สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 มกราคม 2566

ข่าวการเมือง Tuesday January 10, 2023 17:49 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (10 มกราคม 2566)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ                                                   มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ และการคุมขังฉุกเฉิน พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่ง                                                  ปลูกสร้าง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง                                             พ.ศ. 2562
                    3.           เรื่อง           การขอขยายระยะเวลาในการออกกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในหมวด 4 การ                                        จัดสรรน้ำและการใช้น้ำ แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 รวม 3 ฉบับ
                    4.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติ                                                  ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 หมวด 4 การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ มาตรา 45                                                        และมาตรา 50
                    5.          เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    6.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตตาม                                                  กฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    7.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดชนิดและลักษณะของแสตมป์สรรพสามิตและเครื่องหมาย                                        แสดงการเสียภาษีของทางราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    8.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลา                                        การใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนด                                        เขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่ว                                        ป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอ                                        เกาะยาว จังหวัดพังงา พ.ศ. 2559
เศรษฐกิจ-สังคม
                    9.           เรื่อง           รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2565
                    10.           เรื่อง            มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2565
                    11.           เรื่อง           กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการ                                        อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรอบวงเงินงบประมาณด้าน                                                  วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567                                                   และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
                    12.           เรื่อง           รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3/2565 และแนวโน้มไตรมาสที่                                         4/2565 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนตุลาคม 2565
                              13.          เรื่อง          สรุปผลการประชุมมอบนโยบายเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอก                                        ควัน และฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคเหนือ ปี 2566
                    14.           เรื่อง           ผลการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุน (โดยวิธีการอนุญาต) สำหรับ                                                  โครงการพัฒนาปรับปรุงท่าเรือสงขลา รวมทั้งการสนับสนุนงบประมาณให้แก่กรม                                        เจ้าท่าในการขุดลอกและบำรุงรักษาความลึกของร่องน้ำสงขลา
                    15.          เรื่อง          การกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2566
                    16.           เรื่อง           การจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร กรณีกองทุนประกัน                                        ชีวิตและกองทุนประกันวินาศภัย

                    17.           เรื่อง           วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ต่างประเทศ
                    18.           เรื่อง           ผลการประชุมกรอบความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ                                                  ระหว่างไทยและสิงคโปร์ (Singapore-Thailand Enhanced Economic                                                   Relationship: STEER) ครั้งที่ 6 และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    19.           เรื่อง            ขอความเห็นชอบการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ CTBTO On-site inspection                                         Regional Introductory Course (OSI-RIC24)

แต่งตั้ง
                    20.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ
                    21.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์                                        แห่งชาติ
                    22.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่ง                                        ประเทศไทย
                    23.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
                    24.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง                                               ของมนุษย์)




?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ และการคุมขังฉุกเฉิน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมตีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ และการคุมขังฉุกเฉิน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ยธ. เสนอว่า
                    1. เนื่องจากผู้กระทำความผิดอาญาที่เกี่ยวข้องกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรงบางประเภท เช่น การข่มขืนกระทำชำเรา การกระทำความผิดทางเพศกับเด็ก การฆาตกรรม การทำร้ายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัสรวมทั้งการนำตัวบุคคลไปเรียกค่าไถ่ เมื่อถูกจำคุกจนพ้นโทษและได้รับการปล่อยตัวสู่สังคมแล้วถึงแม้ว่าจะมีการติดตามจากเจ้าหน้าที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจบ้าง   แต่ไม่มีสภาพบังคับเป็นกฎหมายและไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ผู้กระทำความผิดเหล่านี้ส่วนหนึ่งยังไม่มีแนวโน้มที่จะกระทำความผิดในรูปแบบเดียวกันหรือรูปแบบใกล้เคียงกันซ้ำอีก
                    2. ต่อมาจึงได้มีพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 วันที่ 25 ตุลาคม 2565 [ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (23 มกราคม 2566)] กำหนดให้มีมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษและการคุมขังฉุกเฉิน เพื่อป้องกันสังคมและผู้เสียหายจากการกระทำผิดที่อาจเกิดขึ้นอีก และเพื่อส่งเสริมการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดโดยคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องคำสั่งดังกล่าวอย่างเหมาะสมดังนี้
                              2.1 มาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ (กรณีเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่านักโทษเด็ดขาดซึ่งศาลมีคำพิพากษาว่าเป็นผู้กระทำความผิดในความผิดที่เกี่ยวกับเพศหรือใช้ความรุนแรงบางประเภทจะกระทำความผิดซ้ำภายหลังพ้นโทษ ศาลอาจมีคำสั่งกำหนดมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษตามที่พนักงานอัยการร้องขอโดยกำหนดมาตรการเดียวหรือหลายมาตรการตามควรแก่กรณีก็ได้) ได้แก่
                                        (1) ห้ามเข้าใกล้ผู้เสียหายจากการกระทำความผิด
                                        (2) ห้ามทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิด
                                        (3) ห้ามเข้าเขตกำหนด
                                        (4) ห้ามออกนอกประเทศเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
                                        (5) ห้ามก่อให้เกิดอันตรายต่อละแวกชุมชนที่ตนพักอาศัย
                                        (6) ให้พักอาศัยในสถานที่ที่กำหนด
                                        (7) ให้พักอาศัยในสถานบำบัดที่กำหนดหรือให้ไปอยู่ภายใต้การดูแลในสถานบำบัดภายใต้การดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งได้รับการรับรองโดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ตามที่ศาลเห็นสมควร
                                        (8) ให้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือผู้ดูแลสถานที่พักอาศัยหรือสถานบำบัด
                                        (9) ให้มารายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติหรือได้รับการเยี่ยมจากพนักงานคุมประพฤติหรืออาสาสมัครคุมประพฤติหรือเจ้าหน้าที่อื่นตามระยะเวลาที่กำหนด
                                        (10) ให้ใช้มาตรการทางการแพทย์หรือมาพบหรือรับการตรวจรักษาจากแพทย์หรือบุคคลอื่นใดตามที่ศาลหรือพนักงานคุมประพฤติกำหนด
                                        (11) ให้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูแก้ไขหรือเข้าร่วมกิจกรรมตามที่ศาลหรือพนักงานคุมประพฤติกำหนด
                                        (12) ให้แจ้งพนักงานคุมประพฤติทราบถึงการเปลี่ยนสถานที่ทำงานหรือ           การเปลี่ยนงาน
                                        (13) ให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวในการเฝ้าระวังโดยศาลอาจกำหนดระยะเวลาการเฝ้าระวังในแต่ละมาตรการตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินสิบปีนับแต่วันพ้นโทษ ทั้งนี้ ให้ศาลคำนึงถึงพฤติการณ์แห่งความรุนแรงของคดี สาเหตุแห่งการกระทำความผิด ประวัติการกระทำความผิด ภาวะแห่งจิต นิสัย และลักษณะส่วนตัวอื่นของผู้กระทำความผิด ความปลอดภัยของผู้เสียหายและสังคม โอกาสในการกระทำความผิดซ้ำ การแก้ไข ฟื้นฟู ผู้กระทำความผิด และความได้สัดส่วนของการใช้มาตรการที่ต้องกระทบสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องถูกบังคับด้วย
                              2.2 มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ (กรณีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้นั้นจะไปกระทำความผิดที่เกี่ยวกับเพศหรือใช้ความรุนแรงบางประเภท และไม่มีมาตรการอื่นใดที่อาจป้องกันมิให้ผู้นั้นไปกระทำความผิดได้ ศาลอาจมีคำสั่งให้ใช้มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษแก่นักโทษเด็ดขาด ตั้งแต่วันพ้นโทษหรือภายหลังพ้นโทษ       เพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำตามที่พนักงานอัยการร้องขอ
                              2.3 การคุมขังฉุกเฉิน (กรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้ถูกเฝ้าระวังจะกระทำความผิดที่เกี่ยวกับเพศหรือใช้ความรุนแรงบางประเภทและมีเหตุฉุกเฉิน หากไม่มีมาตรการอื่นใดที่อาจป้องกันมิให้ผู้ถูกเฝ้าระวังกระทำความผิดดังกล่าวได้ เมื่อพนักงานอัยการร้องขอ ศาลอาจสั่งคุมขังฉุกเฉินผู้ถูกเฝ้าระวังได้ไม่เกิน 7 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง)
                    3. โดยที่มาตรา 7 มาตรา 23 มาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 บัญญัติให้ก่อนปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาดซึ่งศาลมีคำพิพากษาว่าเป็นผู้กระทำความผิดในความผิดที่เกี่ยวกับเพศหรือใช้ความรุนแรงบางประเภท ให้กรมราชทัณฑ์จัดทำรายงานจำแนกลักษณะของนักโทษเด็ดขาด พร้อมทั้งความเห็นว่านักโทษเด็ดขาดผู้ใดสมควรให้ใช้มาตรการเฝ้าระวัง เสนอต่อคณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำเพื่อพิจารณาว่าสมควรกำหนดให้ใช้มาตรการเฝ้าระวังแก่นักโทษเด็ดขาดผู้นั้น รวมทั้งกำหนดวิธีการและระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการพิจารณาและจัดทำรายงานจำแนกลักษณะนักโทษเด็ดขาดที่เสนอต่อคณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ การจัดทำรายงานของคณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำที่เสนอต่อพนักงานอัยการเพื่อร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ใช้มาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ หรือมาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษร่วมกับมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษเมื่อครบกำหนดการคุมขังต่อเนื่องกันไป รวมทั้งการทำความเห็นของพนักงานคุมประพฤติที่เสนอต่อพนักงานอัยการเพื่อร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ใช้มาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษร่วมกับมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษเมื่อครบกำหนดการคุมขังต่อเนื่องกันไป หรือสั่งคุมขังฉุกเฉิน ใหเป็นไปตามกฎกระทรวง โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจออกกฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565
                    4. ยธ. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงว่าด้วยมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ และการคุมขังฉุกเฉิน พ.ศ. .... ขึ้น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการพิจารณามาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ และการคุมขังฉุกเฉิน และได้เสนอคณะกรรมการอำนวยการและการดำเนินการเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. .... ตามคำสั่งกระทรวงยุติธรรม ที่ 88/2565    ลงวันที่ 25 มีนาคม 2565 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรมผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้แทนกรมการแพทย์       ผู้แทนกรมสุขภาพจิต ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรม ผู้แทนกรมคุมประพฤติ และผู้แทนกรมราชทัณฑ์ โดยในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นชอบในหลักการของร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการพิจารณามาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ และการคุมขังฉุกเฉิน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
เรื่อง          สาระสำคัญ
1. ขอบเขตการบังคับใช้          ?          สำหรับนักโทษเด็ดขาดซึ่งศาลมีคำพิพากษาว่าเป็นผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดต่อชีวิต ความผิดต่อร่างกาย และความผิดต่อเสรีภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา
- มาตรา 278 (การข่มขืนกระทำชำเรา) มาตรา 279 (การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี) มาตรา 283 ทวิ (การพาบุคคลอายุ 15 ? 18 ปีเพื่อการอนาจาร) มาตรา 284 (การพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ)
- มาตรา 288 (การฆ่าผู้อื่น) มาตรา 289 (การฆ่าผู้อื่นโดยเหตุฉกรรจ์)
- มาตรา 290 (การทำร้ายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย) มาตรา 297     (การทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัส) มาตรา 298 (การทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัสโดยเหตุฉกรรจ์)
- มาตรา 313 (การนำตัวบุคคลไปเรียกค่าไถ่)
2. หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการประจำเรือนจำ          ?          กำหนดให้มี ?คณะกรรมการประจำเรือนจำ? ในแต่ละเรือนจำประกอบด้วย       ผู้บัญชาการเรือนจำเป็นประธานกรรมการ และเจ้าพนักงานเรือนจำซึ่ง               ผู้บัญชาการเรือนจำแต่งตั้ง จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน เป็นกรรมการ               และให้พนักงานเรือนจำผู้รับผิดชอบงานจำแนกลักษณะของนักโทษเด็ดขาดตามที่ผู้บัญชาการเรือนจำมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ผู้บัญชาการเรือนจำอาจแต่งตั้งผู้แทนจากหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกหรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการประจำเรือนจำเพิ่มเติมด้วยก็ได้
?          ให้คณะกรรมการประจำเรือนจำมีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณากลั่นกรองและวิเคราะห์ข้อมูลการจัดทำรายงานการจำแนกลักษณะของนักโทษเด็ดขาดตามที่เจ้าพนักงานเรือนจำเสนอ และให้ความเห็นว่านักโทษเด็ดขาดผู้ใดสมควรใช้มาตรการเฝ้าระวัง มาตรการคุมขัง หรือมาตรการคุมขังร่วมกับการกำหนดมาตรการเฝ้าระวังเมื่อครบกำหนดการคุมขังต่อเนื่องกันไป ตลอดจนเสนอวิธีการและระยะเวลาในการใช้มาตรการที่เหมาะสม
3. การพิจารณาและจัดทำรายงานจำแนกลักษณะนักโทษเด็ดขาด          ?          ให้เจ้าพนักงานเรือนจำดำเนินการรวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำรายงานการจำแนกลักษณะของนักโทษเด็ดขาด ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปีก่อนปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาดแต่ละราย และให้เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการประจำเรือนจำเกี่ยวกับความจำเป็นและเหมาะสมในการใช้มาตรการเฝ้าระวัง มาตรการคุมขัง หรือมาตรการคุมขังร่วมกับการกำหนดมาตรการเฝ้าระวัง       เมื่อครบกำหนดการคุมขังต่อเนื่องกันไปรวมทั้งเสนอแนะวิธีการและระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ         โดยให้คำนึงถึงปัจจัย ดังต่อไปนี้
  (1) พฤติการณ์ความรุนแรงแห่งคดี
  (2) สาเหตุแห่งการกระทำความผิด
  (3) ประวัติการกระทำความผิด และโทษตามคำพิพากษา
  (4) ภาวะแห่งจิต นิสัย และลักษณะส่วนตัวของนักโทษเด็ดขาด
  (5) ความปลอดภัยของผู้เสียหายและสังคม
  (6) ข้อบ่งชี้และความเสี่ยงหรือโอกาสในการกระทำความผิดซ้ำ
  (7) ผลการแก้ไขฟื้นฟูและพัฒนาพฤตินิสัย
  (8) ข้อเท็จจริงอื่น ๆ เกี่ยวกับการกระทำความผิด นักโทษเด็ดขาดหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณากำหนดมาตรการในการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ
?          เมื่อคณะกรรมการประจำเรือนจำพิจารณาข้อมูลการจำแนกลักษณะของนักโทษเด็ดขาดรายใดและมีความเห็นเกี่ยวกับการใช้มาตรการใดให้เจ้าพนักงานเรือนจำแล้วเสนอต่อผู้บัญชาการเรือนจำเพื่อพิจารณาต่อไปยังอธิบดีกรมราชทัณฑ์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะกรรมการประจำเรือนจำมีมติ และเมื่ออธิบดีกรมราชทัณฑ์ได้รับรายงานฯ แล้วให้เสนอต่อคณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ (คณะกรรมการ) โดยเร็ว
ทั้งนี้ การจัดทำและการเสนอรายงานการจำแนกลักษณะของนักโทษเด็ดขาดและความเห็นต่อคณะกรรมการฯ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 270 วันก่อนวันที่นักโทษเด็ดขาดรายนั้นจะพ้นโทษ
4. การพิจารณาการกำหนดมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษและมาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ ของคณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ1           ?          ให้คณะกรรมการพิจารณารายงานการจำแนกลักษณะของนักโทษเด็ดขาดรายบุคคลและความเห็นตามที่กรมราชทัณฑ์เสนอ รวมทั้งพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ และมีความเห็นว่านักโทษเด็ดขาดผู้ใดสมควรให้ใช้มาตรการใดและระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้มาตรการ ดังนี้
(1) กรณีเห็นว่านักโทษเด็ดขาดผู้ใดไม่มีข้อบ่งชี้และความเสี่ยงหรือโอกาสในการกระทำความผิดซ้ำ และไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 ให้แจ้งกรมราชทัณฑ์ทราบ
(2) กรณีเห็นว่านักโทษเด็ดขาดผู้ใดสมควรกำหนดให้ใช้มาตรการเฝ้าระวัง มาตรการคุมขัง มาตรการคุมขังร่วมกับมาตรการเฝ้าระวังเมื่อครบกำหนดการคุมขังต่อเนื่องกันไป หรือมาตรการแก้ไขฟื้นฟูในระหว่างการคุมขังภายหลังพ้นโทษ        ให้เสนอรายงานและความเห็นต่อพนักงานอัยการในท้องที่เรือนจำหรือสถานที่คุมขังของนักโทษเด็ดขาดภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 180 วันนับจากวันที่นักโทษเด็ดขาดผู้นั้นจะพ้นโทษและแจ้งกรมราชทัณฑ์ทราบ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่อาจดำเนินการได้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้รายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมทราบและให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วแต่ต้องไม่เกินวันก่อนวันปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาด
5. การเสนอความเห็นให้ใช้มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษของพนักงานคุมประพฤติ          ?          กรณีในระหว่างการดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวังหากปรากฏเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้นั้นจะไปกระทำความผิดตามที่ระบุไว้ และไม่มีมาตรการอื่นใดที่อาจป้องกันมิให้ผู้นั้นไปกระทำความผิดได้หรือผู้ถูกเฝ้าระวังฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวัง ให้พนักงานคุมประพฤติเสนอความเห็นต่อพนักงานอัยการภายใน 15 วันนับแต่วันที่พบเหตุดังกล่าว เพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณายื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งใช้มาตรการคุมขังแก่ผู้ถูกเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ
   ในการเสนอความเห็นของพนักงานคุมประพฤติต้องประกอบด้วย
   (1) รายงานพร้อมความเห็นของคณะกรรมการ
   (2) พฤติการณ์และรายละเอียดแห่งการกระทำที่เป็นเหตุให้ร้องขอให้ใช้มาตรการคุมขัง
   (3) ระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้มาตรการคุมขัง หรือมาตรการคุมขังร่วมกับการกำหนดมาตรการเฝ้าระวังเมื่อครบกำหนดการคุมขังต่อเนื่องกันไป
   (4) ข้อเท็จจริงอื่นใดหรือความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา
6. การเสนอความเห็นให้คุมขังฉุกเฉินของพนักงานคุมประพฤติ          ?           เป็นกรณีที่เมื่อปรากฏเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้ถูกเฝ้าระวังใดจะไปกระทำความผิดซ้ำ และเป็นเหตุฉุกเฉิน (ผู้ถูกเฝ้าระวังมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลอื่นโดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถใช้ในการกระทำความผิด) ซึ่งพนักงานคุมประพฤติพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีมาตรการอื่นใดที่อาจป้องกันมิให้ผู้ถูกเฝ้าระวังไปกระทำความผิดได้ ให้พนักงานคุมประพฤติเสนอความเห็นต่อพนักงานอัยการเพื่อพิจารณายื่นคำร้องต่อศาลในท้องที่ที่ผู้ถูกเฝ้าระวังมีที่อยู่หรือท้องที่ที่พบตัวผู้ถูกเฝ้าระวังเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้คุมขังฉุกเฉินภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาที่พนักงานคุมประพฤติทราบถึงเหตุดังกล่าว
?           เมื่อศาลมีคำสั่งคุมขังฉุกเฉินแล้ว ให้กรมราชทัณฑ์นำตัวผู้ถูกเฝ้าระวังไปคุมขังฉุกเฉินตามคำสั่งศาล และให้พนักงานคุมประพฤติเสนอความเห็นไปยังพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาเสนอต่อศาลให้มีคำสั่งแก้ไขเพิ่มเติมมาตรการเฝ้าระวัง       หรือให้ใช้มาตรการคุมขัง ภายใน 4 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งคุมขังฉุกเฉิน         แต่ต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาที่ถูกเฝ้าระวัง
7. บทเฉพาะกาล           ?           กำหนดข้อยกเว้นการบังคับใช้ระยะเวลาในการจัดทำและการเสนอรายงานการจำแนกลักษณะของนักโทษเด็ดขาดของกรมราชทัณฑ์ และการเสนอรายงานและความเห็นของคณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ มิให้ใช้บังคับภายในระยะเวลา 300 วันแรกนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ

1 มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 บัญญัติให้รัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งหรือหลายคณะ เรียกว่า ?คณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ? ประกอบด้วยรองปลัดกระทรวงยุติธรรมซึ่งปลัดกระทรวงยุติธรรมมอบหมายเป็นประธานกรรมการ       ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนกรมคุมประพฤติ ผู้แทนกรมราชทัณฑ์ และผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการ โดยให้อธิบดีแต่งตั้งข้าราชการในกรมคุมประพฤติ เป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการจำนวนไม่เกินสองคน

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติ ดังนี้
                    1. เห็นชอบการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่สิ่งปลูกสร้างของบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ในโครงการศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ที่ให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติราชการและส่วนอื่นที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ประโยชน์ด้วย
                    2. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ กค. เสนอ เป็นการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่สิ่งปลูกสร้างของบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ในโครงการศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550    ซึ่งก่อสร้างโดยใช้เงินจากการระดมทุนด้วยวิธีการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ เฉพาะส่วนที่ให้กรมธนารักษ์เช่าเพื่อจัดให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติราชการ และส่วนที่ใช้เป็นสาธารณูปโภคที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ประโยชน์ด้วย เนื่องจากบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด มีการรับรายได้ในลักษณะค่าเช่าจากการให้หน่วยงานของรัฐเช่าใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติราชการ (เดิมได้รับลดหย่อนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ร้อยละ 90 ในปีภาษี พ.ศ. 2563 และปีภาษี พ.ศ. 2564 ตามพระราชกฤษฎีกาลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท พ.ศ. 2563 และตามพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ขณะนี้มาตรการลดหย่อนภาษีได้สิ้นสุดลงแล้ว) ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในโครงการศูนย์ราชการฯ ดังกล่าวจึงไม่ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีที่ดิน  และสิ่งปลูกสร้าง ตามมาตรา 8 (1) แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กำหนดให้ทรัพย์สินต่อไปนี้ได้รับยกเว้นการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งก่อสร้างสำหรับสิ่งปลูกสร้างของ ธพส. ในโครงการศูนย์ราชการฯ ซึ่งก่อสร้างโดยใช้เงินจากการระดมทุนด้วยวิธีการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่
                              (ก) ให้กรมธนารักษ์เช่าเพื่อจัดให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติราชการ
                              (ข) ใช้สำหรับระบบวิศวกรรม ระบบสุขาภิบาล ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดขยะ ระบบขนส่งภายในสิ่งปลูกสร้าง ห้องสุขา ห้องควบคุม                          ห้องอำนวยการ ห้องเครื่อง ห้องช่องท่องานระบบวิศวกรรมประกอบอาคาร ห้องเก็บวัสดุ ห้องปฏิบัติงานช่างอาคาร บันไดหนีไฟ อุโมงค์สาธารณูปโภค ทางเดินภายในอาคาร และที่จอดรถ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ประโยชน์ด้วย
ข้อ          ถ้อยคำตามกฎกระทรวง          รายละเอียดของสินทรัพย์ที่จะได้รับการยกเว้นภาษี
(ก)          ให้กรมธนารักษ์เช่าเพื่อจัดให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติราชการ          ?          อาคารเอ อาคารบี อาคารศาลปกครอง
(ข)          ใช้สำหรับระบบวิศวกรรม ระบบสุขาภิบาล ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดขยะ ระบบขนส่งภายในสิ่งปลูกสร้าง ห้องสุขา ห้องควบคุม ห้องอำนวยการ ห้องเครื่อง ห้องช่องท่องานระบบวิศวกรรมประกอบอาคาร ห้องเก็บวัสดุ ห้องปฏิบัติงานช่างอาคาร บันไดหนีไฟ อุโมงค์สาธารณูปโภค ทางเดินภายในอาคาร และที่จอดรถ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ประโยชน์ด้วย          ?          อาคารกำจัดน้ำเสีย อาคารและลานกำจัดขยะ         อาคารวิศวกรรม ป้องรักษาความปลอดภัย
?          อาคารจอดรถ
?          พื้นที่ภายในอาคารเอ อาคารบี อาคารศาลปกครอง       ที่ใช้สำหรับใช้เป็นระบบไฟฟ้า ระบบประปา            ระบบวิศวกรรม ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบบำรุงรักษา ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดขยะ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบขนส่งภายใน สิ่งปลูกสร้าง ห้องสุขา ที่จอดรถ และทางเดินภายในอาคารเฉพาะส่วนที่มิได้นำไปใช้หาประโยชน์
                    2. กำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป

3. เรื่อง การขอขยายระยะเวลาในการออกกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในหมวด 4 การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 รวม 3 ฉบับ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการออกกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในหมวด 4     การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 รวม 3 ฉบับ ดังนี้ 1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะหรือรายละเอียดการใช้น้ำแต่ละประเภท พ.ศ. .... 2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่สองและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่สาม พ.ศ. .... 3. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าใช้น้ำสำหรับการใช้น้ำประเภทที่สองและการใช้น้ำประเภทที่สาม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเรียกเก็บ ลดหย่อน หรือยกเว้นค่าใช้น้ำ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ  (สทนช.) เสนอ
                    ทั้งนี้ การเสนอเรื่องตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอเป็นการขอขยายระยะเวลาในการออกกฎกระทรวง รวม 3 ฉบับ โดยเป็นร่างกฎกระทรวงซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความแห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเรียกเก็บ ลดหย่อนค่าธรรมเนียมหรือการลดหย่อนค่าใช้น้ำสาธารณะ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาล่วงหน้าของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี
                    โดยที่พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2564 ประกอบมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย    พ.ศ. 2562 บัญญัติให้กฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หากมิได้มีการออกกฎดังกล่าวนั้นภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับและบทบัญญัติในเรื่องนั้นก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชน           ให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลบังคับ ทั้งนี้ ระยะเวลาสองปีดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจะมีมติขยายออกไปอีกก็ได้แต่ไม่เกินหนึ่งปี และต้องมีมติก่อนที่จะครบกำหนดเวลาสองปีดังกล่าว ซึ่งร่างกฎกระทรวงทั้ง 3 ฉบับ เป็นการก่อภาระต่อประชาชน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินการออกกฎกระทรวงทั้ง 3 ฉบับในเรื่องนี้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎกระทรวงทั้ง 3 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี นับแต่วันที่ 27 มกราคม 2566
?
4. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 หมวด 4 การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ มาตรา 45 และมาตรา 50
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการออกกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในหมวด 4     การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ทั้ง 2 ฉบับ ดังนี้ 1. ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่สองและประเภทที่สาม พ.ศ. .... 2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าใช้น้ำประเภทที่สองและประเภทที่สาม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    ทั้งนี้การเสนอเรื่องตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอเป็นการขอขยายระยะเวลาในการออกกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับ โดยเป็นร่างกฎกระทรวงซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความแห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต การอนุญาต การขอและการออกใบแทนใบอนุญาตและอัตราค่าใช้น้ำประเภทที่สองและประเภทที่สาม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการอนุญาตการใช้น้ำ ได้แก่ กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ประกอบกับการ  ออกร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าใช้น้ำประเภทที่สองและประเภทที่สาม พ.ศ. .... ต้องอาศัยหลักเกณฑ์ของร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าใช้น้ำสำหรับการใช้น้ำประเภทที่สองและการใช้น้ำประเภทที่สาม และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการเรียกเก็บลดหย่อน หรือยกเว้นค่าใช้น้ำ พ.ศ. .... ของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติที่อยู่ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการทฤษฎีกาตรวจพิจารณาล่วงหน้าตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี
                    โดยที่พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2564 ประกอบมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย   พ.ศ. 2562 บัญญัติให้กฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หากมิได้มีการออกกฎดังกล่าวนั้นภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับและบทบัญญัติในเรื่องนั้นก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชน           ให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลบังคับ ทั้งนี้ ระยะเวลาสองปีดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจะมีมติขยายออกไปอีกก็ได้แต่ไม่เกินหนึ่งปี และต้องมีมติก่อนที่จะครบกำหนดเวลาสองปีดังกล่าว ซึ่งร่างกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับ เป็นการก่อภาระต่อประชาชน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินการออกกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับในเรื่องนี้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี นับแต่วันที่ 27 มกราคม 2566

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่กระทรวงการคลังเสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ดังนี้
                              1) กำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าสุราแช่ที่ผลิตโดยมิใช่เพื่อการค้าขึ้นใหม่ ได้แก่ เบียร์ ไวน์และสปาร์คกลิ้งไวน์ที่ทำจากองุ่น สุราแช่ผลไม้ที่มีส่วนผสมขององุ่นหรือไวน์องุ่น และสุราแช่ชนิดอื่น ๆ และสำหรับสินค้าสุรากลั่นที่ผลิตโดยมิใช่เพื่อการค้า ได้แก่ สุราขาวและสุรากลั่นชนิดอื่น ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565 ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้ว เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565
                              2) กำหนดให้เสียภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 0 และเสียภาษีในอัตราตามปริมาณเท่ากับสินค้าสุราชนิดเดียวกันที่ผลิตเพื่อการค้าตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต และสามารถกำกับดูแล และจัดเก็บภาษีสินค้าสุราได้ครอบคลุมทั้งสุราเพื่อการค้าและสุราที่มิใช่เพื่อการค้า ซึ่งจะเป็นการสะท้อนหลักการการจัดเก็บภาษีเพื่อสุขภาพสำหรับสินค้าที่ให้โทษต่อสุขภาพแก่ประชาชน โดยภาระภาษีที่เกิดขึ้นจะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตสุราที่มิใช่เพื่อการค้าในครัวเรือน ซึ่งอาจเป็นการลดแรงจูงใจในการผลิตและบริโภคสินค้าสุราที่มิใช่เพื่อการค้า
                    กระทรวงการคลังรายงานว่าร่างกฎกระทรวงดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐ เนื่องจากเป็นการกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตขึ้นใหม่ มิได้เป็นการลดอัตราภาษีจากอัตราที่จัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน และไม่ส่งผลให้ฐานภาษีมีความเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด จึงไม่กระทบต่อรายได้ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าสุรา
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 เพื่อกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าสุราแช่ และสุรากลั่นที่ผลิตโดยมิใช่เพื่อการค้าขึ้นใหม่ โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
รายการ          อัตราภาษี
          ตามมูลค่า
ร้อยละ          ตามปริมาณ
                    หน่วย          หน่วยละ
- บาท
สุราแช่ที่ผลิตโดยมิใช่เพื่อการค้า
1. สุราแช่ชนิดเบียร์


2. สุราแช่ชนิดไวน์และสปาร์คกลิ้งไวน์ที่ทำจากองุ่น


3. สุราแช่ชนิดสุราแช่ผลไม้ที่มีส่วนผสมขององุ่นหรือไวน์องุ่น
          3.1 ที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 7 ดีกรี และมีขนาดบรรจุไม่เกิน 0.330 ลิตร

          3.2 ชนิดอื่น ๆ นอกจาก 3.1


4. สุราแช่ชนิดอื่น ๆ นอกจากข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3
0


0




0


0


0

ต่อปริมาณ 1 ลิตร
แห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์

ต่อปริมาณ 1 ลิตร
แห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์



ต่อปริมาณ 1 ลิตร
แห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์

ต่อปริมาณ 1 ลิตร
แห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์

ต่อปริมาณ 1 ลิตร
แห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
430


1,500




150


900


150
สุรากลั่นที่ผลิตโดยมิใช่เพื่อการค้า
1. สุรากลั่นชนิดสุราขาว


2. สุรากลั่นชนิดอื่น ๆ นอกจากข้อ 1
0


0
ต่อปริมาณ 1 ลิตร
แห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์

ต่อปริมาณ 1 ลิตร
แห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
155


255

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่กระทรวงการคลังเสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 โดยกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการอนุญาตที่มีการจัดเก็บจริงสำหรับการอนุญาตผลิตสุราที่มิใช่เพื่อการค้า (เพิ่มขึ้นใหม่ตามกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565) และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการอนุญาตที่มีการจัดเก็บจริงสำหรับกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งโรงงานผลิตสุราที่ระบุไว้ในใบอนุญาตที่ให้มีความสอดรับกับอัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนดไว้ท้ายพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 (เพิ่มขึ้นใหม่เพื่อให้ครบถ้วนเนื่องจากกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ไม่ได้กำหนดไว้) เพื่อให้ภาครัฐสามารถควบคุมให้มีการผลิตสุราที่ได้มาตรฐานตามที่กำหนดหรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้วแต่กรณี เนื่องจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมสุราเพื่อการค้า และมิใช่เพื่อการค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จึงจะสามารถขอใบอนุญาตสำหรับการผลิตสุราและชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวได้ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพสามิตได้นำร่างกฎกระทรวงดังกล่าวไปรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว
                    กระทรวงการคลังรายงานว่าร่างกฎกระทรวงดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อรายได้ของรัฐ เนื่องจากเป็นการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับการอนุญาตผลิตสุราที่มิใช่เพื่อการค้าและการอนุญาตผลิตสุราเพื่อการค้า และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการอนุญาตสำหรับกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตที่มีการจัดเก็บจริง จึงไม่กระทบต่อรายได้ภาษีสรรพสามิต
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    เป็นการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการอนุญาตที่มีการจัดเก็บจริงสำหรับการอนุญาตผลิตสุราที่มิใช่เพื่อการค้าและการอนุญาตผลิตสุราเพื่อการค้าให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565 และกำหนดค่าธรรมเนียมกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งโรงงานผลิตสุรา โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้

กฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2560          ร่างกฎกระทรวงฯ ที่เสนอในครั้งนี้
ใบอนุญาตผลิตสุรา
เดิมไม่มี          - ใบอนุญาตผลิตสุรา
(ก) สุราที่มิใช่เพื่อการค้า (เพิ่มใหม่)
          1) ใบอนุญาตผลิตสุราแช่ ฉบับละ 360 บาท
          2) ใบอนุญาตผลิตสุรากลั่น ฉบับละ 1,500 บาท
(ข) ใบอนุญาตผลิตสุราแช่1 (สุราเพื่อการค้า)
          1) สุราแช่ที่มิใช่สุราแช่ชนิดเบียร์ ที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือใช้คนงานน้อยกว่า 7 คน หรือกรณีใช้เครื่องจักรและคนงาน เครื่องจักรต้องมีกำลังรวมต่ำกว่า 5 แรงม้าและคนงานต้องน้อยกว่า 7 คน ฉบับละ 1,800 บาท





          (ข) สุราเพื่อการค้า
          1) ใบอนุญาตผลิตสุราแช่
             ก) สุราแช่ที่ไม่ใช่สุราแช่ชนิดเบียร์ที่ผลิตจากโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็กที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าต่ำกว่า 5 แรงม้าหรือใช้คนงานน้อยกว่า 7 คน หรือกรณีที่ใช้ทั้งเครื่องจักรและคนงาน เครื่องจักรมีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าต่ำกว่า 5 แรงม้า และคนงานมีจำนวนน้อยกว่า 7 คน ฉบับละ 1,800 บาท [เปลี่ยนเป็นโรงงานอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็ก (อัตราค่าธรรมเนียมคงเดิม)]

เดิมไม่มี                    ข) สุราแช่ที่ไม่ใช่สุราแช่ชนิดเบียร์ที่ผลิตจากโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลางที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 5 แรงม้า แต่น้อยกว่า 50 แรงม้า หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คน แต่น้อยกว่า 50 คน หรือกรณีใช้เครื่องจักรและคนงาน เครื่องจักรมีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 5 แรงม้าแต่น้อยกว่า 50 แรงม้าและคนงานมีจำนวนตั้งแต่ 7 คนแต่น้อยกว่า 50 คน ฉบับละ 3,600 บาท (เพิ่มใหม่)
  2) สุราแช่ชนิดอื่น ๆ นอกจาก 1) ฉบับละ 60,000 บาท                         ค) สุราแช่ชนิดเบียร์และสุราแช่ชนิดอื่นนอกจาก ก) และ ข) ฉบับละ 60,000 บาท (อัตราค่าธรรมเนียมคงเดิม)
(ก) ใบอนุญาตผลิตสุรากลั่น2
    1) สุรากลั่นชนิดสุราขาวที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมต่ำกว่า 5 แรงม้าหรือใช้คนงานน้อยกว่า 7 คน หรือกรณีใช้เครื่องจักรและคนงาน เครื่องจักรต้องมีกำลังรวมต่ำกว่า 5 แรงม้าและคนงานต้องน้อยกว่า 7 คน ฉบับละ 7,500 บาท                    2) ใบอนุญาตผลิตสุรากลั่น
             ก) สุรากลั่นชนิดสุราขาวที่ผลิตจากโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็กที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือใช้คนงานน้อยกว่า 7 คน หรือกรณีใช้ทั้งเครื่องจักรและคนงาน เครื่องจักรมีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าต่ำกว่า 5 แรงม้า และคนงานมีจำนวนน้อยกว่า 7 คน ฉบับละ 7,500 บาท [เปลี่ยนเป็นโรงงานอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็ก (อัตราค่าธรรมเนียมคงเดิม)]
เดิมไม่มี                    ข) สุรากลั่นชนิดสุราขาวที่ผลิตจากโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลางที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 5 แรงม้าแต่น้อยกว่า 50 แรงม้า หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คน แต่น้อยกว่า 50 คน หรือกรณีใช้ทั้งเครื่องจักรและคนงาน เครื่องจักรมีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 5 แรงม้าแต่น้อยกว่า 50 แรงม้าและคนงานมีจำนวนตั้งแต่ 7 คนแต่น้อยกว่า 50 คน ฉบับละ 15,000 บาท (เพิ่มใหม่)
  2) สุรากลั่นชนิดอื่น ๆ นอกจาก 1) ฉบับละ 60,000 บาท                    ค) สุรากลั่นทุกชนิดนอกจากสุรากลั่นตาม ก) และ ข) ฉบับละ 60,000 บาท (อัตราค่าธรรมเนียมคงเดิม)
เดิมไม่มี          - กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการอนุญาตที่มีการจัดเก็บจริงสำหรับกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งโรงงานผลิตสุราที่ระบุไว้ในใบอนุญาตให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมครั้งละ 1 ใน 4 ของค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประเภทนั้น ๆ
1 สุราแช่ เช่น น้ำตาลเมา อุ เบียร์ ไวน์ สปาร์คกลิ้งไวน์ และสุราแช่พื้นเมือง
2 สุรากลั่น (สุราที่ได้รับการกลั่นแล้ว ได้แก่ 1) สุราสามทับ (สุรากลั่น 80 ดีกรีขึ้นไป) 2) สุราผสม (ใช้สุราสามทับมาปรุงแต่ง) 3) สุราขาว 4) สุราปรุงพิเศษ (ใช้สุราขาวมาปรุงแต่ง) และ 5) สุราพิเศษ (สุรากลั่นที่ทำขึ้นตามแบบสุราต่างประเทศโดยใช้กรรมวิธีพิเศษ)

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดชนิดและลักษณะของแสตมป์สรรพสามิตและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีของทางราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดชนิดและลักษณะของแสตมป์สรรพสามิตและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีทางของราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่กระทรวงการคลังเสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดชนิดและลักษณะของแสตมป์สรรพสามิตและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีของทางราชการ พ.ศ. 2563 เพื่อกำหนดลักษณะและรูปแบบของแสตมป์สุราสำหรับสุราแช่และสุรากลั่นให้สอดคล้องกับถ้อยคำในกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565 โดยปรับเปลี่ยนถ้อยคำในข้อ 8 (2) ของกฎกระทรวงกำหนดชนิดและลักษณะของแสตมป์สรรพสามิตและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีของทางราชการ พ.ศ. 2563 จากเดิมที่ใช้คำว่า ?แสตมป์สุราสำหรับสุราแช่หรือสุรากลั่นที่ผลิตในชุมชน? เปลี่ยนเป็น ?แสตมป์สุราสำหรับสุราแช่หรือสุรากลั่นที่ผลิตจากโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็กที่ใช้เครื่องจักร... และโรงงานอุตสาหกรรมสุราขนาดกลางที่ใช้เครื่องจักร...? แต่ลักษณะและรูปแบบของแสตมป์สุรายังเป็นไปตามเดิม ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นชอบ
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดชนิดและลักษณะของแสตมป์สรรพสามิตและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีของทางราชการ พ.ศ. 2563 ข้อ 8 (2) เพื่อกำหนดลักษณะและรูปแบบของแสตมป์สุราสำหรับสุราแช่และสุรากลั่นให้สอดคล้องกับถ้อยคำในกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565 จากเดิมที่ใช้คำว่า ?แสตมป์สุราสำหรับสุราแช่หรือสุรากลั่นที่ผลิตในชุมชน? เปลี่ยนเป็น ?แสตมป์สุราสำหรับสุราแช่หรือสุรากลั่นที่ผลิตจากโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็กที่ใช้เครื่องจักร... และโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลางที่ใช้เครื่องจักร...? (ในส่วนของลักษณะและรูปแบบของแสตมป์สุรายังคงเป็นไปตามเดิม) ดังนี้
กฎกระทรวงกำหนดชนิดและลักษณะของ
แสตมป์สรรพสามิตและเครื่องหมายแสดงการ
เสียภาษีของทางราชการ พ.ศ. 2563          ร่างกฎกระทรวงกำหนดชนิด
และลักษณะของแสตมป์สรรพสามิตฯ (ฉ. ..) พ.ศ. ....




ข้อ 8 (2) แสตมป์สุราสำหรับสุราแช่และสุรากลั่นที่ผลิตในชุมชน โดยมีรายละเอียด เช่น ทำด้วยกระดาษสีขาวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 1.5 x 12.5 เซนติเมตร พื้นของดวงแสตมป์พิมพ์ลวดลายป้องกันการปลอมแปลงด้วยหมึกสีน้ำตาลเข้มและสีน้ำตาลอ่อน และมีข้อความ ?EXCISE DEPARTMENT? พิมพ์ด้วยหมึกสีน้ำตาลกระจายอยู่ทั่วบริเวณดวงแสตมป์ด้านซ้ายและด้านขวาของดวงแสตมป์          ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 8 แห่งกฎกระทรวงกำหนดชนิดและลักษณะของแสตมป์สรรพสามิตและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีของทางราชการ พ.ศ. 2563 และให้ใช้ข้อความนี้แทน
ข้อ 8 (2) แสตมป์สุราสำหรับสุราแช่และสุรากลั่นที่ผลิตจากโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็กที่ใช้เครื่องจักร ที่มีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือใช้คนงานน้อยกว่า 7 คน หรือกรณีใช้ทั้งเครื่องจักรและคนงาน เครื่องจักรมีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าต่ำกว่า 5 แรงม้าและคนงานมีจำนวนน้อยกว่า 7 คน และโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลางที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 5 แรงม้าแต่น้อยกว่า 50 แรงม้า หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนแต่น้อยกว่า 50 คน หรือกรณีใช้ทั้งเครื่องจักรและคนงาน เครื่องจักรมีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 5 แรงม้า แต่น้อยกว่า 50 แรงม้าและคนงานมีจำนวนตั้งแต่ 7 คนแต่น้อยกว่า 50 คน
(ทั้งนี้ ในส่วนของลักษณะและรูปแบบของแสตมป์สุรายังคงเป็นไปตามเดิม)

8. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา พ.ศ. 2559
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอะตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา พ.ศ. 2559 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ ทส. รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างประกาศที่ ทส. เสนอ เป็นการขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลาการใช้บังคับในวันที่ 31 มีนาคม 2566 ต่อไปอีกสองปีนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 เพื่อให้การบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดพังงาเป็นไปอย่างต่อเนื่องในระหว่างที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำลังดำเนินการปรับปรุงมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในจังหวัดพังงา รวมทั้ง จัดทำร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา พ.ศ. .... (ฉบับใหม่) ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วเห็นชอบในหลักการของร่างประกาศ
                    ทส. ได้นำร่างประกาศในเรื่องนี้ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นแก่ประชาชน    ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562           และกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 ตลอดจนได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย) แล้ว
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    ร่างประกาศในเรื่องนี้มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไปอีกสองปีนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566


เศรษฐกิจ-สังคม
9. เรื่อง รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เสนอรายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2565 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2543 มาตรา 11 (4) บัญญัติให้คณะกรรมการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอรายงานเกี่ยวกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Micro, Small and Medium-sized Enterprises: MSME) ของประเทศต่อคณะรัฐมนตรี และจัดให้มีการเผยแพร่รายงานดังกล่าวต่อสาธารณชนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง] ซึ่งคณะกรรมการ MSME   มีมติเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 รับทราบรายงานฯ แล้ว โดยรายงานดังกล่าวเป็นการสรุปสถานการณ์ MSME ปี 2564 และสถานการณ์ MSME ของปี 2565 ช่วง 9 เดือนแรก (เดือนมกราคม-กันยายน 2565) ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. สถานการณ์ MSME ปี 2564
                              1.1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ของ MSME       ปี 2564 มีมูลค่า 5,603,443 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.6 ของ GDP รวมทั้งประเทศ ขยายตัวจากปี 2563 ร้อยละ 3 เนื่องจากการคลายมาตรการล็อกดาวน์และการเปิดประเทศ รวมถึงประชาชนมีการใช้จ่ายและเดินทางเพิ่มมากขึ้น และธุรกิจส่วนใหญ่สามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
                              1.2 การค้าระหว่างประเทศของ MSME
                                        1.2.1 ด้านการส่งออกมีมูลค่า 32,454 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 11.9       ต่อการส่งออกรวม ขยายตัวจากปี 2563 ร้อยละ 19.9 ซึ่งตลาดส่งออกหลัก เช่น อาเซียน สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) และสหรัฐอเมริกา โดยสินค้าส่งออกสำคัญของ MSME เช่น สินค้ากลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ ไม้และของทำด้วยไม้ และผลไม้สด ขณะที่สินค้าส่งออกบางส่วนปรับตัวลดลง เช่น สินค้ากลุ่มน้ำตาล และยานยนต์และส่วนประกอบ
                                        1.2.2 ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 35,536 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.3 ต่อการนำเข้ารวม ขยายตัวจากปี 2563 ร้อยละ 9.7 โดยแหล่งนำเข้าที่สำคัญ เช่น จีนและอาเซียน โดยสินค้านำเข้าที่สำคัญ เช่น เม็ดพลาสติก ทองแดง เคมีภัณฑ์ และเครื่องจักรกล
                              1.3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ MSME มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 42.4 ต่ำกว่าค่าฐานที่ระดับ 50 ปรับตัวลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 2.7 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า ทำให้มีมาตรการล็อกดาวน์และจำกัดการเดินทางในประเทศ ส่งผลให้ความเชื่อมั่น MSME ปรับตัวลดลงในทุกภาคธุรกิจ โดยเฉพาะสาขาที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางและท่องเที่ยว ขณะที่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 มีการผ่อนปรนมาตรการควบคุมและมีการเปิดประเทศ ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการ ?คนละครึ่ง? และ โครงการ ?เราเที่ยวด้วยกัน? ส่งผลทำให้ความเชื่อมั่นในทุกภาคธุรกิจปรับตัวเพิ่มขึ้น
                              1.4 สถานการณ์ด้านการจ้างงานของ MSME
                                        1.4.1 จำนวน MSME รวม 3,178,124 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.6 ของจำนวนวิสาหกิจทั้งประเทศ ขยายตัวจากปี 2563 ร้อยละ 1.4 ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในภาคการค้า จำนวน 1,302,164 ราย หรือร้อยละ 41 ของจำนวน MSME ทั้งประเทศ และอยู่ในกรุงเทพมหานครมากที่สุด จำนวน 571,350 ราย คิดเป็น     ร้อยละ 18 ของจำนวน MSME ทั้งประเทศ สำหรับจำนวน MSME นิติบุคคลที่จัดตั้งใหม่ในปี 2564 มีจำนวน 73,802 ราย ขณะที่มีการยกเลิกและเสร็จชำระบัญชี จำนวน 18,239 ราย
                                        1.4.2 การจ้างงานของ MSME รวม 12,601,726 คน คิดเป็นร้อยละ 71.9      ของจำนวนการจ้างงานทั้งหมด ลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 0.9 โดยอยู่ในกลุ่มภาคบริการมากที่สุด                  จำนวน 5,485,269 คน คิดเป็นร้อยละ 43.5 ของการจ้างงานภาคการบริการทั้งประเทศ และกระจายตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครมากที่สุด จำนวน 3,491,495 คน คิดเป็นร้อยละ 27.7 ของการจ้างงาน MSME ทั้งหมด
                    2. สถานการณ์ MSME ไตรมาสที่ 3 และช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 (เดือนมกราคม-          กันยายน 2565)
                              2.1 GDP ของ MSME ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 5.1 โดยไตรมาสที่ 3 GDP ของ MSME มีมูลค่า 1,542,710 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564       มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 35.6 ต่อ GDP รวมทั้งประเทศ โดยวิสาหกิจขนาดย่อมขยายตัวมากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 17.6 อันเป็นผลมาจากการบริโภคและการจ้างงานที่กลับมาฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ภาคการท่องเที่ยวที่เติบโต โดยเฉพาะสาขาธุรกิจที่พักแรม ร้านอาหาร การขนส่ง และการค้าปลีกส่ง
                              2.2 การค้าระหว่างประเทศของ MSME ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 กรส่งออกของ MSME มีมูลค่า 28,870 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 22.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 13 ต่อมูลค่าการส่งออกรวม โดยไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 มีมูลค่า 9,662.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว ร้อยละ 13.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 แต่ชะลอตัวลงจากไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2       ของปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 32.0 และร้อยละ 25.3 ตามลำดับ โดยสินค้าส่งออกของ MSME ที่ขยายตัวได้ดี คือ    กลุ่มสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูป ขยายตัวถึงร้อยละ 56.2 ขณะที่การนำเข้าของ MSME มีมูลค่า                     30,165 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 14.7 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.8 ต่อมูลค่าการนำเข้ารวม
                              2.3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ MSME ไตรมาสที่ 3 ปี 2565 มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 50.9 เพิ่มขึ้นจากค่าฐานที่ระดับ 50 เนื่องจากสถานการณ์เงินเฟ้อที่เริ่มชะลอตัว รวมทั้งความเชื่อมั่นและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ คาดว่าในไตรมาสที่ 4 จะเป็นช่วงเศรษฐกิจของประเทศกลับมาฟื้นตัวได้ใกล้เคียงกับในช่วงก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จากการเติบโตของภาคการท่องเที่ยว
                              2.4 สถานการณ์ด้านการจ้างงานของ SME ไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 มีการจ้างงานเฉลี่ย 3,984,754 คน ขยายตัวร้อยละ 4.3 ของจำนวนการจ้างงานทั้งหมดเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2564      โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอัตราเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัว ขณะที่กำลังซื้อยังขยายตัวได้ดี รวมทั้งภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
                              2.5 การประมาณการเศรษฐกิจของ MSME ปี 2565 (ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565) สสว. ประเมินว่า ปี 2565 GDP MSME จะขยายตัวร้อยละ 4.9 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากที่เคยประมาณการที่ร้อยละ 4.7 โดยปัจจัยสนับสนุนมาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้น เช่น การบริโภคภาคเอกชน การจ้างงาน       การส่งออกสินค้า และภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตได้สูงกว่าที่คิดไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเริ่มมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

10. เรื่อง  มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก. วล) ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2565 (จำนวน 2 เรื่อง) ซึ่ง กก.วล. ได้รับรองรายงานการประชุมดังกล่าวอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (27 มิถุนายน 2538) ที่ให้ถือว่าการประชุม กก.วล      เป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม และมติคณะรัฐมนตรี (1 พฤศจิกายน 2548) ที่ให้นำมติ กก.วล. เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่สำคัญและเรื่องที่ กก.วล. พิจารณาได้ข้อยุติแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ] โดยมีสาระสำคัญ              สรุปได้ ดังนี้
เรื่อง          มติ กก.วล.
1. รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม  (รายงาน EIA)  (จำนวน 3 โครงการ)
          1.1 โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำกอน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน (กรมชลประทาน) เป็นเขื่อนคอนกรีต      บดอัด ความกว้างสันเขื่อน 8 เมตร ความยาว 245 เมตร ความสูง 89 เมตร มีความจุที่ระดับเก็บกักปกติ 73.73 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูก  การอุปโภค-บริโภค และปัญหาน้ำท่วมหลากที่เกิดเป็นประจำ
คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ในการประชุมครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 มีมติให้นำรายงาน EIA ซึ่งได้ปรับปรุงและแก้ไขรายละเอียดข้อมูลในประเด็นต่าง ๆ                (เช่น ความจำเป็น ความสอดคล้องกับแผนพัฒนานโยบายจังหวัดหรือประเทศ เพื่อให้เกิดความชัดเจน การปรับแก้หน่วยงานรับผิดชอบแผนการปฏิบัติการด้านสาธารณสุข) ตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำแล้วเสนอต่อ กก.วล. เพื่อนำความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยในรายงาน EIA ได้กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ เช่น การปลูกป่าทดแทน จำนวน 4,295 ไร่ การออกแบบโครงสร้างอ่างเก็บน้ำให้รองรับแรงจากแผ่นดินไหว การกำหนดอัตราค่าชดเชยให้เหมาะสม เป็นธรรม รวมทั้งได้กำหนดมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ เช่น ติดตามตรวจสอบสภาพพื้นที่ป่าไม้และระบบนิเวศของป่ารอบพื้นที่อ่างเก็บน้ำและการฟื้นตัวของป่าที่ปลูกทดแทน ปีละ 1 ครั้ง  ต่อเนื่อง 10 ปี ทั้งนี้ ได้กำหนดแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และแผนปฏิบัติการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม          เห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ โดยให้กรมชลประทานรับความเห็นของ กก.วล. ในประเด็นการเพิ่มเติมเรื่องการศึกษาผลกระทบจากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่มีพิษการปลูกพืชที่มีมูลค่าสูงขึ้น การปรับข้อมูลด้านสาธารณสุขและ                 ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย               การเพิ่มเติมมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไว้ในมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้ดำเนินการตามมาตรการและแผนปฏิบัติการตามที่กำหนดไว้ในรายงาน EIA อย่างเคร่งครัด และ               ตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการตามมาตรการและแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้
          1.2 โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน               (กรมชลประทาน) : เป็นเขื่อนหินถม ความกว้างสันเขื่อน 12 เมตร ความยาว 270 เมตร ความสูง 76 เมตร มีความจุที่ระดับเก็บกักปกติ 46.09 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อจัดหาน้ำให้แก่โรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติและโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน โดยเร่งรัดการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยผึ้ง ปรับปรุงฝายห้วยโก๋นและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำน้ำรี เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนให้กับพื้นที่ดังกล่าว
คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 มีมติให้นำรายงาน EIA ซึ่งได้ปรับแก้ไขรายละเอียดข้อมูลตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ แล้วเสนอต่อ กก.วล. เพื่อให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยรายงาน EIA ได้กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ เช่น การปลูกป่าทดแทน จำนวน 2,904.13 ไร่ โดยน้อมนำแนวพระราชดำริการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์                4 อย่าง1 และการปลูกป่าในลักษณะหลายเรือนยอด2 การออกแบบโครงสร้างอ่างเก็บน้ำให้รองรับแรงจากแผ่นดินไหวและการแต่งตั้งคณะกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาชนเพื่อสำรวจและกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินให้มีราคาที่เป็นธรรม      เป็นที่ยอมรับร่วมกัน นอกจากนี้ ได้กำหนดมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ เช่น ตรวจสอบสถานภาพการบุกรุกทำลายป่า ตรวจสอบผลการปลูกป่าภายหลังการปลูกป่าแล้วเสร็จ สำรวจสภาพความเป็นอยู่การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพเศรษฐกิจสังคม ความพึงพอใจและความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการฯ          เห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ โดยให้กรมชลประทานรับความเห็นของ กก.วล. ในประเด็นการเพิ่มเติม
เรื่องสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่มีพิษและการปรับเพิ่มงบประมาณในแผนส่งเสริมการเกษตรโดยเน้นเกษตรปลอดภัย รวมทั้งให้ดำเนินการตามมาตรการและแผนปฏิบัติการ
ที่กำหนดไว้ในรายงาน EIA อย่างเคร่งครัดและตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการมาตรการและแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้
          1.3 โครงการโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ (ส่วนเพิ่ม) ระยะที่ 1 [การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)]
: เป็นการดำเนินการเพื่อรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในเขตนครหลวง เนื่องจากปัจจุบันกำลังผลิตไฟฟ้าของเขตนครหลวง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และสมุทรปราการไม่สามารถรองรับเหตุสุดวิสัยกรณีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดหยุดฉุกเฉิน ซึ่งต้องพึ่งพากำลังผลิตไฟฟ้าจากภูมิภาคข้างเคียง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าหลักโดยกำหนดให้มีโครงการโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ (ส่วนเพิ่ม) ขนาดกำลังการผลิตตามสัญญา                 1,400 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงและกำหนดจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์เป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1             (700 เมกะวัตต์) ในปี 2571 และระยะที่ 2 (700 เมกะวัตต์) ในปี 2578
คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ โครงการพลังงาน ในการประชุมครั้งที่ 12/2565 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 มีมติให้ กฟผ. รวบรวมข้อมูลรายงาน EIA ของโครงการทุกฉบับและข้อมูลที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมตามแนวทางที่คณะกรรมการชำนาญการฯ โครงการพลังงานกำหนด แล้วจัดทำเป็นรายงาน EIA ฉบับสมบูรณ์เสนอต่อ กก.วล. เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งรายงานฯ ได้กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านคุณภาพอากาศ โดยติดตั้งและบำรุงรักษาระบบควบคุมการเกิดก๊าชออกไซด์ของไนโตรเจนและติดตั้งระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบต่อเนื่อง นอกจากนี้ ได้กำหนดมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ เช่น ตรวจวัดคุณภาพอากาศจากปล่องระบายอากาศ และในบรรยากาศปีละ 1 ครั้ง          1) เห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการชำนาญการฯ โดยให้ กฟผ. รับความเห็นของ กก.วล. ไปพิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมในประเด็นการจัดการขยะในโครงการและ            การจัดการดินขุดจากการก่อสร้าง การปรับข้อมูลด้านสาธารณสุขและด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมทั้งให้ดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงาน EIA และ             ตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดไว้
2) มอบให้กระทรวงพลังงาน (กฟผ.)และกระทรวงมหาดไทย [การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.]     รับความเห็นของ กก.วล. ในประเด็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ให้ กฟผ. และ กฟภ. และ กฟน. ริเริ่มหาแนวทางนำพลังงานสะอาดจากธรรมชาติมาใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าแทนพลังงานฟอสซิล
2. การกำหนดมาตรฐานคุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดิน : แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) มาตรฐานคุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดินเพื่อปกป้องสัตว์หน้าดิน3 โดยใช้หลักการการพบและไม่พบความเป็นพิษต่อสัตว์หน้าดินที่ความเข้มข้นต่าง ๆ และเลือกค่าความเข้มข้นที่เหมาะสมที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสัตว์หน้าดิน และ (2) มาตรฐานคุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดินเพื่อปกป้องมนุษย์ผ่านห่วงโซ่อาหาร4 โดยใช้หลักการที่คำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัยในสัตว์น้ำที่ยอมให้มีได้เพื่อการบริโภค
- กรมควบคุมมลพิษได้จัดทำประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง เกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดินตั้งแต่ปี 2561 เนื่องจากการปนเปื้อนมลพิษในสิ่งแวดล้อมมักเคลื่อนย้ายมาสะสมในตะกอนดิน ส่งผลกระทบต่อสัตว์หน้าดิน สัตว์น้ำ และมนุษย์ผ่านห่วงโซ่อาหาร จึงควรยกระดับการกำหนดมาตรฐานคุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดินเป็นประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติตามมาตรา 325 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
          - กรมควบคุมมลพิษได้ทบทวนแนวทางการกำหนดมาตรฐานคุณภาพตะกอนดินจากหน่วยงานหลักด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศที่มีการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพตะกอนดินเช่น องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา และได้จัดทำ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดิน พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ เช่น วัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการบ่งขี้และเฝ้าระวังคุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดิน และการป้องกันผลกระทบจากสารอันตรายในตะกอนดินที่มีต่อสัตว์หน้าดิน สัตว์น้ำ และมนุษย์ผ่านห่วงโซ่อาหาร ซึ่ง (ร่าง) ประกาศดังกล่าวได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาชนแล้ว          เห็นชอบ (ร่าง) ประกาศฯ โดยให้กรมควบคุมมลพิษพิจารณาปรับปรุงเอกสารภาคผนวกท้ายประกาศโดยเพิ่มเติมข้อมูลวิธีการวิเคราะห์ให้ครบถ้วนด้วยตามความเห็นของ กก.วล. และมอบหมายให้ ทส. โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนำประกาศดังกล่าวเสนอประธาน
กก.วล. พิจารณาลงนามต่อไป (ขณะนี้ได้มีการลงนามในประกาศเรียบร้อยแล้ว)


???
1แนวพระราชดำริการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง : เป็นการปลูกป่าที่สามารถให้ประโยชน์เป็นไม้ใช้สอย ไม้กินและไม้เศรษฐกิจ นอกจากจะให้ประโยชน์ในตัวเองตามชื่อแล้วยังสามารถให้ประโยชน์อีกประการหนึ่ง คือ สามารถช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธารด้วย
2การปลูกป่าในลักษณะหลายเรือนยอด : เป็นการปลูกป่าโดยคัดเลือกพรรณไม้ที่มีการจัดเรียงตัวของเรือนยอดไม้ลดหลั่นกัน            ซึ่งแตกต่างกันตามลักษณะพันธุกรรมของพรรณไม้แต่ละชนิด เช่น ไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้เถา และไม้ล้มลุก เพื่อช่วยสร้างความชุ่มชื่นในบรรยากาศ ช่วยปกป้องความชื้นภายใต้เรือนยอดต้นไม้และผิวหน้าดิน รวมถึงช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ดินถล่ม      ไปจนถึงเหตุการณ์น้ำป่าไหลหลาก
3ระดับความเข้มข้นสูงสุดของสารอันตรายในตะกอนดินที่สัตว์หน้าดินสามารถอาศัยได้ (เช่น ไส้เดือนน้ำ หนอนแดง และชีปะชาว)     โดยไม่เกิดอันตรายต่อสัตว์อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศแหล่งน้ำผิวดินต่อไป
4ระดับความเข้มข้นสูงสูดของสารอันตรายในตะกอนดินที่สะสมและถ่ายทอดสู่สัตว์น้ำผ่านห่วงโซ่อาหารและมนุษย์สามารถรับประทานสัตร์น้ำโดยไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยในระยะยาว
5มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฯ บัญญัติให้เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้ กก.วล. มีอำนาจประกาศในราซกิจจานุเบกษากำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงมาตรฐานคุณภาพน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำสาธารณะอื่น ๆ ที่อยู่ภายในผืนแผ่นดิน โดยจำแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำในแต่ละพื้นที่

11. เรื่อง กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ด้านการอุดมศึกษาฯ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ (ด้าน ววน.) ประจำปีงบประมาณ   พ.ศ. 2567 รวมวงเงินทั้งสิ้น 146,070.40 ล้านบาท ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สภานโยบายฯ) เสนอ ดังนี้
                    1. กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567                     จำนวน 114,970.40 ล้านบาท และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าว
                    2. กรอบวงเงินงบประมาณด้าน ววน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 31,100 ล้านบาท และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าว
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สภานโยบายฯ รายงานว่า
                    1. สภานโยบายฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 มีมติเห็นชอบหลักการของ (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ฯ พ.ศ. 2566 - 2570 เพื่อใช้จัดทำแผนด้านการอุดมศึกษาฯ และแผนด้าน ววน. ต่อไป และต่อมาในคราวประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบแผนด้านการอุดมศึกษาฯ พ.ศ. 2564 - 2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 - 2570 และ (ร่าง) แผนด้าน ววน. พ.ศ. 2566 - 2570 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อเอกสารทั้ง 3 ฉบับแล้ว
                    2. สภานโยบายฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาฯ จำนวน 114,970.40 ล้านบาท และกรอบวงเงินงบประมาณด้าน ววน. จำนวน 31,100 ล้านบาท เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป
                    3. กรอบวงเงินด้านการอุดมศึกษาฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และกรอบวงเงินด้าน ววน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวนรวมทั้งสิ้น 146,070.40 ล้านบาท จัดทำขึ้นเพื่อตอบโจทย์สำคัญและเร่งด่วนของประเทศ โดยมุ่งตอบสนองการขับเคลื่อนประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว (Bio - Circular - Green Economy : BCG) ใน 4 ด้าน (ด้านเกษตรและอาหาร ด้านการแพทย์และสุขภาพ ด้านการท่องเที่ยวและด้านพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ) เศรษฐกิจฐานรากเพื่อขจัดความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต เศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับทุนทางวัฒนธรรม การผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล โดยสาระสำคัญของกรอบวงเงินทั้ง 2 ด้านดังกล่าว มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                              3.1 ด้านการอุดมศึกษาฯ
                                        3.1.1 กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 114,970.40 ล้านบาท ใช้หลักการจัดสรรงบประมาณให้สนองด้านอุปสงค์ (Demand - Side Financing) ตามแนวทางการพัฒนาระบบ (Roadmap) การจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์สำหรับการอุดมศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการส่งมอบผลลัพธ์ (Outcome) สำคัญ ได้แก่ การผลิตกำลังคนที่ตอบสนองต่อความต้องการ (Real Demand) ได้อย่างแท้จริง สะท้อนได้จากความสามารถในการได้งานทำ (Employability) เพิ่มสูงขึ้น ความคุ้มค่าและผลตอบแทนจากการลงทุน (Return of Investment) ที่ชัดเจน        และความเชื่อมโยงในการร่วมลงทุนในการพัฒนากำลังคนกับภาคเอกชน (Co-creation) โดยในปีงบประมาณ       พ.ศ. 2567 มีการดำเนินการจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 มาตรา 45 รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                                                  (1) งบบุคลากรตามมาตรา 45 (1) ประมาณการจากงบประมาณรายจ่ายซึ่งเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ของบุคลากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2566       จำนวน 70,715.23 ล้านบาท
                                                  (2) งบดำเนินงานตามมาตรา 45 (2) คำนวณจากต้นทุนงบประมาณต่อหน่วยการผลิตบัณฑิต (Budget Cost Per Unit) โดยเชื่อมโยงกับจำนวนนักศึกษารวมที่เป็นเป้าหมายการจัดการศึกษารูปแบบปริญญา (Degree Program) ในแต่ละสาขาวิชา จำนวน 38,693.84 ล้านบาท
                                                  (3) งบลงทุนและงบเงินอุดหนุนเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา และการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศตามมาตรา 45 (3) กำหนดงบประมาณภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) จำนวน 5,561.33 ล้านบาท
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทงบประมาณ
ตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562          ปี 2566          ปี 2567          เปลี่ยนแปลงร้อยละ
เพิ่ม/(ลด)
มาตรา 45 (1) งบบุคลากรซึ่งเป็นเงินเดือน ค่าจ้างและสิทธิประโยชน์          71,582.98
(ร้อยละ 67.11)          70,715.23
(ร้อยละ 61.51)          (1.21)
มาตรา 45 (2) งบดำเนินงานและงบรายจ่ายอื่นซึ่งเป็นงบประจำ รวมทั้งงบลงทุนที่ไม่ใช่งบตาม 45 (3)          34,769.64
(ร้อยละ 32.60)          38,693.84
(ร้อยละ 33.65)          11.29
มาตรา 45 (3) งบลงทุนและงบเงินอุดหนุนเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ          305.30
(ร้อยละ 0.29)
จากกองทุน ววน.           5,561.33
(ร้อยละ 4.84)          1,721.60
รวมทั้งสิ้น          106,657.92          114,970.40          7.79
                                        3.1.2 การดำเนินงานที่สำคัญภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีดังนี้
                                                  (1) การผลิตบัณฑิต หลักสูตรระดับปริญญา (Degree) จำนวน 1,385,086 คน โดยมีเป้าหมายการผลิตบัณฑิตที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ จำนวน  415,525 คน              คิดเป็นร้อยละ 30 ของจำนวนนักศึกษารวมปีการศึกษา 2566
                                                  (2) การพัฒนากำลังคน หลักสูตรระยะสั้น Non-Degree (Re Skills, Up Skills, New Skills) จำนวนไม่น้อยกว่า 25,000 คน คิดเป็นร้อยละ 1 ของจำนวนประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป      วุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษาที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถ
                                                  (3) การพัฒนากำลังคนตลอดช่วงชีวิต เปิดโอกาสให้ผู้เรียนกลุ่มอายุ 25 ปีขึ้นไป (Non - Age group) ในระบบอุดมศึกษา จำนวนไม่น้อยกว่า 275,000 คน คิดเป็นร้อยละ 0.6 ของจำนวนประชากรไทยอายุ 25 ปีขึ้นไป
                                                  (4) โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) มีผลผลิตสรุปได้ ดังนี้
ผลผลิตของโครงการ Reinventing University ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567          ค่าเป้าหมาย
แพลตฟอร์ม/ระบบ การบริหารจัดการหลักสูตร บูรณาการการเรียนการสอนและการวิจัยด้านต่าง ๆ           30 แพลตฟอร์ม
หลักสูตรนานาชาติคุณภาพสูง และหลักสูตรใหม่ในสาขาวิชาเทคนิคระดับสูงที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ          30 หลักสูตร
จำนวนหลักสูตร (หลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตรระยะสั้น (Re Skill, Up Skill, New Skill) หลักสูตร Non - Degree หลักสูตรสหกิจและอื่น ๆ)          60 หลักสูตร
จำนวนหลักสูตร (หลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตรระยะสั้น (Re Skill, Up Skill, New Skill) หลักสูตร Non - Degree หลักสูตรสกิจศึกษาและอื่น ๆ) เพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากรสำหรับการพัฒนาพื้นที่          60 หลักสูตร
ยกระดับขีดความสามารถของคณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรมีความเชี่ยวชาญและทักษะเฉพาะทางระดับสูง          1,500 คน
สร้างบัณฑิตที่มีทักษะสูงตอบโจทย์อุตสาหกรรมของประเทศ และมีการพัฒนาทักษะ (Up Skill/Re Skill) แรงงานในอุตสาหกรรมปัจจุบัน เพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก          15,000 คน
ความร่วมมือกับสถาบันพันธมิตรระดับนานาชาติ          30 แห่ง
นักศึกษาต่างประเทศ/นักศึกษาแลกเปลี่ยนกับสถาบันพันธมิตรต่างประเทศ          40 คน
จำนวนผลงานตีพิมพ์ในวารสาระดับนานาชาติ (ระดับ Q1)           1,200 ชิ้น
ผู้ประกอบการที่ผ่านการสร้างศักยภาพการทำงานด้านธุรกิจนวัตกรรม          3,000 ราย
มีการเคลื่อนย้ายบุคลากรระหว่างมหาวิทยาลัยและอุตสาหกรรม ทั้ง 2 ทาง          600 คน
มีการสร้าง Technology - based Startup และพัฒนาผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) ให้สามารถยกระดับการสร้างเทคโนโลยีได้เองในประเทศ          200 ราย
จำนวนเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรตามจุดเด่น/จุดเน้น ร่วมกับหน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน และชุมชน          74 เครือข่าย
                              3.2 ด้าน ววน.
                                        3.2.1 กรอบวงเงินงบประมาณด้าน ววน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 31,100 ล้านบาท และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ ประมาณการกรอบวงเงินโดยใช้หลักการ Impact - Based Budgeting มีวิธีคำนวณ ดังนี้
                                                  (1) ประมาณการงบประมาณลงทุนด้าน ววน. ที่จำเป็นสำหรับการบรรลุตามเป้าหมาย โดยพิจารณาผลกระทบที่ ววน. จะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
                                                  (2) ประมาณการค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ทั้งหมดที่จำเป็น และงบประมาณ R&D ของภาครัฐ
                                                  (3) คำนวณงบประมาณด้าน ววน. ที่จัดสรรผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมโดยหักงบประมาณจากเงินรายได้ภาครัฐและจากกองทุนอื่น ๆ เงินค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร และงบประมาณจากแผนงานอื่น ๆ ออกจากงบ R&D ของภาครัฐ
                                                  (4) ประมาณการงบประมาณที่จำเป็นและเพียงพอสำหรับการดำเนินงานตามแผนด้าน ววน. เพื่อให้สามารถนำส่งผลลัพธ์และผลกระทบได้ตามแผน
หน่วย : ล้านบาท
รายการ          ปี 2567          ปี 2568          ปี 2569           ปี 2570
1. เงินลงทุน R&D ทั้งหมดที่จำเป็น          319,259          384,600          470,241          539,915
2. งบประมาณ R&D ภาครัฐ          95,778          105,765          117,560          121,481
   2.1 การลงทุน R&D จากเงินรายได้ภาครัฐและจากกองทุนอื่น ๆ          33,000          28,000          27,000          26,000
   2.2 เงินค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร          18,300          18,600          18,800          19,000
   2.3 งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับ ววน.          44,478          59,165          71,760          76,481
      2.3.1 งบประมาณแผนงานอื่น ๆ แผนส่งเสริมอุตสาหกรรม แผนส่งเสริม SMEs ฯลฯ ที่ดำเนินงานตามแผน ววน.           13,400          12,000          11,500          11,000
     2.3.2 งบประมาณแผ่นดินผ่านกองทุน ววน.          31,078
(31,100)          47,165          60,260          65,481
                                        3.2.2 สัดส่วนงบประมาณรายยุทธศาสตร์ของแผนด้าน ววน. พ.ศ. 2566 - 2570 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สรุปได้ ดังนี้
ยุทธศาสตร์          งบประมาณ
(ล้านบาท)          สัดส่วน
(ร้อยละ)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้มีความสามารถในการแข่งขัน และพี่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม          10,885          35
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม           9,330          30
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต          4,665          15
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากำลังคน สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันวิจัยให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม          6,220          20
รวมงบประมาณ          31,100          100
                                        3.2.3 ระบบการจัดสรรงบประมาณและบริหารงบประมาณด้าน ววน. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สรุปได้ ดังนี้
                                                  (1) งบประมาณด้าน ววน. แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
                                                            (1.1) งบประมาณเพื่อสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund) จำนวนร้อยละ 60 ? 65 เป็นการสนับสนุนการวิจัยที่ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์และแผนด้าน ววน.
                                                            (1.2) งบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) จำนวนร้อยละ 35 - 40 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและสร้างความเข้มแข็งตามพันธกิจของหน่วยงาน
                                                            โดยการจัดสรรงบประมาณทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวครอบคลุมงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ (Research Utilization) จำนวนรวมทั้งสิ้น 5,000 ล้านบาท
                                                  (2) แนวทางการจัดสรรและบริหารงบประมาณของกรอบวงเงินดังกล่าวเป็นแบบเงินก้อน (Block Grant) และการจัดสรรงบประมาณแบบต่อเนื่องหลายปี (Multi - year Budgeting) ที่สอดคล้องกับแผนด้าน ววน. มีการกระจายอำนาจให้หน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยบริหารและจัดการทุน (Program Management Unit : PMU) เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเกิดความคล่องตัว มีความยืดหยุ่น และดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการมีระบบผลักดันการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และกลไกเพื่อพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดผลลัพธ์จากการใช้จ่ายงบประมาณที่มีคุณภาพและสามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศได้ในเวลาที่เหมาะสมและพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
                                        3.2.4 ผลที่คาดว่าจะเกิดจากการลงทุนด้าน ววน. มีดังนี้
                                                  (1) ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้นำเทคโนโลยี (Front Runner) ในระดับสากลสำหรับสาขาเป้าหมายของประเทศ และในระดับอาเซียนสำหรับอุตสาหกรรมและบริการใหม่แห่งอนาคต
                                                  (2) กำลังคนของประเทศมีผลิตภาพและศักยภาพสูงขึ้นด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ
                                                  (3) ประมาณการงบลงทุนด้านวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยการกระตุ้นของการลงทุนของรัฐ และนโยบาย/มาตรการด้านการอุดมศึกษาฯ
                                                  (4) สังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนเป้าหมายมีความตระหนักรู้ในความสำคัญ ประโยชน์ และคุณค่าจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
                                                  (5) ประเทศไทยมีอันดับดัชนีนวัตกรรมโลก Global Innovation Index) ที่สูงขึ้นอยู่ใน 35 อันดับแรก
                                                  (6) ประเทศไทยมีอันดับดัชนีความยั่งยืน (SDG Index) ที่สูงขึ้น            อยู่ใน 35 อันดับแรก
                                        3.2.5 ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น/เป้าหมายความสำเร็จปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำแนกรายยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่          ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
(เป้าหมายความสำเร็จ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567)          ผู้รับประโยชน์
1. การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้มีความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนพร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม          1.1 ประเทศไทยสามารถผลิตวัคซีนโควิด 19 ที่พัฒนาขึ้นเองภายในประเทศ และสามารถใช้ได้จริงในการให้บริการภายในปี 2566 และพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่องทุกปี        (มีวัคซีนโควิด 19 ใช้ได้จริงไม่น้อยกว่า 1 รายการ)          - ประชาชนและสังคม
- ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำบล หมู่บ้าน
- สถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ และภาคเอกชน
          1.2 จำนวนธุรกิจฐานนวัตกรรมที่กองทุนส่งเสริม ววน. ร่วมสนับสนุนผลักดันยกระดับศักยภาพด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม (50 ราย)
          1.3 ประเทศไทยมีการให้บริการการแพทย์จีโนมิกส์ (Genomics Medicine : เป็นนวัตกรรมการบริการทางการแพทย์ที่ใช้ข้อมูลพันธุกรรมเฉพาะบุคคลร่วมกับข้อมูลทางสุขภาพอื่น ๆ มาใช้ในการวินิจฉัย รักษา และทำนายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ทำให้สามารถรักษาผู้ป่วยได้ตรงจุด แม่นยำ และเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายมากขึ้น) ตลอดจนการต่อยอดสู่อุตสาหกรรมการแพทย์ของประเทศและการแพทย์แม่นยำ (ไม่น้อยกว่า 1 รายการ)
          1.4 จำนวนวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และบรรจุภัณฑ์ขั้นสูงที่เป็นนวัตกรรมระดับสูงและมูลค่าสูง และได้มาตรฐานเทียบเคียงกับสากลและจำหน่ายในต่างประเทศ             หรือสามารถทดแทนการนำเข้า (ไม่น้อยกว่า 1 รายการ)
          1.5 จำนวนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการวิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ รวมทั้งหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน (100 คน)
          1.6 จำนวนผู้ประกอบการที่พัฒนาและผลิตเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่องของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (10 ราย)
2. การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนสามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก          2.1 จำนวนนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ (18 ชิ้น)          - ประชาชนและสังคมรวมถึงชุมชนท้องถิ่น
          2.2 จำนวนเมืองน่าอยู่ที่มีการพัฒนาเชื่อมโยงกับชุมชน/ท้องถิ่น โดยใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (เพิ่มขึ้นเป็น 10 เมือง)
          2.3 จำนวนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับการยกระดับศักยภาพและมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 (350 ราย)
          2.4 จำนวนต้นแบบในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่สามารถพัฒนาและเร่งแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน/ท้องถิ่น (15 ต้นแบบ)
          2.5 จำนวนผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางในเมืองและชนบทที่เข้าถึงองค์ความรู้ได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในอนาคตด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ (90,000 คน)
          2.6 จำนวนนโยบาย นวัตกรรมชุมชน นวัตกรรม การกำหนดพื้นที่นวัตกรรม เทคโนโลยี และดิจิทัลแพลตฟอร์ม ที่ได้นำไปใช้และแสดงว่าสามารถยกระดับรายได้หรือแก้ไขปัญหาของชุมชนชนบทและชุมชนเมืองด้านอาชีพ การศึกษาเรียนรู้ และการเข้าถึงเทคโนโลยี/นวัตกรรม (150 นวัตกรรม)
          2.7 จำนวนเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งการกำหนดพื้นที่นวัตกรรมที่ถูกนำไปใช้ในการพัฒนาและเร่งแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการแก้ไขปัญหามลพิษ โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและการบริโภคอย่างยั่งยืนและการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและยั่งยืนในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (15 ชิ้น)
3. การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต          3.1 จำนวนองค์ความรู้ นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีขั้นแนวหน้า รวมถึงเทคโนโลยีต้นแบบที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้และ/หรือพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต (15 ชิ้น)          - ประชาชนและผู้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม
- ภาคเอกชนที่พร้อมลงทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
          3.2 จำนวนกำลังคนสมรรถนะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ที่สามารถสร้างโอกาสใหม่และเตรียมความพร้อมของประเทศสู่อนาคต (100 คน)
          3.3 จำนวนโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพที่ได้รับการพัฒนายกระดับให้ทัดเทียมสากลหรือได้รับการรับรองมาตรฐานสากล (10 ระบบ)
4. การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม          ประเทศไทยมีศูนย์กลางกำลังคนระดับสูง (Hub of Talent) ของอาเซียน และมีศูนย์กลางการเรียนรู้ (Hub of Knowledge) ที่ได้รับการยอมรับระดับสากลเพิ่มขึ้น (ไม่น้อยกว่า 1 แห่ง)           - ประชาชน และผู้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม
- องค์กร/ประชาสังคมที่เป็นผู้ใช้บัณฑิต/ผู้เชี่ยวชาญ
- สถาบันอุดมศึกษาหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

12. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3/2565 และแนวโน้มไตรมาสที่ 4/2565    และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนตุลาคม 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3/2565 และแนวโน้มไตรมาสที่ 4/2565 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนตุลาคม 2565 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญ
                    ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3/2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 8.1 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ 2/2565 ที่หดตัวร้อยละ 0.8  จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศทยอยปรับตัวดีขึ้นตามสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่คลี่คลาย รวมถึงผลของฐานต่ำ เนื่องจากในปีก่อนเป็นช่วงที่มีการระบาดค่อนข้างรุนแรง รวมถึงมีการติดเชื้อในสถานประกอบการค่อนข้างมาก ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัวในไตรมาสที่ 3/2565 อาทิ ยานยนต์ เนื่องจากในปีนี้ การผลิตสามารถดำเนินการได้มากขึ้นและปัญหาการขาดแคลนชิปทยอยคลี่คลายในขณะที่ปีก่อนการผลิตรถได้รับผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนชิป และการระบาดของเชื้อโควิด-19   การกลั่นปิโตรเลียม จากสถานการณ์โควิดที่คลี่คลาย ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศหลังจากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ในปีก่อนยังมีการหยุดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นบางโรง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกยังคงขยายตัว รถจักรยานยนต์ เนื่องจากในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีการระบาดของ             โควิด-19 ในโรงงานผลิตชิ้นส่วน ส่งผลให้การผลิตรถจักรยานยนต์ได้รับผลกระทบ เครื่องปรับอากาศ ภาวะการผลิต
ปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามความต้องการสินค้าที่ยังคงขยายตัวทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก รวมถึงผู้ผลิตสามารถพัฒนาสินค้าได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคทั้งในด้านของการประหยัดพลังงาน รวมถึงมีความสามารถในการกรองหรือดักจับฝุ่นละอองและเชื้อโรคต่าง ๆ ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                    ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากภาคการส่งออกที่หดตัวจากผลกระทบของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงการผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรหลายกลุ่มหดตัว อาทิ ปุ๋ยเคมี  ผลิตภัณฑ์ยาง การแปรรูปผักและผลไม้ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ของไทยในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศหลายอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี อาทิ รถยนต์ น้ำมันปาล์ม อาหารสัตว์
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนตุลาคม 2565  หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ             ปีก่อน คือ
                    1. Hard Disk Dive หดตัวร้อยละ 41.12 ตามการทยอยยกเลิกผลิตสินค้าที่มีความต้องการในตลาดโลกลดลง รวมถึงเศรษฐกิจโลกชะลอตัวส่งผลต่อการลงทุนและกำลังซื้อ
                    2. การกลั่นน้ำมัน หดตัวร้อยละ 9.4 จากการหยุดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นบางโรง อย่างไรก็ตาม              การผลิตน้ำมันเครื่องบิน และน้ำมันเบนซินยังคงขยายตัวจากปีก่อน ตามความต้องการใช้เพื่อการเดินทางและ              การขนส่งเพิ่มขึ้น
                    3. เม็ดพลาสติก หดตัวร้อยละ 18.61 จากการหยุดซ่อมบำรุงของผู้ผลิตบางราย รวมถึงมีการปรับ  ลดการผลิตและจำหน่ายลงจากความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอยซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อ
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนตุลาคม 2565 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
                    1. รถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 9.88 จากปัญหาการขาดแคลนชิปในปีนี้คลี่คลายลง ผู้ผลิต สามารถทยอยผลิตและส่งมอบรถยนต์ได้เพิ่มขึ้น รวมถึงราคาสินค้าเกษตรและผลผลิตอยู่ในระดับสูงส่งผลให้กำลังซื้อจากภาคเกษตรปรับตัวดีขึ้น
                    2. น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 31.82 ตามความต้องการสินค้าเพื่อบริโภคในภาคครัวเรือนภาคอุตสาหกรรมและพลังงาน รวมถึงมีผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดจำนวนมาก จากการบำรุงต้นปาล์มของเกษตรกร
                    แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 4/2565
                    อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ              ปี ก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม มีความเสี่ยงจากต้นทุนพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้แนวโน้มราคาเหล็กในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น และอาจทำให้ความต้องการใช้เหล็กชะลอตัวลง
                    อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายคาดว่าจะขยายตัวได้จากแรงขับเคลื่อนของโครงการก่อสร้างภาครัฐ และภาคเอกชนออกมาตรการส่งเสริมการตลาดเพื่อทำยอดขายช่วงปลายปี แต่อย่างไรก็ดี แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีทิศทางบรับขึ้น ตามการทยอยขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ยังเป็นปัจจัยลบที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชน
                    อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง คาคว่า ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมจะกลับมาขยายตัวจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ในส่วนของปริมาณการผลิตยางรถยนต์ คาดการณ์ว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทางด้านปริมาณการผลิตถุงมือยางคาดการณ์ว่าจะชะลอตัว จากแนวโน้มความต้องการใช้ถุงมือยางในประเทศและต่างประเทศที่ปรับลดลง
                    อุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการเปิดประเทศ ทำให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุปสงค์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว และความผันผวนของค่าเงินบาท   ที่อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า โดยเฉพาะวัตถุดิบที่ต้องพึ่งพาการนำเข้า อาทิ ปลาทูน่า แป้งสาลี


13. เรื่อง สรุปผลการประชุมมอบนโยบายเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน
และฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคเหนือ ปี 2566
                              คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมมอบนโยบายเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์
ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคเหนือ ปี 2566 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(ทส.) เสนอ ดังนี้
                    เรื่องเดิม
                    1. นายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) มีข้อสั่งการ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2563                           เรื่อง การติดตามสถานการณ์หมอกควันในภาคเหนือ ให้ทุกหน่วยราชการบูรณาการการบริหารจัดการ
จุดความร้อนในพื้นที่ ทำแนวกันไฟ เพิ่มความชื้นในพื้นที่ด้วยฝายชะลอน้ำ รวมทั้ง ให้ความช่วยเหลือประชาชน
ที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน โดยให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ทำงานด้วยความระมัดระวัง ลดอุบัติเหตุ
หรืออันตรายที่จะเกิดต่อชีวิตและทรัพย์สิน และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์รายวันได้ทุกช่องทาง และขอความร่วมมือ
จากประชาชนให้งดกิจกรรมกลางแจ้งใส่อุปกรณ์ป้องกัน สวมหน้ากากอนามัยสำหรับผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพ
เป็นพิเศษ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และเด็กเล็ก รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาสุขภาพจากหมอกควัน
และฝุ่นละอองขนาดเล็ก ส่งเสริมการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรแทนการเผา เพื่อเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน   รวมทั้งปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือส่วนราชการด้วย
                    2. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดการประชุมมอบนโยบาย
เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคเหนือ ปี 2566  เมื่อวันที่
26 ธันวาคม 2565 ณ จังหวัดเชียงราย โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยมีผู้แทนหน่วยงานทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นเข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหม
                    สาระสำคัญ ข้อเท็จจริง
                    1. การเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2566
1.1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ?การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง? มาตั้งแต่ปี 2562 และทำการถอดบทเรียน (After Action Review : AAR) การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง เป็นประจำทุกปี โดยในปี 2565         ได้จัดการประชุมถอดบทเรียนการป้องกันและแก้ไขปัญหา เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 โดยมีนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุม เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน      ที่ผ่านมา และรับฟังปัญหา อุปสรรค รวมทั้งข้อเสนอแนะ สำหรับนำไปปรับปรุงแนวทางการดำเนินงาน                     ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.2 แนวทางการดำเนินการที่ได้จากการประชุมถอดบทเรียน ได้ถูกนำไปกำหนดเป็นแผนเฉพาะกิจสำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาปี 2566 สำหรับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการ โดยเฉพาะในช่วงเกิดสถานการณ์ เพื่อควบคุมแหล่งกำเนิดและปริมาณฝุ่นละอองไม่ให้สูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
1.3 แผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2566 กำหนดขึ้นภายใต้กรอบ ?สื่อสารเชิงรุก ยกระดับปฏิบัติการ สร้างการมีส่วนร่วม? โดยมีรายละเอียดและหน่วยงานรับผิดชอบโดยสรุป ดังนี้

แนวทางการดำเนินงาน          หน่วยงาน/
ผู้ดำเนินงานหลัก          หน่วยงาน/
ผู้ดำเนินงานสนับสนุน
?1 สื่อสารเชิงรุก?
1. เร่งรัดการประชาสัมพันธ์เชิงรุกและแจ้งเตือนล่วงหน้า 7 วันทุกพื้นที่          สำนักนายกรัฐมนตรี/กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล?อม/
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ          กระทรวงมหาดไทย/กระทรวงสาธารณสุข/กระทรวงดิจิทัล
เพื่อเศรษฐกิจและสังคม/กระทรวงเกษตร       และสหกรณ์/
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย      และนวัตกรรม/ กระทรวงศึกษาธิการ/สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์          และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ/
ภาคเอกชน
?5 ยกระดับปฏิบัติการ?
2. ยกระดับมาตรการการดำเนินงาน
ตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ?การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง?และแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง
          ทุกหน่วยงาน          ทุกหน่วยงาน
3. ยกระดับการบริหารจัดการเชื้อเพลิง               แบบครบวงจร (ชิงเก็บ ลดเผา และระบบ Burn Check)          กระทรวงมหาดไทย/
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล?อม/
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์/กระทรวงอุตสาหกรรม/ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย          และนวัตกรรม          กระทรวงพลังงาน/ภาคเอกชน
4. กำกับดูแลการดำเนินการในทุกระดับอย่างเข้มงวด ติดตามผลการดำเนินการ
และประเมินสถานการณ์เป็นระยะ
อย่างต่อเนื่อง          กระทรวงคมนาคม/
กระทรวงอุตสาหกรรม/สำนักงานตำรวจแห่งชาติ/ กรุงเทพมหานคร/กระทรวงมหาดไทย          กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ    และสิ่งแวดล?อม
5. ลดจุดความร้อน ป้องกันและควบคุม   การเกิดไฟในทุกพื้นที่ และพัฒนาระบบพยากรณ์ความรุนแรงและอันตรายของไฟ (Fire Danger Rating System : FDRS)          กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล?อม/กระทรวงมหาดไทย/กระทรวงกลาโหม/         สำนักนายกรัฐมนตรี/กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย          และนวัตกรรม/
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์/กระทรวงอุตสาหกรรม/กระทรวงคมนาคม          เครือข่ายอาสาสมัคร
6. ผลักดันกลไกระหว่างประเทศ เพื่อให้      การป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนมีประสิทธิภาพสูงสุด          กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล?อม/กระทรวงกลาโหม/
กระทรวงการต่างประเทศ          กระทรวงมหาดไทย
?1 สร้างการมีส่วนร่วม?
7. ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนและดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าและฝุ่นละออง          กระทรวงมหาดไทย          กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ    และสิ่งแวดล?อม
2. การมอบนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง
ในพื้นที่ภาคเหนือ ปี 2566 โดย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
2.1 สถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2565
จากการดำเนินงานและยกระดับการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง
อย่างต่อเนื่อง  ทำให้ปี 2565 สถานการณ์ฝุ่นละอองในภาพรวมมีแนวโน้มดีขึ้น โดยในช่วงสถานการณ์ฝุ่นละอองของพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ (1 มกราคม -  31 พฤษภาคม 2565) พบปริมาณ PM2.5 เริ่มสูงขึ้นและเกินมาตรฐานตั้งแต่เดือนมกราคม และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาพบว่ามีแนวโน้มดีขึ้น โดยปี 2565 ปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 3๐ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 27 และจำนวนวันที่ฝุ่นละออง PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน ปี 2565 มีจำนวน 70 วัน ลดลงจากปีที่แล้วถึงร้อยละ 32 ในขณะที่จำนวนจุดความร้อนลดลงร้อยละ 61
2.2 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี สั่งการให้ทุกกระทรวง
และทุกหน่วยงานบูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ให้ครอบคลุมทุกมิติ
เพื่อปกป้องสุขภาพอนามัยของพี่น้องประชาชนในทุกพื้นที่ ทั้ง ?พื้นที่เมือง พื้นที่เกษตร พื้นที่ป่า? และให้หน่วยงาน
ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้มงวดกวดขัน ทุ่มเทสรรพกำลังองค์ความรู้และทรัพยากรอย่างเต็มกำลังความสามารถ
และประสานงานกันในการดำเนินงาน ปฏิบัติการขับเคลื่อนตามแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษ
ด้านฝุ่นละออง ปี 2566 โดยให้ดำเนินการ ดังนี้
1) สร้างความเป็นเอกภาพของข้อมูล ปรับรูปแบบการรายงานข้อมูล
และองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้น่าสนใจ เข้าถึงง่ายเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและตื่นตระหนก
2) สร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชน นำความเห็นของ                พี่น้องประชาชนมาปรับปรุงการทำงานให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
3) การป้องกัน และแก้ไขปัญหาต้องเป็นเอกภาพ การรับผิดชอบ กำกับดูแลพื้นที่ต้องไม่เกิดช่องว่าง หรือพื้นที่เกรงใจ และต้องไม่เกิดปัญหา ว่าไม่ใช่พื้นที่รับผิดชอบไม่ทำ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างจังหวัด หรือระหว่างหน่วยงาน
4) ผู้ว่าราชการจังหวัดบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ใช้ระบบ Single command มีการจัดทำประกาศจังหวัดในสถานการณ์ต่าง ๆ การเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ และบูรณาการสั่งการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุกพื้นที่/ทุกระดับ ทั้งอำเภอ ตำบล (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) และกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน
2.3 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้หน่วยงานหลักกำกับดูแลการปฏิบัติงาน เป็นรายกระทรวง ดังนี้
1) กระทรวงมหาดไทย
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือ
ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานเพื่อเผชิญเหตุ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัคร เช่น กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มอบหมายเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล สร้างความเข้าใจ และความตระหนัก ให้พี่น้องประชาชนเชื่อมั่น ยอมรับ และร่วมมือในการเฝ้าระวัง และดูแลรักษา ไม่ให้เกิดปัญหาไฟป่า และการเผาในที่โล่ง
- จัดตั้งอาสาสมัครและครือข่ายป้องกัน และแก้ไขปัญหา/ดับไฟป่า ระดับชุมชนหรือหมู่บ้าน
2) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ อำนวยการ/กำกับการ และสนับสนุนให้หน่วยป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบ ดูแลป้องกันไฟป่าให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด
และประสานอย่างใกล้ชิดกับศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ระดับจังหวัด ใช้ระบบพยากรณ์ระดับชั้นอันตรายของไฟประเมินความเสี่ยงพื้นที่ ระดมสรรพกำลังลาดตระเวนเฝ้าระวังการเผาป่าโดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง หากพบไฟไหม้ ให้เข้าพื้นที่ดับไฟอย่างรวดเร็ว ไม่ให้ลุกลามเป็นวงกว้าง บริหารจัดการเชื้อเพลิงแบบครบวงจร ทั้งการจัดทำแนวกันไฟในพื้นที่เสี่ยงไฟป่า ขยายผลโครงการ ?ชิงเก็บ ลดเผา? ในช่วงที่มีสถานการณ์ไฟป่ารุนแรง ให้ออกประกาศตามอำนาจกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ห้ามมิให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเข้าไปกระทำการใด ๆ ในพื้นที่ป่า
- กรมควบคุมมลพิษ ติดตาม ตรวจสอบ คาดการณ์ ประเมิน และวิเคราะห์สถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและ          ภูมิสารสนเทศ (GISTDA) พร้อมสื่อสารไปยังประชาชนอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ประสานกระทรวงการต่างประเทศ ขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ปัญหาหมอกควันข้ามแดนตามกลไกอาเซียน ผลักดันให้ประเทศสมาชิกตั้งเป้าหมายร่วมกันในการลดจุดความร้อนและพื้นที่เผาไหม้ ติดตามและกำกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ และแผนเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2566 และรายงานผลการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง
- ร่วมกับท้องถิ่น อาสาสมัครและเครือข่ายภาคประชาชน ประชาสัมพันธ์                เฝ้าระวังไม่ให้เกิดการเผาป่า และร่วมดับไฟในกรณีเกิดไฟ
3) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- เฝ้าระวัง ป้องปราม ระงับ ยับยั้ง การเผาในพื้นที่เกษตรกรรม
อย่างเคร่งครัด โดยประชาสัมพันธ์เชิงรุกสร้างการรับรู้ให้แก่เกษตรกร
- สร้างเครือข่ายเกษตรกรงดการเผา และขยายเครือข่าย เพื่อปรับเปลี่ยน                 วิถีชีวิตให้เป็นเกษตรปลอดการเผา
- ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุทางการเกษตร สร้างมูลค่า             พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนหลักการ Bio-Circular-Green Economy (BCG)
4) กระทรวงคมนาคม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- กำกับดูแล เข้มงวดกวดขัน และบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังกับรถยนต์       และจักรยานยนต์ ที่ระบายสารมลพิษ หรือควันดำ
- จัดระบบการจราจรให้คล่องตัวในช่วงสภาวะอากาศปิด และประสานเอกชนในการช่วยเหลือประชาชนในการตรวจสภาพรถยนต์และเปลี่ยนอะไหล่ราคาถูก
5) กระทรวงอุตสาหกรรม
- ตรวจสอบ กำกับ ดูแลโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ไม่ให้ระบายสารพิษออกสู่บรรยากาศ
- ขยายผล/เพิ่มประสิทธิภาพให้มีการลดการเผาอ้อย ให้บรรลุเป้าหมายและมาตรการที่ตั้งไว้
6) กระทรวงสาธารณสุข
- ยกระดับการเฝ้าระวัง แจ้งเตือน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยง
ต่อสุขภาพของประชาชน จัดเตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยารักษาโรคให้มีความพร้อมในพื้นที่ จัดสถานที่รองรับ              พี่น้องประชาชน หากเกิดสถานการณ์ปัญหาจากฝุ่นละอองที่รุนแรง ให้เพียงพอและครอบคลุมทุกพื้นที่
- ตรวจสุขภาพของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครในพื้นที่เสี่ยงที่ปฏิบัติการ
ในการดับไฟป่า เพื่อให้เกิดการรักษาก่อนการปฏิบัติงานและระวังตัวเองในการปฏิบัติงาน (ป้องกันการสูญเสีย)
7) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- กรมอุตุนิยมวิทยา ติดตามและวิเคราะห์สภาวะอากาศและการสะสมของ                ฝุ่นละอองล่วงหน้า เพื่อประสานหน่วยงาน ในการแก้ไขปัญหาและแจ้งเตือนพี่น้องประชาชน ให้เกิดความแม่นยำและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาได้ทันเวลา
- GISTDA จัดทำและรายงานข้อมูลจุดความร้อนและพื้นที่ไฟไหม้ซ้ำซาก        ให้ทันต่อสถานการณ์ และประเมินพื้นที่เสี่ยงเกิดไฟให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้ประกอบการวางแผนดำเนินงานและยกระดับมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้งเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านช่องทางที่เข้าถึงได้ง่าย และให้บำรุงรักษา พัฒนาต่อยอดระบบบริหารการเผาในที่โล่ง (Burn Check) อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการใช้งานของพี่น้องประชาชน
8) กระทรวงกลาโหม
กองทัพภาคที่ 3 และจังหวัดทหารบก ให้การสนับสนุนกำลังพล
เพื่อการสนับสนุนภารกิจของจังหวัด และร่วมปฏิบัติการกับหน่วยงานและอาสาสมัครโดยเฉพาะการดับไฟป่า

14. เรื่อง ผลการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุน (โดยวิธีการอนุญาต) สำหรับโครงการพัฒนาปรับปรุงท่าเรือสงขลา รวมทั้งการสนับสนุนงบประมาณให้แก่กรมเจ้าท่าในการขุดลอกและบำรุงรักษาความลึกของร่องน้ำสงขลา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุน (โดยวิธีการอนุญาต)1 (ร่างสัญญาฯ) สำหรับโครงการพัฒนาปรับปรุงท่าเรือสงขลา (โครงการฯ) ตามนัยมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 25562 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในการขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำสงขลานั้น เห็นควรให้กรมเจ้าท่าทบทวนวงเงินงบประมาณ และสำรวจปริมาณตะกอนดินในร่องน้ำอีกครั้งให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นขอให้กรมเจ้าท่าจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและความเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. รายงานว่า
                    1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ดำเนินโครงการฯ (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 26 เมษายน 2554) กรมธนารักษ์ได้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ        โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมดำเนินโครงการฯ ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (คณะกรรมการคัดเลือกฯ) โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 1/1/2559 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559 ให้ดำเนินการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมดำเนินโครงการฯ     โดยวิธีการประมูล ต่อมากรมธนารักษ์ได้มีประกาศเชิญชวนการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการฯ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2562 โดยมีผู้ยื่นเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุน 2 ราย ได้แก่ กิจการร่วมค้าสมิหลา และบริษัทเจ้าพระยาท่าเรือสากล จำกัด (บริษัทฯ) โดยผู้ยื่นข้อเสนอทั้ง 2 ราย ได้ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งในด้านคุณสมบัติ (ซองที่ 1) ข้อเสนอด้านเทคนิคและการลงทุน (ซองที่ 2) และข้อเสนอด้านผลประโยชน์ตอบแทน (ซองที่ 3) แต่บริษัทฯ เป็นผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการประเมินสูงสุด โดยมีข้อเสนอด้านผลประโยชน์ตอบแทน ดังนี้

รายการ          ผลประโยชน์
ตอบแทนขั้นต่ำ          ข้อเสนอ
มูลค่าปัจจุบัน (NPV) ของผลประโยชน์ตอบแทน (ตลอดอายุสัญญา 25 ปี) (ล้านบาท) (อัตราคิดลดร้อยละ 5)          1,418.324          1,906.891
ค่าตอบแทนล่วงหน้า (ล้านบาท)          425.497          488.888
ค่าตอบแทนรายปี รวม (ล้านบาท)          1,892.306          2,881.000
ค่าตอบแทนเพิ่มเติม (ร้อยละของรายได้ที่เพิ่มขึ้นเมื่อมีการปรับอัตราค่าภาระของท่าเรือ3)           45          45
ทั้งนี้ ผลประโยชน์ตอบแทนตลอดอายุสัญญา 25 ปี ที่บริษัทฯ เสนอ คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV)                 ที่ 1,906.891 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าผลประโยชน์ตอบแทนที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการของโครงการฯ เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2554 ตามผลการศึกษาของกรมธนารักษ์ที่มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 1,418.324 ล้านบาท ทำให้ภาครัฐได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้นกว่าเดิมกว่าร้อยละ 34.44 ดังนั้น คณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงมีมติเจรจาต่อรองกับบริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯ ได้เสนอที่จะพัฒนาระบบการขนถ่ายจัดวางตู้คอนเทนเนอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนถ่ายสินค้าและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของท่าเรือสงขลา ทำให้งบลงทุนเพิ่มขึ้น 159 ล้านบาท (รวมมูลค่าการลงทุนประมาณ 2,387.95 ล้านบาท) คณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงมีมติให้บริษัทฯ เป็นเอกชนที่ได้รับการคัดเลือก
                    2. กรมธนารักษ์ได้ส่งผลการคัดเลือกเอกชน ร่างสัญญาฯ และเอกสารที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) ตรวจพิจารณา ตามนัยมาตรา 40        (1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 โดย สคร. และ อส. ได้เสนอความเห็น/ข้อสังเกตต่อกรมธนารักษ์ เช่น กรมธนารักษ์ควรจัดทำคำชี้แจงเกี่ยวกับความเหมาะสมของแผนการลงทุนและรายการลงทุนตามโครงการฯ เพื่อใช้ประกอบการเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี (สคร.) และให้ตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมของประเด็นทางเทคนิค ก่อนที่จะลงนามในสัญญาร่วมลงทุนตามขั้นตอนต่อไป (อส.)    เป็นต้น ซึ่งกรมธนารักษ์ได้จัดทำข้อมูลชี้แจงความเห็น/ข้อสังเกตดังกล่าวแล้ว
                    3. สรุปสาระสำคัญของร่างสัญญาฯ มีดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
1. วัตถุประสงค์
ของโครงการฯ          ? เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการขนถ่ายสินค้าของท่าเรือสงขลาเพื่อรองรับการขยายตัวของปริมาณสินค้านำเข้าและส่งออกของภาคใต้ในอนาคต โดยจะต้องสามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ที่มีสายเดินเรือไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศญี่ปุ่นซึ่งไม่มีเครนประจำเรือ ให้สามารถเข้าจอดเพื่อรับส่งสินค้าโดยตรงได้ และสามารถแข่งขันกับท่าเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศอื่น ๆ
? สนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศ
? กรมธนารักษ์ในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการได้รับรายได้จากค่าตอบแทนหรือค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนการขยายตัวของจำนวนสินค้าผ่านท่าเรือสงขลาภายหลังจากการพัฒนาและปรับปรุงท่าเรือสงขลาแล้ว
2. หน้าที่ของฝ่ายรัฐ          ติดต่อประสานงานกับกรมเจ้าท่าเพื่อขอให้กรมเจ้าท่าดำเนินการขุดลอกและรักษาความลึกของร่องน้ำสงขลาให้อยู่ในระดับ 9 เมตร ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของ กค. ในเรื่องดังกล่าวรวมถึงกรณีที่มีการจัดสร้างท่าเรือคู่แข่ง การจัดหาเรือลากจูง และนโยบายของรัฐที่จะส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการท่าเรือสงขลาไว้ เพื่อป้องกันการฟ้องร้องต่อคู่สัญญาฝ่ายรัฐ อันเป็นการจำกัดขอบเขตหน้าที่ของ กค. แล้ว
3. หน้าที่ของฝ่ายเอกชน          ? วางหลักประกันสัญญาในรูปแบบของหนังสือค้ำประกันของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย เพื่อค้ำประกันการปฏิบัติตามหน้าที่และความรับผิดชอบทั้งปวงของบริษัทตามสัญญาไม่ต่ำกว่า 185.400 ล้านบาท
? ดำเนินการออกแบบ พัฒนา และปรับปรุงท่าเรือสงขลาตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา
? ทำประกันภัยกับบริษัทประกันภัยที่คู่สัญญาฝ่ายรัฐให้ความเห็นชอบ
? ดูแลและรับผิดชอบให้พื้นที่โครงการให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
? ชำระผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญา
? รับผิดชอบและชำระค่าสาธารณูปโภคและค่าบริการสาธารณะอื่น ๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งปวงที่เกิดขึ้นในพื้นที่โครงการ
? บริหารกิจการท่าเรือให้เป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ รวมถึงคุณภาพและมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสำหรับการบริหารท่าเรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกิจการท่าเรือ
4. ผลประโยชน์ตอบแทนตลอดอายุสัญญา 25 ปี          ? มูลค่าปัจจุบัน (NPV) ของผลประโยชน์ตอบแทน 1,906.891 ล้านบาท
? ค่าตอบแทนล่วงหน้า 488.888 ล้านบาท
? ค่าตอบแทนรายปีรวม 2,881.000 ล้านบาท
? ค่าตอบแทนเพิ่มเติม ร้อยละ 45 ของรายได้ที่เพิ่มขึ้น เมื่อมีการปรับอัตราค่าภาระของท่าเรือ
5. งบลงทุนทั้งหมด          จำนวน 2,387.90 ล้านบาท
6. อายุของสัญญาและการต่ออายุของสัญญา          ? สัญญาฉบับนี้ให้มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญา และให้มีผลบังคับใช้จนครบกำหนดระยะเวลา 25 ปี หรือจนกว่าสัญญาฉบับนี้สิ้นสุดลง ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม (แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นก่อน)
? การขยายหรือต่ออายุของสัญญาฉบับนี้ รวมถึงการดำเนินการใด ๆ ที่มีผลเป็นการขยายหรือต่ออายุของสัญญาฉบับนี้ไม่สามารถกระทำได้
7. การโอนกรรมสิทธิ์
สิ่งปลูกสร้าง
ของโครงการ          ? บรรดาสิ่งปลูกสร้างของโครงการฯ ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของคู่สัญญาฝ่ายรัฐทันทีที่การก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างของโครงการแล้วเสร็จ โดยปลอดจากการรอนสิทธิหรือภาระติดพันใด ๆ ทั้งสิ้น และคู่สัญญาฝ่ายรัฐไม่ต้องชำระเงินตอบแทนหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้ คู่สัญญาฝ่ายรัฐตกลงอนุญาตให้บริษัทมีสิทธิใช้ประโยชน์ในบรรดาสิ่งปลูกสร้างของโครงการดังกล่าวตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในสัญญาฉบับนี้
? บริษัทจะต้องดำเนินการทุกประการที่จำเป็นหรือตามที่คู่สัญญาฝ่ายรัฐกำหนด รวมถึงการจดทะเบียนกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การโอนกรรมสิทธิ์ดังกล่าวข้างต้นมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายภายในระยะเวลาที่คู่สัญญาฝ่ายรัฐจะกำหนดและแจ้งให้บริษัททราบ
? บริษัทเป็นผู้รับผิดชอบบรรดาภาษี ค่าใช้จ่าย รวมถึงค่าฤชาธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกิดจากการส่งมอบและโอนกรรมสิทธิ์ดังกล่าวทั้งหมด
8. เหตุสุดวิสัย
เหตุที่ได้รับ
การผ่อนผัน          เมื่อมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นและส่งผลกระทบโดยตรงทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาข้อใดข้อหนึ่งในสัญญาฉบับนี้ได้ เมื่อคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งพร้อมแสดงหลักฐานที่ครบถ้วนชัดเจนและเชื่อถือได้ เพื่อสนับสนุนคำร้องขอของตน คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมกันพิจารณาถึงการร้องขอนั้นโดยมิชักช้า เพื่อหาทางป้องกันหรือแก้ไขโดยเร็วอย่างเป็นธรรมต่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย หากเป็นเรื่องที่พึงบรรเทาความเสียหายระหว่างกันได้ ก็ให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันตามนั้น เพื่อให้โครงการฯ สามารถดำเนินต่อไปได้
9. การระงับ
ข้อพิพาท          ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งหรือพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับข้อกำหนดของสัญญาฉบับนี้ หรือการปฏิบัติตามสัญญาฉบับนี้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะดำเนินการตามวิธีการและขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแผนการแก้ไขปัญหาการดำเนินโครงการ และหากบริษัทไม่เห็นด้วยกับแนวทางการแก้ไขปัญหาของคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการฯ ภายหลังจากการดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ บริษัทสามารถนำเรื่องขึ้นสู่การพิจารณาและตัดสินของศาลไทยที่มีเขตอำนาจได้
                    4. กรณีการขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำสงขลาให้อยู่ที่ระดับ 9 เมตร ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินโครงการฯ เป็นการดำเนินภารกิจตามหน้าที่และอำนาจของกรมเจ้าท่า โดยกรมเจ้าท่าจะดำเนินการขุดลอกร่องน้ำท่าเรือสงขลาเป็นประจำทุกปี แต่ขุดได้เพียง 7 - 9 เดือน เพราะช่วงระยะเวลาที่เหลือเป็นช่วงฤดูมรสุมไม่สามารถดำเนินการขุดลอกได้ แต่ที่ผ่านมามีข้อจำกัดด้านงบประมาณซึ่งทำให้ไม่สามารถรักษาความลึกของร่องน้ำที่ระดับดังกล่าวได้ โดยกรมเจ้าท่าได้รับงบประมาณให้ขุดลอกเพียง 1 ล้านลูกบาศก์เมตร       (60 ล้านบาท/ปี) ในขณะที่ต้องใช้งบประมาณในการขุดลอกดินประมาณ 1.3 ล้านลูกบาศก์เมตร (78 ล้านบาท/ปี)    จึงจะสามารถรักษาความลึกของร่องน้ำที่ระดับ 9 เมตรได้ ดังนั้น กรมเจ้าท่าจึงได้ส่งแผนการขุดลองร่องน้ำท่าเรือสงขลาในกรอบระยะเวลา 25 ปี ให้สำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อประกอบการพิจารณา
                    5. ผลประโยชน์จากการดำเนินโครงการฯ
                              5.1 การดำเนินโครงการฯ จะก่อให้เกิดรายได้รวมทั้งสิ้น 7,357.78 ล้านบาท (ตลอดอายุสัญญา 25 ปี) ประกอบด้วย (1) งบลงทุนของเอกชนในการปรับปรุงท่าเรือสงขลา จำนวน 2,387.90 ล้านบาท       (2) ค่าตอบแทนรายปีที่เอกชนต้องชำระให้กับทางราชการ จำนวน 2,881.00 ล้านบาท (3) ค่าตอบแทนล่วงหน้า จำนวน 488.88 ล้านบาท และ (4) ค่าตอบแทนเพิ่มเติม (ร้อยละ 45 ของรายได้ที่เพิ่มขึ้นเมื่อมีการปรับอัตราค่าภาระของท่าเรือ) จำนวน 1,600.00 ล้านบาท
                              5.2 ผลประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
                                        (1) ท่าเรือสงขลาจะสามารถรองรับขนาดเรือที่เข้าใช้บริการท่าเรือน้ำลึกสงขลาได้มากขึ้น รวมทั้งรองรับจำนวนตู้คอนเทนเนอร์และน้ำหนักได้เพิ่มขึ้น
                                        (2) ลดค่าใช้จ่ายต้นทุนขนย้ายสินค้าส่งออก เนื่องจากสามารถบรรทุกสินค้าส่งออกทางเรือไปยังประเทศปลายทางได้โดยตรง
                                        (3) ผู้ใช้ร่องน้ำรายอื่นที่ใช้ร่องน้ำร่วมกันจะได้รับประโยชน์จากการขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำสงขลานี้ด้วย เช่น กลุ่มเรือเดินเข้าออกท่าเรือของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
                                        (4) สนับสนุนการขนส่งสินค้าทางทะเล รองรับการขยายตัวของปริมาณสินค้าผ่านท่าเรือน้ำลึกสงขลา และเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือน้ำลึกบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่างให้สามารถรองรับการขนถ่ายสินค้าประเภทตู้คอนเทนเนอร์ไปยังประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ธุรกิจการนำเข้าและส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น         ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศและท้องถิ่น
                    6. เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาฯ และกรมธนารักษ์ดำเนินการลงนามในสัญญากับบริษัทฯ แล้ว กรมธนารักษ์จะแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการฯ             เพื่อดำเนินการให้โครงการฯ บรรลุวัตถุประสงค์ ดังนี้
                              6.1 ติดตามและประเมินผลโครงการฯ โดยให้บริษัทฯ ดำเนินการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกท่าเรือ (Port Facilities) ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี ตามข้อเสนอเทคนิคและการลงทุนที่บริษัทฯ เสนอต่อคณะกรรมการคัดเลือกฯ
                              6.2 พิจารณาเงื่อนไขและสูตรการคำนวณค่าตอบแทนรายปีเพิ่มเติมจำนวนร้อยละ 45 ของรายได้ส่วนที่เกินจุดคุ้มทุน รวมทั้งมีกลไกในการตรวจสอบความถูกต้องของค่าตอบแทนรายปีเพิ่มเติมดังกล่าว เพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ โดยอาจให้บริษัทฯ ทำรายงานเกี่ยวกับรายรับและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานท่าเรือที่จะใช้เป็นข้อมูลในการคำนวณจุดคุ้มทุนเป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลค่าตอบแทนรายปีเพิ่มเติมที่บริษัทฯ เสนอ หรือสามารถคำนวณและสอบทานการคำนวณของบริษัทฯ ในการกำหนดค่าตอบแทนได้ รวมทั้งพิจารณาเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการฯ และรายงานผลการดำเนินงาน ความคืบหน้า ปัญหา และแนวทางการแก้ไขต่อกรมธนารักษ์
1 กค. แจ้งว่า ข้อความตามชื่อสัญญานี้เป็นไปตามแบบมาตรฐานของสัญญาร่วมลงทุน เนื่องจากเป็นการจัดให้เอกชนเช่า/บริหารท่าเรืองสงขลาในที่ราชพัสดุ ซึ่งมีลักษณะเป็นการอนุญาตให้เอกชนเข้าใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของรัฐ ตามนิยามในมาตรา 4      ของพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556
2 เนื่องจากอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการตามหมวด 5 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556       จึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป จนกว่าจะได้มีการลงนามในสัญญาร่วมลงทุน [ตามนัยมาตรา 68 (1) แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562]
3 อัตราค่าภาระ (Tariff Rate) คือ ค่าบริการในการใช้ท่าเรือ เช่น ค่าภาระเรือเข้าท่า ค่าภาระยกขนสินค้า ค่าภาระการใช้ท่าของตู้สินค้า เป็นต้น

15. เรื่อง การกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบภาพรวมวันหยุดราชการ ประจำปี 2566 จำนวน 18 วัน และให้ความเห็นชอบการกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2566 จำนวน 1 วัน คือ วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 2566
                    2. ในกรณีที่หน่วยงานใดมีภารกิจในการให้บริการประชาชน หรือมีความจำเป็นหรือราชการสำคัญในวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษดังกล่าว (ตามข้อ 1) ที่ได้กำหนดหรือนัดหมายไว้ก่อนแล้วซึ่งหากยกเลิกหรือเลื่อนไปจะเกิดความเสียหายหรือกระทบต่อการให้บริการประชาชน ให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร โดยมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการและกระทบต่อการให้บริการประชาชน
                    3. ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และภาคเอกชน ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงแรงงานพิจารณาความเหมาะสมของการกำหนดเป็นวันหยุดให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณีต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันหยุดราชการประจำปี ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 และมติคณะรัฐมนตรี (1 พฤษภาคม 2544) เรื่องวันหยุดชดเชยของทางราชการ มีผลทำให้ภาพรวมวันหยุดราชการ ประจำปี 2566 และวันหยุดชดเชยมีจำนวนรวม 18 วัน ดังนี้
    1.           วันปีใหม่                                                                       วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม
          (วันหยุดชดเชยวันขึ้นปีใหม่)                                                  วันจันทร์ที่ 2 มกราคม
    2.           วันมาฆบูชา                                                                       วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม
    3.           วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช                              วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน
          และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์
    4.           วันสงกรานต์ (รวม 3 วัน)                                                             วันพฤหัสบดีที่ 13 -
                                                                                          วันเสาร์ที่ 15 เมษายน
          (วันหยุดชดเชยวันสงกรานต์)                                                   วันจันทร์ที่ 17 เมษายน
    5.           วันฉัตรมงคล                                                                       วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม
    6.           วันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ                              วันพุธที่ 17 พฤษภาคม
    7.           วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี                    วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน
          และวันวิสาขบูชา
          (วันหยุดชดเชยวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ                    วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน
          พระบรมราชินี และวันวิสาขบูชา
    8.           วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร                    วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม
          รามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้า
          เจ้าอยู่หัว
    9.          วันอาสาฬหบูชา                                                                      วันอังคารที่ 1 สิงหาคม
    10.           วันเข้าพรรษา                                                                      วันพุธที่ 2 สิงหาคม
    11.           วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง                    วันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม
          และวันแม่แห่งชาติ
          (วันหยุดชดเชยวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรม                    วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม
           ราชชนนีพันปีหลวง และวันแม่แห่งชาติ)
    12.           วันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรม                              วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม
          ชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
    13.           วันปิยมหาราช                                                                      วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม
    14.          วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จ                              วันอังคารที่ 5 ธันวาคม
          พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
          บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ
    15.           วันรัฐธรรมนูญ                                                                       วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม
          (วันหยุดชดเชยวันรัฐธรรมนูญ)                                                  วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม
    16.           วันสิ้นปี                                                                                 วันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม
          (วันชดเชยวันสิ้นปี)                                                             วันอังคารที่ 2 มกราคม 2567
                    2. โดยที่ในแต่ละปีที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษเพื่อให้มีวันหยุดต่อเนื่องกันหลายวันซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเดินทางและส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ ประกอบกับขณะนี้ ประเทศไทยอยู่ในช่วงการฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ดังนั้น เพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจ      ภาคบริการ และการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จึงเห็นควรให้มีการกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ในปี 2566 จำนวน 1 วัน คือวันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 2566
                    ทั้งนี้ การกำหนดให้วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 2566 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษอีก     1 วัน จะทำให้มีวันหยุดราชการติดต่อกัน รวม 4 วัน (วันพฤหัสบดีที่ 4 - วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566)

16. เรื่อง การจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร กรณีกองทุนประกันชีวิตและกองทุนประกันวินาศภัย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบจำแนกให้กองทุนประกันชีวิต และกองทุนประกันวินาศภัยเป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารประเภทกองทุนที่เป็นนิติบุคคล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2552     เรื่อง การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กพม. รายงานว่า
                    1. กระทรวงการคลัง (กค.) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ได้ประชุมเพื่อตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่...) พ.ศ. .... และที่ประชุมมีประเด็นเกี่ยวกับสถานะการเป็นหน่วยงานของรัฐของกองทุนประกันชีวิต1            และกองทุนประกันวินาศภัย2 กค. จึงได้มีหนังสือแจ้งให้กองทุนประกันชีวิตและกองทุนประกันวินาศภัยดำเนินการขอหารือสำนักงาน ก.พ.ร. เกี่ยวกับสถานะการเป็นหน่วยงานของรัฐของกองทุนฯ3
                    2. กพม. ในการประชุมครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 ได้พิจารณาข้อหารือดังกล่าวแล้ว มีมติเห็นชอบให้จำแนกกองทุนประกันชีวิตและกองทุนประกันวินาศภัยเป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร ประเภทกองทุนที่เป็นนิติบุคคลตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2552 เนื่องด้วยความเป็นนิติบุคคลของกองทุนประกันชีวิตและกองทุนประกันวินาศภัยเกิดขึ้นโดยผลแห่งกฎหมายจัดตั้งและมีลักษณะขององค์กรที่มีความสัมพันธ์กับรัฐสูงในหลายประการ และสอดคล้องกับลักษณะของหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร ประเภทกองทุนที่เป็นนิติบุคคล สรุปได้ ดังนี้
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการเป็นหน่วยงานของรัฐฯ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2552)
หัวข้อ          สาระสำคัญ
1. ความสัมพันธ์กับรัฐ          ?          กฎหมายในการจัดตั้งและการดำเนินงานของกองทุนอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายมหาชน : เป็นหน่วยงานของรัฐตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2540 และต้องปฏิบัติตามระบบประเมินผลทุนหมุนเวียนและส่งรายงานการประเมินการควบคุมภายในต่อ กค. ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558
?          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม
2. กิจกรรมของกองทุนฯ           เป็นงานบริการสาธารณะที่คุ้มครองเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยในกรณีบริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย
3. งบประมาณ/รายได้ของหน่วยงานการค้ำประกันหนี้          รายได้ส่วนหนึ่งของกองทุนมาจากเงินประเดิม/งบประมาณจากรัฐแต่ปัจจุบันรายได้ส่วนใหญ่ของกองทุนประกันชีวิตมาจากเงินที่ได้รับตามมาตรา 85/3 (เงินที่บริษัทประกันชีวิตต้องนำส่งเข้ากองทุนอัตราร้อยละ 0.1 ของเบี้ยประกันภัยที่บริษัทได้รับ ทั้งนี้ อัตราดังกล่าวเป็นไปตามที่คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยประกาศกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี) และรายได้ส่วนใหญ่ของกองทุนประกันวินาศภัยมาจากเงินที่ได้รับตามมาตรา 80/3 (เงินที่บริษัทประกันวินาศภัยต้องนำส่งเข้ากองทุนในอัตราร้อยละ 0.25 ของเบี้ยประกันภัยที่บริษัทได้รับ ทั้งนี้ อัตราดังกล่าวเป็นไปตามประกาศกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี)
4. สถานะของบุคลากร          รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งบุคลากรโดยรัฐมนตรีมีอำนาจในการแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุน และมีอำนาจผ่านคณะกรรมการบริหารกองทุนในการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุน
5. วิธีการและระบบกฎหมายที่ใช้ในการทำกิจกรรม          กิจกรรมของกองทุนต้องใช้อำนาจรัฐ เช่น การกำหนดให้นำเงินส่งเข้ากองทุนและมีระบบกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินกิจกรรมของกองทุน เช่น
การอนุมัติและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต/ประกันวินาศภัยตลอดจนการถอดถอนกรรมการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย
6. ความเป็นเจ้าของและอำนาจในการบริหารจัดการ          รัฐเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการ เช่น ต้องมีการสอบบัญชีกองทุนและต้องทำรายงานผลการสอบบัญชีกองทุนต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนและสำเนารายงานต่อคณะกรรมการและรัฐมนตรี

1 จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยในกรณีที่บริษัทประกันชีวิตล้มละลายหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตและเพื่อพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ
2 จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยในกรณีบริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย และเพื่อพัฒนาธุรกิจประกันวินาศภัยให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ
3 จากการประสานสำนักงาน ก.พ.ร. การเสนอขอจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ/องค์การมหาชนขึ้นใหม่ สำนักงาน ก.พ.ร. จะเป็นผู้วิเคราะห์การจัดตั้งหน่วยงานและจัดประเภทของหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ ก่อนเสนอคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการหรือ กพม. ตามขั้นตอน ยกเว้นบางหน่วยงานที่จัดตั้งตามกฎหมายเฉพาะหรือตามนโยบายรัฐบาลอาจไม่ได้ดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานผ่านสำนักงาน ก.พ.ร. ดังนั้น จึงยังไม่ได้รับการจัดประเภทของหน่วยงานของรัฐตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2552 เช่น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก แต่หน่วยงานดังกล่าวยังสามารถดำเนินงานไปตามหน้าที่และอำนาจที่บัญญัติไว้ในกฎหมายจัดตั้งนั้น ๆ จนกว่าจะมีความจำเป็นที่จะต้องขอจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐเพื่อเหตุผลต่าง ๆ เช่น การขอมีบัตรประจำตัวของผู้บริหารสูงสุดของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนการออมแห่งชาติ และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา การขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และการขอให้เจ้าพนักงานสามารถบังคับคดีทางปกครองได้ (เช่นเดียวกันกับที่ กพม. เสนอคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้)

17. เรื่อง วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่สำนักงบประมาณ เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    2. รับทราบข้อสังเกตของที่ประชุม และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 24 กำหนดให้ในการจัดทำงบประมาณประจำปี ให้สำนักงบประมาณเป็นหน่วยงานหลัก โดยร่วมกับกระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ดำเนินการกำหนดนโยบาย งบประมาณประจำปี ประมาณการรายได้   วงเงินงบประมาณร่ายจ่าย และวิธีการเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ หรือการจัดการในกรณีที่ประมาณการรายได้สูงกว่าวงเงินงบประมาณ เมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้  ความเห็นชอบ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 เห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งกำหนดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบนโยบายวงเงินงบประมาณรายจ่าย และโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในวันที่ 10 มกราคม 2566 นั้น
                    สำนักงบประมาณได้ดำเนินการตามนัยกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว ดังนี้
                    1. วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                              1.1 สมมติฐานทางเศรษฐกิจ
                              เศรษฐกิจไทยในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 3.8 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติของการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์ภายในประเทศตามการปรับตัวดีขึ้นของฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจ และการปรับตัวดีขึ้นของภาคการส่งออกตามแนวโน้มการขยายตัวเร่งขึ้นของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในปี 2567 มีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ดี โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 1.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลประมาณร้อยละ 2.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
                              1.2 ประมาณการรายได้รัฐบาล
                              ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 คาดว่ารัฐบาลจะจัดเก็บรายได้รวมจำนวน 3,329,400 ล้านบาท   เมื่อหักการคืนภาษีของกรมสรรพากร อากรถอนคืนกรมศุลกากร การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด การกันเงินเพื่อชดเชยภาษีสำหรับสินค้าส่งออก และการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คงเหลือรายได้สุทธิ จำนวน 2,757,000 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้สุทธิปีงบประมาณ       พ.ศ. 2566 ตามเอกสารงบประมาณที่กำหนดไว้ จำนวน 2,490,000 ล้านบาท เป็นจำนวน 267,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.72
                              1.3 นโยบายงบประมาณ วงเงินและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                              จากสมมติฐานทางเศรษฐกิจและประมาณการรายได้รัฐบาลตามข้อ 1.1 และข้อ 1.2 ดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้การจัดการรายจ่ายภาครัฐสามารถขับเคลื่อนภารกิจตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ และนโยบายสำคัญของรัฐบาลได้ตามเป้าหมาย รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินภารกิจของหน่วยงานตามกฎหมาย จึงได้กำหนดนโยบายงบประมาณขาดดุลสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 593,000 ล้านบาท ทำให้มีวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 3,350,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่กำหนดไว้ 3,185,000 ล้านบาท เป็นจำนวน 165,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.18 โดยมีสาระสำคัญของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 3,350,000 ล้านบาท ดังนี้
                                        1) โครงสร้างงบประมาณรายจ่าย ประกอบด้วยประมาณการรายจ่าย ดังต่อไปนี้
                                        (1) รายจ่ายประจำ จำนวน 2,508,990.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ   พ.ศ. 2566 จำนวน 106,451.2 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.43 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 74.89 ของวงเงินงบประมาณรวม ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 75.43
                                        (2) รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง จำนวน 33,759.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งไม่มีการเสนอตั้งงบประมาณ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 100 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.01 ของวงเงินงบประมาณรวม
                                        (3) รายจ่ายลงทุน จำนวน 690,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ          พ.ศ. 2566 จำนวน 520.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.08 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.60 ของวงเงินงบประมาณรวม ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 21.65
                                        (4) รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 117,250 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 17,250 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.25 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.50 ของวงเงินงบประมาณรวม เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 3.14
                                        2) รายได้สุทธิ จำนวน 2,757,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ           พ.ศ. 2566 จำนวน 267,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.72
                                        3) งบประมาณขาดดุล จำนวน 593,000 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ          พ.ศ. 2566 จำนวน 102,000 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 14.68 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.00 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 3.70
                              ทั้งนี้ วงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 3,350,000 ล้านบาท ดังกล่าวเท่ากับกรอบวงเงินตามแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2567 - 2570) ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2565 สำหรับงบประมาณรายจ่ายลงทุนและงบประมาณรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ มีสัดส่วนอยู่ภายในกรอบที่กำหนดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
                    2. ข้อสังเกตของที่ประชุม
                              2.1 เห็นควรให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประเมินผลการใช้จ่ายด้านการลงทุนของภาครัฐ รวมถึงการดำเนินมาตรการของภาครัฐในการส่งเสริม สนับสนุนและเอื้อให้เกิดการลงทุนในประเทศในระยะที่ผ่านมาว่ามีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้ประเทศอย่างไร
                              2.2 เห็นควรให้มีการทบทวนโครงสร้างบุคลากรภาครัฐให้มีจำนวนที่เหมาะสมตามความจำเป็น เนื่องจากภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยพิจารณากำหนดเป้าหมายการลดอัตรากำลังข้าราชการในแต่ละปีที่ชัดเจน รวมถึงการจ้างงานบุคลากรที่มีทักษะเฉพาะ การจ้างงานระยะสั้น และการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อให้สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรในอนาคต
                              2.3 เห็นควรเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณโดยเฉพาะรายจ่ายลงทุน โดยให้กระทรวงการคลังพิจารณากระบวนการอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ให้สามารถดำเนินการได้โดยเร็ว เพื่อให้การเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

ต่างประเทศ
18. เรื่อง ผลการประชุมกรอบความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและสิงคโปร์ (Singapore-Thailand Enhanced Economic Relationship: STEER) ครั้งที่ 6 และกิจกรรมอื่น ๆ               ที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมกรอบความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและสิงคโปร์ (Singapore-Thailand Enhanced Economic Relationship: STEER) ครั้งที่ 6 และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุมSTEER ครั้งที่ 6 เพื่อให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสิงคโปร์เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พณ. รายงานว่า ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม STEER ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565           ณ กรุงเทพมหานคร โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์     และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมคนที่สองของสาธารณรัฐสิงคโปร์เป็นประธานร่วม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ผลการประชุม STEER ครั้งที่ 6 และประเด็นการติดตามการดำเนินการตามผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
ผลการประชุม/ประเด็นที่ต้องติดตาม เช่น          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(1) ด้านเกษตร
- สิงคโปร์จะเร่งรัดการตรวจรับรองและขึ้นทะเบียนฟาร์มไข่ไก่ออแกนิกส์และฟาร์มไข่นกกระทาของไทยเพื่อให้สามารถส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังสิงคโปร์ได้โดยเร็ว และไทยขอให้สิงคโปร์ยอมรับผลการตรวจรับรองฟาร์มไข่ไก่โดยกรมปศุสัตว์ไทยในการขอขึ้นทะเบียนฟาร์มเพื่อส่งออกไข่ไก่ไปยังสิงคโปร์
- สิงคโปร์จะพิจารณาเปิดตลาดนำเข้าเนื้อสุกรจากไทยเมื่อไทยได้รับการรับรองสถานะปลอดจากโรคระบาดในสุกร
- ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาในสาขาเกษตรและอาหารกับไทย          - กระทรวงการต่างประเทศ
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)
- พณ.
(2) ด้านการลงทุน
- ไทยเชิญชวนให้สิงคโปร์เข้ามาลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ในธุรกิจที่ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว อินเทอร์เน็ต 5G โครงการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมการบินและธุรกิจซ่อมบำรุงอากาศยาน
- การให้ข้อมูลโครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองควบคู่กับโครงข่ายรถไฟทางคู่ (MR-Map) ที่จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนในอนาคต
-การหารือแนวทางส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนในโครงการที่เกี่ยวกับความยั่งยืน เช่น รถยนต์ไฟฟ้าและเมืองอัจฉริยะ          - กระทรวงคมนาคม (คค.)
- พณ.
- สำนักงานคณะกรมการส่งสริมการลงทุน (สกท.)
- สำนักงาน
คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

(3) ด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า
- ความคืบหน้าการดำเนินความร่วมมือระหว่างหน่วยงานศุลกากรของทั้งสองฝ่ายภายใต้ข้อตกลงยอมรับร่วม (Mutual Recognition Arrangement: MRA) สำหรับผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ (Authorized Economic Operator: AEO)
- การจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างไทยและสิงคโปร์ ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมการค้าของไทยในสิงโปร์และกิจกรรมส่งเสริมการค้า/งานแสดงสินค้าในไทยของภาคธุรกิจสิงคโปร์          - กระทรวงการคลัง
- พณ.
(4) ด้านการท่องเที่ยว
- เร่งรัดการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อพัฒนาเรือสำราญไทย-สิงคโปร์ โดยจะกำหนดองค์ประกอบของคณะทำงานฯ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2565 และจัดการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งแรกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานต่อไป
- ความคืบหน้าการดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ของไทย ณ เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี พัทยา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดกระบี่          - กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.)
- คค.
(5) ด้านการบิน
ความคืบหน้าการดำเนินความร่วมมือภายใต้บันทึกความร่วมมือด้านการบินระหว่างไทยกับสิงคโปร์
          คค.
(6) ด้านทรัพย์สินทางปัญญา
ยินดีต่อการลงนามบันทึกความร่วมมือฉบับใหม่ระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญากับสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของสิงคโปร์ รวมถึงจะมีการจัดทำแผนการดำเนินการสำหรับปี 2565-2567 และจะเริ่มการหารือแนวทางดำเนินโครงการนำร่องด้านการตรวจค้นและตรวจสอบสิทธิบัตรระหว่างกัน          พณ.
(7) ด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและนวัตกรรม
- สนับสนุนความร่วมมือในการส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพ (startup) โดยไทยได้เชิญชวนสิงคโปร์มาลงทุนใน Thailand Digital Valley ซึ่งอยู่ใน EEC
- คุ้มครองผู้บริโภคออนไลน์และแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกในการระงับข้อพิพาทจากการซื้อสินค้าและบริการผ่านธุรกิจออนไลน์ระหว่างกัน รวมถึงการแก้ไขปัญหากรณีพิพาทที่ผู้บริโภคชาวไทยประสบปัญหาจากการซื้อสินค้าและบริการทางออนไลน์จากธุรกิจที่จดทะเบียนในสิงคโปร์
- ส่งเสริมความร่วมมือตามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กับกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศของสิงคโปร์ โดยอยู่ระหว่างการหารือความร่วมมือในเรื่องธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ การเคลื่อนย้ายข้อมูลข้ามพรมแดน การต่อต้านการหลอกลวงทางไกล และการจัดทำใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ไทยเสนอให้หาแนวทางการแลกเปลี่ยนเอกสารการค้าในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจของภาคเอกชน          - ดศ.
- สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

(8) ด้านพลังงาน
- สิงคโปร์รับทราบข้อเสนอความร่วมมือด้านพลังงานในการลดการปล่อยคาร์บอนของไทยที่ให้สิงคโปร์เข้าร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมห่วงโซ่อุปทานสีเขียวและเทคโนโลยีสีเขียวในไทย รวมถึงการพิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการระหว่างไทยกับสิงคโปร์ และเห็นพ้องกับแนวทางความร่วมมือระหว่างกัน
- ความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยกับสิงคโปร์ภายใต้กรอบความร่วมมืออื่น ๆ ในระดับภูมิภาคและระดับทวิภาคี          กระทรวงพลังงาน

(9) ด้านความยั่งยืน
- สิงคโปร์สนใจที่จะมีความร่วมมือด้านคาร์บอนเครดิตกับไทย โดยจะหารือแนวทางการดำเนินความร่วมมือต่อไป
- ความคืบหน้าการหารือระดับเทคนิคเพื่อแลกเปลี่ยนนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสำรวจแนวทางความร่วมมือที่เป็นไปได้ในอนาคต          กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
                    2. กิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 การเป็นสักขีพยานในการลงนามเอกสารความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนของไทยและสิงคโปร์ จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ (1) บันทึกความร่วมมือระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญาและสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาสิงคโปร์ (2) MoU ระหว่างสมาคมผู้ผลิตและแปรรูปสุกรเพื่อการส่งออกไทยและสมาคมผู้ค้าเนื้อสัตว์สิงคโปร์ (3) MoU ระหว่างสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยและสมาคมผู้ค้าเนื้อสัตว์สิงคโปร์      (4) MoU ระหว่างภาคเอกชนเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ (5) MoU ระหว่างภาคเอกชนเกี่ยวกับการศึกษาโอกาสทางธุรกิจในรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
                              2.2 พณ. ได้จัดกิจกรรมแสดงสินค้าอาหารนวัตกรรมและการจับคู่เจรจาธุรกิจออนไลน์    โดยมีผู้นำเข้าของสิงคโปร์ (9 ราย) เจรจาการค้ากับผู้ส่งออกไทย (32 ราย) รวม 42 คู่เจรจา คาดว่าจะมีมูลค่าการค้าประมาณ 21 ล้านบาท ในกลุ่มสินค้าเป้าหมาย เช่น ขนมขบเคี้ยว อาหารแช่แข็ง และอาหารที่ทำจากพืช
                    3. ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะของ พณ.
                              3.1 การประชุม STEER ครั้งที่ 6 ประสบความสำเร็จ โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือแนวทางส่งเสริมความร่วมมือเพื่อขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน และเป็นโอกาสให้ไทยผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทยไปยังสิงคโปร์ ซึ่งตอบสนองการสร้างความมั่นคงทางอาหารของสิงคโปร์ภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมถึงเป็นโอกาสที่ไทยได้เชิญชวนให้สิงคโปร์ซึ่งเป็นนักลงทุนที่มีศักยภาพและมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามาลงทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานนวัตกรรมและเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย
                              3.2 สิงคโปร์ได้ผลักดันความร่วมมือในสาขาใหม่ ๆ กับประเทศคู่ค้า เช่น เศรษฐกิจดิจิทัลและการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งความร่วมมือกับสิงคโปร์ในประเด็นดังกล่าวจะเป็นโอกาสที่ไทยจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และเตรียมความพร้อมที่จะมีความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ในอนาคตต่อไป

19. เรื่อง  ขอความเห็นชอบการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ CTBTO On-site inspection Regional Introductory Course (OSI-RIC24)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม             โดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติในฐานะตัวแทนของประเทศไทยซึ่งเป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการเตรียมการสำหรับองค์การสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Preparatory Commission for the Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty Organization: CTBTO PrepCom) ตอบรับการเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมที่เกี่ยวข้องกับ CTBTO On-site Inspection Regional Introductory Course (OSI-RIC24) ณ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 15 - 21 มกราคม 2566 ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการประชุมดังกล่าว และอนุมัติให้เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในหนังสือตอบรับการเป็นเจ้าภาพการประชุมดังกล่าวไปยัง CTBTO PrepCom  รวมทั้งเห็นชอบหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการประชุมดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำที่มีใช่สารัตถะสำคัญของหนังสือแลกเปลี่ยน           ให้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติหารือกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เพื่อพิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    การประชุมเชิงปฏิบัติการ CTBTO OSI-RIC24 มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความรู้                   และความคุ้นเคยในการดำเนินงานเกี่ยวกับการตรวจ ณ ที่ตั้ง (On-Site Inspection) และเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แปซิฟิก และเอเชียตะวันออกไกล ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ ณ ที่ตั้ง ภายใต้สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์โดยคาดว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสมาชิกเข้าร่วม จำนวน 23 ประเทศ และเจ้าหน้าที่ของ CTBTO PrepCom รวมเป็นผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 85 คน ทั้งนี้ CTBTO PrepCom ได้เสนอร่างหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวมาเพื่อฝ่ายไทยพิจารณา โดยสำนักงานปรมาญเพื่อสันติได้ประสานขอความเห็นจากกระทรวงการต่างประเทศเพื่อการจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนดังกล่าว


แต่งตั้ง
20. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้ง นายเกรียงไกร เธียรนุกุล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2566 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน

21. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนอแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์นพพร ลีปรีชานนท์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ แทน นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2565 โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2566 เป็นต้นไป

22. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นายณฐพงศ์ วรรณรัตน์ เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2566 เป็นต้นไป และให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน

23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายวิฑูร เอี่ยมโอภาส ที่ปรึกษาด้านการกระจายอำนาจ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง คือ นายสงกรานต์ จิตสุทธิภากร ในตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2566 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ