สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 พฤษภาคม 2565

ข่าวการเมือง Tuesday May 17, 2022 16:47 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (17 พฤษภาคม 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                      เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
เศรษฐกิจ สังคม

                    1.           เรื่อง          (ร่าง) แผนการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ                                        และโรคจากสิ่งแวดล้อมระดับชาติ (พ.ศ. 2664 ? 2580) และแผนปฏิบัติการ                                                   (Action Plan) ภายใต้แผนฯ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 ? 2565) และระยะที่ 2

(พ.ศ. 2566 ? 2570)

                    2.           เรื่อง           แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580)
                    3.           เรื่อง           ข้อเสนอสมัชชาสตรีระดับชาติ ปี 2563
                    4.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินการตามแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็น                                                  สายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง ปี 2564 (ข้อมูล ณ เดือน ธันวาคม 2564)
                    5.           เรื่อง            ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565
                    6.           เรื่อง           สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการ ญัตติมาตรการและผลกระทบจาก                                                  นโยบายการเปิดประเทศ
                    7.           เรื่อง           ขออนุมัติกรอบวงเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพ                                                  ผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 เพิ่มเติม
                    8.           เรื่อง           (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว (พ.ศ. 2565 ? 2580)
                    9.           เรื่อง           รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์

และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2564

                    10.          เรื่อง          ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565

ต่างประเทศ

                    11.           เรื่อง          การต่ออายุความตกลงว่าด้วยการก่อตั้งศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN ? Japan

Centre: AJC)

                    12.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของเวทีทบทวนการโยกย้ายถิ่นฐาน                                                  ระหว่างประเทศและคำมั่นโดยสมัครใจของไทย
                    13.             เรื่อง           ขอส่งคำขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อ                                        กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการประชาสัมพันธ์การเป็นเจ้าภาพ                                        เอเปคของไทย ปี พ.ศ. 2565 และผลงานสำคัญของรัฐบาล
                    14.           เรื่อง           ร่างปฏิญญากรุงเทพฯ ในโอกาสครบรอบ 75 ปีของการก่อตั้งคณะกรรมาธิการ                                                  เศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก : วาระร่วมกัน                                                  เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนในเอเชียและแปซิฟิก
                    15.           เรื่อง           การเข้าร่วมถ้อยแถลงว่าด้วยกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก
                                        เพื่อความเจริญรุ่งเรือง (Statement on Indo-Pacific Economic Framework                                         for Prosperity)
                    16.           เรื่อง           ข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับ                                                  สมาพันธรัฐสวิส (Implementing Agreement to the Paris Agreement                                                   between  the Kingdom of Thailand and the Swiss Confederation)



แต่งตั้ง

                    17.           เรื่อง          การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ

ระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย)

                    18.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ

ระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)

                    19.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ

ระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)

                    20.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง

(กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)

                    21.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม
                    22.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงอุตสาหกรรม)


สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396



























เศรษฐกิจ สังคม

1. เรื่อง (ร่าง) แผนการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมระดับชาติ (พ.ศ. 2664 ? 2580) และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ภายใต้แผนฯ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 ? 2565) และระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 ? 2570)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม (คณะกรรมการฯ) เสนอดังนี้
                     1. เห็นชอบ (ร่าง) แผนการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมระดับชาติ (พ.ศ. 2664 ? 2580) (แผนฯ) และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ภายใต้แผนฯ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 ? 2565) และระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 ? 2570) (แผนปฏิบัติการภายใต้แผนฯ)
                     2. เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนฯ และแผนปฏิบัติการภายใต้แผนฯ ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คณะกรรมการฯ รายงานว่า
                    1. ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเร่งพัฒนาในทุกด้าน ทั้งภาคการเกษตร ภาคการผลิต และภาคการบริการ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้ประกอบอาชีพหรือประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม (โรคฯ) ที่มีแนวโน้มและความรุนแรงสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคจากการประกอบอาชีพที่เกิดขึ้นได้ทันที หรือเกิดขึ้นภายหลังการประกอบอาชีพเป็นระยะเวลานาน รวมถึงโรคจากสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากมลพิษหรือสิ่งปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จึงได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันวิเคราะห์และจัดทำ (ร่าง) แผนฯ และแผนปฏิบัติการภายใต้แผนฯ ซึ่งต่อมาคณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบและให้นำเสนอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนแนวทางการเสนอแผนระดับที่ 3 เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
                     2. สธ. ได้เสนอ (ร่าง) แผนฯ และแผนปฏิบัติการภายใต้แผนฯ ต่อ สศช. โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2564 เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2564 มีมติเห็นชอบในหลักการของแผนดังกล่าว และมีความเห็นให้ สธ. พิจารณาเพิ่มเติมในประเด็นต่าง ๆ
                     3. สธ. ได้รับความเห็นของสภาพัฒนาฯ ไปดำเนินการปรับปรุง (ร่าง) แผนฯ และแผนปฏิบัติการภายใต้แผนฯ และได้เสนอคณะกรรมการฯ รับทราบแล้วในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565  เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2564 โดยสาระสำคัญของ (ร่าง) แผนฯ และแผนปฏิบัติการภายใต้แผนฯ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ แบ่งการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 (ปี 2564 ? 2565) ระยะที่ 2 (ปี 2566 ? 2570) ระยะที่ 3 (ปี 2571 ? 2575) และระยะที่ 4 (ปี 2576 ? 2580) ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการภายใต้แผนฯ ที่เสนอในครั้งนี้ครอบคลุมการดำเนินงานแค่ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 เท่านั้น มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    (ร่าง) แผนการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมระดับชาติ (พ.ศ. 2664 ? 2580) และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ภายใต้แผนฯ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 ? 2565) และระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 ? 2570)
                     วิสัยทัศน์ ?ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี ด้วยการป้องกันควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม (โรคฯ) ที่มีประสิทธิภาพ ภายในปี 2580?
                    เป้าประสงค์ สามารถลดการเกิดโรคฯ ในประเทศไทยอย่างบูรณาการและมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมีระบบเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคฯ ที่มีประสิทธิภาพ และมีการให้บริการอาชีวเวชกรรมและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม (บริการฯ) ที่ได้มาตรฐาน
                    พันธกิจ 1. ยกระดับระบบเฝ้าระวังโรคฯ ให้มีประสิทธิภาพ 2. กำกับดูแลให้บริการฯ ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานเดียวกันอย่างเป็นธรรม 3. สนับสนุน/เร่งรัดมาตรการป้องกันและควบคุมโรคฯ ของภาคส่วนต่าง ๆ
                    วัตถุประสงค์ 1. เพื่อใช้ในการสื่อสารและสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้ประกอบอาชีพและผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ด้วยการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคฯ ที่มีประสิทธิภาพ และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน 2. เพื่อใช้ในการติดตาม และประเมินผลแผนการดำเนินงาน 3. เพื่อวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลวิชาการที่สำคัญที่ได้จากการเสนอในระดับนโยบาย เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาสุขภาพผู้ประกอบอาชีพ และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม
                    ยุทธศาสตร์ที่ 1 การขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการป้องกันควบคุมโรคฯ
                    กลยุทธ์  - ผลักดันนโยบาย/มาตรการป้องกันควบคุมโรคฯ โดยพัฒนามาตรการเฝ้าระวัง เน้นจัดการที่แหล่งกำเนิด/ค่ามาตรฐานมลพิษ/มาตรการทางการเงินการคลังและกฎหมาย* - พัฒนาระบบบริหารจัดการและกลไกขับเคลื่อนการป้องกันควบคุมโรคฯ เช่น ใช้กลไก Social Responsibility (BCG, CSR)/พัฒนาบุคลากร สนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์/ส่งเสริมการกระจายอำนาจการบริหารจัดการสู่ท้องถิ่น ฯลฯ
                    ตัวชี้วัด จำนวนนโยบาย/มาตรการที่ได้รับการพัฒนาและขับเคลื่อน โดยมุ่งเน้นโรคที่กำหนดในพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562
                    ยุทธศาสตร์ที่ 2 การขับเคลื่อนการป้องกันควบคุมโรคฯ แบบบูรณาการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
                    กลยุทธ์ - พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เพื่อรองรับการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคฯ ให้พร้อมใช้งานในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรวมถึงรองรับการเชื่อมต่อทุกอุปกรณ์ ทุกที่ทุกเวลา ? ขับเคลื่อนกลไกการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคฯ เชิงบูรณาการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เป็นหน่วยงานสนับสนุนด้าน Big Data/ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างภาครัฐและมหาวิทยาลัย
                     ตัวชี้วัด ? ระดับความสำเร็จของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฯ ที่เหมาะสมและพร้อมใช้งานในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง/การบูรณาการระบบข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ด้านโรคฯ ? การพัฒนากำลังคนให้มีความรู้ด้านดิจิทัลระดับสากล
                    ยุทธศาสตร์ที่ 3 การควบคุมกำกับบริการฯ
                    กลยุทธ์ ? พัฒนาและยกระดับมาตรฐานการให้บริการฯ งานวิจัย และ Public Health Laboratory รวมถึงระบบบริการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ? สร้างระบบประเมิน กำกับ รับรองคุณภาพมาตรฐานการให้บริการฯ โดยให้มีการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ ? ขยายความครอบคลุมและเพิ่มการเข้าถึง              บริการฯ ที่มีคุณภาพและเป็นธรรม โดยพัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายและรูปแบบบริการนอกหน่วยบริการสุขภาพ/พัฒนาระบบบริการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคฯ กลุ่มอาชีพอิสระ ผู้สูงอายุ
                    ตัวชี้วัด ? การมีมาตรฐานการให้บริการฯ ที่มีคุณภาพและเป็นธรรม ? ร้อยละของการเข้าถึง              บริการฯ และความครอบคลุมของการให้บริการฯ
                     ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างการมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคฯ
                     กลยุทธ์ ? สร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการป้องกันควบคุมโรคฯ โดยใช้กลไกคณะอนุกรรมการ (ให้ภาคประชาชนและเครือข่ายมีส่วนร่วม)/พัฒนาช่องทางให้ภาคประชาชนทำงานร่วมกับภาครัฐ เช่น แจ้งเหตุ แลกเปลี่ยนข้อมูล/ขับเคลื่อนงานตามพันธสัญญาและอนุสัญญานานาชาติ/เฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชน ? เสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการความรู้ สื่อสาร วิจัย และพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการป้องกันควบคุมโรคฯ
                    ตัวชี้วัด ? จำนวนนวัตกรรม/แนวทางการมีส่วนร่วมในการควบคุมโรคฯ ? มีกลไก/ช่องทางให้ประชาชนทำงานร่วมกับภาครัฐ - ร้อยละของประชาชนที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาวะ มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
 * หมายเหตุ : มีแนวทางดำเนินการที่สำคัญ เช่น (1) ขับเคลื่อนนโยบายให้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์เป็นวัตถุดิบ (2) ลดจำนวนการตายและการเจ็บป่วยจากสารเคมีอันตราย มลพิษ และการปนเปื้อนทางอากาศ น้ำ และดินอย่างยั่งยืน โดยพัฒนามาตรการติดตาม เฝ้าระวัง ตรวจสอบการปนเปื้อนโลหะหนัก/ศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสมลพิษทางอากาศ (PM2.5)/ออกประกาศยกเลิกการใช้สารเคมีทางการเกษตร 2 ชนิด (พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส) (3) สนับสนุนอุตสาหกรรมต้นแบบที่เป็นมิตรกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และ (4) ส่งเสริมให้มีมาตรการทางภาษีเพื่อให้มีบริการส่งเสริมสุขภาพ/ป้องกันโรคให้กับแรงงาน เป็นต้น
                     4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามแผนฯ ได้แก่ หน่วยงานภายในของ สธ. กระทรวง             ต่าง ๆ (12 กระทรวง) ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณสุข สถาบันการศึกษา รวมถึงภาคเอกชน NGOs และภาคประชาชน อาทิ สมาคม สภา ชมรม และมูลนิธิต่าง ๆ ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
                    5. ในส่วนของงบประมาณ ได้ประมาณการกรอบวงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 2,448.64 ล้านบาท โดยจะตั้งรายการเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของแต่ละหน่วยงาน แบ่งเป็น
ปีงบประมาณ          วงเงิน (ล้านบาท)          หมายเหตุ
พ.ศ. 2563          183.58          ใช้จ่ายจากงบประมาณประจำปีของแต่ละหน่วยงาน โดยไม่ได้ตั้งเบิกเป็นรายการดำเนินงานตามแผนฯ
พ.ศ. 2564          531.75
พ.ศ. 2565          634.17
พ.ศ. 2566 ? 2570          1,099.14          -
รวม          2,448.64          -
                     6. การติดตามประเมินผล เช่น การพัฒนากลไกการติดตามประเมินผลรูปแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานเครือข่าย (Joint Monitoring & Evaluation) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ และการจัดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ระยะครึ่งแผน (พ.ศ. 2572) และระยะสิ้นสุดแผน (พ.ศ. 2580) เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ เป็นต้น

2. เรื่อง แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580) และให้หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินงานด้านผู้สูงอายุนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พม. รายงานว่า
                    1. ประเทศไทยได้เริ่มจัดทำแผนผู้สูงอายุแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นแผนระยะยาว 20 ปี ครอบคลุมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 - 2544 ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการจัดทำและประกาศใช้แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564)  ซึ่งแผนดังกล่าวได้มีการปรับปรุงและติดตามประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะ โดยปัจจุบันได้ใช้แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2565) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2563 เป็นกรอบและแนวทางปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุของประเทศ และจะสิ้นสุดภายในปี พ.ศ. 2565 ดังนั้น เพื่อให้ประเทศไทยมีกรอบทิศทางการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุที่มีความต่อเนื่องและสอดคล้องกับบริบทของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุแห่งชาติ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580) จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นกรอบในการบูรณาการและการทำงานเชิงรุกเพื่อรองรับสังคมสูงวัยของประเทศไทยและนำไปสู่สัมฤทธิ์ผลในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งกรอบแนวคิดในการจัดทำแผนปฏิบัติการฉบับนี้จะเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในทุกระดับและได้นำข้อมูลจากการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุแห่งชาติ ระยะที่ 2 มาประกอบกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ ได้แก่ สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ สังคม นโยบายที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน แนวโน้มทางประชากร และทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต และมีการกำหนดยุทธศาสตร์ มาตรการ เป้าหมาย และดัชนีชี้วัดไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งกำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในทุก ๆ ระยะ 5 ปีของแผน เพื่อทราบความก้าวหน้า ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงาน และเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น
                    2. แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
1. วิสัยทัศน์          ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตดี มีหลักประกันมั่นคง เป็นพลังพัฒนาสังคม
2. วัตถุประสงค์          2.1 เพื่อให้มีกรอบและแนวทางปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสอดรับกับยุทธศาสตร์และแผนแม่บท อันจะก่อให้เกิดการบูรณาการแผนในทุกระดับ และนำไปสู่การขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุและการรองรับสังคมสูงวัยของหน่วยงานต่าง ๆ อย่างมีบูรณาการ
2.2 เพื่อเพิ่มคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้เพิ่มพูนศักยภาพของตนเองอย่างเต็มกำลังความสามารถ
2.3 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ สภาพแวดล้อม การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างทั่วถึง เท่าเทียมและเป็นธรรม อันจะทำให้ดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า พึ่งพาตนเองได้ มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมและมีหลักประกันที่มั่นคงไปจนบั้นปลายของชีวิต
2.4 เพื่อรองรับสังคมสูงวัยเชิงรุก ด้วยการส่งเสริมให้ประชากรที่จะเป็นผู้สูงอายุในอนาคต โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 25 - 59 ปีในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นผู้สูงอายุในอีก 1 - 35 ปีข้างหน้า ตระหนักและเตรียมการให้พร้อมเพื่อให้มีชีวิตที่ดีในยามสูงอายุ พร้อมที่จะยอมรับและร่วมมือกับผู้สูงอายุในการเป็นพลังขับเคลื่อนสังคม หรือให้การเกื้อหนุนผู้สูงอายุในยามที่จำเป็น
3. แผนปฏิบัติการย่อย          แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580) แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้            1) แผนปฏิบัติการระยะเร่งด่วนใน 5 ปีแรก (พ.ศ. 2566 - 2570) โดยมีมาตรการและแนวปฏิบัติสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาโครงการหรือกิจกรรม ตัวชี้วัดความสำเร็จของมาตรการในรูปของผลลัพธ์หรือผลกระทบโดยมีการกำหนดเป้าหมายในช่วง 5 ปีแรก ตลอดกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบในการขับเคลื่อนมาตรการตามแผนฯ เพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนด และ 2) แผนปฏิบัติการระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2566 - 2580) เพื่อให้เห็นภาพและทิศทางในระยะยาวของการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุและรองรับสังคมสูงวัยของประเทศให้เกิดความต่อเนื่องกับแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2565) ซึ่งประกอบด้วยแผนปฏิบัติการย่อย 4 แผน ดังนี้
แผนปฏิบัติการย่อยและมาตรการที่สำคัญ          ตัวชีวัดที่สำคัญและค่าเป้าหมาย
5 ปีแรก พ.ศ. 2566 - 2570 เช่น
แผนปฏิบัติการย่อยที่ 1 เตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุ                 (5 มาตรการ)
(1) ส่งเสริมให้ประชากรอายุ 25 - 59 ปี เร่งเตรียมการก่อนยามสูงอายุในมิติทางเศรษฐกิจ เช่น ส่งเสริมการออมเงินเพื่อยามชราภาพ เร่งพัฒนาระบบบำนาญแห่งชาติ1 แบบหลายชั้น เป็นต้น          - สัดส่วนของประชากรอายุ 25 - 59 ปี ที่มีการเตรียมการก่อนยามสูงอายุด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 65
- อัตราความครอบคลุมของหลักประกันยามชราภาพในประชากรอายุ 25 - 59 ปี ร้อยละ 60
- อัตราเงินออมภาคครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น
- มีระบบบำนาญแห่งชาติเกิดขึ้นภายในปี พ.ศ. 2570
(2) สร้างเสริมความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการชราภาพ ตระหนักถึงคุณค่า ศักดิ์ศรี และมีความรับผิดชอบต่อผู้สูงอายุ เช่น ส่งเสริมการให้ความรู้เรื่องกระบวนการชราภาพ รณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ เป็นต้น          - สัดส่วนประชากรอายุ 25 - 59 ปี ที่มีการเตรียมการก่อนยามสูงอายุด้านสังคม ร้อยละ 65
- สัดส่วนของประชากรอายุ 25 - 59 ปี ที่มีความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการชราภาพ ร้อยละ 50
- สัดส่วนของประชากรอายุ 25 - 59 ปี ที่มีทัศนคติเชิงบวกต่อผู้สูงอายุ ร้อยละ 50
(3) ส่งเสริมการพัฒนาความรู้และศักยภาพตนเองอย่างต่อเนื่อง รู้เท่าทันและสามารถเลือกใช้ประโยชน์จากสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ส่งเสริมประชากรวัยทำงานให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตที่สอดคล้องกับความสนใจและวิถีชีวิตของตนเอง ส่งเสริมการให้ความรู้และพัฒนาทักษะในการรู้เท่าทันสื่อและใช้สื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ เป็นต้น          - สัดส่วนของประชากรอายุ 25 - 59 ปี ที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนหรือใช้บริการแหล่งเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน รวมถึงแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสื่อสารสนเทศ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี ร้อยละ 50
- สัดส่วนของประชากรอายุ 25 - 59 ปี ที่รู้เท่าทันสื่อและมีพฤติกรรมการใช้สื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ ร้อยละ 50
(4) เร่งเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ เช่น สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพดีและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ส่งเสริมการสร้างความรู้ด้านสุขภาพ เป็นต้น          - สัดส่วนของประชากรอายุ 25 - 59 ปี ที่มีการเตรียมการก่อนยามสูงอายุด้านสุขภาพร้อยละ 65
- สัดส่วนของประชากรอายุ 25 - 59 ปี ที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ร้อยละ 50
(5) ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับวัยสูงอายุและเพิ่มโอกาสในการปรับสภาพที่อยู่อาศัย เช่น ส่งเสริมการปรับปรุงที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะครัวเรือนที่มีบิดามารดาสูงอายุอาศัยอยู่ด้วย ส่งเสริมการขยายตัวของธุรกิจและอุตสาหกรรมการผลิตวัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น          - สัดส่วนของประชากรอายุ 25 - 59 ปี ที่มีความรู้หรือการเตรียมการก่อนยามสูงอายุด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 65
- สัดส่วนของประชากรอายุ 55 - 59 ปี ที่อาศัยอยู่ในบ้านที่มีความปลอดภัยทางกายภาพ เช่น บ้านที่มีการจัดแสงสว่างเพียงพอ บริเวณบันได ห้องน้ำ หรือทางเข้า มีราวจับในห้องน้ำ ประตูห้องน้ำ เป็นแบบเปิดให้คนอื่นสามารถเข้าไปได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ พื้นห้องน้ำไม่ลื่น และมีทางลาดสำหรับรถเข็น เป็นต้น ร้อยละ 65
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก เช่น กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พม. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) (สำนักงานสถิติแห่งชาติ) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงาน ก.พ.ร. กรุงเทพมหานคร (กทม.) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เมืองพัทยา เป็นต้น
หน่วยงานรับผิดชอบร่วม เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) สำนักงานประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เป็นต้น
แผนปฏิบัติการย่อยที่ 2 ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทุกมิติอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม (4 มาตรการ)
(1) ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านเศรษฐกิจ เช่น ปฏิรูประบบหลักประกันยามชราภาพให้เป็นไปอย่างบูรณาการและยั่งยืน สามารถครอบคลุมผู้สูงอายุอย่างพอเพียง ทั่วถึง และเป็นธรรม ส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุทั้งภาคในระบบและนอกระบบ เป็นต้น          - สัดส่วนของผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาความยากจนหลายมิติลดลง ร้อยละ 10 จากปีฐาน (พ.ศ. 2565)
(2) ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านสุขภาพ  เช่น เสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ พัฒนาระบบสุขภาพรองรับสังคมสูงวัยเชิงรุกที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มและเหมาะกับบริบทของพื้นที่ เป็นต้น          - อายุคาดเฉลี่ย (จำนวนปีที่คาดหวัง) ของการมีสุขภาพดีของผู้สูงอายุ (Healthy Life Expectancy) ไม่น้อยกว่า 70 ปี
- สัดส่วนของผู้สูงอายุที่มีปัญหาภาวะสมองเสื่อมไม่เกินร้อยละ 10
- สัดส่วนของผู้สูงอายุที่ได้รับการประเมินคัดกรองสุขภาพ ร้อยละ 70
(3) ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านสังคม เช่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการเป็นพลังทางสังคม ส่งเสริมการจัดการสื่อสารสนเทศเพื่อผู้สูงอายุ เป็นต้น           - สัดส่วนของผู้สูงอายุที่ได้รับเชิญเป็นวิทยากร/ที่ปรึกษา/อาสาสมัครร่วมในการทำงานด้านผู้สูงอายุในรอบปีที่ผ่านมา ร้อยละ 20
- สัดส่วนของผู้สูงอายุที่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารเพื่อผู้สูงอายุ ร้อยละ 60
(4) ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านสภาพแวดล้อม เช่น ส่งเสริมการปรับสภาพที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงที่อยู่อาศัย วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุ เป็นต้น          - สัดส่วนของผู้สูงอายุที่ได้รับหรือมีการปรับปรุงบ้านให้เหมาะสมและปลอดภัย ร้อยละ 30
- สัดส่วนของสถานที่สาธารณะที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ได้จริง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก เช่น กค. อว. พม. กระทรวงคมนาคม (คค.) รง. วธ. ศธ. สธ. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นต้น
หน่วยงานรับผิดชอบร่วม เช่น ดศ. มท. สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กรมประชาสัมพันธ์ กทม. กบข. กบช. กอช. คปภ. อปท. เมืองพัทยา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นต้น
แผนปฏิบัติการย่อยที่ 3 ปฏิรูปและบูรณาการระบบบริหารเพื่อรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ (8 มาตรการ)
(1) แปลงแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุสู่การปฏิบัติและผลักดันให้ทุกภาคส่วนขับเคลื่อนแผนอย่างมีบูรณาการตั้งแต่ระดับชาติสู่ระดับท้องถิ่น          - สัดส่วนของโครงการที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 และสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายของโครงการ ร้อยละ 60
(2) ติดตามและประเมินผลนโยบายและแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุในแต่ละระดับ          - มีการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3/ปรับปรุงแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 ภายในปี พ.ศ. 2570
(3) ปฏิรูประบบกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินงานของทุกภาคส่วนในการรองรับสังคมสูงวัยเชิงรุก          - สัดส่วนของผู้สูงอายุที่อยู่กับครอบครัว ร้อยละ 90
- สัดส่วนของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในบ้านที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุ ร้อยละ 10
- สัดส่วนของผู้สูงอายุที่พึงพอใจกับระบบทางสัญจรและการคมนาคมทางบก ร้อยละ 60
(4) วางระบบกำลังคนด้านผู้สูงอายุทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในระดับชาติและระดับพื้นที่          - มีการกำหนดแผนกำลังคนด้านผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม ภายในปี พ.ศ. 2570
- มีหลักสูตรอบรมหรือผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
(5) เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาและการจัดการงานด้านผู้สูงอายุขององค์กรชุมชน/ท้องถิ่น และผู้นำชุมชน          - มีฐานข้อมูลของท้องถิ่นที่เป็นต้นแบบในการบริหารจัดการงานด้านผู้สูงอายุ
(6) พัฒนาระบบการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง และกลุ่มที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงทั้งในฐานะผู้รับบริการ ผู้รับสวัสดิการ หรือผู้บริโภค          - สัดส่วนของผู้สูงอายุที่ถูกละเมิดสิทธิ หรือทารุณกรรมหรือการใช้ความรุนแรงต่าง ๆ ไม่เกินร้อยละ 30
(7) พัฒนาระบบปกป้องและฟื้นฟูผู้สูงอายุและครอบครัวในยามที่เกิดนานาวิกฤติ          - มีแผนปฏิบัติการย่อยเพื่อพัฒนาระบบปกป้องและฟื้นฟูผู้สูงอายุและครอบครัวหากเกิดนานาวิกฤติภายในปี พ.ศ. 2566
- สัดส่วนของผู้สูงอายุที่ตกอยู่ในภาวะยากลำบากจากภาวะวิกฤติ ไม่เกินร้อยละ 30
(8) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ          - สัดส่วนของโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุในทุกระดับที่มีความร่วมมือกับภาคเอกชนและสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายของโครงการ ร้อยละ 10
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก เช่น กค. อว. พม. ดศ. กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) มท. กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) รง. วธ. ศธ. สธ. สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สศช. กทม. เมืองพัทยา อปท. คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
หน่วยงานรับผิดชอบร่วม เช่น สคบ. พอช. สสส. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
แผนปฏิบัติการย่อยที่ 4 เพิ่มศักยภาพการวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมรองรับสังคมสูงวัย (2 มาตรการ)
(1) ส่งเสริมการผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุเพื่อการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เช่น ส่งเสริมการพัฒนางานวิจัย/ผลิตภัณฑ์ด้านผู้สูงอายุหรือบริการ/ระบบหรือกระบวนการใหม่เพื่อเพิ่มศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและส่งเสริมให้มีการนำผลงานวิจัย/ข้อเสนอเชิงนโยบาย/นวัตกรรมด้านผู้สูงอายุไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เป็นต้น          - สัดส่วนของงานวิจัย/นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานให้ทุนหลัก และถูกนำไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในมิติต่าง ๆ ร้อยละ 20
- สัดส่วนของงานวิจัย/โครงการที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานให้ทุนหลักและภาคเอกชน และถูกนำไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุหรือนำไปใช้กำหนดนโยบาย (ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา) ร้อยละ 20
(2) ส่งเสริมการพัฒนาระบบข้อมูล งานวิจัยและนวัตกรรมด้านผู้สูงอายุที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ เช่น สร้างระบบข้อมูลงานวิจัย และนวัตกรรมด้านผู้สูงอายุของประเทศ สร้างกลไกเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านผู้สูงอายุจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศ จังหวัด และท้องถิ่น เป็นต้น          - ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่นำข้อมูลหรือผลงานวิจัยด้านผู้สูงอายุไปใช้ประโยชน์
- มีระบบข้อมูลด้านผู้สูงอายุ และข้อมูลงานวิจัยและนวัตกรรม
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก เช่น อว. ดศ. มท. พอช. กทม. เมืองพัทยา อปท.
หน่วยงานรับผิดชอบร่วม เช่น กค. พม. พณ. สธ. สสส. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

4. กลไกการบริหารจัดการแผนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย          4.1 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติทำหน้าที่สร้างความรู้ความเข้าใจให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญและร่วมผลักดันแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580) ไปสู่การปฏิบัติ สร้างความเข้าใจกับภาคีทุกภาคส่วนทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดกิจกรรมในการสื่อสารและประชาสัมพันธ์แผนฯ ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย
4.2 ส่งเสริมให้มีการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580) กับแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุของกระทรวงที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุในระดับจังหวัดและในระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างมีบูรณาการในทุกระดับ
4.3 กำหนดให้กรมกิจการผู้สูงอายุเป็นหน่วยงานกลางในการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณแบบบูรณาการระหว่างกระทรวงและผลักดันให้จังหวัดและท้องถิ่นมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อรองรับแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุในพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ
4.4 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580) ไปสู่การปฏิบัติ ทั้งในรูปของความรับผิดชอบต่อสังคมและการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม
5. แนวทางและกลไกในการติดตามและประเมินผล          5.1 ติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีกรมกิจการผู้สูงอายุเป็นศูนย์รวมข้อมูลผลการดำเนินงานรายปีในภาพรวมทั้งในส่วนของผลผลิตและผลลัพธ์
5.2 นำเสนอผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580) ต่อคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติเป็นประจำทุกปี
5.3 จัดทำการประเมินผลการดำเนินงานทุก 5 ปี โดยหน่วยงานกลางหรือหน่วยงานภายนอกด้วยเช่นกัน เพื่อวัดสัมฤทธิ์ผลของแผน ทั้งผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบตามมาตรการของแผน หลังจากนั้นจึงนำเสนอผลต่อคณะกรรมการผู้สูงอายุ
5.4 มีการปรับแผนเป็นระยะอย่างน้อย 5 ปี ให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม เทคโนโลยีและนวัตกรรม และผลจากการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ
                    3. แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุแห่งชาติ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580) จัดเป็นแผนระดับ 3 ที่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ รวมทั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นการเปลี่ยนเป็นสังคมสูงวัย ซึ่งคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุแห่งชาติ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580) และให้ พม. โดยกรมกิจการผู้สูงอายุนำเสนอแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุแห่งชาติ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580) ต่อคณะรัฐมนตรี และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 11/2564 เมื่อวันที่                           3 พฤศจิกายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการต่อแผนปฏิบัติการดังกล่าว โดยมีความเห็นเพิ่มเติมให้ พม. เพิ่มจุดเน้นที่สำคัญ เช่น การเตรียมความพร้อมก่อนวัยสูงอายุควรเน้นเรื่องการพัฒนาระบบการออมภาคบังคับและการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาโครงการควรมีความเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและแผนงานในระดับสากลที่ประเทศไทยเกี่ยวข้อง เป็นต้น [พม. ได้ปรับปรุงแผนงานและโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการระยะเร่งด่วนใน 5 ปีแรก (พ.ศ. 2566 - 2570) ตามความเห็นของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว] และให้ พม. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
1 ระบบบำนาญแห่งชาติ มีจุดประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันทางรายได้ของผู้สูงอายุ โดยครอบคลุมคนทำงานทุกคนทั้งในและนอกระบบประกันสังคมที่อยู่ในวัยสูงอายุ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ซึ่งปัจจุบันร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับสำหรับแรงงานในระบบที่มีอายุตั้งแต่ 15 - 60 ปี เพื่อให้แรงงานในระบบได้มีการออมเพื่อการเกษียณเพิ่มเติม นอกจากนี้ กบช. จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการบูรณาการฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับระบบบำเหน็จบำนาญ เพื่อให้มีระบบข้อมูลสำหรับใช้ประโยชน์ในการยกระดับการบริหารจัดการระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุทั้งระบบ ทั้งนี้ สมาชิกของ กบช. สามารถเลือกรับบำนาญ 20 ปี หรือบำเหน็จเมื่ออายุครบ 60 ปี บริบูรณ์

3. เรื่อง ข้อเสนอสมัชชาสตรีระดับชาติ ปี 2563
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบข้อเสนอสมัชชาสตรีระดับชาติ ปี 2563 (ข้อเสนอสมัชชาสตรีฯ) เรื่อง การพัฒนากฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องในการขยายความคุ้มครองประกันสังคมกลุ่มแรงงานนอกระบบ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและการปรับปรุงกฎหมาย ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอและให้กระทรวงแรงงาน (รง.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป                                                  สาระสำคัญของเรื่อง
                    พม. รายงานว่า
                    1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ข้อ 19 กำหนดให้คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาสถานภาพสตรี (กสส.) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการประชุมสมัชชาสตรีระดับจังหวัดและระดับชาติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง โดยเป็นการรวมกลุ่มของสตรี องค์กรสตรี และภาคประชาชนจากทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และแนวทางในการส่งสเสริมและประสานงานสตรี และเพื่อส่งเสริม ประสานงาน ระดมความคิดเห็นและประสานงานแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาสตรี และข้อ 20 กำหนดให้ กสส. รวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากที่ประชุมสมัชชาสตรีระดับชาติ เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ (กยส.) เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย การบริหาร หรือการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย หรือระเบียบปฏิบัติต่อไป
                    2. กยส. (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นประธาน) ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 ได้ทบทวนประเด็นข้อเรียกร้องจากการประชุมสมัชชาสตรีระดับชาติ ปี 2563 จำนวน 4 ประเด็น โดยมีข้อเสนอที่สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นนโยบาย ยุทธศาสตร์หรือมาตรการได้ จำนวน 8 ประการ ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วและปรากฏว่ายังไม่มีหน่วยงานใดดำเนินการ มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
ประเด็นข้อเรียกร้องและข้อเสนอ
จากสมัชชาสตรีระดับชาติ          ข้อเสนอที่สามารถพัฒนาไปสู่
การเป็นนโยบาย ยุทธศาสตร์
หรือมาตรการ          ระดับของงาน/หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. สุขภาพของผู้หญิง
1) กำหนดนโยบายการเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษาและเอดส์ในโรงเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย          กลไกการทำงานด้านครอบครัว ต้องได้รับการปรับเจตคติให้มีความเข้าใจและตระหนักต่อแนวคิดความสัมพันธ์ที่เป็นธรรมระหว่างหญิงชาย          ระดับกิจกรรม
- พม.
2) มีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ที่มีบทบาทในการเลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ด้านพัฒนาการของเด็กทุกวัย          ให้ความรู้เรื่องพัฒนาการของเด็กแก่ผู้เลี้ยงดูเด็กที่ไม่ได้อยู่ในระบบ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย หรือผู้รับเลี้ยงเด็กตามบ้าน          ระดับกิจกรรม
- กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
- กระทรวงมหาดไทย (มท.)
2. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
สนับสนุนการกำหนดมาตรการส่งเสริมศักยภาพสตรีให้มีความรู้และมีคุณสมบัติเพียงพอ และสนับสนุนให้สตรีเข้ามาปฏิบัติหน้าที่และตำแหน่งตามความสามารถ          กำหนดมาตรการหรือสัดส่วนให้ผู้หญิงมีโอกาสเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการของชุมชน          ระดับนโยบาย (กระทรวง)
- มท. (สามารถดำเนินการได้เองเป็นนโยบายระดับกระทรวง)
3. งานของผู้หญิง
1) กำหนดนโยบายให้ผู้หญิงเข้าถึงการประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนในแรงงานทุกอาชีพ (ทั้งในระบบและนอกระบบ)          การพัฒนากฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องในการขยายการคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ          ระดับนโยบาย (ประเทศ)
- รง.
2) พัฒนาเทคโนโลยีในการทำงานเพื่อส่งเสริมอาชีพสำหรับกลุ่มสตรี (เช่น เครื่องทุ่นแรงในงานช่าง เป็นต้น)           ยกระดับอาชีพของสตรีให้สามารถใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการทำงานทุกระดับ          ระดับกิจกรรมม
- รง.
- พม.
- มท.
4. ความรุนแรงต่อผู้หญิง
1) ส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลและป้องกันปัญหาการข่มขืน การล่วงละเมิดทางเพศเด็กและสตรี รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนศูนย์ที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ให้เข้มแข็ง          การยกระดับ ?แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ? เป็นวาระแห่งชาติ ที่เน้นการมีส่วนร่วมของหน่วยงาน/องค์กรทุกภาคส่วน (คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564)           ระดับนโยบาย (ประเทศ)
- พม. (ดำเนินการแล้ว)
2) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กในโรงเรียน          สร้างเครือข่ายการทำงานทุกภาคส่วนเพื่อกำหนดนโยบายและมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงอย่างบูรณาการ          ระดับนโยบาย
- กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) (ดำเนินการแล้ว)
3) ให้ปัญหาความรุนแรงที่ผู้หญิงเป็นผู้ถูกกระทำเป็นความรุนแรงที่มีความเปราะบางเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดขี้นกับเด็กหญิงและผู้หญิง และสร้างระบบที่มีความละเอียดอ่อนในการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กหญิงและผู้หญิง          จัดทำระบบข้อมูลความรุนแรงต่อผู้หญิง          ระดับกิจกรรม
- พม.
ทั้งนี้ ที่ประชุม กยส. เห็นว่า ข้อเสนอจากสมัชชาสตรีฯ ส่วนใหญ่มีหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการอยู่แล้ว ทั้งในระดับกิจกรรมและระดับนโยบาย ยกเว้นข้อเสนอเกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องในการขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้การพัฒนากฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องในการขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ [ประเด็นข้อเรียกร้องเกี่ยวกับงานของผู้หญิง ข้อเสนอกำหนดนโยบายให้ผู้หญิงเข้าถึงการประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนในแรงงานทุกอาชีพ (ทั้งในระบบและนอกระบบ)] เป็นประเด็นที่จะพัฒนาไปสู่นโยบาย ยุทธศาสตร์ หรือมาตรการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและปรับปรุงกฎหมาย และเห็นชอบให้ รง. เป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายเพื่อขยายการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ รวมทั้งมอบหมายให้ พม. เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    3. ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2563 พบว่าแรงงานนอกระบบเป็นแรงงานกลุ่มใหญ่ของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 53.8 ของจำนวนผู้มีงานทำทั้งหมด (20.4 ล้านคน) ในจำนวนนี้มีผู้หญิงอยู่เกือบครึ่งหนึ่ง (9.2 ล้านคน) โดยเฉพาะในภาคการค้าและการบริการ และแม้ว่าแรงงานนอกระบบจะเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่แรงงานนอกระบบเหล่านี้ยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน อาทิ ความปลอดภัยในการทำงาน หลักประกันทางสังคม ตลอดจนการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอำนาจต่อรองเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ดังนั้น การพัฒนากฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อคุ้มครองและขยายการประกันสังคมให้ครอบคลุมและเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มแรงงานนอกระบบ จะนำไปสู่การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สร้างหลักประกันทางสังคมที่ครอบคลุมและเหมาะสม โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบที่เป็นสตรี ซึ่งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ประเด็นยุทธศาสตร์การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ

4. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง ปี 2564 (ข้อมูล ณ เดือน ธันวาคม 2564)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอรายงานผลการดำเนินการตามแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ปี 2564 (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2564) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (31 มกราคม 2560) ที่กำหนดให้ มท. รายงานผลการดำเนินการตามแผนงานฯ ให้คณะรัฐมนตรีรับทราบเป็นระยะ ๆ] สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. สาระสำคัญของแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าฯ
                    กฟน. มีแผนดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่ที่ กฟน. ดูแลรับผิดชอบระบบจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และสมุทรปราการ ระยะทางรวม 236.1 กิโลเมตร มีกรอบระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่ปี 2527 - 2570 รวม 8 แผน ดำเนินการแล้วเสร็จ 55.7 กิโลเมตร

รายการ          ระยะทาง (กิโลเมตร)
(1) แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ 5 (ระยะที่ 2) ฉบับที่ 7 (ฉบับปรับปรุง) และฉบับที่ 8 (ฉบับปรับปรุง) (โครงการถนนสีลม ปทุมวัน และจิตรลดา)          16.2
(2) แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายไฟฟ้า ฉบับที่ 9 (ระยะที่ 2) (พ.ศ. 2547 - 2550) (โครงการพหลโยธิน พญาไท และสุขุมวิท)          24.4
(3) แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินปี 2551-2556 (ฉบับปรับปรุง) [โครงการปทุมวัน จิตรลดา พญาไท (เพิ่มเติม) และบางส่วนของโครงการนนทรี]           8
(4) แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินเพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน ในโครงการรอบพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน          7.1
                    2. ผลการดำเนินการตามแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าฯ (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2564) สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 แผนงาน/โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ระยะทาง 180.4 กิโลเมตร
                                        2.1.1 แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ปี 2551-2556 (ฉบับปรับปรุง) ระยะทางรวม 25.2 กิโลเมตร อยู่ระหว่างดำเนินการ 17.2 กิโลเมตร มีกำหนดแล้วเสร็จ ปี 2567 ได้แก่
แผนงาน/โครงการ          เป้าหมาย
ระยะทาง
(กิโลเมตร)          สถานะ/ผลการดำเนินการ
(1) โครงการนนทรี          6.3          อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 75.32 (จากแผนงานฯ ร้อยละ 80.73) (ช้ากว่าแผนร้อยละ 5.41)
(2) โครงการพระราม 3          10.9
                                         2.1.2 แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินรัชดาภิเษก ระยะทางรวม 22.5 กิโลเมตร มีกำหนดแล้วเสร็จ ปี 2568 ดังนี้
แผนงาน/โครงการ          เป้าหมาย
ระยะทาง
(กิโลเมตร)          สถานะ/ผลการดำเนินการ
(1) โครงการรัชดาภิเษก-อโศก          8.2          อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 30.16 (จากแผนงานฯ ร้อยละ 44.00) (ช้ากว่าแผนร้อยละ 13.84)
(2) โครงการรัชดาภิเษก-พระราม 9          14.3
                                        2.1.3 แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินเพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน รวมระยะทาง 127.3 กิโลเมตร มีกำหนดแล้วเสร็จ ปี 2568 อยู่ระหว่างการดำเนินการ 120.2 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 34.07 (จากแผนงานฯ ร้อยละ 36.52) (ช้ากว่าแผนร้อยละ 2.45) ดังนี้
แผนงาน/โครงการ          เป้าหมาย
ระยะทาง
(กิโลเมตร)          สถานะ/ผลการดำเนินการ
(1) โครงการพื้นที่เมืองชั้นใน ได้แก่ ถนนวิทยุ (2.1 กิโลเมตร) ถนนพระราม 4 (2.3 กิโลเมตร) ถนนอังรีดูนังต์ (1.8 กิโลเมตร) ถนนชิดลม (0.7 กม.) ถนนสาธร (3.6 กม.) ถนนหลังสวน (1.3 กม.) และถนนสารสิน (0.8 กม.)          12.6          อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
(2) โครงการในพื้นที่เชื่อมโยงระบบส่งระหว่างสถานีไฟฟ้าต้นทาง ได้แก่ ถนนเจริญราษฎร์ (3.8 กิโลเมตร) ถนนเพชรบุรี (1 กิโลเมตร) และถนนดินแดง (2.6 กิโลเมตร)          7.4          อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

(3) โครงการในพื้นที่ก่อสร้างร่วมกับหน่วยงานสาธารณูปโภคอื่น ได้แก่ โครงการในพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้า (87.1 กิโลเมตร) และโครงการในพื้นที่ร่วมกรุงเทพมหานคร (13.1 กิโลเมตร) (เช่น ถนนพรานนก)          100.2          อยู่ระหว่างการก่อสร้าง/อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้าง
                                        2.1.4 แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินฉบับปฏิบัติการเร่งรัด ระยะทางรวม 20.5 กิโลเมตร มีกำหนดการแล้วเสร็จ ปี 2570 ได้แก่
แผนงาน/โครงการ          เป้าหมาย
ระยะทาง
(กิโลเมตร)          สถานะ/ผลการดำเนินการ
(1) โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง ถนนรัตนาธิเบศร์ (ถนนราชพฤกษ์-ถนนกาญจนาภิเษก)          4.4          อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 20.00 (จากแผนงานฯ ร้อยละ 24.00) (ช้ากว่าแผน ร้อยละ 4.00)
(2) โครงการตามแนวรถไฟฟ้า สายสีม่วง ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ถึง ถนนติวานนท์          10.6
(3) โครงการตามแนวรถไฟฟ้า สายสีเขียว ถนนสุขุมวิท (ซอยสุขุมวิท 81-ซอยสุขุมวิท 107)          5.5
                              2.2 การเบิกจ่ายงบประมาณ กฟน. ได้วางแผนการเบิกจ่ายเงิน ในปี 2564 จำนวนเงิน 4,161.23 ล้านบาท ณ เดือนธันวาคม 2564 ได้มีการเบิกจ่ายเงินรวม 2,276.57 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 54.71 ของแผนการเบิกจ่ายฯ และจะเร่งดำเนินการเบิกจ่ายในส่วนที่เหลือโดยเร็วที่สุด ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
แผนงาน          งบประมาณ
ลงทุน          การเบิกจ่ายเงิน ปี 2564
                    แผนการจ่าย          ผลการจ่าย
(1) แผนงานฯ ปี 2551-2556 (ฉบับปรับปรุง)          9,088.80          1,151.86          649.61
(2) แผนงานฯ รัชดาภิเษก          8,899.58          693.10          210.80
(3) แผนงานฯ รองรับการเป็นมหานครอาเซียน          48,717.20          2,098.06          1,414.23
(4) แผนงานฯ ฉบับปฏิบัติการเร่งรัด          3,673.40          218.21          1.93
รวม          70,378.98          4,161.23
(ร้อยละ 100)          2,276.57
(ร้อยละ 54.71)
                    3. แผนการดำเนินงานในระยะต่อไป
                    กฟน. ได้ติดตามเร่งรัดการดำเนินการตามแผนงานฯ ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย และกรอบระยะเวลาที่กำหนด แต่เนื่องจากในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง พบปัญหาและอุปสรรคในการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ทำให้การก่อสร้างไม่เป็นไปตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาที่กำหนด จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบ เช่น การเพิ่มระดับความลึกของบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินเพื่อหลบอุปสรรค รวมทั้งปัญหาการได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ล่าช้าทำให้เริ่มงานก่อสร้างได้ช้ากว่าแผนงานที่กำหนด จากปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้ากว่าแผนงานฯ ที่กำหนด

5. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ (คณะกรรมการฯ) เสนอ ผลการ ประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร                  วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานกรรมการฯ  [เป็นการดำเนินการตามข้อ 8 (6) ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารกิจการอวกาศ พ.ศ. 2552 ที่กำหนดให้คณะกรรมการฯ  มีอำนาจและหน้าที่รายงานผลการดำเนินการ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข ต่อคณะรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปี] โดยคณะกรรมการฯ ได้รับทราบและพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. เรื่องเพื่อทราบ (จำนวน 5 เรื่อง) คณะกรรมการฯ ได้มีมติรับทราบเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้
                              1.1 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 27/2565 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการฯ จำนวน 9 คน ดังนี้
                                        (1) รองศาสตราจารย์ วีระพงษ์ แพสุวรรณ           ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกิจการอวกาศ
                                        (2) พลเอก สมศักดิ์ รุ่งสิตา                    ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการป้องกันประเทศ
                                        (3) ร้อยโท เจษฎา ศิวรักษ์                    ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสื่อสาร
                                        (4) นายเชาวลิต ศิลปทอง                              ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการรับรู้ระยะไกล
                                        (5) นายจิระชัย ปั้นกระษิณ                    ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการต่างประเทศ
                                        (6) ศาสตราจารย์ เฉลิมชนม์ สถิระพจน์          ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา
                                        (7) นางสาวนารี ตัณฑเสถียร                    ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
                                        (8) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี          ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายอวกาศ
                                        (9) ผู้ช่วยศาสตราจารย์                              ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโทรคมนาคม
                                            พันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์
                                        ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 9 คน ดังกล่าว จะมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้
                              1.2 รายงานผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2564 ดังนี้
                                        1.2.1 การแก้ไขคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อจัดทำนโยบายและแผนการดำเนินการเฝ้าระวัง และบริหารจัดการการจราจรทางอากาศ โดยประธานกรรมการฯ ได้ลงนามในคำสั่งคณะกรรมการฯ ที่ 1/2564 เรื่อง แก้ไขคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อจัดทำนโบายและแผนการดำเนินการเฝ้าระวัง และบริหารจัดการการจราจรทางอวกาศโดยเป็นการแก้ไขชื่ออนุกรรมการลำดับที่ 12 จากเดิม ?ผู้แทนกองข้อมูลข่าวสารการบินสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย? เป็น ?ผู้แทนสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย? โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป
                                        1.2.2 ความคืบหน้าการดำเนินงานตามแนวทางการบริหารจัดการทรัพย์สินภายหลังสิ้นสุดสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานการบริหารจัดการทรัพย์สินภายใต้สัญญามอบสิทธิบริหารจัดการทรัพย์สินของโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ เพื่อติดตาม ประสานงาน และกำกับดูแล
การดำเนินการตามสัญญามอบสิทธิฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และขอให้ ดศ. สนับสนุนและกำกับการดำเนินงานของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการทรัพย์สินของโครงการฯ จนสิ้นสุดอายุทางวิศวกรรมของดาวเทียม
                              1.3 ความคืบหน้าการจัดทำ (ร่าง) แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2580 ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงรายละเอียดของแต่ละยุทธศาสตร์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด แผ่นงานโครงการภายใต้ (ร่าง) แผนแม่บทฯ จากความเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้สอดคล้องกับข้อคิดเห็นจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ และสถานการณ์ปัจจุบันในเรื่องเศรษฐกิจอวกาศ (New Space Economy) ทั้งนี้ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) จะนำ(ร่าง) แผนแม่บทฯ เสนอ                         คณะกรรมการฯ พิจารณา ก่อนเสนอคณะรัฐนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
                              1.4 ความคืบหน้าการจัดทำ (ร่าง) พระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ..... ปัจจุบันอยู่ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตั้งคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อพิจารณาตรวจหลักการ (ร่าง) พระราชบัญญัติฯ และรับฟังความเห็น ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบ ก่อนเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาต่อไป
                              1.5 โครงการศึกษาทิศทาง รูปแบบการให้บริการดาวเทียมในอนาคตและแนวทางในการกำกับดูแลการให้บริการดาวเทียมในประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการรวบรวมผลการศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางในการอนุญาตและกำกับดูแลการให้บริการดาวเทียมในประเทศไทย และจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ โดยจะมีการจัดประชุมเชิงวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ทิศทางอุตสาหกรรม รูปแบบการให้บริการ แนวนโยบายและการกำกับดูแลการให้บริการดาวเทียม ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ ในเดือนพฤษภาคม 2565
                    2. เรื่องเพื่อพิจารณา (จำนวน 2 เรื่อง) คณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้                                2.1 ข้อเสนอขอแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำนโยบายการดำเนินงานดาวเทียมแห่งชาติ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นประธานคณะทำงาน และมีอำนาจหน้าที่ เช่น (1) จัดทำข้อมูลการใช้ข้อมูลดาวเทียมประเภทต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐ (2) จัดทำนโยบายและแผนการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมแต่ละประเภท เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานภาครัฐ และส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของประเทศ และ (3) จัดทำข้อเสนอโครงการดาวเทียมแห่งชาติ เสนอต่อคณะกรรมการฯ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป และขอให้คณะทำงานฯ เร่งรัดจัดทำข้อเสนอดาวเทียมแห่งชาติก่อนเป็นลำดับแรก เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการฯ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                              2.2 การทบทวนคำสั่งคณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน ภายใต้คณะกรรมการฯ เช่น            (1) คณะอนุกรรมการปรับปรุงแนวทางการพัฒนากิจการอวกาศของประเทศไทย โดย ดศ. เสนอปรับองค์ประกอบคณะอนุกรรมการฯ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) โดยระบุเฉพาะตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ และเปลี่ยนชื่อหน่วยงาน [กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เป็นกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)] และ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) และ (2) คณะอนุกรรมการเตรียมการจัดตั้งสำนักงานประสานงานภูมิภาคของสำนักงานกิจการอวกาศส่วนนอกแห่งสหประชาชาติในประเทศไทย โดย สทอภ. เสนอปรับองค์ประกอบคณะอนุกรรมการฯ เนื่องจากที่ปรึกษาภายใต้คณะกรรมการฯ ลาออก มีการเปลี่ยนชื่อหน่วยงาน (วท. เป็น อว.) และปรับฝ่ายเลขานุการให้เป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับภารกิจที่จะเกิดขึ้นและเสนอประธานกรรมการฯ ลงนามในคำสั่งต่อไป


6. เรื่อง สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการ ญัตติมาตรการและผลกระทบจากนโยบายการเปิดประเทศ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการญัตติมาตรการและผลกระทบจากนโยบายการเปิดประเทศ ของสภาผู้แทนราษฎร ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการญัตติมาตรการและผลกระทบจากนโยบายการเปิดประเทศ สภาผู้แทนราษฎร มาเพื่อดำเนินการ ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว  โดยสรุปผลได้ดังนี้ ประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการของรัฐบาลตามนโยบายการเปิดประเทศ โดยในขั้นตอนการเดินทางเข้าประเทศไทยนั้น กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการปรับปรุงระบบ Thailand Pass อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันระบบดังกล่าวสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ เช่น กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งทำให้ผู้เดินทางประหยัดเวลาในการตรวจเอกสารขณะอยู่สนามบิน และลดจำนวนเอกสารที่ต้องนำติดตัวได้ ในส่วนของผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศไทย (ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ) ต้องลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน Thailand Plus เนื่องจากแอปพลิเคชันนี้ใช้เทคโนโลยีระบุตำแหน่ง GPS และ Bluetooth ที่สามารถติดตามตำแหน่งผู้ใช้โทรศัพท์มือถือได้ ซึ่งช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อได้  ในส่วนการเดินทางเข้าประเทศผ่านด่านทางบกนั้น ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยไม่ได้ปิดด่านดังกล่าวแต่อย่างใด ชาวต่างชาติสามารถขอหนังสือรับรองการเดินทางเข้าราชอาณาจักร (Certificate of Entry : COE) ได้ โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการการกักตัวตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ รวมทั้งได้มีการอนุญาตให้ผู้ที่มีอายุ 12-17 ปีที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม สามารถเดินทางโดยลำพังเข้าประเทศไทยได้ด้วยแล้ว การกำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว (พื้นที่สีฟ้า) กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการการคัดเลือกพื้นที่ดังกล่าว  โดยพื้นที่ที่จะได้รับคัดเลือกนั้นต้องมีการดำเนินงานตามมาตรการที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วนและจะต้องมีการประเมินตนเองของแต่ละจังหวัดในด้านต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละพื้นที่มีความพร้อมที่แตกต่างกัน ในส่วนของมาตรการของรัฐที่เกี่ยวกับสถานประกอบการต่าง ๆ ปัจจุบันพบว่ามีผู้ประกอบการให้ความสนใจในการขอรับมาตรฐาน SHA จำนวนมาก ซึ่งผู้ประกอบการสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับมาตรฐาน SHA, SHA Plus และ SHA Extra Plus ผ่านเว็บไซต์ www.thailandsha.com ซึ่งมีความสะดวกรวดเร็ว มีขั้นตอนการใช้งานง่ายและมีระบบจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก เพื่อรองรับผู้ประกอบการที่สนใจจะลงทะเบียนขอรับมาตรฐานเหล่านี้ต่อไปในอนาคต ประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลกระทบจากนโยบายการเปิดประเทศ ด้านการสาธารณสุข ปัจจุบันสามารถฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ทั้งหมดแล้ว อีกทั้งได้มีการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติม นอกเหนือจากแผนเดิมที่กำหนดไว้ เช่น เข็มกระตุ้นเข็มที่ 3 ให้กับประชาชนเข็มกระตุ้นเข็มที่ 4 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ร่วมวางแผน รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์การท่องเที่ยวกับการเกิดโรคโควิด ? 19 อย่างต่อเนื่อง และร่วมกำหนดข้อเสนอสำหรับมาตรการในการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ด้านแรงงาน รัฐบาลมีมาตรการที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าประเทศ โดยเปิดการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว และมีมาตรการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตามระบบ MOU ด้านการศึกษา ปัจจุบันได้ดำเนินการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) ให้ผู้ที่มีอายุ 12 - 18 ปี และบุคลากรทางการศึกษาแล้ว อีกทั้ง กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การสนับสนุน การคัดกรองหาเชื้อโดยใช้ ATK ให้แก่นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา และมีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น รูปแบบ On-line On-Site  ด้านเศรษฐกิจ ปัจจุบันการสื่อสารและให้ข้อมูลทางเศรษฐกิจต่อสาธารณะได้มีการพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบและโปร่งใสแล้ว และสถาบันการเงินได้ดำเนินมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องและบรรเทาภาระหนี้สินให้แก่ผู้ประกอบการ เช่น มาตรการเสริมสภาพคล่อง (สินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อ) ด้านการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบสภาพคล่อง เช่น การจัดทำโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ตลอดจนจัดทำมาตรฐาน SHA และในส่วนของข้อเสนอแนะอื่น ๆ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการเราเที่ยวด้วยกัน และมีข้อเสนอการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้มาตรการสาธารณสุข อีกทั้งนโยบาย              การเปิดประเทศในปัจจุบันจะเป็นการเร่งสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวช่วยผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

7. เรื่อง ขออนุมัติกรอบวงเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 เพิ่มเติม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบการเพิ่มกรอบวงเงินงบประมาณโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 (โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ) จากเดิม 54,972.72 ล้านบาท เป็น 55,567.36 ล้านบาท จำแนกเป็น
                              1.1 วงเงินที่จ่ายให้เกษตรกร จากเดิม จำนวน 53,871.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 583.10 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 54,454.94 ล้านบาท
                              1.2 ค่าชดเชยต้นทุนเงิน จากเดิม จำนวน 1,077.44 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.54 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,088.98 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในส่วนงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจะใช้จ่ายจากงบประมาณคงเหลือจากโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 (โครงการประกันรายได้ฯ)
                    2. รับทราบการขยายระยะเวลาตามที่คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) เห็นชอบแล้ว ดังนี้
                              2.1 ขยายระยะเวลาการจ่ายเงิน จากเดิม สิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2565 เป็น สิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2565
                              2.2 ขยายระยะเวลาโครงการ จากเดิม สิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 เป็น สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พณ. รายงานว่า
                    1. ในการประชุม นบข. ครั้งที่ 1/2565 (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565 ที่ประชุมมีมติเกี่ยวกับโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 รับทราบผลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว รอบที่ 1 ปีการผลิต 2564/65 โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ณ วันที่ 16 มีนาคม 2565
การขึ้นทะเบียน          จำนวนครัวเรือน          จำนวนไร่
เป้าหมาย          4.690 ล้านครัวเรือน          61,534,544 ไร่
ขึ้นทะเบียนแล้ว          4.679 ล้านครัวเรือน          62,063,159 ไร่
คาดว่าจะขึ้นทะเบียนเพิ่มเติม          6.780 ครัวเรือน          54,484 ไร่
รวม          4.685 ล้านครัวเรือน          62,117,643 ไร่
สรุป          ต่ำกว่าเป้าหมาย
5,000 ครัวเรือน          สูงกว่าเป้าหมาย 583,099 ไร่
โดยมีพื้นที่ขึ้นทะเบียนเพิ่มขึ้นเกินกว่าเป้าหมายของโครงการฯ จากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ จำนวน 583,099 ไร่ เนื่องจาก (1) พื้นที่นาร้างที่ไม่ได้ปลูกข้าวสามารถปลูกข้าวเพิ่มเติมได้ (2) การปลูกข้าวทดแทนอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง และ (3) มีการโค่นไม้ผล เช่น ลิ้นจี่ เพื่อปลูกข้าวไร่ทดแทนในพื้นที่ภาคเหนือ จึงส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกจากการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเพิ่มขึ้นจากพื้นที่เพาะปลูกที่ใช้คำนวณงบประมาณตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ
                              1.2 รับทราบผลการประชุมหารือเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 ซึ่งกรมการค้าภายในร่วมกับผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สงป. กรมส่งเสริมการเกษตร และ ธ.ก.ส. หารือแนวทางการขอรับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ และการขยายระยะเวลาโครงการ ซึ่งที่ประชุมมีมติรับทราบผลการดำเนินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ และประมาณการวงเงินที่ต้องจ่ายให้เกษตรกรที่จะต้องขอเพิ่มเติม โดยคำนวณจากพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นจากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ จำนวน 583,099 ไร่ จ่ายให้กับเกษตรกรไร่ละ 1,000 บาท คิดเป็นวงเงินจ่ายให้เกษตรกรรวมทั้งสิ้น 583.10 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่รวมการชดเชยต้นทุนเงิน และค่าใช้จ่ายของ ธ.ก.ส.จึงมอบหมายให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการ ดังนี้ (1) พิจารณาต้นทุนเงินและค่าบริหารจัดการของโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ พร้อมทั้งจัดทำรายละเอียดข้อมูลตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง พ.ศ. 2561 มาตรา 27 และ 28 และ (2) พิจารณาการขยายระยะเวลาการจ่ายเงิน และระยะเวลาโครงการให้เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อไม่เป็นการเพิ่มภาระงบประมาณตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และเป็นการบริหารจัดการงบประมาณที่ได้รับมาแล้วให้เกิดประสิทธิภาพ ที่ประชุมเห็นควรนำงบประมาณในส่วนที่คาดว่าจะเหลือของโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 มาจัดสรรให้โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ เพิ่มเติม
                              1.3 รับทราบรายงานผลการโอนเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ เพิ่มเติม ของ                 ธ.ก.ส. ณ วันที่ 11 เมษายน 2565 สรุปดังนี้
รายละเอียด          กรอบวงเงิน (ล้านบาท)
1. กรอบวงเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ ส่วนจ่ายขาดให้เกษตรกร          53,871.84
2. โอนเงินแล้ว 4.632 ล้านครัวเรือน          53,871.65
3. วงเงินคงเหลือ (1) ? (2)           0.19
และรับทราบข้อมูลการดำเนินการของ ธ.ก.ส. ตามมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 (ตามข้อ 1.2) ดังนี้
                                        1.3.1 งบประมาณที่ขอเพิ่มเติม รวม 594.64 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) วงเงินที่จ่ายให้เกษตรกร จำนวน 583.10 ล้านบาท และ (2) ค่าชดเชยต้นทุนเงิน จำนวน 11.54 ล้านบาท
                                        1.3.2 ขยายระยะเวลาการจ่ายเงิน เดิม ตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 - 30 เมษายน 2565 เป็น ตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 - 31 สิงหาคม 2565 และขยายระยะเวลาโครงการ เดิม ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 - 31 พฤษภาคม 2565 เป็น ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
                              1.4 เห็นชอบการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ จำนวน 594.64 ล้านบาท โดยจัดสรรงบประมาณคงเหลือของโครงการประกันรายได้ฯ ปี 2564/65 ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
โครงการประกันรายได้ฯ
กรอบวงเงิน 89,306.39          จัดสรรให้
โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ
รายการ          วงเงิน          คงเหลือ
วงเงินจ่ายขาดให้เกษตรกร          87,532.30          923.95*          583.10
ค่าชดเชยต้นทุนเงิน
ของ ธ.ก.ส.          1,750.65          18.48          11.54
[อัตราต้นทุนเงินของ ธ.ก.ส.
 ประจำไตรมาส + 1
(0.98 + 1 = ร้อยละ 1.98)]
ค่าบริหารจัดการ
ของ ธ.ก.ส.          23.44          ไม่ระบุ          -
(ไม่มีค่าบริหารจัดการฯ เพิ่มเติมเนื่องจาก
จำนวนเกษตรกรไม่เกินกว่าเป้าหมาย)
รวม          89,306.39          N/A          594.64
                              1.5 เห็นชอบการขยายระยะเวลาการจ่ายเงิน และระยะเวลาโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ จากเดิมระยะเวลาการจ่ายเงิน สิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2565 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2565 และระยะเวลาโครงการ จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565
                              1.6 มอบหมายกรมการค้าภายใน ในฐานะฝ่ายเลขานุการ นบข. นำเสนอคณะรัฐมนตรีตามระเบียบต่อไป
                              1.7 มอบหมายกรมส่งเสริมการเกษตร และ ธ.ก.ส. ตรวจสอบการขึ้นทะเบียนเกษตรกรและการจ่ายเงินให้เป็นไปตามระเบียบ หากพบการกระทำความผิดให้ดำเนินการตามกฎหมาย

8. เรื่อง (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว (พ.ศ. 2565 ? 2580)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว (แผนพัฒนาประชากรฯ) (พ.ศ. 2565 ? 2580) เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สศช. รายงานว่า
                    1. บริบทการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการพัฒนาด้านประชากร สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
1.1 สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทั่วโลกเป็นทั้งอุปสรรคและโอกาสสำหรับประเทศไทย          - องค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ. 2050 ประชากรโลกที่อายุมากกว่า 65 ปี จะมีมากกว่า 1,500 ล้านคน1 (คิดเป็นร้อยละ 15.46 ของประชากรโลก) ส่งผลให้ความต้องการสินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงไปสู่สินค้าที่ตอบสนองผู้สูงอายุมากขึ้น
- มีแนวโน้มที่แรงงานต่างด้าวในไทยจะกลับประเทศและเกิดการแย่งชิงแรงงานทักษะสูง (Talent war) เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ปัจจุบันมีการทำงานแบบออนไลน์มากขึ้นในทุกสายงาน ซึ่งเอื้อต่อการจ้างงานโดยไม่ต้องย้ายประเทศ
1.2 ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีส่งผลให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น แต่อาจก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มประชากรมากขึ้น
          - ผู้ที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์มักเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้สูง
- ผู้สูงอายุหรือเกือบจะสูงวัยมีข้อจำกัดในการปรับตัวด้านสมรรถนะทางเทคโนโลยี
- ระบบอัตโนมัติ/ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อาจถูกพัฒนาให้สามารถทดแทนแรงงานมนุษย์
- ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้การเสพสื่อมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสามารถสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่เปิดกว้าง แต่อาจเข้ามาควบคุมการใช้ชีวิตผ่านการเสพสื่อเพียงบางด้านจากการทำงานของอัลกอริทึมที่อยู่เบื้องหลัง รวมถึงอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตด้วย
1.3 แนวคิดการดำเนินชีวิตของประชากรรุ่นใหม่          ประชากรเจเนอเรชั่นวาย (เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2524 - 2539) และหลังจากนั้น
จะเป็นกำลังแรงงานหลักในอนาคต และอาจผลักดันคุณค่าใหม่ ๆ อาทิ ความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงาน ความเท่าเทียมทางเพศ ให้เกิดได้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
1.4 ครอบครัวที่ไม่มีบุตรและอยู่คนเดียวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น          ในอนาคตสัดส่วนครอบครัวคู่สามีภรรยาที่ไม่มีบุตร หรือครัวเรือนคนเดียวจะมีสัดส่วนถึง 1 ใน 5 ของครัวเรือนทั้งหมด ซึ่งรวมถึงครอบครัวที่มีรูปแบบหลากหลาย เช่น ครอบครัวเพศเดียวกัน2 ครอบครัวแม่/พ่อเลี้ยงเดี่ยว ครอบครัวข้ามรุ่น เป็นต้น
1.5 ผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019          เกิดการหดตัวของเศรษฐกิจอย่างรุนแรง จำนวนคนว่างงานเพิ่มขึ้น รวมทั้งสะท้อนจุดอ่อนสำคัญของสวัสดิการสังคมทั้งระบบสุขภาพ ระบบการศึกษา และระบบความคุ้มครองทางสังคมโดยส่งผลกระทบซ้ำเติมต่อกลุ่มที่มีความเปราะบางในสังคม รวมทั้ง ยังส่งผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยเฉพาะการปิดโรงเรียน ที่อาจจะสร้างผลกระทบทางการเรียนรู้ให้กับเด็กในระยะยาว และส่งผลต่อการหลุดจากระบบการศึกษา
1.6 ประเด็นอื่น ๆ          ? ประชากรมีแนวโน้มจะอาศัยอยู่ในเขตเมืองมากขึ้น จำเป็นต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการไม่ให้เกิดผลกระทบเชิงลบจากการเป็นเมือง อาทิ ความแออัด และความครอบคลุมของบริการ
? การเป็นประชาคมอาเซียนและการส่งเสริมการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรียิ่งขึ้น และเกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมในพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้น
? การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการอพยพย้ายถิ่นในพื้นที่ลุ่มน้ำ และอาจทวีความรุนแรงต่อการเกิดโรค
                    2. ภาพอนาคตประชากรไทยในระยะยาว สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 ประชากรรวมจะยังคงเพิ่มขึ้นอยู่และจะเพิ่มขึ้นไปจนถึงปี 2571 ที่มีจำนวนสูงสุดที่ 67.19 ล้านคน จากนั้นตั้งแต่ปี 2572 เป็นต้นไป จำนวนประชากรรวมจะลดลง และในปี 2580 วัยเด็กจะมีสัดส่วนลดลงเหลือร้อยละ 14.3 แต่ผู้สูงอายุกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.85
                              2.2 การขาดแคลนแรงงานในอนาคต เนื่องจากโครงสร้างประชากรวัยแรงงานจะลดลงกว่า 3 ล้านคนในทุก 10 ปี ในขณะที่ความต้องการแรงงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 37.55 ล้านคนในปี 2560 เป็น 44.71 ล้านคนในปี 2580 โดยทางออกหนึ่งคือ การใช้ระบบอัตโนมัติในการทดแทนแรงงาน
                              2.3 สัดส่วนผู้สูงอายุหญิงเพิ่มขึ้น เมื่ออายุยิ่งมากขึ้น เนื่องจากเพศหญิงมีอายุยืนกว่าเพศชาย อีกทั้ง ผู้สูงอายุจำนวนมากยังมีระดับการศึกษาต่ำ ซึ่งนำไปสู่ความเปราะบางที่จะถูกทดแทน และความท้าทายในการยกระดับทักษะ
                              2.4 อัตราสูงวัยในแต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนระดับพื้นที่มากยิ่งขึ้น
                              2.5 การเพิ่มขึ้นของประชากรเจเนอเรชั่น Alpha (เกิดในช่วง พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป) อย่างเป็นนัยสำคัญ ซึ่งประชากรกลุ่มนี้ใช้ชีวิตตามความต้องการของตัวเอง เนื่องจากมีพลังความรู้ความสามารถที่มาก ขณะเดียวกันก็มีความสนใจที่อยากเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างสรรค์ให้โลกนี้ดีขึ้น แต่การอยู่กับเทคโนโลยีมากเกินไปอาจทำให้คนกลุ่มนี้ขาดปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อมนุษย์คนอื่นเท่าที่ควร ทำให้มีความเข้าใจระหว่างกันน้อยลง ไม่เคารพซึ่งกันและกัน จึงจะเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ต้องหาแนวทางตั้งรับอย่างเหมาะสม
                    3. กระบวนทัศน์ที่ต้องเปลี่ยนแปลงจากประเด็นด้านประชากรที่เปลี่ยนไป
          - อุตสาหกรรมในอนาคตที่มีความก้าวหน้าและเพิ่มมูลค่าได้สูงมิได้อยู่บนฐานการใช้แรงงานทักษะจำนวนมาก
          - ความต้องการระบบการเรียนรู้แบบใหม่ที่เหมาะกับคนทุกเจเนอเรชั่นด้วยบริบทและทุนทางเทคโนโลยีที่ต่างกัน
          - รัฐต้องพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการและดึงดูดแรงงานทักษะสูงให้เข้ามาทำงานร่วมกับคนไทย
          - รัฐต้องพัฒนาสมรรถนะคนทุกระดับให้มีความเข้าใจ/ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสามารถติดตาม/จัดการกับภัยคุกคามในโลกดิจิทัลได้
                    4. กรอบแนวทางการพัฒนาประชากร
                        ให้ความสำคัญกับคุณภาพหลัก 3 ด้าน ได้แก่ (1) การเกิดอย่างมีคุณภาพ (2) การอยู่อย่างมีคุณภาพและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และ (3) การแก่และตายอย่างมีคุณภาพ โดยต้องมีวาระการพัฒนาบนฐานของกระบวนทัศน์ใหม่ และคำนึงถึงอิทธิพลของเทคโนโลยี โซเชียลมีเดีย และเจเนอเรชั่น ที่จะส่งผลให้การดำรงชีวิตของประชากรในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต โดยบางมาตรการต้องจัดทำเพื่อพลิกโฉมการพัฒนาในบางประเด็น จึงจำเป็นต้องเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคประชาชนหรือวิสาหกิจเพื่อสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อให้สามารถเร่งการพัฒนาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วได้ รวมถึงหากสภาวการณ์ด้านสุขภาวะและระบบเกื้อหนุนทางสังคมของผู้สูงอายุที่ค่อนข้างเปราะบางยังเป็นดังเช่นปัจจุบัน จะทำให้ภาระการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ รวมทั้งระหว่างรัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทางงบประมาณสูงสุด นอกจากนี้ อัตราการสูงวัยและบริบทการพัฒนามีความแตกต่างกันตามพื้นที่ จึงควรพัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นเพื่อให้จัดการในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิผล รวมทั้งการส่งเสริมระบบสวัสดิการร่วมจ่าย เพื่อลดภาระการคลังภาครัฐในอนาคต
                    5. สาระสำคัญของแผนพัฒนาประชากรฯ (พ.ศ. 2565 - 2580) มี ดังนี้
                    วิสัยทัศน์
                    ประเทศไทยมีประชากรที่เกิดและเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีศักยภาพในการร่วมยกระดับการพัฒนาประเทศ
                    เป้าประสงค์
                    ? ประชากรไทยได้รับการพัฒนาตามศักยภาพสูงสุดและมีคุณภาพสอดรับกับบริบทการพัฒนาประเทศบนพื้นฐานของการมีทักษะที่สอดรับกับโลกในศตวรรษที่ 21
                    ? ประชากรไทยมีความมั่นคงทางรายได้และทรัพย์สินเพียงพอตลอดช่วงชีวิต
                    ? มีระบบคุ้มครองทางสังคมที่สร้างความมั่นคงในชีวิตขณะที่มีความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว
                    ตัวชี้วัด
                    ? ดัชนีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HDI) มีค่าคะแนนมากกว่า 0.90
                    ? อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีไม่น้อยกว่า 75 ปี
                    ? ดัชนีคุณภาพภาวะประชากรสูงอายุไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
                    ? ผลิตภาพการผลิตรวมเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4 ต่อปี
ยุทธศาสตร์การพัฒนาและประเด็นแนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์
ประเด็นแนวทางการพัฒนา          ตัวอย่างแนวทางการพัฒนา          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพ และพัฒนาระบบที่เอื้อต่อการมีและเลี้ยงดูบุตร
1.1 ผลักดันประเด็นการพัฒนา
ครอบครัวเป็นวาระสำคัญของชาติ          พัฒนาแนวความคิดและทัศนคติด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับชาติผ่านกลไกสถาบันครอบครัว เช่น ค่านิยมการยอมรับความเห็นต่าง          สศช. คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัวแห่งชาติ
1.2 เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจสำหรับการมีบุตรและการดูแลครอบครัว          พัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลในการเลี้ยงดูบุตร และจัดให้มีระบบพี่เลี้ยงชุมชน และเพิ่มบทบาทวิชาชีพต่าง ๆ ให้เป็นกลไกในการพัฒนา          กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
1.3 สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐ
และเอกชนสร้างความสมดุลระหว่างการทำงานและการดูแลครอบครัวรวมถึงระบบสนับสนุนครอบครัวหลากหลายรูปแบบ          - สนับสนุนวันลาเพื่อการดูแลครอบครัว อาทิ วันลาเพื่อดูแลบุตรหลังคลอดสำหรับผู้ชาย
- แก้ไขกฎหมายสำหรับการมีครอบครัวหลากหลายรูปแบบอย่างเท่าเทียม          กระทรวงแรงงาน (รง.)
สภาองค์การลูกจ้างพัฒนา
แรงงานไทย
สถานประกอบการ

1.4 จัดหาสิทธิประโยชน์ในการจูงใจและลดภาระจากการมีบุตร
          - จัดทำกลุ่มสิทธิประโยชน์สำหรับครอบครัวที่คลอดบุตรทั้งด้านการเงินและบริการดูแลบุตร
- ตั้งกองทุนภาคสมัครใจสำหรับแบ่งเบาภาระในการดูแลสมาชิกในครอบครัว          พม. รง.

1.5 ส่งเสริมการมีบุตรในกลุ่มประชากรที่ต้องการมีบุตรหรือกลุ่มผู้มีบุตรยาก
          กำหนดให้การมีบุตรไม่ได้ด้วยตนเองหรือมีบุตรยากเป็นภาวะโรคหรือทุพพลภาพ เพื่อให้สามารถใช้สิทธิสวัสดิการพื้นฐานต่าง ๆ          กระทรวงการคลัง (กค.) พม.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ (สปสช.)

1.6 สร้างศูนย์ดูแลและพัฒนาเด็ก
เล็กที่มีคุณภาพ          สร้างและพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก และสถานรับเลี้ยงเด็ก (0 - 2 ปี) ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยมีครูพี่เลี้ยง
ที่มีใบอนุญาต มีองค์กรกำกับและบริหารจัดการ และระบบติดตามการดำเนินงาน          กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.)ภาคประชาสังคม
UNICEF
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนายกระดับผลิตภาพประชากร
2.1 ส่งเสริมระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ          - ยกระดับระบบการศึกษาให้มีสมรรถนะพื้นฐานสำหรับศตวรรษที่ 21 อาทิ การสร้างทัศนคติด้านการเติบโต (growth mindset)
- ขยายความครอบคลุมด้านอุปกรณ์และอินเทอร์เน็ต เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างเหมาะสมและเท่าเทียม          กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวง มหาดไทย (มท.) ศธ. อปท. สถาบันอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
2.2 พัฒนารูปแบบของระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ชัดเจน          พัฒนาระบบข้อมูลและการจัดกลุ่มทักษะ (Skill dusters)/ และจัดทำฐานข้อมูลตลาดแรงงาน และการวิเคราะห์อาชีพจำเป็นใหม่ ๆ          รง. ศธ. ศูนย์การศึกษานอก โรงเรียน สถาบันอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
2.3 เพิ่มกำลังและคุณภาพแรงงานให้กับประชากรกลุ่มเปราะบาง          - ส่งเสริมการจ้างงานตามสมรรถนะ เพื่อลดข้อจำกัดและอคติด้านอายุ
- พัฒนาและบูรณาการรูปแบบการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะในลักษณะที่ครอบคลุมหลายมิติ          พม. รง. ศธ. สธ. อปท. กสศ.
2.4 รักษาคนไทยที่มีศักยภาพสูง (Talent) ให้ทำงานให้กับประเทศ          - สนับสนุนแหล่งทุนสำหรับธุรกิจเพื่อสังคมและเปิดโอกาสให้ดำเนินโครงการของรัฐ
- พัฒนาโครงสร้างการบริหารจัดการแรงงานทักษะสูง          อว. ดศ. กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงาน ก.พ.
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การยกระดับความมั่นคงทางการเงิน
3.1 ส่งเสริมให้ประชากรมีความมั่นคงทางการเงิน          - ส่งเสริมการออมและนวัตกรรมทางการเงินสำหรับประชากรทุกกลุ่ม
- จัดทำระบบการออมภาคบังคับ โดยเพิ่มการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าบัญชีการออมของผู้บริโภค          กค. ศธ. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สถาบันการเงิน กลุ่มสัจจะออมทรัพย์
3.2 การแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน          - พัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมรายบุคคล
- วางกลไกการให้คำแนะนำและช่วยเหลือครัวเรือนที่มีปัญหาหนี้อย่างเป็นระบบ และมีประกันภัยพื้นฐานในการพยุงระดับรายได้ครัวเรือน          กค. มท. ธนาคารแห่งประเทศไทย
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อลดการตายก่อนวัยอันควร และมีระบบดูแลระยะยาวและช่วงท้ายของชีวิต
4.1 ยกระดับศักยภาพให้คนทุกกลุ่มทุกวัยมีความรอบรู้ด้านสุขภาวะสามารถป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามต่อสุขภาวะ          - ใช้เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมรวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ
- ปรับหลักสูตรการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาให้ครอบคลุมความรู้ด้านสุขภาพ รวมทั้งการพัฒนาพฤติกรรมการสร้างสุขภาวะที่ดี          ศธ. สธ. อปท.
4.2 พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ          - พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิตที่เชื่อมโยงการบริการสังคมและการแพทย์
- สนับสนุนการวางแผนดูแลสุขภาพในวัยสูงอายุ ระบบพิทักษ์ทรัพย์สินผู้สูงอายุ          สธ. อปท.
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพกับทุกกลุ่มวัย
5.1 พัฒนาสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรและเหมาะสมกับคนทุกกลุ่ม          ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในลักษณะความปกติต่อไป (Next Normal) ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในมิติใหม่          มท. อปท.
5.2 เพิ่มและกระจายพื้นที่สาธารณะให้มีความทั่วถึง          จูงใจให้องค์กรภาคส่วนต่าง ๆ ดำเนินการเพิ่ม และกระจายพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวเพื่อให้เอื้อต่อการมีปฏิสัมพันธ์          สธ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อปท.
5.3 พัฒนาชุมชนเป็นพื้นที่แห่งคุณภาพชีวิตที่ดี          นำร่องพื้นที่แห่งการเรียนรู้ระดับตำบล ในมิติด้านสภาพแวดล้อม ความเสมอภาค และการส่งเสริมการทำงานและการเป็นผู้ประกอบการที่ดี ตลอดจนนำกลไกใหม่ ๆ มาปรับใช้ เช่น Social credit system          รง. สธ. อปท.
ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การบริหารจัดการด้านการย้ายถิ่น
6.1 เสริมสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการทำงานในพื้นที่
          - กระจายอำนาจด้านการบริหารไปสู่ อปท. เพิ่มขึ้น เพื่อจัดทำบริการสาธารณะตามความต้องการของพื้นที่
- สนับสนุนการวิจัยให้เกิดการพัฒนาและต่อยอด รวมทั้งสร้างงานใหม่ ๆ ในพื้นที่          อว. มท. อปท.

6.2 ดึงดูดคนไทยทักษะสูงในต่างประเทศและคนต่างชาติทักษะสูงให้เข้ามาทำงานในประเทศ          - ปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น ให้นักศึกษาต่างชาติที่มีความสามารถสูงทำงานต่อได้หลังจบการศึกษา การกำหนดโควตาการนำเข้าแรงงานกลุ่มทักษะต่ำให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ
- จูงใจแรงงานไทยทักษะสูง โดยทำการตลาดเชิงรุกในการสรรหาคนเก่ง (Active recruitment strategies)          กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)สำนักงาน ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

6.3 เสริมสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการอยู่ร่วมกันภายใต้ความหลากหลาย          พัฒนากลไกการดูแลแรงงานต่างด้าวให้สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน และเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อผู้ย้ายถิ่น          มท. รง. สธ.

6.4 ปรับปรุงระบบบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวให้มีประสิทธิภาพ          พัฒนาระบบที่นำไปสู่การนำเข้าแบบถูกกฎหมายเพื่อให้สามารถบริหารจัดการได้ครอบคลุมทุกมิติ          รง. สธ. อก.

การจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินการ
ระยะ          การดำเนินการ
ระยะเร่งด่วน :
การจัดการกับปัญหาที่เป็นผลพวงจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19














ระยะยาว :
มาตรการที่ก่อให้เกิด
ผลกระทบสูงและเป็น
วงกว้าง (Big Impact)
          ช่วงที่ 1 (พ.ศ. 2565 - 2566)
? มุ่งให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ และป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษา เช่น การสนับสนุนอุปกรณ์และอินเทอร์เน็ต และพัฒนาระบบการเรียนเสริม
? สร้างงานใหม่ในพื้นที่ท้องถิ่น เพื่อรองรับกลุ่มคนที่ย้ายกลับภูมิลำเนา และนำแรงงานเข้าสู่กระบวนการยกระดับทักษะในลักษณะจ้างอบรมและจับคู่งานอย่างตรงจุดบนฐานข้อมูลแหล่งงานทดแทนจากทุกภาคส่วน
? สำรวจและให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง
ช่วงที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) : แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน
ช่วงที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570)
? สร้างทักษะที่นำไปสู่การมีครอบครัวคุณภาพ
? ปรับระบบการศึกษาและพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เป็นรูปธรรม
? พัฒนากรอบและแนวทางที่ชัดเจนสำหรับแรงงานทักษะไม่สูงมาก และมีโอกาสจะถูกทดแทนด้วยระบบอัตโนมัติ ควบคู่กับการพัฒนาชุมชนน่าอยู่ สุขภาวะดี มีงานทำ
? พัฒนาระบบการออมภาคบังคับแก่ประชาชนทุกกลุ่มตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นทำงาน
ช่วงที่ 3 - 4 (พ.ศ. 2571 - 2580)
ขยายผลให้ครอบคลุมทั่วประเทศพร้อมทั้งประเมินผลและถอดบทเรียนเป็นระยะ          มาตรการที่เป็นการเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้างสังคม
(Structural Reform)
- กำหนดรูปแบบการทำงานที่หลากหลาย
- ปรับทัศนคติของสังคม ครอบครัว เช่น บทบาทของบิดาในการเลี้ยงดูบุตร
- เพิ่มระบบการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดชีวิต
- มีกรอบแนวคิดในการนำชาวต่างชาติมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศ
- พัฒนาระบบดำเนินการร่วมระหว่างทุกภาคส่วน รวมทั้งมาตรการลักษณะ
Comprehensive package

กลไก          การขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ
กลไกบูรณาการในระดับนโยบาย และแผนการพัฒนาที่สำคัญ





กลไกการขับเคลื่อนในระดับปฏิบัติ




กลไกสนับสนุนการขับเคลื่อน





กลไกการติดตามประเมินผล
          ? กำหนดให้ประเด็นการพัฒนาด้านประชากรเป็นวาระที่สำคัญของประเทศ นโยบายรัฐบาล รวมถึงการให้ความเห็นเชิงนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
? ขับเคลื่อนประเด็นสำคัญผ่านกลไกภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ผ่านกลไกการจัดทำห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทยตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่ เกี่ยวข้อง
? ผลักดันให้เกิดการจัดทำแผนงาน/โครงการระดับกระทรวง และโครงการสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โดยเฉพาะประเด็นการพัฒนาใหม่ รวมทั้งขับเคลื่อนร่วมกับแผนระดับที่ 3 ที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนปฏิบัติการพัฒนาสถาบันครอบครัว แผนปฏิบัติการด้านระบบสุขภาพปฐมภูมิ แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ เป็นต้น
? ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่แผนพัฒนาประชากรฯ (พ.ศ. 2565 - 2580) ตามแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
? ศึกษาวิจัย สร้างองค์ความรู้ และกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนแผนดังกล่าวสู่การปฏิบัติ โดยร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติสถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย
แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ การติดตามผลการพัฒนาที่มีแผนระดับที่ 3 เฉพาะ และการติดตามแนวทางการพัฒนาเฉพาะที่ยังมิได้อยู่ในการดำเนินงานตามแผนระดับที่ 3 อื่น ๆ โดยจะดำเนินการประเมินความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ในแต่ละระยะตามกรอบการพัฒนา รวมทั้งปรับปรุงประเด็นและแนวทางการพัฒนาให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรและบริบทการพัฒนาประเทศ
                    6. สภาพัฒนาฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรฯ (พ.ศ. 2565 - 2580) และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น
                              6.1 การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมที่สำคัญตั้งแต่วัยเยาว์ อาทิ การเสริมสร้างค่านิยมการยอมรับความเห็นต่าง ค่านิยมประชาธิปไตย (democratic value) ที่ต้องปลูกฝังตั้งแต่ในสถาบันครอบครัวไปจนถึงระบบการศึกษา รวมถึงการพัฒนาแนวความคิดและทัศนคติ (ideology) ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับชาติถึงหน้าที่ของทุกคนที่ต้องช่วยกันดูแลเด็กทุกคนที่เกิดมาในประเทศ เพื่อนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาประชากรที่มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
                              6.2 การให้ความสำคัญกับประเด็นอื่นที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประชากร ได้แก่                    (1) ประเด็นยาเสพติด โดยควรสร้างความเชื่อมโยงประเด็นยาเสพติดและการดื่มแอลกอฮอล์เข้าสู่แนวทางการพัฒนาประชากรควบคู่กันไปด้วย (2) ประเด็นความปลอดภัยทางชีวิต โดยควรเพิ่มนโยบายอื่นที่ป้องกันการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร อาทิ การบังคับใส่หมวกกันน็อคเมื่อขับขี่ยานยนต์ รวมถึงพิจารณาปรับประเด็นการปรับแก้ไขกฎหมายเอื้อให้ครอบครัวหลากหลายรูปแบบมีความพร้อมและสามารถมีบุตรออก เนื่องจากยังขาดความชัดเจนว่าจะสามารถเพิ่มจำนวนประชากรได้อย่างไร
1ประเทศไทยมีผู้สูงอายุใน พ.ศ. 2560 จำนวน 11.31 ล้านคน (หญิง 6.23 ล้านคน และชาย 5.08 ล้านคน) (สำนักงานสถิติแห่งชาติ)
2กลุ่มเพศทางเลือก (LGBT) ที่มีอายุมากกว่า 15 ปี มีประมาณ 3.6 ล้านคน (ร้อยละ 5 ของประชากรไทย) ใน พ.ศ. 2562

9. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2564 ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กสทช. ได้รายงานผลการปฏิบัติงาน กสทช. ประจำปี 2564 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. ผลการดำเนินงานที่สำคัญของ กสทช. ปี 2564 ได้ดำเนินภารกิจหลักในการบริหารคลื่นความถี่ การกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เช่น (1) ตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564) เพื่อให้บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตใช้คลื่นความถี่ มีผลใช้บังคับรองรับกรณีที่สามารถนำไปประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคมได้โดยไม่จำกัดเฉพาะกิจการใดกิจการหนึ่ง (2) ปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 3500 เมกะเฮิรตซ์ (3) จัดตั้งศูนย์ตรวจสอบคลื่นความถี่แห่งชาติ (4) ออกประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2564 (5) อนุญาตให้ใช้สิทธิการให้เข้าใช้วงโคจรดาวเทียมสำหรับข่ายงานดาวเทียมประเภทวงโคจรประจำที่ที่ประเทศไทยมีสิทธิอยู่เดิม (6) อนุญาตให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด ได้รับสิทธิใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมต่างชาติในการให้บริการในประเทศสำหรับการประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยใช้ดาวเทียมต่างชาติบนอากาศยานเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสาร                      (7) ส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G อย่างต่อเนื่อง (8) จัดระเบียบสายสื่อสาร และการนำสายสื่อสารลงใต้ดินทั่วประเทศ (9) สนับสนุนนโยบายและมาตรการของรัฐบาลในการดำเนินการป้องกันควบคุมแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างต่อเนื่อง และ (10) ยกระดับสำนักงาน กสทช. สู่การเป็นต้นแบบของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นสำนักงานดิจิทัล ?NBTC Digitalization? อย่างเต็มรูปแบบ
                    2. แผนการดำเนินงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565
                       กสทช. และสำนักงาน กสทช. มีแผนการดำเนินงานที่สำคัญในปี 2565 เช่น (1) การกำกับดูแลกิจการดาวเทียมให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากนโยบายปี 2564 ที่ได้ริเริ่มให้มีการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม และ กสทช. ต้องกำกับดูแลกิจการดาวเทียมเต็มรูปแบบหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2564 (2) การจัดทำกฎระเบียบด้านการอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่เพื่อรองรับการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 30แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 (3) การทดสอบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ด้วยเทคโนโลยี 4K และ (4) การปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้เหมาะสมกับระบบนิเวศของอุตสาหกรรม โดยได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 6,765.78 ล้านบาท [งบประมาณรายจ่ายของสำนักงาน กสทช. 5,755.78 ล้านบาท และเงินจัดสรรเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) และกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 1,010 ล้านบาท]
                    3. งบการเงิน และรายงานการตรวจสอบภายใน
                              3.1 งบการเงิน (สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564)
หน่วย : ล้านบาท
รายการ          ปี 2564          ปี 2563          เพิ่มขึ้น/(ลดลง)
1. งบแสดงฐานะการเงิน
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน          60,053.15          73,331.04          (13,277.89)
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน          207,442.33          176,295.31          31,147.02
รวมสินทรัพย์          267,495.48          249,626.35          17,869.13
หนี้สิน
หนี้สินหมุนเวียน          48,057.08          55,372.04          (7,314.96)
หนี้สินไม่หมุนเวียน          195,750.79          170,044.58          25,706.21
รวมหนี้สิน          243,807.87          225,416.62          18,391.25
2. งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
รวมรายได้          78,662.00          104,821.59          (26,159.59)
รวมค่าใช้จ่าย          78,218.23          82,402.92          (4,184.69)
ต้นทุนทางการเงิน          14.01          12.08          1.93
รายได้สูง (ต่ำ)
กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ          429.76          22,406.59          (21,976.83)
หมายเหตุ : งบการเงินนี้ยังไม่ได้ผ่านการรับรองจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
                              3.2 รายงานการตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบภายในเห็นว่า การดำเนินงานของสำนักงาน กสทช. สำหรับปี 2564 โดยรวมมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์และการใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่า ตลอดจนมีการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในอย่างเพียงพอ โดยไม่พบข้อสังเกตที่มีนัยสำคัญ นอกจากนี้ กระบวนการจัดทำรายงานทางการเงินได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีอันเป็นที่รับรองทั่วไปมีความเหมาะสม รวมถึงมีการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินอย่างเพียงพอและมีความน่าเชื่อถือ
                    4. ปัญหาและอุปสรรคในการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เช่น (1) การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค ปัจจุบันผู้บริโภคได้หันไปบริโภคเนื้อหารายการผ่านช่องทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ผ่านโครงข่ายอื่นที่มิใช่โครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (Over the Top: OTT) ซึ่งสามารถรับฟังและรับชมรายการได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านหลากหลายอุปกรณ์ รวมทั้งผู้ให้บริการ OTT มีความได้เปรียบมากกว่าผู้ให้บริการในช่องทางเดิม โดยไม่ถูกกำกับดูแลที่เข้มงวดเช่นเดียวกับผู้ให้บริการโทรทัศน์ รวมถึงไม่ต้องเสียค่าใบอนุญาต และไม่ต้องเสียค่าโครงข่าย ทำให้สถานีโทรทัศน์จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง และ (2) ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์บางกลุ่มขาดความพร้อมและองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในขั้นพื้นฐานเพื่อใช้งานระบบการยื่นคำขอรับอนุญาตทางอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-BCS) ซึ่งสำนักงาน กสทช. มีแผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความรู้ให้อย่างต่อเนื่อง
                    5. ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช. ได้พัฒนา และปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการของศูนย์ Call Center 1200 เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสารและรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนอย่างต่อเนื่อง ในปี 2564 สำนักงาน กสทช. สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แล้วเสร็จ 108 เรื่อง จากทั้งหมด 173 เรื่อง (ร้อยละ 62.43) และเรื่องร้องเรียนในกิจการโทรคมนาคมแล้วเสร็จ 1,620 เรื่อง จากทั้งหมด 2,267 เรื่อง (ร้อยละ 71.46)
                    6. ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ กทปส.
                              6.1 ประสิทธิภาพ ในปี 2564 กสทช. ได้เห็นชอบการสนับสนุนเงิน กทปส. ให้แก่โครงการตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 จำนวน 33 โครงการ (เช่น โครงการขยายผลศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อสังคมด้อยโอกาสในกลุ่มบ้านสาขาบนพื้นที่สูง และโครงการเส้นทางสู่สื่อมืออาชีพโทรทัศน์และวิทยุรุ่นใหม่) วงเงินจัดสรรทั้งสิ้น 211.48 ล้านบาท (กรอบวงเงินงบประมาณการจัดสรร 400 ล้านบาท) สามารถพิจารณาปรับลดเป็นผลให้ประหยัดงบประมาณได้ 184.81 ล้านบาท (ร้อยละ 47) นอกจากนี้ จากการลงทุนในเงินฝากประจำธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจในประเทศ กทปส. ได้รับอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 0.49 และมีแผนการเบิกจ่าย 14,148.06 ล้านบาท แต่สามารถเบิกจ่ายได้ 4,331.67 ล้านบาท (ร้อยละ 30.62) ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากการดำเนินโครงการจัดให้มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่พื้นที่ชายขอบ (Zone C+) และโครงการจัดให้มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่พื้นที่ห่างไกล (Zone C) ล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด
                              6.2 ประสิทธิผลในปี 2564 กทปส. มีรายได้ทั้งสิ้น 8,826.26 ล้านบาท ลดลงจากปี 2563 จำนวน 32,263.33 ล้านบาท และมีรายจ่ายทั้งสิ้น 2,919.42 ล้านบาท ลดลงจากปี 2563 จำนวน 5,616.45 ล้านบาท ทั้งนี้ มีโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2564 โดยสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการและได้มีการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น (1) แบบจำลองการสร้างต้นแบบเมืองนวัตกรรมอัจฉริยะ ที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชน และสามารถนำไปใช้เพื่อการเกื้อหนุนวิถีการดำรงชีวิตของผู้พิการและผู้สูงอายุ ตลอดจนประชาชนทั่วไปในสังคมไทยในอนาคต และ (2) โครงการระบบแจ้งเตือนและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังริมฝั่งแม่น้ำโขงเพื่อช่วยลดอัตราการตายของปลาในกระชัง
                    7. รายงานสภาพตลาดและการแข่งขัน
                              7.1 กิจการโทรทัศน์ มูลค่าตลาดการให้บริการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่หรือบริการช่องรายการโทรทัศน์แบบดิจิทัลในปี 2564 มีมูลค่ารวมประมาณ 18,097.48 ล้านบาท ซึ่งหากพิจารณาแนวโน้มของมูลค่าตลาดรวมในแต่ละปี นับตั้งแต่ปี 2558 - 2563 พบว่า ในภาพรวมตลาดยังคงมีแนวโน้มของรายได้ที่เพิ่มขึ้นก่อนจะมีสัดส่วนที่ลดลงตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งสาเหตุหนึ่งอาจมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สำหรับมูลค่าตลาดกิจการโทรทัศน์สำหรับกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่หรือบริการช่องรายการโทรทัศน์ผ่านระบบเคเบิล ดาวเทียม และไอพีทีวี มีมูลค่ารวมประมาณ 1,811.66 ล้านบาท โดยมีแนวโน้มของรายได้ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2559
                              7.2 กิจการกระจายเสียง มูลค่าการโฆษณาผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม คลื่นหลักในกรุงเทพมหานคร ในปี 2564 มีมูลค่าประมาณ 3,261.13 ล้านบาท ลดลงจากปี 2563 ประมาณ 341.12 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 9.7
                              7.3 กิจการโทรคมนาคม มีผู้ลงทะเบียนใช้บริการโทรศัพท์ประจำที่ของไทย 4.63 ล้านเลขหมาย ลดลงร้อยละ 7.40 เมื่อเทียบกับปี 2563 และมีผู้ลงทะเบียนใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ประมาณ 117.76 ล้านเลขหมาย โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.26 เมื่อเทียบกับปี 2563 ส่วนบริการอินเทอร์เน็ต มีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประจำที่เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ประมาณ 13.16 ล้านราย โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.48 และมีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเคลื่อนที่เพิ่มขึ้นจากปี 2563จำนวน 65.98 ล้านเลขหมาย โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.62

10. เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอดังนี้
                    1. ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2565
                        เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.8 ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2565 ขยายตัวจากไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ร้อยละ 1.1 (QoQ_SA)
                              1.1 ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกบริการขยายตัวเร่งขึ้น การลงทุนภาคเอกชนกลับมาขยายตัว ขณะที่การส่งออกสินค้าชะลอตัว และการลงทุนภาครัฐปรับตัวลดลง การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 3.9 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลมาจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น รวมทั้งการปรับตัวดีขึ้นของฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจ และการดำเนินมาตรการของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง โดยการใช้จ่ายภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นในทุกหมวด การใช้จ่ายหมวดบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการกลับมาขยายตัวของการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร และกลุ่มนันทนาการและวัฒนธรรม การใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 4.1 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายกลุ่มไฟฟ้า และก๊าซฯ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และกลุ่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์และยาสูบ การใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัวร้อยละ 0.4 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการใช้จ่ายกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้า และการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนขยายตัวร้อยละ 3.8 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 5.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการกลับมาขยายตัวในเกณฑ์สูงของการใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะ อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสนี้ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 37.3 จากระดับ 38.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของภาระค่าครองชีพท่ามกลางความไม่แน่นอนของสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่วนการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 4.6 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 8.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยรายจ่ายการโอนเพื่อสวัสดิการทางสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดขยายตัวสูงร้อยละ 74.5 ตามการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาลโรคโควิด-19 ส่วนค่าตอบแทนแรงงาน (ค่าจ้าง เงินเดือน) และค่าซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 2.6 และร้อยละ 3.8 ตามลำดับ สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 20.6 (ต่ำกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 35.5 ในไตรมาสก่อนหน้าแต่สูงกว่าร้อยละ 19.6 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) การลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 0.8 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือร้อยละ 5.4 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการลงทุนในหมวดก่อสร้างลดลงร้อยละ 8.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 4.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของทั้งการลงทุนรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจร้อยละ 6.5 และร้อยละ 2.1 ตามลำดับ สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 15.1 (ต่ำกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 16.0 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่าร้อยละ 14.3 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน)
                              1.2 ด้านภาคต่างประเทศ
                                    การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 73,288 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 14.6 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 21.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณและราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 และร้อยละ 4.0 เทียบกับร้อยละ 16.9 และร้อยละ 3.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น เคมีภัณฑ์และปิโตรเคมี (ร้อยละ 18.7) เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ร้อยละ 5.7) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ร้อยละ 3.5) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 15.1) เครื่องปรับอากาศ (ร้อยละ 5.6) อาหารสัตว์ (ร้อยละ 26.3) ข้าว (ร้อยละ 19.3) ยางพารา (ร้อยละ 6.2) และน้ำตาล (ร้อยละ 180.9) เป็นต้น กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง เช่น รถยนต์นั่ง (ร้อยละ 49.1) รถกระบะ (ร้อยละ 28.9) ผลิตภัณฑ์ยาง (ลดลงร้อยละ 25.0) และทุเรียน (ลดลงร้อยละ 48.2) เป็นต้น การส่งออกสินค้าไปยังตลาดส่งออกหลักยังคงขยายตัวในอัตราชะลอลง ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลียลดลง เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 9.7 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 25.1
                                   การนำเข้าสินค้า มีมูลค่า 64,135 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 20.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยราคาและปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 และร้อยละ 4.6 ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 9.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (302.4 พันล้านบาท)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ มูลค่าการส่งออกของประเทศ และอัตราเงินเฟ้อของประเทศต่าง ๆ
(%YoY)          GDP          มูลค่าการส่งออกสินค้า          อัตราเงินเฟ้อ
          2563          2564          2565          2563          2564          2565          2564          2565          สูงสุดในรอบ (เดือน)
          ทั้งปี          Q4          ทั้งปี          Q1          ทั้งปี          Q4          ทั้งปี          Q1          ทั้งปี          Q1          ก.พ.          มี.ค.          เม.ย.
สหรัฐฯ          -3.4          5.5          5.7          3.6          -13.5          23.1          23.3          18.8          4.7          6.3          7.9          8.5          8.3          4831/
ยูโรโซน          -6.4          4.7          5.4          5.0          -7.1          7.5          17.9          10.42/          3.9          6.1          5.9          7.4          7.5          303
สหราชอาณาจักร          -9.3          6.6          7.4          8.7          -12.2          10.1          9.8          9.3          2.6          6.2          6.2          7.0          -          3601/
ออสเตรเลีย3/          -2.2          4.2          4.7          -          -7.4          27.0          37.3          22.3          2.6          5.1          -          -          -          -
ญี่ปุ่น          -4.5          0.4          1.6          -          -9.1          6.4          17.9          4.4          2.9          0.9          0.9          1.2          -          411/
จีน          2.2          4.0          8.1          4.8          4.0          22.7          29.7          15.6          -0.2          1.1          0.9          1.5          2.1          5
อินเดีย          -6.6          5.4          8.3          -          -14.8          41.0          43.1          23.8          0.9          6.3          6.1          7.0          -          171/
เกาหลีใต้          -0.9          4.2          4.0          3.1          -5.5          24.5          25.7          18.3          5.1          3.8          3.7          4.1          4.8          162
ไต้หวัน          3.4          4.9          6.4          3.1          4.9          26.0          29.3          23.5          2.5          2.8          2.3          3.3          3.4          116
ฮ่องกง          -6.5          4.7          6.3          -4.0          -0.5          23.2          26.0          2.8          2.0          1.5          1.6          1.7          -          31/
สิงคโปร์          -4.1          6.1          7.6          3.4          -4.1          25.9          22.1          17.1          1.6          4.6          4.3          5.4          -          1231/
อินโดนีเซีย          -2.1          5.0          3.7          5.0          -2.7          45.6          41.9          35.3          2.3          2.3          2.1          2.6          3.5          52
มาเลเซีย          -5.5          3.6          3.1          5.0          -2.3          26.5          27.4          18.6          1.6          2.2          2.2          2.2          -          -
ฟิลิปปินส์          -9.5          7.8          5.7          8.3          -8.1          5.2          14.5          9.8          2.5          3.4          3.0          4.0          4.9          40
เวียดนาม          2.9          5.2          2.6          5.0          6.9          19.0          18.9          13.3          3.9          1.9          1.4          2.4          2.6          8
ที่มา: CEIC รวบรวมโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลเดือนมีนาคม 2565 2/ ข้อมูลถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 3/ อัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียเป็นรายไตรมาส
                              1.3 ด้านการผลิต สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงกลับมาขยายตัว สาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สาขาการขายส่ง ขายปลีก และการซ่อมฯ และสาขาการไฟฟ้าและก๊าซฯ ชะลอตัว และสาขาการก่อสร้างลดลงต่อเนื่อง สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง กลับมาขยายตัวร้อยละ 4.1 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตหมวดพืชผลสำคัญ อาทิ ข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 อ้อยเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 กลุ่มไม้ผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 และยางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ส่วนผลผลิตพืชเกษตรสำคัญที่ลดลง อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงร้อยละ 5.5 และมันสำปะหลังลดลงร้อยละ 1.6 และหมวดประมงกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 9 ไตรมาส ร้อยละ 2.5 ในขณะที่หมวดปศุสัตว์ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ร้อยละ 2.3 ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 4.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะราคาสุกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 ราคาปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.1 ราคาไก่เนื้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 ราคาอ้อยเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 และราคายางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส ร้อยละ 9.3 สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ชะลอตัวจากการขยายตัวร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อนหน้า และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 ? 60 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ชะลอตัวจากการขยายตัวร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะเดียวกัน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ร้อยละ 0.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.6 ในไตรมาสก่อนหน้า อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 66.35 สูงกว่าร้อยละ 64.51 ในไตรมาสก่อนหน้า และใกล้เคียงกับร้อยละ 66.32 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ร้อยละ 14.1) การผลิตยานยนต์ (ร้อยละ 3.0) การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 7.3) การผลิตน้ำตาล (ร้อยละ 10.4) และการผลิตมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ (ร้อยละ 22.8) เป็นต้น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ลดลงร้อยละ 13.0) การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน (ลดลงร้อยละ 9.4) การผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ (ลดลงร้อยละ 4.7) การผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้งานทั่วไป (ลดลงร้อยละ 6.7) และการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป (ลดลงร้อยละ 4.9) เป็นต้น สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 34.1 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 4.9 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส ตามการกลับมาขยายตัวของการท่องเที่ยวภายในประเทศ และการขยายตัวในเกณฑ์สูงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยในไตรมาสนี้ มีรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ 0.144 ล้านล้านบาท ขยายตัวครั้งแรกในรอบ 11 ไตรมาส ร้อยละ 63.8 เป็นผลมาจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของภาครัฐ ความคืบหน้าในการกระจายวัคซีน และการดำเนินมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ส่วนนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีจำนวน 497,693 คน เทียบกับ 20,172 คนในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากการกลับมาดำเนินมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ฉีดวัคซีนครบแล้วแบบไม่กักตัวและไม่จำกัดพื้นที่ (Test & Go) ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการเดินทางออกนอกประเทศของหลายประเทศทั่วโลก สำหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 36.15 สูงกว่าร้อยละ 26.25 ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าร้อยละ 16.15 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 2.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการปรับตัวดีขึ้นของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และการขยายตัวต่อเนื่องของกิจกรรมการผลิตและการส่งออก สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 4.6 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของบริการขนส่งทางอากาศและการกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาสของบริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียง สำหรับบริการสนับสนุนการขนส่งและบริการไปรษณีย์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สาขาการไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบปรับอากาศ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 2.0 เทียบกับ
ร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยกิจกรรมการผลิตไฟฟ้าขยายตัวเร่งขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณ
การใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ในขณะที่กิจกรรมโรงแยกก๊าซปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3
                              1.4 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.53 ต่ำกว่าร้อยละ 1.64 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 1.96 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 4.7 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.4 สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (5.3 หมื่นล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 1.2 ของ GDP เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 อยู่ที่ 2.42 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 มีมูลค่าทั้งสิ้น 9,951,962.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60.6 ของ GDP
                    2. แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2565
                        เศรษฐกิจไทยปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ.จะขยายตัวร้อยละ 7.3 การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.9 และร้อยละ 3.5 ตามลำดับ ขณะที่การลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ    3.4 ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.2 - 5.2 และดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มขาดดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP
                    รายละเอียดของการประมาณการเศรษฐกิจในปี 2565 ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้
                              2.1 การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค (1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.3 ในปี 2564 ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของภาคครัวเรือนเข้าสู่ภาวะปกติหลังความรุนแรงในการแพร่ระบาดของโรคลดลง แต่เป็นการปรับลดจากร้อยละ 4.5 ในการประมาณการครั้งก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อของครัวเรือน และ (2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.2 ในปี 2564 และเท่ากับการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการคงสมมติฐานอัตราการเบิกจ่ายงบประจำภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ที่ร้อยละ 98 ของวงเงินงบประมาณ รวมทั้งการเบิกจ่ายภายใต้ของแผนงานและโครงการที่ได้รับการอนุมัติภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงิน 5 แสนล้านบาท
                              2.2 การลงทุนรวม คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เทียบกับร้อยละ 3.4 ในปี 2564 และเป็นการปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 4.0 ในประมาณการครั้งก่อน โดย (1) การลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.3 ในปี 2564 และปรับลดจากร้อยละ 3.8 ในการประมาณการครั้งก่อน และ                     (2) การลงทุนภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.4 เทียบกับร้อยละ 3.8 ในปี 2564 และปรับลดลงจากร้อยละ 4.6 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา สอดคล้องกับการปรับลดสมมติฐานการเบิกจ่ายงบลงทุนภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565
                              2.3 มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.3 เทียบกับร้อยละ 18.8 ในปี 2564 และปรับเพิ่มจากร้อยละ 4.9 ในการประมาณการครั้งก่อน โดยเป็นผลจากการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาส่งออกให้สอดคล้องกับสมมติฐานราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ในขณะที่ปริมาณการส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5 ปรับลดลงจากร้อยละ 3.9 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการปรับลดสมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ขณะที่การส่งออกบริการมีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าการประมาณการครั้งที่ผ่านมาตามการปรับเพิ่มสมมติฐานจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เมื่อรวมกับการส่งออกสินค้าทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2565 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 8.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 8.9 ในการประมาณการครั้งก่อน และร้อยละ 10.4 ในปี 2564
                    3. ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในปี 2565
การบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2565 ควรให้ความสำคัญกับ (1) การรักษาแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน โดย (i) การติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 (ii) การดูแลและแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน (iii) การดูแลกลไกตลาดเพื่อให้ราคาสินค้าเคลื่อนไหวสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต และ (iv) การดูแลกลุ่มที่มีความเปราะบางต่อการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า (2) การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง โดย (i) การส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ (ii) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและมีกำลังซื้อสูง (iii) การพิจารณามาตรการสินเชื่อและมาตรการอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถกลับมาประกอบธุรกิจ และ (iv) การยกระดับศักยภาพและฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและยั่งยืน (3) การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกสินค้า โดย (i) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าสำคัญไปยังตลาดหลักและการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่ได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน (ii) การพัฒนาสินค้าส่งออกให้มีคุณภาพและมาตรฐาน (iii) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และการเตรียมศึกษาเพื่อเจรจากับประเทศคู่ค้าสำคัญใหม่ ๆ และ (iv) การปกป้องความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต (4) การส่งเสริม
การลงทุนภาคเอกชน โดย (i) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนให้เกิดการลงทุนจริง (ii) การแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ (iii) การดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุก (iv) การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ (v) การลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่สำคัญ ๆ และ (vi) การพัฒนากำลังแรงงานทักษะสูงเพื่อรองรับกับอุตสาหกรรมที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้มข้น (5) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ (6) การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร โดย (i) การบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมเพื่อเตรียมการรองรับฤดูกาลเพาะปลูก และ (ii) การบรรเทาผลกระทบจากปัญหาต้นทุนวัตถุดิบทางการเกษตรเพิ่มขึ้น และ (7) การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก
ต่างประเทศ

11. การต่ออายุความตกลงว่าด้วยการก่อตั้งศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN ? Japan Centre: AJC)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการต่ออายุความตกลงว่าด้วยการก่อตั้งศูนย์อาเซียน - ญี่ปุ่น (The Agreement Establishing the ASEAN Promotion Centre on Trade, Investment and Tourism)                            (ความตกลงฯ) ออกไปอีก 5 ปี เป็น [25 พฤษภาคม 2565 (ค.ศ. 2022) - 24 พฤษภาคม 2570 (ค.ศ. 2027)] และมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศซึ่งเป็นผู้แทนประเทศไทยในสมาชิกคณะมนตรีของศูนย์อาเซียน - ญี่ปุ่น เป็นผู้แทนในการลงนามให้การรับรองการต่ออายุความตกลงฯ ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ศูนย์อาเซียน - ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Centre: AJC) เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2524 (ค.ศ. 1981) ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการก่อตั้งศูนย์อาเซียน ? ญี่ปุ่น (ความตกลงฯ) เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับญี่ปุ่น โดยมีคณะมนตรี (Council Directors) จำนวน 11 ราย จากประเทศสมาชิกอาเซียนและญี่ปุ่น ซึ่งในส่วนของประเทศไทย ผู้แทนโดยตำแหน่ง คือ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ  ซึ่งสาระสำคัญของความตกลงฯ มีประเด็นที่สำคัญ เช่น
ประเด็น          สาระสำคัญ
การก่อตั้ง
          1) จะมีการก่อตั้งศูนย์ส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และกาแลกเปลี่ยนระดับบุคคล ที่เรียกว่า ศูนย์อาเซียน - ญี่ปุ่น (ศูนย์)
2) สำนักงานใหญ่ของศูนย์จะตั้งอยู่ที่ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
วัตถุประสงค์          การเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการส่งเสริมการค้าจากประเทศสมาชิกอาเชียนไปญี่ปุ่น โดยเฉพาะสินค้ากึ่งสำเร็จรูป และสินค้าที่ผลิตขึ้น การส่งเสริมการไหลเวียนของการลงทุน รวมถึงการถ่ายทอดทักษะและเทคโนโลยีระหว่างญี่ปุ่น และประเทศสมาชิกอาเซียน การกระตุ้นการท่องเที่ยวทำให้ปริมาณนักท่องเที่ยวระหว่างญี่ปุ่นและประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่มขึ้นและการขยายการแลกเปลี่ยนบุคลากรผ่านความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างญี่ปุ่นและประเทศสมาชิกอาเซียน
กิจกรรม          เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ศูนย์จะดำเนินกิจกรรม ดังนี้
1) แนะนำ และประชาสัมพันธ์ในญี่ปุ่นและประเทศสมาชิกอาเซียน ถึงผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม โอกาสการลงทุน และทรัพยากรการท่องเที่ยวทั้งของญี่ปุ่น และประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจนโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างญี่ปุ่น และประเทศสมาชิกอาเซียน
2) บริหารจัดการอาคารแสดงนิทรรศการแบบถาวรของศูนย์อาเซียน - ญี่ปุ่น
3) ช่วยเหลือ และให้คำแนะนำในด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนบุคลากร ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลประโยชน์ทั้งของญี่ปุ่น และประเทศสมาชิกอาเซียน
4) เป็นช่องทางสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างญี่ปุ่นและประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งกฎระเบียบ และข้อบังคับเกี่ยวกับการเข้าถึงตลาด ตลอดจนการจัดเตรียม และวิเคราะห์ข้อมูลและแนวโน้มตลาด
5) วิจัย และศึกษาเกี่ยวกับการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนบุคลากรตามความจำเป็น
6) จัดหาข้อมูลด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนบุคลากรตามความเหมาะสม
7) อำนวยความสะดวกสำหรับความร่วมมือทางเทคนิค รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนบุคลากรตามความเหมาะสม
8) รักษาความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนบุคลากรกับรัฐบาลของประเทศสมาชิก และองค์กรระดับภูมิภาค และระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
9) ดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนตามที่เห็นสมควร เพื่อส่งเสริมความเข้าใจซึ่งกันและกันโดยเฉพาะในหมู่นักเรียน
10) ดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อบรรสุวัตถุประสงค์ของศูนย์

                    2.  พณ. ได้ขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการต่ออายุความตกลงว่าด้วยการก่อตั้งศูนย์อาเซียน - ญี่ปุ่น ที่จะหมดอายุลงในวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ออกไปอีก 5 ปี ดังนี้
จากเดิม          เสนอครั้งนี้
25 พฤษภาคม 2560 (ค.ศ. 2017) - 24 พฤษภาคม 2565 (ค.ศ. 2022)          25 พฤษภาคม 2565 (ค.ศ. 2022) - 24 พฤษภาคม 2570 (ค.ศ. 2027)

พร้อมทั้งมอบหมายให้ พณ. โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้แทนประเทศไทยในสมาชิกคณะมนตรีของศูนย์อาเซียน - ญี่ปุ่น เป็นผู้แทนในการลงนามให้การรับรองการต่ออายุความตกลงฯ ซึ่งในการประชุมคณะมนตรีประจำปีของศูนย์อาเซียน - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 41 (The 41st  Annual Meeting of the Council) เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล คณะมนตรีมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าควรมีการต่ออายุความตกลงฯ ออกไปอีก 5 ปี พร้อมเห็นชอบการเพิ่มข้อความการต่ออายุดังกล่าวในภาคผนวกของความตกลงด้วยแล้ว ดังนี้ ?Decision of the Council on the Extension of the Agreement Establishing the ASEAN Promotion Centre on Trade, Investment and Tourism In accordance with the Article XXIV of the Agreement, the Council decided that the Agreement be extended for another five years beginning May 25, 2022, at its Forty - First Annual Meeting of the Council on March 17, 2022, Tokyo, Japan.?  ทั้งนี้ พณ. แจ้งว่า กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจารณาแล้ว                ไม่ขัดข้อง

12. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของเวทีทบทวนการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศและคำมั่นโดยสมัครใจของไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาความคืบหน้า (Progress Declaration) ของการดำเนินการตาม GCM และเห็นชอบให้คณะผู้แทนไทยร่วมรับรองร่างปฏิญญาความคืบหน้าฯ ในเวทีทบทวนการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นและมีการเสนอปรับแก้ร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) หรือส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งเห็นชอบต่อร่างคำมั่นโดยสมัครใจของไทยเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบ และปกติ เพื่อให้คณะผู้แทนไทยประกาศในเวทีทบทวนการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ร่างปฏิญญาความคืบหน้าฯ เป็นเอกสารผลลัพธ์ของเวทีทบทวนฯ โดยเป็นเอกสารที่ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และไม่ได้มุ่งให้มีการเจรจาเพื่อเปิดประเด็นสาระใหม่ที่มากเกินไปกว่าที่ GCM ได้เคยตกลงไว้
                    2. สาระสำคัญของร่างปฏิญญาความคืบหน้าฯ เป็นการยืนยันความสำคัญของหลักการและวัตถุประสงค์ของข้อตกลงฯ และสะท้อนความคืบหน้า ความท้าทาย ช่องว่างและข้อเสนอแนะในการดำเนินการตามข้อตกลงฯ เช่น (1) การต่อยอดจากการดำเนินการและแนวปฏิบัติที่ดีในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รวมถึงการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานต่าง ๆ และวัคซีน (2) การเคารพสิทธิมนุษยชน สิทธิขั้นพื้นฐาน และการคุ้มครองสตรีและเด็กหญิงผู้โยกย้ายถิ่นฐาน (3) การเพิ่มความพยายามในการส่งเสริมการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบ และปกติ เพื่อตอบสนองสถานการณ์ด้านแรงงาน และการสร้างช่องทางการโยกย้ายถิ่นฐานสำหรับผู้โยกย้ายถิ่นฐานที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสถานการณ์เปราะบางอื่น ๆ (4) การดำเนินการด้านต่าง ๆ เช่น การให้ข้อมูลด้านสิทธิและพันธกรณีแก่ผู้โยกย้ายถิ่นฐาน การยอมรับการพิสูจน์อัตลักษณ์ทางกฎหมาย การยอมรับทักษะและวุฒิการศึกษา                  การลดค่าใช้จ่ายในการส่งเงินกลับประเทศต้นทาง (5) การทบทวนการดำเนินการตาม GCM (6) การบูรณาการการโยกย้ายถิ่นฐานในแผนพัฒนาระดับชาติและกรอบการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง (7) การส่งเสริมขีดความสามารถของประเทศ การแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีและการสนับสนุนทางการเงินให้แก่ Migration Multi-Partner Trust Fund                      (8) การสนับสนุนให้รัฐสมาชิกและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้คำมั่นผ่าน Pledging Initiative (9) การพัฒนากลไกการขึ้นฝั่ง (disembarkment mechanisms) สำหรับผู้ที่ได้รับการช่วยชีวิต และ (10) การขอให้ประธานสมัชชาสหประชาชาติจัดการประชุมเต็มคณะของสมัชชาฯ เพื่อพิจารณารายงานราย 2 ปีของเลขาธิการสหประชาชาติเกี่ยวกับการดำเนินการตาม GCM
                    3. ร่างคำมั่นโดยสมัครใจของไทยเกี่ยวกับการดำเนินการตาม GCM
                              1) ตามที่เครือข่ายสหประชาชาติว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานได้ขอให้ประเทศต่าง ๆ พิจารณาให้คำมั่นโดยสมัครใจเกี่ยวกับการดำเนินการตาม GCM กระทรวงการต่างประเทศได้จัดทำร่างคำมั่นโดยพัฒนามาจากประเด็นที่ไทยเคยให้คำมั่นไว้ในกรอบอื่น ๆ  หรือเป็นเรื่องที่ไทยมีนโยบายในหลักการอยู่แล้ว แต่ยังดำเนินการให้เกิดความก้าวหน้าเพิ่มเติมได้อีก
                              2) กระทรวงการต่างประเทศได้นำร่างคำมั่นเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานขับเคลื่อนการนำข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยผู้ลี้ภัยและข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบ และปกติ ไปปฏิบัติ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2565 ซึ่งที่ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนฯ ได้พิจารณาให้ความเห็นเพิ่มเติม และเห็นพ้องให้เสนอคำมั่นโดยสมัครใจต่อการดำเนินการตาม GCM ดังนี้ (1) ให้บุตรของผู้โยกย้ายถิ่นฐานทุกคนที่เกิดในประเทศไทยได้รับการจดสูติบัตร (2) พัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพให้ครอบคลุมผู้โยกย้ายถิ่นฐานกลุ่มต่าง ๆ มากขึ้น (3) นำมาตรการทางเลือกแทนการคุมขังเด็กผู้โยกย้ายถิ่นฐานมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ (4) ส่งเสริมทัศนคติที่ดีของสาธารณชนเกี่ยวกับประโยชน์ของผู้โยกย้ายถิ่นฐานและขจัดการเลือกปฏิบัติและการตีตราผู้โยกย้ายถิ่นฐาน
                    ทั้งนี้เวทีทบทวนฯ กำหนดจะจัดขึ้นครั้งแรกระหว่างวันที่ 17 - 20 พฤษภาคม 2565 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในรูปแบบปกติ (in person)

13.   เรื่อง ขอส่งคำขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการประชาสัมพันธ์การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย ปี พ.ศ. 2565 และผลงานสำคัญของรัฐบาล
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ที่กระทรวงการคลังอนุมัติให้ขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณถึงวันทำการสุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน 2565 จำนวน 399,572,400 ล้านบาท ให้กรมประชาสัมพันธ์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการประชาสัมพันธ์การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย ปี พ.ศ. 2565 และผลงานสำคัญของรัฐบาลตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
                    สาระสำคัญ
                    สำนักงานรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นโครงการประชาสัมพันธ์การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย ปี พ.ศ. 2565 และผลงานสำคัญของรัฐบาล วงเงินงบประมาณ 399,572,400 ล้านบาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายโครงการประชาสัมพันธ์การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย ปี พ.ศ. 2565 และผลงานสำคัญของรัฐบาล โดยให้เบิกจ่ายในงบรายจ่ายอื่น ลักษณะค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ

14. เรื่อง ร่างปฏิญญากรุงเทพฯ ในโอกาสครบรอบ 75 ปีของการก่อตั้งคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก : วาระร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนในเอเชียและแปซิฟิก
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญากรุงเทพฯ ในโอกาสครบรอบ 75 ปีของการก่อตั้งคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก : วาระร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนในเอเชียและแปซิฟิก ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และ/หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสม โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง รวมทั้งเห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมฯ หรือผู้แทน ร่วมรับรองร่างปฏิญญาฯ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ร่างปฏิญญาฯ มีเนื้อหาเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศสมาชิกเอสแคปในการจัดการกับความท้าทายด้านการพัฒนา เพื่อเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง การฟื้นฟูอย่างเท่าเทียม ยั่งยืน และมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน การส่งเสริมการลงทุนในระบบคุ้มครองทางสังคม และการประกันการเข้าถึงทรัพยากรและบริการที่สำคัญ เพื่อเสริมสร้างความต้านทางต่อผลกระทบจากความท้าทายและวิกฤตอื่น ๆ การฟื้นฟู อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศอย่างยั่งยืน การส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาคอย่างบูรณาการและไร้รอยต่อ ทั้งในเชิงโครงสร้างพื้นฐานการค้า การเงิน ห่วงโซ่อุปทาน เศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งนี้ ร่างปฏิญญาฯ ย้ำความสำคัญของการระดมทุนเพื่อการพัฒนาในการช่วยบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการระดมทรัพยากรทางการเงินจากทุกแหล่ง การส่งเสริมการให้และถ่ายทอดเทคโนโลยี การเสริมสร้างขีดความสามารถและภูมิต้านทาน นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน และความร่วมมือในรูปแบบเหนือ-ใต้ ใต้-ใต้ และไตรภาคี จะช่วยเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและระบบพหุภาคีนิยม
                    2. ร่างปฏิญญาฯ สะท้อนวิสัยทัศน์ร่วมกันของประเทศสมาชิกเกี่ยวกับการเป็นแกนกลางของระบบสหประชาชาติ และบทบาทที่สำคัญของเอสแคปในการเป็นกลไกหลักด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคภายใต้ระบบสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกย้ำการสนับสนุนต่อเอสแคปในการเร่งให้เกิดความร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาค อนุภูมิภาค และในการเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ พร้อมเสนอแนะบทบาทและการดำเนินงานของ                         เอสแคปในการระบุ สนับสนุน และวิเคราะห์แนวทางต่าง ๆ ที่มีนวัตกรรมและบูรณาการ มุ่งเน้นการปฏิบัติและครอบคลุมหลายภาคส่วน ทำหน้าที่ประสานการหารือเชิงนโยบายที่ครอบคลุม โดยร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับระบบงานด้านการพัฒนาของสหประชาชาติในส่วนอื่น ๆ

15. เรื่อง การเข้าร่วมถ้อยแถลงว่าด้วยกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกเพื่อความเจริญรุ่งเรือง (Statement on Indo-Pacific Economic Framework for Prosperity)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างถ้อยแถลงว่าด้วยกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก เพื่อความเจริญรุ่งเรือง เพื่อให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถแจ้งความประสงค์ในการเข้าร่วมของไทยต่อฝ่ายสหรัฐฯ เพื่อให้ระบุชื่อประเทศไทยในร่างถ้อยแถลงฯ ในชั้นนี้ เอกสารฉบับนี้ยังไม่มีผลผูกพันประเทศไทย แต่เป็นเพียงการแสดงเจตนารมณ์ที่จะร่วมเจรจา (Indo-Pacific Economic Framework  : IPEF) ต่อไป  ทั้งนี้ ในกรณีหากมีการแก้ไขร่างถ้อยแถลงฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. การประกาศถ้อยแถลงว่าด้วยกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกเพื่อความเจริญรุ่งเรือง มีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศเจตนารมณ์ของประเทศที่เข้าร่วม ในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและหารือเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือภายใต้ IPEF และรายละเอียดของสาขาความร่วมมือต่าง ๆ ในระยะต่อไป
                    2. ร่างถ้อยแถลงฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของประเทศที่เข้าร่วมในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และหารือเกี่ยวกับกรอบ IPEF เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคงและครอบคลุม และการพัฒนาที่ยั่งยืน ใน 4 เสาความร่วมมือ ประกอบด้วย (1) การค้า (2) ห่วงโซ่อุปทาน (3) พลังงานสะอาด การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และโครงสร้างพื้นฐาน และ (4) ภาษีและการต่อต้านการทุจริต ซึ่งในขณะนี้ ยังเป็นเพียงประเด็นสาขาความร่วมมือกว้าง ๆ โดยจะมีการเจรจาแนวทางการดำเนินความร่วมมือในรายละเอียดในระยะต่อไป และเมื่อได้ข้อสรุปแล้ว ประเทศต่าง ๆ สามารถเลือกได้ว่าจะเข้าร่วมเฉพาะเสาความร่วมมือใดหรือเลือกเข้าร่วมทั้งหมดได้ตามความพร้อมและความสมัครใจของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ หากมีพัฒนาการนำไปสู่การเจรจา IPEF ส่วนราชการเจ้าของเรื่องก็จะต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    3. ร่างถ้อยแถลงฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ กอปรกับไม่มีการลงนาม ดังนั้น ร่างถ้อยแถลงฯ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญฯ

16. เรื่อง ข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส (Implementing Agreement to the Paris Agreement between  the Kingdom of Thailand and the Swiss Confederation)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส (Implementing Agreement to the Paris Agreement between the Kingdom of Thailand and the Swiss Confederation) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขข้อตกลงฯ ที่มิใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก
                    2. เห็นชอบให้รัฐมนตรีว่การกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจลงนามในข้อตกลงฯ
                    3. มอบหมายกระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full powers) เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลงนามในข้อตกลงฯ
                    4. มอบหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานตามข้อตกลงนี้ และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับมาตรฐานของกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกและระบบทะเบียน
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. สาระสำคัญของข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส (Implementing Agreement to the Paris Agreement between the Kingdom of Thailand and the Swiss Confederation) มีวัตถุประสงค์ (Objective) เพื่อจัดทำกรอบความร่วมมือโดยความสมัครใจในการดำเนินงาน และ/หรือ การยอมรับการถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศเพื่อใช้สำหรับการบรรลุ NDC หรือเพื่อความมุ่งประสงค์การลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศอื่น โดยภาคีทั้งสองฝ่ายต้องส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนและประกันความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมและความโปร่งใส รวมถึงในการกำกับดูแล และใช้การจัดทำบัญชีที่เข้มข้น รวมถึงการหลีกเลี่ยงการนับซ้ำ
                    2. ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ
                              1) การลงนามในข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส เปิดโอกาสให้ประเทศไทยสามารถใช้แนวทางความร่วมมือที่มีการใช้ผลการลดก๊าซเรือนกระจกที่ถ่ายโอนระหว่างประเทศตามข้อ 6.2 ของความตกลงปารีส เพื่อสนับสนุนการบรรลุ NDC ของประเทศ และขับเคลื่อนการมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero GHG emission)
                              2) การลงนามในข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนในประเทศไทยสามารถยื่นเอกสารข้อเสนอกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อขอรับการอนุญาตให้สามารถใช้เป็นผลการลดก๊าซเรือนกระจกที่ถ่ายโอนระหว่างประเทศภายใต้ข้อ 6.2 ของความตกลงปารีส อันจะนำมาชึ่งการเข้าถึงเงินทุนระหว่างประเทศ เพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการขายผลการลดก๊าซเรือนกระจกที่ถ่ายโอนระหว่างประเทศที่ได้รับการอนุญาตดังกล่าว

แต่งตั้ง

17. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง นายคธาทิพย์               เอี่ยมกมลา ผู้ตรวจราชการกรม (ผู้อำนวยการระดับสูง) กรมโยธาธิการและผังเมือง ให้ดำรงตำแหน่ง สถาปนิกใหญ่ (สถาปนิกทรงคุณวุฒิ) กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

18. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายดนัย ธีวันดา สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์เชี่ยวชาญ) สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงบประมาณเสนอแต่งตั้ง นายอภิชาติ รัตนราศรี ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณเชี่ยวชาญ) สำนักงบประมาณ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป


20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
                     1. นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     2. พันตำรวจเอก อัครพล บุณโยปัษฎัมภ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

21. เรื่อง ขอความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอการแต่งตั้ง นายวิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมต่อไปอีกวาระหนึ่ง โดยให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่ในอัตราเดือนละ 390,000 บาท ตามมติคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 และครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งกระทรวงการคลังได้เห็นชอบแล้ว ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป แต่ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ

22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงอุตสาหกรรม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จำนวน 1 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ผู้ครองตำแหน่งอยู่เดิมได้รับอนุญาตให้ลาออก คือ นายทาวัน ทวีถาวรสวัสดิ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับต้น) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ