สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กันยายน 2565

ข่าวการเมือง Wednesday September 14, 2022 09:26 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (13 กันยายน 2565)  เวลา 09.00 น.  พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.          เรื่อง          ร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง
                    2.          เรื่อง          ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับ

เงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานด้านยาเสพติด

(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้

พุทธศักราช 2484 ว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียม

                    4.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปราม

การทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

                    5.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่สมาชิกหรือบุคคลซึ่งสมาชิก

ผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้หรือทายาท (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

                    6.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการ

สอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ....

                    7.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนศาลเจ้า                                                  ไก่ต่อ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ....
                    8.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอื่นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับ

พลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลเขาดิน อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี

พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ สังคม

                    9.          เรื่อง          ร่างแผนแม่บทพัฒนาการป่าไม้แห่งชาติ
                    10.          เรื่อง           ขออนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณี

ฉุกเฉินหรือจำเป็น ในการจ่ายเงินงบอุดหนุนเฉพาะกิจ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อ

การเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

                    11.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบการกู้เงินในประเทศ ปีงบประมาณ 2565 สำหรับแผนงานขยาย

เขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ปี 2565 ? 2566 ซึ่งเป็นแผนงานระยะยาว

ใหม่ของการไฟฟ้านครหลวง

                    12.           เรื่อง           ขอรับการจัดสรรงบประมาณทุนประเดิมตามมาตรา 9 และมาตรา 48

ของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) โดยใช้รายจ่าย

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน

หรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง

(องค์การมหาชน)

                    13.           เรื่อง           ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการ                                        เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ                                         พ.ศ. 2566-2567 เพื่อดำเนินโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับ

ยุทธศาสตร์สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี

                    14.           เรื่อง           กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2565
                    15.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาวัคซีนต้นแบบตั้งแต่ต้นน้ำและเตรียม                                                  ความพร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019                                         (COVID-19) ภายใต้การจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ

พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเตรียม

ความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัส

โคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

                    16.           เรื่อง           ภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2565
                    17.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน

พ.ศ. 2560-2564 ประจำปี พ.ศ. 2564

                    18.           เรื่อง           การออกเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity: CI) ของทางการเมียนมา

ให้แก่แรงงานเมียนมาที่ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม

2565 เรื่อง การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา

                                        ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลาย                                        มาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                    19.           เรื่อง           มาตรการเร่งด่วนด้านพลังงานเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์                                        ราคาพลังงาน
                    20.           เรื่อง           ขออนุมัติงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2565

เพื่อใช้ในโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2563

                    21.          เรื่อง          โครงการช่วยเหลือความเดือดร้อนของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองด้าน
                                        สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและค่าใช้จ่ายการให้บริการประชาชน เพื่อขอรับจัดสรร                                        งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรอง                                        จ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
                    22.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้

ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 26/2565 ต่างประเทศ

                    23.           เรื่อง           เอกสาร ?การสนับสนุนร่วมเพื่อการฟื้นฟูภาคการบินพลเรือน?
                    24.           เรื่อง           แถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม Preventing Zoonotic Disease                                                   Emergence (PREZODE)
                    25.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบร่างตารางข้อผูกพันด้านบริการ ภายใต้องค์การการค้าโลก

ของไทยที่จะผูกพันวินัยในการใช้กฎระเบียบภายใน

                    26.           เรื่อง           การประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี ค.ศ. 2022 (ITU Plenipotentiary                                                   Conference 2022: PP-22) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)
                    27.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ                                         สมัยสามัญ ครั้งที่ 77
                    28.           เรื่อง           ขออนุมัติการจัดทำและลงนามร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) โครงการเมือง                                                  ยางพาราและความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยาง แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ                                        พิเศษสามฝ่าย อินโดนีเซีย ? มาเลเซีย ? ไทย (IMT - GT)
                    29.           เรื่อง           ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 28 แผนงานการพัฒนา                                        เขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT)
                    30.           เรื่อง           ร่างข้อตกลงการรับทุน (Grant Agreement) โครงการความร่วมมือ Phuket                                                   Smart City Technical Assistant Package ระหว่างสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ                                        ดิจิทัล และองค์การการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S Trade and                                                   Development Agency : USTDA)
                    31.           เรื่อง           ร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 และการประชุม

อื่นที่เกี่ยวข้อง

                    32.           เรื่อง           การประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 7
                    33.           เรื่อง           การร่วมรับรองต่อร่างเอกสารหลักการทั่วไป (Guiding Principles) และประกาศ                                        การเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยการแข่งขันของอาเซียน (Launch                                                             Negotiations for an ASEAN Framework Agreement on Competition)
                    34.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้าน                                        สวัสดิการสังคมและการพัฒนาครั้งที่ 11 (AMMSWD ครั้งที่ 11) และร่างถ้อย                                                  แถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนบวกสามด้านสวัสดิการสังคม

และการพัฒนา ครั้งที่ 7 (AMMSED+3 ครั้งที่ 7)

แต่งตั้ง

                    35.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ

ระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)

                    36.           เรื่อง           การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
                    37.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ                                                              ระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ)

                    38.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    39.           เรื่อง          การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    40.           เรื่อง          แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                    41.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    42.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    43.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง                                                  และขนาดย่อม
                    44.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง

(กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396














กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ มท. รับไปพิจารณาปรับปรุงในรายละเอียด แล้วเสนอคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองพิจารณาก่อนดำเนินการต่อไป
                    ทั้งนี้ มท. เสนอว่า
                    1. พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 มาตรา 75 (8) บัญญัติให้คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจในการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองเพื่อใช้เป็นหลักการพื้นฐานที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองพึงปฏิบัติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ และมาตรา 7 บัญญัติให้ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองที่คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติจัดทำตามมาตรา 75 (8) เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว มีผลผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการต่อไปตามหน้าที่และอำนาจของตน
                    2. กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ยกร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง มีสาระสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนนำ ประกอบด้วย บทบาทและความสำคัญของการผังเมือง ที่มาของธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง และการปฏิบัติตามธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง (2) นิยามศัพท์ (3) ส่วนสาระสำคัญรายหมวด จำนวน 26 ข้อ ประกอบด้วย หมวด 1 หลักการเชิงนโยบาย จำนวน 7 ข้อ หมวด 2 หลักการพื้นฐาน จำนวน 14 ข้อ และหมวด 3 หลักการเชิงพื้นที่ จำนวน 5 ข้อ และนำไปรับฟังความคิดเห็นตามกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
                    3. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองตามข้อ 2 และให้เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    สาระสำคัญของร่างธรรมนูญฯ
                    1. ส่วนที่ 1 : ส่วนนำ ได้แก่ บทบาทและความสำคัญของการผังเมือง ที่มาของธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง และการปฏิบัติตามธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง เนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นแม่บทในการพัฒนาที่เน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) เป็นดัชนีชี้วัดเช่นเดียวกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศตะวันตก โดยขาดมาตรการรองรับเพื่อการถ่วงดุลระหว่างภาคส่วนของสังคมที่เหมาะสม ก่อให้เกิดปัญหากับประเทศหลายประการ ทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม เช่น การใช้พื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ระบบการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ที่ขาดสมดุล ผลกระทบจากภัยพิบัติสาธารณะ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความเหลื่อมล้ำระหว่างพื้นที่เมืองกับชนบท ดังนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงได้กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐไว้ในมาตรา 72 (2) ให้จัดให้มีการวางผังเมืองทุกระดับและบังคับการให้เป็นไปตามผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ รวมตลอดทั้งพัฒนาเมืองให้มีความเจริญโดยสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่อันเป็นที่มาของภารกิจด้านการผังเมือง ซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 เพื่อให้ ?การผังเมือง? เป็นกรอบในการวางผังนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่ตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด แล้วให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการภายใต้กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศในด้านการใช้พื้นที่นั้น ๆ อีกทั้งได้กำหนดให้ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองต้องดำเนินการบนพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมือง และโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (Bio - Circular - Green Economy : BCG) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
                    2. ส่วนที่ 2 : นิยามศัพท์ เช่น
                    ?การวางผังเมือง? หมายความว่า กระบวนการให้ได้มาซึ่งผังเมือง ประกอบด้วย ผังนโยบายระดับประเทศ ผังนโยบายระดับภาค ผังนโยบายระดับจังหวัด ผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ
                    ?เมืองอัจฉริยะ? หมายความว่า เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย และชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประซากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัยให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืน
                    3. ส่วนที่ 3 : ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง ซึ่งจำแนกเป็น 3 หมวด ได้แก่
                              3.1 หมวด 1 หลักการเชิงนโยบาย ได้แก่ รัฐพึงบรรจุเรื่องการผังเมืองในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หน่วยงานของรัฐพึงจัดทำแผนงานและโครงการให้สอดคล้องกับผังเมืองทุกระดับ
                              3.2 หมวด 2 หลักการพื้นฐาน ได้แก่ การผังเมืองต้องคำนึงถึงการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมและแสดงข้อคิดเห็น การวางผังเมืองต้องคำนึงถึงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                              3.3 หมวด 3 หลักการเชิงพื้นที่ ได้แก่ การวางผังเมืองต้องคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความสมบูรณ์ การวางผังเมืองและการพัฒนาพื้นที่ ต้องดำรงรักษาหรือบูรณะสถานที่และวัตถุที่มีประโยชน์หรือคุณค่าในทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี โดยคำนึงถึงอัตลักษณ์และวิถีชุมชน รายละเอียดดังนี้
                    1. ส่วนนำ ประกอบด้วย บทบาทและความสำคัญของการผังเมือง
                              1.1 ด้านกายภาพ เนื่องจากความต้องการใช้พื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมของมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด เกิดการรุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าไม้ ตลอดจนพื้นที่ควรแก่การอนุรักษ์ ส่งผลให้เกิดการแผ่ขยายของเมืองอย่างไม่เป็นระเบียบ
                              1.2 ด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาที่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างรายได้ส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำ              ผู้ที่มีรายได้สูงจำนวนเพียงร้อยละสิบ ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ยังมีรายได้ในเกณฑ์ระดับต่ำ มีการสร้างงานเพิ่มขึ้นในเขตเมืองทำให้ประชากรวัยแรงงานในภาคชนบทเคลื่อนย้ายเข้าสู่แหล่งงานในเมือง การขยายตัวของเมืองไร้ทิศทาง การจราจรแออัด ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศเมือง
                              1.3 ด้านสังคม เกิดการอพยพของประชากรวัยแรงงานจากภาคชนบทเข้าสู่เมือง โดยทอดทิ้งให้ประชากรสูงอายุอยู่โดยลำพัง สร้างปัญหาครอบครัว
                              1.4 ด้านความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม การใช้พื้นที่ไม่เหมาะสมนำมาซึ่งปัญหาและภัยพิบัติสาธารณะที่ต้องประสบเป็นประจำทุกปี มลพิษจากภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ตลอดจนการกัดเซาะชายฝั่ง แหล่งน้ำธรรมชาติ เกิดการสะสมของปัญหาต่อทุนทางธรรมชาติ เกิดความขัดแย้งที่แย่งชิงทรัพยากรระหว่างกลุ่มคนในสังคมที่ครอบครองทรัพยากรไม่เท่าเทียมกัน การบริโภคที่ไม่เหมาะสม การใช้ชีวิตที่ขาดระเบียบวินัยและกฎกติการ่วมกัน แปรเปลี่ยนสภาพสังคมไทยที่มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน กลายเป็นสังคมที่แก่งแย่งเพื่อความอยู่รอด ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
                              1.5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐไว้ในมาตรา 72 (2) ดังนี้ ?จัดให้มีการวางผังเมืองทุกระดับและบังคับการให้เป็นไปตามผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ รวมตลอดทั้งพัฒนาเมืองให้มีความเจริญโดยสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่? อันเป็นที่มาของภารกิจด้านการผังเมือง ซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 เพื่อให้ ?การผังเมือง? เป็นกรอบในการวางผังนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่ตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด แล้วให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการภายใต้กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศในด้านการใช้พื้นที่นั้น
                    2. ที่มาของธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง
                              2.1 ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองได้ถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 โดยให้คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติเป็นผู้จัดทำ เพื่อใช้เป็นหลักการพื้นฐานที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองพึงปฏิบัติ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วมีผลผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการต่อไปตามหน้าที่และอำนาจของตน (มาตรา 7 และมาตรา 75 (8))
                              2.2 รัฐบาลได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาในเรื่องการใช้พื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน โดยต้องมีการกำหนดนโยบายการตั้งถิ่นฐานและการผังเมืองให้มีหน่วยงานระดับชาติกำกับดูแล และทำงานควบคู่ไปกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และให้มีกฎหมายเฉพาะเหมือนเป็นธรรมนูญการผังเมืองในการกำกับกฎหมายอื่น ๆ
                              2.3 ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง ดำเนินการบนพื้นฐานที่สำคัญ ดังนี้
                                        2.3.1 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals :               SDGs) องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะใช้เป็นทิศทางการพัฒนาตั้งแต่เดือนกันยายน ปี ค.ศ. 2015 ถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2030 ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปี โดยเป้าหมายที่ 11 เมืองและการตั้งถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน การทำให้เข้าถึงที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยและเหมาะสมและพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่ยั่งยืน การลงทุนด้านการขนส่งสาธารณะ การสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียว การปรับปรุงการวางผังเมือง และการบริหารจัดการในลักษณะแบบมีส่วนร่วม
                                        2.3.2 วาระใหม่แห่งการพัฒนาเมือง (New Urban Agenda) จากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเมืองอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 3 (Habitat III) ได้มาซึ่งหลักการและแนวปฏิบัติที่ผ่านการทดลองแล้วเพื่อเป็นวิสัยทัศน์ร่วมกันของประชาคมโลก ในการพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน และควรเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดอนาคตของเมือง นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
                                        2.3.3 ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล มียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พื้นที่และเมือง คือ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้านผังเมือง คือ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม และยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
                                        2.3.4 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมือง คือ (1) ด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (2) ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ และ (3) ด้านการพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
                                        2.3.5 โมเดลเศรษฐกิจใหม่ (Bio - Circular ? Green Economy : BCG) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติ ไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ควบคู่กับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน
                    3. กำหนดให้มีนิยามศัพท์  ทั้งสิ้น 19 คำนิยาม เช่น ?การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล? ?การวางผังเมือง? ?พื้นที่ที่มีความอ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม? ?เมืองอัจฉริยะ? ?อัตลักษณ์? เป็นต้น
                    4. กำหนดสาระรายหมวด ประกอบด้วย
ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง
หมวด 1 หลักการเชิงนโยบาย
(ข้อ 1 - 7)          หมวด 2 หลักการพื้นฐาน
(ข้อ 8 - 21)          หมวด 3 หลักการเชิงพื้นที่
(ข้อ 22 - 26)
ข้อ 1 รัฐพึงบรรจุเรื่องการผังเมือง
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ข้อ 2 รัฐพึงบรรจุเรื่องการผังเมืองไว้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาลและแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้มีผลผูกพันนำไปสู่การปฏิบัติ
ข้อ 3 รัฐพึงใช้ผังเมืองเป็นกรอบนโยบายในการพัฒนาพื้นที่ของประเทศและดำเนินการหรือสนับสนุนการพัฒนาประเทศแบบบูรณาการในทุกภาคส่วนให้เป็นไปตามที่ผังเมืองแต่ละระดับ
กำหนด
ข้อ 4 หน่วยงานของรัฐพึงจัดทำแผนงานและโครงการให้สอดคล้องกับผังเมืองทุกระดับ
ข้อ 5 หน่วยงานของรัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการดำเนินโครงการให้เป็นไปตาม                   ผังเมืองที่กำหนด
ข้อ 6 รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ด้านผังเมือง
ทั้งในและนอกระบบการศึกษาให้แก่ทุกภาคส่วนในสังคมด้วยหลักสูตรต่างๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
ข้อ 7 รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริม
การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสมกับการดำเนินการในการจัดทำและปฏิบัติทางผังเมือง          ข้อ 8 การวางผังเมืองต้องคำนึงถึง
ประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นหลัก
ข้อ 9 การวางผังเมืองต้องคำนึงถึง
ความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการเข้าถึงสาธารณประโยชน์
ข้อ 10 การผังเมืองต้องคำนึงถึงการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมและแสดงข้อคิดเห็น
ข้อ 11 การวางผังเมืองต้องคำนึง ถึงการป้องกันสาธารณภัย และความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ข้อ 12 การวางผังเมืองต้องคำนึง ถึงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดจาก
การใช้ประโยชน์ที่ดิน
ข้อ 13 การวางผังเมืองต้องคำนึง ถึงการสร้างความเชื่อมโยงในการคมนาคมและการขนส่งให้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
ข้อ 14 การวางและปฏิบัติตามผังเมืองต้องยึดมั่นในหลักวิชาการทางผังเมือง
ข้อ 15 การวางผังเมืองต้องคำนึง ถึงความสำคัญในพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม
ข้อ 16 การวางผังเมืองต้องคำนึงถึงการวางแผนการตั้ง                  ถิ่นฐานให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ลดความเสี่ยง     และความเสียหายจากการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบจากสาธารณภัย
ข้อ 17 การวางผังเมืองต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
ข้อ 18 การวางผังเมืองต้องคำนึงถึงการจัดหาบริการขั้นพื้นฐานและพื้นที่สาธารณะที่เพียงพอและเหมาะสมให้แก่ประชาชน
ข้อ 19 การวางผังเมืองต้องคำนึงถึงการจัดให้มีพื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่สีเขียวที่เพียงพอและ
เหมาะสม
ข้อ 20 การวางผังเมืองต้องสนับสนุนแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและการพัฒนาเมืองแห่งอนาคต
ข้อ 21 การวางผังเมืองต้องออกแบบวางผังพื้นที่ กลุ่มอาคารสิ่งก่อสร้าง และโครงสร้างพื้นฐาน
ที่มีความยืดหยุ่น และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม          ข้อ 22 การวางผังเมืองต้องกำหนดเขตสงวน เขตอนุรักษ์ เขตพัฒนา ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
ข้อ 23 การวางผังเมืองต้องคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความสมบูรณ์
ข้อ 24 การวางผังเมืองต้องกำหนดพื้นที่สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ข้อ 25 การวางผังเมืองและการพัฒนาพื้นที่ต้องคุ้มครองและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศ                   ที่งดงามหรือมีคุณค่าในทางธรรมชาติ
ข้อ 26 การวางผังเมืองและการพัฒนาพื้นที่ ต้องดำรงรักษาหรือบูรณะสถานที่และวัตถุที่มีประโยชน์หรือคุณค่าในทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี โดยคำนึงถึงอัตลักษณ์และวิถีชุมชน

2. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานด้านยาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานด้านยาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างระเบียบฯ ที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ เป็นการแก้ไขปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับ เงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานยาเสพติด พ.ศ. 2561 เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับประมวลกฎหมายยาเสพติด โดยมีการแก้ไขบทนิยาม คำว่า ?ยาเสพติด? ?ผลิต? ?จำหน่าย? ?รัฐมนตรี? ?ป.ป.ส.? ?คดียาเสพติดรายสำคัญ? และเพิ่มติมคำว่า ?คณะกรรมการ ป.ป.ส.? ยกเลิกความในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุทั้งในส่วนของบทนิยามคำว่า ?ผลิต? และยกเลิกการจ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มในกรณีพนักงานอัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาผลิตโดยการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุ ซึ่งเดิมพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้การแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุต้องรับโทษเช่นเดียวกับความผิดฐานผลิต แต่ประมวลกฎหมายยาเสพติดมีแนวคิดว่าการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุเป็นขั้นตอนหนึ่งของการอำนวยความสะดวกในการนำไปจำหน่าย การแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุจึงไม่ต้องรับโทษเช่นเดียวกับความผิดฐานผลิตเหมือนกับที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ ปรับปรุงการจ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มตามฐานความผิดในคดียาเสพติด โดยตัดข้อหา ?ครอบครองเพื่อจำหน่าย? ออก และไม่จ่ายเงินเพิ่มในข้อหา ?ครอบครองเพื่อจำหน่าย? เนื่องจากประมวลกฎหมายยาเสพติดได้แบ่งฐานความผิดใหม่โดยแยกเป็นแต่ละพฤติการณ์เพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น เช่น การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย มีไว้ในครอบครอง เป็นต้น และแก้ไขเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการขอรับเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับ เงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานยาเสพติด เช่น ยกเลิกสำเนาคำสั่งของพนักงานอัยการที่สั่งงดการสอบสวน กำหนดให้ต้องยื่นสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นกรณีฐานผลิตยาเสพติด เป็นต้น
                    สาระสำคัญของร่างระเบียบ
                    แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับ เงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานยาเสพติด พ.ศ. 2561 เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับประมวลกฎหมายยาเสพติด โดยมีการแก้ไขบทนิยาม ยกเลิกความในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุ ปรับปรุงการจ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มในคดียาเสพติดโดยไม่จ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มในกรณีพนักงานอัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาผลิตโดยการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุและไม่จ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มในข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่าย และแก้ไขเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการขอรับเงินค่าตอบแทน โดยมีรายละเอียดดังนี้
หลักเกณฑ์ที่เสนอแก้ไข          ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
พ.ศ. 2561          ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
ที่เสนอขอแก้ไข
แก้ไขบทนิยาม          - ?ยาเสพติด? หมายความว่า ยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและให้หมายความรวมถึงสารเคมีหรือวัตถุที่ควบคุมเพื่อป้องกันการผลิตยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วย
การควบคุมโภคภัณฑ์
- ?ผลิต? หมายความว่า เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุด้วย
- ?จำหน่าย? หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้



- ?รัฐมนตรี? รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
- ?ป.ป.ส.? หมายความว่า คณะ กรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
- ?คดียาเสพติดรายสำคัญ?
   (2) คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มีคำสั่งอนุมัติให้จับกุมข้อหาสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ หรือพยายามกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและนำไปสู่การขยายผลริบทรัพย์สินตามที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มีคำสั่ง โดยมีมูลค่าทรัพย์สินไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท          - ?ยาเสพติด? หมายความว่า ยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุออกฤทธิ์ ตามประมวลกฎหมายยาเสพติดและหมายความรวมถึงสารเคมีหรือวัตถุที่ควบคุมเพื่อป้องกันการผลิตยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมโภคภัณฑ์
- ?ผลิต? หมายความว่า เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป
สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์


- ?จำหน่าย? หมายความว่า ขายแลกเปลี่ยน จ่าย แจก หรือให้โดยมี
สิ่งตอบแทนหรือผลประโยชน์อย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงมีไว้เพื่อจำหน่าย
- ?รัฐมนตรี? หมายความว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

- ?คณะกรรมการ ป.ป.ส.?หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด


- ?คดียาเสพติดรายสำคัญ?
   (2) คดีความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดที่เลขาธิการ ป.ป.ส. หรือพนักงานอัยการมีคำสั่งอนุมัติแจ้งข้อหาสมคบ หรือสนับสนุน ช่วยเหลือตามประมวลกฎหมายยาเสพติดและนำไปสู่การยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับ                 ยาเสพติดชั่วคราวตามที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มีคำสั่ง โดยมีมูลค่าทรัพย์สินตั้งแต่ 100,000 บาท ขึ้นไป
ยกเลิกความในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุ และปรับปรุงการจ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มในคดียาเสพติด          ข้อ 21 (1) ให้จ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มในกรณีพนักงานอัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาจำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย ผลิตโดยการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุ หรือสมคบ คดีหนึ่งไม่เกิน 5,000 บาท
ข้อ 22 ให้จ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มสำหรับกรณีการปฏิบัติการทำลายแหล่งผลิต หรือโรงงานผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 และวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 หรือประเภท 2 พื้นที่ละไม่เกิน 100,000 บาท โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของภูมิประเทศที่ปฏิบัติการและปริมาณยาเสพติด ทั้งนี้ แหล่งผลิตหรือโรงงานผลิตไม่รวมถึงแหล่งแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ          ข้อ 21 (1) ให้จ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มในกรณีพนักงานอัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาจำหน่าย หรือสมคบ คดีหนึ่ง ไม่เกิน 5,000 บาท


ข้อ 22 ให้จ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มสำหรับกรณีการปฏิบัติการทำลายแหล่งผลิตหรือโรงงานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 และวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 พื้นที่ละไม่เกิน 100,000 บาท โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของภูมิประเทศที่ปฏิบัติการและปริมาณยาเสพติด
แก้ไขเอกสารหลักฐาน             ที่ผู้ขอรับเงินฯ ต้องยื่นพร้อมกับคำขอ          ข้อ 26 การขอรับเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับให้ยื่นคำขอพร้อมกับคำขอรับเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ตามแบบที่สำนักงาน ป.ป.ส. กำหนดพร้อมเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้

   (5) สำเนาคำฟ้องพนักงานอัยการหรือสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือสำเนาคำสั่งของพนักงานอัยการที่สั่งงดการสอบสวน สั่งไม่ฟ้อง หรือสั่งยุติคดี






(6) รายงานการสอบสวนคดียาเสพติดที่ทำการสอบสวนขยายผล พร้อมสำเนาบันทึกจับกุมผู้ต้องหาจากการขยายผล และสำเนาคำฟ้องของพนักงานอัยการในคดีที่มีการขยายผล หรือสำเนาคำพิพากษาถึงที่สุด กรณีมีการริบทรัพย์สิน











ข้อ 26 วรรคสอง กรณียึดได้เฉพาะยาเสพติดของกลาง ให้ส่งเอกสารหลักฐานประกอบคำขอเพิ่มเติม ดังนี้
   (2) รายงานการสืบสวน (ถ้ามี)
          ข้อ 26 การขอรับเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับให้ยื่นคำขอพร้อมกับ
คำขอรับเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ตามแบบที่สำนักงาน ป.ป.ส. กำหนดพร้อมเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
   (5) สำเนาคำฟ้องพนักงานอัยการ
หรือสำเนาคำสั่งของพนักงานอัยการที่สั่งไม่ฟ้อง หรือสั่งยุติคดี หรือสำเนาหมายจับผู้กระทำความผิดและสำเนาคำสั่งเลขาธิการ ป.ป.ส. ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่                 เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดชั่วคราวซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป
   (6) รายงานการสอบสวนคดียาเสพติดที่ทำการสอบสวนขยายผล สำเนาบันทึกจับกุมผู้ต้องหาจากการขยายผลสำเนาคำฟ้องของพนักงานอัยการในคดีที่มีการขยายผล สำเนาคำสั่งเลขาธิการ ป.ป.ส. หรือพนักงานอัยการ อนุมัติแจ้งข้อหาสมคบ หรือสนับสนุน ช่วยเหลือ และสำเนาคำสั่งเลขาธิการ ป.ป.ส. ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดชั่วคราวซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ 100,000 บาท     ขึ้นไปในกรณีการขอรับเงินค่าตอบแทนการขยายผล
    (10/1) สำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นในกรณีศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยฐานผลิตยาเสพติด
ข้อ 26 วรรคสอง กรณียึดได้เฉพาะยาเสพติดของกลาง ให้ส่งเอกสารหลักฐานประกอบคำขอเพิ่มเติม ดังนี้
   (2) รายงานการสืบสวน หรือรายงานการสอบสวนที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องกับบุคคลตามหมายจับ
   ข้อ 26 วรรคสาม กรณีมีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้แก่เด็กหรือเยาวชนในหมู่บ้าน ชุมชน ให้ส่งเอกสารหลักฐานประกอบคำขอเพิ่มเติม ดังนี้
   (1) รายงานการสอบสวนของพนักงานสอบสวนที่ปรากฏพฤติการณ์และการกล่าวอ้างถึงคำให้การของผู้เกี่ยวข้องว่าผู้ต้องหามีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้แก่เด็กหรือเยาวชน
   (2) รายงานการสืบสวนถึงพฤติการณ์ของผู้ต้องหาว่ามีการจำหน่ายยาเสพติดให้แก่เด็ก                     หรือเยาวชน

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484 ว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484 ว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียม ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ทส. เสนอว่า กรมป่าไม้ในฐานะหน่วยงานที่มีกระบวนการอนุมัติ อนุญาต ที่ต้องจัดเก็บค่าธรรมเนียม ได้พิจารณาทบทวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ แล้วเห็นว่า ทส. ได้มีการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียม เพื่อกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในเรื่องต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 โดยปัจจุบันอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับการเรียกเก็บสำหรับการอนุมัติและอนุญาตตามกฎกระทรวงดังกล่าวบางประเภทมีอัตราค่าธรรมเนียมต่ำกว่าต้นทุนในการดำเนินการจัดเก็บ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสภาวการณ์ในปัจจุบัน จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการอนุมัติ อนุญาต ในบางประเภท ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งมีอัตราค่าธรรมเนียมต่ำกว่าต้นทุนในการดำเนินการจัดเก็บ
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียม จำนวน 11 รายการ ดังนี้
รายการ          อัตราค่าธรรมเนียม
1. แบบพิมพ์คำขอ          ฉบับละ 25 สตางค์
2. ใบอนุญาตทำไม้เพื่อการค้า          ฉบับละ 20 บาท
3. ใบอนุญาตเก็บหาของป่าหวงห้าม          ฉบับละ 10 บาท
4. ใบอนุญาตค้าของป่าหวงห้ามหรือใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้าม          ฉบับละ 20 บาท
5. ใบอนุญาตเก็บไม้ไหลลอย          ฉบับละ 10 บาท
6. ใบอนุญาตมีไม้แปรรูปชนิดอื่นเป็นจำนวนเกิน 0.20 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครอง          ฉบับละ 20 บาท
7. ใบอนุญาตอื่น ๆ          ฉบับละ 5 บาท
8. ใบแทนใบอนุญาต เว้นแต่ใบอนุญาตใดมีค่าธรรมเนียมต่ำกว่า 10 บาท ให้คิดเท่าค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนั้น          ฉบับละ 10 บาท
9. ใบแทนใบอนุญาตผูกขาด          ฉบับละ 25 บาท
10. ใบเบิกทาง
          (1) ไม้สัก
          (2) ไม้ชนิดอื่น ๆ
          (3) ของป่า
ฉบับละ 50 บาท
ฉบับละ 20 บาท
ฉบับละ 5 บาท
11. ใบคู่มือคนงาน หรือผู้รับจ้าง หรือใบแทน          ฉบับละ 1 บาท

4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..)                   พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเสนอ
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ในการไต่สวนและวินิจฉัยชี้มูลของคณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเปิดเผยข้อมูลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ท. และผู้ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง กำหนดการให้ความช่วยเหลือในการถูกดำเนินคดีที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนดให้มีตำแหน่งหัวหน้าพนักงาน ป.ป.ท. กำหนดเหตุยกเว้นโทษสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด กำหนดเหตุลดโทษและยกเว้นโทษกรณีผู้ถูกกล่าวหากระทำการโดยสุจริต และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของทางราชการ และกำหนดความผิดและโทษเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลจากการปฏิบัติหน้าที่ รายละเอียดดังนี้
                    1. แก้ไขปรับปรุงบทนิยาม เช่น คำว่า ?ทุจริตต่อหน้าที่? เพื่อรองรับคดีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมายให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ดำเนินการแทน ?ประพฤติมิชอบ? เพื่อแยกคดีประพฤติมิชอบซึ่งเป็นหน้าที่และอำนาจโดยตรงของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ออกจากคดีทุจริตต่อหน้าที่ และ ?ไต่สวน? เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ
                    2. กำหนดให้เลขาธิการ ป.ป.ช. ไม่สามารถมอบหมายการเป็นกรรมการในคณะกรรมการ ป.ป.ท.         ให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนได้ เพื่อให้การเป็นกรรมการเป็นการเฉพาะตัวและมอบอำนาจไม่ได้
                    3. แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ท. (เดิมกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ท.                มีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งดำรงตำแหน่งต่ำกว่าผู้บริหารระดับสูง หรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าลงมา และกระทำการทุจริตในภาครัฐ ซึ่งกระทำการทุจริตในภาครัฐ หมายถึงการกระทำทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติมิชอบในภาครัฐ) ดังนี้
                              3.1 ไต่สวนและวินิจฉัยชี้มูลตามพระราชบัญญัตินี้ และกำกับดูแลการไต่สวนเกี่ยวกับการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบสำนวนการไต่สวนดังกล่าว
                              3.2 พิจารณาวินิจฉัยชี้มูลเกี่ยวกับการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามสำนวนการไต่สวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ให้ความเห็นชอบแล้ว หรือสำนวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ไต่สวนเอง
                              3.3 ไต่สวนและวินิจฉัยชี้มูลเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในกรณีที่ต้องดำเนินการแทนคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามที่มอบหมาย และในการไต่สวนดังกล่าว คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจมอบหมายให้พนักงาน ป.ป.ท. ดำเนินการไต่สวนแล้วเสนอสำนวนเพื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. พิจารณาต่อไป
                              3.4 ดำเนินการสรุปสำนวนตามข้อ 3.2 และข้อ 3.3 พร้อมทั้งความเห็นส่งพนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีอาญากับผู้กระทำความผิดต่อไป
                    4. กำหนดวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. (คดีทุจริตต่อหน้าที่) ให้ดำเนินการแต่ละกรณี ดังนี้
                              4.1 กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมายให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ดำเนินการแทนโดยกำหนดหลักเกณฑ์หรือลักษณะไว้เป็นการทั่วไป โดยเมื่อความปรากฏต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. ว่ามีผู้กระทำความผิดตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมายให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ดำเนินการต่อไปได้ และให้เริ่มนับระยะเวลาการไต่สวนและพิจารณาวินิจฉัยชี้มูลตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ความปรากฏต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. หรือวันที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้รับเรื่อง แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติจะดำเนินการเรื่องนั้นเอง ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ส่งเรื่องพร้อมทั้งสำนวนการไต่สวนเท่าที่มีอยู่ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับแจ้งมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยให้คัดสำนวนดังกล่าวเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานด้วย
                              4.2 กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมายให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ดำเนินการแทนโดยกำหนดหลักเกณฑ์หรือลักษณะไว้เป็นรายกรณี เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้รับเรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้ว ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง และเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มอบหมายให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ดำเนินการแทน ให้เริ่มนับระยะเวลาการไต่สวนและพิจารณาวินิจฉัยชี้มูลตั้งแต่วันที่ได้รับเรื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งนี้ หากเรื่องดังกล่าวได้ล่วงพ้นเวลาที่จะดำเนินการทางวินัยและดำเนินคดีอาญาแก่ผู้ถูกร้องหรือผู้ถูกกล่าวหาแล้ว และไม่อยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ส่งเรื่องคืนคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยเร็วซึ่งต้องไม่ช้ากว่า 15 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
                    5. กำหนดวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับคดีประพฤติมิชอบ ดังนี้
                              5.1 กำหนดให้ในกรณีที่ปรากฏว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐมีลักษณะเป็นการทุจริตต่อหน้าที่รวมอยู่ด้วย และมิได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ส่งเรื่องทั้งหมดนั้นให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
                              5.2 กำหนดให้ในกรณีที่เป็นเรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ตามพระราชบัญญัตินี้ และมิใช่เป็นกรณีตามข้อ 5.1 เมื่อเลขาธิการสั่งให้ดำเนินการต่อไปแล้ว ให้พนักงาน ป.ป.ท.           มีอำนาจดำเนินการไต่สวนให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการ ป.ป.ท.
                    6. กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. และบุคคลซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ท. แต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ใดมิให้เปิดเผยข้อมูลซึ่งมีลักษณะเป็นข้อมูลเฉพาะของบุคคลบรรดาที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ การเปิดเผยข้อมูลอื่นใดเพื่อให้สาธารณชนได้ทราบ และแก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. หรือผู้ที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มอบหมาย สามารถดำเนินการ จับ ควบคุม และปล่อยชั่วคราว ผู้ถูกกล่าวหาเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติวินิจฉัยชี้มูลว่าผู้นั้นกระทำความผิด
                    7. กำหนดให้สำนักงาน ป.ป.ท. ให้ความช่วยเหลือในการต่อสู้คดีไม่ว่าเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีปกครอง แก่คณะกรรมการ ป.ป.ท. และผู้ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ และกำหนดให้กรรมการในคณะกรรมการ ป.ป.ท. สามารถแต่งตั้งที่ปรึกษาได้ เพื่อให้คำปรึกษาและช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่ได้
                    8. แก้ไขเพิ่มเติมชื่อหมวด 2 จากเดิม ?การไต่สวนข้อเท็จจริง? เป็น ?การไต่สวน? และปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยการไต่สวน ดังนี้
                              8.1 กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ต้องเริ่มดำเนินการไต่สวนภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องหรือความปรากฏต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. และต้องไต่สวนและพิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับเรื่องหรือความปรากฏต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจขยายระยะเวลาการไต่สวนออกไปตามที่จำเป็นได้แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 3 ปี เว้นแต่เรื่องที่จำเป็นต้องไต่สวนในต่างประเทศอาจขยายระยะเวลาออกไปเท่าที่จำเป็นแต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 5 ปี
                              8.2 กำหนดให้ผู้ทำหน้าที่ไต่สวนก่อนเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. มี 2 กรณี ได้แก่ (1) การไต่สวนของพนักงาน ป.ป.ท. ที่ดำเนินการในลักษณะองค์คณะ ๆ ไม่น้อยกว่า 2 คนตามที่เลขาธิการ ป.ป.ท. แต่งตั้ง โดยจะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ด้วยก็ได้ และ (2) การไต่สวนของคณะอนุกรรมการไต่สวน สำหรับเรื่องที่จำเป็นและซับซ้อน ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ท. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนตามข้อเสนอแนะของเลขาธิการ ป.ป.ท. สำหรับการไต่สวนเบื้องต้นก่อนการรับเรื่องไว้พิจารณา เลขาธิการ ป.ป.ท. จะมอบหมายให้พนักงาน ป.ป.ท. คนหนึ่งดำเนินการก็ได้ นอกจากนี้ ได้กำหนดห้ามผู้มีส่วนได้เสียในคดีทำหน้าที่ในการไต่สวน เพื่อให้การไต่สวนของผู้ไต่สวนเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
                              8.3 กำหนดขั้นตอนและกระบวนการไต่สวน
                                        8.3.1 กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาการรับเรื่องและการจำหน่ายเรื่อง โดยกำหนดเรื่องที่ต้องห้ามรับไว้พิจารณา และเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีดุลยพินิจในการที่จะไม่รับหรือสั่งจำหน่ายเรื่อง และกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. สามารถยุติการดำเนินการไต่สวนในกรณีเรื่องที่ไม่ใช่ความผิดวินัยร้ายแรง หรือกรณีการประพฤติมิชอบที่ไม่ใช่ความผิดวินัยและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง โดยให้เลขาธิการส่งเรื่องที่ยุตินั้นให้หน่วยงานดำเนินการและรายงานผลให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ทราบ
                                        8.3.2 กำหนดให้กรณีข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้แจ้งผู้ถูกกล่าวหาทราบไม่ช้ากว่า 15 วันนับแต่วันที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติ แต่หากกรณีที่ข้อกล่าวหานั้นมีพยานหลักฐานเพียงพอ ให้มีการแจ้งข้อกล่าวหาเป็นหนังสือและส่งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ นอกจากนี้ ได้กำหนดให้มีจัดหาทนายความให้กับผู้ถูกกล่าวหา และกำหนดรายการที่จำเป็นในหนังสือแจ้งข้อกล่าวหา ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติและผู้ถูกกล่าวหา
                                        8.3.3 กำหนดให้ผู้ถูกกล่าวหาส่งคำชี้แจงและพยานหลักฐานมาให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. พิจารณาประกอบการดำเนินการก่อนมีมติชี้มูลความผิด และกำหนดให้มีการสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราว นอกจากนี้ กำหนดห้ามจูงใจโดยมิชอบเพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำในการไต่สวน รวมทั้งกำหนดวิธีการสอบปากคำและการรับฟังพยานหลักฐานจากต่างประเทศ เพื่อให้การไต่สวนเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
                              8.4 กำหนดวิธีการดำเนินการเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติชี้มูลความผิด
                                        8.4.1 กำหนดให้ประธานกรรมการ ป.ป.ท. แจ้งไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาผู้นั้น และให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติ ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติของคณะกรรมการ ป.ป.ท. โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก และให้ถือว่ามติและรายงานการไต่สวนนั้นเป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัยตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลที่ใช้บังคับกับผู้ถูกกล่าวหานั้น ทั้งนี้        ได้แยกการดำเนินการลงโทษทางวินัยไว้ 2 กรณี ได้แก่ กรณีประพฤติมิชอบและกรณีทุจริตต่อหน้าที่
                                        8.4.2 กำหนดให้ในกรณีที่มีพยานหลักฐานใหม่ ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนสามารถขอให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ทบทวนมติที่ชี้มูลความผิดทางวินัยผู้ถูกกล่าวหาได้ ภายใน                30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากคณะกรมการ ป.ป.ท.
                                        8.4.3 กำหนดให้ผู้ถูกลงโทษทางวินัยตามมติของคณะกรรมการ ป.ป.ท. อุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. ได้ หาก ก.พ.ค. ยกอุทธรณ์ ให้ผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ ก.พ.ค. มีคำวินิจฉัย แต่หาก ก.พ.ค. วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ฟังขึ้นให้ส่งคำวินิจฉัยนั้นไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ท. เพื่อพิจารณาทบทวน แล้วแจ้งผลการทบทวนไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อดำเนินการต่อไป ในกรณีที่ผู้ถูกลงโทษไม่เห็นด้วยกับผลการทบทวนดังกล่าวให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดได้
                                        8.4.4 แก้ไขเพิ่มเติมกรณีที่การกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ชี้มูลความผิดทางวินัย เป็นความผิดทางอาญาให้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการดำเนินคดี โดยให้ถือว่าการดำเนินการและสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นการสอบสวนและสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา สำหรับความผิดอันยอมความได้และหน่วยงานของรัฐเป็นผู้เสียหาย ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. แจ้งให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ในกรณีผู้ถูกกล่าวหาอยู่ในศาลทหาร ให้การดำเนินคดีอาญาเป็นหน้าที่และอำนาจของอัยการทหารและให้อำนาจอัยการสูงสุด เป็นอำนาจของเจ้ากรมพระธรรมนูญ
                                        8.4.5 แก้ไขเพิ่มเติมกรณีการกระทำความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติชี้มูลนั้นก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นกรณีออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. แจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการหาตัวผู้รับผิดชดใช้ความเสียหายหรือพิจารณาเพิกถอนเอกสารสิทธิหรือสิทธิดังกล่าวแล้วแต่กรณีโดยเร็ว แล้วรายงานให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ทราบ
                    9. กำหนดให้มีตำแหน่งหัวหน้าพนักงาน ป.ป.ท. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการไต่สวนเช่นเดียวกับหัวหน้าพนักงานไต่สวนของสำนักงาน ป.ป.ช. และกำหนดเหตุยกเว้นโทษสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด และได้มีการโต้แย้งการกระทำความผิดหรือได้แจ้งข้อมูลต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย
                    10. กำหนดเหตุลดโทษและยกเว้นโทษ สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกชี้มูลว่ากระทำความผิด เมื่อเป็นการกระทำโดยสุจริตและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
                    11. กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. กรรมการ อนุกรรมการไต่สวน พนักงาน ป.ป.ท. เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. หรือบุคคลซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ท. แต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ใดที่ได้เปิดเผยข้อมูลจากการปฏิบัติหน้าที่การกระทำนั้นเป็นการฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปีและปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 100,000 บาท
                    12. กำหนดให้บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง และมติที่ออกตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ แต่ให้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมหรือออกใหม่ เพื่อรองรับให้บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง และมติที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้


5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่สมาชิกหรือบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้หรือทายาท (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่สมาชิกหรือบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้หรือทายาท (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                    1. กค. ได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยการจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่สมาชิกหรือบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้หรือทายาท พ.ศ. 2558 ซึ่งออกตามความในมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินบำนาญ การจ่ายเงินดำรงชีพ                 การจ่ายเงินกรณีสมาชิกถึงแก่ความตาย การจ่ายเงินกรณีสมาชิกทุพพลภาพ การจ่ายเงินกรณีสมาชิกลาออก     การจ่ายเงินกรณีสมาชิกสิ้นสภาพ และการจ่ายเงินกรณีผู้รับบำนาญหรือผู้รับเงินดำรงชีพถึงแก่ความตาย
                    2. โดยที่ปัจจุบันได้มีการนำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้มากขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นทางเลือกให้กับสมาชิก กอช. ในการรับเงินบำนาญและเงินดำรงชีพ รวมทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่สมาชิก ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของกองทุน ลดขั้นตอนและภาระของประชาชน ตลอดจนเป็นการสนับสนุนมาตรการของภาครัฐตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 2 ตุลาคม 2561 กค. พิจารณาแล้วเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงว่าด้วยการจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่สมาชิกหรือบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้หรือทายาท พ.ศ. 2558
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    แก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจ่ายเงินบำนาญและเงินดำรงชีพ ของ กอช. ดังนี้
ประเด็นที่แก้ไข          ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่สมาชิกฯ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
1. เพิ่มเติมวิธีการให้กองทุนแจ้งสมาชิกทราบก่อนสิ้นสมาชิกภาพสามเดือนและวิธีการรับเงินบำนาญหรือเงินดำรงชีพที่สมาชิกได้เลือกไว้ (ร่างข้อ 1)
- เดิม กำหนดให้ยื่นสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการออกให้ และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร กรณีเลือกวิธีการรับเงินโดยการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร


- กำหนดให้อำนาจคณะกรรมการ กอช. กำหนดวิธีการแจ้งสมาชิกด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด โดยยกเลิกการยื่นสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการออกให้ แต่ยังคงต้องยื่นสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร กรณีเลือกวิธีการรับเงินโดยการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร
2. เพิ่มเติมวิธีการให้สมาชิกแจ้งกองทุนทราบสำหรับการเลือกวิธีการรับเงินบำนาญหรือเงินดำรงชีพ (ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สมาชิกได้รับหนังสือแจ้ง) (ร่างข้อ 1)
- เดิม ไม่ได้กำหนด



- กำหนดให้อำนาจคณะกรรมการ กอช. กำหนดวิธีการแจ้งกองทุนด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
3. ลดภาระเอกสารและหลักฐานในการยื่นคำขอรับเงินจากกองทุนกรณีสมาชิกสิ้นสภาพเพราะความตายหรือลาออก/ผู้รับบำนาญหรือผู้รับเงินดำรงชีพถึงแก่ความตาย/สมาชิกทุพพลภาพก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ (ร่างข้อ 2 - ข้อ 4)
- เดิม กำหนดให้ยื่น (1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิได้รับเงิน/ทายาท/สมาชิกหรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการออกให้ (2) สำเนาใบมรณบัตร (3) สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินเป็นคู่สมรสของสมาชิก) และ (4) สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนที่รับรองว่าเป็นบุตรหรือสำเนาคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย (กรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินเป็นบุตรของสมาชิก)




- ยกเลิกการยื่น (1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิได้รับเงิน/ทายาท/สมาชิกหรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการออกให้ (2) สำเนาใบมรณบัตร (3) สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินเป็นคู่สมรสของสมาชิก) และ (4) สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนที่รับรองว่าเป็นบุตรหรือสำเนาคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้น กรณีที่สมาชิกมิได้แสดงเจตนาไว้) (กรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินเป็นบุตรของสมาชิก)
4. เพิ่มเติมวิธีการให้กองทุนแจ้งผู้ยื่นคำขอรับเงินเพื่อให้แก้ไขหรือส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมและวิธีการในการยื่นเอกสารหรือหลักฐานจากผู้ยื่นคำขอรับเงินให้กองทุน (ร่างข้อ 5)
- เดิม ไม่ได้กำหนด



- กำหนดให้อำนาจคณะกรรมการ กอช. กำหนดวิธีการแจ้งผู้ยื่นคำขอรับเงินและวิธีการยื่นเอกสารหรือหลักฐานให้กองทุนด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ยธ. เสนอว่า คณะกรรมการคดีพิเศษในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษเสนอ ดังนี้
                    1. ?ให้คง? คดีความผิดทางอาญาที่เป็นคดีพิเศษ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 จำนวน 3 ฉบับ ซึ่ง สคก. ได้ตรวจพิจารณาแล้วให้ยกเลิกคดีความผิดตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 ธันวาคม 2562 ประกอบด้วย
                              (1) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง
                              (2) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยา
                              (3) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
เนื่องจากพบว่ามีการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับเครื่องสำอาง ยา และอาหาร เป็นการกระทำความผิดที่เกิดโดยการปลอมผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภค มีการนำวัตถุที่ต้องห้ามมาใช้เป็นส่วนผสม มีการใช้สถานที่ผลิตที่ไม่มีมาตรฐาน มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลและใช้สื่อดิจิทัลในการกระทำความผิดในช่องทางต่าง ๆ อีกทั้งมีการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ยา และอาหารให้มีศักยภาพในการแข่งขันในระดับสากล                ทั้งในเรื่องการผลิต การนำเข้า หรือการขาย ส่งผลให้คดีความผิดในกลุ่มนี้มีจำนวนผู้เสียหายเป็นวงกว้าง และส่งผลให้การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น อาจเกิดอันตรายแก่ประชาชน มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ความมั่นคงของประเทศหรือระบบเศรษฐกิจ หรือการคลังของประเทศ ลักษณะของการกระทำความผิดมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น                  จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานที่เป็นพิเศษ
                    2. ?ให้เพิ่มเติม? คดีความผิดทางอาญา จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย
                              (1) คดีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด เนื่องจากคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด รัฐบาลมุ่งเน้นนโยบายเรื่องการปราบปรามยาเสพติด และ ยธ. ได้มอบนโยบายให้กรมสอบสวนคดีพิเศษมีบทบาทในการปราบปรามยาเสพติด และใช้มาตรการในการริบทรัพย์สินเครือข่ายการค้ายาเสพติดให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
                              (2) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา เนื่องจากปัญหาหนี้นอกระบบซึ่งเป็นปัญหาอันนำไปสู่ปัญหาอาชญากรรมประเภทอื่น ๆ โดยผู้ให้กู้ยืมเงินไม่ใช่สถาบันทางการเงินที่อยู่ภายใต้กฎหมายและไม่มีการติดตามหรือควบคุมจากทางราชการ แต่มักเป็นองค์กรอาชญากรรมที่มีการแบ่งหน้าที่กันทำ และมักใช้วิธีการทวงหนี้ ข่มขู่ บังคับ หรือใช้วิธีความรุนแรง บางครั้งอาจรวมกลุ่มกับผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ จึงทำให้มีลักษณะการกระทำความผิดที่สลับซับซ้อน
                              (3) คดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก เนื่องจากปัญหาสื่อลามกอนาจารเด็กที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ทำให้เด็กสามารถรับรู้ เข้าถึง และเผยแพร่สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อันอาจส่งผลกระทบต่อเด็กโดยตรง ทำให้เด็กถูกล่อลวงหรือชักจูงให้ตกเป็นเหยื่อของการล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งเป็นอาชญากรรมต่อเด็กรูปแบบใหม่ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและมีพฤติการณ์ที่สลับซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ และการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็กมีส่วนสัมพันธ์กันกับการล่วงละเมิดทางเพศเด็กและการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กในรูปแบบอื่น อาทิ การกระทำชำเรา การกระทำอนาจาร
                              จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น การกระทำความผิดในเรื่องยาเสพติด หนี้นอกระบบ และสื่อลามกอนาจารเด็ก ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ หรือเป็นการกระทำความผิดข้ามชาติที่สำคัญ หรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรม หรือผู้ทรงอิทธิพลสำคัญเป็นตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน หรืออาจมีพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้ต้องสงสัย หรือมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าน่าจะได้กระทำความผิด จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานที่เป็นพิเศษ
                    3. ?ให้ยกเลิก? คดีความผิดทางอาญาที่เป็นคดีพิเศษที่ปรากฏในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 เนื่องจากได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 จำนวน 2 ฉบับ ประกอบด้วย
                              (1) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
                              (2) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ
                    4. นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นชอบให้นำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 กฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 และกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 รวม 3 ฉบับ โดยปรับเพิ่มและยกเลิกคดีความผิดทางอาญาที่ต้องดำเนินการสืบสวนและสอบสวนตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ จากร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้วตามมติคณะรัฐมนตรี (3 ธันวาคม 2562) โดยกำหนดให้คดีความผิดทางอาญาเป็นคดีพิเศษเพิ่มเติมจากบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 รวม 20 ฉบับ ดังนี้
                    1. คงคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม 3 ฉบับ เป็นคดีพิเศษ ได้แก่ คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยา และคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
                    2. เพิ่มเติมคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม 3 ฉบับ เป็นคดีพิเศษ ได้แก่ คดีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา และคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก
                    3. ยกเลิกคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม 2 ฉบับ เป็นคดีพิเศษ ได้แก่ คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ
คดีความผิดอาญาตามกฎกระทรวงฯ
ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว
(ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 62)
คดีความผิดอาญาตามร่างกฎกระทรวงฯ
ที่ ยธ. เสนอ
(1) คดีความผิดตามประมวลรัษฎากร
(2) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
(3) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต
(4) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
(5) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ
(6) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(7) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(8) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(9) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยแร่
(10) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(11) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง

(12) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย
(13) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยา
(14) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
(15) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
(16) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้
(17) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ
(18) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ
(19) คดีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน          (1) คดีความผิดตามประมวลรัษฎากร
(2) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
(3) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต
- ยกเลิก -
- ยกเลิก -
(4) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(5) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(6) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(7) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยแร่
(8) คดีความผิดตามกฎมหายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(9) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง (คงไว้)
(10) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอัตราย
(11) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยา (คงไว้)
(12) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร (คงไว้)
(13) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้ายการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
(14) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้
(15) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ
(16) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ
(17) คดีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
(18) คดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก (เพิ่มเติม)
(19) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา (เพิ่มเติม)
(20) คดีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด (เพิ่มเติม)

7. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ โดยเป็นผังพื้นที่เปิดใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อให้เป็นชุมชนเกษตรกรรมที่น่าอยู่ มีความเป็นระเบียบ เป็นศูนย์กลางการผลิต การซื้อขายและบริการทางการเกษตร ศูนย์บริการท่องเที่ยวเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติด้านตะวันตกของจังหวัด ศูนย์การค้าและการบริการระดับท้องถิ่นที่มีความพร้อมทางสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และบริการสาธารณะได้มาตรฐานทางผังเมือง โดยได้มีการกำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งหมด 10 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ  รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อให้เป็นเมืองน่าอยู่ ดำรงรักษาเมืองและรักษาพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม เป็นศูนย์กลางการผลิต การซื้อขายและบริการทางการเกษตรระดับชุมชน โดยการจัดการด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะและสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
                    1. กำหนดให้ผังเมืองรวมชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อ จังหวัดนครสวรรค์ มีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมและขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
                              1.1 ส่งเสริมให้ชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อเป็นศูนย์กลางการบริหาร การปกครอง การพาณิชยกรรม และการบริการในระดับอำเภอ
                              1.2 ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรมบริการให้สอดคล้องกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม ศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่และการขยายตัวของชุมชน
                              1.3 พัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน
                              1.4 ส่งเสริม อนุรักษ์ และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมที่มีคุณค่าทางศาสนา ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณสถาน เพื่อดำรงความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน
                              1.5 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งหมด 10 ประเภท ดังนี้
ประเภท          วัตถุประสงค์
1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง)
















2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม)















3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง)

















4. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว)



















5. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม              (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว)














6. ที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาล)



7. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน)



8. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก)




9. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน)



10. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน)          - เป็นพื้นที่รอบนอกชุมชนเมืองต่อจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยที่เบาบาง มีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว โดยมีข้อจำกัดเรื่องประเภทและความสูงของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่การอยู่อาศัยประเภทอาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม หรืออาคารขนาดใหญ่ และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคสำหรับการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อปัญหาสุขอนามัยชุมชน คลังเชื้อเพลิง คลังวัตถุระเบิดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย การกำจัดขยะมูลฝอย ซื้อขายเศษวัสดุ โรงฆ่าสัตว์ สุสาน ฌาปนสถาน เป็นต้น และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอุตสาหกรรมบริการ เช่น การตัดเย็บเสื้อผ้า การซ่อมรถจักรยานยนต์ การแปรรูปอาหารหรือคลังสินค้าระดับท้องถิ่น เป็นต้น

- เป็นพื้นที่บริเวณต่อเนื่องหรือล้อมรอบพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางที่มีการสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม โดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคสำหรับการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อปัญหาสุขอนามัยชุมชน คลังเชื้อเพลิง คลังวัตถุระเบิดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย การกำจัดขยะมูลฝอย ซื้อขายเศษวัสดุ โรงฆ่าสัตว์ สุสาน ฌาปนสถาน เป็นต้น และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็กและอุตสาหกรรมบริการ เช่น การตัดเย็บเสื้อผ้า การซ่อมรถจักรยานยนต์ การแปรรูปอาหาร หรือคลังสินค้าระดับท้องถิ่น เป็นต้น

- เป็นศูนย์กลางชุมชนเมืองและศูนย์กลางรองในกรณีเมืองมีพื้นที่กว้างจำเป็นต้องมีหลายศูนย์กลาง มีวัตถุประสงค์ให้เป็นบริเวณที่ประกอบพาณิชย์ ธุรกิจ และการค้า ประกอบด้วย ตลาด ศูนย์การค้า สำนักงาน โรงแรม โดยไม่มีการจำกัดความสูงและพื้นที่ของอาคาร ซึ่งกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากเพื่อรองรับการประกอบกิจการดังกล่าว และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคสำหรับการอยู่อาศัยที่ดี และการประกอบพาณิชย์ ธุรกิจ และการค้า ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อปัญหาสุขอนามัยชุมชน คลังเชื้อเพลิง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง คลังวัตถุระเบิดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย การกำจัดขยะมูลฝอย ซื้อขายเศษวัสดุ สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ สุสาน ฌาปนสถาน เป็นต้น และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็กและอุตสาหกรรมบริการ เช่น การตัดเย็บเสื้อผ้า การซ่อมรถจักรยานยนต์ การแปรรูปอาหาร หรือคลังสินค้าระดับท้องถิ่น เป็นต้น

- เป็นพื้นที่ฉนวน (Buffer Zone) ของชุมชนเมืองให้คงสภาพชนบทและประกอบอาชีพเกษตรกรรม                   มีวัตถุประสงค์ให้เป็นพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรมควบคุมการขยายตัวของชุมชน และรักษาคุณค่าของพื้นที่เกษตรกรรม ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในพื้นที่บริเวณรอบชุมชน ประกอบด้วย พื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เช่น ทำไร่ ทำนา ทำสวน หรือเลี้ยงสัตว์ และแม่น้ำ เป็นต้น และสามารถสร้างที่อาศัยได้เฉพาะบ้านเดี่ยว โดยมีข้อจำกัดเรื่องประเภท และความสูงของอาคาร ซึ่งต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสร้างที่อยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชย   กรรมที่มีความหนาแน่น เช่น ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม คลังเชื้อเพลิง คลังวัตถุระเบิดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย เป็นต้น และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็กและอุตสาหกรรมขนาดกลาง เช่น การซ่อมรถยนต์ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร หรือคลังสินค้า เป็นต้น

- เป็นพื้นที่ที่มีคุณภาพของดินเหมาะสมเพื่อการเกษตรกรรม หรือพื้นที่สีเขียวเปิดโล่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์อาชีพเกษตรกรรมให้มั่นคง การรักษาคุณค่าแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในพื้นที่บริเวณรอบชุมชน ประกอบด้วย พื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เช่น ทำไร่ ทำนา ทำสวน หรือเลี้ยงสัตว์ พื้นที่ชุ่มน้ำ และแม่น้ำ เป็นต้น และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสร้างที่อยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมที่มีความหนาแน่น เช่น ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม คลังเชื้อเพลิง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง คลังวัตถุระเบิดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย การกำจัดขยะมูลฝอย ซื้อขายเศษวัสดุ สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ สุสาน ฌาปนสถาน และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

- เป็นพื้นที่เขตดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

- เป็นพื้นที่โล่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ มีที่พักผ่อนหย่อนใจ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น สวนป่า สาธารณประโยชน์

- มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น โรงเรียนเทพศาลาประชาสรรค์ และโรงเรียนศาลเจ้าไก่ต่อ เป็นต้น

- มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สถาบันศาสนาตามการใช้ที่ดินในปัจจุบัน เช่น วัดบ้านบุ่ง วัดป่าสันติธรรม วัดศาลเจ้าไก่ต่อ เป็นต้น

- มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ สำนักงานเทศบาลตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนและศูนย์พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ และการประปาเทศบาลตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ เป็นต้น
                    3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท
                    4. กำหนดข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย               ก 3 ถนนสาย ก 4 ถนนสาย ก 5 ถนนสาย ก 6 ถนนสาย ก 7 ถนนสาย ข 1 และถนนสาย ข 2 ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยให้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้
                              4.1 การสร้างถนนหรือที่เกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
                              4.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง
                              4.3 เกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่

8. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอื่นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลเขาดิน อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอื่นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลเขาดิน อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลเขาดิน อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี รวมเนื้อที่ประมาณ 14 ไร่ 46 ตารางวา ซึ่งปัจจุบันราษฎรได้เลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงนี้ทั้งแปลงแล้ว เพื่อมอบหมายให้เทศบาลตำบลเขาดินใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลเขาดิน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเพื่อใช้ประโยชน์ในทางราชการอื่น ๆ ของเทศบาลตำบลเขาดิน

เศรษฐกิจ สังคม

9. เรื่อง ร่างแผนแม่บทพัฒนาการป่าไม้แห่งชาติ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแผนแม่บทพัฒนาการป่าไม้แห่งชาติ (พ.ศ. 2565 - 2580) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ร่างแผนแม่บทพัฒนาการป่าไม้แห่งชาติจัดทำขึ้นเพื่อแปลงนโยบายป่าไม้แห่งชาติสู่การปฏิบัติ โดยมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี 2565 - 2580 มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศภายในปี 2580 ประกอบด้วยป่าอนุรักษ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 และป่าเศรษฐกิจและป่าชุมชน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 โดยกำหนดมาตรการทั้งสิ้น 35 ข้อ จำแนกเป็น 3 ด้าน ตามนโยบายป่าไม้แห่งชาติและมาตรการแต่ละด้านได้กำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนระยะเวลาดำเนินการและผู้รับผิดชอบหลักไว้แล้วเพื่อให้สามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ (คปช.) แล้ว

10. เรื่อง ขออนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในการจ่ายเงินงบอุดหนุนเฉพาะกิจ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในการจ่ายเงินงบอุดหนุนเฉพาะกิจ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (โครงการฯ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 933,557,100 บาท ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พม. รายงานว่า
                    1. โครงการฯ เป็นนโยบายสำคัญระดับชาติ มุ่งเน้นให้เด็กแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ และมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย เพื่อเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพในอนาคต การได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อยได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย ถือเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่รัฐบาลส่งผ่านบิดา มารดา หรือผู้ปกครองไปยังเด็กแรกเกิด โดยให้เงินอุดหนุนเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน ซึ่งหากไม่ได้รับเงินอุดหนุนอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้ครอบครัวของเด็กแรกเกิดได้รับความเดือดร้อน พร้อมทั้งส่งผลให้เด็กไม่ได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพและเหมาะสมตามวัย
                    2. พม. ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบอุดหนุนเฉพาะกิจ (เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด) เพื่อเบิกจ่ายให้กับผู้มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด จำนวน 2,655,272 คน สรุปได้ ดังนี้
ประเภทงบประมาณ          วงเงิน (บาท)
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบอุดหนุนเฉพาะกิจ (เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด)          16,659,489,900
เงินกันเหลื่อมปีประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของโครงการฯ          8,243,600
รวมเป็นเงิน          16,667,733,500
โดยเมื่อเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้มีสิทธิตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ? สิงหาคม 2565 จำนวน 16,154,592,600 บาท ทำให้ พม. มีงบประมาณคงเหลือ จำนวน 513,140,900 บาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อการเบิกจ่ายให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดในรอบเดือนกันยายน 2565 จำนวน 2,354,558 คน จำนวนเงินเบิกจ่าย จำนวน 1,465,000,000 บาท ดังนั้น พม. (กรมกิจการเด็กและเยาวชน) จำเสนอ สงป. เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 1,011,398,900 บาท
                    3. พม. แจ้งว่า สงป. ได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้วนายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้ พม. (กรมกิจการเด็กและเยาวชน) ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 933,557,100 บาท เพื่อเป็นเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ที่จะได้รับเงินต่อเนื่องในเดือนกันยายน 2565 โดยให้ดำเนินการด้วยความสุจริต โปร่งใส               มีประสิทธิภาพและตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน และให้กรมกิจการเด็กและเยาวชนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติตามนัยระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ข้อ 9 (3) ด้วย
                    4. ประโยชน์ที่จะได้รับ
                              4.1 ด้านสาธารณสุข ช่วยให้เด็กอายุ 0 ? 6 ปี ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี และเป็นกำลังของสังคมและเศรษฐกิจในอนาคต ทั้งนี้ ข้อมูลพบว่าเด็กในโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 1,863,274 คน มีข้อมูลอยู่ในคลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center: HDC)1 จำนวน 1,751,328 คน ซึ่งได้รับการประเมินพัฒนาการ จำนวน 1,377,582 คน คิดเป็นร้อยละ 78.66 ของเด็กที่มีข้อมูลอยู่ใน HDC และเด็กที่ได้รับการประเมินพัฒนาการดังกล่าวมีพัฒนาการสมวัย จำนวน 1,312,777 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 95.30 (ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2563) ทำให้เห็นว่าการได้รับเงินอุดหนุนจากโครงการฯ เป็นช่องทางหนึ่งที่เพิ่มการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของเด็ก
                              4.2 ด้านเศรษฐกิจ การลงทุนพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและให้ผลตอบแทนแก่สังคมที่ดีที่สุดในระยะยาว โดยให้ผลตอบแทนกลับคืนมาในอนาคต 7 - 10 เท่า2 ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย อาทิ ทักษะที่สูงขึ้น ผลการเรียนที่ดีขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น การเจ็บป่วยที่ลดลง และอาชญากรรมที่ลดลง เป็นต้น
                              4.3 ด้านการลดความเหลื่อมล้ำ โครงการฯ ทำให้เด็กแรกเกิดสามารถเข้าถึงบริการทางสังคมได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ได้รับการพัฒนาให้เติบโตอย่างเหมาะสมตามวัย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องสามารถระบุกลุ่มเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและจัดสวัสดิการตามภารกิจของหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ข้อมูลประมาณการจำนวนประชากรของ สศช. ในปี 2565 พบว่า จะมีเด็กอายุ 0 - 6 ปี จำนวนทั้งสิ้น 4,183,308 คน โดยประมาณการเด็กที่อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่า 100,000 บาท/คน/ปี จะมีจำนวน 2,655,272 คน หากให้เงินอุดหนุนแก่เด็กอายุ 0- 6 ปี ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในอัตรา 600 บาท/คน/เดือน จะใช้งบประมาณ จำนวน 16,659.4899 ล้านบาท และงบประมาณจะลดลงทุกปี เพราะจำนวนเด็กที่เกิดใหม่ลดลง โดยคาดว่าในปี 2568 จะใช้งบประมาณ จำนวน 12,870.6264 ล้านบาท โครงการฯ จึงจะไม่สร้างภาระผูกพันให้รัฐบาลในระยะยาว
1เป็นระบบฐานข้อมูลกลางด้านสุขภาพ ซึ่งรวบรวมข้อมูลสาธารณสุขของสถานบริการภายใต้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับต่าง ๆ ใน สธ.
2อ้างอิงจาก เจมส์ เจ เฮคแมน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2542

11. เรื่อง ขอความเห็นชอบการกู้เงินในประเทศ ปีงบประมาณ 2565 สำหรับแผนงานขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ปี 2565 ? 2566 ซึ่งเป็นแผนงานระยะยาวใหม่ของการไฟฟ้านครหลวง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)               กู้เงินในประเทศ ปีงบประมาณ 2565 สำหรับแผนงานขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ปี 2565 ? 2566 ซึ่งเป็นแผนงานระยะยาวใหม่ของ กฟน. ภายใต้กรอบวงเงิน 2,300 ล้านบาท
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    มท. รายงานว่า
                    1. กฟน. ขอกู้เงินในประเทศ ปีงบประมาณ 2565 สำหรับแผนงานขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ปี 2565 - 2566 ซึ่งเป็นแผนงานระยะยาวใหม่ของ กฟน. สำหรับระยะเวลาดำเนินงานและเบิกจ่ายปี 2565 จำนวน 3,337.3 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงินทุนจากรายได้ของ กฟน. จำนวน 1,037.3 ล้านบาท และเงินกู้จำนวน 2,300 ล้านบาท
                    2. กฟน. ได้กำหนดแผนงานขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ปี 2565 - 2566 ซึ่งจะดำเนินงานพัฒนาระบบจ่ายไฟฟ้าแรงดันกลางและต่ำ โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                                                                                                             หน่วย : ล้านบาท
แผนงานระยะยาวใหม่          วงเงิน
เต็มแผนงาน          แหล่งเงินทุน
                    เงินกู้
ในประเทศ          เงินรายได้
แผนงานขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ปี 2565 ? 2566 เป็นแผนงานเพื่อรองรับการบริการขอใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าและรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในเขตให้บริการของ กฟน. ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเขตจำหน่าย รวมถึงพัฒนาระบบไฟฟ้าสมัยใหม่เพื่อตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของ กฟน.
การดำเนินการ :
- ก่อสร้างและปรับปรุงสายป้อนระดับแรงดัน 12 ? 24 กิโลโวลต์ สายแรงดันกลางและต่ำ* หม้อแปลงจำหน่าย เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า และตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Capacitor) พร้อมอุปกรณ์ประกอบ
- จัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า Load Break Switch : LBS (เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตัดวงจรไฟฟ้าในขณะที่มีการโหลดของกระแสไฟฟ้า) สำหรับโครงการจัดการพลังไฟฟ้าระบบจำหน่ายระยะไกล          ปี 2565
          3,337.3          2,300.0**          1,037.3
          ปี 2566
          5,529.1          4,200.0***          1,329.1
(รวมเงิน
สำรอง 285.3)
รวมทั้งสิ้น          8,866.4          6,500.0          2,366.4
หมายเหตุ :   * สายไฟฟ้าแรงดันกลางใช้ได้กับแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 1,000 ? 36,000 โวลต์และสายไฟฟ้า
                แรงดันต่ำใช้ได้กับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 1,000 โวลต์
               ** ขอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการกู้เงินในครั้งนี้
              *** จะมาขอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    3. กฟน. ได้วิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุนแผนงานขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ปี 2565 ? 2566 สรุปได้ ดังนี้
                                                                                                           หน่วย : ร้อยละ
หัวข้อ          ผลการวิเคราะห์          ตัวทุนเงินลงทุน
ถัวเฉลี่ย (WACC)
อัตราผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์ (EIRR)          11.58          10.00
อัตราผลตอบแทนทางด้านการเงิน (FIRR)          9.87          4.26
หมายเหตุ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้กำหนดเกณฑ์อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return : EIRR) ที่เหมาะสมอยู่ระหว่างร้อยละ 9 - 12 แล้วแต่ลักษณะของโครงการและสำหรับการวิเคราะห์ความเหมาะสมทางการเงินของโครงการอัตราผลตอบแทนทางการเงิน (Financial Internal Rate of Return: FIRR) ควรมากกว่าอัตราเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักต้นทุนเงินลงทุนของโครงการ (Weighted Cost of Capital: WACC)
โดยอัตราผลตอบแทนการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) อยู่ที่ร้อยละ 11.58 และอัตราผลตอบแทนทางด้านการเงิน (FIRR) มีค่าสูงกว่าต้นทุนเงินลงทุนถัวเฉลี่ย (WACC) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ของ สศช. รวมทั้งมีสมมติฐานว่า ผลตอบแทนของโครงการดังกล่าวจะได้กำไรจากการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าส่วนที่เพิ่มขึ้นและการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าส่วนเดิมที่ได้จากการเปลี่ยนอุปกรณ์เสื่อมสภาพ รวมทั้งมีมูลค่าความสูญเสียเนื่องจากไฟฟ้าดับลดลง (คำนวณจากอัตราผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์)
                    4. กฟน. แจ้งว่า การดำเนินแผนงานขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ปี 2565 - 2566 จะช่วยให้ กฟน. มีระบบจำหน่ายที่มีคุณภาพเชื่อถือได้และปลอดภัย เสริมความมั่นคงและความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ลดการชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้า อีกทั้งยังเพิ่มความสามารถในการจ่ายไฟฟ้า แก้ไขปัญหาไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง เสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรในการใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพและทันสมัย
                    5. สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 มีมติเห็นชอบโครงการปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า ระยะที่ 13 ของ กฟน. ในส่วนของงานกลุ่มที่ 1 งานพัฒนาระบบจ่ายไฟฟ้าแรงดันกลางและต่ำเพื่อให้บริการผู้ใช้ไฟฟ้า กรอบวงเงิน 8,866.4 ล้านบาท และในระยะต่อไปเห็นควรให้ กฟน. เสนอขออนุมัติการลงทุนรายการดังกล่าวเป็นแผนระยะยาวภายใต้งบลงทุนประจำปีของ กฟน. เพื่อให้มีความสอดคล้องกับลักษณะการลงทุน ซึ่งจะช่วยให้ กฟน. สามารถบริหารงบลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                    6. มท. แจ้งว่า กค. สำนักงบประมาณ (สงป.) และ สศช. พิจารณาแล้วเห็นชอบ/เห็นสมควรที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ กฟน. ดำเนินการกู้เงินในประเทศ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ภายในกรอบวงเงิน 2,300 ล้านบาท เพื่อใช้สำหรับการลงทุนในแผนงานขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าปี 2565 ? 2566

12. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณทุนประเดิมตามมาตรา 9 และมาตรา 48 ของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) โดยใช้รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 363,003,900 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) (สถาบันฯ) ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คค. รายงานว่า
                    1. การจัดตั้งสถาบันฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยมีหน่วยงานหลักในด้านงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางอย่างเป็นระบบ ซึ่งถือเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่จะสนับสนุนการพัฒนาระบบรางได้อย่างยั่งยืนและลดการพึ่งพาต่างประเทศ รวมถึงการผลักดันให้มีการศึกษา วิจัย เปรียบเทียบเทคโนโลยีระบบราง และประเมินความต้องการด้านเทคโนโลยีระบบราง เพื่อใช้ในการวางยุทธศาสตร์ของประเทศการบริหารจัดการงานวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบรางและการขนส่งทางราง ตลอดจนการรับแลกเปลี่ยน และถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และส่งเสริมอุตสาหกรรมในระบบการขนส่งทางราง รวมถึงบูรณาการความร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีระบบราง
                    2. เนื่องจากสถาบันฯ เป็นหน่วยงานใหม่ที่จัดตั้งขึ้นระหว่างปีงบประมาณจึงไม่ได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2564 มาตรา 9 (1) กำหนดให้เงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิม เป็นทุนและทรัพย์สินในการดำเนินกิจการของสถาบันฯ และ     มาตรา 48 กำหนดให้ในวาระเริ่มแรกให้คณะรัฐมนตรีจัดสรรทุนประเดิมให้แก่สถาบันฯ ตามความจำเป็น ดังนั้น คค. โดยสถาบันฯ ได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณทุนประเดิมตามมาตรา 9 และมาตรา 48 ของสถาบันฯ โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานของสถาบันฯ เป็นระยะเวลา 18 เดือน (เดือนเมษายน 2565 - กันยายน 2566)

13. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2567 เพื่อดำเนินโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2567 จำนวน 28,277,800 บาท โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 14,113,900 บาท สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ? 2567 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะได้ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สศช. รายงานว่า
                    1. เพื่อเป็นการหาทางออกในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่จากการดำเนินการขยายผลโครงการเมืองต้นแบบ ?สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน? ไปสู่เมืองต้นแบบที่ 4 อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา              ?เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต? ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2565  สศช. ในฐานะหน่วยงานหลักที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ให้ทำหน้าที่พัฒนาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ให้เป็นที่ยอมรับและถูกนำมาใช้เป็นกรอบในการวางแผนพัฒนาประเทศโดยได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสำหรับการจัดทำแผนพัฒนาด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 จำนวน 4 ครั้ง โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเครือข่ายการพัฒนาในพื้นที่ ประกอบด้วย (1) กลุ่มภาครัฐและเอกชน (2) กลุ่มผู้ห่วงใยจะนะ (3) กลุ่มแนวร่วมการพัฒนา และ (4) กลุ่มนักวิชาการ เพื่อรับฟังความคิดเห็นในประเด็นสำคัญที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factors) สำหรับการจัดทำ SEA เช่น ความคาดหวังต่อการจัดทำแผนพัฒนา โดยใช้ SEA เป็นเครื่องมือ ประเด็นข้อห่วงใยเกี่ยวกับการพัฒนาในพื้นที่ แผนพัฒนาที่ควรใช้ SEA ในการจัดทำพื้นที่ขอบเขตการศึกษา และระยะเวลาในการดำเนินการ ประเด็นอ่อนไหวหรือข้อพึงระวังในการดำเนินการ  เกณฑ์การคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่จะเป็นคณะกรรมการกำกับงาน SEA เป็นต้น
                    2. เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นายกรัฐมนตรีรับทราบแนวทางการจัดให้มีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) และแผนแม่บทต่าง ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 โดย สศช. ได้จัดทำโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานีด้วยกระบวนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ตามแนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง) ของ สศช. ซึ่งจะส่งผลให้แผนมีความสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ คำนึงถึงความสมดุลของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีกรอบระยะเวลาดำเนินงาน 18 เดือน นับถัดจากวันที่ลงนามในสัญญาจ้างที่ปรึกษา และมีกรอบวงเงินงบประมาณ 28,227,800 บาท
                    3. สำนักงบประมาณ (สงป.) ได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว ซึ่งนายก              รัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ สศช. ดำเนินโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี  ภายในกรอบวงเงิน 28,227,800 บาท โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจำนวน 14,113,900 บาท ส่วนที่เหลือ จำนวน 14,113,900 บาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ                  พ.ศ. 2566-2567 โดยให้ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ เนื่องจากโครงการดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินงานมากกว่า 1 ปี จึงขอให้ สศช. นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ตามนัยมาตรา 42 ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561

14. เรื่อง กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 1 กันยายน 2565 เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    รง. รายงานว่า
                    1. ในการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 ได้ศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560คือ อัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่น โดยคำนึงถึงดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ความสามารถของธุรกิจ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
                    2. คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 ได้กระจายอำนาจการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไปยังภูมิภาค โดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กรุงเทพมหานคร และคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด รวม 77 คณะ เป็นองค์กรไตรภาคีเช่นเดียวกับคณะกรรมการค่าจ้าง เพื่อให้ทำหน้าที่เสนออัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละพื้นที่มากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง เพื่อพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอของจังหวัด ศึกษาข้อมูลข้อเท็จจริงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้สอดคล้องกับกรอบแนวทางและหลักเกณฑ์การพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเสนอต่อคณะกรรมการค่าจ้าง
                    3. คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 ได้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2565 โดยศึกษาข้อมูลตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560 และได้มีการกำหนดสูตรคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยเทียบเคียงกับสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของต่างประเทศ เช่น สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธรัฐมาเลเซีย สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล และสาธารณรัฐคอสตาริกา ซึ่งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ยอมรับว่าเป็นสูตรคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่สามารถดูแลคุณภาพชีวิตของลูกจ้างได้
                    4. การพิจารณาในครั้งนี้ได้ใช้สูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการคำนวณ คือ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่                   6 ธันวาคม 2562 อัตราการสมทบของแรงงานต่อ GDP อัตราการเติบโตของผลิตภาพแรงงาน อัตราเงินเฟ้อ และตัวแปรเชิงคุณภาพตามมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560 โดยพิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกของปี 2565 พบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.7 ? 3.2 และเมื่อพิจารณาการครองชีพของลูกจ้าง พบว่า ราคาสินค้าที่จำเป็นในการครองชีพของผู้ใช้แรงงานมีราคาสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารสด อาหารสำเร็จรูป และก๊าซหุงต้ม ดังนั้น เพื่อรักษาอำนาจซื้อของแรงงานทั่วไปที่เริ่มเข้าทำงานใหม่ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในแต่ละวันอย่างมีคุณภาพ ประกอบกับได้มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำล่าสุด เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 ในการประชุมครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2565 ได้มีมติให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มในอัตราวันละ 8 - 22 บาท เป็นอัตราวันละ 328 - 354 บาท โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป และให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10)ฯ โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2565 จำแนกเป็น 9 อัตรา ดังนี้
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2565
ลำดับ          อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
(บาทต่อวัน)          จำนวน
(จังหวัด)          จังหวัด
1          354          3          ชลบุรี ภูเก็ต และระยอง
2          353          6          กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
3          345          1          ฉะเชิงเทรา
4          343          1          พระนครศรีอยุธยา
5          340          14          กระบี่ ขอนแก่น เชียงใหม่ ตราด นครราชสีมา ปราจีนบุรี พังงา ลพบุรี สงขลา สระบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย และอุบลราชธานี
6          338          6          กาฬสินธุ์ จันทบุรี นครนายก มุกดาหาร สกลนคร
และสมุทรสงคราม
7          335          19          กาญจนบุรี ชัยนาท นครพนม นครสวรรค์ บึงกาฬ บุรีรัมย์
ประจวบคีรีขันธ์ พะเยา พัทลุง เพชรบุรี พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สระแก้ว สุรินทร์ อ่างทอง และอุตรดิตถ์
8          332          22          กำแพงเพชร ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย ตรัง ตาก นครศรีธรรมราช พิจิตร แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ระนอง ราชบุรี ลำปาง ลำพูน ศรีสะเกษ สตูล สิงห์บุรี สุโขทัย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ และอุทัยธานี
9          328          5          นราธิวาส น่าน ปัตตานี ยะลา และอุดรธานี
                    ทั้งนี้ การพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2565 ของคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 อยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาคและรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย ซึ่งผลการพิจารณาเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่าย เพื่อให้นายจ้างสามารถประกอบธุรกิจอยู่ได้ และลูกจ้างสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข โดยเชื่อมั่นว่าจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ หรือมีผลทำให้ราคาสินค้าและอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อภาวะการครองชีพของประชาชนโดยทั่วไป
                    5. คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 ได้มีข้อเสนอเพื่อลดผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในส่วนของค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ ดังนี้
                              5.1 ควรมีมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการที่ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) เพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้า เช่น การยกเว้น/ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือกองทุนเงินกู้สำหรับผู้ประกอบการเพื่อติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
                              5.2 กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลาง ควรปรับราคากลางงานก่อสร้าง ให้สอดคล้องกับราคาวัสดุก่อสร้างและอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น

15. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาวัคซีนต้นแบบตั้งแต่ต้นน้ำและเตรียมความพร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภายใต้การจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง  รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ  ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาวัคซีนต้นแบบตั้งแต่ต้นน้ำและเตรียมความพร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภายใต้การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง  รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรค    ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2563 ดังนี้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สธ. โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติรายงานว่า โครงการพัฒนาวัคซีนต้นแบบตั้งแต่ต้นน้ำและเตรียมความพร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน COVID-19 ประกอบด้วย 3 กิจกรรม มีผลการดำเนินงานสรุปได้ ดังนี้
กิจกรรม          ผลการดำเนินงาน
1. การพัฒนาวัคซีนต้นแบบตั้งแต่ต้นน้ำในประเทศไทยชนิด mRNA1 งบประมาณที่ได้รับจัดสรร 365                ล้านบาท ประกอบด้วย
          - วัคซีนรุ่นที่ 1 (11st Gen ChulaCoV -19, Wild-type) เพื่อทดสอบวัคซีนในมนุษย์ว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิผลในการกระตุ้นภูมิเพื่อยับยั้ง
หรือป้องกันการติดเชื้อหรือไม่ รวมทั้งทดลองผลิตวัคซีนในระดับอุตสาหกรรมตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (Good Manufacturing Practice: GMP) เองในประเทศ โดยโรงงานที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตจากต่างประเทศ
          - วัคซีนรุ่นที่ 2 (2nd Gen ChulaCoV-19;New variants) เพื่อพัฒนาและทดสอบวัคซีนในระดับ Preclinical Study ซึ่งเป็นขั้นตอนการทดสอบในหนูและลิงเพื่อดูปฏิกิริยาการสร้างภูมิคุ้มกันและทดสอบความสามารถของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อในหนูดัดแปลงพันธุกรรม รวมถึง ทดสอบความเป็นพิษของวัคซีนในหนูแรท          อยู่ระหว่างการดำเนินการต่อเนื่องไปจนถึงเดือนพฤษภาคม 2566 ภายใต้กรอบงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรไว้แล้ว โดยได้ดำเนินการ ดังนี้
? ทดสอบวัคซีนรุ่นที่ 1 ในอาสาสมัคร ซึ่งที่ผ่านมาได้ประสบปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาวัคซีนโดยมีสาเหตุสำคัญเนื่องจากมีการปรับกระบวนการผลิตทำให้ต้องทดสอบเรื่องความปลอดภัยและความเป็นพิษในสัตว์ทดลองและในอาสาสมัครเพิ่มเติมเพื่อเทียบเคียงวัคซีนที่ผลิตในต่างประเทศ ส่งผลให้การดำเนินการล่าช้ากว่าแผนประมาณ 4-6 เดือน (เดิมกำหนดเสร็จสิ้นในเดือนกันยายน 2565)
? เพิ่มการพัฒนาวัคซีนรุ่นที่ 2 ที่ตอบสนองต่อไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์โอมิครอนโดยศึกษาในสัตว์ทดลอง
จึงทำให้ต้องดำเนินการจนถึงเดือนพฤษภาคม 2566
ภายใต้กรอบงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
? มีผลการเบิกจ่ายงบประมาณ 247.14 ล้านบาท
คงเหลือ 117.86 ล้านบาท

2. การเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมการผลิตวัคซีน
ชนิด Viral vector2 งบประมาณที่ได้รับจัดสรร
596.24 ล้านบาท เพื่อทดสอบกระบวนการผลิตวัคซีน
กลุ่ม Adenovirus  ตั้งแต่ระดับห้องปฏิบัติการระดับโรงงานต้นแบบ จนถึงระดับอุตสาหกรรมและรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้ผลิตวัคซีนที่ได้มาตรฐาน รวมถึงการเตรียมการปัจจัยการผลิตในระดับอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในการขึ้นทะเบียนและทดสอบการผลิตเพื่อขึ้นทะเบียนตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์           ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง          ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีผลการเบิกจ่ายงบประมาณ 584.22 ล้านบาท ทั้งนี้ สถาบันวัคซีนแห่งชาติได้นำส่งงบประมาณคงเหลือ 12.01 ล้านบาท คืนสำนักงบประมาณเรียบร้อยแล้ว
3. การเพิ่มศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านสัตว์ทดลอง
(ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ เพื่อรองรับงานทดสอบ
และวิจัยโรคติดเชื้อในความปลอดภัยทางชีวภาพ
ระดับที่ 3)3 งบประมาณที่ได้รับจัดสรร 33.79 ล้านบาท เพื่อพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบวัคซีนและยาในสัตว์ไพรเมทให้สามารถรับบริการงานทดสอบและวิจัยโรคติดเชื้อในความปลอดภัยทางชีวภาพระดับที่ 3 ให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ได้          ? อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ที่มีความปลอดภัยทางชีวภาพระดับ 3 ทั้งนี้ ผู้ตรวจรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพได้แก้ไขแบบ โดยให้เพิ่มระบบการขจัดการปนเปื้อนในน้ำทิ้งด้วยความร้อนเข้าไปในระบบ (จากเดิมที่มีเพียงระบบการขจัดการปนเปื้อนในน้ำทิ้งด้วยสารเคมี) ซึ่งต้องมีการผลิตแบบจำเพาะ ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการผลิตและส่งมอบ คาดว่าจะผลิตแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2565 และนำมาติดตั้งได้ในเดือนกันยายน 2565 จึงจะสามารถรับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพระดับที่ 3 ได้ในเดือนตุลาคม 2565 และสามารถทดลองใช้งานได้ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565-มกราคม 2566
ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้ต้องดำเนินงานไปจนถึงเดือนมกราคม 2566
? มีผลการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 32.55 ล้านบาท คงเหลือ 1.24 ล้านบาท
1วัคซีนชนิด mRNA เป็นวัคซีนที่ผลิตจากสารพันธุกรรมของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคนั้น ๆ เมื่อฉีดวัคซีนเข้าในร่างกายจะเป็นการกระตุ้น
ให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสขึ้นมา
2วัคซีนชนิด Viral vector เป็นวัคซีนที่เลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาติ โดยใช้หลักการฝากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสเข้าไป
ในไวรัสพาหะ เช่น Adenovirus เพื่อพาเข้ามาในร่างกายมนุษย์และทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสขึ้นมา
3ระดับความปลอดภัยทางชีวภาพ คือ ระดับการควบคุมทางชีวภาพเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคภายในห้องปฏิบัติการ โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้
          ระดับที่ 1 เป็นการทำงานกับเชื้อในกลุ่มที่ไม่ก่อโรคในมนุษย์หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคลากรที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ
และสิ่งแวดล้อมน้อยมาก โดยการป้องกันไม่ซับซ้อนและบริเวณที่ปฏิบัติงานไม่จำเป็นต้องแยกส่วน
          ระดับที่ 2 เป็นการทำงานกับเชื้อในกลุ่มที่ไม่ก่อโรครุนแรงในมนุษย์หรือติดต่อทางอากาศได้ยาก โดยการป้องกันต้องมีการจำกัดบุคคลเข้าออกห้องปฏิบัติการและป้องกันอันตรายที่เกิดจากของมีคมที่มีการปนเปื้อน
          ระดับที่ 3 เป็นการทำงานกับเชื้อที่ก่อโรครุนแรงต่อมนุษย์และสัตว์ แต่เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ โดยการป้องกันจะต้องมีความเข้มงวดกับบุคคลที่เข้าออกห้องปฏิบัติการ และบุคคลนั้น ๆ  ต้องผ่านการฝึกและมีใบรับรองผ่านการฝึกอบรมการใช้ห้องปฏิบัติการระดับนี้ และห้องปฏิบัติการต้องแยกออกจากห้องอื่น ๆ
          ระดับที่ 4 เป็นการทำงานกับเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคที่รุนแรงหรือทำให้คนหรือสัตว์เสียชีวิตได้และเชื้อเหล่านี้ยังไม่มีวิธีการรักษา
บุคคลที่ทำงานในห้องปฏิบัติการต้องผ่านการฝึกพิเศษเกี่ยวกับการควบคุมอันตรายจากการติดเชื้อในกลุ่มนี้เป็นอย่างดี โดยห้องปฏิบัติการจะต้องแยกออกจากตัวอาคารอื่น ๆ มีอุปกรณ์ฆ่าเชื้อในห้องปฏิบัติการ รวมถึงมีห้องอาบน้ำแยก

16. เรื่อง ภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง (เดือนเมษายน-มิถุนายน) ปี 2565 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มาตรา 20 (5) ที่บัญญัติให้ สศช. รายงานภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ความเคลื่อนไหวทางสังคมไตรมาสสอง ปี 2565 สรุปได้ ดังนี้
                        1.1 สถานการณ์แรงงานไตรมาสสอง ปี 2565 ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผู้มีงานทำมีจำนวน 39 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 เนื่องจากการขยายตัวของการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะสาขาการผลิต ขายส่ง/ขายปลีก และการขนส่ง/เก็บสินค้า ซึ่งเป็นผลจากการบริโภคและการส่งออกขยายตัวได้ดี ส่วนสาขาที่มีการจ้างงานลดลง ได้แก่ สาขาก่อสร้างและสาขาโรงแรม/ภัตตาคาร เนื่องจากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยวยังอยู่ในช่วงเริ่มฟื้นตัว ส่วนภาคเกษตรกรรมมีการจ้างงานลดลงจากการเคลื่อนย้ายแรงงานกลับไปทำงานในสาขาเดิม ทั้งนี้ อัตราการว่างงานในไตรมาสสอง ปี 2565 ลดลงต่ำสุดตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยมีผู้ว่างงานจำนวน 5.5 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.37 ลดลงทั้งผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนและไม่เคยทำงานมาก่อน
                        1.2 หนี้สินครัวเรือนในไตรมาสหนึ่ง (เดือนมกราคม-มีนาคม) ปี 2565 ขยายตัวชะลอลงและคุณภาพสินเชื่อทรงตัว แต่ต้องเฝ้าระวังหนี้เสียโดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อรถยนต์ รวมถึงต้องติดตามผลกระทบจากค่าครองชีพและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นซึ่งอาจจะกระทบต่อลูกหนี้ โดยหนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.65 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.6 ซึ่งลดลงจากไตรมาสก่อน (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2564) ที่อยู่ที่ร้อยละ 3.8 หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross domestic product: GDP) อยู่ที่ร้อยละ 89.2 เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว ทำให้ครัวเรือนชะลอการก่อหนี้ ส่วนด้านความสามารถในการชำระหนี้ทรงตัว โดยมีสัดส่วนสินเชื่อของหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans: NPLs) ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.78 ซึ่งเป็นผลจากมาตรการช่วยเหลือทางการเงินและการปรับโครงสร้างหนี้ ทั้งนี้ มีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ (1) ผลกระทบของภาระค่าครองชีพที่อาจกดดันให้ครัวเรือนมีความต้องการสินเชื่อมากขึ้น (2) อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของครัวเรือนเพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบให้ต้องขอสินเชื่อใหม่ (3) คุณภาพสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิตมีสัดส่วนสินเชื่อ NPLs ต่อสินเชื่อรวมปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่สินเชื่อรถยนต์มีสัดส่วนสินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ (สินเชื่อค้างชำระน้อยกว่า 3 เดือน) ต่อสินเชื่อรวมอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สะท้อนความเสี่ยงของการเกิด NPLs ในครัวเรือนกลุ่มที่มีภาระหนี้สูง และ (4) การส่งเสริมมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง การมีมาตรการแก้หนี้ที่เฉพาะสำหรับกลุ่มเปราะบางและรายได้ยังไม่ฟื้นตัว และการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ไม่ส่งเสริมให้มีการก่อหนี้ใหม่ จะทำให้เป็นปัจจัยฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในอนาคต
                        1.3 การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2564 จาก 42,698 คน เป็น 64,304 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 50.6 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากโรคที่มากับฤดูฝน นอกจากนี้ ต้องมีการติดตามการใช้กัญชาในกลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งไม่เหมาะสมและอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้อย่างทั่วถึง อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรติดตามและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงอย่างใกล้ชิดและกำชับประชาชชนให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลป้องกันตนเองจากโควิด-19
                        1.4 การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 โดยต้องติดตามและเฝ้าระวังผู้ดื่มรายใหม่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มีความหลากหลายทั้งปริมาณแอลกอฮอล์ รสชาติ กลิ่น ความสวยงามของบรรจุภัณฑ์เพื่อให้ดึงดูดกลุ่มเด็กและผู้หญิงมากขึ้น และมีการทำเนื้อหาเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ที่เยาวชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ทั้งนี้ จากข้อมูลของศูนย์วิจัยปัญหาสุราร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พบว่า มีการโพสต์เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนสื่อออนไลน์ จำนวน 2,684 โพสต์ ซึ่งเป็นการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตรวจสอบการโฆษณาในช่องทางต่าง ๆ และดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
                        1.5 คดีอาญาโดยรวมลดลง โดยมีการรับแจ้งคดีอาญาทั้งสิ้น 108,299 คดี ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 ร้อยละ 22.3 มีประเด็นที่ต้องติดตามและเฝ้าระวัง ได้แก่ (1) การแก้ไขปัญหาแก๊งคอล       เซ็นเตอร์และอาชญากรรมทางไซเบอร์ โดยอาชญากรรมที่ประชาชนถูกหลอกมากที่สุด คือ การซื้อสินค้าแล้วไม่ได้รับสินค้า และ (2) การล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางออนไลน์ โดยควรเฝ้าระวังและให้สถานศึกษาและผู้ปกครองหมั่นให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์และสังเกตพฤติกรรมของเด็กเพื่อจะได้หาทางป้องกันได้อย่างรวดเร็ว
                        1.6 การเกิดอุบัติเหตุการจราจรทางบก มีจำนวน 18,418 ราย ลดลงร้อยละ 27.4 จาก                   ไตรมาสเดียวกันของปี 2564 โดยมีผู้เสียชีวิตลดลงร้อยละ 16.3 ผู้บาดเจ็บลดลงร้อยละ 35.8 ซึ่งสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจราจรจากบุคคลที่สูงที่สุด คือ การขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด รองลงมา คือ การขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123 บัญญัติให้ผู้โดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องนั่งในที่นั่งนิรภัยหรือที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก (มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565) ดังนั้น จึงควรมีมาตรการสนับสนุนการเข้าถึงที่นั่งนิรภัย เช่น โครงการคนละครึ่ง มาตรการลดต้นทุนผู้ขายหรือลดภาษีนำเข้า รวมถึงโครงการยืมคืนที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กหมุนเวียนเพื่อใช้ในชุมชน
                        1.7 การรับเรื่องร้องเรียนผ่านสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มขึ้น โดยด้านที่มีการร้องเรียนมากที่สุดคือ ด้านโฆษณา รองลงมาคือ ด้านขายตรง ด้านฉลาก และด้านสัญญา และการร้องเรียนผ่านสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเพิ่มขึ้น โดยเป็นการร้องเรียนเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเด็นการยกเลิกบริการมากที่สุด ทั้งนี้ มีประเด็นที่ต้องติดตามและเฝ้าระวัง ได้แก่ (1) คุณภาพและมาตรฐานของการให้บริการเกี่ยวกับการใช้บริการเสริมความงามซึ่งในปัจจุบันยังมีสถานเสริมความงามที่ไม่ได้มาตรฐาน และ (2) การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act: PDPA) เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจจึงทำให้เกิดความกังวลและสับสนเกี่ยวกับการกระทำที่เสี่ยงต่อการละเมิด PDPA
                    2. สถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
                        2.1 รู้จักรู้ทันผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การดูแลสุขภาพเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและผู้คนให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์และรูปร่างหน้าตามากขึ้นจึงเริ่มบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทั้งนี้ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขได้สำรวจข้อมูล พบว่า ประชาชนร้อยละ 70 มีความเห็นว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องรับประทานเป็นประจำ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าแม้ว่าคนไทยจะมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้นแต่บางส่วนยังมีทัศนคติและความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่รอบด้าน ดังนั้น ประชาชนควรมีความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น (1) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นเพียงการรับรองว่าวัตถุดิบและกระบวนการผลิตจะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้บริโภค  (2) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางประเภทมีโทษเนื่องจากสารประกอบบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงต่อผู้บริโภค และ           (3) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวนมากยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนถึงผลกระทบต่อร่างกาย ทั้งนี้ ภาครัฐควรมีแนวทางการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกซื้อและมีระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถหาข้อมูลได้สะดวกมากขึ้น
                        2.2 พฤติกรรมการลงทุนของคนรุ่นใหม่ในตลาด Cryptocurrency คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) หรือสกุลเงินดิจิทัล เป็นสินทรัพย์ที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจลงทุนและหาผลตอบแทนจากมูลค่าที่ปรับตัวสูงขึ้นมากในระยะเวลาอันสั้น โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์รายงานว่า ในปี 2564 มีมูลค่าการซื้อขายคริปโตเคอร์เรนซีในประเทศไทยเฉลี่ยประมาณ 1.4 แสนล้านบาทต่อเดือนซึ่งเมื่อพิจารณาพฤติกรรมการลงทุนของคนไทย พบว่ามีประเด็นที่น่ากังวล ดังนี้ (1) ผู้ลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ต้องการสร้างผลกำไรสูงในเวลาที่รวดเร็ว (2) ผู้ลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีบางส่วนศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับคริปโตเคอร์เรนซีน้อยและใช้สัญชาตญาณในการตัดสินใจลงทุน (3) คนรุ่นใหม่บางส่วนที่ลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีลงทุนเพื่อความสนุก ความบันเทิง และการเข้าสังคม และ (4) นักลงทุนคริปโตเคอร์เรนซีส่วนใหญ่ใช้แพลตฟอร์มต่างประเทศซึ่งไม่สามารถกำกับดูแลได้ และมีความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น (1) การไม่มีการกำกับดูแลตามกฎหมาย               (2) การไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน และ (3) ตลาดคริปโตเคอร์เรนซีมีการหลอกลวงและการโกงหลายรูปแบบ ดังนั้น ผู้ที่ต้องการลงทุนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจตลอดจนประเมินความเสี่ยงอย่างรอบด้าน
                        2.3 การทำงานของผู้สูงอายุตอนต้น กลุ่มที่ต้องให้ความสำคัญและประเด็นที่ต้องคำนึงถึง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรส่งผลให้ผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้น ภาครัฐจึงจำเป็นต้องมีนโยบายและมาตรการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว คือ การส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงวัยจำนวนมากยังมีศักยภาพในการช่วยขับเคลื่อนประเทศและยังเป็นการชดเชยการขาดแคลนแรงงานได้ในบางส่วน โดยแนวทางการส่งเสริมการทำงานของกลุ่มผู้สูงอายุ ควรให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงอายุตอนต้นทักษะสูงเป็นหลัก เนื่องจากยังมีอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานต่ำและยังมีจำนวนกำลังแรงงาน โดยจะต้องศึกษาความต้องการทำงานของคนกลุ่มนี้และมีมาตรการจูงใจที่จะส่งเสริมและดึงดูดให้แรงงานกลุ่มนี้กลับเข้ามาทำงาน ส่วนผู้สูงอายุต้อนต้นทักษะต่ำซึ่งมักมีปัญหาเกี่ยวกับรายได้ จำเป็นต้องมีมาตรการด้านรายได้เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถทำงานที่มีรายได้ที่มั่นคงยิ่งขึ้น
                    3. บทความเรื่อง ?วิกฤตความมั่นคงทางด้านอาหาร : มาตรการและแนวทางยกระดับให้ไทยมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน? ประชากรจำนวน 193 ล้านคนใน 53 ประเทศทั่วโลก กำลังเผชิญปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารซึ่งมีสาเหตุจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเกิดภัยพิบัติ การขาดแคลนน้ำ และการระบาดของโรคอุบัติใหม่ต่าง ๆ โดยข้อมูลของ Global Food Security Index (GFSI) ระบุว่า ในปี 2564 ไทยมีความมั่นคงด้านอาหารอยู่ในอันดับที่ 51 จาก 113 ประเทศทั่วโลกซึ่งอยู่ในระดับที่สูง สะท้อนให้เห็นว่าสถานการณ์ความมั่นคงด้านอาหารของไทยอยู่ในระดับค่อนข้างดี แต่หากพิจารณาความมั่นคงทางอาหารตามนิยามขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) ยังมีประเด็นที่ไทยต้องให้ความสำคัญ ดังนี้ (1) การมีอาหารเพียงพอ โดยไทยมีความมั่นคงทางอาหารในเชิงปริมาณที่เพียงพอแต่ยังมีประเด็นด้านความยั่งยืนของปริมาณอาหารระยะยาว เนื่องจากไทยนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตอาหารเป็นมูลค่าสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นซึ่งหากมีปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารได้ (2) การเข้าถึงอาหาร ในปี 2563 ไทยมีผู้ขาดสารอาหารร้อยละ 8.8 ของประชากรทั้งหมดหรือคิดเป็นจำนวน 6.2 ล้านคน เนื่องจากครัวเรือนมีรายได้น้อยและมีปัญหาการเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าและความปลอดภัย (3) การใช้ประโยชน์จากอาหาร คนไทยยังมีความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่สอดรับกับการมีโภชนาการที่ดี ทำให้ไม่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอรวมทั้งการสร้างขยะอาหารยังเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ และ (4) การมีเสถียรภาพด้านอาหารหรือการเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอ โดยไทยไม่มีความเสี่ยงที่จะขาดแคลนอาหารอย่างกะทันหัน เนื่องจากมีการบริหารจัดการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงอาหารและน้ำในช่วงวิกฤต            ต่าง ๆ โดยให้ชุมชนมีบทบาทในการผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือนและชุมชน อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้มีรายได้น้อยหรือเปราะบางมีแนวโน้มได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าคนกลุ่มอื่น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรับมือกับความไม่มั่นคงทางอาหารที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต มีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ เช่น การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตอาหาร การสร้างมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหารให้เป็นมาตรฐานเดียว การปรับปรุงและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านสินค้าเกษตรและอาหาร การสร้างระบบการบริหารจัดการความมั่นคงด้านอาหารในภาวะวิกฤตและการส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารระดับครัวเรือนและชุมชน

17. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน พ.ศ. 2560-2564 ประจำปี พ.ศ. 2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน พ.ศ. 2560-2564 ประจำปี พ.ศ. 2564 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (15 พฤศจิกายน 2559) ที่กำหนดให้ กค. ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรี                  ปีละครั้ง] โดยแผนพัฒนาฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการเงิน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้ใช้บริการทางการเงิน ด้านผู้ให้บริการทางการเงิน และด้านโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ 6 กลยุทธ์ 20 มาตรการ 39 กิจกรรม และ 78 โครงการ โดยมีผลการดำเนินโครงการภายใต้แผนพัฒนาฯ ประจำปี 2564 ณ วันที่                 31 ธันวาคม 2564 สรุปได้ ดังนี้
                    1. ภาพรวมการดำเนินโครงการ หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ดำเนินโครงการภายใต้แผนพัฒนาฯ สำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัดจำนวนทั้งสิ้น 74 โครงการ จาก 78 โครงการ ประกอบด้วย โครงการที่ตั้งเป้าหมายให้ดำเนินการแล้วเสร็จในแต่ละปี ตั้งแต่ปี 2560-2564 จำนวน 60 โครงการ และโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560-2564 จำนวน 14 โครงการ โดยโครงการส่วนใหญ่สามารถดำเนินการได้สำเร็จเกินกว่าเป้าหมายตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ สรุปได้ ดังนี้
ยุทธศาสตร์          กลยุทธ์          ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงาน (เช่น)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การสร้างรายได้และพัฒนาศักยภาพด้านการเงินของประชาชนระดับฐานราก          (1) เพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนระดับฐานราก          สนับสนุนสินเชื่อเพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชนในระดับฐานรากที่เป็นหนี้นอกระบบ จำนวน 114,516.92 ล้านบาท
          (2) ลดภาระหนี้สินภาคครัวเรือนอย่างยั่งยืน          1) ให้สินเชื่อแก่เกษตรกร จำนวน 9,484.84 ล้านบาท และให้เงินชดเชยดอกเบี้ยแก่สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรแทนสมาชิก จำนวน 4,917 ราย เป็นเงิน 9.94 ล้านบาท
2) ปรับโครงสร้างหนี้และให้สินเชื่อแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกรรายย่อยจำนวน 28,015.17 ล้านบาท รวมถึงขยายระยะเวลาชำระหนี้ให้เกษตรกรจำนวน 2,410,308 ราย วงเงิน 669,121.49 ล้านบาท
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาผู้ให้บริการทางการเงินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางการเงินแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง          (1) สร้างความเข้มแข็งขององค์กรการเงินชุมชนให้สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างยั่งยืน          จัดตั้งและพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน จำนวน 3,138 แห่ง สามารถบริหารจัดการหนี้ให้กับครัวเรือน จำนวน 5,083 ครัวเรือน เป็นเงิน 232,603,765 บาท
          (2) สนับสนุนให้สถาบันการเงินในระบบขยายบทบาทเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น          พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อให้ประชาชนในระดับฐานรากสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น โดยสนับสนุนสินเชื่อ จำนวน 1,837,922 ราย วงเงิน 31,157.63 ล้านบาท
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน(Financial Infrastructure) ให้เหมาะสมต่อการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างยั่งยืน          (1) พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชน          พัฒนากฎหมาย กฎระเบียบและหลักเกณฑ์เพื่อให้รองรับและเอื้อต่อการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
          (2) พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการให้บริการทางการเงินภาคประชาชน          จัดทำและพัฒนาระบบฐานข้อมูลการเงินภาคประชาชนเพื่อให้รองรับการดำเนินงานเชิงนโยบาย
                    2. ผลการดำเนินโครงการที่ตั้งเป้าหมายการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2564 มีจำนวนทั้งหมด 12 โครงการ โดยมีโครงการที่สามารถดำเนินการได้สำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด จำนวน 9 โครงการ ครอบคลุม 7 ประเภทกิจกรรม สรุปได้ดังนี้
ประเภทกิจกรรม          ผลการดำเนินงาน
(1) สินเชื่อองค์กรชุมชนของธนาคารออมสิน          ยอดสะสมการให้สินเชื่อองค์กรชุมชนเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ จำนวนมากกว่า 1.69 หมื่นล้านบาท เกินกว่าเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ (จำนวน 9 พันล้านบาท)
(2) พัฒนาเกษตรกรลูกค้าโครงการขยายระยะเวลาชำระหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อบรรเทาภาระหนี้สินให้กับเกษตรกร          มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวนมากกว่า 2.41 ล้านราย เกินกว่าเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ (จำนวน 1.80 ล้านราย)
(3) จัดอบรม/สัมมนาเพื่อให้ความรู้ทางการเงินและสร้างทักษะการบริหารจัดการทางการเงินให้ประชาชนและคนในชุมชนของธนาคารออมสิน และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.)          จัดอบรม/สัมมนาเกี่ยวกับการเงินการลงทุนผ่านสื่อออนไลน์และการอบรมนอกสถานที่ให้กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวนมากกว่า 9 หมื่นราย
(4) ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์สาธิตการตลาดของกรมการพัฒนาชุมชน          ยกระดับเป็นศูนย์สาธิตการตลาดต้นแบบตามเป้าหมายแล้ว จำนวน 42 แห่ง
(5) เพิ่มบริการทางการเงินผ่านเครือข่ายทางการเงินและสถาบันการเงินอื่น ของ ธ.ก.ส. เพื่อสนับสนุนการเพิ่มช่องทางการให้บริการทางการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้ครอบคลุมประชาชนระดับฐานรากมากขึ้น          เพิ่มช่องทางการให้บริการทางการเงินจำนวนมากกว่า 1,600 แห่ง เกินกว่าเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ (จำนวน 1,500 แห่ง)
(6) เงินฝากสงเคราะห์ชีวิตของ ธ.ก.ส. เพื่อให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงหลักประกันเงินฝากสงเคราะห์ชีวิต          มีกรมธรรม์ที่มีผลบังคับกับประชาชนผู้มีรายได้นอยจำนวนมากกว่า 2.89 ล้านกรมธรรม์ เกินกว่าเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ (จำนวน 1.92 ล้านกรมธรรม์)
(7) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารด้านข้อมูลทางการเงินของสหกรณ์ของกรมส่งเสริมสหกรณ์เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานและธุรกรรมการเงินและประเมินความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ          จัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารด้านข้อมูลการเงินของสหกรณ์และได้จัดอบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้งานระบบดังกล่าวเพื่อเตรียมพร้อมการใช้งานจริง
ทั้งนี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการภายใต้แผนพัฒนาฯ ยังคงดำเนินโครงการต่าง ๆ ต่อไป โดยเป็นการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันของหลายหน่วยงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บท และแผนปฏิรูปประเทศเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
                    3. โครงการที่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่เป้าหมายตัวชี้วัดกำหนดไว้ จำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการในปี 2562 จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร (กรมส่งเสริมสหกรณ์) เนื่องจากในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้รับการจัดสรรงบประมาณล่าช้า1 และโครงการในปี 2564 จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน) (2) โครงการพัฒนาเครือข่ายสถาบันการเงินชุมชน/องค์กรการเงินชุมชน (กรมการพัฒนาชุมชน) และ (3) โครงการศูนย์จัดการกองทุนชุมชนบริหารจัดการหนี้ ?สำนึกดี แผนดี บริหารหนี้ได้? (กรมการพัฒนาชุมชน) เนื่องจากทั้ง 2 หน่วยงาน ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ดำเนินกิจกรรมของทั้ง  3 โครงการ ลดลง2
1จากการประสานข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 กค. แจ้งว่า โครงการช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้ยุติการดำเนินการแล้วเนื่องจากได้รับงบประมาณล่าช้า ส่งผลให้สมาชิก/กลุ่มเกษตรกรเป้าหมายเข้าร่วมในโครงการอื่น ๆ ทดแทน
2ทั้ง 3 โครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณลดลง กค. แจ้งว่าหน่วยงานเจ้าของโครงการจะมีการดำเนินการตามเป้าหมายตัวชี้วัดให้แล้วเสร็จ

18. เรื่อง การออกเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity: CI) ของทางการเมียนมา ให้แก่แรงงานเมียนมาที่ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 เรื่อง การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบการดำเนินการออกเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity: CI) ของทางการเมียนมา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 โดยทางการเมียนมาได้เริ่มออกเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity: CI) เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 ณ ศูนย์ออกเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity: CI) จำนวน 5 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรปราการ  จังหวัดระนอง จังหวัดชลบุรี และจังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงหน่วยให้บริการเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ในพื้นที่จังหวัดสงขลา จังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดปทุมธานี โดยมีผลการดำเนินการตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2565 - 27 กรกฎาคม 2565 ทั้งสิ้นจำนวน 408,155 ราย
                    2. เห็นชอบการออกเอกสารรับรองบุคคล (Certicate of Identity: CI)  ของทางการเมียนมา ให้แก่แรงงานเมียนมาที่ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565  เรื่อง การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนี้
                              2.1 เห็นชอบให้ทางการเมียนมาดำเนินการเปลี่ยนเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity: CI) ให้แก่แรงงานเมียนมาที่มีเอกสารรับรองบุคคล (Certicate of Identity: CI)   ฉบับเดิม โดยให้ดำเนินการได้ไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566
                              2.2 เห็นชอบการดำเนินการของทางการเมียนมาที่จะเพิ่มการดำเนินการตรวจสอบข้อมูลของแรงงานเมียนมาที่ไม่มีเอกสารประจำตัว เพื่อพิจารณาออกเอกสารรับรองบุคคล (Certicate of Identity: C) ให้แก่แรงงานเมียนมาที่ได้รับอนุญาตทำงานเรียบร้อยแล้วแต่ยังไม่มีเอกสารประจำตัวโดยให้ดำเนินการได้ไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566
                              2.3 เห็นชอบสถานที่ออกเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity: CI)  ในพื้นที่               4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดระนอง และจังหวัดชลบุรี  รวมถึงหากทางการเมียนมาร้องขอสถานที่ออกเอกสารรับรองบุคคลเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงสถานที่การออกเอกสารรับรองบุคคล ให้ทางการเมียนมามีหนังสือร้องขอผ่านช่องทางการทูตและสามารถดำเนินการได้ไปพลางก่อน โดยมีระยะเวลาการดำเนินการไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566
                              2.4 เห็นชอบให้กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานร่วมดำเนินการในพื้นที่เดียวกับทางการเมียนมา ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดระนองและจังหวัดชลบุรี ในการพิจารณาอนุญาตทำงานให้แก่แรงงานเมียนมาที่มาดำเนินการขอมีเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of ldentity: CI) ณ สถานที่ดังกล่าว

19. เรื่อง มาตรการเร่งด่วนด้านพลังงานเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงาน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการสำหรับ 1) มาตรการช่วยเหลือด้านราคาก๊าซ LPG (การขยายระยะเวลาโครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ) 2) มาตรการบริหารราคาน้ำมันดีเซลโดยใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 3) มาตรการบรรเทาผลกระทบด้านไฟฟ้า โดยมอบหมายให้กระทรวงพลังงาน และกระทรวงมหาดไทย กำกับและติดตามให้หน่วยงานในสังกัดที่มีอำนาจและหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามมาตรการผลกระทบด้านไฟฟ้า ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว
                    2. รับทราบมาตรการ 1) มาตรการช่วยเหลือด้านราคาก๊าซ LPG (การทบทวนการกำหนดราคาก๊าซ LPG และการขยายระยะเวลามาตรการช่วยเหลือส่วนลดราคาก๊าซ LPG แก่ร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ) 2) มาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ปรับตัวสูงขึ้น 3) มาตรการทบทวนการกำหนดราคาขายปลีกก๊าซ NGV โดยมอบหมายให้กระทรวงพลังงานประสานภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตามมาตรการ เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรการบรรลุผลสัมฤทธิ์ต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    มาตรการเร่งด่วนด้านพลังงานเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงาน แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้ (1) การขยายมาตรการที่กำลังจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2565 เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งประชาชนทั่วไปและประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงาน และ (2) มาตรการบรรเทาผลกระทบด้านไฟฟ้า ได้แก่ การช่วยเหลือค่าไฟฟ้าของกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของค่า Ft
                    1. การขยายมาตรการที่กำลังจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2565
                              1.1 มาตรการช่วยเหลือด้านราคาก๊าซ LPG ประกอบด้วย
                                   (1) การทบทวนการกำหนดราคาก๊าซ LPG โดยคงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น LPG ซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 19.9833 บาทต่อกิโลกรัม กรอบเป้าหมายเพื่อให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG อยู่ที่ประมาณ 408 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2565
                                   (2) การขยายระยะเวลาโครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จาก 45 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน เพิ่มขึ้นอีก 55 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน รวมเป็น 100 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน ในช่วงเดือนตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ช้สิทธิประมาณ 5,500,000 ราย ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้นประมาณ 302,500,000 บาท โดยในเบื้องต้นจะใช้แหล่งเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
                                   (3) การขยายระยะเวลามาตรการช่วยเหลือส่วนลดราคาก๊าซ LPG แก่ร้านค้า               หาบเร่ แผงลอยอาหาร ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่เกิน 100 บาทต่อรายต่อเดือน โดยขอความร่วมมือ ปตท. ในการขยายระยะเวลาดำเนินมาตรการออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565
                              1.2 มาตรการบริหารราคาน้ำมันดีเซลโดยใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยในช่วงเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนธันวาคม 2565 รัฐจะอุดหนุนราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลโดยใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงบริหารจัดการราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
                              1.3 มาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยมีระยะเวลาการดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ประกอบด้วย
                                   (1) การกำหนดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันให้เป็นไปตามสัดส่วนการผสมของกลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ดังนี้ น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 7 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 และ             ไม่สูงกว่าร้อยละ 7 โดยปริมาตร น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 และไม่สูงกว่าร้อยละ 10 โดยปริมาตร และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 20 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 และไม่สูงกว่าร้อยละ 20 โดยปริมาตร
                                   (2) การขอความร่วมมือจากผู้ค้าน้ำมันคงค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง โดยขอความร่วมมือให้ผู้ค้าน้ำมันคงค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงกลุ่มดีเซลหมุนเร็วไม่เกิน 1.40 บาทต่อลิตร
                              1.4 มาตรการทบทวนการกำหนดราคาขายปลีกก๊าซ NGV โดยกำหนดราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถยนต์ทั่วไปเป็น 16.59 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2565 และคงราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถแท็กซี่ในโครงการเอ็นจีวีเพื่อลมหายใจเดียวกัน ของ ปตท. ไว้ที่ 13.62 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2565 ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2565 โดยขอความร่วมมือปตท. อุดหนุนส่วนต่างราคาขายปลีกก๊าช NGV ซึ่งยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าราคาขายปลีกตามสูตรโครงสร้างที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กำหนด โดยจากการประมาณการแนวโน้มราคาก๊าซ NGV ในช่วงดังกล่าว คาดว่า ปตท. จะมีภาระค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นประมาณ 5,313 ล้านบาท
                    2. มาตรการบรรเทาผลกระทบด้านไฟฟ้า
                    การช่วยเหลือค่าไฟฟ้าของกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน โดยให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยในพื้นที่ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) รวมทั้งผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่เป็นผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่บริการของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ เป็นเวลา 4 เดือน ตั้งแต่ค่าไฟฟ้าประจำเดือนกันยายน 2565 ถึงเดือนธันวาคม 2565 ดังนี้ (1) กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง ให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าจำนวน 92.04 สตางค์ต่อหน่วย (2) กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าระหว่าง 301 - 500 หน่วยต่อเดือน ซึ่งเป็นคนชั้นกลาง ให้ส่วนลดจากการเพิ่มขึ้นของค่า Ft เดือนกันยายน 2565 ถึงเดือนธันวาคม 2565 แบบขั้นบันได ในอัตราร้อยละ 15 ถึงร้อยละ 75 ดังนี้ (2.1) ผู้ใช้ไฟฟ้าระหว่าง 301 - 350 หน่วย ให้ส่วนลดค่า Ft ร้อยละ 75 คือ จำนวน 51.50 สตางค์ต่อหน่วย (2.2) ผู้ใช้ไฟฟ้าระหว่าง 351 - 400 หน่วย ให้ส่วนลดค่า Ft ร้อยละ 45 คือ จำนวน 30.90 สตางค์ต่อหน่วย และ (2.3) ผู้ใช้ไฟฟ้าระหว่าง 401 - 500 หน่วย ให้ส่วนลดค่า Ft ร้อยละ 15 คือ จำนวน 10.30 สตางค์ต่อหน่วย ทั้งนี้ กำหนดให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคาดว่าจะมีผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือรวมทั้งสิ้นประมาณ 21.4695 ล้านราย ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้นประมาณ 2,282.103 ล้านบาทต่อเดือน (ประมาณ 9,128.41 ล้านบาท สำหรับ 4 เดือน) โดยในเบื้องต้นจะใช้แหล่งเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประมาณ 2,282.103 ล้านบาท สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนกันยายน 2565 และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประมาณ 6,846.309 ล้านบาท สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนธันวาคม 2565

20. เรื่อง ขออนุมัติงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2565 เพื่อใช้ในโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2563
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2565 ในวงเงิน 1,747,903,200 บาท (เบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ประเภทอุดหนุนทั่วไป) สำหรับเป็นเงินอุดหนุนเกษตรกรของโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2563
                    ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า
                    เนื่องจากมีเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์การประเมินและมีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุน ในปี 2563 ได้จ่ายเงินอุดหนุนไปแล้วบางส่วน ยังเหลือเกษตรกรอีกส่วนหนึ่งที่ยังไม่ได้รับเงินอุดหนุนอีก จำนวน 1,747,903,200 บาท                ที่ส่วนราชการผ่อนผันเกษตรกรมาเป็นเวลานานแล้ว ทำให้เกษตรกรเสียโอกาสที่จะนำเงินอุดหนุนไปใช้ในชีวิตประจำวัน การปลูกข้าว และพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์ ประกอบกับเกษตรกรส่วนใหญ่มักได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) และเกษตรกรขาดเงินในการดำรงชีพและต้นทุนในการปลูกข้าว
                    สาระสำคัญ
                    1. หลักเกณฑ์การพิจารณาให้เงินอุดหนุนตามข้อกำหนดมาตรฐานข้าวอินทรีย์ ดังนี้
                        1) เกษตรกรผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายและการแก้ปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด (Chief of Operation) ให้เข้าร่วมโครงการฯ
                        2) ปีที่ 1 กลุ่มเกษตรกรเตรียมความพร้อมสำหรับการตรวจรับรอง โดยมีการปฏิบัติตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์เงื่อนไขการผลิตข้าวตามมาตรฐานข้าวอินทรีย์ เช่น พื้นที่ปลูกข้าว แหล่งน้ำ
                        3) ปีที่ 2 กลุ่มเกษตรกรได้รับการตรวจรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์จากกรมการข้าวโดยผ่านการรับรองเป็นระยะปรับเปลี่ยน
                        4) ปีที่ 3 กลุ่มเกษตรกรได้รับการตรวจรับรองต่อเนื่องและได้การรับรองมาตรฐานผลิตข้าวอินทรีย์ (Organic Thailand) จากกรมการข้าว
                        5) การสนับสนุนเงินอุดหนุนซึ่งเกษตรกรที่ผ่านหลักเกณฑ์เงื่อนไข ไม่เกิน 15 ไร่ต่อครัวเรือน โดยการพิจารณาให้ความเห็นชอบของคณะทำงานส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
                    2. เกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์ประเมินและมีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนและการจ่ายเงินอุดหนุนให้เกษตรกรของโครงการแล้ว จำนวน 4,106,801,850 บาท ดังนี้
                        1) ปี 2560 (T1,T2) เกษตรกร จำนวน 909 กลุ่ม 19,822 ราย พื้นที่ 185,252.60 ไร่ เป็นเงินจำนวน 379,356,450 บาท
                        2) ปี 2561 (T1,T2,T3) เกษตรกร จำนวน 2,459 กลุ่ม 50,987 ราย พื้นที่ 485,098.85 ไร่ เป็นเงินจำนวน 1,154,653,300 บาท
                        3) ปี 2562 (T1,T2,T3) เกษตรกร จำนวน 4,683 กลุ่ม 93,404 ราย พื้นที่ 778,120.65 ไร่ เป็นเงินจำนวน 2,122,792,100 บาท
                        4) ปี 2563 (T2,T3) เกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์การประเมินและมีสิทธิ์รับเงินอุดหนุน T2 จำนวน 2,443 กลุ่ม 51,445 ราย พื้นที่ 385,506.50 ไร่ เป็นเงินจำนวน 1,156,519,500 บาท T3 จำนวน 1,433 กลุ่ม 28,362 ราย พื้นที่ 270,363 ไร่ เป็นเงินจำนวน 1,081,452,000 บาท รวมทั้งสิ้น 3,876 กลุ่ม 79,807 ราย พื้นที่ 655,869.50 ไร่ เป็นเงินจำนวน 2,237,971,500 บาท กรมการข้าวได้จ่ายเงินอุดหนุนให้แก่เกษตรกรแล้ว จำนวน 892 กลุ่ม 17,063 ราย พื้นที่ 139,169.50 ไร่ เป็นเงินจำนวน 450,000,000 บาท เงินปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของกรมการข้าว จำนวน 40,066,800 บาท ยังขาดงบประมาณสำหรับจ่ายให้เกษตรกรอีก จำนวน 1,747,903,200 บาท ดังนั้น ในปี 2563 ยังขาดเงินอุดหนุนสำหรับจ่ายให้แก่เกษตรกรอีกจำนวน 2,879 กลุ่ม 60,714 ราย พื้นที่ 504,748 ไร่ เป็นเงินจำนวน 1,747,903,200 บาท จึงขอใช้งบประมาณจากงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2565
                    3. สำหรับการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ในปี 2564 มีเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์การตรวจประเมินและมีสิทธิ์รับเงินอุดหนุน (T3) จำนวน 2,377 กลุ่ม 49,763 ราย พื้นที่ 373,615 ไร่ เป็นเงินจำนวน 1,494,460,000 บาท โดยจะใช้งบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2566 ที่ได้รับสรรแล้วจำนวน 450,000,000 บาท ดังนั้น ยังขาดงบประมาณสำหรับอุดหนุนเกษตรกร ปี 2564 อีกจำนวน 1,044,460,000 บาท ซึ่งจะต้องขอรับการจัดสรรงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ 2565 ต่อไป

21. เรื่อง โครงการช่วยเหลือความเดือดร้อนของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและค่าใช้จ่ายการให้บริการประชาชน เพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565                งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 714,647,500 บาท ให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการช่วยเหลือความเดือดร้อนของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และค่าใช้จ่ายการให้บริการประชาชน ตามที่สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เสนอ

22. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 26/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ อนุมัติ และเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 26/2565 เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบรายงานผลการคืนเงินกู้เหลือจ่ายของโครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (โครงการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จำนวน 24.4880 ล้านบาท ที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนข้อ 22 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564)
                    2. อนุมัติให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเราเที่ยวด้วยกัน โดยปรับลดกรอบวงเงินของโครงการฯ จาก 9,000 ล้านบาท เป็น 7,000 ล้านบาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                    3. อนุมัติให้จังหวัดชัยนาท จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดอุตรดิตถ์ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดสาระสำคัญและยกเลิกโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 จาก 19.5660 ล้านบาท เป็น 11.8490 ล้านบาท (ปรับลด 7.7170 ล้านบาท) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                    4. อนุมัติให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5 (2)1 มาใช้เพื่อการตามมาตรา 5 (1)2 เพิ่มเติม (ครั้งที่ 7) จำนวน 18,609.7712 ล้านบาท และให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5 (3)3 มาใช้เพื่อการตามมาตรา 5 (1) เพิ่มเติม (ครั้งที่ 4) จำนวน 19,359.1857 ล้านบาท เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19)
                    5. เห็นชอบในหลักการของกลุ่มโครงการที่เกี่ยวกับค่าตอบแทนแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข (โครงการค่าตอบแทนฯ) จำนวน 6 โครงการ ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กรอบวงเงินรวม 13,124.1024 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
                    6. อนุมัติกลุ่มโครงการค่าตอบแทนฯ จำนวน 6 โครงการ กรอบวงเงินไม่เกิน 12,123.1098                   ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 สำหรับกรอบวงเงินที่เหลือ จำนวน 1,000.9926 ล้านบาท ให้ สธ. พิจารณาขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากแหล่งอื่นที่มีความเหมาะสมและดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    7. เห็นชอบในหลักการของโครงการค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (โครงการค่าบริการฯ) ปี 2565 รอบที่ 5 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สธ. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับหน่วยบริการ สถานพยาบาลที่ให้บริการสาธารณสุขโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชนทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย กรอบวงเงิน 27,562.5605 ล้านบาท
                    8. อนุมัติโครงการค่าบริการฯ ปี 2565 รอบที่ 5 ของ สปสช. สธ. กรอบวงเงิน 25,845.8471              ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการ กลุ่มที่ 12 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 สำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนที่เหลือจำนวน 1,716.7134 ล้านบาท ให้ สปสช. ดำเนินการโดยให้ใช้จ่ายจากแหล่งเงินอื่น อาทิ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นลำดับแรก
                    9. มอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการตามข้อ 2 และข้อ 3 เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) (ระบบ eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว
                    10. มอบหมายให้ สธ. [สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) กรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (กรมวิทยาศาสตร์ฯ) กรมสุขภาพจิต และกรมอนามัย] เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 6 และรับความเห็นของ คกง. ไปดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด และมอบหมายให้ สปสช. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 8 และรับความเห็นของ คกง. ไปดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564
                    11. มอบหมายให้ สธ. โดยหน่วยงานรับผิดชอบ กำกับและประชาสัมพันธ์ให้หน่วยบริการยุติการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการรักษาพยาบาล และค่าตอบแทนเสี่ยงภัยของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของทางราชการที่เกี่ยวข้อง และกำหนดให้การใช้จ่ายเป็นไปตามระเบียบปกติ รวมทั้งปรับให้สอดคล้องกับมติคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2565 ที่จะปรับเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (Post-pandemic) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
                    12. รับทราบผลการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอโครงการนำร่องตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กทบ.) (โครงการนำร่องฯ BCG กทบ.) ของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) และมอบหมายให้ กทบ. รับความเห็นและข้อสังเกตของคณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของโครงการภายใต้แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และแผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 (คณะอนุกรรมการฯ แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 2 และ 3) ไปประกอบการจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนแหล่งงบประมาณอื่นตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
1 เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19
2 เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด 19
3 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19

ต่างประเทศ

23. เรื่อง เอกสาร ?การสนับสนุนร่วมเพื่อการฟื้นฟูภาคการบินพลเรือน?
                    คณะรัฐมนตรีมีเห็นชอบเอกสาร ?การสนับสนุนร่วมเพื่อการฟื้นฟูภาคการบินพลเรือน? (เอกสารการสนับสนุนร่วมฯ) และให้กระทรวงคมนาคม (คค.) แจ้งการรับรองให้กระทรวงคมนาคมของสาธารณรัฐสิงคโปร์เพื่อทราบการรับรองเอกสารดังกล่าวของประเทศไทยตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    เอกสาร ?การสนับสนุนร่วมเพื่อการฟื้นฟูภาคการบินพลเรือน? ที่กระทรวงคมนาคมเสนอ                       มีสาระสำคัญมุ่งส่งเสริมและฟื้นฟูการเดินทางทางอากาศระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนภายหลังความท้าทายที่เกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวร้สโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ต่อภาคการบินพลเรือน โดยมุ่งเน้นความร่วมมือจากประเทศในภูมิภาคอาเซียนในมิติต่าง ๆ เช่น การร่วมยอมรับใบรับรองสุขภาพที่เกี่ยวกับโรคโควิด 19 การพัฒนาตลาดการบินเดียว การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติงานด้านการบินพลเรือน เป็นต้น  โดยรัฐมนตรีขนส่งอาเชียนที่เข้าร่วมประชุมสุดยอดด้านการบินชางงี ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 - 18 พฤษภาคม 2565                            ณ ประเทศสิงคโปร์ ได้ให้การรับรองเอกสารดังกล่าวแล้ว ในส่วนของประเทศไทย หากคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเอกสารการสนับสนุนร่วมเพื่อการฟื้นฟูภาคการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคมจะแจ้งประเทศสิงคโปร์ถึงการรับรองเอกสารดังกล่าวของไทยต่อไป

24. เรื่อง แถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม Preventing Zoonotic Disease Emergence (PREZODE)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของแถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม Preventing Zoonotic Disease Emergence (PREZODE) (ข้อริเริ่ม PREZODE) โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขแถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม PREZODE ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามในแถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม PREZODE ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ


                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สธ. รายงานว่า
                    1. ความเป็นมา วัตถุประสงค์ และการดำเนินงานของข้อริเริ่ม PREZODE ในการประชุมสุดยอด One Planet Summit เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2564 นายเอ็มมานูเอล มาครง (Mr. Emmanuel Macron) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้ประกาศจัดตั้งข้อริเริ่ม PREZODE ตามแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health Approach) เนื่องจากเล็งเห็นความสัมพันธ์ของการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่กับสุขภาพสัตว์และประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อจัดตั้งเครือข่ายระหว่างประเทศสำหรับการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ งานวิจัย และการดำเนินการต่าง ๆ (2) เพื่อป้องกันโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากสัตว์ (Zoonotic Disease) และการแพร่ระบาดของโรคผ่านการส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และเสริมสร้างพลังความรู้เกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่ และ (3) เป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคณะที่ปรึกษาระดับสูงสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health High Level Expert Panel: OHHLEP) ที่จัดตั้งขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) องค์การหารและการกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) องค์การสุขภาพสัตว์ (World Organization for Animal Health หรือ Office International des Epizooties: OIE) และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme) เพื่อประกอบเป็นข้อมูลเชิงนโยบาย โดยในปี 2564 ถือเป็นระยะเตรียมการของข้อริเริ่ม PREZODE และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเตรียมการ (Institutional Preparatory Committee) ระหว่าหน่วยงานของประเทศที่เข้าร่วม เพื่อเป็นการเตรียมวางกรอบโครงสร้าง                      ธรรมาภิบาลขององค์กร การดำเนินงาน และยุทธศาสตร์ของข้อริเริ่ม PREZODE ทั้งนี้ ปัจจุบันข้อริเริ่ม PREZODE มีประเทศผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย เม็กชิโก เบลเยียม เวียดนาม ชิมบับเว คอสตาริกา เฮติ กัมพูชา อุรุกวัย โดมินิกัน และเซเนกัล
                    2. สาระสำคัญของแถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม PREZODE โดยแถลงการณ์ดังกล่าวถูกจัดทำขึ้นเพื่อแสดงเจตจำนงที่จะทำงานร่วมกันของประเทศผู้เข้าร่วมข้อริเริ่ม PREZODE เพื่อป้องกันการเกิดโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากสัตว์ (Zoonotic Disease) ตามแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว โดยมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ เช่น การพัฒนาและส่งเสริมการประยุกต์ใช้แนวทางที่สอดคล้องกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (Agenda for Sustainable Development 2030) การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านสุขภาพหนึ่งเดียว การส่งเสริมการเปิดตัวโครงการวิจัย นวัตกรรม การศึกษาและการพัฒนาเพื่อปรับปรุงและแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงจากการเกิดและการแพร่กระจายของโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากสัตว์ให้ดียิ่งขึ้น การใช้ประโยชน์จากข้อเสนอแนะจากการ       บริหารจัดการเหตุการณ์โรคระบาดก่อนหน้านี้เพื่อเสริมสร้างเกณฑ์และวิธีการในการเตรียมความพร้อมใหม่

25. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างตารางข้อผูกพันด้านบริการ ภายใต้องค์การการค้าโลกของไทยที่จะผูกพันวินัยในการใช้กฎระเบียบภายใน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                    1. ร่างตารางข้อผูกพันด้านบริการของไทย ที่จะผูกพันวินัยในการใช้กฎระเบียบภายในตามที่ พณ. เสนอ
                    2. มอบหมายให้ พณ. นำร่างตารางข้อผูกพันของไทย เข้าสู่กระบวนการภายใต้องค์การการค้าโลก (World Trade organization: WTO) เพื่อให้การปรับปรุงร่างตารางข้อผูกพันดังกล่าวมีผลผูกพันทางกฎหมาย ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ พณ. เป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งมอบหมายให้ พณ. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามพันธกรณีตามร่างตารางข้อผูกพันที่ผูกพันการใช้กฎระเบียบภายในต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์เป็นการขอความเห็นชอบเพื่อนำวินัย (Disciplines) ในการใช้กฎระเบียบภายในประเทศ (Domestic Regulation) สำหรับภาคบริการมาผูกพันเป็นข้อผูกพันเพิ่มเติมของไทยตามความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ (GATS) ขององค์การการค้าโลก (WTO) โดยวินัยดังกล่าวไม่ได้ตัดสิทธิประเทศสมาชิกในการออกกฎหมายหรือกฎระเบียบเพื่อใช้กำกับดูแลธุรกิจบริการในประเทศ รวมทั้งไม่ได้เปลี่ยนแปลงข้อผูกพันการเปิดตลาดภาคบริการ (Market Access) ที่ไทยได้เคยผูกพันไว้แล้วตามความตกลง แต่เป็นเพียงการยอมรับกฎระเบียบทางการค้า (Rules) ระหว่างประเทศสมาชิก โดยเป็นการขยายความและสร้างความชัดเจนให้กับข้อบทในความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ (GATS) ในส่วนของเงื่อนไขและกระบวนการการกำหนดคุณสมบัติของผู้ให้บริการ               ที่จะเข้ามาประกอบการค้าบริการภายในประเทศ (เช่น การศึกษา ประสบการณ์) เงื่อนไขและกระบวนการการให้ใบอนุญาตและมาตรฐานทางเทคนิคของภาคบริการ เพื่อให้การใช้กฎระเบียบภายในประเทศมีความโปร่งใส                          มีประสิทธิภาพ และสามารถคาดการณ์ได้
                    2. ประเทศไทยได้เข้าร่วมความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ (GATS) ขององค์การการค้าโลก (WTO)1 และผูกพันสาขาบริการในความตกลงทั้งสิ้น 10 สาขาหลัก (77 สาขาย่อย) ประกอบด้วย (1) บริการทางธุรกิจ                   (2) บริการสื่อสาร (3) บริการก่อสร้างและบริการที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรม (4) บริการจัดจำหน่าย (5) บริการการศึกษา (6) บริการสิ่งแวดล้อม (7) บริการการเงิน (8) บริการการท่องเที่ยว (9) บริการนันทนาการ และ (10) บริการขนส่ง
                    3. ข้อบท 6 วรรค 4 ของความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ (GATS) ขององค์การการค้าโลก (WTO) กำหนดให้ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เจรจาเพื่อจัดทำวินัยในการใช้กฎระเบียบภายในประเทศสำหรับภาคบริการ ซึ่งครอบคลุมประเด็นรวม 5 ประเด็น ได้แก่ (1) เงื่อนไขของการกำหนดคุณสมบัติ (Qualification Requirements) (2) กระบวนการของการกำหนดคุณสมบัติ (Qualification Procedures) (3) เงื่อนไขของการให้ใบอนุญาต (Licensing Requirements) (4) กระบวนการของการให้ใบอนุญาต (Licensing Procedures) และ                 (๕) มาตรฐานทางเทคนิค (Technical Standards)
                    4. ประเทศสมาชิก WTO ภายใต้กลุ่มถ้อยแถลงร่วมว่าด้วยกฎระเบียบภายในประเทศสำหรับภาคบริการ (Joint Initiative on Services Domestic Regulation: JI DR) จำนวน 67 ประเทศ (รวมประเทศไทย) ได้เจรจาจัดทำวินัยเพื่อกำกับดูแลกฎระเบียบภายในประเทศจนได้ข้อสรุปเป็นเอกสารอ้างอิงเรื่องกฎระเบียบภายในประเทศสำหรับภาคบริการ (Reference Paper on Services Domestic Regulation) เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564
                    5. เอกสารอ้างอิงเรื่องกฎระเบียบภายในประเทศสำหรับภาคบริการ (Reference Paper on Services Domestic Regulation) มีสาระสำคัญ ดังนี้
                    ส่วนที่ 1: หลักการทั่วไป
                              1) วัตถุประสงค์ของวินัยเพื่อกำกับดูแลการใช้กฎระเบียบภายในประเทศสำหรับภาคบริการ (Disciplines on Services Domestic Regulation หรือ วินัยฯ) คือ การเสริมสร้างให้การดำเนินการของหน่วยงานผู้มีอำนาจของรัฐมีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และสามารถคาดการณ์ได้ในการกำหนดเงื่อนไขและกระบวนการของการกำหนดคุณสมบัติ เงื่อนไขและกระบวนการของการให้ใบอนุญาตและมาตรฐานทางทคนิคของภาคบริการ
                              2) ความครอบคลุม ให้บังคับใช้วินัยฯ กับสาขาบริการที่ได้ผูกพันไว้ โดยส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกระบุสาขาเพิ่มเติมที่ให้มีการบังคับใช้วินัยในตารางข้อผูกพันของตน
                              3) การยอมรับสิทธิในการกำกับดูแลของสมาชิก โดยตระหนักถึงสิทธิในการกำกับดูแล และการนำกฎระเบียบใหม่ ๆ มาใช้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ทางนโยบายของประเทศสมาชิก วินัยฯ จะไม่ถูกตีความว่าเป็นการบัญญัติหรือกำหนดบทบัญญัติด้านกฎระเบียบเฉพาะใด อย่างไรก็ตาม วินัยฯ จะไม่ถูกตีความว่าเป็นการลดทอนพันธกรณีของสมาชิกภายใต้ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ (GATS)
                              4) ประเด็นอื่น ๆ ได้แก่ การตระหนักถึงระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันของประเทศสมาชิกโดยให้มีระยะเวลาปรับตัวสูงสุด 7 ปี การให้ความยืดหยุ่น และการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคและการเสริมสร้างขีดความสามารถแก่ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
                    ส่วนที่ 2 : วินัยเพื่อกำกับดูแลการใช้กฎระเบียบภายในประเทศสำหรับภาคบริการ (Disciplines on Services Domestic Regulation) และส่วนที่ 3: วินัยทางเลือก เพื่อกำกับดูแลการใช้กฎระเบียบภายในประเทศสำหรับบริการการเงิน (Alternative Disciplines on Services Domestic Regulation for Financial Services)
                    เป็นวินัยฯ ที่สมาชิกจะนำไปผูกพันเพื่อบังคับใช้ โดยวินัยฯ ในส่วนที่ 3 เป็นการปรับวินัยฯ มาจากส่วนที่ 2 ให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงของบริการด้านการเงินมากขึ้น
1ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ (GATS) มีหลักการสำคัญรวมถึง (1) ความโปร่งใส (Transparency) โดยหากสมาชิกจะมีการออกกฎหมาย กฎระเบียบ หรือมาตรการใด ๆ  ที่มีผลกระทบต่อการค้าบริการ จะต้องเผยแพร่มาตรการดังกล่าวล่วงหน้า และรายงานให้องค์การการค้าโลก (WTO) ทราบโดยเร็ว รวมทั้งให้จัดตั้งจุดให้ข้อมูล (Enquiry Points) เพื่อให้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับกฎระเบียบการค้าบริการเมื่อมีประเทศสมาชิกร้องขอและ (2) การกำหนดกฎระเบียบภายในประเทศ (Domestic Regulation) โดยความตกลง               ให้สิทธิสมาชิกในการออกกฎหมายหรือกฎระเบียบเพื่อใช้กำกับดูแลธุรกิจบริการในประเทศได้ตลอดเวลา แม้จะเป็นกฎระเบียบที่มีผลกระทบต่อการค้าบริการในสาขาที่ประเทศสมาชิกมีพันธกรณีในการเปิดตลาดก็ตาม ตราบใดที่การกำหนดกฎระเบียบภายในดังกล่าวนำมาใช้อย่างมีเหตุผล มีหลักเกณฑ์ ไม่ลำเอียง ไม่เลือกปฏิบัติระหว่างคนชาติและคนต่างชาติ และไม่เป็นอุปสรรคต่อการค้าบริการโดยไม่จำเป็น ทั้งนี้ การกำหนดกฎระเบียบภายในประเทศ (Domestic Regulation) แตกต่างจากการเปิดเสรี (Liberalization) แต่การกำหนดกฎระเบียบภายในประเทศควรมีวินัย (Disciplines) เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการค้า ซึ่งความตกลงได้กำหนดให้มีการเจรจาจัดทำวินัยต่อไป

26. เรื่อง การประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี ค.ศ. 2022 (ITU Plenipotentiary Conference 2022: PP-22) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบเอกสารท่าทีของประเทศไทยในการเข้าร่วมการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม                   ปี ค.ศ. 2022 ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU)             (ITU Plenipotentiary Conference 2022: PP - 22) รวมถึงร่างข้อสงวนต่อกรรมสารสุดท้าย1 และมอบหมายให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนไทยที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าคณะพิจารณใช้ดุลยพินิจตามสถานการณ์ ตามความเหมาะสมในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ต่อไป (กำหนดการประชุม ณ กรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย ระหว่างวันที่ 26 กันยายน - 14 ตุลาคม 2565)
                    2. เห็นชอบมอบอำนาจให้แก่หัวหน้าคณะและรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการอภิปราย ลงมติ และลงนามในกรรมสารสุดท้ายของการประชุม PP - 22 ของ ITU
                    3. เห็นชอบมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ออกหนังสือแต่งตั้งผู้แทน (Credentials) โดยมอบอำนาจตามข้อ 2 ให้แก่หัวหน้าคณะและรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ITU เป็นทบวงการชำนัญพิเศษ (specialized department) ภายใต้สหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2408 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในการพัฒนาและปรับปรุงการใช้ประโยชน์จากกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือด้านโทรคมนาคมแก่ประเทศกำลังพัฒนา ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกรวมทั้งสิ้น 193 ประเทศ (Member States) โดยคณะผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลของประเทศสมาชิก ITU เข้าร่วมการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม (Plenipotentiary Conference: PP) ซึ่งเป็นการประชุมสูงสุดของ ITU ที่จัดขึ้นทุก 4 ปี เพื่อพิจารณาประเด็นสำคัญต่าง ๆ เช่น (1) ข้อเสนอในการแก้ไขบทบัญญัติแห่งธรรมนูญและอนุสัญญาของ ITU                  (2) ข้อเสนอของสภาบริหาร (ITU Council) เกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินงานและนโยบายด้านการบริหารจัดการองค์กร (3) การพิจารณารายงานผลการดำเนินงานและกิจกรรมของสำนักงานต่าง ๆ ของ ITU ในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา (4) การกำหนดแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ และแผนงบประมาณ สำหรับ 4 ปี ถัดไป ตลอดจนการวางหลักเกณฑ์ด้านงบประมาณและการเงินสำหรับ ITU (5) การพิจารณาจัดทำหรือทบทวนความตกลงในด้านต่าง ๆ ระหว่าง ITU และองค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (6) ประเด็นท้าทายที่สำคัญในด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(Information and Communication Technology: ICT) ในปัจจุบัน และ                (7) การเลือกตั้งสมาชิกสภาบริหาร (ITU Council) ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยเป็นสมาชิก ITU ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2426 รวมทั้งเป็นที่ตั้งสำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ ITU ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 และได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาบริหารของ ITU ต่อเนื่องถึง 10 สมัย
                    ทั้งนี้ การประชุม PP-22 มีกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การเลือกตั้งตำแหน่งผู้บริหารของ ITU สำหรับวาระปี 2566 ? 2569 (ค.ศ. 2023 - 2026) และการลงนามในกรรมสารสุดท้าย
                    2. เพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับการประชุม PP - 22 องค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Telecommunity: APT) ได้จัดการประชุมเตรียมการภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (การประชุมเตรียมการภูมิภาคฯ) เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิก APT ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ได้ร่วมหารือและเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานของ ITU สำหรับช่วงเวลา 4 ปี ข้างหน้า พิจารณาร่างข้อเสนอภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และกำหนดท่าทีของภูมิภาค รวมทั้งจัดทำร่างข้อเสนออื่น ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม PP - 22 พิจารณา
                    3. ในส่วนของประเทศไทย สำนักงาน กสทช. ได้แต่งตั้งคณะทำงานเตรียมการสำหรับการประชุม PP - 22 (คณะทำงานเตรียมการฯ) โดยมีรองเลขาธิการ กสทช. สายงานยุทธศาสตร์และกิจการองค์กร เป็นหัวหน้าคณะ และประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงาน กสทช. กต. และสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมีหน้าที่พิจารณาท่าทีของประทศไทยต่อการประชุม PP -22 และเตรียมการให้ประเทศไทยได้รับเลือกตั้งในตำแหน่งสมาชิกสภาบริหารของ ITU อีกวาระหนึ่ง โดยคณะกรรมการเตรียมการฯ ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมเตรียมการภูมิภาคฯ และได้ร่วมพิจารณาให้ความเห็นต่อร่างข้อเสนอภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกอย่างต่อเนื่อง
                    4. คณะทำงานเตรียมการฯ ได้เสนอองค์ประกอบคณะผู้แทนไทย กรอบท่าทีของประเทศไทย และร่างข้อสงวนในการเข้าร่วมประชุม PP - 22 โดยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมเตรียมการภูมิภาคฯ อย่างต่อเนื่องและได้ร่วมพิจารณาให้ความเห็นต่อร่างข้อเสนอภูมิภาคฯ โดยท่าทีไทยในแต่ละข้อเสนอและการพิจารณาอยู่บนพื้นฐาน (1) ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2) สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ             20 ปี รวมทั้งแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (3) เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติหรือบังคับใช้โดยสอดคล้องกับความตกลงที่ประเทศไทยมีพันธะภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และ (4) รักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

27. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ                  ครั้งที่ 77
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 77 ทั้งนี้หากมีการแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) พิจารณาและดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างเอกสารท่าทีไทยฉบับนี้จัดทำขึ้นสำหรับคณะผู้แทนไทยพิจารณาใช้ในการเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 77 โดยมีความสอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศและส่งเสริมให้ประชาคมระหว่างประเทศตระหนักถึงบทบาทของประเทศไทยในฐานะสมาชิกที่ดีของสหประชาชาติ ซึ่งประเทศไทยมีบทบาทที่แข็งขันและสร้างสรรค์ในการร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศในการรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ของโลก โดยเฉพาะการร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งการนำเสนอ ?ความสมดุลของสรรพสิ่ง? โดยมีเศรษฐกิจชีวภาพ ? เศรษฐกิจหมุนเวียน ? เศรษฐกิจสีเขียว หรือโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio ? Circular ? Green Economy Model) เพื่อต่อยอดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) นอกจากนั้นประเทศไทยได้แสดงจุดยืนและท่าทีของประเทศในประเด็นระดับโลกต่าง ๆ ที่มีความสำคัญและเป็นข้อห่วงกังวลของประชาคมระหว่างประเทศ อาทิ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การพัฒนา สตรี เด็ก และผู้พิการ สิทธิมนุษยชน และความมั่นคง
                    2. ร่างเอกสารท่าทีไทยฯ ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ตามระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 77 ที่ประเทศไทยให้ความสำคัญในแต่ละหมวด รวมทั้งสิ้น 9 หมวด ได้แก่ 1) หมวด A การส่งเสริมการพัฒนาและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนตามข้อมติสมัชชาสหประชาชาติและผลการประชุมสหประชาชาติที่เกี่ยวข้อง 2) หมวด B การรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ 3) หมวด C การพัฒนาทวีปแอฟริกา 4) หมวด D การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน 5) หมวด E การประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม 6) หมวด F การส่งเสริมความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ 7) หมวด G การลดอาวุธ 8) หมวด H การควบคุมยาเสพติด การป้องกันอาชญากรรม และการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศทุกรูปแบบ และ 9) หมวด I การบริหารองค์การและอื่น ๆ



28. เรื่อง ขออนุมัติการจัดทำและลงนามร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) โครงการเมืองยางพาราและความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยาง แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสามฝ่าย อินโดนีเซีย ? มาเลเซีย ? ไทย (IMT - GT)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) โครงการเมืองยางพาราและความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยาง แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสามฝ่าย อินโดนีเซีย ? มาเลเซีย ? ไทย (IMT-GT) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) โครงการเมืองยางพาราและความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยางแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสามฝ่าย อินโดนีเซีย ? มาเลเซีย - ไทย (IMT-GT) และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เป็นผู้ลงนามเอกสารดังกล่าวข้างต้นตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    ร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) โครงการเมืองยางพาราและความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยางแผนงาน IMT ? GT มีสาระสำคัญ ดังนี้
                    1. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ เป็นความร่วมมือร่วมกันระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย Northern Corridor Implementation Authority (NCIA) ประเทศมาเลเซีย และการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                    2. ความร่วมมือดังกล่าว มุ่งเน้นไปที่การสร้างความเข้าใจความเข้มแข็งของห่วงโซ่คุณค่าอุตสาหกรรมยางพารา โดยจะร่วมมือกันกำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยาง การเสริมสร้างศักยภาพของเมืองยางพารา (Rubber Cities) ของทั้งสามประเทศสมาชิกความร่วมมือด้านงานวิจัยและผลิตภัณฑ์ยาง นวัตกรรม และเทคโนโลยี ความร่วมมือด้านมาตรฐานและการรับรองผลิตภัณฑ์ยาง การแสวงหาและเสนอความร่วมมือผ่านเครือข่ายเมืองยางพาราระหว่างอนุภูมิภาค IMT-GT และ ภูมิภาคอาเซียน (ASEAN) ตลอดจนความร่วมมือด้านธุรกิจ

29. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 28 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 28 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) และเห็นชอบให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสามารถปรับปรุงถ้อยคำในร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ได้ ในกรณีที่มิใช่การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบอีก รวมทั้งเห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเข้าร่วมการประชุมในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 28 แผนงาน IMT-GT พร้อมทั้งร่วมกับรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกให้การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีฯ โดยไม่มีการลงนามในการประชุมดังกล่าวซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 16 กันยายน 2565 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมฯ เช่น          1) ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทุกประเทศสมาชิกมีความก้าวหน้าในการจัดสรรวัคซีนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อการฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเปิดพรมแดนและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการเดินทางให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น และตระหนักถึงความท้าทายที่เกิดขึ้นจากพลวัตทางภูมิรัฐศาสตร์ของโลกที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตด้านพลังงานและอาหาร 2) ยินดีต่อผลการดำเนินงานของคณะทำงานแต่ละสาขาในปีที่ผ่านมา 3) เน้นย้ำถึงความสำคัญของสภาธุรกิจ ในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคที่สอดประสานกับแผนการดำเนินงานระยะ 5 ปี พ.ศ. 2565 - 2569 (Implementation Blueprint: IB 2022 - 2026) ผ่านการมีส่วนร่วมอย่างเต็มศักยภาพในหลายสาขาความร่วมมือ 4) เน้นย้ำบทบาทที่สำคัญของเครือข่ายมหาวิทยาลัย (UNINET) ในการนำการวิจัยมาใช้ขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาในยุทธศาสตร์ของแผนงาน IMT-GT 5) เน้นย้ำความสำคัญของกรอบการประชุมระดับมุขมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัด (CMGF) ในการดำเนินแผนงาน/โครงการให้เป็นรูปธรรมในการแสวงหาโอกาสจากระเบียงเศรษฐกิจมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนท้องถิ่น 6) ยืนยัน              ที่จะพัฒนาความร่วมมือกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาต่อไป และ 7) ให้การรับรองแผนดำเนินงานระยะ 5 ปี พ.ศ. 2565 - 2569 (IB 2022-2026) เพื่อเป็นแนวทางสำหรับความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคในอีกห้าปีข้างหน้า และถือเป็นแนวทางในการบรรลุวิสัยทัศน์ ค.ศ. 2036
                    ประโยชน์ของประเทศไทย ในการเข้าร่วมการประชุมฯ เช่น          ส่งเสริมบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศโดยใช้ประโยชน์จากการพัฒนาความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคภายใต้แผนงาน IMT-GT ในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สอดประสานกันระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้านทั้งในระดับส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นในทุกสาขาความร่วมมือ รวมทั้งสาขาความร่วมมือใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ

30. เรื่อง ร่างข้อตกลงการรับทุน (Grant Agreement) โครงการความร่วมมือ Phuket Smart City Technical Assistant Package ระหว่างสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และองค์การการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S Trade and Development Agency : USTDA)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในร่างข้อตกลงการรับทุน (Grant Agreement) โครงการความร่วมมือ Phuket Smart City Technical Assistant Package ระหว่างสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กับองค์การการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S Trade and Development Agency : USTDA) ของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้ โดยให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว รวมทั้งอนุมัติให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นผู้ลงนามในร่างข้อตกลงการรับทุน (Grant Agreement) ฉบับดังกล่าว ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. ข้อตกลงการรับทุนฯ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
                              1) เพื่อสนับสนุนความช่วยเหลือทางวิชาการ ในการศึกษา และจัดทำแผนความช่วยเหลือด้านเทคนิค (Technical Assistance) ให้แก่โครงการภูเก็ตเมืองอัจฉริยะ และช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นในจังหวัดภูเก็ต
                              2) เพื่อให้ข้อเสนอแนะด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ การพัฒนาต่อยอดระบบการจัดเก็บและพัฒนาข้อมูลของเมือง (City Data Platform) การพัฒนาศูนย์บัญชาการสถานการณ์และเหตุการณ์ฉุกเฉิน (Command Center) การประเมินโครงสร้างพื้นฐานของเมือง และให้ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นรูปธรรม
                              3) เพื่อให้ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาทักษะด้านเทคนิคที่จำเป็น และสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมบุคลากรด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
                    2. ขอบเขตความร่วมมือภายใต้ข้อตกลงการรับทุนฯ ได้แก่
                              1) ร่วมดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะภูเก็ตเพื่อศึกษาและเสนอแผนความช่วยเหลือด้านเทคนิคให้แก่โครงการภูเก็ตเมืองอัจฉริยะ และช่วยให้ข้อเสนอแนะด้านนโยบายต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นในจังหวัดภูเก็ต
                              2) ให้ข้อเสนอแนะด้านเทคนิคโดยละเอียด พร้อมแผนการดำเนินการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ พร้อมแนวทางเลือก สำหรับการวางแผนการพัฒนาเมือง โครงสร้างพื้นฐาน และการออกแบบบริการที่มุ่งปรับปรุงการเข้าถึงดิจิทัลของจังหวัดภูเก็ต และการขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยจะสนับสนุนให้เกิดการกำหนดข้อกำหนดของระบบ แพลตฟอร์ม และโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยการรวบรวมข้อมูล และทบทวนข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ รวมถึงการปรับปรุงในอนาคต
                    3. ข้อตกลงการรับทุนฉบับนี้ไม่ถือเป็นสนธิสัญญาหรือก่อให้เกิดสิทธิ และพันธกรณีใด ๆ ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
                    4. ข้อตกลงการรับทุนฯ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่มีการลงนามครบสมบูรณ์และจะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 5 ปี เว้นแต่จะมีการสละสิทธิ์ ซึ่งจะต้องเป็นการตกลงกันทั้งสองฝ่ายเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามโดยคู่สัญญาแต่ละฝ่าย
31. เรื่อง ร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ 1) ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40                       2)                  ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 19 3) ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมสุดยอดรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 16 และ 4) ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ครั้งที่ 3
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็นผู้ให้การรับรองในเอกสารสำหรับการประชุมดังกล่าวกับรัฐมนตรีพลังงานของกลุ่มประเทศสมาชิกได้
                    3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน     ครั้งที่ 40 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง จำนวนทั้ง 4 ฉบับ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้กระทรวงพลังงานและคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถบังเกิดผลเป็นรูปธรรมสำหรับความร่วมมือด้านพลังงานภายใต้กรอบดังกล่าวในช่วงการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้องในระหว่างวันที่ 13-16 กันยายน 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล
                    สาระสำคัญของร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ทั้ง 4 ฉบับ
                    1. ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 มีสาระสำคัญ ดังนี้
                              1) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการอภิปรายสถานการณ์และแนวทางที่เป็นไปได้ในการบรรลุเป้าหมายด้านความมั่นคงทางพลังงานและการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในระยะยาว
                              2) ส่งเสริมการสนับสนุนความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาและองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนและข้อตกลงความร่วมมือด้านพลังงานที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน
                              3) เสริมสร้างการขยายความร่วมมือด้านการซื้อขายไฟฟ้าพหุภาคีภายใต้กรอบโครงการสายส่งไฟฟ้าอาเซียน ส่งเสริมบทบาทของพลังงานก๊าซธรรมชาติ พลังงานถ่านหินและเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด การพัฒนาบุคลากรด้านพลังงานนิวเคลียร์พลเรือน การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการส่งเสริมการบูรณาการนโยบายพลังงานของภูมิภาค เพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างสมดุลและมั่นคง
                              4) ยินดีกับการจัดการประชุมเวทีธุรกิจพลังงานอาเซียนของภาคเอกชนและผู้ได้รับรางวัลพลังงานอาเซียนที่มีผลการดำเนินการที่ดีเยี่ยมในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านถ่านหินและเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน ด้านพลังงานหมุนเวียน ด้านความเป็นเลิศในการบริหารจัดการพลังงาน และรางวัลในรุ่นสำหรับเยาวชน
                    2. ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 19 มีสาระสำคัญ ดังนี้
                              1) ส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสามในด้านการพัฒนาพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การแลกเปลี่ยนแนวทางการสำรองน้ำมันและก๊าซ และการเสริมสร้างความยืดหยุ่นของระบบ เพื่อความมั่นคงทางพลังงานร่วมกันในภูมิภาค
                              2) เสริมสร้างความสำคัญในการเร่งพัฒนานวัตกรรมและเพิ่มการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การบริการ ระบบ และเทคโนโลยีพลังงานสะอาดที่ทันสมัย เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและความยืดหยุ่นทางพลังงาน
                              3) ส่งเสริมโครงการความร่วมมือภายใต้ข้อริเริ่มการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานแห่งเอเชีย (The Asia Energy Transition Initiative: AETI) ของญี่ปุ่น และความร่วมมือด้านพลังงานสะอาดกับจีน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในภูมิภาค
                    3. ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมสุดยอดรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 16             มีสาระสำคัญ ดังนี้
                              1) ส่งเสริมการพัฒนาพลังงานอย่างต่อเนื่องตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนและคาร์บอนต่ำของภูมิภาค
                              2) ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมและสังคมคาร์บอนต่ำ เทคโนโลยีไฮโดรเจน ยานยนต์ไฟฟ้า และเทคโนโลยีการดักจับ การกักเก็บ และการใช้ประโยชน์คาร์บอน เพื่อเสริมสร้างความมั่งคงทางพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
                              3) ส่งเสริมการพัฒนาทางเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อการขนส่งและวัตถุประสงค์อื่น ๆ รวมทั้งการพัฒนาการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน การส่งเสริมการค้าการลงทุนด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
                    4. ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ครั้งที่ 3 มีสาระสำคัญ ดังนี้
                              1) เพื่อยืนยันความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการซื้อขายไฟฟ้าพหุภาคีในอาเซียน และการดำเนินการซื้อขายไฟฟ้าข้ามพรมแดนจาก สปป. ลาว ไปยังสิงคโปร์ผ่านประเทศไทยและมาเลเซีย ภายใต้โครงการบูรณาการด้านไฟฟ้า สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ โดยใช้การเชื่อมต่อโครงข่ายที่มีอยู่ของแต่ละประเทศ โดยริเริ่มการซื้อขายไฟฟ้าพหุภาคีข้ามพรมแดน
                              2) ส่งเสริมความพยายามเพื่อการบรรลุผลสำเร็จภายใต้โครงการโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยการสร้างโอกาสในการซื้อขายไฟฟ้าพหุภาคีในภูมิภาค เพื่อเสริมสร้างความสามารถของโครงข่ายไฟฟ้าให้เข้มแข็ง และส่งเสริมการบูรณาการพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาค

32. เรื่อง การประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 7
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนฝ่ายไทย สำหรับการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 7
                    2. เห็นชอบร่างบันทึกการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 7 และร่างคำแถลงข่าวร่วมการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 7 ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงในร่างบันทึกการประชุมฯ และร่างคำแถลงข่าวร่วมการประชุมฯ ที่มิใช่สาระสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย      ให้กระทรวงมหาดไทยสามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบอีก
                    3. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน ร่วมรับรองร่างบันทึกการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 7
                    สาระสำคัญ
                    1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติองค์ประกอบคณะผู้แทนฝ่ายไทย สำหรับการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 7
                    2. ร่างบันทึกการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 7 และร่างคำแถลงข่าวร่วมการประชุมฯ ซึ่งได้ดำเนินการจัดทำร่วมกับฝ่ายกัมพูชาแล้ว มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
                              1) การประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 7 จัดการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) โดยฝ่ายไทยเป็นเจ้าภาพ โดยมีประธานร่วม ได้แก่ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แห่งราชอาณาจักรไทย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยและสมเด็จกลาโหม ซอร์ เค็ง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายกัมพูชา
                              2) ที่ประชุมได้มีการหารือร่วมกันในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ที่จะให้ผู้บริหารระดับสูงในพื้นที่ที่มีเขตแดนติดต่อกัน มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน สอดคล้องกับเจตนารมณ์และนโยบายของรัฐบาล และเป็นการสานต่อความร่วมมือด้านต่าง ๆ ที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้ทำความตกลงกันไว้แล้ว รวมทั้งจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ประเทศไทย และเป็นการยืนยันการดำรงความสัมพันธ์ในระดับท้องถิ่นระหว่างไทย - กัมพูชา ที่มีอยู่อย่างแน่นแฟ้น ตลอดจนเป็นเวทีผลักดันความร่วมมือด้านต่าง ๆ ให้คืบหน้าเป็นรูปธรรม
33. เรื่อง การร่วมรับรองต่อร่างเอกสารหลักการทั่วไป (Guiding Principles) และประกาศการเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยการแข่งขันของอาเซียน (Launch Negotiations for an ASEAN Framework Agreement on Competition)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารหลักการทั่วไป (Guiding Principles) และประกาศการเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยการแข่งขันของอาเซียน (Launch Negotiations for an ASEAN Framework Agreement on Competition) และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ให้การรับรองเอกสารหลักการทั่วไป (Guiding Principles) สำหรับประกาศการเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยการแข่งขันของอาเซียน (Launch Negotiations for an ASEAN Framework Agreement on Competition) ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers Meeting: AEM) ครั้งที่ 54 ในระหว่างวันที่ 14 ? 15 กันยายน 2565 และร่วมประกาศเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยการแข่งขันของอาเซียนตามที่กระทรวงพาณิชย์ โดยสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าเสนอ
                    สาระสำคัญ
                    สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ขอเสนอให้รับรองต่อร่างเอกสารหลักการทั่วไป (Guiding Principles) สำหรับประกาศการเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยการแข่งขันของอาเซียน (Launch Negotiations for an ASEAN Framework Agreement on Competition) ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers Meeting: AEM) ครั้งที่ 54 ในระหว่างวันที่ 14 - 15 กันยายน 2565 ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุป คือ เอกสารหลักการทั่วไป (Guiding Principles) นี้ได้กำหนดหลักการและองค์ประกอบเบื้องต้นสำหรับการเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยการแข่งขันของอาเซียนอันจะช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันที่เป็นธรรมภายในภูมิภาคผ่านความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยงานกำกับการแข่งขันในอาเซียน พร้อมทั้งได้กำหนดขอบเขตกรอบความตกลงที่ครอบคลุมต่อความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการช่วยกันกำกับพฤติกรรมที่เป็นการผูกขาดและจำกัดการแข่งขันภายในภูมิภาค ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการด้านนโยบายและกฎหมายแข่งขันในภูมิภาคอาเซียน อันจะส่งผลให้เกิดการรวมตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ร่างเอกสารหลักการทั่วไป (Guiding Principles) ได้รับการเห็นชอบจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการแข่งขันทางการค้าของอาเซียน (ASEAN Expert Group on Competition: AEGC) และที่ประชุมผู้นำด้านการแข่งขันทางการค้าของอาเซียน (ASEAN Heads of Competition Authorities Meeting: AHCA) และที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Senior Economic Officials Meeting: SEOM) เรียบร้อยแล้ว

34. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาครั้งที่ 11 (AMMSWD ครั้งที่ 11) และร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนบวกสามด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา ครั้งที่ 7 (AMMSED+3 ครั้งที่ 7)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา ครั้งที่ 11 (AMMSWD ครั้งที่ 11) และร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนบวกสามด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา ครั้งที่ 7 (AMMSWD+3 ครั้งที่ 7) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกและหลังจากนั้นให้รายงานผลเพื่อคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือผู้แทนในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (AMMSWD Minister) ของประเทศไทยให้การรับรอง (adopt) ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา ครั้งที่ 7 (AMMSWD+3 ครั้งที่ 7) ระหว่างการประชุม AMMSWD และ AMMSWD+3 ในวันที่ 15 กันยายน 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกลตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างถ้อยแถลงร่วมฯ 2 ฉบับ
                    1. ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาครั้งที่ 11 (AMMSWD ครั้งที่ 11) มีสาระสำคัญเพื่อยืนยันเจตจำนงในการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศไปสู่การปฏิบัติผ่านการบูรณาการมิติเพศภาวะและการมีส่วนร่วมทางสังคมในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2568 และแผนงานประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ. 2568 ตลอดจนเพื่อเป็นการอนุวัติการปฏิญญาอาเซียนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงชื่นชมการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของกรอบยุทธศาสตร์การบูรณาการมิติเพศภาวะของอาเซียน และเน้นย้ำถึงความสำคัญในการปรับปรุงการรวบรวม วิเคราะห์ เผยแพร่ และการใช้ข้อมูลที่จัดจำแนกประเภทตามเพศ เพื่อทำให้เห็นถึงอุปสรรคที่มีอยู่และตอบโต้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักฐานที่ปรากฏของประเทศสมาชิกอาเซียน
                    2. ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนบวกสามด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา ครั้งที่ 7 (AMMSWD+3 ครั้งที่ 7) มีสาระสำคัญเพื่อยืนยันเจตจำนงในการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศไปสู่การปฏิบัติ ตระหนักถึงการสนับสนุนที่สำคัญ และต่อเนื่องของประเทศอาเซียนบวกสาม และมุ่งหวังต่อการเป็นหุ้นส่วนที่ลึกซึ้งในด้านการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศผ่านการบูรณาการมิติเพศภาวะและการมีส่วนร่วมทางสังคมของสตรี ผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการ รวมถึงชื่นชมผลสำเร็จของประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงอาเซียน - ญี่ปุ่น ในเรื่องสังคมเอื้ออาทร ครั้งที่ 19 และความสำเร็จของการจัดตั้งเครือข่ายวิจัยด้านผู้สูงอายุที่ครอบคลุมทั่วทั้งอาเซียน ซึ่งเป็นโครงการของประเทศมาเลเซียและได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนความร่วมมือญี่ปุ่น - อาเซียน

แต่งตั้ง

35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                 (กระทรวงสาธารณสุข)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                     1. นายดนัย สังข์ทรัพย์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) งานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2564
                     2. นายอาจินต์ ชลพันธุ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมควบคุมโรค ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2564
                     3. นายพรศักดิ์ อยู่เจริญ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมควบคุมโรค ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมควบคุมโรค ตั้งแต่งวันที่ 27 ตุลาคม 2564
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

36. เรื่อง การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการในการมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จำนวน 2 ราย ตามลำดับ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้
                    1. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
                    2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2565 เป็นต้นไป

37. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                    (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดสำนักงาน กปร. ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                    1. นางสุพร ตรีนรินทร์  ที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ) สำนักงาน กปร. ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน กปร. ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2565
                    2. นางพิชญดา หัศภาค ที่ปรึกษาด้านการพัฒนา (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ) สำนักงาน กปร. ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการพัฒนา (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน กปร. ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2565
                    3. นายหทัย วสุนันต์ ที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ) สำนักงาน กปร. ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน กปร. ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2565
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

38. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงบประมาณเสนอแต่งตั้ง นายบุญชู ประสพกิจถาวร ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) ให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการ               พลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ สับเปลี่ยนหมุนเวียนและตำแหน่งที่จะว่าง ดังนี้
                    1. นายวราวุธ ภู่อภิญญา เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับ            เอมิเรตส์ ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน นิวซีแลนด์
                     2. นายสรยุทธ ชาสมบัติ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
                     3. นายชัยรัตน์ ศิริวัฒน์ กงสุลใหญ่ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     ทั้งนี้ ข้าราชการในข้อ 1. และ 2. ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 และข้าราชการในข้อ 3. ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศตามข้อ 1. และ 2. รวม 2 ราย ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ

40. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง                   นายปารเมศ โพธารากุล เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์) แทน นางวันเพ็ญ เศรษฐรักษา ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2565 เป็นต้นไป

41. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการเสนอแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีอีกหนึ่งวาระ จำนวน 2 ราย ดังนี้
                     1. นายนพดล พลเสน ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2565
                     2. นายเหรียญชัย ลิขิตพฤกษ์ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2565

42. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายลัทธจิตร มีรักษ์ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง

43. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำนวน 10 คน ดังนี้
                     1. นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล
                     2. นายพสุ โลหารชุน
                    3. นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ
                    4. นายสุรพล โอภาสเสถียร           ผู้แทนองค์การเอกชน
                    5. นายกฤษณ์ ณ ลำเลียง            ผู้แทนองค์การเอกชน
                      6. นายเกรียงไกร วีระฤทธิพันธ์            ผู้แทนองค์การเอกชนซึ่งประกอบการในภูมิภาค
                    7. นายมนตรี จงวิเศษ                      ผู้แทนองค์การเอกชนซึ่งประกอบการในภูมิภาค
                    8. นายสุรัตน์ เมฆะวรากุล            ผู้แทนองค์การเอกชนซึ่งประกอบการในภูมิภาค
                     9. นายกรกฎ เตติรานนท์            ผู้แทนองค์การเอกชนซึ่งประกอบการในภูมิภาค
                    10. นายอภิชิต ประสพรัตน์            ผู้แทนองค์การเอกชนซึ่งประกอบการในส่วนกลาง
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2565 เป็นต้นไป

44. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง                     นายประยูร อินสกุล รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่                      1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ