คน/ปี เท่ากับการอุดหนุนนักเรียนในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ปลาย) เพื่อประกันรายได้ครูโรงเรียนเอกชน ให้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำที่ทางราชการกำหนด (เดือนละ 15,050 บาท) โดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
  		ทั้งนี้ ภาระงบประมาณที่เกิดจากการดำเนินงานตามแนวทางการปรับอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคล ในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครูสำหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชน ประเภทอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรดังกล่าว เห็นควรที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจะพิจารณาใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับในโอกาสแรก โดยพิจารณาดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดค่าใช้จ่ายในภาพรวมที่รัฐอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และค่าใช้จ่ายในส่วนเงินสมทบเป็นเงินเดือนครู ตามที่เบิกจ่ายจริงในปีงบประมาณที่ผ่านมา และเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตลอดจนการตรวจสอบสถานะจำนวนนักเรียนและโรงเรียนเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาภาพรวมของค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยพิจารณาเงินนอกงบประมาณ รวมถึงรายได้หรือเงินอื่นใดที่มีอยู่หรือสามารถนำมาใช้จ่ายสมทบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
  		สาระสำคัญของเรื่อง
  		กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รายงานว่า
		1. ปัจจุบันอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครูสำหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชนมีความเหลื่อมล้ำ โดยโรงเรียนเอกชนประเภทอาชีวศึกษา ระดับ ปวช. มีอัตราต่ำกว่าเงินอุดหนุนนักเรียนในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ระดับ ม.ปลาย จำนวน 450 บาท/คน/ปี
		2. คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครูสำหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชน ประเภทอาชีวศึกษาระดับ ปวช. ให้ได้รับเท่ากับการอุดหนุนนักเรียนในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษาระดับ ม.ปลาย โดยการปรับเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครูสำหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา ระดับ ปวช. ให้ได้รับเท่ากับการอุดหนุนนักเรียนในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ระดับ ม.ปลาย เพื่อประกันรายได้ครูโรงเรียนเอกชนให้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำที่ทางราชการกำหนด โดยปรับอัตราจาก 8,582.50 บาท/คน/ปี เป็น 9,032.50 บาท/คน/ปี ซึ่งจะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นปีละ 97,419,600 บาท (ประมาณการจำนวนนักเรียนในโรงเรียนเอกชนประเภทอาชีวศึกษาจำนวน 216,488 คน) โดย ศธ. ขอตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จะใช้จ่ายจากงบประมาณของ สอศ. (แผนงานยุทธศาสตร์สร้างความเสมอภาค              ทางการศึกษา โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของอาชีวศึกษาเอกชน งบเงินอุดหนุน ค่าจัดการเรียนการสอน)


ต่างประเทศ

21. เรื่อง การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภายใต้กรอบ             ความร่วมมือสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) ภายใต้กรอบความร่วมมือสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย (บันทึกความเข้าใจฯ) โดยให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนยาดย่อม (สสว.) เสนอ
		บันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์และสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ	รายละเอียด
วัตถุประสงค์	เพื่อเสริมสร้างโอกาสและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เพื่อให้ SMEs ได้มีโอกาสจากการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนร่วม หน่วยงานดำเนินการ สมาคมและสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ มาตรฐานการผลิตและบริการ การแข่งขันผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยี การค้าอิเล็กทรอนิกส์และเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ
แนวทางความร่วมมือ	ผู้มีส่วนร่วมจะร่วมมือกับข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ได้เห็นชอบร่วมกัน โดยเป็นไปตาม
กฎหมายและกฎระเบียบในด้านต่าง ๆ เช่น
1) พัฒนาความเชื่อมโยงและความร่วมมือระหว่างสถาบันที่ทำงานด้านการพัฒนาของ SMEs สมาคมอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัย รวมทั้ง หน่วยร่วมดำเนินการและ SMEs ของผู้มีส่วนร่วมในด้านต่าง ๆ
2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการ SMEs ในเวทีธุรกิจ งานแสดงสินค้า
งานสัมมนาและเวทีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) แลกเปลี่ยนบทเรียนที่ได้เรียนรู้ในการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจสำหรับ SMEs
และผู้ประกอบการ รวมถึงแบ่งปันแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ได้มาตรฐาน การรับรอง
และการเข้าถึงเทคโนโลยี
4) ส่งเสริมเยาวชน คนพิการ และสตรีในการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง
การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนผู้ประกอบการ
5) สนับสนุน SMEs ในการหาโอกาสและตลาดในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย
6) แบ่งปันวิถีปฏิบัติที่เป็นเสิศในการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันผ่านนวัตกรรม
และเทคโนโลยี รวมถึงการค้าอิเล็กทรอนิกส์และเศรษฐกิจดิจิทัล
ความเห็นการแก้ไขและระยะเวลา	1) มีผลบังคับใช้เมื่อมีการลงนามอย่างน้อยผู้มีส่วนร่วม 5 ราย และจะมีผลบังคับใช้
ต่อผู้มีส่วนร่วมนับจากวันที่ลงนาม
2) จะมีผลบังคับใช้ตลอดไปเว้นแต่ผู้มีส่วนร่วมถอนตัว โดยมีลายลักษณ์อักษร
เห็นชอบร่วมกัน

22. เรื่อง การเพิ่มเงินอุดหนุนเงินสมทบเพื่อดำเนินงานของคณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับสำรวจทรัพยากรธรณีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ (Coordinating Committee for Geoscience Programmes in East and Southeast Asia: CCOP)
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเพิ่มเงินอุดหนุนเงินสมทบเพื่อดำเนินงานของคณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับสำรวจทรัพยากรธรณีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ หรือ Coordinating Committee for Geoscience Programmes in East and Southeast Asia  (CCOP) เป็นเงินจำนวน 50,000ดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไปเป็นประจำทุกปี จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ

		สาระสำคัญของเรื่อง
		ทส. แจ้งว่า CCOP เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลที่มีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างความร่วมมือ                ในการพัฒนาความรู้และระบบข้อมูลทางธรณีวิทยา เพื่อการวางแผนการพัฒนาทรัพยากรธรณี การจัดการธรณีพิบัติภัยและสิ่งแวดล้อมของประเทศสมาชิก โดยปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 16 ประเทศ เช่น บรูไน กัมพูชา ญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย เป็นต้น ซึ่งการที่ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก CCOP นั้น จะทำให้ไทยได้ประโยชน์ ดังนี้

หัวข้อ	รายละเอียด
1.โครงการที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ	CCOP ได้ดำเนินโครงการเพื่อการวางแผนการพัฒนาทรัพยากรธรณีอย่างยั่งยืน เช่น  การพัฒนาเครือข่ายอุทยานธรณี การจัดการฐานข้อมูลน้ำบาดาล การลดการกัดเซาะชายฝั่ง การกักเก็บและใช้ประโยชน์คาร์บอนเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก เป็นต้น

2.การพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการและเสริมสร้างสมรรถนะให้แก่บุคลากร	CCOP ได้ดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมพัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างสมรรถนะให้แก่บุคลากรของประเทศและประเทศสมาชิกให้มีทักษะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญประสบการณ์ และการทำงานในระดับนานาชาติแล้วอย่างน้อย 700 รายการ (ไทยได้ส่งบุคลากรจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมมาแล้ว ประมาณ 5,500 คน) ซึ่งก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือและความสัมพันธ์             อันดี ระหว่างบุคลากรทั้งในระดับหน่วยงานและระดับนานาประเทศที่เกี่ยวข้อง
3. การกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ และการสร้างงานและรายได้	การที่สำนักงานเลขาธิการ CCOP ตั้งอยู่ในไทยทำให้โครงการของ CCOP
อย่างน้อย 1 ใน 3 ดำเนินการในไทย ส่งผลให้มีวงเงินใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ และมีการจ้างงานเจ้าหน้าที่ที่เป็นคนไทยเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานเลขาธิการ CCOP อีกทั้งยังต่อยอดไปสู่การจัดหาแหล่งวัตถุดิบเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
4. การสร้างเครือข่ายประสานความร่วมมือ	เกิดเครือข่ายประสานความร่วมมือระดับทวิภาคีระหว่างประเทศสมาชิก
และประเทศที่ให้ความสนับสนุน ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือทางวิชาการ
ระหว่างประเทศ


23. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-คงคา ครั้งที่ 11
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-คงคา ครั้งที่ 11และพิจารณามอบหมายให้ส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามตารางติดตามผลการประชุมฯ ต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
		สาระสำคัญของเรื่อง
		รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ได้มอบหมายให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ (นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี) เข้าร่วมการประชุมฯ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2564  ผ่านระบบการประชุมทางไกล สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. ผลการประชุมฯ
			1.1 ที่ประชุมฯ ชื่นชมพัฒนาการของกรอบความร่วมมือฯ ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ตลอดจนบทบาทของสาธารณรัฐอินเดีย (อินเดีย) ในการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะโครงการที่ได้ผลเร็ว การจัดสรรสินเชื่อในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านความเชื่อมโยง สาธารณูปโภค ชลประทาน และการศึกษา รวมทั้งการจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อส่งเสริมการลงทุนของอินเดียในประเทศลุ่มน้ำโขง
			1.2 ไทยมีข้อเสนอแนะในประเด็นต่าง ๆ เช่น การเร่งส่งเสริมความสำคัญของกรอบความร่วมมือฯ ในเชิงยุทธศาสตร์และผลักดันความร่วมมือระหว่างอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับอินเดียให้มีผลงานอย่างเต็มศักยภาพ การจัดทำแผนปฏิบัติการฉบับใหม่ทดแทนฉบับเดิมที่จะสิ้นสุดในปี 2565 และการกำหนดประเทศผู้ขับเคลื่อนหลักของสาขาความร่วมมือให้ครบทั้ง 10 สาขา โดยไทยพร้อมจะเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในสาขาสาธารณสุขและการแพทย์แผนดั้งเดิม และสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพิ่มเติมจากเดิมที่ไทยเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในสาขาการท่องเที่ยว
			1.3 ที่ประชุมฯ ได้หารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินความร่วมมือร่วมกันในอนาคต เช่น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) การเร่งรัดการพัฒนาโครงการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมอินเดีย-เมียนมา-ไทย (โครงการถนนสามฝ่าย) การจัดเวทีหารือภาคธุรกิจของกรอบความร่วมมือฯ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคดิจิทัล และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาและวัฒนธรรม
			1.4 ที่ประชุมฯ ได้รับรองถ้อยแถลงร่วมการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-คงคา ครั้งที่ 11 โดยสาระสำคัญของเอกสารไม่แตกต่างจากร่างเอกสารฯ ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบไว้                     (20 กรกฎาคม 2564)
		2. กต. มีข้อสังเกตและข้อมูลเพิ่มเติมว่า กรอบความร่วมมือฯ เน้นความช่วยเหลือที่อินเดียให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านของไทย โดยไทยสามารถร่วมกับอินเดียในการฟื้นคืนกรอบความร่วมมือฯ ให้มีบทบาทสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์มากขึ้นอย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งส่งเสริมการสอดประสานกับกรอบความร่วมมืออื่น ๆ โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) และความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTEC)
		3. ผลการประชุมฯ และเอกสารผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานในอนาคตของกรอบความร่วมมือฯ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหน่วยงานไทย เช่น การจัดทำแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี ฉบับใหม่ การเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่บุคลากรด้านสาธารณสุข และการเร่งรัดโครงการถนนสามฝ่าย จึงมีประเด็นที่ต้องมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง (กค.)  กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)  กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)  กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

24.  เรื่อง ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคด้านการปฏิรูปโครงสร้าง (APEC Structural Reform
Ministerial Meeting: SRMM) ครั้งที่ 3 ผ่านระบบการประชุมทางไกล
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคด้านการปฏิรูปโครงสร้าง
(APEC Structural Reform Ministerial Meeting: SRMM) ครั้งที่ 3  โดยมอบหมายให้ สศช. ดำเนินการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการยกระดับและขับเคลื่อนการยกระดับวาระการปฏิรูปโครงสร้างเอเปคสำหรับปี 2564-2568  (Enhanced APEC Agenda for Structural Reform: EAASR) และแผนปฏิบัติการเอเปค เรื่องความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจระยะที่ 3 รวมทั้งการสร้างความชัดเจนถึงบทบาทของประเทศไทย (ไทย) เอเปคโดยยึดเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นสำคัญ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ
		สาระสำคัญของเรื่อง
		รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยในการประชุม SRMM ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2564  ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีนิวซีแลนด์เป็นเจ้าภาพการประชุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. รัฐมนตรี SRMM ได้หารือและแลกเปลี่ยนในประเด็นต่าง ๆ ประกอบด้วย
			1.1 แนวทางการฟื้นตัวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง โดยเลขาธิการองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้นำเสนอแนวทางการจัดทำนโยบายเชิงโครงสร้างเพื่อการฟื้นฟูภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19) ซึ่งจะเป็นรากฐานในการเสริมสร้างความเท่าเทียมและยั่งยืนของเขตเศรษฐกิจในอนาคต โดยเขตเศรษฐกิจควรคำนึงถึง 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ (1) การสร้างความยืดหยุ่นและความยั่งยืน (2) การอำนวยความสะดวกในการจัดสรรทรัพยากรในการเพิ่มผลิตภาพและส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และ (3) การสนับสนุนประชากรในช่วงเปลี่ยนผ่าน
			1.2 ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและจุลภาคที่ส่งเสริมการฟื้นตัวอย่างมีประสิทธิภาพจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ทั้งนี้ รัฐมนตรี SRMM ได้ตระหนักถึงความสำคัญของทั้งนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและเศรษฐกิจจุลภาคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างครอบคลุมและยั่งยืน
ที่ประชุมฯ ได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีเป้าหมายชัดเจน
ผ่านการปฏิรูปตลาดและนโยบายทางการเงิน รวมถึงการใช้นวัตกรรมทางการเงินสีเขียวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยตั้งเป้าไปที่การลงทุนในโครงการหรืออุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  ตลอดจนการสนับสนุนการลงทุนและการจ้างงานของภาคเอกชนและ MSMEs เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการจัดทำมาตรการการคุ้มครองทางสังคม ตลอดจนสิทธิขั้นพื้นฐานที่มีความครอบคลุมและทั่วถึง
		2. รัฐมนตรี SRMM ได้รับรองแถลงการณ์ร่วมฯ รวมทั้งให้ความเห็นชอบในหลักการต่อเอกสาร
สำคัญ 2 ฉบับ ได้แก่ (1) การยกระดับวาระการปฏิรูปโครงสร้างเอเปคปี 2564 - 2568  ซึ่งมุ่งเน้นการสนับสนุนให้เขตเศรษฐกิจดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อกระตุ้นการเติบโต ขจัดอุปสรรคด้านการลงทุนและการประกอบธุรกิจ รวมถึงเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และ (2) แผนปฏิบัติการเอเปค เรื่องความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจระยะที่ 3 ซึ่งให้ความสำคัญใน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ การเข้าถึงเครดิต  การบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง การคุ้มครองผู้ลงทุนเสียงข้างน้อย การจดทะเบียนทรัพย์สิน และการแก้ไขปัญหาการล้มละลาย โดยได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาตัวชี้วัดอยู่ที่ร้อยละ 12  ภายในปี 2568
  		ทั้งนี้  ข้อเสนอของรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) ประกอบด้วย
1. เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะยาวผ่านการปฏิรูป
โครงสร้างที่มีประสิทธิภาพ โดยประเทศไทย (ไทย) ให้ความสำคัญกับนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อต่อสู้กับสภาวะโลกร้อน หรือการก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
		2. แลกเปลี่ยนแนวทางที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของไทย ซึ่งประกอบด้วย               5 แนวทางที่สำคัญ ได้แก่ (1) การดำเนินการตามแผน 30/30 จะผลิตรถยนต์ที่ไม่ปล่อยมลพิษ ร้อยละ 30 ภายใน
ปี 2573 (2) การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนที่มีต้นทุนที่แข่งขันได้ เป็นธรรม และเข้าถึงได้ (3) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทุกสาขาร้อยละ 30 ภายในปี 2580 ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน (4) การผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG)  ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติของไทยในการพื้นตัวอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหลังสถานการณ์โควิด-19 และ (5) การส่งเสริมการเพิ่มสัดส่วนพื้นที่ป่าและพื้นที่สีเขียวทั่วประเทศ

25.  เรื่อง ผลการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้าและกลไกสนับสนุนอื่น ๆ เพื่ออำนวยความร่วมมือหลังจากเสร็จสิ้นการทบทวนนโยบายการค้าระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการค้าระหว่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้าและกลไกสนับสนุนอื่น ๆ เพื่ออำนวยความร่วมมือหลังจากเสร็จสิ้นการทบทวนนโยบายการค้าระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการค้าระหว่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ  ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
		สาระสำคัญ ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย
		1. กระทรวงพาณิชย์ได้หารือกับกระทรวงการค้าระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักรเพื่อหาข้อสรุปการจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ ร่วมกัน โดยฝ่ายไทยได้ขอปรับแก้ถ้อยคำให้สอดคล้องตามความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศด้วยแล้ว และสองฝ่ายเห็นชอบในหลักการร่วมกัน ดังนี้
		หน้า 3 ย่อหน้าที่ 7 ?This Memorandum will come into effect on the date Of Signature its signing via a virtual ceremony by the Participants.?
		ส่วนการลงนาม "Signed In duplicate at.. on the?day of?.. on 29th  March 2021 in
the English language, both texts having equal validity.
		ทั้งนี้ การปรับแก้ไขถ้อยคำของบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว เป็นไปเพื่อเพิ่มความชัดเจนของถ้อยคำในการมีผลใช้บังคับและอำนวยความสะดวกต่อการลงนามในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นประโยชน์และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ ที่มุ่งส่งเสริม อำนวยความสะดวก และพัฒนาความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจระหว่างไทยและสหราชอาณาจักร โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน  2558 (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
		2. ในการนี้ ฝ่ายไทยและฝ่ายสหราชอาณาจักรได้จัดทำเอกสารบันทึกความเข้าใจฯ เป็นคู่ฉบับแต่ละฝ่าย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรงพาณิชย์ (นายจุริทร์ ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักร (นางเอลิซาเบธ ทรัส) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ในรูปแบบออนไลน์เมื่อวันที่             24 มีนาคม 2564 และส่งเอกสารบันทึกความเข้าใจ ฯ ให้อีกฝ่ายลงนามผ่านช่องทางการทูต โดย พณ. ได้รับบันทึกความเข้าใจ ฯ ลงนามเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 และเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ลงนามแล้ว

26.  เรื่อง การประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ครั้งที่ 7 (7th GMS Summit) ผ่านระบบการประชุมทางไกล
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (The Greater Mekong Subregion Economic Coordination : GMS) ครั้งที่ 7 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ได้แก่ 1) ร่างปฏิญญาร่วมระดับผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 7 2) ร่างกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พ.ศ. 2573 และ 3) ร่างเอกสารแผนการฟื้นฟูและตอบสนองต่อผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พ.ศ. 2564 ? 2566 ซึ่งเป็นการรับรองโดยไม่มีการลงนาม โดยให้ สศช. สามารถปรับปรุงถ้อยคำในร่างปฏิญญาร่วมระดับผู้นำฯ ได้ในกรณีที่มิใช่การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบอีก รวมทั้งให้นายกรัฐมนตรีร่วมกับผู้นำประเทศลุ่มแม่น้ำโขงให้การรับรองเอกสารผลลัพธ์ทั้ง 3 ฉบับ โดยไม่มีการลงนาม ในการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงาน GMS ครั้งที่ 7 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ในวันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน 2564ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ
		สาระสำคัญของเรื่อง
		1. การประชุมสุดยอดผู้นำแผนงาน GMS ครั้งที่ 7 ผ่านระบบการประชุมทางไกลมีกำหนดจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน 2564 ภายใต้หัวข้อหลัก ?แผนงาน GMS : พลิกฟื้นความแข็งแกร่งเพื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายในทศวรรษใหม่? ซึ่งราชอาณาจักรกัมพูชาร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงาน GMS ได้จัดส่งหนังสือกลาง (Note Verbale) ผ่านช่องทางทางการทูตเพื่อเชิญนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวและนายกรัฐมนตรีได้ตอบรับเข้าร่วมการประชุมเรียบร้อยแล้ว
		2. ประเด็นหารือและข้อเสนอของประเทศไทยในการประชุมฯ จะเน้นย้ำเจตนารมณ์การพัฒนาแผนงาน GMS ภายใต้วิสัยทัศน์ ?การเป็นอนุภูมิภาคที่มีการบูรณาการมากขึ้น มีความเจริญรุ่งเรือง มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ และไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง? โดยสานต่อความสำเร็จของเสาหลักความร่วมมือ 3 ด้าน (3Cs) อย่างต่อเนื่อง คือ ด้านความเชื่อมโยง (Connectivity) ด้านความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) และด้านความเป็นประชาคม (Community)
		3. เอกสารผลลัพธ์ที่จะมีการรับรองในการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงาน GMS ครั้งที่ 7 ผ่านระบบการประชุมทางไกล รวม 3 ฉบับ ได้แก่
			1) ร่างปฏิญญาร่วมระดับผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 7 มีสาระสำคัญเป็นการยืนยันความมุ่งมั่นต่อการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืนในอนุภูมิภาค GMS ผ่านการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่เท่าเทียม เปิดกว้าง ครอบคลุม ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
			2) ร่างกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พ.ศ. 2573 (GMS 2030) ได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาอนุภูมิภาคในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยมีวัตถุประสงค์ให้แผนงาน GMS            มีกลไกเชิงยุทธศาสตร์มากขึ้น เพื่อสนับสนุนการหารือเชิงนโนบายในระดับสูง การส่งเสริมการทำงานร่วมกันและการกำหนดมาตรฐานด้านกฎระเบียบให้เป็นแบบเดียวกัน เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการสาธารณะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
			3) ร่างเอกสารแผนการฟื้นฟูและตอบสนองต่อผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ              โรคโควิด -19 พ.ศ. 2564 -2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือของประเทศสมาชิกในประเด็นที่ต้องอาศัยการบูรณาการในระดับอุนภูมิภาค เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการแพร่ระบาดฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
		ทั้งนี้การเข้าร่วมการประชุมระดับสุดยอดผู้นำแผนงาน GMS จะเป็นโอกาสของประเทศไทย เช่น  (1) นำเสนอบทบาทความเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาคและการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาในภูมิภาค และ (2) หารือแนวทางการฟื้นฟูและพัฒนาอนุภูมิภาค GMS ภายหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19

27.  เรื่อง การร่วมรับรองและให้ความเห็นชอบเอกสารและท่าทีไทยในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 53 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
		1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะให้การรับรองและให้ความเห็นชอบ จำนวน 14 ฉบับ  และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าว ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
		2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองเอกสารในข้อ 1) จำนวน 3 ฉบับ และให้ความเห็นชอบเอกสารในข้อ 2) จำนวน 11 ฉบับ ในฐานะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM)
		3. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองเอกสารร่างกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป
		4. เห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมแสดงความยินดีต่อเจตจำนงการขอเข้าร่วมสมาชิกความตกลง AANZFTA ของชิลี และไม่ขัดข้องหากภาคีสมาชิกเห็นชอบให้เพิ่มข้อบทในการเปิดรับสมาชิกใหม่เป็นการทั่วไป (open accession clause)
		สาระสำคัญของร่างเอกสารที่จะให้การรับรองและให้ความเห็นชอบ
		กระทรวงพาณิชย์ขอเสนอเอกสารจำนวน 14 ฉบับ ที่จะมีการรับรอง จำนวน 3 ฉบับ และให้ความเห็นชอบจำนวน 11  ฉบับ ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 53 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ ดังนี้
			1) ร่างเอกสารที่จะให้การรับรอง จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้
				1.1 ร่างกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นการกำหนดขอบเขตงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นแนวทางที่อาเซียนสามารถนำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ประกอบด้วยมาตรการสำคัญเชิงกลยุทธ์ 5 ด้าน ได้แก่ (1) การปรับประสานมาตรฐานและการยอมรับร่วมกันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการแบบหมุนเวียน (2) การเปิดกว้างทางการค้าและการอำนวยความสะดวกในการค้าสินค้าและการค้าบริการ (3) ส่งเสริมบทบาทของนวัตกรรม การใช้ประโยซน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล เทคโนโลยีสีเขียวและเทคโนโลยีใหม่ ๆ              (4) ส่งเสริมระบบการเงินที่แข่งขันได้อย่างยั่งยืน และการลงทุนที่มีนวัตกรรม (5) การใช้พลังงานและทรัพยากรอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
				1.2 ร่างแผนงานบันดาร์เสรีเบกาวัน เป็นข้อเสนอของบรูไนดารุสซาลามเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการในระยะสั้นและกลาง ระหว่างปี 2564-2568 ในการสนับสนุนวาระการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นดิจิทัลของอาเซียน โดยเร่งกระบวนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการบูรณาการด้านดิจิทัลของอาเซียน แบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การฟื้นฟู (Recovery) (2564-2565)  ระยะที่ 2 การเร่งขับเคลื่อนการดำเนินการให้มีความคืบหน้า (Acceleration) (2565-2567) และระยะที่ 3 การเปลี่ยนแปลง (Transformation) (2568)
				1.3 ร่างแถลงการณ์ร่วมเรื่องการเสริมสร้างความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจ ในโอกาสครบรอบ 30 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-จีน เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ระหว่างอาเซียนและจีนในการขยายความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน อาทิ การส่งเสริมการจัดตั้งกลไกหารือสำหรับภาคอุตสาหกรรมในสาขาต่าง ๆ เช่น อาหาร ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เภสัชกรรม ยานยนต์ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การให้ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ให้สามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีอาเซียน- จีน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมความร่วมมือเชิงลึกด้านการค้าและเศรษฐกิจในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่ออำนวยความสะดวกในการผลิตและการเข้าถึงยาและวัคซีน  แนวทางการยกระดับความตกลงการค้าเสรี               อาเซียน-จีน ให้มีความทันสมัย ครอบคลุม และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศสมาชิก ตลอดจนการเสริมสร้างความร่วมมือภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เพื่อให้สามารถมีผลใช้บังคับภายในวันที่ 1 มกราคม 2565 ตามที่กำหนดไว้
		2) ร่างเอกสารที่จะให้ความเห็นชอบ จำนวน 11 ฉบับ ดังนี้
			2.1 ร่างการพัฒนาแผนการดำเนินการในการปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยพาณิชย์                   อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน  จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดขั้นตอนที่ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องดำเนินการในระยะ 5 ปี (2564-2568) สำหรับการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงฯ และสร้างความมั่นใจว่าการขยายตัวด้านดิจิทัลของอาเซียนจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนโอกาสในการเติบโตต่อไปในอนาคต โดยข้อเสนอและกิจกรรมภายใต้แผนการดำเนินการฯ จะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย และสามารถปรับปรุงได้ในอนาคต เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และนวัตกรรมดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
			2.2 ร่างบัญชีรายการสินค้าจำเป็นในกลุ่มสินค้าอาหารและสินค้าเกษตร อาทิ สัตว์น้ำ พืชผัก อาหารแปรรูป จำนวน 107 รายการ เพื่อขยายรายการสินค้าเพิ่มเติมในบัญชีแนบท้ายบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการดำเนินการมาตรการที่มิใช่ภาษีสำหรับสินค้าจำเป็นภายใต้แผนปฏิบัติการฮานอยว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานของอาเซียนให้เข้มแข็งในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat)              ครั้งที่ 27 ระหว่างวันที่ 2-3 มีนาคม 2564 ที่ให้ขยายรายการสินค้าจำเป็นแนบท้ายบันทึกความเข้าใจฯ ที่ประเทศสมาชิกจะไม่ริเริ่ม หรือคงมาตรการที่มิใช่ภาษีที่จำกัดการค้าต่อสินค้าจำเป็นเท่าที่จะทำได้ ไปยังสินค้าเกษตรและอาหารพื้นฐานอย่างน้อย 100 รายการ โดยไม่ได้มีการแก้ไขสาระของบันทึกความเข้าใจ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เคยให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 อนึ่งบันทึกความเข้าใจฯ ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย และทุกประเทศยังคงสิทธิดำเนินการได้ตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) และความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement : ATIGA) ทุกประการ
			2.3 ร่างเอกสารเครื่องมือในการประเมินต้นทุน ? ประสิทธิภาพของมาตราการที่มิใช่ภาษีสำหรับอาเซียน  มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือหรือแนวทางแก่อาเซียนในการประเมินประสิทธิภาพของมาตรการที่มิใช่ภาษี (Non-tariff Measure: NTMs) ที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน รวมกำหนดแนวทาง การปรับปรุงมาตรการ NTMs ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยต้นทุนการดำเนินการที่น้อยที่สุดโดยการนำไปปฏิบัติจะอยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจ (voluntary basis)
			2.4 ร่างภาคผนวก 7 และภาคผนาก 8 ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน เป็นการปรับปรุงแก้ไขข้อบทระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า และหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (CO Form) เพื่อใช้สิทธิพิเศษทางภาษีของอาเซียนให้รองรับบริบททางการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิ เพิ่มเติมข้อบทเพื่อรองรับการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ออกโดยประเทศผู้ส่งออกคนกลาง กรณีที่มีหลักฐานรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าฉบับแรกมากกว่า 1 ฉบับ การยกเลิกการทำสำเนาหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบคาร์บอน และการยกเลิกการระบุช่องโครงการความร่วมมือทางอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Cooperation Scheme: AICO) ในหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เนื่องจากโครงการดังกล่าวได้ถูกยุติลงแล้ว
			2.5 ร่างดัชนีการบูรณาการด้านดิจิทัลของอาเซียน เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามดัชนีบูรณาการด้านดิจิทัลของอาเซียน เพื่อใช้วัดประสิทธิภาพและผลกระทบของการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการด้านดิจิทัลของอาเซียน ประกอบด้วย 6 ดัชนีหลัก ได้แก่ โลจิสติกส์และการค้าดิจิทัล การคุ้มครองข้อมูล และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การชำระเงินดิจิทัลและตัวตนดิจิทัล ทักษะดิจิทัลและผู้มีความสามารถด้านดิจิทัล นวัตกรรมและผู้ประกอบการ และความพร้อมเชิงสถาบันและโครงสร้างพื้นฐาน โดยรายงานฯ จะใช้เป็นแนวทางการดำเนินการในระยะต่อไปของอาเซียนในการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) โดยนำเสนอผลการศึกษาที่สำคัญ และข้อเสนอแนะในการเสริมความแข็งแกร่งในการบูรณาการด้านดิจิทัลในภูมิภาค
			2.6 ร่างแผนการดำเนินงานภายใต้กรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา และการขยายการมีส่วนร่ามทางเศรษฐกิจ ปี 2564 - 2565  เป็นแผนงานความร่วมมือภายใต้กรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา ที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่                    25 สิงหาคม 2549 ซึ่งช่วยสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ โดยแผนงานดังกล่าวจะดำเนินงานต่อเนื่องในระยะปี 2564 - 2565 ประกอบด้วยความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ การค้าดิจิทัล  แนวทางความโปร่งใสการจัดทำกฎระเบียบที่ดี การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การเชื่อมโยงระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์                  ณ จุดเดียวของอาเซียน การอำนวยความสะดวกทางการค้า การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมและรายย่อย ความร่วมมือด้านกฎระเบียบเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร แรงงาน และสิ่งแวดล้อม
			2.7 ร่างแผนงานความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอาเซียนบวกสาม ปี 2564 - 2565 เป็นแผนงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้)  โดยดำเนินกิจกรรมสำคัญ เช่น การจัดประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนบวกสามเพื่อหารือเกี่ยวกับการเพิ่มความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกัน การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีอาเซียนกับคู่เจรจา โดยเฉพาะ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแบ่งปันแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการค้าและ             การลงทุนระหว่างอาเซียนบวกสาม การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) การติตตามการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการอาเซียนบวกสามเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
			2.8 ร่างแผนงานความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน อาเซียน-รัสเซีย เป็นแผนงานความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนกับรัสเซีย มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนและรัสเชีย สนับสนุนความร่วมมือในสาขาที่มีความสนใจร่วมกันในด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน รวมถึงด้านกฎระเบียบทางเทคนิค มาตรฐานและกระบวนการประเมินความสอดคล้องมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรการเยียวยาทางการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และด้านอื่น ๆ
			2.9 ร่างแผนดำเนินงานด้านการค้าและการลงทุนอาเซียน-รัสเซีย สำหรับปี 2564 - 2568 เป็นแผนการดำเนินงานด้านการค้าและการลงทุนอาเซียน-รัสเซีย สำหรับปี 2564 - 2568 ภายใต้แผนงานความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน อาเซียน-รัสเชีย โดยกำหนดกิจกรรมและการดำเนินงานพร้อมกรอบระยะเวลา
			2.10 ร่างแผนงานภายใต้บทที่ 9 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการของความตกลงการค้าเสรี อาเซียน ? ฮ่องกง  เป็นเอกสารอ้างอิงในการให้แนวทางสำหรับการดำเนินงานของโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (ECOTECH) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุม 5 สาขา ได้แก่ พิธีการศุลกากร บริการวิชาชีพ การอำนวยความสะดวกทางการค้า/โลจิสติกส์ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยต่อมาอาเซียนและฮ่องกงเห็นชอบในหลักการต่อการขยายขอบเขตเพิ่มเติมอีก 5 สาขา ได้แก่ มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรฐาน/กฎระเบียบทางเทคนิค/กระบวนการประเมินความสอดคล้องทรัพย์สินทางปัญญา เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการอำนวยความสะดวกทางการค้า และการส่งเสริมการลงทุน
			2.11  ร่างแผนงานด้านการค้าและการลงทุนอาเซียน-สหภาพยุโรป (ปี 2563 - 2564)  เป็นเอกสารกำหนดแผนดำเนินงานเพื่อขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างอาเซียน-สหภาพยุโรปในระยะเวลา 2 ปี

28.  เรื่อง  ร่างถ้อยแถลงของประธานร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 11
  		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงของประธานร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 11 (Co-Chairs? Statement of the Eleventh Mekong ? ROK Foreign Ministers? Meeting) หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรอง โดยไม่มีการลงนามร่างถ้อยแถลงประธานร่วมฯ ตามที่กระทรวงกาต่างประเทศ (กต.) เสนอ
  		สาระสำคัญของร่างถ้อยแถลงของประธานร่วมฯ ได้แก่
  		1. การแสดงเจตนารมณ์อันต่อเนื่องของประเทศสมาชิกในการส่งเสริมความร่วมมือของ Mekong ? ROK บนพื้นฐานของ 3 เสา และสาขาความร่วมมือ 7 สาขา (วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเกษตรและการพัฒนาชนบท โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สิ่งแวดล้อม และความท้าทายด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่) เพื่อรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ของโลก ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีความยืดหยุ่นและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาค                ลุ่มน้ำโขง
 		2. การย้ำบทบาทของสาธารณรัฐเกาหลีในการเป็นหุ้นส่วนสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืนใน                      อนุภูมิภาคฯ ผ่านการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการมาเป็นเวลากว่า 30 ปี รวมถึงการสนับสนุนด้านการเงินจำนวน 10.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผ่านกองทุน MKCF ตั้งแต่ปี 2556
  		3. การให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน โดยเฉพาะบทบาทของสภาธุรกิจลุ่มน้ำโขง ? สาธารณรัฐเกาหลี (Mekong ? ROK Business Council) ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิสาหกิจขนาดเล็ก ขนาดย่อม และขนาดกลาง (MSMEs) เพื่อช่วยกระตุ้นความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานและส่งเสริมการบูรณาการในอนุภูมิภาคฯ
  		4. การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนในระดับประชาชน เพื่อส่งเสริมความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างประเทศสมาชิก ภายใต้ปีแห่งการแลกเปลี่ยนของ Mekong ? ROK ค.ศ. 2021 (Mekong ? ROK Exchange Year 2021) เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสการครบรอบ 10 ปี ของการจัดตั้ง Mekong ? ROK
  		5. การสอดประสานระหว่างกันของกรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคฯ เช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady- Chao Phraya ? Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC) และอาเซียน
  		6. ความร่วมมือในประเด็นระดับภูมิภาคและโลก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

29.  เรื่อง การเพิ่มจุดนำเข้าและจุดส่งออกในภาคผนวกของพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
  		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อการเพิ่มจุดนำเข้าและจุดส่งออกในภาคผนวกของพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้หากมีการปรับปรุงแก้ไขพิธีสารฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้หารือร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศเพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
  		สาระสำคัญของเรื่อง
  		1. พิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นการดำเนินการภายใต้บันทึกความเข้าใจร่วมกันว่าด้วยความร่วมมือด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชระหว่างไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2547 โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดของใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Certificate) ตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกักกันโรคและการตรวจสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ไทยผ่านประเทศที่สามระหว่างไทยกับจีน ซึ่งจุดนำเข้าและจุดส่งออกสำหรับการขนส่งผลไม้ของทั้งสองฝ่ายจะถูกกำหนดลงในภาคผนวกของพิธีสารฉบับนี้ กรณีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือเพิ่มเติมจุดนำเข้าและจุดส่งออกอื่นของทั้งสองฝ่าย สามารถเพิ่มเข้าไปในภาคผนวกของพิธีสารนี้ได้ผ่านการหารือเห็นชอบร่วมกัน
  		2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเห็นชอบร่วมกันในการเพิ่มเติมจุดนำเข้าและจุดส่งออกในภาคผนวกของพิธีสารดังกล่าว โดยขอให้เพิ่มจุดนำเข้าและจุดส่งออกของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้แก่ (1) ด่านหลงปัง (เขตการปกครองตนเองกว่างสีจ้วง) (2) ด่านรถไฟโม่ฮาน (มณฑลยูนนาน) (3) ด่านสุยโข่ว (เขตการปกครองตนเองกว่างสีจ้วง) (4) ด่านเหอโข่ว (มณฑลยูนนาน) (5) ด่านรถไฟเหอโข่ว (มณฑลยูนนาน) และ (6) ด่านเทียนป่าว (มณฑลยูนนาน) และขอเพิ่มจุดนำเข้าและจุดส่งออกของราชอาณาจักรไทย จำนวน 1 ด่าน ได้แก่ ด่านหนองคาย
  		ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายประสงค์ให้มีการลงนามพิธีสารฯ ร่วมกันในห้วงการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช อาเซียน - จีน ครั้งที่ 7 (The 7th  ASEAN-China Ministerial Meeting on SPS Cooperation) ซึ่งสาธารณรัฐประชาชนจีนมีกำหนดเป็นเจ้าภาพการประชุมในวันที่ 13 กันยายน 2564 โดยการเพิ่มเติมจุดนำเข้าและจุดส่งออกในภาคผนวกดังกล่าว เป็นการช่วยเพิ่มช่องทางการเข้าสู่ตลาดจีนของผลไม้ไทย อันเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการไทย อีกทั้งช่วยลดความแออัดจากการขนส่งผลไม้ไทยไปจีนในเส้นทางเดิมด้วย

แต่งตั้ง

30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย)
	 	คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง นายณรงค์                   สืบตระกูล รองอธิบดีกรมที่ดิน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                (กระทรวงคมนาคม)
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้ง นายสิทธิชัย                บุญสะอาด วิศวกรใหญ่ที่ปรึกษาวิชาชีพเฉพาะด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านวางแผนและวางโครงการก่อสร้าง)                (วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมทางหลวง ให้ดำรงตำแหน่ง วิศวกรใหญ่ที่ปรึกษาวิชาชีพเฉพาะด้านวิศวกรรมโยธา   (ด้านสำรวจและออกแบบ) (วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอรับโอน นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่จะว่าง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นายกฤษฎา อักษรวงศ์              ที่ปรึกษาด้านการดำเนินงานข่าวกรองในต่างประเทศ (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ) สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป


34. เรื่อง การโอนข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอรับโอน นายธีระพงษ์                   วงศ์ศิวะวิลาส เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี                มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป เพื่อประโยชน์ของทางราชการและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบ และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมการโอนแล้ว โดยให้ผู้ได้รับแต่งตั้งได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และสิทธิประโยชน์อื่นที่ได้รับอยู่เดิม

35. เรื่อง การโอนข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอรับโอน นางณัฐฏ์จารี อนันตศิลป์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี                    สำนักนายกรัฐมนตรี มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อประโยชน์ของทางราชการและสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่           1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

36. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างดังกล่าว และเพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียนในคราวเดียวกัน รวมจำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564  ดังนี้
 		1. แต่งตั้ง นายอนุกูล ปีดแก้ว รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดี (นักบริหาร) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
 		2. แต่งตั้ง นายธนสุนทร สว่างสาลี ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
		3. แต่งตั้ง นางจตุพร โรจนพานิช ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดี (นักบริหาร) กรมกิจการเด็กและเยาวชน
		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

37. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงสาธารณสุข)
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 จำนวน 4 ราย ดังนี้
 		1. นางอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง             กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
 		2. นายยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
 		3. นายธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
		4. นายสวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์ สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์) ประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
 		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

38. เรื่อง ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของอธิบดีกรมการแพทย์
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอให้ นายสมศักดิ์ อรรฆศิลป์ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอธิบดีกรมการแพทย์ ต่อไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 เนื่องจากมีภารกิจสำคัญในการบริหารจัดการในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการบริหารงาน

39. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการแทนตำแหน่งที่ว่าง
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายเธียรชัย              ณ นคร เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการแทนตำแหน่งที่ว่างลง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2564 เป็นต้นไป และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทน

          ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 กันยายน 2564

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ