สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565

ข่าวการเมือง Tuesday November 1, 2022 18:25 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (1 พฤศจิกายน 2565 )  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบเครื่องหมายคำรับรองเครื่องชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ..)                                                   พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม

(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม
                    3.           เรื่อง            แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565-2570)
                    4.           เรื่อง           ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 เรื่อง ขออนุมัติโครงการ                                                  พัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก
                    5.           เรื่อง           การเสนอให้นาคเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติประเภทสัตว์ในตำนาน
                    6.           เรื่อง           ขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการซ่อมแซมแหล่งน้ำขนาดเล็กของส่วน                                                  ราชการที่ยังไม่ได้ถ่ายโอนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี พ.ศ. 2565 - 2570                                         ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
                    7.           เรื่อง           การปรับปรุงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบองค์การมหาชน
                              8.           เรื่อง            สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการ                                                  นายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 16 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 กรกฎาคม 2565)
                    9.           เรื่อง           รายงานประจำครึ่งปี (มกราคม-มิถุนายน 2565) ของธนาคารแห่งประเทศไทย
                    10.           เรื่อง           การพิจารณาความเหมาะสมของอัตราการเรียกเก็บเงินนำส่งจากสถาบันการเงิน
                    11.           เรื่อง           รายงานสถานการณ์เพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็ก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    12.           เรื่อง           มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร                                        จัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2566
                    13.           เรื่อง           โครงการสินเชื่อแก้หนี้เพิ่มทุน
                    14.           เรื่อง           ขออนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง ระยะที่ 2
                    15.           เรื่อง           ขอผ่อนผันยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่า                                                  ชายเลนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ท้องที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล                                         จังหวัดสตูล เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างถนนสายบ้านเขาจีน - บ้านโคกพยอม                                                   ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
                    16.           เรื่อง            รายงานความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงใน                                        พื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ครั้งที่ 2
                    17.            เรื่อง            แนวทางการควบคุมสารโซเดียมไซยาไนด์  สารเบนซิลคลอโรด์ และสารเบนซิล                                                  ไซยาไนด์ที่นำไปใช้ในกระบวนการผลิตยาเสพติด
                    18.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.)                                                   ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                    19.           เรื่อง           ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ

ณ เดือนกันยายน 2565

                    20.           เรื่อง           สรุปผลการพิจารณาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานการพิจารณาศึกษา                                         เรื่อง ?การจัดการตำบลเข้มแข็งตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูป                                        ประเทศ? ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ                                         วุฒิสภา

ต่างประเทศ

                    21.            เรื่อง            การขอความเห็นชอบการขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากสำนักงานส่งเสริม                                        การค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อดำเนินโครงการศึกษาจัดทำ                                                  แผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องอย่างบูรณาการของประเทศไทย                                         (Thailand Integrated Logistics and Intermodal Transport Development                                         Plan)
                    22.            เรื่อง            รายงานผลการเดินทางเยือนราชอาณาจักรของซาอุดีอาระเบีย

ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

                    23.            เรื่อง           การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะศึกษาด้านการบริหารและค้นคว้าทางภาษี                                                  อากรแห่งเอเชียแปซิฟิก (Study Group on Asia-Pacific Tax Administration                                         and Research: SGATAR) ครั้งที่ 52
                    24.            เรื่อง            ขอความเห็นชอบต่อการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยองค์การทางทะเลระหว่าง                                        ประเทศ (Convention on the International Maritime Organization : IMO                                         Convention)
                    25.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-มองโกเลีย ครั้งที่ 1                                                   รวมทั้งดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง
                    26.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะทำงานด้านการขนส่งของเอเปค ครั้งที่ 52
                    27.            เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 29 และการประชุม                                        อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    28.           เรื่อง           การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ สมัยที่ 14 (Ramsar COP 14)
                    29.           เรื่อง           ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวกรอบ ACMECS ครั้งที่ 5

แต่งตั้ง

                    30.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน)
                    31.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ
                    32.           เรื่อง           แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบเครื่องหมายคำรับรองเครื่องชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบเครื่องหมายคำรับรองเครื่องชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ พณ. เสนอว่า
                     1. กฎกระทรวงกำหนดแบบเครื่องหมายคำรับรองเครื่องชั่งตวงวัด พ.ศ. 2560 ข้อ 3 ได้กำหนดให้แบบของเครื่องหมายคำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดของสำนักงานกลาง หรือสำนักงานสาขา มี 4 ชนิด ได้แก่ 1) ชนิดตราตอกประทับ 2) ชนิดคีมบีบประทับ 3) ชนิดแถบผนึก และ 4) ชนิดฉลุพ่นทราย เนื่องจากปัจจุบันมีเครื่องหมาย            คำรับรองรูปแบบบใหม่ คือ ชนิดซีล (Seal) ซึ่งมีความคงทน แข็งแรง รวมทั้งสามารถตรวจสอบ ติดตามเครื่องชั่งตวงวัดที่ได้รับการตรวจสอบและให้คำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และสามารถป้องกันการแก้ไขหรือดัดแปลงเครื่องชั่งตวงวัดได้โดยง่าย
                     2. ประกอบกับแบบเครื่องหมายคำรับรองตามกฎกระทรวงในข้อ 1. ยังไม่ครอบคลุมเครื่องหมายคำรับรองเครื่องชั่งตวงวัด ชนิดซีล (Seal) ดังนั้น เพื่อเป็นการกำหนดให้เครื่องหมายคำรับรองเครื่องชั่งตวงวัด ชนิดซีล (Seal) เป็นเครื่องหมายคำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดชนิดที่ 5 พณ. พิจารณาแล้ว จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบเครื่องหมายคำรับรองเครื่องชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ดังนี้
ประเด็น          กฎกระทรวงฯ พ.ศ. 60          ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ พณ. เสนอ          หมายเหตุ
ชนิดเครื่องหมายคำรับรอง           เครื่องหมายคำรับรอง มี 4 ชนิด
1) ชนิดตราตอกประทับ
2) ชนิดคีมบีบประทับ
3) ชนิดแถบผนึก
4) ชนิดฉลุพ่นทราย           เครื่องหมายคำรับรอง มี 5 ชนิด
1) ชนิดตราตอกประทับ
2) ชนิดคีบบีบประทับ
3) ชนิดแถบผนึก
4) ชนิดฉลุพ่นทราย
5) ชนิดซีล (Seal)           เพิ่มเติมชนิดของเครื่องหมายคำรับรองเพื่อให้ครอบคลุมเครื่องหมายชนิดซีล (Seal)
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดแบบเครื่องหมายคำรับรองเครื่องชั่งตวงวัด พ.ศ. 2560 โดยเพิ่มให้แบบเครื่องหมายคำรับรองเครื่องชั่งตวงวัด ชนิดซีล (Seal) เป็นเครื่องหมายคำรับรองเครื่องชั่งตวงวัด ชนิดที่ 5 ซึ่งกำหนดให้ด้านบนของซีลมีตราเครื่องหมายคำรับรอง และหมายเลขลำดับของซีลกำกับไว้ โดยเครื่องหมายคำรับรองและหมายเลขลำดับของซีลต้องอ่านง่าย ชัดเจน และลบเลือนยาก และไม่สามารถทำลายซีลได้โดยง่าย

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ ทันตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่ สธ. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2545 โดยกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ฉบับละ 2,000 บาท เป็นอัตราค่าธรรมเนียมซึ่งไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ซึ่งบัญญัติให้อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ฉบับละ 4,000 บาท ทั้งนี้ ปัจจุบันไม่ได้มีการกำหนดค่าธรรมเนียมในส่วนค่าต่ออายุใบอนุญาตไว้ ซึ่งการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตตามร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 เพื่อประโยชน์ในการจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนสมาชิก การจัดการศึกษาต่อเนื่องของผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามข้อบังคับ  ทันตแพทยสภาว่าด้วยการขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2560 ซึ่งมีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน และคำนึงถึงประโยชน์ของสมาชิกเป็นสำคัญ ซึ่งคณะกรรมการ ทันตแพทยสภาได้เห็นชอบด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม                    พ.ศ. 2545 โดยกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ฉบับละ 2,000 บาท ซึ่งไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ที่กำหนด ฉบับละ 4,000 บาท

เศรษฐกิจ-สังคม
3. เรื่อง  แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565-2570)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ  แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565-2570)  ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.)
ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าวแล้วและให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (27 มิถุนายน 2538) ที่ให้ถือว่าการประชุม กก.วล เป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมและมติคณะรัฐมนตรี (1 พฤศจิกายน 2548) ที่ให้นำมติ กก.วล. เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่สำคัญและเรื่องที่ กก.วล. พิจารณาได้ข้อยุติแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ]  โดยแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าวเป็นแผนที่ดำเนินการต่อเนื่องจากแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มติ (3 พฤษภาคม 2559)  เห็นชอบแผนแม่บทดังกล่าวเพื่อใช้เป็นกรอบและทิศทางการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศ โดยบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชนและประชาชนด้วยแล้ว ซึ่งทุกภาคส่วนร่วมกันดำเนินการตามแผนแม่บทดังกล่าว โดยมีผลการดำเนินการ เช่น                การจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้อง สำเร็จร้อยละ 69 (เป้าหมายร้อยละ 75)  การจัดการของเสียอันตรายชุมชน สำเร็จร้อยละ 22 (เป้าหมายร้อยละ 30) และการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ สำเร็จร้อยละ 90.85 (เป้าหมายร้อยละ 100) อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ยังไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด โดยมีปัญหาและอุปสรรค และข้อจำกัด เช่น สถานที่กำจัด
ขยะมูลฝอยชุมชนของรัฐและเอกชนส่วนใหญ่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ระบบติดตาม กำกับและควบคุม               การดำเนินงานของสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยยังไม่ทั่วถึงและเพียงพอ รวมถึงกฎหมายในการจัดการขยะมูลฝอยในปัจจุบันไม่สามารถกำกับดูแลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดำเนินการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยแผนแม่บทดังกล่าวมุ่งเน้นการจัดการขยะ ณ ปลายทาง ของ อปท. โดยลดการเกิดขยะ การนำของเสียกลับมาใช้ซ้ำและใช้ประโยชน์ใหม่และการกำจัดขยะมูลฝอยตกค้างจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น เพื่อให้การจัดการขยะของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง จึงได้มีแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่2ฯ โดยยกระดับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่ให้ความสำคัญกับการจัดการที่ต้นทางตามวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle)  ตั้งแต่ต้นทาง (เช่น การออกแบบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม)                     ให้สอดคล้องกับการกำจัดขยะมูลฝอย ณ ปลายทาง เพื่อให้มีการนำทรัพยากรกลับคืนจากของเสียให้มากที่สุด โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
(1) วิสัยทัศน์          การจัดการขยะวิถีใหม่เพื่อสิ่งแวดล้อมสะอาดและก้าวสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม                  ที่ยั่งยืน
(2) กรอบแนวคิด          การจัดลำดับความสำคัญของการจัดการขยะรูปแบบใหม่และการบริหารจัดการขยะ                   ตามวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ดังนี้
2.1) การจัดการ ณ ต้นทาง ออกแบบ การผลิต และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการกำหนดหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องในการร่วมรับผิดชอบผลิตภัณฑ์ของตนตลอดวัฎจักรชีวิตตามหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต
2.2) การจัดการ ณ กลางทาง ส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืนโดยการเลือกใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถใช้ซ้ำและเรียกคืนกลับไปรีไซเคิล การคัดแยกขยะมูลฝอย ณ ต้นทาง สอดคล้องกับรูปแบบการกำจัดขยะมูลฝอย ณ ปลายทาง เพื่อให้มีการนำทรัพยากรกลับคืนจากของเสียให้มากที่สุดทั้งในรูปแบบวัสดุรีไซเคิลและพลังงาน เพื่อให้เหลือขยะที่ต้องกำจัดให้น้อยที่สุด
2.3) การจัดการ ณ ปลายทาง ใช้แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยผสมผสานโดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ก่อนการฝังกลบขั้นสุดท้าย เช่น ระบบคัดแยกและนำกลับคืนวัสดุรีไซเคิล การเผาเพื่อผลิตพลังงาน การหมักปุ๋ยเพื่อให้เหลือขยะที่ต้องฝังกลบให้น้อยที่สุด
2.4) การพัฒนาเครื่องมือบริหารจัดการขยะเพื่อสนับสนุนให้การจัดการขยะเป็นไปอย่าง              มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การพัฒนา/ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาและเชื่อมโยงฐานข้อมูลให้เป็นข้อมูลชุดเดียวกัน  การจัดทำองค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนและการวิจัยพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสมสำหรับการจัดการขยะ
(3) เป้าหมายของแผนปฏิบัติการฯ           3.1) ขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 80
3.2) ขยะบรรจุภัณฑ์มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ (1) พลาสติก ร้อยละ 100                  (2) แก้ว ร้อยละ 86 (3) กระดาษ ร้อยละ 74 และ (4) อะลูมีเนียม ร้อยละ 81
3.3) การลดปริมาณขยะอาหารเทียบจากปริมาณขยะมูลฝอยชุมชน ร้อยละ 28
3.4) ของเสียอันตรายชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 50
3.5) มูลฝอยติดเชื้อได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 100
3.6) กากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายเข้าสู่ระบบการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 100
(4) มาตรการภายใต้แผนปฏิบัติการฯ           ประกอบด้วย 3 มาตรการ ดังนี้
4.1) มาตรการที่ 1 การจัดการขยะที่ต้นทาง
          4.1.1) การควบคุมป้องกัน ลดและใช้ประโยชน์ขยะตามวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์    ตั้งแต่การออกแบบผลิตสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถใช้ซ้ำหรือนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
          4.1.2) การคัดแยกและเก็บรวบรวมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่หรือส่งกำจัดอย่างเหมาะสม
          4.1.3) สนับสนุนให้ผู้ผลิตมีการผลิตที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ผู้จำหน่ายและผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วิธีคิดและวิถีชีวิตให้มีการบริโภคอย่างพอเพียงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้น้อยที่สุด ทิ้งให้ถูกที่ คัดแยกเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด
          4.1.4) ศึกษาองค์ประกอบขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดและสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
          4.1.5) กำหนดระบบการคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางตามประเภทที่สอดคล้องกับรูปแบบหรือเทคโนโลยีการกำจัดขยะมูลฝอย ณ ปลายทาง
          4.1.6) ออกกฎระเบียบให้มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้งเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
4.2) มาตรการที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพระบบกำจัดขยะ
          4.2.1) เพิ่มศักยภาพการกำจัดขยะเพื่อให้มีสถานที่กำจัดขยะที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นและครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศโดยส่งเสริมให้เอกชนร่วมลงทุนในการจัดการขยะ กำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับสถานที่กำจัดขยะ ร้านรับซื้อของเก่า                  โรงงานรีไซเคิลทุกประเภท โรงงานหรือสถานประกอบกิจการถอดแยกซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อและสถานที่กำจัดกากของเสียอุตสาหกรรม
          4.2.2) กำหนดแนวทางการจัดการขยะที่ยังไม่มีระบบการจัดการหรือขยะที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการพัฒนาเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ใหม่บางประเภทที่จะเป็นปัญหาในอนาคต
4.3) มาตรการที่ 3 การพัฒนาเครื่องมือบริหารจัดการขยะ
          4.3.1) พัฒนากฎหมายส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนให้ครอบคลุมการจัดการ                ที่ต้นทางตามวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ โดยผลักดันการออกกฎหมายการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
          4.2.3) กำหนดให้ อปท. ทุกแห่งออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในการจัดการขยะตั้งแต่              การคัดแยกที่ต้นทางจนถึงการกำจัด และบังคับใช้อย่างเข้มงวด พัฒนาหรือปรับปรุงฐานข้อมูลการจัดการขยะให้เป็นข้อมูลชุดเดียวกัน
          4.2.3) สร้างกระบวนการรับรู้ เสริมสร้างความตระหนักและความรับผิดชอบของประชาชนผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย  น่าสนใจ เข้าใจง่าย และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
          4.2.4) ส่งเสริมการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการขยะที่กำจัดยากและขยะใหม่
(5) การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ไปสู่การปฏิบัติ          5.1) กลไกการขับเคลื่อน
          5.1.1) การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญของแผนปฏิบัติการฯ                     ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกระดับมีความเข้าใจ ยอมรับ ตระหนักถึงความสำคัญ และร่วมมือในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ
          5.1.2) การใช้กลไกคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะ การใช้เครื่องมือทางการเงินการคลัง เครื่องมือทางสังคม และการกำกับดูแลติดตามตรวจสอบ ควบคุมและประเมินผลการดำเนินงานการจัดการขยะของภาครัฐและภาคเอกชนให้เป็นไปในทิศทางที่กำหนด
5.2) การติดตามและประเมินผล กำหนดให้มีการติดตาม ประเมินผล และผลกระทบของการดำเนินงานภายใต้มาตรการที่กำหนดเป็นประจำทุกปีเพื่อนำมาปรับปรุงหรือใช้ในการทบทวนแผนการดำเนินงานให้เหมาะสมและรายงานผลการดำเนินงานต่อ กก.วล. และเผยแพร่สู่สาธารณะ
                              สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
เสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ซึ่ง สศช. พิจารณาแล้วเห็นควรรับทราบแผนปฏิบัติการฯ    และเห็นว่าแผนดังกล่าวเป็นแผนระดับปฏิบัติการ จึงควรได้รับการจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งใน
ระดับกระทรวง กรม และจังหวัดที่มีความสำคัญต่อการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้

4. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 เรื่อง ขออนุมัติโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบมติ กพอ. ครั้งที่ 3/2565 ในการให้กองทัพเรือเป็นหน่วยงานดำเนินโครงการ (Implementing Agency) สำหรับโครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 (โครงการทางวิ่งและทางขับที่ 2) โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (โครงการสนามบินอู่ตะเภา) ทั้งนี้ ทางวิ่งและทางขับที่ 2 เป็นทรัพย์สินราชพัสดุ เมื่อกองทัพเรือดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ให้ส่งมอบสิทธิการใช้ประโยชน์ให้กับ สกพอ. เพื่อดำเนินการตามสัญญาร่วมลงทุนต่อไป โดยหากไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือว่าคณะรัฐมนตรี               มีมติอนุมัติหรือเห็นชอบตามมติ กพอ.
                    2. เห็นชอบทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 เรื่อง ขออนุมัติโครงการสนามบิน                อู่ตะเภา
                              จากเดิม ?อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณจำนวน 17,768 ล้านบาท ให้กับกองทัพเรือเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการสนามบินอู่ตะเภา และให้กองทัพเรือดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.) ต่อไป?
                              เป็น ?อนุมัติกรอบวงเงินจำนวน 17,768 ล้านบาท ให้กับกองทัพเรือเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการสนามบินอู่ตะเภา และให้กองทัพเรือดำเนินการตามความเห็นของ สงป. ต่อไป ทั้งนี้ สำหรับแหล่งเงินเพื่อการดำเนินงานการก่อสร้างโครงการทางวิ่งและทางขับที่ 2 โครงการสนามบินอู่ตะเภา อนุมัติให้กระทรวงการคลัง (กค.) จัดหาเงินกู้ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ร.บ. หนี้สาธารณะฯ พ.ศ. 2548) ในกรอบวงเงิน 16,210 ล้านบาท ให้กับกองทัพเรือ โดยให้ สงป. จัดสรรงบประมาณสมทบในอัตราส่วนของแหล่งเงินกู้และเงินงบประมาณเป็นไปตามที่ กค. ตกลงกับแหล่งเงินกู้?
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สกพอ. รายงานว่า
                    1. โครงการทางวิ่งและทางขับที่ 2 ตั้งอยู่พื้นที่เขตส่งเสริม : เมืองการบินภาคตะวันออก จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นที่ตั้งของโครงการสนามบินอู่ตะเภา ที่ สกพอ. ได้ลงนามในสัญญาร่วมลงทุนกับบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด แล้ว ทั้งนี้ ตามหลักการของโครงการสนามบินอู่ตะเภาได้กำหนดให้โครงการทางวิ่งและทางขับที่ 2 เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของภาครัฐโดยมีกองทัพเรือเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งที่ผ่านมากองทัพเรือได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีสำหรับโครงการทางวิ่งและทางขับที่ 2 โดยเป็นรายการผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในกรอบวงเงินจำนวน 1,463.5955 ล้านบาท สำหรับงานการปรับถมดินทางขับเชื่อมทางวิ่งที่ 1 และลานจอดศูนย์ซ่อมอากาศยาน ทั้งนี้ ปัจจุบันกองทัพเรือได้ออกแบบทางวิ่งที่ 2 และทางขับที่เกี่ยวข้องแล้วเสร็จและผู้รับจ้างของกองทัพเรืออยู่ระหว่างดำเนินงานการปรับถมดินทางขับเชื่อมทางวิ่งที่ 1 และลานจอดศูนย์ซ่อมอากาศยาน โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างในเดือนพฤษภาคม 2565
                    2. สำหรับกรอบวงเงินงบประมาณของโครงการทางวิ่งและทางขับที่ 2 ส่วนที่เหลือ จำนวน 16,304.4045 ล้านบาทนั้น เดิมกองทัพเรือได้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็น              งบผูกพันถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวงเงินขอรับจัดสรรงบประมาณเป็นจำนวนเงิน 16,211.40 ล้านบาท แต่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณดังกล่าว อย่างไรก็ดี คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 เห็นชอบมาตรการในการแก้ไขกรณีงบประมาณรายจ่ายลงทุน มีจำนวนน้อยกว่าวงเงินส่วนที่ขาดดุลของงบประมาณ ซึ่งครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงแหล่งเงินของโครงการทางวิ่งและทางขับที่ 2 โครงการสนามบินอู่ตะเภา ของกองทัพเรือ วงเงิน 16,210.90 ล้านบาท จากการใช้เงินงบประมาณ เป็นการใช้เงินกู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยงบประมาณรายจ่ายลงทุนโครงการที่อยู่ในรายการใช้เงินกู้ดังกล่าวถูกปรับลดลงจากงบประมาณที่กองทัพเรือเสนอขอรับจัดสรรจำนวน 500,000 บาท
                    3. คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ได้พิจารณารายละเอียด เหตุผลความจำเป็นและประเด็นที่เกี่ยวข้องของโครงการลงทุนของส่วนราชการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 และได้บรรจุโครงการทางวิ่งและทางขับที่ 2 เข้าอยู่ในแผนหนี้สาธารณะฯ ปี พ.ศ. 2565 ประเภทเงินกู้ตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. หนี้สาธารณะฯ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนหนี้สาธารณะฯ ปี พ.ศ. 2565 (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 24 กันยายน 2564)
วงเงินการใช้เงินกู้          ปีงบประมาณ (หน่วย : ล้านบาท)
          2565          2566          2567          รวม
โครงการทางวิ่งและทางขับที่ 2          3.242.28          7,042.3725          5,926.2475          16,210.90
                    4. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กพอ. ได้พิจารณาเรื่องการเปลี่ยนแปลงแหล่งเงินโครงการทางวิ่งและทางขับที่ 2 โครงการสนามบินอู่ตะเภา จำนวน 3 ครั้ง สรุปได้ ดังนี้
ลำดับ          มติ กพอ.          รายละเอียด
4.1          การประชุมครั้งที่ 3/2564
เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2564          (1) อนุมัติการเปลี่ยนแปลงแหล่งเงินโครงการทางวิ่งและทางขับที่ 2 เป็นเงินกู้ตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. หนี้สาธารณะฯ พ.ศ. 2548
(2) ให้ กค. เป็นผู้พิจารณาดำเนินการจัดหาเงินกู้ ตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. หนี้สาธารณะฯ พ.ศ. 2548 ในกรอบวงเงิน 16,210.90 ล้านบาท ตามแผนโครงการและแผนการใช้จ่ายให้กับกองทัพเรือ และให้ สงป. จัดสรรงบประมาณสมทบ โดยอัตราส่วนของแหล่งเงินกู้และเงินงบประมาณเป็นไปตามที่ กค. ทำการตกลงกับแหล่งเงินกู้
(3) ให้กองทัพเรือ และ สกพอ. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป โดยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเพื่อไม่ให้โครงการมีความล่าช้า
4.2          การประชุมครั้งที่ 2/2565
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565          (1) เห็นชอบให้เปลี่ยนแปลงแหล่งเงินสำหรับการก่อสร้างโครงการทางวิ่งและทางขับที่ 2 จากการใช้เงินงบประมาณ เป็นการใช้เงินกู้ ตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. หนี้สาธารณะฯ พ.ศ. 2548 ให้แก่กองทัพเรือ
(2) มอบหมายให้ สกพอ. เป็นหน่วยงานดำเนินโครงการ (Implementing Agency)1 โดยให้กองทัพเรือและ สกพอ. หารือในรายละเอียดของกิจกรรมในการมอบอำนาจและการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน โดยต้องมีความสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้น ให้ สบน. ประสานกับธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) เพื่อร่วมพิจารณารายละเอียดของการมอบอำนาจระหว่างกองทัพเรือ และ สกพอ. เพื่อให้ได้ข้อยุติต่อไป
4.3           การประชุมครั้งที่ 3/2565
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2565          (1) เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงแหล่งเงินสำหรับการก่อสร้างโครงการทางวิ่งและทางขับที่ 2 จากการใช้เงินงบประมาณ เป็นการใช้เงินกู้ ตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. หนี้สาธารณะฯ พ.ศ. 2548 ในกรอบวงเงิน 16,210 ล้านบาท ตามแผนโครงการ และแผนการใช้จ่ายให้กับกองทัพเรือ โดยให้ กค. ดำเนินการกู้เงินจำนวนประมาณ 15,455 ล้านบาท และให้ สงป. จัดสรรงบประมาณสมทบเงินกู้ในกรอบวงเงินที่เหลือจำนวนประมาณ 755 ล้านบาท หรือจำนวนเงินสมทบตามที่ กค. จะได้ตกลงกับแหล่งเงินกู้ และให้กองทัพเรือ และ สกพอ. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบต่อไป
(2) เห็นชอบให้แก้ไขมติ กพอ. ในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่         9 มีนาคม 2565 วาระที่ 4.1 การเปลี่ยนแปลงแหล่งเงินโครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 ที่ได้เห็นชอบให้ สกพอ. เป็นหน่วยงานดำเนินโครงการ (Implementing Agency) เป็น ให้กองทัพเรือเป็นหน่วยงานดำเนินโครงการ โดยให้กองทัพเรือเร่งรัดจัดเตรียมเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้แก่ สบน. เพื่อจัดส่งให้ AIIB ต่อไป ทั้งนี้               ทางวิ่งและทางขับที่ 2 เป็นทรัพย์สินราชพัสดุ เมื่อกองทัพเรือดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ให้ส่งมอบสิทธิการใช้ประโยชน์ให้กับ สกพอ. เพื่อดำเนินการตามสัญญาร่วมลงทุนต่อไป
(3) ให้กองทัพเรือและ สกพอ. นำเสนอเรื่องการเปลี่ยนแปลงแหล่งเงินโครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 จากการใช้เงินงบประมาณเป็นการใช้เงินกู้ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
1 สบน. ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค 0905/388 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 แจ้งความก้าวหน้าในการจัดหาแหล่งเงินกู้ต่างประเทศ สรุปได้ว่า ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) ได้อนุมัติ Project Concept ของโครงการทางวิ่งและทางขับที่ 2 แล้ว และได้นำเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาการลงทุน (Investment Committee) พิจารณา อย่างไรก็ดี คณะกรรมการพิจารณาการลงทุน (Investment Committee) มีข้อสังเกตเกี่ยวกับเงื่อนไขของ Environmental and Social Framework ว่า การกำหนดให้กองทัพเรือเป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการรวมทั้งเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินโครงการเอง (Implementing Agency) อาจส่งผลต่อการพิจารณาอนุมัติโครงการของคณะกรรมการบริหาร (Executive Board) ของ AIIB เนื่องจากอาจมีความเกี่ยวข้องในหมวด Environmental and Social Exclusion List ข้อ (v) Production of, or trade in, weapons and munitions, including paramilitary materials ทั้งนี้ AIIB ได้เสนอแนวทางในการบริหารจัดการโครงการ ตลอดจนการกำกับติดตามโครงการดังกล่าว โดยเสนอให้กองทัพเรือมอบหมายกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างทั้งการดำเนินงานตามสัญญาจ้างให้กับ สกพอ. ผ่านข้อตกลงระหว่างกองทัพเรือและ สกพอ. ทั้งนี้ สบน. ได้มีข้อเสนอขอให้กองทัพเรือจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาตามข้อมูลรายละเอียดที่กองทัพเรือได้เตรียมการไว้แล้วให้เป็นภาษาอังกฤษและมีรูปแบบตามมาตรฐานเอกสารประกวดราคา (Bidding Document) ของ AIIB และให้กองทัพเรือและ สกพอ. หารือในรายละเอียดของกิจกรรมในการมอบอำนาจและการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน รวมทั้ง           การดำเนินการมอบอำนาจจะต้องมีความสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้องด้วย อย่างไรก็ตาม กองทัพเรือชี้แจงว่า หากกองทัพเรือเป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการ โดยไม่ได้เป็นหน่วยงานดำเนินโครงการ (Implementing Agency) เอง จะทำให้ความรับผิดชอบของกองทัพเรือในการกำกับดูแลและบริหารโครงการไม่สามารถดำเนินการไปได้อย่างสมบูรณ์และเบ็ดเสร็จ

5. เรื่อง การเสนอให้นาคเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติประเภทสัตว์ในตำนาน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้นาคเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติประเภทสัตว์ในตำนานตามมติคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ (กอช.) เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2565 ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สปน. รายงานว่า
                    1. ในการประชุม กอช. เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 มีมติเห็นชอบในหลักการที่จะเสนอให้ครุฑและนาคเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติประเภทสัตว์ในตำนาน และมอบให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยกรมศิลปากร สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รภ.) และ สปน. หาข้อมูลเพิ่มเติมให้ครบถ้วน และเสนอ กอช. พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
                    2. ต่อมา สปน. โดยสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ได้หารือร่วมกับผู้แทน วธ. กรมศิลปากร และ รภ. มีมติเห็นชอบในหลักการให้เสนอครุฑและนาคเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติประเภทสัตว์ในตำนวน ทั้งนี้ มีบางหน่วยงานเห็นว่าเหมาะสมที่จะนำเสนอสัตว์ประจำชาติประเภทสัตว์ในตำนาน และบางหน่วยงาน (คณะกรรมการการจัดทำหลักเกณฑ์การใช้คำราชาศัพท์ และคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย) เห็นว่าไม่อาจกำหนดให้ครุฑและนาคเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติประเภทสัตว์ในตำนานเนื่องจากไม่ใช่สัตว์ในตำนานของไทย แต่เป็นสัตว์ในตำนานอินเดียโบราณ
                    3. จากการศึกษาพบว่าปัจจุบันประเทศที่มีสัตว์ประจำชาติประเภทตำนาน เทพนิยายและความเชื่อ มีจำนวน 157 ประเทศ รวมทั้งสิ้น 229 รายการ มีบางประเทศที่มีสัตว์ประจำชาติมากกว่า 1 รายการ ซึ่งสัตว์ประจำชาติของประเทศต่าง ๆ มีสัตว์ที่ปรากฏอยู่จริง เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สี่เท้า สัตว์ปีก และเป็นสัตว์ในตำนานเทพนิยายและความเชื่อ แม้ว่าจะไม่มีผู้พบเห็นหรืออาจจะไม่ปรากฏว่ามีแหล่งอาศัยอยู่ในประเทศ แต่คนในชาตินั้น ๆ มีความเชื่อและศรัทธาจนมีการสร้างสรรค์เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ สัตว์ในตำนวนประจำชาติจะมีการประกาศในประเทศที่มีประวัติศาสตร์ชาติที่ยาวนาน มีอารยธรรม เช่น ประเทศจีน หมีแพนด้าเป็นสัตว์ประจำชาติ และมังกรเป็นสัตว์ประจำชาติประเภทตำนาน ประเทศอินโดนีเซีย มังกรโคโมโดเป็นสัตว์ประจำชาติ และครุฑเป็นสัตว์ประจำชาติประเภทตำนาน และประเทศกรีซ ปลาโลมาเป็นสัตว์ประจำชาติ และนกฟินิกซ์เป็นสัตว์ประจำชาติประเภทตำนาน ทั้งนี้ สัตว์ในตำนานเหล่านั้นมักจะนำมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ เป็นตราแผ่นดิน โล่และอาร์ม หรือปรากฏในธงต่าง ๆ และมีความเกี่ยวข้องกับสถาบันเป็นส่วนใหญ่
                    4. ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และมีสัตว์ในจินตนาการ ตำนาน และความเชื่อมากมาย เช่น นาค ครุฑ หงส์ คชสีห์ ราชสีห์ ช้างเอราวัณ และกินรี ปรากฏอยู่ในสิ่งต่าง ๆ และจะพบว่าเรื่องราวเกี่ยวกับนาคมีความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิต สะท้อนถึงตำนานและความเชื่อมาแต่อดีต สื่อออกมาผ่านทางขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม พิธีกรรมต่าง ๆ เช่น เป็นผู้พิทักษ์ศาสนา เป็นบันไดเชื่อมระหว่างโลกและสวรรค์ นาคจึงเป็นหนึ่งในคติความเชื่อที่ปรากฏในสังคมไทยมาอย่างยาวนานหลายศตวรรษ ปัจจุบันคติความเชื่อเรื่องนาคยังคงปรากฏในรูปของขนบธรรมเนียมประเพณีพิธีกรรม ทั้งที่เป็นวิถีปฏิบัติสืบทอดมาแต่โบราณ รวมทั้งมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย ขนบธรรมเนียม ประเพณี พิธีกรรมที่ปรากฏอย่างหลากหลายในสังคมไทย เช่น ในวันออกพรรษาซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ขึ้นดาวดึงส์ นาคที่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำโขงต่างยินดีปรีดา พากันจุดบั้งไฟถวายการเสด็จลงกลับสู่โลกมนุษย์ของพระองค์เป็นพุทธบูชา ซึ่งความเชื่อดังกล่าวเป็นต้นเค้าของตำนาน เรื่อง ?บั้งไฟพญานาค? และในประเพณีไหลเรือไฟ เรือที่ตกแต่งขึ้นก็แทนพญานาคเพื่อลอยไปบูชารอยพระพุทธบาท ดังนั้น การเสนอให้นาคเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติประเภทสัตว์ในตำนานจึงมีความเหมาะสม เพราะจะสร้างให้เกิดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติ ทั้งนี้ จะเป็น Soft Power ที่สำคัญ ทั้งยังขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยนำทุนทางวัฒนธรรมมาใช้เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ กลายเป็นสินค้าส่งออกทางวัฒนธรรม นำรายได้เข้าประเทศและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ยั่งยืน
                    5. ในการประชุม กอช. เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2565 ได้พิจารณาการเสนอให้นาคเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติประเภทสัตว์ในตำนานก่อนในเบื้องต้น เนื่องจากนาคมีคติความเชื่อที่ปรากฏในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน โดยเป็นตัวแทนของประชาชน ดังจะเห็นได้จากวัฒนธรรมประเพณีและศิลปกรรมจำนวนมากของไทยที่ผูกพันกับนาค นาคจึงถือเป็นสัญลักษณ์สะท้อนวัฒนธรรมของประชาชนอย่างแนบแน่น การเสนอนาคให้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติประเภทสัตว์ในตำนานจึงมีความเหมาะสม และสามารถนำมาต่อยอดเป็น Soft Power ในการนำวัฒนธรรมมาใช้เป็นทรัพยากรในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอีกด้านหนึ่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการกำหนดให้นาคเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติประเภทสัตว์ในตำนาน โดยให้นำเรื่องดังกล่าวเสนอคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นประกอบก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    6. คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติมีมติเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 ดังนี้
                              6.1 เห็นชอบในหลักการกำหนดให้นาคเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติประเภทสัตว์ในตำนาน
                              6.2 มอบหมายกรมศิลปากร สำนักช่างสิบหมู่ ดำเนินการร่างภาพต้นแบบนาคเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป
                               6.3 มอบหมาย วธ. ดำเนินการใช้นาคเป็น Soft Power เพื่อวางยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และกำหนดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องต่อไป
                              ทั้งนี้ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 มีมติรับทราบภาพร่างต้นแบบนาคและรายละเอียดประกอบตามที่สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากรเสนอ โดยภาพต้นแบบต้องการสื่อให้เห็นภาพรวมคติความเชื่อเกี่ยวกับนาค เป็นรูปพญานาคสี่ตระกูล คือ ตระกูลวิรูปักษ์ (สีทอง) ตระกูลเอราปถ (สีเขียว) ตระกูลฉัพพยาปุตตะ (สีรุ้ง) และตระกูลกัณหาโคตมะ (สีดำ) และมีนาคตัวใหญ่สุด คือ               นาควาสุกรี ที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์ ส่วนรายละเอียดประกอบภาพ เช่น คลื่นน้ำ และศาสนสถาน เพื่อสื่อให้เห็นว่านาคเป็นสัญลักษณ์แห่งน้ำและความอุดมสมบูรณ์ รวมถึงบทบาทการเป็น             ผู้พิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนา

6. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการซ่อมแซมแหล่งน้ำขนาดเล็กของส่วนราชการที่ยังไม่ได้ถ่ายโอนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี พ.ศ. 2565 - 2570 ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบอนุมัติแผนงานโครงการซ่อมแซมแหล่งน้ำขนาดเล็กของส่วนราชการที่ยังไม่ได้ถ่ายโอนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ปี พ.ศ. 2565 - 2570 ในกรอบวงเงินงบประมาณ 531.3597 ล้านบาท
                    2. มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ดำเนินการตั้งงบประมาณในหมวดเงินอุดหนุนทั่วไป เพื่อสนับสนุนและบูรณาการการทำงานร่วมกันกับมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ (มูลนิธิฯ) ดังนี้
หน่วยงาน          วงเงิน (ล้านบาท)
กษ. โดยกรมพัฒนาที่ดิน          514.5697
กษ. โดยกรมชลประทาน          1.8570
ทส. โดยกรมทรัพยากรน้ำ          14.9330
รวม          531.3597
                    3. แผนปฏิบัติการ ปี พ.ศ. 2565 - 2566 ให้หน่วยงานพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีของหน่วยงานมาดำเนินการเป็นอันดับแรก หากไม่สามารถปรับแผนได้ หรือไม่มีงบประมาณเหลือจ่ายเพียงพอ หรือไม่มีงบประมาณจากแหล่งอื่นมาดำเนินการ ให้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และแผนปฏิบัติการปี พ.ศ. 2567 - 2570 ให้ดำเนินการขอรับการสนับสนุนงบประมาณในงบประมาณรายจ่ายประจำปีของหน่วยงาน
                    4. ให้สำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนโครงการซ่อมแซมแหล่งน้ำขนาดเล็กของส่วนราชการที่ยังไม่ได้ถ่ายโอนให้กับ อปท. ปี พ.ศ. 2565 - 2570 (ตามข้อ 1) ตามแผนที่กำหนด
                    ทั้งนี้ สำหรับการดำเนินโครงการและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และ                พ.ศ. 2566 เห็นสมควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรรไว้แล้ว เพื่อมาดำเนินการเป็นลำดับแรก ส่วนการดำเนินการและค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และยืนยันความพร้อมของโครงการเกี่ยวกับรายละเอียดของแบบรูปรายการ สถานที่ดำเนินการและประมาณการค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยคำนึงถึงศักยภาพ ความคุ้มค่า ประหยัด เป้าหมาย และประโยชน์ที่ทางราชการและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สทนช. รายงานว่า
                    1. ตามแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2545 และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ได้กำหนดแนวทางการถ่ายโอนภารกิจของส่วนราชการให้กับ อปท. โดยกำหนดขอบเขตการถ่ายโอนแหล่งน้ำที่มีปริมาตรเก็บกักน้ำน้อยกว่า                     2 ล้านลูกบาศก์เมตร และแหล่งน้ำที่มีการใช้ประโยชน์ของประชาชนครอบคลุมพื้นที่หนึ่งจังหวัด รวมทั้งบ่อน้ำบาดาลที่ไม่อยู่ในพื้นที่ที่หาน้ำยาก และไม่ใช้วิชาการด้านอุทกธรณีวิทยาชั้นสูง ให้ส่วนราชการถ่ายโอนภารกิจให้ อปท. ดำเนินการแทน หากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สินที่จะถ่ายโอนมีสภาพชำรุดเสียหาย ให้ส่วนราชการดำเนินการซ่อมแซมและตรวจสอบความสมบูรณ์ถูกต้องของโครงการก่อนถ่ายโอนให้ อปท.
                    2. ปัจจุบันมีโครงการขนาดเล็กด้านแหล่งน้ำที่ยังไม่ได้ถ่ายโอนให้กับ อปท. มากกว่า 8,000 รายการ โดยเป็นแหล่งน้ำที่ไม่พร้อมถ่ายโอนและ อปท. ไม่พร้อมรับ ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุจากสภาพไม่พร้อมใช้งาน ชำรุดเสียหาย ทำให้เป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการถ่ายโอนภารกิจให้ อปท. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนส่งผลให้ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการอย่างเต็มประสิทธิภาพ
                    3. สทนช. และมูลนิธิฯ ได้ร่วมหารือแนวทางการขับเคลื่อนการถ่ายโอนโครงการขนาดเล็กให้กับ อปท. เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 โดยมูลนิธิฯ ได้นำเสนอผลการดำเนินการซ่อมแซมเสริมศักยภาพแหล่งน้ำขนาดเล็กที่ชำรุดเสียหายที่ผ่านมา โดยได้มีการซ่อมแซมและเสริมศักยภาพแหล่งน้ำขนาดเล็กที่ส่วนราชการถ่ายโอนภารกิจให้ อปท. และแหล่งน้ำประเภทอื่น ๆ ด้วยวิธีการบริหารจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ซึ่งประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ได้มีส่วนร่วมในการสละแรงงาน และมูลนิธิฯ ได้จัดซื้อวัสดุ เพื่อซ่อมแซมให้ รวม 646 โครงการ ใน               9 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดน่าน อุทัยธานี เพชรบุรี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อุดรธานี ปัตตานี ยะลา และจังหวัดนราธิวาส โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
ผลการดำเนินงาน          จำนวน
มีปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น          122.2 ล้านลูกบาศก์เมตร
ครัวเรือนได้รับประโยชน์          43,549 ครัวเรือน
มีพื้นที่รับประโยชน์          204,218 ไร่
ทำให้เกิดการจ้างงาน          960 คน
มูลค่าการจ้างงาน          39.66 ล้านบาท
คาดการณ์รายได้ของเกษตรกร (จากงบประมาณรวมทั้งสิ้น 244.30 ล้านบาท คิดเป็นผลตอบแทนจากเงินลงทุน 5.06 เท่า)          1,430 ล้านบาท
สามารถสร้างโอกาสการทำงานให้กับผู้ว่างงานจากการถูกเลิกจ้างและบัณฑิตที่จบการศึกษาแต่ยังไม่มีงานทำ ให้มีอาชีพ มีรายได้ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมทั้งช่วยซ่อมแซม ปรับปรุง เสริมประสิทธิภาพแหล่งน้ำขนาดเล็กให้ประชาชนในด้านอุปโภคบริโภคและด้านเกษตรกรรม          -
                    4. สทนช. เล็งเห็นปัญหาในการถ่ายโอนภารกิจด้านแหล่งน้ำของส่วนราชการให้กับ อปท. ดังกล่าวข้างต้น จึงเห็นควรให้มูลนิธิฯ นำประสบการณ์และความสำเร็จที่ผ่านมา มาขยายผลในการสนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจด้านแหล่งน้ำที่ยังไม่ได้ถ่ายโอนให้กับ อปท. โดยมูลนิธิฯ จะทำการสำรวจแหล่งน้ำที่ชำรุดเสียหายและจัดทำโครงการซ่อมแซมพร้อมรายละเอียดแบบรูปรายการโดยเฉพาะ หากมีแหล่งน้ำที่มีความจำเป็นต้องซ่อมแซมเร่งด่วนและเป็นประโยชน์กับประชาชน ให้ดำเนินการซ่อมแซมทันที เพื่อให้ส่วนราชการสามารถถ่ายโอนแหล่งน้ำดังกล่าวให้กับ อปท. ร่วมกับประชาชนบำรุงรักษาและใช้ประโยชน์ต่อไป
                    5. ในคราวประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่                9 ธันวาคม 2564 [รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน] ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการการขับเคลื่อนการถ่ายโอนโครงการขนาดเล็กให้กับ อปท. ตามแนวทางของมูลนิธิฯ โดยให้ สทนช. พิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบและขอรับการสนับสนุนงบประมาณ รวมทั้งให้ สงป. พิจารณาแนวทางการจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานดำเนินการปรับปรุงโครงการขนาดเล็กด้านแหล่งน้ำให้สามารถใช้งานได้ก่อนถ่ายโอนให้กับ อปท. และให้ สทนช.  สงป. และ อปท. พิจารณาข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องและยั่งยืน
                    6. เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 สนทช. ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สงป. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำ กรมพัฒนาที่ดิน                     กรมประมง สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และมูลนิธิฯ เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อนการถ่ายโอนโครงการขนาดเล็กด้านทรัพยากรน้ำให้กับ อปท. โดยที่ประชุมมีมติให้ สทนช. เป็นเจ้าภาพในการบูรณาการระหว่างหน่วยงานและมูลนิธิฯ โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการเดิม เป็นผู้ขอตั้งงบประมาณ และมูลนิธิฯ เป็นผู้ดำเนินการสำรวจและปรับปรุงซ่อมแซมโครงการ ทั้งนี้ โครงการ ปี พ.ศ. 2565 - 2566 ให้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และโครงการปี พ.ศ. 2567 - 2570 ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในงบประมาณปกติประจำปีของหน่วยงาน รวมทั้งมอบมูลนิธิฯ จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการซ่อมแซมแหล่งน้ำขนาดเล็กของส่วนราชการที่ยังไม่ได้ถ่ายโอนให้กับ อปท. ปี                     พ.ศ. 2565 - 2570
                    7. เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 สทนช. ได้ประชุมพิจารณาแนวทางการขอรับงบประมาณและกรอบวงเงินที่จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณของมูลนิธิฯ ร่วมกับกรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และมูลนิธิฯ โดยที่ประชุมได้มีมติขอรับการสนับสนุนงบประมาณในกรอบวงเงินงบประมาณ 531.3597 ล้านบาท (เป็นจำนวนโครงการและกรอบวงเงินที่มีการสรุปภายหลังการประชุมซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติของที่ประชุม) โดยมีรายละเอียด สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
กิจกรรม          ปี 2565          ปี 2566          ปี 2567          ปี 2568          ปี 2569          ปี 2570          รวม
สำรวจแหล่งน้ำขนาดเล็ก ปี พ.ศ. 2565 - 2569
3,029 โครงการ          21.6360          17.5800          13.9300          13.3550          13.4300          -          79.9310
- กรมชลประทาน 4 โครงการ                    1.0880          -          -          -          -          1.0880
- กรมทรัพยากรน้ำ 59 โครงการ          2.1750          3.2850          -          -          -          -          5.4600
- กรมพัฒนาที่ดิน 2,966 โครงการ           19.4610          13.2070          13.9300          13.3550          13.4300                    73.3830
การซ่อมแซมแหล่งน้ำขนาดเล็ก ปี พ.ศ. 2566 - 2570
750 โครงการ          12.7600          72.0640          87.7140          89.0965          92.9002          96.8940          451.4287
- กรมชลประทาน 1 โครงการ          -          -          0.7690          -          -          -          0.7690
- กรมทรัพยากรน้ำ 15 โครงการ          -          6.1300          3.3430          -          -          -          9.4730
- กรมพัฒนาที่ดิน 734 โครงการ          12.7600          65.9340          83.6020          89.0965          92.9002          96.8940          441.1867
รวม          34.3960          89.6440          101.6440          102.4515          106.3302          96.8940          531.3597
                    8. ในคราวประชุม กนช. ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบโครงการซ่อมแซมแหล่งน้ำขนาดเล็กของส่วนราชการที่ยังไม่ถ่ายโอนให้กับ อปท. ปี พ.ศ. 2565 - 2570 ตามแผนปฏิบัติการระยะ 6 ปี ของมูลนิธิฯ

7. เรื่อง การปรับปรุงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบองค์การมหาชน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) เสนอ ดังนี้
                    1. การปรับปรุงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบองค์การมหาชน
                    2. ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 [เรื่อง ผลการดำเนินการตามมาตรา 5/8 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559] เฉพาะข้อ 3 เรื่อง หลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบองค์การมหาชน
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กพม. รายงานว่า
                    1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบฯ                (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 11 กรกฎาคม 2560) สำนักงาน ก.พ.ร. ได้แจ้งเวียนหลักเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อให้องค์การมหาชนถือปฏิบัติ [ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ.ร. ที่ นร 1208/686-723 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ตามมาตรา 5/8 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559)] ต่อมากระทรวงการคลัง (กค.) ได้ประกาศหลักเกณฑ์ กค. ว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 (ออกตามนัยมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561)                 ซึ่งกำหนดให้องค์การมหาชนในฐานะที่เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ                พ.ศ. 2561 ถือปฏิบัติตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ดังกล่าว รวมทั้งได้ประกาศหลักเกณฑ์ กค. ว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2562 และหลักเกณฑ์ กค. ว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ตามลำดับ เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของหน่วยงานของรัฐให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทและโครงสร้างการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐในปัจจุบัน ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กพม. ได้พิจารณาหลักเกณฑ์ กค. ดังกล่าวแล้ว พบว่า จะต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบฯ ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ กค. ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างและองค์ประกอบ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้ง อำนาจหน้าที่ การประชุม การประเมินผลงาน และการบังคับใช้
                    2. กพม. ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงรายละเอียดหลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบฯ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ กค. ว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่ง กค. เห็นว่า กรณีที่มีการกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาตัดสินในกรณีที่ฝ่ายบริหารและผู้สอบบัญชีมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับทางการเงิน อาจขัดต่อหลักความเที่ยงธรรมและความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีซึ่งเป็นข้อกำหนดในจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพและประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง หลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบอาจเสนอแนะให้ผู้สอบบัญชีสอบทานหรือตรวจสอบรายการใด ๆ ที่เห็นว่าจำเป็นและเป็นเรื่องสำคัญได้ ดังนั้น สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้ส่งความเห็นของ กค. ให้ กพม. พิจารณาประเด็นดังกล่าวอีกครั้ง ซึ่งคณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนได้พิจารณาประเด็นดังกล่าวแล้วมีมติเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 ให้ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบองค์การมหาชนจากเดิม ?พิจารณาตัดสินในกรณีที่ฝ่ายบริหารและผู้สอบบัญชีมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับรายงานทางการเงิน? เป็น ?พิจารณาให้ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการองค์การมหาชนในกรณีที่ฝ่ายบริหารและผู้สอบบัญชีมีความเห็น                   ไม่ตรงกันเกี่ยวกับรายงานทางการเงิน? ทั้งนี้ กค. ไม่ขัดข้องในการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบฯ ในประเด็นดังกล่าว
                    3. หลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบฯ สรุปได้ ดังนี้
หลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ
องค์การมหาชน (เดิม)          หลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ
องค์การมหาชน (กพม. เสนอมาในครั้งนี้
ซึ่งปรับให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ กค.)
โครงสร้างและองค์ประกอบ เช่น
- คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยประธานกรรมการ และกรรมการตรวจสอบจำนวนไม่น้อยกว่าสองคน และให้ผู้ตรวจสอบภายในขององค์การมหาชนนั้นเป็นเลขานุการของคณะกรรมการ (ไม่ได้กำหนดขนาดองค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจสอบฯ)          - จำนวนสามถึงห้าคน ประกอบด้วย (1) ประธานกรรมการตรวจสอบ (2) กรรมการตรวจสอบไม่น้อยกว่าสองคนแต่ไม่เกินสี่คน และ (3) หัวหน้าผู้ตรวจสอบภายในขององค์การมหาชนนั้นเป็นเลขานะการ
- กรรมการตรวจสอบต้องเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การมหาชน          - กรรมการตรวจสอบฯ จำนวนหนึ่งคนมาจากกรรมการองค์การมหาชนนั้น ๆ โดยจะเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหรือกรรมการที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นก็ได้
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม เช่น
- กรรมการตรวจสอบฯ ควรเป็นผู้มีความชำนาญหลายด้าน โดยอย่างน้อยต้องมีความเข้าใจในองค์การมหาชนและมีประสบการณ์เพียงพอเพื่อนำเสนอมุมมองได้หลากหลาย และสามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างประสิทธิภาพ          - คณะกรรมการองค์การมหาชนควรพิจารณาและกำหนดความรู้ความสามารถที่จำเป็นของคณะกรรมการตรวจสอบฯ (List of Competencies) เพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผล โดยควรมีความรู้ที่เพียงพอ ดังนี้ (1) ลักษณะการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ (2) การเงินและการบัญชี (3) การบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายใน (4) การตรวจสอบภายใน และ (5) กฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับองค์การมหาชน
- กรรมการตรวจสอบฯ อย่างน้อยหนึ่งคนต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ หรือมีประสบการณ์ด้านการบัญชีหรือการเงิน (กำหนดไว้ในโครงสร้างและองค์ประกอบ)
- ในกรณีที่ไม่มีกรรมการองค์การมหาชนที่มีความรู้ความเข้าใจ หรือมีประสบการณ์ด้านการบัญชีหรือการเงิน หรือไม่มีผู้มีประสบการณ์ในสายงานที่เกี่ยวข้องกับบัญชีหรือการเงิน องค์การมหาชนต้องจัดหาที่ปรึกษาจากภายนอกที่มีคุณสมบัติดังกล่าวร่วมเป็นกรรมการตรวจสอบด้วยหนึ่งคน          - ประธานหรือกรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบฯ อย่างน้อยหนึ่งคน ต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ หรือมีประสบการณ์ด้านการบัญชีหรือการเงิน เพื่อทำหน้าที่สอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินได้
ไม่ได้มีการกำหนดไว้          - ไม่เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าจ้างหรือค่าตอบแทนประจำและไม่เป็นผู้มีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์การมหาชนนั้น โดยให้รวมถึงผู้ที่โอนย้าย ลาออก เกษียณอายุ หรือพ้นสภาพจากองค์การมหาชนที่เคยสังกัด ภายในระยะเวลาสองปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจสอบฯ
การแต่งตั้ง
คณะกรรมการองค์การมหาชนเป็นผู้แต่งตั้งประธานและกรรมการตรวจสอบองค์การมหาชน โดยจำนวนกรรมการตรวจสอบขึ้นอยู่กับขนาดขององค์การมหาชน ขอบเขตความรับผิดชอบ และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และให้รายงานการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบหรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการตรวจสอบให้รัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนทราบภายในสามสิบวัน นับแต่ได้มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลง          คณะกรรมการองค์การมหาชนเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตรวจสอบฯ และให้รายงานการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบหรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการตรวจสอบให้รัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนทราบภายในสามสิบวัน นับแต่ได้มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลง (ขนาดของคณะกรรมการตรวจสอบฯ ได้กำหนดไว้ในโครงสร้างและองค์ประกอบแล้ว)
วาระการดำรงตำแหน่ง
กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของคณธกรรมการตรวจสอบฯ ตามวาระของการเป็นกรรมการองค์การมหาชนในองค์การมหาชนนั้น
อำนาจหน้าที่ เช่น
- ทบทวนและอนุมัติกฎบัตรของหน่วยตรวจสอบภายในแผนการตรวจสอบและงบประมาณของหน่วยตรวจสอบภายใน          - จัดทำกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบฯ ให้สอดคล้องกับขอบเขตความรับผิดชอบในการดำเนินงานขององค์การมหาชน โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การมหาชนและมีการสอบทานความเหมาะสมของกฎบัตรดังกล่าวอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ไม่ได้มีการกำหนดไว้          - สอบทานประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการควบคุมภายใน กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงและกระบวนการกำกับดูแลที่ดี รวมถึงระบบบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริตขององค์การมหาชน และระบบการรับแจ้งเบาะแส
- สอบทานให้องค์การมหาชนมีการรายงานการเงินอย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ
- พิจารณาและให้ความเห็นต่อคณะกรรมการองค์การมหาชนเกี่ยวกับการแต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง และประเมินผลงานของผู้ตรวจสอบภายใน (ไม่ได้กำหนดขั้นตอนการประเมินผลงานของ      ผู้ตรวจสอบภายในไว้)
- พิจารณาตัดสินในกรณีที่ฝ่ายบริหารและผู้สอบบัญชีมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับรายงานทางการเงิน          - ให้ข้อเสนอแนะการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง และประเมินผลงานของหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในต่อคณะกรรมการองค์การมหาชน โดยให้ดำเนินการตามขั้นตอนการประเมินผลงานผู้ตรวจสอบภายใน
- พิจารณาให้ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการองค์การมหาชนในกรณีที่ฝ่ายบริหารและผู้สอบบัญชีมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับรายงานทางการเงิน
การประชุม
คณะกรรมการตรวจสอบองค์การมหาชนควรจัดให้มีการประชุมอย่างน้องปีละสองครั้ง เพื่อตรวจสอบผลการปฏิบัติงานและงบการเงินและจัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการองค์การมหาชน          ควรกำหนดไม่น้อยกว่าสี่ครั้งต่อปี โดยองค์ประชุมและการลงมติที่ประชุมให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบฯ ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การมหาชน และคณะกรรมการตรวจสอบฯ ควรมรการประชุมร่วมกับผู้บริหารขององค์การมหาชน ผู้ตรวจสอบภายในและผู้ตรวจสอบภายนอกอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
การกำหนดเบี้ยประชุม
ให้กรรมการตรวจสอบฯ ได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับอัตราเบี้ยประชุมของคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการองค์การมหาชนแต่งตั้งตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนนั้น
การประเมินผลคณะกรรมการตรวจสอบ
ไม่ได้มีการกำหนดไว้          ต้องดำเนินการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ประกอบด้วยการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบฯ ในภาพรวมและการประเมินผลการปฏิบัติงานกรรมการตรวจสอบฯ รายบุคคล (โดยให้รายงานในรายงานประจำปีขององค์การมหาชนหรือเผยแพร่ทางเว็บไซต์ขององค์การมหาชน)
การบังคับใช้
- เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบฯ ฉบับนี้ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งให้องค์การมหาชนทราบ เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามหลักเกณฑ์ฯ ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน
ไม่ได้มีการกำหนดไว้          - ในกรณีที่ กค. ได้มีการปรับหลักเกณฑ์ฯ เพิ่มเติม ในภายหลัง ให้องค์การมหาชนปรับปรุงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบฯ ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของ กค.ฯ เพื่อความต่อเนื่องในการบริหารกิจการขององค์การมหาชน

8. เรื่อง  สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 16 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 กรกฎาคม 2565)
                              คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการ
นายกรัฐมนตรี (กตน.)  เสนอ  สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ครั้งที่ 16 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 กรกฎาคม 2565) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
          1. นโยบายหลัก 9 ด้าน ประกอบด้วย

นโยบายหลัก          มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์          จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28กรกฎาคม 2565 เช่น พิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน และกิจกรรมวัฒนธรรมอาสาทำความดีทั้งแผ่นดิน
2) การสร้างความมั่นคง
ความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุข
ของประเทศ          ยกระดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทยขึ้นสู่ระดับ Tier 2 โดยได้ดำเนินการภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในแรงงานกลุ่มเสี่ยงให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานและได้รับสภาพการจ้างตามหลักสากล เช่น (1) การตรวจแรงงานที่ศูนย์ควบคุม การแจ้งเรือเข้าออก (Port In and Port Out Control Center: PIPO) ในพื้นที่ 22 จังหวัดชายทะเล (2) การตรวจแรงงานเชิงคุณภาพในสถานประกอบการทั่วไปและการตรวจสถานประกอบกิจการที่เสี่ยงต่อการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ  การค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และ (3) การผ่อนผันแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานได้ชั่วคราวในช่วงการแพร่ระบาดของ               โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
3) การทำนุบำรุงศาสนา
ศิลปะและวัฒนธรรม          3.1) จัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2565 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 โดยมีกิจกรรมเผยแพร่องค์ความรู้ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ และ               การมอบโล่รางวัลนายกรัฐมนตรี เช่น รางวัลปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นชาวต่างประเทศและรางวัล พูด อ่าน เขียน ภาษาไทยดีเด่น
3.2) ยกระดับเทศกาลประเพณีไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ เพื่อขับเคลื่อนการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและนโยบายรัฐบาลโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (Bio-Circular-Green Economy: BCG) รวมทั้งผลักดัน ?Soft Power? ความเป็นไทย เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สร้างรายได้ และภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศอย่างยั่งยืน โดยได้คัดเลือกงานเทศกาล/ประเพณีที่มีความโดดเด่นในจังหวัดต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมและยกระดับไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ เช่น ประเพณีเวียนเทียนทางน้ำกลางกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
และประเพณีบูชาพระธาตุ ย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองคนดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
3.3) จัดงาน ?โนราห์ใต้ ศาสตร์ศิลป์ ถิ่นมรดกโลก? เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมไทย และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2565 ณ ลานวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 17-18 กรกฎาคม 2565
4) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก          ถ้อยแถลงในพิธีเปิดงาน China International Consumer Products Expo (Hainan Expo) ประจำปี ค.ศ. 2022 และ Global Consumption Forum ครั้งที่ 1เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถ้อยแถลงการณ์ถึงการจัดงานมีส่วนเพิ่มพูนการค้าและการลงทุนระหว่างจีนกับประเทศในภูมิภาครวมทั้งได้ขยายโอกาสสำหรับนักธุรกิจไทยและจีนในการเข้าถึงวัตถุดิบระหว่างกันสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งรัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือกับมณฑลต่าง ๆ ของจีน ในทุกมิติ และได้กล่าวแสดงความยินดีกับพัฒนาการของท่าเรือการค้าเสรีของมณฑลไห่หนานที่มีบทบาทสำคัญเป็น ?สะพานการค้าและการลงทุน? ที่เชื่อมระหว่างจีนกับประเทศในอาเซียนและภูมิภาคอื่น ๆ ภายใต้ข้อริเริ่ม Belt and Road Initiative รวมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการค้าเสรีที่สอดคล้องกับเป้าหมายการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้กรอบเอเปคที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในปี 2565
5) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย          5.1) พัฒนาภาคอุตสาหกรรม เช่น พัฒนาอุตสาหกรรมกัญชงยกระดับสู่พืชเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งมีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพืชกัญชงเชิงอุตสาหกรรมแห่งอาเชียน (Industrial Hemp Hub of ASEAN) ภายใน 5 ปี สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 40,000 ล้านบาท และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 20,000 บาทต่อไร่  5.2) พัฒนาภาคเกษตร เช่น ดำเนินโครงการ Pig Sandbox นำร่องที่จังหวัดราชบุรีตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายเพื่อเพิ่มช่องทางรายได้สร้างความยั่งยืนให้อาชีพเกษตรกร                  ผู้เลี้ยงสัตว์ควบคู่กับการทำเกษตร และโครงการ ?มหกรรมผลไม้และของดีป่าละอู? ประจำปี 2565  จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะทุเรียนป่าละอู ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งขี้ทางภูมิศาสตร์ ทั้งนี้ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีพื้นที่ปลูกทุเรียน และให้ผลแล้ว 8,109 ไร่ ปริมาณผลผลิต 7,118.44 ตัน
5.3) พัฒนาภาคการท่องเที่ยว โดยในเดือนกรกฏาคม 2565 ได้ดำเนินการตามแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินระยะทางรวม 6.3 กิโลมตร ในพื้นที่โครงการนนทรี ทั้งนี้ โครงการดำเนินการแล้วเสร็จระยะทางรวม 62 กิโลเมตร
5.4) พัฒนาการค้าการลงทุนเพื่อมุ่งสู่การเป็นชาติการค้าการบริการและการลงทุนในภูมิภาค เช่น กระทรวงพาณิชย์จัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ ?ไทย-ซาอุดีอาระเบีย?              (Thai Saudi Business Matching) จำนวน 70 บริษัท มีการเจรจาจับคู่กับนักธุรกิจไทยกว่า 352 คู่ สร้างมูลค่าการซื้อขายประมาณ 130 ล้านบาท และมูลค่าคาดการณ์ภายในหนึ่งปีมากกว่า 11,500 ล้านบาท
          5.5) พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาแพลตฟอร์มควบคุมและระบบจัดการจราจรทางอากาศโดยกระทรวงคมนาคม (บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด)  ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท AI and Robotics Ventures จำกัด (ARV) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการนำร่องด้านการจัดการจราจรทางอากาศสำหรับอากาศยานไร้คนขับ โดยใช้โครงการวังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง เป็นพื้นที่นำร่องและจะขยายผลการใช้งานไปยังพื้นที่อื่นทั้งในและต่างประเทศเพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน
5.6) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ โดยดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ/ผลิตภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่ผู้ประกอบกิจการ SME กลุ่ม OTOP  และกลุ่มวิสาหกิจหรือสหกรณ์ผ่านกระบวนการเพิ่มผลิตภาพแรงงานโดยได้ประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เพื่อรองรับการพัฒนาสู่ SME 4.0 มีผู้เข้าฝึกอบรม 7,683 คน

6) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก          6.1) โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในตามแผนบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก โดยประชาสัมพันธ์และจำหน่ายสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม Coopshopth.net และ Coop-mart.net และแพลตฟอร์ม Thaitrade.com                          (ตลาดต่างประเทศ) และ Phenixbox.com (ตลาดภายในประเทศ) เกิดการจับคู่เจรจาธุรกิจกับกลุ่มผู้ประกอบการ 14 แห่ง มีคู่เจรจาธุรกิจ 41 คู่ มูลค่าซื้อขายประมาณ 3 ล้านบาท
6.2) โครงการขยายโอกาสการมีงานทำให้ผู้สูงอายุ เช่น โครงการส่งเสริมการประกอบอาชีพให้ผู้สูงอายุ 1,371 คน และโครงการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุในอาชีพที่เหมาะสมกับวัยและประสบการณ์ 10,503 คน
6.3) บูรณาการให้ความช่วยเหลือผ่านกลไกศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอ โดยได้ดำเนินการช่วยเหลือครัวเรือนเป้าหมายแล้ว 645,525 ครัวเรือน
7) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย          7.1) ปรับอัตราเงินอุดหนุนรายหัวตามความจำเป็นพื้นฐาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้เรียน และเพิ่มศักยภาพสถานศึกษาในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น  มัธยมศึกษาตอนปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทั้งสถานศึกษาของรัฐและเอกชน ครอบคลุมการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาทางเลือกโดยปรับเพิ่มแบบขั้นบันไดต่อเนื่อง                            4 ปีงบประมาณ ตั้งแต่ปี 2566-2569
7.2) ดำเนินโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco-School) โดยการพัฒนาและปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับต้น  ระดับกลาง และระดับสูง เพื่อเป็นต้นแบบการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูลในประเทศไทย มีโรงเรียนอีโคสคูล            ระดับต้น 254  โรงเรียน
8) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม          8.1) ลงนามความร่วมมือสร้างต้นแบบองค์กรสุขสภาพดีนำไทยสู่เมืองหลวงสุขภาพโลก โดยกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสถาบันการสร้างชาติได้ลงนามความร่วมมือ ?การพัฒนาสุขสภาพองค์กรเพื่อการสร้างชาติ? เพื่อนำประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่การเป็นเมืองหลวงของการส่งเสริมสุขภาพของโลก
8.2) รณรงค์วันป้องกันการจมน้ำโลก ?ก้าวผ่านโควิด ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ปลอดภัยและไม่จมน้ำ? โดยสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 25 กรกฎาคม ของทุกปี เป็น ?วันป้องกันการจมน้ำโลก? (World Drowning  Prevention Day)  เพื่อให้ประชาชนและทุกภาคส่วนทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญและร่วมมือกันแก้ปัญหาการจมน้ำ
9) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน           9.1) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่ริมแม่น้ำ ประจำปีงบประมาณ                  พ.ศ. 2565 เพื่อให้สามารถรองรับผลกระทบจากภัยแล้งได้ โดยได้ดำเนินการเจาะพัฒนาบ่อน้ำบาดาล 2 บ่อ และก่อสร้างระบบประปาฯ 1 ระบบ ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 0.4380              ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี ประชาชนได้รับประโยชน์ 2,000 ครัวเรือน
9.2) โครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park)  โดยการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการใช้พลังงานและทรัพยากร ลดการเกิดของเสีย เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีมาตรฐาน ปัจจุบันมีอุทยานแห่งชาติผ่านการรับรองมาตรฐานอุทยานแห่งชาติสีเขียวแล้ว 102 แห่ง
9.3) ผลักดันไม้กลายเป็นหินตากสู่อุทยานธรณีระดับโลก โดยได้รับการบันทึกสถิติโลก ?ไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลก? จาก Guinness World Records ซึ่งค้นพบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสอยมาลัย-ไม้กลายเป็นหิน (เตรียมการ)  จังหวัดตาก มีความยาวถึง 69.70 เมตร และนับเป็นมรดกทางธรรมชาติที่มีความโดดเด่น ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ศึกษาและเรียนรู้  และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านชากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยาและธรรมชาติวิทยาต่อไป
                    2. นโยบายเร่งด่วน 9 เรื่อง ประกอบด้วย

นโยบายเร่งด่วน          มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน          1.1) พาณิชย์ลดราคา ช่วยประชาชน (ข้าวถุงราคาประหยัด) LOT 19 ?ช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพให้ประชาชน ลดราคาสูงสุด ร้อยละ 48? โดยจัดจุดจำหน่ายข้าวถุงราคาถูกทั่วประเทศ 703 จุด สามารถช่วยลดภาระค่าครองชีพให้ประชาชนไม่น้อยกว่า             13  ล้านบาท
1.2) แก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนของประชาชน โดยผ่านศูนย์ดำรงธรรมอำเภอตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน-21 กรกฎาคม 2565 รวม 296 ราย มูลหนี้รวม 36.27 ล้านบาท
1.3) ขยายเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ลิตรละ 5 บาท ออกไปอีก                  2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม- 20 กันยายน 2565 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจ
1.4) ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ด้อยโอกาส ได้แก่ โครงการช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้ได้รับการลดภาระดอกเบี้ย 353,267 ราย และโครงการบริหารจัดการที่ดินทำกินแก่เกษตรกรรายย่อยและผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน 21,312 ราย
1.5) โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยได้โอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564-31 กรกฎาคม 2565 รวม 40,765.87               ล้านบาท
2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน          โครงการสถาบันการเงินประชาชน โดยส่งเสริมการออมทรัพย์และให้บริการทางการเงิน           แก่สมาชิก และสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้คุณภาพชีวิต และสวัสดิการของสมาชิกและประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ มีองค์กรการเงินชุมชนที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นสถาบันการเงินประชาชนภายใต้พระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. 2562 แล้ว 7 แห่ง
3) การให้ความช่วยเหลือ
เกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม
          3.1) โครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) เช่น พัฒนาที่ดินเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตาม Agri-Map จำนวน 67,164 ไร่ และส่งเสริมเกษตรเชิงรุกด้านการประมง 1,000 ราย
3.2) สร้างหลักประกันทางรายได้ให้แก่เกษตรกร เพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตข้าวและยางพารา เช่น ผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อจำหน่าย 48,724.31 ตัน และประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง (ระยะที่ 3) ให้แก่เจ้าของสวนยาง 1.329 ล้านราย
4) การยกระดับศักยภาพ
ของแรงงาน          ยกระดับศักยภาพของแรงงานให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน เช่น                       (1) โครงการฝึกอบรมความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อรองรับอุตสาหกรรม                  6 กลุ่มเป้าหมาย (ดิจิทัล ระบบอัตโนมัติ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์) มีผู้เข้าร่วม 5,671 คน (2) โครงการพัฒนาผู้ประกอบกิจการสมัยใหม่เพิ่มมูลค่าสินค้าหรือบริการในชุมชน มีผู้เข้าร่วม 1,330 คน และ (3) โครงการเพิ่มทักษะกำลังแรงงานในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มีผู้เข้าร่วม 7,007 คน
5) การวางรากฐานระบบ
เศรษฐกิจของประเทศ
สู่อนาคต          5.1) ส่งเสริมการลงทุน โดยมีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565 ในพื้นที่ ?เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)? (Eastern Economic Corridor: EEC) (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง)  758 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 394,012             ล้านบาท และในพื้นที่ ?เขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ)? (Special Economic Zone: SEZ)              1 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 553 ล้านบาท
5.2) จัดกิจกรรมชักจูงนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ (โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน อิตาลี และสิงคโปร์) ให้มาลงทุนในพื้นที่ EEC โดยมีอุตสาหกรรมที่ได้รับความสนใจ เช่น อุตสาหกรรมด้านสุขภาพ และอุตสาหกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว

6) การเตรียมคนไทย
สู่ศตวรรษที่ 21
          โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะชีวิตเด็กและเยาวชนในศตวรรษที่ 21 โดยได้โอนเงินสนับสนุนงบประมาณให้แก่สภาเด็กและเยาวชน องค์กรเอกชน/ชุมชน ในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ทุกระดับ 36.240 ล้านบาท มีเด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการ 64,085 คน
7) การแก้ไขปัญหา
ยาเสพติดและสร้าง
ความสงบสุขในพื้นที่
ชายแดนภาคใต้
          7.1) เผาทำลายยาเสพติดให้โทษของกลาง ครั้งที่ 53 เมื่อวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2565 จำนวน 40.7 ตัน จาก 185 คดี มูลค่ารวม 34,688 ล้านบาท และได้นำผู้เสพและผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัด รวม 74,671 คน
7.2) ผลการปราบปรามยาเสพติด โดยจับกุมคดียาเสพติด 22,490 คดี มีผู้ต้องหา 22,254 คน และได้ยึดของกลาง เช่น ยาบ้า 43.911 ล้านเม็ด ไอซ์ 1,063.78 กิโลกรัม และเฮโรอีน 3,198.08 กิโลกรัม
7.3) โครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้และส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยปรับปรุงพื้นที่ปลูกข้าวให้มีความเหมาะสม 2,219 ไร่ และส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์สำหรับการใช้เลี้ยงโค-กระบือ 510 ราย
8) การพัฒนาระบบ
การให้บริการประชาชน
          8.1) อำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจให้แก่บุคลากรทักษะสูง/ผู้เชี่ยวชาญ                นักลงทุน ผู้บริหาร และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานหรือลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศผ่านวีซ่าประเภทพิเศษ (SMART Visa ตั้งแต่ดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565 มีผู้ผ่านการรับรองคุณสมบัติทั้งสิ้น 234 คำขอ
8.2) โครงการ Automation Networking Development for You  เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการให้ได้รับการอนุมัติหนังสืออนุญาตรวดเร็วยิ่งขึ้น ส่งผลให้ระยะเวลาการรอพิจารณาคำขอโดยเฉลี่ยจากมากกว่า 90 นาที เหลือเพียง 43 นาที
9) การจัดเตรียม
มาตรการรองรับภัยแล้ง
และอุทกภัย          ดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เช่น                    (1) โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา (งานปรับปรุงสะพานรถไฟ ความยาว 110 เมตร) มีผลการดำเนินงานในภาพรวม ร้อยละ 92.10 (2) โครงการคลองระบายน้ำหลาก บางบาล-บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ขุดคลองระบายน้ำหลาก พร้อมอาคารประกอบ) มีผลการดำเนินงานในภาพรวม ร้อยละ 26.16 และ (3) โครงการประตูระบายน้ำลำน้ำพุง-น้ำก่ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร (ก่อสร้างประตูระบายน้ำและอาคารชลประทาน) มีผลการดำเนินงานในภาพรวม ร้อยละ 31.04

9. เรื่อง รายงานประจำครึ่งปี (มกราคม-มิถุนายน 2565) ของธนาคารแห่งประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานประจำครึ่งปี (มกราคม-มิถุนายน 2565) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติ ธปท. พ.ศ. 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 61 ซึ่งบัญญัติให้ทุกหกเดือนให้ ธปท. จัดทำรายงานสภาพเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน นโยบายสถาบันการเงิน นโยบายระบบการชำระเงิน แนวทางการดำเนินงานและประเมินผล เพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีทราบ) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ภาวะเศรษฐกิจ
                        1.1 เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งฟื้นตัวจากช่วงครึ่งปีหลังของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและการส่งออกบริการ โดยการบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ดีขึ้น ส่วนการส่งออกสินค้ายังขยายตัวได้สอดคล้องกับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าและการส่งออกบริการสินค้าปรับตัวดีขึ้นมากตามการผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐปรับอ่อนลงตามการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นหลักจากท่าทีการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ประกอบกับนักลงทุนปรับลดความเสี่ยงการลงทุน จึงลดการลงทุนในสินทรัพย์ตลาดเกิดใหม่รวมถึงประเทศไทย
                        1.2 เสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในประเทศโดยรวมปรับดีขึ้น โดยตลาดแรงงานทยอยฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจแต่ต้องติดตามพัฒนาการของเงินเฟ้อ ซึ่งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับขึ้นจากราคาพลังงานและราคาอาหารสดที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากการส่งผ่านต้นทุนไปยังราคากลุ่มอาหารสำเร็จรูปเป็นสำคัญ
                        1.3 เสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งสะท้อนจากสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่ต่ำและสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นที่สูงเมื่อเทียบกับเกณฑ์สากล
                    2. การดำเนินงานของ ธปท. ประกอบด้วย
                        2.1 แนวทางการดำเนินงานและประเมินผลนโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น โดยใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1-3 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินด้านเสถียรภาพราคาสำหรับระยะปานกลางและปี 2565 โดยมีการดำเนินการ ดังนี้
                              2.1.1 การดำเนินนโยบายด้านอัตราดอกเบี้ย ในไตรมาสที่ 1 (เดือนมกราคม-มีนาคม) ปี 2565 กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่ 2 (เดือนเมษายน-มิถุนายน) ปี 2565 กนง. เห็นว่าความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจมีการปรับลดลง ขณะที่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น กนง. จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี ทั้งนี้ ในระยะต่อไป กนง. จะพิจารณาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สอดคล้องกับแนวโน้มและความเสี่ยงของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่เปลี่ยนไป
                              2.1.2 การดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 เงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐเคลื่อนไหวผันผวน โดยแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นไตรมาสตามแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและปรับอ่อนค่าลงจากความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียและยูเครน และการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลัก ส่วนในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 เงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าต่อเนื่องส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาทเทียบกับสกุลเงินคู่ค้าคู่แข่งค่อนข้างทรงตัวในช่วงแรกของปี 2565 ทั้งนี้ การผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 และการเปิดรับนักท่องเที่ยวที่เร็วกว่าคาดในเดือนพฤษภาคม 2565 จะช่วยจำกัดการอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงหลังของไตรมาสที่ 2 ปี 2565
                                        นอกจากนี้ กนง. ได้ให้ความสำคัญกับการติดตามพัฒนาการและความผันผวนของตลาดการเงินโลกและไทยอย่างใกล้ชิด รวมทั้งเห็นควรผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน       (FX Ecosystem) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น
                              2.1.3 การรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน กนง. ให้ความสำคัญกับการมีมาตรการเฉพาะจุดสำหรับกลุ่มเปราะบาง เนื่องจากในระยะต่อไปแม้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องแต่ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจบางกลุ่มยังเปราะบางจากรายได้ที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูง จึงอาจได้รับผลจากค่าครองชีพและต้นทุนที่สูงขึ้น ทั้งนี้ การดำเนินมาตรการเฉพาะสำหรับกลุ่มเปราะบางจะช่วยบรรเทาปัญหาได้อย่างตรงจุด เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ระยะยาวของลูกหนี้
                        2.2 แนวทางการดำเนินงานและประเมินผลนโยบายสถาบันการเงิน
                              2.2.1 มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และนโยบายการกำกับดูแลสถาบันการเงินในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ธปท. ได้ดำเนินนโยบาย ดังนี้ (1) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ เช่น แนวทางการดูแลลูกหนี้กลุ่มเปราะบางเพิ่มเติมโดยการต่ออายุมาตรการสินเชื่อรายย่อย การปรับปรุงเงื่อนไขโครงการคลินิกแก้หนี้เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต และการปรับเงื่อนไขสินเชื่อฟื้นฟูเพื่อรองรับการปรับตัวของผู้ประกอบธุรกิจ และ (2) การปรับเปลี่ยนนโยบายการกำกับดูแลสถาบันการเงินให้กลับสู่ระดับปกติ โดยยกเลิกนโยบายจำกัดอัตราการจ่ายเงินปันผลและการไม่ต่ออายุมาตรการปรับลดอัตราเงินนำส่งจากสถาบันการเงินเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
                              2.2.2 นโยบายกำกับสถาบันการเงินและการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและเศรษฐกิจโดยรวม มีความคืบหน้าในการดำเนินงาน ดังนี้
                                        (1) การประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ จะต้องติดตามความเสี่ยงในระยะต่อไป ได้แก่     1) ผลกระทบของต้นทุนและค่าครองชีพที่สูงขึ้นซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อ โดยเฉพาะในกลุ่มครัวเรือนที่รายได้น้อยและกลุ่มแรงงานที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ 2) ปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ในภาคการผลิต    3) เศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอตัวในระยะข้างหน้า และ 4) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่อาจกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
                                        (2) การดำเนินนโยบายกำกับสถาบันการเงิน เช่น 1) การกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับดิจิทัลและสินทรัพย์ดิจิทัล โดย ธปท. ได้ยกเลิกเพดานการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน แต่ยังไม่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจด้านสินทรัพย์ดิจิทัลโดยตรง 2) การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายบริษัทบริหารสินทรัพย์ (บบส.) โดยอาจต้องปรับปรุงกฎหมายเพิ่มเติมในบางประเด็นเพื่อให้ บบส. สามารถบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของระบบสถาบันการเงินและแก้ไขปัญหาหนี้ของภาคครัวเรือนและธุรกิจได้ดีขึ้น และ 3) การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลความเสี่ยงด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) โดยมีหลักการสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ ธรรมาภิบาลด้าน IT การรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้าน IT และการบริหารจัดการโครงการด้าน IT สำคัญ
                              2.2.3 การพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยมีข้อเสนอแนะต่อการจัดทำแนวนโยบายภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทยเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินไทย ดังนี้ (1) กำหนดแนวทางการดำเนินงานให้ชัดเจนทั้งการเปิดให้ผู้เล่นรายเดิมและรายใหม่แข่งขันพัฒนานวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียม (2) พิจารณาแนวทางการดูแลความเสี่ยงและการประเมินผลกระทบอย่างรอบด้านเพื่อดูแลผู้ใช้บริการทางการเงินในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ (3) ผลักดันให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ธปท. จะจัดทำเอกสารทิศทางและนโยบายเพื่อชี้แจงทิศทางและการดำเนินการภายใต้แนวนโยบายภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย โดยจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
                              2.2.4 การเป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ไม่มีสถาบันการเงินแห่งใดขอกู้ยืมสภาพคล่องจาก ธปท. โดยมีเพียงการขอกู้ยืมเพื่อทดสอบระบบงานจากสถาบันการเงิน 3 แห่ง ทั้งนี้ สถาบันการเงินทุกแห่งสามารถส่งมอบสินทรัพย์หลักประกันและชำระคืนเงินกู้ยืมได้ตามกำหนด
                        2.3 แนวทางการดำเนินงานและประเมินผลนโยบายระบบการชำระเงิน สรุปได้ ดังนี้
                              2.3.1 แนวโน้มการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ การใช้บริการระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ส่วนปริมาณธุรกรรมเฉลี่ยต่อคนต่อปีเพิ่มจาก 35 รายการ ในปี 2557 เป็น 368 รายการ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2565 โดยการโอนเงินและชำระเงินออนไลน์ผ่าน Mobile Banking/Internet Banking ขยายตัวสูงสุด ร้อยละ 50.7 และมีจำนวนบัญชี Mobile Banking/Internet Banking เพิ่มขึ้น 5.9 ล้านบัญชี จากสิ้นปี 2564 รวมมีบัญชีฯ ทั้งสิ้น 129.1 ล้านบัญชี ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2565
                              2.3.2 การดำเนินงานตามกรอบการพัฒนา 5 ด้าน ของแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ฉบับที่ 4 เช่น (1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่เชื่อมโยงกัน โดย ธปท. ได้ผลักดันและส่งเสริมมาตรฐานด้านข้อมูล ISO 20022 ในภาคธุรกิจ ซึ่งเริ่มใช้กับระบบการชำระเงินใหม่ คือ การเชื่อมโยงบริการโอนเงินต่างประเทศและระบบโอนเงินรายย่อยครั้งละหลายรายการสำหรับภาคธุรกิจ (2) การส่งเสริมนวัตกรรมและบริการชำระเงิน โดยได้ผลักดันการเชื่อมระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ ได้แก่ บริการชำระเงินผ่าน OR code และบริการโอนเงินราย่อยแบบทันที และ (3) การส่งเสริมการเข้าถึงและการใช้บริการชำระเงิน โดยอยู่ระหว่างดำเนินการโครงการสำรวจพฤติกรรมการชำระเงินของภาคธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อนำไปกำหนดแนวทางส่งเสริมให้ภาคธุรกิจใช้การชำระเงินดิจิทัลเพิ่มขึ้น

10. เรื่อง การพิจารณาความเหมาะสมของอัตราการเรียกเก็บเงินนำส่งจากสถาบันการเงิน
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนออัตราการเรียกเก็บเงินนำส่งจากสถาบันการเงินให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่อัตราร้อยละ 0.46 ต่อปี [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี       (10 เมษายน 2555) ที่ให้ กค. ธปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารืออย่างสม่ำเสมอถึงความเหมาะสมของอัตราการเรียกเก็บเงินนำส่งของสถาบันคุ้มครองเงินฝากและ ธปท. และแจ้งความคืบหน้าให้คณะรัฐมนตรีทราบอย่างน้อยเป็นรายปี] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ในปี 2563-2565 ธปท. ได้ปรับลดอัตราเงินนำส่งจากสถาบันการเงินจากร้อยละ 0.46 ต่อปี เหลือร้อยละ 0.23 ต่อปี เพื่อให้สถาบันการเงินมีต้นทุนทางการเงินลดลงและสามารถให้ความช่วยเหลือแก่ภาคธุรกิจและประชาชนได้อย่างต่อเนื่องในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                    2. ธปท. ประเมินสถานการณ์ปัจจุบันพบว่า เศรษฐกิจในภาพรวมมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนขึ้นและเริ่มส่งผลดีต่อสถานะของลูกหนี้หลายกลุ่ม ขณะที่ระบบสถาบันการเงินมีความมั่นคงโดยสะท้อนจากเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องที่อยู่ในระดับสูง สามารถสนับสนุนการฟื้นตัวของลูกหนี้ในระยะต่อไปได้ ทำให้หลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่ผ่อนปรนและมาตรการช่วยเหลือทางการเงินสามารถทยอยปรับเข้าสู่ระดับปกติได้ ประกอบกับภาระหนี้เงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 (FIDF 1) และพระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 (FIDF 3) ยังคงเป็นภาระต่อระบบเศรษฐกิจการเงินในระดับสูง โดยมียอดคงค้าง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2565 จำนวน 672,614 ล้านบาท ซึ่งเงินนำส่งจากสถาบันการเงินยังเป็นแหล่งเงินสำคัญในการลดเงินต้นและชำระดอกเบี้ย ดังนั้น การกลับมาเรียกเก็บเงินนำส่งจากสถาบันการเงินให้กับ ธปท. ที่อัตราร้อยละ 0.46 ต่อปี ในงวดนำส่งปี 2566 เป็นต้นไป จะช่วยให้หนี้ที่เหลืออยู่ลดลงได้ตามเป้าหมาย โดยคาดว่าการชำระหนี้ FIDF 1 และ FIDF 3 จะเสร็จสิ้นภายในปี 2575 ทั้งนี้ กค. พิจารณาแล้วไม่ขัดข้อง สรุปได้ ดังนี้
                        2.1 เงินจากแหล่งต่าง ๆ ประกอบด้วย
                              2.1.1 เงินนำส่งจากสถาบันการเงิน มีอัตราการขยายตัวของฐานการคำนวณเงินนำส่งจากสถาบันการเงินอยู่ที่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี
                              2.1.2 กำไรของ ธปท. ไม่มีเงินนำส่งจากกำไร ธปท. เนื่องจาก ธปท. ยังมีผลขาดทุนสะสมจำนวนสูง
                              2.1.3 เงินจากบัญชีผลประโยชน์ประจำปี ขึ้นอยู่กับภาวะตลาดการเงินซึ่งมีความผันผวนสูง
                              2.1.4 เงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินคาดว่าจะนำส่งปีละประมาณ 5,000 ล้านบาท ภายใต้สมมติฐานที่กองทุนฯ ยังคงถือหุ้นธนาคารกุรงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วนที่ถือหุ้นอยู่ในปัจจุบัน
                        2.2 ดอกเบี้ยจ่ายปีงบประมาณ 2566-2575 ปีละประมาณ 20,000 ล้านบาท โดยจะทยอยลดลงตามการชำระคืนต้นเงินกู้

11. เรื่อง รายงานสถานการณ์เพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็ก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอรายงานสถานการณ์เพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามมติคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 [คณะกรรมการระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย เป็นคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี (22 ตุลาคม 2562) มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับ ดูแล การดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายและแผนปฏิบัติการตามแผนระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย และนำเสนอสถานการณ์และข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปีหรือเมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วน] ทั้งนี้ การดำเนินการเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามพันธกรณีที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 182 ว่าด้วยการห้ามและการดำเนินการโดยทันทีเพื่อขจัดรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                      1. สถานการณ์การใช้แรงงานเด็กทั่วโลก องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้จัดทำรายงานประมาณการและแนวโน้มการใช้แรงงานเด็กทั่วโลก โดยการสำรวจประจำปี 2563 พบว่า เด็กทำงานอายุ 5-17 ปี               มีจำนวน 222.09 ล้านคน เข้าข่ายเป็นแรงงานเด็ก 160 ล้านคน และเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2559 แรงงานเด็กเพิ่มขึ้นจาก 70 ล้านคน เป็น 86.6 ล้านคน ทั้งนี้  จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้เด็กที่ไม่สามารถเข้าสู่การศึกษามีความเสี่ยงที่จะถูกผลักให้เป็นแรงงานเด็ก รวมถึงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอาจทำให้เด็กที่เป็นแรงงานเด็กอยู่แล้วมีชั่วโมงการทำงานที่ยาวขึ้น และอาจถูกบังคับให้ทำงานในรูปแบบที่เลวร้ายเนื่องจากการตกงานและการสูญเสียรายได้ของครอบครัวในกลุ่มที่เปราะบาง
                     2. สถานการณ์เด็กทำงานในประเทศไทย  จากการประมวลผลข้อมูลโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรไตรมาสที่ 3 ปี 2564 พบว่า เด็กอายุ 15-17 ปี มีจำนวน 2.515 ล้านคน เป็นเด็กทำงาน 165,689 คน โดยเด็กส่วนใหญ่จะทำงานอย่างเดียวโดยไม่ได้เรียนหนังสือและทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรม กิจการขายส่ง ขายปลีก กิจการโรงแรม และบริการอาหาร การผลิตซ่อมยานยนต์ และการก่อสร้าง ตามลำดับ
                     3. สถานการณ์การใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย ในงบปีประมาณ พ.ศ. 2564 มีการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย จำนวน 3,222 คน โดยเป็นการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือค้ายาเสพติดมีมากที่สุด จำนวน 3,157 คน รองลงมาคือ การกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ จัดหา หรือเสนอเด็กเพื่อการค้าประเวณี จำนวน 61 คน และการให้เด็กทำงานที่มีแนวโน้มจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ความปลอดภัย หรือศีลธรรมของเด็ก จำนวน 4 คน
                    4. ผลการประเมินจัดระดับสถานการณ์แรงงานเด็ก โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา ตามรายงานประจำปี 2563 ประเทศไทยมีผลการประเมินจัดระดับความก้าวหน้าในการดำเนินการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดในระดับปานกลาง ซึ่งในรายงานระบุว่าเด็กในประเทศไทยยังคงเกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด และการแสวงประโยชน์ทางเพศเชิงพาณิชย์ ซึ่งบางครั้งเป็นผลมาจากการค้ามนุษย์ รวมถึงมีกลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี เข้าร่วมการแข่งขันมวยไทยซึ่งถือเป็นงานอันตราย ถึงแม้ว่าประเทศไทยพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ก็ยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ เนื่องจากกฎหมายไม่ได้ให้ความคุ้มครองแก่แรงงานเด็กนอกระบบการจ้างงาน รวมถึงจำนวนพนักงานตรวจแรงงานและทรัพยากรที่ไม่เพียงพอต่อการตรวจสถานที่ทำงานซึ่งอยู่ห่างไกล โดยเฉพาะในภาคการจ้างงานนอกระบบ
                     5. การขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายของประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มีผลการดำเนินงานที่สำคัญตามนโยบายและแผนปฏิบัติการด้านการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย เช่น (1) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายโดยมีอบรมอาชีพแก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจากจบการศึกษาภาคบังคับ จัดสวัสดิการการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพทางการเกษตร (2) การช่วยเหลือ คุ้มครองและบำบัดฟื้นฟูเด็กที่ถูกใช้แรงงานในรูปแบบที่เลวร้ายโดยขับเคลื่อนแนวทางการตรวจประเมินอายุเด็กทางคดีแก่เด็กที่ตกเป็นเหยื่อเพื่อใช้ประกอบการดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวข้อง และจัดให้มีศูนย์ติดตามดูแลด้วยความห่วงใย โดยดำเนินการส่งต่อเด็ก เยาวชนที่ใกล้จบคดีให้ได้รับการศึกษาและการฝึกอาชีพ และ (3) การบูรณาการพัฒนาระบบและกลไกการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายและการสื่อสารสาธารณะโดยมีการจัดทำกรอบแนวทางการดำเนินงานของสถานประกอบกิจการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเพื่อยกระดับการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ และจัดทำคู่มือเพื่อผู้ปฏิบัติงานสำหรับการสืบสวน สอบสวน กรณีการบังคับใช้แรงงานและการใช้แรงงานเด็ก (โครงการ ATLAS Project)
                     6. ข้อเสนอแนะจากการวิเคราะห์สถานการณ์และผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ                 พ.ศ. 2564 เช่น (1) การพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลและสถิติที่เกี่ยวข้องควรดำเนินโครงการสำรวจการทำงานของเด็กในภาพรวมของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องทุก ๆ 4 ปี (2) พัฒนากฎหมาย ระเบียบ ประกาศ รวมถึงแนวปฏบัติที่เกี่ยวข้อง เช่น การออกกฎหมายหรือระเบียบคุ้มครองเด็กที่ทำงานนอกระบบ การกำหนดอายุขั้นต่ำที่อนุญาตให้ทำงานได้ การปรับปรุงประเภทหรือลักษณะงานที่เป็นอันตรายสำหรับเด็กให้สอดคล้องกับหลักสากล และการตรากฎหมายเพื่อคุ้มครองเด็กจากการแข่งขันชกมวย (3) พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้เข้าใจรูปแบบที่เลวร้ายของการใช้แรงงานเด็กอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง และควรเพิ่มจำนวนพนักงานตรวจแรงงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอต่อสถานการณ์ด้านแรงงานในปัจจุบัน (4) สร้างความตระหนักและความสำคัญต่อการขจัดการใช้แรงงานเด็กในทุกรูปแบบผ่านกิจกรรมรณรงค์ในทุกภาคส่วน เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจและมีพัฒนาการสมวัย มีภูมิคุ้มกันปกป้องตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการใช้แรงงานเด็กและ (5) ควรให้ความสำคัญกับการคุ้มครองเด็กจากภัยในรูปแบบออนไลน์ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการทำงานในเชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมและป้องกันคุ้มครองเด็กและเยาวชนให้มีความเข้าใจในการใช้สื่อออนไลน์อย่างปลอดภัย รู้เท่าทัน และไม่ตกเป็นเหยื่อการใช้                สื่อออนไลน์ในทางที่ผิด


12. เรื่อง มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2566 และมอบหมายหน่วยงานดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว โดยรายงานให้ กนช. ทราบ พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กนช. รายงานว่า
                    1. ตามปฏิทินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่หน่วยงานใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติงาน แบ่งเป็น                2 ช่วง คือ ช่วงฤดูแล้ง เริ่มวันที่ 1 พฤศจิกายน สิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน ของปีถัดไป และช่วงฤดูฝน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม สิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี (ยกเว้นพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ช่วงฤดูแล้ง เริ่มวันที่ 1 มีนาคม สิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม ของทุกปีและช่วงฤดูฝน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน สิ้นสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของทุกปี) โดยในช่วงฤดูแล้งได้ดำเนินการตามกรอบการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/2566 ดังนี้ (1) คาดการณ์ปริมาณน้ำต้นทุน1 ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 แผนการจัดสรรน้ำและความต้องการใช้น้ำรายกิจกรรมในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน พร้อมทั้งจัดหาแหล่งน้ำสำรองทั้งแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน                 (2) คาดการณ์แผนการใช้น้ำรายเดือนตามกิจกรรม (อุปโภคบริโภค เกษตร รักษาระบบนิเวศ และอุตสาหกรรม) ให้เพียงพอต่อปริมาณน้ำต้นทุน (3) คาดการณ์พื้นที่เพาะปลูกพืชในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทานให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำตันทุน (4) ประเมินพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ แบ่งเป็นพื้นที่อุปโภคบริโภค (ในเขต/นอกเขตพื้นที่ให้บริการประปานครหลวง/ภูมิภาค) พื้นที่เกษตรกรรม [นารอบที่ 2  (นาปรัง)/ไม้ผลที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ] และพื้นที่เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ และ (5) ส่งเสริมความเข้มแข็งการบริหารจัดการน้ำชุมชน
                    2. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้บูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 จำนวน 3 ด้าน 10 มาตรการ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะจะเกิดขึ้นได้ทันต่อสถานการณ์  และจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงปี 2566 ด้วย ซึ่ง กนช. ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการและโครงการดังกล่าวแล้วและให้เสนอคณะรัฐมนตรี โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 จำนวน 3 ด้าน 10 มาตรการ ดังนี้
การดำเนินการ          หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ด้านน้ำต้นทุน (Supply)
มาตรการที่ 1 เร่งเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภท (ภายในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2565)
(1) เร่งเก็บน้ำ/สูบทอยน้ำ2 ส่วนเกินในช่วงปลายฤดูฝนไว้ใช้ในฤดูแล้ง
(2) บริหารจัดการอ่างเก็บน้ำ/แหล่งน้ำตามเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ
หรือเต็มศักยภาพเก็บกัก          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
กระทรวงพลังงาน (พน.)
กระทรวงมหาดไทย (มท.)
มาตรการที่ 2 เฝ้าระวังและเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรอง พร้อมวางแผนเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือ ในพื้นที่             เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง)
(1) คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคการเกษตรและคุณภาพน้ำ (ช่วงก่อนและระหว่างฤดูแล้ง) พร้อมทั้งติดตามเฝ้าระวัง และประเมินสถานการณ์ตลอดฤดูแล้ง
(2) สำรวจ ตรวจสอบ พื้นที่แหล่งเก็บกักน้ำสำรอง และจัดทำแผนปฏิบัติการสำรองน้ำในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำดิบเพื่ออุปโภคบริโภคและการเกษตร
(3) เตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและเข้าช่วยเหลือในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำได้ทันสถานการณ์          กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กษ. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทส. มท. และ สนทช.
มาตรการที่ 3 ปฏิบัติการเติมน้ำ (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง)
(1) จัดทำแผนปฏิบัติการฝนหลวงรองรับพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ
และปฏิบัติการเติมน้ำให้กับแหล่งน้ำ พื้นที่เกษตรและพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยง
ขาดแคลนน้ำตามสภาพอากาศที่เหมาะสม
(2) จัดทำเผนปฏิบัติการและปฏิบัติการเติมน้ำใต้ดินในพื้นที่ที่มีศักยภาพ
(ดำเนินการช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูแล้ง)          กษ. และ ทส.
ด้านความต้องการใช้น้ำ (Demand)
มาตรการที่ 4 กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง)
(1) กำหนดแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนและแจ้งแผนให้ มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
(2) กำหนดแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้งและขึ้นทะเบียนเกษตรกรโดยระบุพื้นที่คาดการณ์เพาะปลูก และแหล่งน้ำที่นำมาใช้ให้ชัดเจนในรูปแบบ    แผนที่ เพื่อให้การเพาะปลูกสอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนพร้อมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขการเพาะปลูกพืชพื้นที่นอกแผนและพื้นที่ที่ไม่สามารถสนับสนุนน้ำเพื่อการเพาะปลูกได้
(3) ควบคุมการใช้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนให้เป็นไปตามแผนและ             มีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบการขาดแคลนน้ำด้านอุปโภคบริโภคของพื้นที่ลุ่มน้ำตอนล่างและมอบหมาย มท. ร่วมกับ กษ. และ ทส. สร้างการรับรู้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อควบคุม การส่งน้ำให้ตรงตามวัตถุประสงค์
(4) สำรวจ ตรวจสอบ คันคลอง เขื่อนป้องกันตลิ่ง ถนนที่เชื่อมต่อกับทางน้ำในพื้นที่ที่อาจจะเกิดการทรุดตัวเนื่องจากระดับน้ำในทางน้ำที่อาจจะลดต่ำกว่าปกติ          อว. กษ. กระทรวงคมนาคม ทส. พน. และ มท.
มาตรการที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคการเกษตร (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง)
(1) สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ ถ่ายทอด เผยแพร่ผลการวิจัยและพัฒนา
เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ นำไปใช้ประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคการเกษตร
(2) ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชเพื่อลดการใช้น้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่นำร่อง เช่น ปลูกพืชใช้น้ำน้อย และปรับปรุงระบบการให้น้ำพืช นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการน้ำพร้อมจัดทำแผนการปรับเปลี่ยนปลูกพืชใช้น้ำน้อยภายในเดือนตุลาคม 2565          อว. กษ. และ สทนช.
มาตรการที่ 6 เตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนอง (ระหว่างฤดูแล้ง)
(1) เตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนอง โดยการสนับสนุนจัดสรรน้ำเตรียมแปลงเพาะปลูกนารอบที่ 1 (นาปี)
(2) จัดทำแผนการรับน้ำเข้า-ออกพื้นที่ลุ่มต่ำในการเพาะปลูกพืชและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ          กษ. และ มท.
มาตรการที่ ๗ เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ (ตลอดฤดูแล้ง)
เฝ้าระวัง ตรวจวัด และควบคุมคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำ             สายรอง รวมถึงแหล่งน้ำที่รับน้ำจากภาคอุตสาหกรรม การเกษตร และชุมชนรวมทั้งเตรียมแผนปฏิบัติการรองรับกรณีเกิดปัญหาและแจ้งเตือนพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบ          กษ. ทส. มท. และกระทรวงอุตสาหกรรม
ด้านการบริหารจัดการ (Management)
มาตรการที่ 8 เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน (ตลอดฤดูแล้ง)
เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชนที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ โดยสร้างความรู้ ความเข้าใจในการวางแผนการใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่มีอยู่ การเตรียมจัดหาน้ำสำรองและการกักเก็บให้มีน้ำเพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภค/หรือการเกษตรตลอดฤดูแล้ง รวมทั้งพัฒนา/เพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำชุมชน          อว. กษ. ทส. มท. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) (มูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ) และ สนทช.
มาตรการที่ 9 สร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์ (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง)
สร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์สถานการณ์และแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการใช้น้ำอย่างประหยัดและเป็นไปตามแผนที่กำหนด          มท. สปน. (กรมประชาสัมพันธ์) สนทช. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มาตรการที่ 10 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน (ตลอดและหลังจากสิ้นสุดฤดูแล้ง)
(1) ติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน รายงานผลการให้ความช่วยเหลือ และหากพบการขาดแคลนน้ำหรือภัยแล้งให้รายงานมายัง           กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ และ กนช.
(2) ประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรการ พร้อมสรุปบทเรียน          มท. สทนช.และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                    2.2 การจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์               ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2566
หัวข้อ          รายละเอียด
วัตถุประสงค์          (1) เพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากสถานการณ์ขาดแคลนน้ำหรือเสี่ยงภัยแล้ง
(2) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างอาชีพ รายได้ และการจ้างแรงงานให้กับประชาชนหรือ            ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง
(3) เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ
พื้นที่เป้าหมาย          พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ หรือพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ สทนช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดในพื้นที่ทั่วประเทศ หรือจำเป็นต้องเร่งรัดดำเนินการเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาโดยเร่งด่วน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องจัดทำแผนปฏิบัติการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินการ          120 วัน นับตั้งแต่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
กิจกรรม
และประเภท
โครงการ          แบ่งเป็น 5 ประเภท เพื่อรวบรวม จำแนก วิเคราะห์ กลั่นกรองแผนงาน/โครงการให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานในแต่ละประเภท ดังนี้
กลุ่มประเภท          รายละเอียด
1. การซ่อมแซมอาคารชลศาสตร์          เป็นงานช่อมแซมอาคารชลศาสตร์ที่ชำรุดเสียหายจากการใช้งานหรือการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การควบคุมการระบายน้ำและการเก็บกักน้ำให้สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์เดิมของโครงการ เช่น ซ่อมแซมพนังกั้นน้ำ คันกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำ คลองส่งระบายน้ำ/อาคารบังคับน้ำ และฝาย
2. การปรับปรุงอาคารชลศาสตร์          เป็นการปรับปรุงอาคารชลศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพจากเดิมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและเหมาะสมกับสภาพการใช้งานในปัจจุบัน เช่น ปรับปรุงอาคารระบายน้ำล้น คลองส่ง/ระบายน้ำ ประตูระบายน้ำ และฝายเพื่อเพิ่มพื้นที่รับประโยชน์
3. การสร้างความมั่นคงด้านน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค          เป็นงานที่ดำเนินการเพื่อการอุปโภคบริโภคให้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ เช่น ก่อสร้างบ่อน้ำบาดาล ปรับปรุงบ่อน้ำบาดาล ก่อสร้างระบบประปา ปรับปรุงคุณภาพน้ำประปา ก่อสร้างแหล่งกักเก็บน้ำสำรองเพื่อการอุปโภคบริโภค  และการปรับปรุงคุณภาพน้ำแหล่งน้ำต้นทุน
4. การเพิ่มน้ำต้นทุนเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง          เป็นงานที่ดำเนินการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้แก่พื้นที่เสี่ยง
ขาดแคลนน้ำหรือพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้มีความมั่นคงด้านน้ำมากขึ้น เช่น งานขุดลอกคลอง งานขุดลอกสระ งานก่อสร้างแหล่งน้ำใหม่เพื่อการเกษตร  งานระบบส่งน้ำและระบบกระจายน้ำเพื่อการเกษตร งานบ่อน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรฝนหลวง และการก่อสร้างฝาย
5. การเตรียมความพร้อมเครื่องมือเครื่องจักร          เป็นการซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องมือเครื่องจักรที่มีอยู่เดิมให้พร้อมใช้งานได้ทันต่อสถานการณ์ เช่น ซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำ


หมายเหตุ : สนทช. จะไม่พิจารณาแผนงานโครงการที่ไม่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เช่น งานด้านซ่อม/ปรับปรุงถนน สะพาน หรืออาคารสิ่งปลูกสร้างบ้านที่พักอาศัย/สำนักงานและงานปรับปรุงภูมิทัศน์
1น้ำต้นทุน ถือเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตของคนทั้งประเทศ ซึ่งเป็นน้ำที่นำมาจัดสรรใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งอุปโภคบริโภค การทำเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และรักษาระบบนิเวศ ทั้งนี้ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหลักในการกักเก็บน้ำและบริหารจัดการต้นทุนให้เกิดประสิทธิภาพและเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละกิจกรรม โดยการวางแผนการบริหารน้ำต้นทุนในช่วงฤดูฝน และสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งเป็นประจำในทุก ๆ ปี เพื่อให้เกิคความสมดุล
2 สูบทอยน้ำเป็นการสูบน้ำเป็นทอด ๆ จากแหล่งน้ำไปสู่พื้นที่เป้าหมาย เช่น แหล่งน้ำอยู่ห่างจากพื้นที่เป้าหมายประมาณ 10  กิโลเมตร ทำให้ต้องสูบน้ำมาไว้ที่แหล่งน้ำแห่งหนึ่งที่ระยะทาง 5 กิโลเมตร ก่อนสูบน้ำต่อจากแหล่งน้ำนั้นไปพื้นที่เป้าหมายได้ ซึ่งการดำเนินการสูบทอยน้ำเกิดจากอุปสรรค 2 ส่วน คือ (1) ประสิทธิภาพของเครื่องสูบน้ำ และ (2) ระยะทางของแหล่งน้ำไปสู่พื้นที่เป้าหมายที่มีระยะทางไกล

13. เรื่อง โครงการสินเชื่อแก้หนี้เพิ่มทุน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการสินเชื่อแก้หนี้เพิ่มทุน และอนุมัติงบประมาณวงเงินรวม                 600 ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินโครงการสินเชื่อแก้หนี้เพิ่มทุน พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. รายงานว่า
                    1. หนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (โรคโควิด 19) แม้ว่าในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะคลี่คลายลงส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเริ่มกลับมาทยอยฟื้นตัว แต่การฟื้นตัวยังคงเป็นไปแบบไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบางที่ยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับปัญหาค่าครองชีพและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยั่งยืน รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน เพื่อลดภาระหนี้สินและดูแลให้ประชาชนมีชีวิตที่มีคุณภาพ ด้วยการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมในกลุ่มของลูกหนี้ที่เป็นประชาชนรายย่อย กค. และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงได้ร่วมกันจัดงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ (กค. แจ้งว่า จะจัดงานมหกรรมครั้งแรกระหว่างวันที่ 4 - 6 พฤศจิกายน 2565 ที่กรุงเทพมหานคร) เพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนผู้เข้าร่วมงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้มีสภาพคล่องทางการเงินที่เพียงพอในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพต่อไป โดยผ่อนปรนภาระหนี้สินให้สอดคล้องกับรายได้ รวมถึงเพิ่มทุนใหม่เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้นและเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม กค. จึงขอเสนอโครงการสินเชื่อแก้หนี้เพิ่มทุน โดยมีกรอบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการสรุปได้ ดังนี้
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข          รายละเอียด
1. วัตถุประสงค์          ประชาชนผู้เข้าร่วมงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ได้รับความช่วยเหลือให้มีสภาพคล่องทางการเงินในการดำรงชีวิตและลงทุนประกอบอาชีพได้ไม่น้อยกว่า 100,000 ราย
2. วงเงินรวม          2,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินจะจัดสรรวงเงินการให้ความช่วยเหลือให้เหมาะสมกับระยะเวลางานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้
3. วงเงินสินเชื่อ/ราย          ไม่เกินรายละ 20,000 บาท
4. กลุ่มเป้าหมาย          4.1 เป็นผู้มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
     4.1.1 ผู้มีรายได้ประจำ
     4.1.2 ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่แผงลอย เป็นต้น
4.2 เป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
4.3 เป็นผู้ที่เข้าร่วมงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้
4.4 ต้องไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ผู้บริหาร หรือกรรมการของธนาคารออมสิน
5. ระยะเวลาการยื่นขอสินเชื่อ          ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 หรือจนกว่าจะครบวงเงินโครงการ
6. ระยะเวลาการกู้ยืม          6.1 ปลอดชำระหนี้เงินต้น 6 งวดแรก ชำระดอกเบี้ยปกติ หรือเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด
6.2 ระยะเวลาชำระคืนเงินงวดสูงสุดไม่เกิน 2 ปี
7. อัตราดอกเบี้ย          อัตราดอกเบี้ยคงที่ ร้อยละ 0.35 ต่อเดือน (Flat Rate)
8. หลักประกัน          ไม่มีหลักประกัน (Clean Loan)
9. ช่องทางการให้บริการ          ให้บริการผ่านช่องทางที่ธนาคารกำหนด
10. เงื่อนไขการพิจารณาสินเชื่อ          พิจารณาการให้สินเชื่อที่ผ่อนปรนกว่าสินเชื่อปกติของธนาคารและเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารออมสินกำหนดเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้เข้าร่วมงานมหกรรมร่วมใจแก้ไขหนี้มีสภาพคล่องในการดำรงชีพหรือประกอบอาชีพ
11. เงื่อนไขการชดเชยจากรัฐบาล          11.1 รัฐบาลชดเชยความเสียหายที่เกิดจากหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan : NPLs) ร้อยละ 100 สำหรับ NPLs ไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด รวมทั้งสิ้น ไม่เกิน 600 ล้านบาท (2,000 ล้านบาท*ร้อยละ 30*ร้อยละ100) โดยธนาคารออมสินจะทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความเหมาะสมและความจำเป็นต่อไป
11.2 แยกบัญชีโครงการเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายภาครัฐ (Public Service Account : PSA)
11.3 ไม่นับรวม NPLs ที่เกิดจากการดำเนินงานของโครงการไปกำหนดเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของธนาคารออมสิน
11.4 ขอนำผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจากโครงการนับรวมเป็นผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดการให้สินเชื่อบุคคลรายย่อยวงเงินไม่เกิน 200,000 บาท
                    2. กค. ได้ จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติในมาตรา 27 และ 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เรียบร้อยแล้ว โดยในส่วนของการดำเนินการตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ                 พ.ศ. 2561 กค. แจ้งว่า ณ สิ้นวันที่ 3 ตุลาคม 2565 ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มียอดคงค้างจำนวน 970,710.435 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 30.48 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (วงเงิน 3,185,000 ล้านบาท) ดังนั้น หากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ธนาคารออมสินดำเนินโครงการสินเชื่อแก้หนี้เพิ่มทุน จำนวน 600 ล้านบาท จะส่งผลให้ภาระที่รัฐต้องรับชดเชย ซึ่งเมื่อรวมโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว จะมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 985,760.524 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 30.95 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ                   พ.ศ. 2566 ซึ่งยังคงไม่เกินอัตราร้อยละ 32 ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐได้ประกาศกำหนดไว้
14. เรื่อง ขออนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง ระยะที่ 2
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง (โครงการฯ) ระยะที่ 2
                    2. อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินการโครงการ จำนวน 1,050.5 ล้านบาท ประกอบด้วย
                              2.1 ค่าชดเชยดอกเบี้ย จำนวน 1,050 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) จำนวน 420 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 630 ล้านบาท
                              2.2 ค่าดำเนินการโครงการ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการชี้แจง ประชาสัมพันธ์ และติดตามโครงการ จำนวน 0.5 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกรมประมง
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กษ. รายงานว่า
                    1. กษ. ได้ดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 26 พฤษภาคม 2563) มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ประกอบการประมงพาณิชย์ และประมงพื้นบ้าน1 โดยรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 - 25 พฤษภาคม 2564 มีความก้าวหน้าโครงการโดยสรุป ดังนี้
ประเด็น          ธนาคารผู้ให้กู้          รวม
          ธ.ออมสิน          ธ.ก.ส.
1. ความก้าวหน้าโครงการ
(ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดการยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ)
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ          435 คน          5,161 คน          5,596 คน
จำนวนเรือที่เข้าร่วมโครงการ          624 ลำ          5,764 ลำ          6,388 ลำ
วงเงินสินเชื่อที่ขอ          2,668 ล้านบาท          3,841 ล้านบาท          6,509 ล้านบาท
2. การอนุมัติสินเชื่อ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565)
สถานะการพิจารณา          เสร็จสิ้นแล้ว          อยู่ระหว่าง
การพิจารณา2          -
จำนวนผู้ได้รับการอนุมัติ          136 คน
(ร้อยละ 31.26)          2,122 คน
(ร้อยละ 41.12)          2,258 คน
(ร้อยละ 40.35)
วงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ          497.244 ล้านบาท
(ร้อยละ 18.64)          677.203 ล้านบาท
(ร้อยละ 17.63)          1,174.45 ล้านบาท
(ร้อยละ 18.04)
วงเงินสินเชื่อคงเหลือ          5,962 ล้านบาท          -
หมายเหตุ : วงเงินสินเชื่อคงเหลือมาจากวงเงินสินเชื่อที่ไม่ผ่านการอนุมัติจากธนาคาร มีสาเหตุจากผู้ประกอบการประมงมีหนี้ชำระค้างกับธนาคาร มีประวัติผิดนัดชำระหนี้เกินที่ธนาคารกำหนด มีหลักประกันไม่เพียงพอ หรือมีเอกสารไม่ครบถ้วน เป็นต้น และยังเกิดจากการที่ผู้ประกอบการประมงขอยกเลิกสิทธิในการกู้ เป็นต้น ทั้งนี้ วงเงินสินเชื่อคงเหลือ จำนวน 5,962 ล้านบาท คำนวณจากวงเงินสินเชื่อโครงการทั้งหมด จำนวน 10,300 ล้านบาท หักจากวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติของ ธ.ออมสิน จำนวน 497 ล้านบาท และวงเงินสินเชื่อที่ขอของ ธ.ก.ส. จำนวน 3,841 ล้านบาท (เนื่องจาก ธ.ก.ส. ยังพิจารณาสินเชื่อไม่แล้วเสร็จ จึงใช้วงเงินสินเชื่อที่ขอแทนวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ)
                    2. ภายหลังสิ้นสุดการรับสมัครเข้าร่วมโครงการฯ มีผู้ประกอบการประมงประสงค์ให้ภาครัฐจัดทำโครงการเพิ่มเติม เช่น สมาคมประมงจังหวัดตราด เนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการประมงได้ ประกอบกับปัจุบันต้นทุนในการทำประมงสูงขึ้นจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อสภาพคล่องในการประกอบอาชีพ และมีผู้ประกอบการประมงบางส่วนไม่มีใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ในช่วงยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ ระยะที่ 1 โดยข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 ระบุว่า มีเรือจำนวน 103 ลำ ที่เพิ่งได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ในรอบปี 2565 - 2566 แต่ไม่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ในรอบปี 2563 - 2564 จึงไม่สามารถเข้าร่วมโครงการฯ ในช่วงเวลานั้นได้
                    3. กษ. จึงจัดทำโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกอบการประมงพาณิชย์ และประมงพื้นบ้าน มีรายละเอียด ดังนี้
ประเด็น          ธนาคารผู้ให้กู้
          ธ.ออมสิน          ธ.ก.ส.
1. ขนาดเรือประมง          ตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้นไป          ต่ำกว่า 60 ตันกรอส
2. วงเงินสินเชื่อ
5,000 ล้านบาท3          2,000 ล้านบาท          3,000 ล้านบาท
3. ระยะเวลา
ดำเนินการ          1. ระยะเวลาโครงการ : 8 ปี นับจากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการ
2. ระยะเวลายื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงการ : 1 ปี หลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการ หรือภายในกรอบวงเงินสินเชื่อตามที่กำหนด
3. ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ : ไม่เกิน 7 ปี นับแต่วันกู้
4. อัตราดอกเบี้ย          ร้อยละ 7 ต่อปี โดยเรียกเก็บจากผู้กู้ร้อยละ 4 ต่อปี และรัฐบาลชดเชยร้อยละ 3 ต่อปี เป็นระยะเวลา 7 ปีนับตั้งแต่วันที่กู้
5. ประเภทสินเชื่อ          1. เงินกู้ระยะสั้น ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน หรืออื่น ๆ ตามที่ธนาคารกำหนด เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ
2. เงินกู้ระยะยาว เพื่อเป็นเงินทุนในการปรับปรุงเรือประมง ปรับเปลี่ยนเครื่องมือและอุปกรณ์ทำการประมง
หลักเกณฑ์/เงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการ
6. คุณสมบัติผู้ประกอบการประมง4          1. บุคคลธรรมดาอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ มีสัญชาติไทย หรือเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย
2. มีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองเรือประมงที่มีทะเบียนเรือไทย
3. มีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี5
          4. เป็นผู้ประกอบการประมงที่มีใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์          4. กรณีผู้ประกอบการประมงพาณิชย์ต้องมีใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ (เนื่องจากเรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า 60 ตันกรอส ประกอบด้วยเรือประมงพาณิชย์และเรือประมงพื้นบ้าน)
7. วงเงินสินเชื่อสูงสุด          ไม่เกินรายละ 10 ล้านบาท          ไม่เกินรายละ 5 ล้านบาท
8. หลักประกันการกู้เงิน          ให้ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ดังนี้
1. ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ที่มีหนังสือแสดงเอกสารสิทธิ สามารถจดทะเบียนจำนองได้ หรืออาคารชุด
2. เรือประมง
3. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
4. บุคคลค้ำประกัน
5. หลักประกันอื่น ๆ ตามที่ธนาคารกำหนด
9. หลักเกณฑ์การให้สินเชื่อ          ตามเงื่อนไขของ ธ.ออมสิน          ตามเงื่อนไขของ ธ.ก.ส.
          ผู้กู้ที่ บสย. เป็นผู้ค้ำประกันสินเชื่อ ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. ควรพิจารณาคุณสมบัติของผู้ประกอบการประมงตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการค้ำประกันสินเชื่อและวิธีปฏิบัติในการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ควบคู่กันด้วย
งบประมาณในการดำเนินโครงการ จำนวน 1,050.5 ล้านบาท ประกอบด้วย
10. ค่าชดเชยดอกเบี้ยแก่ธนาคาร 1,050 ล้านบาท           420 ล้านบาท6          630 ล้านบาท7
          ให้ธนาคารทั้ง 2 แห่ง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีจาก สงป. ตามที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินโครงการ โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายในการกันสำรองที่เกิดจากโครงการบวกกลับเป็นรายได้ของธนาคารในการคำนวณโบนัสประจำปีของพนักงานได้ และใช้เป็นส่วนหนึ่งในการปรับตัวชี้วัดทางการเงินที่เกี่ยวข้องตามบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ และให้แยกบัญชีการดำเนินงานตามโครงการนี้ออกจากการดำเนินงานปกติภายใต้ระบบบัญชี PSA (Public Service Account)
ค่าดำเนินโครงการของกรมประมง 0.5 ล้านบาท          เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกรมประมง เช่น ค่าใช้จ่ายในการประชุมชี้แจง ประชาสัมพันธ์ และติดตามโครงการ
                    4. ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการแล้ว กษ. จะดำเนินการ ดังนี้
ขั้นตอนการดำเนินงาน          ระยะเวลาดำเนินการ          ผู้รับผิดชอบ
1. แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการเพื่อติดตามงานเป็นระยะ          ภายใน 1 เดือน          - กรมประมง
2. ประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้ประกอบการประมง          ภายใน 1 ปี           - กรมประมง
- สมาคมประมงที่เกี่ยวข้อง
- ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส.
3. ผู้ประกอบการประมงสมัครเข้าร่วมโครงการ ณ สำนักงานประมงในพื้นที่ โดยผู้ประกอบการประมงต้องได้หนังสือรับรองคุณสมบัติจากสมาคมประมงที่สังกัด หรือในกรณีที่ไม่เป็นสมาชิกสมาคมฯ ให้สำนักงานประมงในพื้นที่เป็นผู้ออกหนังสือรับรอง          ภายใน 1 ปี (ประชาสัมพันธ์โครงการแล้ว)          - สำนักงานประมงจังหวัด
- สำนักงานประมงอำเภอ
- สมาคมประมงแห่งประเทศไทย
- สมาคมประมงในพื้นที่
- สมาคมประมงพื้นบ้านในพื้นที่
4. ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. พิจารณาสินเชื่อและเข้าสู่กระบวนการให้กู้ยืม          ภายในปีที่ 1 - 6 (ประชาสัมพันธ์โครงการแล้ว)          - ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส.
1 พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ ประมงพาณิชย์ หมายถึง การทำประมงโดยใช้เรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป เรือที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าถึงขนาดที่กำหนด หรือเรือประมงที่มีลักษณะหรือวิธีการทำประมงตามที่กำหนด และห้ามทำการประมงพาณิชย์ในเขตทะเลชายฝั่ง โดยผู้ประกอบการประมงพาณิชย์ต้องได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์จากอธิบดีกรมประมงก่อน และประมงพื้นบ้าน หมายถึง การทำการประมงที่มิใช่ประมงพาณิชย์ ไม่ว่าจะใช้เรือประมงหรือใช้เครื่องมือโดยไม่ใช้เรือประมง และทำการประมงได้เฉพาะในเขตทะเลชายฝั่ง โดยผู้ประกอบการประมงพื้นบ้านต้องได้รับใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้านจากอธิบดีกรมประมงก่อน
2 กษ. แจ้งอย่างไม่เป็นทางการว่า ธ.ก.ส. คาดว่าจะพิจารณาสินเชื่อของโครงการฯ ระยะที่1 แล้วเสร็จภายในปี 2569
3 ประมาณการวงเงินสินเชื่อจากวงเงินสินเชื่อที่ขอของแต่ละธนาคารในโครงการฯ ระยะที่ 1
4 ผู้ประกอบการประมงที่มีเรือประมงทั้ง 2 ขนาด สามารถขอรับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคารได้เพียงแห่งเดียว
5 สำนักงานประมงในพื้นที่หรือสมาคมประมงที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับรอง
6 ชดเชยดอกเบี้ยปีละ 60 ล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี (พ.ศ. 2567 - 2573) (อัตราร้อยละ 3 ต่อปี จากวงเงินสินเชื่อ 2,000 ล้านบาท)
7 ชดเชยดอกเบี้ยปีละ 90 ล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี (พ.ศ. 2567 - 2573) (อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี จากวงเงินสินเชื่อ 3,000 ล้านบาท)

15. เรื่อง ขอผ่อนผันยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าชายเลนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ท้องที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างถนนสายบ้านเขาจีน - บ้านโคกพยอม ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอการขอผ่อนผันยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าชายเลนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล (อบจ. สตูล) ท้องที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล (จำนวน 11-2-40 ไร่) เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างถนนสายบ้านเขาจีน -               บ้านโคกพยอม ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล (โครงการฯ) ดังนี้
                    1. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 (เรื่อง รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ)
                    2. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน)
                    3. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ                ครั้งที่ 3/2543 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติการขอผ่อนผันยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ (1) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 (เรื่อง รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ) (2) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543 (เรื่องมติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) และ                       (3) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ 3/2543 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) เพื่อการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าชายเลนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล (อบจ. สตูล) ท้องที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จำนวน 11-2-40 ไร่ สำหรับดำเนินโครงการก่อสร้างถนนสายบ้านเขาจีน - บ้านโคกพยอม ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล (โครงการฯ) รวมทั้งสิ้น 1,564 เมตร โดยแบ่งเป็นพื้นที่ที่กำลังจะก่อสร้างถนนใหม่ระยะทางประมาณ 578 เมตร และพื้นที่ถนนลาดยางที่ก่อสร้างเสร็จแล้วแต่ยังมิได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวประมาณ 968 เมตร อย่างไรก็ดี มท. แจ้งว่า เทศบาลตำบลคลองขุดได้ดำเนินการยื่นคำขออนุญาตเพื่อขอผ่อนผันการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ก่อนได้รับอนุญาตไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
โครงการก่อสร้างถนนสายบ้านเขาจีน - บ้านโคกพยอม
ส่วนที่ 1
ระยะทาง 968 เมตร
(ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว)
          ส่วนที่ 2
ระยะทาง 578 เมตร
(กำลังจะก่อสร้าง)
พื้นที่โครงการฯ รวม 1,546 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ป่าชายเลน
จำนวน 11-2-40 ไร่ ซึ่งต้องปลูกป่าทดแทน 231.9 ไร่
(ปัจจุบันไม่มีสภาพเป็นป่าชายเลนแต่อย่างใด)
งบประมาณโครงการฯ รวม 9,235,965 บาท
 (1) การป้องกันการบุกรุกป่าไม้และล่าสัตว์ป่า                                              50,000 บาท
 (2) การปลูกป่าทดแทน                                                                       3,095,865 บาท
 (3) การก่อสร้างถนนตามโครงการฯ                                                   6,090,100 บาท
หมายเหตุ : เทศบาลตำบลคลองขุดได้รับการถ่ายโอนถนนบ้านเขาจีน - บ้านโคกพยอม ระยะทางรวม 5.4 กิโลเมตร มาจากแขวงทางหลวงชนบทสตูล เมื่อปี 2546 ตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.
ซึ่ง มท. เห็นว่า การพัฒนาโครงการฯ มีความสำคัญตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล โดยจะช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้วย เนื่องจากพื้นที่บริเวณดังกล่าวมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น ถ้ำเขาจีน นอกจากนี้ยังจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่มั่นคงและยั่งยืน รวมทั้งก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในหมู่บ้านและชุมชนในอนาคตด้วย ทั้งนี้ คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางบกและอากาศ ได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว รวมทั้งเทศบาลตำบลคลองขุดได้แจ้งยืนยันการเป็นหน่วยรับผิดชอบงบประมาณ จำนวน 3,095,865 บาท สำหรับการปลูกป่าทดแทนแล้ว

16. เรื่อง  รายงานความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ครั้งที่ 2
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ครั้งที่ 2 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
                    สาระสำคัญข้อเท็จจริง
                    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ขอรายงานความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ครั้งที่ 2 โดยสรุปมีผู้เสียชีวิต จำนวน 37 ราย             (รวมผู้ก่อเหตุ) ผู้บาดเจ็บสาหัส 7 ราย แพทย์อนุญาตให้รักษาฟื้นฟูที่บ้าน 2 ราย  คงรักษาตัวในโรงพยาบาล 5 ราย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ให้การฟื้นฟูช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบและสมาชิกครอบครัว รวม 199 ราย ดังนี้
                    1. ผลการดำเนินการให้ความความช่วยเหลือฟื้นฟูเพื่อคืนสู่วิถีชีวิตปกติ
                              1.1 การช่วยเหลือเยียวยาทางด้านจิตใจ
                                        1) ทีมปฏิบัติการสังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิต (Case Manager : CM) จำนวน 40 ทีม เป็นผู้จัดการรายกรณีประจำครอบครัว ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ 40 ครอบครัว โดยเยี่ยมบ้านให้คำปรึกษาแนะนำเยียวยาจิตใจ รวมวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตรายครอบครัวพร้อมประสานส่งต่อเพื่อให้ได้รับสิทธิและบริการที่ตอบสนองต่อสภาพปัญหาและความต้องการ พัฒนาสู่ความยั่งยืน
                                        2) พิธีบายศรีสู่ขวัญ : ?ผูกข้อมือเพื่อนบ้าน เพื่อนใจ? ณ องค์การบริหารส่วนตำบลอุทัยสวรรค์ ระหว่างทีมปฏิบัติการสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 120 ราย
                              1.2 การช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก โดยครอบครัวผู้ประสบเหตุ จำนวน               40 ครอบครัว มีเด็ก จำนวน 25 ครอบครัว และอยู่ในวัยเรียน จำนวน 33 ราย และก่อนวัยเรียน จำนวน 7 ราย มีการดำเนินการ ดังนี้
                                        1) ประสานขอความช่วยเหลือสถานศึกษาเอกชนให้ยกเว้นค่าบำรุงการศึกษาจนจบหลักสูตรของสถานศึกษาเอกชน จำนวน 2 ราย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป
                                        2) ส่งเข้ารับการศึกษาและพัฒนาศักยภาพในสถาบันเพาะกล้าคุณธรรมจังหวัดกาญจนบุรี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 1 ราย
                                        3) ประสานขอรับการสนับสนุนทุนการศึกษามูลนิธิราชประชานุเคราะห์ จำนวน 33 ราย
                                        4) สนับสนุนสื่อเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน คู่ใจวัยจิ๋ว จากมูลนิธิไทยพีบีเอส จำนวน 200 ชุด โดยมอบให้เด็กในครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 7 ครอบครัว และส่งมอบให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ตำบลอุทัยสวรรค์ ตำบลกุดแห่ และตำบลด่านช้าง จำนวน 193 ชุด
                                        5) จัดหาทุนการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นจนถึงระดับปริญญาตรีโดยประสานขอสนับสนุนทุนการศึกษาจากภาคเอกชน จำนวน 1 ราย
                              1.3 การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม จำนวน 40 หลัง ได้แก่ บ้านที่มีคนพิการ 9 หลัง บ้านที่มีผู้สูงอายุ 14 หลัง และบ้านผู้มีรายได้น้อยที่อยู่ในภาวะยากลำบาก 17 หลัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการปรับปรุงซ่อมแซมห้องน้ำ ห้องครัว เทพื้นปูกระเบื้อง ฝาผนัง หลังคา และระบบไฟฟ้า โดยดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 3 หลัง ปรับปรุงห้องน้ำ จำนวน 14 หลัง ทั้งนี้จะดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยครบ 40 หลัง ให้แล้วเสร็จ ภายในเดือนพฤศจิกายน 2565 ซึ่งได้รับการสนับสนุนทรัพยากรและกำลังพลในการดำเนินการ ดังนี้
                                        - บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง จำกัด (CPAC)
                                        - บริษัทพานาโชนิค แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาขอนแก่น
                                        - บริษัท บีเซน จำกัด จังหวัดนนทบุรี
                                        - กองทัพภาคที่ 2 โดย กองพลทหารราบที่ 3 (พล.ร.3) มณฑลทหารบกที่ 24   ค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี มณฑลทหารบกที่ 28 จังหวัดเลย กรมทหารพรานที่ 21 ค่ายศรีสองรัก        จังหวัดเลย
                                        - วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภู
                                        - เครือข่ายนักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
                                        - คุณธีรพัฒน์ เหง้าเทศ วิศวกรโยธา (ข้าราชการบำนาญ)
                              1.4 เสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาชีพและรายได้ ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ                     40 ครอบครัว มีความต้องการอาชีพ ได้รับการช่วยเหลือ เพิ่มพูนทักษะ และมีอาชีพทางเลือก ดังนี้
                                        1) อบรมอาชีพให้กับคนในชุมชน หลักสูตรอาหารจานเดียว จำนวน  30 ราย และอบรมหลักสูตรเบเกอรี่ให้แก่แม่เลี้ยงเดี่ยวกลับจากการทำงานที่ประเทศเกาหลี 1 ราย และหลักสูตร Sous Chef De Cuisine หรือผู้ช่วยเชฟ ให้แก่พ่อเลี้ยงเดี่ยว 1 ราย ในศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวรัตนาภา จังหวัดขอนแก่น  จำนวน 1 ราย
                                        2) มอบพันธุ์ปลา จำนวน 2,500 ตัว ให้แก่ครอบครัวพ่อเลี้ยงเดี่ยว จำนวน 1 ราย
                                        3) รับสมาชิกครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบเข้าทำงานเป็นพนักงานที่องค์การบริหารส่วนตำบลอุทัยสวรรค์ จำนวน 1 ราย และอยู่ระหว่างการอนุมัติจัดจ้างผู้ได้รับผลกระทบเพื่อบรรจุแทนตำแหน่งนายช่างที่เสียชีวิตอีก 2 ตำแหน่ง
                                        4) แก้ไขปัญหาครอบครัวผู้สูงอายุที่ต้องการจำหน่ายกระบือของบุตรชายที่เสียชีวิต จำนวน 5 ตัว เนื่องจากไม่สามารถดูแลได้ โดยจังหวัดหนองบัวลำภูได้ให้อาสาสมัครปศุสัตว์มาดูแลในเบื้องต้น พร้อมประสานหาผู้ที่ต้องการซื้อ
                              1.5 สร้างโอกาสเข้าถึงสิทธิและบริการของรัฐ โดยร่วมดำเนินการและประสานงานให้ครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบเข้าถึงสิทธิและบริการ ดังนี้
                                        1) ร่วมกับกรมการปกครองออกบัตรประจำตัวประชาชนและใบสูติบัตรให้แก่เด็กในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบซึ่งขาดโอกาสการเข้าถึงสิทธิและบริการของรัฐ ภายใน 3 วัน จำนวน 1 ราย
                                        2) ช่วยเหลือการบันทึกข้อมูลเพื่อรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 1 ราย และขอทราบผลการตรวจสอบสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ 85 ราย พร้อมการยื่นประสานงานการประเมินความพิการเพื่อให้เข้าถึงสิทธิและบริการอื่น ๆ จำนวน 1 ราย
                                        3) มอบเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน จำนวน 1 ราย และเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง จำนวน 2 ครอบครัว
                              1.6 แผนการเสริมสร้างความมั่นคงในชุมชน โดยพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในพื้นที่ตำบลอุทัยสวรรค์ หมู่บ้านละ 10 คน 12 หมู่บ้าน รวม 120 ราย  พร้อมจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือทางสังคมประจำตำบล 3 ตำบลที่มีผู้ได้รับผลกระทบ ในพื้นที่ตำบลอุทัยสวรรค์ ตำบลด่านช้าง และตำบล       กุดแห่ เพื่อดูแลทุกข์สุข และบำรุงขวัญกำลังใจของประชาชน
                              1.7 จัดหาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งใหม่ องค์การบริหารส่วนตำบลอุทัยสวรรค์ได้รับการสนับสนุนพื้นที่ในการก่อสร้างจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นพื้นที่ด้านข้างของสำนักงาน จำนวน 1.5 ไร่ โดยมีภาคเอกชนและกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณดำเนินการก่อสร้าง พร้อมขอใช้พื้นที่โรงเรียนหนองกรุงศรีโพธิ์ศรีสมพรเพื่อเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชั่วคราว ประกอบด้วย                  ห้องสำหรับเด็กเล็ก 2 ห้อง และห้องพักครู 1 ห้อง ทั้งนี้รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู ได้ประสานงานใช้งบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปรับปรุงซ่อมแซมห้องน้ำ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเคหะแห่งชาติปรับปรุงตกแต่งห้องเรียนให้มีความเหมาะสมแก่การเรียนการสอนเด็ก พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่นประสานภาคเอกชนในการติดตั้งกล้องวงจรปิด ระบบไฟฟ้าและแสงสว่าง และกรมกิจการเด็กและเยาวชนได้ประสานสมาคมมอนเตสซอรี่แห่งประเทศไทย นำรูปแบบการเรียน Montessori มาพัฒนาศักยภาพบุคลากรและนำมาใช้ในการพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน
                    2. เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2565 นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามความช่วยเหลือ และสร้างขวัญกำลังใจ ผู้ได้รับผลกระทบและประชาชน ในพื้นที่ 3 ตำบล อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยมีข้อสั่งการและนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อนงาน ดังนี้
                              2.1 ให้ทีมปฏิบัติการสังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิต (CM) ยึดหลักการทำงานว่า ทุกคนเป็นผู้ร่วมปฏิบัติงาน (ไม่มีคำว่าเป็นไปไม่ได้)
                              2.2 อยู่ระหว่างขอรับการสนับสนุนจากคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลในการจัดสรรโควต้าให้แก่ครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบที่ต้องการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นอาชีพ จำนวน 6 ราย
                              2.3 จัดหาอาชีพทางเลือกตามความต้องการตลาดแรงงาน โดยร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขจัดอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) จำนวน 420 ชั่วโมง ณ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว             รัตนาภา จังหวัดขอนแก่น โดยอบรมแบบ Online Onsite และฝึกปฏิบัติในสถานบริการที่ได้รับใบอนุญาต ผู้สำเร็จการอบรมมีงานทำรายได้เฉลี่ย 12,000-18,000 บาท และหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล 6 เดือน โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท กรุงเทพมหานคร ผู้สำเร็จการอบรมมีงานทำรายได้เฉลี่ย 13,000 ? 15,000 บาท รวมถึงหลักสูตรระยะสั้น เช่น              การดัดและบำรุงผม (SPA Perm) การต่อขนตาและเพ้นท์เล็บ
                              2.4 จัดอบรมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ภายในเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยความร่วมมือของกองทัพภาคที่ 2 สถานีตำรวจภูธรอำเภอนากลาง และฝ่ายปกครองอำเภอนากลางเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต และยกระดับ เพิ่มทักษะ และสมรรถนะ ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ. ) ให้มีศักยภาพ สามารถนำความรู้ทักษะไปใช้ในการประกอบอาชีพเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) ได้

17.  เรื่อง  แนวทางการควบคุมสารโซเดียมไซยาไนด์  สารเบนซิลคลอโรด์ และสารเบนซิลไซยาไนด์ที่นำไปใช้ในกระบวนการผลิตยาเสพติด
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการควบคุมสารโซเดียมไซยาไนด์  สารเบนซิลคลอโรด์ และสารเบนซิลไซยาไนด์ที่นำไปใช้ในกระบวนการผลิตยาเสพติดตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
                    ทั้งนี้ ยธ. เสนอว่า เนื่องจากสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์เป็นปัจจัยหลักในการผลิตยาเสพติด ซึ่งประเทศไทยมีพื้นที่ติดกับแหล่งผลิตยาเสพติดสามเหลี่ยมทองคำ ส่งผลให้กลุ่มผู้ผลิตยาเสพติดมีความพยายามนำเข้าสารเคมีจากประเทศต่าง ๆ เข้าไปยังแหล่งผลิต และประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกใช้เป็นประเทศนำผ่านด้วยเช่นกัน ดังนั้น นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จึงสั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรม ในฐานะผู้รับผิดชอบหลัก ประชุมหารือร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อกำหนดแนวทางการควบคุมสารโซเดียมไซยาไนด์  สารเบนซิลคลอไรด์ และสารเบนซิลไซยาไนด์ ที่นำไปใช้ในกระบวนการผลิตยาเสพติด
                    สาระสำคัญ
                    แนวทางการควบคุมสารโซเดียมไซยาไนด์ สารเบนซิลคลอไรด์ และสารเบนซิลไซยาไนด์ที่นำไปใช้ในกระบวนการผลิตยาเสพติด โดยเมื่อวันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2565 สำนักงาน ป.ป.ส. ได้จัดการประชุมหารือการแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาล ร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี                    นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมโดยที่ประชุมได้หารือแนวทางการควบคุมสารโซเดียมไซยาไนด์ที่นำไปใช้ในกระบวนการผลิตยาเสพติดซึ่งสรุปผลการประชุมฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. ระงับการส่งออก และชะลอการนำเข้าสารโซเดียมไซยาไนด์ และสารเบนซิลไซยาไนด์ไว้ก่อนเพื่อปรับปรุงวิธีการพิจารณาการอนุญาตการนำเข้า และส่งออก โดยจะอนุญาตให้นำเข้าและส่งออกตามปริมาณการใช้จริง ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จะได้ดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาอนุญาตเป็นราย ๆ ไป ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ใช้สารโซเดียมไซยาไนด์ ภายในประเทศ ประมาณ  141 ราย และมีปริมาณการใช้ภายในประเทศ ประมาณ 300 ตันเศษ (ไม่รวมการใช้ในเหมืองแร่) ส่วนสารเบนซิลไซยาไนด์ ภายหลังปี พ.ศ. 2560      ยังไม่มีการนำเข้า
                    2. กรมโรงงานอุตสาหกรรม จะดำเนินการควบคุมการใช้สารโซเดียมไซยาไนด์ และเบนซิลไซยาไนด์ โดยการกำหนดให้ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้ซื้อ (End User) ต้องยืนยันตัวตนโดยการลงทะเบียนเพื่อควบคุมปริมาณและการติดตามการใช้สารดังกล่าว
                    ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาเพิ่มเติมอีกว่า นอกจากสารโซเดียมไซยาไนด์และสารเบนซิลไซยาไนด์แล้วในกระบวนการผลิตสารตั้งต้น ยังมีสารเคมีที่เกี่ยวข้องอีก คือ สารเบนซิลคลอไรด์ ดังนั้นที่ประชุมจึงเสนอให้มีการควบคุมสารเบนซิลคลอไรค์ โดยวิธีการตามข้อ 2. ด้วย

18. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบทั้ง 3 ข้อตามที่คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบสรุปรายงานผลการดำเนินงานของ กปช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                    2. มอบหมายหน่วยงานภาครัฐรับข้อเสนอของประชาชนไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    3. มอบหมายกระทรวงมหาดไทย (มท.) เน้นย้ำผู้ว่าราชการจังหวัด 76 จังหวัด ให้ความสำคัญกับงานประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนในพื้นที่และให้หน่วยงานในระดับจังหวัดสนับสนุนและประสานการดำเนินงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนและพัฒนางานประชาสัมพันธ์ในภาพรวมของประเทศให้เกิดประสิทธิภาพ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กปช. รายงานว่า ได้ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2563-2565 ตามแนวทางการพัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม โดยผลการดำเนินงานของ กปช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. ผลการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาที่ 1 สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องสื่อสารที่สำคัญ ของคณะอนุกรรมการจัดทำนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ กำกับ ติดตาม และประเมินผล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                        1.1 ประเมินผลการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องสื่อสารที่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 7 เรื่อง และกำหนดเรื่องสื่อสารสำคัญประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้
เรื่อง          ผลการรับรู้/ข้อเสนอของประชาชน          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(1) การฟื้นฟูผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการเปิดประเทศในปี 2565          ประชาชนรับรู้ ร้อยละ 76 และเสนอว่าควรเน้นการเสนอข้อมูลข่าวสารตามสถานการณ์จริง เพื่อเป็นข้อมูลในการเตรียมรับสถานการณ์ของผู้ประกอบการ โดยควรสื่อสารมาตรการการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ถึงผู้ประกอบการล่วงหน้า รวมทั้งควรสื่อสารให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนและเหมาะสมกับบริบทแต่ละพื้นที่ด้วยการส่งเสริมอัตลักษณ์ประจำภูมิภาค เพื่อใช้เป็นจุดดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น          กระทรวงการคลัง (กค.)
กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.)
และกระทรวงพาณิชย์
(2) การพัฒนาทักษะอาชีพและการจัดหาตำแหน่งงานใหม่เพื่อความพร้อมต่อความต้องการหลังโรค      โควิด-19          ประชาชนรับรู้ ร้อยละ 85 และเสนอว่าควรเสนอข้อมูลข่าวสารโดยใช้สื่อออนไลน์ที่เข้าถึงประชาชน ในรูปแบบที่สั้นและเข้าใจง่าย และควรสื่อสารเชิงรุกเรื่องมาตรการการจ้างงานทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งการพิจารณาขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและแผนการสร้างงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ นอกจากนี้ ควรส่งเสริมโครงการนัดพบแรงงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แรงงานได้รับรู้และเข้าถึงอาชีพที่ตรงต่อความต้องการมากยิ่งขึ้น          กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
กระทรวงแรงงาน (รง.)
และกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
(3) ระบบสาธารณสุข     และการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 แบบเชิงรุก          ประชาชนรับรู้ ร้อยละ 98 และเสนอว่าควรเสนอข่าวสารที่ไม่สร้างความตื่นตระหนก ซึ่งการสื่อสารข้อมูลไปยังประชาชนควรมีความชัดเจนและสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งควรเน้นย้ำเรื่องมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ควบคู่ไปกับนโยบายการกระตุ้นการท่องเที่ยวและการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นต่อภาครัฐมากขึ้น          กค. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รง.
และกระทรวงสาธารณสุข

(4) ความเข้าใจถึงวิถีชีวิตแบบ New normal เพื่อใช้ชีวิตกับโรคโควิด-19 ในระยะยาว          ประชาชนรับรู้ ร้อยละ 98.25 โดยส่วนใหญ่ต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตวิถีใหม่จากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง เช่น วิธีการป้องกันและการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเสนอว่าควรปรับรูปแบบการสื่อสารให้สามารถเข้าใจง่าย ชัดเจน และนำเสนอบนแพลตฟอร์มที่หลากหลาย เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์          อว. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) รง. มท. ศธ.
และสำนักนายกรัฐมนตรี (นร.)
(5) การบริหารจัดการควบคุมแรงงานต่างด้าว          ประชาชนรับรู้ ร้อยละ 89 และเสนอว่าควรสื่อสารเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรสื่อสารเฉพาะช่วงเวลาที่มีประเด็นข่าวหลังเหตุการณ์ รวมทั้งควรสื่อสารเพิ่มเติมเรื่องปรับเปลี่ยนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการจ้างแรงงานต่างด้าวให้สะดวกต่อผู้ประกอบการ และข้อมูลรายการที่ถูกร้องเรียนและรายการที่มีข้อยุติแล้ว รวมทั้งเพิ่มช่องทางการร้องเรียนให้มากขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่าภาครัฐมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง          รง.
(6) ส่งเสริมค่านิยมที่ดีของไทย          ประชาชนรับรู้ ร้อยละ 99.25 และเสนอว่าควรเสนอเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรมท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ด้วยการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในรูปแบบ Soft Power รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เรื่องบทบาทหน้าที่พลเมือง และการรู้เท่าทันสื่อให้แก่ประชาชนเพื่อสร้างค่านิยมที่ดีให้แก่ประชาชนไทยและชาวต่างประเทศ          กต. กก. อว. กระทรวงวัฒนธรรม ศธ. และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(7) การปราบปรามทุจริตและความโปร่งใสของรัฐ          ประชาชนรับรู้ ร้อยละ 93.50 และเสนอว่าควรมีการสื่อสารใน 3 ประเด็น คือ (1) การประชาสัมพันธ์ข่าวการทุจริต (2) ข้อมูลรายละเอียดการบริการสำหรับประชาชน และ (3) รายงานผลตลอดขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบและปราบปรามจากภาครัฐอย่างจริงจัง          มท. กระทรวงยุติธรรม และ นร.
                    ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการจัดทำนโยบายฯ ได้วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลการประเมินผลฯ ดังกล่าว    ทำให้เห็นแนวโน้มเพื่อกำหนดเรื่องสื่อสารที่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล จำนวน 7 เรื่อง ได้แก่ (1) การพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) (2) การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโรคโควิด-19 (3) การบริหารจัดการระบบสาธารณสุขและสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ (4) สังคมสูงวัยกับวิถีชีวิตในอนาคต (5) การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล (6) การส่งเสริมค่านิยมที่ดีของไทย และ (7) ธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐ
                        1.2 จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศ ภายใต้เงื่อนไขและบริบทที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเสนอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
                    2. ผลการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาที่ 2 สร้างความตระหนักรู้ทัศนคติเชิงบวก และการมีส่วนร่วมของประชาชนไทยและชาวต่างประเทศต่อการต่างประเทศ ของคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติด้านต่างประเทศ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐรวม 29 หน่วยงาน เพื่อกำหนดและจัดทำรายละเอียดเรื่องสื่อสารที่สำคัญด้านต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 4 เรื่อง สรุปได้ ดังนี้
เรื่อง          ผลการดำเนินงาน
(1) APEC 2022 & Hub Thailand ศูนย์กลางของนานาประเทศ          เน้นย้ำการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย ในปี 2565 และโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในรูปแบบของสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น อินโฟกราฟิก บทความ และคลิปวิดีโอ
(2) Tech and Innovation นวัตกรรมไทยไฮ-เทคโนโลยี          เสนอข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชนไทยและชาวต่างประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงของไทย ซึ่งนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต ผ่านการสื่อประชาสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ เช่น อินโฟกราฟิก คลิปวิดีโอ และ                 การจัดกิจกรรม
(3) Health Care สาธารณสุขไทยในระดับโลก          เน้นการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยทางสาธารณสุขของไทย รวมทั้งมาตรการด้านบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่มีศักยภาพสูงในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ                 เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลาย พร้อมทั้งเน้นย้ำความเชื่อมั่นให้กับชาวต่างประเทศในการกลับเข้ามาใช้บริการในประเทศไทย
(4) Thai Culture? Universal Soft Power วัฒนธรรมไทยก้าวไกลสู่สากล          ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบอินโฟกราฟิก บทความ คลิปวิดีโอ สปอตสัมภาษณ์ และรายการ เพื่อสร้างการรับรู้ เข้าใจ เชื่อมั่น และทัศนคติที่ดีต่อประเทศไทยในสายตาชาวต่างประเทศผ่านวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ไทย
                    ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ฯ ได้จัดทำรายละเอียดและกำหนดเรื่องสื่อสารที่สำคัญด้านต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 4 เรื่อง ภายใต้แนวคิดหลัก New Chapter of Thailand : New Opportunities and Innovation ได้แก่ (1) BCG Economy เศรษฐกิจยุคใหม่...เพื่ออนาคตไทย (2) Tech and Innovation นวัตกรรม ไฮ-เทคโนโลยี เช่น การประชุม BIMSTEC (3) Health Care ความก้าวหน้าทางการแพทย์ระดับโลก และ (4) Thai Soft Power ความเป็นไทยสู่สากล
                    3. ผลการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาที่ 3 บริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร พัฒนาสื่อสร้างสรรค์ สร้างการรู้เท่าทัน และการมีส่วนร่วม ของคณะอนุกรรมการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารภาครัฐเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่ประชาชน มีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น (1) การผลิตสื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสื่อเผยแพร่เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น รายการเปลี่ยนโฉมประเทศไทย รายการ NBT รวมใจคนไทยไม่ทิ้งกัน และรายการ Spokesman Live!!! และ (2) ประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อแก้ไขปัญหาข่าวปลอม (Fake News) ในรูปแบบของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พร้อมระบบชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์ หรือ ID IA IR Chat เพื่อให้ได้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง นำไปขยายผลส่งต่อให้ประชาชนทราบผ่านช่องทางต่าง ๆ ของภาครัฐ ได้แก่ เพจข่าวจริงประเทศไทย และสื่อประชาสัมพันธ์ของ ดศ.
                    4. ผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมการพัฒนาคลังข้อมูลข่าวสารอัจฉริยะ โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาฯ ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงความซ้ำซ้อนของ (ร่าง) โครงการพัฒนาคลังข้อมูลข่าวสารอัจฉริยะ และแนวทางการดำเนินโครงการฯ และเสนอต่อที่ประชุม กปช. เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565 ซึ่งที่ประชุมมีมติมอบหมายให้คณะอนุกรรมการพัฒนาฯ เตรียมโครงการฉบับที่สมบูรณ์ครอบคลุมทุกประเด็น เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ นร. และคณะกรรมการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของ ดศ. ก่อนเสนอสำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณสำหรับดำเนินการต่อไป
                    5. ผลการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาที่ 4 ยกระดับบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศ ของคณะอนุกรรมการพัฒนาบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศ มีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น (1) ขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาหลักสูตร/ชุดวิชาด้วยการจัดทำชุดวิชาการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) 2 ชุดวิชาใหม่บรรจุลงเว็บไซต์ IPRMOOC ได้แก่ การสื่อสารในภาวะวิกฤตและการผลิตสื่อดิจิทัล และปรับปรุงหลักสูตรที่กรมประชาสัมพันธ์จัดอบรมในปี 2565 โดยเน้นรายวิชาการสื่อสารในยุคดิจิทัลเพิ่มขึ้น และ (2) พัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน โดยจัดโครงการฝึกอบรม ?เปิดโลกสื่อยุคใหม่ก้าวสู่การสื่อสารยุคดิจิทัล? ให้แก่ผู้บริหารและบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ 20 กระทรวง เพื่อส่งเสริมให้มีทักษะในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง
                    6. ผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติระดับจังหวัด 76 จังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามแนวทางการพัฒนาทั้ง 4 แนวทาง เช่น (1) จัดทำแผนปฏิบัติการประชาสัมพันธ์แห่งชาติระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งสอดคล้องกับ 4 แนวทางการพัฒนาภายใต้นโยบายและแผน การประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2563-2565 (ฉบับปรับปรุงให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี) และ (2) การบริหารประเด็นที่สอดคล้องกับเรื่องสื่อสารที่สำคัญ ประจำปี 2565 เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนระดับประเทศสู่การปฏิบัติ เช่น 1) การฉีดวัคซีนเชิงรุก 2) มาตรการการป้องกันตนเองด้วยการตรวจหาเชื้อโรคโควิด-19 และ 3) การเตรียมเปิดโรงเรียน โดยมุ่งเน้นสร้างการรับรู้และเข้าใจให้กับประชาชนผ่านเรื่องสื่อสารที่สำคัญระดับประเทศตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ด้วยการเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์และช่องทางอื่น ๆ ของหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งสื่อวิทยุ และสื่อโทรทัศน์

19. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกันยายน 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกันยายน 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.          ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
1.1          คณะรัฐมนตรีมีมติ (27 กันยายน 2565) รับทราบ ดังนี้
                               1.1.1 ผลการพิจารณาโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีโครงการที่ผ่านการจัดลำดับความสำคัญจำนวน 1,026 โครงการ จากข้อเสนอโครงการฯ ทั้งหมด 2,619 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 33 โครงการ ทั้งนี้ จะมีการขับเคลื่อนการดำเนินการในระยะถัดไป ดังนี้ (1) ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาทบทวนความเกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยเพื่อให้ครอบคลุมการขับเคลื่อนทุกปัจจัย (2) ให้หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ทุกระดับประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และ (3) ให้สำนักงบประมาณยึดเป้าหมายแผนแม่บทย่อยเป็นหลักในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ โดยให้ความสำคัญกับโครงการที่ผ่านการจัดลำดับความสำคัญเป็นลำดับแรก นอกจากนี้ สคช. จะสร้างการตระหนักรู้ให้กับหน่วยงานของรัฐอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการขยายผลและสามารถจัดทำโครงการฯ ที่ขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายแบบพุ่งเป้าได้อย่างเป็นรูปธรรม
                               1.1.2 (ร่าง) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580) (ฉบับปรับปรุง) และมอบหมายหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเห็นชอบเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ทั้งนี้ คาดว่าแผนแม่บทฯ (ฉบับปรับปรุง) จะประกาศใช้ได้ภายในเดือนตุลาคม 25651 ซึ่งทุกหน่วยงานของรัฐจำเป็นต้องยึดเป้าหมายของแผนแม่บทฯ เป็นเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกันโดยให้ความสำคัญในระดับเป้าหมายแผนแม่บทย่อยเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแต่ละห้วงการพัฒนาซึ่งจะส่งผลให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ของเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างแท้จริง
                              1.2 ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ข้อมูลสรุปผลการดำเนินการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัย รายจังหวัด สิ้นสุด ณ กันยายน 2565 พบว่า มีการลงพื้นที่สำรวจปัญหาครัวเรือนเป้าหมายแล้วทั้งสิ้น 621,360 ครัวเรือน จากจำนวนครัวเรือนเป้าหมายทั้งหมด 629,280 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 98.74  และมีการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาในภาพรวมแล้วเกือบทั้งหมด โดยจังหวัดที่มีการลงพื้นที่สำรวจสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ บุรีรัมย์ และนครศรีธรรมราชซึ่งหากพิจารณาจาก 5 มิติความขัดสน2  จะเห็นได้ว่า มีจำนวนครัวเรือนตกเกณฑ์มิติด้านรายได้สูงสุดเมื่อเทียบกับมิติอื่น โดยมี 309,122 ครัวเรือนหรือคิดเป็นร้อยละ 42 ทั้งนี้ จะนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์เพื่อประกอบการดำเนินการของ ศจพ. ในพื้นที่ของแต่ละจังหวัดเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้สามารถอยู่รอด พอเพียง และยั่งยืน รวมทั้งนำไปประกอบการจัดทำดัชนีการพัฒนาคนหลายมิติระดับประเทศและระดับพื้นที่ นอกจากนี้ได้พัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) โดยการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มาใช้ในการสนับสนุนการประเมินสภาพปัญหา สถานการณ์ต้นเหตุของปัญหา ช่องว่างของการแก้ไขปัญหา และการพัฒนาตามมิติของการพัมนาที่มีความหลากหลาย เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาประกอบการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาตามความจำเป็นเร่งด่วน สอดคล้องกับทรัพยากรข้อจำกัดต่างๆ ในพื้นที่ของการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การออกแบบการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย แผน มาตรการ และแนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำที่เป็นไปอย่างคุ้มค่าและเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อไป
                     2. ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ สศช. ได้จัดทำรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยครั้งที่ 16 (รอบเดือนเมษายน-มิถุนายน 2565) โดยสรุปผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินการปฏิรูปประเทศที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมาย เช่น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในหน่วยงานราชการมากขึ้น การเชื่อมโยงข้อมูลจัดซื้อจัดจ้าง โดยใช้ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) การจัดทำพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 เพื่อให้ผู้ที่มีความผิดไม่ร้ายแรงชำระค่าปรับแทนการลงโทษทางอาญาและไม่มีการจำคุก และการจัดทำพระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565 ทั้งนี้ การดำเนินการปฏิรูปประเทศในระยะต่อไป ให้หน่วยงานของรัฐนำประเด็นการปฏิรูปที่ยังต่อเนื่องไปดำเนินการผ่านกลไกของแผนระดับที่ 2 แผนระดับที่ 3 และการดำเนินการต่างๆ ของหน่วยงานเพื่อผลักดันให้เกิดผลอย่างยั่งยืนต่อไป
                    3. การติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตจร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้ระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) รองรับการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการตามแผนระดับที่ 2 ได้แก่ แผนแม่บทฯ (ฉบับปรับปรุง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570) สศช. จึงได้เชื่อมโยงความสอดคล้องของเป้าหมายของแต่ละแผนเพื่อความสะดวกในการนำเข้าข้อมูลโครงการ/การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในประเด็นที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกันระหว่างเป้าหมาย รวมถึงสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการประมวลผลได้ง่าย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินการตามแผนระดับที่ 2
                      4. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ โครงการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่ผ่านการจัดลำดับความสำคัญจำนวนทั้งสิ้น 1,026 โครงการจากข้อเสนอโครงการฯ ทั้งหมด 2,619 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 39.18 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าเมื่อ 2 ปีก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำข้อเสนอโครงการฯ ตามหลักเกณฑ์การประเมินโครงการฯ มากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากพิจาณาในรายละเอียดของผลคะแนนตามหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอโครงการฯ เกณฑ์ที่ค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ โครงการเป็นการจัดทำโดยมีการอ้างอิงหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์มารองรับ โครงการมีแผนการดำเนินงานและกิจกรรมที่ชัดเจน เป็นไปได้จริงส่งผลโดยตรงต่อการบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างแท้จริง และโครงการมีตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของโครงการได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งโครงการฯ ที่ตอบโจทย์การพัฒนาและพุ่งเป้าในการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ทุกระดับ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในการขับเคลื่อนการดำเนินการไปสู่การบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทฯที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งต้องให้ความสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดทำโครงการฯ ตลอดกระบวนการและจัดทำ/ปรับปรุงรายละเอียดของข้อเสนอโครงการฯ ทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านการจัดลำดับความสำคัญให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนตามกระบวนการงบประมาณและบรรจุในแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานต่อไป
???????????????????????????????????????_______________________________
1จากการประสานงานข้อมูลเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2565 สศช. แจ้งว่าอยู่ระหว่างปรับแก้แผนแม่บทฯ (ฉบับปรับปรุง) ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
2ความขัดสน 5 มิติ ประกอบด้วย สุขภาพ ความเป็นอยู่ การศึกษา รายได้ และการเข้าถึงบริการรัฐ

20. เรื่อง สรุปผลการพิจารณาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ?การจัดการตำบลเข้มแข็งตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ? ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการพิจารณาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ?การจัดการตำบลเข้มแข็งตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ? ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำวุฒิสภา ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                     เรื่องเดิม
                     1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง ?การจัดการตำบลเข้มแข็งตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ? ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการโดยคณะกรรมาธิการได้มีข้อเสนอแนะว่า ควรกำหนดให้การขับเคลื่อนการพัฒนาที่มุ่งให้ ?ตำบลเข้มแข็ง? เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อส่งสัญญาณและระดมสรรพกำลังความร่วมมือของทุกภาคส่วน มุ่งสู่การสร้างเสริมตำบลเข้มแข็งอย่างจริงจัง เป็นระบบ ควรกำหนดเป็นนโยบายเพื่อส่งเสริมให้ส่วนราชการ             ต่าง ๆ ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปและพัฒนาระบบบริหารราชการแผ่นดินและเกี่ยวข้องกับภารกิจการพัฒนาเชิงพื้นที่ ควรมอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการกำหนดตัวชี้วัดร่วม ?เชิงกระบวนการ? ของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีภารกิจเข้าไปทำงานในระดับตำบลเพื่อให้การทำงานของทุกส่วนราชการได้ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการพัฒนาระบบการจัดการตำบลเข้มแข็งแบบหุ้นส่วนอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
                     2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจาณาร่วมกับกระทรวงมหาดไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานและข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                     ข้อเท็จจริง
                    สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย สศช. สำนักงาน ป.ย.ป. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการพัฒนาชุมชน และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เพื่อพิจารณารายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ โดยเห็นด้วยในหลักการของรายงานการพิจาณาศึกษาฯ ดังกล่าว โดยมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปได้ดังนี้
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการ          ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
1.          การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ
 -  ควรกำหนดให้การขับเคลื่อนการพัฒนาที่มุ่งให้ ?ตำบลเข้มแข็ง? เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อส่งสัญญาณและระดมสรรพกำลังความร่วมมือของทุกภาคส่วน มุ่งสู่การสร้างเสริมตำบลเข้มแข็งอย่างจริงจังเป็นระบบ
    -  ควรกำหนดเป็นนโยบายเพื่อส่งเสริมให้ส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปและพัฒนาระบบบริหารราชการแผ่นดินและเกี่ยวข้องกับภารกิจการพัฒนาเชิงพื้นที่ ทำความเข้าใจกับแนวคิดและแนวทางการบริหารจัดการแบบหุ้นส่วนในระดับพื้นที่ เพื่อพัฒนาระบบและวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับระบบการจัดการตำบลเข้มแข็งในทิศทางนี้          - ปัจจุบันรัฐบาลได้จัดตั้ง ?ศูนย์อำนวยการขจัด
ความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.)? เพื่อเป็นกลไกระดับชาติเชิงนโยบายในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้ง ศจพ. ในระดับต่าง ๆ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินการในระดับพื้นที่ โดย ศจพ. ทุกระดับอยู่แล้ว ดังนั้น หากจะกำหนดประเด็น ?ตำบลเข้มแข็ง? ให้เป็นวาระแห่งชาติ ควรเป็นการกำหนดให้เป็นวาระสำคัญ (Agenda) หรือประเด็นสำคัญ (Issue) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีอำนาจหน้าที่ร่วมระดมกำลังในการแก้ไขปัญหาโดยจะต้องมีกระบวนการระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความชัดเจนในกระบวนการปฏิบัติเพื่อให้วาระแห่งชาติขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
2. บทบาทของราชการทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
   - ควรมอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) กำหนดตัวชี้วัดร่วม ?เชิงกระบวนการ? ของส่วนราชการต่างๆ ที่มีภารกิจเข้าไปทำงานในระดับตำบล เพื่อให้การทำงานของทุกส่วนราชการได้ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการพัฒระบบการจัดการตำบลเข้มแข็งแบบหุ้นส่วนอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ไม่ต่างคนต่างทำเฉพาะตน          - เห็นด้วยในการกำหนดตัวชี้วัดร่วมของส่วน
ราชการที่มีภารกิจในระดับตำบลเพื่อให้การทำงานของทุกส่วนราชการได้ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการพัฒนาระบบการจัดการตำบลเข้มแข็งแบบหุ้นส่วนอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง เนื่องจากจะทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงานทั้งในด้านฐานข้อมูล งบประมาณ บุคลากร และฐานข้อมูล (Database)
3. การสนับสนุนการพัฒนาระบบการบริหารราชการ
   - ควรกำหนดให้คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ จัดให้มี ?แผนงานโครงการและงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาระบบการจัดการตำบลเข้มแข็งแบบหุ้นส่วน? ในระดับตำบลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องทุกปี          - เห็นควรให้คณะกรรมการบูรณาการนโยบาย
พัฒนาภาคพิจารณาความเหมาะสมตามข้อเสนอแนะ อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวควรเป็นเรื่องในความรับผิดชอบโดยตรงของเทศบาล/องค์การบริหารส่วนตำบล เนื่องจากมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบตามกฎหมาย นอกจากนี้ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาพื้นที่ในระดับอำเภอและตำบล พ.ศ. 2562 ถือเป็นกลไกการจัดทำแผนในระดับพื้นที่ทำให้การจัดทำและประสานแผนพัฒนาตั้งแต่หมู่บ้าน ชุมชน ตำบล และอำเภอมีการบูรณาการและการเชื่อมโยงให้เป็นแผนเดียวกัน สนับสนุนการพัฒนาระบบการจัดการในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
4. การจัดทำหลักสูตร
   - ควรกำหนดนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำ ?หลักสูตรการจัดการตำบลเข้มแข็ง? สำหรับผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง ทั้งระดับประเทศ ภาค จังหวัด อำเภอ และตำบลอย่างกว้างขวางและทั่วถึง          - การกำหนดนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำ
?หลักสูตรการจัดการตำบลเข้มแข็ง? สำหรับผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง ทั้งระดับประเทศ ภาค จังหวัด อำเภอ และตำบลอย่างกว้างขวางและทั่วถึง สามารถดำเนินได้เมื่อรัฐบาลเห็นชอบแนวทางการดำเนินงานเรื่อง ?ระบบการจัดการตำบลเข้มแข็ง? ที่คณะกรรมาธิการการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำเสนอ และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ในการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ย.ป. ได้ให้ความร่วมมือโดยใช้ประสบการณ์จากการดำเนินการโครงการนักบริหารระดับสูง : ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (หลักสูตร ป.ย.ป.) และโครงการต้นแบบแนวทางลดความเหลื่อมล้ำด้วยนวัตกรรมภาครัฐ เพื่อประกอบการดำเนินการจัดทำหลักสูตรของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนในระยะต่อไป
5. การจัดให้มีสมัชชาตำบล
   - ควรกำหนดนโยบายให้หน่วยงานหลักที่เหมาะสม จัดให้มี ?สมัชชาตำบลเข้มแข็งแห่งชาติ? ทุกปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ทั่วประเทศ ได้นำเสนอการพัฒนาตำบลเข้มแข็งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน          - การกำหนดนโยบายให้หน่วยงานที่เหมาะสมโดย
จัดให้มี ?สมัชชาตำบลเข้มแข็งแห่งชาติ? ทุกปี อาจใช้กลไกการประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลซึ่งจัดปีละ 1 ครั้ง เพื่อสรุปปัญหาที่เกิดขึ้นกับประชาชนในจังหวัด และข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการ อย่างไรก็ตาม ควรพิจารณาถึงภารกิจและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่ดำเนินการดังกล่าวด้วย

ต่างประเทศ

21.  เรื่อง  การขอความเห็นชอบการขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากสำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อดำเนินโครงการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องอย่างบูรณาการของประเทศไทย (Thailand Integrated Logistics and Intermodal Transport Development Plan)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความตกลงการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการจากสำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อดำเนินโครงการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องอย่างบูรณาการของประเทศไทย (Thailand Integrated Logistics and Intermodal Transport Development Plan) (บันทึกความตกลงฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุง แก้ไขร่างบันทึกความตกลงฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ก่อนการลงนามให้กระทรวงคมนาคม (คค.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย สำหรับการลงนามในบันทึกความตกลงฯ ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คค. รายงานว่า
                    1. สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ได้ให้ความเห็นชอบการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ โดยให้ทุน (Grant Fund) วงเงินรวมทั้งสิ้น 1,360,740 ดอลลาร์สหรัฐ แก่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เพื่อดำเนินโครงการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องอย่างบูรณาการของประเทศไทย (Thailand Integrated Logistics and Intermodal Transport Development Plan) (โครงการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ฯ) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ (Technical Assistance) ดังกล่าวเป็นเงินให้เปล่าและไม่ต้องใช้งบประมาณของ สนข. ร่วมดำเนินการ โดยจะมีการลงนามในร่างบันทึกความตกลงฯ ซึ่งระบุรายละเอียดของการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการที่เสนอในครั้งนี้ตามขั้นตอนต่อไป
                    2. ร่างบันทึกความตกลงฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและให้ข้อเสนอแนะแก่ประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมายการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบ ลดต้นทุนการขนส่ง มลพิษทางถนน ลดอุบัติเหตุทางถนน และส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาค โดยจะเสนอแนะโครงการนำร่องศูนย์บูรณาการโลจิสติกส์และขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบอย่างน้อย 3 แห่ง เพื่อสาธิตให้เห็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการทางถนนและการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมีขอบเขตงาน (1) ศึกษาทบทวนการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในปัจจุบัน โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตลาด (Market Segments) ได้แก่ กลุ่มที่ 1 การนำเข้าและส่งออก และ Land bridge โดยการขนส่งทางทะเลและทางน้ำ กลุ่มที่ 2 การขนส่งภายในประเทศของสินค้าทั่วไปทางถนน ทางราง ทางน้ำภายในประเทศและชายฝั่ง กลุ่มที่ 3 การนำเข้าและส่งออกผ่านแดนทางบก และกลุ่มที่ 4 การนำเข้าและส่งออกผ่านแดนทางอากาศ (2) คาดการณ์ปริมาณการขนส่งและจราจร สำหรับแต่ละกลุ่มตลาดและตามรูปแบบการขนส่ง (3) ระบุมาตรการที่จำเป็นเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนรูปแบบในการขนส่งสินค้าจากทางถนนสู่ทางราง ครอบคลุมประเด็นที่สำคัญ เช่น อุปสรรคในการพัฒนาสำหรับธุรกิจใหม่ และการประเมินทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาธุรกิจใหม่สำหรับแต่ละกลุ่มตลาด โดยงบประมาณโครงการ รวมทั้งสิ้น 1,360,740 ดอลลาร์สหรัฐ ระยะเวลาดำเนินการศึกษา ประมาณ 14 เดือน
                    3. ผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ การดำเนินโครงการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ฯ ภายใต้ร่างบันทึกความตกลงฯ จะช่วยส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางของไทย การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาระบบการขนส่งอย่างยั่งยืนของไทยและการเป็นศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาค นอกจากนี้ บุคลากรของ สนข. จะได้เรียนรู้จากการดำเนินการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง


22.  เรื่อง  รายงานผลการเดินทางเยือนราชอาณาจักรของซาอุดีอาระเบีย ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอผลการเดินทางเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการเดินทางเยือนฯ ต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. พณ. รายงานว่า รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูง พณ. และคณะผู้แทนภาคเอกชนไทยเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันที่ 27 - 31 สิงหาคม 2565 เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการเร่งรัดการส่งออกสินค้าของไทยให้เห็นผลเป็นรูปธรรม รวมถึงเพื่อกระชับและสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจและความร่วมมือด้านการค้าระหว่างกันโดยรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพณิชย์ได้พบหารือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของซาอุดีอาระเบีย จำนวน 4 แห่ง รวมถึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าไทยกับซาอุดีอาระเบีย และได้สำรวจสินค้าไทยในซาอุดีอาระเบีย ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

ประเด็น          ผลการหารือ
1) การหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ ของซาอุดีอาระเบีย (ได้แก่ กระทรวงสื่อสารมวลชน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการลงทุน กระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรแร่ธาตุ กระทรวงแรงงานและการพัฒนาสังคม และกระทรวงการท่องเที่ยว)
(1) การจัดทำเขตการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) กับกลุ่มประเทศความร่วมมือแห่งอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council: GCC)
          ไทยขอรับการสนับสนุนจากซาอุดีอาระเบียในการจัดทำ FTA กับกลุ่ม GCC ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แห่งซาอุดีอาระเบียยินดีที่จะให้การสนับสนุน และจะช่วยประสานงานกับประเทศสมาชิกเพื่อผลักดันให้เกิดการจัดทำ FTA ไทย-GCC

(2) การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-ซาอุดีอาระเบีย (Joint Trade Committee: JTC)          ไทยเสนอการจัดตั้ง JTC ไทย-ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แห่งซาอุดีอาระเบียตอบรับข้อเสนอดังกล่าวและได้สั่งการให้ฝ่ายซาอุดีอาระเบียเริ่มหารือกับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศโดยเร็วเพื่อเร่งจัดทำบันทึกความร่วมมือในการจัดตั้ง JTC ไทย-ซาอุดีอาระเบีย โดยคาดว่าการจัดตั้ง JTC ไทย-ซาอุดีอาระเบีย จะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2565
(3) การส่งเสริมการค้าระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบียภายใต้ Saudi Vision 2030          - ไทยยินดีให้การสนับสนุนซาอุดีอาระเบียทั้งด้านการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะการให้บริการก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อให้ซาอุดีอาระเบียสามารถบรรลุเป้าหมายพัฒนาประเทศภายใต้ Saudi Vision 2030
- ไทยขอให้ฝ่ายซาอุดีอาระเบียเป็นแหล่งความมั่นคงด้านพลังงานให้กับไทย และไทยจะเป็นแหล่งความมั่นคงด้านอาหารให้กับซาอุดีอาระเบีย
(4) การขอวีซ่าให้กับภาคเอกชนไทย          ปัจจุบันเอกชนไทยจำเป็นต้องใช้หนังสือเชิญจากบริษัทคู่ค้าของซาอุดีอาระเบียเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาวีซ่า ส่งผลให้การเดินทางไปเจรจาธุรกิจที่ซาอุดีอาระเบียมีความล่าช้า ดังนั้น ไทยได้เสนอให้ซาอุดีอาระเบียพิจารณาวีซ่าของนักธุรกิจไทยจากหนังสือรับรองของหอการค้าไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แห่งซาอุดีอาระเบียได้สั่งการให้ฝ่ายซาอุดีอาระเบียรีบดำเนินการตามที่ฝ่ายไทยเสนอโดยเร็ว
2) การหารือกับประธานองค์การอาหารและยาซาอุดีอาระเบีย (Saudi Food and Drug Authority: SFDA)
(1) การแก้ไขปัญหาการส่งออกไก่แปรรูปและการทำความเข้าใจกับโรงงานไทย          ปัจจุบันโรงงานไทยที่ผ่านการรับรองจาก SFDA จำนวน 11 แห่ง เข้าใจว่า สามารถส่งออกได้เพียงแค่ไก่ดิบเท่านั้น ซึ่ง SFDA ชี้แจงว่าอนุญาตให้โรงงานไทยดังกล่าวสามารถส่งออกไก่แปรรูปและไก่ปรุงสุกมายังซาอุดีอาระเบียได้แล้ว ซึ่งไทยจะประสานกับโรงงานไทยดังกล่าวต่อไป
(2) การเร่งรัดการขึ้นทะเบียนโรงงานไก่เพิ่มเติมอีก 28 โรงงาน          กรมปศุสัตว์อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลจากโรงงานที่ขอขึ้นทะเบียนตามที่ SFDA ขอเพิ่มเติม โดยไทยจะขอให้กรมปศุสัตว์เร่งรวบรวมและจัดส่งข้อมูลให้กับ SFDA และขอให้ SFDA เร่งตรวจสอบโรงงานหลังจากที่ได้รับข้อมูลจากกรมปศุสัตว์แล้ว
(3) การสนับสนุนให้ซาอุดีอาระเบียนำเข้าสินค้าเนื้อสัตว์ เช่น โค และผลิตภัณฑ์เนื้อแพะจากไทย          SFDA พร้อมที่จะอำนวยความสะดวกให้กับฝ่ายไทย โดยจะมีการหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของไทยโดยเร็ว นอกจากนี้ ไทยมีแผนเชิญนักธุรกิจซาอุดีอาระเบียร่วมลงทุนโรงงานผลิตเนื้อสัตว์ที่ไทยเพื่อให้การส่งออกเนื้อสัตว์ไปซาอุดีอาระเบีย มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น
(4) ความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาสินค้าฮาลาล          SFDA แจ้งว่า Islamic University of Madinah ประสงค์ร่วมมือทางวิชาการกับไทยเพื่อพัฒนาสินค้าฮาลาลของไทยให้ตรมาตรฐานของซาอุดีอาระเบีย โดยฝ่ายไทยจะประสานศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการดำเนินการต่อไป
3) การหารือกับประธานสภาหอการค้าซาอุดีอาระเบีย พร้อมผู้แทนภาคเอกชนไทย ซาอุดีอาระเบียกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาประเทศตาม Saudi Vision 2030 ซาอุดีอาระเบียจึงต้องการนักธุรกิจจากทั่วโลกเข้ามาลงทุน และได้เชิญนักธุรกิจไทยให้เข้าร่วมการลงทุนดังกล่าว ในขณะเดียวกัน ฝ่ายไทยได้เชิญนักธุรกิจจากซาอุดีอาระเบียเข้ามาลงทุนในไทยเช่นเดียวกัน
4) การหารือกับประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท Saudi Basic Industries Corporation (SABIC) ซาอุดีอาระเบียประสงค์ให้ความช่วยเหลือไทยไม่ให้ขาดแคลนปุ๋ย ซึ่งบริษัท SABIC เป็นบริษัทผลิตปุ๋ยของซาอุดีอาระเบียยินดีช่วยเหลือในประเด็นดังกล่าว โดยรัฐบาลซาอุดีอาระเบียได้ให้โควตาบริษัท SABIC ส่งออกปุ๋ยมายังไทยเพิ่มขึ้น และอนุญาตให้บริษัท MA?ADEN (มาเดน) เจรจาขายปุ๋ยกับไทยด้วย

                    2. กิจกรรมส่งเสริมการค้าไทยกับซาอุดีอาระเบีย
                              2.1 กิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าไทย ณ Manuel Market สาขา Park Avenue         กรุงริยาด โดยภายในงานได้มีการจัดแสดงสินค้าไทย จำนวน 30 รายการ เช่น อาหารทะเลกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง และข้าว ซึ่งจะผลักดันให้ Manuel Market นำเข้าสินค้าไทยเพิ่มขึ้นจาก 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2564 เป็น 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2565
                              2.2 การลงนามความร่วมมือและการเจรจาธุรกิจระหว่างนักธุรกิจไทยกับนักธุรกิจซาอุดีอาระเบีย ดังนี้
                                        (1) การลงนามความตกลงจัดตั้งสภาธุรกิจไทย-ซาอุดีอาระเบียระหว่างคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน กับสภาหอการค้าซาอุดีอาระเบีย เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนให้เกิดมูลค่าการค้าระหว่างกัน 10,000 ล้านบาท ภายใน 1 ปี
                                        (2) การลงนามความร่วมมือระหว่างนักธุรกิจไทยกับนักธุรกิจซาอุดีอาระเบีย จำนวน 10 คู่ จากหลากหลายกลุ่มสินค้า เช่น อาหาร อาหารสัตว์เลี้ยง และชิ้นส่วนยานยนต์ ทำให้มีมูลค่ารวมกันประมาณ 1,000 ล้านบาท
                                        (3) การเจรจาธุรกิจระหว่างนักธุรกิจไทยและนักธุรกิจซาอุดีอาระเบียทำให้สร้างมูลค่าการสั่งซื้อทันทีประมาณ 440 ล้านบาท และมีมูลค่าการสั่งซื้อ ภายใน 1 ปี ประมาณ 2,070 ล้านบาท สำหรับสินค้าที่ได้รับความสนใจ เช่น อาหารกระป๋อง เครื่องดื่ม และข้าว
                              2.3 กิจกรรมอื่น ๆ ได้แก่ การมอบใบประกาศนียบัตรให้กับที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ด้านการค้าระหว่างประเทศประจำซาอุดีอาระเบีย และ พณ. ได้แต่งตั้งให้ ดร. ยูเซฟ อับดุลลาห์ อัลฮูมูดี เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ด้านการค้าระหว่างประเทศประจำซาอุดีอาระเบียเพื่อเป็นตัวแทนของไทยในการดูแลและปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของไทย
                    3. การสำรวจสินค้าไทยในซาอุดีอาระเบีย รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทวงพาณิชย์ ได้สำรวจสินค้าไทยใน Lulu Hypermarket ซึ่งเป็นไฮเปอร์มาร์เก็ตที่วางจำหน่ายสินค้าไทยมากที่สุดในซาอุดีอาระเบีย โดยสินค้าไทยส่วนใหญ่เป็นสินค้าอาหาร เช่น ข้าว ผัก และผลไม้ อีกทั้งได้หารือกับผู้อำนวยการของ Lulu Hypermarket เพื่อผลักดันให้มีการวางจำหน่ายสินค้าไทยเพิ่มขึ้นและร่วมมือกับฝ่ายไทยจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายระหว่างกันต่อไปในอนาคต

23.  เรื่อง การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะศึกษาด้านการบริหารและค้นคว้าทางภาษีอากรแห่งเอเชียแปซิฟิก (Study Group on Asia-Pacific Tax Administration and Research: SGATAR) ครั้งที่ 52
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้กรมสรรพากรเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะศึกษาด้านการบริหารและค้นคว้าทางภาษีอากรแห่งเอเชียแปซิฟิก [Study Group on Asia-Pacific Tax Administration and Research (SGATAR)] ครั้งที่ 52 ณ จังหวัดภูเก็ต (เดือนพฤศจิกายน 2566) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม SGATAR ประจำปี ครั้งที่ 52 และการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง สำนักงบประมาณเห็นชอบให้ใช้จ่ายภายในกรอบวงเงินงบประมาณ จำนวน 14,584,900 บาท โดยค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นขอให้ กค. โดยกรมสรรพากรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป โดยคำนึงถึงความประหยัดและประโยชน์สูงสุดของราชการเป็นสำคัญ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    การประชุมคณะศึกษาด้านการบริหารและค้นคว้าทางภาษีอากรแห่งเอเชียแปซิฟิก [Study Group on Asia Pacific Tax Administration and Research (SGATAR)] เป็นการประชุมหารือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางวิชาการ ประสบการณ์และแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านภาษีอากร เพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดเก็บภาษีของเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (ปัจจุบันมีสมาชิกที่เป็นหน่วยจัดเก็บภาษีของเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จำนวน 18 เขตเศรษฐกิจ และมีสมาชิกจำนวน 10 เขตเศรษฐกิจ หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม) โดยที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม SGATAR มาแล้วจำนวน 5 ครั้ง (ครั้งล่าสุดคือครั้งที่ 42 ในปี พ.ศ 2555 ณ จังหวัดเชียงใหม่) ซึ่งในการประชุม SGATAR ประจำปี ครั้งที่ 51 (มาเลเซียเป็นเจ้าภาพ) ระหว่างวันที่ 17 - 21 ตุลาคม 2565 กระทรวงการคลัง (กค.) โดยกรมสรรพากรได้รับมอบการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม SGATAR ประจำปี ครั้งที่ 52 โดยคาดว่าการประชุมดังกล่าวจะจัดขึ้น ณ จังหวัดภูเก็ต ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 เป็นระยะเวลา 5 วัน ซึ่งในการเป็นเจ้าภาพจัดประชุม SGATAR ประจำปี ครั้งที่ 52 จะทำให้ประเทศไทยสามารถนำกลยุทธ์การบริหารจัดเก็บภาษี ทิศทางและแนวโน้มในการจัดเก็บภาษี รวมถึงแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการปรับปรุงการบริหารจัดเก็บภาษีให้เป็นมาตรฐานสากล รวมทั้งเป็นโอกาสอันดีที่ไทยจะได้แสดงบทบาทผู้นำในการเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับภูมิภาคที่สำคัญอีกด้วย

24.  เรื่อง  ขอความเห็นชอบต่อการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (Convention on the International Maritime Organization : IMO Convention)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (Convention on the International Maritime Organization : IMO Convention) (อนุสัญญาฯ) รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำตราสารยอมรับการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาดังกล่าวตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. เรื่องนี้เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (Convention on the International Maritime Organization: IMO Convention) มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบทเกี่ยวกับองค์ประกอบ วาระการดำรงตำแหน่ง องค์ประชุมของคณะมนตรี และภาษาที่ใช้ในการจัดทำอนุสัญญาดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมสมัชชาองค์การทางทะเลระหว่างประเทศได้มีมติเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564 รับรองการแก้ไขเพิ่มติมอนุสัญญาดังกล่าวแล้ว โดยจะมีผลบังคับใช้ภายใน 12 เดือนกับสมาชิกทั้งหมด หลังจากที่สมาชิกขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ยอมรับการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาดังกล่าวด้วยการนำส่งตราสารยอมรับต่อเลขาธิการองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ โดยประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีอนุสัญญาฯ จะต้องส่งตราสารยอมรับการแก้ไขซึ่งเป็นการแสดงเจตนาให้การแก้ไขเพิ่มเติมมีผลผูกพันรัฐภาคีตามเนื้อหาที่แก้ไข
                    2. ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO) เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2561 (ค.ศ. 1973) ซึ่งเป็นทบวงการชำนัญพิเศษ1  (Specialized agency) แห่งสหประชาชาติ ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2502 (ค.ศ. 1959) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในการกำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล ตลอดจนเป็นกลไกเพื่อให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศสมาชิก ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 175 ประเทศ และสมาชิกสมทบ ได้แก่ หมู่เกาะฟาโร มาเก๊า และฮ่องกง มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
                    ทั้งนี้ ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา IMO ซึ่งเปรียบเสมือนอนุสัญญาที่กำหนดโครงสร้างและกรอบการทำงานของ IMO เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2561 โดยโครงสร้างการดำเนินงานของ IMO ประกอบด้วย  สมัชชา (Assembly)  คณะมนตรี (Council)  คณะกรรมการ และสำนักงานเลขาธิการ IMO
                    3. ในการประชุมคณะมนตรีสมัยวิสามัญ ครั้งที่ 33 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564 (ค.ศ. 2021) ได้มีการพิจารณาและรับรองร่างแก้ไขเพิ่มเติมข้อบทที่ 16, 17, 18, 19 (b) และ 81 ของอนุสัญญา IMO และร่างข้อมติสมัชชาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำตามความเห็นของที่ประชุม โดยร่างแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญา IMO มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          รายละเอียด
การแก้ไข          ข้อบท          ถ้อยคำตามร่างฉบับเดิม          ถ้อยคำตามร่างฉบับแก้ไข
16          คณะมนตรีประกอบไปด้วยทั้งหมด 40 ประเทศสมาชิกที่ได้รับเลือกโดยสมัชชา          คณะมนตรีประกอบไปด้วยทั้งหมด 52 ประเทศสมาชิกที่ได้รับเลือก
โดยสมัชชา
17          (a) ประเทศที่มีผลประโยชน์มากที่สุดในการให้บริการการขนส่งระหว่างประเทศ จำนวน 10 ประเทศ          (a) ประเทศที่มีผลประโยชน์มากที่สุดในการให้บริการการขนส่งระหว่างประเทศ จำนวน 12 ประเทศ
          (b) ประเทศที่มีผลประโยชน์ด้านการค้าทางทะเลระหว่างประเทศมากที่สุด จำนวน 10 ประเทศ          (b) ประเทศที่มีผลประโยชน์ด้านการค้าทางทะเลระหว่างประเทศมากที่สุด จำนวน 12 ประเทศ

          (c) ประเทศที่ไม่ได้รับเลือกตั้งภายใต้ข้อ (a) หรือ (b) ข้างต้น ซึ่งมีผลประโยชน์เป็นพิเศษในด้านการขนส่งทางทะเลหรือการเดินเรือและเป็นตัวแทนจากภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกในคณะมนตรี จำนวน 20 ประเทศ          (c) ประเทศที่ไม่ได้รับเลือกตั้งภายใต้ข้อ (a) หรือ (b) ข้างต้น ซึ่งมีผลประโยชน์เป็นพิเศษในด้านการขนส่งทางทะเลหรือการเดินเรือและเป็นตัวแทนจากภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกในคณะมนตรี จำนวน 28 ประเทศ

18          สมาชิกคณะมนตรีตามข้อบทที่ 16 จะดำรงตำแหน่งไปจนสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งปกติของสมัชชาโดยสมาชิกสามารถได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องได้          สมาชิกคณะมนตรีตามข้อบทที่ 16 จะดำรงตำแหน่งไปจนสิ้นสุดวาระตามวาระการดำรงตำแหน่งปกติของสมัชชา 2 วาระ ต่อเนื่องกันโดยสมาชิกสามารถได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องได้

19(b)          องค์ประชุมของคณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิกของคณะมนตรี จำนวน 26 ประเทศสมาชิก          องค์ประชุมของคณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิกของคณะมนตรี จำนวน 34 ประเทศสมาชิก

81          ภาษาที่ใช้ในการจัดทำอนุสัญญาฯ เป็นตัวบทภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และสเปน มีความถูกต้องเท่าเทียมกัน          เพิ่มเติมภาษาที่ใช้ในการจัดทำอนุสัญญาฯ เป็นตัวบทภาษาอาหรับ ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส
ภาษารัสเชีย และภาษาสเปน มีความถูกต้องเท่าเทียมกัน

การมีผลใช้บังคับ          ภายใน 12 เดือน หลังจากที่ภาคือนุสัญญาไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ยอมรับการแก้ไขด้วยการนำส่งตราสารรับรองต่อเลขาธิการ IMO เพื่อแสดงการยอมรับการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาฯ
ประโยชน์ที่ได้รับ
          - การเพิ่มจำนวนประเทศสมาชิกคณะมนตรี IMO โดยเฉพาะกลุ่ม C ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรี IMO มากขึ้น อันจะเป็นการขับเคลื่อนบทบาททางทะเลของไทยในเวทีระหว่างประเทศ
- การขยายเวลาการดำรงตำแหน่งของคณะมนตรีจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยโดยเป็นโอกาสในการขับเคลื่อนบทบาททางทะเลในเวทีระหว่างประเทศของไทยอย่างต่อเนื่องมากขึ้นในฐานะสมาชิกคณะมนตรีจากเดิมต้องดำเนินการทุก 2 ปี เป็นดำเนินการทุก 4 ปี ซึ่งจะเป็นการลดภาระงบประมาณที่ต้องใช้คราวละ 3 ล้านบาทโดยประมาณ ตลอดจนภาระงานและทรัพยากรบุคคลของฝ่ายไทยในการจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์หาเสียง
- การจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศเป็น 6 ภาษา จะเป็นโอกาสในการทำความเข้าใจอนุสัญญา IMO และการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกระบวนการการตัดสินใจและการพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ของ IMO มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นองค์การระหว่างประเทศของ IMO อีกด้วย
                    3. คณะผู้แทนไทย (คค. กรมเจ้าท่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย กต. และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน) ซึ่งเป็นสมาชิกคณะมนตรี IMO ในกลุ่ม C ได้เข้าร่วมการประชุมสมัชชาสมัยสามัญ ครั้งที่ 32 ระหว่างวันที่ 6 - 15 ธันวาคม 2564 (ค.ศ. 2021) โดยที่ประชุมดังกล่าวได้มีการพิจารณาการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญา IMO ในข้อบทที่ 16, 17,18, 19 (b) และ 81 ซึ่งคณะผู้แทนไทยไม่มีข้อขัดข้องเนื่องจากการแก้ไขดังกล่าวจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศไทยที่เป็นสมาชิกคณะมนตรีประเภท C และที่ประชุมได้รับรองการแก้ไขอนุสัญญา IMO ตามข้อมติสมัชชา IMO ที่ A. 1152 (32) โดยรับรองเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564 (ค.ศ. 2021)
                    4. คค. (กรมเจ้าท่า) ได้มีหนังสือถึง กต. เพื่อสอบถามความเห็นในการยอมรับการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาฯ ซึ่ง กต. (กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ) พิจารณาแล้วไม่มีข้อขัดข้องต่อสารัตถะและถ้อยคำโดยรวมของการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาฯ
1ทบวงการชำนัญพิเศษ หมายถึง องค์การปฏิบัติงานเฉพาะสาขา ได้รับการจัดตั้งโดยความตกลงระหว่างประเทศ และมีความสัมพันธ์กับสหประชาชาติตามความตกลงพิเศษ เช่น องค์การการบินเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การท่องเที่ยวโลก (UNWTO) และองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมแห่งสหประชาชาติ (NUESCO)

25. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-มองโกเลีย ครั้งที่ 1 รวมทั้งดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-มองโกเลีย               ครั้งที่ 1 รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 5 - 6 กันยายน 2565 พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุมฯ เพื่อให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับมองโกเลียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พณ. รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมองโกเลียได้เป็นประธานร่วมในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 5 - 6 กันยายน 2565 ณ กรุงอูลานบาตาร์ ประเทศมองโกเลีย สรุปได้ ดังนี้
                    1. สรุปผลการประชุมฯ
                              1.1 ภาพรวมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศไทยและมองโกเลียมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจาก 35.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2560 เป็น 53.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.60 ซึ่งทั้งสองประเทศได้ตั้งเป้าหมายการค้าระหว่างกันที่ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2570 โดยขณะนี้มองโกเลียดำเนินนโยบายการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งเสริมการส่งออกสินแร่และวัตถุดิบธรรมชาติ ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของมองโกเลีย และการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
                              1.2 การส่งเสริมการค้าและการลงทุน ไทยยินดีสนับสนุนและส่งเสริมให้มองโกเลียส่งออกสินค้ามายังไทยและได้เชิญชวนผู้ประกอบการมองโกเลียเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติที่ พณ. จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เช่น งาน THAIFEX-ANUGA Asia (สินค้าอาหาร) และงาน Bangkok Gems and Jewelry Fair (สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ) อีกทั้งได้เสนอให้มีการจัดกิจกรรมจับคู่นักลงทุนระหว่างไทยกับมองโกเลียในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพร่วมกัน นอกจากนี้ ไทยได้ขอให้มองโกเลียอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนที่เข้าไปดำเนินธุรกิจในมองโกเลียด้วย
                              1.3 การจัดทำความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ไทยขอให้มองโกเลียเร่งพิจารณาร่างความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมฯ กับมองโกเลียเพื่อส่งเสริมการลงทุนระหว่างกันเพิ่มขึ้น
                              1.4 การทบทวนอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ไทยขอให้มองโกเลียเร่งพิจารณาช่วงเวลาในการทบทวนร่างอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและสอดคล้องกับกฎระเบียบภายใต้ความตกลงที่ทั้งสองฝ่ายเป็นภาคีสมาชิก โดยทั้งสองฝ่ายพร้อมทบทวนร่างอนุสัญญาดังกล่าวในช่วงต้นปี 2566
                              1.5 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในการดำเนินความร่วมมือด้านต่าง ๆ ดังนี้
ด้าน          ความร่วมมือ
(1) เกษตร           มองโกเลียมีความประสงค์ ดังนี้
- ส่งออกสินค้าปศุสัตว์ เนื้อสัตว์ดิบ และผลิตภัณฑ์นมมายังไทย ซึ่งสินค้าดังกล่าวจัดอยู่ในสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 โดยมองโกเลียจะต้องส่งหนังสือให้กับกรมปศุสัตว์ของไทยพิจารณา
- จัดทำบันทึกความเข้าใจ (MoU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างไทยกับมองโกเลีย ซึ่งไทยยินดีสนับสนุนเนื่องจากเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญระหว่างกัน
(2) การท่องเที่ยว          ทั้งสองฝ่ายสนับสนุนและผลักดันการท่องเที่ยวระหว่างกัน โดยมองโกเลียต้องการให้ไทยไปท่องเที่ยวในมองโกเลียเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน - กันยายน  ส่วนมองโกเลียต้องการมาท่องเที่ยวในไทยช่วงเดือนตุลาคม - มีนาคม โดยเฉพาะการท่องเที่ยวทางทะเลและชายหาด
(3) การขนส่งและโลจิสติกส์          สายการบินมองโกเลียน แอร์ไลน์ได้ยื่นเอกสารขอเปิดเส้นทางการบินตรงระหว่างกรุงอูลานบาตาร์ - ภูเก็ตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งไทยอยู่ระหว่างพิจารณาและพร้อมให้การสนับสนุนเรื่องดังกล่าว รวมทั้งพร้อมที่จะส่งเสริมการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างกันผ่านเส้นทางดังกล่าวด้วย
(4) ความร่วมมือทางวิชาการ          ไทยยินดีให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนทางวิชาการแก่มองโกเลีย เช่น การจัดฝึกอบรมบุคลากรด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ด้านสาธารณสุข และด้านการเกษตร
                              1.6 ความร่วมมือด้านอื่น ๆ มองโกเลียเสนอให้ไทยจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงอูลานบาตาร์ เพื่อเป็นช่องทางส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งไทยแจ้งว่าอาจพิจารณาแต่งตั้งที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ด้านการค้าระหว่างประเทศของ พณ. ประจำกรุงอูลานบาตาร์
                    2. การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ไทยได้จัดกิจกรรมสร้างเครือข่ายธุรกิจระหว่างนักธุรกิจมองโกเลียกับภาครัฐและเอกชนไทย รวมถึงนักธุรกิจไทยที่ลงทุนในมองโกเลียเพื่อหารือเกี่ยวกับการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน อีกทั้งได้สำรวจและหารือกับผู้บริหารห้างค้าปลีก 2 แห่ง ซึ่งให้ความสนใจในการนำเข้าสินค้าไทยเพิ่มเติม เนื่องจากเห็นว่าสินค้าไทยมีศักยภาพและสัดส่วนการจำหน่ายสินค้าไทยในมองโกเลียยังมีจำนวนน้อย
                    3. การติดตามการดำเนินการตามผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          ผลการประชุม/ประเด็นที่ต้องติดตาม          หน่วยงานรับผิดชอบ
(1) ด้านการส่งเสริมการค้าและการลงทุน
     (1.1) การส่งเสริมการค้าและการลงทุน          เช่น
- เป้าหมายมูลค่าการค้าที่ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป้าหมายมูลค่าการลงทุนที่ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2570
- การส่งเสริมการค้าของทั้งสองฝ่ายและอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้า
- กิจกรรมจับคู่นักลงทุนระหว่างไทยกับมองโกเลีย ในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพร่วมกัน          - พณ.
- สำนักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.)
     (1.2) ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน          การจัดทำความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างไทยกับมองโกเลีย          กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
     (1.3) อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงภาษีรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้          การกำหนดช่วงเวลาและการติดตามการทบทวนร่างอนุสัญญาฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ระหว่างไทยกับมองโกเลีย          กระทรวงการคลัง
(2) ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
     (2.1) ด้านการเกษตร          - การอำนวยความสะดวกในการนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ (เนื้อสัตว์ดิบ หนังสัตว์ดิบ และผลิตภัณฑ์นม) และพืชตระกูลเบอร์รี่ของมองโกเลีย
- การจัดทำ MoU ว่าด้วยความร่วมมือด้านเกษตรระหว่างไทยกับมองโกเลีย          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)
     (2.2) ด้านการท่องเที่ยว          สนับสนุนและผลักดันการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับมองโกเลีย เช่น จัดกิจกรรมให้ผู้ประกอบการนำเที่ยวมองโกเลียเรียนรู้การท่องเที่ยวของไทย          กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
     (2.3) ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์          การอนุญาตเส้นทางการบินตรงระหว่างกรุงอูลานบาตาร์-ภูเก็ตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างไทย กับมองโกเลีย          กระทรวงคมนาคม (คค.)
     (2.4) ความร่วมมือทางวิชาการ          การพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดฝึกอบรมบุคลากรในด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ สาธารณสุข และการเกษตร          กต.
                    4. พณ. เห็นว่า มองโกเลียเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ถ่านหิน ทองแดง ทองคำ เงิน และแร่เหล็ก แต่ไม่มีทางออกทะเลและมีพื้นที่เกษตรกรรมเพียงร้อยละ 1 ของพื้นที่ทั้งหมด ทำให้มองโกเลียต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคและมีนโยบายเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งนี้                       การประชุมฯ จะช่วยกำหนดแนวทางในการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับมองโกเลีย รวมทั้งการดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพเพื่อให้มูลค่าการค้าสองฝ่ายขยายตัวได้ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการลงทุนขยายตัวได้ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2570

26. เรื่อง ผลการประชุมคณะทำงานด้านการขนส่งของเอเปค ครั้งที่ 52
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะทำงานด้านการขนส่งของเอเปค ครั้งที่ 52 รวมทั้งมอบหมายกระทรวงการต่างประเทศซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่ออำนวยความสะดวกและรื้อฟื้นการเดินทางข้ามพรมแดนในภูมิภาคอย่างปลอดภัยและไร้รอยต่อ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกับคณะทำงานด้านต่าง ๆ ของเอเปคอย่างต่อเนื่องตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คค. รายงานว่า คค. ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานด้านการขนส่งของเอเปค (APEC Transportation Working Group Meeting : TPTWG) ครั้งที่ 52 ระหว่างวันที่ 14 - 16 กันยายน 2565 ณ กรุงเทพมหานคร โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และมีผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วยผู้แทนจาก 18 เขตเศรษฐกิจ เช่น เครือรัฐออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สหพันธรัฐรัสเซีย สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีประธานคณะทำงาน TPTWG (Mr.Jason Hill) เป็นประธานการประชุมฯ ทั้งนี้ ได้มีการหารือเกี่ยวกับความคืบหน้าของแผนการดำเนินการด้านการขนส่งในสาขาต่าง ๆ การส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการเสริมสร้างความเชื่อมโยงและความร่วมมือระหว่างเขตเศรษฐกิจ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้กล่าวเปิดการประชุมฯ โดยกล่าวถึง เป้าหมายหลักของการประชุม คือ ?การขนส่งที่ไร้รอยต่อ อัจฉริยะ และยั่งยืน? ซึ่งสอดคล้องกับหัวข้อหลักของการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย ?เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล? เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุน และการฟื้นฟูความเชื่อมโยงด้านการเดินทางและการท่องเที่ยวในเขตเศรษฐกิจเอเปค โดยประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในทุกมิติและมีความพร้อมในการตอบสนองต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ ทั้งนี้ ไทยได้พัฒนาโครงการต่าง ๆ เพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพและมีการเชื่อมโยงไร้รอยต่อผ่านการขนส่งหลายรูปแบบ เช่น การพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง การพัฒนาท่าเรือบก การพัฒนาสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองคู่ขนานไปกับโครงข่ายรถไฟทางคู่ (MR-MAP) และโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย-อันดามัน
                    2. การประชุมเต็มคณะ
                              2.1 ที่ประชุมรับทราบรายงานผลการประชุมเฉพาะสำหรับการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญรายสาขา จำนวน 4 สาขา เมื่อวันที่ 12 - 21 เมษายน 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล และให้การรับรองหัวข้อนโยบายหลัก ปี 2565 ได้แก่ (1) การขนส่งทางอากาศ : อากาศยานไร้คนขับ-เส้นทางการบินสู่อนาคต (2) การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและระบบขนส่งอัจฉริยะ : การปรับปรุงการเข้าถึงและความครอบคลุมในการใช้เทคโนโลยีการขนส่งที่เกิดขึ้นใหม่ (3) การขนส่งทางบก : มุ่งสู่การขนส่งอัจฉริยะ ยืดหยุ่น และปล่อยมลพิษต่ำ/เป็นศูนย์ในภูมิภาคเอเปค และ (4) การขนส่งทางน้ำ : การสนับสนุนการบูรณาการเทคโนโลยีและการบริการทางทะเลที่เกิดขึ้นใหม่ อัจฉริยะ และยั่งยืน ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและเขตเศรษฐกิจเจ้าภาพ ได้กล่าวถึงภาพรวมของารประชุมฯ และประเด็นสำคัญที่ไทยต้องการผลักดัน โดยเห็นว่าการประชุมด้านการขนส่งของเอเปคเป็นเวทีสำคัญในการหารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 สาขา เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานทั้งในมิติบก น้ำ ราง และอากาศ และเสริมสร้างความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน โอกาสในการเติบโต และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในยุคหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยเน้นการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว และการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการขนส่งที่ยั่งยืนในภูมิภาค
                              2.2 ที่ประชุมรับรองแผนปฏิบัติการด้านยุทธศาสตร์ของ TPTWG ปี 2565 - 2568 ซึ่งเป็นการกำหนดกลยุทธ์เพื่อพัฒนาแผนงานประจำปีและกิจกรรมของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มสมาชิกภายใต้ TPTWG รวมถึงการนำเสนอโครงการของ TPTWG ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากเอเปคและเขตเศรษฐกิจเอเปค และการพัฒนาหัวข้อนโยบายหลักของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 สาขา ทั้งนี้ การดำเนินงานของ TPTWG จะนำไปสู่ระบบคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ไร้รอยต่อ มั่นคง ปลอดภัย และยั่งยืน เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 20401 และแผนปฏิบัติการเอาทีอารอ2 ในการสร้างภูมิภาคเอเปคที่เปิดกว้าง มีพลวัต ยืดหยุ่น และสงบสุข
                              2.3 ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและเขตเศรษฐกิจเจ้าภาพ กล่าวถึงผลการประชุมและการหารือเกี่ยวกับการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในกลุ่มสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค ได้แก่ การฟื้นตัวด้านการบินภายหลังการหยุดชะงักของการบินทั่วโลกที่ต้องตระหนักถึงการอยู่ร่วมกับโรคระบาด เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในภาคการบินเพื่อเป็นแนวทางและบทเรียนสำหรับวิกฤตในอนาคต และการให้ความสำคัญต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนสำหรับการขนส่งทางบก นอกจากนี้ ที่ประชุมได้แบ่งปันประสบการณ์และมุมมองในการแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความคิดริเริ่มในการสนับสนุนพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนในภาคการขนส่ง เช่น เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงสำหรับการบริการเดินเรือบนพื้นฐานของการใช้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน และการปรับปรุงการเชื่อมโยงการขนส่งผ่านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่เพื่อลดข้อจำกัดของการขนส่งหลายรูปแบบ ซึ่งสัมพันธ์กับการเติบโตทางเศรษฐกิจและห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และในอนาคต
                    3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้นำเสนอวีดิทัศน์โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย - อันดามัน ซึ่งจะเป็นเส้นทางเดินเรือใหม่ของโลกและเป็นจุดเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทางทะเลที่เป็นจุดถ่ายลำของภูมิภาค โดยสามารถเชื่อมโยงกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและรถไฟทางคู่ตามแผนบูรณาการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเชื่อมต่อแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ (MR-MAP) เพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเขตเศรษฐกิจในเอเปคอย่างไร้รอยต่อ
                    4. คค. มีความเห็น/ข้อสังเกตว่า เอเปคจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่ออำนวยความสะดวกและรื้อฟื้นการเดินทางข้ามพรมแดนในภูมิภาคอย่างปลอดภัยและไร้รอยต่อ (Safe Passage Taskforce : SPTF) เพื่อหารือแนวทางการส่งเสริมการเดินทางข้ามพรมแดนอย่างปลอดภัยและไร้รอยต่อทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยได้ร่วมกันติดตามความคืบหน้าของมาตรการการเดินทางข้ามแดนจากองค์การระหว่างประเทศ เช่น องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ องค์การอนามัยโลก และอาเซียน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านหลักฐานสำหรับการเดินทาง การส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยและยั่งยืน และการขยายขอบเขตการอำนวยความสะดวกในการเดินทางของนักธุรกิจ โดยเอเปคให้ความสำคัญต่อการสนับสนุนการเดินทางข้ามพรมแดนในภูมิภาคเอเปคอย่างปลอดภัยทั้งทางบก ทางอากาศ และทางทะเล ซึ่ง TPTWG ได้แสดงความพร้อมในการสนับสนุนภารกิจของ SPTF เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนั้น จึงเห็นควรแจ้งให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของ SPTF รับทราบและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
1 วิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 เป็นการกำหนดทิศทางความร่วมมือของเอเปคเพื่อนำไปสู่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่เปิดกว้าง มีพลวัต พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงและมีสันติภาพ ภายในปี ค.ศ. 2040
2 แผนปฏิบัติการเอาทีอารอ (Aotearoa Plan of Action) เป็นแผนการกำหนดทิศทางความร่วมมือของเอเปคภายใต้วิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040

27.  เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และแถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 29 ทั้งนี้กระทรวงการคลัง (กค.) ได้จัดทำวีดิทัศน์รายงานผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของการประชุม APEC FMM ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    1. ผลการประชุม APEC FMM ครั้งที่ 29
                    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานการประชุม APEC FMM ครั้งที่ 29 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้แทนจาก 21 เขตเศรษฐกิจ และผู้บริหารองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) กลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group: WBG) องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development: OECD) และหน่วยงานสนับสนุนนโยบายของเอเปค (APEC Policy Support Unit: APEC PSU) เพื่อร่วมหารือในประเด็นด้านเศรษฐกิจ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Finance) และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อมุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล (Digitalization for Digital Economy) ภายใต้แนวคิด ?ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล มุ่งสู่การเงินการคลังยั่งยืน? โดยมีการหารือที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              1.1 ผลการหารือประเด็นด้านเศรษฐกิจ ที่ประชุมได้หารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจ โดยผู้แทนจาก IMF ได้รายงานการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2565 ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี ซึ่งชะลอลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.0 ต่อปี และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2566 จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 ต่อปี ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ชะลอตัวลงจากปี 2565 ในส่วนของภาพรวมเศรษฐกิจของสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 ต่อปีที่ชะลอลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.9 ต่อปี และคาดการณ์ว่าในปี 2566 เศรษฐกิจของสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 เร่งขึ้นเล็กน้อยจากปี 2565 โดยเศรษฐกิจโลกยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์ความขัดแย้งที่ส่งผลต่อราคาพลังงานที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ผลการคาดการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับการวิเคราะห์ของ ADB และ APEC PSU นอกจากนี้ ADB ได้ให้ข้อเสนอแนะว่าความร่วมมือของภูมิภาคเอเปคในด้านการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการเงินจะช่วยส่งผลให้เศรษฐกิจของเอเปคสามารถฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพ
                              ในการนี้ ผู้แทนไทยได้นำเสนอสถานการณ์และทิศทางเศรษฐกิจไทยโดยคาดว่าในปี 2565 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 ? 3.5 ต่อปี เป็นการขยายตัวเร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อปี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัว การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และนโยบายการคลังในลักษณะที่มุ่งเป้า เพื่อบรรเทาผลกระทบจากราคาพลังงานและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น พร้อมทั้งรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมการลงทุนในระดับประเทศและระดับภูมิภาค
                              1.2 ผลการหารือในประเด็นการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ADB และ OECD ได้นำเสนอประสบการณ์ด้านการสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ องค์การระหว่างประเทศข้างต้นได้กล่าวถึงกลไกที่จะสามารถส่งเสริมให้แต่ละเขตเศรษฐกิจสามารถบรรลุสู่เป้าหมายดังกล่าวได้ เช่น การพิจารณาใช้กลไกของกองทุนสีเขียวของอาเซียน (ASEAN Catalytic Green Finance Facility: ACGF) เพื่อช่วยในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว การมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนสำหรับการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับการออกพันธบัตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่าง ๆ ได้แก่ พ้นธบัตรสีเขียว (Green bond) พันธบัตรเพื่อสังคม (Social bond) พันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability bond) พันธบัตรสีฟ้า (Blue bond) หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น นอกจากนี้ OECD ได้เน้นด้านการส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนและการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงการพัฒนาเครื่องมือและมาตรฐานที่สอดคล้องและดำเนินการร่วมกันได้
                              ในการนี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการสัมมนาเรื่อง Developing the Ecosystem for Sustainable Finance in the Capital Market เมื่อเดือนมิถุนายน 2565 ณ จังหวัดขอนแก่น และการจัดทำเอกสารข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเรื่องการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นระบบ เช่น การจัดทำนิยามด้านการเงินเพื่อความยั่งยืน การพัฒนาตลาดซื้อขายคาร์บอน การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในช่วงของการเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เป็นต้น
                              1.3 ผลการหารือในประเด็นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อมุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ประชุมได้รับทราบผลของการจัดทำรายงานเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลและนโยบายด้านภาษีในภูมิภาคเอเปค (Digitalization and Tax Policy in Asia and the Pacific) ของ ADB ซึ่งมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายด้านภาษี เช่น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ในการให้ความช่วยเหลือต่อกลุ่มเป้าหมายโดยตรง การเพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การอำนวยความสะดวกโดยการเชื่อมโยงข้อมูลบุคคลหรือธุรกิจเข้ากับเลขประจำตัว การนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์และคาดการณ์ผลต่าง ๆ เป็นต้น
                              ที่ประชุมยังได้รับทราบผลการสัมมนาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง Digital Technology for Efficient Tax Collection ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2565 โดยเป็นการหารือเกี่ยวกับการใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการบริหารจัดการด้านข้อมูลภาษี รวมถึงแนวทางปฏิบัติด้านภาษีที่เป็นสากลยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ได้มีการจัดทำเอกสารข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเรื่อง Digitalization of Fiscal Measures and Policy Innovations during the COVID-19 Pandemic ที่กล่าวถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินนโยบายช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านภาษี การเงิน การบริการของภาครัฐ การศึกษา และสาธารณสุข ทั้งนี้ เอกสารข้อเสนอดังกล่าว ได้ระบุถึงกรณีศึกษาของไทยในการดำเนินนโยบายผ่านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล อาทิ ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National E-Payment) การเพิ่มการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Capture: EDC) ระบบภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (Government e-Payment System)
                              นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการจัดทำเอกสารการพิจารณาเชิงนโยบายการเชื่อมโยงการชำระเงินและการโอนเงินข้ามพรมแดน (APEC Policy Considerations for Developing Cross-border Payments and Remittances) เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเขตเศรษฐกิจในเอเปคที่ต้องการเชื่อมโยงการโอนเงินและการชำระเงินระหว่างกัน ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถทำธุรกรรมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ด้วยต้นทุนที่ถูกลง รวมทั้งสนับสนุนการค้าและการท่องเที่ยวในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในช่วงหลังโควิด-19
                              1.4 ผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเซบู ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าของผลลัพธ์ภายใต้การประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อประสบการณ์และวิธีการสำหรับการลงทุนด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานของสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Experiences and Available Tools for Financing a Just Energy Transition) จากผู้แทนสหรัฐอเมริกา ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวทำให้ทราบถึงแนวทางในการจัดหาเงินทุนเพื่อการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Just Energy Transition) ซึ่งสมาชิกเขตเศรษฐกิจสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับรูปแบบของแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละเขตเศรษฐกิจในอนาคตต่อไป
                              1.5 เรื่องอื่น ๆ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศในฐานะประธานการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค (APEC Senior Officials? Meeting: SOM) ได้รายงานความคืบหน้าของกรอบการประชุม SOM เพื่อเตรียมการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ประจำปี 2565 ที่มีกำหนดจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2565 ภายใต้หัวข้อหลัก ?เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล (Open. Connect. Balance.) ซึ่งสอดคล้องตามแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy Model) โดยมีประเด็นสำคัญ ได้แก่ (1) การอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุน ซึ่งมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการจัดทำเขตการค้าเสรี-แปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific: FTAAP) (2) การฟื้นฟูความเชื่อมโยง โดยเฉพาะการเดินทางท่องเที่ยว และ (3) การส่งเสริมการเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม โดยมุ่งเน้นการสร้างสมดุลในด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพลังงานและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายทุกระดับ
                              นอกจากนี้ ผู้แทนสหรัฐอเมริกาได้ใช้โอกาสนี้ใน การขอบคุณกระทรวงการคลังไทยในการทำหน้าที่ประธานเอเปคในปีนี้ซึ่งสามารถสานต่อความร่วมมือภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค (APEC Finance Ministers? Process: APEC FMP) ได้อย่างต่อเนื่อง และสหรัฐอเมริกายินดีที่จะสานต่อประเด็นสำคัญของไทย โดยกรอบ APEC FMP ในปีหน้าจะให้ความสำคัญกับ (1) ปัญหาสภาพภูมิอากาศและการเงินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Climate and Sustainable Finance) (2) สินทรัพย์ดิจิทัลและเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Assets and Digital Economy) และ (3) เศรษฐศาสตร์อุปทานสมัยใหม่ (Modern Supply Side Economics)
                              1.6 ผลการพิจารณาแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่  29 (Joint Ministerial Statement of the 29th APEC Finance Ministers? Meeting) ที่ประชุมได้ร่วมพิจารณาร่างแถลงการณ์ร่วมฯ โดยสามารถบรรลุฉันทามติได้ในเนื้อหาส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมไม่สามารถบรรลุฉันทามติในบางประเด็น ในการนี้ จึงจำเป็นต้องออกแถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 29 (Chair?s Statement of the 29th APEC Finance Ministers? Meeting) (แถลงการณ์ประธานฯ) เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม APEC FMM ครั้งที่ 29 ซึ่งในช่วงระหว่างการประชุมได้มีการปรับปรุงแถลงการณ์ประธานฯ โดยมีบางถ้อยคำแตกต่างจากฉบับร่างที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2565 ทั้งนี้ ไม่กระทบสาระสำคัญ หรือขัดต่อผลประโยชน์ของไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนต์รีได้ให้ความเห็นชอบไว้ เช่น การเพิ่มข้อความเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ปุตราจายา 2040 (APEC Putrajaya Vision 2040) เป็นต้น
                    2. การประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
                              2.1 การประชุม APEC FMM อย่างไม่เป็นทางการ (APEC Finance Ministers? Retreat) เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจากสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคหรือผู้แทนได้หารือในประเด็นด้านเศรษฐกิจที่มีความสนใจร่วมกัน อาทิ ประเด็นสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันและแนวโน้มเศรษฐกิจ เช่น แรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ ภาวะตึงตัวของตลาดแรงงาน ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจากเขตเศรษฐกิจเอเปคได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้เจริญเติบโต พร้อมกับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและวินัยการเงินการคลัง
                              2.2 ผลการหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council) ที่ประชุมได้หารือถึงแนวทางในการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการให้บริการทางการเงินดิจิทัลที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนมากยิ่งขึ้น ใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การพัฒนาระบบข้อมูลเปิดที่เชื่อมโยงกัน (Inter-operable Open Data) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของตลาดดิจิทัลสำหรับสินเชื่อหมุนเวียน (Supply Chain Finance) เพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และ (3) การส่งเสริมการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางที่เชื่อมโยงกัน (Inter-Operable Central Bank Digital Currencies (CBDCs) เพื่อสนับสนุนให้มีสกุลเงินในรูปแบบดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับการทำธุรกรรมด้านการเงินและด้านธุรกิจ
                              2.3 ผลการหารือทวิภาคี
                              ในช่วงการประชุมดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้หารือทวิภาคีกับหัวหน้าคณะผู้แทนจากเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ และองค์การระหว่างประเทศ ดังนี้
                              (1) Mr. Wally Adeyemo รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกา หัวหน้าคณะผู้แทนสหรัฐอเมริกา โดยได้หารือถึงสถานการณ์เศรษฐกิจไทยและสหรัฐอเมริกา ข้อกังวลเกี่ยวกับราคาพลังงานที่ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ รวมถึงประเด็นการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนในการดำเนินนโยบายการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเปค
                              (2) Mr. Mathias Cormann เลขาธิการองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยได้หารือถึงประเด็นการแข่งขันอย่างเป็นธรรมของรัฐวิสาหกิจผ่านการปฏิรูปกฎระเบียบภายในประเทศตามแนวปฏิบัติว่าด้วยการกำกับดูแลกิจการรัฐวิสาหกิจของ OECD และรวมทั้งหารือเกี่ยวกับสถานะการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันการกัดกร่อนฐานภาษีและการโยกย้ายกำไรไปต่างประเทศ (Base Erosion and Profit Shifting: BEPS) ของไทย
                              (3) Mr. Christopher Hui Ching-yu, Secretary for Financial Services and the Treasury หัวหน้าคณะผู้แทนเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยได้หารือในประเด็นหลักเกี่ยวกับมุมมองเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเปค รวมถึงการสนับสนุนในด้านการเชื่อมโยงระบบการชำระเงิน และการดำเนินงานด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการระดมทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานผ่านพันธบัตรสีเขียว และตราสารทางการเงินเพื่อการพัฒนาอื่น ๆ รวมทั้ง เห็นพ้องร่วมกันในการพัฒนาความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังระหว่างกัน และยกระดับความร่วมมือดังกล่าวให้เข้มแข็งและสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้
                              (4) Mr. Suahasil Nazara รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังอินโดนีเซีย โดยได้แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งฝ่ายอินโดนีเซียได้ชี้แจงถึงประเด็นด้านการเงิน (ASEAN Finance Priorities) ที่ต้องการผลักดันในช่วงที่สาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพกรอบการประชุมอาเซียนในปี 2566 ได้แก่ 1) การฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุคหลังโควิด-19 2) เศรษฐกิจดิจิทัล และ (3) ความยั่งยืน

28. เรื่อง การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ สมัยที่ 14 (Ramsar COP 14)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำสมัยที่ 14 (Ramsar COP 14) ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส รวมทั้งให้การรับรองปฏิญญาอู่ฮั่น (ฉบับแก้ไข) (Wuhan Declaration (The revised version)) และมอบหมายหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้รับรองในการประชุมระดับสูง ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2565 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขท่าทีไทยฯ และปฏิญญาอู่ฮั่น (ฉบับแก้ไข) (Wuhan Declaration (The revised version)) ที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้เป็นดุลพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้พิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก พร้อมรับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการเข้าร่วมการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ สมัยที่ 14 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. ท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ สมัยที่ 14 มีสาระสำคัญ ดังนี้
                              (1) ท่าทีไทยสำหรับการประชุมระดับสูง
                                        ประเทศไทยมุ่งหวังให้เกิดการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่อยู่ในทะเบียนของอนุสัญญา พื้นที่ชุ่มน้ำ และพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วไป รวมทั้งลดภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ ประเทศไทยจึงขอแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการที่จะร่วมดำเนินการกับประชาคมโลก โดยให้การสนับสนุนและให้ความร่วมมือในการดำเนินการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาด ตามวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ และ Wuhan Declaration โดยไม่ขัดกับยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของรัฐบาล
                              (2) ท่าทีไทยระดับเจ้าหน้าที่ เช่น
                                        1) ประเทศไทยตระหนักว่าการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ฉบับที่ 4 (ค.ศ. 2016 - 2024) เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาด จึงเห็นควรให้การสนับสนุนการปรับปรุงแผนกลยุทธ์ฯ ฉบับที่ 4 ให้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) และกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลก หลังปี ค.ศ. 2020
                                        2) ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญต่อการเสริมสร้างความร่วมมือในการดำเนินงานตามอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ความตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงอนุสัญญาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                                        3) ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของการสื่อสาร การเสริมสร้างความรู้ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาด
                    2. Wuhan Declaration (The revised version) มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาดเป็นหลักการสำคัญที่สนับสนุนอนุสัญญาเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติ การแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐานหรือแนวทางการแก้ปัญหาโดยอาศัยระบบนิเวศเพื่อบรรเทาและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและเก็บกักคาร์บอน การตระหนักถึงความสำคัญของภาคประชาคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่ใช่หน่วยงานรัฐ รวมถึง สตรี เยาวชน และเด็ก ในการดำเนินการตามอนุสัญญา และเน้นว่าการลงมือปฏิบัติ พร้อมทั้งการร่วมมือแลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคนิคและการสร้างความตระหนักแก่สาธารณชน ของความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เป็นเรื่องสำคัญ เร่งด่วน เพื่อลดการสูญเสียของพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลก
                    3. องค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการเข้าร่วมประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 14 ระหว่างวันที่ 5 - 13 พฤศจิกายน 2565 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส และเมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบด้วย นายธีระชุณ บุญสิทธิ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทย ผู้แทนกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ และจังหวัดนครพนม รวมทั้งสิ้น                15 คน

29. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวกรอบ ACMECS ครั้งที่ 5
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวกรอบ ACMECS ครั้งที่ 5 ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงเอกสารดังกล่าว ในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. ราชอาณาจักรกัมพูชามีกำหนดเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสท่องเที่ยวกรอบ ACMECS ครั้งที่ 5 และการประชุมระดับรัฐมนตรีท่องเที่ยวกรอบ ACMECS ครั้งที่ 5 ระหว่าง วันที่ 2 - 3 พฤศจิกายน 2565 ณ จังหวัดเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีท่องเที่ยวกรอบ ACMECS ครั้งที่ 5 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565
                    2. สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวกรอบ ACMECS ครั้งที่ 5 ดังนี้
                              2.1 รัฐมนตรีท่องเที่ยวกรอบ ACMECS ได้หารือถึงการดำเนินงานตามปฏิญญาพนมเปญของการประชุมผู้นำกรอบ ACMECS ครั้งที่ 9 ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นเจ้าภาพ โดยตระหนักถึงความเชื่อมโยง ความอัจฉริยะ ความยั่งยืน และความยืดหยุ่น
                              2.2 รัฐมนตรีฯ ยินดีต่อการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของราชอาณาจักรกัมพูชาและการจัดงานการท่องเที่ยวอาเซียน ปี พ.ศ. 2565 (ASEAN Tourism Forum 2022 : ATF 2022) ซึ่งจะจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 - 22 มกราคม 2565 ณ จังหวัดพระสีหนุ ราชอาณาจักรกัมพูชา
                              2.3 รัฐมนตรีฯ ตระหนักถึงความสำคัญและสนับสนุนข้อริเริ่มในการจัดตั้งสำนักเลขาธิการด้านการท่องเที่ยวกรอบ ACMECS เพื่อให้สอดคล้องกับข้อริเริ่มในการจัดตั้งสำนักเลขาธิการกรอบ ACMECS ตามที่ระบุในปฏิญญาพนมเปญฯ โดยสำนักเลขาธิการด้านการท่องเที่ยวดังกล่าวจะเป็นหน่วยขับเคลื่อนกิจกรรมภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการท่องเที่ยว ACMECS อีกทั้ง รัฐมนตรีฯ สนับสนุนข้อริเริ่มของราชอาณาจักรกัมพูชาในการจัดทำเครื่องมือติดตามการท่องเที่ยวข้อง ACMECS (ACMECS Tourism Tracker) เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวใน ACMECS
                              2.4 รัฐมนตรีฯ รับทราบสถิตินักท่องเที่ยวขาเข้าที่เดินทางมาในประเทศสมาชิก ACMECS ในปี พ.ศ. 2563 - 2565
                              2.5 รัฐมนตรีฯ รับรองตราสัญลักษณ์การท่องเที่ยว ACMECS ซึ่งเป็นการส่งเสริมแนวคิด ?5 ประเทศ 1 จุดหมายปลายทาง (Five Countries, One Destination)? และรับทราบกิจกรรมการท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ
                              2.6 รัฐมนตรีฯ ยินดีต่อการดำเนินความร่วมมือเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ด้านการท่องเที่ยวและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
                              2.7 รัฐมนตรีฯ รับรองแผนปฏิบัติการด้านการท่องเที่ยว ACMECS ปี พ.ศ. 2566 - 2568 โดยมีกิจกรรม ได้แก่ การตลาดและการส่งเสริมการท่องเที่ยว การเชื่อมโยงสินค้าด้านการท่องเที่ยว การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการท่องเที่ยว การพัฒนาสินค้าการท่องเที่ยว การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยว และการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน อีกทั้งรัฐมนตรีฯ มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสจัดทำแพ็คเกจการท่องเที่ยวร่วมกันและการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยวที่หลากหลาย
                              2.8 รัฐมนตรีฯ ได้จัดลำดับความสำคัญของการส่งเสริมดิจิทัลสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคเพื่อส่งเสริมความยืดหยุ่น ความยั่งยืน คุณภาพ และการแข่งขัน ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลทางสังคม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว อีกทั้งรัฐมนตรีฯ ให้การสนับสนุนการยกระดับชุมชนท้องถิ่นโดยพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้มีความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวและการจัดงานไมซ์

แต่งตั้ง
30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                     (สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอแต่งตั้ง ร้อยตำรวจเอก              ไพรัตน์ เทศพานิช เลขานุการกรม สำนักงานเลขานุการกรม สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน                ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

31. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ จำนวน 9 คน ดังนี้
                     1. พลตรี เจียรนัย วงศ์สอาด           ประธานกรรมการ
                     2. นางพัชรี อาระยะกุล                     กรรมการ
                    3. นายรณชัย จิตรวิเศษ                     กรรมการ
                    4. นายจเรรัฐ ปิงคลาศัย                     กรรมการ
                    5. นายอัครพล ลีลาจินดามัย           กรรมการ
                    6. นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ          กรรมการ
                    7. นายชยงการ ภมรมาศ                    กรรมการ
                    8. พลเอก สุวิชา แก้วรุ่งเรือง           กรรมการ
                    9. นายอนุกูล ปีดแก้ว (ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) กรรมการ
                    10. นางศุกร์ศิริ บุญญเศรษฐ์ (ผู้แทนกระทรวงการคลัง) กรรมการ
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป

32. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้ง                นายสุรเดช อุทัยรัตน์ เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ แทนนายอภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล กรรมการ ที่ครบวาระการดำรงตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ โดยให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งไว้แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ