สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 ธันวาคม 2565

ข่าวการเมือง Wednesday December 7, 2022 09:39 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (6 ธันวาคม 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ  ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง
                                        ตำบลบ้านช้าง  ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม                                                   และตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์  จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน

พ.ศ. ....

                    3.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหันคา                                                   จังหวัดชัยนาท พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน                                                   (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม
                    5.           เรื่อง           รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2565
                    6.            เรื่อง           รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ

พ.ศ. 2558 ประจำปี 2563 และประจำปี 2564

                    7.           เรื่อง           มาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
                    8.           เรื่อง           ขออนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริม                                         (นม) โรงเรียน
                    9.           เรื่อง           รายงานผลการคัดเลือกเอกชน และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุน โครงการ                                        บริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว
                    10.           เรื่อง           การดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ
                    11.           เรื่อง           รายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล                                         หรือ Digital ID และกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทาง                                        ดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567) เพื่อขับเคลื่อน

แผนปฏิบัติการ

                    12.           เรื่อง           ผลการสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2566 (ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการ                                        จากรัฐบาล)
                    13.           เรื่อง           ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนตุลาคม                                         2565
                    14.           เรื่อง           รายงานผลการติดตามและการประเมินผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้กลไก                                        เครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism: JCM)
                    15.           เรื่อง           รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา                                                   270 ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ 16 (เดือนเมษายน ? มิถุนายน 2565)
                    16.           เรื่อง           รายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาค                                        ทางการศึกษา
ต่างประเทศ
                    17.            เรื่อง            การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15                                         และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ 2 ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา
                    18.           เรื่อง           การประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่ม                                                  แม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ครั้งที่ 25
                    19.            เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    20.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM)                                         ครั้งที่ 54 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
แต่งตั้ง
                    21.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                    22.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ)
                    23.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเกทบริหารระดับสูง                                                    (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    24.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
                    25.           เรื่อง            การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    26.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต
                    27.            เรื่อง            การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงพลังงาน)
                    28.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์

วิจัยและนวัตกรรม)

                    29.           เรื่อง           คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 306/2565 เรื่อง  แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้                                                  รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบ                                                  อำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และปฏิบัติราชการ                                        แทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจ                                        ปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
                    30.          เรื่อง           คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 307/2565 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและ                                        มอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติ                                        ราชการแทนนายกรัฐมนตรี
                    31.           เรื่อง            คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 308/2565 เรื่อง  แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและ                                        มอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติ                                        หน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนัก                                        นายกรัฐมนตรี
                    32.           เรื่อง           คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 309 /2565 เรื่อง  แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้                                        รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธาน                                        กรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ  ตาม                                                  กฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี


กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง ตำบลบ้านช้าง                 ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์                 จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง ตำบลบ้านช้าง ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี                อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ กษ. รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ที่ กษ. เสนอ เป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง ตำบลบ้านช้าง ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี                   อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี เพื่อประโยชน์แก่การชลประทาน ในการก่อสร้างคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบ ตามโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชลบุรี เพื่อประโยชน์แก่การชลประทาน ในการก่อสร้างคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบ ตลอดจนการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย รวมทั้งเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปสำรวจ และเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องได้มาโดยแน่ชัด ทั้งนี้ เมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำและสนับสนุนการเพาะปลูกของพื้นที่เกษตรของราษฎร ในเขตพื้นที่ชลประทาน 40,590 ไร่ โดยกรมการปกครองได้ตรวจสอบแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้แล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรี (22 มีนาคม 2565) [เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย] ซึ่ง กษ. ได้แก้ไขรายละเอียดแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาตามผลการตรวจสอบของกรมการปกครองด้วยแล้ว และสำนักงบประมาณแจ้งว่าจะจัดสรรงบประมาณให้เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว โดย กษ. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามร่างพระราชกฤษฎีกานี้แล้ว ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการ และได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ด้วยแล้ว

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

                    กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง ตำบลบ้านช้าง ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี เพื่อการก่อสร้างคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบตามโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชลบุรี มีกำหนดใช้บังคับ 2 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่             จะเวนคืน ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน                    กระทรวงแรงงาน พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่ง                     ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน (รง.) เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไปโดยปรับปรุงสำนักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก และสำนักพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน เป็น กองพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก และกองพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน ตามลำดับ และเพิ่มสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน จำนวน 20 สถาบัน

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

เป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รง. เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้

กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รง. พ.ศ. 59          ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รง. พ.ศ. ....          หมายเหตุ
ข้อ 3 ให้แบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการกรม
(2) กองบริหารการคลัง
(3) กองบริหารทรัพยากรบุคคล
(4) กองแผนงานและสารสนเทศ
(5) กองพัฒนาศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบกิจการ
(6) กองส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
(7) สำนักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก
(8) สำนักพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน
(9) ? (33) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน                   1 ? 25

คงเดิม
คงเดิม
คงเดิม
คงเดิม
คงเดิม

คงเดิม
(7) กองพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก

(8) กองพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน
(9) ? (53) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 1 ? 45








เปลี่ยนสำนักเป็นกอง

เปลี่ยนสำนักเป็นกอง

เพิ่มสถาบัน จำนวน                20 สถาบัน

3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท               พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

                    ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย ตามที่ มท. เสนอ เป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม               ในท้องที่ตำบลหันคา ตำบลวังไก่เถื่อน และตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เพื่อใช้เป็นแนวทาง                 ในการพัฒนาชุมชนหันคา ให้เป็นเมืองน่าอยู่ ดำรงรักษาเมืองและรักษาพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม ส่งเสริมและพัฒนาที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม เป็นศูนย์กลางการผลิต การซื้อขายและบริการทางการเกษตรระดับชุมชน โดยการจัดการด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และรวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในเขตผังเมืองรวมชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 8 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผน            ผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ซึ่ง มท. ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง                   พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

สาระสำคัญของร่างประกาศ

                    กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลหันคา ตำบลวังไก่เถื่อน และตำบลบ้านเชี่ยน                    อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
                    1. กำหนดให้ผังเมืองรวมชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท มีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับ              การขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1.1 ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนหันคาให้เป็นศูนย์กลางทางด้านการบริหาร การปกครอง การค้า และการบริการในระดับอำเภอ

                              1.2 ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และเกษตรกรรม ให้สอดคล้องกับ        การขยายตัวของชุมชน โครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม ศักยภาพและความเหมาะสมของพื้นที่

1.3 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางด้านสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน

1.4 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้

ประเภท          วัตถุประสงค์
1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย                 (สีเหลือง)











2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง
(สีส้ม)












3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง)















4. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม             (สีเขียว)














5. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน)










6. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก)


7. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน)

8. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน)           - เป็นพื้นที่รอบนอกชุมชนเมืองต่อจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยที่เบาบาง มีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว โดยมีข้อห้ามการอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชย              กรรมประเภทอาคารขนาดใหญ่ การเลี้ยงม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ ห่าน เป็ด ไก่ งู จระเข้ หรือสัตว์ป่าเพื่อการค้า สุสานและ      ฌาปนสถาน คลังน้ำมัน คลังก๊าซ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดระเบิด เพลิงไหม้ และมลพิษ การกำจัดมูลฝอย ซื้อขายหรือเก็บเศษวัสดุ การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม และสามารถประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมได้ เช่น โรงงานทำขนมปังหรือขนมเค้ก การทำขนมปังกรอบหรือขนมอบแห้ง การทำน้ำดื่ม หรือการทำเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น

- เป็นพื้นที่บริเวณต่อเนื่องหรือล้อมรอบพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางที่มีการสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม โดยมีข้อห้ามการอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมประเภทอาคารขนาดใหญ่ การเลี้ยงม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ ห่าน เป็ด ไก่ งู จระเข้ หรือสัตว์ป่าเพื่อการค้า สุสานและฌาปนสถาน คลังน้ำมัน คลังก๊าซ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดระเบิด เพลิงไหม้และมลพิษ การกำจัดมูลฝอย ซื้อขายหรือเก็บเศษวัสดุ การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม และสามารถประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมได้ เช่น โรงงานซ่อมนาฬิกา เครื่องวัดเวลา หรือเครื่องประดับที่ทำด้วยเพชร พลอย ทองคำ ทองขาว เงิน นาก หรืออัญมณี โรงงานซักรีด ซักแห้ง ซักฟอก รีด อัด หรือย้อมผ้า เครื่องนุ่งห่ม พรม หรือขนสัตว์ เป็นต้น

- เป็นศูนย์กลางชุมชน หรือพื้นที่รองรับการรวมกลุ่มเพื่อให้บริการการค้า การบริการแก่ชุมชน รวมถึงสร้างความคุ้มค่าในการลงทุนทางด้านการใช้ที่ดินที่เหมาะสมกับการเป็นศูนย์กลางชุมชน มีวัตถุประสงค์ให้เป็นบริเวณที่ประกอบพาณิชย์ ธุรกิจ และการค้า ประกอบด้วยตลาด ศูนย์การค้า สำนักงาน โรงแรม โดยมีข้อห้ามการประกอบพาณิชยกรรมประเภทอาคารขนาดใหญ่เพื่อคุ้มครองร้านค้ารายย่อย และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ก่อให้เกิดการรบกวนย่านการค้า การบริการ การเลี้ยงม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ ห่าน เป็ด ไก่ งู จระเข้ หรือสัตว์ป่า เพื่อการค้า คลังน้ำมัน คลังก๊าซ สถานีบริการก๊าซ และสถานีบริการน้ำมัน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดระเบิด เพลิงไหม้ และมลพิษ การกำจัดมูลฝอย ซื้อขายหรือเก็บเศษวัสดุ การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรมและสามารถประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมได้ เช่น โรงงานซ่อมนาฬิกา เครื่องวัดเวลา หรือเครื่องประดับที่ทำด้วยเพชร พลอย ทองคำ ทองขาว เงิน นาก หรืออัญมณี โรงงานซักรีด ซักแห้ง ซักฟอก รีด อัด หรือย้อมผ้า เครื่องนุ่งห่ม พรม หรือขนสัตว์ เป็นต้น

- เป็นพื้นที่กันชนของชุมชนเมืองให้คงสภาพชนบทและประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์ให้เป็นพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม ควบคุมการขยายตัวของชุมชน และรักษาคุณค่าของพื้นที่เกษตรกรรม ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในพื้นที่บริเวณรอบชุมชน ประกอบด้วย พื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เช่น ทำไร่ ทำนา ทำสวน หรือเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น และสามารถสร้างที่อาศัยได้เฉพาะบ้านเดี่ยว อาคารชุดหรือหอพัก โดยมีข้อห้ามการประกอบกิจการโรงแรม การจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบพาณิชยกรรม การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม เป็นต้น และสามารถประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กและอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมประเภทห้องแถว บ้านแถว หรือตึกแถว เว้นแต่บางบริเวณที่มีศักยภาพในการเข้าถึง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการขยายตัวของเมืองไปในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม

- เป็นที่ดินซึ่งเป็นของรัฐให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อนันทนาการหรือเกี่ยวข้องกับนันทนาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ มีที่พักผ่อนหย่อนใจ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น เกาะกลางคลองกระจับ บึงกระจับด้วน และลานกีฬาอเนกประสงค์ เทศบาลตำบลหันคา โดยมีข้อห้ามการอยู่อาศัยประเภทอาคารขนาดใหญ่ การเลี้ยงม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ ห่าน เป็ด ไก่ งู จระเข้ หรือสัตว์ป่า เพื่อการค้า การอยู่อาศัยประเภทอาคารชุดหรือหอพัก โรงงานบำบัดน้ำเสียรวม กำจัดมูลฝอย จัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย การอยู่อาศัยประเภทห้องแถว ตึกแถว หรือบ้านแถว เป็นต้น

- มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น โรงเรียนอนุบาลหันคา โรงเรียนหันคาพิทยาคม และโรงเรียนบ้านท่าหลวง เป็นต้น

- มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สถาบันศาสนาตามการใช้ที่ดินในปัจจุบัน เช่น วัดท่ากฤษณา วัดบ้านใหม่สิริวัฒนาราม
- มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น สำนักงานเทศบาลตำบลหันคา สำนักงานเกษตรอำเภอหันคา และที่ว่าการอำเภอหันคา เป็นต้น

3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท

4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นดังต่อไปนี้

4.1 ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ข 3 และถนนสาย ข 4 ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น นอกจากกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้

4.1.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

4.1.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง

4.1.3 การเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตรหรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่

                               4.2 ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3 ถนนสาย ก 4                       ถนนสาย ข 1 และถนนสาย ข 2 ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น นอกจากกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้

4.2.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

4.2.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง

4.2.3 การเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตรหรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่

                                         4.2.4 การอยู่อาศัยที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตรหรือไม่ใช่อาคาร                  ขนาดใหญ่

4.2.5 การอยู่อาศัยซึ่งมิใช่ห้องแถว ตึกแถว หรือบ้านแถว

4.2.6 การอยู่อาศัยซึ่งมิใช่เป็นส่วนหนึ่งของการจัดสรรที่ดิน

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานลงนาม และประกาศใน                   ราชกิจจานุเบกษาต่อไป
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2562 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน (สป. พน.) โดยปรับเปลี่ยนโครงสร้างของกองศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน เปลี่ยนชื่อ จาก ?กองศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน? เป็น ?กองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค? และปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน กองยุทธศาสตร์และแผนงาน รวมทั้งกำหนดหน้าที่และอำนาจของกองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค โดยให้สำนักงานปลัดกระทรวง  กระทรวงพลังงาน มีหน้าที่และอำนาจในการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือทุกระดับเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน รวมทั้งศึกษา ประสานงาน สนับสนุน และส่งเสริมเพื่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานและพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน ตลอดจนพลังงานรูปแบบอื่น ๆ เพื่อการสร้างสมดุลและความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานการปฏิบัติงานในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน ส่วนกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กำหนดเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ แผนปฏิบัติการ แผนงาน และโครงการของกระทรวงและสำนักงานปลัดกระทรวง และประสาน บูรณาการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงานระดับภูมิภาค โดยเน้นพื้นที่พิเศษและพื้นที่ยุทธศาสตร์ตามนโยบาย และกองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค ให้มีหน้าที่และอำนาจในการศึกษา วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานและพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน ตลอดจนพลังงานรูปแบบอื่น ๆ                ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไป อันจะทำให้การปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่และอำนาจมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2562 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของส่วนราชการภายใน สป. พน. ดังนี้

                    1. การแบ่งส่วนราชการภายใน สป. พน. โดยปรับปรุงหน้าที่และอำนาจ และเปลี่ยนชื่อ                จาก ?กองศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน? เป็น ?กองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค? ดังนี้
การแบ่งส่วนราชการเดิม          การแบ่งส่วนราชการที่ขอปรับปรุง          หมายเหตุ
สป. พน.           สป. พน.
ก. ราชการบริหารส่วนกลาง          ก. ราชการบริหารส่วนกลาง
(1) กองกลาง          (1) กองกลาง          คงเดิม
(2) กองการต่างประเทศ          (2) กองการต่างประเทศ          คงเดิม
(3) กองตรวจราชการ           (3) กองตรวจราชการ           คงเดิม
(4) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน          (4) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน          คงเดิม
(5) กองศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน          (5) กองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค          - เปลี่ยนชื่อหน่วยงานและปรับปรุงหน้าที่และอำนาจให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไป
(6) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร           (6) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร           คงเดิม
ข. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค          ข. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
- สำนักงานพลังงานจังหวัด           - สำนักงานพลังงานจังหวัด           คงเดิม
                    2. หน้าที่และอำนาจของส่วนราชการภายในที่ขอปรับปรุง โดยปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของ   สป. พน. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน และกำหนดหน้าที่และอำนาจของกองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค          สรุปได้ดังนี้
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2562           ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง    กระทรวงพลังงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....           หมายเหตุ
สป. พน.
มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
(1) ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำข้อมูลเพื่อใช้ในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของกระทรวง
(2) พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารกระทรวงและแปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติงาน
(3) จัดทำยุทธศาสตร์ ประสานการบริหารราชการ และปฏิบัติการเกี่ยวกับงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงในต่างประเทศ
(4) จัดสรรและบริหารทรัพยากรของกระทรวงเพื่อให้เกิดการประหยัด คุ้มค่า และสมประโยชน์
(5) กำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผล รวมทั้งประสานการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสังกัดกระทรวง
(6) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อใช้ในการบริหารงานและการบริการของส่วนราชการในสังกัดกระทรวง
(7) ดูแลงานประชาสัมพันธ์และพัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย
(8) กำกับดูแลและส่งเสริมการดำเนินภารกิจด้านพลังงานในส่วนภูมิภาคให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องภายในเขตอำนาจ
(9) ส่งเสริมความรู้และความเข้าใจ ตลอดจนประสานการมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

(10) ศึกษา ประสานงาน สนับสนุน และส่งเสริมเพื่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน






(11) ประสาน บูรณาการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงานในภูมิภาค
(12) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวง หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย            สป. พน.
มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
คงเดิม



คงเดิม


คงเดิม



คงเดิม


คงเดิม



คงเดิม



คงเดิม


คงเดิม



(9) ส่งเสริมความรู้และความเข้าใจรวมทั้งสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ ตลอดจนประสานการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน

(10) ศึกษา ประสานงาน สนับสนุน และส่งเสริมเพื่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานและพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน ตลอดจนพลังงานรูปแบบ    อื่น ๆ เพื่อการสร้างสมดุลและความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ




































- ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจในการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในทุกระดับเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน



- ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจให้ครอบคลุมถึงพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน ตลอดจนพลังงานรูปแบบอื่น ๆ เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานการปฏิบัติงานในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน





กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
(1) ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำข้อมูล เพื่อเสนอแนะนโยบายและกลยุทธ์ในการจัดทำแผนงาน โครงการ และแผนการปฏิบัติงานของกระทรวง
(2) จัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ของ สป. และกระทรวง ประสานนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนแม่บทของกระทรวง รวมทั้งเร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง

(3) ติดตามและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
(4) ประสาน บูรณาการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงานในภูมิภาค


(5) ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมและการปฏิบัติราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

คงเดิม



(2) จัดทำและพัฒนายุทธศาสตร์แผนปฏิบัติราชการ แผนปฏิบัติการ แผนงาน และโครงการของกระทรวง และ สป. รวมทั้งเร่งรัด กำกับ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตามแผนและโครงการดังกล่าว ตลอดจนติดตามและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
(3) ประสาน บูรณาการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงานระดับภูมิภาค โดยเน้นพื้นที่พิเศษและพื้นที่ยุทธศาสตร์ตามนโยบาย
(4) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแผนและบริหารงบประมาณของกระทรวง และ สป.

(5) ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมและการปฏิบัติราชการของกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ปลัดกระทรวงมอบหมาย





- เพิ่มหน้าที่และอำนาจในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ แผนปฏิบัติการ แผนงาน และโครงการ





- เพิ่มหน้าที่และอำนาจในการดำเนินการระดับภูมิภาค โดยเน้นพื้นที่พิเศษและพื้นที่ยุทธศาสตร์ตามนโยบาย
- เพิ่มหน้าที่และอำนาจในการจัดทำแผนและบริหารงบประมาณของกระทรวง และ สป.


- ปรับถ้อยคำให้ชัดเจนขึ้น


- ปรับถ้อยคำให้ชัดเจนขึ้น


กองศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน

มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
(1) ศึกษา วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน
(2) จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน














(3) เผยแพร่ ถ่ายทอด รณรงค์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือของประชาชนที่เกี่ยวกับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานและโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ
(4) ประสานงาน และดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน
(5) ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน
(6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย           กองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค
มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
(1) ศึกษา วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน และพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน ตลอดจนพลังงานรูปแบบอื่น ๆ และจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ รวมทั้งติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการดังกล่าว





(2) เผยแพร่ ถ่ายทอด รณรงค์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือของประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานและพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน ตลอดจนพลังงานรูปแบบอื่น ๆ
(3) ประสาน บูรณาการ และขับเคลื่อนการปฏิบัติงานระหว่างราชการในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค







(4) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ปลัดกระทรวงมอบหมาย           - เปลี่ยนชื่อ


- ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไป เดิมมีขอบเขตงานเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าฐานในพื้นที่ยุทธศาสตร์เฉพาะโดยครอบคลุม 35 จังหวัดเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันได้มีการขยายพื้นที่ยุทธศาสตร์ครอบคลุมทั่วประเทศ 76 จังหวัด และขยายภารกิจนอกเหนือจากโครงการโรงไฟฟ้าฐานที่จ่ายไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงในระดับประเทศ ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชนที่เชื่อมโยงกับศักยภาพพลังงานในเชิงพื้นที่
- ปรับถ้อยคำ





- ปรับถ้อยคำ







- นำไปรวมอยู่ใน (1) และปรับถ้อยคำ
- ปรับถ้อยคำ



เศรษฐกิจ-สังคม
5. เรื่อง รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2565

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2565 (เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565) ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 พฤษภาคม 2563) ที่ให้ กนง. ประเมินภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มของประเทศและรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

                    1. การประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินเพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงิน                                          1.1 เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงโดยขยายตัวในอัตราร้อยละ 2.9 ในปี 2565 และร้อยละ 2.6 ในปี 2566 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงซึ่งเกิดจากปัจจัยด้านราคาพลังงานและอาหารที่อยู่ในระดับสูง  ทั้งนี้ ภาคการบริโภคและการผลิตมีแนวโน้มชะลอตัวลงซึ่งเป็นผลจากเงินเฟ้อและ                ภาวะการเงินที่ตึงตัวกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งเกิดจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นทำให้สถานการณ์การเงินโลกตึงตัวและผันผวน การค้าโลกอาจชะลอตัวลง และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจรุนแรงและยืดเยื้อเพิ่มขึ้น เช่น ความขัดแย้งสหพันธรัฐรัสเชีย-ยูเครน และความขัดแย้งระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน-สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

1.2 เศรษฐกิจไทย

                                        1.2.1 ภาพรวม เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.3 ในปี 2565 และร้อยละ 3.8 ในปี 2566 เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนและนักท่องเที่ยวต่างชาติมีเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น  9.5  ล้านคน ในปี 2565 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 21 ล้านคน                ในปี 2566 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลจากความต้องการเดินทางท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นและมาตรการควบคุม             การเดินทางระหว่างประเทศที่คลี่คลายลง

1.2.2 การส่งออกของไทย มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราร้อยละ 8.2 ในปี 2565 (สูงกว่าประมาณการเดิมในเดือนมิถุนายน 2565 ที่ร้อยละ 7.9) และคาดว่าจะชะลอตัวลงมาที่ร้อยละ 1.1 ในปี 2566 ซึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าเป็นสำคัญ

1.2.3 การบริโภคภาคเอกชน มีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 (สูงกว่าประมาณการเดิมในเดือนมิถุนายน 2565 ที่ร้อยละ 4.9) ซึ่งเป็นผลจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ต่อเนื่องจากแรงสนับสนุนจากการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนแต่ยังมีปัจจัยกดดันจากต้นทุนค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง ส่วนการบริโภคภาคเอกชนในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.3 สอดคล้องกับการจ้างงานและรายได้ครัวเรือนที่มีแนวโน้มดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ

1.2.4 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 6.3 ในปี 2565 และลดลงเหลือร้อยละ 2.6 ในปี 2566 เนื่องจากราคาพลังงานมีแนวโน้มลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ประกอบกับมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐที่ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาอาหารสดและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามการส่งผ่านต้นทุนไปยังผู้บริโภค ทั้งนี้ กนง.ประเมินว่า การส่งผ่านต้นทุนในระยะต่อไปอาจจำกัดเนื่องจากแรงกดดันด้านอุปทานลดลง อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง

2. ภาวะการเงินและเสถียรภาพระบบการเงิน

                              2.1 ภาพรวม มีแนวโน้มผ่อนคลายลดลงเล็กน้อยเนื่องจากยังคงมีความกังวลจาก                 ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกและการใช้นโยบายการเงินเพื่อชะลอการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ (เช่น การขึ้นดอกเบี้ย ของธนาคารกลางในหลายประเทศ ในส่วนภาคเอกชนการกู้ยืมโดยรวมยังเอื้อต่อการระดมทุนและไม่กระทบการระดมทุนในตลาดการเงินเนื่องจากภาคธุรกิจได้ทยอยระดมทุนไปในช่วงก่อนหน้าและมีแนวโน้มระดมทุนเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ธุรกิจไทยในต่างประเทศมีแนวโน้มกลับมาระดมทุนในประเทศมากขึ้นจากต้นทุนการระดมทุนในต่างประเทศที่สูงขึ้น

2.2 ค่าเงินบาทในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 36.33 ดอลลาร์สหรัฐ โดยอ่อนค่าลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2565 (เดือนเมษายน-มิถุนายน 2565) ในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดเพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับที่สูง

                              2.3 ระบบการเงิน ธนาคารพาณิชย์มีระดับเงินกองทุนและเงินสำรองที่เข้มแข็ง                      ส่วนความสามารถในการชำระหนี้ของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs ในบางสาขาธุรกิจยังคงฟื้นตัวช้าและครัวเรือนรายได้น้อยบางกลุ่มยังคงได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูง รวมทั้งสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) และหนี้ภาคธุรกิจต่อ GDP ยังคงอยู่ในระดับสูง
                    3. การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2565 กนง. ได้มีมติขึ้นดอกเบี้ย จำนวน                2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 ในการประชุม กนง. ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565ปรับขึ้นดอกเบี้ยจากร้อยละ 0.50 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.75 ต่อปี (ปรับขึ้นร้อยละ 0.25 ต่อปี) และครั้งที่ 2  ในการประชุม กนง.  ครั้งที่ 5/2565  เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 ปรับขึ้นดอกเบี้ยจากร้อยละ 0.75 ต่อปี เป็นร้อยละ 1 ต่อปี  (ปรับขึ้นร้อยละ 0.25 ต่อปี) โดยเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปเนื่องจากประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงอัตรางินเฟ้อทั่วไปที่ยังคงอยู่ในระดับสูงจากการส่งผ่านต้นทุนให้แก่ผู้บริโภคนอกจากนี้ ต้องคำนึงถึงกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะ SMEs ในสาขาที่ฟื้นตัวช้าและครัวเรือนที่มีรายได้น้อยด้วย

6.  เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ประจำปี 2563 และประจำปี 2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ (พม.)  เสนอ             ผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ประจำปี 2563 และประจำปี 2564   ตามมติคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (คณะกรรมการ สทพ.) ในการประชุม ครั้งที่ 1/2564              เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 และครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 20กรกฎาคม 2565 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศฯ มาตรา 10 (6) บัญญัติให้คณะกรรมการ สทพ. เสนอรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งและมาตรา 16 (4) บัญญัติให้กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวจัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอคณะกรรมการ สทพ. เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. ผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศฯ พระราชบัญญัติฯ ได้กำหนดให้มีกลไกคณะกรรมการในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติฯ จำนวน 3 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการ สทพ. คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (คณะกรรมการ วลพ.) และคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ โดยมีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวรับผิดชอบเป็นเลขานุการในคณะกรรมการทั้ง 3 คณะ รวมทั้งขับเคลื่อนการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติฯ มีผลการปฏิบัติงาน ดังนี้

คณะกรรมการ          ผลการปฏิบัติงานประจำปี 2563
1. คณะกรรมการ สทพ.           - กำหนดมาตรการและแผนงานที่สำคัญ โดยการปรับปรุงมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน1 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพขึ้น เช่น ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีการประกาศเจตนารมณ์เป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน ปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศและกำหนดให้เป็นประเด็นหนึ่งในหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ เพิ่มมาตรการการคุ้มครองผู้ถูกกระทำและพยาน โดยให้มีศูนย์ประสานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ให้กระทรวงแรงงานเพิ่มประเด็นการล่วงละเมิดทางเพศในการทำงานเข้าไปในการตรวจโรงงาน และการให้หน่วยงานขจัดสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดการส่วงละเมิดทางเพศหรือคุกคามทางเพศในการทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ประกาศเจตนารมณ์ ?การส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศโดยมีหน่วยงานเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ จำนวน 63 หน่วยงาน แบ่งเป็น ภาคเอกชน 34 หน่วยงาน ภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ 22 หน่วยงาน สถาบันการศึกษา 6 หน่วยงาน  และพรรคการเมือง 1 พรรค
- พัฒนากลไกและกระบวนการขับเคลื่อนการดำเนินงาน เช่น การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการ สทพ. จำนวน 3 คณะ คือ                                        (1) คณะอนุกรรมการด้านนโยบายมาตรการ และแผนปฏิบัติการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (2) คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย และ (3) คณะอนุกรรมการรณรงค์การสื่อสารความเท่าเทียมระหว่างเพศและการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานของคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศให้มีความสะดวกและประชาชนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
2. คณะกรรมการ วลพ.           รับพิจารณาคำร้องที่เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ จำนวน 15 คำร้อง ใน 6 ประเด็น ดังนี้ (1) สถานบันเทิงกีดกันไม่ให้ผู้มีเพศสภาพแตกต่างจากเพศโดยกำเนิดเข้าใช้บริการ (2) หน่วยงานรัฐปฏิเสธไม่รับบริจาคโลหิตจากผู้แสดงออกแตกต่างจากเพศโดยกำเนิด (3) สถาบันการศึกษาให้ใช้ใบรับรองแพทย์ประกอบการยื่นร้องขอแต่งกายชุดครุยวิทยฐานะตามเพศสภาพ                             (4) หน่วยงานรัฐปฏิเสธการยื่นความประสงค์ขอออกหนังสือเดินทางและวีซ่า                   (5) แรงงานถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยอ้างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ (6) สถานศึกษาจำกัดสิทธิการแต่งกายตามเพศสภาพในการเข้าเรียน สอบวัดผล และฝึกปฏิบัติงาน และการรับพระราชทานปริญญาบัตร โดยคณะกรรมการ วลพ. มีคำวินิจฉัยแล้ว จำนวน 1 คำร้อง2  อยู่ระหว่างการพิจารณา จำนวน 10 คำร้อง ถอนคำร้องระหว่างการพิจารณา จำนวน 3 คำร้องและไม่รับพิจารณา จำนวน 1 คำร้อง3
3. คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ           กองทุนฯ ได้รับงบประมาณประจำปี 2563 จำนวน 7.30 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายและก่อหนี้ผูกพัน จำนวน 4.31 ล้านบาท และคงเหลือ จำนวน 2.99 ล้านบาท โดยเป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการขจัดการเลือกปฏิบัติและความไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ เช่น การจ่ายเงินชดเชย เยียวยาหรือบรรเทาทุกข์แก่ผู้เสียหายจากการถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ การปรับทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับความเท่าเทียมระหว่างเพศของสังคม โดยการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศให้แก่เครือข่ายต่าง ๆ ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมสร้างความตระหนักรู้เรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศเพื่อเป็นคู่มือแกนกลางเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนหลักคิดและสร้างการยอมรับเกี่ยวกับความเท่าเทียมระหว่างเพศ  รวมถึงการสนับสนุนโครงการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศให้แก่หน่วยงาน/องค์กรต่าง ๆ

คณะกรรมการ          ผลการปฏิบัติงานประจำปี 2564
1. คณะกรรมการ สทพ.           - จากการปรับปรุงมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน ได้มีการติดตามประเมินผลหน่วยงานที่ได้มีการดำเนินการตามมาตรการฯ พบปัญหาการล่วงละเมิดฯ จำนวน 13 หน่วยงาน4 (ตามข้อ 2.1)
- ประกาศใช้แผนปฏิบัติการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ระยะ 3 ปี    (พ.ศ. 2563-2565) 5 และแจ้งเวียนให้หน่วยงานภาครัฐทราบ
- พัฒนากลไกและกระบวนการในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานของคณะกรรมการ วลพ. ให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
- พิจารณางบประมาณและเห็นชอบแผนปฏิบัติการและการใช้จ่ายงบประมาณกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ประจำปีงบประมาณ 2565 ในวงเงิน 7.30 ล้านบาท
2. คณะกรรมการ วลพ.           รับพิจารณาคำร้องที่เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ จำนวน 2 คำร้อง  ใน 2 ประเด็น ดังนี้ (1) หน่วยงานรัฐจำกัดสิทธิการใช้รูปถ่ายในใบประกอบวิชาชีพครูและบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่รัฐ และ (2) สำนักอบรมกฎหมายจำกัดสิทธิการแต่งกายตามเพศสภาพในการอบรมวิชาว่าความ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาทั้ง 2 คำร้อง
3. คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ           กองทุนฯ ได้รับงบประมาณประจำปี 2564 จำนวน 7.80 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายและก่อหนี้ผูกพัน 5.17 ล้านบาท และคงเหลือ จำนวน 2.63 ล้านบาท  โดยเป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการขจัดการเลือกปฏิบัติและความไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ เช่น การพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อคุ้มครองและป้องกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ การปรับทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับความเท่าเทียมระหว่างเพศของสังคม รวมถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สังคมตระหนักเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศ นอกจากนี้ ได้จัดประกวดสื่อสร้างสรรค์ โดยมีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวด จำนวน 373 ผลงาน และมีผู้ได้รับรางวัลจากการประกวด จำนวน 12 ผลงาน ตลอดจน สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ โดยสนับสนุนงบประมาณให้แก่องค์กร/เครือข่าย จำนวน      15 หน่วยงาน ในการดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ

2. ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศฯ

                              2.1 การดำเนินงานตามมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน พบว่า มีกรณีที่เข้าข่ายการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน จำนวน                 13 หน่วยงาน และหน่วยงานที่ถูกร้องว่ามีการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานได้มีการดำเนินการจัดตั้งกลไกร้องทุกข์ในหน่วยงานและแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนวินัยผู้กระทำและกำหนดบทลงโทษให้สอดคล้องกับกฎ ก.พ. ว่าด้วยการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ พ.ศ. 2553 แล้ว จำนวน 4 หน่วยงาน  รวมถึงกำหนดนโยบายและแนวทางในการจัดการกรณีการล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศในการทำงานแล้ว จำนวน                3 หน่วยงาน และอยู่ระหว่างการติดตามผลการดำเนินงาน จำนวน  6 หน่วยงาน
                              2.2 การดำเนินงานตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ วลพ. ตั้งแต่ ปี 2558-2564 (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564) คณะกรรมการ วลพ. ได้รับคำร้องจำนาน 61 คำร้อง มีคำวินิจฉัยแล้ว จำนวน 41 คำร้อง โดยมีผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยและคำสั่งของคณะกรรมการ วลพ. ได้แก่ (1) ผู้ถูกร้องที่เป็นสถาบันการศึกษาได้มีการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ วลพ. โดยออกระเบียบอนุญาตให้นักศึกษา                   ผู้แสดงออกแตกต่างจากเพศโดยกำเนิดสามารถแต่งกายและไว้ทรงผมตามเพศสภาพในการเข้าเรียน สอบวัดผล และฝึกปฏิบัติงาน รวมทั้งใช้รูปถ่ายชุดครุยวิทยฐานะตามเพศสภาพในเอกสารรับรองการศึกษา และแต่งกายชุดครุยวิทยฐานะตามเพศสภาพเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรได้ และ (2) ผู้ถูกร้องที่เป็นสถานประกอบการ องค์กรเอกชน หรือบุคคลได้มีการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ วลพ. โดยสถานประกอบการได้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้ผู้แสดงออกแตกต่างจากเพศโดยกำเนิดเข้าใช้บริการ และผู้ถูกร้องได้มีการกล่าวคำขอโทษต่อผู้ร้องตามที่ผู้ร้องต้องการแล้ว รวมถึงได้จัดทำบันทึกสรุปบทเรียนที่เป็นเหตุแห่งการร้อง
                    3. ข้อท้าทายและการดำเนินงานในระยะต่อไป เพื่อให้การปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติฯ                      มีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฯ ดังนั้น (1) ควรมีการกำหนดและขับเคลื่อนนโยบาย มาตรการ เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศโดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ (2) ทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ทำให้เกิดการจำกัดสิทธิและเป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ (3) สร้างเครือข่ายความร่วมมือในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชนต่าง ๆ ในการสร้างความรู้ความเข้าใจความหลากหลายทางเพศ การเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนทุกเพศอย่างต่อเนื่อง และ (4) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติฯ เพื่อนำข้อเสนอแนะต่าง ๆ มาขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป
1คณะรัฐมนตรีมีมติ (16 มิถุนายน 2558) เห็นชอบร่างมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน จำนวน 7 ข้อ   และให้หน่วยงานภาครัฐถือปฏิบัติ ตามที่ พม. เสนอ ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติ (21 เมษายน 2563) เห็นชอบร่างมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานที่ปรับใหม่ จำนวน 12 ข้อ  ตามที่ พม.เสนอ
2ผลการวินิจฉัยในประเด็นสถาบันการศึกษาให้ใช้ใบรับรองแพทย์ประกอบการยื่นร้องขอแต่งกายชุดครุยวิทยฐานะตามเพศสภาพ  คือ การกระทำของ              ผู้ถูกร้องเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
3คณะกรรมการ วลพ. ไม่รับพิจารณาคำร้อง จำนวน 1 คำร้อง ในประเด็นหน่วยงานรัฐปฏิเสธการยื่นความประสงค์ขอออกหนังสือเดินทางและวีซ่า เนื่องจากเหตุแห่งการร้องไม่เข้าลักษณะการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ
4จากหน่วยงานที่มีการรายงานผลการดำเนินงานตามป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน  จำนวน 2,049 หน่วยงาน
5ประกาศคณะกรรมการ สทพ. เรื่อง ประกาศใช้แผนฏิบัติการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ระยะ 3 ปี  (พ.ศ. 2563-2565)  เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์  2565

7. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม  ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.)   เสนอ และ ให้กระทรวงการคลัง (กค.) เร่งรัดดำเนินการศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของมาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ (พณ.)  กระทรวงยุติธรรม (ยธ.)  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.)  ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรายงานผลการพิจารณาดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คณะกรรมการ ป.ป.ช. รายงานว่า
                    1. การจัดเก็บภาษีเป็นเครื่องมือทางการคลังของรัฐบาลในการหารายได้เพื่อใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานและการสนับสนุนความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และใช้ในการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ เช่น การกระตุ้นการจ้างงานในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ และการป้องกันภาวะเงินเฟ้อด้วยมาตรการทางภาษี โดยในปี 2563 รัฐบาลมีรายได้จากการจัดเก็บภาษี จำนวน 2.86ล้านล้านบาท โดยเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน  7.45 แสนล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 26.04 ของภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บได้) ซึ่งเป็นภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บได้จำนวนมากที่สุด
                    2. รายงานสถิติคดีศาลยุติธรรม ประจำปี พ.ศ. 2562 ประเภทข้อหาที่เข้าสู่ศาลภาษีอากรกลางเป็นจำนวนมากที่สุดคือ ข้อหาเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเป็นพฤติการณ์การทุจริตในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น              การปลอมแปลงเอกสาร (เช่น ใบกำกับภาษี) เพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยมิชอบหรือหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มโดยการจดทะเบียนประกอบการแต่ไม่มีการประกอบการจริง การจัดตั้งราคาสินค้าและบริการที่สูงเกินจริงเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนมาก และผู้ประกอบการบางรายใช้กรณีการส่งออกเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร  เช่น  ไม่ได้กระทำการส่งออกจริงแต่มีการปลอมเอกสารการส่งออก และการสำแดงสินค้าส่งออกอันเป็นเท็จหรือไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเพื่อเปลี่ยนพิกัดศุลกากรให้ต้องเสียอากรน้อยลงหรือไม่ต้องเสียซึ่งการทุจริตดังกล่าวก่อให้เกิด                      ความเสียหายต่อประเทศอย่างมาก
                    3. จากการศึกษาปัญหาการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วพบว่า  มีประเด็นปัญหาที่ควรพิจารณา ดังนี้
                              3.1 การประสานและบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างหน่วยจัดเก็บภาษีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า ส่งออก ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน  ก่อให้เกิดปัญหาในด้านการตรวจสอบความถูกต้อง เช่น การปลอมแปลงเอกสาร  ประกอบการนำเข้า ส่งออก และการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
                              3.2 การใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ  โดยเจ้าหน้าที่ละเลยไม่สอบยันใบกำกับภาษีซื้อ ไม่สอบยันข้อมูลของกรมศุลกากร และไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เนื่องจากได้รับการสั่งการจากผู้มีอำนาจหรือเจ้าหน้าที่ อาจได้รับผลประโยชน์จากผู้ประกอบการด้วย
                              3.3 ระบบตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เอื้อต่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เช่น การไม่ตรวจสอบการมีอยู่จริงของกรรมการบริษัทเมื่อมีการขอจดทะเบียนนิติบุคคล ทำให้มีการจดทะเบียนนิติบุคคลบังหน้า และการมีตัวแทนในการทำธุรกรรมแทนทำให้ไม่ทราบผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงและติดตาม                ผู้ที่ทุจริตได้ยาก
                              3.4 การแทรกแซงหรือบังคับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ให้ทำการตรวจสอบ ทำให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาษีไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรและผู้มีอำนาจได้รับผลประโยชน์ทางภาษีและ                ถูกตรวจสอบน้อย
                              3.5 ความไม่ชัดเจนของกฎหมายหรือการที่กฎหมายเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับภาษีซึ่งนำไปสู่การถูกแทรกแซงได้ เช่น  การถูกแทรกแซงจากสายการบังคับบัญชา              ทำให้เจ้าหน้าที่ขาดความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ในขณะที่กระบวนการควบคุมหรือตรวจสอบการใช้ดุลยพินิจยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
                    4. คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นควรเสนอมาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชันในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความโปร่งใส และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในภาพรวมของประเทศ ป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐและเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเงินภาษีเข้ารัฐได้มากขึ้น ดังนี้

มาตรการ/การดำเนินการ          หน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย
(1) การเชื่อมโยงข้อมูลและระบบแจ้งเบาะแส
          (1.1) ควรเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานจัดเก็บภาษี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า ส่งออก และหน่วยงานด้านการจดทะเบียนพาณิชย์เป็นนิติบุคคล โดยมีการบูรณาการเทคโนโลยีระบบฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านระบบดิจิทัล เพื่อสนับสนุนภารกิจเกี่ยวกับการตรวจสอบ สอบยันข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สอบยันใบกำกับภาษีซื้อ สอบยันความถูกต้องของเอกสารประกอบต่าง ๆ และตรวจสอบย้อนกลับของการทำธุรกรรมด้วย          กระทรวงการคลัง (กค.) และกระทรวงพาณิชย์ (พณ.)
          (1.2) ควรจัดให้มีระบบการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตที่มีประสิทธิผล มีประสิทธิภาพ และจัดให้มีสินบนนำจับในกรณีมีผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตเกี่ยวกับภาษี รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการตลอดจนสิทธิที่ได้รับในการแจ้งเบาะแสการทุจริต          กค.
(2) ควรกำหนดมาตรการให้ผู้ประกอบการทุกรายต้องจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และรายงานภาษีซื้อ ภาษีขายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถสอบยันและตรวจสอบจากระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีกลไกการรายงานผลการปฏิบัติให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้ทุกขั้นตอน รวมถึงการตรวจสอบนิติบุคคลที่มาขอคืนภาษีว่ามีสถานประกอบการหรือไม่          กค.
(3) ควรเพิ่มกลไกการตรวจสอบ ถ่วงดุล สอบยันในหน่วยจัดเก็บภาษี โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีอธิบดีกรมสรรพากรเป็นประธานและมีบุคคลภายนอกหรือผู้แทน เช่น สภาวิชาชีพบัญชี ร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อให้เกิดความเป็นอิสระและมีการถ่วงดุลในกระบวนการตรวจสอบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม          กค.
4) ในกรณีข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลของกรมศุลกากรระบุว่ามีการส่งออกซึ่งไม่เพียงพอต่อการพิจารณาคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้กรมสรรพากรส่งเรื่องให้กรมศุลกากรทำการตรวจสอบเพิ่มเติมว่ามีการส่งออกจริงหรือไม่และยืนยันผลการตรวจสอบก่อน จึงจะนำมาใช้อ้างอิงได้ รวมถึงให้ตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านภาษีหรือการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของต่างประเทศว่าผู้นำเข้ามีการประกอบการจริงหรือไม่ในกรณีที่พบว่าผู้ส่งสินค้าส่งออกมีโอกาสเสี่ยงต่อการทุจริตในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม          กค.
(5) ควรเพิ่มกลไกการตรวจสอบเพิ่มเติมจากมาตรฐานที่มีอยู่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบผู้ส่งออกที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการทุจริตในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม          กค.
(6) ควรมีการตรวจสอบเกี่ยวกับผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง โดยกำหนดหลักเกณฑ์หรือระเบียบการแสดงตนว่าใครเป็นผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงในขั้นตอนการจดทะเบียนธุรกิจเพื่อให้สามารถป้องกันและทราบถึงกรณีตัวแทนการจดทะเบียนบังหน้า รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์หรือระเบียบเกี่ยวกับการแสดงตนของลูกค้าว่าใครเป็นผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงในขั้นตอนการเปิดบัญชี          พณ. และธนาคารแห่งประเทศไทย

8. เรื่อง ขออนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของการปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน กรณีนมโรงเรียนชนิดพาสเจอร์ไรส์จากเดิมราคา 6.58 บาทต่อถุง เป็น 6.89 บาทต่อถุง และนมโรงเรียนชนิดยู เอช ที จากเดิมราคม 7.82 บาทต่อกล่อง เป็น 8.13 บาทต่อกล่อง ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ สำหรับภาระงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินการดังกล่าว เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาตรวจสอบผลการจัดหานมโรงเรียนตามจ่ายจริงโดยเปรียบเทียบงบประมาณที่ได้รับจัดสรรตามแผนและหรือปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรแล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 รวมถึงพิจารณานำเงินรายได้หรือเงินสะสมมาสมทบในส่วนที่เพิ่มขึ้นในโอกาสแรกก่อน โดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ และสำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อไป เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นชองสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กษ. รายงานว่า
                    1. องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ได้แจ้งให้กรมปศุสัตว์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน (คณะกรรมการฯ) เสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาปรับราคากลางนมโรงเรียน (ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557) ให้สอดคล้องกับการปรับราคาน้ำนมโค (ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 23 สิงหาคม 2565) ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565 กรมปศุสัตว์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ เสนอให้ปรับเพิ่มราคากลางนมโรงเรียนถุงหรือกล่องละ 0.41 บาท ประกอบด้วย ต้นทุนค่าน้ำนมโคขนาด 200 มิลิลิตร ถุงหรือกล่องละ 0.31 บาท และต้นทุนค่าบริหารจัดการ (ค่าบรรจุภัณฑ์ ค่าพลังงาน ค่าขนส่ง และค่าจัดการ) เฉลี่ยถุงหรือกล่องละ 0.1 บาท อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ เห็นว่า เพื่อให้เกิดความชัดเจนในวิธีการคำนวณราคากลางนมโรงเรียนจึงมอบหมายให้กรมปศุสัตว์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ สอบถามความเห็นของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เกี่ยวกับโครงสร้างการคำนวณราคากลางนมโรงเรียนดังกล่าวว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ต่อมากรมการค้าภายในแจ้งว่า ในการปรับราคากลางนมโรงเรียนให้เทียบเคียงกับแนวทางการอนุญาตปรับราคานมพาณิชย์ ซึ่งอนุญาตให้ปรับราคาเฉพาะต้นทุนน้ำนมดิบที่สูงขึ้น 1.5 บาท/กิโลกรัม ตามขนาดบรรจุและสัดส่วนการใช้น้ำนมดิบ ต่อมาที่ประชุมคณะกรรมการฯ จึงมีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มราคากลางนมโรงเรียนถุงหรือกล่องละ 0.31 บาท และให้เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    2. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดซื้อนมโรงเรียน จำนวน 4 หน่วยงาน ได้แก่ (1) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) (2) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) (3) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และ (4) เมืองพัทยา ซึ่งการปรับเพิ่มราคากลางนมโรงเรียนถุงหรือกล่องละ 0.31 บาท จะส่งผลให้ กทม. และเมืองพัทยามีวงเงินงบประมาณ 2566 สำหรับจัดซื้อนมโรงเรียนไม่เพียงพอ เนื่องจากมีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ สถ. และ สช. ยังมีวงเงินปีงบประมาณ 2566 เพียงพอ เนื่องจากมีจำนวนนักเรียนลดลง1 ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบแนวทางการจัดซื้อนมโรงเรียนสำหรับภาคเรียนที่ 2/2565 และภาคเรียนที่ 1/2566 โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดซื้อนมโรงเรียนพิจารณาปรับแผนการดำเนินงานตามราคากลางที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ (ข้อเสนอในครั้งนี้) และสำหรับหน่วยงานที่มีงบประมาณไม่เพียงพอ ให้เสนอเรื่องขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ไปยัง                สำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อให้นักเรียนได้รับนมโรงเรียนครบ 260 วัน2
1 ในการตั้งงบประมาณสำหรับการจัดซื้อนมโรงเรียนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จะใช้จำนวนนักเรียนในปีการศึกษา 2564 ในการคำนวณกรอบวงเงินงบประมาณ ในขณะที่การคำนวณกรอบวงเงินงบประมาณกรณีมีการปรับเพิ่มราคากลางนมโรงเรียนตามข้อเสนอในครั้งนี้ จะใช้จำนวนนักเรียนในปีการศึกษา 2565 ในการคำนวณ
2 260 วัน คือระยะเวลา 1 ปีการศึกษา หรือนักเรียนจะได้นมโรงเรียนคนละ 1 ถุงหรือกล่องต่อวัน ตลอดช่วงเปิดเทอม (200 วัน) และปิดเทอม (60 วัน) ไม่รวมเสาร์ - อาทิตย์

9. เรื่อง รายงานผลการคัดเลือกเอกชน และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุน โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุนโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว (ร่างสัญญาร่วมลงทุนฯ) เพื่อให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฯ กับเอกชน ผู้ผ่านการพิจารณาข้อเสนอร่วมลงทุนต่อไป ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. เรื่องนี้เดิมคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ) ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการการร่วมลงทุนโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ในรูปแบบการให้เอกชนบริหารจัดการโดยให้สิทธิสัมปทาน ระยะเวลาโครงการ 30 ปี หลังจากวันที่สิ้นสุดสัญญาในฐานะที่เป็นโครงการใหม่ ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (เนื่องจากในขั้นตอนการเสนอโครงการยังอยู่ในช่วงที่พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ                พ.ศ. 2556 ยังมีผลใช้บังคับอยู่) ต่อมากระทรวงอุตสาหกรรม โดย กนอ. ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และโดยที่ในขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ มีความเห็นว่าไม่ควรใช้วิธีการคัดเลือกโดยวิธีประมูล เนื่องจากหากมีเอกชนผู้ร่วมลงทุนรายใหม่เข้ามาดำเนินโครงการฯ แทนผู้รับสัมปทานรายเดิมจะทำให้การดำเนินโครงการฯ ขาดความต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ และทำให้ภาครัฐสูญเสียประโยชน์มากกว่ากรณีให้เอกชนรายเดินดำเนินการต่อไป คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ จึงได้ดำเนินการตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โดยเสนอเรื่องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564) ให้ความเห็นชอบให้ใช้วิธีการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูล และได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 ด้วยแล้ว
                    2. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติดังกล่าวข้างต้น กนอ. และคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ ได้ดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ จนเสร็จสิ้นแล้ว และจัดทำร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว โดย กนอ. และคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ ได้นำความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 มาใช้ประกอบการดำเนินการด้วย ซึ่งรวมถึงการกำหนดเงื่อนไขที่สำคัญไว้ในสัญญาร่วมลงทุนฯ จากนั้น กนอ. ได้ส่งร่างสัญญาร่วมทุนฯ ให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา ซึ่ง กนอ. แจ้งว่า กนอ. และคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ ได้ปรับแก้ไขร่างสัญญาตามข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุดด้วยแล้ว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้ความเห็นชอบต่อผลการคัดเลือกเอกชน ร่างสัญญาร่วมลงทุนฯ และเงื่อนไขสำคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุนดังกล่าวด้วยแล้ว ในครั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมจึงนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุนฯ เพื่อให้ กนอ. ลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฯ กับเอกชน ผู้ผ่านการพิจารณาข้อเสนอร่วมลงทุนต่อไป ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรา 42 ของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562
                    3. กนอ. ยืนยันว่า ในการเจรจาเงื่อนไขสำคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุนฯ กับเอกชนคู่สัญญา กนอ. และคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ ได้ดำเนินการตามกรอบของสาระสำคัญของโครงการฯ ที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในคราวประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการไว้ โดย กนอ. ประมาณการว่าจะได้รับผลตอบแทนจากค่าให้สิทธิการร่วมลงทุน ค่าเช่าพื้นที่ ค่าธรรมเนียมสินค้าผ่านท่า ส่วนแบ่งรายได้จากการดำเนินโครงการฯ (ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 5) และค่าบริการสาธารณูปโภค รวมตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 ปี คิดเป็นมูลค่า 20,236.68 ล้านบาท หรือเท่ากับปีละ 676.26 ล้านบาท

10. เรื่อง การดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้
                    1. รับทราบการขยายกรอบการดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ (โครงการฯ) กรณีการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ รูปแบบโครงการเช่าระยะสั้น (Rental) บนที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ กท. 5050 และ ส.กท. 827 (บางส่วน) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ประมาณ 3 - 1 - 91 ไร่ มีระยะเวลาโครงการ 3 ปี นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
                    2. เห็นชอบให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) แยกบัญชีโครงการฯ เป็นโครงการตามนโยบายของรัฐบาล (Public Service Account: PSA) และให้ กค. รับความเห็นหน่วยงานไปพิจารณาต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. เดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559 รับทราบกรอบการดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ (โครงการฯ) โดยโครงการดังกล่าวมีระยะเวลาโครงการ 5 ปี (สิ้นสุดโครงการเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2564) ซึ่งโครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นการชั่วคราวและหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยได้กำหนดโครงการนำร่อง ปี พ.ศ. 2559 ไว้ 6 แปลง เนื้อที่รวม 105 - 0 - 86 ไร่ [โครงการเช่าระยะสั้น 2 แปลง หมายเลขทะเบียน ที่ กท.5050 กรุงเทพมหานคร (อยู่ระหว่างดำเนินการ) และ กท. 2615 กรุงเทพมหานคร (ยกเลิกการดำเนินโครงการฯ) โครงการเช่าระยะยาว 4 แปลง หมายเลขทะเบียนที่ ชม.35, ชม.1698 จังหวัดเชียงใหม่ (ยกเลิกการประกวดโครงการฯ) อ.ชร.31 จังหวัดเชียงราย (ไม่มีผู้ยื่นซองประกวดราคา) พบ.260 จังหวัดเพชรบุรี (บริษัทฯ ขอยกเลิกสัญญาเช่าทั้งหมด) และ พบ.261 จังหวัดเพชรบุรี (อยู่ระหว่างดำเนินการ)] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในช่วงปลายปี 2563 และมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในปี 2564 ส่งผลต่อเศรษฐกิจทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งบริษัทผู้ได้รับสิทธิดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ (บริษัทฯ) ทั้งโครงการระยะสั้นและระยะยาวประสบปัญหาในการดำเนินโครงการดังกล่าว กระทรวงการคลัง (กค.) (กรมธนารักษ์) จึงได้หารือร่วมกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) และบริษัทฯ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งที่ประชุมได้มีแนวทางการแก้ปัญหาโครงการฯ (เฉพาะที่อยู่ระหว่างดำเนินการ) ดังนี้
โครงการฯ          ผลการดำเนินโครงการฯ          มติที่ประชุม
โครงการเช่าระยะสั้น
ที่ดินแปลงหมายเลขทะเบียนที่ กท. 5050 และ ส.กท. 827 (บางส่วน) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ประมาณ 3 - 1 - 91 ไร่          บริษัทฯ ได้แจ้งขอเลื่อนการลงนามในสัญญาก่อสร้างอาคารยกกรรมสิทธิ์ให้ กค. และวางหลักประกันสัญญา รวมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิ เนื่องจากอยู่ระหว่างธนาคารออมสินพิจารณาสินเชื่อในการดำเนินโครงการฯ และจัดเตรียมหลักประกัน พร้อมขอรับสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559)          บริษัทฯ ขอรับสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนเพื่อดำเนินโครงการฯ บนที่ดินราชพัสดุแปลงดังกล่าว (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559) โดย ธอส. และ ธ.ออมสิน ไม่ขัดข้องที่จะให้สินเชื่ออัตราดังกล่าวและให้กรมธนารักษ์เสนอเรื่องการขยายกรอบการดำเนินโครงการฯ ต่อคณะรัฐมนตรี โดยมีกรอบการดำเนินโครงการ 3 ปี นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ

โครงการเช่าระยะยาว
ที่ดินแปลงหมายเลข พบ.261 อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ประมาณ 21 - 0 - 11 ไร่           คงเหลืออยู่ระหว่างดำเนินการขายจำนวน 4 หลัง โดยมีประชาชนสนใจซื้อแล้ว 4 หลัง และได้ยื่นขอสินเชื่อจาก ธอส. แล้ว (สิงหาคม 2564) แต่ได้รับแจ้งจาก ธอส. ว่าไม่สามารถเสนอขออนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้าได้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยตามโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐสิ้นสุดระยะเวลาไปแล้ว เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2564 (ตามกรอบมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559)          บริษัทฯ ขอรับสินเชื่อ ?โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลังระยะที่ 2)? (คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565) ให้กับประชาชนผู้สนใจโครงการฯ แทนสินเชื่อโครงการฯ ซึ่ง ธอส. ไม่ขัดข้องที่จะให้สินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยโครงการบ้านล้านหลังและได้มีหนังสือตอบรับการสนับสนุนสินเชื่อสำหรับที่พักอาศัยบนที่ดินราชพัสดุที่เหลืออยู่จำนวน 4 หลังแล้ว
(ธอส. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี)

11. เรื่อง รายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID และกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ ดังนี้
                    1. รับทราบรายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID สำหรับข้อเสนอให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) รายงานการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (Digital Infrastructure) ในส่วนของการพัฒนาระบบ Digital ID เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)
                    ทั้งนี้ สคก. มีความเห็นว่า โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) หรือ ดศ. แล้วแต่กรณี รายงานการดำเนินการดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะแล้ว กรณีจึงไม่มีความจำเป็นต้องเสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบอีก
                    2. รับทราบกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ
                    3. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติการของกรอบการขับเคลื่อนฯ จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากสำนักงบประมาณและดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบการขับเคลื่อนที่กำหนด สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ โครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะต้องอยู่ภายใต้กรอบวัตถุประสงค์การใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมด้วย ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
                    4. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ดศ. รายงานว่า
                    1. การดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในส่วนของการพัฒนาระบบ Digital ID
                              1.1 ความคืบหน้าด้านกฎหมาย ได้พัฒนากฎหมายเพื่อรองรับการนำโครงสร้างพื้นฐานด้านการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลไปปรับใช้กับการให้บริการของหน่วยงานของรัฐและเอกชน เช่น                        (1) พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 โดยเป็นการเพิ่มเติมหมวด 3/1 ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อรองรับผลทางกฎหมายของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล                     (2) พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มาตรา 12 (4) บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกในการบริการประชาชน ซึ่งมีมาตรฐานและแนวทางที่สอดคล้องกันตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด                    (3) ร่างพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ....1 มาตรา 8 วรรค 2 บัญญัติให้การยืนยันตัวตนจะกำหนดให้ดำเนินการด้วยวิธีอื่นนอกจากการแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางก็ได้ ถ้าวิธีอื่นดังกล่าวนั้นจะเป็นการสะดวกแก่ประชาชนยิ่งขึ้น และ (4) ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่ต้องได้รับใบอนุญาต พ.ศ. ....2 ซึ่งเป็นการรองรับการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การดูแลผู้ให้บริการการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
                              1.2 ความคืบหน้าด้านการจัดทำมาตรฐานทางด้านเทคนิคหรือแนวทางการพัฒนาและใช้งานระบบ Digital ID ของประเทศ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ได้พัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อให้การพัฒนาและใช้งานระบบ Digital ID ของประเทศไทยมีมาตรฐานสอดคล้องกับมาตรฐานสากล                  ลดความเสี่ยงและสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          รายละเอียดความคืบหน้า
(1) มาตรฐานกลางสำหรับภาคส่วนต่าง ๆ นำไปใช้งาน          (1.1) ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
          (1.1.1) กรอบการทำงาน เลขที่ ขมธอ. 18-2564 เพื่ออธิบายคำศัพท์กระบวนการการประเมินความเสี่ยง และการกำหนดระดับความน่าเชื่อถือที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบ Digital ID มีความเข้าใจตรงกัน
          (1.1.2) ข้อกำหนดของการพิสูจน์ตัวตน เลขที่ ขมธอ. 19-2564 เพื่อเป็นข้อกำหนดสำหรับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน (Identity Provider : IdP) ในการพิสูจน์ตัวตนของบุคคลที่ประสงค์จะใช้บริการหรือทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ IdP มีแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันตามระดับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์ตัวตน
          (1.1.3) ข้อกำหนดของการยืนยันตัวตน เลขที่ ขมธอ. 20-2564 เพื่อเป็นข้อกำหนดสำหรับ IdP ในการบริหารจัดการสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนและการยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ ให้มีแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันตามระดับความน่าเชื่อถือของการยืนยันตัวตน
(1.2) ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยเทคโนโลยีชีวมิติ
          (1.2.1) เล่ม 1 : การใช้งานเทคโนโลยีชีวมิติสำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตน เลขที่ ขมธอ. 29 เล่ม 1-2565 เพื่อเป็นข้อกำหนดและข้อเสนอแนะสำหรับ               การบริหารจัดการอัตลักษณ์บุคคลจากการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยการใช้เทคโนโลยี              ชีวมิติ
          (1.2.2) เล่ม 2 : การใช้งานเทคโนโลยีการรู้จำใบหน้าสำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตน เลขที่ ขมธอ. 29 เล่ม 2-2565 เพื่อเป็นข้อกำหนดและข้อเสนอแนะสำหรับการบริหารจัดการอัตลักษณ์บุคคลที่มาจากการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยเทคโนโลยีการรู้จำใบหน้า
(1.3) ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยการทดสอบสมรรถนะการทำงานเทคโนโลยีชีวมิติ เลขที่ ขมธอ. 30-2565 เพื่อเป็นข้อกำหนดและข้อเสนอแนะสำหรับการทดสอบสมรรถนะการทำงานของเทคโนโลยีชีวมิติในการลงทะเบียน พิสูจน์ยืนยันชีวมิติและระบุชีวมิติ รวมถึงการทดสอบสมรรถนะการป้องกันการโจมตีหลอกระบบ
(2) มาตรฐานสำหรับหน่วยงานของรัฐ          (2.1) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย
(2.2) มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ
          (2.2.1) ภาพรวม (เวอร์ชัน 1.0)
          (2.2.2) การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย (เวอร์ชัน 1.0)
                    2. กรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567) พร้อมแผนปฏิบัติการ สพธอ. ได้จัดทำกรอบการขับเคลื่อนฯ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมการใช้งานระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศ3 เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 และวันที่ 31 มีนาคม 2565 และได้ผ่านการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแผนปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติและขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันสามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลบนมาตรฐานเดียวกันได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อเร่งผลักดันการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ประกอบด้วย กลยุทธ์หลัก 8 หลักการ ดังนี้
กลยุทธ์หลัก          แผนปฏิบัติการ
(1) Digital ID ครอบคลุมบุคคล นิติบุคคล และบุคคลต่างชาติ พร้อมรองรับการยืนยันตัวตนการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ การมอบอำนาจ และการให้ความยินยอมทางอิเล็กทรอนิกส์          (1.1) กำหนดนิยาม ความสัมพันธ์ สถาปัตยกรรม ความเชื่อมโยงของกฎหมาย ระเบียบ มาตรฐานที่ออกโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในบริบทของการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Digital ID การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ การมอบอำนาจและการให้ความยินยอมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ. และหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง)
(1.2) จัดให้มีการปรับปรุงระบบตรวจสอบข้อมูลสถานะของหนังสือเดินทางไทย (กรมการกงสุล สพธอ. และ สพร.)
(1.3) จัดให้มีบริการยืนยันตัวตนด้วย Digital ID สำหรับบุคคลต่างชาติที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย [กรมการปกครอง สพธอ. สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) กระทรวงแรงงาน (รง.) และกรมสรรพากร)]
(1.4) จัดให้มีระบบตรวจสอบข้อมูลสถานะของคนต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยให้กับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง (สตม. สพธอ. และ สพร.)
(1.5) จัดให้มีสนามทดสอบนวัตกรรมใหม่ ๆ (Sandbox) ที่เกี่ยวกับการให้บริการ Digital ID ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธนาคาร และภาคโทรคมนาคม เช่น จัดให้มีการทำการยืนยันตัวตนระหว่างหน่วยงาน (Cross Sector Authentication) ในการทดสอบการเปิดบัญชีธนาคารโดยให้ Mobile ID [สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สพธอ. สพร. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย]

(2) ประชาชนสามารถเลือกใช้ Digital ID ในระดับความเชื่อมั่นที่เหมาะสมในการเข้าถึงบริการออนไลน์ของภาครัฐและเอกชน          (2.1) จัดให้มีการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ประโยชน์ของบริการ Digital ID กลุ่มประชาชนและภาคธุรกิจเพื่อส่งเสริมการใช้งาน Digital ID และส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมด้วยกิจกรรม Hackathon (สพธอ. สพร. ธปท. สำนักงาน ก.ล.ต. คปภ. และสำนักงาน กสทช.)
(2.2) IdP ที่ให้บริการกับหน่วยงานของรัฐ เป็นบริการที่ได้มาตรฐานตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด โดยรวมถึง IdP ภาคเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตฯ ตามกฎหมาย (สพร. สพธอ. และสำนักงาน ก.พ.ร.)
(2.3) ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐนำ Digital ID ที่รวมถึง Digital ID ของภาคเอกชนที่ได้รับอนุญาต ไปใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล สำหรับการเข้าใช้งานบริการประชาชนผ่านทางออนไลน์ในระยะแรก (กระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ.ร. สพธอ. และ สพร.)
(3) มท. เป็นหน่วยงานหลักในการให้ข้อมูลและบริการสนับสนุนการพิสูจน์ตัวตนให้กับ IdP ทั้งภาครัฐและเอกชนในการออก Digital ID สำหรับบุคคลธรรมดาทั้งคนไทยและคนต่างชาติที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย โดยมีกระบวนการกำกับดูแลให้มีมาตรฐานที่น่าเชื่อถือ          (3.1) กรมการปกครอง มท. จัดให้มีบริการยืนยันตัวตนในรูปแบบดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน D.DOPA ให้ครอบคลุมคนไทยทั้งประเทศ และให้บริการข้อมูลแก่ IdP ทั้งภาครัฐและเอกชน (กรมการปกครอง สพธอ. และ สพร.)
(3.2) มท. จัดให้มีบริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าทางดิจิทัลให้กับ IdP (มท. สพธอ. และ สพร.)
(4) การใช้ Digital ID ในการทำธุรกรรมของนิติบุคคลเป็นการใช้ Digital ID บุคคลธรรมดาของผู้มีอำนาจของนิติบุคคลนั้นร่วมกับการมอบอำนาจหากจำเป็น           จัดให้มีการทดลองนวัตกรรม Digital ID สำหรับนิติบุคคล เช่น การทำธุรกรรมเปิดบัญชีธนาคารผ่านช่องทางออนไลน์และการให้บริการด้านโทรคมนาคมผ่านช่องทางออนไลน์ ในลักษณะ Co-Sandbox (สพธอ. ธปท. สำนักงาน กสทช. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทยและผู้ให้บริการ Digital ID เอกชน)
(5) กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นหน่วยงานหลักในการให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือของนิติบุคคลเพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมของนิติบุคคลผ่าน Digital ID           (5.1) ดำเนินการให้ฐานข้อมูลพื้นฐานสำคัญเป็นแบบดิจิทัล โดยปรับปรุงระบบนำเข้าข้อมูล (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร สพธอ. และ สพร.)
(5.2) จัดให้มีบริการเชื่อมโยงข้อมูลสำหรับการตรวจสอบข้อมูลผู้มีอำนาจในการทำธุรกรรม/นิติกรรมของนิติบุคคล ในรูปแบบดิจิทัลที่ตรวจสอบได้ตามที่ได้จดทะเบียนไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร สพธอ. และ สพร.)
(5.3) จัดให้มีบริการหนังสือรับรองนิติบุคคลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ PDF/A3 (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร สพธอ. และ สพร.)
(6) ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐผ่านระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่น่าเชื่อถือและประชาชนใช้งานอย่างกว้างขวาง โดยไม่ต้องลงทะเบียนพิสูจน์ตัวตนซ้ำซ้อนด้วยมาตรฐานสากลแบบเปิด (Open Standards)          (6.1) หน่วยงานของรัฐดำเนินการพัฒนาระบบหรือบริการของหน่วยงานเพื่อรองรับการใช้งานระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลด้วย IdP (หน่วยงานของรัฐ สพร. สำนักงาน ก.พ.ร. สพธอ. และกรมการปกครอง)
(6.2) สพร. พัฒนาและให้บริการแพลตฟอร์มกลางเพื่อเชื่อมโยงไปยัง IdP รายต่าง ๆ (สพร. กรมการปกครอง และ สพธอ.)
(7) สพธอ. กำหนดนโยบาย Digital ID ในภาพรวม ซึ่งรวมถึงการพัฒนามาตรฐานกลางที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริการที่เกี่ยวกับ Digital ID ของรัฐและเอกชนมีมาตรฐานสอดคล้องกัน และเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ โดยหน่วยงานกำกับในแต่ละภาคส่วน (Sector) นำไปประยุกต์ใช้ รวมถึงกำหนดนโยบายเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับบริการหรือธุรกิจที่กำกับหรือดูแล          (7.1) จัดให้มีนโยบายและมาตรฐานบริการดิจิทัลไอดีสำหรับการใช้งานของแต่ละ Sector ตามลักษณะเฉพาะของตน โดยคำนึงถึงภาระของผู้ให้บริการ (สำนักงาน ก.พ.ร. ธปท. สำนักงาน ก.ล.ต. คปภ. สำนักงาน กสทช. สพร. และ สพธอ.)
(7.2) จัดให้มีการนำร่องการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลของระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลกับต่างประเทศผ่านระบบ National Digital Trade Platform (NDTP) และระบบ Smart Financial and Payment Infrastructure for Business (สำนักงาน ก.พ.ร. กรมการปกครอง ธปท. สำนักงาน กสทช. สพธอ. และ สพร.)
(8) สพร. พัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐเพื่อให้บริการที่เกี่ยวกับ Digital ID ของรัฐและเอกชนได้มาตรฐานสอดคล้องกัน และเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับบริการ Digital ID ระหว่างรัฐและเอกชนได้          (8.1) จัดทำแนวทางการเชื่อมโยงระบบและข้อมูลของระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล สำหรับหน่วยงานรัฐและเอกชน [สพร. กรมการปกครอง สำนักงาน กสทช. สพธอ. ธปท. และหน่วยงานภาคเอกชน เช่น สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย และผู้ให้บริการดิจิทัลไอดี เช่น ระบบ National Digital ID (NDID) และระบบ Mobile National ID (MNID)]
(8.2) จัดทดสอบการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับบริการ Digital ID ระหว่างรัฐและเอกชน สำหรับบริการภาครัฐ (สพร. และหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง)
                    3. การพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าทางดิจิทัล ประกอบด้วย 2 ระบบ ดังนี้
                              3.1 ระบบ FVS ได้แก่ (1) พัฒนาระบบ FVS เพื่อให้บริการตรวจสอบภาพใบหน้า รองรับธุรกรรมสูงสุด 60 รายการต่อวินาที หรือประมาณ 5 ล้านรายการต่อวัน ซึ่งคาดว่าจะเพียงพอสำหรับการลงทะเบียนใช้งานทั่วไป (2) การตรวจสอบภาพใบหน้า ใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก พร้อมใบหน้า เพื่อตรวจสอบกับระบบ FVS โดยต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของภาพใบหน้า (3) กรมการปกครองจะส่งผลการตรวจสอบภาพใบหน้า ในรูปแบบเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องเมื่อเทียบกับฐานข้อมูลภาพใบหน้าที่น่าเชื่อถือ (4) ผู้ใช้งานระบบ FVS เป็น IdP โดยจะมีการกำหนดเงื่อนไขของ IdP ที่สามารถใช้บริการระบบได้ และ (5) IdP ตรวจสอบคุณภาพของภาพใบหน้าตามมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศก่อนส่งมาตรวจสอบกับระบบ FVS
                              3.2 ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID) และแอปพลิเคชัน D.DOPA ได้แก่ (1) ขยายระบบรองรับผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน D.DOPA เป็น 60 ล้านคน (2) รองรับการพิสูจน์ตัวตนโดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานเขตหรืออำเภอเพื่อรองรับการลงทะเบียนในการพิสูจน์ตัวตนด้วยตนเอง (Self-Enrolment) โดยใช้ภาพใบหน้า ตามระดับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์ตัวตน (Identity Assurance Level : IAL) ที่ระดับ IAL 2.3 (3) การตรวจสอบภาพใบหน้า พัฒนาจากระบบที่มีอยู่โดยเพิ่มเติมฟังก์ชันการตรวจจับการปลอมแปลงชีวมิติเพื่อป้องกันการถ่ายภาพจากรูปถ่ายหรือวิดีโอ เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการ Self-Enrolment                    (4) หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนสามารถใช้ผลการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของแอปพลิเคชัน D.DOPA ได้ เนื่องจากประชาชนที่เป็นผู้ถือแอปพลิเคชัน D.DOPA เป็นผู้อนุญาตให้มีการตรวจสอบ (5) D.DOPA-Digital ID รองรับการยืนยันตัวตนสูงสุดที่ 100 ธุรกรรมต่อวินาที และ (6) D.DOPA-Digital ID รองรับให้ประชาชนสามารถส่งข้อมูลพื้นฐานตามข้อมูลหน้าบัตรประจำตัวประชาชน ไปให้หน่วยงานผู้อาศัยการยืนยันตัวตน ผ่านโปรโตคอล OpenID Connect ได้
                    4. ความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยส่งเสริมให้นำ Digital ID มาใช้ในการยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้บริการ ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ 12 บริการ Agenda4 ได้มีการทำแผนการขับเคลื่อนพัฒนา (Roadmap) ในแต่ละบริการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567) และส่งให้คณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาทางดิจิทัลตามงานบริการ Agenda สำคัญ พิจารณาเรียบร้อยแล้ว และจะมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน Roadmap โดยมีข้อเสนอสำหรับแนวทางการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน 2 ระยะ ได้แก่ ระยะแรก ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐนำดิจิทัลไอดีของระบบ NDID และเป๋าตังไปใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับการเข้าใช้งานบริการประชาชนผ่านทางออนไลน์ และระยะต่อไป ผลักดันระบบ DOPA-Digital ID และแอปพลิเคชัน D.DOPA ของกรมการปกครองให้รองรับผู้ใช้งานได้มากกว่า 1 แสนราย และให้ มท. ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในการจัดทำแผนงานหรือโครงการตามแนวทางการพัฒนาระบบ FVS รวมถึงการกำหนดมาตรฐานการทำงานเพื่อให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนสามารถใช้บริการระบบ FVS ได้ นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. และ สพร. ได้จัดทำแอปพลิเคชันทางรัฐที่ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐได้แบบจุดเดียวทุกที่ทุกเวลาผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งส่วนหนึ่งใช้งานดิจิทัลไอดีด้วยแอปพลิเคชัน D.DOPA ที่ปัจจุบันมีบริการหลายหมวดหมู่ เช่น ตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโร ตรวจสอบข้อมูลหนังสือรับรองผล O-NET ตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และขอรับความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา
                    5. ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลของระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ปัจจุบันรัฐและเอกชนได้พัฒนาและให้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่สำคัญ 3 ระบบหลัก ได้แก่ (1) ระบบ NDID (ดูแลโดยบริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด และมีกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยเป็น IdP) รองรับการนำไปใช้กับธุรกรรมการเงินต่าง ๆ เช่น การเปิดบัญชีเงินฝาก/e-Money และการยื่นภาษี และตรวจสอบค่าลดหย่อน (2) ระบบ Mobile ID (ดูแลโดยสำนักงาน กสทช. และมีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ในประเทศไทย เป็น IdP รองรับการนำไปใช้กับธุรกรรมการเปิดบัญชีธนาคารและเตรียมขยายไปใช้กับบริการอื่น ๆ เพิ่มเติม และ (3) ระบบ DOPA-Digital ID (ดูแลโดยกรมการปกครอง มท. และเป็น IdP) รองรับการนำ Digital ID ของกรมการปกครองไปใช้กับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมการปกครอง เช่น ระบบตรวจสอบประวัติตนเองและการขอย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ อย่างไรก็ตาม แต่ละระบบได้ถูกออกแบบทางเทคนิคมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้งานบริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกัน จึงมีข้อจำกัดในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล และจำเป็นต้องมีการบูรณาการภาพรวมการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย เพื่อลดภาระการออกแบบและพัฒนาระบบให้บริการของผู้อาศัยการยืนยันตัวตนในอนาคต และอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐและภาคเอกชนโดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์และยืนยันตัวตนซ้ำ ๆ รวมทั้งประชาชนมีอิสระในการเลือกใช้ Digital ID ตามความต้องการ ทั้งนี้ สพร. ได้จัดตั้งคณะทำงานจัดทำแนวทางการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลของระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งครอบคลุมผู้ให้บริการระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่สำคัญ 3 ระบบหลักที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยคณะทำงานฯ อยู่ระหว่างร่วมกันออกแบบด้านเทคนิคเพื่อทดสอบให้สามารถทำงานร่วมกันได้ และได้จัดทำหลักการพื้นฐานและแนวทางการส่งผ่านข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริการด้าน Digital ID พร้อมทั้งแนวทางการเชื่อมโยงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย (1) ขั้นตอนสำหรับการพิสูจน์ตัวตนผู้ใช้งาน เพื่อออก Digital ID ให้กับผู้ใช้งาน และ (2) ขั้นตอนสำหรับการรับบริการยืนยันตัวตนด้วย Digital ID ของผู้ใช้งานที่ IdP ออกให้ จำนวน 3 ขั้นตอนย่อย ซึ่งคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้มีมติเห็นชอบต่อหลักการพื้นฐานและขั้นตอนการดำเนินงานด้านการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อวางกรอบการให้บริการที่เหมาะสมและเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยการดำเนินงานด้าน Digital ID ควรเป็นระบบเปิดที่มี IdP ได้หลายรายและไม่จำกัดเฉพาะเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่งเป็นการเฉพาะ
1 พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565
2 คณะรัฐมนตรีมีมติ (22 กันยายน 2563) อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจฯ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณา ซึ่ง สคก. ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้ อยู่ระหว่างการดำเนินการของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
3 คณะกรรมการส่งเสริมฯ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน ผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนเป็นกรรมการ และ สพธอ. เป็นเลขานุการฯ เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ร่วมกันผลักดันให้เกิดการอำนวยความสะดวกในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงานของรัฐ เอกชน และประชาชนให้ใช้งานระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
4 งานบริการ Agenda หมายถึง งานบริการที่มีความเชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องหลายส่วนราชการ แล้วมีผลกระทบให้คุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้น หรือสนับสนุนช่วยเหลือให้ภาคเศรษฐกิจและสังคมที่ประสบปัญหาในภาวะสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฟื้นตัวได้เร็วขึ้นและยั่งยืน เช่น ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID) ระบบการรับชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และระบบช่วยเหลือผู้ว่างงานให้กลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการปกครอง กรมที่ดิน และกรมการจัดหางาน

12. เรื่อง ผลการสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2566 (ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) (สำนักงานสถิติแห่งชาติ) เสนอผลการสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2566 (ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล) ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 ที่ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติจัดเก็ฐข้อมูลและสถิติตัวเลข รวมทั้งสำรวจและสอบถามประชาชนเกี่ยวกับนโยบายหลัก ๆ ของรัฐบาลแล้วรายงานคณะรัฐมนตรีทราบ โดยเป็นการสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 6,970 ราย ระหว่างวันที่ 17-31 ตุลาคม 2565 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. เรื่องที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลดำเนินการช่วยเหลือเร่งด่วนเพื่อเป็นขวัญปีใหม่ในปี 2566     มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค (ร้อยละ 91.1) (2) ลดค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำประปา       (ร้อยละ 67) (3) แก้ปัญหาด้านการเกษตร เช่น ราคาพืชตกต่ำ จัดหาตลาดรองรับผลผลิต และราคาปุ๋ยแพง                    (ร้อยละ 30) (4) แก้ปัญหาการว่างงาน (ร้อยละ 23.4) และ (5) เพิ่มมาตรการ/สวัสดิการ/เงินช่วยเหลือเยียวยา เช่น โครงการคนละครึ่ง เพิ่มเงินผู้มีรายได้น้อย และเพิ่มเบี้ยยังชีพคนชรา/ผู้พิการ
                    2. มาตรการ/โครงการที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในชุมชน/หมู่บ้านมากที่สุด ได้แก่                         (1) โครงการคนละครึ่ง (ร้อยละ 75.8) (2) โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ร้อยละ 69.9) (3) มาตรการลดค่าไฟฟ้า (ร้อยละ 59.2) (4) โครงการเราชนะ (ร้อยละ 25.1) และ (5) โครงการ ม.33 เรารักกัน (ร้อยละ 14.8)
                    3. ความพึงพอใจต่อการบริหารงานของรัฐบาลที่ผ่านมา โดยประชาชนมีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุด (ร้อยละ 42.1 แบ่งเป็น พึงพอใจมากที่สุด ร้อยละ 7.7 และพึงพอใจมาก ร้อยละ 34.4) ระดับปานกลาง (ร้อยละ 41) ระดับน้อย-น้อยที่สุด (ร้อยละ 14.7 แบ่งเป็น พึ่งพอใจน้อย ร้อยละ 11.8 และพึงพอใจน้อยที่สุด ร้อยละ 2.9) และไม่พึงพอใจ (ร้อยละ 2.2) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ประชาชนในภาคใต้มีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 62.2) ขณะที่ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีความพึงพอใจ ในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่ต่ำกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 22.2) นอกจากนี้ ประชาชนที่มีอายุมากกว่า                 40 ปี มีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี เช่นเดียวกับกลุ่มอาชีพเกษตรกรและกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ได้แก่ พ่อบ้าน แม่บ้าน ผู้เกษียณอายุ นักเรียน นักศึกษา และผู้ว่างงาน มีความเชื่อมั่นในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่น
                    4. ความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ โดยประชาชนมีความเชื่อมั่นในระดับมาก-มากที่สุด (ร้อยละ 35.4) แบ่งเป็นเชื่อมั่นมากที่สุด ร้อยละ 5.8 และเชื่อมั่นมาก ร้อยละ 29.6) ระดับปานกลาง (ร้อยละ 40.8) ระดับน้อย-น้อยที่สุด (ร้อยละ 20.6 แบ่งเป็น เชื่อมั่นน้อย ร้อยละ 15.7 และเชื่อมั่นน้อยที่สุด ร้อยละ 4.9) และไม่เชื่อมั่น (ร้อยละ 3.2) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ประชาชนในภาคใต้ มีความเชื่อมั่นในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่สูงกว่าคนอื่น (ร้อยละ 54.8) ขณะที่ประชาชนในกรุงเทพมหานคร มีความเชื่อมั่นในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่ต่ำกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 19) นอกจากนี้ประชาชนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี มีความเชื่อมั่นในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี เช่นเดียวกับกลุ่มอาชีพเกษตรกรและกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ได้แก่ พ่อบ้าน แม่บ้าน ผู้เกษียณอายุ นักเรียน นักศึกษา และ               ผู้ว่างงาน มีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่น
                    5. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้
                              5.1 ควรมีมาตรการ/โครงการช่วยเหลือและลดภาระค่าครองชีพของประชาชน เช่น มาตรการลดค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำประปา ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค และเพิ่มวงเงินในโครงการคนละครึ่ง
                              5.2 ควรเร่งแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการจ้างงานและสร้างอาชีพแก่ประชาชน เช่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำในการประกอบอาชีพ และหาตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตร
                              5.3 ควรเร่งสร้างความร่วมมือ เครือข่าย และกระบวนการป้องกันไม่ให้คนในสังคมเข้าไปเกี่ยวข้องหรือเข้าไปสู่วงจรของยาเสพติด เช่น สร้างความสามัคคีในชุมชน สร้างการสื่อสารข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมทั้งการใช้กฎหมายลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดอย่างจริงจังและเด็ดขาด
                              5.4 ควรมีการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ และภัยพิบัติต่าง ๆ
                              5.5 ควรประชาสัมพันธ์ข่าวสารเพื่อสร้างการรับรู้ของประชาชนเรื่องการถูกหลอกลวง/ล่อลวงทางโซเซียลมีเดียเพื่อให้รู้เท่าทันภัยออนไลน์ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ช่องทางการร้องเรียน/ร้องทุกข์ เช่น สายด่วนศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212 และสายดาวนตำรวจไซเบอร์ 1441

13. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนตุลาคม 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูประเทศ ณ เดือนตุลาคม 2565 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขนุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
                              1.1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติผ่านการขับเคลื่อนแผนระดับที่ 3 โดยมีสถานะการดำเนินการตามแผนระดับที่ 3 ในส่วนของแผนปฏิบัติการด้าน... ณ เดือนกันยายน 2565 รวม จำนวน 155 แผน สรุปได้ ดังนี้ (1) แผนที่เสนอคณะรัฐมนตรีทราบแล้วและมีผลบังคับใช้แล้ว จำนวน 74 แผน โดยเป็นแผนฯ ที่ประกาศบังคับใช้เพิ่มเติม จำนวน 2 แผน ได้แก่ 1) นโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์         (พ.ศ. 2565-2570) และ 2) แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564-2570 (2) แผนฯ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณากลั่นกรองของ สศช. จำนวน 47 แผน (3) แผนฯ ที่ยกเลิกการดำเนินการ/สิ้นสุดการดำเนินการ จำนวน 31 แผน และ (4) แผนฯ ที่อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี จำนวน 3 แผน* ได้แก่ 1) แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2566-2570) 2) (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566-2570) และ 3) (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ทั้งนี้ หน่วยงานผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผนระดับที่ 3 จำเป็นต้องให้ความสำคัญในการกำหนดประเด็นเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เกิดการ ?พุ่งเป้า? เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแผนระดับชาติร่วมกันและสามารถถ่ายระดับยุทธศาสตร์ชาติที่เป็นแผนระดับที่ 1 และแผนระดับที่ 2 ไปสู่การบรรลุเป้าหมายได้อย่างเป็นธรรม
                              1.2 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2570 ทั้งนี้ การขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ได้กำหนดกลไกการดำเนินการ 3 ระดับ ได้แก่ (1) กลไกเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นกลไกระดับนโยบายที่มุ่งบูรณาการหน่วยงานภาครัฐและภาคีการพัฒนาในการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนา                13 หมุดหมายไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดผ่านกลไกคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 รวม 5 คณะ (2) กลไกตามภารกิจ เป็นกลไกการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ยึดโยงและถ่ายระดับเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ไปสู่แผนปฏิบัติราชการ แผนปฏิบัติการด้านต่าง ๆ และแผนอื่น ๆ ซึ่งเป็นแผนระดับที่ 3 เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ และ (3) กลไกระดับพื้นที่ เป็นการเชื่อมโยงและกระจายผลของการพัฒนาจากแผนพัฒนาฯ                 ฉบับที่ 13 สู่ระดับชุมชน และเชื่อมต่อการพัฒนาจากพื้นที่ในระดับตำบลสู่ระดับประเทศผ่าน 2 กลไกหลัก ได้แก่ แผนพัฒนาอื่นของรัฐในระดับพื้นที่ (One Plan) โดยเริ่มจากความต้องการจุดย่อยสู่จุดใหญ่ (Bottom-up) เพื่อส่งความต้องการระดับพื้นที่และระดับตำบลสู่ระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัดต่อไป และภาคีเครือข่ายการพัฒนาที่หลากหลายในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ชุมชน และภาคีการพัฒนา              อื่น ๆ โดยร่วมกันเสริมสร้างขีดความสามารถของพื้นที่เพื่อขยายผลในการขับเคลื่อนการดำเนินการที่ส่งผลต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศในภาพใหญ่
                              1.3 ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ได้แจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อให้ขับเคลื่อนการดำเนินการของ ศจพ. ระดับต่าง ๆ และทีมปฏิบัติการในพื้นที่ โดยให้ใช้ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP) เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยในระดับพื้นที่ และได้เน้นย้ำให้พื้นที่ต้นแบบ ศจพ. นำร่อง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี สระบุรี และนครสวรรค์ สนับสนุนการจัดทำแนวทางความร่วมมือเพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในการลดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย เพื่อนำไปสู่การขยายผลในพื้นที่อื่นที่มีความสอดคล้องกับภูมิสังคมและบริบทของพื้นที่ต่อไป รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการแก้ปัญหาและพัฒนาอย่างตรงจุดเพื่อให้สามารถ               ?อยู่รอด พอเพียง และยั่งยืน?
                    2. ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ การจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมายตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ทั้ง 13 ด้าน จำนวน 45 ฉบับ มีสถานะดำเนินการ ณ เดือนตุลาคม 2565 ดังนี้ (1) กฎหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จและมีผลบังคับใช้แล้ว 9 ฉบับ เช่น 1) พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564               2) ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทางการจัดทำข้อกำหนดการเปิดใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม 3) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ โดยได้รับการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (ตม. 6) 4) พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 และ                            5) พระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565 (2) กฎหมายที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ จำนวน 36 ฉบับ ซึ่งอยู่ระหว่างหน่วยงานของรัฐจัดทำร่างกฎหมาย จำนวน 23 ฉบับ อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี จำนวน 7 ฉบับ อยู่ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นชอบ จำนวน 3 ฉบับ และอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา จำนวน 3 ฉบับ
                    3. การติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ หน่วยงานของรัฐได้นำเข้าข้อมูลในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สรุปได้ ดังนี้ (1) ข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานที่นำเข้าระบบฯ ทั้งหมด จำนวน 34,780 โครงการ โดยหน่วยงานที่มีการนำเข้าข้อมูลฯ สูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งสอดคล้องกับสัดส่วนของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่หน่วยงานได้รับจัดสรร (2) ข้อมูลแผนระดับ 3 ที่นำเข้าระบบฯ จำนวน                    447 แผน ประกอบด้วย แผนปฏิบัติการด้าน... จำนวน 54 แผน แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 302 แผน และแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี จำนวน 91 แผน
                    4. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ จากการตรวจสอบการนำเข้าข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานและแผนระดับที่ 3 ของหน่วยงานองค์การมหาชนในระบบ eMENSCR พบว่า มีองค์การมหาชนำเข้าข้อมูลในระบบ eMENSCR จำนวน 25 หน่วยงาน จากทั้งหมด 60 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 43 ขององค์การมหาชนทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่าองค์การมหาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ดังนั้น เพื่อให้มีข้อมูลในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศที่ครอบคลุมทุกการดำเนินงานของหน่วยงานทุกประเภทของรัฐ สศช. จึงได้ประสานสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน เพื่อกำกับให้องค์การมหาชนให้ความสำคัญในการดำเนินการตามแนวทางการจัดทำและนำเข้าแผนระดับที่ 3 การนำเข้าข้อมูลโครงการ/การดำเนินงาน และการรายงานผลในระบบ eMENSCR ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งให้มีการนำเข้าข้อมูลสถิติ สถานการณ์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในระบบฐานข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ (Open Data Portal for Monitoring and Evaluating Government Projects under National Strategy: Open-D)

*1. แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2566-2570) อยู่ระหว่างขั้นตอนเสนอคณะรัฐมนตรี 2. (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566-2570) อยู่ระหว่างปรับปรุงรายละเอียดเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการอาหารแห่งชาติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป และ 3. (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565

14. เรื่อง รายงานผลการติดตามและการประเมินผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้กลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism: JCM)
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอรายงานผลการติดตามและการประเมินผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้กลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism: JCM) ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามความตกลงทวิภาคีความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นในการพัฒนากลไกเครดิตร่วมเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2558 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560 (เรื่อง การขยายระยะเวลาความตกลงทวิภาคีความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นในการพัฒนา JCM) ให้ ทส. รายงานผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้ JCM ให้คณะรัฐมนตรีทราบ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                     1. สถานภาพโครงการต้นแบบ JCM กระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ให้เงินทุนสนับสนุนในการพัฒนาโครงการต้นแบบ JCM ในประเทศไทย จำนวน 49 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 3,018 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดการลงทุนร่วมภายใต้กลไกเครดิตร่วม JCM มากกว่า 9,806 ล้านบาท และมีหน่วยงานผู้รับทุนเป็นบริษัทเอกชนไทย จำนวน 45 แห่ง โดยประเภทโครงการต้นแบบที่ได้รับทุน คือ (1) การผลิตพลังงานหมุนเวียน จำนวน 26 โครงการ (2) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จำนวน 21 โครงการ และ (3) การผลิตพลังงานหมุนเวียนร่วมกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จำนวน 2 โครงการ มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้เท่ากับ 262,357 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
                     2. สถานภาพโครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียน1 มีโครงการต้นแบบ JCM ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จำนวน 11 โครงการ มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้เท่ากับ 58,096 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และโครงการที่ได้รับการรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิต จำนวน 5 โครงการ มีปริมาณคาร์บอนเครดิตเท่ากับ               4,032 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ฝ่ายไทย 2,015 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าฝ่ายญี่ปุ่น 2,0172 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า)
                     3. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินการ การพัฒนาโครงการต้นแบบ JCM ต้องมีผู้ร่วมพัฒนาโครงการฝ่ายญี่ปุ่น จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยใช้งานฐานข้อมูลจับคู่ทางธุรกิจ และร่วมกับสภาอุตสาหกรรมในการส่งเสริมให้ที่ปรึกษาของหน่วยงานให้ทุนฝ่ายญี่ปุ่นเข้าถึงผู้ประกอบการไทยที่ต้องการพัฒนาโครงการต้นแบบ JCM
1 โครงการต้นแบบ JCM ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นจะเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้ JCM ก็ต่อเมื่อได้รับการขึ้นทะเบียนจากคณะกรรมการร่วม JCM เอกสารที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจะรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้ของโครงการ มีหน่วยเป็นต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ส่วนปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่โครงการสามารถลดได้จริงจากการดำเนินงานเรียกว่า ?คาร์บอนเครดิต? ซึ่งคณะกรรมการร่วม JCM เป็นผู้ให้การรับรองคาร์บอนเครดิตและสัดส่วนคาร์บอนเครดิตที่จะแบ่งปันกันระหว่างฝ่ายไทยและฝ่ายญี่ปุ่น
2 กรณีที่ฝ่ายญี่ปุ่นให้การสนับสนุนมากกว่าร้อยละ 50 จะมีการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตให้ตามสัดส่วนของเงินสนับสนุนต่อเงินลงทุนทั้งหมดของโครงการ

15. เรื่อง รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ 16 (เดือนเมษายน ? มิถุนายน 2565)
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ครั้งที่ 16 (เดือนเมษายน ? มิถุนายน 2565) และเสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป
                     รายงานดังกล่าวประกอบด้วยสาระสำคัญรวม 4 ส่วน ได้แก่ 1) สรุปความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) 2) ความคืบหน้าการจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) 3) ความคืบหน้าของประเด็นที่รัฐสภาให้ความสนใจเป็นพิเศษ และ 4) การดำเนินการในระยะต่อไป สรุปได้ดังนี้
                     1. สรุปความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)
                      สศช. ได้รวบรวมและประมวลผลข้อมูลการดำเนินการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ ทั้ง 13 ด้าน ประกอบด้วย กิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) รวมทั้งสิ้น 62 กิจกรรม และกฎหมายที่จัดทำ/ปรับปรุงใหม่รวม 45 ฉบับ โดยมีการระบุเป้าหมายย่อยของความสำเร็จ (Milestone : MS) กรอบระยะเวลาแล้วเสร็จ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก และหน่วยงานร่วมดำเนินการไว้อย่างชัดเจนจากระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำกับ ติดตาม และเร่งรัดการดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศได้ทันสถานการณ์ และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด รวมทั้งสามารถขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศให้บรรลุผลภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้
                     สำหรับรายงานความคืบหน้าฯ รอบเดือนเมษายน ? มิถุนายน 2565 มีสถานะการดำเนินการของกิจกรรม Big Rock เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock ร้อยละ 85.5 และกิจกรรม Big Rock ร้อยละ 14.5 อยู่ระหว่างการเร่งรัด กำกับ ติดตามการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของแผนการปฏิรูปประเทศตามกรอบระยะเวลาของแผนที่กำหนดไว้ต่อไป สรุปได้ดังนี้
                               1.1 ด้านการเมือง มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 3 การสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ การส่งเสริมการพัฒนาพรรคการเมือง (BR0103) โดยการมีส่วนร่วมจาก ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องผ่านการดำเนินงานในลักษณะประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ มีความยืดหยุ่น และมีความเหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทของแต่ละพื้นที่เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยสันติวิธี และกิจกรรมปฏิรูปที่ 4 การส่งเสริมการพัฒนาพรรคการเมือง (BR0104) โดยมีแอปพลิเคชัน Smart Vote Civic Education เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าถึงข้อมูลผู้สมัครรับเลือกตั้งข้อมูลพรรคการเมือง และข้อมูลที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง
                               1.2 ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 ปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานและการบริการภาครัฐไปสู่ระบบดิจิทัล (BR0201) โดยมีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น มีระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ซึ่งเป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ติดตามการดำเนินงานของส่วนราชการ มีระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP) มาใช้ในการแก้ปัญหาให้ตรงกับความต้องการหรือสภาพปัญหาได้ และกิจกรรมปฏิรูปที่ 5 ขจัดอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และการเบิกจ่ายเงินเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว คุ้มค่า โปร่งใส ปราศจากการทุจริต (BR0205) ได้มีการปรับปรุงระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้มีความคล่องตัวเปิดเผย ตรวจสอบได้โดยใช้ระบบ e-GP ให้มีการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ
                               1.3 ด้านกฎหมาย มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 2 จัดให้มีกลไกทางกฎหมายเพื่อให้มีการพิจารณาปรับเปลี่ยนโทษทางอาญาที่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง ให้เป็นโทษปรับเป็นพินัย เพื่อลดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน (BR0302) โดยมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย เพื่อให้ผู้ที่มีความผิดไม่ร้ายแรงชำระค่าปรับแทนการลงโทษทางอาญาและไม่มีการจำคุก และเพื่อให้การรับโทษเหมาะสมกับสภาพความผิดซึ่งทำให้การบังคับใช้กฎหมายเกิดความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และกิจกรรมปฏิรูปที่ 3 จัดให้มีกลไกกำหนดให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแล และบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย (BR0303) โดยการพัฒนาให้มีระบบกลางทางกฎหมายผ่านเว็บไซต์ (www.law.go.th) ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
                               1.4 ด้านกระบวนการยุติธรรม มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การรับแจ้งความร้องทุกข์ต่างท้องที่ (BR0402) โดยได้มีการออกคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 177/2564 เรื่อง การรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษความผิดอาญานอกเขตอำนาจการสอบสวน ซึ่งจากสรุปสถิติฐานความผิดคดีอาญา ในปี 2564 มีจำนวนคดีที่รับคำร้องทุกข์ จำนวน 637,780 คดี โดยสามารถจับกุมได้ 602,910 คดี (คิดเป็นร้อยละ 95) และกิจกรรมปฏิรูปที่ 3 การจัดหาทนายความอาสาประจำสถานีตำรวจให้ครบทุกสถานีทั่วประเทศ (BR0403) โดยจัดให้มีทนายความอาสาให้คำปรึกษาในสถานีตำรวจ จำนวน 203 สถานี รวมทั้งจัดให้มีการให้คำปรึกษาทางกฎหมายผ่านช่องทางออนไลน์ และจัดระบบให้มีการปล่อยชั่วคราวได้ทุกวันโดยไม่มีวันหยุด เพื่อให้ประชาชนได้รับการอำนวยความยุติธรรม โดยสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรมยิ่งขึ้น
                               1.5 ด้านเศรษฐกิจ มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 การสร้างเกษตรมูลค่าสูง (High Value Added) (BR0501) ได้มีระบบภาษีเพื่อความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้รัฐ โดยจัดให้มีระบบการยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์ (e-Filling) กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 การเพิ่มโอกาสของผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็กในอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมาย (BR0503) โดยการพัฒนาระบบให้บริการ SME ACCESS ดำเนินการพัฒนาเชื่องโยงและบูรณาการข้อมูลและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการและกิจกรรมปฏิรูปที่ 5 การพัฒนาศักยภาพคนเพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (BR0505) โดยให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์สามารถจำหน่ายสินค้าได้เองผ่านระบบ DGTFarm อตก. ดอทคอม Co-op click และตลาดเกษตรออนไลน์
                               1.6 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 เพิ่มและพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ตามเป้าหมาย (BR0601) โดยมีการบริหารจัดการที่ดินทำกินแก่เกษตรรายย่อย และผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในพื้นที่ป่าชายเลนแก่ชุมชนใกล้เคียง และกิจกรรมปฏิรูปที่ 4 ปฏิรูประบบการบริหารจัดการเขตควบคุมมลพิษ กรณีเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด (BR0604) โดยมีระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ซึ่งสามารถติดตามสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศและนำไปสู่การกำหนดมาตรการและนโยบายในการจัดการอย่างถูกต้องและเหมาะสม
                               1.7 ด้านสาธารณสุข มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 3 การปฏิรูประบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุด้านการบริบาล การรักษาพยาบาลที่บ้าน/ชุมชน และการดูแลสุขภาพตนเองในระบบสุขภาพปฐมภูมิเชิงนวัตกรรม (BR0703) โดยมีระบบฐานข้อมูลระดับประเทศด้านการคัดกรองสุขภาพของผู้สูงอายุ                (Blue Book Application) และระบบข้อมูลกลางของผู้สูงอายุตามระดับการพึ่งพิง ซึ่งใช้โปรแกรม Long Term Care (3C) และกิจกรรมปฏิรูปที่ 4 การปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพและกองทุนที่เกี่ยวข้องให้มีความเป็นเอกภาพ บูรณาการ เป็นธรรม ทั่วถึง เพียงพอและยั่งยืนด้านการคลัง (BR0704) โดยมีการยกระดับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทองให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ทุกพื้นที่
                               1.8 ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 การพัฒนาระบบคลังข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกและการจัดการ Fake News (BR0801) โดยมีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม (Anti-Fake News Center : AFNC) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้กระทำความผิด และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาข่าวปลอมผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Website Line และ Facebook และกิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การกำกับดูแลสื่อออนไลน์ (BR0802) โดยมีการดำเนินโครงการเฝ้าระวังเว็บไซต์ผิดกฎหมาย และ Facebook Fanpage                  ?อาสา จับตาออนไลน์? เพื่อการแก้ปัญหาข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง และอาชญากรรม อื่น ๆ ที่แพร่หลายในโลกโซเชียล ซึ่งประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการตรวจสอบเฝ้าระวัง และแจ้งเบาะแสข้อมูลเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนสื่อออนไลน์ได้
                               1.9 ด้านสังคม มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 การมีระบบการออมเพื่อสร้างหลักประกันรายได้หลังวัยเกษียณที่เพียงพอและครอบคลุมในกลุ่มแรงงานทั้งในและนอกระบบ (BR0901) โดยกระทรวงการคลังได้เสนอร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ พ.ศ. .... (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจสอบพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา) และกิจกรรมปฏิรูปที่ 5 การสร้างมูลค่าให้กับที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชน (BR0905) โดยมีการพัฒนาและปรับปรุงนโยบายการสร้างมูลค่าให้กับที่ดินที่รัฐจัดให้ประชาชน
                               1.10 ด้านพลังงาน มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 ศูนย์อนุมัติอนุญาตเบ็ดเสร็จ One-Stop-Service ด้านกิจการไฟฟ้าที่แท้จริง (BR1001) โดยมีการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับศูนย์อนุมัติอนุญาตเบ็ดเสร็จ เช่น กฎกระทรวงเพื่อยกเลิกประเภทหรือชนิดของโรงงาน ลำดับที่ 88 โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าไม่เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และกิจกรรมปฏิรูปที่ 5 ปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและธุรกิจก๊าซธรรมชาติเพื่อเพิ่มการแข่งขัน (BR1005) โดยกระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการจัดทำค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้ากรณีต่าง ๆ สำหรับการจัดทำแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (แผน PDP2022)
                               1.11 ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการต่อต้านการทุจริต (BR1101) โดยดำเนินการขับเคลื่อนการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่และการสร้างวัฒนธรรมสุจริต เช่น การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความเข้าใจต่อแนวทางการขับเคลื่อนงานต่อต้านการทุจริตในพื้นที่ และการมีช่องทางการแจ้งเบาะแสการทุจริตของภาคประชาชน และกิจกรรมปฏิรูปที่ 3 การพัฒนากระบวนการยุติธรรมที่รวดเร็ว โปร่งใส             ไม่เลือกปฏิบัติ ในการดำเนินคดีทุจริตทั้งภาครัฐและภาคเอกชน (BR1103) โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ดำเนินการสร้างการรับรู้ถึงการดำเนินคดีทุจริตมีความรวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส             ไม่เลือกปฏิบัติ และเกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างต่อเนื่อง
                               1.12 ด้านการศึกษา มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย (BR1201) โดยเด็กเล็กจะต้องได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา สะท้อนได้จากอัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับก่อนประถมศึกษา อายุ 3 ? 5 ปี ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.15             มีการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน โดยได้มีพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะในทุกระดับชั้น กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 (BR1202) มีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะและการพัฒนานวัตกรรมเพิ่มขึ้นในแต่ละปีในสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 539 สถานศึกษา และกิจกรรมปฏิรูปที่ 5 การปฏิรูปบทบาทการวิจัยและระบบธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยออกจากกับดักรายได้ปานกลางอย่างยั่งยืน (BR1205) มีระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้หรือ ธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) เพื่อสะสมและเทียบโอนหน่วยกิต นักเรียน/นักศึกษาในระดับช่วงมัธยมปลายให้สามารถโอนหน่วยกิตมาเรียนเทียบในระดับอุดมศึกษาเพียง 2 ปี
                               1.13 ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การพัฒนาการเรียนรู้และเศรษฐกิจชุมชนบนฐานวัฒนธรรมแบบบูรณาการ (BR1302) โดยกระทรวงวัฒนธรรมมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม โดยใช้เทคโนโลยี QR Code Augment Realiy (QR Code AR) และ Virtual Reality (VR) มาใช้ในการถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์/ความรู้ รวมทั้งการพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้และการผลิตสื่อในรูปแบบคลิปองค์ความรู้/Infographic/Live Talk เพื่อให้การเผยแพร่ความรู้น่าสนใจ เข้าใจได้ง่าย และเข้าถึงคนได้ในวงกว้าง และกิจกรรมปฏิรูปที่ 3 การส่งเสริมประชาชนเป็นศูนย์กลางในการสร้างวิถีชีวิตทางการกีฬา และการออกกำลังกายอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม และการสร้างโอกาสทางการกีฬาและการพัฒนานักกีฬาอาชีพ (BR1303) โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้มีการพัฒนาลานกีฬาในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีการจัดกิจกรรมลานกีฬานำร่องในห้างสรรพสินค้าในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและกรุงเทพมหานคร
                     2. ความคืบหน้าการจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) จำนวน 45 ฉบับ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2565 ซึ่งมีสถานะความคืบหน้าของกฎหมาย ประกอบด้วย (1) กฎหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 7 ฉบับ โดยดำเนินการแล้วเสร็จเพิ่มเติมจากรอบก่อนหน้า จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่                   1) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ โดยได้รับยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (ตม.6) ซึ่งเป็นกฎหมายภายใต้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 2) ประกาศกระทรวงแรงงาน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 14 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ 3) กฎกระทรวงการยื่นอุทธรณ์และวิธีพิจารณาในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นกฎหมายภายใต้พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 และ (2) กฎหมายที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ จำนวน 38 ฉบับ โดยมีกฎหมายที่มีสถานะการจัดทำ/ปรับปรุงคืบหน้ากว่ารอบรายงานที่ผ่านมา จำนวน 6 ฉบับ ทั้งนี้ ยังมีกฎหมายที่อยู่ระหว่างหน่วยงานของรัฐจัดทำร่างกฎหมาย จำนวน 25 ฉบับ ซึ่งเป็นหน้าที่ของหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการเร่งดำเนินการจัดทำ/ปรับปรุงให้แล้วเสร็จ และนำเสนอตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป สรุปได้ ดังนี้
แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)          จำนวนกฎหมาย (ฉบับ)          อยู่ระหว่างการดำเนินการ
                    หน่วยงานของรัฐจัดทำร่างกฎหมาย          สลค. พิจารณาเพื่อเสนอ ครม. เห็นชอบหลักการ          สคก. ให้ความเห็นต่อร่างกฎหมาย          รัฐสภาพิจารณาร่างกฎหมายก่อนประกาศใช้          แล้วเสร็จ
1. ด้านการเมือง          2          1          1
2. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน          2          1                                        1
3. ด้านกฎหมาย          5          1          1          1          1          1
4. ด้านกระบวนการยุติธรรม          1                                        1
5. ด้านเศรษฐกิจ          7          2          1          1                    3
6. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม          1          1
7. ด้านสาธารณสุข          1                              1
8. ด้านสื่อสารมวลชนเทคโนโลยีสารสนเทศ          2          1          1
9. ด้านสังคม          4          2                    1                    1
10. ด้านพลังงาน          8          7                                        1
11. ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ          10          8          1          1
12. ด้านการศึกษา          1                                        1
13. ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์          1          1
รวมจำนวนกฎหมาย (ฉบับ)          45          25          5          5          3          7

                     3. ความคืบหน้าของประเด็นที่รัฐสภาให้ความสนใจเป็นพิเศษ
                     สศช. ได้สรุปรายงานตามประเด็นอภิปรายที่ได้จากคณะกรรมาธิการติดตามเสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศและการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและนำเสนอต่อที่ประชุมวุฒิสภาสมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ทุกวันจันทร์สัปดาห์ที่ 1 ของเดือน รวมทั้งสรุปรายงานสถานะของกฎหมายทั้ง 10 ฉบับ ตามเอกสารแนบท้าย ที่วุฒิสภาให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำกับ ติดตาม และเร่งรัดการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                     4. การดำเนินการในระยะต่อไป
                     สศช. จะได้ประสานหน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานร่วมดำเนินการเพื่อเร่งรัดการขับเคลื่อนการดำเนินการตามกิจกรรม Big Rock ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ทั้ง 13 ด้าน ให้แล้วเสร็จและบรรลุเป้าหมายภายในกรอบระยะเวลาของแผนที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ในการดำเนินการปฏิรูปประเทศในระยะต่อไปภายหลังสิ้ดสุดระยะเวลาของแผนการปฏิรูปประเทศให้ดำเนินการตามแนวทางของมติคณะรัฐมนตรี               เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 โดยหน่วยงานของรัฐ ทั้งหน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานดำเนินการให้ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศที่ยังต่อเนื่องผ่านกลไกของแผนระดับที่ 2 และแผนระดับที่ 3 และการดำเนินการต่าง ๆ ของหน่วยงาน เพื่อผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญฯ อย่างยั่งยืนต่อไปและในส่วนของการติดตาม และประเมินผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ให้ดำเนินการให้สอดคล้องกับห้วงระยะเวลาสิ้นสุดของแผนการปฏิรูปประเทศในวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดย สศช. จะได้ดำเนินการจัดทำรายงานความคืบหน้าฯ             ตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ  สำหรับรอบรายงานเดือนตุลาคม ? ธันวาคม 2565 เป็นรอบรายงานสุดท้าย

16. เรื่อง รายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เสนอรายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานของ กสศ. ในรอบสามปีที่หนึ่ง (ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 ? 13 พฤษภาคม 2565) (เป็นการดำเนินการตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 ที่บัญญัติให้ทุกสามปีอันถือว่าเป็นรอบการประเมินให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานของกองทุน และให้คณะกรรมการฯ รายงานผลการประเมินให้คณะรัฐมนตรีทราบภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบการประเมิน) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                     1. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของ กสศ.
                     1.1 กสศ. ได้ดำเนินงานบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง กสศ. โดยสามารถให้ความช่วยเหลือสนับสนุนเงินและค่าใช้จ่ายแก่เด็กและเยาวชนจนสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเสริมสร้างการพัฒนาคุณภาพครูและสถานศึกษาให้มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน เกิดผลสัมฤทธิ์สำคัญที่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ (1) นวัตกรรมการคัดกรองความยากจน (2) ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ?Information System for Equitable Education หรือ iSEE? (3) ระบบการติดตามนักเรียนทุนรายบุคคลผ่านเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก (4) การระดมความร่วมมือร่วมกับภาคเอกชน (Innovative Finance) ผ่านความร่วมมือในรูปแบบต่าง ๆ (5) การระดมทุนจากภาคประชาสังคมและเอกชน และ (6) เกิดต้นแบบการทำงานร่วมกันในพื้นที่
                     1.2 การใช้งบประมาณและผู้ได้รับประโยชน์ กสศ. ใช้งบประมาณจากทุกแหล่งเงิน จำนวน 21,886.43 ล้านบาท นำไปช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายของ กสศ. ส่งผลให้มีผู้ได้รับประโยชน์รวมกว่า 3 ล้านคน/ครั้ง (นับตามครั้งที่มีการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่เด็ก 1 คน มากกว่า 1 ครั้งต่อปี) ครอบคลุม (1) เด็กและเยาวชนในระบบการศึกษา 3.02 ล้านคน/ครั้ง จากเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 45,028 คน นักเรียนทุนเสมอภาค 2.97 ล้านคน/ครั้ง นักเรียนทุนระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา 8,013 คน (2) เด็ก เยาวชน และแรงงานนอกระบบการศึกษา 44,829 คน (3) ครู 26,648 คน และ (4) สถานศึกษา 727 แห่ง
                     3. ผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายการดำเนินงานของ กสศ. ตามแผนกลยุทธ์ กสศ. ปีงบประมาณ               พ.ศ. 2565-25671 สรุปได้ ดังนี้
เป้าประสงค์          ผลลัพธ์ตามเป้าประสงค์
(1) การเข้าถึงการเรียนรู้ (Learning Access)          เด็กและเยาวชนวัยเรียนมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาผ่านการได้รับเงินอุดหนุน ซึ่งส่งผลให้อัตราการเข้าเรียนของเด็กปฐมวัยและวัยเรียนเพิ่มขึ้นโดยนักเรียนกลุ่มเสี่ยงซึ่งมีอัตราการเข้าเรียนน้อยกว่าร้อยละ 85 ลดลงจาก 18,345 คน ในภาคเรียน 1/2563 เหลือ 1,024 คน ในภาคเรียน 2/2563 และเด็กยากจนและยากจนพิเศษ 11,783 คน มีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น โดยสามารถเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาผ่านระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาผ่านระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย (TCAS64) ในสถาบันอุดมศึกษา 69 แห่งทั่วประเทศ
(2) ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome)          มีการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนในด้านการจัดการเรียนรู้และการบริหารภายใน การบริหารจัดการด้านวิชาการ ส่งผลให้สามารถยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้และทักษะความสามารถของนักเรียนกว่า 190,000 คน โดยนักเรียนมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสูงขึ้น รวมทั้งครูและหน่วยจัดการเรียนรู้ได้รับการพัฒนาศักยภาพเพื่อจัดการศึกษาตามความต้องการที่หลากหลายเพื่อคุณภาพของผู้เรียน
(3) การศึกษาทางเลือก (Alternative Education)          เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาใน 20 จังหวัดนำร่อง ได้รับโอกาสในการเรียนรู้ตามศักยภาพและมีโอกาสกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพตามศักยภาพ สำหรับแรงงานนอกระบบได้รับการพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพจิต ทักษะชีวิตด้านการเงิน ทักษะการบริหารจัดการสำหรับศตวรรษที่ 21 และทักษะอาชีพส่งผลให้แรงงานมีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพตามความถนัดเพิ่มขึ้นและศักยภาพที่จะพึ่งพาตนเองในการดำรงชีวิตได้
(4) การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ (Systems Change)          เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ เช่น (1) นวัตกรรมการคัดกรองความยากจน ได้พัฒนาระบบการคัดกรองนักเรียน สร้างแนวทางการค้นหาเด็กนักเรียนยากจนร่วมกับครูในพื้นที่ตามหลักการความเป็นธรรมและโปร่งใส (2) การเปลี่ยนระบบการสนองทุนเพื่อการศึกษา2 โดยมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนโดยตรงซึ่งเป็นการพิจารณาจากความจำเป็นและความต้องการของนักเรียนเป็นรายบุคคล (3) เกิดต้นแบบการทำงานร่วมกันในพื้นที่ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานแบบแยกส่วนมาเป็นการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาสำหรับจังหวัดต้นแบบ โดยให้คนในพื้นที่จากทั้งหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายความร่วมมือในการออกแบบและวางระบบเฉพาะพื้นที่ให้มีโครงสร้างที่สามารถขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนด้วยตนเอง (4) ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ?iSEE? ที่เชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของภาครัฐ 6 กระทรวง3 ครอบคลุมผู้รับประโยชน์ในกลุ่มเด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาส ทำให้การช่วยเหลือตรงตามกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งมีระบบการติดตามนักเรียนทุนรายบุคคลผ่านเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เพื่อให้ความช่วยเหลือเป็นรายบุคคลและใช้ติดตามรายที่หลุดออกจากระบบการศึกษาตั้งแต่ปฐมวัยถึงอุดมศึกษาและ (5) การระดมความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อให้มีส่วนสนับสนุน กสศ. ทั้งในรูปแบบการระดมทุนให้ความช่วยเหลือและระดมความร่วมมือสนับสนุนกว่า 200 องค์กร
                     2. ผลการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินกิจการของ กสศ.
                               2.1 ด้านการใช้จ่ายเงิน พบว่า การใช้จ่ายเงินเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดย กสศ. มีการประเมินความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริต มีมาตรการส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตภายในหน่วยงาน และมีแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตที่ชัดเจน รวมทั้งมีระบบการบริหารจัดการเพื่อยืนยันการจ่ายเงินไปยังระดับรายบุคคลที่มีการเฉพาะเจาะจงซึ่งมีประสิทธิภาพสูงและสามารถตรวจสอบได้ ส่งผลให้ไม่มีการรั่วไหลของเงิน
                               2.2 ด้านการประเมินผลการดำเนินงาน ตามแนวคิดองค์กรสมรรถนะสูง พบ่วา กสศ.             มีคะแนนผลการประเมินในระดับองค์กร เท่ากับ 2.32 คะแนน จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนระดับกลางค่อนข้างสูง โดยมีคะแนนในแต่ละมิติหลัก ดังนี้ มิติที่ 1 ทิศทางและกลยุทธ์ เป็นมิติที่ได้คะแนนสูงสุดที่ 2.93 คะแนน  มิติที่ 2 โครงสร้างและกลไกการบริหารองค์กร ได้ 2.12 คะแนน มิติที่ 3 กระบวนการทำงาน เป็นมิติที่ได้คะแนนต่ำสุดที่ 2.00 คะแนน มิติที่ 4 เครือข่ายความร่วมมือและบุคคล ได้ 2.25 คะแนน และมิติที่ 5 การสื่อสารและการรับรู้ ได้ 2.22 คะแนน
                               2.3 ข้อค้นพบสำคัญจากการประเมินองค์กรสมรรถนะสูง พบว่า กสศ. มีจุดแข็ง คือ               มีการกำหนดทิศทาง กลยุทธ์ และเป้าหมาย โดยมีแผนอย่างเป็นระบบที่สนับสนุนองค์กรให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีโครงสร้างและกลไกการบริหารที่แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในงานแต่ละด้านอย่างชัดเจน มีลักษณะการทำงานแบบองค์กรอิสระ มีความยืดหยุ่นในการตัดสินใจ มีระบบจัดเก็บข้อมูล iSEE และ Q-Info4 ให้การจัดสรรเงินทุนอุดหนุนมีความโปร่งใสสามารถติดตามและตรวจสอบได้ และระบุผู้ได้รับประโยชน์ตามกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนได้โดยไม่มีการรั่วไหลของเงินทุน รวมถึงมีการทำงานร่วมกับภาคีที่หลากหลายเป็นเครือข่ายความร่วมมือ ส่วนจุดที่ควรต้องพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คือ การปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในองค์กรให้เป็นมาตรฐาน การมีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน การพัฒนาฐานข้อมูลดิจิทัล การจัดทำระบบการบันทึกหรือจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลด้วยดิจิทัล การวางแผนอัตรากำลังให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร การเพิ่มช่องทางและการจัดทำระบบการบริหารจัดการความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารและสร้างการรับรู้ให้มากขึ้น
                     3. รายงานข้อจำกัดหรืออุปสรรคของการดำเนินกิจการของ กสศ. ได้แก่ ระดับการบริหารองค์กร พบว่า ตัวชี้วัดในการติดตามผลตามแผนกลยุทธ์บางตัวชี้วัดเป็นเชิงคุณภาพ ทำให้ยากต่อการวัดผล กระบวนการทำงานยังขาดการบูรณาการระหว่างสายงาน จำนวนบุคลากรน้อย และมีอัตราการลาออกค่อนข้างสูง ยังไม่มีการติดตามประเมินผลด้านความเข้าใจและการรับรู้ของบุคลากรเกี่ยวกับกลยุทธ์และนโยบายขององค์กร รวมทั้งยังขาดการจัดการความรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้จากภาคีภายนอกกลับมาสู่บุคลากรภายในองค์กร และระดับการบริหารโครงการ พบว่า บางโครงการมีแผนหรือปฏิทินการดำเนินงานไม่ชัดเจน และบางครั้งมีระยะเวลาจำกัดในการดำเนินกิจกรรม สถานศึกษาบางแห่งขาดแคลนอุปกรณ์ และการใช้ระบบเทคโนโลยีมีข้อจำกัดและไม่เสถียร บางขั้นตอนโดยเฉพาะการคัดกรองเป็นกระบวนการซับซ้อนจึงเกิดความล่าช้า บางโครงการยังขาดการสื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดหรือหลักเกณฑ์แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้ ข้อจำกัดและอุปสรรคทั้งในระดับการบริหารองค์กรและระดับการบริหารโครงการดังกล่าวอยู่ในวิสัยที่ กสศ. สามารถจะปรับปรุงแก้ไขให้สามารถดำเนินการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ตามแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ใน ๙ ด้าน5
                     4. ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อเนื่อง ดังนี้
                               4.1 การเสริมสร้างการบริหารจัดการภายใน (Strengthening Internal Foundation) โดยเริ่มตั้งแต่การทบทวนกระบวนการ กฎระเบียบ และนโยบายภายในสำนักงานและการวางโครงสร้างพื้นฐานของระบบเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานอย่างบูรณาการ รวมถึงการพิจารณาการจัดสรรเงินทุนในรูปแบบเงินสะสมของกองทุนเพื่อใช้จ่ายเงินทุนตามปีการศึกษาเพื่อให้มีความอิสระและคล่องตัวจากเงินงบประมาณ
                               4.2 ความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย (Networking and Partnership) โดยเริ่มตั้งแต่การพัฒนาบุคลากร การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ไปสู่การสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบให้บรรลุผลสำเร็จโดยเน้นการร่วมมือกับภาคเอกชนในด้านต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนเงินทุน การทำกิจกรรมเพื่อสังคมและเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานหลัก เช่น หน่วยงานในระดับอุดมศึกษาเพื่อส่งเสริมให้เด็กยากจนได้เรียนในระดับที่สูงขึ้น
                               4.3 การมุ่งหน้าสู่ความเสมอภาคทางการศึกษา (Supporting Equitable Education) โดยมุ่งเน้นการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ความเท่าเทียมของคุณภาพสถานศึกษาในแต่ละพื้นที่ การสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ การส่งเสริมการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ การคัดกรองที่ครอบคลุมทุกพื้นที่และการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน โดยการขับเคลื่อนองค์กรและการดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อส่งต่อโครงการและนวัตกรรมด้านการศึกษาต้องพิจารณาให้มีแผนการส่งต่อและมีผู้รับผิดชอบโครงการที่ชัดเจน โดยจัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอและสื่อสารทำความเข้าใจกับหน่วยงานหลัก ภาคี และหน่วยงานด้านนโยบายเกี่ยวกับบทบาทและภารกิจในการดำเนินการ
1 เป็นการทบทวนและปรับปรุงแผนแม่บท กสศ. จากเดิม (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2566) และกำหนดเป้าประสงค์ 4 ประการ ให้ชัดเจนมากขึ้น
2 จากเดิมเป็นการให้เงินงบประมาณกับโรงเรียนและจ่ายเงินรายหัวตามจำนวนนักเรียนเพื่อให้โรงเรียนไปจัดการศึกษา (Supply-Side Financing) เพียงอย่างเดียว
3 ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข
4 Q-Info หรือระบบเพิ่มคุณภาพการศึกษาและพัฒนาคุณภาพนักเรียนเป็นนวัตกรรมการศึกษาเพื่อลดภาวะครูและเพิ่มคุณภาพนักเรียนโดยจัดเก็บข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ของนักเรียนได้เกือบจะเรียลไทม์ ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เวลาการมาเรียนของนักเรียนทั้งแบบรายวัน รายวิชา น้ำหนักส่วนสูง ผลการสอบ คะแนนกิจกรรมเพื่อนำไปประเมินผลและสามารถนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงการเรียนของนักเรียนให้ดีขึ้น
5 ประกอบด้วย (1) การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์โดยใช้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อน (2) การประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน (3) การพัฒนากระบวนการทำงาน (4) วิธีใหม่ในการทำงานและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (5) การใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงาน (6) ระบบฐานข้อมูลกลาง (7) การวางแผนอัตรากำลังคน (8) วัฒนธรรมองค์กรในการปรับตัวและรับการเปลี่ยนแปลง และ (9) เครือข่ายความร่วมมือ

ต่างประเทศ

17.  เรื่อง  การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ 2 ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อกรอบท่าทีเจรจาของประเทศไทยสำหรับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ 2 (The Fifteenth meeting of the Conference of the Parties to Convention on Biological Diversity: COP15 Part 2) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงกรอบท่าทีเจรจาดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้พิจารณา โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาใหม่อีกครั้ง รวมทั้งรับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ 2 ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546 และวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 ตามลำดับ โดยมีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานกลางอนุสัญญาฯ ของประเทศ และได้ดำเนินการตามพันธกรณีและเข้าร่วมการประชุมในฐานะภาคีอนุสัญญาฯ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อแสดงถึงบทบาทและการมีส่วนร่วมของประเทศไทยในการดำเนินการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
                    2. กรอบท่าทีเจรจาของประเทศไทยสำหรับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพสมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ 2 เป็นไปตามหลักการของกรอบอนุสัญญาฯ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ นโยบายและแผนของประเทศด้านความหลากหลายทางชีวภาพและที่เกี่ยวข้อง
                    3. องค์ประกอบคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 7 - 19 ธันวาคม 2565 ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ประกอบด้วย เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

18. เรื่อง การประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ครั้งที่ 25
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (Greater Mekong Subregion economic cooperation program: GMS) (แผนงาน GMS) ครั้งที่ 25 ในวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ได้แก่
                              1.1 ร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่ 25
                              1.2 ยุทธศาสตร์ความเท่าเทียมทางเพศ GMS
                              1.3 กรอบการประเมินผลลัพธ์สำหรับกรอบยุทธศาสตร์แผนงาน GMS พ.ศ. 2573
                              1.4 ข้อริเริ่มความร่วมมือเศรษฐกิจดิจิทัล GMS
                              1.5 กรอบการลงทุนของภูมิภาค ฉบับใหม่ พ.ศ. 2568
และเห็นชอบให้ สศช. สามารถปรับปรุงถ้อยคำในแถลงการณ์ร่วมฯ ได้ในกรณีที่มิใช่การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบอีก
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐมนตรีประจำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS Minister หรือรัฐมนตรีประจำแผนงาน GMS) ในการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่ 25 ในวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ณ เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
                    3. เห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายได้ร่วมกับรัฐมนตรีของประเทศลุ่มแม่น้ำโขงให้การรับรองเอกสารตามข้อ 1.1 ? 1.5 โดยไม่มีการลงนาม
                    สาระสำคัญ
                    สปป.ลาว โดยกระทรวงแผนการและการลงทุน ร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (ไทย เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา จีน และเวียดนาม) ครั้งที่ 25 (The 25th  GMS Ministerial Conference) ในระหว่างวันที่ 6 - 8 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมพูลแมน หลวงพระบาง เมืองหลวง             พระบาง ภายใต้หัวข้อหลัก ?การเร่งรัดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเพื่อต่อยอด 30 ปี แห่งความสำเร็จของแผนงาน GMS              ไปสู่การพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน?
          ทั้งนี้ ในการประชุมข้างต้น รัฐมนตรีประจำแผนงาน GMS ของทั้ง 6 ประเทศจะร่วมรับรองเอกสารทั้งหมด   5 ฉบับ ได้แก่
                              1) ร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่ 25 โดยมีสาระสำคัญ เช่น รับทราบความก้าวหน้าของการดำเนินงานสาขาความร่วมมือต่าง ๆ อาทิ ด้านคมนาคม ด้านพลังงาน ด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการท่องเที่ยว ด้านสาธารณสุข และอื่น ๆ รวมถึงรับทราบและให้การรับรองแผนและการดำเนินงานที่มีความก้าวหน้าในประเด็นเชิงบูรณาการ อาทิ การจัดตั้งเครือข่ายองค์ความรู้ของอนุภูมิภาค GMS ความร่วมมือด้านดิจิทัล และการใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจดิจิทัล ยุทธศาสตร์ความเท่าเทียมทางเพศ GMS การย้ายถิ่นของแรงงาน ตลอดจนการดำเนินการในระยะต่อไป โดยเน้นย้ำการสร้างความร่วมมือกับหุ้นส่วนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของอนุภูมิภาคอย่างมั่นคง ยั่งยืน และครอบคลุมภายในปี 2573 และการดำเนินการตามแผนและกรอบการดำเนินงานที่สำคัญสำหรับอนาคต อาทิ กรอบยุทธศาสตร์แผนงาน GMS พ.ศ. 2573 แผนการฟื้นฟูและตอบสนองต่อโควิด-19 พ.ศ. 2564 ? 2566
                              2) ยุทธศาสตร์ความเท่าเทียมทางเพศ GMS โดยมีสาระสำคัญ เน้นย้ำการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ ผ่านการสร้างโอกาสให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในโครงการรายสาขาต่าง ๆ  ภายใต้แผนงาน GMS ให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงมุ่งสร้างทัศนคติที่ดีต่อเพศหญิงอันจะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานภายในของประเทศสมาชิกแผนงาน GMS รวมถึงเป็นการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 5 ความเสมอภาคระหว่างเพศและเสริมพลังแก่สตรีและเด็กหญิงทุกคน โดยได้ระบุประเด็นเชิงบูรณการ อาทิ การประสานเศรษฐกิจมหาภาค การเคลื่นย้ายแรงงานและการโยกย้ายถิ่นฐานอย่างปลอดภัย การศึกษาและทักษะ เขตเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล
                               3) กรอบการประเมินผลลัพธ์สำหรับกรอบยุทธศาสตร์แผนงาน GMS พ.ศ. 2573 โดยสาระสำคัญ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบในการติดตามและประเมินผลในการบรรลุวิสัยทัศน์ GMS 2030 คือ ?อนุภูมิภาคที่มีการบูรณาการ มั่งคั่ง ยั่งยืน และครอบคลุมมากขึ้น? โดยได้กำหนดตัวชี้วัดใน 3 ระดับ คือ (1) ระดับที่ 1 ความก้าวหน้าในการบรรดุวิสัยทัศน์ที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับการประเมินผลการพัฒนาของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในภาพรวม ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะผลลัพธ์การดำเนินงานของแผนงาน GMS ที่มีต่ออนุภูมิภาคเพียงแผนงานเดียว (2) ระดับที่ 2 ประเมินผลระดับโครงการภายใต้สามเสาหลักของวิสัยทัศน์แผนงาน GMSพ.ศ. 2573 [การเชื่อมต่อ (connectivity) ความสามารถในการแข่งขัน (competitiveness) และชุมชน (community)] และ (3) ระดับที่ 3 ประเมินปัจจัยนำเข้าในมิติด้านงบประมาณ การสนับสนุนองค์ความรู้ และกลไกเชิงสถาบันที่ ADB ได้ให้ความร่วมมือในระดับโครงการภายใต้แผนงาน GMS
                              4) ข้อริเริ่มความร่วมมือเศรษฐกิจดิจิทัล GMS สาระสำคัญ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้า เร่งการเชื่อมต่อด้านดิจิทัล ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล เร่งการพัฒนาระบบการเงินดิจิทัล ปรับปรุงความครอบคลุมทางดิจิทัล และพัฒนาการกำกับดูแลด้านดิจิทัลขั้นสูง โดยได้ระบุถึงแนวทางการดำเนินการต่อไป คือ การจัดทำโครงการวิจัยเรื่องการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลใน GMS เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน แสวงหาโอกาส และระบุถึงความท้าทายของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลใน GMS และได้นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลใน GMS อย่างครอบคลุม การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลให้เกิดประโยชน์สูงสุด และส่งเสริมการนำดิจิทัลไปใช้เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและครอบคลุมทั้งในระดับชาติและระดับอนุภูมิภาค
                              5) กรอบการลงทุนของภูมิภาค ฉบับใหม่ พ.ศ. 2568 (RIF 2025) โดยสาระสำคัญได้ดำเนินการพัฒนาเกณฑ์ของกรอบการลงทุนอนุภูมิภาคฉบับใหม่โดยให้ความสำคัญกับการคัดเลือกโครงการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีแหล่งเงินทุนที่ชัดเจน ตลอดจนมีความสอดคล้องกับลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์และการดำเนินงานของกรอบยุทธศาสตร์แผนงาน GMS พ.ศ. 2573 โดยอ้างอิงตามหลักเกณฑ์การจัดทำโครงการแบบใหม่ (หลักเกณฑ์ที่คาดหวัง หรือ Aspirational Criteria) เช่น เป็นโครงการที่สนับสนุนการพัฒนาเชิงพื้นที่ เป็นโครงการที่มุ่งบรรเทาหรือขจัดความยากจน เป็นโครงการที่ส่งเสริมความเป็นดิจิทัล ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความสนใจให้และนำไปสู่การให้เงินทุนร่วมในการพัฒนโครงการจากภาคส่วนต่าง ๆ โดยผลการดำเนินงานตามกรอบการลงทุนของภูมิภาค พ.ศ. 2565 (RIF2022) มีโครงการ จำนวนกว่า 130 โครงการ (จากโครงการทั้งหมด 205 โครงการ) และมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 5.9 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. (ร้อยละ 76ของเงินลงทุนรวมในโครงการ RIF2022) ได้ดำเนินการแล้วเสร็จหรือได้เริ่มมีการลงทุนแล้ว ทั้งนี้ โครงการมูลค่าลงทุนสูงของไทยที่ได้เริ่มดำเนินการและเข้าสู่กลไกงบประมาณแล้ว ได้แก่ โครงการพัฒนารถไฟทางคู่ในประเทศ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 และโครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
                    ทั้งนี้ การเข้าร่วมประชุมตามที่ สศช. เสนอในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในด้านต่าง ๆ อาทิ (1) สร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างประเทศในการเข้ามาลงทุนในสาขาที่มีศักยภาพเชื่อมต่อห่วงโซ่มูลค่ากับประเทศเพื่อนบ้าน (2) เป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะนำเสนอความก้าวหน้าของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านโลจิติกส์ของอนุภูมิภาค และ (3) เป็นโอกาสในการหารือแนวทางการแก้ปัญหาและขจัดข้อจำกัดในการพัฒนาด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหาทางด้านสาธารณสุข การศึกษา และการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามพรมแดน เป็นต้น

19.  เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 13 - 16 กันยายน 2565 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี                  (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ ผ่านระบบการประชุมทางไกล [คณะรัฐมนตรีมีมติ (13 กันยายน 2565) เห็นชอบร่างเอกสารสำหรับการประชุมฯ และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ให้การรับรองในเอกสารสำหรับ               การประชุมดังกล่าว] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. การประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 ที่ประชุมฯ ได้รับทราบผลการดำเนินงานที่             ผ่านมาและการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านพลังงานอาเซียน ระยะที่ 2 พ.ศ. 2564 - 2568 รวมทั้งได้รับรองถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 ด้วยแล้ว สรุปได้ ดังนี้
ด้าน          รายละเอียด
(1) การเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (รวม 16 โครงการ สถานะ ณ เดือนกันยายน 2564)          - มีกำลังไฟฟ้าที่ถ่ายเทระหว่างประเทศสมาชิกรวม 26,644 - 30,114 เมกะวัตต์
- ดำเนินโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไทย มาเลเชีย สาธารณรัฐ
สิงคโปร์ได้สำเร็จ โดยกำหนดปริมาณการซื้อ-ขายไฟฟ้าสูงสุดที่ 100 เมกะวัตต์ชั่วโมง ระหว่างปี 2565 - 2566
- ส่งเสริมให้มีการศึกษารูปแบบการซื้อขายไฟฟ้าพหุภาคีและพัฒนาแผนเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้าที่สามารถใช้พลังงานหมุนเวียนได้อย่างเหมาะสมต่อไป
(2) การเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซอาเซียน          มุ่งเน้นการพัฒนาตลาดก๊าชร่วมสำหรับภูมิภาค                       การขยาย การเชื่อมโยงและการเข้าถึงก๊าชธรรมชาติ                  การติดตามความคืบหน้าในการพัฒนาท่อส่งก๊าซข้ามพรมแดน และการขยายอายุข้อตกลงความมั่นคงทางปิโตรเลียมอาเซียน เป็นต้น
(3) ถ่านหินและเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด          จัดการประชุมหารือเชิงนโยบายเกี่ยวกับถ่านหินสะอาดของผู้แทนระดับสูงอาเซียน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 เพื่อรวบรวมแนวทางและนโยบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด และเทคโนโลยีการดักจับ การกักเก็บ และการใช้ประโยชน์คาร์บอน เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินการด้านถ่านหินของอาเซียนให้เป็นทิศทางเดียวกัน รวมทั้งศึกษาแผนที่นำทางและกรอบการพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับฯ สำหรับอาเซียน
(4) ประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน          เช่น ความคืบหน้าของการศึกษาเกี่ยวกับสถานะและขีดความสามารถด้านประสิทธิภาพและการอนุรักษ์
พลังงานในภาคขนส่งและอุตสาหกรรมของอาเซียน                    ข้อริเริ่มการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงานในภาคไฟฟ้าและสถานะของการลดความเข้มของการใช้พลังงานในภูมิภาค ปี 2563 โดยอาเซียนสามารถบรรลุเป้าหมายคิดเป็นร้อยละ 22.3 จากการตั้งเป้าหมายว่าทั้งภูมิภาคจะต้องลดค่าความเข้มของการใช้พลังงานให้ได้ร้อยละ 32 ในปี 2568
(5) พลังงานหมุนเวียน          - การเปิดตัวรายงานทิศทางพลังงานหมุนเวียนในอาเซียน ฉบับที่ 2 โดยวิเคราะห์ทิศทางและสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน ในอาเซียนตามนโยบายของแต่ละประเทศ และการคาดการณ์ประเภทของพลังงานหมุนเวียนที่จะมีบทบาทสำคัญในภูมิภาค รวมทั้งข้อเสนอแนะแนวทางเพื่อให้อาเซียนสามารถบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
- สถานะของการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนของอาเซียน โดยในปี 2563 สัดส่วนพลังงานทดแทนเมื่อเทียบกับปริมาณพลังงานทั้งหมดที่ผลิตได้ของอาเซียนอยู่ที่ร้อยละ 14.2 ซึ่งอาเซียนตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 23 ในปี 2568 และสัดส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเมื่อเทียบกับปริมาณกำลังการผลิตติดตั้งของโรงไฟฟ้าทั้งหมดที่ร้อยละ 33.5 ซึ่งอาเซียนตั้งเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 35 ในปี 2568
(6) นโยบายและแผนพลังงานของภูมิภาค          การขับเคลื่อนและผลักดันนโยบายและการวางแผนด้านพลังงานของอาเซียน การวิเคราะห์ข้อมูล การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรระหว่างประเทศและประเทศคู่เจรจา การส่งเสริมการลงทุน ตลอดจนการดำเนินการและติดตามการปฏิบัติงานของแต่ละสาขาความร่วมมือด้านพลังงานของอาเซียน ทั้งนี้ ในปี 2565 ได้มีการหารือข้อริเริ่มความร่วมมือระหว่างอาเซียนในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสกับองค์กรระหว่างประเทศได้แก่ สหภาพยุโรปและธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในอาเซียนอย่างยั่งยืนและพัฒนาทางการเงิน
(7) พลังงานนิวเคลียร์เพื่อประชาชน          มุ่งเน้นความร่วมมือในระดับภูมิภาคและนานาชาติ การเสริมสร้างศักยภาพบนกรอบกฎหมายและกฎระเบียบข้อบังคับด้านนิวเคลียร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ และความร่วมมือในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ประชาชนและการเสริมสร้างความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ โดยมีการดำเนินการที่สำคัญ เช่น การสนับสนุนทุนการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์และเทคโนโลยีแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนจากมหาวิทยาลัยซิงหัว สาธารณรัฐประชาชนจีน
                    2. การประชุมอื่น ๆ และการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง
                              2.1 การประชุมรัฐนตรีพลังานอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 19 มุ่งเน้นความร่วมมือด้านความมั่นคงทางพลังงาน ตลาดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ พลังงานหมุนเวียน ประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานสะอาด และการแลกเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีใหม่เกี่ยวกับพลังงานผ่านโครงการต่าง ๆ โดยในปี 2565 ได้มีการประชุมที่สำคัญ เช่น การประชุมเวทีหารือความมั่นคงทางพลังงานครั้งที่ 19 การประชุมเวทีพลังานหมุนเวียน ประสิทธิภาพพลังงาน และการอนุรักษ์พลังงาน ครั้งที่ 16 และการประชุมโต๊ะกลมพลังงานสะอาดอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 5 ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้รับรองถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 19                   ด้วยแล้ว
                              2.2 การประชุมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 16 รับทราบความคืบหน้าของกิจกรรมภายใต้ 3 แผนงาน ได้แก่ แผนงานด้านประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน แผนงานด้านเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อการขนส่งและวัตถุประสงค์อื่น ๆ และแผนงานด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทน รวมทั้งได้หารือเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาพลังงานเพื่อความมั่นคงทางพลังงานเละการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้นำเสนอแนวทางการจัดทำแผนพลังงานชาติเพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ ใน ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ใน                   ค.ศ. 2065 รวมทั้งได้แสดงวิสัยทัศน์ในการส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศในกลุ่มอาเซียนและประเทศกลุ่มเอเชียตะวันออกเพื่อสนับสนุนความมั่นคงทางพลังงานและการเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงานในภูมิภาคร่วมกันในสภาวะวิกฤตทางพลังงานปัจจุบัน ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้รับรองถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 16 ด้วยแล้ว
                              2.3 การประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนกับทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ ครั้งที่ 8 ทบวงการพลังงานระหว่างประเทศคาดการณ์ว่า การลงทุนด้านพลังงานจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 อยู่ที่ระดับ 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉพาะเทคโนโลยีพลังงานสะอาดและโครงสร้างพื้นฐานพลังงานหมุนเวียน การเสริมสร้างประสิทธิภาพพลังงาน และยานยนต์ไฟฟ้า แต่ยังไม่เร็วพอที่จะก้าวข้ามผ่านวิกฤตพลังงานในปัจจุบัน นอกจากนี้ การเติบโตอย่างรวดเร็วของความต้องการใช้พลังงานสะอาดจะเป็นการสร้างโอกาสที่สำคัญแก่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีแหล่งแร่สำคัญและมีความสามารถในการผลิตเพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมในอนาคต
                              2.4 การประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนกับทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ ครั้งที่ 6 การจัดทำรายงานทิศทางของพลังงานหมุนเวียนในอาเซียน ฉบับที่ 2 พบว่า อาเซียนจะเพิ่มความพยายามเพื่อมุ่งไปสู่การลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานใน ค.ศ. 2050 ลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับการดำเนินการตามแผนพลังงานตามปกติในปัจจุบันและจะมีการใช้พลังงานชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลมเพิ่มขึ้น อีกทั้งเชื้อเพลิงไฮโดรเจนจะมีบทบาทสำคัญในภาคอุตสาหกรรม
                              2.5 การประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาได้ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดและเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน โดยกำหนดเป้าหมายที่จะให้มีการจำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศให้ได้ร้อยละ 50 ภายใน ค.ศ. 2030 และผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดให้ได้ร้อยละ 100 ภายใน ค.ศ. 2035 เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายใน ค.ศ. 2050 ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาได้นำเสนอโครงการ Southeast Asia Smart Power Program ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโครงการด้านพลังงานสะอาดในภูมิภาคและยกระดับการเชื่อมโยงทางพลังงานและส่งเสริมการค้าพลังงานแบบพหุภาคีในภูมิภาคอีกด้วย
                              2.6 การประชุมระดับรัฐมนตรีพลังงานของการประชุมโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง สปป. ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ครั้งที่ 3 รัฐมนตรีพลังงานทั้ง 4 ประเทศได้ให้การรับรองถ้อยแถลงร่วมของการประชุมโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าฯ โดยริเริ่มการซื้อ-ขายไฟฟ้าพหุภาคีข้ามพรมแดนที่ใช้การเชื่อมต่อโครงข่ายที่มีอยู่ของแต่ละประเทศเป็นระยะเวลา 2 ปี ระหว่างปี 2565 - 2566 เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและการบูรณาการพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาค
                              2.7 การประกาศผลรางวัลดีเด่นด้านพลังงานอาเซียน ประจำปี 2565 ไทยมีผู้รับรางวัลทั้งสิ้น 23 รางวัล ใน 4 ประเกท ดังนี้ (1) ประเภทการบริหารจัดการพลังงานในอาคารและภาคอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม จำนวน 3 รางวัล (2) ประเภทอาคารอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 5 รางวัล (3) ประเภทโครงการด้านพลังงานหมุนเวียน 12 รางวัล และ (4) รางวัลประกาศเกียรติคุณบุคคลดีเด่นด้านพลังงานในอาเซียน ประจำปี 2565 จำนวน 3 รางวัล
                    3. บทบาทของไทยและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการประชุม ไทยได้แสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานในปัจจุบันว่า อาเซียนต้องคำนึงถึงความสำคัญในการจัดหาพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการ การมีเสถียรภาพ มีราคาที่หาซื้อได้และยั่งยืน และมุ่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานจากแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลสู่พลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้น โดยไทยยินดีให้การสนับสนุนในสาขาความร่วมมือต่าง ๆ รวมถึงกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาและองค์กรระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ไทยได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการเสริมสร้างความร่วมมือด้านพลังงานในภูมิภาคกับประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจา และองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาภาคพลังงานของไทยต่อไป

20. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM) ครั้งที่ 54 และ             การประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM) ครั้งที่ 54 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 14 - 18 กันยายน 2565 ณ จังหวัดเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ (นายสรรเสริญ                สมะลาภา) เข้าร่วมประชุม [คณะรัฐมนตรีมีมติ (6 กันยายน 2565) เห็นชอบร่างเอกสารที่จะมีการลงนามรับรอง     และให้ความเห็นชอบในการประชุม AEM และการประชุมที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายให้ รองนายกรัฐมนตรี          และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนามและรับรองเอกสารตามที่เสนอ]                             สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ผลการประชุม AEM ครั้งที่ 54 สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 ดำเนินการเกี่ยวกับประเด็นด้านเศรษฐกิจที่กัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จในปี 2565 (Priority Economic Deliverables: PEDs) แล้วเสร็จ 4 ประเด็น จาก 9 ประเด็น เช่น การประกาศการเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยการแข่งขันของอาเซียน การจัดทำแผนงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการประกาศเริ่มการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน ทั้งนี้ มีประเด็นใน PEDร ที่ดำเนินการเสร็จแล้วในสาระสำคัญ 1 ประเด็น คือ ความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาของอาเซียน ซึ่งได้ขอให้สมาชิกอาเซียนเร่งดำเนินการเพื่อให้ AEM สามารถลงนามพิธีสารเพื่อแก้ไขความตกลงฯ ได้ภายในปี 2565
                              1.2 มอบหมายให้สมาชิกอาเซียนเร่งดำเนินการเพื่อให้สามารถลงนามความตกลงเพื่อขยายอายุและแก้ไขบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการดำเนินการมาตรการที่มิใช่ภาษีสำหรับสินค้าจำเป็นภายใต้แผนปฏิบัติการฮานอยว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานของอาเซียนให้เข้มแข็งในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และบัญชีรายการสินค้าจำเป็นภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ (สิ้นสุดในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2565) ให้แล้วเสร็จภายในปี 2565 รวมทั้งให้พิจารณารายการสินค้าเพิ่มติมเพื่อให้มีรายการสินค้าจำเป็นที่สมาชิกอาเซียนเห็นชอบร่วมกัน อย่างน้อย 100 รายการ
                              1.3 มอบหมายให้คณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกำกับดูแลการจัดทำองค์ประกอบหลักของวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ภายหลังปี 2568 ในส่วนของเสาเศรษฐกิจให้ครอบคลุม กระชับ ชัดเจน มียุทธศาสตร์ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยคำนึงถึงแนวโน้มและความท้าทายใหม่ ๆ เพื่อเสนอผู้นำอาเซียนให้การรับรองต่อไป
                              1.4 รับทราบแผนการจัดทำความตกลงกรอบเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2566 และคาดว่าอาเซียนจะสามารถเริ่มต้นเจรจาความตกลงฯ ได้ในช่วงปลายปี 2566 หรือ              ต้นปี 2567
                              1.5 รับทราบผลการประเมินของคณะค้นหาความจริงเยือนติมอร์-เลสเต ของเสาเศรษฐกิจ ซึ่งมีข้อกังวลด้านความเข้าใจในกระบวนการทำงานของอาเซียน ความรู้เชิงเทคนิค และทักษะการเจรจ จึงเสนอโครงการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อการเข้าสู่อาเซียนของติมอร์-เลสเต และเพิ่มจำนวนกิจกรรมและการประชุมในกรอบอาเซียนที่ติมอร์-เลสเตเข้าร่วมได้เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ
                    2. การประชุมคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน ครั้งที่ 36 สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 เห็นชอบบัญชีกฎเฉพาะรายสินค้า บัญชีรายการสินค้าสิ่งทอ และบัญชีรายการสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียนในระบบพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียน ฉบับ ค.ศ. 2022 และให้เร่งดำเนินการเพื่อให้สามารถบังคับใช้ได้ภายในวันที่ 1 เมษายน 2566
                              2.2 เห็นชอบเอกสารข้อเสนอแนวทางการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement: ATIGA) โดยไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะเจรจายกระดับความตกลง ATIGA ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 - 30 กันยายน 2565 ณ จังหวัดกระบี่ และตั้งเป้าสรุปผลการเจรจาฯ ให้ได้ภายใน 2 ปี
                              2.3 กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเรียกร้องให้ไทยหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้นำเข้าทั่วไปสามารถนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ตลอดทั้งปี ซึ่งไทยแจ้งว่าได้แก้ปัญหาอย่างต่อเนื่องและมีการปรับกฎระเบียบให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
                    3. การประชุมคณะรัฐมนตรีเขตการลงทุนอาเซียน ครั้งที่ 25 มอบหมายให้คณะกรรมการประสานงานด้านการลงทุนของอาเซียนจัดทำพิธีสารเพื่อแก้ไขความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน ฉบับที่ 5           ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายภายในปี 2566
                    4. การหารือของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค สรุปได้ ดังนี้

การหารือ          สาระสำคัญ
อาเซียน-จีน          - เห็นชอบ (1) ผลการศึกษาการยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ซึ่งครอบคลุมการเปิดเสรีเพิ่มเติมด้านการค้าสินค้า ด้านการลงทุนและการคุ้มครองการลงทุน และการขยายสาขาความร่วมมือต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจสีเขียว และ (2) แผนงานว่าด้วยการขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าอาเซียน-จีนในเชิงลึก ปี 2565 ? 2569
- รับรองแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังโควิด
- รับทราบข้อริเริ่มอาเซียน-จีนในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
อาเซียน-อินเดีย          เห็นชอบเอกสารขอบเขตการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย และประกาศจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย เพื่อเป็นกลไกการทบทวนความตกลงฯ โดยมุ่งหวังให้มีการเปิดตลาดเพิ่มเติม และปรับกฎระเบียบให้สอดคล้องกับสถานการณ์การค้า และเอื้อต่อการอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจ
อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์          รับทราบความคืบหน้าการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ซึ่งมีความคืบหน้าร้อยละ 80 และยืนยัน                           การประกาศสรุปผลการเจรจายกระดับความตกลงฯ อย่างมีนัยสำคัญภายในปีนี้
อาเซียน-เกาหลีใต้          รับทราบความคืบหน้าการศึกษาร่วมเพื่อยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลีใต้
อาเซียน-แคนาดา          รับทราบความคืบหน้าการเจรจาความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดารอบแรก ซึ่งได้หารือขอบเขตโครงสร้างข้อบทและประเด็นเจรจาต่าง ๆ เช่น การค้าสินค้าและบริการ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการแข่งขันทางการค้า นอกจากนี้ จะเร่งหารือประเด็นการค้าใหม่ ๆ เช่น แรงานและสิ่งแวดล้อม
ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP)          รับทราบสถานะล่าสุดของการมีผลใช้บังคับความตกลง RCEP โดยฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียอยู่ระหว่างดำเนินการภายในเพื่อให้สัตยาบันความตกลงฯ นอกจากนี้ ให้จัดตั้งสำนักเลขาธิการ RCEP ในระยะแรกในรูปแบบหน่วยงานพิศษภายใต้สำนักงานเลขาธิการอาเซียน และให้คณะกรรมการร่วม RCEP เร่งสรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกลไกการสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้สามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในปี 2566
                    5. การหารือระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน มีการแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นการเปลี่ยนผ่านอาเซียนสู่ความเป็นดิจิทัล การส่งเสริมความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน การพัฒนาทักษะและเสริมทักษะใหม่ ๆ และการพัฒนาขีดความสามารถของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro, Small & Medium Enterprises: MSMEs)
                    6. การหารือของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก เพื่อขยายความร่วมมือระหว่างอาเซียนและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO) ให้ครอบคลุมการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อขยายธุรกิจ Startups และ MSMEs และเห็นชอบการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนและ WIPO เพื่อเป็นกรอบส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์ร่วมกัน
                    7. การหารือทวิภาคีระหว่างไทยกับประเทศคู่เจรจาต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้
การหารือ          สาระสำคัญ
ไทย-ติมอร์-เลสเต          ติมอร์-เลสเตขอรับการสนับสนุนการสมัครเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนและองค์การการค้าโลก นอกจากนี้ ผลการพิจารณาบันทึกความตกลงว่าด้วยการค้าข้าวรัฐต่อรัฐระหว่างไทยกับติมอร์-เลสเต อยู่ระหว่างการพิจารณาในขั้นตอนสุดท้าย
ไทย-นิวซีแลนด์          นิวซีแลนด์ขอบคุณไทยสำหรับการปรับปรุงเงื่อนไขการนำเข้าหอมหัวใหญ่ซึ่งทำให้สามารถส่งออกมายังไทยได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 และขอให้ไทยสนับสนุนการเปิดปรับปรุงข้อบทการระงับข้อพิพาทด้านการลงทุนระหว่างรัฐภาคีกับนักลงทุน (Investor-State Dispute Settlement: ISDS) ภายใต้ความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (Agreement Establishing the ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Area: AANZFTA) เพื่อให้สมาชิกสามารถเลือกผูกพัน ISDS ได้ตามความสมัครใจ นอกจากนี้ ไทยขอให้นิวซีแลนด์สนับสนุนการลงคะแนนเสียงให้ไทยในการสมัครเป็นเจ้าภาพจัดงานเอ็กซ์โปวาระพิเศษ ในปี 2571 ด้วย
ไทย-ออสเตรเลีย          อสเตรเลียขอให้ไทยสนับสนุนการเปิดปรับปรุง ISDS เช่นเดียวกับนิวซีแลด์ และเพิ่มเรื่องการคัดกรองและการระงับข้อพิพาทโดยไม่อยู่ภายใต้กลไกการระงับข้อพิพาทภายใต้ความตกลง AANZFTA และการสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าแบบเต็มส่วน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นควรมีการลงนามเอกสารยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในการประชุมรัฐมนตรีเอเปค เดือนพฤศจิกายน 2565 ณ กรุงเทพมหานคร
ไทย-รัสเซีย          ผลักดันให้การค้าทั้งสองฝ่ายขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเน้นสินค้าเกษตรและอาหาร พลังงาน ปุ๊ย และยางพารา เป็นต้น
ไทย-คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasian Economic Commission: EEC)          EEC เสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างไทย-EEC ครั้งที่ 3 ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 -มกราคม 2566 ณ กรุงมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย

ไทย-ฮ่องกง          หารือแนวทางความร่วมมือด้านธุรกิจบริการดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อภาพยนตร์ และฮ่องกงขอให้ไทยสนับสนุนการเป็นสมาชิก RCEP ซึ่งฮ่องกงได้ยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ต่อสำนักเลขาธิการอาเซียนแล้ว

                    8. ความเห็นและข้อสังเกต ในช่วงที่ผ่านมาอาเซียนดำเนินการเกี่ยวกับการตอบสนองต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก โดยให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของอาเซียนไปสู่ยุคดิจิทัลและการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต เช่น การจัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจดิจิทัลและกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนของอาเซียน รวมทั้งให้ความสำคัญเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการสร้างแนวทางใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน เช่น ด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี ทรัพยากรมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตระหนักถึงแนวโน้มการค้ายุคใหม่ โดยมีการผนวกประเด็นการค้าใหม่ ๆ ในการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีของอาเซียนและอาเซียนกับคู่เจรจา เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง แรงงาน สิ่งแวดล้อม การค้าดิจิทัล และเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าและเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีให้มากขึ้นเพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 และรักษาสถานะการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานโลกของอาเซียนได้

แต่งตั้ง
21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                   (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง นายพงศธร ศิริอ่อน วิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ กรมชลประทาน ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านสำรวจและหรือออกแบบ) (วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                    1. นางสาวทัศนีย์ พิศาลรัตนคุณ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายและยุทธศาสตร์                    (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ) สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                ที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2565
                     2. นายวิทวัต ปัญจมะวัต ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการระดับสูง) สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2565
                    3. นายนิติ นาชิต ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการระดับสูง) สำนักงานมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2565
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเกทบริหารระดับสูง  (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการ               พลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
                    1. นายโวสิต วรทรัพย์ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกาฐมาณฑุ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด ราชอาณาจักรสเปน
                    2. นางสาวลดา ภู่มาศ กงสุลใหญ่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้  สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการ
ให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศทั้งสองรายดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ

24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
                        คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ  แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 8 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
                    1. นางชญานันท์ ภักดีจิตต์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง              รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    2. นายพิชิต สมบัติมาก ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                  รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    3. นายชีวะภาพ ชีวะธรรม รองอธิบดีกรมป่าไม้ ดำรงตำแหน่ง  ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    4. นางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    5. นางภาวินี ณ สายบุรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    6. นายนิพนธ์ จำนงสิริศักดิ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    7. นายวันชัย จริยาเศรษฐโชค รองอธิบดีกรมป่าไม้ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    8. นายสิทธิชัย เสรีส่งแสง รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

25. เรื่อง  การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายโสภณ                 เมฆธน เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีอีกหนึ่งวาระ  โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม  2565


26. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต จำนวน 5 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระ        สองปี เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ดังนี้
                    1. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 2 คน ได้แก่
                              1.1 ศาสตราจารย์สหธน รัตนไพจิตร
                              1.2 นางสุนทรีย์ ส่งเสริม
                    2. ด้านการเงินการธนาคาร จำนวน 1 คน ได้แก่ นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี
                    3. ด้านคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 คน ได้แก่ นางประราลี รัตน์ประสาทพร
                    4. ผู้แทนผู้ประกอบการด้านธุรกิจภาคเอกชน  จำนวน 1 คน ได้แก่ นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป

27.  เรื่อง  การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพลังงาน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ แต่งตั้งข้าราชการประเภทบริหารระดับสูง  เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง จำนวน 5 ราย ดังนี้
                    1. นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อำนวยการสำนักงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน
                    2. นายสมภพ พัฒนอริยางกูล ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน
แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน
                    3. นายเรืองเดช ปั่นด้วง  รองอธิบดี กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน                   กระทรวงพลังงาน แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน
                    4. นายวรากร พรหโมบล รองอธิบดี กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน
                    5. นายอนิรุทธิ์ ธนกรมนตรี รองอธิบดี กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง นายสัมพันธ์  เย็นสำราญ  ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป

29. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 306/2565 เรื่อง  แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการ            แทนนายกรัฐมนตรี และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 306/2565 เรื่อง  แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้                             รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนายกรัฐมนตรี และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 237/2563 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 นั้น
          อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550  มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน                พ.ศ. 2534 จึงให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3  แห่งคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 237/2563 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
          ?ส่วนที่  3  นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทน กรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
          1. ในกรณีที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา  นาคาศัย) ไม่อยู่หรือไม่อาจ
ปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายธนกร  วังบุญคงชนะ) ปฏิบัติราชการแทน
          2. ในกรณีที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายธนกร  วังบุญคงชนะ) ไม่อยู่หรือไม่อาจ
ปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา  นาคาศัย)
ปฏิบัติราชการแทน?
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป

30.เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 307/2565 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้                   รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 307/2565 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 238/2563 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 นั้น
เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม อาศัยอำนาจ   ตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534   ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 (2) และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 38  แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่ง สำนักนายกรัฐมนตรี                           ที่  238/2563 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 ดังนี้
          1.          ให้ยกเลิกข้อ 7.1.1 และข้อ 7.2 แห่งคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 238/2563  ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563
          2.          มอบหมายและมอบอำนาจให้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายธนกร  วังบุญคงชนะ) ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                    2.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
-          กรมประชาสัมพันธ์
2.2          การมอบหมายให้กำกับรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
                    -          บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป

31. เรื่อง  คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 308/2565 เรื่อง  แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้                   รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการ             ต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 308/2565 เรื่อง  แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
                    ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 239/2563 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้                          รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 นั้น
          อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5)
พ.ศ. 2545 มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 239/2563 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 ดังนี้
          1.  ให้ยกเลิกข้อ 2.2.1 แห่งคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 239/2563 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563
          2.           มอบหมายและมอบอำนาจให้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป

32. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 309 /2565 เรื่อง  แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ  ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 309 /2565 เรื่อง  แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ  ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี                                        ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 240/2563 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 นั้น                                        เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม อาศัยอำนาจ
ตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 240/2563 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 ดังนี้
          ข้อ 1          ให้ยกเลิกข้อ 7.2.3 ข้อ 7.2.6 ข้อ 7.4.1 ข้อ 7.4.3 ข้อ 7.4.6 ข้อ 7.4.7 และข้อ 7.4.9  แห่งคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 240/2563 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563
          ข้อ 2          มอบหมายให้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายธนกร วังบุญคงชนะ) ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
          2.1          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    2.1.1          กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัด
                              ชายแดนภาคใต้
                    2.1.2          กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
          2.2          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
2.2.1           รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
2.2.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
2.2.3          รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
2.2.4          รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการสร้างเสริมกิจการ
เพื่อสังคมแห่งชาติ
2.2.5          รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ