สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 พฤศจิกายน 2565

ข่าวการเมือง Tuesday November 29, 2022 17:56 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (29 พฤศจิกายน 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ  ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการฟื้นฟูสภาพทาง                                                  สังคม พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าบริการตรวจสอบหรือรับรองสำหรับผู้ตรวจสอบ                                        เอกชน พ.ศ. ....
                    3.           เรื่อง           ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ ..)                                         พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง            ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี กองบัญชาการ                                        ตำรวจนครบาล พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม
                    6.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน
                    7.           เรื่อง           ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการวางแผนในอนาคต

พ.ศ. 2565

                    8.           เรื่อง           การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
                    9.           เรื่อง           การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 6 จังหวัด
                     10.           เรื่อง           การเสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลระดับนานาชาติรายการ                                                   Thailand by UTMB
                    11.           เรื่อง           แผนการใช้จ่ายเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ปีงบประมาณ 2566                                                   (แผนปฏิบัติการประจำปี 2566)
                    12.           เรื่อง           สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและ                                        ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5/2565
                    13.          เรื่อง           รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจ                                                  กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่                                        ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และ                                        มาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา                                                  เศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม                                         พ.ศ. 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                    14.           เรื่อง           โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย                                         จำกัด (มหาชน)
                    15.           เรื่อง           รายงานผลการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดี ประจำปีงบประมาณ                                         พ.ศ. 2565 ไตรมาสที่ 4 ของกรมบังคับคดี
                    16.           เรื่อง          รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกันยายน 2565
                    17.          เรื่อง           ร่าง แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2

(พ.ศ. 2566 ? 2570)

                     18.           เรื่อง           การจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ และมอบหมายผู้มีอำนาจกำกับแผนงาน                                        บูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    19.           เรื่อง           สรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 1/2565
                    20.           เรื่อง           (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2

(พ.ศ. 2566 - 2570)

                    21.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบในหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบ                                                  อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี                                                  งบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือ                                                  จำเป็น เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565
                    22.           เรื่อง          ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราช                                                  กำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 30/2565

ต่างประเทศ
23.           เรื่อง           สรุปผลการประชุมสหประชาชาติด้านมหาสมุทร ค.ศ. 2022 (2022 United                               Nations Ocean Conference)
24.            เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 28
25.            เรื่อง           ผลการประชุม Mekong-Korea International Water Forum ครั้งที่ 1                               ณ  สาธารณรัฐเกาหลี
26.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่ง                              ราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการ                              ท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ด้านระบบราง
27.            เรื่อง            การรับรองปฏิญญา Fez ของการประชุม Global Forum of the United                               Nations Alliance of Civilizations (UNAOC) ครั้งที่ 9
28.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบการจัดการเอกสาร Flag State Notification
29.            เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ประเทศไทย และ                              กระทรวงสาธารณสุขและการดูแลทางสังคม แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่                              และไอร์แลนด์เหนือ ว่าด้วยความร่วมมือด้านจีโนมิกส์
30.            เรื่อง            ผลการดำเนินความร่วมมือด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศของกระทรวงกลาโหม

แต่งตั้ง
                    31.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงสาธารณสุข)
                    32.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
                    33.           เรื่อง          แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบัน                                                  รับรองคุณภาพสถานพยาบาล
                    34.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง                                                             กระทรวงมหาดไทย
                    35.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)
                    36.           เรื่อง           แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงการพัฒนา                                        สังคมและความมั่นคงของมนุษย์)

?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการฟื้นฟูสภาพทางสังคม พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขใน               การฟื้นฟูสภาพทางสังคม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงแรงงานและกระทรวงศึกษาธิการไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการฟื้นฟูสภาพทางสังคม เพื่อให้การสนับสนุน ช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้ติดยาเสพติดหรือผู้เข้ารับ             การบำบัดรักษา รวมทั้งการติดตาม ดูแล เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดรักษาได้รับการฟื้นฟูสภาพทางสังคม โดยได้รับบริการด้านสวัสดิการสังคม การสังคมสงเคราะห์ที่จำเป็นและเหมาะสม รวมทั้งช่วยเหลือสนับสนุนให้มีที่อยู่อาศัยเป็นการชั่วคราว เพื่อให้บุคคลดังกล่าวสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้โดยไม่กลับมากระทำความผิดเกี่ยวกับ           ยาเสพติดอีก โดยกำหนดให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและ              ความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และกรุงเทพมหานคร ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือการดำเนินงานของศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมในจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ซึ่งการดำเนินการเสนอร่างกฎกระทรวงฉบับนี้เพื่อให้มีผลใช้บังคับแทนประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 108/2557 เรื่อง การปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดเพื่อเข้าสู่การบำบัดฟื้นฟูและการดูแลผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟู ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 และคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดเห็นชอบด้วยแล้ว ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นด้วยแล้ว

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                    1. เหตุผลในการออกร่างกฎกระทรวงเพื่อเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขใน             การฟื้นฟูสภาพทางสังคม เพื่อให้การสนับสนุนช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้ติดยาเสพติดหรือผู้เข้ารับการบำบัดรักษา รวมทั้งการติดตาม ดูแล เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดรักษาได้รับการฟื้นฟูสภาพทางสังคม โดยได้รับบริการด้านสวัสดิการสังคม การสังคมสงเคราะห์ที่จำเป็นและเหมาะสม รวมทั้งช่วยเหลือสนับสนุนให้มีที่อยู่อาศัยเป็นการชั่วคราว เพื่อให้บุคคลดังกล่าวสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้โดยไม่กลับมากระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอีก
                    2. กำหนดบทนิยาม คำว่า ?ศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม? หมายความว่า สถานที่ทำการฟื้นฟูสภาพทางสังคมแก่ผู้ติดยาเสพติดหรือผู้ผ่านการบำบัดรักษา ?การฟื้นฟูสภาพทางสังคม? หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันเป็นการสงเคราะห์สนับสนุนให้ผู้ติดยาเสพติดหรือผู้ผ่านการบำบัดรักษาได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านที่อยู่อาศัย การศึกษา อาชีพ ตลอดจนการติดตามดูแลช่วยเหลือจนสามารถกลับมาดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข และ ?การสนับสนุนช่วยเหลือและสงเคราะห์? หมายความว่า การสนับสนุนช่วยเหลือและสงเคราะห์แก่ผู้ติดยาเสพติดหรือผู้ผ่านการบำบัดรักษา โดยให้คำแนะนำ ปรึกษา ให้ความช่วยเหลือด้านสวัสดิการสังคม ด้านอาชีพ การศึกษา   เงินสงเคราะห์ และการสงเคราะห์อื่น ๆ ที่จำเป็น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้นายจ้างหรือสถานประกอบการรับ        ผู้ติดยาเสพติดหรือผู้ผ่านการบำบัดรักษาเข้าทำงาน และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมใน                 การบำบัดรักษาและติดตาม ดูแล และช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดหรือผู้ผ่านการบำบัดรักษา
                    3. กำหนดให้ส่วนราชการต่อไปนี้ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือการดำเนินงานของศูนย์ฟื้นฟู                สภาพทางสังคม ได้แก่
                              3.1 มท. มีส่วนราชการในสังกัดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงดำเนินการวางแนวทางปฏิบัติ ประสาน บูรณาการ สนับสนุนการบริหารจัดการของผู้ว่าราชการจังหวัด กรมการปกครอง มีบทบาทหน้าที่ในการอำนวยการและบูรณาการการทำงานของหน่วยงานภาคีในพื้นที่ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น                  วางแนวดำเนินงานแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมในระดับท้องถิ่น และกรมการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ติดยาเสพติดและผู้ผ่านการบำบัดรักษาน้อมนำ             หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต รวมทั้งการส่งเสริมและพัฒนาด้านอาชีพ                 ตามความเหมาะสมหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่ปลัดกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย

3.2 กทม. มีส่วนราชการในสังกัดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักอนามัย สำนักการแพทย์ บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดและจัดทำข้อมูลประกอบการพิจารณา การสนับสนุน ช่วยเหลือ สงเคราะห์ สำนักพัฒนาสังคม ดำเนินการอบรม พัฒนา และมอบให้ชุมชนมีบทบาทในการติดตาม ช่วยเหลือผู้ติดยา และผู้ผ่านการบำบัด สำนักการศึกษา ประสาน สนับสนุนการศึกษาเล่าเรียน และสำนักงานเขต ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมตามที่ได้รับมอบหมายหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่ผู้ว่าราชการ กทม. มอบหมาย

                              3.3 พม. มีส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สนับสนุน ช่วยเหลือ และสงเคราะห์สวัสดิการสังคม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สงเคราะห์สวัสดิการสังคม และสงเคราะห์ต่าง ๆ รวมทั้งบ้านที่อยู่อาศัยเป็นการชั่วคราว กรมกิจการเด็กและเยาวชน สนับสนุน ช่วยเหลือ สงเคราะห์แก่เด็กและเยาวชนที่         ติดยาและเด็กและเยาวชนที่ผ่านการบำบัดรักษา และกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว สนับสนุน ช่วยเหลือ สงเคราะห์สตรีที่ติดยาเสพติดและสตรีผ่านการบำบัดรักษา หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มอบหมาย
                              3.4 รง. ดำเนินการสนับสนุน ช่วยเหลือ พัฒนาผีมือแรงงาน หาอาชีพที่เหมาะสมใน              สถานประกอบการต่าง ๆ แก่ผู้ติดยาเสพติดและผู้ผ่านการบำบัดรักษา โดยให้หน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการจัดหางาน ดำเนินการจัดหางานที่เหมาะสมในสถานประกอบการต่าง ๆ และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สนับสนุน การฝึกอบรม พัฒนาฝีมือแรงงานในด้านต่าง ๆ
                              3.5 ศธ. ดำเนินการสนับสนุน ส่งเสริมในด้านการศึกษาต่าง ๆ โดยมีหน่วยงานในสังกัด                 ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการจัดหาสถานศึกษาที่เหมาะสม กรมการศึกษานอกโรงเรียน สนับสนุน ส่งเสริมการศึกษานอกระบบโรงเรียน และฝึกฝนอาชีพ และสำนักงานการอาชีวศึกษา สนับสนุนการฝึกอบรมด้านทักษะอาชีพ หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่ปลัดกระทรวงมอบหมาย
                              3.6 สธ. ดำเนินการประสานงาน บริหารจัดการ สนับสนุน ติดตาม ช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดและผู้ผ่านการบำบัดรักษา โดยมีหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มอบหมายให้เขตบริการสุขภาพสาธารณสุขจังหวัดและสาธารณสุขอำเภอประสานดำเนินการและสนับสนุน                 การบำบัดรักษาการติดตามหลังการบำบัดรักษา และการฟื้นฟูสภาพทางสังคม กรมการแพทย์ พัฒนาระบบ กระบวนการและวิธีการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดการติดตามหลังการบำบัดรักษา การฟื้นฟูสภาพทางสังคม                  กรมสุขภาพจิต พัฒนาระบบ กระบวนการ และวิธีการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สนับสนุนและมอบหมายให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในด้านติดตามช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดและ                  ผู้ผ่านการบัดรักษาในชุมชนและสังคม หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่ปลัดกระทรวงมอบหมาย

3.7 สำนักงาน ป.ป.ส. ดำเนินการประสานนโยบายและส่งเสริมการดำเนินงานในการฟื้นฟูสภาพทางสังคม

                    4. กำหนดคุณสมบัติผู้ขอรับการสนับสนุนช่วยเหลือและสงเคราะห์ อาทิ เป็นผู้ให้ความร่วมมือ                 ให้ถ้อยคำต่อเจ้าหน้าที่ศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมมีบุคคลรับรอง และยินยอมให้ติดตามผล ได้รับการส่งต่อจากสถานพยาบาลยาเสพติดหรือสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด รวมทั้งคุณสมบัติอื่น ๆ ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมระดับต่าง ๆ เห็นสมควร และสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสงัคมแต่ละระดับกำหนด

5. กำหนดให้ศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมในจังหวัดและ กทม. ดำเนินงานการบริหารจัดการ และบทบาทความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการรับคำร้องวิเคราะห์ประสานข้อมูลการสนับสนุนช่วยเหลือและสงเคราะห์ให้กับผู้เข้ารับการบำบัดรักษา การให้บริการและประสานการเข้าถึงช่วยเหลือและสงเคราะห์ การติดตามหลังการบำบัดฟื้นฟู การแก้ไขปัญหาและประเมินผล เพื่อให้การฟื้นฟูสภาพทางสังคมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการรายงานผลการฟื้นฟูไปยังสำนักงานคณะทำงานอำนวยการฟื้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัดหรือ กทม.

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าบริการตรวจสอบหรือรับรองสำหรับผู้ตรวจสอบเอกชน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าบริการตรวจสอบหรือรับรองสำหรับ              ผู้ตรวจสอบเอกชน พ.ศ. .... ของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงอุตสาหกรรม                 รับความเห็นของกระทรวงการคลังไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ สคก. เสนอว่า ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าบริการตรวจสอบหรือรับรองสำหรับผู้ตรวจสอบเอกชน พ.ศ. .... ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้ว โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดรายละเอียดของอัตราค่าบริการตรวจสอบหรือรับรอง ซึ่งพิจารณากำหนดให้มีหลายอัตรา และพิจารณาตามประเภท ชนิด และขนาดของโรงงาน (ตามพระราชบัญญัติโรงงานฯ ได้กำหนดประเภทของโรงงานไว้ 3 ประเภท ดังนี้ 1) โรงงานจำพวกที่ 1 ได้แก่ โรงงานที่สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทันทีตามความประสงค์ของผู้ประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ต้องขออนุญาต เนื่องจากเป็นโรงงานที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อมไม่รุนแรง เช่น โรงงานฟักไข่โดยใช้ตู้อบ โรงงานซ่อมนาฬิกา หรือเครื่องวัดเวลา เป็นต้น 2) โรงงานจำพวกที่ 2 ได้แก่ โรงงานที่จะประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน เนื่องจากเป็นโรงงานที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม เช่น โรงงานผลิตภัณฑ์เครื่องกระเบื้องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา ที่ใช้เครื่องจักรไม่เกิน 75 แรงม้า และคนงานไม่เกิน 75 คน และ 3) โรงงานจำพวกที่ 3 ได้แก่ โรงงานที่การตั้งโรงงานจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อน               จึงจะดำเนินการได้ เนื่องจากเป็นโรงงานที่มีการใช้เครื่องจักรหรือคนงานมากกว่าโรงงานจำพวกที่ 2 หรือส่งผลกระทบต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง เช่น โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับซีเมนต์ ปูนขาว หรือปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น ทั้งนี้ โรงงานทุกประเภทต้องมีการตรวจสอบหรือรับรองโรงงานหรือเครื่องจักร)
ประเด็น          ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ อก. เสนอ          ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ สคก. ตรวจฯ
อัตราค่าบริการ ตรวจสอบ/รับรอง สำหรับผู้ตรวจสอบเอกชน          - ผู้ตรวจสอบเอกชนที่ดำเนินการตรวจสอบหรือรับรองตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติโรงงานฯ ได้รับค่าบริการตรวจสอบหรือรับรองจากผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มอบหมายให้มีการตรวจสอบหรือรับรอง โดยให้คิดเป็นเงินในอัตราวันละไม่น้อยกว่า 5,000 บาท แต่ไม่เกิน 20,000 บาท ต่อคนตรวจสอบหรือรับรอง 1 คน ทั้งนี้ เศษของวันหากไม่เกิน 4 ชั่วโมง ให้คิดเป็นเงินกึ่งหนึ่งของอัตราข้างต้น          - ค่าบริการตรวจสอบหรือรับรองสำหรับ            ผู้ตรวจสอบเอกชนให้เป็นไปตามที่                  ผู้ ตรวจสอบเอกชนและผู้ประกอบกิจการโรงงานจะตกลงกันตามอัตราที่กำหนดไว้ สำหรับการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักร และการรับรองรายงานผลการปฏิบัติการของผู้ประกอบกิจการโรงงาน              มีอัตราค่าบริการ ดังนี้
   1) โรงงานที่ใช้เครื่องจักรไม่เกิน                 75 แรงม้า หรือกำลังเทียบเท่าไม่เกิน               75 แรงม้า หรือโรงงานที่ใช้คนงานไม่เกิน 75 คนโดยไม่ใช้เครื่องจักร ได้รับอัตราค่าบริการตั้งแต่ 5,000 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
   2) โรงงานที่ใช้เครื่องจักรตั้งแต่                  75 แรงม้า หรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่               75 แรงม้า หรือโรงงานที่ใช้คนงานตั้งแต่ 75 คน โดยไม่ใช้เครื่องจักร ได้รับอัตราค่าบริการตั้งแต่ 5,000 บาท แต่ไม่เกิน 20,000 บาท
- ค่าบริการดังกล่าวให้คิดเป็นเงินในอัตรารายวันต่อคนตรวจสอบหรือรับรอง 1 คน ทั้งนี้ เศษของวันหากไม่เกิน 4 ชั่วโมง                  ให้คิดเป็นเงินกึ่งหนึ่งของอัตราที่ตกลงกันข้างต้น
                    อก. (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) ได้พิจารณายืนยันให้ความเห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติม              ร่างกฎกระทรวงตามข้อ 1 ดังกล่าวที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว และให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

1. กำหนดค่าบริการตรวจสอบหรือรับรองสำหรับผู้ตรวจสอบเอกชนให้เป็นไปตามที่ผู้ตรวจสอบเอกชนและผู้ประกอบกิจการโรงงานจะตกลงกันตามอัตราที่กำหนดไว้ สำหรับการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรและการรับรองรายงานผลการปฏิบัติการของผู้ประกอบกิจการโรงงาน มีอัตราค่าบริการ ดังนี้

                              1.1 โรงงานที่ใช้เครื่องจักรไม่เกิน 75 แรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าไม่เกิน 75 แรงม้า หรือโรงงานที่ใช้คนงานไม่เกิน 75 คน โดยไม่ใช้เครื่องจักร ได้รับอัตราค่าบริการตั้งแต่ 5,000 บาท แต่ไม่เกิน                  10,000 บาท (โรงงานจำพวกที่ 1 และ ที่ 2 ตามพระราชบัญญัติโรงงานฯ ประกอบกับกฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดโรงงาน พ.ศ. 2563)
                              1.2 โรงงานที่ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 75 แรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 75 แรงม้า หรือโรงงานที่ใช้คนงานตั้งแต่ 75 คน โดยไม่ใช้เครื่องจักร ได้รับอัตราค่าบริการตั้งแต่ 5,000 บาท แต่ไม่เกิน                 20,000 บาท (โรงงานจำพวกที่ 3 ตามพระราชบัญญัติโรงงานฯ ประกอบกับกฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดโรงงาน พ.ศ. 2563)

2. ค่าบริการดังกล่าวให้คิดเป็นเงินในอัตรารายวันต่อคนตรวจสอบหรือรับรอง 1 คน ทั้งนี้ เศษของวันหากไม่เกิน 4 ชั่วโมง ให้คิดเป็นเงินกึ่งหนึ่งของอัตราที่ตกลงกัน ตามข้อ 1.1 หรือ 1.2

3. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้

ทั้งนี้ สปน. เสนอว่า

                    1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ได้บัญญัติให้มีการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ โดยให้ดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศเป็นไปตามพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 มาตรา 6 ซึ่งบัญญัติให้การจัดทำแผนปฏิรูปประเทศแต่ละด้านต้องสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการปฏิรูปประเทศเพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์และให้การจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ จึงได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง            การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) โดยกำหนดให้มีการแก้ไขปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2544 โดยให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2565 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
                    2. ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของแผนการปฏิรูปประเทศตามข้อ 1 และสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สปน. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ จึงได้               ยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และเสนอ             ต่อคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว ในการประชุม             ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 โดยคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาร่างระเบียบฯ ดังกล่าวแล้ว และมีมติเห็นชอบ และให้ดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

สาระสำคัญของร่างระเบียบ

                    แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2544 และ             ที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยาม องค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจ ของ กคร. และ กคร. จังหวัด                 การรายงานการเงินของการเรี่ยไรผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและบทเฉพาะกาล สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
ประเด็น          ระเบียบฯ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม          ร่างระเบียบฯ ที่ สปน. เสนอ
1. แก้ไขบทนิยาม          - ?เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไร? หมายความว่า เข้าไปช่วยเหลือโดยมีส่วนร่วมในการจัดให้มีการเรี่ยไรในฐานะเป็นผู้ร่วมจัดให้มีการเรี่ยไร หรือเป็นประธานกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงานที่ปรึกษาหรือในฐานะอื่นใดในการเรี่ยไรนั้น










- ?หน่วยงานของรัฐ? หมายความว่า ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่อยู่ในกำกับดูแลของรัฐทุกระดับ ทั้งในราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ








- ?เจ้าหน้าที่ของรัฐ? หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ          - ?เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไร? หมายความว่า เข้าไปช่วยเหลือโดยมีส่วนร่วมในการจัดให้มีการเรี่ยไรในฐานะเป็นผู้ร่วมจัดให้มีการเรี่ยไร ผู้สนับสนุน หรือเป็นกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ที่ปรึกษา หรือในฐานะอื่นใดในการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐที่ขออนุมัติจัดให้มีการเรี่ยไรหรือหน่วยงานหรือองค์กรอื่นใดที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการเรี่ยไรนั้น (เพิ่มการเป็นผู้สนับสนุน หรือเป็นกรรมการ ของหน่วยงานของรัฐที่ขออนุมัติจัดให้มีการเรี่ยไรนั้น หรือหน่วยงาน หรือองค์กรอื่นใดที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการเรี่ยไรนั้น เพื่อให้เกิดความครอบคลุมชัดเจนยิ่งขึ้น)
- ?หน่วยงานของรัฐ? หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานที่อยู่ในกำกับดูแลของฝ่ายบริหาร ทั้งในราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น (เพื่อให้ครอบคลุมหน่วยงานของรัฐทุกประเภท ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมติคณะรัฐมนตรี (20 ตุลาคม 2552) เรื่อง การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร)
- ?เจ้าหน้าที่ของรัฐ? หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานของรัฐ (เพื่อให้ครอบคลุมเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรประเภทต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ)
2. แก้ไของค์ประกอบของ กคร.          - ข้อ 8 ให้มีคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ เรียกโดยย่อว่า ?กคร.? ประกอบด้วยรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินสี่คนเป็นกรรมการ และผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและเลขานุการ
   กคร. จะแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรีจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้          - ข้อ 8 ให้มีคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ เรียกโดยย่อว่า ?กคร.? ประกอบด้วยรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินสี่คนเป็นกรรมการและผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและเลขานุการ
กคร. จะแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจำนวนไม่เกินสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้ (เพิ่มผู้แทนจาก กก. และ วธ. เข้าร่วมเป็นกรรมการ เพื่อจะได้นำข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานมาประกอบการพิจารณาอนุมัติของ กคร. ให้มีความละเอียดรอบคอบยิ่งขึ้น)
3. แก้ไขหน้าที่และอำนาจของ กคร.          - ข้อ 12 กคร. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการแก้ไขปรับปรุงระเบียบนี้
(2) พิจารณาอนุมัติให้หน่วยงานของรัฐที่ประสงค์จะทำการเรี่ยไรหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไรในเขตกรุงเทพมหานครหรือในเขตท้องที่เกินหนึ่งจังหวัด จัดให้มีการเรี่ยไรหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
   (3) ตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับ               การปฏิบัติตามระเบียบนี้
(4) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการ   ยื่นคำขออนุมัติให้จัดให้มีการเรี่ยไร หรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไรตามระเบียบนี้
(5) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการกับสิ่งของที่หน่วยงานของรัฐได้รับมาจากการเรี่ยไรโดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้
(6) ให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติตามระเบียบนี้
(7) มอบหมายให้ กคร. จังหวัด ปฏิบัติการอื่นใดตามที่เห็นสมควร
(8) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ระเบียบนี้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กคร. หรือตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
   เมื่อ กคร. ได้พิจารณาอนุมัติตาม (2) แล้ว ให้แจ้งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบด้วย          - ข้อ 12 กคร. มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการแก้ไขปรับปรุงระเบียบนี้
(2) พิจารณาอนุมัติให้หน่วยงานของรัฐที่ประสงค์จะทำการเรี่ยไร หรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไรในเขตกรุงเทพมหานครหรือในเขตท้องที่เกินหนึ่งจังหวัด จัดให้มีการเรี่ยไรหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
(3) ระงับการเรี่ยไรที่ไม่ได้รับอนุมัติตามระเบียบนี้ หรือเพิกถอนการอนุมัติที่อยู่ระหว่างการเรี่ยไรในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้
   (4) ตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับ           การปฏิบัติตามระเบียบนี้
   (5) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการ             ยื่นคำขออนุมัติให้จัดให้มีการเรี่ยไร หรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไรตามระเบียบนี้
(6) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการกับเงินหรือทรัพย์สินที่หน่วยงานของรัฐได้รับมาจากการเรี่ยไรโดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้
(7) ให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติตามระเบียบนี้
(8) มอบหมายให้ กคร. จังหวัด ปฏิบัติการอื่นใดตามที่เห็นสมควร
(9) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ระเบียบนี้กำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของ กคร. หรือตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
   เมื่อ กคร. ได้พิจารณาอนุมัติตาม (2) แล้ว ให้แจ้งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบด้วย (แก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำ จากเดิม ?อำนาจหน้าที่? เป็น ?หน้าที่และอำนาจ? และ ?สิ่งของ? เป็น ?เงินหรือทรัพย์สิน? และเพิ่มหน้าที่และอำนาจของ กคร. ในการระงับการเรี่ยไรที่ไม่ได้รับอนุมัติตามระเบียบนี้ เช่น การเรี่ยไรโดยไม่ได้ยื่นคำขออนุมัติตามที่ กคร. กำหนดผ่านทางสื่อออนไลน์เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยมีวัตถุประสงค์อื่น หรือเพิกถอนการอนุมัติที่อยู่ระหว่างการเรี่ยไรในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติตาม                ระเบียบนี้)
4. แก้ไของค์ประกอบของ กคร. จังหวัด          - ข้อ 15 ให้มีคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรจังหวัดในทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า ?กคร. จังหวัด? โดยออกนามจังหวัดนั้น ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายหนึ่งคน ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัด ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งหนึ่งคน หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศึกษาธิการจังหวัด สรรพากรจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด นายกเทศมนตรีนครหรือนายกเทศมนตรีเมืองที่เป็นที่ตั้งจังหวัด ผู้แทนหอการค้าจังหวัด ผู้แทนสมาคมหรือชมรมธนาคารพาณิชย์จังหวัด ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัด บุคคลอื่นซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งอีกไม่เกินสามคนเป็นกรรมการ และหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งหนึ่งคนเป็นกรรมการและเลขานุการ
   กคร. จังหวัด จะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในจังหวัดจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้          - ข้อ 15 ให้มีคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรจังหวัดในทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า ?กคร. จังหวัด? โดยออกนามจังหวัดนั้น ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด สรรพากรพื้นที่จังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งอีกไม่เกินสี่คนเป็นกรรมการ และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ
กคร. จังหวัด จะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานจังหวัดจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้ (กำหนดองค์ประกอบของ กคร. จังหวัด โดยตัด ?รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายหนึ่งคน? ออก และกำหนดให้ ?นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด? เป็นกรรมการ แทน ?ท้องถิ่นจังหวัด? และปรับปรุงชื่อตำแหน่งกรรมการให้เป็นปัจจุบัน)
5. แก้ไขหน้าที่และอำนาจของ กคร. จังหวัด          - ข้อ 16 ให้ กคร. จังหวัด มีหน้าที่ช่วย กคร. ปฏิบัติการในจังหวัด และให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาอนุมัติให้หน่วยงานของรัฐที่ประสงค์จะทำการเรี่ยไรหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไรภายในเขตจังหวัด จัดให้มีการเรี่ยไรหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
(2) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ระเบียบนี้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กคร. จังหวัด หรือตามที่ กคร. มอบหมาย
   เมื่อ กคร. จังหวัด ได้พิจารณาอนุมัติตาม (1) แล้ว ให้แจ้งหน่วยงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในภูมิภาคนั้นและรายงาน กคร. ให้ทราบด้วย          - ข้อ 16 ให้ กคร. จังหวัด มีหน้าที่ช่วย กคร. ปฏิบัติการในจังหวัด และให้มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาอนุมัติให้หน่วยงานของรัฐที่ประสงค์จะทำการเรี่ยไรหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไรภายในเขตจังหวัด จัดให้มีการเรี่ยไรหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
(2) ระงับการเรี่ยไรที่ไม่ได้รับอนุมัติตามระเบียบนี้หรือเพิกถอนการอนุมัติที่อยู่ระหว่างการเรี่ยไรในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้
(3) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ระเบียบนี้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กคร. จังหวัด หรือตามที่ กคร. มอบหมาย
เมื่อ กคร. จังหวัด ได้พิจารณาอนุมัติตาม (1) แล้ว ให้แจ้งหน่วยงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดนั้น และรายงาน กคร. ให้ทราบด้วย (เพิ่มหน้าที่และอำนาจของ กคร. จังหวัด ในการระงับการเรี่ยไรที่ไม่ได้รับอนุมัติตามระเบียบนี้ เช่น การเรี่ยไรโดยไม่ได้ยื่นคำขออนุมัติตามที่ กคร. จังหวัด กำหนดผ่านทางสื่อออนไลน์เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยมีวัตถุประสงค์อื่นหรือเพิกถอนการอนุมัติที่อยู่ระหว่างการเรี่ยไรในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติตาม     ระเบียบนี้)
6. รายงานการเงินของการเรี่ยไร          - ข้อ 20 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้รับอนุมัติหรือได้รับยกเว้นตามข้อ 19 ให้จัดให้มีการเรี่ยไรหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไร ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการดังต่อไปนี้
(4) จัดทำบัญชีการรับจ่ายเงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการเรี่ยไรตามระบบบัญชีของทางราชการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สิ้นสุดการเรี่ยไรหรือทุกสามเดือนในกรณีที่เป็นการเรี่ยไรที่กระทำอย่างต่อเนื่องและปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐที่ได้ทำการเรี่ยไรไม่น้อยกว่าสามสิบวัน เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้ทราบและจัดให้มีเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินการเรี่ยไรดังกล่าวไว้ ณ สถานที่สำหรับประชาชนสามารถใช้ในการค้นหาและศึกษาข้อมูลข่าวสารของราชการด้วย
   (5) รายงานการเงินของการเรี่ยไรพร้อมทั้งส่งบัญชีตาม (4) ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้จัดทำบัญชีตาม (4) แล้วเสร็จ หรือในกรณีที่เป็นการเรี่ยไรที่ได้กระทำอย่างต่อเนื่องให้รายงานการเงินพร้อมทั้งส่งบัญชีดังกล่าวทุกสามเดือน          - ข้อ 20 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้รับอนุมัติหรือได้รับการยกเว้นตามข้อ 19 ให้จัดให้มีการเรี่ยไรหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไร ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการดังต่อไปนี้
(4) จัดทำบัญชีการรับจ่ายเงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการเรี่ยไรตามระบบบัญชีของทางราชการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สิ้นสุดการเรี่ยไร หรือทุกสามเดือน ในกรณีที่เป็นการเรี่ยไรที่กระทำอย่างต่อเนื่องและปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐที่ได้ทำการเรี่ยไรไม่น้อยกว่าสามสิบวัน เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้ทราบและจัดให้มีเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินการเรี่ยไรดังกล่าวไว้ ณ สถานที่สำหรับประชาชนสามารถใช้ในการค้นหาและศึกษาข้อมูลข่าวสารของราชการ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐนั้นด้วย
(5) รายงานการเงินของการเรี่ยไรพร้อมทั้งส่งบัญชีตาม (4) ให้ กคร. หรือ กคร. จังหวัดแล้วแต่กรณี และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้จัดทำบัญชีตาม (4) แล้วเสร็จ หรือในกรณีที่เป็นการเรี่ยไรที่ได้กระทำอย่างต่อเนื่องให้รายงานการเงินพร้อมทั้งส่งบัญชีดังกล่าวทุกสามเดือน รวมทั้งเผยแพร่รายงานการเงินผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐนั้นด้วย (เพิ่มการรายงานการเงินของการเรี่ยไร ให้ กคร. หรือ กคร. จังหวัดแล้วแต่กรณีทราบ โดยให้เผยแพร่ผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐนั้น)
7. บทเฉพาะกาล          - ให้ กคร. และ กคร. จังหวัด ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2539 ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันที่ระเบียบนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปฏิบัติหน้าที่ กคร. และ กคร. จังหวัด ตามระเบียบนี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งกรรมการซึ่งนายกรัฐมนตรีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี แต่งตั้งตามระเบียบนี้เข้ารับหน้าที่          - แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้ กคร. และ กคร. จังหวัด ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันที่ระเบียบนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปฏิบัติหน้าที่ กคร. และ กคร. จังหวัด ตามระเบียบนี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งกรรมการซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งตามระเบียบนี้เข้ารับหน้าที่ (เนื่องจากได้มีการปรับปรุงแก้ไข กคร. และ กคร. จังหวัด ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)

4. เรื่อง  ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี กองบัญชาการตำรวจนครบาล            พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก               100 ปี กองบัญชาการตำรวจนครบาล พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้

ทั้งนี้ กค. เสนอว่า

1. กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น) เดิมมีชื่อว่า กองโปลิสคอนสเตเบิล มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในพระนครและนอกพระนคร ซึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราเครื่องหมายโล่กับดาบเป็นเครื่องหมายประจำพลตระเวน และในวันที่ 24 ธันวาคม 2565 บช.น. จะครบรอบ 100 ปี โดยจะมีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาล จึงได้ถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนา บช.น.

2. ทั้งนี้ บชน. ได้ขอความร่วมมือกรมธนารักษ์ กค. จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี บช.น. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณของทั้งสองพระองค์ให้แผ่ไพศาลไปทั้งภายในประเทศและนานาประเทศ เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของ บช.น. ให้ประชาชนทั่วไปได้รู้จัก และเพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสสำคัญดังกล่าวตามข้อ 1. ทั้งนี้ กค. ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในโอกาสดังกล่าว และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตามแบบที่ทูลเกล้าฯ ถวายแล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกดังกล่าวมาจากเงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของรัฐและการทำของ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงฯ เป็นการล่วงหน้าด้วยแล้ว

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

กำหนดชนิด ราคา โลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนัก ขนาด อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ลวดลาย และลักษณะอื่น ๆ ของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี บช.น.

5. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบดังนี้

1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอและส่งให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ

3. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงพลังงานไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

ประเด็นที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม          สาระสำคัญ/วัตถุประสงค์
1. บทนิยามคำว่า ?พนักงาน?          ?           ให้นิยามคำว่า ?พนักงาน? หมายความว่า พนักงานของการ
ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยไม่ให้หมายความรวมถึงผู้ว่าการ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจที่กำหนดให้ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจไม่มีฐานะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ
2. กำหนดพื้นที่ดำเนินการของ กฟภ. ให้ชัดเจนและสอดคล้องกับสถานการณ์          ?          กำหนดให้ กฟภ. สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ทั้งใน
และต่างประเทศ ซึ่งในส่วนการดำเนินการภายในประเทศได้กำหนดข้อยกเว้นในการดำเนินกิจการไฟฟ้า ได้แก่ ในเขตส่วนภูมิภาคซึ่งอยู่นอกเขตพื้นที่ที่การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการอยู่ และพื้นที่ที่ กฟภ. ได้รับมอบหมายหรือรับโอนภารกิจมาดำเนินการ ทั้งนี้ เพื่อให้ กฟภ. มีอำนาจดำเนินการตามวัตถุประสงค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งมีความชัดเจนเกี่ยวกับขอบเขตพื้นที่การดำเนินการของ กฟภ. ในการผลิต จัดให้ได้มา จัดส่ง และจำหน่ายพลังงานในประเทศ
3. การผลิต จัดให้ได้มา จัดส่ง และจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า และการประกอบกิจการพลังงานไฟฟ้า          ?          กำหนดให้การผลิต จัดให้ได้มา จัดส่ง และจำหน่ายพลังงาน
ไฟฟ้าเป็นกิจการสาธารณูปโภคที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
?          กำหนดให้การประกอบกิจการพลังงานไฟฟ้าที่ไม่ใช่การ
ดำเนินกิจการสาธารณูปโภคจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการนั้นด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ
4. อำนาจในการกระทำต่าง ๆ ภายใต้วัตถุประสงค์ของ กฟภ.          ?          ปรับปรุงอำนาจกระทำการต่าง ๆ ภายใต้ขอบวัตถุประสงค์
ของ กฟภ. เช่น ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง หรือทรัพยสิทธิต่าง ๆ ก่อตั้งสิทธิหรือกระทำนิติกรรมต่าง ๆ มีอำนาจกำหนดประเภท ขนาด และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้า ให้กู้ยืมเงินโดยมีหลักประกันที่เหมาะสมแก่บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ กฟภ. จัดตั้งหรือถือหุ้น รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริการ หรือกิจการ เช่น การสร้างสถานีชาร์จไฟฟ้า การซื้อขายไฟฟ้าผ่านระบบ SMART GRID ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการจัดการทรัพย์สิน นิติกรรม กิจการที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ เช่น การให้เงินกู้ยืมแก่บริษัทลูกของ กฟภ. และเพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และการบริหารจัดการมาพัฒนากิจการของ กฟภ. ที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะมีขึ้นในอนาคต อันเป็นการเพิ่มประสิทธภาพและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจและรองรับการให้บริการในปัจจุบัน
5. คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของประธานกรรมการ กรรมการและผู้ว่าการ          ?          แก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของประธาน
กรรมการ กรรมการ และผู้ว่าการ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ เช่น เป็นผู้ที่สามารถทำงานให้แก่รัฐวิสาหกิจได้เต็มเวลา ไม่เป็นข้าราชการการเมือง รวมทั้งกำหนดเพิ่มเติมให้เป็นผู้มีความรู้และมีความชัดเจนเพียงพอเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ การไฟฟ้า วิศวกรรม การเงิน หรือกฎหมาย และต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับ กฟภ.
6. อำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ          ?          แก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดให้คณะกรรมการการไฟฟ้าส่วน
ภูมิภาคมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและวางข้อบังคับเกี่ยวกับการประชุมและการดำเนินกิจการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ ทั้งนี้ เพื่อเป็นกลไกในการช่วยดำเนินงานของคณะกรรมการ ซึ่งเดิมไม่มีกลไกคณะอนุกรรมการดังกล่าว
7. การพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระของกรรมการ          ?          แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อกำหนดรองรับกรณีที่ประธานกรรมการ
หรือกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระ ให้กรรมการที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ โดยให้กรรมการที่เหลืออยู่เลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานกรรมการเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานของคณะกรรมการมีความชัดเจน
8. การยื่นและวินิจฉัยคำร้อง ในกรณีที่มีเหตุที่จะใช้ที่ดินของบุคคล          ?          แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยการยื่นและวินิจฉัยคำร้องใน
กรณีที่มีเหตุที่จะใช้ที่ดินของบุคคลให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยมีการกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจนขึ้นในกรณีที่ กฟภ. ต้องแจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินที่จะกระทำการ (เดินสาย หรือข้ามพื้นที่ของบุคคลใด ๆ หรือปัก หรือตั้งเสาไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ) ในเวลาอันสมควรไม่น้อยกว่า 3 วัน (จากเดิมระบุเพียงว่าภายในเวลาอันสมควร) และขยายระยะเวลาให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นสามารถยื่นคำร้องแสดงเหตุที่ไม่สมควรกระทำการต่าง ๆ ข้างต้นไปยังคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัยภายใน 30 วัน (จากเดิมภายใน 15 วัน) นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง และให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเป็นที่สุด ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินการตามกฎหมาย
9. การดำเนินการที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี          ?          แก้ไขเพิ่มเติมการดำเนินการของ กฟภ. ที่สำคัญต้องได้รับ
ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน โดยให้มีการปรับปรุงในเรื่องดังต่อไปนี้
- เพิ่มกรอบวงเงินการกู้ยืมเงิน จากเดิม ?เกิน 100 ล้านบาท? เป็น ?เกิน 500 ล้านบาท?
- เพิ่มกรอบวงเงินการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ จากเดิม ?เกิน  10 ล้านบาท? เป็น ?เกิน 50 ล้านบาท?
- กำหนดให้การดำเนินการของ กฟภ. ในต่างประเทศ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนดำเนินการ
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับสภาพ เศรษฐกิจในปัจจุบันและลดเรื่องที่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะทำให้เกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้น
10. การบัญชี การสอบ และการตรวจทางบัญชี          ?          ปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยการบัญชี การสอบ และการ
ตรวจทางบัญชีของ กฟภ. เช่น จัดทำรายงานการเงินส่งผู้สอบบัญชีภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นบัญชี จำทำและเผยแพร่รายงานประจำปีที่ล่วงมาแล้ว จัดทำรายงานของผู้สอบบัญชีและแสดงความเห็นต่อรายงานการเงินตามมาตรฐานการสอบบัญชี เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีของรัฐวิสาหกิจที่มีขึ้นในระยะหลัง รวมทั้งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561





เศรษฐกิจ-สังคม
6. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ  รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน ประจำเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565 [เป็นการดำเนินการตาม            มติคณะรัฐมนตรี (23 มกราคม 2561) ที่ให้ สปน. รายงานความคืบหน้าในการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทานให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกเดือน] โดยมีส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
                    1. กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้รายงานผลการลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน                   (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565) โดยมีประชาชนที่ลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทานแล้ว  6,977,577 คน จำแนกได้ ดังนี้ กรุงเทพมหานคร 457,466 คน และส่วนภูมิภาค 6,520,111 คน แบ่งออกเป็น เพศชาย 3,129,765 คน และเพศหญิง 3,847,812 คน

2. การจัดกิจกรรมจิตอาสาของส่วนราชการต่าง ๆ 16 หน่วยงาน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1,144,667คน ประกอบด้วย จิตอาสาพัฒนา จิตอาสาภัยพิบัติ จิตอาสาเฉพาะกิจ และวิทยากรจิตอาสา 904 สรุปได้ ดังนี้

การดำเนินการ/กิจกรรม          ส่วนราชการ          จำนวน
(ครั้ง)

1) จิตอาสาพัฒนา ได้แก่ (1) ปรับปรุงภูมิทัศน์และทำความสะอาดศาสนสถาน โรงเรียน สถานที่ราชการ และบริเวณโดยรอบ (2) อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน (3) บำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม (4) บริจาคโลหิต และหน่วยบริการทางการแพทย์เคลื่อนที่ (5) ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (การคัดกรองเชิงรุก การพ่นยาฆ่าเชื้อ และการฉีดวัคซีน) (6) มอบสิ่งของให้แก่ผู้ยากไร้ และผู้ป่วยติดเตียง (7) ปลูกต้นไม้ และพัฒนาแหล่งน้ำ (ขุดลอกคลอง ฉีดจุลินทรีย์ลดปัญหาน้ำเน่าเสีย และกำจัดวัชพืช) และ (8) จัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น                การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและวิชาชีพ          กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์  กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กรมประชาสัมพันธ์ (กปช.)  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช. ) และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

19,152

2) จิตอาสาภัยพิบัติ ได้แก่ (1) ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย วาตภัย และอัคคีภัย (มอบถุงยังชีพ บริจาคสิ่งของ แจกจ่ายน้ำ และซ่อมแซมบ้านเรือน) และ (2) อบรมการป้องกันและระงับอัคคีภัย           กห. พม. มท. ยธ. วธ. และ ตช.

473

3) จิตอาสาเฉพาะกิจ ได้แก่ (1) อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมรับเสด็จ            พระบรมวงศานุวงศ์ (2) จัดเตรียมสถานที่และร่วมพิธีเนื่องในวันสำคัญและ (3) บริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศล          กห. กค. พม. ยธ. รง. วธ. ศธ. สธ. ตช. และ กปช.          35
4) วิทยากรจิตอาสา 904 โดยเป็นการบรรยายความรู้ ได้แก่ (1) หลักสูตรจิตอาสา (2) สถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทย และ                (3) โครงการจิตอาสาพระราชทานตามพระราชดำริ            กห. พม. กษ. ยธ. วธ. สธ. และ ตช.

289

รวม          19,949

3. สปน. ได้ดำเนินการติดตามความก้าวหน้าโครงการในภารกิจของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ. จอส. พระราชทาน) โดยการลงพื้นที่และรวบรวมรายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

3.1 โครงการที่ได้รับเงินพระราชทานบริจาคช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติภาคใต้ ซึ่ง สปน. ได้รายงานผลการดำเนินงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบแล้ว

                              3.2 เข้าร่วมการประชุมติดตามงานประจำสัปดาห์ร่วมกับ ศอญ. จอส. พระราชทาน             พร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 11 ครั้ง สรุปได้ ดังนี้
                                        3.2.1 รับทราบสถานการณ์ในภาพรวม เช่น สภาพอากาศ สาธารณภัยที่สำคัญ ระดับปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ระดับน้ำแม่น้ำโขง และการติดเชื้อโรคโควิด-19 การเตรียมความพร้อมและ                     การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติ ผลการดำเนินโครงการที่สำคัญและกิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน และ             การประชาสัมพันธ์ภารกิจจิตอาสาผ่านช่องทางต่าง ๆ

3.2.2 รายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมจิตอาสาของหน่วยงานภาครัฐ กระทรวง และกรม รวมทั้งการจัดตั้งกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยสำนักนายกรัฐมนตรี ในการช่วยเหลือประชาชน และการเชิญชวนหน่วยงานจัดกิจกรรมจิตอาสาเนื่องในวันสำคัญ

3.3 ลงพื้นที่ติดตามความต่อเนื่องของโครงการจิตอาสาพระราชทาน จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการพัฒนาพื้นที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ และ (2) โครงการอนุรักษ์แหล่งน้ำบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร รวมทั้งตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจอาชีวะจิตอาสาในการบริการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ณ ชุมชนธรากร ซอยรามคำแหง 164 เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร

                              3.4 จัดกิจกรรมและสนับสนุนการดำเนินงานจิตอาสา จำนวน 3 กิจกรรม ได้แก่                       (1) กิจกรรมการฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED) จำนวน 6 ครั้ง ผู้เข้าร่วม 493 คน (2) กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมเพื่อความสุขของประชาชน โดยทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ณ ชุมชนซอยสุขสวัสดิ์ 60 กรุงเทพมหานคร และใจฟ้าฟาร์ม (วัดพระบาทน้ำพุ) จังหวัดลพบุรี มีผู้เข้าร่วม 250 คน และ (3) กิจกรรมจิตอาสาสร้างการรับรู้เพื่อพัฒนารักษาภูมิทัศน์คลองเปรมประชากร ณ โรงเรียนวัดรังสิต จังหวัดปทุมธานี มีผู้เข้าร่วม 40 คน

3.5 สปน. ได้เชิญชวนหน่วยงานดำเนินการจัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 จำนวน 14 หน่วยงาน

3.6 สปน. จะประสานการดำเนินการในการจัดกิจกรรมจิตอาสาของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดความรู้รัก สามัคคี เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ชุมชน สังคมและประเทศชาติโดยรวมอย่างต่อเนื่องต่อไป

7. เรื่อง ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการวางแผนในอนาคต พ.ศ. 2565

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการวางแผนในอนาคต พ.ศ. 2565 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 ที่ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) จัดเก็บข้อมูลและสถิติตัวเลข รวมทั้งสำรวจและสอบถามประชาชนเกี่ยวกับนโยบายหลัก ๆ ของรัฐบาลแล้วรายงานคณะรัฐมนตรีทราบ] ทั้งนี้ ดศ. โดย สสช. ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการวางแผนในอนาคต พ.ศ. 2565 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง และกระทรวงแรงงาน นำข้อมูลไปใช้ในการติดตามประเมินผล และวางแผนกำหนดยโยบาย/มาตรการในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการตนเอง และการเตรียมความพร้อมของประชาชน ทั้งในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยจัดเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 46,600 ราย ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน- 12 กรกฎาคม 2565 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

1.          สรุปผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการวางแผนในอนาคต พ.ศ. 2565

ประเด็น          สรุปผลสำรวจ
(1)          การวางแผน          ประชาชนร้อยละ 73.2 มีวิธีการวางแผน 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) ฝากธนาคาร/สถาบันการเงินอื่น (2) เก็บเป็นเงินสด และ (3) เป็นสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ต่าง ๆ
ขณะที่ร้อยละ 26.8 ระบุว่าไม่มีการวางแผนด้านการเงิน เนื่องจากไม่มีเงินเพียงพอ ทั้งนี้ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 20-59 ปี ระบุว่ามีการวางแผนด้านการเงินในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ที่มีอายุ 18-19 ปี และอายุ 60 ปีขึ้นไป เช่นเดียวกันกับผู้ที่มีรายได้สูงจะมีการวางแผนด้านการเงินมากกว่าผู้ที่มีรายได้น้อย
(2)          การวางแผนด้านการทำงาน/อาชีพ          ประชาชนร้อยละ 74 มีวิธีการวางแผน 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) ทำงานหรือประกอบอาชีพเดิมต่อไป เนื่องจากมีความมั่นคงสูง (2) หาแหล่งรายได้เสริม เช่น ทำงานล่วงเวลา และทำอาชีพเสริม และ (3) ประกอบธุรกิจส่วนตัว ขณะที่ร้อยละ 26 ระบุว่าไม่มีการวางแผนด้านการทำงาน/อาชีพ เนื่องจากไม่มีความรู้ในการวางแผน
ทั้งนี้ พบว่า ผู้ที่มีอายุระหว่าง 20-59 ปี ระบุว่ามีการวางแผนด้านการทำงาน/อาชีพในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ที่มีอายุ 18-19 ปี และอายุ 60 ปีขึ้นไป นอกจากนี้                 ผู้ที่มีอาชีพ เช่น ข้าราชการ ค้าขาย ประกอบธุรกิจส่วนตัว พนักงาน และลูกจ้างเอกชน มีการวางแผนด้านการทำงาน/อาชีพมากกว่าผู้ที่ว่างงาน/ไม่มีงานทำ นักเรียน/นักศึกษา และอาชีพอื่น ๆ เช่น พ่อบ้าน และแม่บ้าน
(3)          การวางแผนชีวิตครอบครัว          ประชาชนร้อยละ 72.7 มีวิธีการวางแผน 3 อันดับแรก ดังนี้ (1) สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้ครอบครัว         (2) ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และ/หรือวางแผนการศึกษาให้บุตรและคนในครอบครัว และ                      (3) ทำประกันชีวิต ขณะที่ร้อยละ 27.3 ระบุว่าไม่มีการวางเผนชีวิตครอบครัว เนื่องจากคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว/เป็นเรื่องของอนาคต
(4) การดูแลสุขภาพตนเอง          ประชาชนร้อยละ 89.5 มีวิธีการดูแลสุขภาพตนเอง              3 อันดับแรก ได้แก่ (1) นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ                   (2) ออกกำลังกายเป็นประจำ สม่ำเสมอ และ (3) เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น มังสวิรัติ วิตามิน และคอลลาเจน ขณะที่ร้อยละ 10.5 ระบุว่าไม่มีการดูแลสุขภาพตนเอง เนื่องจากคิดว่าร่างกายแข็งแรง                ไม่จำเป็นต้องดูแลสุขภาพ และไม่มีเวลา เช่น                     ต้องทำงานหนัก และมีภาระต้องรับผิดชอบมาก ทั้งนี้               ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีการดูแลสุขภาพในสัดส่วนที่               สูงกว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่า เช่นเดียวกันกับผู้ที่มีรายได้สูงมีการดูแลสุขภาพมากกว่าผู้ที่มีรายได้น้อย
(5) การวางแผนเพื่อสภาพความเป็นอยู่ที่ดี           ประชาชนร้อยละ 76.5 มีวิธีการวางแผน 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) ปรับปรุงที่อยู่อาศัย เช่น ปลูกต้นไม้เพื่อสร้างความร่มรื่น (2) เลือกที่อยู่อาศัยที่ไม่แออัด และ (3) เลือกที่อยู่อาศัยที่สะดวกต่อการเดินทาง ขณะที่ร้อยละ 23.5 ระบุว่าไม่มีการวางแผนเพื่อสภาพความเป็นอยู่ที่ดี เนื่องจากคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว/เป็นเรื่องของอนาคต ทั้งนี้ พบว่า ผู้ที่มีอายุ 20-59 ปี มีการวางแผนเพื่อสภาพความเป็นอยู่ที่ดีในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ที่มีอายุ 18-19 ปี และอายุ 60 ปีขึ้นไป เช่นเดียวกันกับผู้ที่มีรายได้สูงมีการวางแผนเพื่อสภาพความเป็นอยู่ที่ดีในสัดส่วนที่              สูงกว่าผู้ที่มีรายได้น้อย
(6) ความพึงพอใจต่อสภาพความเป็นอยู่ในชุมชน/หมู่บ้าน          ประชาชนมีความพึงพอใจมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) ระบบสาธารณูปโภค เช่น น้ำดื่ม ไฟฟ้า และอาหาร (ร้อยละ 76) (2) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(ร้อยละ 72.9 และ (3) ความช่วยเหลือจากคนในสังคม เช่น เพื่อนบ้าน และคนในชุมชน/หมู่บ้าน (ร้อยละ 61.1)
(7) เรื่องที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ          ประชาชนต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือมากที่สุด                     3 อันดับแรก ได้แก่ (1) ควรลดค่าครองชีพ (ร้อยละ 65.5) (2) ควรส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพเสริม                 (ร้อยละ 54.7) และ (3) ควรจัดหาอาชีพสำหรับผู้ด้อยโอกาส/ผู้สูงอายุ (ร้อยละ 48.3)

2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย จากผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการวางแผนในอนาคต พ.ศ. 2565 มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้

                              2.1 ควรให้ความช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้กับประชาชนอย่างเร่งด่วน เช่น               การลดค่าครองชีพ การสร้างอาชีพเสริมให้ประชาชน และจัดหาแหล่งเงินทุน/เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้

2.2 ควรส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนในอนาคตด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเงิน และด้านการทำงาน/อาชีพ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุน้อย กลุ่มนักเรียน/นักศึกษาและกลุ่มที่มีรายได้น้อย เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ สามารถนำมาใช้ในการวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

2.3 ควรส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นของประชาชนเพื่อให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และยังเป็นการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประชาชนในการมีรายได้จากการประกอบอาชีพ รวมทั้งการรู้จักวางแผนการออม

                              2.4 ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้คนใน          ชุมชน/หมู่บ้าน เช่น เพิ่มสถานที่จำหน่ายสินค้าของคนในชุมชน/หมู่บ้าน และส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชนอย่างยั่งยืนและระบบเศรษฐกิจของประเทศ

2.5 ควรเพิ่มช่องทางการสื่อสารในการแจ้งข่าวสารต่าง ๆ ทั้งข่าวสารทั่วไป ข่าวการบริการของภาครัฐ และข่าวการเตือนภัยต่าง ๆ รวมทั้งสถานการณ์ฉุกเฉินอื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข่าวสารอย่างรวดเร็วทั่วถึง และเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น

8. เรื่อง การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (คณะกรรมการนโยบายฯ) เสนอการกำหนดให้จังหวัดสุโขทัย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดกระบี่ จังหวัดตราด และจังหวัดสระแก้ว เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา*

สาระสำคัญ

คณะกรรมการนโยบายฯ รายงานว่า

                     1. พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 มาตรา 6 บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการนโยบายฯ มีอำนาจกำหนดให้จังหวัดใดเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งก่อนที่พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 จะประกาศใช้ ในปี พ.ศ. 2561 กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 12 แห่งพระราฃบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ได้มีประกาศ ศธ. เรื่อง การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ใน 6 พื้นที่ 8 จังหวัด ประกอบด้วย พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล จังหวัดระยอง จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเชียงใหม่ และสามจังหวัดชายแดนใต้ (จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส) รวม 491 โรงเรียน เพื่อให้เกิดรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษารูปแบบใหม่โดยมีการบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในรูปแบบของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีหน้าที่และอำนาจ อาทิ กำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน การพัฒนากลไกภาคีเครือข่ายการจัดการศึกษา การปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพครู ออกแบบการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษานำร่องซึ่งภายหลังที่พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ได้มีผลบังคับใช้ สถานศึกษานำร่องสามารถจัดการศึกษาได้อย่างอิสระและคล่องตัวมากขึ้น เช่น การเลือกใช้หลักสูตร การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา เป็นต้น โดยที่ผ่านมามีผลการดำเนินงาน เช่น                  (1) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล มีการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมโครงงานบนฐานวิจัย 14 ขั้นตอน ช่วยให้เด็กมีความสามารถด้านการคิด การสื่อสาร และนำความรู้ไปถ่ายทอดให้ชุมชนได้ (2) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง มีการจัดตั้งสถาบันการเรียนนรู้ของคนทุกวัยจังหวัดระยอง (Rayong Inclusive Learning Acadamy : RILA) เพื่อเป็นกลไกการบริหารจัดการเพื่อการขับเคลื่อนระบบนิเวศการเรียนรู้ระดับเมือง (3) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดยะลา มีต้นทุนที่สำคัญของการขับเคลื่อน คือ มีกลไกเชิงพื้นที่ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา                  (4) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดนราธิวาส จัดการศึกษาเพื่อความรักและสันติสุข บทความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่กลมกลืน เป็นต้น

2. ต่อมาคณะกรรมการนโยบายฯ ได้มีประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการพิจารณาความพร้อมของจังหวัด จำนวนและคุณสมบัติของคณะผู้เสนอ หลักเกณฑ์และวิธีการเสนอจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2564 ประกาศ ณ วันที่ 10 กันยายน 2564 และในการประชุมคณะกรรมการนโยบายฯ [รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน] ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2565 และครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 คณะกรรมการนโยบายฯ ได้มีมติเห็นชอบให้จังหวัดสุโขทัย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดกระบี่ จังหวัดตราด และจังหวัดสระแก้ว เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ด้วยเหตุผล ดังนี้

2.1 จังหวัดสุโขทัย มีการดำเนินโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา โดยมุ่งเน้นไปที่เด็กด้อยโอกาส และมีความพร้อมทำงานร่วมกับภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐอื่น รวมทั้งภาคีเครือข่ายที่พร้อมช่วยเหลือสนับสนุนการศึกษาในจังหวัด จึงมีความพร้อมและมีศักยภาพให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดเป็นสถานศึกษานำร่องทั้งจังหวัด

                     2.2 จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ในพื้นที่สูงและพื้นที่ติดชายแดนและมีเด็กด้อยโอกาสจำนวนมาก               มีผู้เรียนและประชาชนหลากหลายชาติพันธุ์ ขาดแคลนครูทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนขาดความต่อเนื่อง จังหวัดจึงได้จัดตั้งองค์กรต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการศึกษาของจังหวัด โดยให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และการรวมกลุ่มเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และจะใช้ประโยชน์จากการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูและผู้บริหารสถานศึกษา

2.3 จังหวัดกระบี่ มีบุคลากรทางการศึกษาที่มีความเข้าใจบริบทของพื้นที่และมีศักยภาพในการสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษา โดยให้ความสำคัญกับการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ความเสมอภาคด้านการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจตนเอง และเลือกเส้นทางในการศึกษาต่อตามความถนัดและความสนใจ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่

2.4 จังหวัดตราด มีผู้นำการศึกษาที่มีศักยภาพ มีสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพด้านจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ รวมทั้งได้ร่วมขับเคลื่อนการศึกษาโดยร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและมีการประสานความร่วมมือระหว่างคนในพื้นที่เป็นอย่างดี

2.5 จังหวัดสระแก้ว เป็นพื้นที่ติดชายแดน ขาดการบูรณาการในด้านการศึกษา เด็กส่วนใหญ่ยากจนและด้อยโอกาส เด็กและเยาวชนของจังหวัดมีผลการทดสอบทางการศึกษาทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่ำกว่าระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง จึงต้องส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกและสร้างความร่วมมือด้านการศึกษา รวมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา พัฒนาคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในพื้นที่

3. ประมาณการค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 5 จังหวัด ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ? 2569 รวมทั้งสิ้นจำนวน 68,700,000 บาท โดย กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะขอรับการจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

*พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คือ พื้นที่การปฏิรูปการบริหารและการจัดการการศึกษาเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษาซึ่งเป็นพื้นที่ระดับจังหวัดที่สถานศึกษานำร่องสามารถจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ โดยสามารถมีการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่นคล่องตัว ไม่ต้องอิงกับกฎระเบียบที่         ไม่จำเป็นหรือไม่เอื้อจากส่วนกลาง มีกลไกการจัดการศึกษาระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

9. เรื่อง การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 6 จังหวัด
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (คณะกรรมการนโยบายฯ) เสนอการกำหนดให้กรุงเทพมหานคร จังหวัดจันทบุรี จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสงขลา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา*
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     คณะกรรมการนโยบายฯ รายงานว่า
                     1. พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการนโยบายฯ มีอำนาจกำหนดให้จังหวัดใดเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยพิจารณาความเหมาะสมของการเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาโดยคำนึงถึงความพร้อม ตลอดจนการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง และโอกาสที่จะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนประกอบด้วย โดยอย่างน้อยจะต้องคำนึงถึงผลการดำเนินการที่ผ่านมาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาอื่นที่มีการจัดตั้งอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งก่อนที่พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 จะประกาศใช้ ในปี พ.ศ. 2561 ได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ใน 6 พื้นที่ 8 จังหวัด ประกอบด้วย พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล จังหวัดระยอง จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเชียงใหม่ และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส) มีสถานศึกษานำร่องสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน รวม 539 โรงเรียน เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการศึกษารูปแบบใหม่โดยใช้จังหวัดเป็นฐาน ซึ่งภายหลังที่พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ได้มีผลบังคับใช้ สถานศึกษานำร่องสามารถบริหารจัดการศึกษาได้อย่างอิสระและคล่องตัวมากขึ้น โดยที่ผ่านมามีผลการดำเนินงาน เช่น (1) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล มีเป้าหมายในการจัดการศึกษา คือ ?พหุวัฒนธรรมนำเทคโนโลยี มีทักษะสื่อสาร รักษ์บ้านถิ่นเกิดเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการศึกษารูปแบบใหม่เป็นเลิศนวัตกรรม? โดยมีนวัตกรรมการศึกษาที่โดดเด่น คือ โครงงานฐานวิจัย 14 ขั้นตอน ช่วยให้เด็กมีความสามารถด้านการคิด การสื่อสาร และนำความรู้ไปถ่ายทอดให้ชุมชนได้และนวัตกรรมครูสามเส้า ซึ่งเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นและดำเนินการควบคู่ไปกับกระบวนการโครงงานฐานวิจัย เนื่องจากจังหวัดเห็นว่า หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ของเด็กต้องประกอบไปด้วยครูจากสามส่วนประกอบด้วย ครูในโรงเรียน ครูชุมชน และครูพ่อแม่ (2) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง มีการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกวัยจังหวัดระยอง (Rayong Inclusive Learning Acadamy : RILA) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีพของชาวระยอง มีการจัดการศึกษาด้วยกรอบหลักสูตรจังหวัดระยองหรือ Rayong MARCO ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้สู่ระยองเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน (3) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดปัตตานี มีกรอบหลักสูตรปัตตานี เฮอริเทจหรือ Pattani Heritage Curriculum Framework : PHCF เป็นนวัตกรรมที่นำมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดปัตตานีมาจัดการศึกษา เพื่อนำไปสู่ยุทธศาสตร์จังหวัด พลเมืองอัจริยะสู่เมืองอัจริยะ และมีกรอบหลักสูตรท้องถิ่นการเสริมสร้างสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี หรือ ?หลักสูตรสันติศึกษา? (4) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดนราธิวาสมีการพัฒนาหลักสูตรอิสลามศึกษาของสถานศึกษานำร่องเพื่อจัดการศึกษาบนความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่กลมกลืน และลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงการศึกษา และมีคู่มือการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เป็นต้น
                     2. ต่อมาคณะกรรมการนโยบายฯ ได้มีประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการพิจารณาความพร้อมของจังหวัด จำนวนและคุณสมบัติของคณะผู้เสนอ หลักเกณฑ์และวิธีการเสนอจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2564 ประกาศ ณ วันที่ 10 กันยายน 2564 และในการประชุมคณะกรรมการนโยบายฯ [รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน] ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 คณะกรรมการนโยบายฯ ได้มีมติเห็นชอบให้กรุงเทพมหานคร จังหวัดจันทบุรี จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสงขลา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ด้วยเหตุผล ดังนี้
พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา          เหตุผล/แนวทางการดำเนินการ
กรุงเทพมหานคร          มีการกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน เช่น 1) การคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ โดยโรงเรียนดำเนินการปรับกรอบหลักสูตร มีพี่เลี้ยงทางวิชาการสนับสนุน มีการอบรมพัฒนาครู การเพิ่มทักษะการใช้นวัตกรรมการศึกษารูปแบบต่าง ๆ หรือเทคนิคการสอนใหม่ ๆ และปรับกลไกการติดตามเพื่อความคล่องตัว เช่น กำหนดแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 2) การให้อิสระกับสถานศึกษาในการบริหารจัดการโดยวางแนวทางการบริหารด้านบุคลากรและงบประมาณที่สนับสนุนงานด้านวิชาการ ศึกษากฎระเบียบที่เอื้อให้เกิดความอิสระและเพิ่มความคล่องตัวเพื่อให้เกิดการปลดล็อกเพิ่มเติมและ 3) มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่และจัดตั้ง ?ภาคีเครือข่ายด้านการศึกษาเพื่อระดมพลังพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของเด็กกรุงเทพมหานคร? โดยมีผู้แทนทำหน้าที่ในการประสานความร่วมมือเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนต่อไป
จังหวัดจันทบุรี          มีแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาในรูปแบบ Chan Education Shift Model (C = Change , H = Happiness , A = Agreement for Action, N = Network Instruction)
Change คือ ยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มั่นคง และยั่งยืน โดยมุ่งการลด ละ เลิก โครงการที่ไม่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมทั้งการปลดล็อกกฎ ระเบียบต่าง ๆ และมุ่งเน้นที่จะลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
Happiness คือ ผู้เรียนได้พัฒนาองค์รวมความรู้ ทักษะ สมรรถนะตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข สอดคล้องกับวิถีชีวิต ?สุขทุกวันที่จันทบุรี?
Agreement for Action คือ จัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ในระยะเวลา 3 ปี โดยกำหนดให้มีนวัตกรรมในการจัดการศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้มีความสอดคล้องกับบริบทของตนเอง เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
Network Instruction คือ สถานศึกษาจัดการศึกษาด้วยตนเอง โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคเอกชน อปท. และภาคประชาสังคม
จังหวัดภูเก็ต          มีแผนที่จะสร้างระบบการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของพื้นที่และความต้องการของประชาชน โดยมุ่งเน้นการสร้างคนและการศึกษา เช่น มุ่งเน้นให้เด็กภูเก็ตทุกคนต้องพูดได้มากกว่า 2 ภาษา รวมทั้งให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในโรงเรียนที่ไม่มีความพร้อมในการบริหารทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อนำจังหวัดภูเก็ตไปสู่ความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองมากยิ่งขึ้น เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกและในอนาคตจะต้องแข่งกับประเทศอื่นในเรื่องเศรษฐกิจการท่องเที่ยว
จังหวัดสงขลา          มีแนวทางการเนินการที่ชัดเจน เช่น (1) การคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศเป็นฐานในการขับเคลื่อนการพัฒนาสถานศึกษา (2) มุ่งส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อปท. สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด และ (3) มีสถานศึกษาในจังหวัดเข้าร่วมโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเองของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาซึ่งเป็นสถานศึกษาที่มีผลลัพธ์การเรียนรู้ของเด็กอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก
จังหวัดสุราษฎร์ธานี          มีเป้าหมายสำคัญที่จะยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยเป็นคนดีมีการศึกษาอย่างเท่าเทียมและมีสมรรถนะที่จำเป็นรองรับการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคต รวมทั้งให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือเด็กตกหล่นและเด็กที่มีปัญหาให้ได้เข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างเสมอภาค
จังหวัดอุบลราชธานี          ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการเข้าถึงบริการด้านการศึกษาอย่างเท่าเทียม รวมทั้งมีการส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาจัดหลักสูตรที่ทันสมัยตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนตามสมรรถนะและบริบท
                     3. ประมาณการค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของกรุงเทพมหานคร และ 5 จังหวัด ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ? 2569 รวมทั้งสิ้น จำนวน 124,500,000 บาท โดยกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะขอรับการจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คือ พื้นที่ปฏิรูปการบริหารและการจัดการการศึกษาเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษา ซึ่งเป็นพื้นที่ระดับจังหวัดที่สถานศึกษานำร่องสามารถจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่โดยสามารถบริหารจัดการได้อย่างอิสระ ยืดหยุ่น และคล่องตัว ไม่ต้องอิงกับกฎระเบียบที่ไม่จำเป็นหรือไม่เอื้อจากส่วนกลาง เช่น การเลือกใช้หลักสูตร/สื่อการเรียนการสอน การเลือกดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอน เป็นต้น รวมทั้งมีกลไกการจัดการศึกษาระหว่างภาครัฐ อปท. ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

10. เรื่อง การเสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลระดับนานาชาติรายการ Thailand by UTMB
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการให้ประเทศไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งวิ่งเทรลระดับนานาชาติ (การจัดการแข่งขันวิ่งเทรลฯ) 2 รายการ ดังนี้
                              1.1 รายการ Doi Inthanon Thailand By UTMB (รายการ Doi Inthanon) ประจำปี 2566 - 2568 (3 ปี)
                              1.2 รายการ Amazean Jungle Thailand by UTMB (รายการ Amazean Jungle) ประจำปี 2566 - 2571 (6 ปี)
                    2. เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อสมทบค่าลิขสิทธิ์การจัดการแข่งขันวิ่งเทรลฯ 2 รายการ (ร้อยละ 50 ของค่าลิขสิทธิ์) เป็นเงิน 65.55 ล้านบาท ค่าลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น 3,450,000 ยูโร คิดเป็นเงินไทย 131.10 ล้านบาท มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
Thailand By UTMB          กรอบวงเงินงบประมาณค่าลิขสิทธิ์
          ยูโร          ล้านบาท
(1) รายการ Doi Inthanon ประจำปี 2566 - 2568 (3 ปี)          675,000
(ปีละ 225,000)          25.65
(2) รายการ Amazean Jungle ประจำปี 2566 - 2571 (6 ปี)          1,050,000
(ปีละ 175,000)          39.90
รวม          1,725,000          65.55
[หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยน 1 ยูโร = 38 บาท]
โดยให้ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) นำรายได้จากการบริหารสิทธิประโยชน์มาสมทบค่าลิขสิทธิ์ และจัดทำแผนปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    3. เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลฯ 2 รายการ เป็นเงิน 409.56 ล้านบาท มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
รายการค่าใช้จ่ายจัดการแข่งขันวิ่งเทรลฯ          กรอบวงเงินงบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลฯ (ล้านบาท)
          รายการ Doi Inthanon ประจำปี 2566 - 2568 (3 ปี)          รายการ Amazean Jungle ประจำปี 2566 -2571 (6 ปี)
(1) ค่าภาษีแทนคู่ค้า1
(อัตราแลกเปลี่ยน 1 ยูโร = 38 บาท)          3.59
(ประมาณ 94,500 ยูโร)          5.59
(ประมาณ 147,000 ยูโร)
(2) ค่าใช้จ่ายในการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลฯ           135.00          240.00
(3) ค่าตอบแทนผู้บริหารสิทธิประโยชน์          6.41          9.97
(4) ค่าบริหารจัดการอื่น ๆ           3.00          6.00
รวม          148.00          261.56
โดยให้ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ดำเนินการขอรับการสนับสนุนจากเอกชนและใช้เงินรายได้จากการบริหารสิทธิประโยชน์เป็นลำดับแรกก่อน หากไม่เพียงพอและมีความจำเป็นให้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาฯ ในโอกาสแรก ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กก. รายงานว่า
                    1. เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2562 กระทรวงกลาโหม (กห.) ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบการดำเนินการจัดกิจกรรม โดยมอบ กกท. เป็นหน่วยรับผิดชอบหลักดำเนินการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อผลักดันให้เป็นรายการระดับนานาชาติและให้หน่วยงานในสังกัด กห. จัดกิจกรรม ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่ กห.เสนอ ซึ่งในปัจจุบันการแข่งขันวิ่งเทรลฯ รายการ Thailand By UTMB เป็นรายการแข่งขันที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ทั้งนี้ ทั่วโลกมีสนามเทรลที่มีมาตรฐานจาก Ultra Trail Mont Blanc International (UTMBI) จำนวนกว่า 4,000 แห่ง จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันวิ่งเทรลฯ รายการ Thailand By UTMB จำนวน 2 สนาม (ที่ผ่านมาได้เคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันวิ่งเทรลระดับนานาชาติด้วยแล้ว) ได้แก่
                              1. รายการ Doi Inthanon (ได้รับการบรรจุเป็นสนาม UTMB? World Series2 ระดับ Major3 ในปี 2565) สนามสูงสุดแดนสยามที่ดอยอินทนนท์
                              2. รายการ Amazean Jungle (ได้รับการบรรจุเป็นสนาม UTMB? World Series ระดับ Event4 ในปี 2566) สนามใต้สุดของประเทศไทย ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา นับเป็นสนามที่ 2 ของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
                    2. คณะกรรมการอำนวยการจัดกิจกรรมและส่งเสริมการวิ่งตามภูมิประเทศ (การวิ่งเทรล หรือ Trail Running) ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 มีมติมอบหมายให้ กกท. ดำเนินการเสนอขอความเห็นชอบคณะรัฐมนตรีเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลฯ รายการ Thailand By UTMB สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
รายละเอียด          รายการ Doi Inthanon
ประจำปี 2566 - 2568 (3 ปี)          รายการ Amazean Jungle
ประจำปี 2566 - 2571 (6 ปี)
(1) กำหนดการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลฯ ประจำปี 2566          เดือนธันวาคม 2566          วันที่ 17 - 19 กุมภาพันธ์ 2566
(2) สถานที่จัดการแข่งขันวิ่งเทรลฯ           อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่          อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
(3) ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มาของงบประมาณในการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลฯ           199.30 ล้านบาท ประกอบด้วย
แหล่งที่มา          จำนวนเงิน
(ล้านบาท)
ภาครัฐ          25.65
กองทุนพัฒนาฯ/งบประมาณประจำปี          148
ภาคเอกชน          25.65
          341.36 ล้านบาท5 ประกอบด้วย
แหล่งที่มา          จำนวนเงิน
(ล้านบาท)
ภาครัฐ          39.90
กองทุนพัฒนาฯ/งบประมาณประจำปี          261.56
ภาคเอกชน          39.90

                              ทั้งนี้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว กก. โดย กกท. จะดำเนินการเจรจาข้อตกลงในสัญญาและลงนามร่วมกับ UTMBI ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์การจัดการแข่งขัน ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของการเพิ่มเติมสัญญาการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลฯ ระบุว่า ในฐานะเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ต้องดำเนินการจัดการแข่งขันให้เป็นไปตามมาตรฐานการแข่งขันและเป็นไปตามสัญญาข้อกำหนดของ UTMBI ทุกประการซึ่งในสัญญาระบุว่า ผู้รับสิทธิจะต้องดำเนินการตามให้ครบถ้วนตามคู่มือการเตรียมการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลฯ Operational Management Manual : OMM ประกอบด้วย
                              ส่วนที่ 1           การจัดการแข่งขัน
                              ส่วนที่ 2           ความสัมพันธ์กับผู้เข้าร่วม
                              ส่วนที่ 3           การดำเนินงาน
                    3. ประโยชน์ที่จะได้รับ
                              3.1 การแข่งขันวิ่งเทรลฯ นับเป็นกีฬาระดับโลกที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะนำรายได้เข้าประเทศ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งจากทีมงานที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย เกิดเป็นรายได้หมุนเวียนในประเทศ ทั้งค่าโรงแรมค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าจับจ่ายใช้สอยจากการท่องเที่ยวสันทนาการ ฯลฯ ซึ่งจากผลการสำรวจจากการแข่งขันวิ่งเทรลฯ ใน 3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเกิดกระแสภาพลักษณ์ที่ทำให้นานาประเทศได้เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการจัดการแข่งขันระดับโลก (World Event) มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันมากกว่า 5,500 คน สามารถสร้างมูลค่าเศรษฐกิจมากกว่า 500 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในระดับโลกมากยิ่งขึ้น
                              3.2 แสดงให้เห็นศักยภาพการรองรับของประเทศไทยในการจัดการแข่งขันกีฬาระดับโลกไม่ว่าจะเป็นความพร้อมของสถานที่จัดการแข่งขัน ความสะดวกในระบบขนส่งเดินทาง ความพร้อมของเมืองในการต้อนรับนักกีฬาจากทั่วโลก สร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติและนักลงทุนในทุก ๆ อุตสาหกรรม
                              3.3 การส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเรื่องความพร้อมด้านต่าง ๆ ที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านการถ่ายทอดสดไปทั่วโลกโดยสถานีโทรทัศน์ช่องกีฬาที่มีมาตรฐานสากลที่มีการยอมรับทั่วโลก (WORLDWIDE BROADCASTING) ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าที่เกี่ยวเนื่องในอุตสาหกรรมกีฬาก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนภายในประเทศ
                              3.4 สร้างโอกาสในการนำประเทศไทยสู่จุดหมายในการเป็นศูนย์กลางด้านกีฬาซึ่งการที่ประเทศไทยสามารถเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันวิ่งเทรลฯ รายการ Thailand By UTMB ได้ถือว่าเป็นการตอกย้ำว่าประเทศไทยมีศักยภาพเพียงพอจากการที่มีสถานที่จัดการแข่งขันที่เป็นที่ต้องการของผู้จัดอีเว้นท์ระดับโลกเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมระดับนานาชาติของชุมชนในท้องถิ่น
                              3.5 สามารถดึงดูดนักกีฬาและนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ และกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในพื้นที่จัดการแข่งขันและจังหวัดใกล้เคียง เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนและพัฒนากิจการที่เกี่ยวข้องในแต่ละภาคส่วนในพื้นที่ทำให้ธุรกิจท้องถิ่นมีโอกาสในการขยายธุรกิจ
1 คิดจากอัตราร้อยละ 7 ของค่าลิขสิทธิ์ทั้งหมด
2 UTMB? World Series เป็นซีรีส์การแข่งขันใหม่เพื่อเป็นเส้นทางสู่ UTMB? Mont-Blanc เริ่มในปี 2022 ประกอบด้วยสนาม 4 ระดับ ได้แก่ ระดับ Final Major Event และ Qualifier
3 สนามระดับ Major หมายถึง การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับทวีป ในอเมริกา ยุโรป และในเอเชีย/โอเชียเนีย รวม 3 สนาม สำหรับประเทศไทยได้รับคัดเลือก Doi Inthanon Thailand by UTMB ให้เป็น 1 ใน 3 สนาม ระดับ Major สนามหนึ่งเดียวในเอเชีย/โอเชียเนีย
4 สนามระดับ Event หมายถึง รายการแข่งขันใน 6 ทวีปทั่วโลกประมาณ 30 รายการ ซึ่งนักวิ่งที่ผ่านสนามเหล่านี้จะได้รับ Running Stone เพื่อสามารถเข้าร่วมชิงชัยที่ UTMB? World Series Final ปัจจุบัน มีเพียง 25 สนามทั่วโลก ซึ่ง Amazean Jungle Thailand by UTMB ได้รับการบรรจุให้เป็นหนึ่งใน 25 แห่ง
5 รายการ Amazean Jungle จะสามารถจ่ายเงินได้ภายหลังลงนามในสัญญา ซึ่งปัจจุบันร่างสัญญาดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุด

11. เรื่อง แผนการใช้จ่ายเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ปีงบประมาณ 2566 (แผนปฏิบัติการประจำปี 2566)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอแผนการใช้จ่ายเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ปีงบประมาณ 2566 (แผนปฏิบัติการประจำปี 2566) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ที่ให้ พณ. (กองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศประเทศ) จัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ] ซึ่งคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศมีมติเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 อนุมัติแผนปฏิบัติการประจำปี 2566 มีโครงการรวมทั้งหมด 231 โครงการ วงเงินรวม 711.939 ล้านบาท แบ่งเป็น
                    1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งออก จำนวน 230 โครงการ วงเงิน 691.939 ล้านบาท ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้
                              1.1 ด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ                   มีโครงการรวม 58 โครงการ รวมวงเงิน 424.808 ล้านบาท แบ่งเป็น 4 กลยุทธ์ ดังนี้
                                        1.1.1 การผลักดันคลัสเตอร์เป้าหมาย* จำนวน 40 โครงการ วงเงิน 338.058 ล้านบาท เช่น การพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการและสินค้าอาหารฮาลาลไทยสู่ตลาดต่างประเทศ การส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้า/คู่ค้าในต่างประเทศและการพัฒนาส่งเสริมการตลาด สร้างภาพลักษณ์สินค้าอาหารและธุรกิจบริการอาหารไทย
                                        1.1.2 การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศของไทย จำนวน              6 โครงการ วงเงิน 34.329 ล้านบาท เช่น การพัฒนาผู้ประกอบการสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ การยกระดับการให้บริการด้านการค้าระหว่างประเทศสู่สากล และการจัดตั้งศูนย์บริการของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP Service Center) เพื่อการค้าระหว่างประเทศ
                                        1.1.3 การพัฒนาส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างภาพลักษณ์และการส่งเสริมการสร้างแบรนด์สินค้าและบริการ จำนวน 6 โครงการ วงเงิน 40.075 ล้านบาท เช่น การประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์สินค้าและบริการในอุตสาหกรรมเป้าหมายผ่านสื่อมวลชนต่างประเทศ และการสร้างแบรนด์ประเทศไทยในด้านการค้าและบริการ
                                        1.1.4 การพัฒนาองค์กรสู่อนาคต จำนวน 6 โครงการ วงเงิน 12.345 ล้านบาท เช่น การสนับสนุนค่าบำรุงสมาชิกของหอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทยการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค
                              1.2 ด้านการเจรจาเชิงรุกเพื่อปิดตลาด มีโครงการรวม 154 โครงการ รวมวงเงิน 89.361 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 กลยุทธ์ ดังนี้
                                        1.2.1 การประชุมเจรจาเชิงรุก จำนวน 153 โครงการ วงเงิน 85.361 ล้านบาท เช่น การจัดประชุมสัมมนามันสำปะหลังโลก การจัดประชุมข้าวนานาชาติและการประชุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศในต่างประเทศ
                                        1.2.2 การปกป้องผลประโยชน์และแก้ไขอุปสรรคทางการค้า จำนวน 1 โครงการ วงเงิน 4 ล้านบาท คือ การจัดจ้างที่ปรึกษาเฉพาะด้านมาตรการเยียวยาทางการค้า
                              1.3 ด้านการเร่งรัดทำการตลาดเชิงกลยุทธ์ มีโครงการรวม 18 โครงการ รวมวงเงิน 177.769 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 กลยุทธ์ ดังนี้
                                        1.3.1 การรักษาและขยายตลาดเดิม เปิดตลาดใหม่ ฟื้นตลาดเก่า จำนวน                   15 โครงการ วงเงิน 155.807 ล้านบาท เช่น การเสริมสร้างศักยภาพผู้ส่งออกไทยด้วยข้อมูลการค้าตลาดภูมิภาคอาเซียน จีน เอเชียใต้ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย และการส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการตลาดและการทำธุรกิจระหว่างประเทศตลาดอาเซียน
                                        1.3.2 การผลักดันการค้าผ่านช่องทางตลาดพาณิชย์ดิจิทัลและช่องทางการกระจายสินค้ารูปแบบใหม่ จำนวน 3 โครงการ วงเงิน 21.962 ล้านบาท เช่น การพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) สู่สากลด้วยพาณิชย์ดิจิทัล การขับเคลื่อนธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ระหว่างประเทศ
                    2. งบงานตามนโยบายและมาตรการเร่งด่วน จำนวน 1 โครงการ วงเงิน 20 ล้านบาท


* กลุ่มคลัสเตอร์สำคัญ เช่น สินค้าอาหารและธุรกิจบริการอาหาร สินค้าฮาลาล สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ และธุรกิจบริการศักยภาพ
  กลุ่มคลัสเตอร์ ไทยแลนด์ 4.0 เช่น กลุ่มสินค้าเกษตรนวัตกรรม อาหารและเกษตรพัฒนาไปสู่เทคโนโลยีชีวภาพ กลุ่มสาธารณสุขสุขภาพ พัฒนาไปสู่เทคโนโลยีทางการแพทย์

12. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5/2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการติดตตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปผลการประชุม กตน. ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกลและให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุม กตน. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ในการประชุม กตน. ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 โดยมีรัฐมนตรีประจำ                     สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมฯ มีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
                              1. การติดตามสถานการณ์อุทกภัย
ประเด็นสำคัญเร่งด่วน/ผลการดำเนินงาน          ความเห็น/ข้อสังเกต/มติที่ประชุม กตน.
(1) การเตรียมการเพื่อรองรับภัยแล้งและอุทกภัยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ดำเนินการ ดังนี้
          (1.1) ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำสายหลักและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีลำน้ำที่ต้องมีการเฝ้าระวังอุทกภัย ได้แก่ ลำน้ำยม ลำน้ำน่าน ลำน้ำแม่กลองและท่าจีน และลำน้ำบางประกง รวมถึงลำน้ำที่มีแนวโน้มปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น คือ ลำน้ำมูล ในส่วนของลำน้ำอื่น ๆ ปริมาณน้ำยังอยู่ในค่าปกติ ทั้งนี้ ได้ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด
          (1.2) จัดทำ 13 มาตรการ บริหารจัดการน้ำในฤดูฝนปี 2565 เช่น การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก การทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่-กลาง และเขื่อนระบายน้ำ การเตรียมพร้อม/วางแผนเครื่องจักร เครื่องมือประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ การจัดเตรียมพื้นที่อพยพและซักซ้อมแผนเผชิญเหตุในกรณีมีความเสี่ยง และการติดตามประเมินผลเพื่อปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์
          (1.3) แต่งตั้งคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดชัยนาทเพื่อบูรณการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณากำหนดจุดและชี้เป้า เพื่อเตรียมการป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่
          (1.4) กำหนดแผนหลักการบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง จำนวน 9 แผนงาน เช่น การขับเคลื่อนโครงการระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร เพื่อลดผลกระทบของอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกำหนดแผนงานขนาดใหญ่ เช่น แผนงานคลองระบายน้ำหลากชัยนาท-ป่าสัก-อ่าวไทย โดยเป็นการเพิ่มความสามารถในการตัดยอดน้ำหลากและการระบายน้ำให้ลงสู่ทะเล          ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. :
(1) กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แจกจ่ายถุงยังชีพให้กับประชาชน    ผู้ประสบสาธารณภัยต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง 632 ชุด
(2) ให้ สทนช. และ กษ. โดยกรมชลประทานเพิ่มเติมข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กหรือขนาดจิ๋ว ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาที่ดินและสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อให้รับทราบภาพรวมของปริมาณน้ำนอกเขตชลประทานและสามารถนำข้อมูลไปบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งต่อไป
(3) ให้ กษ. ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในด้านการเกษตร ปศุสัตว์และประมง ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากซึ่งอาจเกิดขึ้นซ้ำซ้อนในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนในภาพรวมและการใช้จ่ายงบประมาณเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
(4) ให้ กษ. โดยกรมชลประทานประสานกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบทอย่างใกล้ชิด ในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะการก่อสร้างถนนและทางหลวงในพื้นที่   ต่าง ๆ ซึ่งอาจกีดขวางทางน้ำเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ โดยอาจจำเป็นต้องพิจารณาจัดทำทางระบายน้ำเพิ่มเติม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่
(5) ให้ มท. โดยการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ ตรวจสอบ กำกับติดตามและสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันไฟฟ้ารั่วในพื้นที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น โรงเรียน ตลาด พื้นที่อยู่อาศัย และชุมชน เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากเหตุการณ์ไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูดในช่วงที่เกิดสถานการณ์อุทกภัย
มติที่ประชุม : รับทราบ และให้ สทนช. กษ. มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
(2) นโยบายเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย
    (2.1) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ได้ดำเนินการ ดังนี้
          (2.1.1) มาตรการเตรียมการรับมือปัญหาอุทกภัย เช่น 1) วิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก/พื้นที่เกษตรเสี่ยงน้ำท่วมปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่าง ปริมาณน้ำในลำน้ำ และกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พื้นที่เกษตรกรรม และชุมชนที่เสี่ยงเกิดอุทกภัย และ 2) จัดสรรทรัพยากร เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล หรือเครื่องมือต่าง ๆ ในแต่ละพื้นที่ให้เพียงพอ โดยเฉพาะจุดเสี่ยงน้ำท่วมเพื่อเตรียมพร้อมใช้งานตลอดเวลา โดยในปี 2565 ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ 2,198 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 617 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 351 คัน และเครื่องจักรกลสนับสนุนอื่น ๆ 2,219 หน่วย
          (2.1.2) ตรวจสอบและจัดทำรายละเอียดการใช้จ่ายค่าทดแทนหรือค่าชดเชยจากอุทกภัย โดยการให้ความช่วยเหลือและความเสียหายเบื้องต้น เช่น 1) การให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้า เช่น สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 205 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 338 เครื่อง กระสอบทราย 12,000 กระสอบ และเรือตรวจการ 1 ลำ อพยพสัตว์ 12,181 ตัว สนับสนุนหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน 173.46 ตัน และ 2) ผลกระทบด้านการเกษตร เช่น ด้านพืช ได้รับผลกระทบ 45 จังหวัดมีเกษตรกรได้รับความเสียหาย 3,906 ราย พื้นที่ 24,761 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 17,963 ไร่ พืชไร่และพืชผัก 6,348 ไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้นและอื่น ๆ 450 ไร่ คิดเป็นเงิน 38.46 ล้านบาท โดยให้ความช่วยเหลือเกษตรกร            425 ราย พื้นที่ 1,454 ไร่ วงเงิน 2.96 ล้านบาท ด้านประมง ได้รับผลกระทบ 22 จังหวัด มีเกษตรกรได้รับความเสียหาย 113 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับความเสียหาย  222 ไร่ คิดเป็นเงิน 1.44 ล้านบาท และด้านปศุสัตว์ ได้รับผลกระทบ 7 จังหวัด มีเกษตรกรได้รับความเสียหาย 3,454 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 783,807 ตัว ทั้งนี้ อยู่ระหว่างดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังและมาตรการอื่น ๆ ของ กษ.
    (2.2) กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้ดำเนินการ เช่น
          (2.2.1) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเตรียมความพร้อมตั้งแต่การเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์การจัดทำแผนเผชิญเหตุ การเตรียมการระบายน้ำ การแจ้งเตือนและจัดชุดปฏิบัติการเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนในด้าน                 ต่าง ๆ จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. 2562 ในกรณีภัยแล้ง ฝนแล้ง และฝนทิ้งช่วง
          (2.2.2) บริหารจัดการน้ำเพื่อเตรียมรองรับอุทกภัย เช่น 1) กำจัดผักตบชวาอย่างต่อเนื่องโดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จัดเก็บแล้ว 7.10 ล้านตัน และ 2) ก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ใช้งานและดูแลรักษา จำนวน    49 จังหวัด 139 พื้นที่ชุมชน
          (2.2.3) มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ เช่น แจ้งเตือนการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขังในพื้นที่เสี่ยงภัย รายงานสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำที่มีความเสี่ยงเกิดน้ำล้นตลิ่ง และดำเนินโครงการ ?มหาดไทยสูบส่งน้ำ ส่งสุข คลายทุกข์ คลายแล้ง?
    (2.3) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ได้ดำเนินการ เช่น
          (2.3.1) ระบุจังหวัดที่มีความเสี่ยงจะมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปกติ และจังหวัดที่มีความเสี่ยงจะมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติจนอาจเกิดฝนแล้วหรือน้ำท่วมได้อย่างครอบคลุมพื้นที่เกิดภัยจริง และจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันล่วงหน้าในพื้นที่เสี่ยงในช่วงฤดูฝน
          (2.3.2) จัดทำระบบการรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับฝนแบบใกล้เวลาจริงที่สุด เพื่อสนับสนุนวิเคราะห์ การตัดสินใจ การพยากรณ์อากาศ และติดตามสถานการณ์ทั้งปริมาณน้ำฝนในช่วงฤดูฝนและภัยแล้ง
          (2.3.3) จัดทำการวิเคราะห์เส้นฝนเท่าปริมาณน้ำฝนทั่วประเทศและรายลุ่มน้ำ และพยากรณ์น้ำท่วมฉับพลันล่วงหน้า
    (2.4) กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ดำเนินการจัดเรียงกระสอบทรายปิดกั้นแนวริมคลองในชุมชนและหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมขัง โดยเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่ลงคลองสายหลัก รวมทั้งติดตตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิมซึ่งได้รับการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำจากหน่วยงาน  ต่าง ๆ รวม 28 เครื่อง ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำของสำนักงานการระบายน้ำ 42 เครื่อง และของกองทัพเรือ 32 เครื่อง
(3) โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564)
    - สทนช. ได้ดำเนินโครงการฯ มีความคืบหน้าคิดเป็นร้อยละ 20.72 ซึ่งยังมีความล่าช้า อย่างไรก็ตาม สทนช. ได้เฝ้าระวังในพื้นที่ โดยเฉพาะเมื่อถึงฤดูฝนในภาคใต้ซึ่งอาจจำเป็นต้องมีการตั้งศูนย์ส่วนหน้าต่อไป
(4) การศึกษาความเหมาะสมของแนวทางผันน้ำในแม่น้ำชี-เซบาย-เซบก-ตุงลุง-แม่น้ำมูล (ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564)
    - สนทช. ได้ศึกษาความยาวของการผันน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระยะทางรวม 180 กิโลเมตร มีระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี และจะดำเนินการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อไป
(5) โครงการประตูระบายน้ำแม่น้ำตรัง (ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีในพื้นที่จังหวัดกระบี่และตรัง เมื่อวันที่             15-16 พฤศจิกายน 2564)
    - สนทช. ได้ดำเนินการขุดคลองผันน้ำ ความยาว               7.55 กิโลเมตร และก่อสร้างประตูระบายน้ำ 2 แห่ง วงเงิน 1,482.5 ล้านบาท ระยะเวลา 4 ปี (ปี 2559-2565) ปัจจุบันมีผลการดำเนินงานร้อยละ 90 รวมทั้งการก่อสร้างประตูระบายน้ำในแม่น้ำตรังโดยขุดช่องลัดใหม่และปรับปรุงช่องลัดเดิม และขุดลอกขยายลำน้ำ กรอบวงเงินโครงการ             950 ล้านบาท ระยะเวลา 5 ปี (ปี 2567-2570) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบและอยู่ระหว่างกระบวนการจัดหาที่ดินเพื่อดำเนินโครงการ
(6) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ สรุปได้ ดังนี้
    (6.1) กษ. เช่น 1) นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำให้มีความทันสมัยทำให้การเสนอข้อมูลข่าวสารมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิถีชีวิตของชุมชน 2) เพิ่มช่องทางการสื่อสารให้หลากหลายรูปแบบและจัดกลุ่มข้อมูลที่จะสื่อสารให้เหมาะสมกับช่วงอายุรวมถึงรูปแบบการสื่อสารจะต้องเข้าใจง่ายเป็นมิตรกับผู้รับข่าวสารและ 3) นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์ใช้กับกระบวนการตรวจสอบยืนยันความเสียหายจากภัยพิบัติด้านการเกษตร เพื่อลดระยะเวลาและข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากรในการสำรวจตรวจสอบความเสียหาย
    (6.2) ดศ. ปัจจุบันยังคงมีความคลาดเคลื่อนในการคาดหมายการพยากรณ์ จึงยังต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น
    (6.3) กทม. ได้ดำเนินการก่อสร้างไฮเวย์ทางลัดพิเศษเพื่อเร่งระบายน้ำจากคลองประเวศบุรีรมย์ตรงออกสู่ทะเลอ่าวไทยเพื่อลดระดับน้ำคลองประเวศบุรีรมย์ และช่วยลดระดับน้ำคลองข้างสนามบินสุวรรณภูมิและคลองต่าง ๆ               ที่อยู่ข้างเคียงแนวทางลัดน้ำดังกล่าว
                    2. การขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมเกษตรมูลค่าสูงเพื่อความมั่นคงทางอาหาร                      (900 ต้นแบบเทคโนโลยี) มีการดำเนินงานของหน่วยงาน สรุปได้ ดังนี้
ประเด็นสำคัญเร่งด่วน/ผลการดำเนินงาน          ความเห็น/ข้อสังเกต/มติที่ประชุม กตน.
(1) การส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรเพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกร
    (1.1) กษ. ได้ดำเนินการ เช่น
          (1.1.1) วิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เพื่อการผลิตพืชปลอดภัย เช่น 1) ชีวภัณฑ์ที่มีศักยภาพควบคุมศัตรูพืชทางการเกษตร 6 ชนิด และ 2) ต้นแบบเทคโนโลยีการใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เหมาะสมเฉพาะพื้นที่และพืชปลูก จำนวน 38 ต้นแบบ
          (1.1.2) พัฒนาสายพันธุ์เห็ดฟาง เห็ดเป๋าฮื้อและเห็ดขอนขาวสายพันธุ์ใหม่ ได้แก่ 1) เห็ดฟาง ผลิตเป็นเชื้อเห็ดขยาย สร้างรายได้ 1.13 ล้านบาท และผลิตเป็นดอกเห็ด สร้างร้ายได้ 17.46 ล้านบาท 2) เห็ดเป๋าฮื้อ ผลิตเป็นเชื้อเห็ด สร้างรายได้ 292,800 บาท ผลิตเป็นก้อนเชื้อเห็ด สร้างรายได้ 12.81 ล้านบาท และผลิตเป็นดอกเห็ด สร้างรายได้ 20.49 ล้านบาท และ 3) เห็ดขอนขาว ผลิตเป็นเชื้อเห็ด สร้างรายได้ 268,800 บาท ผลิตเป็นก้อนเชื้อเห็ด สร้างรายได้ 9.40 ล้านบาท และผลิตเป็นดอกเห็ด สร้างได้รายได้11.76 ล้านบาท
          (1.1.3) วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และสร้างความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งวิจัยพัฒนาวิธีการตรวจรับรองสินค้าพืชดัดแปลงพันธุกรรรม โดยตรวจวิเคราะห์รับรองสินค้า จำนวน 5,000 ตัวอย่างต่อปี
          (1.1.4) บริหารความหลากหลายทางชีวภาพของธนาคารเชื้อพันธุ์พืชกรมวิชาการเกษตร สู่งานวิจัยและการใช้ประโยชน์ เพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยใช้งบบริหารความหลากหลายทางชีวภาพ โดยได้อนุรักษ์เมล็ดเชื้อพันธุ์พืชในระยะปานกลางและระยะยาว ได้แก่ ไพลดำ พืชสกุลปุด และมะเขือพวง
    (1.2) กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการโครงการศูนย์จับคู่ธุรกิจอาหารนวัตกรรม (Innovative Food Matching Centre) : ระยะที่ 1 จากหิ้งสู่ห้างด้วยมาตรฐานอาหารปลอดภัย (Phase I : From Research to Retail  through Food Safety Standards) โดยให้คำปรึกษาและพัฒนางานวิจัยต่อยอดสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและโครงการส่งเสริมการส่งออกอาหารแปรรูป : ครัวไทยสู่ครัวโลก โดยส่งเสริมผู้ประกอบการให้พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่ได้คุณภาพมาตรฐานของประเทศคู่ค้า มีผลิตภัณฑ์อาหารที่เข้าร่วมโครงการ 86 ผลิตภัณฑ์          ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. :
กษ. ควรเป็นหน่วยงานในการรวบรวมจัดทำบัญชีนวัตกรรมสนับสนุนให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งบูรณาการข้อมูลร่วมกับ อว. มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายผลการดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมเกษตรมูลค่าสูงเพื่อความมั่นคงทางอาหาร (900 ต้นแบบเทคโนโลยี) ต่อไป
มติที่ประชุม : รับทราบ และให้ กษ. อว. มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับความเห็นและข้อสังเกตของที่ประชุม กตน. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
(2) การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการแปรรูปสินค้าเกษตร
    (2.1) กษ. ผลักดันการแปรรูปสินค้าเกษตร เช่น พืชสมุนไพรและการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างจุดขายของสินค้าเกษตรใหม่ด้วยอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นรวมถึงการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรของไทย
    (2.2) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พัฒนาพืชสมุนไพรและการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งนำองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการผลิตสมุนไพรให้ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทานรวมทั้งผลักดันศักยภาพของผู้ปลูกสมุนไพรไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้
(3) การบริหารจัดการด้านการเกษตรให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมในปัจจุบัน
    - กษ. ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม เป็นการผลิตสินค้าเกษตรชนิดใหม่ที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพ โดยดำเนินการแล้ว 67,290 ไร่
(4) การยกระดับและพัฒนาคุณภาพการผลิตสมุนไพร
    - อว. ดำเนินการทดสอบพิษวิทยาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสมุนไพร เช่น ผลิตภัณฑ์ TERRY TIME TO SHINE SERUM IN CREAM การศึกษาวิจัยฤทธิ์ชีวภาพของสารสกัดจากดอกดาหลาเพื่อเชิงพาณิชย์ และดำเนินงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางดอกบัวแดงและการสกัดน้ำมันดอกจันทน์กะพ้อ โดยพัฒนาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากพืช
(5) การส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร
    - กษ. จัดทำแผนการผลิตและการตลาดข้าวสารครบวงจร ปี 2565/2566 เช่น ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/2566 แล้ว ร้อยละ 87.50 พื้นที่ 54.33 ล้านไร่ และโครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่องด้านข้าว                   992 ราย
(6) การพัฒนาพันธุ์ข้าว
    - กษ. ดำเนินการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ต้นเตี้ย ผลผลิตสูง ต้านทานโรคแมลง และคุณภาพดี โดยใช้นวัตกรรมด้านพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตข้าวเพื่อรองรับการเกษตรสมัยใหม่ รวมทั้งเทคโนโลยีชีวภาพยุคใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ปรับปรุงพันธุ์ข้าว เพื่อการค้าและการใช้ประโยชน์ 166 พันธุ์
(7) การวิจัยและพัฒนาอย่างครอบคลุมทั้งระบบ
    - อว. ดำเนินการวิจัยและพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติช่วยในการเจริญเติบโตของพืช อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่พี่น้องเกษตรกร เช่น 1) ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง 2) ปุ๋ยอินทรีย์ด้วยระบบเติมอากาศแบบลูกหมุน 3) ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสั่งตัด/โปรแกรมการคำนวณการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสำหรับพืชเศรษฐกิจ และ                4) ปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าสำหรับการลิตข้าวแบบใช้ปุ๋ยครั้งเดียว
(8) ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน
    (8.1) กษ. ควรมีการขยายผลของงานวิจัยไม่สู่เกษตรกรให้แพร่หลายเพื่อจะได้ผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกษตรกร ลด ละ เลิกใช้ยาปราบศัตรูพืชโดยเร็ว โดยการใช้ชีวภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอและเป็นที่ยอมรับของเกษตรกร และควรมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานในพื้นที่อย่างไร้รอยต่อ เพื่อส่งมอบผลงานสู่กลุ่มเป้าหมาย
    (8.2) อว. นำถุงพลาสติกชีวภาพมาใช้ในการคัดแยกขยะอินทรีย์ แล้วจัดเก็บเพื่อนำมาหมักรวมกับมูลสัตว์เพื่อพัฒนาเป็นสารปรับปรุงดินที่สามารถเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุภายในดิน ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงขึ้น
                    3. รับทราบรายงานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณที่เกินกว่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ดังนี้
                              3.1 ผลการใช้จ่ายงบประมาณ ณ วันที่ 9 กันยายน 2565
หน่วย : ล้านบาท
งบประมาณรายจ่าย          วงเงิน ตาม พ.ร.บ. งบประมาณ          จัดสรร          แผนการใช้จ่ายงบประมาณ          ผลการใช้จ่ายงบประมาณ          สูง/ต่ำกว่าแผน
ภาพรวม
ร้อยละ/พ.ร.บ.
ร้อยละ/จัดสรร          3,100,000.0000          3,052,962.8620
98.48          2,995,057.8976
96.61
98.10          2,886,181.6958
93.10
94.54          -108,876.2018
-3.51
-3.57
รายจ่ายประจำ
ร้อยละ/พ.ร.บ.
ร้อยละ/จัดสรร          2,491,839.9733          2,495,932.6025
100.16          2,411,289.4745
96.77
96.61          2,395,784.9027
96.15
95.99          -15,504.5718
-0.62
-0.62
รายจ่ายลงทุน
ร้อยละ/พ.ร.บ.
ร้อยละ/จัดสรร          608,160.0267          557,030.2595
91.59          583,768.4231
95.99
104.80          490,396.7931
80.64
88.04          -93,371.6300
-15.35
-16.76
                              3.2 สรุปรายการผูกพันใหม่ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่มีวงเงินเกิน                         1,000  ล้านบาท ณ วันที่ 13 กันยายน 2565 ของ 5 กระทรวง รวม 9 รายการ วงเงิน 19,999.1455 ล้านบาท ได้แก่ กระทรวงกลาโหม 2 รายการ กระทรวงการคลัง 1 รายการ กษ. 3 รายการ กระทรวงคมนาคม 2 รายการ และกระทรวงยุติธรรม 1 รายการ
                    4. รายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการด้านการสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ภายใต้ กตน. ดังนี้
ประเด็นสำคัญเร่งด่วน/ผลการดำเนินงาน          ความเห็น/ข้อสังเกต/มติที่ประชุม กตน.
คณะอนุกรรมการด้านการสร้างการรับรู้ฯ ได้นำนโยบายสำคัญไปขยายผลขับเคลื่อนเพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจและก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินการสร้างการรับรู้ในแต่ละพื้นที่ และมอบหมายกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ใน                5 เรื่องหลัก ได้แก่ 1) การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน                 2) การขับเคลื่อนเกษตรสร้างมูลค่า 3) มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สิน และมหกรรมการไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน         4) มาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาพลังงาน และ              5) สลากกินแบ่งรัฐบาล          ความคิดเห็นและข้อสังเกตของ กตน. :
(1) ให้ทุกส่วนราชการให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประเด็นข่าวของหน่วยงาน โดยเฉพาะข่าวที่เป็นเรื่องด่วน เรื่องสำคัญและมีผลกระทบสูง โดยให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
(2) ให้ กปส. และส่วนราชการต่าง ๆ หาแนวทางในการเชื่อมโยงการนำเสนอข่าวในความรับผิดชอบกับสื่ออื่น ๆ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้เข้าถึงประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เพิ่มขึ้น
(3) ให้ทุกส่วนราชการดำเนินการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ในประเด็นข่าว              ต่าง ๆ ด้วยมิติหรือมุมมองใหม่ ๆ ที่สามารถดึงดูดความสนใจและสร้างการรับรู้แก่ประชาชนเพิ่มขึ้น
มติที่ประชุม : รับทราบ
                    5. รับทราบการพัฒนาระบบติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลพัฒนาแพลตฟอร์มที่สามารถใช้ในการรวบรวม และติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีของส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินการมีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยให้เกิดการบูรณาการข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีฐานข้อมูลภาครัฐขนาดใหญ่ที่สำคัญต่อการสนับสนุนการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ สลน. ได้จัดสัมมนา                เพื่อชี้แจงส่วนราชการ และระดมความเห็นเกี่ยวกับการใช้งานระบบดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565

13. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19 และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.ก. กู้เงินโควิด 19 เพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และให้นำเสนอรายงานดังกล่าวต่อรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงการคลังได้จัดทำรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.ก. กู้เงิน                 โควิด-19 และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19 เพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เรียบร้อยแล้ว โดย              สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. รายงานตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19
                    ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติแผนงานหรือโครงการตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ จำนวน 1,151 โครงการ โดยมีหน่วยงานที่ขอยกเลิกโครงการ เนื่องจากไม่สามารถดำเนินการได้ในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 57 โครงการ คงเหลือโครงการที่ดำเนินการและใช้จ่ายเงินกู้ตาม พ ร.ก. กู้เงินโควิด-19 จำนวน 1,094 โครงการ วงเงินรวม 982,290.74 ล้านบาท ซึ่งหน่วยงานได้เบิกจ่ายเงินกู้แล้ว จำนวน  950,169.70  ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 96.73 ของวงเงินอนุมัติ อย่างไรก็ดี ณ วันที่ 30 กันยายน 2565  โครงการภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19 ที่ดำเนินการแล้วเสร็จมีจำนวน 678 โครงการ แบ่งเป็นโครงการภายใต้แผนงานที่ 1 จำนวน 47 โครงการ แผนงานที่ 2 จำนวน 19 โครงการ และแผนงานที่ 3 จำนวน 612 โครงการ รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                    แผนงานที่ 1 การใช้จ่ายเงินกู้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีโครงการที่สำคัญ ได้แก่ การจัดซื้อวัคซีนโควิด-19 จำนวน 45.90 ล้านโดส การสนับสนุนค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประชาชนที่เจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19 จำนวน 30,348.35 ล้านบาท การสนับสนุนค่าตอบแทนสำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในชุมชนทั่วประเทศ จำนวน 1,037,042 ราย ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนได้รับการดูแล เฝ้าระวัง และคัดกรองโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องช่วยหายใจ เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า เครื่องเอ็กซเรย์ เครื่องฉายรังสีพลังงานแสง และเครื่องตรวจไวรัสแบบอัตโนมัติด้วยเทคนิค Realtime PCR รวมถึงการเตรียมความพร้อมและพัฒนาระบบสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตชุดทดสอบ Rapid  test สำหรับตรวจหาแอนติบอดีจากการติดเชื้อโรคโควิด-19 การพัฒนาศักยภาพของการผลิตและการควบคุมคุณภาพวัคซีนและยาชีววัตถุสำหรับโรคโควิด-19 การผลิตชุดสกัด RNA เพื่อการตรวจโรคโควิด-19 และปรับปรุงหอผู้ป่วยวิกฤต ICU Negative Pressure COVID-19 เป็นต้น
                    แผนงานที่ 2 การใช้จ่ายเงินกู้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้กับ                 ภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ พร้อมไปกับการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากภายใต้แผนงานที่ 2 สามารถแบ่งการให้ความช่วยเหลือออกได้เป็น 3 รอบ ได้แก่ในช่วงปี 2563 มีการจ่ายเงินช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยประมาณ 41.02 ล้านราย รอบที่ 2 ในช่วงต้นปี 2564  ที่มีการระบาดระลอกใหม่มีการจ่ายเงินช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยประชาชนประมาณ 40.93 ล้านราย และมีมาตรการเพื่อบรรเทาค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค โดยให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าและน้ำประปาให้กับประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า/น้ำประปา จำนวน 27.23 ล้านราย และรอบที่ 3 ในช่วงกลางปี 2564 มีการออกมาตรการจ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนเพิ่มเติมประมาณ 41.30 ล้านราย และมีการออกมาตรการเพื่อบรรเทาค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค (ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา) ให้กับประชาชนเพิ่มเติม จำนวน 26.88 ล้านราย
                    แผนงานที่ 3 การใช้จ่ายเงินกู้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม การดำเนินโครงการเพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ จำนวนกว่า 1.59  ล้านราย อีกทั้งก่อให้เกิดการจ้างงานในระดับชุมชน ทั้งประชาชนในท้องถิ่น และนักศึกษาจบใหม่  จำนวนกว่า 92,605 ตำแหน่ง นอกจากนี้ การดำเนินโครงการในพื้นที่เศรษฐกิจฐานราก ส่งผลให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้น สามารถสร้างรายได้จากการพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรให้มีคุณภาพและราคาสูงขึ้น สามารถขยายช่องทางการตลาดให้ง่ายต่อการเข้าถึงของผู้บริโภค และสามารถลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันโดยการปลูกพืชผักและเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคเป็นอาหารในครัวเรือนถือเป็นผลสำเร็จที่สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนและเศรษฐกิจท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน
                    2. รายงานตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.ก กู้เงินโควิด-19 เพิ่มเติม
                    ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 ครม. ได้อนุมัติแผนงานหรือโครงการที่ใช้จ่ายเงินกู้ตามบัญชีท้าย พ.ร.ก กู้เงินโควิด-19 เพิ่มเติม ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ จำนวน 2,539 โครงการ  โดยมีหน่วยงานที่ขอยกเลิก จำนวน 1 โครงการ เนื่องจากหน่วยงานได้รับงบประมาณอื่นในการดำเนินการเรียบร้อยแล้ว คงเหลือโครงการที่ดำเนินการและใช้จ่ายเงินกู้ตาม พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19 เพิ่มเติม จำนวน 2,538 โครงการ ซึ่งหน่วยงานได้เบิกจ่ายเงินกู้แล้ว จำนวน 426,434.91 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 85.29 ของวงเงินอนุมัติ อย่างไรก็ดี               ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 โครงการภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19 เพิ่มเติม  ที่ดำเนินการแล้วเสร็จมีจำนวน                          38 โครงการ แบ่งเป็นโครงการภายใต้แผนงานที่ 1 จำนวน 6 โครงการ แผนงานที่ 2 จำนวน 27 โครงการ และแผนงานที่ 3 จำนวน 5 โครงการ รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                    แผนงานที่ 1 การใช้จ่ายเงินกู้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีการดำเนินโครงการเพื่อการจัดซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จำนวนกว่า 118.13 ล้านโดส เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ประชาชนในประเทศ และโครงการเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินให้กับหน่วยบริการหรือสถานพยาบาลที่ให้บริการไปแล้ว ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินของหน่วยบริการหรือสถานพยาบาล
                    แผนงานที่ 2 การใช้จ่ายเงินกู้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชน             ทุกสาขาอาชีพ มีการดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาให้ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้เรียน จำนวนกว่า 11.65 ล้านราย ช่วยเหลือประชาชนที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ให้ได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยา จำนวน 8.58 ล้านราย และมาตรา 33 จำนวน 3.36 ล้านราย ช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค (ค่าไฟฟ้าและคำน้ำประปา ให้กับประชาชนจำนวนกว่า 28.37 ล้านราย นอกจากนี้ยังเพิ่มวงเงินให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีผู้ใช้สิทธิ์ประมาณ 13.44 ล้านราย และผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษที่มีผู้ใช้สิทธิ์ประมาณ 1.45 ล้านราย
                    แผนงานที่ 3 การใช้จ่ายเงินกู้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีการใช้จ่ายสำหรับโครงการเพื่อส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs โดยมีนายจ้างภาคเอกชนที่อยู่ในระบบประกันสังคมได้รับเงินอุดหนุน จำนวน 240,718 แห่ง และลูกจ้างได้รับประโยชน์ จำนวน 3.43 ล้านราย รวมทั้งดำเนินโครงการเพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศโดยสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ จำนวนกว่า 1.31 ล้านราย ผ่านการดำเนินโครงการเพิ่มวงเงินสนับสนุนโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการเพิ่มวงเงินสนับสนุนโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้

14. เรื่อง โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 (โครงการฯ) วงเงินลงทุน 36,829.499 ล้านบาท (รวมสำรองราคาเปลี่ยนแปลงร้อยละ 10 ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 และดอกเบี้ยระหว่างก่อสร้าง 921.6 ล้านบาท) ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ทั้งนี้ คค. ได้มอบหมายให้ ทอท. รับความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.) กระทรวงการคลัง (กค.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ไปพิจารณาประกอบการดำเนินงานโครงการฯ ต่อไปด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 (โครงการฯ) ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อคืนสภาพขีดความสามารถเดิมของท่าอากาศยานดอนเมืองและพัฒนาให้เต็มศักยภาพของพื้นที่ให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ                    40 ล้านคนต่อปี ซึ่งจะเป็นระดับจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศและภายในประเทศที่ท่าอากาศดอนเมืองให้บริการอยู่ในปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019* และหากปรับวิธีปฏิบัติการบินโดยให้อากาศยานขึ้น - ลงแบบอิสระ และลดระยะระหว่างอากาศยานแบบยื่นออก (Finger Pier) จะทำให้ท่าอากาศยานดอนเมืองรองรับผู้โดยสารได้ 60 ล้านคนต่อปี อย่างไรก็ตาม จากประมาณการแนวโน้มจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศและภายในประเทศ ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง ของ ทอท. พบว่า เมื่อโครงการฯ สิ้นสุดในปี 2572 คาดว่าจะมีจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศและภายในประเทศ ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง จำนวน 57.411 ล้านคน
*ปัจจุบันท่าอากาศยานดอนเมืองมีอาคารผู้โดยสารจำนวน 2 อาคาร และมีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารรวม 30 ล้านคนต่อปี (ตามที่ระบุไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับเดิม) แบ่งเป็น                               (1) อาคารผู้โดยสารอาคาร 1 รองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ จำนวน 12 ล้านคนต่อปี (2) อาคารผู้โดยสารอาคาร 2 รองรับผู้โดยสารในประเทศ จำนวน 18 ล้านคนต่อปี

15. เรื่อง รายงานผลการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565                  ไตรมาสที่ 4 ของกรมบังคับคดี
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอรายงานผลการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ไตรมาสที่ 4 สามารถผลักดันทรัพย์สินรวมคิดเป็นเงินจำนวน 57,509,351,092 บาท ประกอบด้วย การขายทอดตลาด คิดเป็นเงินจำนวน 15,439,844,877 บาท การงดการบังคับคดี คิดเป็นเงินจำนวน 17,482,904,492 บาท และการถอนการบังคับคดี คิดเป็นเงินจำนวน 24,586,601,723 บาท

16. เรื่องรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกันยายน 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกันยายน 2565 ดังนี้
                    สาระสำคัญ
                    ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศทยอยปรับตัวดีขึ้น รวมถึงตลาดส่งออกยังคงขยายตัวได้ ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากการอ่อนค่าของเงินบาท และดัชนีค่าระวางเรือระหว่างประเทศในเส้นทางสำคัญที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกันยายน 2565 ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ
                    1. รถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 25.98 จากปัญหาการขาดแคลนชิปในปีนี้คลี่คลายลง ผู้ผลิตสามารถทยอยผลิตและส่งมอบรถยนต์ได้เพิ่มขึ้น รวมถึงการจำหน่ายในประเทศและการส่งออกขยายตัวดี
                    2. การกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 21.68 จากการเปิดประเทศเต็มรูปแบบและการท่องเที่ยวฟื้นตัว ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันเพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เติบโตตามไปด้วย นอกจากนี้มีการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นบางรายในปีก่อน ทำให้ฐานการผลิตต่ำ ขณะที่การผลิตในปีนี้ดำเนินการได้ตามปกติ
                    3. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 10.59 ตามตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โลกที่มีความต้องการต่อเนื่อง
                    4. รถจักรยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 32.69 ตามการขยายตัวของทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก รวมถึงได้รับอานิสงส์จากฐานต่ำในปีก่อน ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ค่อนข้างรุนแรง
                    5. น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 34.41 เนื่องจากมีผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ในช่วงก่อนหน้า ปาล์มน้ำมันมีราคาสูง เกษตรกรจึงเร่งบำรุงต้นและผลปาล์ม ทำให้ปีนี้ได้ผลผลิตค่อนข้างมาก

17. เรื่อง ร่าง แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 ? 2570)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอดังนี้
                     1. แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)
                    2. ให้หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และภาคเอกชนแปลงแนวทางตามแผนปฏิบัติการฯ สู่การปฏิบัติ โดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการประจำปีและรายงานผลการดำเนินงานในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำหนด
                     สำหรับค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินการภายใต้ร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าวเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรไว้แล้วหรือปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ แล้วแต่กรณี ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และในปีต่อ ๆ ไปให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามภารกิจเท่าที่จำเป็นเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                     ร่าง แผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
ระยะเวลาดำเนินการ          พ.ศ. 2566-2570
กลุ่มเป้าหมาย          หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และภาคเอกชน
วัตถุประสงค์          เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแปลงแนวทางการพัฒนาของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (21) ประเด็น การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบฯ ผลักดันไปสู่การปฏิบัติ และบริหารการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของแผนแม่บทฯ ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด
เป้าหมาย ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย          - เป้าหมายภาพรวมได้กำหนด ?ประเทศไทยปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ? รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริต หน่วยงานและองค์กร ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริต มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ มีการดำเนินงานอย่างโปร่งใส อัตราการเกิดคดีทุจริตมีแนวโน้มลดลง ประชาชนมีทัศนคติที่ไม่ยอมรับการทุจริต และมีผลการประเมิน CPI ที่สูงขึ้น ดังนั้น ควรมุ่งเน้นที่จะศึกษาวิเคราะห์การดำเนินการให้ครบถ้วนตามประเด็นการประเมินการรับรู้การทุจริต และส่งเสริมการดำเนินงานของทุกภาคส่วนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการรับรู้ของนานาชาติ
- ตัวชี้วัดภาพรวมได้กำหนดไว้ ดังนี้
ปี          CPI ของประเทศไทย (อันดับ/คะแนน)          หน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ITA (ร้อยละ)
2566          อยู่ในอันดับ 1 ใน 53 และ/หรือ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 51 คะแนน          ไม่น้อยกว่าร้อยละ 84
2567          อยู่ในอันดับ 1 ใน 51 และ/หรือ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 53 คะแนน          ไม่น้อยกว่าร้อยละ 84
2568          อยู่ในอันดับ 1 ใน 48 และ/หรือ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 45 คะแนน          ไม่น้อยกว่าร้อยละ 86
2569          อยู่ในอันดับ 1 ใน 45 และ/หรือ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 56 คะแนน          ไม่น้อยกว่าร้อยละ 93
2570          อยู่ในอันดับ 1 ใน 43 และ/หรือ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 57 คะแนน          ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100
- เป้าหมายภายใต้แผนย่อย ประกอบด้วย 2 แผนย่อย 3 เป้าหมาย และ 9 ตัวชี้วัด ดังนี้
เป้าหมาย/ตัวชี้วัด          ค่าเป้าหมาย
          ปี 2566          ปี 2567          ปี 2568          ปี 2569          ปี 2570
1. แผนย่อยการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ มี 2 เป้าหมาย ได้แก่ (1) ประชาชนมีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต และ (2) คดีทุจริตและประพฤติมิชอบลดลงและมี 7 ตัวชี้วัด เช่น
ร้อยละของเด็กและเยาวชนไทยมีพฤติกรรมที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต          ร้อยละ 80          ร้อยละ 82          ร้อยละ 84          ร้อยละ 86          ร้อยละ 88
ร้อยละของหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ITA          ร้อยละ 84          ร้อยละ 84          ร้อยละ 86          ร้อยละ 93          ร้อยละ 100
จำนวนคดีทุจริตในภาพรวมลดลง          ร้อยละ 10          ร้อยละ 20          ร้อยละ 30          ร้อยละ 40          ร้อยละ 50
2. แผนย่อยการปราบปรามการทุจริต มีเป้าหมาย คือ การดำเนินคดีทุจริตมีความรวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ และมี 2 ตัวชี้วัด ได้แก่
กระบวนการดำเนินคดีทุจริตที่จำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาเกินกว่ากรอบเวลาปกติที่กฎหมายกำหนด          ไม่เกินร้อยละ 20
จำนวนคดีอาญาที่หน่วยงานไต่สวนคดีทุจริตถูกฟ้องกลับ          ไม่เกินร้อยละ 3 ของจำนวนคดีที่ส่งฟ้อง

แนวทางการดำเนินงาน          1. การขับเคลื่อนเป้าหมายภาพรวม ประเทศไทยปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จ คือ CPI ของประเทศไทย มีแนวทางการดำเนินงาน เช่น ผลักดันการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับคะแนน CPI ที่หน่วยงานรับผิดชอบหลักเสนอคณะรัฐมนตรีให้มีมติเห็นชอบ โดยกำหนดให้มีแผนการขับเคลื่อนและผลักดันสู่ผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมและนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในทุกขั้นตอนของการอนุญาตโดยให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจหน้าที่ในการอนุญาตน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
2. การขับเคลื่อนเป้าหมายที่ 1 ประชาชนมีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายที่ 2 คดีทุจริตและประพฤติมิชอบลดลง และเป้าหมายที่ 3 การดำเนินคดีทุจริตมีความรวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ มีแนวทางการดำเนินงาน เช่น (1) ปลูกฝังวิธีคิด ปลุกจิตสำนึก ให้มีวัฒนธรรม และพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต มุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกการเป็นพลเมืองที่ดีและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ (2) ป้องกันการทุจริตและพฤติมิชอบ มุ่งเน้นการพัฒนามาตรการและกระบวนการในการป้องปรามการทุจริตให้เท่าทันต่อพลวัตของการทุจริตโดยให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดคดีทุจริต และ (3) ปราบปรามการทุจริต มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินคดีทุจริตให้รวดเร็วและเป็นธรรมตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด รวมถึงบูรณาการฐานข้อมูลด้านการปราบปรามการทุจริต
โครงการ/งบประมาณ          แหล่งงบประมาณ ได้แก่ งบประมาณภายใต้แผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ งบประมาณภายใต้กองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (กองทุน ป.ป.ช.) และงบดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งจำแนกตามเป้าหมายยได้ ดังนี้
เป้าหมาย          จำนวนโครงการ          ประมาณการวงเงินงบประมาณ (ล้านบาท)
เป้าหมายที่ 1 ประชาชนมีวัฒนธรรม และพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต          331          2,752.01
เป้าหมายที่ 2 คดีทุจริตและประพฤติมิชอบลดลง          162          684.84
เป้าหมายที่ 3 การดำเนินคดีทุจริตมีความรวดเร็วเป็นธรรม โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ          112          311.85
รวม          605          3,748.70

กลไกการขับเคลื่อน          การขับเคลื่อนอาศัยหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ จากทุกภาคส่วนมาร่วมคิดตัดสินใจ ดำเนินงาน และตรวจสอบประเมินผล ซึ่งประกอบด้วย (1) กลไกระดับนโยบาย ได้แก่ คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการผลักดันการดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ จังหวัด (2) กลไกสนับสนุน ได้แก่ คณะอนุกรรมการผลักดันแผนแม่บท คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานอื่น ๆ และ (3) กลไกปฏิบัติการ ได้แก่ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) กลุ่มงานจริยธรรม ส่วนงานที่มีหน้าที่และภารกิจในด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล การป้องกันและปราบปรามการทุจริต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การติดตาม
และประเมินผล          รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบสามารถดำเนินการตามแผนและรับทราบผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคเป็นระยะ ๆ ทำให้สามารถวางแผนเพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมต่อทรัพยากร สภาพแวดล้อม และปัจจัยอื่น ๆ ได้โดยกำหนดการติดตามและประเมินผลใน 3 ระดับ ได้แก่ (1) การประเมินภาพรวมของแผน โดยจะประเมินผลเมื่อสิ้นปีงบประมาณและเมื่อสิ้นสุดแผน (2) การติดตามประเมินผลในระดับเป้าหมายแผนย่อย โดยจะติดตามประเมินผลเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ และ (3) การติดตามประเมินผลการดำเนินงานระดับโครงการในแต่ละเป้าหมาย โดยจะติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการทุกไตรมาส

18. เรื่อง การจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ และมอบหมายผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนงานบูรณาการและมอบหมายผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้
                     1. แผนงานบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                        สำนักงบประมาณได้พิจารณาแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 23 ประเด็น จึงกำหนดให้มีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 11 แผนงานบูรณาการ ซึ่งเป็นแผนงานต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้
                     ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคง
                               1) แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                               2) แผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

                     ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
                               3) แผนงานบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต
                               4) แผนงานบูรณาการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว
                               5) แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์
                               6) แผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
                     ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
                               7) แผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย
                               8) แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก
                     ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
                               9) แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
                     ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
                               10) แผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ
                               11) แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล
                     2. มอบหมายผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายตามแผนงานบูรณาการจำนวน 11 แผนงาน ดังกล่าว เห็นสมควรมอบหมายให้              รองนายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ                  พ.ศ. 2567 (โดยนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ต่อไป) รวมทั้งเป็นผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการ ดังนี้
                     2.1 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ จำนวน 3 แผนงาน คือ
                               1) แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                               2) แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
                               3) แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล
                     2.2 นายวิษณุ เครืองาม จำนวน 2 แผนงาน คือ
                               1) แผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
                              2) แผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ
                    2.3 นายอนุทิน ชาญวีรกูล จำนวน 2 แผนงาน คือ
                              1) แผนงานบูรณาการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว
                              2) แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์
                    2.4 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ จำนวน 2 แผนงาน คือ
                              1) แผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย
                              2) แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก
                    2.5 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ จำนวน 2 แผนงาน คือ
                              1) แผนงานบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต
                              2) แผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
                    โดยให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับแผนงานบูรณาการตามที่ได้รับมอบหมาย มีหน้าที่และอำนาจบริหาร กำกับ ดูแลการปฏิบัติงาน ติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนงานบูรณาการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง ด้วยความโปร่งใสและถูกต้องปราศจากการทุจริต รวมทั้งบูรณาการการทำงานในทุกมิติ ทั้งในระดับพื้นที่และหน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องตามแผนงานบูรณาการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณและเกิดผลสัมฤทธิ์ในการบริหารรายจ่ายบูรณาการ ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 และระเบียบว่าด้วยการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการและงบประมาณรายจ่ายบุคลากรระหว่างหน่วยรับงบประมาณ พ.ศ. 2562 รวมทั้งดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

19. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 1/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชเสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบสรุปมติคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565
                    2. เห็นชอบการเปิดตลาดนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) คราวละ 3 ปี (ปี 2566 - 2568) ไม่จำกัดปริมาณ อัตราภาษี ร้อยละ 0 และกรอบการค้า            อื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อผูกพันและการบริหารการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง คราวละ 3 ปี (ปี 2566 - 2568)
                    3. เห็นชอบการเปิดตลาดและบริหารการนำเข้าสินค้าน้ำมันถั่วเหลืองและแฟรกชันของน้ำมัน                    ถั่วเหลือง มะพร้าวและมะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้งและน้ำมันมะพร้าวและแฟรกชันของน้ำมันมะพร้าว ตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้ WTO และความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) อื่น ๆ คราวละ 3 ปี (ปี 2566 - 2568) โดยจัดสรรปริมาณการนำเข้าในโควตาปีต่อปี
                    4. เห็นชอบการใช้มาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard Measure: SSG)1 ภายใต้ความตกลงเกษตรของ WTO และความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) สำหรับสินค้ามะพร้าวผล ปี 2565 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งผู้ประกอบการสามารถวางแผนการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง
                    5. เห็นชอบการปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช โดยเพิ่มเติมอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นกรรมการ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชรายงานว่า การเปิดตลาดและบริหารการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง สินค้าน้ำมันถั่วเหลืองและแฟรกชันของน้ำมันถั่วเหลือง มะพร้าว และมะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าวและแฟรกชันของน้ำมันมะพร้าวภายใต้กรอบความตกลงต่าง ๆ จะสิ้นสุดในเดือนธันวาคม 2565
                    1. คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชมีมติในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่                        22 กันยายน 2565 สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 รับทราบการขอยกเลิกการเป็นผู้มีสิทธินำเข้าถั่วเหลืองของสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย
                              1.2 เห็นชอบการเปิดตลาดนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองภายใต้กรอบ WTO คราวละ 3 ปี                 (ปี 2566 - 2568) ไม่จำกัดปริมาณ อัตราภาษี ร้อยละ 0 และกรอบการค้าอื่น (กรอบความตกลง AFTA และ FTA อื่น ๆ) ให้เป็นไปตามข้อผูกพัน และการบริหารการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง คราวละ 3 ปี (ปี 2566 - 2568)
                                        1.2.1 การเปิดตลาดนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง
                                                  (1) กรอบการค้า WTO ปริมาณในโควตา 10,922 ตัน (เปิดตลาดในโควตาจริงไม่จำกัดปริมาณ) อัตราภาษีในโควตา ร้อยละ 20 (จัดเก็บอัตราภาษีในโควตาจริง ร้อยละ 0) อัตราภาษีนอกโควตา ร้อยละ 80
                                                  (2) กรอบการค้าอื่นเป็นไปตามข้อผูกพัน คือ
                                                            (2.1) กรอบความตกลง AFTA กรอบความตกลง FTA ไทย - ออสเตรเลีย และกรอบความตกลง FTA ไทย - นิวซีแลนด์ ไม่จำกัดปริมาณ อัตราภาษีร้อยละ 0
                                                            (2.2) กรอบความตกลง FTA ไทย - ญี่ปุ่น กรอบความตกลง FTA ไทย - ชิลี และกรอบความตกลง FTA อาเซียน - เกาหลี ปริมาณในโควตาตามความตกลง WTO อัตราภาษีในโควตา ร้อยละ 0 อัตราภาษีนอกโควตา ร้อยละ 80
                                        1.2.2 การบริหารการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองกรอบการค้า WTO ดังนี้
                                                  (1) ผู้มีสิทธินำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองประกอบด้วย 8 สมาคม ดังนี้ (1) สมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว (2) สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย (3) สมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์                         (4) สมาคมปศุสัตว์ไทย (5) สมาคมผู้ค้าสินค้าเกษตรกับประเทศเพื่อนบ้าน (6) สมาคมการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูป (7) สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป และ (8) สมาคมการค้าผู้ผลิตอาหารจากถั่วเหลืองไทย
                                                  กรณีมีผู้ขอเป็นผู้มีสิทธินำเข้ารายใหม่ การตัดสิทธิผู้มีสิทธินำเข้ารายเดิมในกรณีที่ทำผิดสัญญา และการขอยกเลิกเป็นผู้มีสิทธินำเข้าให้คณะอนุกรรมการกำกับ ดูแล เมล็ดถั่วเหลือง เป็น                  ผู้พิจารณา และนำเสนอคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชเพื่อทราบ
                                                  (2) ให้ผู้มีสิทธินำเข้าให้การสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองภายในประเทศ ในราคาขั้นต่ำตามชั้นคุณภาพ ดังนี้
                                                            (2.1) รับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองที่ผลิตได้ภายในประเทศในราคาตามกลไกตลาด แต่ไม่ต่ำกว่าราคาขั้นต่ำตามชั้นคุณภาพ ดังนี้
ชั้นคุณภาพ          ณ ไร่นา
(บาทต่อกิโลกรัม)          ณ หน้าโรงงาน กรุงเทพมหานคร
(บาทต่อกิโลกรัม)
สกัดน้ำมัน          21.00          21.75
ผลิตอาหารสัตว์          21.25          22.00
แปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร          23.25          24.00
                                                            ทั้งนี้ การรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองภายในประเทศให้ผู้มีสิทธินำเข้ารับซื้อตามสัดส่วนการนำเข้าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี จากปีปัจจุบัน สำหรับผู้มีสิทธินำเข้ารายใหม่ที่ไม่มีข้อมูลการนำเข้าให้ใช้ข้อมูลแผนการนำเข้าปีปัจจุบัน
                                                            (2.2) ให้ผู้มีสิทธินำเข้าสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการรวบรวมผลผลิตเมล็ดถั่วเหลืองให้กับสหกรณ์การเกษตรและวิสาหกิจชุมชนในราคากิโลกรัมละ 2 บาท ทุกชั้นเกรดคุณภาพ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์การเกษตรและวิสาหกิจชุมชน
                                                            (2.3) ผู้มีสิทธินำเข้าให้ความร่วมมือรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองที่ผลิตได้ภายในประเทศและการใช้เมล็ดถั่วเหลืองนำเข้าตามนโยบาย โดยลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) และกระทรวงพาณิชย์ (พณ.)
                                                  การบริหารการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองภายใต้กรอบการค้าอื่น ให้บริหารการนำเข้าเช่นเดียวกับกรอบการค้า WTO ยกเว้นกรอบความตกลง AFTA2 (ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง มะพร้าว เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าว เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน พ.ศ. 2553) กรอบความตกลง FTA ไทย - ออสเตรเลีย และกรอบความตกลง FTA ไทย - นิวซีแลนด์ (ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าและไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรการบริหารการนำเข้า)
                              1.3 เห็นชอบการเปิดตลาดและบริหารการนำเข้าสินค้าน้ำมันถั่วเหลืองและแฟรกชันของน้ำมันถั่วเหลือง มะพร้าวและมะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าวและแฟรกชันของน้ำมันมะพร้าว ตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้ WTO และความตกลง FTA อื่น ๆ คราวละ 3 ปี (2566 - 2568) โดยจัดสรรปริมาณการนำเข้าในโควตาปีต่อปี
                                        1.3.1 การเปิดตลาดนำเข้าน้ำมันถั่วเหลือง มะพร้าว และมะพร้าวฝอย                    เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าวฯ
                                                  กรอบการค้า WTO กำหนดปริมาณและอัตราภาษีในโควตาและ                       นอกโควตา กรอบความตกลง AFTA ไม่จำกัดปริมาณ กำหนดเฉพาะอัตราภาษี ส่วนกรอบการค้าอื่น ในภาพรวมใกล้เคียงกับความตกลง WTO ยกเว้นกรอบความตกลง FTA ไทย - ออสเตรเลีย และกรอบความตกลง FTA ไทย - นิวซีแลนด์ ไม่จำกัดปริมาณ อัตราภาษี ร้อยละ 0 ดังนี้
สินค้า          กรอบการค้า WTO          กรอบ ความตกลง AFTA          กรอบความตกลงอื่น ได้แก่ FTA ไทย - ออสเตรเลีย
และไทย - นิวซีแลนด์
ไม่จำกัดปริมาณ
อัตราภาษี ร้อยละ 0
FTA ไทย - ญี่ปุ่น ไทย - ชิลี และอาเซียน - เกาหลี (4 สินค้า) FTA อาเซียน - จีน
(เปิดตลาดเฉพาะมะพร้าว
และมะพร้าวฝอย)
ปริมาณในโควตาตาม WTO อัตราภาษีในโควตา ร้อยละ 0 อัตราภาษีนอกโควตาตาม WTO
          ในโควตา          อัตราภาษีนอกโควตา
(ร้อยละ)          ปริมาณไม่จำกัด
อัตราภาษี
(ร้อยละ)
          ปริมาณ
(ตัน)          อัตราภาษี
(ร้อยละ)
1. น้ำมันถั่วเหลือง          2,281          20          146          0
2. มะพร้าว
และมะพร้าวฝอย
 แบ่งเป็น          2,427          20          54          0
          มะพร้าว          2,317          20          54          0
          มะพร้าวฝอย          110          20          54          0
3. เนื้อมะพร้าวแห้ง          1,157          20          36          5
4. น้ำมันมะพร้าวฯ          401          20          52          0
                              1.3.2 การบริหารการนำเข้าน้ำมันถั่วเหลือง มะพร้าวและมะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าวฯ
                                        (1) กรอบการค้า WTO ปริมาณในโควตา
                                                  (1.1) น้ำมันถั่วเหลือง
                                                            (1.1.1) คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชกำหนดแนวทางและมาตรการบริหารการนำเข้า
                                                            (1.1.2) การจัดสรรปริมาณการนำเข้าในโควตาปีต่อปีให้เป็นไปตามที่สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป และสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยกำหนด โดยกรมการค้าต่างประเทศเป็นผู้ออกประกาศผลการจัดสรร
                                                  (1.2) มะพร้าวและมะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าวฯ
                                                            (1.2.1) กรมการค้าต่างประเทศจัดสรรให้นิติบุคคลซึ่งเป็นโรงงานที่ใช้มะพร้าว หรือมะพร้าวฝอย หรือเนื้อมะพร้าวแห้ง หรือน้ำมันมะพร้าวฯ แล้วแต่กรณี เป็นวัตถุดิบในการผลิตและดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
                                                            (1.2.2) ช่วงเวลานำเข้า
สินค้า          ช่วงเวลานำเข้า
มะพร้าวและมะพร้าวฝอย แบ่งเป็น
- มะพร้าว          เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ และเดือนกันยายน - ธันวาคม ของแต่ละปี
- มะพร้าวฝอย          ให้นำเข้าได้ทั้งปี
เนื้อมะพร้าวแห้ง          เดือนมกราคม - พฤษภาคม และเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ของแต่ละปี
น้ำมันมะพร้าวฯ          ให้นำเข้าได้ทั้งปี
                                                                      ทั้งนี้ ผู้มีสิทธินำเข้าภายใต้กรอบความตกลง FTA ไทย - ญี่ปุ่น กรอบความตกลง FTA ไทย - ชิลี กรอบความตกลง FTA อาเซียน - เกาหลี และกรอบความตกลง FTA อาเซียน - จีน ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการจัดสรรปริมาณนำเข้าในโควตาตามกรอบการค้า WTO เท่านั้น
                                        (2) กรอบความตกลง AFTA เป็นไปตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำเมล็ดถั่วเหลือง มะพร้าว เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าวเข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน พ.ศ. 2553 ดังนี้
                                                  (2.1) น้ำมันถั่วเหลือง
                                                            แสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบฟอร์ม ดี (Form D)                ต่อกรมศุลกากรประกอบการนำเข้า
                                                  (2.2) มะพร้าวและมะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าวฯ ดังนี้
สินค้า          การบริหารการนำเข้า
เงื่อนไขในภาพรวม
ทุกสินค้า          (1) เป็นนิติบุคคลที่เป็นโรงงานที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าไว้กับกรมการค้าต่างประเทศเป็นรายปี
(2) ต้องนำเข้ามาเพื่อการแปรรูปเป็นน้ำมันพืช (น้ำมันพืชเพื่อการบริโภคในกรณีน้ำมันมะพร้าวฯ) หรืออาหารคนในกิจการของตนเอง
(3) ต้องให้คำรับรองว่าจะไม่นำมาจำหน่าย จ่าย โอน ภายในประเทศ
สินค้า          การบริหารการนำเข้า3
เงื่อนไขเพิ่มเติมรายสินค้า
มะพร้าวและมะพร้าวฝอย
แบ่งเป็น
- มะพร้าว          (1) ต้องได้รับอนุมัติปริมาณการนำเข้าจากคณะอนุกรรมการบริหารจัดการสินค้ามะพร้าว ภายใต้คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช โดยจะพิจารณาเป็นรายปี ตามช่วงระยะเวลาการนำเข้า
(2) กรณีนำเข้ามะพร้าว พิกัดอัตราศุลกากร 0801.12.00 และพิกัดอัตราศุลกากร 0801.19.90 ต้องให้คำรับรองว่าจะไม่นำมะพร้าวนำเข้าไปจ้างกะเทาะภายนอกโรงงานตนเอง
(3) กรณีนำเข้ามะพร้าว พิกัดอัตราศุลกากร 0801.12.00 และพิกัดอัตราศุลกากร 0801.19.90 ต้องรายงานบัญชีสมดุลแปรสภาพมะพร้าวผลเป็นเนื้อมะพร้าวขาว
(4) ช่วงเวลานำเข้าเดือนมกรมคม - กุมภาพันธ์ และกันยายน - ธันวาคม ของแต่ละปี
- มะพร้าวฝอย          (1) ต้องนำเข้ามาไม่เกินปริมาณที่ระบุไว้ในแผนการนำเข้า และการใช้ในกิจการของตนเอง
(2) ช่วงเวลานำเข้าเดือนมกราคม - พฤษภาคม และพฤศจิกายน - ธันวาคมของแต่ละปี
เนื้อมะพร้าวแห้ง
น้ำมันมะพร้าวฯ
                              1.3 การบริหารการนำเข้ามะพร้าวผลตามกรอบความตกลง AFTA ปี 2565 ช่วงที่สอง (เดือนกันยายน - ธันวาคม 2565)
                                        ผู้ประกอบการยินดีที่จะชะลอการนำเข้ามะพร้าวผล พิกัดอัตราศุลกากร 0810.12.00 (มะพร้าวผลทั้งกะลา) พิกัดอัตราศุลกากร 0801.19.10 (มะพร้าวผลอ่อน) และพิกัดอัตราศุลกากร 0810.19.90 (มะพร้าวผลอื่น ๆ) ตามกรอบความตกลง AFTA ปี 2565 ช่วงที่สอง (เดือนกันยายน - ธันวาคม 2565) ออกไปก่อน รวมทั้งขอความร่วมมือผู้ประกอบการชะลอการนำเข้ามะพร้าวผล ภายใต้กรอบความตกลง WTO กะทิสำเร็จรูป และกะทิแช่แข็ง ออกไปก่อน จนกว่าราคามะพร้าวผลภายในประเทศจะกลับสู่ภาวะปกติ
                              1.4 มาตรการปกป้องพิเศษ (SSG) ภายใต้ความตกลงการเกษตรของ WTO และความตกลง AFTA สำหรับสินค้ามะพร้าวผล ปี 2565
                                        1.4.1 เห็นชอบการใช้มาตรการปกป้องพิเศษ (SSG) ภายใต้ความตกลงเกษตรของ WTO และความตกลง AFTA สำหรับสินค้ามะพร้าวผล [พิกัดอัตราศุลกากร 0810.12.00 (มะพร้าวผลทั้งกะลา) พิกัดอัตราศุลกากร 0810.19.10 (มะพร้าวผลอ่อน) และพิกัดอัตราศุลกากร 0810.19.90 (มะพร้าวผลอื่น ๆ)] ปี 2565 ปริมาณ Trigger Volume ที่ 305,335 ตัน (ปี 2564 มีปริมาณ Tigger Volume ที่ 311,235 ตัน) คำนวณจากข้อมูลปริมาณการนำเข้ามะพร้าวผลย้อนหลังเฉลี่ย 3 ปี โดยใช้ข้อมูลปี 2562 ปี 2563 และปี 2564 รวมทั้งเห็นชอบให้กรมศุลกากรจัดเก็บอากรสำหรับมะพร้าวผลดังกล่าวที่นำเข้ามาในประเทศไทยรวมกันเกินกว่าปริมาณ Trigger Volume ในอัตราที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 72 ดังนี้
ความตกลง          อัตราอากรที่จัดเก็บตามปกติ          อัตราอากรตามมาตรการ SSG
WTO
(นอกโควตา)          ร้อยละ 54          ร้อยละ 72
(เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกร้อยละ 18)
AFTA          ร้อยละ 0          ร้อยละ 72
(เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกร้อยละ 72)
                                        1.4.2 ให้กรมศุลกากรเสนอร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเก็บอากรศุลกากรตามมาตรการปกป้องพิเศษ ตามความตกลงการเกษตรขององค์การการค้าโลก และความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน สำหรับสินค้ามะพร้าว พ.ศ. .... เพื่อกำหนดให้อธิบดีกรมศุลกากรประกาศกำหนดวันเริ่มใช้มาตรการ SSG จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ให้เสียอากรในอัตราตามราคาร้อยละ 72 ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและหากปริมาณการนำเข้าถึง Trigger Volume แล้ว ให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ทำหนังสือแจ้งไปยังกรมศุลกากร เพื่อให้กรมศุลกากรดำเนินการออกประกาศกรมศุลกากร เพื่อกำหนดวันเริ่มใช้มาตรการ SSG ภายใน 3 วันทำการ นับจากวันที่กรมศุลกากรได้รับหนังสือแจ้งเตือนเมื่อมีการนำเข้าถึง Trigger Volume จากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยมาตรการ SSG จะมีผลบังคับใช้ สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565
                              1.5 เห็นชอบการปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช โดยเพิ่มเติมอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นกรรมการ
                    2. การเปิดตลาดนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองและสินค้าพืชน้ำมันอื่น ภายใต้กรอบการค้า WTO และกรอบความตกลงการค้าอื่น จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2565 การเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในคราวนี้ เพื่อให้ พณ. สามารถดำเนินการออกประกาศที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าได้โดยต่อเนื่อง และอุตสาหกรรมที่ใช้เมล็ดถั่วเหลืองและมะพร้าวเป็นวัตถุดิบในการผลิต สามารถวางแผนการผลิตและมีวัตถุดิบป้อนโรงงานได้อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองและเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวภายในประเทศ ไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบายเปิดตลาด
                    3. การดำเนินการมาตรการปกป้องพิเศษ (SSG) ต้องมีการออกประกาศที่เกี่ยวข้องจากกระทรวงการคลัง และ พณ. รวมทั้งเพื่อให้ผู้ประกอบการที่ใช้มะพร้าวเป็นวัตถุดิบในการผลิต สามารถวางแผนการผลิต มีวัตถุดิบป้อนโรงงานได้อย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ โดยไม่กระทบกับภาคอุตสาหกรรมที่ใช้สินค้าดังกล่าวเป็นวัตถุดิบ และไม่กระทบกับเกษตรกรในประเทศ
1 มาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard Measure: SSG) คือ มาตรการป้องกันการนำเข้าสินค้าภายใต้ความตกลงการเกษตรของ WTO ที่ให้สิทธิแก่ประเทศสมาชิกในการขึ้นภาษีรายการสินค้าเกษตรบางรายการ (ไทยสงวนสิทธิไว้จำนวน 23 รายการ เช่น ถั่วเหลือง กาแฟ น้ำมันปาล์ม ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) เพื่อชะลอการนำเข้าในกรณีที่ปริมาณการนำเข้าสินค้ามากกว่าปริมาณที่กำหนดไว้ (Trigger Volume) ตามแนวทางในมาตรการ SSG ทั้งนี้ ในส่วนสินค้ามะพร้าวได้เริ่มกำหนดมาตรการ SSG เป็นครั้งแรกในปี 2560
2 จากการประสานงานสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ได้รับแจ้งว่า ในทางปฏิบัติการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองเกือบทั้งหมดนำเข้าภายใต้กรอบการค้า WTO ส่วนการบริหารการนำเข้าภายใต้กรอบความตกลง AFTA ผู้นำเข้าจะเป็นรายเดียวกันกับผู้นำเข้าภายใต้กรอบการค้า WTO และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดภายใต้การบริหารการนำเข้าภายใต้กรอบการค้า WTO อยู่แล้ว
3 จากการประสานงานสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ได้รับแจ้งว่า ในทางปฏิบัติมีการนำเข้าน้ำมัน              ถั่วเหลืองน้อยมาก เนื่องจากไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน ส่วนสินค้าที่จำเป็นต้องบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรภายในประเทศ คือ มะพร้าวและมะพร้าวฝอย และน้ำมันมะพร้าวฯ ซึ่งมีการนำเข้าเกินกว่าปริมาณในโควตาภายใต้กรอบการค้า WTO มาก สำหรับสินค้าดังกล่าว การบริหารการนำเข้าตามกรอบความตกลง AFTA ถือเป็นการบริหารการนำเข้าที่มีผลในทางปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการจัดสรรการนำเข้าสินค้าดังกล่าว โดยเฉพาะในกรณีมะพร้าวผล ภายใต้กรอบความตกลง AFTA ผู้ประกอบการอาจนำเข้ามะพร้าวผลภายใต้กรอบการค้า WTO และชำระอัตราภาษีนอกโควตา การใช้มาตรการปกป้องพิเศษ (SSG) จึงเป็นมาตรการป้องกันผลกระทบต่อเกษตรกรภายในประเทศอีกทางหนึ่ง

20. เรื่อง (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2   (พ.ศ. 2566 - 2570) (แผนปฏิบัติการฯ) และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนปฏิบัติการฯ ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ
                    ทั้งนี้ สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภายใต้แผนปฏิบัติการดังกล่าว เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรร หรือปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนงบประมาณรายจ่าย หรือโอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 หรือใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ แล้วแต่กรณี โดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ และในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ มีสาระสำคัญ โดยสรุปได้ ดังนี้
                    1. วัตถุประสงค์
                              1.1 เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรม/การทำความดีที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย
                              1.2 เพื่อให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาครัฐ พัฒนาระบบและการเสริมสร้างขีดความสามารถของกลไกเพื่อการขับเคลื่อนและส่งเสริมคุณธรรม
                              1.3 เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมส่งเสริมการเรียนรู้ และการพัฒนาศักยภาพคนและองค์กรเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรม
                    2. เป้าหมาย : คนไทยมีพฤติกรรมที่สะท้อนการมีคุณธรรมเพิ่มขึ้น มุ่งสู่สังคมคุณธรรมที่คนไทย               อยู่ร่วมกันด้วยความสมานฉันท์ ภายใต้หลักธรรมทางศาลนา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม และประเทศไทยปลอดทุจริตและประพฤติมิชอบ
                    3. ค่าเป้าหมายและตัวชี้วัด
                              3.1 ดัชนีคุณธรรม 5 ประการ ?พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และกตัญญู? เพิ่มขึ้น              ร้อยละ 10 ภายในปี พ.ศ. 2570 จากข้อมูลปีฐาน พ.ศ. 2565
                              3.2 หน่วยงานภาครัฐน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารงาน         มีค่าการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA)1 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ภายในปี พ.ศ. 2570 จากข้อมูลปีฐาน พ.ศ. 2565
(หมายเหตุ: ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีค่าดัชนีคุณธรรม 5 ประการ จากคะแนนเต็ม 6 คะแนน ดังนี้ (1) กตัญญู 5.11 คะแนน (2) จิตอาสา/จิตสาธารณะ 4.77 คะแนน (3) พอเพียง 4.61 คะแนน (4) สุจริต 4.49 คะแนน (5) วินัย/รับผิดชอบ 4.18 คะแนน และมีค่า ITA 87.57 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน)
                    4. แนวทางการดำเนินการ ประกอบด้วย 3 แผนย่อย ดังนี้
แผนย่อยที่ 1 การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรม/การทำความดีที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย
เป้าหมาย          ตัวชี้วัด          ค่าเป้าหมาย
เป้าหมายที่ 1 ประชากรมีกิจกรรมการปฏิบัติตนที่สะท้อนการมีคุณธรรมจริยธรรมเพิ่มขึ้น          จำนวนประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป มีกิจกรรมการปฏิบัติตนที่สะท้อนการมีคุณธรรมจริยธรรมเพิ่มขึ้น          เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปีจากข้อมูลปีฐาน ปี พ.ศ. 2565 เป็นค่าตั้งต้น
เป้าหมายที่ 2 จำนวนเครือข่ายทางสังคมที่มีขีดความสามารถในการส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทยเพิ่มขึ้น          จำนวนเครือข่ายทางสังคมมีขีดความสามารถในการส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทยเพิ่มขึ้น          เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ภายในปี                  พ.ศ. 2570 จากข้อมูลปีฐาน ปี                 พ.ศ. 2565 เป็นค่าตั้งต้น
แนวทางการพัฒนา (6 แนวทาง 10 โครงการ)
แนวทางการพัฒนา          โครงการ          ผู้รับผิดชอบ
แนวทางที่ 1 สร้างพื้นที่และสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมหรือการทำความดี          (1) โครงการสร้างเสริมสภาพแวดล้มที่เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรมบนฐานชีวิตวิถีใหม่
(2) โครงการพัฒนาชุมชน องค์กร อำเภอ จังหวัดคุณธรรม
(3) โครงการพิพิธภัณฑ์ในมิติด้านคุณธรรม          วธ./สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานทุกภาคส่วน
แนวทางที่ 2 ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล ชุมชน องค์กร อำเภอ จังหวัด คุณธรรม          โครงการค้นหา/คัดเลือก/ยกย่องเชิดชูบุคคลหรือองค์กรด้านการส่งเสริมคุณธรรม          หน่วยงานทุกภาคส่วน
แนวทางที่ 3 ส่งเสริมให้สถาบันศาสนาเป็นศูนย์กลางชุมชนและขับเคลื่อนคุณธรรมด้วยพลังบวร (บ้าน-วัด/ศาสนสถาน-โรงเรียน/ราชการ) 1 ชุมชน 1 สถาบันศาสนา          โครงการส่งเสริมสถาบันศาสนาเป็นศูนย์กลางชุมชนและขับเคลื่อนคุณธรรมด้วยพลังบวร          กระทรวงมหาดไทย (มท.) /วธ./พศ.
แนวทางที่ 4 พัฒนาขีดความสามารถของชุมชน องค์กร อำเภอ จังหวัดคุณธรรม สู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม          โครงการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชน องค์กร อำเภอ จังหวัดคุณธรรม สู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม          สำนักนายกรัฐมนตรี/มท./วธ./กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.)
แนวทางที่ 5 ส่งเสริมการนำคุณธรรมเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม การป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากภัยธรรมชาติ และวิกฤติโรคอุบัติใหม่           (1) โครงการส่งเสริมการนำคุณธรรมเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
(2) โครงการส่งเสริมการนำคุณธรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากภัยธรรมชาติ และวิกฤติโรคอุบัติใหม่           สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
แนวทางที่ 6 สนับสนุนส่งเสริมกลไกของชุมชนให้มีระบบพี่เลี้ยงเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน          โครงการพัฒนาระบบพี่เลี้ยงชุมชน          มท./กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)/วธ.
กิจกรรมที่ต้องดำเนินการ เช่น (1) กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาสนับสนุนการจัดสรรงบประมาณงบบริหารจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรม (2) การนำโครงการของแผนย่อยที่ 1 ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 เข้าระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หลังการประกาศแผน
แผนย่อยที่ 2 การพัฒนาระบบและการเสริมสร้างขีดความสามารถของกลไกเพื่อการขับเคลื่อนและส่งเสริมคุณธรรม
เป้าหมาย          ตัวชี้วัด          ค่าเป้าหมาย
เป้าหมายที่ 1 จำนวนเครือข่าย/องค์กรที่ร่วมกันทำกิจกรรมสาธารณะเพิ่มขึ้น          จำนวนเครือข่าย/องค์กรจากทุกภาคส่วนที่ร่วมกันทำกิจกรรมสาธารณะเพิ่มขึ้น เช่น การมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนในการติดตามและตรวจสอบโครงการของรัฐ          เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปีจากข้อมูลปีฐานปี พ.ศ. 2565
เป้าหมายที่ 2 จำนวนองค์กรเครือข่ายทางสังคมที่มีการพัฒนาระบบเครดิตทางสังคม (Social Credit) เพื่อรองรับการส่งเสริมคุณธรรม          จำนวนองค์กรเครือข่ายทางสังคมที่มีการพัฒนาระบบเครดิตทางสังคม (Social Credit) ที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยเพื่อรองรับการส่งเสริมคุณธรรมเพิ่มขึ้น          เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ภายในปี                  พ.ศ. 2570 จากข้อมูลปีฐาน พ.ศ. 2566
เป้าหมายที่ 3 จำนวนหน่วยงานภาครัฐมีค่า ITA ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มขึ้น          จำนวนหน่วยงานภาครัฐมีค่า ITA ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มขึ้น          เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ภายในปี                   พ.ศ. 2570 จากข้อมูลปีฐาน พ.ศ. 2565
แนวทางการพัฒนา (4 แนวทาง และ  6 โครงการ)
แนวทางการพัฒนา          โครงการ          ผู้รับผิดชอบ
แนวทางที่ 1 ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในทุกช่วยวัยโดยนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบททางสังคมไทย          โครงการพัฒนาระบบเครดิตทางสังคมให้เป็นเครื่องมือเพื่อการส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทย          พม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
แนวทางที่ 2 สร้างกลไกเครือข่ายคุณธรรมและระบบการสนับสนุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง          (1) โครงการพัฒนาระบบและการเสริมสร้างขีดความสามารถของกลไกเพื่อการขับเคลื่อนและส่งเสริมคุณธรรมบนฐานชีวิตวิถีใหม่
(2) โครงการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างกลไกขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรมให้บรรลุเป้าหมาย           พม./มท./วธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
แนวทางที่ 3 พัฒนากลไกให้หน่วยงานภาครัฐขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมตามหลักธรรมทางศาสนา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมไทย                ที่ดีงาม          (1) โครงการขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมตามหลักธรรมทางศาสนา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงามอย่างเป็นระบบของหน่วยงานภาครัฐส่วนกลางและส่วนภูมิภาคสู่องค์กรคุณธรรม
(2) โครงการขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมตามหลักธรรมทางศาลนา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงามอย่างเป็นระบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่องค์กรคุณธรรม          สำนักงาน ก.พ.ร./มท.
แนวทางที่ 4 เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการส่งเสริมคุณธรรม           โครงการสมัชชาคุณธรรม ตลาดนัดคุณธรรม ตลาดนัดความดี          วธ./มท.
กิจกรมที่ต้องดำเนินการ เช่น (1) พัฒนาระบบเครดิตทางสังคม (Social Credit) ให้เป็นเครื่องมือเพื่อการส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทย อาทิ ธนาคารความดี นวัตกรรมสังคมแบบเปิดโดยภาครัฐ : ?คนดีมีที่ยืน ความดีมีพื้นที่ในสังคม? เป็นต้น (2) การเชื่อมโยงเครื่องมือการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐจากผลงานวิจัยสู่ระบบการประเมิน ITA
แผนย่อยที่ 3 การส่งเสริมการเรียนรู้ และการพัฒนาศักยภาพคนและองค์กรเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรม
เป้าหมาย          ตัวชี้วัด          ค่าเป้าหมาย
1. ทุนชีวิตเด็กและเยาวชนไทยเพิ่มขึ้น          เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ภายในปี                   พ.ศ. 2570 จากข้อมูลปีฐาน ปี                 พ.ศ. 2565
2. จำนวนคนที่ได้รับการพัฒนาทักษะชีวิตจากการส่งเสริมคุณธรรมขององค์กรเครือข่ายเพิ่มขึ้น          เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปีจากข้อมูลปีฐาน ปี พ.ศ. 2566
แนวทางการพัฒนา (3 แนวทาง และ 5 โครงการ)
แนวทางการพัฒนา           โครงการ           ผู้รับผิดชอบ
แนวทางที่ 1 กำหนดให้สถานศึกษาทุกระดับของหน่วยงานทุกภาคส่วนสะท้อนกระบวนการจัดการศึกษาที่บรรลุเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์          โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีพฤติกรรมและทักษะชีวิตที่สะท้อนคุณธรรมจริยธรรม          กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)/มท./กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรม (อว.)/วธ.
แนวทางที่ 2 ส่งเสริมให้เกิดระบบการจัดการความรู้ที่เป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตภายในชุมชนหรือหน่วยงาน          (1) โครงการเรียนรู้/ปลูกฝัง/ส่งเสริม คุณธรรมบนฐานชีวิตวิถีใหม่
(2) โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนให้มีขีดความสามารถในการส่งเสริมขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย          หน่วยงานทุกภาคส่วน
แนวทางที่ 3 ส่งเสริมงานวิชาการ งานวิจัยพัฒนา และเผยแพร่ระบบการจัดการความรู้ด้านการส่งเสริมคุณธรรม           (1) โครงการส่งเสริมงานวิชาการ งานวิจัย พัฒนา สำรวจ รวบรวม และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการส่งเสริมคุณธรรมในสถานการณ์ต่าง ๆ
(2) โครงการพัฒนาสื่อส่งเสริมคุณธรรมที่เหมาะสมกับคนทุกช่วงวัย           ศธ./อว./วธ./กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)/สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมที่ต้องดำเนินการ เช่น การกำหนดให้สถานศึกษาของหน่วยงานทุกภาคส่วน (โดยเฉพาะภาครัฐ) สะท้อนกระบวนการและผลการจัดการศึกษาที่บรรลุเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม
                    5. กลไกการขับเคลื่อนและรายงานผล: เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักหรือผู้รับผิดชอบร่วม สามารถนำแผนปฏิบัติการฯ ไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย และเป้าหมายแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและตามประเด็นยุทธศาสตร์ชาติภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำแผนปฏิบัติการฯ ไปดำเนินการในภาพรวม ดังนี้
ระดับ          รายละเอียด
คณะกรรมการฯ          โดยสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการฯ นำโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฯ เข้าระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ของ สศช. หลังการประกาศแผนตามมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งทำหน้าที่ในการประสาน กำกับ ดูแล ติดตาม เสนอแนะและให้ความเห็น ตลอดจนการสนับสนุนและให้ข้อเสนอทางวิชาการในการส่งเสริมคุณธรรม ร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ทบทวนปัญหาและอุปสรรค และรายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติการฯ ทุกปีงบประมาณ
คณะอนุกรรมการระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ          เป็นระบบกลไกบริหารขับเคลื่อนและการติดตามผลการดำเนินงานขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ในการนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างประสบผลสำเร็จ ทำหน้าที่ในการประสาน กำกับ ดูแล ติดตาม เสนอแนะและให้ความเห็นต่อคณะอนุกรรมการระดับปฏิบัติการ ในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย และทบทวน สรุปผลการดำเนินงานเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการฯ โดยมีสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการฯ เป็นหน่วยงานเชื่อมประสานการดำเนินงานของแต่ละคณะ
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ          1. นำโครงการหรือชุดโครงการหรือโครงการย่อย และรายงานผลการได้รับการจัดสรร หรือสาเหตุที่ไม่ได้รับการจัดสรร รวมทั้งสาเหตุที่ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมดังกล่าวได้
2. รายงานผลการดำเนินโครงการในระบบ eMENSCR ของ สศช. เฉพาะตัวชี้วัดที่ 1 ของแต่ละแผนย่อย
3. รายงานผลการดำเนินงานในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงานและ/หรือแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม ประจำปีของหน่วยงานเพื่อรายงานต่อคณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมระดับปฏิบัติการ (กระทรวง/จังหวัด/กรุงเทพมหานคร/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) และรายงานต่อคณะกรรมการฯ รับทราบตามลำดับ
4. จัดทำฐานข้อมูลผู้เข้าร่วมกิจกรรมการปฏิบัติตนที่สะท้อนการมีคุณธรรม จริยธรรม เตรียมนำเข้าข้อมูลในระบบเครดิตสังคม (Social Credit) ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาในแผนปฏิบัติการฯ
                    6. งบประมาณที่ขอรับจัดสรรภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 รวมจำนวนทั้งสิ้น 344.69 ล้านบาท
                    7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ : จะเป็นกลไกเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมตามเป้าหมายและตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ได้อย่างเป็นรูปธรรม นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายระดับชาติสร้างสังคมไทยที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อและสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต เพื่อให้คนไทยทุกช่วงวัย เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ ทุกมิติและทุกระดับ ดังนี้
ระดับ          รายละเอียด
ระดับบุคคล          ประชาชนได้รับการพัฒนาทักษะชีวิตจากการส่งเสริมคุณธรรม มีพฤติกรรมที่สะท้อนการมีคุณธรรม ?พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และกตัญญู? น้อมนำหลักธรรมทางศาสนา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงวิถีวัฒนธรรมไทย และยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ
ระดับสังคม          ครอบครัว ชุมชน และองค์กรทุกภาคส่วนมีขีดความสามารถในการพัฒนาระบบกลไกการขับเคลื่อนและส่งเสริมคุณธรรมที่เข้มแข็ง ยกระดับมาตรฐานการขับเคลื่อนสังคมคุณธรรมในรูปแบบวิถีใหม่ได้อย่างเป็นรูปธรรม
ระดับประเทศ          ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยคุณธรรมอย่างยั่งยืน สังคมไทยปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ เกิดความสงบสุข สมานฉันท์ และเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศมากขึ้น
1 ITA เป็นเครื่องมือในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของส่วนราชการ ซึ่งจะดำเนินการทุกปีงบประมาณโดยการประเมินจะใช้แบบสอบถามครอบคลุม 5 ประเด็น ได้แก่ (1) การสร้างความโปร่งใสในการดำเนินของหน่วยงาน (2) การส่งเสริมความพร้อมในการปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่ (3) การปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน (4) การสร้างวัฒนธรรมคุณธรรมในหน่วยงาน และ (5) การส่งเสริมคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน

21. เรื่อง ขอความเห็นชอบในหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565
                    2. อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน กรณีอุทกภัย จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 จำนวน 1,046,460 ครัวเรือน วงเงิน 6,258,540,000 บาท ตามข้อมูลครัวเรือนผู้ประสบภัยเบื้องต้น ซึ่งเป็นจำนวนครัวเรือนจากการสำรวจเบื้องต้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัด 66 จังหวัด ที่อยู่ในพื้นที่ได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยหรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยรับงบประมาณและจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยผ่านธนาคารออมสิน ให้เบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป รวมทั้งให้สามารถถัวจ่ายข้ามจังหวัดได้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงมหาดไทยได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอสำนักงบประมาณ และสำนักงบประมาณได้นำกราบเรียนนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้ว ให้กระทรวงมหาดไทยใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 กรณีใด กรณีหนึ่งใน 3 กรณี ดังนี้
                    1. กรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันตั้งแต่ 1 วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขังเกินกว่า 7 วันแต่ไม่เกิน 30 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 5,000 บาท
                    2. กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 7,000 บาท
                    3. กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 60 วันขึ้นไป ให้ความช่วยเหลือ          ครัวเรือนละ 9,000 บาท จำนวน 1,046,460 ครัวเรือน วงเงิน 6,258,540,000 บาท ตามข้อมูลครัวเรือนผู้ประสบภัยเบื้องต้น ซึ่งเป็นจำนวนครัวเรือนจากการสำรวจเบื้องต้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัด 66 จังหวัด ที่อยู่ในพื้นที่ได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยหรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยรับงบประมาณและจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยผ่านธนาคารออมสิน ให้เบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป รวมทั้งให้สามารถถัวจ่ายข้ามจังหวัดได้
                    กลุ่มเป้าหมาย
                    ครัวเรือนผู้ประสบภัย จำนวน 1,046,460 ครัวเรือน จากการสำรวจเบื้องต้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัด 66 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุบลราชธานี กาญจนบุรี ชัยนาท นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง อุทัยธานี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว กระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ภูเก็ต ระนอง สตูล สุราษฎร์ธานี ชุมพร และจังหวัดพังงา ซึ่งอยู่ในพื้นที่ได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยหรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
                    หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565
                    หลักเกณฑ์
                    1. เป็นกรณีอุทกภัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2565 ถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2565 ทั้งกรณีน้ำท่วมโดยฉับพลัน น้ำไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง รวมถึงการระบายน้ำ จนส่งผลกระทบทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้
                    2. เป็นที่อยู่ที่ประสบอุทกภัย ตามข้อ 1 และได้รับผลกระทบกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
                              (1) ที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง ตั้งแต่ 1 วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
                              (2) ที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง เกินกว่า 7 วันขึ้นไป
                    เงื่อนไข
                    1. ต้องเป็นบ้านที่อยู่อาศัยประจำในพื้นที่ที่ได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยและหรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และ
                              (1) มีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกให้ (ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 มาตรา 30) และ
                              (2) ต้องผ่านการประชาคมหมู่บ้านของแต่ละพื้นที่ประสบสาธารณภัย และ
                              (3) ผ่านการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) และคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) สำหรับกรุงเทพมหานครต้องผ่านการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากสำนักงานเขตและกรุงเทพมหานคร
                    2. กรณีที่ประสบภัยหลายครั้ง ให้ได้รับความช่วยเหลือเพียงครั้งเดียว
                    ทั้งนี้ ให้จังหวัดที่ประสบภัยเร่งรัดดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องตามหลักเกณฑ์และช่วยเหลือให้แล้วเสร็จ ภายใน 60 วัน ตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ

22. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม                  พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 30/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  รักษาราชการแทนเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 30/2565 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ ราย 3 เดือน ครั้งที่ 5 (1 สิงหาคม - 31 ตุลาคม 2565) ดังนี้
                    1. อนุมัติให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ChulaCov19 mRNA เพื่อทำการทดสอบทางคลินิกระยะที่สาม และการผลิตเพื่อขึ้นทะเบียนวัคซีนเพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉิน ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว เนื่องจากเป็นโครงการฯ ที่ช่วยยกระดับขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาวัคซีนของประเทศไทย และทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางด้านวัคซีนและลดการพึ่งพาวัคซีนจากต่างประเทศได้ในอนาคต แต่ประสบปัญหาจากปัจจัยภายนอกที่หน่วยงานรับผิดชอบไม่สามารถควบคุมได้และที่ผ่านมาหน่วยงานรับผิดชอบได้ใช้ความพยายามในการแก้ไขปัญหาแล้ว ประกอบกับการดำเนินโครงการฯ เป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนทางเทคนิค จึงเห็นควรให้ระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการฯ ออกไปจากเดือนมีนาคม 2565 เป็นกรณีพิเศษ โดยมีเงื่อนไขในการอนุมัติดังกล่าว โดยมอบหมายให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการ ดังนี้
                              1.1 ประสานกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งให้การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ และข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติการขึ้นทะเบียนวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่วิจัยและพัฒนาภายใต้โครงการฯ ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
                              1.2 จัดทำรายงานความก้าวหน้าของโครงการฯ และแผนการดำเนินงานที่ได้มีการปรับแผนและการบริหารความเสี่ยง เพื่อแสดงให้เห็นว่าจะสามารถดำเนินโครงการฯ ให้เสร็จสิ้นได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เสนอคณะกรรมการฯ เพื่อทราบอย่างต่อเนื่องทุก ๆ 3 เดือน
                    2. อนุมัติให้จังหวัด เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ดังนี้
                              2.1 ยกเลิกการดำเนินโครงการ จำนวน 22 โครงการ ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน สระบุรี ฉะเชิงเทรา อำนาจเจริญ และปราจีนบุรี กรอบวงเงิน 35.5448 ล้านบาท ทั้งนี้ รวมโครงการก่อสร้างเส้นทางศึกษาธรรมชาติเขาแบนะ ของจังหวัดตรัง วงเงิน 4.3440 ล้านบาท เนื่องจากอุทยานแห่งชาติเจ้าไหมยังไม่สามารถลงนามในสัญญาได้
                              2.2 ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จำนวน 78 โครงการ ของจังหวัดฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร ตรัง สิงห์บุรี กาฬสินธุ์ บึงกาฬ พัทลุง และนครนายก กรอบวงเงิน 152.4047 ล้านบาท เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งเป็นกลุ่มโครงการที่ได้ผู้รับจ้างและอยู่ระหว่างผูกพันสัญญาและลงนามสัญญาแล้ว
                              2.3 เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กสายเลียบคลอง 24 ฝั่งเหนือ หมู่ที่ 9 บ้านคลอง 24 ฝั่งเหนือ ตำบลศีรษะกระบือ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก โดยปรับลดระยะทางให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในพื้นที่จาก 750 เมตร เป็น 690 เมตร ทำให้กรอบวงเงินโครงการฯ ลดลงจาก 2.3400 ล้านบาท เป็น 2.1560 ล้านบาท หรือลดลงจำนวน 0.1840 ล้านบาท
                              2.4 อนุมัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเป็นหน่วยรับงบประมาณ (เทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล) ของ 76 จังหวัด เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ โดยการขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการเป็นเดือนมีนาคม 2566 จำนวน 1,399 โครงการ และยกเลิกการดำเนินโครงการ จำนวน 4 โครงการ สำหรับโครงการที่ยังไม่ได้ลงนามผูกพันสัญญา จำนวน 614 โครงการ เห็นควรให้กำหนดเป็นเงื่อนไขการขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 และข้อ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ว่าหากหน่วยงานรับผิดชอบไม่สามารถลงนามผูกพันสัญญาภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ให้หน่วยงานยกเลิกการดำเนินโครงการ พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งคณะกรรมการฯ ทราบ และเร่งส่งคืนกรอบวงเงินกู้เหลือจ่ายและจัดทำรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการตามขั้นตอนของระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
                              2.5 มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย กำกับหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติ เร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เร่งส่งคืนกรอบวงเงินกู้เหลือจ่ายและจัดทำรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการตามขั้นตอนของระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป พร้อมทั้งประสานกับหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการโดยใช้เงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ที่ยังไม่ได้ดำเนินการผูกพันสัญญาให้เสนอขอยกเลิกการดำเนินโครงการตามข้อ 19 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และเป็นไปตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565
                    3. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 5 (1 สิงหาคม - 31 ตุลาคม 2565) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานเจ้าของโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด

ต่างประเทศ
23. เรื่อง สรุปผลการประชุมสหประชาชาติด้านมหาสมุทร ค.ศ. 2022 (2022 United Nations Ocean Conference)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ                 สรุปผลการประชุมสหประชาชาติด้านมหาสมุทร ค.ศ. 2022 (2022 United Nations Ocean Conference) ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน - 1 กรกฏาคม 2565 ณ กรุงลิสบอน สาธารณรัฐโปรตุเกส โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมฯ [คณะรัฐมนตรีมีมติ (21 มิถุนายน 2565) เห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมฯ ซึ่งประกอบด้วย ร่างปฏิญญาทางการเมือง (Our Ocean, Our Future, Our Responsibility) และร่างเนื้อหาคำมั่นโดยสมัครใจที่ประเทศไทยจะประกาศในประเด็นการสนับสนุนข้อมูล                   ด้านการติดตามและวิจัยภาวะการเป็นกรดในมหาสมุทร1] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. รัฐภาคีสมาชิก ได้มีมติให้ความเห็นชอบปฏิญญาทางการเมืองเพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนกับประชาคมโลก โดยเรียกร้องให้รัฐสมาชิกร่วมเร่งรัดดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อบรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 142 โดยการให้ความรู้ในการจัดการมหาสมุทรแบบบูรณาการฟื้นฟูและรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้อยู่ในระดับที่ผลิตได้ ขับเคลื่อนการดำเนินการเพื่อการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน ป้องกันและควบคุมมลภาวะทางทะเลทุกประเภท รวมถึงการแก้ไขปัญหาขยะทะเล การวางแผนการใช้เครื่องมือในการจัดการเชิงพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ การบรรเทาและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้จะร่วมกันดำเนินการโดยตระหนักถึงกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็กและประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดซึ่งเผชิญกับความท้าทายด้านขีดความสามารถที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข ได้แก่ การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการสำรวจและรวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในทุกระดับ การแสดงบทบาทของชนพื้นเมือง การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างพันธมิตรที่มีประสิทธิภาพ การส่งเสริมมาตรการทางการเงินเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่เศรษฐกิจภาคมหาสมุทรที่ยั่งยืน การสนับสนุนให้ผู้หญิงรวมถึงเด็กและเยาวชนมีความเท่าเทียมและมีความรู้ทักษะที่เกี่ยวข้องสร้างความเชื่อมโยงด้านวิทยาศาสตร์และนโยบายสำหรับการขับเคลื่อน            การดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 14 และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ
                    2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมเต็มคณะ โดยเน้นย้ำความสำคัญในการเร่งดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 14 แสดงความมุ่งมั่นของไทยในการใช้แนวทางของโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy (BCG) เพื่อเร่งขับเคลื่อนการจัดการปัญหาหลักด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและมลภาวะ รวมถึงเรียกร้องให้สนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการให้ความสำคัญกับการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยี รวมทั้งการสนับสนุนทางการเงินและความร่วมมือในทุกระดับ และแสดงความพร้อมของไทยในการเป็นที่ตั้งสำนักงานประสานงานทศวรรษแห่งมหาสมุทรเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานในภูมิภาคภายใต้ทศวรรษแห่งสหประชาชาติด้านมหาสมุทรเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ถ้อยแถลงดังกล่าวครอบคลุมถึงความมุ่งมั่นโดยสมัครใจของไทยที่จะสนับสนุนข้อมูลด้านการติดตามและวิจัยภาวะความเป็นกรดในมหาสมุทรเพื่อยืนยันเจตจำนงในการอนุวัติเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 14 เป้าหมายย่อยที่ 14.3 และ 14.a3
                    3. ไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุม Interactive Dialogue และกิจกรรมคู่ขนาน เพื่อนำเสนอแนวคิดและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่จะได้นำมาพัฒนาและใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศ รวมถึงการยกระดับการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 14 ต่อไป
                    4. ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
                              1) การแสดงท่าทีและจุดยืนของไทยที่ชัดเจนต่อที่ประชุม ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 14 และการแสดงถึงความร่วมมือ ช่วยเหลือ และสนับสนุนการดำเนินงาน รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ระหว่างประเทศ
                              2) การเจรจาเพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยมีหลายประเทศที่แสดงเจตจำนงในความร่วมมือกับไทย เช่น ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผลดีต่อไทยในการพัฒนาและยกระดับการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                              3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทั้งในเชิงวิชาการ เชิงปฏิบัติการ และการสร้างเครือข่าย การดำเนินงานภายใต้การเข้าร่วมประชุม Interactive Dialogue และการประชุมคู่ขนาน ซึ่งไทยจะได้นำมาพัฒนาต่อยอดการดำเนินงานให้สามารถบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 14 รวมถึงแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของไทยสำหรับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ได้อย่างเต็มศักยภาพยิ่งขึ้น
                    5. ทส. โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในฐานะหน่วยประสานงานกลาง การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 14 จะนำผลการประชุมไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าผ่านกลไกคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
1ภาวะความเป็นกรดในมหาสมุทร เกิดจากการที่มหาสมุทรดูดซึมคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีจนน้ำทะเลมีค่า pH ต่ำลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล รวมทั้งสมดุลของธรรมชาติและห่วงโซ่อาหาร
2เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 14 (SDG 14) : อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีเป้าประสงค์ครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทะเลและมหาสมุทร ทั้งด้านมลพิษ การบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรประมง ความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรประมงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
3เป้าหมายย่อยที่ 14.3 : ลดและแก้ปัญหาผลกระทบของการเป็นกรดในมหาสมุทร ผ่านทางการเพิ่มพูนความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ในทุกระดับ และเป้าหมายย่อยที่ 14.a : เพิ่มพูน พัฒนาขีดความสามารถและถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการวิจัยทางทะเล

24.  เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 28
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 281 เมื่อวันที่ 9 - 10 กันยายน 2565                    ณ จังหวัดภูเก็ต และผ่านระบบการประชุมทางไกล [คณะรัฐมนตรีมีมติ (6 กันยายน 2565) เห็นชอบในหลักการต่อเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย (1) รับรองแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 28 หรือ                  (2) ออกประกาศแถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปคในกรณีที่เขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปคไม่สามารถเห็นชอบเพื่อรับรองแถลงการณ์ร่วมฯ หรือ (3) รับรองแถลงการณ์ร่วมฯ พร้อมทั้งออกประกาศแถลงการณ์ประธานฯ ในกรณีที่มีประเด็นอ่อนไหวหรือประเด็นที่ยังไม่มีฉันทามติจากทุกสมาชิกเอเปค] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. สสว. เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมฯ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ฯ)ประธานการประชุม มีผู้เข้าร่วมจากเขตเศรษฐกิจ 20 ประเทศ ซึ่งมีเขตเศรษฐกิจเข้าร่วมการประชุม ณ จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย จำนวน 16 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ เครือรัฐออสเตรเลีย เนการาบรูไนดารุสซาลาม แคนาดา สาธารณรัฐชิลี สาธารณรัฐจีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สหพันธรัฐมาเลเซีย นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐฟิลิปนส์ สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศไทย และเข้าร่วมประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล อีก 4 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน สหพันธรัฐรัสเซีย สหรัฐเม็กซิโก และสาธารณรัฐเปรู โดยที่ประชุมมีการหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
ประเทศ          สาระสำคัญ/ผลการประชุม
(1) การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy)
ญี่ปุ่น          ส่งเสริมให้เกิด ?ตลาดสินค้าสีเขียว? โดยส่งเสริมให้สินค้าติดฉลากการปล่อย                ก๊าซคาร์บอนและสินค้าสีเขียวเข้าสู่การจัดซื้อจัดจ้างทั้งภาครัฐและเอกชน และเสนอให้ภูมิภาคเอเปคสร้างและพัฒนาตลาด ?สินค้าสีเขียว? ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs)
สิงคโปร์          ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยจากบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วและเศษอาหารให้เป็นธุรกิจ Startup สำหรับ SMEs และพัฒนาการรับรองมาตรฐานสินค้าสีเขียวให้แก่ SMEs เพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น
(2) การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลอย่างครอบคลุม
รัสเซีย          พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ โดยสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทางธุรกิจของผู้ประกอบการเพื่อให้ธนาคารเครือข่ายใช้เป็นข้อมูลปล่อยกู้ และแบบรายการยื่นภาษีอัตโนมัติ และสามารถส่งเอกสารขอยื่นกู้ธนาคารไปยังธนาคารเครือข่ายได้
เวียดนาม          เวียดนามจะต้องมีผู้ประกอบการ 100,000 ราย ที่ได้รับการอบรมและเข้าถึงบริการด้านการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล รวมทั้งพัฒนาหน่วยบริการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล ครบ 100 หน่วยงาน ภายในปี 2025
อินโดนีเซีย          มีแผนดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้ SMEs เปลี่ยนผ่านสู่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยผู้ประกอบการจะต้องได้รับการเปลี่ยนผ่านอย่างน้อย 30 ล้านราย ภายในปี 2024
เกาหลีใต้          แนะนำนโยบายนำร่องเพื่อช่วยเหลือด้านดิจิทัลให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro, Small and Medium Enterprises: MSMEs) ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดย MSMEs สามารถเข้าถึงบริการและอุปกรณ์ดิจิทัลได้มากขึ้นและสามารถดำเนินธุรกิจดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว
(3) การรับมือกับตลาดที่กำลังพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไป
สหรัฐอเมริกา          มุ่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่การค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนโดยเฉพาะผู้ประกอบการสตรี โดยมีหลักสูตรการประเมินศักยภาพของผู้ประกอบการและการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการสตรีเป็นการเฉพาะ รวมทั้งจัดให้มีการเข้าถึงแพลตฟอร์มในการโอนเงิน
(4) การจัดหาเงินทุนและการปรับโครงสร้างหนี้
แคนาดา          จัดให้มีสินเชื่อโดยไม่หวังกำไรและกองทุนร่วมลงทุนให้ผู้ประกอบการสตรี
จีน          มีการค้ำประกันสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนธุรกิจ
(5) ประเด็นอื่น ๆ เช่น
มาเลเซีย          จัดกิจกรรม SME National Champion โดยคัดเลือกจากธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตทางรายได้สูง และรัฐบาลจะให้การสนับสนุนใน 3 มิติ คือ การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีสู่ 4.0 การปฏิรูปองค์การให้มีสมรรถะสูง และการพัฒนากลยุทธ์การตลาดสู่สากล
จีน          ยกเลิกกฎ ระเบียบใบอนุญาตที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของ SMEs มากกว่า 1,000 รายการ
                    2. ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับหน่วยงานต่าง ๆ
                              1) ทุกเขตเศรษฐกิจให้ความสำคัญกับการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการตลาด โดยสหรัฐอเมริกาและองค์การสหประชาชาติได้ผลักดันให้มีข้อบทด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีโดยเฉพาะ ดังนั้น หน่วยงานของไทยจึงควรมีการพัฒนาฐานข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลผู้ประกอบการสตรีเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายในการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีต่อไป
                              2) ที่ประชุมเน้นย้ำการส่งเสริมการประยุกต์ใช้แนวทางการพัฒนาตาม BCG Model ซึ่งจะช่วยสร้างธุรกิจ Startup ใหม่ในสาขาบริการ และหน่วยงานภาครัฐควรเร่งให้ความช่วยเหลือ MSMEs ในการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่สอดรับกับ BCG Model รวมทั้งแบ่งปันแนวทางและเครื่องมือนโยบาย เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจให้แก่ MSMEs
                              3) ควรจัดทำแพลตฟอร์มกลางเพื่อให้บริการที่ครอบคลุมทุกกลุ่ม MSMEs ที่มีทักษะ                 ในด้านดิจิทัล ซึ่งจะช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจให้ตอบสนองต่อความต้องการที่เป็นปัจจุบันได้มากขึ้น และเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
                              4) MSMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ยากเนื่องจากมีขนาดเล็ก ผลิตภัณฑ์ และบริการ             ไม่หลากหลาย และอาจมีโครงสร้างทางการเงินที่อ่อนแอ ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ จึงสนับสนุนให้มีมาตรการในการแก้ปัญหาที่เกิดจากข้อจำกัดของการปล่อยกู้เพื่อให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้
                    3. สหรัฐอเมริกาจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 29 ในปี 2566
1จากการประสานข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 สสว. แจ้งว่า ที่ประชุมฯ ได้ออกแถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค เนื่องจากเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปคไม่สามารถเห็นชอบร่วมกันในประเด็นสถานการณ์ระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภูมิภาคเอเปค
2สินค้าสีเขียว หมายถึง สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่รักษ์โลกหรือลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน เช่น ถุงผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

25.  เรื่อง ผลการประชุม Mekong-Korea International Water Forum ครั้งที่ 1 ณ สาธารณรัฐเกาหลี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุม Mekong-Korea International Water Forum              ครั้งที่ 11 รวมทั้งมอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ติดตามผลการประชุมฯ และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สทนช. รายงานว่า
                    1. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เข้าร่วมการประชุม Mekong-Korea International Water Forum ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 5 ? 6 ตุลาคม 2565 ณ กรุงโซล เกาหลีใต้ ร่วมกับรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม เกาหลีใต้                  นายบัน คีมูน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำเกาหลี นายปาร์ค แจฮยอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ K-Water2  และผู้แทนประเทศสมาชิกประเทศลุ่มน้ำโขง สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                              1) การกล่าวถ้อยแถลงแสดงความยินดีในพิธีเปิดการประชุมฯ โดยไทยแสดงความยินดีที่ประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขง-เกาหลีใต้ ได้ประสานความร่วมมือในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นอย่างดีมาโดยตลอด ซึ่งการประชุมในครั้งนี้จะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนในการเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศใน               อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกและความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน
                              2) การเข้าร่วมการอภิปรายในการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูง (Panelist for the High-Level Dialogue) ในประเด็นเรื่องความร่วมมือด้านน้ำในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและธรรมาภิบาลด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำโขงภายใต้ความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ กล่าวถึงแนวทางในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เป็นความท้าทายสำคัญในการบริหารจัดการน้ำโดยมุ่งเน้นการกำหนดยุทธศาสตร์การศึกษาวิจัยร่วมกันเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการปรับตัว และเสริมสร้างความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจและการลงทุนของทุกประเทศในภูมิภาค
                              3) การประชุมหารือทวิภาคี ฝ่ายไทยได้เข้าร่วมประชุมหารือกับนายปาร์ค แจฮยอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ K-water เกี่ยวกับกรอบแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระหว่างไทย โดย สทนช. กับ K-water เกาหลีใต้ ซึ่งฝ่ายไทยแสดงความประสงค์เสริมสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่ง โดยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ทันสมัยในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำที่ผนวกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิด Bio-Circular-Green Economy (BCG) การดำเนินโครงการร่วมด้านน้ำการสนับสนุนและเข้าร่วมการประชุมของสภาน้ำแห่งเอเชีย (Asia Water Council: AWC) และการขยายผลความสำเร็จของโครงการที่มีการดำเนินการร่วมกันอย่างต่อเนื่องต่อไป
                              4) การหารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อสนับสนุนการจัดทำและลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำระหว่างไทย (โดย สทนช.) และลาว
                              5) การหารือกับเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำเกาหลีใต้ เพื่อแสดงความขอบคุณความร่วมมือที่ประเทศออสเตรเลียให้การสนับสนุนไทยในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านทรัพยากรน้ำ                      ซึ่งเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำเกาหลีใต้ได้ขอให้ไทย โดย สทนช. สนับสนุนการดำเนินงานตามแผ่นงานในบันทึกความเข้าใจด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระหว่าง สทนช. แห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงการต่างประเทศและการค้าออสเตรเลียเพื่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
                              6) การเยี่ยมชมโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของเกาหลีใต้ ได้แก่ โครงการสถานีโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงซีฮวา ซึ่งเป็นสถานีโรงงานผลิตไฟฟ้าจากน้ำขึ้นน้ำลงที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถผลิตกระแสไฟฟ้ารองรับความต้องการการใช้ไฟฟ้าให้กับประชากรที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองได้ ในขณะเดียวกันยังใช้เป็นเขื่อนกั้นน้ำเพื่อผลิตน้ำเพื่อเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม และใช้เป็นแนวป้องกันพายุไต้ฝุ่นและสึนามิ รวมถึงบูรณาการการพัฒนาไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมบริเวณพื้นที่โครงการอีกด้วย และการเยี่ยมชมสถานีผลิตน้ำสะอาดฮวาซอง ซึ่งเป็นสถานีแห่งแรกในเกาหลีใต้ที่นำเทคโนโลยีปัญญาประติษฐ์มาใช้ในการผลิตน้ำสะอาด โดยสถานีดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ                ในการจัดหาน้ำประปาให้มีความเพียงพอต่อความต้องการในอนาคต
                    2. ผลลัพธ์ของการประชุม ที่ประชุมฯ ยินดีที่จะร่วมกันขับเคลื่อนกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-เกาหลีใต้ ในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เป็นไปตามปฏิญญาแม่น้ำโขง-แม่น้ำฮัน เพื่อสถาปนาความเป็นหุ้นส่วนที่ครอบคลุม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของลุ่มน้ำโขงกับเกาหลีใต้ รวมถึงการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการบริหารจัดการน้ำโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างเครือข่ายและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างประเทศลุ่มน้ำโขงกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา                    การกำหนดวาระเกี่ยวกับการแก้ปัญหาในเชิงปฏิบัติสำหรับประเด็นด้านน้ำที่สำคัญในอนุภูมิภาค การระดมทุนสำหรับการดำเนินโครงการด้านน้ำ และการส่งเสริมขีดความสามารถของอนุภูมิภาคในการบริหารจัดการน้ำและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
1เป็นผลสืบเนื่องจากการประชุมกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับสาธารณรัฐเกาหลี (Mekong-ROK Summit) ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ณ นครปูชาน เกาหลีใต้ ซึ่งจัดประชุมคู่ขนานกับการประชุมสุดยอดอาเซียน-เกาหลีใต้ สมัยพิเศษ ครั้งที่ 3 โดยประเทศไทยและเกาหลีใต้ได้มีการพัฒนาความร่วมมือความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และได้มีการรับรองปฏิญญาแม่น้ำโขง-แม่น้ำฮันเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมซึ่งกำหนดทิศทางความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-เกาหลีใต้ในอนาคต
2K-water (The Korea Water Resources Corporation) เป็นหน่วยงานของรัฐในการพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างครอบคลุมและจัดหาน้ำสาธารณะและน้ำอุตสาหกรรมในเกาหลีใต้

26. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ด้านระบบราง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ด้านระบบราง (Memorandum of Cooperation between the Ministry of Transport of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism of Japan in the field of Railways) ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงร่างบันทึกความร่วมมือฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้อยู่ในดุลพินิจของกระทรวงคมนาคมโดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                     ร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ด้านระบบราง มีสาระสำคัญ ดังนี้
                    1) วัตถุประสงค์ของความร่วมมือ เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจร่วมกันด้านนโยบายกฎหมายและระเบียบ การพัฒนาและเตรียมการจัดตั้งสถาบันด้านระบบรางในราชอาณาจักรไทยและญี่ปุ่น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคโนโลยีเฉพาะด้านที่มีความสนใจร่วมกัน และสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถ                              2) ขอบเขตความร่วมมือเฉพาะ นโยบายด้านระบบราง กฎหมาย ระเบียบและมาตรฐานระเบียบด้านการขนส่งทางราง การพัฒนาระบบราง เทคโนโลยีสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน รถจักรและล้อเลื่อนและระบบการเดินรถ มาตรการส่งเสริมการใช้ระบบราง เพิ่มความสะดวกสบาย การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง การขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการประหยัดพลังงานในระบบราง มาตรการป้องกันภัยพิบัติและอุบัติเหตุ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการขนส่งทางราง กิจกรรมรองในธุรกิจระบบรางและการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน มาตรการสำหรับการขนส่งสินค้าอันตราย
                    3) รูปแบบของความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้และประสบการณ์ในประเด็นที่สนใจร่วมกัน การประชุม สัมมนา การศึกษาดูงานและการประชุมรูปแบบอื่นตามที่ตกลงกัน
                    4) การดำเนินความร่วมมือ ทั้งสองฝ่ายอาจอนุญาตให้หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ จากราชอาณาจักรไทยและญี่ปุ่น รวมถึงรัฐวิสาหกิจเอกชน และองค์กรที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ มีส่วนร่วมในความร่วมมือนี้ บันทึกความร่วมมือฯ  ไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายและภาระผูกพันทางการเงินต่อทั้งสองฝ่าย กิจกรรมภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ จะมีผลใช้บังคับในวันที่ลงนาม และจะมีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา 3 ปี และสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้โดยความเห็นชอบร่วมกันของทั้งสองฝ่ายเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ สามารถขยายเวลาได้อีก 3 ปี โดยความเห็นชอบร่วมกันของทั้งสองฝ่ายเป็นลายลักษณ์อักษร มิเช่นนั้น จะถือเป็นการสิ้นสุดของบันทึกความเข้าใจฯ

27.  เรื่อง  การรับรองปฏิญญา Fez ของการประชุม Global Forum of the United Nations Alliance of Civilizations (UNAOC) ครั้งที่ 9
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อปฏิญญา Fez ของการประชุม Global Forum of the United Nations Alliance of Civilizations (UNAOC) ครั้งที่ 9 และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองปฏิญญาฯ ดังกล่าวตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ

                    สาระสำคัญ
                    1. ตระหนักถึงความสำคัญของการเสวนาและความร่วมมือระหว่างวัฒนธรรมและศาสนาเพื่อส่งเสริมความเคารพชึ่งกันและกัน การเป็นมิตรที่ดีต่อกัน และพหุนิยม รวมทั้งสนับสนุนข้อริเริ่มต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐ องค์การระหว่างประเทศ และภาคประชาสังคม
                    2. ย้ำความมุ่งมั่นของรัฐสมาชิกภายใต้กฎบัตรสหประชาชาติในการส่งเสริมและสนับสนุนความเคารพและการยึดมั่นในหลักสิทธิมนุษยชน และอิสรภาพขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียม พร้อมย้ำว่ารัฐสมาชิกจำเป็นต้องปกป้องและเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพขั้นพื้นฐานของทุกคน รวมถึงสนับสนุนรายงานของเลขาธิการสหประชาชาติหัวข้อ ?Our Common Agenda? ที่ส่งเสริมระบอบพหุภาคีและการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำทางศาสนาและความเชื่อต่าง ๆ
                    3. เน้นย้ำความจำเป็นในการพัฒนาและปฏิบัติตามนโยบาย แผนปฏิบัติการและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์ความรู้เท่าทันสื่อมวลชนและข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ และเพิ่มความตระหนักรู้ ความสามารถในการป้องกัน ติดตามและต่อต้านข่าวเท็จ ข่าวบิดเบือนและวาทะสร้างความเกลียดชัง
                    4. ย้ำถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและผลกระทบของเทคโนโลยีและการสื่อสารสนเทศในการส่งเสริมความเข้าใจทางวัฒนธรรมและความสมานฉันท์ในสังคม หรืออาจจะเผยแพร่ความเกลียดชังหรือการเลือกปฏิบัติในสังคม รวมถึงผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน
                    5. รับทราบถึงบทบาทที่สำคัญของพันธมิตรหลากอารยธรรมแห่งสหประชาชาติในฐานะที่เป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมและศาสนา และเป็นพื้นที่สนับสนุนความร่วมมือ เอกภาพและภราดรภาพของมนุษย์ และยินดีที่พันธมิตรหลากอารยธรรมแห่งสหประชาชาติพยายามจะเป็นสะพานเชื่อมโยงที่ส่งเสริมคุณค่าและหลักการด้านพหุภาคี ซึ่งจำเป็นต่อการต่อต้านแนวโน้มที่จะมีการสร้างกลุ่มหรือพื้นที่อิทธิพล และช่วยลดช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมและศาสนา
                    โดยปฏิญญาฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญ              แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
                    ทั้งนี้ ปฏิญญา Fez เป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม Global Forum of the United Nations Alliance of Civilizations (UNAOC) ครั้งที่ 9 จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ ?สู่พันธมิตรแห่งสันติภาพ: การอยู่ร่วมกันอย่างเป็นหนึ่งเดียวของมนุษยชาติ? (Towards an Alliance of Peace: Living Together as One Humanity) ซึ่งรัฐบาลราชอาณาจักรโมร็อกโกเป็นเจ้าภาพ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 23 พฤศจิกายน 2565 ณ เมือง Fez ราชอาณาจักรโมร็อกโก โดยนายสุรพล จันทร์น้อย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมฯ และร่วมกล่าวถ้อยแถลงของไทย

28. เรื่อง ขอความเห็นชอบการจัดการเอกสาร Flag State Notification
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำเอกสาร Flag State Notification และอนุมัติในหลักการว่าหากมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสาร Flag State Notification ในประเด็นที่ไม่ใช่หลักการสำคัญ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    การจัดทำเอกสาร Flag State Notification เป็นไปเพื่อยืนยันการดำเนินการควบคุมบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (UU Fishing) ซึ่งในส่วนของการแจ้งข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ และตราประทับ ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งมีอำนาจดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของกรมประมงและกรมเจ้าท่าตามข้อกฎหมายดังต่อไปนี้
                    1. การจัดการจดทะเบียนเรือประมงภายใต้ธงประจำชาติ เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมเจ้าท่าภายใต้พระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หมวด 6/1 เรือประมง
                    2. การอนุญาต ระงับ หรือเพิกถอนใบอนุญาตทำการประมงแก่เรือประมง เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมประมง ภายใต้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หมวด 10 มาตรการปกครอง
                    3. การดำเนินการควบคุม และบังคับใช้กฎหมาย ข้อบังคับ และการอนุรักษ์ที่เกี่ยวข้องและมาตรการบริหารจัดการเรือประมง เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมประมง ภายใต้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 4
                    4. การตรวจสอบข้อมูลและข้อมูลย้อนหลังของใบรับรองการจับสัตว์น้ำ เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมประมง ภายใต้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หมวด 7 การควบคุม เฝ้าระวัง สืบค้น และตรวจสอบ
                    ผลกระทบ
                    การจัดทำเอกสาร Flag State Notification จะเป็นการยืนยันแก่ประเทศญี่ปุ่นว่าประเทศไทยมีการดำเนินการควบคุมบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ครอบคลุมทุกมิติตามกฎระเบียบของสหภาพยุโรปที่ดำเนินการอยู่แล้ว และพร้อมที่จะดำเนินการตามมาตรการควบคุมการกระจายสินค้าในประเทศและการนำเข้าสินค้าประมงของประเทศญี่ปุ่น โดยการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำของสินค้าประมงประเภทที่ 2 และเอกสารอื่น ๆ ตามข้อกำหนด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ประเทศญี่ปุ่นว่าสินค้าประมงที่ประเทศไทยส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นนั้นไม่ได้มาจากการทำประมง IUU

29.  เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุขและการดูแลทางสังคม แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ว่าด้วยความร่วมมือด้านจีโนมิกส์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ประเทศไทยและกระทรวงสาธารณสุขและการดูแลทางสังคม แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ว่าด้วยความร่วมมือด้านจีโนมิกส์ รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะประธานกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธรณสุข หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้งตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุขและการดูแลทางสังคม แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ว่าด้วยความร่วมมือด้านจีโนมิกส์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านจีโนมิกส์ระหว่างสองประเทศ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. ขอบเขตความร่วมมือ 1) พัฒนาบุคลากร ด้านการศึกษาและฝึกอบรม (joint degree programs, short courses, fellowship) 2) ความร่วมมือด้านการวิจัยในกลุ่มโรควินิจฉัยยาก มะเร็ง เภสัชพันธุศาสตร์ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และโรคติดเชื้อ 3) การแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อการพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ด้านจีโนมิกส์ 4) สนับสนุนและส่งเสริมกลไกที่มีอยู่แล้วสำหรับรองรับฐานข้อมูลพันธุกรรมของประเทศ เพื่อการพัฒนาชุดข้อมูลจีโนมที่เข้าถึงร่วมกันได้สำหรับการสร้างแบบจำลองร่วมกัน
                    2. รูปแบบความร่วมมือ 1) การแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้และเทคโนโลยี 2) การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญและผู้แทนในการศึกษาดูงาน รวมถึงการเข้าร่วมการประชุมที่จัดขึ้นโดยประเทศคู่สัญญา 3) การอบรม สัมมนา workshop และ 4) การทำโครงการร่วมกัน (joint projects)
                    3. การบริหารความร่วมมือด้านจีโนมิกส์ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับทิศ (A Joint Working Group on Genomics Cooperation) โดยมีประธานร่วมที่มาจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและกระทรวงสาธารณสุขและการดูแลทางสังคม แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ เพื่อทำหน้าที่กำกับติดตามเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
                    4. บันทึกความเข้าใจฯ จะมีผลบังคับใช้นับจากวันที่มีการลงนาม โดยความร่วมมือจะมีระยะเวลา              5 ปี และอาจขยายระยะเวลาต่อออกไปได้อีก 5 ปี เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะขอยุติความร่วมมือภายใน 3 เดือนก่อนวันที่บันทึกความเข้าใจฯ จะสิ้นสุด

30.  เรื่อง  ผลการดำเนินความร่วมมือด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศของกระทรวงกลาโหม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินความร่วมมือด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศของกระทรวงกลาโหมตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงกลาโหม ขอรายงานผลการดำเนินความร่วมมือด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศของกระทรวงกลาโหม ประกอบด้วย การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Defence Ministers? Meeting Retreat: ADMM Retreat) และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 9 (9th  ASEAN Defence Ministers? Meeting Plus: 9th  ADMM-Plus) รวมทั้งการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 ถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ณ เมืองเสียมราฐ ซึ่งราชอกณาจักรกัมพูชา เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ตลอดจนการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 15 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ณ กรุงเทพฯ  โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มอบหมายให้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ               รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุม ADMM Retreat และการประชุม 9th  ADMM ?Plus รวมทั้งการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 22 ถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา และเป็นผู้แทนทำหน้าที่ประธานร่วมกับ สมเด็จพิชัยเสนา เตีย บันห์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมราชอาณาจักรกัมพูชา ในการประชุม GBC ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 15 ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล อะลักซ์ชัวรี คอลเลคชั่น กรุงเทพฯ
                    1. การประชุม ADMM Retreat
                              1.1 รัฐมนตรีกลาโหมประเทศสมาชิกอาเซียน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองด้านความมั่นคง โดยยืนยันความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจ และขับเคลื่อนความร่วมมือด้านความมั่นคง ให้เกิดความต่อเนื่อง สอดคล้องกับพลวัตของสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงของภูมิภาค และมีความเป็นรูปธรรม รวมทั้งให้ความสำคัญกับความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความเป็นแกนกลางของอาเซียน ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงภัยคุกคามแบบดั้งเดิมที่ยังคงมีอยู่ ผลักดันความร่วมมือในกรอบ ADMM ภายใต้บทบาทนำของกระทรวงกลาโหม รวมทั้งกล่าวชื่นชมข้อริเริ่มให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ เพื่อกำหนดทิศทางของ ADMM ในอนาคต โดยได้เสนอให้จัดระเบียบความร่วมมือเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางทหารอย่างคุ้มค่า การขยายบทบาทของฝ่ายทหารอาเซียนในการร่วมกันรับมือกับภัยคุกคามข้ามแดน และการมีปฏิสัมพันธ์กับทุกฝ่ายอย่างครอบคลุมและสมดุล
                              1.2 ที่ประชุมฯ ยินดีที่ประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีฉันทามติเห็นชอบการเป็นผู้สังเกตการณ์ในกิจกรรมของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในกรอบ ADMM-Plus (ADMM-Plus Experts?
Working Groups: ADMM-Plus EWGs) ของสหราชอาณาจักร แคนาดา และสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยให้เข้าร่วมกิจกรรม ADMM-Plus EWGs ในปี 66
                    2. การประชุม 9th  ADMM-Plus
                              2.1 ที่ประชุมฯ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงในภูมิภาคและระหว่างประเทศ โดยมีประเด็นสำคัญ อาทิ การแข่งขันในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ การฟื้นฟูภายหลัง COVD-19 การจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรในภูมิภาค การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณทะเลจีนใต้ คาบสมุทรเกาหลี สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และยูเครน ซึ่งที่ประชุมฯ เน้นย้ำบทบาทและความเป็นแกนกลางของอาเซียน ในการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาคที่เป็นรูปธรรมผ่านคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญทั้ง 7 ด้าน ที่เป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอาเซียน ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวชื่นชมกลไก ADMM-Plus ในการสร้างความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือและพันธมิตร พัฒนาขีดความสามารถร่วมกันภายใต้บริบทใหม่ของโลกที่ใช้เทคโนโลยีเป็นพื้นฐาน เพื่อการดำรงอยู่ในสภาวะแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลง เกิดผลประโยชน์ร่วมกันอย่างสมดุล มุ่งมั่นการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี รวมทั้งให้ความสำคัญกับใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเกิดประโยชน์สูงสุด
                              2.2 รัฐมนตรีกลาโหมประเทศสมาชิก ADMM-Plus ได้ให้การรับรองปฏิญญาร่วมของการประชุม 9th  ADMM-Plus เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการสร้างความเข้มแข็งให้กับอาเซียน รวมทั้งส่งเสริมความเชื่อมั่นระดับยุทธศาสตร์ และความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม เพื่อความพร้อมรับมือกับพลวัตด้านความมั่นคงที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก
                              2.3 การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน +1 อย่างไม่เป็นทางการ โดยมีการหารือกับสหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐอินเดีย ซึ่งเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกัน โดยประเทศคู่เจรจาทั้งสองประเทศ ได้ยืนยันความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความร่วมมือ บนพื้นฐานของการความเป็นแกนกลางของอาเซียน และพร้อมให้การสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถให้กับอาเซียน
                              2.4 การหารือทวิภาคีร่วมกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเครือรัฐออสเตรเลีย โดยทั้งสองประเทศได้ยืนยันความมุ่งมั่นในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการร่วมในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับเครือรัฐออสเตรเลีย ผ่านการเสริมสร้างความร่วมมือทางทหารที่สร้างสรรค์ในทุกระดับ
                              2.5 กระทรวงกลาโหมราชอาณาจักรกัมพูชา ได้ส่งมอบตำแหน่งประธานการประชุม
ADMM ในปี พ.ศ. 2566 ให้กับกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยรัฐมนตรีกลาโหมสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้แสดงเจตนารมณ์ในการเสริมสร้างเพื่อมุ่งเน้นให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตนำไปสู่เสรีภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และความมั่นคงของภูมิภาค (Peace, Prosperity and Security)
                    3. การประชุม GBC ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 15
                              3.1 การหารือก่อนการประชุมของประธานร่วม โดยมีประเด็นที่กระทรวงกลาโหมผลักดัน ได้แก่ 1) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 2) การจัดตั้งกลไกการทำงานร่วมกันในระดับต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างทั้งสองกองทัพ และ 3) การจัดตั้งคณะทำงานร่วม เพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านการเก็บกู้ทุ่นระเบิดตามแนวชายแดน
                              3.2 การประชุม GBC ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 15
                              ที่ประชุมฯ ได้หารือและทบทวนผลการปฏิบัติตามบันทึกการประชุมฯ ครั้งที่ 14 รวมทั้งหารือประเด็นสำคัญในการเสริมสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างทั้งสองกองทัพ โดยยินดีที่จะมีการประชุมระดับผู้บัญชาการทหารสูงสุดและการประชุมระหว่างกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรี - ตราด กับภูมิภาคทหารที่ 5 ของราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อช่วยให้มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางทหารในบริบทต่าง ๆ ได้มากขึ้น และสามารถการแก้ไขปัญหาตามชายแดนที่มีพื้นที่ติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว ขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาตามแนวชายแดนให้นำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งได้เห็นชอบให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกัน ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติอย่างใกล้ชิด การประชุมและแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับ นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายยังเห็นชอบในการสนับสนุนความร่วมมือด้านการเก็บกู้ทุ่นระเบิดตามแนวชายแดน โดยจะมีการแลกเปลี่ยนกำลังพลและยุทโธปกรณ์ในการให้ความช่วยเหลือเก็บกู้ระหว่างทั้งสองประเทศในพื้นที่ที่ไม่มีปัญหาเรื่องเขตแดน ซึ่ง                    รองนายกรัฐมนตรี ขอบคุณราชอาณาจักรกัมพูชาที่สนับสนุนการดำเนินความร่วมมือในด้านความมั่นคงบริเวณแนวชายแดน ได้แก่ ความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ความร่วมมือด้านการเปิดจุดผ่านแดนและการสัญจรข้ามแดน การผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยกับหน่วยทหาร และตำรวจของกัมพูชาในพื้นที่ชายแดน เป็นต้น ทั้งนี้ภายหลังการประชุมฯ รองนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา ได้ร่วมลงนามในบันทึกผลการประชุมฯ เพื่อให้หน่วยงานของทั้งสองประเทศดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    4. ประโยชน์ที่จะได้รับ
                    ผลการประชุม ADMM Retreat และการประชุม 9th ADMM-Plus รวมทั้งการประชุมอื่น ๆ                    ที่เกี่ยวข้อง เป็นการร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองด้านความมั่นคงของภูมิภาคเพื่อส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจ แสวงหาความร่วมมือที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน และรับทราบพัฒนาการการดำเนินงานภายใต้กรอบ ADMM และ ADMM-Plus รวมทั้งผลักดันประเด็นที่กระทรวงกลาโหมเป็นผู้ริเริ่ม ตลอดจนเสริมสร้างการปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา จึงนับว่าการประชุมฯ ดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี นอกจากนี้ผลการประชุม GBC ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 15 เป็นการพัฒนาความสัมพันธ์และเสริมสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงตามแนวชายแดนร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมและคลอบคลุมทุกมิติ ในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพและความสงบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ชายแดนไทยและกัมพูชา สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทกระทรวงกลาโหมในการเสริมสร้างความร่วมมือและพัฒนาสัมพันธ์อันดีกับมิตรประเทศ ให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงในอาเซียนและภูมิภาคต่อไป

แต่งตั้ง
31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงสาธารณสุข)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่ง                  ที่ว่าง ดังนี้
                     1. นายสุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     2. นายภูวเดช สุระโคตร ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                     ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

32. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นายปิยวัฒน์                 ศิวรักษ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการเงินการคลัง) ในคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ขอลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป โดยผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งตนแทน

33. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ดังนี้
                     1. ประธานกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ได้แก่ ศาสตราจารย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา
                    2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ได้แก่
                               (1) ศาสตราจารย์จิรประภา อัครบวร
                               (2) รองศาสตราจารย์จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์
                               (3) รองศาสตราจารย์อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์
                              (4) นางกฤษดา แสวงดี
                              (5) นายก้องเกียรติ เกษเพ็ชร์
                               (6) นายธีรพล โตพันธานนท์
                               (7) นายพีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป

34. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง กระทรวงมหาดไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จำนวน 1 ราย ดังนี้
                     ให้นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ พ้นจากตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดพัทลุง สำนักงานปลัดกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง จำนวน 3 ราย ดังนี้
                    1. นายมนตรี เดชาสกุลสม รองอธิบดี (นักบริหารระดับต้น) กรมทางหลวง ไปดำรงตำแหน่ง               ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                     2. นายสมชาย สุมนัสขจรกุล รองอธิบดี (นักบริหารระดับต้น) กรมเจ้าท่า ไปดำรงตำแหน่ง                 ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                     3. นางสาวรัชนีพร ธิติทรัพย์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวง (นักบริหารระดับต้น) สำนักงานปลัดกระทรวง ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

36. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและ                 ความมั่นคงของมนุษย์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้ง นางสาวสุนีย์ ศรีสง่าตระกูลเลิศ รองอธิบดี (นักบริหาร) กรมกิจการเด็กและเยาวชน ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรง                 พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ