สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 สิงหาคม 2565

ข่าวการเมือง Tuesday August 30, 2022 17:21 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (30 สิงหาคม 2565)  เวลา 09.00 น.  พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติ                                                  ประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ (กลุ่มที่ 2 บทบัญญัติเกี่ยวกับ                                                  การเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของบริษัท)
                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
                                        ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ  และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัย                                                  เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    3.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
                                        ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ                                                  รำไพพรรณี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
                                        ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ                                                  สกลนคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทน

อย่างอื่นของกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ พ.ศ. ....

                    6.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความสะอาดใช้ความ                                        ดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำเฉพาะมอเตอร์ที่ทำงานด้วยไฟฟ้าที่ต่อกับ                                        แหล่งจ่ายไฟฟ้าประธาน แรงดัน 220 โวลต์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                    7.           เรื่อง           ร่างประกาศกำหนดการยกเลิกการใช้บังคับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบ                                                  แห่งชาติ ที่ 39/2559 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พุทธศักราช 2559

แก่สถาบันอุดมศึกษา 3 แห่ง

เศรษฐกิจ สังคม

                    8.           เรื่อง           ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน สำหรับโครงการถนนเลี่ยงเมืองสตูลฝั่ง                                        ตะวันออก ตำบลคลองขุด ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
                    9.           เรื่อง           ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อทำเหมืองแร่ของ

นายประสาน ยุวานนท์ ที่จังหวัดนครราชสีมา

                    10.           เรื่อง           แนวทางการให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับผิดชอบในการ

ดูแลและบริหารจัดการท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานบุรีรัมย์

และท่าอากาศยานกระบี่ แทนกรมท่าอากาศยาน

                    11.           เรื่อง           ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง

รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับค่าใช้จ่ายบุคลากร

ภาครัฐ ของสำนักงาน ป.ป.ช. เพิ่มเติม

                    12.           เรื่อง           รายงานการดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต

ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

                    13.           เรื่อง           สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนกรกฎาคม 2565
                    14.           เรื่อง          แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570)

ฉบับปรับปรุง

                    15.           เรื่อง          การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อก่อสร้าง/ปรับปรุง

                                        ซ่อมแซมถนนและพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กร                                                  ปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้รับความเสียหายจากสาธารณภัยหรือเพื่อแก้ไขปัญหา

ความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่

                    16.           เรื่อง           ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง
                                         รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก                                        การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้โครงการค่าตอบแทน เยียวยา                                         ชดเชย และเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ                                                  หมู่บ้าน (อสม.) ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ในชุมชน

ต่างประเทศ

                    17.           เรื่อง           การจัดทำบันทึกความเข้าใจในการจัดตั้งสถาบันวิทยาการศุลกากรเป็นศูนย์                                                  ฝึกอบรมระดับภูมิภาคขององค์การศุลกากรโลก (WCO Regional Training

Center: RTC) ระหว่างกรมศุลกากรและองค์การศุลกากรโลก

                    18.           เรื่อง          การดำเนินการตามข้อมติคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการ                                        ต่อต้านการก่อการร้ายและภัยต่ออัฟกานิสถานและการให้ความช่วยเหลือทาง

มนุษยธรรมแก่อัฟกานิสถาน ที่ 2611 (ค.ศ. 2021) และที่ 2615 (ค.ศ. 2021)

                    19.           เรื่อง           ขออนุมัติการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยประมวลข้อบังคับว่าด้วยการรักษา                                                  ความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ ระหว่างกระทรวงคมนาคม

แห่งราชอาณาจักรไทยกับกรมการขนส่งแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่

                                        และไอร์แลนด์เหนือ (Memorandum of Understanding on the                                                             International Ship and Port Facility Security Code Between the Ministry                                         of Transport of the Kingdom of Thailand and the Department for                                                   Transport of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland)
                    20.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าระหว่าง                                                  กระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศ

แห่งมองโกเลีย

                    21.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC)

ไทย ? มองโกเลีย ครั้งที่ 1 รวมทั้งดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือ

ทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง

                    22.           เรื่อง           การเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน และอาเซียนกับคู่เจรจา
                    23.           เรื่อง           การประชุม International Tiger Forum ครั้งที่ 2 ณ สหพันธรัฐรัสเซีย
                    24.           เรื่อง           การต่ออายุความตกลงประเทศเจ้าภาพระหว่างไทยกับสหประชาชาติในรูปแบบ
                                        ของหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายระหว่างประเทศ                                                  ระดับภูมิภาคของสหประชาชาติ (United Nations Regional Course in                                                   International Law) ประจำปี 2565
                    25.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อเอกสารผลลัพธ์เพิ่มเติมของการประชุมรัฐมนตรี                                                  ต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง





แต่งตั้ง

                    26.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงพาณิชย์)
                    28.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงศึกษาธิการ)
                    29.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงสาธารณสุข)
                    30.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    31.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบัน                                        ส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย
                    32.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณี                                        และเครื่องประดับแห่งชาติ
                    33.           เรื่อง           แต่งตั้งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการอื่นใน                                                            คณะกรรมการองค์การตลาด
                    34.           เรื่อง           ขออนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                         (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
                    35.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง

ในกระทรวงวัฒนธรรม

                    36.           เรื่อง           การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และร่าง                                                  คำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี

และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน

และปฏิบัติราชการแทนกัน ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่

หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

















กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ (กลุ่มที่ 2 บทบัญญัติเกี่ยวกับการเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของบริษัท)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับดังกล่าวที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา                  ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติ รวม 2 ฉบับดังกล่าวตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และ พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ตามลำดับ โดยได้แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายทั้งสองฉบับในเรื่องเดียวกัน เช่น            ในส่วนที่เกี่ยวกับบทนิยาม การกำกับดูแลผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท การดำรงเงินกองทุนและการบริหารสินทรัพย์ของบริษัท การกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย การคำนวณผลกำไรเพื่อจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ข้อห้ามมิให้บริษัทดำเนินการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามและอำนาจหน้าที่ของกรรมการ ผู้มีอำนาจในการจัดการและนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ระบบการกำกับดูแลกิจการ การจัดทำบัญชี สมุดทะเบียน การจัดทำและยื่นงบการเงิน ข้อมูล รายงาน เอกสาร หรือคำชี้แจง กำหนดหน้าที่ของผู้สอบบัญชี การจัดทำรายงานการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย การตรวจสอบ วิเคราะห์ ประเมินผล เกี่ยวกับฐานความพร้อมของบริษัท การตรวจสอบการดำเนินธุรกิจของบริษัท และบทกำหนดโทษ รายละเอียด ดังนี้
ประเด็นที่แก้ไข          สาระสำคัญ
1. การกำหนดให้บริษัทสามารถรับประกันภัยอื่นนอกเหนือจากการรับประกันชีวิต (สำหรับบริษัทประกันชีวิต) และนอกเหนือจากการรับประกันวินาศภัย (สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย) (กฎหมายปัจจุบันไม่มี)          ? เพิ่มเติมให้บริษัทสามารถจัดให้มีการประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายต่อตัวบุคคลอันเนื่องมาจากการประกันชีวิต
    - บริษัทประกันชีวิตสามารถขายกรมธรรม์ประกันวินาศภัยซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความเสียหายต่อตัวบุคคลเป็นสัญญาเพิ่มเติมได้ (เช่น ประกันชีวิตที่มีประกันสุขภาพเป็นสัญญาเพิ่มเติม)
    - บริษัทประกันวินาศภัยสามารถขายกรมธรรม์ประกันชีวิตซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความเสียหายต่อตัวบุคคล (เช่น ประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองกรณีเสียชีวิตด้วย) เพื่อให้สอดคล้องกับการประกอบธุรกิจประกันชีวิตในปัจจุบันที่บริษัทมีการรับประกันภัยลักษณะอื่นซึ่งมิใช่การประกันชีวิตด้วยแต่มีความเกี่ยวเนื่องกับการประกันชีวิต
2. การกำกับควบคุมธุรกิจประกันภัย (กฎหมายปัจจุบันไม่มี)          ? เพิ่มเติมการกำหนดขอบเขตของนิยามคำว่า?กรรมการของบริษัท? ให้รวมถึงผู้จัดการสาขาและคณะกรรมการบริหารสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศด้วย เพื่อให้การควบคุมบริษัทประกันชีวิตของไทยและบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตในราชอาณาจักรเป็นไปในมาตรการเดียวกัน
3. หลักเกณฑ์การรายงานการถือหุ้น (กฎหมายปัจจุบันไม่มี)          ? เพิ่มเติมเกี่ยวกับการนับจำนวนหุ้นที่บริษัทได้ทำการจำหน่ายหุ้น โดยให้รวมถึงหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้เกิดความชัดเจน รวมถึงการกำหนดให้เป็นหน้าที่ของบริษัทในการระบุหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดในกรณีที่มีการชี้ชวนให้เข้าชื่อซื้อหุ้น รวมทั้งปรับปรุงเกี่ยวกับการดำเนินการของบริษัทกรณีที่พบการมีหุ้นเกินกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนด
4. การดำรงเงินกองทุน (กฎหมายปัจจุบันไม่มี)          ? เพิ่มเติมมาตรการดำรงเงินกองทุน โดยปรับปรุง
มาตรการในการดำรงเงินกองทุนเพื่อเป็นหลัก ประกันในการประกอบธุรกิจของบริษัทและความน่าเชื่อถือของผู้เอาประกัน และธุรกิจประกันภัย โดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการดำรงเงินกองทุนให้เกิดความชัดเจนที่จะทำให้เกิดความคล่องตัวและสอดคล้องกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น บริษัทต้องดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำตามที่คณะ กรรมการกำหนด คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดให้บริษัทดำรงเงินกองทุนเพิ่มได้ โดยอาจกำหนดเป็นการทั่วไปหรือการเฉพาะก็ได้ ในกรณีที่พบว่าบริษัทมีความเสี่ยงสูงหรือคาดว่าจะมีความเสี่ยงสูงในอนาคต
? ปรับปรุงการกำหนดอัตราส่วนในการดำรงเงิน กองทุนให้สอดคล้องกับการปฏิบัติในปัจจุบันที่จะคำนวณมาจากสินทรัพย์ หนี้สิน ภาระผูกพัน ความเสี่ยง และตัวแปรอื่น ๆ โดยได้กำหนดให้อำนาจคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ประกาศกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุนด้วยเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา
5. อัตราเบี้ยประกันภัย (เดิม ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน)          ? แก้ไขเพิ่มเติมโดยให้อำนาจบริษัทในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยแบบกลุ่มได้เอง โดยมิต้องขอความเห็นชอบจากนายทะเบียน แต่ต้องดำเนินการ
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนด โดยความเห็นชอบของ คปภ. เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการประกอบธุรกิจประกันภัยที่บริษัทสามารถดำเนินการได้เองและรองรับการเปิดเสรีอัตราเบี้ยประกันภัย
6. การออกกรมธรรม์ประกันภัยเป็นเงินตราต่างประเทศ
(เดิม ห้ามมิให้บริษัทประกันชีวิตออกกรมธรรม์ประกันภัย โดยระบุจำนวนเงินอันพึงใช้ให้เป็นเงินตราต่างประเทศแก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์) หมายเหตุ พ.ร.บ. ประกันวินาศภัยฯ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้           ? แก้ไขเพิ่มเติมให้บริษัทสามารถระบุการใช้เงินตราต่างประเทศได้ หากได้มีการตกลงไว้ในสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อให้รองรับสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยที่ชาวต่างประเทศมุ่งประสงค์ที่จะให้มีการใช้เงินตราต่างประเทศ และเพื่อให้สอดคล้องกับกรณีที่ กค. ได้หารือกับ European Association for Business and Commerce (EABC) ที่มุ่งประสงค์ให้การประกันภัยของไทยสามารถให้บริการกับชาวต่างประเทศที่พำนักอยู่ในประเทศไทยได้
7. หลักเกณฑ์การจ่ายเงินปันผล
(เดิม การคำนวณผลกำไรของบริษัทว่ามีหรือไม่เท่าใดเพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นบริษัทต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน)          ? แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้อำนาจ คปภ. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บริษัทจะดำเนินการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น กรณีมีเหตุจำเป็นที่ต้องชะลอหรืองดจ่ายเงินปันผลเพื่อรักษาสถานะและเสถียรภาพของบริษัท
8. ปรับปรุงข้อห้ามในการดำเนินการของบริษัท
(เดิม ฝากเงินไว้ที่อื่นนอกจากที่ธนาคาร บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์)

(เดิม ให้ประโยชน์พิเศษแก่ผู้เอาประกันภัย/ผู้รับผลประโยชน์)


(เดิม ไม่มีบทบัญญัติการกู้ให้กู้ยืม ค้ำประกัน)
? กำหนดให้บริษัทสามารถฝากเงินไว้ที่อื่นนอกเหนือจากสถาบันการเงินได้ในกรณีที่บริษัทลงทุนในต่างประเทศ
? ปรับปรุงการห้ามให้ประโยชน์ที่นอกเหนือจากที่
กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ โดยสามารถทำได้ตามหลักเกณฑ์ที่นายทะเบียนกำหนด
? กำหนดธุรกรรมที่ต้องห้ามกระทำให้มีความชัดเจน
เพื่อเป็นการกำกับควบคุมธุรกิจประกันภัยให้มีประสิทธิภาพและสามารถตรวจสอบการทำธุรกรรมที่มีการโอนต่อหลาย ๆ ทอดได้ เช่น ให้กู้ยืม ค้ำประกันแก่กรรมการและบุคคลในบริษัทเว้นแต่เป็นการให้กู้เพื่อสวัสดิการ
9. คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการหรือผู้มีอำนาจในการจัดการ
(คงหลักการเดิม และปรับปรุงให้สอดคล้องกับปัจจุบัน)          ? เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติของกรรมการ และผู้มีอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับคุณวุฒิทางการศึกษาและความรู้หรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัย และส่วนที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น แก้ไขการกำหนดระยะเวลาในกรณีที่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทจากที่กำหนดระยะเวลาไว้ ?สามเดือน? เป็น ?หนึ่งปี? เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาในทางปฏิบัติที่จะดำเนินการตามกระบวนการควบคุมหรือการสั่งหยุดรับประกันภัยไม่เกิน 1 ปี
10. การแต่งตั้งกรรมการหรือผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัท
(กฎหมายปัจจุบันไม่มี)
(เดิม ให้อำนาจคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประกันภัยต่อ)          ? เพิ่มเติมการแต่งตั้งกรรมการบริษัทต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน

? ให้อำนาจคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับความเสี่ยงภัยไว้เองและการประกันภัยต่อและการดำเนินการของบริษัทให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
11. การควบคุมหรือกำกับธุรกิจประกันภัย
(คงหลักการเดิม แต่ปรับปรุงลำดับขั้นตอนการสั่งให้ยื่นและประกาศรายงานต่าง ๆ ให้ชัดเจน และเปลี่ยนอำนาจการกำหนดแบบรายงานงบการเงินจากคณะกรรมการเป็นนายทะเบียน)          ? เพิ่มเติมอำนาจนายทะเบียนในการสั่งให้บริษัทจัดทำ รวบรวม ส่ง ข้อมูล รายงาน หรือเอกสาร                  ต่าง ๆ จะต้องเป็นไปเฉพาะในกรณีที่จำเป็นและเพื่อประโยชน์ในการควบคุมหรือกำกับธุรกิจประกันภัยเท่านั้น มิใช่กรณีการใช้อำนาจในการควบคุมบริษัท
12. การแก้ไขฐานะเงินกองทุน
(เดิม เมื่อปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่าบริษัทมีฐานะหรือการดำเนินการอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความ
เสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้บริษัทนั้นถอดถอนกรรมการหรือบุคคลที่รับผิดชอบผู้เป็นต้นเหตุดังกล่าวออกจากตำแหน่งได้)
          ? การดำเนินการ กำหนดกรณีที่ถือว่าบริษัทมีฐานะหรือการดำเนินงานอันอาจก่อให้เกิดความเสียหาย ให้อำนาจนายทะเบียนสั่งแก้ไขฐานะการดำเนินงาน สั่งห้ามขยายธุรกิจ สั่งเพิ่มทุน/ลดทุน สั่งถอดถอนกรรมการ
? ฐานะการเงิน กรณีที่บริษัทมีเงินกองทุนต่ำกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ให้สามารถเข้าแทรกแซงได้ 3 ระดับ ได้แก่ <100% เสนอโครงการเพื่อแก้ไขฐานะเงินกองทุน <60% บริษัทประกันชีวิตสั่งควบคุมบริษัท/บริษัทประกันวินาศภัยสั่งหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว และ <35% สั่งปิดกิจการ
13. การสั่งปิดกิจการบริษัท
(เดิม ไม่มีบทบัญญัติการหาบริษัทอื่นมารับโอน)
          ? กำหนดให้โอนเฉพาะหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย ทั้งนี้ เพื่อให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติที่บริษัทที่ถูกควบคุมจะมีการโอนเฉพาะหนี้สินเท่านั้นไม่มีการโอนทรัพย์สิน และให้นายทะเบียนมีหน้าที่รายงานเกี่ยวกับการโอนหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัยให้รัฐมนตรีทราบด้วย (บริษัทอื่นที่รับโอน
จะเป็นเจ้าหนี้ มีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย)
14. นักคณิตศาสตร์ประกันภัย
(เดิม ไม่มีบทบัญญัตินักคณิตศาสตร์ประกันภัยแต่งตั้ง)
? กำหนดให้บริษัทต้องมีนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
แต่งตั้งตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจ เพื่อทำหน้าที่รับรองการวิเคราะห์ทางการเงินและแสดงความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัท
? ปรับปรุงคุณสมบัติของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยและบทบาทอำนาจหน้าที่ของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เช่น แก้ไขอายุใบอนุญาตจากเดิม ?...ให้มีอายุ 2 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต? เป็น ?...ให้มีอายุ 5 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต? เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง
15. บทกำหนดโทษและการเปรียบเทียบ          ? ปรับสัดส่วนโทษปรับให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เช่น กรณีนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารตามพระราชบัญญัตินี้ อันเป็นเท็จ จากเดิม ?...ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสน
บาท ...? เป็น ?...ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท ...?
? แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเรื่องการเปรียบเทียบโดยกำหนดให้สามารถเปรียบเทียบปรับได้ทุกความผิดเพื่อจะได้ไม่ต้องส่งดำเนินคดี อันเป็นการลดการนำคดีขึ้นสู่ศาล เว้นแต่ความผิดที่มีผลกระทบต่อผู้เอาประกันภัยและประชาชนในวงกว้างที่ไม่สามารถเปรียบเทียบได้

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ                         เข็มวิทยฐานะ  และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา  อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ  เข็มวิทยฐานะ  และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี             (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....  ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้  อว. เสนอว่า
                    1. โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ      เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี รวม 14 สาขาวิชา ได้แก่ (1) การบัญชี (2) การแพทย์แผนไทยประยุกต์ (3) ครุศาสตร์อุตสาหกรรม (4) คหกรรมศาสตร์ (5) เทคโนโลยี                         (6) บริหารธุรกิจ (7) วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ (8) วิทยาศาสตร์ (9) วิศวกรรมศาสตร์ (10) ศิลปศาสตร์                     (11) ศึกษาศาสตร์  (12) เศรษฐศาสตร์ (13) สถาปัตยกรรมศาสตร์ และ (14) อุตสาหกรรมศาสตร์
                    2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีได้ดำเนินการเปิดสอนสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์เพิ่มขึ้น และเพิ่มเติมระดับชั้นปริญญาโทในสาขาวิชาเทคโนโลยี รวมถึงแก้ไขชื่อ ?วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย? เป็น                   ?คณะการแพทย์บูรณาการ? ซึ่งในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2560  และครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2561 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2561) โดยสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรดังกล่าวด้วยแล้ว และในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ครั้งที่ 6/2564  เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบการเปลี่ยนชื่อ ?วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย? เป็น ?คณะการแพทย์บูรณาการ?
                    3. อว. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อ สำหรับสาขาวิชา               ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (ฉบับที่..)                พ.ศ. .... เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสาขาวิชาเทคโนโลยี และสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ และกำหนดสีประจำคณะพยาบาลศาสตร์ รวมถึงเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย               เป็น คณะการแพทย์บูรณาการ ดังนี้

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555          ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อ สำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
?มาตรา 4 ให้กำหนดชื่อปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ดังต่อไปนี้
ฯลฯ          ?มาตรา 4 ให้กำหนดชื่อปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ดังต่อไปนี้
ฯลฯ
     (5) สาขาวิชาเทคโนโลยี มีปริญญาหนึ่งชั้น คือ ตรี เรียกว่า ?เทคโนโลยีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ทล.บ.?               (5) สาขาวิชาเทคโนโลยี มีปริญญาสองชั้น คือ
          (ก) โท เรียกว่า ?เทคโนโลยีมหาบัณฑิต?                  ใช้อักษรย่อ ?ทล.ม.?
          (ข) ตรี เรียกว่า ?เทคโนโลยีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ทล.บ.?
ฯลฯ          ฯลฯ
          (7) สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
     (ก) เอก เรียกว่า ?พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?พย.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?
     (ข) โท เรียกว่า ?พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?พย.ม.?
     (ค) ตรี เรียกว่า ?พยาบาลศาสตรบัณฑิต?  ใช้อักษรย่อ ?พย.บ.?
?มาตรา 8 สีประจำคณะและวิทยาลัย มีดังต่อไปนี้
ฯลฯ
          ?มาตรา 8 สีประจำคณะและวิทยาลัย มีดังต่อไปนี้
ฯลฯ
(6)      คณะพยาบาลศาสตร์                        สีขาว
ฯลฯ
(11) วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย                    สีแดง?          (12)     คณะการแพทย์บูรณาการ                  สีแดง?
                    4. ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่                    30 มีนาคม 2565 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 3 แล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    เป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ เพิ่มระดับชั้นปริญญาโทในสาขาวิชาเทคโนโลยี รวมทั้งกำหนดสีประจำคณะพยาบาลศาสตร์ และเปลี่ยนชื่อ ?วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย? เป็น ?คณะการแพทย์บูรณาการ?

3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ                  เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี (ฉบับที่ ..)       พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ อว. เสนอว่า
                    1. โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 กำหนดปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำคณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี รวม 12 สาขาวิชา ได้แก่ (1) การบัญชี (2) การศึกษา (3) เทคโนโลยี (4) นิติศาสตร์ (5) นิเทศศาสตร์ (6) บริหารธุรกิจ (7) รัฐศาสตร์                        (8) รัฐประศาสนศาสตร์ (9) วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ (10) วิทยาศาสตร์ (11) วิศวกรรมศาสตร์ และ (12) ศิลปศาสตร์
                    2. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีได้มีการเปิดสอนสาขาวิชาเพิ่มขึ้นรวมทั้งการจัดตั้งคณะและการยุบเลิกคณะ ซึ่งเป็นส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ดังนี้
                              2.1 ได้เปิดสอนสาขาวิชาเพิ่มขึ้น 3 สาขาวิชา ได้แก่ (1) สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์                     (2) สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และ (3) สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม ซึ่งในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2562 ครั้งที่ 6/2562 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2562 และครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่                   พ.ศ. 2562) ของคณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) ของคณะวิทยาการจัดการ และหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) ของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ตามลำดับ โดยสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับทราบการให้ความเห็นชอบทั้ง 3 หลักสูตรดังกล่าวด้วยแล้ว
                              2.2 การจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ และการยุบเลิกคณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ เพื่อไปควบรวมกับคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ และครั้งที่ 7/2563 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2563 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบการยุบเลิกคณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์เพื่อไปควบรวมกับคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
                    3 อว. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา            ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์                    และสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม และกำหนดสีประจำคณะ ดังนี้
                              3.1 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
                                        3.1.1 สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
                                                  (ก) เอก เรียกว่า ?พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?พย.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?
                                                  (ข) โท เรียกว่า ?พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?พย.ม.?
                                                  (ค) ตรี เรียกว่า ?พยาบาลศาสตรบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?พย.บ.?
                                        3.1.2 สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
                                                  (ก) เอก เรียกว่า ?เศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ศ.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?
                                                  (ข) โท เรียกว่า ?เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ศ.ม.?
                                                  (ค) ตรี เรียกว่า ?เศรษฐศาสตรบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ศ.บ.?
                                        3.1.3 สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม มีปริญญาสามชั้น คือ
                                                  (ก) เอก เรียกว่า ?ครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ                 ?ค.อ.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?
                                                  (ข) โท เรียกว่า ?ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ค.อ.ม.?
                                                  (ค) ตรี เรียกว่า ?ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ค.อ.บ.?
                              3.2 กำหนดสีประจำสาขาวิชา
                                        3.2.1 คณะพยาบาลศาสตร์ (สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์) สีส้มแอปริคอต
                                        3.2.2 คณะวิทยาการจัดการ (สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์) สีส้ม
                                        3.2.3 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม) สีแดงเลือดหมู
                    4. ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 3 แล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม รวมทั้งเปิดคณะพยาบาลศาสตร์ และยุบคณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์เพื่อไปควบรวมกับคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (ฉบับที่ ..)                 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ อว. เสนอว่า
                    1. โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร รวม 12 สาขาวิชา ได้แก่ (1) การบัญชี               (2) การศึกษา (3) เทคโนโลยี (4) นิติศาสตร์ (5) นิเทศศาสตร์ (6) บริหารธุรกิจ (7) รัฐประศาสนศาสตร์ (8) รัฐศาสตร์ (9) วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ (10) วิทยาศาสตร์ (11) ศิลปศาสตร์ และ (12) เศรษฐศาสตร์
                    2. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครได้มีการเปิดสอนสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์เพิ่มขึ้น และเพิ่มเติมปริญญาโท ในสาขาวิชาเทคโนโลยี จึงจำเป็นต้องกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาดังกล่าว ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ และสำนักงานปลัดกระทรวง อว. รับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรดังกล่าวด้วยแล้ว อว. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ขึ้น ดังนี้
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558          ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
          มาตรา 3 ให้กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ดังต่อไปนี้
(13) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
          (ก) เอก เรียกว่า ?สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ส.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?
          (ข) โท เรียกว่า ?สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ส.ม.?
          (ค) ตรี เรียกว่า ?สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ส.บ.?
มาตรา 3 ให้กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ดังต่อไปนี้
(3) สาขาวิชาเทคโนโลยี มีปริญญาหนึ่งชั้น คือ ตรี เรียกว่า ?เทคโนโลยีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ทล.บ.?           มาตรา 3 ให้กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ดังต่อไปนี้
(3) สาขาวิชาเทคโนโลยี มีปริญญาสองชั้น คือ
          (ก) โท เรียกว่า ?เทคโนโลยีมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ทล.ม.?
          (ข) ตรี เรียกว่า ?เทคโนโลยีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ทล.บ.?
                    3. ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 2 แล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดปริญญาในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์เพิ่มขึ้น และกำหนดปริญญาชั้นปริญญาโทเพิ่มขึ้น ในสาขาวิชาเทคโนโลยี รวมทั้งอักษรย่อสำหรับวิชาดังกล่าว

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐรับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเสนอ เป็นการปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. 2555 เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 โดยกำหนดให้กรรมการ ป.ป.ท. ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่าหนึ่งปีมีสิทธิได้รับบำเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุมีอายุครบเจ็ดสิบห้าปี เพิ่มเติม จากเดิมที่กำหนดให้กรรมการ ป.ป.ท. ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่าหนึ่งปีมีสิทธิได้รับบำเหน็จตอบแทนเมื่อพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ (1) ครบกำหนดตามวาระ และ (2) ลาออก และให้กรรมการ ป.ป.ท. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุถึงแก่ความตายไม่ว่าผู้นั้นจะดำรงตำแหน่งครบหนึ่งปีหรือไม่ก็ตาม ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับบำเหน็จตอบแทน รวมทั้งกำหนดบทเฉพาะกาลให้กรรมการ ป.ป.ท. ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนที่ร่างพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับให้มีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามร่างพระราชกฤษฎีกานี้ และกำหนดให้กรรมการ ป.ป.ท. ซึ่งต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุมีอายุครบเจ็ดสิบห้าปีไปก่อนแล้ว มีสิทธิได้รับบำเหน็จตอบแทนตามร่างพระราชกฤษฎีกานี้ด้วย
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    ร่างพระราชกฤษฎีกาเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
                    1. ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. 2555
                    2. กำหนดให้กรรมการ ป.ป.ท. ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่าหนึ่งปีมีสิทธิได้รับบำเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ (1) ครบกำหนดออกตามวาระ (2) มีอายุครบเจ็ดสิบห้าปี และ (3) ลาออก
                    3. กำหนดให้กรรมการ ป.ป.ท. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุถึงแก่ความตายมีสิทธิได้รับบำเหน็จตอบแทนตามพระราชกฤษฎีกานี้ ไม่ว่าผู้นั้นจะดำรงตำแหน่งครบหนึ่งปีหรือไม่ก็ตาม
                    4. กำหนดให้กรรมการ ป.ป.ท. ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ ใช้บังคับมีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามพระราชกฤษฎีกานี้ตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง และให้กรรมการ ป.ป.ท. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุมีอายุครบเจ็ดสิบห้าปีไปก่อนที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ มีสิทธิได้รับบำเหน็จตอบแทนตามพระราชกฤษฎีกานี้ด้วย

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความสะอาดใช้ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำเฉพาะมอเตอร์ที่ทำงานด้วยไฟฟ้าที่ต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้าประธาน แรงดัน 220 โวลต์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความสะอาดใช้ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำเฉพาะมอเตอร์ที่ทำงานด้วยไฟฟ้าที่ต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้าประธานแรงดัน 220 โวลต์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เป็นการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความสะอาดใช้ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำเฉพาะมอเตอร์ที่ทำงานด้วยไฟฟ้าที่ต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้าประธาน แรงดัน 220 โวลต์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ) เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการและมาตรฐานระหว่างประเทศที่ใช้ในปัจจุบัน อันจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดแก่ประชาชน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความสะอาดใช้ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำเฉพาะมอเตอร์ที่ทำงานด้วยไฟฟ้าที่ต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้าประธาน แรงดัน 220 โวลต์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 60335 เล่ม 2 (79) - 2563 โดยไม่ใช้บังคับแก่ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความสะอาดใช้ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำที่ใช้มอเตอร์ที่ทำงานด้วยแบตเตอรี่ เครื่องยนต์เผาไหม้ภายในและมอเตอร์ไฮดรอลิกหรือมอเตอร์อัดลม
                    2. กำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป


7. เรื่อง ร่างประกาศกำหนดการยกเลิกการใช้บังคับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 39/2559               ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พุทธศักราช 2559 แก่สถาบันอุดมศึกษา 3 แห่ง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกำหนดการยกเลิกการใช้บังคับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 39/2559 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พุทธศักราช 2559 แก่สถาบันอุดมศึกษา 3 แห่ง ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญ
                    ร่างประกาศกำหนดการยกเลิกการใช้บังคับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 39/2559 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พุทธศักราช 2559 แก่สถาบันอุดมศึกษา 3 แห่ง ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ เป็นการยกเลิกการใช้บังคับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 39/2559 เรื่อง การจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พุทธศักราช 2559 แก่สถาบันอุดมศึกษา 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 3 แห่งได้มีการแก้ไขปัญหาอันเป็นเหตุในการบังคับใช้คำสั่งดังกล่าว โดยได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ และอธิการบดีแล้ว ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเห็นว่าสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 3 แห่งดังกล่าวได้แก้ไขปัญหาอันเป็นเหตุในการใช้บังคับตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าวแล้ว ซึ่งอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 9/2562 เรื่อง การยกเลิกประกาศ คสช. คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. บางฉบับที่หมดความจำเป็น ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2562 และมติคณะรัฐมนตรี (22 กุมภาพันธ์ 2565) ประกอบกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า การยกเลิกการใช้บังคับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามร่างประกาศฉบับนี้เป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีที่จะพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างประกาศดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร

เศรษฐกิจ สังคม

8. เรื่อง ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน สำหรับโครงการถนนเลี่ยงเมืองสตูลฝั่งตะวันออก ตำบลคลองขุด ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 (เรื่อง การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลนประเทศไทย) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 (เรื่อง รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ 3/2543 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) สำหรับโครงการถนนเลี่ยงเมืองสตูลฝั่งตะวันออก ตำบลคลองขุด ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล (โครงการฯ) ของกรมทางหลวงชนบท ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (รายงาน EIA) เพื่อใช้ประกอบการดำเนินโครงการต่อไปแล้ว
                    สาระสำคัญ
                    1. กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน สำหรับโครงการถนนเลี่ยงเมืองสตูลฝั่งตะวันออก ตำบลคลองขุด ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล (โครงการฯ) ซึ่งเป็นการก่อสร้างทางหลวงแนวเส้นทางใหม่ในรูปแบบถนนขนาด 4 ช่องจราจรผิวทางแอสฟัลต์ติกคอนกรีต (Asphaltic Concrete) รวมระยะทางประมาณ 3.89 กิโลเมตร (กม.) โดยจะก่อสร้างเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก (สะพานบก) ขนาดช่องจราจรเท่ากับโครงการฯ ในช่วงที่ตัดผ่านป่าชายเลน 2 ประเภท รวมระยะทางประมาณ 1.29 กม. ได้แก่ (1) ป่าชายเลนที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนตอนที่ 5 เนื้อที่ 8.44 ไร่ ระยะทาง 450 เมตร และ (2) พื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี (ตัดผ่าน 2 ช่วง) เนื้อที่ 5.06 ไร่ ระยะทาง 270 เมตร และเนื้อที่ 10.65 ไร่ ระยะทาง 568 เมตร จึงเข้าข่ายเป็นโครงการฯ ที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 เห็นชอบรายงานดังกล่าวของโครงการฯ แล้ว รวมทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้ว ไม่ขัดข้องต่อการขอผ่อนผัน ยกเว้นมติคณะรัฐมนตรี เพื่อใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน สำหรับโครงการฯ
                    2. คค. ได้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่โครงการฯ ตามความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า ในขั้นตอนก่อนการก่อสร้างโครงการฯ กรมทางหลวงชนบทจะดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อสำรวจออกแบบรายละเอียดโครงการ ซึ่งในขั้นตอนดังกล่าวจะมีการสำรวจพื้นที่ พร้อมกับประสานงานกับเจ้าของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือร่วมกัน และนำมาประกอบการพิจารณาแบบก่อสร้างตามความเหมาะสม จากนั้นจึงจะนำแบบก่อสร้างดังกล่าวยื่นขออนุญาตทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำต่อกรมประมงต่อไป ทั้งนี้ โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อสำรวจและออกแบบรายละเอียดโครงการฯ ได้รับการบรรจุอยู่ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2566 แล้ว

9. เรื่อง ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อทำเหมืองแร่ของนายประสาน ยุวานนท์ ที่จังหวัดนครราชสีมา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอการขอผ่อนผันให้นายประสาน ยุวานนท์ ใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และพื้นที่ในเขตจำแนกการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ เขตป่าเพื่อการอนุรักษ์เพิ่มเติม (Zone C) เพื่อทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ตามคำขอประทานบัตรที่ 1/2561 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 วันที่ 10 มีนาคม 2535 และวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 และขอยกเว้นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2531 วันที่ 15 พฤษภาคม 2533 วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 และวันที่ 4 ตุลาคม 2559 อนึ่ง เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อทำเหมืองแร่แล้ว และหน่วยงานเจ้าของพื้นที่อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่แล้ว อก. โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่จะได้ดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนการพิจารณาอนุญาตประทานบัตรต่อไป

10. เรื่อง แนวทางการให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลและบริหารจัดการท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ และท่าอากาศยานกระบี่ แทนกรมท่าอากาศยาน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการแนวทางให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลและบริหารจัดการท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ และท่าอากาศยานกระบี่ แทนกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังไปพิจารณาจัดทำข้อมูลเพิ่มเติม รวมทั้งรับความเห็นหน่วยงานต่าง ๆ ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ แล้วแจ้งผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบ ก่อนดำเนินการต่อไป
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. เรื่องนี้เป็นการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายให้บริษัทการท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่เป็นหน่วยงานของรัฐเข้าไปเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลและบริหารจัดการท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ และท่าอากาศยานกระบี่แทนกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ตามแนวทางการให้ ทอท. เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลและบริหารจัดการท่าอากาศยานทั้ง 3 แห่ง แทน ทย. ของกระทรวงคมนาคม (คค.) โดยเป็นการดำเนินการตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561 ซึ่งต่อมา คค. ได้หารือคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ถึงประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดย คค. เห็นว่า การมอบความรับผิดชอบในการบริหารจัดการท่าอากาศยานที่ดำเนินการโดย ทย. จำนวน 3 แห่ง เพื่อให้ ทอท. เข้าไปดูแลและบริหารจัดการแทน โดยมิใช่เป็นเรื่องการโอนส่วนราชการหรือกิจการของรัฐไปให้ ทอท. ตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) เป็นแนวทางที่มีความเหมาะสม ทั้งนี้ ภายใต้แนวทางดังกล่าว คค. ได้ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ เครือข่ายการบิน ศักยภาพของทำเลที่ตั้ง ความพร้อมด้านกายภาพและห้วงอากาศของท่าอากาศยานและศักยภาพทางการตลาด จึงได้ปรับลดและเปลี่ยนแปลงท่าอากาศยานที่จะให้ ทอท. เข้าไปเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลและบริหารจัดการ เหลือจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ และทำอากาศยานกระบี่ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เห็นว่า กรณีจึงเป็นเรื่องทางนโยบายซึ่งอยู่ในอำนาจของคณะรัฐมนตรีที่จะพิจารณาให้ความเห็นชอบได้ตามที่เห็นสมควร
                    2. ข้อเสนอของ คค. มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นการลดภาระงบประมาณภาครัฐในการลงทุนพัฒนาท่าอากาศยาน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ห้วงอากาศ (Air Space) และโครงข่ายท่าอากาศยานของประเทศในภาพรวมให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเป็นไปตามแนวทางการเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาโครงข่ายระบบท่าอากาศยานของประเทศในภาพรวม (National Airport System) และการดำเนินธุรกิจในรูปแบบ Cluster ด้านการขนส่งทางอากาศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถท่าอากาศยานของประเทศไทย สนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน รวมทั้งรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศ อีกทั้งการเพิ่มศักยภาพและบทบาทของท่าอากาศยานในภูมิภาคของ ทย. ที่ปัจจุบันมีบทบาทเป็นท่าอากาศยานระดับจังหวัด (Local airport) เพื่อยกระดับเป็นท่าอากาศยานระดับภาค (Regional Airport) และท่าอากาศยานศูนย์กลางรอง (Secondary Hub Airport) ในอนาคต ทั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการที่มีความสอดคล้องกับแผนแม่บทการจัดตั้งสนามบินพาณิชย์ของประเทศ ในการเพิ่มศักยภาพของโครงข่ายระบบท่าอากาศยานของประเทศในภาพรวม (National Airport System) และประสิทธิภาพของการใช้ประโยชน์ห้วงอากาศ (Air Space) ตามความเห็นของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.)

การกำหนดบทบาทท่าอากาศยานของท่าอากาศยานทั้ง 3 แห่งและรูปแบบ Cluster ด้านการขนส่งทางอากาศ
ท่าอากาศยาน          บทบาทท่าอากาศยาน          รูปแบบ Cluster ด้านการขนส่งทางอากาศ
ภายใต้ ทอท.
อุดรธานี          จาก ท่าอากาศยานระดับภาค
เป็น ท่าอากาศยานศูนย์กลางรอง          Cluster ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีท่าอากาศยานใน Cluster 2 แห่ง
ได้แก่ ท่าอากาศยานอุดรธานี
และท่าอากาศยานบุรีรัมย์
บุรีรัมย์          จาก ท่าอากาศยานระดับจังหวัด
เป็น ท่าอากาศยานระดับภาค
กระบี่          เป็น ท่าอากาศยานศูนย์กลางรอง          Cluster ภาคใต้ มีท่าอากาศยาน
ใน Cluster 3 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานกระบี่
และท่าอากาศยานหาดใหญ่
                    นอกจากนี้ ทอท. ได้กำหนดแผนพัฒนาท่าอากาศยานแต่ละแห่งเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในอนาคตให้มีระดับมาตรฐานความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยตามที่องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) กำหนด โดยได้วางแผนพัฒนาให้เกิดความต่อเนื่องจากที่ ทย. ได้ดำเนินการไว้ ซึ่งจะทำให้ ทอท. สามารถรักษาระดับการให้บริการของท่าอากาศยานทั้ง     3 แห่ง อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกสบาย ทั้งนี้ แผนพัฒนาท่าอากาศยานทั้ง 3 แห่ง                มีกรอบวงเงินลงทุนประมาณ 9,199.90 ล้านบาท (กรณีท่าอากาศยานพังงาเปิดให้บริการปี 2574) หรือประมาณ 10,471.50 ล้านบาท (กรณีท่าอากาศยานพังงาไม่เปิดให้บริการ) ซึ่งจะช่วยลดภาระงบประมาณการลงทุนของภาครัฐที่จะต้องจัดสรรให้กรมท่าอากาศยานตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.) ในการลงทุนพัฒนาท่าอากาศยานได้อย่างมีนัยสำคัญ
                     3. สำหรับการดำเนินการเพื่อให้ ทอท. เข้าไปดูแลและบริหารจัดการท่าอากาศยานทั้ง 3 แห่ง แทน ทย. นั้น ทอท. ได้กำหนดแนวทางดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในเรื่องการเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยาน การจัดการทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ (ครุภัณฑ์) การบริหารจัดการด้านบุคลากร การดำเนินการขอใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะ และการดำเนินการเกี่ยวกับงบประมาณของ ทย. ที่ได้รับจัดสรรแล้ว โดยเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ

11. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ ของสำนักงาน ป.ป.ช. เพิ่มเติม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ภายใต้แผนงานบุคลากรภาครัฐรายการค่าใช้จ่ายดำเนินงาน จำนวน 4,664,800 บาท และใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 66,326,900 บาท รวมเป็น 70,991,700 บาท เพื่อสมทบเป็นค่าใช้จ่ายบุคลากรในส่วนที่ไม่เพียงพอต่อไป ตามนัยข้อ 8 และข้อ 9 (2) ของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 และให้สำนักงาน ป.ป.ช. ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

12. เรื่อง รายงานการดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอรายงานการดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดังนี้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ทส. รายงานว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในฐานะเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนให้คงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการบูรณาการการทำงานแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จึงได้จัดทำโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ซึ่งคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565 มีมติเห็นชอบการดำเนินโครงการฯ และมอบ ทส. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                    1. วัตถุประสงค์ : เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมและส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนของประเทศ เพิ่มแหล่งสำหรับกักเก็บคาร์บอนและสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลน รวมถึงนำคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการปลูกป่าชายเลนไปใช้ในการชดเชยการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่าง ๆ ในระบบทะเบียนของ T-VER* หรือระบบทะเบียนที่ประเทศไทยจะนำมาใช้ในอนาคต [ผู้พัฒนาโครงการ (บุคคลภายนอก) จะได้รับการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตในสัดส่วนร้อยละ 90 หรือตามที่ตกลงกัน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจะได้รับร้อยละ 10 และจะจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนครึ่งหนึ่ง]
                    2. เป้าหมายการดำเนินการ : กำหนดระยะเวลาการดำเนินการ 10 ปี (พ.ศ. 2565-2574) เนื้อที่ 300,000 ไร่ ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล 23 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ปัตตานี พังงา กระบี่ ภูเก็ต ระนอง ตรัง และสตูล
                    3. ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
                       3.1 ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065
                        3.2 พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นในระยะเวลาอันสั้น มีการบำรุงรักษาต่อเนื่อง 10-30 ปี เพิ่มพื้นที่สีเขียว ตอบสนองนโยบายรัฐบาล
                        3.3 ประหยัดงบประมาณภาครัฐไม่น้อยกว่า 600-700 ล้านบาทต่อปี
                        3.4 ระบบนิเวศป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ เกิดการสร้างรายได้สร้างอาชีพให้กับชุมชนชายฝั่ง ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ในการจับหาสัตว์น้ำ เก็บหาสมุนไพร การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และนิเวศบริการอื่น ๆ ได้ตามวิถีชุมชนปกติ
                        3.5 คาร์บอนเครดิตที่ได้จากโครงการปลูกป่าชายเลน สามารถใช้ในการชดเชยการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่าง ๆ ในระบบทะเบียนของ T-VER ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
                        3.6 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับสัดส่วนการแบ่งปันคาร์บอนเครดิต เพื่อนำไปสนับสนุนให้ชุมชนใช้ในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่
                        3.7 เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐในการจัดการทรัพยากรป่าชายเลนให้เกิดความยั่งยืน
                        3.8 ประเทศไทยมีฐานข้อมูลการกักเก็บคาร์บอนภาคป่าชายเลน

* โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) คือ กลไกลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (Thailand Greenhouse Gas Management Organization: TGO) พัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งเป็นกลไกที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียน ภาคอุตสาหกรรมที่มีกิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน การจัดการของเสีย ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่มีศักยภาพลดก๊าซเรือนกระจก การจัดการในภาคขนส่ง รวมถึงการปลูกต้นไม้และอนุรักษ์ฟื้นฟูป่า ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นอกจากจะช่วยกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้แล้วยังสามารถรักษาและสร้างความหลากหลายทางชีวภาพได้อีกด้วย

13. เรื่อง สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนกรกฎาคม 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนกรกฎาคม 2565 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
          สาระสำคัญ
1.          สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าเดือนกรกฎาคม 2565 ดังนี้
                    ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนกรกฎาคม 2565 เท่ากับ 107.41 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 0.16 (MoM) เป็นการลดลงจากเดือนก่อนหน้าครั้งแรกในรอบปี 2565 และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัวลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 7.61 (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก ในเดือนนี้ขยายตัวที่ร้อยละ 2.99 (YoY)
                    สินค้ากลุ่มพลังงานยังเป็นสาเหตุหลักที่มีอิทธิพลต่ออัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคม 2565 ซึ่งเป็นต้นทุนของสินค้าและบริการในเกือบทุกขั้นตอนการผลิตและบริการ รวมทั้งการปรับตัวของอุปสงค์ในประเทศดีขึ้นจากการท่องเที่ยว การส่งออก และราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ประกอบกับฐานดัชนีราคาผู้บริโภคของเดือนกรกฎาคม 2564 ที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้เงินเฟ้อในเดือนนี้ยังขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างสูง โดยมีรายละเอียดกลุ่มสินค้าสำคัญ ดังนี้
?          กลุ่มพลังงาน มีอัตราการเติบโตของราคาร้อยละ 33.82 (YoY) ส่งผลให้พลังงานมีสัดส่วนผลกระทบต่อเงินเฟ้อในเดือนนี้ (Contribution to Percentage Change : CPC) ร้อยละ 52.57 แม้ว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงบางชนิด (แก๊สโซฮอล์ น้ำมันเบนซิน) ในเดือนนี้จะปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา แต่ต้นทุนการผลิตและการขนส่งยังสูง เนื่องจากราคาก๊าซหุงต้ม ไฟฟ้า และน้ำมันดีเซล ยังคงอยู่ในระดับสูง
?          กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ มีอัตราการเติบโตของราคาร้อยละ 8.02 (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน อาทิ ไก่สด พริกสด ต้นหอม เครื่องประกอบอาหาร และอาหารสำเร็จรูป ราคาเปลี่ยนแปลงตามต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะต้นทุนด้านพลังงาน ทั้งค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม รวมถึงน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นต้นทุนที่สำคัญของการขนส่ง ประกอบกับความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ผักและผลไม้บางชนิด (ถั่วฝักยาว มะนาว ขิง ผักคะน้า กล้วยน้ำว้า ฝรั่ง ลองกอง)
          ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนนี้เทียบกับเดือนที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 0.16 (MoM) เป็นการปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าครั้งแรกในรอบปี 2565 โดยมีสาเหตุสำคัญจากการลดลงของราคาแก๊สโซฮอล์ น้ำมันเบนซิน กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำมันพืช และสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาดบางชนิด (น้ำยารีดผ้า น้ำยาล้างห้องน้ำ) สำหรับค่าเฉลี่ย 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.) ปี 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 5.89 (AoA)
          ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนกรกฎาคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 12.2 (YoY) ปรับสูงขึ้นในทุกหมวดสินค้า ตามต้นทุนการผลิต ทั้งราคาพลังงานและวัตถุดิบ ต้นทุนการนำเข้าจากการอ่อนค่าของเงินบาท และความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง สูงขึ้นร้อยละ 6.3 (YoY) ที่ปรับสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบ ราคาพลังงาน และเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับการใช้วัสดุก่อสร้างในโครงการก่อสร้างภาครัฐเป็นไปตามแผน สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ระดับ 45.5 จากระดับ 44.3 ในเดือนก่อนหน้า ปรับเพิ่มขึ้นทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและใน 3 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้เป็นผลจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวต่อเนื่อง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทั้งด้านการท่องเที่ยว การเปิดสถานบันเทิงทั่วประเทศ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับลดลง ขณะที่ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจไทยและราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผันผวน เป็นปัจจัยลบต่อดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
          2. แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2565
                    กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2565 เป็นระหว่างร้อยละ 5.5 - 6.5 (ค่ากลางร้อยละ 6.0) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ และการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทย

14. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) ฉบับปรับปรุง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566- 2570)  ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สำนักงานฯ) เสนอ และมอบหมายให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐนตรี นำ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) กราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    วันที่ 3 พฤษภาคม 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13  (พ.ศ. 2566-2570) ตามที่สำนักงานฯ เสนอ และมอบหมายให้สำนักงานฯ รับความเห็นรวมทั้งข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง ๆ ไปพิจารณาดำเนินการ แล้วให้นำ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฯ เสนอต่อรัฐสภาเพื่อทราบ ก่อนกราบเรียนนายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป
                    วันที่ 16 สิงหาคม 2565 ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 22 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) มีมติรับทราบ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570)
                    วันที่ 25 สิงหาคม 2565 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 4 ครั้งที่ 21 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) มีมติรับทราบ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13  (พ.ศ. 2566-2570)
                    ข้อเท็จจริง
                    สำนักงานฯ ได้พิจารณานำความเห็นรวมทั้งข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง ๆ มาดำเนินการปรับปรุง (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 โดยมิได้แก้ไขในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญที่รัฐสภาได้รับทราบไปแล้วซึ่งการปรับปรุง (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ประกอบด้วยการปรับปรุงเนื้อความให้มีความถูกต้องและการจัดเรียงลำดับของเนื้อหาของแผนฯ คือ การปรับปรุงตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายย่อย และสถานการณ์ให้เป็นปัจจุบัน สอดคล้องกันระหว่างหมุดหมาย และสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ซาติ ได้แก่
                    1. ปรับค่าเป้าหมายการพัฒนาด้านอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลเพื่อให้สอดคล้องกับ     ค่าเป้าหมายของแผนแม่บทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่
                    2. ปรับแก้ไขตัวชี้วัดด้านการท่องเที่ยวที่สภาเศรษฐกิจโลกได้ยกเลิกการจัดทำอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว มาเป็นอันดับดัชนีการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยว เพื่อให้สามารถติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านการท่องเที่ยวได้
                    3. ปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันยิ่งขึ้น จากการใช้ตัวเลขอ้างอิงจากข้อมูลปี 2563 เป็นปี 2564 อาทิ ตัวเลขการจ้างงานและผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสัดส่วนแรงงานนอกระบบ

15. เรื่อง การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อก่อสร้าง/ปรับปรุง ซ่อมแซมถนนและพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้รับความเสียหายจากสาธารณภัยหรือเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อก่อสร้าง/ปรับปรุง ซ่อมแซมถนน และพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้รับความเสียหายจากสาธารณภัย หรือเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ จำนวน 69 จังหวัด 2,086 โครงการ งบประมาณ 5,282,570,100 บาท ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในการฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง ถนน และพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถกลับมาใช้งานได้ปกติและมีประสิทธิภาพโดยเร็ว
                    สรุปงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อก่อสร้าง/ปรับปรุง ซ่อมแซมถนน และพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับความเสียหายจากสาธารณภัยหรือเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ สรุปแยกตามหน่วยรับงบประมาณได้ ดังนี้
ลำดับ          หน่วยรับงบประมาณ          จำนวนจังหวัด          จำนวน
โครงการ          วงเงิน
(บาท)
1          องค์การบริหารส่วนจังหวัด          12          414          528,498,100
2          เทศบาลนคร          1          2          20,989,000
3          เทศบาลเมือง          10          19          67,192,100
4          กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น          68          1,651          4,665,890,900
              4.1 เทศบาลตำบล          58          430          1,230,243,800
              4.2 องค์การบริหาร
         ส่วนตำบล          68          1,221          3,435,647,100
          รวมทั้งสิ้น          69          2,086          5,282,570,100

16. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้โครงการค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงินจำนวน 1,050.3060 ล้านบาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ เพื่อเป็นค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัยสำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 1,039,729 คน และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) จำนวน 10,577 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,050,306 คน ในอัตรา 500 บาท/คน/เดือน ระยะเวลาตั้งแต่เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2565 (รวม 2 เดือน) ภายใต้โครงการค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของ อสม. ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ในชุมชน (โครงการค่าตอบแทน อสม.)
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                    สธ. รายงานว่า
                    1. ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศไทย สธ. ได้มอบหมายให้ อสม. และ อสส. ร่วมดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด 19 ในชุมชนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยมีผลการดำเนินงาน เช่น
กิจกรรม/การดำเนินการ          ผลการดำเนินการ
(1) ให้ความรู้ในการป้องกันและดูแลสุขภาพตนเองแก่ประชาชน          7,424,625 คน
(2) เฝ้าระวังและคัดกรองกลุ่มเสี่ยง          1,098,782 คน
(3) เคาะประตูบ้านต้านภัยโควิด 19          14,020,134 หลังคาเรือน
(4) ร่วมกับทีม 3 หมอ ดูแลผู้ป่วยโควิด 19 แยกกักรักษาตัวในชุมชน (Community Isolation: CI) และแยกกักรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation: HI)          CI: 38,157 แห่ง
HI: 34,843 คน
(5) แนะนำกลุ่มเป้าหมายตรวจ Antigen Test Kit (ATK) และรายงานผลการตรวจ ATK ผ่าน Application ?สมาร์ท อสม.?          110,308 ครั้ง
(6) เชิญกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีโรคประจำตัว มารับวัคซีนเข็มที่ 1 เข็มที่ 2 และเข็มที่ 3          เข็มที่ 1: 11,734,930 เข็ม
เข็มที่ 2: 11,308,409 เข็ม
เข็มที่ 3:   5,748,177 เข็ม
                    2. สธ. โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้จัดทำโครงการค่าตอบแทน อสม. เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทาแก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 จำนวน 3,150.9180 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของ อสม. ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด 19 ในชุมชนเป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน - กันยายน 2565

ต่างประเทศ

17. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจในการจัดตั้งสถาบันวิทยาการศุลกากรเป็นศูนย์ฝึกอบรมระดับภูมิภาคขององค์การศุลกากรโลก (WCO Regional Training Center: RTC) ระหว่างกรมศุลกากรและองค์การศุลกากรโลก
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดทำบันทึกความเข้าใจในการจัดตั้งสถาบันวิทยาการศุลกากรเป็นศูนย์ฝึกอบรมระดับภูมิภาคขององค์การศุลกากรโลก [World Customs Organization (WCO) Regional Training Center] ระหว่างกรมศุลกากรและองค์การศุลกากรโลก (บันทึกความเข้าใจฯ) โดยหากมีการแก้ไขถ้อยคำที่มิได้ทำให้สาระสำคัญในบันทึกความเข้าใจฯ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมให้อยู่ในดุลยพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายที่จะดำเนินการได้ รวมทั้งมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายให้เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. กรมศุลกากรได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสนับสนุนกระบวนการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านศุลกากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผ่านการจัดโครงการฝึกอบรม การศึกษาดูงาน และการแลกเปลี่ยนทางวิชาการมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์ฝึกอบรมของสถาบันวิทยาการศุลกากรได้ดำเนินการแล้วเสร็จและเปิดใช้งานอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 โดยอาคารศูนย์ฝึกอบรมมีจำนวน 4 ชั้น มีพื้นที่ประมาณ 5,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้เข้าอบรมได้ประมาณ 500 คน รวมถึงมีอาคารพักอาศัยสำหรับผู้เข้าอบรม ตลอดจนมีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีความพร้อมรองรับการจัดกิจกรรมหรือโครงการฝึกอบรมสำหรับบุคลากรจากหน่วยงานศุลกากรในภูมิภาคเอเซียแปชิฟิก ซึ่งสอดคล้องกับคุณสมบัติเงื่อนไขที่จำเป็นและความพร้อมของกรมศุลกากรในการสมัครเข้าร่วมเพื่อดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรม กรมศุลกากรจึงได้ประสานสำนักงานเสริมสร้างขีดความสามารถประจำภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (Asia/Pacific Regional Office for Capacity Building: ROCB A/P) ขององค์การศุลกากรโลก เพื่อเสนอให้มีการจัดตั้งสถาบันวิทยาการศุลกากรเป็นศูนย์ฝึกอบรมระดับภูมิภาคขององค์การศุลกากรโลก ซึ่งเป็นกลไกการดำเนินงานที่สำคัญขององค์การศุลกากรโลกในการเป็นตัวกลางประสานงานกับหน่วยงานศุลกากรในระดับภูมิภาคเพื่อดำเนินโครงการและกิจกรรมสำหรับการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรให้สอดคล้องกับมาตรฐานพิธีการทางศุลกากรและแนวทางในการปฏิบัติงานขององค์การศุลกากรโลก โดยมีภารกิจที่สำคัญ เช่น กำหนดแนวทางและกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม สนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะวิทยากร และดำเนินการจัดหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในงานศุลกากรแก่บุคลากรจากหน่วยงานศุลกากรในภูมิภาค เป็นต้น ทั้งนี้ ที่ประชุม WCO Asia Pacific Regional Heads of Customs Administrations Conference ครั้งที่ 23 ระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤษภาคม 2565 ณ เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้มีมติรับรองการจัดตั้งสถาบันวิทยาการศุลกากรเป็นศูนย์ฝึกอบรมระดับภูมิภาคขององค์การศุลกากรโลกอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งถือเป็นศูนย์ฝึกอบรมระดับภูมิภาคขององค์การศุลกากรโลกลำดับที่ 9 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก1
                    2. ประโยชน์ที่จะได้รับ
                              2.1 เป็นโอกาสอันดีในการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาขีดสมรรถนะของบุคลากรและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านศุลกากรระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินภารกิจด้านศุลกากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น
                              2.2 ข้าราชการที่ปฏิบัติงานด้านการฝึกอบรมของกรมศุลกากรได้มีโอกาสเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการพัฒนาบุคลากรจากการประสานงานกับองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดโครงการฝึกอบรมสำหรับข้าราชการกรมศุลกากรได้ต่อไปในอนาคต
                              2.3 เป็นการยกระดับสถานะและบทบาทของกรมศุลกากรบนเวทีระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตลอดจนเป็นการกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านการเสริมสร้างขีดสมรรถนะของบุคลากรระหว่างกรมศุลกากรและองค์การศุลกากรโลก
                    3. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ระหว่างกรมศุลกากรและองค์การศุลกากรโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อยอมรับร่วมกันเกี่ยวกับการดำเนินการจัดตั้งสถาบันวิทยาการศุลกากร กรมศุลกากร ซึ่งตั้งอยู่ ณ เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์ฝึกอบรมระดับภูมิภาคขององค์การศุลกากรโลก เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาบุคลากร ยกระดับบทบาทของกรมศุลกากรบนเวทีระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตลอดจนกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือกับองค์การศุลกากรโลกในด้านการพัฒนาขีดสมรรถนะของบุคลากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินภารกิจด้านศุลกากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น
                    ทั้งนี้การใช้บังคับ มีผลใช้บังคับเป็นเวลา 5 ปี ถัดจากวันที่มีการลงนามและสามารถขยายเวลาบังคับใช้โดยได้รับความยินยอมร่วมกันจากผู้เข้าทำความตกลงทั้งสองฝ่าย
1ศูนย์ฝึกอบรมระดับภูมิภาคขององค์การศุลกากรโลกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปัจจุบัน ประกอบด้วย                           (1) สาธารณรัฐประชาชนจีน (2) สาธารณรัฐฟีจี (3) เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน                         (4) สาธารณรัฐอินเดีย (5) ประเทศญี่ปุ่น (6) สาธารณรัฐเกาหลี (7) สาธารณรัฐมาเลเซีย และ (8) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

18. เรื่อง การดำเนินการตามข้อมติคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและภัยต่ออัฟกานิสถานและการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่อัฟกานิสถาน ที่ 2611 (ค.ศ. 2021) และ                  ที่ 2615 (ค.ศ. 2021)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและรับรองตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบและรับรองการดำเนินการตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council - UNSC) ที่ 2611 (ค.ศ. 2021) ว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและภัยต่ออัฟกานิสถาน (ข้อมติ UNSC ที่ 2611ฯ) และข้อมติ UNSC ที่ 2615 (ค.ศ. 2021) ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่อัฟกานิสถาน (ข้อมติ UNSC ที่ 2615ฯ) พร้อมทั้งให้ความเห็นชอบการดำเนินการตามข้อมติข้างต้น จนกว่า UNSC จะรับรองข้อมติเพื่อเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญหรือยกเลิกข้อมติดังกล่าว ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเมื่อมีการรับรองข้อมติที่มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญหรือยกเลิกข้อยกเว้นดังกล่าวต่อไป
                    2. มอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 14 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถือปฏิบัติ และแจ้งผลการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ กต. ทราบเพื่อประโยชน์ในการรายงานต่อสหประชาชาติต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ได้ขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณารับทราบและรับรองการดำเนินการตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council - UNSC) ที่ 2611                (ค.ศ. 2021) ว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและภัยต่ออัฟกานิสถาน (ข้อมติ UNSC ที่ 2611ฯ) และข้อมติ UNSC ที่ 2615 (ค.ศ. 2021) ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่อัฟกานิสถาน (ข้อมติ UNSC ที่ 2615ฯ)                    ที่ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564 และวันที่ 22 ธันวาคม 2564ตามลำดับ เพื่อตอบสนองต่อการก่อการร้ายที่เปลี่ยนแปลงไปและเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคง เช่น การก่อการร้ายในหลายพื้นที่ โดยข้อมติ UNSC ทั้งสองข้อ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้ประเทศไทยในฐานะสมาชิกสหประชาชาติจะต้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องภายใต้ขอบเขตของกฎหมายภายในของประเทศไทยและพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น ให้รัฐสมาชิกคงการกำหนดใช้มาตรการกับบุคคลและองคภาวะที่ถูกกำหนดว่าเป็นตาลีบัน รวมถึงส่วนอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มตาลีบันซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงของอัฟกานิสถาน โดยมีมาตรการ เช่น อายัดเงินทุน ห้ามการเดินทางเข้า - ออก ห้ามจัดหา/ขาย/ถ่ายโอนอาวุธ กระสุน รวมถึงให้คณะสนับสนุนการวิเคราะห์และตรวจสอบการดำเนินการตามมาตรการลงโทษทำหน้าที่ต่อไปอีก 12 เดือน (เดิมจะสิ้นสุดอาณัติในเดือนธันวาคม 2565) และให้ผู้ประสานงานด้านการให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินของสหประชาชาติจัดการบรรยายสรุปแก่ UNSC เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมในอัฟกานิสถาน รวมถึงข้อมูล์ที่มีเกี่ยวกับการชำระเงินทุนเพื่อประโยชน์ของบุคคลหรือองค์กรที่ถูกกำหนด การยักย้ายถ่ายเทเงินทุน การบริหารความเสี่ยงและกระบวนการตรวจสอบและเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเคารพสิทธิมนุษยชน และปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอัฟกานิสถาน
                    ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงาน ป.ป.ส. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นชอบ/ไม่มีข้อขัดข้องตามที่ กต. เสนอ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการที่สอดคล้องกับมติ UNSC ดังกล่าว

19. เรื่อง ขออนุมัติการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยประมวลข้อบังคับว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกรมการขนส่งแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (Memorandum of Understanding on the International Ship and Port Facility Security Code Between the Ministry of Transport of the Kingdom of Thailand and the Department for Transport of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยประมวลข้อบังคับว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกรมการขนส่งแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ Memorandum of Understanding on the International Ship and Port Facility Security Code Between the Ministry of Transport of the Kingdom of Thailand and the Department for Transport of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) (บันทึกความเข้าใจฯ) และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงคมนาคม (คค.) ดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง รวมทั้งให้อธิบดีกรมเจ้าท่า หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ประเทศไทยและสหราชอาณาจักรมีความประสงค์ที่จะสร้างความสัมพันธ์ด้านการขนส่งทางน้ำระหว่างสองประเทศโดยมุ่งเน้นในส่วนที่เกี่ยวกับประมวลข้อบังคับว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ (International Ship and Port Facility Security Code : ISPS Code) ซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่กำหนดมาตรฐานในเรื่องการรักษาความปลอดภัยทางทะเลไม่ว่าจะเป็นเรือและท่าเรือ ฝ่ายสหราชอาณาจักร จึงได้เสนอร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยประมวลข้อบังคับว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือกับสหราชอาณาจักรให้ฝ่ายไทยพิจารณา โดยการจัดทำบันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะเป็นโอกาสที่ทั้งสองประเทศจะได้พัฒนา แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการขนส่งทางทะเลระหว่างกัน รวมถึงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในด้านการบริหารจัดการภาครัฐในมิติต่าง ๆ ทางทะเลซี่งจะช่วยส่งผลให้เกิดการขยายไปสู่ความร่วมมือด้านการขนส่งอื่นในอนาคต
                    2. ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยประมวลข้อบังคับว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอเป็นการกำหนดกรอบความร่วมมือระหว่าง สหราชอาณาจักรและประเทศไทยในการพัฒนาและสร้างกฎระเบียบภายในประเทศ สนับสนุนงานในมิติทางด้านความมั่นคงเพื่อยกระดับมาตรฐานความมั่นคงทางทะเลระหว่างประเทศ โดยอาจจัดให้มีโครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้อง เช่น การเยี่ยมชมท่าเรือ/ สิ่งอำนวยความสะดวกท่าเรือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การให้คำปรึกษา การแลกเปลี่ยนสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และฐานข้อมูล เป็นต้น ซึ่งอาจขยายความร่วมมือและการช่วยเหลือไปยังด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางทะเลตามแนวทางที่กำหนดในประมวลข้อบังคับว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ (International Ship and Port Facility Security Code : ISPS Code) ที่ออกตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 [International Convention for the Safety of Life at Sea,1974 (SOLAS), as amended] ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีแล้วเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2528 โดยบันทึกความเข้าใจดังกล่าวไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด โดยผู้ร่วมทำบันทึกความเข้าใจฯ รายใดรายหนึ่งสามารถแจ้งไปยังผู้ร่วมทำบันทึกความเข้าใจอีกฝ่ายผ่านช่องทางการทูตเพื่อขอสิ้นสุดบันทึกความเข้าใจฯ ทั้งนี้ การสิ้นสุดดังกล่าวจะมีผลหลังจากวันที่ผู้ร่วมทำบันทึกความเข้าใจอีกฝ่ายได้รับแจ้งแล้วเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยการสิ้นสุดบันทึกความเข้าใจฯ จะไม่ส่งผลกระทบต่อแผนงาน กิจกรรม หรือโครงการที่ได้เริ่มดำเนินการก่อนวันที่สิ้นสุดของบันทึกความเข้าใจฯ เว้นแต่ ผู้ร่วมทำบันทึกความเข้าใจได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น
                    ทั้งนี้ คค. (กรมเจ้าท่า) มีกำหนดการลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวช่วงเดือนกันยายน 2565 ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว
                    4. ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ เช่น การส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งทางวิชาการในเรื่องการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ  การสร้างเครื่อข่ายความร่วมมือด้านการขนส่งทางทะเลและการบริหารจัดการภาครัฐร่วมกับสหราชอาณาจักร ตลอดจนเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลในเรื่องการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือ และจะส่งผลให้ได้รับความเชื่อมั่นจากต่างประเทศทั้งในการลงทุนและการประกอบธุรกิจระหว่างกัน

20. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งมองโกเลีย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งมองโกเลีย ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดข้องต่อผลประโยชน์ของไทยให้กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งมองโกเลียตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. เอกอัครราชทูตมองโกเลียประจำประเทศไทย (นายทูมูร์ อาร์ซานา) หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาชย์เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 และเห็นพ้องให้มีการจัดตั้งกลไกการหารือทางการค้าระหว่างไทยกับมองโกเลียเพื่อเป็นเวทีส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกัน พณ. จึงได้หารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศของมองโกเลียซึ่งรับผิดชอบด้านการค้าระหว่างประเทศเพื่อจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจในเรื่องนี้ ทั้งนี้ แม้ที่ผ่านมาการค้าระหว่างไทยและมองโกเลียจะมีบริมาณไม่มาก แต่มองโกเลียถือเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพของไทยเนื่องจากเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ เช่น ทองแดง ถ่านหิน โมลิบดีนัม ดีบุก ทังสเตน ทองคำ เป็นต้น และมีศักยภาพในการส่งออก อีกทั้งมีนโยบายและกฎระเบียบที่เปิดรับการลงทุนต่างชาติในหลายสาขา เช่น สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน คมนาคม และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เป็นต้น นอกจากนี้ จากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ไทยสามารถใช้มองโกเลียเป็นช่องทางขยายการค้าสู่รัสเซียหรือกลุ่มประเทศยูเรเซียได้ ในขณะเดียวกันมองโกเลียก็สามารถใช้ไทยเป็นช่องทางขยายการค้าสู่อาเซียนได้เช่นกัน
                    2. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ จะช่วยกระชับและยกระดับความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจระหว่างไทยและมองโกเลีย รวมถึงสามารถตอบสนองการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยได้ โดยร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ส่งเสริม อำนวยความสะดวก พัฒนา และกระชับความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาที่ทั้งสองประเทศมีความสนใจร่วมกัน และสอดคล้องกับกฎหมายของแต่ละประเทศ รวมถึงจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) เพื่อจัดการประเด็นเกี่ยวกับการค้า และยกระดับการค้า การลงทุน และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ

21. เรื่อง ขอความเห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย ? มองโกเลีย ครั้งที่ 1 รวมทั้งดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย - มองโกเลีย ครั้งที่ 1 ตามข้อ 1 เพื่อให้ผู้แทนไทย ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนเป็นประธานฝ่ายไทยใช้หารือกับฝ่ายมองโกเลีย ทั้งนี้ หากในการประชุมดังกล่าว มีผลให้มีการตกลงเรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าในประเด็นอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อ 1 อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทยกับมองโกเลีย ให้ผู้แทนไทยสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    1. สาระสำคัญ
                    กระทรวงพาณิชย์ได้จัดประชุมเตรียมการฝ่ายไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2565 เพื่อพิจารณาประเด็นที่ฝ่ายไทยประสงค์จะผลักดันในการประชุม JTC ไทย - มองโกเลีย ครั้งที่ 1 และเห็นควรเสนอท่าทีไทย ได้แก่ การส่งเสริมการค้าและการลงทุน  การจัดทำความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน  การทบทานอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ( ด้านเกษตร ด้านการท่องเที่ยว ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และความร่ามมือทางวิชาการ)
2. ผลกระทบ
                    การประชุม JTC ไทย - มองโกเลีย ครั้งที่ 1 จะช่วยส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทยกับมองโกเลีย รวมถึงมองโกเลียยังมีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ ถ่านหิน ทองแดง ดีบุก นิกเกิล ทองคำ เงิน แร่เหล็ก ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของอุตสาหกรรมไทย ดังนั้น การประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า ไทย - มองโกเลีย ครั้งที่ 1 จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์และขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับมองโกเลียอย่างเป็นรูปธรรม
                    ทั้งนี้ การประชุม JTC ไทย - มองโกเลีย ครั้งที่ 1 ในระดับรัฐมนตรี โดยมองโกเลียรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในวันที่ 5 - 6 กันยายน 2565 โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมองโกเลีย (รับผิดชอบด้านการค้าระหว่างประเทศ) เป็นประธานร่วม

22. เรื่อง การเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน และอาเซียนกับคู่เจรจา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีของไทยภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียนและอาเซียนกับคู่เจรจา (ร่างกรอบการเจรจาฯ)
                    2. เห็นชอบร่างเอกสารข้อเสนอแนวทางการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (Guiding Principles for Negotiating the Upgrade of the ATIGA: Upgraded ATIGA) (ร่างเอกสารข้อเสนอฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าว ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ พณ. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
                    3. เห็นชอบร่างเอกสารขอบเขตการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน - อินเดีย (The Scope of the Review of the AITIGA) (ร่างเอกสารขอบเขตการทบทวนฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ พณ. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
                    4. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมประกาศหรือให้การรับรองเอกสาร คือ (1) ร่างเอกสารข้อเสนอแนวทางการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน และ (2) ร่างเอกสารขอบเขตการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน ? อินเดีย ในการประชุมของอาเซียน
ที่เกี่ยวข้อง
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) แจ้งว่า ประเทศไทยร่วมกับประชาคมอาเซียนจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีมาตั้งแต่ปี 2535 รวมทั้งสิ้น 9 ฉบับ โดยความตกลงเขตการค้าเสรีดังกล่าวมีส่วนช่วยให้มูลค่าการค้าของประเทศไทยกับประเทศคู่ค้าอาเซียนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.5 ? 434.4 ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2561 ได้มีมติให้มีการทบทวนและยกระดับความตกลงเขตการค้าเสรีของอาเซียนภายในปี 2565 ได้แก่ ความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน และความตกลงเขตการค้าเสรีที่อาเซียนทำกับประเทศคู่เจรจา รวม 5 ฉบับ ประกอบด้วย ความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับจีนอินเดีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์ ให้มีความทันสมัยตามรูปแบบการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป
                    2) ในครั้งนี้ พณ. (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ) ขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ (1) ร่างกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีของไทย ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียนและอาเซียนกับคู่เจรจา (ร่างกรอบการเจรจาฯ) เพื่อเป็นจุดยืนของประเทศไทยสำหรับการเจรจาต่าง ๆ ภายใต้กรอบอาเซียน รวมทั้งขอความเห็นชอบ (2) ร่างเอกสารข้อเสนอแนวทางการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (Guiding Principles for Negotiating the Upgrade of the ATIGA: Upgraded ATIGA) (ร่างเอกสารข้อเสนอฯ) ที่เป็นข้อสรุปที่ พณ. และประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันยกร่างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเจรจาเพื่อทบทวนและยกระดับความตกลง ATIGA (ASEAN Trade in Goods Agreement) ให้มีความทันสมัยมากขึ้น และ (3) ร่างเอกสาขอบเขตการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน - อินเดีย (The Scope of the Review of the AITIGA) (ร่างเอกสารขอบเขตการทบทวน ฯ) ที่เป็นข้อสรุปที่ พณ. ประเทศสมาชิกอาเซียน และสาธารณรัฐอินเดียได้ร่วมกันยกร่างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเจรจาเพื่อทบทวนและยกระดับความตกลง AITIGA (ASEAN-India Trade in Goods Agreement)
                    3) ร่างกรอบการเจรจาฯ ร่างเอกสารข้อเสนอฯ และร่างเอกสารขอบเขตการทบทวนฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              (1) ร่างกรอบการเจรจาฯ เป็นกรอบภายในของประเทศไทยที่จะใช้สำหรับการเจรจาในการจัดทำหรือทบทวน/ยกระดับความตกลงต่าง ๆ ที่จะดำเนินการในระยะต่อไปทั้งหมด ทั้งภายในอาเซียนและอาเซียนกับคู่เจรจา โดยอาจมีการปรับเปลี่ยนขอบเขต ประเด็นและสาระ ภายใต้กรอบการเจรจานี้ให้หมาะสมกับกรณีต่าง ๆ ซึ่งจะใช้แทนกรอบการเจรจาฯ เดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2552 รวมทั้งมีเป้าหมายให้การเจรจาในภาพรวมเกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ โดยคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมทางการค้า พัฒนาการทางการค้าที่เปลี่ยนไป ความพร้อม ระดับการพัฒนาและภูมิคุ้มกันของประเทศไทย ตลอดจนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยร่างกรอบเจรจาฯ มีเนื้อหาครอบคลุม 25 หัวข้อ เปลี่ยนแปลงจากกรอบการเจรจาฯ เดิมเมื่อปี 2552 ดังนี้
เดิมมี 15 หัวข้อ (ปี 2552)          เพิ่มในครั้งนี้ (10 หัวข้อ)
(1) การเข้าสู่ตลาดการค้าสินค้า (2) มาตรการปกป้องและมาตรการเยียวยาด้านการค้า (3) มาตรการสุขอนามัย และสุขอนามัยพืช (4) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (5) การค้าบริการ (6) การลงทุน (7) การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ (8) ความร่วมมือและการอำนวยความสะดวกทางการค้า (9) ทรัพย์สินทางปัญญา (10) พาณิชย์เล็กทรอนิกส์ (11) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (12) ความโปร่งใส  (13) การแข่งขัน (14) สิ่งแวดล้อม และ (15) แรงงาน          (1) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (2) พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า (3) การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา (4) วิสาหกิจ ขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย (5) แนวทางปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ (6) กลไกการจัดการเชิงสถาบัน (7) รัฐวิสาหกิจ  (8) การคุ้มครองผู้บริโภค  (9) การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน และ (10) อื่น ๆ


                              (2) ร่างเอกสารข้อเสนอฯ เป็นแนวทางการเจรจายกระดับฯ เพื่อให้เป็นความตกลงที่มีลักษณะ เช่น (1) ครอบคลุมทั้งรูปแบบการค้าดั้งเดิมและประเด็นใหม่ในปัจจุบัน ทันสมัย และสอดคล้องกับการพัฒนาในภูมิภาคและระดับสากล (2) ก่อให้เกิดการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญระหว่างประเทศสมาชิกทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้างที่มากขึ้น โดยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโต และการพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน (3) อำนวยความสะดวกทางการค้า โดยป้องกันการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าและการมีส่วนร่วมของประเทศสมาชิกอาเซียนในห่วงโซ่อุปทานของโลกและภูมิภาค (4) เปิดกว้างสำหรับประเด็นใหม่ นอกเหนือจากประเด็นที่มีในปัจจุบัน โดยประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศต้องเห็นชอบร่วมกันและต้องคำนึงระดับการพัฒนาที่แตกต่าง
                              (3) ร่างเอกสารขอบเขตการทบทวนฯ เอกสารฉบับนี้มุ่งเน้นการเปิดตลาดเพิ่มเติม และการปรับกฎระเบียบให้สอดคล้องกับสถานการณ์การค้าและเอื้อต่อการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ               โดยการทบทวนฯ จะครอบคลุมในเรื่อง (1) การลดและยกเลิกมาตรการทางภาษีศุลกากรและมาตรการที่มิใช่ภาษี             (2) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (3) พิธีการทางศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า (4) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (5) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (6) การเยียวยาทางการค้า (7) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ และ (8) ประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้า
                    ทั้งนี้ ร่างเอกสารข้อเสนอฯ และร่างเอกสารขอบเขตการทบทวนฯ มุ่งเน้นกำหนดองค์ประกอบจะใช้ในการเจรจา ซึ่งไม่ได้เป็นการกำหนดผลลัพธ์การเจรจาล่วงหน้า แต่มีเจตนาให้เกิดความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับขอบเขตที่จะมีการเจรจาในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งสามารถเพิ่มหรือลดประเด็นการเจรจาได้ โดยขึ้นอยู่กับข้อตกลงร่วมกันระหว่างกระบวนการเจรจาหรือทบทวน โดยเค้าโครงดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศแต่อย่างใด ซึ่งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบร่างเอกสารทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวด้วยแล้ว

23. เรื่อง การประชุม International Tiger Forum ครั้งที่ 2 ณ สหพันธรัฐรัสเซีย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาวลาดิวอสต็อกว่าด้วยการอนุรักษ์เสือโคร่ง (The Vladivostok Declaration on Tiger Conservation) ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณา โดยไม่ต้องนำกลับไปเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ให้การรับรองร่างปฏิญญาวลาดิวอสต็อกว่าด้วยการอนุรักษ์เสือโคร่ง (The Vladivostok Declaration on Tiger Conservation) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    การประชุม International Tiger Forum ครั้งที่ 2 จะมีการพิจารณารับรองร่างปฏิญญาวลาดิวอสต็อกว่าด้วยการอนุรักษ์เสือโคร่ง (The Vladivostok Declaration on Tiger Conservation) มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
                    1. จัดเตรียมและนำแผนพื้นฟูประชากรเสือโคร่งโลกในอนาคต (2022 - 2034) มาปฏิบัติ
และทบทวนแผนฟื้นฟูเสือโคร่งแห่งชาติพร้อมตัวชี้วัดและกรอบเวลา
                    2. ปรับปรุงพัฒนาแผนฟื้นฟูเสือโคร่งแห่งชาติในอีก 12 ปี สำหรับประเทศที่ต้องการ
                    3. สร้างความเข้มแข็งการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับการอนุรักษ์เสือโคร่ง โดยการสร้างนโยบายนำไปสู่กลไกการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม (รวมถึงการจ่ายค่าบริการทางระบบนิเวศ) การบรรเทาและจัดการความขัดแย้งระหว่างเสือโคร่งและมนุษย์ โดยการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสร้างอาชีพทางเลือก รวมถึงการพัฒนาทักษะทางด้านสิ่งแวดล้อมและป่าไม้ (Green skills developing) เพื่อเสริมสร้างสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
                    4. การวิเคราะห์จัดการปัญหาช่องว่างทางการเงิน ผ่านการสร้างกลไกจูงใจและใช้ประโยชน์จากแหล่งเงินทุนทั้งแบบดั้งเดิมและแบบนวัตกรรมใหม่ รวมถึงทุนจากรัฐบาล/ทุนจากผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ทุนจากทวิภาคี ทุนจากเอกชน เงินบริจาค พันธบัตรเสือโคร่ง และอื่น ๆ เพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่งในระยะยาว
                    5. สนับสนุนการเตรียมจัดทำแผน South East Asia Tiger Recovery Action Plan (STRAP) ภายใต้การมีส่วนร่วมกันจัดลำดับความสำคัญ การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และจัดสถาบันที่มีทรัพยากรที่ดี
                    6. ปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัยของเสือโคร่งและป้องกันการสูญเสียและการทำลายพื้นที่ป่าไม้ไม่ให้เพิ่มมากขึ้น
                    7. ให้ความปกป้องเหยื่อหลักของเสือโคร่งด้วยวิธีการที่ดี ฟื้นฟูถิ่นอาศัย ประชากรและการย้ายไปปล่อยในพื้นที่ที่สำคัญ
                    8. ส่งเสริมการอนุรักษ์เสือโคร่งในระดับภูมิทัศน์ รวมถึงการบรรจุแนวแนวเชื่อมต่อทางธรรมชาติลงในนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดิน และเตรียมในเรื่อง Climate - smart practice and green infrastructure และโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวในถิ่นอาศัยของเสือโคร่งและแนวเชื่อมต่อ
                    9. บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มแข็งยกระดับจำนวนและความสามารถของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ ประสานงานกับผู้บังคับใช้กฎหมายอื่น ๆ จัดทำระบบฐานข้อมูลระดับชาติ ผสานการใช้กฎหมายทั่วทั้งประเทศ ประสานกฎหมายระหว่างประเทศ และร่วมการลาดตระเวนตามแนวชายแดน
                    10. สร้างความเข้มแข็งในความร่วมมือและแบ่งปันข้อมูล การค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายระหว่างผู้รักษากฎหมายและเครือข่ายในภูมิภาค (SAVEN, ASEAN-WEN) อย่างมีศักยภาพและทรัพยากรที่พอเพียง
                    11. นำหลัก One health มาปฏิบัติ เพื่อให้แน่ใจว่ามีการป้องกันโรคติดต่อในภูมิทัศน์เสือโคร่งได้
                    12. สร้างกลไกและนโยบาย สนับสนุนเพื่อที่จะให้เกิดการริเริ่ม (เผยแพร่) นิเวศบริการในการพัฒนาวาระการประชุมต่าง ๆ
                    13. ประเมินเสือโคร่ง เหยื่อหลัก และถิ่นอาศัยอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้วิธีและการฝึกอบรมที่ดี
รวมถึงการติดตามการบังคับใช้กฎหมาย ผ่านเครื่องมือต่าง ๆ เช่น SMART, M-STrIPES, MEE and CA|TS
                    14. สถาบันและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องดำเนินการวิจัย โดยใช้สหวิทยาการที่ล้ำสมัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้เห็นว่าการอนุรักษ์เสือโคร่งถูกขับเคลื่อนและมีความเข้มแข็งบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
                    15. ส่งเสริมให้ความสำคัญกับการสื่อสาร การศึกษา จิตสำนึกสาธารณะ รวมถึงวิธีการทางสังคมให้เกิดการสนับสนุนการอนุรักษ์เสือโคร่ง
                    ทั้งนี้ การเข้าร่วมประชุม International Tiger Forum ครั้งที่ 2 และการร่วมรับรองร่างปฏิญญาวลาดิวอสต็อกว่าด้วยการอนุรักษ์เสือโคร่ง (The Vladivostok Declaration on Tiger Conservation) จะส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยที่เป็นสมาชิกเครือข่ายการอนุรักษ์เสือโคร่งระดับโลก รวมถึงการแสดงเจตนารมณ์แสดงจุดยืนด้านการอนุรักษ์ ป้องกันลักลอบล่า สำรวจและประเมินนิเวศวิทยาที่เกี่ยวข้องและถิ่นอาศัยของเสือโคร่ง

24. เรื่อง การต่ออายุความตกลงประเทศเจ้าภาพระหว่างไทยกับสหประชาชาติในรูปแบบของหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายระหว่างประเทศระดับภูมิภาคของสหประชาชาติ (United Nations Regional Course in International Law) ประจำปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อต่ออายุความตกลงประเทศเจ้าภาพระหว่างไทยกับสหประชาชาติ ปี 2560 สำหรับการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายระหว่างประเทศระดับภูมิภาคของสหประชาชาติ (United Nations Regional Course in International Law) ประจำปี 2565ระหว่างวันที่ 14 พฤศจิกายน - 7 ธันวาคม 2565
                    2. อนุมตีให้เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก หรือได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ของฝ่ายไทยสำหรับการฝึกอบรมฯ ประจำปี 2565 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นจะต้องแก้ไขปรับปรุงหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญก่อนการลงนาม ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง และโดยที่ฝ่ายสหประชาชาติแจ้งว่าไม่จำเป็นต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ในกรณีนี้ จึงไม่ต้องจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็มให้ผู้ลงนาม
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ มีเนื้อหาสอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ผ่านมาของไทยในการจัดการฝึกอบรมและการประชุมระหว่างประเทศ โดยมีการเพิ่มข้อความที่เกี่ยวข้องกับการเลื่อนหรือยกเลิกการฝึกอบรมฯ ในกรณีที่มีสภาวการณ์และข้อห่วงกังวลที่เกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1) การฝึกอบรมฯ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 พฤศจิกายน - 7 ธันวาคม 2565 ที่กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมกฎหมายระหว่างประเทศให้กับผู้ที่มีภูมิหลังด้านกฎหมายหรือประสบการณ์ในการทำงานด้านกฎหมายระหว่างประเทศจากภูมิภาคเอเชีย ? แปซิฟิก โดยการคัดเลือกจะกระทำโดยสหประขาชาติให้เหลือจำนวนผู้เข้าร่วมไม่เกิน 30 คน ซึ่งไทยสามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมการอบรมได้ 5 คน
                    2) สหประชาชาติจะรับผิดชอบในการเตรียมหลักสูตรการฝึกอบรมฯ ซึ่งครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายของวิทยากรและเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของสหประซาซาติ ค่าหนังสือ และสื่อการสอนอื่น ๆ ที่ใช้ในการฝึกอบรมฯ รวมถึงจะรับผิดชอบค่าเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยงของผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมฯ ที่ได้รับการจัดสรรทุนอย่างน้อย 20 คน และค่าอาหารว่างและอาหากลางวันสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯ ทั้งหมด ส่วนรัฐบาลไทยจะรับผิดชอบค่าที่พักสำหรับผู้เข้าร่วมที่ได้รับทุนอย่างน้อย 20 คน อาหารเช้าและอาหารค่ำสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯ ทั้งหมด รวมทั้งการจัดรถรับ - ส่งผู้เข้าร่วมและผู้บรรยายระหว่างโรงแรมที่พักกับสนามบิน และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมให้แก่ผู้เข้าร่วม
                    3) รัฐบาลไทยจะให้เอกสิทธิและความคุ้มกันแก่ผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ ผู้บรรยายที่ได้รับเชิญจากสหประชาชาติ และพนักงานของสหประชาชาติที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับการฝึกอบรมฯ โดยจะให้เอกสิทธิและความคุ้มกันเท่าที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันของสหประชาชาติที่ได้รับรองโดยสหประชาชาติเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 ซึ่งไทยมีพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสหประชาชาติและทบวงการชำนัญพิเศษในประเทศไทย พ.ศ. 2504 เป็นกฎหมายรับรองอยู่แล้ว
                    4) ในกรณีที่มีสภาวการณ์และข้อห่วงกังวลที่เกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สหประชาชาติและรัฐบาลไทยอาจตกลงเลื่อนหรือยกเลิกการฝึกอบรมฯ หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้มีการเลื่อนหรือยกเลิกการฝึกอบรมฯ ได้ ในระยะเวลาไม่ช้ากว่า 30 วันก่อนการเปิดการฝึกอบรมฯ โดยสหประชาชาติและรัฐบาลไทยจะปรึกษาหารือและตกลงร่วมกันเพื่อหาข้อยุติต่อประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นผลจากการเลื่อนหรือการยกเลิกการฝึกอบรมฯ

25. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อเอกสารผลลัพธ์เพิ่มเติมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อกรอบงานการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เรื่องกระบวนการที่ครอบคลุมสำหรับวาระสตรี สันติภาพและความมั่นคง และเยาวชน สันติภาพและความมั่นคงในมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ การทูตเชิงป้องกัน และการแก้ไขความขัดแย้ง (ASEAN Regional Forum Framework on Inclusive Processes for the Women, Peace and Security and Youth, Peace and Security Agendas in Confidence Building Measures, Preventive Diplomacy, and Conflict Resolution) ทั้งนี้ ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบกรอบงานฯ แล้ว กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จะมีหนังสือแจ้งการรับรองดังกล่าวอย่างเป็นทางการให้กัมพูชาในฐานะประธานเออาร์เอฟทราบต่อไปตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
                    สาระสำคัญของกรอบงานฯ เน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของสตรีและเยาวชนในการมีส่วนร่วม
ในประเด็นด้านสันติภาพและความมั่นคงภายในภูมิภาค และการสร้างและการดำรงรักษาสันติภาพ โดยมุ่งถึงการมีส่วนร่วมและการเพิ่มพูนบทบาทของสตรีและเยาวชนอย่างเท่าเทียม มีความหมาย และไม่แบ่งแยกในกรอบกิจกรรมของเออาร์เอฟ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาสังคมภายในภูมิภาคบนพื้นฐานของฉันทามติ ความสมัครใจ และหลักการไม่แทรกแซงชึ่งกันและกัน

แต่งตั้ง

26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการ                พลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 12 ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ สับเปลี่ยนหมุนเวียน ทดแทนตำแหน่งที่จะว่าง และตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
                     1. นายธานี ทองภักดี ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ
                     2. นายศรัณย์ เจริญสุวรรณ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการต่างประเทศ
                    3. นางวิลาวรรณ มังคละธนะกุล รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย
                    4. นางสาวอาจารี ศรีรัตนบัลล์ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เครือรัฐออสเตรเลีย
                    5. นายฉัตรชัย วิริยเวชกุล อธิบดีกรมการกงสุล ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก
                    6. นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
                    7. นางกาญจนา ภัทรโชค เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม ราชอาณาจักรสวีเดน ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสารนิเทศ
                    8. นางอรุณรุ่ง โพธิ์ทอง ฮัมฟรีย์ส เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง                ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม ราชอาณาจักรสวีเดน
                    9. นางพันทิพา เอี่ยมสุทธา เอกะโรหิต เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด ราชอาณาจักรเสปน ให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    10. นางต้องฤดี มากบุญ เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    11. นายรุจ ธรรมมงคล เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ คูเวต รัฐคูเวต ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการกงสุล
                    12. นายกิตติศักดิ์ กล่อมจิตต์ อัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ  กรุงอาบูจา สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย
                    ทั้งนี้ ข้าราชการในข้อ 1. ? 11. ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 และข้าราชการในข้อ 12. ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศตามข้อ 1. 3. 4. 6. 8. และ 12. รวม 6 ราย ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ

27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงพาณิชย์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
                    1. นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
                     2. นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
                    3. นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง               รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
                    1. นายอรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     2. นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
                    3. ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
                    ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงสาธารณสุข)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 7 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่จะว่าง สับเปลี่ยนหมุนเวียน และผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ดังนี้
                    1. นายธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมควบคุมโรค
                     2. นายสุระ วิเศษศักดิ์ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
                    3. นายพงศ์เกษม ไข่มุกด์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                  รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                      4. นายธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                   อธิบดีกรมการแพทย์
                    5. นายทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     6. นายยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ดำรงตำแหน่ง                รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     7. นายธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                  อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
                     ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

30. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีอีกหนึ่งวาระ จำนวน 3 ราย ดังนี้
                    1. นายรณภพ ปัทมะดิษ                     โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2565
                    2. นายเนวินธุ์ ช่อชัยทิพฐ์                     โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2565
                    3. นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง           โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2565

31. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย รวม 8 คน ซึ่งเป็นการแต่งตั้งตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่                      14 กรกฎาคม 2564 ดังนี้
                    1. ศาสตราจารย์ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์                    ประธานกรรมการ
                    2. นางสาวดารุณี ธรรมโพธิ์ดล                              กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปหัตถกรรมไทย
                    3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกพงษ์ ตรีตรง                    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านออกแบบผลิตภัณฑ์
                    4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์รุ่งโรจน์ โชคงามวงศ์                    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
                    5. รองศาสตราจารย์ธีร เจียศิริพงษ์กุล                    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร
                    6. นายปรีชา เอื้ออนันตธนกุล                               กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านบัญชี
                    7. หม่อมราชวงศ์ศศิพฤนท์ จันทรทัต                    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการตลาด
                    8. นายชายพงษ์ นิยมกิจ                                        กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการตลาด
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป

32. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้ง นายมนตรี เนรกัณฐี และนางวัลยา สุวรรณาภิรมย์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ขอลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ซึ่งตนแทน

33. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การตลาด
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การตลาด รวม 10 คน เนื่องจากประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการอื่นเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564 ดังนี้
                    1. นายสมคิด จันทมฤก                                                  ประธานกรรมการ
                    2. นายภาณุพล รัตนกาญจนภัทร                                        รองประธานกรรมการ
                    3. นายสมศักดิ์ สรวิจักษณ์                                        กรรมการอื่น
                    4. นายสุรเชษฐ์ สักษมีพงศ์                                         กรรมการอื่น
                    5. นางสาวกอบกุล โมทนา                                        กรรมการอื่น
                    6. รองศาสตราจารย์ชัยวัฒน์ อุตตมากร                               กรรมการอื่น
                    7. นางพัฒนา สังขทรัพย์                                                  กรรมการอื่น
                    8. นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช                                        กรรมการอื่น
                    9. นาวาอากาศเอก ประสงค์ ปราณีตพลกรัง                    กรรมการอื่น
                    10. นายสมศักดิ์ ภู่สกุล ผู้แทนกระทรวงการคลัง                     กรรมการอื่น
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป

34. เรื่อง ขออนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอรับโอน นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้อำนวยการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) สำนักนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง              (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่จะว่างลงในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในกระทรวงวัฒนธรรม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในกระทรวงวัฒนธรรม โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ผู้ครองตำแหน่งอยู่เดิมจะเกษียณอายุราชการ และเพื่อการสับเปลี่ยนหมุนเวียน จำนวน 4 ราย ดังนี้
                    1. นายชัยพล สุขเอี่ยม ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม ไปดำรงตำแหน่ง อธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
                     2. นายพนมบุตร จันทรโชติ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม ไปดำรงตำแหน่ง อธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
                    3. นายโกวิท ผกามาศ ผู้อำนวยการสำนักงาน (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ไปดำรงตำแหน่ง อธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
                    4. นายประสพ เรียงเงิน ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงาน (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

36. เรื่อง การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และร่างคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน และปฏิบัติราชการแทนกัน ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
          1. มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี เฉพาะในห้วงเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งให้นายกรัฐมนตรีหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี ดังนี้
1)           มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร  วงษ์สุวรรณ รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
2)          ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตาม 1. ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังต่อไปนี้
(1) นายวิษณุ                    เครืองาม
(2) นายอนุทิน                    ชาญวีรกูล
(3) นายจุรินทร์                    ลักษณวิศิษฏ์
(4) นายดอน                              ปรมัตถ์วินัย
(5) นายสุพัฒนพงษ์                    พันธ์มีเชาว์
3)          ในการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทน ตาม 1) มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่ในการเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการหรือองค์กรใด  ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้รักษาราชการแทน ตาม 2) จะสั่งการใดอันเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรี ต้องได้รับความเห็นชอบจากรองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตาม 1) เสียก่อน
4)          ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี หากผู้รักษาราชการแทน  ตาม 1) หรือ 2) แล้วแต่กรณี ต้องเข้าร่วมประชุมในคณะกรรมการใดซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ และผู้รักษาราชการแทนเป็นรองประธานกรรมการหรือกรรมการร่วมอยู่ด้วย ให้ผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในฐานะประธานกรรมการเพียงตำแหน่งเดียว
          2. พิจารณาร่างคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน และปฏิบัติราชการแทนกัน ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
                    คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 215/2565 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีและมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งให้นายกรัฐมนตรีหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่              24 สิงหาคม 2565 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยตามมาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือไม่ กรณีจึงเป็นการสมควรกำหนดการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี การมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง เฉพาะในห้วงเวลาดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 48 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2565 มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1  คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
1. ให้รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร  วงษ์สุวรรณ รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
2. ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีตาม 1. ไม่อาจปฏิบัติราชการได้          ให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
2.1 นายวิษณุ                    เครืองาม
2.2 นายอนุทิน          ชาญวีรกูล
2.3 นายจุรินทร์          ลักษณวิศิษฏ์
2.4 นายดอน                    ปรมัตถ์วินัย
2.5 นายสุพัฒนพงษ์          พันธ์มีเชาว์
3. ในการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนตาม 1. มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่ในการเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการหรือองค์กรใด  ทั้งนี้
ในกรณีที่ผู้รักษาราชการแทนตาม 2. จะสั่งการใดอันเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรี ต้องได้รับความเห็นชอบจากรองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีตาม 1. ก่อน
4. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี หากผู้รักษาราชการแทนตาม 1. หรือ 2. แล้วแต่กรณี ต้องเข้าร่วมประชุมในคณะกรรมการใดซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ และผู้รักษาราชการแทนเป็นรองประธานกรรมการหรือกรรมการร่วมอยู่ด้วย ให้ผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในฐานะประธานกรรมการเพียงตำแหน่งเดียว

ส่วนที่ 2  การมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีผู้ใดซึ่งได้รับมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หรือพ้นจากตำแหน่ง ให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
ลำดับที่          รองนายกรัฐมนตรี          รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ
1          พลเอก ประวิตร  วงษ์สุวรรณ          1. นายสุพัฒนพงษ์  พันธ์มีเชาว์
                    2. นายอนุทิน  ชาญวีรกูล
2          นายวิษณุ  เครืองาม          1. นายอนุทิน  ชาญวีรกูล
                    2. นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์
3          นายอนุทิน  ชาญวีรกูล          1. นายดอน  ปรมัตถ์วินัย
                    2. นายสุพัฒนพงษ์  พันธ์มีเชาว์
4          นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์          1. พลเอก ประวิตร  วงษ์สุวรรณ
                    2. นายดอน  ปรมัตถ์วินัย

5          นายดอน  ปรมัตถ์วินัย          1. นายวิษณุ  เครืองาม
                    2. นายสุพัฒนพงษ์  พันธ์มีเชาว์
6          นายสุพัฒนพงษ์  พันธ์มีเชาว์          1. นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์
                    2. นายวิษณุ  เครืองาม
ส่วนที่ 3  การมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี กรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
ในกรณีที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี          รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ
นายอนุชา  นาคาศัย          1. นายวิษณุ  เครืองาม
          2. พลเอก ประวิตร  วงษ์สุวรรณ

ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่  24  สิงหาคม  พ.ศ. 2565  เป็นต้นไป
              สั่ง  ณ  วันที่  30  สิงหาคม  พ.ศ. 2565

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ