สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 สิงหาคม 2565

ข่าวการเมือง Wednesday August 24, 2022 09:26 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ (23 สิงหาคม 2565) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย

                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ....

                    3.           เรื่อง           ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย                                        สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2562

เศรษฐกิจ-สังคม

                    4.           เรื่อง           มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพที่มีความซ้ำซ้อนกับ                                        สวัสดิการอื่น
                    5.           เรื่อง           การพิจารณารับรองวัดคาทอลิก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทาง                                        พิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564
                    6.           เรื่อง            รายงานตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ                                         พ.ศ. 2544 ประจำปี 2564
                    7.           เรื่อง           ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการ                                        เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการ                                        ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์
                    8.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบการเพิ่ม ?กิจกรรมส่งเสริมการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้าม                                                  พรมแดน (Cross-Border e-Commerce) ภายใต้โครงการ SMEs Pro-active?
                    9.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง

ครั้งที่ 1/2565

                    10.           เรื่อง           รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนมิถุนายน และครึ่งแรกของปี 2565
          11.                     เรื่อง            สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนมิถุนายน 2565
                    12.           เรื่อง           รายงานการวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงวิธี                                                  ปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ
                    13.           เรื่อง           ขออนุมัติปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโคนม
                    14.           เรื่อง           การจัดทำโครงการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) ของสำนักงบประมาณภายใต้แผน                                        แม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)
                    15.           เรื่อง           รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง                                         กรณีการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์
                    16.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้

พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 23/2565

ต่างประเทศ

                    17.           เรื่อง           การชำระค่าบำรุงสมาชิกคณะกรรมการด้านนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Committee                                         on Digital Economy Policy: CDEP) ภายใต้องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ                                        และการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and                                                             Development: OECD)
                    18.            เรื่อง            การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา สำหรับโครงการปรับปรุง                                        ถนนหมายเลข 67 ช่วงเสียมราฐ-อันลองเวง-จวม/สะงำ ราชอาณาจักรกัมพูชา
                    19.            เรื่อง           ขออนุมัติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46                                         และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
                    20.            เรื่อง           การสมัครสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติของไทยวาระปี

ค.ศ. 2025 -2027

                    21.            เรื่อง            ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 7

แต่งตั้ง

                    22.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง กระทรวงมหาดไทย
                    23.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง

(สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี)

                    24.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (สำนักงาน ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    25.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    26.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    28.           เรื่อง           แต่งตั้งผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค
                    29.           เรื่อง           การต่อสัญญาจ้างผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย
                    30.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                    31.           เรื่อง           ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพลังงาน
                    32.           เรื่อง           การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยสภาการพิพิธภัณฑ์                                                  ระหว่างชาติ (Thai National Committee for International Council of                                                   Museum)



กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. .... (ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2565) ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ สลค. เสนอว่า
                    1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 121 บัญญัติให้ในปีหนึ่งมีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสองสมัย ๆ หนึ่งให้มีกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยให้ถือวันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองให้เป็นไปตามที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนด และเนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2562 กำหนดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก โดยให้ถือเป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปี           ครั้งที่หนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 และสภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบแล้ว (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 กรกฎาคม 2562) ดังนั้น ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรจึงมีวันเปิดและวันปิดสมัยประชุม ดังนี้

ปีที่          สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง          สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง
1          22 พฤษภาคม 2562 - 18 กันยายน 2562          1 พฤศจิกายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2          22 พฤษภาคม 2563 - 18 กันยายน 2563          1 พฤศจิกายน 2563 - 28 กุมภาพันธ์ 2564
3          22 พฤษภาคม 2564 - 18 กันยายน 2564           1 พฤศจิกายน 2564 - 28 กุมภาพันธ์ 2565
4          22 พฤษภาคม 2565 - 28 กันยายน 2565          1 พฤศจิกายน 2565 - 28 กุมภาพันธ์ 2566
                    2. โดยที่ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง             พ.ศ. 2565 ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 บัดนี้ จะสิ้นกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันตามสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่งในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2565 สมควรที่จะกำหนดให้ปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2565

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน  สำนักนายกรัฐมนตรี                  พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. .... ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาลงนาม และประกาศ         ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของ สกท. ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2563 ดังนี้
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม
การลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2563          ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม
การลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรีฯ          หมายเหตุ
(1) สำนักงานเลขาธิการ          (1) สำนักงานเลขาธิการ          คงเดิม
(2) กองความร่วมมือการลงทุนต่างประเทศ          (2) กองความร่วมมือการลงทุนต่างประเทศ          คงเดิม
(3) - (4) กองติดตามและประเมินผลการลงทุน 1 - 2          (3) - (4) กองติดตามและประเมินผลการลงทุน 1 - 2           คงเดิม
(5) กองประสานและพัฒนาปัจจัยการลงทุน           -          ยุบเลิก
-          (5) กองบริการชาวต่างชาติ          - จัดตั้งใหม่ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
(6) กองพัฒนาผู้ประกอบการไทย          (6) กองพัฒนาผู้ประกอบการไทย          - เพิ่มหน้าที่และอำนาจในการศึกษาศักยภาพการลงทุน รวมทั้งพัฒนาและชักจูงให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ในพื้นที่เป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาลและประสานงานกับศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 1 - 7
(7) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน          (7) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน          - เพิ่มหน้าที่และอำนาจในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมาย กฎ และระเบียบต่าง ๆ และเสนอแนะมาตรการปรับปรุงแก้ไขอุปสรรคและข้อจำกัด เพื่อให้ประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่แข่งขันได้ เสนอแนะมาตรการส่งเสริมการลงทุนและสนับสนุนให้มีการลงทุนเพื่อพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี
(8) - (11) กองส่งเสริมการลงทุน 1 - 4           (8) - (11) กองส่งเสริมการลงทุน 1 - 4          คงเดิม
(12) กองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ          (12) กองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ          คงเดิม
-          (13) กองเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน          - จัดตั้งใหม่ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ นโยบาย หลักเกณฑ์ส่งเสริมการลงทุนและวางแผนพัฒนาการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ
(13) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร          (14) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร          คงเดิม
(14) ศูนย์บริการลงทุน          (15) ศูนย์บริการลงทุน          - เพิ่มหน้าที่และอำนาจในการดำเนินการแก้ไขปัญหานักลงทุน โดยประสานงานกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์
(15) - (21) ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 1 - 7           (16) - (22) ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 1 - 7           คงเดิม
(22) สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุนในต่างประเทศ          (23) สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุนในต่างประเทศ          คงเดิม


3. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2562
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2562 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอว่า
                    1. ตามที่นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2562 เพื่อจัดตั้ง สบนร. ในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 56/2563 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 เรื่อง โครงสร้าง อัตรากำลัง และการแต่งตั้งบุคลากร ค่าตอบแทน ค่าตอบแทนพิเศษของบุคลากร ในสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี และค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการ นั้น โดยเหตุผลที่ สบนร. ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นภารกิจบรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งแล้ว และเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างต่อเนื่องตามหน้าที่และอำนาจของส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงเห็นสมควรกราบเรียนนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (8)               แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ให้มีระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2562 และจะได้ยกเลิกโครงสร้างอัตรากำลัง และการแต่งตั้งบุคลากร ค่าตอบแทน ค่าตอบแทนพิเศษของบุคลากรใน สบนร. และค่าเบี้ยประชุม คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 56/2563 ลงวันที่                          17 กุมภาพันธ์ 2563 และคำสั่งอื่นที่เกี่ยวข้องกับ สบนร. ไปพร้อมกัน ทั้งนี้ ให้การบริหารบุคคล การงบประมาณ การเงิน และการพัสดุ ที่เคยเป็นของ สบนร. เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้องต่อไป
จึงได้เสนอร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2562 มาเพื่อดำเนินการ
                    2. นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้นำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป และมีคำสั่ง                         ให้หน่วยงานต้นสังกัดดูแลเจ้าหน้าที่ที่กลับไปปฏิบัติหน้าที่ด้วย
                    สาระสำคัญของร่างระเบียบ
                    ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2562 เป็นการยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2562 และให้การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การเงิน และการพัสดุที่เคยเป็นของ สบนร. เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้องต่อไป


เศรษฐกิจ-สังคม

4. เรื่อง มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพที่มีความซ้ำซ้อนกับสวัสดิการอื่น
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติในหลักการการคืนเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุที่ได้นำเงินมาคืนทางราชการแล้ว จำนวน 28,345 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 245,243,189.70 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2565)
                    2. มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) เมืองพัทยา และกระทรวงการคลัง (กค.) หาแนวทางการจ่ายเงินคืนให้แก่ผู้สูงอายุรับเบี้ยยังชีพซ้ำซ้อนกับสวัสดิการอื่นและได้นำเงินมาคืนให้ทางราชการ              ทั้งในส่วนจำนวนเงินที่มีการนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้ว จำนวนเงินที่นำส่งเป็นเงินอุดหนุนหรือเงินสะสมของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กทม. และเมืองพัทยา โดยเป็นไปตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) รวมทั้งแจ้งให้มีการถอนฟ้องหรือระงับการบังคับคดีในกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้มีการดำเนินคดีเรียกคืนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เนื่องจากไม่มีมูลหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกคืนได้ ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา        1 เดือน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ

5. เรื่อง การพิจารณารับรองวัดคาทอลิก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้ง           วัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอพิจารณารับรองวัดคาทอลิกเป็น           วัดคาทอลิกตามกฎหมาย จำนวน 9 วัด ดังนี้ (1) วัดศีลมหาสนิท (ตลิ่งชัน) (2) วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ (ลาดพร้าว)                (3) วัดนักบุญโธมัสอัครสาวก (ซอยนาคสุวรรณ) (4) วัดพระเมตตา (เชียงแสน) (5) วัดพระแม่แห่งมวลชนนานาชาติ  (เชียงของ) (6) วัดแม่พระปฏิสนธินิรมล (เชียงคำ) (7) วัดนักบุญมอนิกา (น่าน) (8) วัดนักบุญยอแซฟกรรมกร (แพร่) และ (9) วัดพระแม่มหาการุณย์ (แคมป์สน) ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (23 สิงหาคม 2565) เป็นต้นไป และ           ให้ วธ. รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญ
                    วธ. รายงานว่า
                    1. หลังจาก พ.ศ. 2472 ไม่มีการประกาศจัดตั้งหรือรับรองวัดคาทอลิกเพิ่มเติม เนื่องจากมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหน่วยงานราชการขึ้นหลายครั้ง ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนว่าอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาจัดตั้งหรือรับรอง วัดคาทอลิกเป็นของหน่วยงานใด ประกอบกับพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณฐานะ ของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกใน         กรุงสยามตามกฎหมายไม่ได้กำหนดขั้นตอนหรือแนวทางในการขอจัดตั้งหรือขอให้รับรองวัดคาทอลิกไว้ ซึ่งต่อมา จำนวนคริสต์ศาสนิกชนได้เพิ่มขึ้นครอบคลุมทุกจังหวัดในประเทศไทย จึงมีความจำเป็นต้องจัดตั้งวัดคาทอลิกเพิ่มขึ้นเพื่อให้คริสต์ศาสนิกชนใช้ในการประกอบศาสนกิจ โดยนำไปสู่การจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564 (ประกาศใช้เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564) เพื่อกำหนดแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งและรับรองวัดคาทอลิกให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยกำหนดให้กรมการศาสนา วธ.           ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองคำขอจัดตั้งวัดคาทอลิกซึ่งทำหน้าที่รับ ตรวจสอบ และเสนอคำขอจัดตั้งและคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกต่อคณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็น ก่อนเสนอรัฐมนตรีว่า           การกระทรวงวัฒนธรรมและคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบ ตามลำดับ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีวัดคาทอลิกที่ได้รับการรับรองตามระเบียบดังกล่าว เนื่องจากเป็นระยะแรกของการดำเนินการ
                    2. ภายหลังจากที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564 ประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2564 วธ. (กรมการศาสนา) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองคำขอจัดตั้งวัดคาทอลิกได้ดำเนินการ ดังนี้ (1) แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ช่วยเลขานุการ (2) แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564 และลงพื้นที่วัดคาทอลิกเพื่อตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับการรับรองวัดคาทอลิก และ (3) จัดการประชุมคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองคำขอจัดตั้งวัดคาทอลิก (คณะกรรมการฯ) (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน) เพื่อกำหนดแบบเอกสารสำหรับปฏิบัติงานตามระเบียบ และพิจารณาคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกที่ได้รับจากมิซซังเพื่อเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมประกอบการพิจารณารับรองวัดคาทอลิก
                    3. คณะกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 ได้พิจารณาคำขอให้รับรองวัดคาทอลิก ตามข้อมูลที่ระบุไว้ในข้อที่ 15 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564 ประกอบด้วย (1) ได้รับความเห็นชอบให้ยื่นคำขอรับรองวัดคาทอลิกจาก               สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย (สภาประมุขฯ) (2) มีข้อมูลที่ตั้งวัด (3) มีข้อมูลที่ดินที่ตั้งวัดและการอนุญาตให้ใช้ที่ดิน (4) มีรายชื่อบาทหลวงซึ่งจะไปประกอบศาสนกิจประจำ ณ วัดคาทอลิก และ (5) มีข้อมูลอื่น              ที่จำเป็นเกี่ยวกับการรับรองวัดคาทอลิก เช่น คุณค่าและประโยชน์ของวัดคาทอลิก การอุปถัมภ์และทำนุบำรุงจาก              ภาคส่วนต่าง ๆ และมีมติให้เสนอคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกทั้ง 9 วัด ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาตามนัยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564 ข้อ 16
                    4. รายละเอียดของวัดคาทอลิก จำนวน 9 วัด สรุปได้ ดังนี้
ชื่อวัด          ได้รับ
การรับรองจาก
สภาประมุขฯ          ที่ตั้งวัด          ที่ดินที่ตั้งวัด          จำนวน
บาทหลวง
ประจำวัด          ข้อมูลอื่นที่จำเป็น
1. วัดศีลมหาสนิท (ตลิ่งชัน)          ?          เขตตลิ่งชัน
กรุงเทพมหานคร
(กทม.)          9 ไร่ 1 งาน
10.4 ตารางวา          2 ท่าน          1. มีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เอื้อต่อการประกอบศาสนพิธีและการพำนัก
2. มีสถานที่ สิ่งปลูกสร้างและอุปกรณ์ ซึ่งจำเป็นแก่การประกอบศาสนกิจและการพำนักครบถ้วน
3. วัดมีคุณค่าและประโยชน์ต่อประชาชนและชุมชนในด้านศาสนาและสังคม
4. วัดได้รับการอุปถัมภ์และทำนุบำรุงวัดจากภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง
5. วัดได้ดำเนินงานตามภารกิจของมิซซังในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอภิบาลคริสตชนและด้านเผยแผ่ธรรม
2. วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ (ลาดพร้าว)          ?          เขตวังทองหลาง
กทม.          2 ไร่ 2 งาน
90 ตารางวา          1 ท่าน
3. วัดนักบุญโธมัสอัครสาวก (ซอยนาคสุวรรณ)          ?          เขตยานนาวา
กทม.          1 งาน
0.8 ตารางวา          2 ท่าน
4. วัดพระเมตตา (เชียงแสน)          ?          อำเภอเชียงแสน
จังหวัดเชียงราย          1 ไร่ 2 งาน
63 ตารางวา          2 ท่าน
5. วัดพระแม่แห่งมวลชนนานาชาติ (เชียงของ)          ?          อำเภอเชียงของ
จังหวัดเชียงราย          15 ไร่ 3 งาน
25 ตารางวา          3  ท่าน
6. วัดพระแม่ปฏิสนธินิรมล (เชียงคำ)          ?          อำเภอเชียงคำ
จังหวัดพะเยา          7 ไร่ 2 งาน          1 ท่าน
7. วัดนักบุญมอนิกา (น่าน)          ?          อำเภอเมืองน่าน
จังหวัดน่าน          4 ไร่ 2 งาน
28.8 ตารางวา          1 ท่าน
8. วัดนักบุญยอแซฟ กรรมกร (แพร่)          ?          อำเภอเมืองแพร่
จังหวัดแพร่          19 ไร่ 1 งาน
46.9 ตารางวา          1 ท่าน
9. วัดพระแม่มหาการุณย์ (แคมป์สน)          ?          อำเภอเขาค้อ
จังหวัดเพชรบูรณ์          2 ไร่ 1 งาน
30 ตารางวา          2 ท่าน
                    5. ผลประโยชน์จากการรับรองวัดคาทอลิก สรุปได้ ดังนี้
                              5.1 ความมั่นคงด้านศาสนจักร วัดคาทอลิกเป็นองค์ประกอบหลักและเป็นศูนย์รวม           การประกอบศาสนกิจและพิธีกรรมของศาสนิกชนในวาระสำคัญต่าง ๆ ตามหลักศาสนบัญญัติ ซึ่งการรับรองวัดคาทอลิกจะทำให้วัดสามารถคงอยู่และสร้างความเชื่อมั่นแก่คริสต์ศาสนิกชนได้
                              5.2 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐเพื่อดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนสถาน เช่น โครงการเงินอุดหนุนกิจกรรมบูรณะศาสนสถาน
                              5.3 สิทธิประโยชน์ทางภาษีหรือการหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดยวัดคาทอลิกได้รับ                  การยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีจากเงินที่บริจาคให้แก่วัด

6. เรื่อง  รายงานตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544                ประจำปี 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเสนอ รายงานตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 ประจำปี 2564  [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544  มาตรา 36 ที่บัญญัติให้กองทุนฯ ทำรายงานประจำปีเสนอคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อพิจารณาภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี                (ครบกำหนดวันที่ 29 มีนาคม 2565) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ผลงานเด่นในปี 2564 ประกอบด้วย (1) การทำงานสร้างเสริมสุขภาวะในสถานการณ์ ?โควิด-19? เช่น สื่อสารสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และพัฒนาศักยภาพชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้ในภาวะวิกฤต (2) พัฒนาเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ สู่ ?ผู้นำการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะ? เช่น สร้างเครือข่ายนวัตกรรมคนรุ่นใหม่ และพัฒนาหลักสูตร/กระบวนการการเรียนรู้เพื่อสังคมสุขภาวะ (3) ?ปฏิบัติการเมืองเชียงใหม่? แก้ไขวิกฤต PM 2.5 มหันตภัยที่มองไม่เห็น เช่น ผลักดันการลดการเผาภาคเกษตร จัดทำแนวกันไฟชุมชน และสร้างความตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพจากฝุ่นละอองให้เด็กและเยาวชนในโรงเรียน 30 โรง ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน และ (4) ยกระดับชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง ?รู้รับปรับตัว? เช่น พัฒนาสุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่นจนเกิดเครือข่ายสุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่น 1,015 คน จาก 130 ตำบล และเกิดต้นแบบการพัฒนางาน           ของชุมชนท้องถิ่นที่สามารถจัดการปัญหาได้จริง
                    2. ผลการดำเนินงานสำคัญตามเป้าประสงค์ 6 ประการ ดังนี้
แผนงาน          ผลการดำเนินงาน เช่น
เป้าประสงค์ที่ 1 ลดปัจจัยเสี่ยงหลัก ประกอบด้วย 5 แผนงาน
1. แผนควบคุมยาสูบ          (1) พัฒนาคู่มือสำหรับผู้ปฏิบัติงานควบคุมยาสูบตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ให้มีทักษะการปฏิบัติงานควบคุมการบริโภคยาสูบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และ (2) พัฒนาข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของยาสูบ 177 เรื่อง โดยถูกพัฒนาเป็นนโยบายด้านการควบคุมยาสูบ 2 เรื่อง คือ การศึกษาประเมินความคุ้มค่าและภาระงบประมาณของการบริการให้คำปรึกษาเลิกยาสูบของศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติและการปรับโครงสร้างภาษียาสูบ
2. แผนควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติด           (1) สนับสนุนการพัฒนาร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระยะที่ 2 พ.ศ. 2565-2570 และ (2) ขยายพื้นที่ต้นแบบงานบุญประเพณีปลอดเหล้า ตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อ               โควิด ? 191
3. แผนการจัดการความปลอดภัยและปัจจัยเสี่ยงทางสังคม          (1) พัฒนาให้แผนปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2565 มีการถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน (2) พัฒนากลไกการป้องกันอุบัติเหตุในระดับอำเภอครอบคลุมพื้นที่ 101 อำเภอ 27 จังหวัด และ (3) สร้างการรับรู้ให้ตระหนักถึงภัยพิบัติซ้ำซ้อนและเตรียมความพร้อมชุมชนจัดการภัยพิบัติในพื้นที่นำร่อง 11 จังหวัด รวมถึงพัฒนาต้นแบบศูนย์ภัยพิบัติชุมชนจากความร่วมมือในระดับตำบล 33 แห่ง
4. แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2           (1) พัฒนาฐานข้อมูลด้านกิจกรรมทางกายที่นำไปพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนนโยบายระดับประเทศและระดับสากล และ (2) พัฒนาแอปพลิเคชัน ?เบาใจ? ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มส่วนบุคคลเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาวะ              ในชีวิตประจำวัน
5. แผนอาหารเพื่อสุขภาวะ          (1) ขับเคลื่อนการลดการบริโภคหวาน มัน เค็ม (2) สร้างกติกากลาง             ในภาคอุตสาหกรรมร่วมปรับสูตรลดปริมาณโซเดียมในอาหาร และ                (3) สนับสนุนการผลักดันให้ประกาศการปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาฉลากทางเลือกเพื่อสุขภาพในกลุ่มเครื่องดื่ม 5 ชนิด3 เพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภค ทั้งนี้ มีผลิตภัณฑ์ได้รับสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ รวม 2,305 ผลิตภัณฑ์
เป้าประสงค์ที่ 2 พัฒนากลไกที่จำเป็นเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพอื่น ๆ ประกอบด้วย 3 แผนงาน
1. แผนควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ          (1) พัฒนาองค์ความรู้เพื่อขับเคลื่อนกลไกงานคุ้มครองผู้บริโภคในช่วงการระบาดของโควิด-19 และช่วยสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่ประชาชน จำนวน 2 ประเด็น คือ ?เท่าทันโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในช่วงโควิด-19? และ ?ประกันภัยโควิด-19? และ (2) สนับสนุนการเฝ้าระวังและการจัดการปัญหาสินค้าที่ไม่ปลอดภัยผ่านเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ โดยสามารถจัดการเรื่องร้องเรียนได้สำเร็จ ร้อยละ 79.07 (เป็นเรื่องอาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ)
2. แผนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว          (1) สนับสนุนการผลักดันนโยบาย ?เด็กไทย เล่นเปลี่ยนโลก? 4 สามารถพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ 787 แห่งทั่วประเทศ (2) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ส่งเสริมให้   พ่อแม่ ผู้ดูแลเด็ก ครูและนักพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้เรื่องการเลี้ยงดูและการพัฒนาเด็กเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 75.40 และ                 (3) พัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นส่งผลให้กลุ่มเป้าหมาย (เด็กวัยเรียนและวัยรุ่น จำนวน 1,635 คน) มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 89.48 เช่น กิจกรรมทางกายด้านนันทนาการและการกีฬา จากเดิมที่ใช้เวลาอยู่กับคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือในการเล่นสื่อสังคมออนไลน์และเกมออนไลน์
3. แผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ           (1) สร้างกลไกสนับสนุนการมีงานทำของคนพิการอย่างมีส่วนร่วม โดยสนับสนุน
การดำเนินงานของสมาคมสร้างโอกาสและอาชีพคนพิการไทย ช่วยจับคู่              การจ้างงาน คนพิการและสถานประกอบการกว่า 3,000 คน (2) พัฒนาเครื่องมือสื่อสารการดูแลตัวเองช่วงโควิด-19 สำหรับแรงงานต่างชาติ                11 ภาษา รวม 189 ชิ้น และ (3) พัฒนาแพลตฟอร์ม ?ระบาย? ต้นแบบพื้นที่ออนไลน์ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการคุกคามทางเพศร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา
เป้าประสงค์ที่ 3 เพิ่มขีดความสามารถเชิงสถาบัน บทบาทชุมชน และองค์กร ประกอบด้วย 2 แผนงาน
1. แผนสุขภาวะชุมชน          (1) เสริมสร้างศักยภาพชุมชนท้องถิ่นให้สามารถปรับตัวและตั้งรับ                      ต่อผลกระทบจากสถานการณ์ทั่วไปและสถานการณ์วิกฤต 98 แห่ง และมีตำบล       นำร่องใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจัดการสุขภาวะชุมชน 20 แห่ง ใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ ระบบอาสาทำดีให้ทุกคนในชุมชนเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในการแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี ระบบบริการสาธารณะท้องถิ่นที่เชื่อมโยงบริการสาธารณะต่าง ๆ ในท้องถิ่นเพื่อให้ชุมชนเข้าถึงและใช้บริการได้อย่างเต็มที่ และระบบสนับสนุนแผนชุมชนและการมีส่วนร่วมให้ชุมชนสามารถติดตามโครงการต่าง ๆ รวมถึงการจัดทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม และ               (2) พัฒนา ?ตำบลน่าอยู่? ที่สามารถตอบสนองต่อแนวนโยบายในสถานการณ์ทั่วไปและสถานการณ์วิกฤต เกิดเป็นรูปแบบการจัดการกับโรคระบาดจนเป็น   วิถีของชุมชนท้องถิ่น 681 แห่ง
2. แผนการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร          (1) สนับสนุนการยกระดับองค์กรสุขภาวะสู่ ?องค์กรธุรกิจคุณธรรม?                  ได้ 144 องค์กร และ ?องค์กรคุณธรรมต้นแบบ? 50 องค์กร และ (2) พัฒนาให้เกิดนักส่งเสริมคุณธรรมภาคธุรกิจ 432 คน จาก 286 องค์กร ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานดีขึ้น
เป้าประสงค์ที่ 4 สร้างค่านิยมและโอกาสการเรียนรู้ ประกอบด้วย 2 แผนงาน
1. แผนระดับสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา          (1) พัฒนาศักยภาพนักสื่อสารสุขภาวะและผู้นำการเปลี่ยนแปลง ให้สามารถนำทักษะไปใช้ดำเนินกิจกรรมสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ได้ และ (2) พัฒนากระบวนการสื่อสารเพื่อสุขภาวะในช่วงโควิด-19 เช่น จัดทำการ์ดเพื่อนใจ เพื่อพัฒนาและสร้างแรงบันดาลใจให้ตนเอง ซึ่งมีหลายองค์การนำไปใช้และเผยแพร่ เช่น สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยและจัดทำชุดนิทานสร้างเสริมสุขภาพประเด็นป้องกันโควิด-19
2. แผนสร้างเสริมความเข้าใจ        สุขภาวะ          (1) พัฒนาระบบสารสนเทศสุขภาพ ?สื่อเฉพาะคุณ? เพื่อช่วยการเข้าถึงข้อมูล
ที่สอดคล้องกับชีวิตและพฤติกรรม และ (2) พัฒนาแพลตฟอร์มสนับสนุนสุขภาพจิตเยาวชน ?CLUB WELLNESS กลุ่มแบ่งปันพลังใจ? ซึ่งเป็นชุมซนออนไลน์ผ่าน Facebook  เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยน แบ่งปันเรื่องราว และ             ส่งมอบพลังบวกให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
เป้าประสงค์ที่ 5 ขยายโอกาสและพัฒนาศักยภาพการสร้างนวัตกรรมสุขภาวะ ประกอบด้วย 1 แผนงาน
แผนสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรมสุขภาวะ          (1) พัฒนานวัตกรรมรุ่นใหม่ 253 คน สามารถผลิตต้นแบบนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาวะที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย 102 ชิ้นงาน เช่น โปรแกรมพัฒนาความเมตตากรุณาต่อตนเองในรูปแบบออนไลน์ที่จะช่วยให้วัยรุ่นรู้จักตัวเองมากขึ้น และสอนวิธีการฟื้นความเมตตากรุณาต่อตนเองที่มักจะถูกหลงลืมไปให้กลับคืนมา และเครื่องมือช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ในการเรียนออนไลน์ ชื่อ ?Alexcher? ให้การเรียนออนไลน์น่าสนใจและลดความตึงเครียด และ (2) กลุ่มเด็ก/เยาวชนกลุ่มเป้าหมายสามารถผลิตสื่อดิจิทัลสร้างเสริมสุขภาวะเผยแพร่ผ่านออนไลน์ 11 ชิ้นงาน ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีประชาชนเข้าถึงข้อมูลกว่า 275,000 คน
เป้าประสงค์ที่ 6 ส่งเสริมสมรรถนะของระบบบริการสุขภาพและระบบสนับสนุน ประกอบด้วย 2 แผนงาน
1. แผนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพผ่านระบบบริการสุขภาพ          (1) พัฒนาต้นแบบ ?ระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์? ขับเคลื่อน 6 ประเด็นสุขภาพ (ประเด็นยาเสพติด โควิด-19 การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน อาหารปลอดภัย ผู้สูงอายุและโรคเรื้อรัง และขยะและสิ่งแวดล้อม) ใน                     12 อำเภอ และ (2) สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเขตเมืองในกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งมีโครงการนำร่อง 1 เขต คือ เขตพระโขนง เรียกว่า ?พระโขนงโมเดล? โดยมีรูปแบบการจัดบริการทางสังคมและสุขภาพเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในกลุ่มผู้สูงอายุตามบริบทสังคมเมือง กทม.
2. แผนพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ          (1) พัฒนากลไกเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพอย่างเป็นระบบ และ (2) พัฒนาหลักสูตรเพื่อเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานของภาคีเครือข่าย เช่น หลักสูตร                การออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกแบบออนไลน์และการใช้กลไกเกม และหลักสูตรแนวทางการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน มีผู้ได้รับประโยชน์ 3,128 คน

                    3. การตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการทำงานในปี 2564
                              3.1 ผลการดำเนินงานในภาพรวมของกองทุนฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้คะแนน                  4.88 คะแนน (คะแนนเต็ม 5 คะแนน) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี  (พ.ศ. 2561-2563) ที่ได้ 4.72 คะแนน นอกจากนี้ กองทุนฯ ยังมีการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล ได้คะแนนเฉลี่ย 9.35 คะแนน (คะแนนเต็ม               10 คะแนน) ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2563 ที่ได้ 9.65 คะแนน ขณะที่การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ได้รับผลการประเมิน 93.68 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับ ?A? โดยได้คะแนนในภาพรวมสูงขึ้นกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และสูงกว่าผลประเมินภาพรวมระดับประเทศ (ผลคะแนนเฉลี่ย 81.25 คะแนน)
                              3.2 รายงานผลการตรวจสอบงบการเงินของกองทุนฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรายงานการเงินของกองทุนฯ และรับรองรายงานการเงินดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 เห็นว่า รายงานการเงินฯ ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
รายการ          ปี 2564          ปี 2563          เพิ่มขึ้น/(ลดลง)
1. งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2564
รวมสินทรัพย์          2,754.19          2,192.15          562.01
รวมหนี้สิน          269.98          198.57          71.41
รวมสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน          2,484.18          1,993.58          490.60
2. งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 30 กันยายน 2564
รวมรายได้          4,262.82          4,334.82          (72.00)
รวมค่าใช้จ่าย          3,788.50          3,874.75          (86.25)
รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ          474.32          460.07          14.25
1เพื่อสื่อสารสร้างความเข้าใจความสำคัญของการจัดงานปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่ เจ้าภาพจัดงาน หน่วยงาน ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนในพื้นที่ ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชนในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคมไทยในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2กิจกรรมทางกาย คือ การขยับเคลื่อนไหวร่างกายทั้งหมดในชีวิตประจำวัน ในอิริยาบถต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดการใช้และเผาผลาญพลังงานโดยกล้ามเนื้อ อันครอบคลุมการเคลื่อนไหวร่างกายทั้งหมดในชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน การเดินทาง กิจกรรมนัทนาการ  การทำงานบ้าน การปั่นจักรยาน และการเล่นกีฬา
3กลุ่มเครื่องดื่ม 5 ชนิด ได้แก่ (1) น้ำผักผลไม้ น้ำอัดลม และน้ำหวานกลิ่นรสต่าง ๆ (2) เครื่องดื่มช็อกโกแลต โกโก้ และมอลต์สกัด             (3) ชาปรุงสำเร็จ (4) กาแฟปรุงสำเร็จ และ (5) น้ำนมถั่วเหลืองและน้ำธัญพืช
4นโยบาย ?เด็กไทย เล่นเปลี่ยนโลก? จะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ไปที่กลุ่มเป้าหมายที่ตัวเด็กโดยตรง ในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยอาศัยความร่วมมือของคนในท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นการพัฒนาที่เป็นจุดเริ่มต้นของทุนมนุษย์

7. เรื่อง ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้
                    1. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ (มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าฯ) จำนวน 2,923.397 ล้านบาท
                    2. รับทราบแนวทางการดำเนินงานตามประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ประกาศ ณ วันที่ 21 มีนาคม 2565 [ในส่วนของมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (เงินอุดหนุน)]
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. รายงานว่า
                    1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า                 เพื่อสนับสนุนให้ราคาของรถยนต์และรถจักรยานยนต์แบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (BEV) ลดลงใกล้เคียงกับราคารถยนต์และรถจักรยานยนต์ประเภทเครื่องยนต์สันดาปภายใน1 ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความต้องการซื้อและสร้างแรงจูงใจให้มีการผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์แบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (BEV) เพิ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าฯ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ภาครัฐตั้งไว้ และเพื่อให้เงินอุดหนุนและส่วนลดทางภาษีต่าง ๆ ตกสู่ประชาชนอย่างแท้จริง กค. โดยกรมสรรพสามิตจึงได้ดำเนินการออกประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับสิทธิในส่วนของมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (เงินอุดหนุน) ตลอดจนบทลงโทษในกรณีที่ผู้ขอรับสิทธิไม่สามารถดำเนินการได้ตามเงื่อนไขของมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าฯ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              1.1 ขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ที่ผู้ขอเข้าร่วม (ผู้ขอรับสิทธิ) ตามมาตรการจะต้องดำเนินการเพื่อขอรับเงินอุดหนุนสรุปได้ ดังนี้
                                        1.1.1 ผู้ขอเข้าร่วมมาตรการต้องเป็นบุคคลตามประกาศกรมสรรพสามิตข้างต้น กำหนด เช่น ผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่มีโรงงานอุตสาหกรรม ผู้นำเข้าที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ เป็นต้น และต้องเข้ามาทำข้อตกลงร่วมกับกรมสรรพสามิต เพื่อรับทราบและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข             ที่กรมสรรพสามิตกำหนด และยอมรับบทลงโทษหากไม่สามารถดำเนินการได้
                                        1.1.2 ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องยื่นขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าฯ สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าของตนเองเป็นรายรุ่น เพื่อให้กรมสรรพสามิตพิจารณาโครงสร้างราคาขายปลีกแนะนำก่อนและหลังรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกแนะนำสำหรับยานยนต์รุ่นดังกล่าวสะท้อนถึงส่วนลดต่าง ๆ ที่ภาครัฐมอบให้ตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าฯ
                                        1.1.3 เมื่อผู้เข้าร่วมมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าฯจำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นที่ได้รับสิทธิให้แก่ผู้บริโภคเรียบร้อยแล้ว จะต้องดำเนินการรวบรวมเอกสารหลักฐานการจำหน่ายและการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าคันดังกล่าว เพื่อส่งให้กรมสรรพสามิตเป็นรายไตรมาส เพื่อให้กรมสรรพสามิตดำเนินการพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินอุดหนุนต่อไป
                                        1.1.4 กรมสรรพสามิตดำเนินการรวบรวมเอกสารหลักฐานพร้อมประเมินเงินอุดหนุนทั้งหมดในไตรมาสนั้น ๆ เพื่อดำเนินการอนุมัติเบิกจ่ายเงินงบประมาณหากได้รับการอนุมัติ ก็จะดำเนินการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้รับสิทธิต่อไป
                                        1.1.5 ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการไม่ดำเนินการผลิตรถยนต์นั่งรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน หรือรถจักรยานยนต์ แล้วแต่กรณี เพื่อชดเชยการนำเข้าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด กรมสรรพสามิตจะเรียกคืนเงินอุดหนุนดังกล่าวจากผู้ได้รับเงินอุดหนุนเป็นรายคันตามจำนวนที่ไม่สามารถดำเนินการผลิตชดเชยได้ พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี โดยไม่คิดทบต้น และจะบังคับตามหนังสือสัญญาค้ำประกันโดยธนาคารที่             วางไว้
                              1.2 การให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าฯ              สรุปได้ ดังนี้
ประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์          จำนวนเงินอุดหนุน (บาท/คัน)
1) กรณีรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภท BEV ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท
    1.1) สำหรับรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่มีขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 10 กิโลวัตต์ชั่วโมงแต่น้อยกว่า 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง
    1.2) สำหรับรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่มีขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป

70,000

150,000
2) กรณีรถยนต์กระบะประเภท BEV ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท เฉพาะรถยนต์กระบะที่ผลิตในประเทศและมีขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป (เฉพาะรถยนต์กระบะที่ผลิตในประเทศเท่านั้น)          150,000
3) กรณีรถจักรยานยนต์ประเภท BEV ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 150,000 บาท          18,000

                    2. กค. โดยกรมสรรพสามิตได้ประมาณการค่าใช้จ่ายโดยใช้เกณฑ์การให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าฯ (ตามข้อ 1.2) และได้มีหนังสือไปยัง สงป. เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 3,000    ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าฯ ซึ่ง สงป. ได้นำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ กค. โดยกรมสรรพสามิตใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว และให้ กค. โดยกรมสรรพสามิตจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ พร้อมทั้งรายละเอียดค่าใช้จ่ายเพื่อทำความตกลงกับ สงป. ตามขั้นตอนต่อไป และให้ กค. นำเรื่องดังกล่าวเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามนัยระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ข้อ 9 (3) ต่อไป
                    3. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผู้ได้รับสิทธิที่ต้องได้รับเงินอุดหนุนตามมาตรการสนับสนุนการใช้            ยานยนต์ไฟฟ้าฯ จำนวน 5 ราย2 แบ่งเป็นรถยนต์ จำนวน 18,100 คัน และรถจักรยานยนต์ จำนวน 8,800 คัน โดยมีแผนการใช้ง่ายงบประมาณ พ.ศ. 2565 สรุปได้ ดังนี้

แผนการใช้จ่ายงบประมาณ พ.ศ. 2565          จำนวนเงิน (ล้านบาท)
1. เงินอุดหนุนตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าฯ          2,873.400
   1.1 รถยนต์ (18,100 คัน x เงินอุดหนุนคันละ 150,000 บาท)          2,715.000
   1.2 รถจักรยานยนต์ (8,800 คัน x เงินอุดหนุนคันละ 18,000 บาท)          158.400
2. เงินสำหรับโครงการออกแบบและพัฒนาระบบการบริหารจัดการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าฯ           49.997
รวมทั้งสิ้น          2,923.397
1เครื่องยนต์สันดาปภายใน คือ เครื่องยนต์ที่มีการระเบิดหรือเผาไหม้ส่วนผสมของเชื้อเพลิง ซึ่งหมายถึงน้ำมันรถยนต์กับอากาศที่เกิดขึ้นภายในเครื่องยนต์ แล้วเกิดการออกซิไดซ์ (Oxidizing) กระทั่งมีการขยายตัว จนแตกตัวภายในห้องเผาไหม้ ทำให้แรงระเบิดจากการเผาไหม้จะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน ซึ่งเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในได้พลังงานจากการระเบิดดังกล่าวมาใช้ขับเคลื่อนตัวรถยนต์
2ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าฯ จำนวน 5 ราย แบ่งเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมรถยนต์ จำนวน 4 ราย ได้แก่ บริษัท เอสเอไอชี มอเตอร์ - ชีพี จำกัด (MG) บริษัท เกรา วอลล์ มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด (GWM) บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (TOYOTA) บริษัท เนต้า ออโต้ (ไทยแลนด์) จำกัด (NETA) และผู้ประกอบอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ จำนวน 1 ราย ได้แก่ บริษัท เตโก้ กรีน เอนเนอร์จี จำกัด (Deco Green)

8. เรื่อง ขอความเห็นชอบการเพิ่ม ?กิจกรรมส่งเสริมการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (Cross-Border e-Commerce) ภายใต้โครงการ SMEs Pro-active?
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเพิ่ม ?กิจกรรมส่งเสริมการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (Cross-Border e-Commerce) ภายใต้โครงการ SMEs Pro-active? ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2556 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พณ. รายงานว่า
                    1. กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้ดำเนินโครงการ SMEs Pro-active อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ไทยไปแล้ว จำนวน 6,610 ราย มีการเข้าร่วมกิจกรรมรวมทั้งสิ้น 1,721 งาน ส่งผลให้เกิดมูลค่าทางการค้า 17,323 ล้านบาท โดยได้รับอนุมัติวงเงินในการดำเนินโครงการจากคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานกรรมการ) แบ่งออกเป็น 3 ระยะ1 ดังนี้
                              (1) ระยะที่ 1 (ปีงบประมาณ 2556 - 2558) จำนวน 400 ล้านบาท ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ จำนวน 2,600 ราย เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 427 งาน และเกิดมูลค่าทางการค้า 8,600 ล้านบาท
                              (2) ระยะที่ 2 (ปีงบประมาณ 2559 - 2561) จำนวน 401.6 ล้านบาท ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ จำนวน 1,747 ราย เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 520 งาน และเกิดมูลค่าทางการค้า 8,520 ล้านบาท
                              (3) ระยะที่ 3 (ปีงบประมาณ 2562 - 2567) จำนวน 500 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่าง                  การดำเนินโครงการ โดยให้สนับสนุนผู้ประกอบการไปแล้ว จำนวน 2,263 ราย เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 774 งาน และ             เกิดมูลค่าทางการค้า 203 ล้านบาท คงเหลือวงเงินในการให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ จำนวน 248.03 ล้านบาท               (ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2565) (ขณะนี้ พณ. อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ SMEs Pro-active ระยะที่ 3)
                    2. ในการประชุมคณะกรรมการโครงการส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Pro-active) (อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเป็นประธานกรรมการ) ครั้งที่ 1/2564 (49) เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2564 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบแนวทางและหลักเกณฑ์การสนับสนุนผู้ประกอบการในการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (Cross-Border e-Commerce) ภายใต้โครงการ SMEs Pro-active และในการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565 ที่ประชุม            มีมติอนุมัติการเพิ่มกิจกรรมดังกล่าวภายใต้โครงการ SMEs Pro-active โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ
                    3. กิจกรรมส่งเสริมการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (Cross-Border e-Commerce) ภายใต้โครงการ SMEs Pro-active มีกรอบแนวทางและหลักเกณฑ์การสนับสนุนผู้ประกอบการในการเข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้
รายการ          รายละเอียด
1. ลักษณะการจัด
กิจกรรม
          การใช้แพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (Cross-Border                     e-Commerce) (แพลตฟอร์มฯ) ในการขยายตลาดการค้าสู่สากล เฉพาะประเภท B-2-B (Business-to-Business) ที่ดำเนินธุรกิจขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าที่เป็นองค์กรเท่านั้น
2. คุณสมบัติผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรม          ผู้ประกอบการต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานตามหลักเกณฑ์โครงการฯ และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม ดังนี้
- เป็นสมาชิก Thaitrade.com2
- ในกรณีที่ไม่เคยส่งออก ให้ผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(ได้รับยกเว้นคุณสมบัติที่ต้องเคยเข้าร่วมงานแสดงสินค้า/กิจกรรมที่กรมจัด)
3. วงเงินสนับสนุน          เบิกจ่ายตามจริงไม่เกิน 100,000บาท ต่อบริษัทต่อครั้ง
4. จำนวนสิทธิในการเข้าร่วมกิจกรรม
          6 สิทธิตลอดทั้งระยะ (ไม่รวมจำนวนสิทธิ์ในการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ/กิจกรรมสร้างโอกาสทางการค้าและเครือข่ายทางธุรกิจในต่างประเทศ/งานแสดงสินค้า/บริการเสมือนจริงในต่างประเทศ)
5. ค่าใช้จ่ายที่สนับสนุน
          - ค่าใช้จ่ายแรกเข้า และ/หรือค่าสมาชิก (Membership Fee) และ/หรือ ค่าแพคเกจ (Package) ของแพลตฟอร์มฯ
- ค่าประชาสัมพันธ์ ค่าการตลาด และค่าใช้จ่ายในการทำ Online Content ของแพลตฟอร์มฯ
6. ประเภทสินค้า
          สินค้าไทยทุกประเภทที่มีศักยภาพและสามารถวางขายบนแต่ละแพลตฟอร์มได้โดยฝ่ายเลขานุการฯ จะทำการสุ่มตรวจให้สอดคล้องกับข้อมูลที่แจ้งในการสมัคร
7. การเบิกจ่าย
          จัดส่งเอกสารเบิกจ่ายถึงสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือ สภาอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย หรือ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ภายใน 45 วัน
พร้อมแนบรายงานผลสถิติยอดขายที่เกิดขึ้นจริงของแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อย 1 เดือน
8. แนวทางในการประเมิน
ผลการเข้าร่วมกิจกรรม          แจ้งรายงานผลสถิติยอดขายที่เกิดขึ้นจริงของแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทุก                3 เดือน ให้กรมฯ ทราบผ่านทางระบบ หากไม่ดำเนินการจะมีผลต่อการขอรับสนับสนุนในครั้งต่อไป
9. รายชื่อแพลตฟอร์มพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ที่ให้การสนับสนุน          แพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำที่มีมาตรฐาน ความน่าเชื่อถือ ความนิยมในตลาดที่เป็นลักษณะ B-2-B เช่น Alibaba, KlangOne, GlobalConnect โดยรวบรวมเป็นบัญชีรายชื่อกิจกรรมส่งเสริมการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (Qualified Cross-Border e-Commerce List : QCL)
                    4. การเพิ่มกิจกรรมการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (Cross-Border e - Commerce) ภายใต้โครงการ SMEs Pro-active จะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ไทยให้ยังคงสามารถทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศได้โดยไม่จำเป็นต้องไปเข้าร่วมงานในต่างประเทศ ภายใต้ข้อจำกัดด้านการเดินทางและรูปแบบการจัดงานแสดงสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการเพิ่มกิจกรรมส่งเสริมการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนนี้ยังสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ฉบับที่ 8 ประเด็น ผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ (พ.ศ. 2561 - 2580) ในการสร้างโอกาสการเข้าถึงตลาด และส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ให้แข่งขันได้ในระดับสากล อีกทั้งเป็นการขยายบทบาทโครงการ SMEs Pro-active โดยต่อยอดจากการสนับสนุนกิจกรรมงานแสดงสินค้ารูปแบบเดิม
1โดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (3 พฤษภาคม 2559) อนุมัติหลักการในการใช้เงินต้นเพื่อดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์กองทุนฯ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 เป็นต้นไป โดยคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเป็นผู้พิจารณาอนุมัติแผนงานและจัดสรรเงินตามระเบียบและหลักเกณฑ์กองทุนฯ ตามที่ พณ. เสนอ ดังนั้น โครงการ SMEs Pro - active ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 จึงไม่ได้มีการนำเสนอคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ปัจจุบันกองทุนฯ มีวงเงินคงเหลือประมาณ 678.58 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565)
2Thaitrade.com เป็นหนึ่งใน Cross-Border e-Commerce ของประเทศไทย ดำเนินการโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ พณ. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและผลักดันให้ผู้ส่งออกของไทยสามารถนำสินค้าและบริการมาเสนอให้กับลูกค้าในต่างประเทศได้ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งบริการนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ

9. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง ครั้งที่ 1/2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง (กปส.) เสนอผลการประชุม กปส. ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
ประเด็น          ผลการดำเนินงาน/มติที่ประชุม
1. เรื่องเพื่อทราบ
    1.1 ผลการดำเนินงานของมูลนิธิโครงการหลวงและหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนแม่บทศูนย์พัฒนาโครงการหลวงและแผนแม่บทโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2560-2565)          (1) ผลการดำเนินงานในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวง1 เช่น ดำเนินงานวิจัยคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ที่เหมาะสมต่อการส่งเสริมให้แก่เกษตรกรบนพื้นที่สูง จำนวน 50 ชนิด 126 สายพันธุ์และได้นำผลงานวิจัยดังกล่าวไปส่งเสริมให้เกษตรกรสร้างรายได้รวมทั้งสิ้น 168 ล้านบาท โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2565 สร้างรายได้รวมทั้งสิ้น 7,083.23 ล้านบาท สนับสนุนการจัดทำแผนชุมชนการรวมกลุ่มในชุมชน เช่น สหกรณ์เกษตร กลุ่มออมทรัพย์ฟื้นฟู รักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนและป่าต้นน้ำลำธาร เช่น การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ในพื้นที่ใหม่รวม 2,246 ไร่ จำนวน 373,166 ต้น การปลูกป่าฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 23,795 ไร่ และพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อการเกษตร อุปโภคและบริโภค และระบบกระจายน้ำ สนับสนุนศูนย์พัฒนาโครงการหลวงและชุมชน จำนวน 86 แห่ง และจัดหาและซ่อมบำรุงระบบประปาบาดาล 67 แห่ง
(2) ผลการดำเนินงานในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง2 เช่น พัฒนาพันธุ์พืชเศรษฐกิจและพืชท้องถิ่นที่มีลักษณะเฉพาะสำหรับพื้นที่สูง รวม            24 พันธุ์ (กัญชง องุ่น และกาแฟอะราบิกา) ส่งเสริมการปลูกพืชและสัตว์ชนิดใหม่ที่มีมูลค่าสูงทดแทนพืชเดิมที่ให้ผลตอบแทนพื้นที่ต่ำ ทำให้ปัจจุบันเกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากกว่า 350 ล้านบาทต่อปี สร้างผู้นำชุมชนและผู้นำเกษตรกร จำนวน 1,000 คน อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยแบ่งแยกพื้นที่ป่าและพื้นที่ทำกินในทุกชุมชน และจัดทำแผนที่ดินรายแปลงของเกษตรกร 394 ชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกป่า รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภคและบริโภค 119 แห่ง
(3) ผลการดำเนินงานของหน่วยงานสนับสนุนฯ ได้แก่ การดำเนินการตามแผนแม่บทศูนย์พัฒนาโครงการหลวง โดยมีงบประมาณที่ได้รับจัดสรรรวม 3,335.41 ล้านบาท มีผลการใช้จ่ายงบประมาณ 2,471.94 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 74.11 ของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร และการดำเนินการตามแผนแม่บทโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง โดยมีงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร 1,907.53 ล้านบาท มีผลการใช้จ่ายงบประมาณ 1,309.09 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 68.63 ของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
มติที่ประชุม : รับทราบ
    1.2 ความก้าวหน้าการก่อสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง ชนกาธิเบศรดำริ3          ก่อสร้างแล้วเสร็จ ร้อยละ 99.7 และมูลนิธิโครงการหลวงได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ด้วยแล้ว จึงขอให้กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้การสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยและให้สำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยดำเนินงานร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง และการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่สำคัญของศูนย์วิจัยฯ เพิ่มเติม
มติที่ประชุม : รับทราบและมอบให้ สงป. และ อว. พิจารณาให้การสนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยงานและมหาวิทยาลัยที่ดำเนินงานร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวงในการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่สำคัญของศูนย์วิจัยดังกล่าว และการดำเนินงานวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่สูงต่อไป
    1.3 ความก้าวหน้าการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้การพัฒนาทางเลือกอย่างยั่งยืนมูลนิธิโครงการหลวง          กปส. ได้ขับเคลื่อนการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ฯ โดยประชาสัมพันธ์สถาบันการเรียนรู้ฯ ในระดับนานาชาติ ผ่านการประกาศเจตนารมณ์การจัดตั้งสถาบันในการประชุมวิชาการนานาชาติ เมื่อปี 2562 และการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด ครั้งที่ 63 ณ สาธารณรัฐออสเตรีย เมื่อปี 2563 เพื่อเผยแพร่รูปแบบการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง รวมทั้งได้คัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพเพื่อเป็นสถานที่ถ่ายทอดวิชาการเกษตรและองค์ความรู้ของโครงการหลวง พัฒนาหลักสูตรและกระบวนวิชาเรียนรู้ โดยถอดบทเรียนจากประสบการณ์ในการพัฒนาพื้นที่สูงสาขาต่าง ๆ และส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งในประเทศและนานาชาติ รวมถึงแต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ฯ ด้วย ทั้งนี้ มีแผนเปิดตัวสถาบันการเรียนรู้อย่างเป็นทางการในปี 2567
มติที่ประชุม : รับทราบ
    1.4 กรอบคำของงบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานต่าง ๆ ที่สนับสนุนงานพัฒนาพื้นที่สูง งานโครงการหลวง และงานโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566          หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้จัดทำแผนการดำเนินงานและคำของบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2566 ดังนี้
(1) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีหน่วยงานร่วมดำเนินงาน 31 หน่วยงาน งบประมาณที่ได้รับจัดสรรเบื้องต้นรวม 1,398.10 ล้านบาท
(2) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพื้นที่โครงการหลวง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีหน่วยงานร่วมดำเนินงาน 27 หน่วยงาน งบประมาณที่ได้รับจัดสรรเบื้องต้นรวม 890.14 ล้านบาท
(3) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีหน่วยงานร่วมดำเนินงาน 24 หน่วยงาน งบประมาณที่ได้รับจัดสรรเบื้องต้นรวม 435.27 ล้านบาท
มติที่ประชุม : รับทราบและให้หน่วยงานดำเนินตามแผนงาน/โครงการที่ได้รับ            การจัดสรรงบประมาณต่อไป
2. เรื่องเพื่อพิจารณา
กรอบงบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานต่าง ๆ ที่สนับสนุนงานพัฒนาพื้นที่สูงงานโครงการหลวง และงานโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567          (1) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) มีหน่วยงานร่วมดำเนินงาน 29 หน่วยงาน วงเงินงบประมาณ 1,988.01  ล้านบาท
(2) แผนปฏิบัติการด้านพัฒนาพื้นที่โครงการหลวง ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) มีหน่วยงานร่วมดำเนินงาน 27 หน่วยงาน วงเงินงบประมาณรวม 853.17 ล้านบาท
(3) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ระยะ 5 ปี              (พ.ศ. 2566-2570) มีหน่วยงานร่วมดำเนินงาน 20 หน่วยงาน วงเงินงบประมาณรวม 687.36 ล้านบาท
มติที่ประชุม : เห็นชอบและมอบให้ สงป. รับไปพิจารณาตามขั้นตอนและระเบียบ           ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมอบให้ สวพส. ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ หารือกับ สงป.                  เพื่อกำหนดโครงสร้างแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
3. เรื่องอื่น ๆ          นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และข้าราชการระดับท้องถิ่นต้องรับทราบและนำนโยบายรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและประชาชนได้รับประโยชน์ รวมถึงการให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้าและนำข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP) มาใช้ในการแก้ปัญหากับครัวเรือนเป้าหมาย โดยจัดสรรงบประมาณและดำเนินโครงการให้ตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ด้วย
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำของประเทศ เช่น การทำแก้มลิง การดึงน้ำจูงน้ำ และการแก้ปัญหาน้ำท่วมและโครงการอ่างเก็บน้ำลำสะพุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้เกิดความต่อเนื่องต่อไปด้วย
1 รับผิดชอบโดยมูลนิธิโครงการหลวง มีหน้าที่ดำเนินงานในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน และตาก
2รับผิดชอบโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) (สวพส.) มีหน้าที่สนับสนุนโครงการหลวงและขยายผลโครงการหลวงในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูงอื่น ๆ ของประเทศไทย เช่น จังหวัดเพชรบูรณ์ พิษณุโลก เลย และสุโขทัย
3ศูนย์วิจัยฯ ตั้งอยู่ที่ จ.เชียงใหม่ มีหน้าที่สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชปลอดโรคโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ

10. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนมิถุนายน และครึ่งแรกของปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนมิถุนายน และครึ่งแรกของปี 2565 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้


          สาระสำคัญ และข้อเท็จจริง
                              1. สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนมิถุนายน และครึ่งแรกของปี 2565
                    การส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2565 มีมูลค่า 26,553.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (907,286 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 11.9 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 10.4 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเป็นแรงหนุนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของการส่งออกในเดือน มิ.ย. สะท้อนความสามารถในการผลิตสินค้าอาหารไทยป้อนสู่ตลาดโลกและสอดรับนโยบาย               ?เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด?  ขณะที่การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังคงเติบโตตามการขยายตัวของภาคการผลิตโลก สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) ที่อยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 24 จากคำสั่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่เร่งตัว และการลงทุนที่เพิ่มขึ้น
                    มูลค่าการค้ารวม
                    มูลค่าการค้าในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เดือนมิถุนายน 2565 การส่งออก มีมูลค่า 26,553.1                ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 11.9 การนำเข้า มีมูลค่า 28,082.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 24.5 ดุลการค้า            ขาดดุล 1,529.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ภาพรวมครึ่งแรกของปี 2565 (มกราคม-มิถุนายน) การส่งออก มีมูลค่า 149,184.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 12.7 การนำเข้า มีมูลค่า 155,440.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 21.0 ดุลการค้า ขาดดุล 6,255.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
                    มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนมิถุนายน 2565 การส่งออก มีมูลค่า 907,286 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 22.7 การนำเข้า มีมูลค่า 971,481 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 36.3 ดุลการค้า ขาดดุล 64,195 ล้านบาท ขณะที่ภาพรวมครึ่งแรกของปี 2565 (มกราคม-มิถุนายน) การส่งออก มีมูลค่า 4,945,248 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 23.1 การนำเข้า มีมูลค่า 5,223,277 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 32.0 ดุลการค้า ขาดดุล 278,029 ล้านบาท
                    การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
                    มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 24.5 สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 39.4 (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเมียนมา) ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 16.1 (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ เกาหลีใต้ ตุรกี และอินเดีย) ข้าว ขยายตัวร้อยละ 68.2 (ขยายตัวในตลาดอิรัก สหรัฐฯ แอฟริกาใต้ เบนิน ฮ่องกง และเซเนกัล) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 15.3 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อียิปต์ แคนาดา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และลิเบีย) น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 92.7 (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา เกาหลีใต้ ลาว และญี่ปุ่น) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และไก่แปรรูป ขยายตัวร้อยละ 20.1 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ และเกาหลีใต้) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 13.6 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องดื่ม หดตัวร้อยละ 7.6 (หดตัวในตลาดเมียนมา จีน สิงคโปร์ แต่ขยายตัวในตลาดเวียดนาม กัมพูชา ลาว ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง และเกาหลีใต้) สิ่งปรุงรสอาหาร หดตัวร้อยละ 4.4               (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ และเมียนมา แต่ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย มาเลเซีย กัมพูชา เกาหลีใต้ และรัสเซีย) เครื่องเทศและสมุนไพร หดตัวร้อยละ 42.1 (หดตัวในตลาดเมียนมา ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ปากีสถาน และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวในตลาดบังกลาเทศ เวียดนาม จีน อินเดีย และมาเลเซีย) ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 17.1
                    การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
                    มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 6.7 โดยสินค้าสำคัญ
ที่ขยายตัวดี ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 9.1 (ขยายตัวในตลาดอินเดีย เยอรมนี สหราชอาณาจักร สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเบลเยี่ยม) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 10.4 (ขยายตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และอินเดีย) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 13.4 (ขยายตัวในตลาดนอร์เวย์ อินเดีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 52.1 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง เมียนมา และไต้หวัน) ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม ขยายตัวร้อยละ 37.9 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน อินเดีย เวียดนาม และเกาหลีใต้) เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ ขยายตัวร้อยละ 33.3 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และจีน) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 6.0 (หดตัวในตลาดออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เวียดนาม สหรัฐฯ และมาเลเซีย แต่ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ชิลี แอฟริกาใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัว
ร้อยละ 4.9 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี และอินเดีย แต่ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 24.4 (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ กัมพูชา และบราซิล แต่ขยายตัวในตลาดเบลเยี่ยม สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ เวียดนาม และมาเลเซีย) ทั้งนี้                ครึ่งแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 10.5
ตลาดส่งออกสำคัญ
                    การส่งออกไปยังตลาดสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัวต่อเนื่อง ตามคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้า ท่ามกลางปัจจัยกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงจากผลกระทบของความขัดแย้งในยูเครน และอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัว อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปจีนและญี่ปุ่นยังมีความไม่แน่นอน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ยังซบเซาจากผลกระทบของมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เข้มงวด ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่างๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 11.9 โดยขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 12.1 อาเซียน (5) ร้อยละ 35.6 CLMV ร้อยละ 19.5 สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 5.0 ขณะที่ตลาดจีน และญี่ปุ่น กลับมาหดตัวร้อยละ 2.7 และ 1.0 ตามลำดับ (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 13.2 ขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 49.5 ทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 4.9 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 24.0 ทวีปแอฟริกา ร้อยละ 12.1 และลาตินอเมริกา ร้อยละ 17.2 ขณะที่รัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS หดตัวร้อยละ 46.8 และ (3) ตลาดอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 18.3 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ หดตัวร้อยละ 66.7
                    2. ปัจจัยสนับสนุนและมาตรการส่งเสริมการส่งออก
                    การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเชิงรุกเพื่อผลักดันและอำนวย
ความสะดวกการส่งออกของผู้ประกอบการไทย โดยการดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา ได้แก่
(1) การสร้างความร่วมมือทางการค้า เพื่อเพิ่มโอกาสการส่งออกไปตลาดใหม่ ๆ อาทิ การเปิดเจรจา FTA ไทย-เอฟต้า การลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-สหราชอาณาจักร การขยายการจัดทำ Mini FTA ไทย-ปูซาน เพื่อขยายการส่งออกไปยังเกาหลีใต้ผ่านทางท่าเรือปูซาน การเจรจากับผู้บริหารศูนย์การค้าของต่างประเทศ เพื่อนำสินค้าไทยไปวางจำหน่าย และการจัดกิจกรรมเจรจาธุรกิจกับผู้นำเข้าซาอุดีอาระเบีย (2) การเจรจาขยายตลาดส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป อาทิ การส่งออกมังคุดไปยังไต้หวัน การผลักดันกล้วยหอมไทยและผลิตภัณฑ์แปรรูปสู่ตลาดญี่ปุ่น การปลดล็อกอุปสรรคการส่งออกแป้งข้าวเจ้าไปยังมาเลเซียฝั่งตะวันตก และ (3) การผลักดันสินค้าท้องถิ่นไทยสู่ตลาดต่างประเทศ อาทิ การผลักดันนำผ้าไทย GI ไปใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สินค้าแชมเปญของฝรั่งเศส การผลักดันขึ้นทะเบียนสินค้า GI ในตลาดญี่ปุ่น ได้แก่ กาแฟดอยตุง กาแฟดอยช้าง และสับปะรดห้วยมุ่น
                    แนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่า การส่งออกของไทยยังขยายตัวได้ดี โดยคาดว่า จะสามารถบรรลุตามเป้าหมายในการทำงานของกระทรวงพาณิชย์ได้ เนื่องจากการทำงานเชิงรุกในการส่งเสริมตลาดหลัก และตลาดใหม่ๆ ขณะที่ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่เกื้อหนุนการส่งออก ได้แก่ ความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดโลก ขณะเดียวกันการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังเติบโตตามการขยายตัวของภาคการผลิตโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทรงตัว และค่าเงินบาทอ่อนค่ามีส่วนช่วยให้การส่งออกสินค้าไทยสามารถแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งในตลาดโลกได้ อย่างไรก็ดี ยังมีความเสี่ยงที่อาจเกิดจากภาวะเงินเฟ้อโลกที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออำนาจซื้อของผู้บริโภคในต่างประเทศ

11. เรื่อง  สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนมิถุนายน 2565
          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนมิถุนายน 2565 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ  ดังนี้
                    สาระสำคัญ และข้อเท็จจริง
                              1. สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าเดือนมิถุนายน 2565 ดังนี้
                              ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (CPI) เดือนมิถุนายน 2565 เท่ากับ 107.58 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2565 (106.62) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.90 (MoM) ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า ที่สูงขึ้นร้อยละ 1.40 (MoM) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 7.66 (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการของภาครัฐที่พยายามช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่และผู้ประกอบการภาคเอกชนได้ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการตรึงราคาขายปลีกเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อค่าครองชีพของประชาชน โดยคำนึงถึงการได้รับประโยชน์ร่วมกันอย่างสมดุล ทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค เป็นสำคัญ
                              สำหรับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นร้อยละ 7.66 (YoY) มีปัจจัยหลักจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้ากลุ่มพลังงาน ทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม ส่งผลให้มีสัดส่วนผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ (Contribution to Percentage Change : CPC) ถึงร้อยละ 61.83 ประกอบกับฐานดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายน 2564 อยู่ในระดับต่ำ โดยกลุ่มสินค้าสำคัญที่มีราคาปรับสูงขึ้น ได้แก่
?          กลุ่มพลังงาน มีอัตราการเติบโตของราคาร้อยละ 39.97 (YoY) ประกอบด้วย น้ำมันเชื้อเพลิง มีอัตราการเติบโตของราคาร้อยละ 39.45 ค่าไฟฟ้าร้อยละ 45.41 และราคาก๊าซหุงต้มร้อยละ 12.63 ส่งผลให้กลุ่มพลังงานมีสัดส่วนผลกระทบถึงร้อยละ 61.83 ของอัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้
? กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ มีอัตราการเติบโตของราคา ร้อยละ 6.42 (YOY อาทิ เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ และเครื่องประกอบอาหาร ส่งผลให้กลุ่มอาหารมีสัดส่วนผลกระทบร้อยละ 34.27 ของอัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ โดยการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้ากลุ่มอาหารมีสาเหตุจากพลังงานซึ่งเป็นต้นทุนในกระบวนการผลิตสินค้าอาหารทุกขั้นตอน ตลอดจนเป็นต้นทุนโลจิสติกส์และราคาวัตถุดิบทั้งหมด  อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าที่ราคาปรับลดลง อาทิ ข้าวสาร เนื่องจากปริมาณผลผลิตมีจำนวนมาก และผู้ประกอบการให้ความร่วมมือลดราคาตามมาตรการ     ลดค่าครองชีพของกระทรวงพาณิชย์และผลไม้สด โดยเฉพาะ เงาะ มังคุด และลองกอง ที่ราคาลดลงตามปริมาณผลผลิตที่มีค่อนข้างมาก
? สินค้าอื่น ๆ มีสัดส่วนผลกระทบร้อยละ 3.90 ต่ออัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้โดยมีรายการที่ราคาเพิ่มขึ้น อาทิ สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (น้ำยาล้างจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม) ของใช้ส่วนบุคคล (สบู่ถูตัว ยาสีฟัน) ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ (บุหรี่ เบียร์ สุรา) และค่าโดยสารสาธารณะ เป็นต้น  ขณะที่บางรายการมีราคาลดลง อาทิ ค่าส่งพัสดุไปรษณีย์ และค่าเครื่องรับโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนมิถุนายน 2565 สูงขึ้นร้อยละ 13.8 (YOY) เป็นการสูงขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะปิโตรเลียมดิบ ก๊าซธรรมชาติ และสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง จากราคาวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิต และการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  อย่างไรก็ตาม  เมื่อเปรียบเทียบกับเงินเฟ้อแล้ว พบว่า อัตราเงินเฟ้อยังต่ำกว่าการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้ผลิตส่วนหนึ่งเป็นผลจากความร่วมมือของผู้ประกอบการค้าปลีกตามมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐบาลส่วนดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง สูงขึ้นร้อยละ 5.5 (YOY) สูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่องจากราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในตลาดโลกลดลง ขณะที่ต้นทุนการผลิตยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตทั้งน้ำมัน ถ่านหิน และอลูมิเนียม
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม อยู่ที่ระดับ 44.3 เทียบกับเดือนก่อนหน้า ที่ระดับ 44.7 สาเหตุเกิดจากความกังวลของประชาชนต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะราคาน้ำมันซึ่งเกิดจากมาตรการคว่ำบาตรของประเทศพันธมิตรต่อประเทศรัสเซีย ทำให้สินค้าโภคภัณฑ์มีราคาเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก และส่งผ่านมายังเศรษฐกิจไทย
          2. แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป
อัตราเงินเฟ้อไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ยังมีแนวโน้มขยายตัวในระดับที่ใกล้เคียงกับไตรมาส            ที่ผ่านมา ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด


12. เรื่อง รายงานการวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการหน่วยงานของรัฐ ตามที่สำนักงานศาลปกครอง (ศป.) เสนอและให้หน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญกับรายงานการวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีและรายงานแนวทางการปฏิบัติราชการจากคำวินิจฉัยของศาลปกครองที่สำนักงานศาลปกครองได้เผยแพร่ให้แก่หน่วยงานของรัฐทราบเป็นประจำทุกปีด้วย
                    ทั้งนี้ ศป. เสนอว่า
                    1. ศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 197 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมีสำนักงานศาลปกครองเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 77 (5) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ในการจัดทำรายงานวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีปกครองและแนวปฏิบัติราชการจากคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดนำเสนอในรายงานประจำปีของสำนักงานศาลปกครองมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้หน่วยงานของรัฐได้รับทราบแนวปฏิบัติจากคำวินิจฉัยของศาลปกครอง และปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติราชการที่ดีมีคุณภาพมีมาตรฐานเดียวกัน การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ให้ทันสมัย เป็นธรรมอันนำไปสู่การสร้างหลักธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นแก่สังคมอย่างยั่งยืน
                    2. ศป. ได้เผยแพร่รายงานการวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีและรายงานแนวทางการปฏิบัติราชการจากคำวินิจฉัยของศาลปกครองให้แก่หน่วยงานของรัฐทราบเป็นประจำทุกปี โดยจัดส่งหนังสือดังกล่าวให้แก่หน่วยงานของรัฐในระดับกระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ องค์การมหาชน รวมถึงห้องสมุดมหาวิทยาลัย จำนวน 9,000 หน่วยงาน แต่ปรากฏว่ายังมีการนำคดีที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดีลักษณะเดียวกันมาฟ้องต่อศาลปกครองเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าหน่วยงานของรัฐยังไม่ได้ถือปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติราชการจากคำวินิจฉัยของศาลปกครองหรือยังมิได้ศึกษาถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีตามที่ ศป. ได้เผยแพร่ให้ทราบ ศป. จึงได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการหน่วยงานของรัฐ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา เพื่อให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติราชการต่อไป
                    สาระสำคัญของรายงาน
                    รายงานการวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ ประกอบด้วยการวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง และข้อเสนอแนะแนวทางในการปฏิบัติราชการ ดังนี้
                    1. กรณีกฎหมายลำดับรองออกโดยขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ.7/2562) ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ว่าการออกระเบียบว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนและการวินิจฉัยชี้ขาดในส่วนของการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกกล่าวหาโดยกำหนดห้ามมิให้ทนายความและหรือบุคคลที่ผู้กล่าวหาไว้วางใจ ซักถามแนะนำผู้กล่าวหาหรือตอบคำถามแทนผู้ถูกกล่าวหา เป็นการออกระเบียบที่มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งบัญญัติให้ในการพิจารณาทางปกครอง คู่กรณีมีสิทธินำทนายความของตนเข้ามาในการพิจารณาได้ และการใดที่ทนายความได้ทำลงต่อหน้าคู่กรณีให้ถือว่าเป็นการกระทำของคู่กรณี เว้นแต่คู่กรณีจะได้คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น ดังนั้น การออกระเบียบจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีนี้เหตุแห่งการฟ้องคดีเกิดจากความเข้าใจกฎหมายคลาดเคลื่อนของฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจในการออกระเบียบฉบับพิพาท โดย ศป. มีข้อเสนอแนะแนวทางในการปฏิบัติราชการ เห็นควรให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ทบทวนกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ทั้งในระดับพระราชบัญญัติและกฎหมายลำดับรองว่ามีบทบัญญัติหรือข้อกำหนดใดที่มีข้อความขัดหรือแย้งต่อหลักการตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 อันเป็นหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมในการพิจารณาทางปกครองให้แก่คู่กรณีหรือไม่ หากมี เห็นควรสั่งการให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเสนอเรื่องเพื่อให้มีการยกเลิกหรือแก้ไขบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือข้อกำหนดดังกล่าวให้สอดคล้องกับหลักการมาตรา 23
                    2. กรณีกฎหมายลำดับรองออกโดยขัดหรือแย้งกับกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติฉบับบอื่นที่เกี่ยวข้อง (คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ อ.165/2562) ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ว่าการออกข้อบังคับมหาวิทยาลัยในส่วนที่กำหนดให้ประธานและกรรมการสภาคณาจารย์ และข้าราชการ ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาพ้นจากตำแหน่งเมื่อถูกลงโทษทางวินัยหรือจรรยาบรรณหรืออยู่ระหว่างถูกสอบสวนทางวินัย                อย่างร้ายแรง นั้น เป็นการออกข้อบังคับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นการออกกฎหมายลำดับรองขัดหรือแย้งกับมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 ซึ่งบัญญัติให้ในระหว่าง                    การสอบสวน จะนำเหตุแห่งการถูกสอบสวนมาเป็นข้ออ้างในการดำเนินการใดให้กระทบต่อสิทธิของผู้ถูกสอบสวนไม่ได้ ในกรณีนี้ ศป. มีข้อเสนอแนะแนวทางปฏิบัติราชการ ดังนี้
                               2.1 การออกกฎหมายลำดับรองของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น                เห็นควรให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ 2547 และพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 กำชับให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาเอกชนทบทวนกฎหมายลำดับรองและหรือข้อบังคับของตนว่ามีบัญญัติใดขัดหรือแย้งต่อกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติทั้งที่เป็นกฎหมายแม่บทและกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ถ้ามี ให้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องและในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดจะออกกฎหมายลำดับรองหรือข้อบังคับฉบับใหม่ให้ศึกษากฎหมายในระดับพระราชบัญญัติอย่างถี่ถ้วน เพื่อไม่ให้มีเนื้อหาขัดหรือแย้งหรือเกินไปกว่าที่กฎหมายกำหนด
                               2.2 การออกกฎหมายลำดับรองของส่วนราชการอื่น ๆ เห็นควรเสนอว่าในกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) จะนำกฎหมายลำดับรองฉบับใดมาทบทวนตามมาตรา 35 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ที่บัญญัติให้ส่วนราชการมีหน้าที่ทบทวนกฎหมายลำดับรองที่อยู่ในความรับผิดชอบเพื่อดำเนินการยกเลิก ปรับปรุง หรือจัดให้มีขึ้นใหม่ ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ ซึ่งให้อำนาจไว้ สคก. ควรพิจารณาด้วยว่าเนื้อหาของกฎหมายลำดับรองมีเนื้อหาขัดหรือแย้งต่อกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติที่ให้อำนาจหรือเกี่ยวข้องหรือไม่ ถ้ามีก็ให้เสนอแนะต่อส่วนราชการที่ออกกฎหมายลำดับรองเพื่อดำเนินการแก้ไข ปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายลำดับรองดังกล่าว หรือหากเป็นกฎหมายลำดับรองที่ใช้บังคับกับส่วนราชการอื่นก็อาจเสนอแนะผ่านสำนักงาน ก.พ.ร. อันจะเป็นการบูรรณาการในการทบทวนกฎหมายลำดับรองอย่างแท้จริง

13. เรื่อง ขออนุมัติปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโคนม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งเดิมได้อนุมัติราคารับซื้อน้ำนมโค 19 บาท/กิโลกรัม โดยขอปรับเพิ่มราคารับซื้อน้ำนมโคเป็น 20.50 บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้ ให้มีผลนับตั้งแต่วันที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) อนุญาตให้ผู้ประกอบการนมพาณิชย์ปรับราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมในตลาดนมพาณิชย์ได้ โดยให้ พณ. พิจารณาการปรับขึ้นราคาผลิตภัณฑ์นม (นมพาณิชย์) ให้เหมาะสม สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้ประกอบการ ตามมติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กษ. รายงานว่า
                    1. ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการปรับเพิ่มหรือลดราคารับซื้อน้ำนมดิบหลายครั้ง โดยการปรับราคารับซื้อน้ำนมดิบครั้งล่าสุด เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งได้อนุมัติราคารับซื้อน้ำนมดิบเป็น 19 บาท/กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่เกิดปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลกประกอบกับวิกฤตพลังงานสืบเนื่องจากสงครามรัสเซีย ? ยูเครน ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมนมปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนือง คณะอนุกรรมการจัดทำข้อเสนอราคาน้ำนมโคและผลิตภัณฑ์นม (รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นประธาน) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 จึงได้พิจารณากำหนดราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบในปี 2565 จากต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และต้นทุนการบริหารจัดการศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ โดยมีมติ ดังนี้
ราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบ
ปี 2565          ราคาเดิม
 (บาท/กิโลกรัม)          ราคาใหม่
(บาท/กิโลกรัม)
หน้าศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ          17.50          19.75
ปรับขึ้น 2.25 บาท/กิโลกรัม
หน้าโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นม          19.00          21.25
ปรับขึ้น 2.25 บาท/กิโลกรัม
                    2. ต่อมาคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน)                  ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 มีมติเห็นชอบให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ดังนี้
                              2.1 เห็นชอบปรับราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบ ดังนี้
                                        2.1.1 หน้าศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ จาก 17.50 บาท กิโลกรัม เป็น 17.75บาท/กิโลกรัม (ตามมติคณะอนุกรรมการฯ) โดยมอบหมายกรมปศุสัตว์จัดทำโครงการ1 เพื่อให้รัฐบาลช่วยเหลือเกษตรกร              อีก 0.75 บาท/กิโลกรัม เป็นเวลา 3 เดือน
                                        2.1.2 หน้าโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นม จาก 19 บาท/กิโลกรัม เป็น 20.50 บาท/กิโลกรัม (ข้อเสนอของ กษ. ในครั้งนี้) ซึ่งปรับราคาลดลงจากมติคณะอนุกรรมการฯ ที่เสนอที่ 21.25 บาท/กิโลกรัม
                              2.2 ให้คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาทบทวนการกำหนดราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบ                  ณ ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ และ ณ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ภายใน 3 เดือน หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องนี้
                              2.3 ให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ เสนอเรื่องขออนุมัติปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา และให้จัดทำประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม เรื่อง ราคากลางรับซื้อน้ำนมโค              ณ หน้าศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบและราคาหน้าโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมต่อไป
                              2.4 ให้ พณ. พิจารณาแนวทางในการควบคุมราคาปัจจัยการผลิตและราคาอาหารสัตว์ และพิจารณาการปรับขึ้นราคาผลิตภัณฑ์นม (นมพาณิชย์) ให้เหมาะสมสอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้ประกอบการ
                    3 กษ. แจ้งว่า การปรับราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบ จะส่งผลกระทบ 2 ด้าน ดังนี้
                              3.1 ผลผลิตน้ำนมโค
                                   ประเทศไทยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมประมาณ 20,000 ฟาร์มทั่วประเทศ มีภาระค่าใช้จ่ายประจำ ได้แก่ ค่าจ้างแรงงานในการรีดนม ค่าอาหารซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับการเลี้ยงโคนม และค่าขนส่งน้ำนมดิบไปยังศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบหรือโรงงานแปรรูปซึ่งสถานการณ์ปัจจุบัน ราคาวัตถุดิบสำหรับการเลี้ยงโคนม เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวสาลี กากถั่วเหลือง และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลให้เกษตรกรขนาดเล็กหลายรายไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ซึ่งกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตนมและผลิตภัณฑ์นมเป็นวงกว้าง และอาจกระทบต่อการจ้างงานในระบบจำนวนกว่า 120,000 ราย ดังนั้น การปรับเพิ่มราคาน้ำนมโคจะช่วยให้อาชีพการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรอยู่รอดต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะให้การสนับสนุนการจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการลดต้นทุนให้แก่เกษตรกรด้วย ตลอดจนการปรับเกณฑ์การให้ราคาตามคุณภาพหรือองค์ประกอบของน้ำนมโคซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมีการพัฒนาคุณภาพน้ำนมโคเพื่อให้มีกำไรเพิ่มสูงขึ้น

                              3.2 ตลาดนมพาณิชย์
                                   การปรับเพิ่มราคาน้ำนมโค 1.50 บาท/กิโลกรัม หน้าโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มในตลาดนมพาณิชย์ต้องปรับราคาจำหน่ายตามต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งขนาดบรรจุที่จำหน่ายมากที่สุด ขนาด 250 มิลลิลิตร จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณกล่องละ 0.40 บาท ทั้งนี้ เชื่อว่าในระยะแรกจะมีผลกระทบแต่ไม่มากนัก เนื่องจากนมพร้อมดื่มเป็นสินค้าควบคุมที่ต้องขออนุญาตปรับราคาจากคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน) ก่อน และที่ผ่านมาน้ำนมโคที่รับซื้อ ณ ศูนย์รวบรวมน้ำนมโคส่วนใหญ่จะถูกหักราคามากกว่า2 ซึ่งจะเป็นการจูงใจให้เกษตรกรพัฒนาคุณภาพนมให้ได้มาตรฐานมากขึ้น เช่น มาตรฐาน ?พรีเมียม? ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข3 โดยผลิตภัณฑ์นมประเภท ?พรีเมียม? จะไม่ถูกควบคุมราคาโดย พณ. ผู้ประกอบการจึงสามารถรับซื้อน้ำนมดิบในราคาที่สูงขึ้นได้
1กษ. แจ้งว่า จะดำเนินการออกประกาศปรับเพิ่มราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบหน้าศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ เป็น 19 บาท/กิโลกรัม และหากรวมกับโครงการเพื่อให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรฯ เป็นกรณีพิเศษเพิ่มอีก 0.75 บาท/กิโลกรัม เป็นเวลา 3 เดือน จะทำให้ราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบหน้าศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ เป็น 19.75 บาท/กิโลกรัม ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาจัดทำโครงการซึ่งอาจมีการนำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณต่อไป
2ราคารับซื้อน้ำนมโคดิบอาจมีส่วนต่างราคาที่มากกว่าหรือน้อยกว่าราคากลาง ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำนมโคดิบที่รับซื้อในแต่ละครั้ง
3ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 366) พ.ศ. 2556 เรื่อง การแสดงข้อความ ?พรีเมียม? บนฉลากน้ำนมโคสด และน้ำนมโคชนิดเต็มมันเนยที่ผ่านกรรมวิธีพาสเจอร์ไรส์ ซึ่งระบุรายละเอียดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของน้ำนมโคดิบ สถานที่รวบรวมน้ำนมโคดิบ และสถานที่ผลิตน้ำนมโคสด ที่สามารถแสดงข้อความ ?พรีเมียม? หรือ ?Premium? บนฉลากน้ำนมโคสด และน้ำนมโคชนิดเต็มมันเนยที่ผ่านกรรมวิธีพาสเจอร์ไรส์ได้

14. เรื่อง การจัดทำโครงการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) ของสำนักงบประมาณภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอดังนี้
                    1. หลักการโครงการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) (โครงการฯ บ้านหลวง) ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 60 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ดำเนินการโดยสำนักงบประมาณ (สงป.) จำนวน 1 โครงการ                 รวม 79 หน่วย ภายในวงเงินงบประมาณ 75 ล้านบาท
                    2. วงเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเต็มจำนวน 75 ล้านบาท โดยมอบ สงป. จัดสรรเงินสนับสนุนจำนวนดังกล่าวให้กับ สงป.
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) (การเคหะแห่งชาติ) ได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการโครงการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) (โครงการฯ บ้านหลวง) ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) (แผนแม่บทฯ) ดำเนินการโดยสำนักงบประมาณ (สงป.) จำนวน 1 โครงการ รวม 79 หน่วย ภายในวงเงินงบประมาณ 75 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์ เช่น 1) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้านที่อยู่อาศัยให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยของหน่วยงานของรัฐ 2) เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยของหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ห่างไกลจากภูมิลำเนาของตนให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มกำลังความสามารถจากการได้รับการสนับสนุนสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย เป็นต้น ซึ่งแผนแม่บทฯ ได้กำหนดเป้าหมายโครงการฯ บ้านหลวงไว้ จำนวน 25,000 หน่วย โดยที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการดำเนินโครงการฯ บ้านหลวงให้หน่วยงานต่าง ๆ แล้ว รวม 12 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงกลาโหม (4 หน่วยงาน) กระทรวงยุติธรรม (5 หน่วยงาน) กระทรวงศึกษาธิการ (1 หน่วยงาน) กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวนหน่วยรวมทั้งสิ้น 8,744 หน่วย (ข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 มีการดำเนินการแล้ว 3,426 หน่วย ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 6,486.97 ล้านบาท) ซึ่ง พม. แจ้งว่า สงป. พิจารณาแล้วเห็นสมควรที่ พม. จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบในหลักการโครงการฯ บ้านหลวงซึ่งดำเนินการโดย สงป. จำนวน 1 โครงการ รวม 79 หน่วย ภายในวงเงิน 75 ล้านบาท โดยมีความเห็นเพิ่มเติม เช่น ให้ดำเนินโครงการดังกล่าวให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงและเป็นธรรม              ให้จัดทำรายละเอียดแบบรูปรายการประมาณการค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในแต่ละระดับ จัดลำดับความสำคัญของโครงการแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป เป็นต้น

15. เรื่อง รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กรณีการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน               (กพม.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบรายงานความก้าวหน้ากรณีการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    2. เห็นชอบให้ทบทวนแนวทางหรือวิธีการในการดำเนินการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560 (เรื่อง รายงานการประเมินผลองค์การมหาชนตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2558 เรื่อง การทบทวนความจำเป็นในการมีอยู่ขององค์การมหาชน) ให้สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม โดยมอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) ดำเนินการร่วมกับสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) องค์การสวนสัตว์และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอแนวทางในการดำเนินการ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าเชิงภารกิจของรัฐและประโยชน์ต่อประชาชน เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    1. ความก้าวหน้าในการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560 และพระราชกฤษฎีกายุบเลิกสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2562 คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) ได้ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายดังกล่าว กรณีการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์ โดย กพม. ในการประชุมครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่                      22 พฤศจิกายน 2564 และการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 ได้มีมติรับทราบและมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี                     ซึ่งสรุปสาระสำคัญของรายงานความก้าวหน้าฯ ได้ดังนี้
                              1.1 การยุบเลิกสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่              20 มิถุนายน 2560 ได้ดำเนินการในส่วนของการโอนศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ แล้วเสร็จไปเมื่อวันที่                15 เมษายน 2562 แต่ยังคงเหลือในส่วนของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ซึ่งแม้ว่าจะมีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกายุบเลิกสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2562 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2563 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2563 เพื่อแก้ไขวัตถุประสงค์ หน้าที่และอำนาจ รองรับขอบเขตงานที่ขยายเพิ่มขึ้นและการรับโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา                    แนวทางการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์ฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561
                              1.2 ในการศึกษาแนวทางการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีดังกล่าว องค์การสวนสัตว์ฯ ได้จ้างที่ปรึกษา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2563 ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมทางธุรกิจรูปแบบและวิธีการบริหารสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปอยู่ภายใต้องค์การสวนสัตว์ฯ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในทางปฏิบัติสำหรับการรับโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี และองค์การสวนสัตว์ฯ ได้ประชุมหารือร่วมกับ สพค. เกี่ยวกับแนวทางการโอน รวมทั้งได้ประสานขอข้อมูลต่าง ๆ สำหรับใช้ในการพิจารณาแนวทางการรับโอนกิจการ โดยองค์การสวนสัตว์ฯ ได้นำ                     ผลการศึกษาเสนอคณะกรรมการองค์การสวนสัตว์ฯ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563
                              1.3 สพค. ได้มีหนังสือเรียนรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ผ่านรัฐมนตรีประจำ       สำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2563 และวันที่ 5 มกราคม 2564 ว่ารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ตรวจเยี่ยมและเล็งเห็นศักยภาพของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีในด้านการท่องเที่ยวของประเทศ ประกอบกับรูปแบบการบริหารจัดการที่ต่างจากองค์การสวนสัตว์ (Day Zoo) และการคัดค้านของมวลชนพื้นที่ในการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี จึงเห็นควรยุติการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีและเห็นควรเสนอ                  ขอจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน)
                              1.4 คณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (อ.กพม.) ในการประชุมเมื่อวันที่              10 กุมภาพันธ์ 2564 ได้พิจารณาข้อเสนอตามข้อ 3 แล้ว มีมติให้ สพค. รายงานความก้าวหน้าและปัญหาของการดำเนินการโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ งบประมาณ และรายได้ของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์ฯ และจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องการขอจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) รวมทั้งให้องค์การสวนสัตว์ฯ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการรับโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
                              1.5 สพค. ได้จัดส่งข้อมูลประกอบการขอจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) เพิ่มเติม และองค์การสวนสัตว์ฯ ได้รายงานว่า คณะกรรมการองค์การสวนสัตว์ฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มีมติให้องค์การสวนสัตว์ฯ ประสานงานกับสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงาน ก.พ.ร.                    เพื่อสรุปผลการทบทวนการรับโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ก่อนนำเสนอคณะกรรมการองค์การสวนสัตว์ฯ
                              1.6 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2565 ได้มีการประชุมหารือเรื่อง การดำเนินการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์ฯ โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เป็นประธาน และนายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม               เข้าร่วมประชุมกับผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์การสวนสัตว์ฯ สพค. และสำนักงาน ก.พ.ร. โดยสรุปผลการประชุมหารือ ดังนี้
                                        (1) สพค. ได้รายงานปัญหาจากความไม่ชัดเจนของแนวทางและกำหนดเวลาการโอน ประกอบกับระยะเวลาที่ล่วงเลยมานานได้ส่งผลกระทบต่อการบริหารงาน การวางแผนงานและการดำเนินงาน รวมทั้งขวัญกำลังใจของบุคลากร
                                        (2) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความเห็นว่า องค์การสวนสัตว์ฯ จัดเป็นรัฐวิสาหกิจในภาคสังคมที่ให้บริการประชาชนซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างจากสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ด้วยบริบทความแตกต่างนี้จึงมีผลกระทบต่อการรวมหน่วยงาน ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินงานของหน่วยงาน ดังนั้น ควรจะมีการทบทวนและดำเนินการในเรื่องดังกล่าวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
                                        (3) องค์การสวนสัตว์ฯ ได้ศึกษาแนวทางการจัดการบุคลากรและรูปแบบการรับโอน ซึ่งจากผลการศึกษาดังกล่าวพบประเด็นสำคัญ สรุปได้ดังนี้
                                                  (3.1) วัตถุประสงค์การจัดตั้งและรูปแบบขององค์การสวนสัตว์ฯ                         กับสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีมีความแตกต่างกัน โดยที่องค์การสวนสัตว์ฯ มุ่งเน้นส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ วิจัยและพัฒนา ให้องค์ความรู้กับผู้เข้าเยี่ยมชม จัดเก็บค่าบริการต่ำ ในขณะที่สำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีมีลักษณะเป็น theme park ที่มุ่งเน้นด้านการท่องเที่ยวและการสร้างรายได้จากการให้บริการเป็นหลัก โดยมีสวนสัตว์เป็นกลไกการดึงดูดนักท่องเที่ยวซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ และมีการจัดเก็บค่าบัตรเข้าชมค่อนข้างสูง
                                                  (3.2) ผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีต้องปรับเปลี่ยนสถานะจากเจ้าหน้าที่องค์การมหาชนมาเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีลักษณะที่ต่างกันทั้งอัตราเงินเดือน สวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จึงพบความยุ่งยากในการปรับเปลี่ยนสถานะและการจ้างบุคลากรโดยต้องคำนึงถึงความสมัครใจของผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ องค์การสวนสัตว์ฯ ยังต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อรองรับบุคลากร
                                                  (3.3) สถานการณ์ปัจจุบันด้วยผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีลดลง ในขณะที่องค์การสวนสัตว์ก็พึ่งพางบประมาณเป็นหลักและมีข้อจำกัดต่าง ๆ ในการดำเนินงาน หากรับโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีแล้วจะทำให้เกิดภาระต่อองค์การสวนสัตว์ฯ ที่ไม่สามารถรองรับได้หากไม่ได้รับการอุดหนุนงบประมาณจากภาครัฐที่เพียงพอ และจะทำให้มีสวนสัตว์ในจังหวัดเชียงใหม่ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานขององค์การสวนสัตว์ฯ ถึงสองแห่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานที่แตกต่างกัน
                                                  (3.4) ด้วยรูปแบบลักษณะธุรกิจและวัตถุประสงค์จัดตั้งที่แตกต่างกัน กระบวนการจัดการบุคลากรที่คาดว่าจะพบปัญหาอุปสรรคค่อนข้างมาก รวมทั้งข้อจำกัดต่าง ๆ ประกอบกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หากเป็นไปได้จึงควรมีการทบทวนการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์ฯ
                                        (4) ที่ประชุมมีความเห็นโดยสรุปได้ว่า ในปัจจุบันบริบทและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเมื่อมีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 20 มิถุนายน 2560 และการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของทั้งสองหน่วยงาน ประกอบกับรูปแบบและวัตถุประสงค์การจัดตั้งองค์กรที่ต่างกันระหว่างสวนสัตว์กับ theme park จึงเห็นควรเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาทบทวนนโยบายในเรื่องนี้อีกครั้ง
                    2. กพม. ในการประชุมครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ได้พิจารณาข้อมูลเพิ่มเติมใน             เรื่องนี้ ดังนี้
                              2.1 ตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติให้โอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การ             สวนสัตว์ฯ องค์การสวนสัตว์ฯ และ สพค. รายงานว่าได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม พบว่าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวยังไม่บรรลุผล
                              2.2 จากผลการประชุมร่วมกันตามข้อ 1.6 ทุกฝ่ายเห็นพ้องกันว่าองค์การสวนสัตว์ฯ และสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี มีวัตถุประสงค์จัดตั้งองค์กรและภารกิจที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีมุ่งเน้นความเป็น ?nature theme park? เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวและการสร้างรายได้ โดยมีสัตว์ป่าที่หากินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน รวมทั้งให้บริการแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นหลักทั้งด้านสวนสัตว์ ที่พัก ห้องประชุม สัมมนา และส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่ จึงมีแผนงาน/โครงการที่มุ่งเน้นในด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่ต่างจากองค์การสวนสัตว์ฯ ที่มุ่งเน้นด้านการศึกษา วิจัย อนุรักษ์ บำรุงและเพาะพันธุ์สัตว์ เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้และมีสถานที่พักผ่อน ซึ่งมีแผนงาน/โครงการส่วนใหญ่เป็นภารกิจด้านศึกษา วิจัยและอนุรักษ์ และมีการจัดเก็บค่าบริการในอัตราต่ำ
                              2.3 สถานการณ์ บริบท และปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของทั้งสองหน่วยงาน โดยเฉพาะการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลต่อการท่องเที่ยวและรายได้จากการดำเนินงานของทั้งสองหน่วยงาน ซึ่งมีรายได้ส่วนใหญ่จากการจำหน่ายบัตรเข้าชม และการขายสินค้าและบริการต่าง ๆ ทำให้ผลประกอบการขาดทุน โดยคาดการณ์ว่าแนวโน้มการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวใน 2 - 3 ปี แต่ยังคงต้องพึ่งพางบประมาณจากรัฐ นอกจากนี้ องค์การสวนสัตว์ยังต้องขอรับจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่ที่จะเปิดให้บริการบางส่วนในปีที่ 4 ของการเริ่มดำเนินโครงการ พบว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 - 2575 มีผลขาดทุนเฉลี่ยปีละ 632.33 ล้านบาท
                              2.4 สืบเนื่องจากภารกิจที่องค์การสวนสัตว์ฯ และสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีมุ่งเน้นคนละด้าน และรูปแบบหน่วยงานของรัฐประเภทรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนนั้นมีความแตกต่างกัน จึงนำมาซึ่งโครงสร้างการบริหารงานและการดำเนินงาน/ให้บริการที่ต่างกัน ดังจะเห็นได้จากผลการศึกษาความเหมาะสมทางธุรกิจ รูปแบบและวิธีการบริหารสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเมื่อโอนไปอยู่ภายใต้องค์การสวนสัตว์ฯ ซึ่งหากพิจารณาโดยรวมแล้ว พบว่าการรับโอนในแต่ละแนวทางมีความยุ่งยากซับซ้อนที่ต่างกันทั้งในด้านกระบวนการขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการหาเอกชนร่วมลงทุน การถือหุ้นขององค์การสวนสัตว์ การร่วมทุนและกำกับดูแล ตลอดจนการจัดการทรัพย์สิน สิทธิ หนี้และภาระผูกพัน และการจัดการด้านบุคลากร
                              2.5 เนื่องจากบริบทและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมเมื่อปี 2560 ทั้งในส่วนของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี สพค. และองค์การสวนสัตว์ฯ คณะรัฐมนตรีจึงควรทบทวนนโยบายในเรื่องนี้ที่กำหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560 กพม. จึงมีมติเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรี ดังนี้
                                        (1) รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560 กรณีโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และพระราชกฤษฎีกายุบเลิกสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2562
                                        (2) ทบทวนแนวทางหรือวิธีการในการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560 (เรื่อง รายงานการประเมินผลองค์การมหาชนตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2558 เรื่อง การทบทวนความจำเป็นในการมีอยู่ขององค์การมหาชน) ให้สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมทั้งในส่วนของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี สพค. และองค์การสวนสัตว์ฯ
                                        (3) มอบหมายให้ กพม. ดำเนินการร่วมกับ สพค. องค์การสวนสัตว์ฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการในการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าเชิงภารกิจของรัฐและประโยชน์ต่อประชาชน และให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

16. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม          พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 23/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของ             โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 23/2565 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2565 ที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับข้อเสนอแนวทางการดำเนินการตามมาตรา 6 แห่ง               พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (ครั้งที่ 9) และการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดังนี้
                    1. อนุมัติให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5 (3) มาใช้เพื่อการตามมาตรา 5 (1) เพิ่มเติม                  (ครั้งที่ 3) จำนวน 18,447.9800 ล้านบาท เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส             โคโรนา 2019
                    2. อนุมัติโครงการค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปี 2565 รอบที่ 4 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเป็นค่าบริการสาธารณสุขสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และบริการอื่นที่เกี่ยวข้องที่หน่วยบริการ/สถานพยาบาลให้บริการแล้วระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 15 พฤษภาคม 2565 วงเงิน 18,447.9800 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหา การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1) ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564
                    3. มอบหมายให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 2 และดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และรับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบ                 ที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
                    4. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้ดำเนินโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 แล้วเสร็จ เร่งรายงานผลการดำเนินงานและคืนกรอบวงเงินกู้เหลือจ่ายจากการดำเนินโครงการ (ถ้ามี)                ตามขั้นตอนข้อ 22 และข้อ 23 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2565 เพื่อให้สามารถนำวงเงินดังกล่าวมาบริหารจัดการและจัดสรรให้กับโครงการอื่น ๆ ได้ทันภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด (วันที่ 13 กันยายน 2565)



ต่างประเทศ

17. เรื่อง การชำระค่าบำรุงสมาชิกคณะกรรมการด้านนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Committee on Digital Economy Policy: CDEP) ภายใต้องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development: OECD)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) โดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ดำเนินการชำระค่าบำรุงสมาชิกรายปีในอัตราที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) กำหนดเป็นประจำทุกปีโดยไม่ต้องเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก ตามที่ ดศ. เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ดศ. รายงานว่า
                    1. การเข้าร่วม CDEP ภายใต้ OECD ของ ดศ. เป็นการดำเนินการเพื่อให้ประเทศไทยได้มีโอกาส             เข้าเป็นสมาชิกองค์กรระดับนานาชาติเพื่อผลประโยชน์ในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจดิจิทัลกับประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
                              1.1 รับทราบข้อมูลวิจัยเชิงนโยบายด้านเศรษฐกิจดิจิทัลที่จัดทำโดย OECD รวมทั้งประเด็นที่ประเทศสมาชิกและพันธมิตรมีความสนใจในการเข้าร่วมประชุม CDEP ซึ่งจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยประเทศไทยสามารถแสดงข้อคิดเห็นต่อประเด็นต่าง ๆ ได้
                              1.2 เข้าถึงข้อมูลแหล่งความรู้ เช่น ข้อมูลสถิติ รายงานการศึกษา แนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลที่จัดทำโดย OECD เป็นต้น
                              1.3 เข้าร่วมคณะทำงานย่อยเฉพาะทาง การฝึกอบรม และการประชุมต่าง ๆ ซึ่งมีกิจกรรมตลอดปีตามความถนัดและความสนใจ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศและในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ จะเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรของประเทศไทยได้เรียนรู้การทำงานและการพัฒนานโยบายระดับนานาชาติ ตลอดจนร่วมให้ข้อมูลกรณีศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ในการเผยแพร่และเป็นฐานข้อมูลของ OECD โดยปัจจุบันมีคณะทำงานย่อยจำนวน 5 คณะ ได้แก่ (1) Working Party on Security and Privacy in the Digital Economy (SDE) (2) Working Party on Measurement and Analysis of the Digital Economy (MADE) (3) Working Party on Communication Infrastructures and Services Policy (CISP) (4) Working Party on Data Governance and Privacy (DGP) และ (5) Working Party on Artificial Intelligence (WPAI)
                              1.4 เป็นโอกาสในการสร้างเครือข่าย และเจรจาความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ศักยภาพด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย
                              1.5 สดช. ได้นำแนวทางวัดและประเมินผลด้านการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของ CDEP หรือแนวทาง Digital Tool kit มาเป็นต้นแบบในการจัดทำตัวชี้วัดมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Digital Contribution to GDP) รวมทั้งการสำรวจและจัดทำดัชนีตัวชี้วัดด้านการพัฒนาดิจิทัลของประเทศไทย (Thailand Digital Outlook) ซึ่งมีการดำเนินงานเป็นระยะเวลา 4 ปีอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้มีการกำหนดตัวชี้วัดใน (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ภายใต้หมุดหมายที่ 6 (ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่สำคัญของโลก) ให้ประเทศไทยมี Digital Contribution to GDP ในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ภายในปี 25701 โดยใช้ผลอ้างอิงจากการดำเนินงานของ สดช.
                    2. ดศ. (สดช.) เข้าร่วมเป็นสมาชิกในฐานะผู้ร่วมประชุม (Participant)2 ของ Committee on Digital Economy Policy ใน CDEP และได้เริ่มจ่ายค่าบำรุงสมาชิกรายปีในอัตราที่ OECD กำหนดเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 โดยในปีงบประมาณ 2561 - 2564 สดช. จ่ายค่าบำรุงสมาชิกจำนวน 11,000 ยูโร 11,200 ยูโร 11,400 ยูโร และ 11,400 ยูโร ตามลำดับ ซึ่งเป็นการปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อตามรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
                    3. กระทรวงการต่างประทศ ได้มีหนังสือที่ กต 0703/ว353 ลงวันที่ 5 เมษายน 2565 แจ้งค่าบำรุงสมาชิกสำหรับการเข้าร่วมกิจกรรมของ OECD ดังกล่าวประจำปี ค.ศ. 2022 (พ.ศ. 2565) จำนวน 12,500 ยูโร โดยอัตราค่าบำรุงสมาชิกดังกล่าวเป็นไปตามมติที่ประชุมของ External Relation Committee ภายใต้ OECD                เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2564 ที่กำหนดให้เก็บค่าบำรุงสมาชิกของปี 2565 ในอัตราเพิ่มร้อยละ 10 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 1,100 ยูโร (ไม่ได้ปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ)

1 ดศ. แจ้งเพิ่มเติมว่า ณ ปี 2562 Digital Contribution to GDP ของประเทศไทยมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 11.62 (ปี 2563 และปี 2564 กำลังอยู่ระหว่างการศึกษา)
2 สดช. แจ้งเพิ่มเติมว่า การเข้าร่วม CDEP มี 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) Invitee (สามารถเข้าร่วมได้ต่อเมื่อได้รับเชิญ) (2) Participant (สามารถเข้าร่วมและแสดงความคิดเห็นได้ทุกการประชุม/กิจกรรม แต่ไม่มีสิทธิในการออกเสียงโหวต) และ (3) Associate (มีสิทธิใน            การออกเสียงโหวต) ทั้งนี้ สำหรับการเป็นสมาชิกแบบ Participant จะมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าบำรุงสมาชิก

18.  เรื่อง  การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา สำหรับโครงการปรับปรุงถนนหมายเลข 67 ช่วงเสียมราฐ-อันลองเวง-จวม/สะงำ ราชอาณาจักรกัมพูชา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา (กัมพูชา) สำหรับโครงการปรับปรุงถนนหมายเลข 67 ช่วงเสียมราฐ - อันลองเวง - จวม/สะงำ (National Road 67: NR67) (โครงการ NR67) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติให้สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ดำเนินการตามขอบเขตของโครงการ NR67 แหล่งที่มาของเงินทุน รูปแบบ วิธีการ และเงื่อนไขทางการเงินสำหรับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กัมพูชา เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการดังกล่าว วงเงินกู้จำนวน 983 ล้านบาท
                    2. อนุมัติให้สำนักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรงบประมาณเป็นรายปี โดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ                พ.ศ. 2567 - 2569 รวมระยะเวลา 3 ปี วงเงินรวมทั้งสิ้น 491.50 ล้านบาท (ร้อยละ 50 ของวงเงินโครงการ)
                    3. เห็นชอบแนวทางการกู้เงินจากสถาบันการเงินภายในประเทศ จำนวน 491.50 ล้านบาท (ร้อยละ 50 ของวงเงินโครงการ) โดยในช่วง 5 ปีแรก สพพ. จะกำหนดประมาณการอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี โดยพิจารณาจากการประมูลเพื่อหาผู้เสนอเงื่อนไขที่ดีที่สุด หลังจากนั้นจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ โดยการออกพันธบัตรระยะเวลา 20 ปี (อัตราดอกเบี้ยประมาณการที่ร้อยละ 3.50 ต่อปี) ทั้งนี้ สพพ. จะเป็นผู้รับภาระส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญาเงินกู้สำหรับโครงการ NR67
                    4. กรณีที่กัมพูชาผิดนัดชำระหนี้ สพพ. จะพิจารณาใช้เงินสะสมของ สพพ. เพื่อชำระคืนหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศไปก่อน ทั้งนี้ หากไม่เพียงพอ สพพ. จะขอรับจัดสรรเงินงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อชดเชยภาระดังกล่าวไปพลางก่อน และเมื่อ สพพ.สามารถเรียกเก็บหนี้ได้จะนำเงินดังกล่าวส่งคืนคลังต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ตามที่ สพพ. ได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กัมพูชา สำหรับโครงการ R67 (ตามมติคณะรัฐมนตรี 1 และ 8 สิงหาคม 2549) โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการแล้วเสร็จและเปิดให้บริการแล้วเมื่อปี 2552 ต่อมาในปี 2557 กัมพูชา [กระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง (Ministry of Economy and Finance : MEF)] ได้ส่งหนังสือขอรับความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการ (Formal Request) เพื่อขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการ สำหรับการศึกษาความเป็นไปได้โครงการ NR671 ซึ่งคณะกรรมการสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (คพพ) ในการประชุม ครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2561 มีมติอนุมัติการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแบบให้เปล่าแก่กัมพูชาในการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) และออกแบบรายละเอียด (Detailed Design) โครงการ NR67 ในกรอบวงเงิน 20 ล้านบาท ระยะเวลา 6 เดือน และให้ สพพ. นำร่างขอบเขตการดำเนินงาน (Terms of Reference: TOR) ภายใต้การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการโครงการ NR 67 ดังกล่าวเสนอ คพพ. เพื่อทราบก่อนไปดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษาตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งต่อมา สพพ. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาผลกระทบและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการดังกล่าวพบว่า โครงการดังกล่าวไม่อยู่ในระดับที่มีนัยสำคัญที่จะต้องดำเนินการในขั้นศึกษาและประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นการปรับปรุงถนนบนเส้นทางเดิม (ไม่ได้เปลี่ยนแนวเส้นทาง) และการดำเนินโครงการดังกล่าวจะสร้างความเชื่อมโยงโครงข่ายถนนที่สำคัญในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการเชื่อมโยงการค้าการลงทุนในระดับภูมิภาคได้ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้มีการขยายตัวด้านการค้าชายแดน การขนส่งสินค้าทั้งไทยและกัมพูชามากขึ้น ซึ่ง คพพ. ในการประชุมครั้งที่ 9/2562 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2562 มีมติรับทราบผลการศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบรายละเอียดโครงการดังกล่าว
                    2. กัมพูชา (โดย MEF) ได้นำส่งเอกสาร Financial Assistance Application Form (FA) เพื่อขอรับความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับดำเนินโครงการ NR67 ช่วงเสียมราฐ ? อันลองเวง ? จวม/สะงำ กัมพูชา มายัง สพพ. เพื่อยกระดับและปรับปรุงสภาพถนนโครงการดังกล่าวให้สามารถรองรับปริมาณการจราจร กระตุ้นเศรษฐกิจ และพัฒนาการเชื่อมโยงเส้นทางในกัมพูชา โดยมีขอบเขตงานก่อสร้าง ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี
                    3. โครงการ NR67 จะช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคมนาคมขนส่งโดยเป็นเส้นทางสนับสนุนการเชื่อมโยงเส้นทางในประเทศระหว่างเมืองที่สำคัญ ได้แก่ พนมเปญ-เสียมราฐ - บันเตียเมียนเจย (บันทายมีชัย) ผ่านทางหลวงหมายเลข 6 (NR6) ของกัมพูชาและเส้นทางระหว่างประเทศที่สำคัญเชื่อมโยงกับไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) ของกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) และทางหลวงอาเซียนสาย AH1 ผ่านถนนทางหลวงหมายเลข 5 (NR5) (กรุงพนมเปญ - ปอยเปต) ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน อำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมบทบาทของไทยในการให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในอนุภูมิภาค รวมทั้งการพัฒนาเส้นทางดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากเป็นการดำเนินโครงการตามแนวเส้นทางเดิม อีกทั้ง การที่กัมพูชาที่มีพรมแดนติดกับไทยจึงมีโอกาสทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมถึงสามารถเชื่อมโยงกับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ                   ภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ของไทย
หมายเหตุ : 1NR67 คือถนนหมายเลข R67 สายทางเดิม (ปรับปรุงจาก Road เป็น National Road)

19.  เรื่อง ขออนุมัติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 และกิจกรรม                     ที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
                      1. เห็นชอบการมอบหมายให้ประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกลงนามในหนังสือแจ้งความประสงค์ในการเสนอเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ถึงศูนย์มรดกโลก โดยในส่วนของงบประมาณให้ ทส. ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                      2. ในส่วนของการจัดทำร่างความตกลงประเทศเจ้าบ้าน (HCA) และผู้ลงนามในเอกสารเพื่อจัดทำความตกลงดังกล่าว ให้ ทส. ดำเนินการตามความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ต่อไป
                      3. ในโอกาสต่อไปหาก ทส. จะต้องมีการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมต่าง ๆ ในลักษณะเดียวกันนี้ เห็นควรให้ ทส. พิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ครอบคลุมทุกประเด็นที่จะต้องดำเนินการให้ครบถ้วนในคราวเดียวกัน เช่น การสมัครเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม กรอบวงเงิน ร่างเอกสารที่เกี่ยวข้อง การมอบหมายผู้รับผิดชอบ เป็นต้น เพื่อให้การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีข้อมูลประกอบการพิจารณาที่ถูกต้องครบถ้วนต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ เป็นการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนมิถุนายนหรือเดือนกรกฎาคมของทุกปี เพื่อดำเนินการหารือ รับทราบ และพิจารณาแนวทางในการดำเนินการในด้านต่าง ๆ ของรัฐภาคีสมาชิก ศูนย์มรดกโลก องค์กรที่ปรึกษาและคณะทำงานชุดต่าง ๆ ที่ได้มีการจัดตั้งขึ้น รวมถึงการพิจารณานำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและแหล่งมรดกทางธรรมชาติขึ้นเป็นมรดกโลก โดยในการคัดเลือกประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญจะคัดเลือก            จากประเทศที่ดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งราชอาณาจักรไทยเป็นกรรมการมรดกโลกวาระ            ปี 2562 - 2566 (ตามมติคณะรัฐมนตรี 29 มกราคม 2562) กล่าวคือ ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ในปี 2566 จะเป็นปีที่ราชอาณาจักรไทยอยู่ในวาระการเป็นกรรมการมรดกโลกเป็นปีสุดท้าย ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 4มกราคม 2565 เห็นชอบในหลักการให้ราชอาณาจักรไทยเสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ครั้งที่ 46 โดยการพิจารณาเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ครั้งที่ 46 จะมีการพิจารณาในการประชุมฯ ครั้งที่ 45              (ยังไม่มีการกำหนดช่วงเวลาการจัดประชุมฯ ครั้งที่ 45)
                    ทั้งนี้หากราชอาณาจักไทยได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ครั้งที่ 46 จะต้องมี            การจัดทำ (1) ความตกลงประเทศเจ้าบ้าน (Host Country Agreement: HCA) ซึ่งประกอบด้วยเงื่อนไข ข้อตกลงใน           การดำเนินงานร่วมกัน และรายละเอียดความรับผิดชอบในส่วนต่าง ๆ ระหว่างประเทศเจ้าภาพและศูนย์มรดกโลก และจะต้องมีการลงนามร่วมกันทั้งสองฝ่าย (2) ข้อมูลการเตรียมการด้านโลจิสติกส์และอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการประชุม เช่น กำหนดการเดินทางของผู้ประสานงานและเจ้าหน้าที่ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม             แห่งสหประชาชาติ (The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) รูปแบบการจัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการประชุม เป็นต้น และ (3) รายละเอียดค่าใช้จ่ายภาคบังคับที่ต้องชำระให้กับ UNESCO และศูนย์มรดกโลก

20.  เรื่อง การสมัครสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติของไทยวาระปี ค.ศ. 2025 -2027
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการลงสมัครสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติของไทย (United Nations Human Rights Council: HRC) วาระปี ค.ศ. 2025 - 2027 (พ.ศ. 2568 - 2570)  ซึ่งมีกำหนดการเลือกตั้งในช่วงเดือนตุลาคม 2567 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และร่างคำมั่นโดยสมัครใจของไทยประกอบการสมัครสมาชิก HRC ทั้งนี้ คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐฯ มีกำหนดจัดงานเปิดตัวการสมัครเลือกตั้งสมาชิก HRC ของไทยระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 77 (เดือนกันยายน 2565) สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. การลงสมัครสมาชิก HRC ของไทยวาระปี ค.ศ. 2025 - 2027
                              1.1 HRC จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2549 เพื่อเป็นกลไกด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างรัฐบาลที่มีหน้าที่สอดส่องดูแลการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นทั่วโลก พยายามหยุดยั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น               สร้างบรรทัดฐานของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและให้ข้อเสนอแนะ รวมทั้งส่งเสริมขีดความสามารถในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศต่าง ๆ โดย HRC มีสมาชิก 47 ประเทศ จาก 5 ภูมิภาค ซึ่งไทยอยู่ในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกซึ่งมีโควตา 13 ประเทศ และการเลือกตั้งสมาชิก HRC จะทำด้วยการลงคะแนนลับโดยสมาชิกสหประชาชาติ ทั้งนี้ ไทยเคยดำรงตำแหน่งสมาชิก HRC ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2553 ? 2556 และมีบทบาท เช่น เป็นประเทศสายกลางและเป็นสะพานเชื่อมในการแสวงหาท่าทีร่วมของประเทศ  ต่าง ๆ ต่อสถานการณ์วิกฤตด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญของโลก ผลักดันแนวทางที่สร้างสรรค์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนผ่านความร่วมมือทางเทคนิคและการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านสิทธิมนุษยชน และแสดงบทบาทเชิงรุกในการส่งเสริมสิทธิด้านต่าง ๆ (เช่น สิทธิด้านการศึกษา                 สิทธิด้านสาธารณสุข และสิทธิของกลุ่มเปราะบาง) ทั้งนี้ ไทยได้ลงสมัครสมาชิก HRC วาระปี 2558 - 2560 ด้วย แต่มิได้รับเลือกตั้งไทยจึงว่างเว้นจากการเป็นสมาชิก HRC มาแล้วเกือบ 10 ปี
                              1.2 HRC มีกลไกส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนหลัก 4 กลไก ได้แก่ (1) การประชุมสมัยปกติและการประชุมสมัยพิเศษ โดย HRC จะจัดการประชุมสมัยปกติปีละ 3 ครั้ง (ช่วงเดือนมีนาคม มิถุนายน และกันยายน) และการประชุมสมัยพิเศษหากมีสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรง ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน (2) กลไกพิเศษ เป็นกลไกติดตามและรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งในลักษณะสถานการณ์รายประเทศและรายประเด็นสิทธิมนุษยชน โดยบุคคลหรือกลุ่มคนที่ได้รับการแต่งตั้ง (3) กระบวนการรับและพิจารณาข้อร้องเรียน เป็นกลไกของ HRC ในการรับและพิจารณาข้อร้องเรียนแบบลับเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรง ต่อเนื่อง และเป็นระบบเท่านั้น และ (4) กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review: UPR) เป็นกลไกที่ให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนระหว่างกัน โดยพิจารณาจากรายงานประเทศที่จัดทำขึ้นโดยประเทศที่เข้าสู่กระบวนการฯ สหประชาชาติและภาคประชาสังคม โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564              ไทยได้เสนอรายงานประเทศฯ ตามกลไก UPR รอบที่ 3 พร้อมทั้งประกาศคำมั่นโดยสมัครใจทั้งหมด 8 ข้อ และเมื่อวันที่               14 กุมภาพันธ์ 2565 ไทยได้แจ้งตอบรับข้อเสนอแนะรวมทั้งหมด 218 ข้อ และรับทราบ (ไม่ตอบรับ) 60 ข้อ จากข้อเสนอแนะที่ไทยได้รับมาทั้งหมด 278 ข้อ โดยปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติการ             ตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับและคำมั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไก UPR รอบที่ 3
                              1.3 การลงสมัครสมาชิก HRC อีกครั้งของไทยจะเป็นการเน้นย้ำบทบาทและความมุ่งมั่นของไทยในเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งหลังจากการดำรงตำแหน่ง HRC ครั้งล่าสุด ไทยมีความก้าวหน้าในท่าทีและการปฏิบัติในหลายด้านซึ่งสอดรับกับพัฒนาการของกรอบความคิดด้านสิทธิมนุษยชนในเวทีระหว่างประเทศ เช่น ความคืบหน้าในการเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน การผลักดันกฎหมายภายในเพื่อรองรับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชน การประกาศให้สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติระหว่างปี 2561 - 2562 นอกจากนี้ ไทยยังเป็นหนึ่งในประเทศตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในความพยายามส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิทางสุขภาพ และคุ้มครองสิทธิทางสังคมให้กับกลุ่มเปราะบางท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตโลกที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หากไทยได้รับเลือกตั้งจะเป็นการแสดงถึงการได้รับความไว้วางใจจากประชาคมระหว่างประเทศและมีส่วนช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทยในเวทีที่เป็นเสาหลักของสหประชาชาติ โดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังเป็นจังหวะเวลาที่สำคัญเมื่อคำนึงถึงสถานการณ์และความท้าทายในเวทีโลกปัจจุบันที่ไทยควรเข้าไปร่วมมีบทบาทในการกำหนดวาระและทิศทางการหารือในเวทีระหว่างประเทศดังกล่าวเพื่อผลักดันประเด็นที่สอดคล้องกับหลักการและผลประโยชน์ของประเทศไทย ทั้งนี้ คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐฯ มีกำหนดจัดงานเปิดตัวการสมัครเลือกตั้ง
สมาชิก HRC ของไทยระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 77 (เดือนกันยายน 2565)
                    2. ร่างคำมั่นโดยสมัครใจของไทยประกอบการสมัครสมาชิก HRC ข้อมติสหประชาชาติที่ 60/251 กำหนดให้ประเทศที่ประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิก HRC จะต้องจัดทำเอกสารคำมั่นโดยสมัครใจที่จะดำเนินการให้เกิดความก้าวหน้าในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ หากได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิก HRC ซึ่ง กต. ได้จัดทำร่างคำมั่นโดยสมัครใจดังกล่าวแล้ว โดยมีสาระในเชิงนโยบายและหลักการภาพกว้างของสิทธิมนุษยชนในมิติต่าง ๆ อย่างครอบคลุม ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคำมั่นในกรอบอื่น ๆ ที่ไทยเคยให้ไว้แล้ว เน้นความกระชับ สร้างสรรค์ และสะท้อนความร่วมมือ เช่น (1) ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อพัฒนาและทบทวนกฎหมาย นโยบาย และระเบียบข้อบังคับให้สอดคล้องกับสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี และรับรองการดำเนินการในประเทศให้มีประสิทธิภาพ (2) ส่งเสริมความโปร่งใส ความเป็นอิสระ และประสิทธิภาพของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตามหลักการปารีส และ (3) ร่วมมือกับหน่วยงานของสหประชาชาติและหุ้นส่วนอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการและการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค โดยเฉพาะในด้านสิทธิเด็ก สิทธิสตรี และคนพิการ โดยกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ได้นำร่างเอกสารคำมั่นโดยสมัครใจฉบับนี้เสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการประสานการดำเนินงานตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 และการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลการจัดทำรายงานประเทศและติดตามการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะภายใต้กลไก UPR เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 แล้ว และได้ปรับร่างเอกสารคำมั่นโดยสมัครใจตามข้อคิดเห็นที่ได้รับจากที่ประชุมทั้งสองด้วยแล้ว โดยร่างคำมั่นฯ ไม่เข้าข่ายการจัดทำหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่อย่างใด




21.  เรื่อง  ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 7
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 และให้กระทรวง                  การต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า
                    เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 7 ณ เมืองพุกาม สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ/ผลการหารือฯ
1. ภาพรวมการประชุม          (1) ที่ประชุมยินดีกับความคืบหน้าของกรอบความร่วมมือฯ โดยเฉพาะการดำเนินโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนการขยายความร่วมมือสู่ระดับท้องถิ่น และการพัฒนาเครือข่ายพันธมิตรเมืองท่องเที่ยว
(2) ที่ประชุมหารือเกี่ยวกับวิกฤตการณ์และความท้าทายร่วมในปัจจุบันและทิศทางความร่วมมือในอนาคต โดยเห็นพ้องให้ประเทศสมาชิกเร่งส่งเสริมความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ การเชื่อมโยงทางยุทธศาสตร์กับจีน การรวมตัวทางเศรษฐกิจ การเกษตรเพื่อการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนาสีเขียว การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาดิจิทัล การแลกเปลี่ยนระดับประชาชน สาธารณสุข และความ               ท้าทายรูปแบบใหม่
2. ข้อริเริ่มใหม่ที่สาธาณณรัฐประชาชนจีนเสนอ          จีนได้เสนอข้อริเริ่มสำคัญที่เป็นรูปธรรม 6 ประการ ได้แก่
(1) การเกษตร จะดำเนินโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี 100 โครงการ และอบรมผู้ประกอบการเกษตร 1,000 คน รวมทั้งจัดตั้งแปลงเกษตรสาธิตในพื้นที่ 10,000 เฮกตาร์ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
(2) การบริหารจัดการน้ำ จะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลอุทกศาสตร์ จัดตั้งสถานีอุตุนิยมวิทยาอุทก ดำเนินโครงการระบบชลประทานพลังงานแสงอาทิตย์ การจัดส่งน้ำในชนบท การบริหารลุ่มน้ำขนาดเล็ก และการรักษาความปลอดภัยของเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ 20 แห่ง
(3) การพัฒนาดิจิทัล จะจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมคลาวด์คอมพิวดิ้ง (Cloud Computing Innovation Center) ส่งเสริมโทรทัศน์ดิจิทัล และเสริมสร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
(4) อวกาศ จะดำเนินโครงการร่วมมือกับประเทศลุ่มน้ำโขงในด้านดาวเทียมสำรวจ ดาวเทียมประเภทกู้คืนได้ การเพาะปลูกในอวกาศ และการติดตามสถานการณ์ในอวกาศ และเชิญชวนประเทศลุ่มน้ำโขงเข้าร่วมโครงการสำรวจดวงจันทร์และอวกาศห้วงลึกของจีน
(5) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะให้ทุนการศึกษาแก่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 2,000 ทุน ฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญ 2,000 คน ในสาขานิวเคลียร์เพื่อสันติ การเกษตร ระบบนิเวศและป่าไม้ และจะจัดตั้งสถาบันแม่โขง-ล้านข้าง ณ มหาวิทยาลัยเหอไห่ มณฑลเจียงซู                  เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการบริหารจัดการน้ำ
(6) สาธารณสุข จะบริจาควัคซีน และส่งเสริมให้อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เป็นฐานอุตสาหกรรมผลิตยาแผนดั้งเดิม
3. แนวคิด ?RISE? (together)          รองนายกรัฐมนตรี (นายดอนฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เสนอแนวคิด ?RISE? (together) เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือ ดังนี้
(1) การส่งเสริมความยืดหยุ่น (Resilience) โดยการส่งเสริมความเข้มแข็งให้ระบบสาธารณสุข การใช้ประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy) ในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางอาหาร พลังงานและน้ำ
(2) การรวมตัวทางเศรษฐกิจ (Integration and Interoperability) โดยการส่งเสริมความเชื่อมโยง และอำนวยความสะดวกการค้าข้ามแดน เช่น การส่งเสริมประสิทธิภาพ การตรวจโรค การเสริมสร้างขีดความสามารถของด่าน โดยเฉพาะด้านการตรวจโรคพืชและสัตว์ การจัดตั้งพื้นที่ควบคุมร่วมกัน การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษข้ามพรมแดนที่ครอบคลุมมากกว่า 2 ประเทศ และการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการจราจรบริเวณด่านและเวลาการทำการของด่าน
(3) การสอดประสาน (Synergy) โดยส่งเสริมการสอดประสานระหว่างนโยบายเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก และระหว่างกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างกับกรอบความร่วมมืออื่น ๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS)
 (4) ระบบนิเวศที่เอื้อต่อธุรกิจและนวัตกรรม (Enabling Ecosystem) ผ่านการพัฒนาระเบียงนวัตกรรม และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในกรอบความร่วมมือฯ ผ่านสภาธุรกิจแม่โขง-ล้านช้าง
4. การรับรองเอกสารผลลัพธ์           ที่ประชุมได้รับรองเอกสารผลลัพธ์ รวมจำนวน 5 ฉบับ ได้แก่
(1) แถลงข่าวร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-             ล้านช้าง ครั้งที่ 7 โคยมีสาระสำคัญในภาพรวมไม่แตกต่างจากร่างแถลงข่าวร่วม ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบไว้แล้ว (ตามมติคณะรัฐมนตรี 28 มิถุนายน 2565)  แต่มีการปรับแก้ถ้อยคำในย่อหน้าที่ 3 เพื่อให้ปรากฏเรื่องข้อริเริ่มความมั่นคงระดับโลกของจีน (Global Security Initiative: GSI) ในลักษณะที่เน้นการสนับสนุนเกื้อกูลกันระหว่างข้อริเริ่ม GSI และกรอบความร่วมมือฯ โดยไม่มีนัยว่าประเทศสมาชิกให้การสนับสนุน GSI โดยตรง เนื่องจากประเทศสมาชิกและไทยยังอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดของข้อริเริ่ม GSI นอกจากนี้ประเทศสมาชิกยังได้ขอให้ไม่กล่าวถึงเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือด้านการทหารและการป้องกันประเทศในย่อหน้าที่ 10 เนื่องจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามแจ้งว่า ยังไม่มีความพร้อมที่จะส่งสริมความร่วมมือด้านการทหารและ                 การป้องกันประเทศภายใต้กรอบความร่วมมือฯ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงทั้งสองประเด็นข้างต้นสอดคล้องกับท่าทีของหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้องและผลประโยชน์ของไทย
(2) แถลงการณ์ร่วม 4 ฉบับ ได้แก่
(2.1) แถลงการณ์ร่วมเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
(2.2) แถลงการณ์ร่วมเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
(2.3) แถลงการณ์ร่วมเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านศุลกากรเพื่อการส่งเสริมการค้าและการอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-              ล้านช้าง
(2.4) แถลงการณ์ร่วมเพื่อการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างอารยธรรม ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
ทั้งนี้ แถลงการณ์ร่วม 4 ฉบับ มีสาระสำคัญไม่แตกต่างจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบไว้แล้ว (ตามมติคณะรัฐมนตรี 28 มิถุนายน 2565)

                    ทั้งนี้ การประชุมฯ ในครั้งนี้เป็นการเตรียมการสำหรับการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือฯ ครั้งที่ 4 ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงปลายปี 2565 ณ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกได้เห็นพ้องในหลักการในการเสนอร่างแผนปฏิบัติการของกรอบความร่วมมือฯ ฉบับใหม่ (ค.ศ. 2023 - 2027) (พ.ศ. 2566 - 2570) ต่อที่ประชุมผู้นำฯ เพื่อพิจารณารับรอง ทั้งนี้ ภายหลังการประชุมผู้นำฯ ดังกล่าว ไทยจะรับหน้าที่การเป็นประธานกรอบความร่วมมือฯ ร่วมกับจีน ต่อจากเมียนมา โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี จนถึงปลายปี 2567

แต่งตั้ง

22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง กระทรวงมหาดไทย
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จำนวน 37 ราย ดังนี้
                    1. ให้นายพรพจน์ เพ็ญพาส พ้นจากตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมโยธาธิการและผังเมือง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                     2. ให้นายสมคิด จันทมฤก พ้นจากตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมการพัฒนาชุมชน และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                     3. ให้นายโชตินรินทร์ เกิดสม พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดชุมพร และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                     4. ให้นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสระบุรี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมการปกครอง
                    5. ให้นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมการพัฒนาชุมชน
                    6. ให้นายชยาวุธ จันทร พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมที่ดิน
                    7. ให้นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดอุบลราชธานี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมโยธาธิการและผังเมือง
                    8. ให้นายขจร ศรีชวโนทัย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสมุทรสงคราม และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
                    9. ให้ร้อยโท ทศพล ไชยโกมินทร์ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดกาญจนบุรี
                    10. ให้นายชาธิป รุจนเสรี พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนครพนม และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดกำแพงเพชร
                     11. ให้นายไกรสร กองฉลาด พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดชัยภูมิ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดขอนแก่น
                    12. ให้นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดหนองคาย และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดจันทบุรี
                    13. ให้นายขจรเกียรติ รักพาณิชมณี พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดอุทัยธานี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดฉะเชิงเทรา
                    14. ให้นายธวัชชัย ศรีทอง พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดชลบุรี
                    15. ให้นายโสภณ สุวรรณรัตน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดชัยภูมิ
                    16. ให้นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดชุมพร
                    17. ให้นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดเชียงใหม่
                    18. ให้นายสยาม ศิริมงคล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดอุดรธานี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนครราชสีมา
                    19. ให้นายอภินันท์ เผือกผ่อง พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนครศรีธรรมราช
                    20. ให้นายสุธี ทองแย้ม พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดจันทบุรี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนนทบุรี
                    21. ให้นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดลพบุรี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                    22. ให้ว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทร พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดพะเยา
                    23. ให้นายเอกรัฐ หลีเส็น พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสตูล และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดพังงา
                    24. ให้นายภูสิต สมจิตต์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดร้อยเอ็ด และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดพิษณุโลก
                    25. ให้นายทรงพล ใจกริ่ม พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดกาฬสินธุ์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดร้อยเอ็ด
                    26. ให้นายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดระยอง
                    27. ให้นายอำพล อังคภากรณ์กุล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนครนายก และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดลพบุรี
                    28. ให้นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดลำปาง
                    29. ให้นายสันติธร ยิ้มละมัย พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดลำพูน
                    30. ให้นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดพังงา และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสตูล
                    31. ให้นายผล ดำธรรม พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดอุตรดิตถ์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสระบุรี
                    32. ให้นายสุพจน์ ยศสิงห์คำ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสิงห์บุรี
                    33. ให้นายพิจิตร บุญทัน พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสุรินทร์
                    34. ให้นายรังสรรค์ ตันเจริญ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดชัยนาท และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดอ่างทอง
                    35. ให้นายวันชัย คงเกษม พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสมุทรปราการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดอุดรธานี
                    36. ให้นายสมหวัง พ่วงบางโพ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดแพร่ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดอุตรดิตถ์
                    37. ให้นายชลธี ยังตรง พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดยโสธร และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดอุบลราชธานี
                    ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นายวีรศักดิ์ ทิพย์มณเฑียร                ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบงานการข่าว (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ) กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักงาน ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักงาน ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง และเพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการตามลำดับ ดังนี้
                    1. ร้อยตำรวจโทหญิง สุทธิมา พิพัฒน์พิบูลย์ ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ก.พ. ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
                     2. นายสุวัฒน์ เอื้อเฟื้อ ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) ดำรงตำแหน่ง                 รองเลขาธิการ ก.พ. ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เป็นต้นไป

25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นางสาววรวรรณ พลิคามิน ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักงาน ก.พ.ร.                  สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอแต่งตั้ง นางสาววิริยา เนตรน้อย ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ (นักพัฒนาระบบราชการทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ก.พ.ร. ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ก.พ.ร. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอแต่งตั้ง นายวิรัตน์                 ธัชศฤงคารสกุล ที่ปรึกษาด้านการลงทุน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนตำแหน่งที่จะว่าง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

28. เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอการแต่งตั้ง นายวิบูลย์ วงสกุล ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) โดยให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่ในปีแรกอัตราเดือนละ 250,000 บาท โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป แต่ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ส่วนสิทธิประโยชน์อื่นให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบ

29. เรื่อง การต่อสัญญาจ้างผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอการต่อสัญญาจ้าง นายชีระ วงศบูรณะ ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) โดยให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่ในปีแรกอัตราเดือนละ 274,000 บาท ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ส่วนสิทธิประโยชน์อื่นที่ผู้รับจ้างจะได้รับให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังเห็นชอบแล้ว

30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นางสาวทิพานัน ศิริชนะ ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป


31. เรื่อง ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพลังงาน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอให้ นายกุลิศ สมบัติศิริ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน ต่อไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566

32. เรื่อง การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ                  (Thai National Committee for International Council of Museum)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่               1 ตุลาคม 2562 [เรื่อง คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (วธ.)] โดยขอปรับปรุงเฉพาะในส่วนขององค์ประกอบของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ (Thai National Committee for International Council of Museum) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป
                    องค์ประกอบคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ (Thai National Committee for International Council of Museum) ที่เสนอปรับปรุงในครั้งนี้ ดังนี้
                      ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงกลาโหม หรือผู้แทน อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี หรือผู้แทน อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือผู้แทน ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ รองอธิบดีกรมศิลปากร (ที่อธิบดีกรมศิลปากรมอบหมาย) ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ :                        สปาฟา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา หรือผู้แทน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม หรือผู้แทน ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร และนายกสมาคมพิพิธภัณฑ์ไทย โดยมีผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ                               กรมศิลปากร เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และผู้อำนวยการกลุ่มวิจัย สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                    อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ (คงเดิม)
                    1. พิจารณาดำเนินงานด้านพิพิธภัณฑ์ของประเทศไทยให้สอดคล้องกับแนวทางของสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างประเทศ (ICOM)
                     2. สนับสนุนและส่งเสริมวัตถุประสงค์การดำเนินงานของสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติแก่นักวิชาชีพด้านพิพิธภัณฑ์และหน่วยงาน องค์กรด้านพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย และเผยแพร่กิจกรรมต่าง ๆ ของ                  สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ ให้เป็นที่แพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ
                     3. เผยแพร่และเชิญชวนนักวิชาชีพด้านพิพิธภัณฑ์ หน่วยงาน และองค์กรด้านพิพิธภัณฑสถานภายในประเทศสมัครเป็นสมาชิกของสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ
                     4. เป็นศูนย์กลางการติดต่อ ประสานงาน เผยแพร่ข่าวสาร ระหว่างสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ และสมาชิกภายในประเทศด้วยวิธีการและสื่อต่าง ๆ
                     5. เป็นผู้แทนของสมาชิกภายในประเทศ
                     6. ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการระหว่างชาติ (International Committee) ของ                         สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติในการดำเนินงานด้านพิพิธภัณฑ์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติตามความเห็นชอบของสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ
                     7.  พิจารณาดำเนินการจัดประชุม สัมมนา รวมถึงการฝึกอบรมด้านพิพิธภัณฑ์
                     8. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อปฏิบัติงานอย่างหนึ่งอย่างใดในอำนาจหน้าที่ตามความจำเป็น
                     9. ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมาย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ