สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564

ข่าวการเมือง Tuesday November 23, 2021 18:17 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (23 พฤศจิกายน 2564)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.          เรื่อง          ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาตและใบแทนใบสำคัญการ                                        ขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ พ.ศ. ?.
                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลป่ากุมเกาะ                                                   ตำบลในเมือง ตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก ตำบลศรีนคร ตำบลคลอง                                                  มะพลับ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย ตำบลไร่อ้อย ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย                                                   จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. ?.
                    3.           เรื่อง           ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประสานความร่วมมือของส่วนราชการ                                        ในการสำรวจและศึกษาวิจัยสมุนไพรและถิ่นกำเนิดของสมุนไพรในเขตอนุรักษ์                                                   พ.ศ. ?.
                    4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการติดต่อหรือการแจ้งผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงในการรังวัด                                                  สอบเขตโฉนดที่ดิน พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดขนาด ลักษณะ และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถ และการ                                        แสดงแผ่นป้ายทะเบียนรถและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี (ฉบับที่ ..)                                         พ.ศ. ?.
                    6.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุม                                                  การแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485

เศรษฐกิจ สังคม

                    7.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบโครงการอาชีวะ สร้างช่างฝีมือ ตามแนวทางโรงเรียนพระดาบส
                    8.           เรื่อง           การเพิ่มจำนวนกรรมการของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
                    9.           เรื่อง           การโอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน                                                  การเงินเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3
                    10.           เรื่อง           ขอขยายกลุ่มเป้าหมายในการรับรองหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล

ของหน่วยงานภาครัฐ

                    11.          เรื่อง           การพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ (การปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมาย                                                  ภาครัฐ)
                    12.           เรื่อง           สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ไตรมาสที่ 3

ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

                    13.           เรื่อง           มาตรการสินเชื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ
                    14.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม

ครั้งที่ 39/2564

                    15.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราช                                                  กำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 15/2564
                    16.           เรื่อง           ขอรับการสนับสนุนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านบูรณาการขับเคลื่อน                                                  การพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2570)                                                   ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และสถาบันส่งเสริม

และพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

                    17.           เรื่อง           ข้อเสนอเชิงนโยบายของที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล

ปี 2563

                    18.           เรื่อง           ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง นโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน                                                  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ต่างประเทศ

                    19.            เรื่อง           การเข้าร่วมเป็นประเทศหุ้นส่วนด้านพลังงานภายใต้ยุทธศาสตร์สายแถบและ                                                  เส้นทาง (Belt and Road Energy Partnership: BREP) ของสาธารณรัฐ                                                  ประชาชนจีน
                    20.           เรื่อง           ร่างข้อตกลงการขยายระยะเวลาบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันเพื่อการพัฒนา                                        ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโลกกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ                                                  และสิ่งแวดล้อม
                    21.           เรื่อง           ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีด้าน SPS อาเซียน-จีน ครั้งที่ 7 และการลงนาม                                                  ในพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออก

และนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างไทยและจีนฉบับใหม่

                    22.           เรื่อง           ผลการหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ                                                  ต่างประเทศกับ นายซอง อึย-ยง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ                                                  สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ
                    23.           เรื่อง            ผลการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง
                    24.           เรื่อง            ผลการประชุมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง ? สหรัฐฯ ครั้งที่ 2
                    25.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-รัสเซีย สมัยพิเศษ
                    26.           เรื่อง           ร่างปฏิญญาทางการเมืองเรื่องการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการระดับโลก

ของสหประชาชาติเพื่อปราบปรามการค้ามนุษย์

                    27.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป

ครั้งที่ 13

                    28.           เรื่อง           ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง

ครั้งที่ 28 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง

กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 26

                    29.           เรื่อง          สรุปผลการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง                                        สภาพภูมิภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP 26) การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต                                                   สมัยที่ 16 (CMP 16) การประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีสสมัยที่ 3 (CMA 3)

และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร

                    30.           เรื่อง          ขอความเห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลก

สมัยสามัญครั้งที่ 12 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

แต่งตั้ง

                    31.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ

ระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)

                    32.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ

ระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงแรงงาน)

                    33.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงศึกษาธิการ)


                    34.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    35.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
                    36.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย                                         อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อแทนตำแหน่งที่ว่าง
                    37.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ                                                  นวัตกรรมแห่งชาติ
                    38.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ                                                  สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน
                    39.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                    40.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบแต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนม

แห่งประเทศไทย

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396


กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาตและใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ พ.ศ. ?.
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาตและใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ กษ. รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า
                     1. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 2 มกราคม 2563 แล้ว โดยเห็นว่าค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาตและใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะซึ่งผู้ผลิตอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ ผู้นำเข้าอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ หรือผู้ขายอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ จะต้องชำระในกรณีที่ใบอนุญาตหรือใบสำคัญการขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ไม่คุ้มค่าต่อการดำเนินงานของภาครัฐ เนื่องจากมีอัตราในการจัดเก็บฉบับละ 100 บาท ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำ เห็นควรยกเว้นค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาตและใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะดังกล่าว กษ. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาตและใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ พ.ศ. ?. ขึ้น ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 ซึ่งบัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่นกับออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
                    2. กษ. ได้จัดทำรายงานประมาณการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยรายงานว่า ข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ. 2560 ? 2564) พบว่ามีผู้ขอรับใบแทนใบอนุญาตจำนวน 14 ราย ใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ จำนวน 146 ราย โดยมีค่าธรรมเนียมฉบับละ 100 บาท ดังนั้น การยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าว จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ รวม 16,000 บาท แต่อย่างไรก็ตาม จะเป็นการช่วยเหลือและลดภาระผู้ประกอบการ รวมทั้งเป็นไปตามแนวทางการทบทวนอัตราค่าธรรมเนียมในการอนุมัติ อนุญาตของทางราชการ ตามมติคณะรัฐมนตรี (2 มกราคม 2563) ด้วย
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ยกเว้นค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาตและใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ ซึ่งผู้ผลิตอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ ผู้นำเข้าอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ หรือผู้ขายอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ จะต้องชำระในกรณีที่ใบอนุญาตหรือใบสำคัญการขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ฉบับละ 100 บาท

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลป่ากุมเกาะ ตำบลในเมือง ตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก ตำบลศรีนคร ตำบลคลองมะพลับ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย ตำบลไร่อ้อย ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลป่ากุมเกาะ ตำบลในเมือง ตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก ตำบลศรีนคร ตำบลคลองมะพลับ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย ตำบลไร่อ้อย ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ กษ. รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า
                    1. เนื่องจากที่ผ่านมาบริเวณลุ่มน้ำยมตอนล่างในเขตจังหวัดสุโขทัย จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดพิจิตร เกิดปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง เป็นประจำทุกปี และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีการบริหารจัดการน้ำจากแม่น้ำยมออกสู่คลองสาขา แต่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะรองรับปริมาณน้ำได้ กษ. โดยกรมชลประทาน จึงมีแนวทางในการบรรเทาปัญหาดังกล่าว โดยดำเนินการโครงการปรับปรุงคลองยม - น่าน จังหวัดสุโขทัย เพื่อปรับปรุงคลองหกบาทพร้อมกับขุดคลองชักน้ำ (ชักน้ำจากแม่น้ำยมลงสู่คลองหกบาท) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับน้ำเข้าคลองหกบาทให้สามารถรับน้ำได้มากขึ้น จาก 250 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 500 ลูกบาศ์ก์เมตรต่อวินาที และแบ่งการระบายน้ำจากคลองหกบาท ออกเป็น 2 ทาง ได้แก่
                               ทางที่หนึ่ง ระบายไปทางคลองยม ? น่าน โดยปรับปรุงให้สามารถระบายน้ำได้ 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที พร้อมขุดช่องลัดลงแม่น้ำน่าน เพื่อชักน้ำจากคลองยม ? น่านลงสู่แม่น้ำน่าน
                              ทางที่สอง ระบายไปสู่คลองยมเก่า ซึ่งระบายน้ำได้ 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
                     ทั้งนี้ การเพิ่มประสิทธิภาพการรับน้ำเข้าคลองหกบาทและคลองยม ? น่าน จะส่งผลให้ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองสุโขทัยลดลงเหลือเพียง 550 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จากเดิม 800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (เท่ากับความสามารถการรองรับน้ำของบริเวณนี้ที่จะรับได้) ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาปริมาณน้ำจากแม่น้ำยมเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เมืองสุโขทัยและพื้นที่การเกษตร นอกจากนี้ ยังสามารถเก็บกักน้ำไว้ในคลองเพื่อให้ราษฎรใช้ประโยชน์ในฤดูแล้งได้อีกด้วย
                     2. ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (7 เมษายน 2563) อนุมัติให้ กษ. โดยกรมชลประทานดำเนินโครงการปรับปรุงคลองยม - น่าน จังหวัดสุโขทัย ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2567) ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 2,875,000,000 บาท
                     3. การก่อสร้างโครงการปรับปรุงคลองยม - น่าน จะต้องใช้ที่ดินจำนวนประมาณ 457 แปลง เนื้อที่ประมาณ 222 ไร่ ค่าทดแทนทรัพย์สินทั้งโครงการ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 100,000,000 บาท
                     4. ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการปรับปรุงคลองยม - น่าน จังหวัดสุโขทัย ตามข้อ 2. เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ กรมชลประทานจึงมีความจำเป็นต้องเข้าไปทำการสำรวจให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด เพื่อประโยชน์แก่การชลประทานสำหรับพื้นที่การเกษตร การอุปโภคและบริโภค ตลอดจนการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย รวมทั้งเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปสำรวจและเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องได้มาโดยแน่ชัด
                     5. ทั้งนี้ เมื่อก่อสร้างตามโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ จะช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย และอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ครอบคลุม 15 ตำบล 27 หมู่บ้าน คิดเป็น 5,340 ครัวเรือน ช่วยกักเก็บน้ำในแนวคลองเพื่อเป็นแหล่งน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้งครอบคลุมพื้นที่ 3,700 ไร่ ทำให้ราษฎรมีสภาพเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากผลผลิตการเกษตรที่เพิ่มมากขึ้น
                    6. กษ. โดยกรมชลประทานได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่แล้ว ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจในรายละเอียดเป็นอย่างดี
                     7. สำนักงบประมาณ (สงป.) แจ้งว่าจะจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้กรมชลประทานจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอน
                     สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลป่ากุมเกาะ ตำบลในเมือง ตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก ตำบลศรีนคร ตำบลคลองมะพลับ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย ตำบลไร่อ้อย ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อการก่อสร้างโครงการปรับปรุงคลองยม - น่าน จังหวัดสุโขทัย มีกำหนดใช้บังคับ 4 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

3. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประสานความร่วมมือของส่วนราชการในการสำรวจและศึกษาวิจัยสมุนไพรและถิ่นกำเนิดของสมุนไพรในเขตอนุรักษ์ พ.ศ. ?.
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประสานความร่วมมือของส่วนราชการในการสำรวจและศึกษาวิจัยสมุนไพรและถิ่นกำเนิดของสมุนไพรในเขตอนุรักษ์ พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ สธ. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ สธ. เสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการประสานความร่วมมือเพื่อให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 ในการเข้าไปทำการสำรวจและศึกษาวิจัยสมุนไพรและถิ่นกำเนิดของสมุนไพรในเขตอนุรักษ์ที่มีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติ หรือมีความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการตามแผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพร ในพื้นที่เขตอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 อันจะก่อให้เกิดการอนุรักษ์ ปกป้อง คุ้มครอง และบริเวณพื้นที่ถิ่นกำเนิดของสมุนไพร ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 เห็นชอบ (ร่าง) แผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรในพื้นที่เขตอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2564 ? 2565 ตามที่ สธ. เสนอแล้ว และขณะนี้ สธ. อยู่ระหว่างจัดส่งแผนดังกล่าวเพื่อประกาศราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลใช้บังคับต่อไป
                    สาระสำคัญของร่างระเบียบฯ
                     1. กำหนดคำนิยามคำว่า เขตอนุรักษ์ สมุนไพร การเข้าถึง ส่วนราชการ พนักงานเจ้าหน้าที่ และอธิบดี เพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
                     2. กำหนดให้การสำรวจและศึกษาวิจัยสมุนไพรและถิ่นกำเนิดของสมุนไพรในเขตอนุรักษ์ต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการประสานงานกับส่วนราชการที่รับผิดชอบในเขตอนุรักษ์ในการจัดเตรียมจัดทำแผนปฏิบัติการ เรียกว่า ?แผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพร? ตามมาตรา 57 การกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตให้บุคคลใดเข้าไปในเขตอนุรักษ์ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ เพื่อรักษาสภาพธรรมชาติหรือคุณค่าของสมุนไพร หรือมิให้กระทบกระเทือนต่อระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติหรือความหลากหลายทางชีวภาพในบริเวณที่เป็นถิ่นกำเนิดของสมุนไพร กำหนดวิธีการจัดการโดยเฉพาะสำหรับพื้นที่บริเวณที่เป็นถิ่นกำเนิดของสมุนไพร รวมทั้งการกำหนดขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการร่วมมือและประสานงานให้เกิดประสิทธิภาพ ในอันที่จะรักษาสภาพธรรมชาติ ระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ และคุณค่าของสมุนไพรในพื้นที่บริเวณนั้น
                    3. กำหนดให้ผู้ที่ทำการสำรวจและศึกษาวิจัยสมุนไพรและถิ่นกำเนิดของสมุนไพรในเขตอนุรักษ์ตามระเบียบนี้จะต้องได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
                    4. กำหนดให้อธิบดี หรือนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่สังกัดอยู่เป็นผู้ยื่นคำขออนุญาตต่อส่วนราชการที่รับผิดชอบในเขตอนุรักษ์เพื่อเข้าไปทำการสำรวจและศึกษาวิจัยสมุนไพรและถิ่นกำเนิดของสมุนไพรในเขตอนุรักษ์ และให้ส่วนราชการประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือชุมชน เพื่อร่วมดำเนินการกับพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้ และเมื่อได้รับอนุญาตจากส่วนราชการที่รับผิดชอบในเขตอนุรักษ์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าทำการสำรวจ ให้มีหนังสือแจ้งให้อธิบดีหรือนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทราบ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการ ซึ่งการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
                    5. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานต้นสังกัดจะต้องรายงานความคืบหน้าการสำรวจและศึกษาวิจัยสมุนไพรและบริเวณถิ่นกำเนิดของสมุนไพรในเขตอนุรักษ์ และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะต้องจัดส่งรายงานการสำรวจและศึกษาวิจัยสมุนไพรและบริเวณถิ่นกำเนิดของสมุนไพรต่อส่วนราชการที่รับผิดชอบในเขตอนุรักษ์ดังกล่าว

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการติดต่อหรือการแจ้งผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงในการรังวัดสอบเขตโฉนดที่ดิน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการติดต่อหรือการแจ้งผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงในการรังวัดสอบเขตโฉนดที่ดิน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงพาณิชย์และกรุงเทพมหานครไปประกอบการพิจารณาด้วยแล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ มท. เสนอว่า เนื่องจากหลักเกณฑ์และวิธีการติดต่อหรือการแจ้งผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงให้มารับรองแนวเขตหรือคัดค้านการรังวัด ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 31 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้การตรวจสอบที่อยู่เจ้าของที่ดินข้างเคียง การติดต่อหรือการแจ้งเจ้าของที่ดินข้างเคียงไม่สามารถดำเนินการให้เจ้าของที่ดินผู้ยื่นคำขอรังวัดได้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับในปัจจุบันหน่วยงานนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการปฏิบัติราชการ จึงเห็นควรปรับปรุงกฎกระทรวง ฉบับที่ 31 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 เรื่อง การติดต่อหรือการแจ้งผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงให้มาระวังแนวเขต โดยกำหนดวิธีการติดต่อหรือการแจ้งผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงเพื่อให้มาระวังแนวเขตที่ดินก่อนวันทำการรังวัด วิธีการแจ้งผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงเพื่อให้มารับรองแนวเขตที่ดินและคัดค้านการรังวัดเมื่อได้ทำการรังวัดเสร็จแล้ว และกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งทางอิเล็กทรอนิกส์หากหน่วยงานได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการแจ้งผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียง เพื่อให้ประชาชนผู้ยื่นขอรังวัดสอบเขตที่ดินได้รับความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการจากภาครัฐ
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กำหนดให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 31 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497
                    2. กำหนดให้การติดต่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงให้มาระวังแนวเขต ให้แจ้งโดยส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาตามที่อยู่ที่แจ้งไว้เป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และตามที่อยู่ที่ตรวจสอบได้จากระบบสารสนเทศฐานข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร จากฐานข้อมูลทะเบียนกลาง สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง สำหรับกรณีที่เจ้าของที่ดินข้างเคียงเป็นนิติบุคคลให้ตรวจสอบจากระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในกรณีที่ที่อยู่ที่แจ้งไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และที่ตรวจสอบได้จากระบบสารสนเทศฐานข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรจากฐานข้อมูลทะเบียนกลางหรือจากระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้แจ้งไปยังที่อยู่ทั้งสองแห่ง เว้นแต่กรณีที่เป็นที่อยู่เดียวกันให้แจ้งไปยังที่อยู่นั้น
                    3. กำหนดให้ในกรณีที่ไม่สามารถติดต่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงให้มาระวังแนวเขตได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ติดต่อโดยวิธีปิดประกาศเพื่อให้ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงนั้นมาลงชื่อรับรองแนวเขตหรือคัดค้านการรังวัดไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดินและที่ทำการผู้ใหญ่บ้านแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นต้องตั้งอยู่ แห่งละหนึ่งฉบับ ทั้งนี้ ให้ถือว่าผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงได้รับทราบหนังสือเมื่อล่วงพ้นระยะเวลา 15 วันนับแต่วันที่ปิดประกาศ
                    4. กำหนดให้ในกรณีที่ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงได้รับการติดต่อให้มาระวังแนวเขตแล้ว แต่ไม่มารับรองแนวเขตโดยไม่คัดค้านการรังวัด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำเป็นหนังสือแจ้งเจ้าของที่ดินข้างเคียงให้มาลงชื่อรับรองแนวเขตหรือคัดค้านการรังวัด โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาอีกครั้งหนึ่ง
                    5. กำหนดให้ในกรณีที่ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงได้รับการติดต่อให้มาระวังแนวเขตแล้ว แต่มาแล้วไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตโดยไม่คัดค้านการรังวัด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกการไม่ยอมลงลายมือชื่อ และจัดทำเป็นหนังสือแจ้งเจ้าของที่ดินข้างเคียงให้มาลงชื่อรับรองแนวเขตหรือคัดค้านการรังวัด โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาหรือตามที่ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงได้แจ้งไว้ในวันรังวัดอีกครั้งหนึ่ง
                    6. กำหนดให้ในกรณีที่สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินสาขาใดได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการติดต่อหรือส่งหนังสือแจ้งการดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวถือเสมือนเป็นต้นฉบับและให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลของผู้รับข้อมูล
                    7. กำหนดให้การติดต่อหรือการแจ้งผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงให้มาระวังแนวเขตที่อยู่ระหว่างการดำเนินการอยู่ในวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 31 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 จนแล้วเสร็จ

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดขนาด ลักษณะ และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถ และการแสดงแผ่นป้ายทะเบียนรถและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดขนาด ลักษณะ และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถ และการแสดงแผ่นป้ายทะเบียนรถและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.  ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ คค. เสนอ เป็นการกำหนดลักษณะของแผ่นป้ายทะเบียนรถสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนที่มีหมายเลขทะเบียนซึ่งเป็นที่ต้องการหรือเป็นที่นิยม อาจมีตัวอักษรประจำหมวดมากกว่าสองตัวอักษรหรือมีตัวอักษรผสมสระหรือวรรณยุกต์ก็ได้ เพื่อให้การกำหนดตัวอักษรประจำหมวดมีความหลากหลายและเหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหลักการแตกต่างจากที่คณะรัฐมนตรีเคยมีมติอนุมัติหลักการไว้ (2 กุมภาพันธ์ 2564) ซึ่งกำหนดให้ใช้ได้เฉพาะหมายเลขทะเบียนหนึ่งหลัก ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงคมนาคม และเพื่อนำลักษณะแผ่นป้ายดังกล่าวและหมายเลขทะเบียนซึ่งเป็นที่นิยมหรือเป็นที่ต้องการของประชาชน ออกเปิดประมูลเป็นการทั่วไป นำรายได้เข้ากองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ใช้สำหรับแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้รถใช้ถนนโดยไม่ใช้เงินงบประมาณของทางราชการ
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะแผ่นป้ายทะเบียนของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนในกฎกระทรวงกำหนดขนาด ลักษณะ และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถ และการแสดงแผ่นป้ายทะเบียนรถและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี พ.ศ. 2554 โดยกำหนดให้แผ่นป้ายทะเบียนรถ แบ่งออกเป็นสองบรรทัด ดังต่อไปนี้
                     1. บรรทัดที่หนึ่ง ประกอบด้วย ตัวอักษรประจำหมวดตัวที่หนึ่ง ตัวอักษรประจำหมวดตัวที่สอง และหมายเลขทะเบียนไม่เกินสี่หลัก
                     2. บรรทัดที่สอง เป็นตัวอักษรแสดงชื่อกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่จดทะเบียน เว้นแต่กรณีจดทะเบียนที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ให้ใช้คำว่า เบตง
ทั้งนี้ ตัวอักษรให้ใช้ตัวอักษรไทย และหมายเลขทะเบียนให้ใช้ตัวเลขอารบิค และทั้งตัวเลขและตัวอักษรให้อัดเป็นรอยดุน
                     ทั้งนี้ แผ่นป้ายทะเบียนของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน ให้มีลักษณะเช่นเดียวกับข้อ 1. และ ข้อ 2. เว้นแต่กรณีบรรทัดที่หนึ่งมีหมายเลขทะเบียนซึ่งเป็นที่ต้องการหรือเป็นที่นิยม บรรทัดที่หนึ่งอาจประกอบด้วยตัวอักษรประจำหมวดมากกว่าสองตัวอักษร หรือมีตัวอักษรผสมสระหรือวรรณยุกต์ได้ ทั้งนี้ กรณีที่แผ่นป้ายทะเบียนรถมีตัวอักษรประจำหมวดมากกว่าสองตัวอักษรหรือมีตัวอักษรผสมสระหรือวรรณยุกต์ ให้ขอบแผ่นป้ายทะเบียนรถดังกล่าวไม่ต้องอัดเป็นรอยดุน และเครื่องหมาย ตัวเลข และตัวอักษรใช้เป็นลายพิมพ์ โดยการกำหนดตัวอักษรประจำหมวดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ กค. รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                     1. พระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 4 บัญญัติให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงควบคุม กำกัด หรือห้ามการปฏิบัติกิจการทั้งปวงเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินหรือการอื่นซึ่งมีเงินตราต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าในรูปใด และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงฯ ประกอบกับมาตรา 9 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
                     2. โดยที่ปัจจุบันมีรูปแบบการให้บริการ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของการประกอบธุรกิจปัจจัยชำระเงินต่างประเทศเพิ่มขึ้นหลายช่องทาง ดังนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพของการประกอบธุรกิจปัจจัยชำระเงินต่างประเทศของประเทศไทย รวมทั้งเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับการขึ้นทะเบียนให้หลากหลายและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น กค. พิจารณาแล้วจึงได้ดำเนินการยกร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ขึ้น
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
ประเด็น          รายละเอียด
1. ขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของบุคคลรับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ           ปัจจุบันบุคคลรับอนุญาตสามารถให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้เฉพาะธนบัตรเงินตราต่างประเทศ แก้ไขเพิ่มเติมให้สามารถบริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่ธนบัตรเงินตราต่างประเทศได้ (เช่น นักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถชำระเงินค่าซื้อธนบัตรเงินบาทด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตที่ออกโดยธนาคารในต่างประเทศแทนการใช้เงินสดสกุลเงินตราต่างประเทศได้)
2. เพิ่มประเภทการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ           ปัจจุบันการประกอบธุรกิจปัจจัยชำระเงินต่างประเทศมีเฉพาะรูปแบบการให้ใบอนุญาต (License) เท่านั้น แก้ไขเพิ่มเติมให้การประกอบธุรกิจปัจจัยชำระเงินต่างประเทศสามารถประกอบธุรกิจในรูปแบบการขึ้นทะเบียน (Register) ได้
3. ขยายขอบเขตของการให้ใบอนุญาตและใบขึ้นทะเบียน           ปัจจุบันใบอนุญาตสามารถใช้ได้กับสถานประกอบการที่ยื่นขออนุญาต (One-to-One) เท่านั้น (หากมีหลายสาขาต้องขอใบอนุญาตทุกสาขา) แก้ไขเพิ่มเติมให้ใบอนุญาตที่ได้รับสามารถใช้ได้กับทั้งสำนักงานใหญ่ สาขา และช่องทางการให้บริการอื่น (One-to-Many) ได้ ส่วนกรณีใบขึ้นทะเบียนสามารถใช้ได้กับสำนักงานใหญ่ที่ยื่นขอขึ้นทะเบียน โดยหากจะใช้กับสาขาหรือช่องทางให้บริการอื่นผู้ประกอบการต้องขอขึ้นทะเบียนสาขาหรือช่องทางให้บริการอื่นนั้นด้วย
4. ผ่อนคลายหลักเกณฑ์การทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับรายได้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ได้รับมาจากต่างประเทศ (Repatriation) ทั้งรายได้ที่เป็นค่าของส่งออกและรายได้ประเภทอื่น           - อนุญาตให้ผู้ส่งออกและบุคคลอื่นสามารถนำรายได้จากสกุลเงินตราต่างประเทศไปใช้ในการทำธุรกรรมประเภทอื่นได้ เช่น การชำระหนี้การค้า (ปัจจุบันอนุญาตเพียงการขายหรือฝากเงินตราต่างประเทศ)
- อนุญาตให้ผู้ส่งออกและบุคคลอื่นสามารถนำรายได้สกุลเงินตราต่างประเทศไปขาย หรือใช้ทำธุรกรรมกับผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับการขึ้นทะเบียนได้ (ปัจจุบันอนุญาตเพียงการขายหรือฝากเงินตราต่างประเทศกับธนาคารพาณิชย์)
5. ปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตประกอบธุรกิจปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ           กำหนดให้ผู้ขออนุญาตประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องเป็นนิติบุคคลเท่านั้น (จากเดิมเป็นบุคคลธรรมดาได้) เพื่อเพิ่มการยอมรับและความน่าเชื่อถือให้แก่ธุรกิจการรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และได้กำหนดบทเฉพาะกาลไว้เพื่อให้บุคคลรับอนุญาตประเภทบุคคลธรรมดาสามารถประกอบธุรกิจปัจจัยชำระเงินต่างประเทศต่อไปได้อีก 3 ปีนับแต่วันที่ร่างกฎกระทรวงฯ มีผลบังคับใช้
6. เพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามของกรรมการ ผู้ซึ่งมีอำนาจในการจัดการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ           โดยแก้ไขเพิ่มเติมให้กรรมการ ผู้ซึ่งมีอำนาจในการจัดการ และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับการขึ้นทะเบียน ต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจปัจจัยชำระเงินต่างประเทศโดยมิได้รับอนุญาตหรือได้รับการขึ้นทะเบียน (เพื่อให้สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) และมาตรฐานสากลที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการก่อการร้าย)


เศรษฐกิจ สังคม

7. เรื่อง ขอความเห็นชอบโครงการอาชีวะ สร้างช่างฝีมือ ตามแนวทางโรงเรียนพระดาบส
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติในหลักการโครงการอาชีวะ สร้างช่างฝีมือ ตามแนวทางโรงเรียนพระดาบส (โครงการอาชีวะฯ) จำนวน 30 แห่ง ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2575 ในกรอบวงเงินทั้งสิ้น 1,060.22 ล้านบาท สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการดังกล่าว เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ หากพิจารณาค่าใช้จ่ายตามกรอบวงเงินดังกล่าวจะพบว่ามีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงอาคารเพื่อเป็นหอพัก ค่าก่อสร้างหอพัก ตลอดจนค่าตอบแทนครูดูแลหอพัก วงเงิน 371.42 ล้านบาท ซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลอาคารภายหลังการปรับปรุงหรือก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงเห็นควรที่ สอศ. จะพิจารณาสถานศึกษาที่จะเข้าร่วมโครงการดังกล่าวที่มีความพร้อมของสถานที่และบุคลากรครู โดยร่วมกับชุมชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ เพื่อลดภาระงบประมาณในระยะยาว และเพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการอาชีวะฯ เห็นควรให้  สอศ. ติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการทุกปีศึกษา เพื่อนำผลการติดตามและประเมินผลดังกล่าวใช้เป็นแนวทางในการเสนอขอตั้งงบประมาณและการดำเนินโครงการในระยะต่อไปด้วย ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และให้กระทรวงศึกษาธิการ (สอศ.) รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รายงานว่า
                    1. ศธ. โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ดำเนินโครงการอาชีวะฯ เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลและข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 โดยศึกษาแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียนพระดาบส1 เพื่อนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของโครงการ              อาชีวะฯ และเริ่มดำเนินการนำร่องจัดการศึกษาหลักสูตรระยะสั้นด้านอาชีพ ระยะเวลา 1 ปี ในสถานศึกษาของรัฐ จำนวน 12 แห่ง เช่น วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม จังหวัดราชบุรี วิทยาลัยการอาชีพเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น โดยดำเนินงานมาเป็นระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 (ที่ผ่านมาเป็นการใช้งบประมาณของ สอศ. ในการดำเนินงาน) เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ชายแดน ชายขอบ เขตชนชท และเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีฐานะยากจน ขาดโอกาสทางการศึกษาหรือว่างงานเข้ารับการศึกษาหลักสูตรระยะสั้นด้านอาชีพ ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้ได้มีโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จในด้านการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นคนที่มีทักษะวิชาชีพที่ได้มาตรฐาน และมีคุณธรรม จริยธรรมในการดำรงชีวิต โดยมีผลการดำเนินงานสรุปได้ ดังนี้
ปีงบประมาณ
พ.ศ.          จำนวน
สถานศึกษา
(แห่ง)          จำนวน
ผู้เรียน
(คน)          ภาวะผู้มีงานทำ
                              ศึกษาต่อ
(คน)          ทำงาน
(คน)          รายได้ต่อเดือน
(บาท)
2561          12          62          -          62          9,000 - 25,000
2562          12          137          4          133          6,000 - 18,000
2563*          12          173          -          -          -
หมายเหตุ: *ผู้เรียนรุ่นที่ 3 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จบการฝึกอบรมในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2564 แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ทำให้ สอศ. ยังไม่สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับภาวะผู้มีงานทำได้

และจากผลการประเมินคุณภาพการดำเนินโครงการอาชีวะฯ โดยลงพื้นที่ประเมินระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 - มีนาคม 2564 ปรากฏว่าผ่านเกณฑ์ประเมินคุณภาพทั้ง 12 แห่ง ผู้สำเร็จการศึกษาผ่านการประเมินมาตรฐานอาชีพทุกคน และผู้สำเร็จการศึกษาได้กลับคืนถิ่นภูมิภาคของตน ร้อยละ 100
                    2. จากผลสำเร็จในการดำเนินโครงการอาชีวะฯ จำนวน 3 รุ่นข้างต้น ประกอบกับมีสถานศึกษาให้ความสนใจและสมัครใจเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก เนื่องจากในพื้นที่บริการมีเด็ก เยาวชน และประชาชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษาที่มีความประสงค์จะเข้ารับการฝึกอบรมในโครงการดังกล่าว ศธ. โดย สอศ. จึงได้จัดทำโครงการอาชีวะฯ ในสถานศึกษาภาครัฐให้ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค จำนวน 30 แห่ง (เดิม 12 แห่ง) โดยคัดเลือกสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการอาชีวะฯ เพิ่มเติม จำนวน 18 แห่งทั่วประเทศ ในครั้งนี้ ศธ. จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการโครงการอาชีวะฯ จำนวน 30 แห่ง โดยมีสาระสำคัญของโครงการอาชีวะฯ สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
วัตถุประสงค์          (1) สร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ชายแดน ชายขอบ เขตชนบท และเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีฐานะยากจน ขาดโอกาสทางการศึกษาหรือว่างงาน ให้ได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาเป็นพิเศษ ได้มีทักษะวิชาชีพติดตัว สามารถทำงานประกอบอาชีพได้ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพกำลังคน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนปลูกฝังค่านิยมในคุณธรรม จริยธรรม ให้เติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ
(2) เพื่อขยายผลโครงการอาชีวะฯ ให้ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค
(3) เพื่อเพิ่มปริมาณผู้เรียนสายวิชาชีพ และเป็นสถานศึกษาต้นแบบในการจัดการศึกษาวิชาชีพให้กับเด็กและเยาวชน ที่เน้นการฝึกทักษะวิชาชีพควบคู่ควบคู่กับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม
(4) เพื่อจัดการศึกษาด้านอาชีพให้แก่เยาวชนเพื่อให้สามารถกลับไปทำงานในท้องถิ่นภูมิภาคของตนเอง
ระยะเวลาดำเนินการ          10 ปี (พ.ศ. 2566 - 2575)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ          สอศ.
เป้าหมาย          มีเด็ก เยาวชน และประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ชายแดน ชายขอบ เขตชนบท และเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีฐานะยากจน ขาดโอกาสทางการศึกษาหรือว่างงานเข้ารับการศึกษาหลักสูตรระยะสั้นด้านอาชีพ 1 ปี จำนวน 900 คน/ปี (รวม 9,000 คน ในระยะเวลา 10 ปี)
ตัวชี้วัดโครงการ          (1) ผู้สำเร็จการศึกษาผ่านการประเมินมาตรฐานอาชีพทุกคน
(2) ผู้สำเร็จการศึกษามีงานทำ ร้อยละ 100
(3) ผู้สำเร็จการศึกษามีรายได้เดือนละ 8,000 - 10,000 บาท
(4) ผู้สำเร็จการศึกษาได้กลับคืนถิ่นภูมิภาคของตนเอง ร้อยละ 100
(5) สถานศึกษาต้องผ่านการประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอนจากมูลนิธิพระดาบส โดยโรงเรียนพระดาบส (ภายในเวลาไม่เกิน 3 ปี)
แนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ          (1) คัดเลือกสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการอาชีวะฯ เพิ่มเติม จำนวน 18 แห่งทั่วประเทศ โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกสถานศึกษา ดังนี้ (1.1) เป็นสถานศึกษาขนาดกลางหรือขนาดเล็ก (1.2) สามารถให้บริการผู้เรียนที่ขาดโอกาสในพื้นที่ได้ (1.3) มีความพร้อมในการจัดการศึกษาอาชีวะ และ (1.4) ผู้บริหารสถานศึกษามีความสนใจ สมัครใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อโครงการอาชีวะฯ
(2) ประสานคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษา รวมทั้งวางแผนการจัดทำหลักสูตรที่เหมาะสมและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการอาชีวะฯ
(3) จัดการศึกษาโดยเรียนฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย (เรียนฟรี กินฟรี อยู่ฟรี)
(4) สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการดำเนินการจัดฝึกอบรมให้กับผู้เรียน ระยะเวลา 1 ปี โดยใช้หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางโรงเรียนพระดาบส ดังนี้
          (4.1) ระยะเวลา 6 เดือนแรก จัดฝึกทักษะช่างพื้นฐาน 11 ทักษะอาชีพ เช่น ทักษะช่างยนต์ ช่างเชื่อม ช่างไฟฟ้ากำลัง ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างกลโรงงาน ช่างเขียนแบบ เป็นต้น
          (4.2) ระยะเวลา 3 เดือน ผู้เรียนเลือกทักษะที่สนใจ เพื่อฝึกเป็นทักษะเฉพาะทาง
          (4.3) ระยะเวลา 2 เดือน ผู้เรียนออกฝึกงานในสถานประกอบการ เพื่อฝึกทักษะอาชีพที่แท้จริง
          (4.4) ระยะเวลา 1 เดือน ผู้เรียนเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานหรือมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ
??????__________________________
1โรงเรียนพระดาบส ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือไม่มีวุฒิการศึกษาพื้นฐานพอที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับสูง ให้ได้มีวิชาชีพติดตัว หาเลี้ยงตนเองได้ เป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติ โดยมีมูลนิธิพระดาบสกำกับดูแลการดำเนินงาน

8. เรื่อง การเพิ่มจำนวนกรรมการของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) มีกรรมการของบริษัท จากเดิม 11 คน เป็น 15 คน เป็นการเฉพาะราย ทั้งนี้ ตามนัยมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบข้อ 13 ของข้อบังคับของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติฯ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ โดยให้บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) รับความเห็นของกระทรวงการคลังไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ การเพิ่มจำนวนกรรมการของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ เป็นไปตามมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่บัญญัติให้รัฐวิสาหกิจใดมีความจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่าสิบเอ็ดคน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีได้เป็นการเฉพาะราย แต่ทั้งนี้จำนวนกรรมการรวมทั้งสิ้นต้องไม่เกินสิบห้าคน โดยเป็นการเพิ่มจำนวนกรรมการเพื่อให้การดำเนินภารกิจของบริษัทสามารถตอบสนองนโยบายรัฐ สามารถประกอบธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ให้กับองค์กรได้อย่างยั่งยืน ไม่เป็นภาระภาครัฐในอนาคต และเพื่อให้บริษัทมีจำนวนกรรมการที่เหมาะสมกับการขับเคลื่อนรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ซึ่งอยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาการดำเนินงาน

9. เรื่อง การโอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอให้โอนเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฯ) เข้าบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (บัญชีสะสมฯ) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 2,500 ล้านบาท โดยให้กองทุนฯ ทยอยโอนเงินดังกล่าวเข้าบัญชีสะสมฯ ตามปริมาณสภาพคล่องของกองทุนฯ เนื่องจากจำนวนเงินดังกล่าวมีความเหมาะสมกับประมาณการกระแสเงินรับ - จ่ายของกองทุนฯ ซึ่งจะทำให้กองทุนฯ มีเงินสดคงเหลือเพียงพอเพื่อสำรองเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงาน และภาระชดเชยที่ต้องดำเนินการ อย่างไรก็ดี หากกองทุนฯ ได้รับเงินที่มีนัยสำคัญให้พิจารณาทบทวนเพื่อขออนุมัตินำส่งเงินเข้าบัญชีสะสมฯ เพิ่มเติมต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. รายงานว่า กองทุนฯ ได้ทบทวนประมาณการกระแสเงินรับ - จ่ายแล้วคาดว่าในปีงบประมาณ 2565 กองทุนฯ จะมีสภาพคล่องคงเหลือภายหลังสำรองค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องที่สามารถชำระหนี้ FIDF 1 และ FIDF 3 ได้จำนวน 2,500 ล้านบาท คณะกรรมการจัดการกองทุนในการประชุมเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 ได้มีมติเห็นควรให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้นำส่งเงินของกองทุนฯ เพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3 ในปีงบประมาณ 2565 จำนวน 2,500 ล้านบาท โดยทยอยโอนเงินของกองทุนฯ เข้าบัญชีสะสมฯ ตามปริมาณสภาพคล่องของกองทุนฯ โดยข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2564 ยอดหนี้ต้นเงินกู้ FIDF 1 และ FIDF 3 สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายงาน          จำนวนเงิน
ยอดรวมต้นเงินกู้ที่รับมาดำเนินการตามพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่ กค. กู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555          1,138,305.89
ยอดชำระหนี้สะสมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555 - เดือนสิงหาคม 2564
(เงินต้น จำนวน 416,881.17 ล้านบาท ดอกเบี้ย จำนวน 326,561.20 ล้านบาท และค่าบริหารจัดการ 12.60 ล้านบาท)          743,454.97
ยอดหนี้คงค้าง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2564 (รวมการลดภาระหนี้จากบัญชี Premium FIDF* จำนวน 14,347 ล้านบาท)          707,077.72
ที่มา : รายงานการบริหารหนี้ตามพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เริ่มดำเนินการถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2564
????????____________________________
* Premium FIDF คือ บัญชีเงินฝากจากเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ (Premium FIDF 1) และบัญชีเงินฝากจากการกู้เงินเพื่อช่วยเหลือกองทุนฯ (Premium FIDF 3) ซึ่งเป็นบัญชีที่ใช้สะสมเงินส่วนเพิ่มที่เกิดจากราคาซื้อขายพันธบัตรสูงกว่าราคาที่ตราไว้ เพื่อนำไปสมทบชำระหนี้ FIDF

10. เรื่อง ขอขยายกลุ่มเป้าหมายในการรับรองหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ มอบหมายให้ ดศ. โดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) รับผิดชอบดำเนินการรับรองหลักสูตรการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลในข้าราชการและบุคลากรของรัฐ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 เรื่อง ร่างแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล สำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ 6 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการกอง ผู้ทำงานนโยบายและวิชาการ ผู้ทำงานด้านบริการ ผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยี และผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ ทั้งนี้ ตามมติคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 และให้ ดศ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ดศ. รายงานว่า คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ ได้มีมติเห็นชอบให้นำหลักเกณฑ์การรับรองหลักสูตรและการจัดการศึกษาที่ใช้รับรองหลักสูตร GCIO และผู้ช่วย GCIO ไปใช้ในการรับรองหลักสูตรการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลในข้าราชการและบุคลากรของรัฐให้ครอบคลุมทั้ง 6 กลุ่ม โดยให้ สดช. รับผิดชอบดำเนินการรับรองหลักสูตรการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลในข้าราชการและบุคลากรของรัฐ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
รายการ          สาระสำคัญ
ภาพรวมการรับรองหลักสูตรและการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล
วัตถุประสงค์/
เป้าหมายหลักสูตร          สดช. จะกำหนดให้มีความสอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ ทิศทางการพัฒนาประเทศ และการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งในสถานการณ์ปัจจุบันและรองรับอนาคต (สดช. แจ้งว่า สำหรับหลักสูตรพื้นฐานจะใช้วัตถุประสงค์และเป้าหมายในลักษณะเดียวกันกับหลักสูตรสำหรับ GCIO และผู้ช่วย GCIO ตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด)
การเตรียมการ          สถาบันอบรมเป็นผู้ออกแบบและจัดทำหลักสูตร ในรูปแบบหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่ สดช. กำหนด เพื่อยื่นขอรับรองโดย สดช. จะจัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติ ที่ระบุรายละเอียดหลักเกณฑ์ กลไก และการประเมินผลการรับรองมาตรฐานหลักสูตรฯ และเนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สถาบันอบรมที่สนใจนำไปใช้ประกอบการออกแบบหลักสูตร
ขั้นตอนการรับรอง          มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
(1) สถาบันอบรมยื่นคำขอรับการประเมิน โดยมีแบบฟอร์ม หลักฐานประกอบตามที่ สดช. กำหนด
(2) สดช. ตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารและหลักฐานประกอบที่สถาบันอบรมยื่นคำขอ (ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์)
(3) ผู้เชี่ยวชาญที่ สดช. คัดเลือกว่ามีความรู้ความชำนาญตรงกับหลักสูตร จำนวน 1 - 5 คน ตรวจประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรและการจัดอบรม ตามแนวปฏิบัติ หลักเกณฑ์ที่ สดช. กำหนด (ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์)
(4) ผลประเมินของผู้เชี่ยวชาญ [ในข้อ (3)] จะถูกส่งให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประชุมสรุปผลเพื่อการตัดสิน (ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์)
(5) สดช. แจ้งผลการตัดสิน ให้สถาบันอบรมทราบโดยใช้เวลาในการจัดทำหนังสือแจ้งผลการตัดสิน (ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์)
กรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตรและการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล
หลักสูตรที่เสนอขอรับรอง          สถาบันการศึกษาหรือสถาบันอบรมเอกชนสามารถนำเสนอได้ 3 รูปแบบ ดังนี้
(1) หลักสูตรพื้นฐาน จะต้องมีความสอดคล้องกับกลุ่มของบุคลากรที่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด โดยอาจแบ่งได้ตามบทบาท ระดับความพร้อม และวุฒิภาวะขององค์กร ซึ่งหลักสูตรนี้จะต้องมีเนื้อหาที่ครอบคลุมทั้งหน่วยความสามารถ หน่วยความรู้ (ทั้งพื้นฐานและที่จำเป็น) อย่างครบถ้วนตามที่กำหนด
(2) หลักสูตรเฉพาะเรื่อง จะต้องมีความสอดคล้องกับหน่วยความสามารถอย่างน้อยหนึ่งหน่วยความสามารถตามที่กำหนด โดยอาจมีความสอดคล้องกับหน่วยความสามารถได้มากกว่าหนึ่งกลุ่มและยังต้องมีองค์ประกอบของหน่วยความสามารถที่ระบุนั้นครบตามกำหนด และต้องประกอบกับหน่วยความรู้ที่มีความสอดคล้องกัน
(3) หลักสูตรด้านดิจิทัลอื่น ๆ จะต้องมีความยืดหยุ่นสูง เน้นเพื่อให้เกิดการประยุกต์ใช้กับหลักสูตรที่มีการดำเนินการอยู่แล้ว หรือมีการปรับปรุงเพียงเล็กน้อยเพื่อให้สอดคล้องกับบางส่วนที่สำคัญของเกณฑ์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาหน่วยงานของตนเองได้ โดยหลักสูตรฯ แบบนี้จะสอดคล้องกับเกณฑ์ฯ เพียงบางส่วนเท่านั้น และอาจมีการข้ามเทียบกันในหลายหน่วยความสามารถ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจและการบูรณาการ ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้และเทียบหน่วยความรู้และความสามารถได้
? หลักสูตรที่ขอรับการประเมินต้องเป็นหลักสูตรที่มีเนื้อหาด้านดิจิทัลที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานภาครัฐ ต้องระบุผลลัพธ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนการสอน และวิธีการประเมินผลที่สำคัญอย่างชัดเจน และสอดคล้องกับเกณฑ์ที่ สดช. กำหนด ทั้งนี้ สถาบันอบรมต้องจัดให้มีการทดลองสอนจริงก่อนยื่นเสนอขอรับรองเพื่อนำข้อมูลผลการอบรม เช่น ผลการประเมินของผู้เข้ารับการอบรมและผลการประเมินการสอนมาประกอบการยื่นขอรับรองหลักสูตร
คุณสมบัติของสถาบันอบรมที่สามารถจัดอบรมได้          สถาบันอบรมจะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการอบรม ตั้งแต่การพัฒนาหลักสูตรการดำเนินการขออนุมัติจัดการอบรม จัดอบรม และประเมินการอบรม รวมทั้งการปรับปรุงหลักสูตร โดยสถาบันอบรมที่สามารถยื่นขอรับรองหลักสูตร ต้องเป็นสถาบันหรือหน่วยงานในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หรือกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
(2) หน่วยงานภาครัฐที่มีพันธกิจในการจัดอบรม หรือให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการอบรม เช่น สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(3) สถาบันอบรมเอกชนที่ได้รับการรับรองจาก ศธ.
(4) สถาบันที่ได้รับความเห็นชอบโดยสถาบันหรือหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย
การประเมินหลักสูตร          นำกรอบมาตรฐาน ISO 29993 : 20171 มาเป็นแนวทางที่ใช้อ้างอิงในกระบวนการการรับรองหลักสูตร เพื่อให้เป็นมาตรฐานที่ยอมรับ และหลักสูตรที่ได้รับการรับรองสามารถพัฒนาข้าราชการและบุคลากรภาครัฐได้จริง โดยกำหนดระยะเวลาหลักสูตรและการจัดการศึกษาที่ได้รับการรับรองให้มีอายุ 3 ปี และมีการแต่งตั้งและอบรมผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการประเมินและรับรองหลักสูตร ภายใต้เกณฑ์ แนวทาง และกรอบการพิจารณาที่ชัดเจนและเท่าเทียมกัน โดยผู้เชี่ยวชาญที่ทำการประเมินจะได้รับการฝึกอบรมก่อนทำการประเมินและรับรองหลักสูตร
แนวทางปฏิบัติสำหรับสถาบันที่หลักสูตรได้รับการรับรอง          - สถาบันจะต้องส่งรายงานผลการอบรมภายใน 30 วัน หลังเสร็จสิ้นการอบรมแต่ละครั้ง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพในการจัดการอบรมและรายงานสรุปผลการอบรมรายปี
- หลักสูตรที่ได้รับการรับรองจะมีอายุ 3 ปี ซึ่งเมื่อครบกำหนด 3 ปี ต้องมีการปรับปรุงหลักสูตร ให้มีความทันสมัยและยื่นเข้ามาเพื่อให้พิจารณาอีกครั้ง
- ในกรณีที่มีการปรับปรุงหลักสูตรในสาระสำคัญ เช่น ชื่อหลักสูตร คุณสมบัติของผู้สอน ผลลัพธ์การเรียนรู้ กระบวนการการเรียนการสอนหรือการประเมินผลการอบรม เป็นต้น ก่อนรอบระยะเวลา 3 ปี ทางสถาบันอบรมต้องยื่นหลักสูตรที่มีการปรับปรุงมาเพื่อเข้าสู่กระบวนการรับรองใหม่
1 เป็นข้อกำหนดสำหรับบริการด้านการเรียนรู้นอกเหนือจากการศึกษาอย่างเป็นทางการ รวมทั้งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น การศึกษาด้านวิชาชีพ อาชีวศึกษา การฝึกอบรมภายในบริษัท และการฝึกอบรมโดยผู้ให้บริการการฝึกอบรม (Learning Service Provider: LSP) เป็นต้น

11. เรื่อง การพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ (การปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอผลการดำเนินงานการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ (การปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ) ของ สคก. ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ (2 มีนาคม 2564) เห็นชอบให้ สคก. รับผิดชอบพัฒนาหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐให้เหมาะสมแก่กาลสมัย โดยไม่ต้องนำเสนอหลักสูตรให้คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเห็นชอบอีก แต่ให้รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นระยะ
                    สคก. รายงานว่า ปัจจุบัน สคก. ได้ปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ วิธีการฝึกอบรมและพัฒนานักกฎหมายภาครัฐเสร็จแล้ว ซึ่งจัดทำเป็น 2 ระดับ โดยใช้ชื่อหลักสูตรเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตำแหน่งนิติกร (พ.ต.ก ) โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
                    1. หลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐระดับปฏิบัติการ
                    โครงสร้างของหลักสูตรจะมุ่งเน้นความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเป็นลำดับแรก เพื่อให้นักกฎหมายภาครัฐที่เพิ่งเริ่มต้นปฏิบัติงาน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่สำคัญต่อการพัฒนากฎหมายให้ดีขึ้น เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน (Better Regulation for Better Life) ความรู้พื้นฐานในด้านต่าง ๆ อันจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นที่ใช้ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งการเสริมสร้างและรักษาทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงาน และเพิ่มพูนความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้มีความรู้ในศาสตร์และศิลปแขนงอื่นที่แตกต่างได้อย่างเข้าใจ (Collaboration) โดยมีการแบ่งเป็น 8 หมวดวิชา รวม 106 ชั่วโมง
                    2. หลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐระดับชำนาญการขึ้นไป
                    โครงสร้างของหลักสูตรจะมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะของนักกฎหมายภาครัฐที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน หรือผู้มีประสบการณ์ที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากได้ และเสริมสร้างและรักษาทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงาน รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ต่าง ๆ อันจำเป็นต่อการเตรียมความพร้อมในการพัฒนากฎหมายของหน่วยงานที่ตนสังกัดให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป มีความสามารถในการมองภาพการพัฒนาประเทศในองค์รวม (Wholistic thinking) และเพิ่มพูนความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้มีความรู้ในศาสตร์และศิลปแขนงอื่นที่แตกต่างได้อย่างเข้าใจ (Collaboration) โดยมีการแบ่งเป็น 8 หมวดวิชา และกลุ่มวิชาการศึกษาดูงาน รวม 142 ชั่วโมง
                    3. กลุ่มเป้าหมาย
                    ได้แก่ นักกฎหมายภาครัฐ ซึ่งหมายถึง นักกฎหมายกฤษฎีกา นิติกร ข้าราชการ พนักงานราชการ หรือผู้ปฏิบัติงานด้านกฎหมาย ที่สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์และปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องใช้ความรู้ทางกฎหมายเป็นหลักในการปฏิบัติงาน และรวมถึงนายทหารพระธรรมนูญและบุคลากรทางกฎหมายอื่นในสังกัดกระทรวงกลาโหมด้วย โดยการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ สคก. ประกาศกำหนด
                    4. การประเมินผล
                              4.1 เป็นผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งหมด
                              4.2 เป็นผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่ผ่านการสอบข้อเขียนโดยได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 และ
                              4.3 เป็นผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีผลงานวิชาการส่วนบุคคลที่ผ่านการประเมินผลตามที่ สคก. กำหนด และเผยแพร่ต่อสาธารณะในเว็บไซต์ของ สคก.

12. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และแนวทางการบูรณาการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และการประสานขอความร่วมมือส่วนราชการเพื่อสนับสนุนการดำเนินการในระยะต่อไป [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (29 พฤศจิกายน 2548) ที่รับทราบแนวทางการจัดระเบียบของระบบกระบวนการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนของประชาชน และให้ สปน. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบด้านการติดตามผลการดำเนินการ และสรุปรายงานผลความคืบหน้าในการดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบทุก 3 เดือน] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนและการประมวลผลและวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น ไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                                        1.1.1 สถิติการแจ้งเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นของประชาชนที่ยื่นเรื่องผ่านช่องทางการร้องทุกข์ 1111 รวมทั้งสิ้น 25,322 เรื่อง สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ 22,726 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 89.75 และรอผลการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2,596 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 10.25
                                        1.1.2 หน่วยงานที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นมากที่สุด 5 ลำดับแรก ดังนี้
                                                  (1) ส่วนราชการ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงมหาดไทย ตามลำดับ
                                                  (2) รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ ธนาคารออมสิน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ
                                                  (3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี และชลบุรี ตามลำดับ
                              1.2 การประมวลผลและวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น ไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สรุปได้ ดังนี้
                                        1.2.1 สถิติจำนวนเรื่องร้องทุกข์เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่ผ่านมา ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีจำนวนเรื่องร้องทุกข์ 25,322 เรื่อง ซึ่งน้อยกว่าจำนวนเรื่องร้องทุกข์ในปีงบประมาณที่ผ่านมา 7,557 เรื่อง
                                        1.2.2 ประเด็นเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่ (1) การรักษาพยาบาล (2) ไฟฟ้า (3) การเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายและโครงการของรัฐ (4) ค่าครองชีพ (5) การให้บริการโทรศัพท์ (6) เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน (7) น้ำประปา (8) บ่อนการพนัน (9) ยาเสพติด และ (10) หนี้สินในระบบ ตามลำดับ
                                        1.2.3 รายงานสรุปการสอบถามข้อมูล แจ้งเหตุ ร้องขอความช่วยเหลือและเสนอข้อคิดเห็น ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ผ่านสายด่วน 1111 (ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน - 30 มิถุนายน 2564) ดังนี้
หน่วย : เรื่อง
ลำดับที่          ประเภทเรื่อง          จำนวน          ดำเนินการ
จนได้ข้อยุติ          รอผลการพิจารณา
1          การสอบถามข้อมูลและเสนอข้อคิดเห็น          114,459          114,404          55
2          ขอความช่วยเหลือและแจ้งเหตุ          4,905          4,394          511
รวมทั้งสิ้น          119,364          118,798          566
                                        1.2.4 การแจ้งเบาะแสการกระทำผิดกฎหมายและการร้องเรียนซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านช่องทาง 1111 (ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) ดังนี้
หน่วย : เรื่อง
ลำดับที่          ประเภทเรื่อง          จำนวน          ดำเนินการ
จนได้ข้อยุติ          รอผลการพิจารณา
1          แจ้งเบาะแสการกระทำความผิดกรณีบ่อนการพนัน          678          524          154
2          แจ้งเบาะแสกรณีการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548          400          216          184
3          แจ้งเบาะแสการกระทำความผิดกรณีการเข้าเมืองผิดกฎหมาย          54          43          11
รวม          1,132          783          349
                              1.3 ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์
                                        สปน. พบว่า ยังคงมีประชาชนร้องทุกข์เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นจำนวนมาก ซึ่งสอดคล้องกับการพบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้าที่กำลังแพร่ระบาดในปัจจุบัน             ทำให้ภาครัฐได้ประกาศมาตรการฉุกเฉินเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ แต่ยอดผู้ติดเชื้อยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง จึงส่งผลให้ประชาชนร้องทุกข์/เสนอข้อคิดเห็น และขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับประเด็นการแพร่ระบาดเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่น การตรวจสอบความโปร่งใสในการนำเข้าและจัดหาวัคซีน การบริหารจัดการสถานที่สำหรับรองรับผู้ป่วย และความล่าช้าในการติดต่อขอความช่วยเหลือผ่านสายด่วนของรัฐ
                    2. แนวทางการบูรณาการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และการประสานขอความร่วมมือส่วนราชการเพื่อสนับสนุนการดำเนินการในระยะต่อไป ดังนี้
                              2.1 ขอให้ทุกส่วนราชการพิจารณาเพิ่มการสร้างพันธมิตรในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ร่วมกับภาคเอกชนและกลุ่มอาสาสมัครต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนในการให้ความช่วยเหลือประชาชนทั่วประเทศ
                              2.2 ขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาสำรวจความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการ (ประชาชน) ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหรือปรับปรุงการให้บริการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ตลอดจนยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจต่องานบริการของภาครัฐอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการภาครัฐ
                              2.3 ขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาลดข้อจำกัดด้านกฎหมายหรือขั้นตอนที่ไม่จำเป็นและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดและลดอัตราการเสียชีวิตให้ได้โดยเร็ว และสนับสนุนให้ใช้กลไกคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดในการประสานแก้ไขสถานการณ์ในเชิงพื้นที่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้อย่างเหมาะสม

13. เรื่อง มาตรการสินเชื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการสินเชื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ (มาตรการฯ) และอนุมัติงบประมาณวงเงินรวม 1,500 ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อดำเนินมาตรการฯ พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการให้สามารถประกอบอาชีพและดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ กค. ธนาคารออมสินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการไปด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. รายงานว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (โรคโควิด 19) ระลอกใหม่ ที่เริ่มคลี่คลายลงและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมในเขตพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ส่งผลให้เริ่มมีการเปิดสถานที่และการให้บริการของสถานบริการ รวมไปถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่เริ่มกลับมาดำเนินได้ตามปกติ อย่างไรก็ดี การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของประชาชน รวมถึงการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการในหลายสาขาอาชีพ ทำให้มีรายได้ลดลง ประสบปัญหาด้านการเงินและมีความเสี่ยงในการชำระหนี้คืน ส่งผลให้ขาดเงินทุนสำหรับการเริ่มกลับมาประกอบอาชีพหรือเสริมสภาพคล่องสำหรับการดำเนินธุรกิจต่อไป ทำให้สถาบันการเงินยังไม่มั่นใจกับการปล่อยสินเชื่อให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ รวมทั้งมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเริ่มต้นในการประกอบอาชีพหรือเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ลดการพึ่งพาสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง หรือสินเชื่อนอกระบบ กค. จึงเสนอมาตรการฯ เพื่อบรรเทาและป้องกันความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น โดยมีสาระสำคัญของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขมาตรการฯ สรุปได้ ดังนี้
หลักเกณฑ์/เงื่อนไข          รายละเอียด
วัตถุประสงค์          เพื่อเป็นเงินทุนเริ่มต้นในการประกอบอาชีพหรือเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพและบรรเทาความเดือดร้อนจากการได้รับผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
กลุ่มเป้าหมาย          ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมจากหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่มีความน่าเชื่อถือ หรือมีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ ดังนี้
1) ผู้เริ่มประกอบอาชีพและผู้ประกอบการรายย่อย ประกอบด้วย ผู้ที่ผ่านการอบรมอาชีพ ?ช่าง? ทุกประเภท เช่น ช่างปูน ช่างแอร์ ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อม ช่างซ่อมอุปกรณ์ เป็นต้น และผู้ที่ไม่ใช่ช่าง เช่น ผู้ประกอบการเสริมสวยหรือตัดผม ผู้จำหน่ายสินค้าออนไลน์ เป็นต้น โดยมีใบประกาศนียบัตรหรือวุฒิบัตรที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนหรือเอกสารอื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพ หรือมีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพดังกล่าวมาแล้ว
2) ผู้ประกอบการขนาดย่อม ประกอบด้วย ผู้ประกอบการที่มีสถานที่จำหน่ายแน่นอน เช่น ค้าปลีก ค้าส่ง โชห่วย แฟรนไชส์ เป็นต้น โดยมีทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนการค้า สัญญาแฟรนไชส์ หรือเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของอื่น ๆ
3) ผู้ขับขี่รถสาธารณะ ประกอบด้วย ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ รถตู้สาธารณะ รถขนส่งสินค้า รถบรรทุก โดยมีใบอนุญาตขับขี่รถสาธารณะ หรือเอกสารอื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพ
วงเงินรวม          5,000 ล้านบาท (ธนาคารออมสิน)
วงเงินอนุมัติสินเชื่อ          ไม่เกิน 300,000 บาทต่อราย
ระยะเวลาโครงการ          1) ระยะเวลาการยื่นขอสินเชื่อ : ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565
2) ระยะเวลาการให้กู้ยืม : รวมทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 5 ปี (ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก) โดยธนาคารออมสินสามารถกำหนดระยะปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย รวมถึงหลักเกณฑ์เงื่อนไขเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
อัตราดอกเบี้ย          ร้อยละ 3.99 ต่อปี (Effective Rate)
เงื่อนไขการชดเชยของรัฐบาล          รัฐบาลชดเชยความเสียหายที่เกิดจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non - Performing Loans : NPLs) ร้อยละ 100 สำหรับ NPLs ที่ไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,500 ล้านบาท (5,000 ล้านบาท * ร้อยละ 30 * ร้อยละ 100) โดยธนาคารออมสินจะทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความเหมาะสมและความจำเป็นต่อไป
เงื่อนไขอื่น ๆ          1) ธนาคารออมสินจะคืนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ของดอกเบี้ยที่ธนาคารออมสินได้รับในรอบปีนั้น (12 งวด) สำหรับลูกค้าที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อวงเงินไม่เกิน 100,000 บาทและมีประวัติชำระหนี้ดีตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป
2) ธนาคารออมสินจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อส่งเสริมความรู้ทางการเงินและยกระดับทักษะในการประกอบอาชีพให้แก่ลูกค้า รวมถึงจัดหาอุปกรณ์การค้าและสถานที่จำหน่ายสินค้า เพื่อลดภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายการหาเลี้ยงชีพและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้แก่ลูกค้า
3) แยกบัญชีโครงการเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA)
4) ไม่นับรวม NPLs ที่เกิดจากการดำเนินงานของมาตรการดังกล่าวในการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของธนาคารออมสิน
ประโยชน์ที่จะได้รับ          คาดว่าจะช่วยเหลือประชาชนให้สามารถกลับมาประกอบอาชีพหรือดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ประมาณ 60,000 ราย

14. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 39/2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 39/2564 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งอนุมัติให้จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดลำพูน จังหวัดนนทบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดกาญจนบุรีเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการหรือยกเลิกกิจกรรมภายใต้โครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ) พร้อมทั้งเห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform: eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คกง. รายงานว่า ที่ประชุม คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 39/2564 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 มีมติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ทำให้การดำเนินโครงการล่าช้ากว่าแผนที่ได้รับอนุมัติไว้หรือไม่สามารถดำเนินการได้ ดังนี้
                    1. โครงการที่ได้รับอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 และวันที่ 6 ตุลาคม 2563
โครงการ          มติคณะรัฐมนตรีเดิม          ข้อเสนอในครั้งนี้
จังหวัดลำพูน
โครงการขยายผลการดำเนินงานเกษตรกรรมยั่งยืน          สิ้นสุดเดือนกันยายน 2564          ขยายระยะเวลาโครงการฯ
เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564
จังหวัดนนทบุรี (2 โครงการ)
1) โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวปลอดภัยแบบครบวงจรและลดต้นทุนการผลิตข้าว          สิ้นสุดเดือนกรกฎาคม 2564          ขยายระยะเวลาโครงการฯ
เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564
2) โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์สวนทุเรียนนนทบุรีอย่างยั่งยืน          สิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2564
จังหวัดร้อยเอ็ด
โครงการ ?สืบสานตำนานศิลป์ผ้าถิ่นไทร้อยเอ็ด?          สิ้นสุดเดือนกันยายน 2564          ขยายระยะเวลาโครงการฯ
เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564
จังหวัดสุรินทร์
โครงการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกข้าวและการพัฒนาการตลาดสินค้าเกษตรในรูปแบบเกษตรอัจฉริยะแบบครบวงจร (Smart Rice Farm)          สิ้นสุดเดือนกันยายน 2564          ขยายระยะเวลาโครงการฯ
เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564
จังหวัดนราธิวาส (2 โครงการ)
(1) โครงการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร          ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ
ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563
ถึงเดือนกันยายน 2564          ปรับแผนการดำเนินโครงการฯ
เป็นตั้งแต่เดือนเมษายน 2564
ถึงเดือนธันวาคม 2564
(2) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวปลอดภัย          อนุมัติให้ดำเนินโครงการฯ
วงเงิน 12.94 ล้านบาท          ยกเลิกกิจกรรมย่อย 2 กิจกรรม
(วงเงิน 12.58 ล้านบาท)
เนื่องจากไม่สามารถจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ตามที่กำหนดและพื้นที่ดำเนินโครงการประสบภัยน้ำท่วมพื้นที่ในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต
วงเงินโครงการฯ
ปรับลดเป็น 0.36 ล้านบาท
                    2. โครงการที่ได้รับความเห็นชอบตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2563 และวันที่ 6 ตุลาคม 2563
โครงการ          มติคณะรัฐมนตรีเดิม          ข้อเสนอในครั้งนี้
จังหวัดสุพรรณบุรี (2 โครงการ)
(1) โครงการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ผลคุณภาพ          สิ้นสุดเดือนกันยายน 2564          ขยายระยะเวลาโครงการฯ
เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564
(2) โครงการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย
จังหวัดลำพูน
โครงการพัฒนาและยกระดับเกษตรกรยุคใหม่และฟาร์มเกษตรยุคใหม่เพื่อการท่องเที่ยว          สิ้นสุดเดือนกันยายน 2564          ขยายระยะเวลาโครงการฯ
เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564
จังหวัดกาญจนบุรี
โครงการยกระดับคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรสู่มาตรฐานเกษตรปลอดภัยแบบครบวงจร          สิ้นสุดเดือนกันยายน 2564          ขยายระยะเวลาโครงการฯ
3 กิจกรรม
เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564
          อนุมัติให้ดำเนินโครงการฯ
วงเงิน 11.79 ล้านบาท          ยกเลิกกิจกรรมย่อย 1 กิจกรรม
(กิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าเกษตร)
(วงเงิน 1 ล้านบาท)
เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
วงเงินโครงการฯ
ปรับลดเป็น 10.79 ล้านบาท

15. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 15/2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 15/2564 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 ดังนี้
                    1. อนุมัติให้กรมการจัดหางานปรับปรุงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs (โครงการส่งเสริมฯ) เพื่อให้การดำเนินโครงการส่งเสริมฯ บรรลุตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งธุรกิจ SMEs สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน (รง.) ดำเนินการตามระเบียบที่เกี่ยวข้องของทางราชการอย่างเคร่งครัด และเร่งดำเนินการการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
                    2. มอบหมายให้กรมสรรพากรพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับมาตรการภาษีที่กำหนดให้เงินอุดหนุนที่รัฐจ่ายให้นายจ้างจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วแต่กรณีตามขั้นตอนของกฎหมายและระบบที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    3. รับทราบกรอบการดำเนินการและคู่มือแนวปฏิบัติการเสนอโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 (โครงการเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565) และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ในคู่มือแนวปฏิบัติการเสนอโครงการเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 รวมถึงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องของทางราชการโดยเคร่งครัด
                     ทั้งนี้ มติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุม ครั้งที่ 15/2564  สรุปได้ ดังนี้
                      1. อนุมัติให้กรมการจัดหางานปรับปรุงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs (โครงการส่งเสริมฯ) เพื่อให้การดำเนินโครงการส่งเสริมฯ บรรลุตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งธุรกิจ SMEs สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                      เงื่อนไข การจ่ายเงินอุดหนุน
                                 1.1 ปรับเงื่อนไขการส่งข้อมูลเงินสมทบและการจ่ายเงินอุดหนุน นายจ้างที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการต้องลงทะเบียนนำส่งข้อมูลเงินสมทบ ผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม  ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยให้มีผลในงวดเงินสมทบเดือน พ.ย.64  เป็นต้นไป (นำส่งข้อมูลเงินสมทบผ่านระบบ e-Service ภายในวันที่ 15 ธ.ค. 64)
                     วิธีดำเนินงาน
                                1.2  เพิ่มช่องทางการลงทะเบียน นายจ้างที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการ สามารถลงทะเบียนโดยยื่นแบบฟอร์มแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการ พร้อมแนบหลักฐาน ณ สำนักงานจัดหางาน หรือหน่วยเคลื่อนที่ ของสำนักงานจัดหางาน เพื่อให้เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลลงในระบบ แทนนายจ้าง (เดิมให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์เท่านั้น)
                                1.3 ขยายระยะเวลาการลงทะเบียน ผู้ที่ลงทะเบียนรอบที่ 2 วันที่  21 พ.ย. - 20 ธ.ค. 64 จะได้รับเงินอุดหนุนตามจำนวนการจ้างงาน ลูกจ้างสัญชาติไทยไม่เกิน 200 คน เป็นระยะเวลา 2 เดือน (ธ.ค. 64 และ ม.ค. 65)
                                 1.4 ปรับรูปแบบการจ่ายเงินอุดหนุน โดยเพิ่มกรณีหลังจากวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หากพบว่า รัฐจ่ายเงินอุดหนุนยังไม่ครบถ้วนอีก ให้สามารถจ่ายเพิ่มเติมได้จนกว่าจะครบถ้วนตามสิทธิ์ที่นายจ้าง พึงจะได้รับ โดยงบฯ อยู่ภายใต้กรอบวงเงินที่ได้รับการจัดสรรเงินกู้ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 64
                     มาตรการทางภาษี
                                1.5 เงินอุดหนุนที่รัฐจ่ายให้นายจ้างจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วแต่กรณี โดยนายจ้างจะต้องไม่นำเงินอุดหนุนดังกล่าวไปคำนวณเป็นรายได้และรายจ่ายในการหักภาษี
ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว มอบหมายให้กระทรวงแรงงานดำเนินการตามระเบียบที่เกี่ยวข้องของทางราชการอย่างเคร่งครัด และเร่งดำเนินการการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
                     2. มอบหมายให้กรมสรรพากรพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับมาตรการภาษี                ที่กำหนดให้เงินอุดหนุนที่รัฐจ่ายให้นายจ้างจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วแต่กรณีตามขั้นตอนของกฎหมายและระบบที่เกี่ยวข้องต่อไป (ตามข้อ 1.5)
                     3. เห็นชอบกรอบการดำเนินการและคู่มือแนวปฏิบัติการเสนอโครงการพัฒนา และเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 (โครงการเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                     เป้าประสงค์ของโครงการ
                                - พัฒนาสินค้า ท่องเที่ยว บริการ และการค้า
                                - ยกระดับประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการเกษตร/อุตสาหกรรม
                                - พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการฟื้นตัวและพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชน
                                - เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการกระจายประโยชน์ให้กับประชาชนในระดับพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน
                     ลักษณะ ข้อเสนอโครงการ
                                (1) ลักษณะที่พึงประสงค์ (DO) อาทิ สอดคล้องกับขอบเขตของโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ
                                (2) ลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ (DON?T) อาทิ ในพื้นที่ดำเนินการที่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ดำเนินการของโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไปแล้ว
                     ผู้เสนอโครงการ
                                (1) หน่วยงานของรัฐ (รวมถึง อปท. ในจังหวัด)
                                (2) กลุ่ม/องค์กรที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ อาทิ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน กลุ่มอาชีพ กลุ่มเปราะบาง
                     กรอบวงเงินของจังหวัด วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท โดยกรอบวงเงินดังกล่าว เป็นเพียงกรอบวงเงินสูงสุด (Ceiling) เพื่อให้จังหวัดใช้ในการจัดทำข้อเสนอโครงการสำหรับผลการพิจารณา และวงเงินที่จะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของข้อเสนอโครงการและความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนด
                     กลไกและกระบวนการในการขับเคลื่อน
                                กำหนดให้ใช้กลไกคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยฯ เป็นผู้รับผิดชอบดำนินการ โดยมี                รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยฯ และกำชับให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยฯ (ปลัดจังหวัดและหัวหน้าสำนักงานจังหวัด) เรียนเชิญสำนักงบประมาณเขตพื้นที่ 1 - 18 เข้าร่วมประชุมให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับความเหมาะสมของรายละเอียดงบประมาณด้วย
                     ระยะเวลาดำเนินการ พ.ย. 64 - ธ.ค. 65

16. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านบูรณาการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2570) ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้
                       1. รับทราบผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 1 - 3 (พ.ศ. 2554 - 2564) และแผนปฏิบัติการด้านบูรณาการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2570) ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ
                     2. เห็นชอบในหลักการสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 4 (พ.ศ. 2566 ? 2570) ของมูลนิธิฯ และสถาบันฯ ตามที่ สปน. เสนอ
                     ทั้งนี้ การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 4 (พ.ศ. 2566 ? 2570) รวมทั้งการใช้จ่ายงบประมาณ ให้มูลนิธิฯ และสถาบันฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ                              สาระสำคัญของเรื่อง
                    สปน. รายงานว่า
                    1. ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 1 - 3 (พ.ศ. 2554 - 2564) สามารถขับเคลื่อนพันธกิจให้ไปสู่เป้าหมายการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ รวมทั้งได้ให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริในพื้นที่ที่มีปัญหาด้านความมั่นคงเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) และนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
ด้าน          ผลการดำเนินงาน
1) เศรษฐกิจ          พัฒนาระบบน้ำเพื่อการเกษตร 514,420 ไร่ มีประชาชนได้รับประโยชน์ 148,886 ครัวเรือน ก่อให้เกิดรายได้ต่อประชาชน 4,683 ล้านบาท
2) สังคมและวัฒนธรรม          พัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (Area Based) 9 จังหวัด และการขยายผลการพัฒนาในลักษณะ (Project Based) ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการบริหารจัดการโดยชุมชนในลักษณะกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์ 85 กลุ่ม มีแผนพัฒนาหมู่บ้านที่มีคุณภาพในหมู่บ้านที่มีสถานการณ์ยาเสพติดพื้นที่ชายแดนภาคเหนือ 52 หมู่บ้าน นอกจากนี้ มีการเสริมสร้างความเข้มแข็งและสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนใต้จากโครงการทุเรียนคุณภาพ
3) สิ่งแวดล้อม          มีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น 106,580 ไร่ ด้วยการลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว และลดการเกิดไฟป่าในพื้นที่จังหวัดน่านได้ร้อยละ 99 ดำเนินการอนุรักษ์ป่าด้วยการสร้างฝายอนุรักษ์ในพื้นที่ต่าง ๆ 6,694 แห่ง พร้อมกับพัฒนาฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศและแผนที่ภาพถ่ายความละเอียดสูงโดยอากาศยานไร้คนขับ (จังหวัดอุทัยธานี) ทำให้ประชาชนมีความมั่นใจในการประกอบอาชีพ และคณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติมอบใบรับรองสิทธิ์ทำกินพื้นที่ 13,044 ไร่
4) องค์ความรู้          มีการสร้างหลักสูตร 11 หลักสูตร และครูภูมิปัญญา 115 คน รวมทั้งสามารถฝึกอบรมด้านการพัฒนาตามแนวพระราชดำริให้ผู้นำชุมชน นักศึกษา บุคลากรภาครัฐ 17,467 คน และนำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนา
                    นอกจากนี้ ได้ดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับสถานการณ์และสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ได้แก่ โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานรากเพื่อบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 และโครงการฝ่าวิกฤติด้วยเศรษฐกิจและสังคมฐานรากให้ก้าวไปตามแนวพระราชดำริ ครอบคลุม 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น อุดรธานี น่าน อุทัยธานี เพชรบุรี ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมทั้งสิ้น 646 โครงการ และสามารถจ้างงานผู้ว่างงานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จำนวน 962 คน ประชาชนได้รับประโยชน์ 43,549 ครัวเรือน มีปริมาณน้ำกักเก็บ 122.2 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีพื้นที่รับประโยชน์ 204,218 ไร่
                    2. แผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2570) ของมูลนิธิฯ และสถาบันฯ
                        2.1 สืบเนื่องจากแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2564 - 2565) จะสิ้นสุดลงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มูลนิธิฯ และสถาบันฯ จึงได้จัดทำร่างแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2570) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดความต่อเนื่อง ซึ่งคณะกรรมการสถาบันฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 ได้เห็นชอบด้วยแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
1) วิสัยทัศน์          จัดการความรู้และนำแผนการพัฒนาไปขยายผลการประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริ
ด้วยการบูรณาการกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
2) เป้าหมาย          ขยายผลแบบแผนการพัฒนาเชิงพื้นที่ให้เกิดการดำเนินการในพื้นที่อื่นอย่างกว้างขวางภายใต้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่สอดคล้องกับสถานการณ์และสนับสนุนนโยบายรัฐบาล เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจสังคมระดับฐานราก
3) ตัวชี้วัด          3.1) มีการขยายผลแบบแผนการพัฒนาเชิงพื้นที่ไปดำเนินการในพื้นที่อื่น อย่างน้อย 5 พื้นที่
3.2) มีการขยายผลการซ่อมแซมเสริมศักยภาพแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ที่มีปัญหาแล้งซ้ำซาก 625 โครงการ
3.3 มีหมู่บ้านในพื้นที่ที่มีสถานการณ์ยาเสพติด 8 หมู่บ้าน และมีการประกอบสัมมาชีพพึ่งพาตนเองเป็นแหล่งเรียนรู้ในการป้องกันและเฝ้าระวังยาเสพติด
3.4) เกิดเครือข่ายผู้ประกอบการในพื้นที่โครงการเศรษฐกิจฐานราก ตามแนวทาง BCG ไม่น้อยกว่า 27 เครือข่าย
3.5) มีระบบข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การวิเคราะห์ตัดสินใจของผู้บริหารทันต่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 5 ระบบ
4) แนวทางการพัฒนา          แนวทางที่ 1 การขยายผลการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน
แนวทางที่ 2 การพัฒนาทางเลือกในพื้นที่ที่มีสถานการณ์ความมั่นคงของประเทศในจังหวัดชายแดนภาคใต้และปัญหายาเสพติดในจังหวัดชายแดนภาคเหนือ
แนวทางที่ 3 การพัฒนาแหล่งน้ำชุมชนขนาดเล็กเพื่อการเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพให้ผู้ว่างงานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่กลับภูมิลำเนา
แนวทางที่ 4 การนำเกษตรอัจฉริยะมาประยุกต์ใช้ในทฤษฎีใหม่และสร้างชุมชน
ผู้ประกอบการเกษตร BCG
แนวทางที่ 5 การพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรปรับเปลี่ยนเป็นหน่วยงานที่มีสมรรถนะสูง
5) ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ          สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ในยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม และยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

17. เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายของที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล ปี 2563
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติดังนี้
                    1. รับทราบข้อเสนอเชิงนโยบายของที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล ปี 2563 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    2. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้นำความเห็นและข้อเสนอแนะจากที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล ปี 2563 รวมทั้งความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและแผนการพัฒนาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    พม. ได้รายงานผลการประชุมในระดับชาติของสภาองค์การชุมชนตำบลประจำปี 2563 ในการประชุมเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 โดยที่ประชุมได้พิจารณารับรองความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และกฎหมาย รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลต่อพื้นที่มากกว่าหนึ่งจังหวัดทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสรุปปัญหาที่ประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ประสบ และข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาจากสภาองค์กรชุมชนตำบล ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรา 32 (3) แห่งพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาข้อเสนอเชิงนโยบาย จำนวน 4 ประเด็น
                    โดยในส่วนของประเด็นข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาใน 4 ประเด็นสำคัญ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการตามนัยมาตรา 32 (3) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว รวมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำความเห็นและข้อเสนอแนะจากที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและแผนการพัฒนาต่อไปนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็นปัญหา/ข้อเสนอแนะ/
หน่วยงานรับผิดชอบ          การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
1. โครงการ ?จะนะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต? จังหวัดสงขลา [ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)]
? รัฐบาลและ ศอ.บต. ได้ดำเนินการอย่างรวบรัดขั้นตอนขาดการจัดการศึกษาผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และรับฟังความคิดเห็นก่อนอนุมัติโครงการ แต่เป็นการชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นภายหลังจากการอนุมัติโครงการ
? ข้อเสนอแนะ : 1) ให้ทบทวนโครงการนี้ โดยต้องยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 และวันที่ 21 มกราคม 2563
                      2) ขอให้มีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเพื่อเป็นข้อมูลกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นก่อนที่จะกำหนดโครงการใด ๆ ขึ้นในพื้นที่          - ศอ.บต. ได้ดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชน พ.ศ. 2548 แล้ว และ ศอ.บต. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ตลอดจนข้อเสนอแนะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เช่น การจัดทำแผนแม่บทเชิงพื้นที่ การศึกษาความเชื่อมโยง เส้นทางการคมนาคมขนส่งเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา การปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นต้น
- สนับสนุนทุนวิจัยเพื่อนำความคิดเห็นของประชาชน กลุ่มหรือองค์กรที่อยู่ในพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ต่อการดำเนินการขยายผลโครงการดังกล่าว เพื่อนำข้อเสนอของประชาชนไปสู่การจัดทำเป็นธรรมนูญระดับตำบลให้มีความสมบูรณ์ พร้อมกำหนดขั้นตอนการดำเนินการ และการผลักดันให้มีสถานะทางกฎหมายสำหรับการบังคับใช้
2. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี [กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)] และกระทรวงมหาดไทย (มท.)]
? มีการบุกรุกพื้นที่สาธารณะทางทะเลกว่า 2 แสนไร่ ซึ่งสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศและสร้างความขัดแย้งต่อประชาชนมาอย่างต่อเนื่องโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้มีประกาศจังหวัดให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง อาคาร (ขนำเฝ้าหอยและโฮมสเตย์) หรือสิ่งใด ๆ ที่ได้ก่อสร้าง หรือติดตั้งในบริเวณดังกล่าวภายในระยะเวลา 60 วัน แต่มีผู้ประกอบการบางแห่งเพิกเฉยต่อคำสั่งและมีแนวโน้มจะไม่ดำเนินการคืนพื้นที่ตามคำสั่ง
? ข้อเสนอแนะ :1) จัดให้มีนโยบายการมีส่วนร่วมเพื่อบูรณาการการจัดการพื้นที่อ่าวบ้านดอนอย่างสมดุลและเป็นธรรม และคุ้มครองสิทธิชาวประมงพื้นบ้าน รวมถึงการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะทางทะเลอย่างเป็นองค์รวมบนฐานความยั่งยืนทางนิเวศ ตามกรอบข้อตกลงสากลองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
                     2) จัดตั้งคณะทำงาน ประกอบ ด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากการแต่งตั้งในระดับชาติ และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อรัฐบาลในทุกด้าน รวมทั้งขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันในการจัดการปัญหาแบบบูรณาการในพื้นที่          - กษ. (กรมประมง) ได้ร่วมบูรณาการการปฏิบัติงาน
เพื่อขับเคลื่อนกลไกการบริหารจัดการทั้งด้านการทำประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ภายใต้แนวทางการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและหลักการป้องกันล่วงหน้า เพื่อรักษาหรือฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ
3. เขตพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดนครราชสีมา [กระทรวงคมนาคม (คค.)]
? เนื่องจากช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ และชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น เป็นพื้นที่ที่คนจนเมืองหลายครัวเรือนอาศัยอยู่ในเขตริมทางรถไฟและได้รับผลกระทบจากการที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ขอพื้นที่ริมทางรถไฟ จำนวน 20 เมตร โดยวัดจากกึ่งกลางของรางรถไฟ (ตามกฎหมายเป็นเอกสิทธิ์ของ รฟท.) และพื้นที่ดังกล่าวจะถูกรื้อถอน ส่งผลให้ผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณริมรางรถไฟต้องย้ายออกไป
? ข้อเสนอแนะ : 1 จัดกลไกการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมในกรณีการโยกย้าย และชดเชยทรัพย์สินแก่ผู้ได้รับผลกระทบที่อยู่อาศัยในเขตแนวเส้นทางรถไฟและเวนคืนที่ดินนอกเขตทางรถไฟ รวมถึงผู้ถูกอพยพและการรื้อย้ายในส่วนที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ
                      2) จัดทำแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งสินค้าเกษตรที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เพื่อก่อให้เกิดการค้าขาย กระจายสินค้า และส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน
                      3) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คค. พม. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ร่วมกันในการวางแผนและออกแบบการพัฒนาเมืองที่ดี ตลอดจนการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมืองอย่างยั่งยืน          คค. (สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งจราจร) ได้ดำเนินโครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง (Transit Oriented Development : TOD) ซึ่งหากนำแนวคิด TOD มาใช้ขับเคลื่อนจะช่วยขจัดปัญหาการขยายตัวของเมืองอย่างไร้ทิศทาง (Urban Sprawl)และเพิ่มศักยภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินและบริเวณโดยรอบให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สร้างแหล่งงานในพื้นที่ ลดการเดินทาง ลดปัญหาชุมชนแออัด เกิดการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4. ผลกระทบจากโรงงานประกอบกิจการขยะ 5 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว [กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มท. และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)]
? เกิดปัญหาขยะพิษที่ส่งผลกระทบกับชุมชน และโรงงานบำบัดกำจัดกากของเสียมีจำนวนไม่เพียงพอกับโรงงานที่เป็นผู้ก่อกำเนิดขยะซึ่งมีจำนวนมากกว่า โดยคิดเป็นอัตราส่วน 1 ต่อ 40
? ข้อเสนอแนะ :1) มอบหมายให้มีหน่วยงานกำกับดูแลสิ่งแวดล้อมและมลพิษที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมเฉพาะที่แยกจาก อก. (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) และมีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการกำกับดูแลตามกฎหมาย
                     2)กำหนดนโยบายการใช้เทคโนโลยี มาจัดการขยะพิษ การควบคุมมลพิษ และการแก้ปัญหาการจัดการขยะพิษอย่างเข้มงวด โดยให้มีกระบวนการตรวจสอบ เปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส
                     3) กำหนดนโยบายห้ามนำเข้าขยะทุกประเภทจากต่างประเทศ          - อก. ได้จัดทำแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาทั้งในระดับสากลและวาระแห่งชาติ เรื่อง BCG Economy Model เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยการบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วนมุ่งสร้างมูลค่าสูงสุดจากทรัพยากรธรรมชาติ ควบคู่กับการลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็นศูนย์ (Zero Waste) เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดของเสีย และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแก่ประเทศ
- การนำของเสียจากต่างประเทศเข้ามารีไซเคิลภายในประเทศจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและจะต้องปฏิบัติตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรมและ อก. มีนโยบายให้ใช้ของเสียที่มีอยู่ในประเทศก่อน

18. เรื่อง ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง นโยบายการตรวจเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง นโยบายการตรวจเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565  ตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เสนอ  ดังนี้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    นโยบายการตรวจเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้จัดทำเป็นประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง นโยบายการตรวจเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เพื่อให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนการตรวจสอบและแผนการปฏิบัติราชการ โดยให้ความสำคัญกับการตรวจเงินแผ่นดินเพื่อส่งเสริมให้หน่วยรับตรวจปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 การแก้ไขปัญหา เยียวยา และพื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตลอดจนพัฒนา สตง.ให้เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและในระดับสากล เป็นองค์กรภาครัฐยุคดิจิทัลที่ทันสมัย สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากภัยพิบัติทางธรรมชาติและโรคระบาด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่อันจะส่งผลให้การตรวจเงินแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
                    1. ทิศทางและเป้าหมายในการตรวจเงินแผ่นดิน
                              1.1 การตรวจเงินแผ่นดินต้องเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลมาตรฐานทางจริยธรรม และหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้การบริหารการเงินการคลังเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และแบบแผนการปฏิบัติราชการ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ คุ้มค่า เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่การเงินการคลังของรัฐ โดยให้ความสำคัญกับการตรวจสอบในเรื่องต่าง ๆ เช่น
                                        1) การส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐจัดทำรายงานการเงินให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
                                        2) การใช้จ่ายเงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ที่ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน ประกอบด้วย เงินกู้ เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี เงินนอกงบประมาณ และเงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยตรวจสอบให้ครอบคลุมการดำเนินการในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการแพทย์และสาธารณสุข  การจัดหาและการบริหารวัคซีนป้องกันโรค การจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข และการเตรียมความพร้อมด้านสถานพยาบาล
                                        3) การใช้จ่ายเงินตามแผนงานหรือโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โดยเฉพาะแผนงานยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
                              1.2 การยกระดับการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะการเป็นองค์กรตรวจเงินแผ่นดินที่มีบทบาทในการให้คำปรึกษาแนะนำ โดยการให้ความสำคัญกับการตอบข้อสอบถามของหน่วยรับตรวจเกี่ยวกับการปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 หรือในเรื่องที่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน รวมถึงการให้คำปรึกษา แนะนำ หรือเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินแผ่นดินให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ตลอดจนการให้คำแนะนำแก่หน่วยงานของรัฐในการแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน และจัดทำฐานข้อมูลการตอบข้อสอบถาม การให้คำปรึกษา แนะนำ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน
                              1.3 การส่งเสริมและสนับสนุนให้ สตง. เป็นองค์กรตรวจเงินแผ่นดินชั้นนำที่ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและระดับสากล
                              1.4 การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบบริหารจัดการภายในด้านการปรับโครงสร้างองค์กร การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาด้านงานวิจัย และนวัตกรรมและการพัฒนาองค์กรเข้าสู่องค์กรภาครัฐยุคดิจิทัล
                    2. ผลสัมฤทธิ์ในการตรวจเงินแผ่นดิน
                              2.1 การตรวจเงินแผ่นดินเป็นไปตามนโยบายการตรวจเงินแผ่นดินและหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน รวมทั้งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และเจ้าหน้าที่ของหน่วยรับตรวจได้รับโอกาสในการชี้แจงเหตุผลและแสดงพยานหลักฐาน
                              2.2 การบริหารการเงินการคลังของรัฐเกิดผลสัมฤทธิ์มีประสิทธิภาพตอบสนองต่อประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน และสอดคล้องกับสถานะการเงินการคลังของประเทศ
                              2.3 ทุกภาคส่วนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลรักษาเงินแผ่นดิน และมีส่วนร่วมในการดูแลและรักษาเงินแผ่นดิน
                              2.4 สตง. มีระบบบริหารและการจัดการภายในที่สนับสนุนและเสริมสร้างความสามารถด้านการตรวจเงินแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพ สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และโรคระบาด
                    3. การดำเนินการเพื่อพัฒนาการตรวจเงินแผ่นดิน
                              3.1 ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน
                                        1) ส่งเสริม ให้ความช่วยเหลือและให้ความเห็นต่อวิธีปฏิบัติทางบัญชีภาครัฐ เพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน
                                        2) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากระบวนการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ให้เป็นไปตามนโยบายการตรวจเงินแผ่นดินและหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน รวมทั้งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
                                        3) เสริมสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐสภา โดยแสดงบทบาทหลักในการให้คำปรึกษา แนะนำ การให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมาย พร้อมทั้งเสนอแนะต่อรัฐสภาเกี่ยวกับการบริหารการเงินการคลังของรัฐบาลในเรื่องการใช้จ่ายเงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) และการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง
                              3.2 ด้านการบริหารจัดการองค์กร
                                        1) ศึกษาความเหมาะสมในการปรับปรุงโครงสร้างภายใน สตง. เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                                        2) ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการตรวจสอบที่เหมาะสมในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ
                                        3) พัฒนาระบบการบริหารจัดการและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเข้าสู่การเป็นองค์กรภาครัฐยุคดิจิทัล ด้วยการพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับบุคลากร (Digital Lteracy) การนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) มาใช้ในการปฏิบัติงานและการตรวจสอบเพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างความสามารถทางด้านการตรวจเงินแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพ สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากภัยพิบัติทางธรรมชาติและโรคระบาด
                              3.3 ด้านการเสริมสร้างการมีส่วนร่วม
                                        1) ส่งเสริมและสนับสนุนการให้ความรู้ คำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินแก่ภาคประชาชน
                                        2) พัฒนารูปแบบรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีเพื่อแสดงให้เห็นผลการตรวจสอบในภาพรวมด้านกฎหมาย ผลสัมฤทธิ์ ประสิทธิภาพของการบริหารเงินแผ่นดินและวินัยการเงินการคลังของหน่วยรับตรวจ รวมถึงสนับสนุนให้มีการรายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างงวด (Interim Report) ต่อรัฐสภา ในประเด็นข้อตรวจพบที่เป็นประโยชน์และมีความสำคัญเป็นพิเศษ
                                        3) พัฒนารูปแบบรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีให้เข้าใจง่าย มีความน่าสนใจภาคประชาชนสามารถเข้าถึงรายงานผลการปฏิบัติงานของ สตง. ได้อย่างสะดวกเพื่อเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในการสอดส่องดูแลรักษาเงินแผ่นดินและสาธารณสมบัติ
                              3.4 ด้านการต่างประเทศ
                                        1) ส่งเสริมและสนับสนุนการทำหน้าที่ประธานองค์การ
สถาบันการตรวจสอบสูงสุดแห่งเอเชีย (Chairman of ASOSAI) วาระปี พ.ศ. 2564 - 2567
และการทำหน้าที่คณะมนตรีองค์การสถาบันการตรวจสอบสูงสุดระหว่างประเทศ (INTOSAI
Governing Board) วาระปี พ.ศ. 2562-2568
                                        2) ส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทในการปฏิบัติหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดิน ด้านการเสริมสร้างธรรมาภิบาล ด้านการสนับสนุนการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และด้านภัยพิบัติและโรคระบาดให้สอดคล้องกับปฏิญญากรุงเทพ 2564 (Bangkok Declaration 2021)
                                        3) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการ ประสบการณ์ และการวิจัยกับประเทศสมาชิกองค์การสถาบันการตรวจสอบสูงสุดแห่งอาเซียน (ASEANSAI) องค์การสถาบันการตรวจสอบสูงสุดแห่งเอเชีย (ASOSAI) และองค์การสถาบันการตรวจสอบสูงสุดระหว่างประเทศ (INTOSAI) เพื่อนำองค์ความรู้ด้านการตรวจเงินแผ่นดินจากนานาประเทศ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและการตรวจสอบภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติและโรคระบาด



ต่างประเทศ

19.  เรื่อง การเข้าร่วมเป็นประเทศหุ้นส่วนด้านพลังงานภายใต้ยุทธศาสตร์สายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Energy Partnership: BREP) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นประเทศหุ้นส่วนด้านพลังงาน
ภายใต้ยุทธศาสตร์สายแถบและเส้นทาง (The Belt and Road Energy Partnership: BREP) ตามคำเชิญของสำนักงานพลังงานแห่งชาติจีน โดยให้ พน. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือร่วมกับสำนักงานพลังงานแห่งชาติจีนต่อไป พร้อมเห็นชอบต่อเอกสาร จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ปฏิญญาร่วมการจัดตั้งความเป็นหุ้นส่วนด้านพลังงานภายใต้ยุทธศาสตร์สายแถบและเส้นทาง (Joint Declaration on Building the Belt and Road Energy Partnership) และหลักการความร่วมมือและการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมของหุ้นส่วนด้านพลังงานภายใต้ยุทธศาสตร์สายแถบและเส้นทาง (Cooperation Principles and Concrete Actions of the Belt and Road Energy Partnership)   โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นผู้ลงนามในหนังสือแจ้งยืนยันการเข้าร่วมเป็นประเทศ BREP ของประเทศไทยเพื่อนำส่งให้สำนักงานพลังงานแห่งชาติจีนต่อไป ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.)  เสนอ
                    สาระสำคัญเอกสารทั้ง 2 ฉบับ มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                    1. ปฏิญญาร่วมการจัดตั้งความเป็น BREP (Joint Declaration on Building the BREP) เป็นเอกสารที่แสดงเจตนารมณ์ของประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกที่ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานของโลกในภาพรวม โดยมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างเวทีส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านพลังงานร่วมกัน เช่น การส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงาน การพัฒนาพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านเวทีความร่วมมือหลากหลายรูปแบบที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน
                    2. หลักการความร่วมมือและการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมของ BREP (Cooperation Principles and Concrete Actions of the BREP) เป็นเอกสารที่แสดงถึงแนวทางการดำเนินการของ BREP ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์          เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยการอำนวยความสะดวกให้กับประเทศสมาชิกในการประสานงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับการส่งเสริมการค้าการลงทุนด้านพลังงาน การส่งเสริมการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน การส่งเสริมความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านนวัตกรรมพลังงานสะอาด และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านพลังงานร่วมกัน
หลักการของความร่วมมือ          ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินการของทุกภาคส่วนของประเทศสมาชิก เช่น ภาครัฐ  ภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน เป็นต้น โดยมีการแบ่งปันผลประโยชน์และความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน เพื่อรักษาความมั่นคงทางพลังงานและการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานข้ามพรมแดน รวมถึง คำนึงถึงกฎระเบียบและเคารพในสิทธิของแต่ละประเทศในการดำเนินการ                 ตามแผนพัฒนาภาคพลังงานของแต่ละประเทศอย่างเป็นอิสระ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคม
การดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม          ดำเนินกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาพลังงานทดแทน ระบบพลังงานอัจฉริยะ การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลสะอาด และการพัฒนาระบบพลังงานแบบกระจายศูนย์ เช่น การจัดประชุมในระดับรัฐมนตรี               การฝึกอบรมและการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร การดำเนินการตามข้อเสนอของประเทศสมาชิก การจัดการหารือทวิภาคีและพหุภาคี รวมถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยี และการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับองค์กรด้านพลังงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
                    การเข้าร่วมเป็น BREP จะเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกเหนือจากกรอบความร่วมมือเดิมที่มีอยู่ โดยฝ่ายไทยสามารถพิจารณากำหนดแผนงาน/กิจกรรมความร่วมมือด้านพลังงานร่วมกับสำนักงานพลังงานแห่งชาติจีน ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการในการพัฒนาภาคพลังงานของประเทศ

20. เรื่อง ร่างข้อตกลงการขยายระยะเวลาบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันเพื่อการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโลกกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างข้อตกลงการขยายระยะเวลาบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันเพื่อการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโลก (สถาบันฯ) กับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) (ร่างข้อตกลงฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำในร่างข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ ทส. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง โดยอนุมัติให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในข้อตกลงฯ เพื่อดำเนินโครงการเพื่อการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญเป็นการปรับปรุงบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับเดิม มีดังนี้
ประเด็น          ปรับเป็น (เสนอครั้งนี้)
1) การขยายระยะเวลาการบังคับใช้บันทึกความเข้าใจฯ           จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2568 ภายใต้ข้อกำหนดและเงื่อนไขเดิม เว้นแต่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมในข้อตกลงนี้ (ขยายออกไป 5 ปี)
2) การแก้ไขปรับปรุงขอบเขตความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับประเทศให้เป็นปัจจุบัน          คู่ภาคีจะให้ความร่วมมือเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้ (ปรับให้ชัดเจนยิ่งขึ้น)
2.1) การดำเนินงานตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด  (Nationally Determined Contribution : NDC implementation) ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือ สผ. ในการเสริมสร้างศักยภาพและการดำเนินงานตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC) ของประเทศไทย ผ่านหลักฐานเชิงประจักษ์และกิจกรรมการพัฒนาโครงการเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกและเพื่อการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นรูปธรรม
2.2) การเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Finance)
ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือ สผ. ในการเข้าถึงกองทุนภูมิอากาศสีเขียว
(Green Climate Fund : GCF) และขจัดอุปสรรคของการลงทุนระหว่างประเทศ
ภายในประเทศ และจากภาคเอกชน โดยการพัฒนาแนวคิดและข้อเสนอโครงการ การพัฒนาโครงการที่สามารถสร้างผลกำไรและการระดมเงินทุนแบบผสมผสาน
2.3) ความร่วมมีอระหว่างประเทศกำลังพัฒนาและการแบ่งปันความรู้ ได้แก่                  การสนับสนุน สผ. ในการเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดี มาตรฐานและความสำเร็จ ผ่านรูปแบบการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์และการเสวนาเชิงนโยบาย ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก
3) การปรับปรุงข้อมูล                        ผู้ประสานงานของทั้งสองฝ่ายให้เป็นปัจจุบัน          3.1) สผ. : นางณัฏฐนิช อัศวภูษิตกุล ผู้อำนวยการกองประสานการจัดการ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
3.2) สถาบันฯ : นางสาวจิน ยอง คิม ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชีย
                    การขยายระยะเวลาบันทึกความเข้าใจฯ จะส่งผลให้สถาบันฯ สามารถดำเนินงานในส่วนที่คงเหลืออยู่ในปี 2564 ตามที่ระบุในกรอบการดำเนินงาน 5 ปี พ.ศ. 2560 - 2564 (Thailand Country Planning Framework 2017 - 2021) และสามารถดำเนินงานตามกรอบการดำเนินงาน 5 ปี พ.ศ. 2565 - 2569 (Thailand Country Planning Framework 2022 - 2026) ที่สนับสนุนประเทศไทยในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio - Circular ? Green Economy) รวมถึงโครงการที่อยู่ระหว่างขอรับการสนับสนุนจากกองทุนภูมิอากาศสีเขียวจะสามารถดำเนินการได้ทันที ซึ่งจะทำให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน เอื้อประโยชน์ต่อการสนับสนุนของต่างประเทศที่ให้กับประเทศไทย และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทย

21. เรื่อง ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีด้าน SPS อาเซียน-จีน ครั้งที่ 7 และการลงนามในพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างไทยและจีนฉบับใหม่
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช อาเซียน-จีน ครั้งที่ 7 (China-ASEAN Ministerial Meeting on SPS Cooperation) และการลงนามในพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างประเทศไทย (ไทย) และสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) ฉบับใหม่ ผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. การประชุมระดับรัฐมนตรี SPS อาเซียน-จีน ครั้งที่ 7 ซึ่งจีนเป็นเจ้าภาพ โดยมีรัฐมนตรีจากประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศเข้าร่วมการประชุม สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 ที่ประชุมรับทราบและเห็นชอบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
                                        1.1.1 รับทราบผลการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 23 และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ โดยอาเซียนและจีนมีความพึงพอใจในความคืบหน้าของความร่วมมือด้าน SPS มีความยินดีกับการขยายตัวของเศรษฐกิจการค้าระหว่างอาเซียนและจีน มีการตระหนักถึงความท้าทายที่เกิดจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และทั้งสองฝ่ายยืนยันที่จะส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกันเพื่อเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
                                        1.1.2 รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือด้าน SPS ระหว่างอาเซียนและจีน ซึ่งมีขอบเขตความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่
                                                  (1) การจัดตั้งระบบสารสนเทศ การสื่อสาร และการแจ้งเตือนระหว่างกัน จีนได้เปิดตัวเว็บไซต์ www.chinaaseansps.com อย่างเป็นทางการเพื่อรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลความร่วมมือด้าน SPS ระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนในรูปแบบ Big Data
                                                  (2) การแลกเปลี่ยนการเยือนของบุคลากรในระดับต่าง ๆ
                                                  (3) การฝึกอบรมและสัมมนาเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาภายในอาเซียนและจีนในด้านสินค้าพืช สัตว์ และอาหาร เช่น ความร่วมมือเพื่อป้องกันแพร่ระบาดของโรคสัตว์และแมลงศัตรูพืชข้ามพรมแดน
                                                  (4) การวิจัยร่วม
                                                  (5) การจัดตั้งกลไกการหารือ
                                        1.1.3 เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติงานประจำปี 2565 - 2566 ซึ่งมีโครงการที่ไทยต้องดำเนินการ 2 โครงการ ได้แก่
                                                  (1) โครงการฝึกอบรมเกี่ยวกับระบาดวิทยาในสัตว์น้ำและการตรวจวินิจฉัยโรคสัตว์น้ำอย่างเร็ว ณ ด่านพรมแดน
                                                  (2) โครงการพัฒนาการปฏิบัติที่ดีด้านการกักกันสัตว์ ณ ด่านท่าอากาศยาน และด่านท่าเรือ
                                        1.1.4 เห็นชอบการเร่งรัดกระบวนการภายในของแต่ละประเทศเพื่อนำไปสู่การลงนามภายในปี 2564 โดย MOU ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านมาตรการ SPS เพื่อให้การค้าสินค้าเกษตรและอาหารระหว่างอาเซียนและจีนเป็นไปตามข้อกำหนดและสอดคล้องกับหลักการของความตกลงว่าด้วยการบังคับใช้มาตรการ SPS ขององค์การการค้าโลกและมีส่วนสนับสนุนการดำเนินการด้าน SPS ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน
                              1.2 ที่ประชุมได้รับรองร่างแถลงข่าวร่วม โดยเน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือด้าน SPS ระหว่างอาเซียนและจีน การส่งเสริมความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีนและความพยายามร่วมกันในการบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมทั้งประกาศความสำเร็จในการจัดทำ ASEAN-China MOU On SPS ฉบับใหม่ และมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความร่วมมือด้าน SPS ระหว่างอาเซียนและจีนเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งอาหารและสินค้าเกษตรข้ามพรมแดนในช่วงวิกฤตของการแพร่ระบาดของ     โควิด-19
                    2. ไทยและจีนได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างไทยและจีนฉบับใหม่แล้ว โดยประโยชน์ที่ได้จากการประชุม มีดังนี้ (1) การดำเนินความร่วมมือภายใต้ ASEAN-China MOU on SPS เป็นไปอย่างต่อเนื่อง (2) การผลักดันความร่วมมือด้านมาตรการ SPS ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนอย่างเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านการเกษตรในภูมิภาคอย่างยั่งยืน และ (3) ไทยและจีนสามารถใช้โอกาสนี้ในการลงนามในพิธีสารฯ ร่วมกัน

22. เรื่อง ผลการหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับ                   นายซอง อึย-ยง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง                  การต่างประเทศกับนายซอง อึย-ยง  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องติดตามและเร่งรัดการดำเนินการตามผลการหารือให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับนายซอง อึย-ยง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 ในโอกาสการเยือนไทยอย่างเป็นทางการ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ผลการหารือฯ
                              1.1 ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องให้จัดทำร่างแผนปฏิบัติการร่วม เพื่อกำหนดทิศทาง เป้าหมาย และแผนการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือด้านต่าง ๆ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ในโอกาสครบรอบทศวรรษความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ในปี 2565
                              1.2 ความร่วมมือทวิภาคี สรุปได้ ดังนี้
ด้าน          สรุปผลการหารือฯ
1. การเมืองและความมั่นคง          1.1 ทั้ง 2 ฝ่ายยินดีกับความร่วมมือทางทหารที่ใกล้ชิด โดยเฉพาะ
ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและการฝึกร่วมทางทหาร Cobra Gold
1.2 ฝ่ายเกาหลีใต้เสนอการจัดตั้งกลไกการหารือทวิภาคีว่าด้วยความมั่นคงรูปแบบ 2+2 ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยกับเกาหลีใต้
โดยอาจเริ่มจากระดับคณะทำงานไปสู่ระดับรัฐมนตรีต่อไป
2. เศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน          ฝ่ายไทยเสนอให้มีการรื้อฟื้นกลไกการประชุมคณะกรรมการ
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างไทย-เกาหลีใต้ การประชุม
คณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-เกาหลีใต้ และการยกระดับความ             ตกลง การค้าเสรีอาเซียนไทย-เกาหลีใต้
3. เศรษฐกิจสีเขียว          ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องในการสอดประสานการดำเนินการระหว่าง
นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว
ของไทยกับนโยบายสีเขียวใหม่ของเกาหลีใต้ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตที่สมดุลและการพัฒนาที่ยั่งยืน
4. ด้านสาธารณสุขและวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19)           ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องที่จะเร่งรัดสรุปผลการจัดทำความตกลง
ด้านความมั่นคงทางสาธารณสุขระหว่างกันในโอกาสแรก รวมทั้ง
การจัดการหารือทวิภาคีว่าด้วยความมั่นคงทางสาธารณสุขแบบ 2+2
ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงสาธารณสุขของไทยกับเกาหลีใต้
5. ด้านวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ระดับประชาชน          ฝ่ายไทยขอบคุณฝ่ายเกาหลีใต้สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
แก่ชาวไทยในเกาหลีใต้ รวมถึงแรงงานไทยผิดกฎหมายในเกาหลีใต้
พร้อมยืนยันความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการจัดสรรวัคชีนให้ชาวต่างชาติในไทยรวมถึงชาวเกาหลีใต้
                              1.3 ความร่วมมือในภูมิภาคและอนุภูมิภาค ฝ่ายเกาหลีใต้ยืนยัน การสนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียนในภูมิภาค แนวคิดมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิกและกรอบการพื้นฟูที่ครอบคลุมของ               อาเขียน และหวังให้ไทยกับเกาหลีใต้ขยายความร่วมมือด้านการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนากับประเทศที่               สามต่อไป
                              1.4 สถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ ฝ่ายเกาหลีใต้ตอบรับข้อเสนอของฝ่ายไทยด้านความร่วมมือเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และขอบคุณฝ่ายไทยที่ให้การสนับสนุนเกาหลีใต้ในประเด็นสถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลีมาโดยตลอด
                    2. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการหารือฯ ได้กำหนดทิศทางความร่วมมือระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ในระยะต่อไป ซึ่งมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือผ่านกรอบ Navy-to-Navy Talks การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน             เกาหลีใต้ในไทย การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมสีเขียว และการจัดซื้อวัคซีน Novavax  จึงต้องมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)  กระทรวงมหาดไทย (มท.)  กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานพัฒนธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สำนักงานคณะกรรมการส่งสริมการลงทุน (สกท.) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

23. เรื่อง  ผลการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการประชุมฯ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าร่วมการประชุมฯ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้เข้าร่วมจาก  13 ประเทศสมาชิก ประเทศผู้สังเกตการณ์ และผู้แทนจาก 4 องค์กรสมาชิก สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ผลการประชุมฯ
                              1.1 การประชุมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของการจัดตั้งกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง และต้อนรับสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission Secretariat: MRCS) เข้าเป็นสมาชิกใหม่ โดยที่ประชุมฯ ได้หารือเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
1. การบริหารจัดการน้ำ          ที่ประชุมฯ  ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และยินดีที่ MRCS เข้าเป็นสมาชิกล่าสุดของกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง  ซึ่งจะช่วยเพิ่มบทบาทของกลุ่มฯ ในประเด็นดังกล่าว
2. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ          ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทน และสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3. ความร่วมมือด้านสาธารณสุข          3.1 ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทันท่วงที รวมทั้งการพัฒนาขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขในอนุภูมิภาคฯ เช่น การแบ่งปันข้อมูล ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติด้านการป้องกัน กักกัน และรักษาโรคติดเชื้อ
3.2 ไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาวัคซีนเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเตรียมความพร้อมสำหรับโรคระบาดในอนาคต
4 ด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจ           4.1 ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการส่งเสริมความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาคฯ การส่งเสริมความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน การส่งเสริมการฟื้นฟูของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย
การพัฒนาดิจิทัลและการสนับสนุนการดำเนินการผ่านกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน
4.2 ไทยได้นำเสนอรูปแบบเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อเป็นแนวทางในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
5. ด้านความเชื่อมโยงกับกรอบความร่วมมืออื่น           ไทยเสนอให้มีการจัดทำแผนงานที่เป็นรูปธรรมและ
สอดประสานกับกรอบความร่วมมืออื่น ๆ ในภูมิภาคและอนุภูมิภาคฯ โดยเฉพาะอาเซียนและยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
ซึ่งที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญกับแนวทางการสอดประสานระหว่างกรอบความร่วมมือดังกล่าว

                              1.2 ที่ประชุมฯ ได้รับรองแถลงข่าวร่วมกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขงโดยเปลี่ยนชื่อเอกสารจากเดิมคือ ถ้อยแถลงร่วมกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง
                    2. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมฯ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานในอนาคตของกลุ่มฯ ซึ่งมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนการวางแผนลุ่มน้ำเชิงรุกและข้อมูลเกี่ยวกับน้ำในอนุภูมิภาคฯ เพื่อบรรลุการใช้น้ำและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องอย่างเท่าเทียมและยั่งยืน การสนับสนุนบทบาทของ MRC ในการพัฒนาลุ่มน้ำโขงและความร่วมมือข้ามพรมแดน การปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ BDS และการเดินหน้ากระชับความร่วมมือในสาขาที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน จึงต้องมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

24. เรื่อง  ผลการประชุมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง ? สหรัฐฯ ครั้งที่ 2
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง ? สหรัฐฯ ครั้งที่ 2 และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการประชุมฯ  ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าร่วมการประชุมฯ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 6 ประเทศและ 1 องค์กร
                    ผลการประชุมฯ
                    1. ที่ประชุมฯ เห็นว่าอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายข้ามพรมแดน เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และได้ย้ำความสำคัญของความร่วมมือระหว่างกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากความท้าทายดังกล่าว โดยแผนปฏิบัติการฯ จะช่วยกำหนดทิศทางของหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ในระยะเวลา 3 ปี และความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้หารือเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้

ประเด็น          สาระสำคัญ
1. ความร่วมมือด้านสาธารณสุข          ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทันท่วงที และการเพิ่มประสิทธิภาพการแบ่งปันข้อมูลเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
2. การฟื้นฟูเศรษฐกิจ           ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาดิจิทัลและการส่งเสริมขีดความสามารถของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro-entrepreneurs, Small and Medium-sized Enterprises: MSMEs)
3. ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม          ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญกับความร่วมมือเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเข้าถึงพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทนผ่านการใช้ประโยชน์จากหุ้นส่วนพลังงานลุ่มน้ำโขงญี่ปุ่น-สหรัฐฯ
4. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์           ที่ประชุมฯ เห็นว่าเป็นความร่วมมือที่เป็นจุดเด่นและสนับสนุนให้สานต่อความร่วมมือดังกล่าวต่อไป รวมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมบทบาทเยาวชนและสตรี
5. ความมั่นคงรูปแบบใหม่          เมียนมา ไทยให้ความสำคัญกับความร่วมมือเพื่อรับมือกับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติและการลักลอบขนส่งสิ่งผิดกฎหมายข้ามพรมแดน
และ 6. ความเชื่อมโยงกับกรอบความร่วมมืออื่น
                    2. สหรัฐอเมริกาย้ำความประสงค์ที่จะเข้ามามีบทบาทในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยได้เปิดตัวโครงการสำคัญในแต่ละสาขาความร่วมมือของหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ดังนี้
                              (๑) โครงการ USAID Mekong Safeguards (สาขาความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ) เพื่อส่งเสริมมาตรฐานการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
                              (๒) โครงการ Mekong Water Data Initiative (สาขาทรัพยากรธรรมชาติ) เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการลุ่มน้ำโขงที่ยั่งยืน โดยใช้เครื่องมือในการแบ่งปันข้อมูลเพื่อลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับน้ำ
                              (๓) โครงการ Mekong-U.S. Partnership Track 1.5 Policy Dialogue Series (สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) เพื่อเป็นเวทีระดมความคิดเห็นและแบ่งปันข้อมูลความรู้ของทุกภาคส่วนในหัวข้อต่าง ๆ
                              (๔) โครงการ Pathfinder Health Program (สาขาความมั่นคงรูปแบบใหม่) เพื่อเตรียมความพร้อมด้านโรคระบาดในอนาคตด้วยการให้ทุนศึกษาวิจัยแก่บุคลากรด้านสาธารณสุข
                    กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมฯ เป็นการติดตามความคืบหน้าและพิจารณาแนวทางการดำเนินความร่วมมือร่วมกันในอนาคตของประเทศสมาชิก ซึ่งมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ การสนับสนุนแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันในลุ่มน้ำโขงที่เหมาะสม การส่งเสริมความร่วมมือด้านการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ และการสนับสนุนความร่วมมือเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงต้องมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงแรงงาน (รง.)  กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) คระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำนักงาน
สภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

25. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-รัสเซีย สมัยพิเศษ
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-รัสเซีย สมัยพิเศษ และสั่งการหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องนำผลการประชุมฯ ไปปฏิบัติและติดตามความคืบต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าร่วมการประชุมฯ ในโอกาสครบรอบ 25 ปี ความสัมพันธ์คู่เจรจาอาเซียน-รัสเซีย เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ที่ประชุมฯ หารือเกี่ยวกับความคืบหน้าของความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหพันธรัฐรัสเซีย (รัสเซีย) ภายใต้แผนปฏิบัติการอย่างครอบคลุมเพื่อดำเนินการความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อาเซียน-รัสเซีย ฉบับใหม่ (พ.ศ. 2564 - 2568) โดยรัสเซียเสนอจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่ 4 ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และครั้งที่ 39 ในเดือนตุลาคม 2564 รวมทั้งเสนอให้ออกถ้อยแถลงอาเซียน-รัสเซียว่าด้วยการสร้างภูมิภาคที่เป็นปีกแผ่น มั่นคง และยั่งยืน และถ้อยแถลงอาเซียน-รัสเซียว่าด้วยการต่อต้านภัยคุกคามด้านยาเสพติด เป็นผลลัพธ์ของการประชุม
2. ที่ประชุมฯ เน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือด้านการวิจัยและการพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
3. ไทยได้เสนอรายชื่อโครงการความร่วมมืออาเซียน-รัสเซีย ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่ออนาคตที่มั่งคั่งร่วมกัน ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนและรัสเซียพิจารณา จำนวน 14 โครงการ ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอของรัสเซียที่ประกาศให้ปี 2565 เป็นปีแห่งความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมอาเซียน-รัสเซีย
4. ที่ประชุมฯ แสดงความยินดีต่อความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่น 1) การจัดตั้งกรอบการประชุมปรึกษาหารือผู้แทนระดับสูงอาเซียน-รัสเซีย สำหรับประเด็นความมั่นคง 2) กรอบการประชุมหารืออาเซียน-รัสเซีย ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ 3) การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนกับรัสเซียว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติ
5. ที่ประชุมฯ ย้ำความสำคัญของความเป็นแกนกลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมภูมิภาค และกลไกที่อาเซียนมีบทบาทนำ
6. รัสเซียสนับสนุนฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน ในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา)
ผลการประชุมฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันและมีนัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งมีประเด็นเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น การจัดตั้งกรอบการประชุมปรึกษาหารือผู้แทนระดับสูงอาเซียน-รัสเซีย สำหรับประเด็นความมั่นคง การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนกับรัสเซียว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติ การกระจายวัคซีน SPUTNIK V และการส่งเสริมความร่วมมือภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG จึงมีประเด็นที่ต้องมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

26. เรื่อง ร่างปฏิญญาทางการเมืองเรื่องการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการระดับโลกของสหประชาชาติเพื่อปราบปรามการค้ามนุษย์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาทางการเมืองเรื่องการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการระดับโลกของสหประชาชาติเพื่อปราบปรามการค้ามนุษย์ (ร่างปฏิญญาทางการเมืองฯ) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยก่อนการรับรอง ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) สามารถใช้ดุลพินิจดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างปฏิญญาทางการเมืองฯ ในช่วงการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติเรื่องการประเมินการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการระดับโลกของสหประชาชาติเพื่อปราบปรามการค้ามนุษย์ (การประชุมระดับสูงฯ เพื่อปราบปรามการค้ามนุษย์) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
[จะมีการรับรองร่างปฏิญญาทางการเมืองฯ ในการประชุมระดับสูงฯ เพื่อปราบปรามการค้ามนุษย์วันที่ 22 - 23 พฤศจิกายน 2564 ในรูปแบบผสมผสาน ได้แก่ (1) เข้าร่วมการประชุม ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และ (2) การประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกลโดยไทยจะร่วมรับรองผ่านระบบการประชุมทางไกล]
                    สาระสำคัญร่างปฏิญญาทางการเมืองฯ จัดทำขึ้นบนพื้นฐานของปฏิญญาทางการเมือง (ตามมติคณะรัฐมนตรี 26 กันยายน 2560) โดยมีการปรับปรุงเพิ่มเติมถ้อยคำบางส่วน เพื่อสะท้อนบริบทของสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในทางที่ผิด การค้ามนุษย์และการแสวงประโยชน์ทางเพศผ่านช่องทางออนไลน์ การค้ามนุษย์เพื่อวัตถุประสงค์ในการลักอวัยวะ และการค้ามนุษย์ในห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ ร่างปฏิญญาทางการเมืองฯ ได้ผ่านการหารือโดยประเทศสมาชิกสหประชาชาติแล้ว ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้  ดังนี้

ประเด็น          สาระสำคัญ
การให้สัตยาบันต่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง          เน้นย้ำถึงความสำคัญของการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร (อนุสัญญาฯ) และพิธีสารเพื่อป้องกันปราบปรามและลงโทษ การค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็กเพื่อเสริมอนุสัญญาฯ และเร่งรัดให้ประเทศที่เหลือให้สัตยาบันต่อเอกสารดังกล่าว ซึ่งรวมถึงตราสารระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับมือกับการค้ามนุษย์ด้วย เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและพิธีสารทางเลือกที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ เป็นต้น
ความหมายของการค้ามนุษย์          การค้ามนุษย์ หมายถึง (1) การสรรหา การขนส่ง การโยกย้าย การให้ที่พักอาศัย หรือการรับคนโดยการขู่เข็ญหรือใช้กำลังหรือการบังคับในรูปแบบอื่น โดยการลักพาตัว การฉ้อโกง การหลอกล่อการใช้อำนาจ การให้หรือรับสินบนหรือผลประโยชน์เพื่อได้รับความยินยอมจากบุคคลผู้อยู่ภายใต้การควบคุม โดยมีจุดประสงค์เพื่อการหาผลประโยชน์ (2) การหาผลประโยชน์จากการค้าประเวณีของผู้อื่น หรือการหาผลประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น จากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ (3) การใช้แรงงานทาสหรือการกระทำที่คล้ายคลึงกัน และ (4) การลักอวัยวะ
วันต่อต้านการค้ามนุษย์โลก          กำหนดให้วันที่ 30 กรกฎาคม เป็นวันต่อต้านการค้ามนุษย์โลก (ตามข้อมติสมัชชาสหประชาชาติ ที่ 68/192 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2556) เพื่อรณรงค์ให้ความรู้และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการค้ามนุษย์แนวทางการแก้ไข
แนวทางการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์          (1) การจัดการปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมืองและปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ผู้คนมีความเสี่ยงตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ เช่น ความยากจนความด้อยพัฒนา การโยกย้ายถิ่นฐานที่ไม่ปกติ ภาวะไร้สัญชาติ การว่างงาน ความไม่เท่าเทียม ความไม่เท่าเทียมทางเพศ ความรุนแรงทางเพศ การเลือกปฏิบัติทางเพศและเชื้อชาติ ความทุพพลภาพ การกีดกันทางการเงินและสังคม การตกเป็นคนชายขอบ การตีตรา การทุจริต และการข่มเหง
(2) ให้ผู้เสียหายและผู้รอดชีวิตจากการค้ามนุษย์มีส่วนร่วมเต็มที่ในการออกแบบดำเนินการ สังเกตการณ์ และประเมินผลเพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
(3) นำกฎระเบียบที่มีจริยธรรมและโปร่งใสมาใช้ควบคุมการบริจาคอวัยวะเสริมสร้างกรอบกฎหมาย รวมถึงการทบทวน พัฒนา หรือแก้ไขตามความเหมาะสมเพื่อป้องกันและต่อสู้กับการค้ามนุษย์เพื่อวัตถุประสงค์ในการลักอวัยวะและการค้าอวัยวะ
(๔) การใช้มาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการยับยั้งและลงโทษแนวทางการจัดหางานที่ฉ้อฉลและไม่เหมาะสมโดยจะต้องมีการตรวจสอบและมาตรการลงโทษที่เข้มงวดหรือผ่านการบังคับใช้กฎหมายที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้ประเทศสมาชิก องค์กรพหุภาคีและภาคเอกชนนำแนวปฏิบัติที่มีจริยธรรมและโปร่งใสมาใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการในห่วงโซ่อุปทานของตน
(5) เพิ่มความพยายามในการป้องกันการโยกย้ายถิ่นฐานที่ไม่ปกติ และสร้างลู่ทางเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบ และปกติ เพื่อลดโอกาสของผู้คน(ผู้โยกย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัย) ในการถูกค้ามนุษย์
(6) การเสริมสร้างความร่วมมือระดับนานาชาติ และสนับสนุนให้หน่วยงานในระบบองค์การสหประชาชาติให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกตามที่ร้องขอ
แนวทางการคุ้มครองผู้เสียหาย
          (1) ให้ประเทศสมาชิกออกกฎหมายหรือปรับปรุงกฎหมายของประเทศและกำหนดนโยบาย โครงการ หรือวิธีการอื่น ๆ ที่ครอบคลุม เพื่อที่จะให้การคุ้มครองผู้เสียหายผู้เสียหายที่เป็นเพศหญิงและเด็กจากการตกเป็นผู้เสียหายซ้ำ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและการคุ้มครองที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก
(2) อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยไม่มีเงื่อนไขว่าพวกเขาต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินคดี โดยสอดคล้องกับกฎหมายของประเทศ
(3) สนับสนุนให้มีกฎหมายและนโยบายที่ลดการพึ่งพาคำให้การของผู้เสียหาย เช่น การใช้หลักฐานดิจิทัล บันทึกการเงิน หรือหลักฐานอื่น ๆ ตามความเหมาะสม หากคำให้การของผู้เสียหายเป็นเรื่องจำเป็น ต้องคำนึงถึงความเปราะบางของผู้เสียหายตลอดจนการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพต่อความเสียหายที่ได้รับ
(4) สนับสนุนให้นำหลักการไม่ลงโทษผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ไปใช้กับกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย ซึ่งผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ถูกบังคับให้มีส่วนร่วม อันเป็นผลโดยตรงจากสภาวะการถูกค้ามนุษย์ของพวกเขา โดยใช้กับการลงโทษทุกประเภทซึ่งรวมถึงความผิดทางอาญา ทางแพ่ง ทางปกครอง และการเข้าเมือง รวมถึงการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้เสียหายที่ถูกลงโทษอย่างไม่เป็นธรรมในการกระทำที่ผิดกฎหมายซึ่งได้กระทำไปภายใต้สภาวการณ์ที่พวกเขาตกเป็นผู้เสียหาย
แนวทางการเพิ่มขีดความสามารถของกระบวนการยุติธรรม
          (1) ยกระดับมาตรการป้องกัน มาตรการทางกฎหมายและการลงโทษ เพื่อยับยั้งผู้แสวงหาผลประโยชน์ รวมถึงผู้สนับสนุนและได้ประโยชน์จากผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ของกระบวนการ
(2) พยายามที่จะกำหนดให้การค้ามนุษย์ทุกรูปแบบเป็นความผิดทางอาญาและเสริมสร้างความร่วมมือและการประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกทั้งประเทศต้นทาง ทางผ่าน และปลายทาง เพื่อต่อต้านและทำลายเครือข่ายอาชญากรที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมดังกล่าว
(3) เพิ่มประสิทธิภาพการแบ่งปันข้อมูลโดยเคารพต่อกฎหมายภายในประเทศและความช่วยเหลือทางกฎหมายร่วมกัน
(4) การส่งผู้ร้ายข้ามแดนในอาชญากรรมที่อาจเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ เช่น การฟอกเงิน การทุจริต การหมุนเวียนของเงินที่ผิดกฎหมาย การลักลอบขน แรงงานข้ามชาติ การค้ายาเสพติด และอาชญากรรมทุกประเภท
(5) เพิ่มขีดความสามารถของการบังคับใช้กฎหมายและระบบยุติธรรมทางอาญาในการแยกแยะ ตรวจสอบ และดำเนินคดีกับคดีการค้ามนุษย์ และวิเคราะห์การหมุนเวียนทางการเงิน เพื่อสืบหาเครือข่ายอาชญากรรมเหล่านั้นร่วมกับสถาบันการเงิน
(6) เสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติงานด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย อัยการ ผู้พิพากษา และเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และคุมประพฤติ เพื่อให้การดูแลและความช่วยเหลือแก่ผู้เสียหาย      โดยเน้นผู้เสียหายเป็นศูนย์กลาง และคำนึงถึงความละเอียดอ่อนด้านอายุและเพศซึ่งคำนึงถึงความทุพพลภาพและบาดแผล และการตอบสนองความต้องการเฉพาะของผู้หญิง เยาวชน และเด็ก
ข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ส่งผลต่อปัญหาการค้ามนุษย์
          (1) การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ทำให้สถานการณ์ความเสี่ยงต่อการค้ามนุษย์ที่มีอยู่แล้วรุนแรงยิ่งขึ้น
(2) การจัดหาทรัพยากรในระดับสากลเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ที่ไม่เพียงพอโดยเน้นย้ำการสนับสนุนต่อกองทุนสหประชาชาติเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์โดยเฉพาะในผู้หญิงและเด็ก
(3) ความสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้นระหว่างกลุ่มติดอาวุธ กลุ่มผู้ก่อการร้าย และการค้ามนุษย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบังคับแต่งงานในผู้หญิงและเด็กหญิง ความเป็นทาสทางเพศ การบังคับตั้งครรภ์ การบังคับใช้แรงงาน การบังคับเป็นทาสในครัวเรือน และการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ และการบังคับผู้ชายและเด็กชายให้ใช้แรงงานหรือสู้รบ
(4) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในทางที่ผิดมากขึ้น โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต เพื่อนำมาใช้ในแง่มุมต่าง ๆ ของการค้ามนุษย์ รวมถึงการโฆษณาการดูแล การรับสมัคร การควบคุม การทำธุรกรรมทางการเงิน และการแสวงประโยชน์รูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการแสวงประโยชน์ทางเพศจากเด็กผ่านช่องทางออนไลน์และการผลิตและจำหน่ายภาพอนาจารเด็กและสื่อการล่วงละเมิดทางเพศเด็กอื่น ๆ
การติดตามและการทบทวนพันธกรณี          ตระหนักถึงความจำเป็นในการติดตามและทบทวนพันธกรณีทั้งหมดที่ได้ทำในการประชุมระดับสูงในปัจจุบันอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการประชุมระดับสูงพันธกรณีของสมัชชาใหญ่ในทุกสี่ปี
ทั้งนี้ กต. แจ้งว่า ร่างปฏิญญาทางการเมืองฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

27. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่  13                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 13 (13th Asia-Europe Meeting ? ASEM 13) รวม 3 ฉบับ ได้แก่ 1) ร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 13 (13th Asia-Europe Meeting Chair?s Statement) 2) ร่างแถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและสังคมหลังวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Phnom Penh Statement on the post-COVID-19 Socio-Economic Recovery) และ 3) ร่างเอกสารเส้นทางสู่ความเชื่อมโยงระหว่างเอเชีย-ยุโรป (The Way Forward on ASEM Connectivity) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งให้นายกรัฐมนตรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 13 เป็นผู้ร่วมให้การรับรองร่างเอกสารดังกล่าวตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 13 จำนวน 3 ฉบับ สรุปได้ ดังนี้
                    1.  ร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 13 ย้ำบทบาทของ ASEM ในการส่งเสริมพหุภาคีนิยมเพื่อการเจริญเติบโตร่วมกัน โดยเฉพาะในบริบทของโลกหลังวิกฤตการแพร่บาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยในประเด็นด้านการเมือง ให้ความสำคัญกับการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน การไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนการส่งเสริมบทบาทสตรีในด้านสันติภาพและความมั่นคง การโยกย้ายถิ่นฐาน ความมั่นคงด้านไซเบอร์ ความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ความมั่นคงทางทะเล ตลอดจนสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี อิหร่าน และเมียนมา ในประเด็นด้านเศรษฐกิจ สนับสนุนความร่วมมือเพื่อบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 การรับมือกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมุทราภิบาล บทบาทขององค์การการค้าโลกในการส่งเสริมระบบการค้าระหว่างประเทศ การสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล การสร้างความเชื่อมโยงในกรอบ ASEM ในประเด็นสังคมและวัฒนธรรม เน้นการส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน การสนับสนุนบทบาทเยาวชน ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว การศึกษา และบทบาทของมูลนิธิเอเชีย-ยุโรป ในการสนับสนุนกิจกรรม           ด้านต่าง ๆ ภายใต้กรอบ ASEM
                    2. ร่างแถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและสังคมหลังวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กล่าวสนับสนุนบทบาทขององค์การอนามัยโลกในการรับมือกับโรคระบาดย้ำความจำเป็นในการเข้าถึงยาและวัคซีนที่มีคุณภาพอย่างปลอดภัยและเท่าเทียม การสนับสนุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การเสริมสร้างห่วงโซ่อุปทานและระบบการค้โลกให้เข้มแข็งและสามารถรองรับความเสี่ยงด้านลบได้ การส่งเสริมความเชื่อมโยงและการเดินทางระหว่างกันผ่านการใช้งานร่วมกันของเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 การสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจผ่านการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การส่งเสริมบทบาทขององค์การการค้าโลก การพัฒนาความรู้และทักษะของแรงงาน การส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ
                    3. ร่างเอกสารเส้นทางสู่ความเชื่อมโยงระหว่างเอเชีย-ยุโรป เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดแนวทางการเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโส ASEM กับกลไกความร่วมมือรายสาขาต่าง ๆ ของ ASEM             ที่มีอยู่แล้ว เพื่อสนับสนุนกิจกรรมด้านความเชื่อมโยงในกรอบ ASEM และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโครงการด้านความเชื่อมโยงต่าง ๆ  ในกรอบ ASEM ต่อสาธารณชน โดยไม่ต้องจัดตั้งกลไกใหม่เพื่อประสานความร่วมมือ ASEM ด้านความเชื่อมโยง
          ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมีกำหนดจะเข้าร่วมการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 25 - 26 พฤศจิกายน 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยราชอาณาจักรกัมพูซาเป็นเจ้าภาพซึ่งที่ประชุมฯ จะมีการรับรองและออกเอกสารผลลัพธ์ 3 ฉบับดังกล่าวด้วย

28. เรื่อง ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 28 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 26
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (คณะมนตรีฯ) ครั้งที่ 28 และการประชุมระหว่างคณะมนตรีฯ กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 26 (กรอบการหารือฯ)
                    2. เห็นชอบให้คณะผู้แทนไทยหารือกับประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงตามประเด็นในกรอบการหารือฯ เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานและความร่วมมือเป็นไปตามพันธกรณีของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
                    3. อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ในฐานะประธานคณะมนตรีฯ ประจำปี 2564 และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามรับรองในรายงานการประชุม โดยที่เอกสารดังกล่าว มิได้ใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดพันธกรณีกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เข้าข่ายหนังสือสัญญา [การประชุมคณะมนตรีฯ ครั้งที่ 28 และการประชุมระหว่างคณะมนตรีฯ กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 26 จะจัดขึ้นในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 ที่กรุงเทพมหานคร โดยราชอาณาจักรไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมในครั้งนี้ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมบางส่วนประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference)]
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ราชอาณาจักรไทยได้ลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนร่วมกับราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เมื่อวันที่     5 เมษายน 2538 (1995 Mekong Agreement) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุก ๆ ด้าน เช่น การชลประทาน การคมนาคม การพลังงาน การท่องเที่ยว การขนส่ง เป็นต้น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องของลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งได้กำหนดให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC) ขึ้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้เป็นไปตามพันธกรณีของความตกลงดังกล่าว โดยองค์ประกอบของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ประกอบด้วย (1) คณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (คณะมนตรีฯ) มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและตัดสินใจในเรื่องนโยบายและการดำเนินความร่วมมือ (2) คณะกรรมการร่วม คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (คณะกรรมการร่วมฯ) มีหน้าที่ในการประสานงานและดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะมนตรีฯ และ (3) สำนักงานเลขาธิการ มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านธุรการของคณะกรรมาธิการ แม่น้ำโขง
                    กรอบการหารือฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินงานและความร่วมมือของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ภายใต้พันธกรณีของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538 และตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาลุ่มน้ำโขง พ.ศ. 2564 ? 2573
ประเด็นหารือ          รายละเอียด
การปรับปรุงระเบียบปฏิบัติของคณะมนตรีฯ และการปรับปรุงระเบียบปฏิบัติของคณะกรรมการร่วมคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (คณะกรรมการร่วมฯ) (Rules of Procedures for MRC Council and Rules of Procedures for MRC Joint Committee)
          - การปรับปรุงระเบียบปฏิบัติของคณะมนตรีฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการใช้ถ้อยคำให้กระชับ ลดการใช้ถ้อยคำที่ซ้ำซ้อนและเพิ่มเติมถ้อยคำให้ประโยคมีความชัดเจน ซึ่งการปรับปรุงดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญขัดต่อความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538
(Mekong Agreement 1995)
- การปรับปรุงระเบียบปฏิบัติของคณะกรรมการ   ร่วมฯ มีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับภาษาให้กระชับ ลดการใช้ถ้อยคำที่ซ้ำซ้อน รวมทั้งการเพิ่มช่องทางการประชุมของคณะกรรมการร่วมฯ ให้มีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หากเกิดสถานการณ์ที่ไม่สามารถประชุมแบบกายภาพได้ ซึ่งการปรับปรุงดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญขัดต่อความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538 (Mekong Agreement 1995)
- สทนช. พิจารณาแล้วเห็นควรอนุมัติการปรับปรุงระเบียบปฏิบัติของคณะมนตรีฯ ซึ่งเป็นการปรับปรุงการใช้ภาษาให้มีความกระชับและชัดเจน และการปรับปรุงระเบียบปฏิบัติของคณะกรรมการร่วมฯ ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ไม่สามารถจัดให้มีการประชุมทางกายภาพได้


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไฟฟ้า
พลังน้ำอย่างยั่งยืนในลุ่มน้ำโขง
ตอนล่าง [The Sustainable Hydropower
Development Strategy (SHDS 2021)
for the Lower Mekong Basin]          - แผนยุทธศาสตร์ฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดและวิเคราะห์ทางเลือกในการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำร่วมกันเพื่อลดผลกระทบข้ามพรมแดนโดยพยายามที่จะตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของประเทศสมาชิกและโอกาสที่เปิดกว้างขึ้นรวมถึงความท้าทายในการพัฒนาลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน เพื่อเพิ่มผลประโยชน์ภายในและนอกพรมแดนของประเทศรักษาสมดุลความมั่นคงในด้านน้ำ พลังงาน อาหาร สิ่งแวดล้อม และการดำรงชีวิตของผู้คนที่อยู่อาศัยตามริมฝั่งแม่น้ำโขง ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ โดยเรียงลำดับความสำคัญ ดังนี้
1. การบูรณาการอย่างยั่งยืนให้เป็น Project-level โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การเตรียมการ การออกแบบ การก่อสร้าง และการบริหารจัดการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำร่วมกัน
2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของการดำเนินการและการบริหารจัดการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในลักษณะการบริหารจัดการแบบขั้นบันได (Management of Hydro Power Cascades)
3. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับภูมิภาคและความร่วมมือเกี่ยวกับแผนความร่วมมือด้านน้ำและพลังงานเพื่อความมั่นคงด้านเศรษฐกิจและพลังงาน และลดความเสี่ยงผลกระทบข้ามพรมแดนต่อภาคสังคมและสิ่งแวดล้อม
4. ส่งเสริมความเป็นอยู่ของภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการบริหารจัดการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก สตรี และชนกลุ่มน้อย
5. การศึกษาวิจัยร่วมเพื่อเป็นเครื่องมือเติมเต็มช่องว่างขององค์ความรู้และพัฒนาเครื่องมือในการศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและการบริหารจัดการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำอย่างยั่งยืน
- สทนช. พิจารณาแล้วเห็นควรอนุมัติแผนยุทธศาสตร์ ฯ อย่างมีเงื่อนไข กล่าวคือ                             แผนยุทธศาสตร์ฯ เป็นกรอบการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายในแผนการพัฒนาพลังงานสำรองของแต่ละประเทศ และเงื่อนไขที่อาจกำหนดเพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืน เช่น พลังงานไฟฟ้าที่พัฒนาต้องไม่สร้างผลกระทบ
ต่อระบบนิเวศและความเดือดร้อนต่อภาคประชาชน เป็นต้น

29. เรื่อง สรุปผลการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP 26) การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 16 (CMP 16) การประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีสสมัยที่ 3 (CMA 3) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP 26) การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 16 (CMP 16) การประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ 3 (CMA 3) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร และถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีในการประชุมระดับผู้นำ (World Leaders Summit) ในห้วงการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 โดยมอบหมายกระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดเตรียมการดำเนินงานตามภารกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของประเทศด้านการลดก๊าซเรือนกระจกและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีในการประชุมระดับผู้นำ (World Leaders Summit) ในห้วงการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP 26) การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 16 (CMP 16) การประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ 3 (CMA 3) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม - 12 พฤศจิกายน 2564 ณ เมืองกลาสโกว์               สหราชอาณาจักร มีผู้เข้าร่วมการประชุมจาก 196 ประเทศ และผู้แทนจากองค์กรผู้สังเกตการณ์ จำนวน 34,509 คน โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. การประชุมระดับผู้นำในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาฯ สมัยที่ 26 (COP 26 World Leaders Summit) มีขึ้นในวันที่ 1 - 2 พฤศจิกายน 2564 มีประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาลเข้าร่วม จำนวน 117 ประเทศ ตามการเชิญชวนของนายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรี ของสหราชอาณาจักรในฐานะเจ้าภาพการ            ประชุมฯ เพื่อร่วมกล่าวถ้อยแถลงแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก โดยประเด็นสำคัญที่สหราชอาณาจักรให้ความสำคัญ ประกอบด้วย การที่ประเทศต่าง ๆ ตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2050 และการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ครึ่งหนึ่งในปี ค.ศ. 2030 เพื่อให้สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเชียส นอกจากนั้น ยังได้เชิญชวนให้ประเทศเข้าร่วมปฏิญญาและถ้อยแถลงที่ประกาศเจตนารมณ์ในการประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วย ปฏิญญากลาสโกว์ของผู้นำด้านป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Glasgow Leaders' Declaration on Forests and Land Use) ถ้อยแถลงที่ประชุมระดับผู้นำในวาระการพัฒนาที่สำคัญ (World Leader Summit Statement on the Breakthrough Agenda) ถ้อยแถลงการเปลี่ยนผ่านพลังงานของโลกจากถ่านหินสู่พลังงานสะอาด (Global Coal to Clean Power Transition Statement) และปฏิญญาที่ประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาฯ สมัยที่ 26 ในการเร่งเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (COP 26 Declaration on Accelerating the Transition to 100% Zero Emission Cars and vans) ทั้งนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ พร้อมด้วยนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                              1) การกล่าวถ้อยแถลงของประเทศไทย โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 มีสาระของถ้อยแถลงที่เน้นแสดงจุดยืนของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญสูงสุดกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพร้อมร่วมมือกับทุกประเทศและทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันในการแก้ปัญหานี้ โดยในปัจจุบันสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย คิดเป็นร้อยละ 0.72 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทั้งโลก แต่ประเทศไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงเข้าเป็นภาคีความตกลงปารีส และดำเนินการที่สอดคล้องตามพันธกรณีมาอย่างต่อเนื่องและแข็งขัน โดยประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานตามแผนที่การลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ หรือ NAMA (Nationally Appropriate Mitigation Action) ในภาคพลังงานและขนส่งอย่างน้อยร้อยละ 7 ภายในปี ค.ศ. 2020 แต่ทว่าในปี ค.ศ. 2019 ประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้แล้วร้อยละ 17 ซึ่งเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้กว่า 2 เท่า และก่อนเวลาที่ใด้กำหนดไว้มากกว่า 1 ปี นอกจากนี้ ในปี ค.ศ. 2020 ประเทศไทยเป็นประเทศแรก ๆ ที่จัดส่งกามีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดหรือ Updated NDC (Updated Nationally Determined Contribution) และล่าสุดในปี ค.ศ. 2021 ได้จัดส่งยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย (Thailand's Long-Term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy) ต่อสำนักเลขาธิการอนุสัญญาฯ ด้วย นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีได้แสดงเจตนารมณ์ของประเทศไทยที่จะยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่และด้วยทุกวิถีทาง ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างยิ่งที่จะทำให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในหรือก่อนปี ค.ศ. 2065 และหากได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงิน เทคโนโลยีและการเสริมสร้างขีดความสามารถจากความร่วมมือระหว่างประเทศ และกลไกภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ ที่เหมาะสม               ประเทศไทยจะสามารถลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 40 ภายในปี ค.ศ. 2030 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ได้ในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งขณะนี้ ประเทศไทยได้นำแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Economy (Bio Circular Green Economy) มาผนวกในยุทธศาสตร์แห่งชาติ เพื่อนำไปสู่การปรับกระบวนทัศน์และการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ทำลายระบบนิเวศ โดยประเทศไทยจะนำแผนนี้มาเป็นวาระหลักของการประชุมเอเปค (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในปีหน้า (พ.ศ. 2565)
                              2) ถ้อยแถลงของผู้นำประเทศอื่น ๆ
                                        (2.1) สหราชอาณาจักร โดยนายบอริส จอห์นสัน เน้นย้ำความเร่งด่วนที่ประเทศต้องยกระดับการดำเนินงานเพื่อทำให้เป้าหมายการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศา              เซลเชียสเป็นจริง ด้วยการยกเลิกโรงไฟฟ้ถ่านหิน ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วควรทำได้ภายในปี ค.ศ.2030
และประเทศกำลังพัฒนาภายในปี ค.ศ. 2040 โดยสหราชอาณาจักรมีแผนจะยกเลิกรถยนต์ที่ใช้น้ำมันภายในปี ค.ศ. 2035 และยกลิกการขายรถยนต์ดังกล่าวในปี ค.ศ. 2030 รวมถึงยุติการทำลายป่าภายในปี ค.ศ 2030
                                        (2.2) สหรัฐอเมริกา โดยนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดี เน้นการกลับมาเป็นผู้นำในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหรัฐอเมริกา โดยจะสนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนาเร่งเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด และสนับสนุนทางการเงินในการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเรียกร้องให้ต้องมีการยกระดับการดำเนินงานร่วมกับการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ
                                        (2.3) สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดี ไม่ได้เข้าร่วมการประชุมฯ แต่ได้จัดส่งเอกสารถ้อยแถลงซึ่งแสดงถึงแผนงานเพื่อมุ่งสู่การปล่อยคาร์บอนสูงสุดก่อนปี ค.ศ. 2030 และมุ่งสู่การเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2060
                                        (2.4) สาธารณรัฐอินเดีย โดยนายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรี ประกาศเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2070 รวมถึงจะลดการปล่อยคาร์บอนลง 1,000 ล้านตัน ภายในปี ค.ศ. 2030 เมื่อเทียบกับปัจจุบัน จะลดความเข้มข้นของคาร์บอน (Carbon Intensity) ให้น้อยกว่าร้อยละ 45 ภายในปี ค.ศ. 2030
                                        (2.5) เครือรัฐออสเตรเลีย โดยนายสก็อต มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรี ประกาศจะลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 35 ภายในปี ค.ศ. 2030 เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2005
                                        (2.6) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยนายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดี ประกาศเป้าหมายในภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ภายในปี                    ค.ศ. 2030
                                        (2.7) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามโดยนายฟาม มินห์ จิญ นายกรัฐมนตรีประกาศเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050 โดยใช้ทรัพยากรในประเทศร่วมกับการสนับสนุนและความร่วมมือทางเทคโนโลยีและการเงินจากต่างประเทศ
                    2. การดำเนินงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
                              1) การหารือทวิภาคีระดับรัฐมนตรี โดยนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้หารือเพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเชิงนโยบายกับ 2 ประเทศ ได้แก่
                                        (1) การหารือทวิภาคีกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรชาติและสิ่งแวดล้อม ได้หารือกับนางบุณคำ วรจิต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่ให้ความสำคัญร่วมกัน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คุณภาพอากาศและหมอกควันข้ามแดน และการจัดการขยะพลาสติก ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งยกระดับการดำเนินงานในการลดก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายที่ประเทศกำหนดไว้ได้ รวมถึงการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ ทั้งสองประเทศต่างได้รับผลกระทบที่รุนแรง อาทิ การรุกล้ำของน้ำทะเล และน้ำป่าไหลหลาก เป็นต้น นอกจากนี้ฝ้ายลาวได้แสดงความขอบคุณความร่วมมือจากไทยต่อโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว และขอรับบสนุนในการพัฒนาสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ การจัดการหมอกควันข้ามแดน และการจัดการขยะพลาสติก รวมถึงการผลิตพลังงานจากขยะ ตลอดจนแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีเชิงนโยบายในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งฝ่ายไทยยินดีสนับสนุน เนื่องจากเห็นว่าการแลกเปลี่ยนเชิงนโยบายจะทำให้สามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากทั้งสองประเทศมีปัจจัยทางภาษา วัฒนธรรม และวิถีชีวิตคล้ายคลึงกัน
                              (2) การหารือทวิภาคีกับสมาพันธรัฐ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้หารือกับ Mrs. Simonetta Sommaruga รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมการขนส่ง พลังงาน และการสื่อสาร สมาพันธรัฐสวิส โดยต่างเน้นย้ำความตั้งใจที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงมุ่งสนับสนุนการเจรจาที่กำลังดำเนินอยู่ให้ประสบผลสำเร็จ และนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่จะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานในภาพรวมของโลกอย่างแท้จริง ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เน้นย้ำการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ท้าทายของประเทศไทยตามที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศในที่ประชุมระดับผู้นำในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาฯ สมัยที่ 26 (COP 26 World Leaders Summit) ซึ่งประเทศไทยให้ความสำคัญกับการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศและการสนับสนุนจากกลไกภายใต้กรอบอนุสัญญฯ เพื่อมุ่งบรรลุตามเป้าหมายดังกล่าว ทั้งในเรื่องของการเงินสีเขียว (Green Finance) การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเสริมสร้างขีดความสามารถ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนและแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนเพื่อมุ่งบรรลุตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ โดยในระยะต่อไปกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะเน้นการขับเคลื่อนแผนงานต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ซึ่งความร่วมมือกับสมาพันธรัฐสวิสภายใต้แนวทางการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศของข้อ 6 ของความตกลงปารีส เป็นประเด็นหนึ่งที่ประเทศไทยให้ความสนใจ เพื่อให้ได้มาซึ่งการสนับสนุนทางการเงิน ถ่ายทอดเทคโนโลยีและการเสริมสร้างขีดความสามารถ โดยเฉพาะต่อภาคเอกชนในประเทศ ขณะที่สมาพันธรัฐสวิสเห็นพ้องว่าการดำเนินความร่วมมือนี้ของภาครัฐจะนำมาสู่การพัฒนาโครงการและกิจกรรมที่จะช่วยขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายการลดก๊ซเรือนกระจกของประเทศควบคู่ไปกับการสร้างความตระหนักและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน โดยสมาพันธรัฐสวิสมีความสนใจที่จะพัฒนาโครงการรถโดยสารสาธารณะพลังงานไฟฟ้า (E-bus) ในประเทศไทยภายใต้แนวทางการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศของข้อ ๖ ของความตกลงปารีส เนื่องจากสมาพันธรัฐสวิสประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีสาขานี้ ทำให้มีการปล่อยก๊ซเรือนกระจกต่ำช่วยลดมลพิษทางอากาศและเสียง และได้รับการตอบรับที่ดีจากภาคประชาชน ทั้งนี้ ทั้งสองประเทศต่างยึดถือหลักการสำคัญในเรื่องของความโปร่งใสในการดำเนินงานและการไม่ให้เกิดการนับซ้ำ (double counting) ของผลการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว นอกจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เชิญชวนสมาพันธรัฐสวิส เข้าร่วมการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand Climate Action Conference: TCAC) ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีกำหนดจัดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 เพื่อเปิดโอกาสให้จังหวัดและส่วนภูมิภาค รวมถึงภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ร่วมนำเสนอสถานการณ์ ประสบการณ์และแสดงเจตจำนงในการมีส่วนร่วมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของตนในรูปแบบ bottom-up approach ด้วย
                    3. การจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมเสวนาคู่ขนาน ณ ศาลาไทย (Thai Pavilion) ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาฯ สมัยที่ 26 ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 12 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับภาคีความร่วมมือภาคเอกชน ประกอบด้วย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกันจัดนิทรรศการ Thailand Pavilion ขึ้น เพื่อนำเสนอยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย (Thailand's Long-term Greenhouse Gas Emission Development Strategy) และการดำเนินงานเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคีความร่วมมือภาคเอกชนพร้อมทั้งมีการจัดกิจกรรมคู่ขนาน (Side Event) ภายใน Thailand Pavilion ซึ่งนิทรรศการและกิจกรรมคู่ขนานนี้ ได้รับความสนใจจากนานาประเทศเป็นอย่างยิ่งในการเข้าเยี่ยมชม สอบถาม แลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ รวมทั้งการหารือความร่วมมือการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                    4. การดำเนินงานขั้นต่อไป กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะประสานหน่วยงานภายใต้คณะทำงานเจรจาสำหรับการประชุมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และคณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติด้านการประสานท่าทีเจรจาและความร่วมมือระหว่างประเทศในการวิเคราะห์ผลการประชุมในครั้งนี้ โดยเฉพาะประเด็นที่ประเทศไทยต้องดำเนินการ และเตรียมความพร้อมในประเด็นสารัตถะ บุคลากรและงบประมาณสำหรับเข้าร่วมการประชุมภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พิธีสารเกียวโต และความตกลงปารีสอย่างต่อเนื่องเพื่อร่วมหารือในประเด็นสำคัญอันจะส่งผลต่อการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศและการดำเนินงานตามพันธกรณีของกรอบอนุสัญญาฯ และความตกลงปารีสต่อไป

30. เรื่อง ขอความเห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลกสมัยสามัญครั้งที่ 12           และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบข้อเสนอท่าทีไทยสำหรับการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญครั้งที่ 12 (the Twelfth Ministerial Conference : MC12) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายพิจารณาใช้ดุลยพินิจ                       ตามสถานการณ์ ตามความเหมาะสม ในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ของไทยต่อไป
                    3. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม MC12 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองแถลงการณ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ ในเรื่องเกษตรของ องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO)
                    ทั้งนี้ หากมีการปรับปรุงแก้ไขเอกสารตามข้อ 2 และข้อ 3 ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                    สาระสำคัญ
                    ประเด็นที่ประเทศสมาชิก WTO อยู่ระหว่างหารือเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่จะเป็นผลลัพธ์ของการประชุม MC12 ได้แก่ การจัดทำความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนประมง การปรับปรุงความตกลงเกษตร การเสริมสร้างบทบาทของ WTO ในการรับมือกับโรคโควิด-19 การค้ากับสิ่งแวดล้อม การค้ากับการพัฒนา การปฏิรูป WTO การแก้ไขปัญหาการแต่งตั้งสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ในตำแหน่งที่ว่างอยู่ และการเจรจาเรื่องอื่น ๆ ภายใต้กรอบการหารือ                   หลายฝ่าย อาทิ การจัดทำกฎเกณฑ์ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การเจรจาจัดทำวินัยเพื่อกำกับดูแลการใช้กฎระเบียบภายในประเทศด้านการค้าบริการ การอำนวยความสะดวกทางการลงทุนเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย (MSMEs) ตลอดจนประเด็นสืบเนื่องจากการประชุม MC11 ซึ่งเมื่อสมาชิกสรุปผลการเจรจาได้แล้ว จะปรากฎเอกสารผลลัพธ์การประชุม MC12
                    2. ข้อเสนอของส่วนราชการ
                    กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม            45 หน่วยงาน1 ประชุมหารือเพื่อพิจารณาท่าทีไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประชุม MC12 อาทิ การประชุมเรื่องบทบาทของ WTO ในการรับมือกับโรคโควิด-19 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 และการประชุมเพื่อพิจารณาข้อเสนอท่าทีไทยสำหรับการประชุม MC12 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 และ 9 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบต่อท่าทีไทยในประเด็นต่าง ๆ ด้วยแล้ว
                    ทั้งนี้ องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ร่วมกับสาธารณรัฐคาซัคสถานกำหนดจัดประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญครั้งที่ 12 (the Twelfth Ministerial Conference :              MC12) และการประชุมที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน ? 3 ธันวาคม 2564 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
????_____________________________
1หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 45 หน่วยงาน ได้แก่ (1) กรมประมง (2) กรมพัฒนาที่ดิน (3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (4) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย (5) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (6) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (7) การยาสูบแห่งประเทศไทย (8) องค์การสุรา (9) กรมศุลกากร (10) กรมสรรพสามิต (11) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (12) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (13) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (14) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (15) กรมการจัดหางาน (16) กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (17) กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย (18) กรมองค์การระหว่างประเทศ (19) กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (20) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (21) กรมควบคุมโรค (22) สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (23) องค์การเภสัชกรรม (24) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (25) สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (26) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (27) กรมควบคุมมลพิษ (28) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (29) กรมป่าไม้ (30) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (31) กรมเจ้าท่า (32) กรมการขนส่งทางบก (33) สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (34) คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (35) ธนาคารแห่งประเทศไทย (36) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (37) คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (38) คณะกรรมการกฤษฎีกา (39) คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (40) คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และ 5 หน่วยงานภายในกระทรวงพาณิชย์ (ได้แก่ (41) กรมการค้าภายใน (42) กรมการค้าต่างประเทศ (43) กรมทรัพย์สินทางปัญญา (44) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ (45) สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า)

แต่งตั้ง

31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                  (กระทรวงสาธารณสุข)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่             มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                     1. นายวิรัช ประวันเตา นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านวิจัย) กรมควบคุมโรค ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัย) กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2564
                     2. นางอัมพร จันทวิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการระดับสูง) สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ (ด้านสุขาภิบาล) กรมอนามัย ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2564
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                   (กระทรวงแรงงาน)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้ง เรือเอก สาโรจน์              คมคาย ผู้อำนวยการกอง [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (นิติการ) ระดับสูง] กองกฎหมาย สำนักงานประกันสังคม ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากฎหมาย (นิติกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายธีร์ ภวังคนันท์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

34. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอแต่งตั้ง นางสาวพัชรา เพ็ชรทวี ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ก.พ. ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ก.พ. สำนักงาน ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

35. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นายพรชัย ฐีระเวช เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก แทนประธานกรรมการเดิมที่ลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการซึ่งตนแทน

36. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อแทนตำแหน่งที่ว่าง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้ง นายอำนวย ภู่ระหงษ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน แทนนางสาวสุดธิดา กรุงไกรวงศ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

37. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้งบุคคลเป็นประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ แทนคณะกรรมการเดิมที่ครบวาระการดำรงตำแหน่ง ดังนี้
                     1. นายสรนิต ศิลธรรม                     ดำรงตำแหน่ง            ประธานกรรมการ
                     2. นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์                      ดำรงตำแหน่ง           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    3. นายสุพันธุ์ มงคลสุธี                       ดำรงตำแหน่ง           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    4. นายภุชงค์ อุทโยภาศ                       ดำรงตำแหน่ง           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    5. นายวีรชัย อาจหาญ                      ดำรงตำแหน่ง           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    6. นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช           ดำรงตำแหน่ง           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    7. นางสาวณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย  ดำรงตำแหน่ง            กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป

38. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน แทนประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนที่ครบวาระการดำรงตำแหน่ง ดังรายชื่อต่อไปนี้
                     1. นายวีระพงษ์ แพสุวรรณ           เป็นประธานกรรมการ
                    2. นายกำจร ตติยกวี                     เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     3. นายชาตรี สุวรรณิน                       เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    4. นายรัตติกร ยิ้มนิรัญ                      เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    5. นายชูกิจ ลิมปิจำนงค์                      เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    6. นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์           เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    7. นายธันยวัต สมใจทวีพร          เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    8. นายอรรถสิทธิ์ กอชัยพฤกษ์            เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป

39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายสุทธิ สุโกศล            ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป

40. เรื่อง ขอความเห็นชอบแต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งนายสมพร ศรีเมือง             เป็นผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย โดยให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่ในอัตราเดือนละ 170,000 บาท และให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป

          ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ