สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566

ข่าวการเมือง Tuesday February 21, 2023 17:53 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (21 กุมภาพันธ์ 2566)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ สันติไมตรี (หลังนอก) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัล (ฉบับ                                        ที่ ..) พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จำนวน 3 ฉบับ
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย                                                  การยกเว้นรัษฎากร (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินสนับสนุน                                                   ค่าตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากภาครัฐในปีภาษี 2565)
                    4.          เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางด้วน แขวง                                                  บางหว้า แขวงบางจาก แขวงคูหาสวรรค์ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ                                         แขวงบางขุนเทียน แขวงบางค้อ แขวงจอมทอง แขวงบางมด เขตจอมทอง แขวง                                        ท่าข้าม แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน แขวงบางมด แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ และ                                                  แขวงบางปะกอก แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น                                                  รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีอากรสำหรับการร่วมทุนในบริษัท                                         LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) ณ บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอ                                        เมืองระยอง จังหวัดระยอง)

เศรษฐกิจ-สังคม
                    6.           เรื่อง           นโยบายกำกับการนำเข้าเศษพลาสติก
                    7.           เรื่อง           การพิจารณารับรองวัดคาทอลิก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทาง                                        พิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564
                    8.           เรื่อง           รายงานสถานการณ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและผลการดำเนินงานของ                                                            คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ประจำปี 2565
                    9.           เรื่อง           รายงานผลการกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลรุ่น LB236A                                         เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2566
                    10.           เรื่อง           รายงานผลการวิเคราะห์ค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ประจำปี พ.ศ. 2565                                         (Corruption Perceptions Index: CPI 2022)
                    11.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่                                                   5/2565 เรื่อง โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
                    12.           เรื่อง           ข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมปศุสัตว์เพื่อโอกาสในการมีส่วน                                        ร่วมทางเศรษฐกิจประเทศอย่างเป็นธรรม
                    13.           เรื่อง           ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง                                         รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหา                                        รถยนต์หุ้มเกราะกันกระสุนทดแทนที่ใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
                    14.           เรื่อง           ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง                                         รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการจัดหากล้อง                                        บันทึกภาพและเสียงตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและ                                        การกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565
                    15.           เรื่อง           รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน 2565 และรายงาน                                        ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2565 และแนวโน้มปี 2566
                    16.           เรื่อง           ผลการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม                                        ของกรมการขนส่งทางบก
                    17.           เรื่อง           ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บีเอ็ม เพื่อต่ออายุประทานบัตรทำ                                        เหมืองแร่ของบริษัท หินอ่อน จำกัด ที่จังหวัดสระบุรี
                    18.           เรื่อง           โครงการการยกระดับโรงพยาบาลปลวกแดง 2 ให้มีศักยภาพเป็นโรงพยาบาล                                                  ทั่วไปขนาดเล็ก (M1) และมีมาตรฐานโรงพยาบาลคู่สัญญาของประกันสังคม
                    19.           เรื่อง           โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3)
                    20.           เรื่อง           การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2566 ครั้งที่ 1
                    21.           เรื่อง           การพิจารณามีมติให้มีการโอนบรรดาอำนาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้                                                   และงบประมาณของบรรดาภารกิจที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซ                                                  เบอร์ ของสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงาน                                        พัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติการรักษา                                        ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 นี้ใช้บังคับ ไปเป็นของสำนักงาน                                                  คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
                    22.           เรื่อง           การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 เรื่อง แผนปฏิบัติการ                                                  ขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ?การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง?
                    23.           เรื่อง           ร่างนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายา                                        เสพติด (พ.ศ. 2566 - 2570)
          24.                     เรื่อง            สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ครั้งที่ 1/2566
                    25.              เรื่อง    ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ทั้งปี 2565 และแนวโน้มปี 2566
                    26.           เรื่อง           ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับเป็น                                        ค่าใช้จ่ายช่วยเหลือเยียวยาซื้อเรือประมงในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ตามโครงการนำ                                        เรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืนพื้นที่                                                  จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรณีเร่งด่วน (เรือชุดที่ 1)
                    27.           เรื่อง           รับทราบรายงานผลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน                                         ปี 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 และขออนุมัติ                                                  ขยายระยะเวลาดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน                                                 ปี 2565
                    28.           เรื่อง           ขอรับความอนุเคราะห์ในการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ                                                   พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (กระทรวง                                        เกษตรและสหกรณ์)

ต่างประเทศ
                    29.           เรื่อง            การดำเนินการตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับ                                                  สาธารณรัฐเฮติ
                    30.           เรื่อง           การต่ออายุการบริจาคเงินอุดหนุนแก่ฝ่ายเลขานุการของอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิด                                        สังหารบุคคล
                    31.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือภายใต้โครงการทุนการศึกษา                                                   Stipendium Hungaricum ประจำปี ค.ศ. 2023 ? 2025 ระหว่างกระทรวงการ                                        อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกับกระทรวงการต่างประเทศและ                                                  การค้าฮังการี
                    32.           เรื่อง           การลงนามข้อตกลงเพื่อการใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศ (CTS                                                   User Agreement)
                    33.           เรื่อง           ขออนุมัติการดำเนินโครงการ Country Programme (CP) ระยะที่ 2 และการลง                                        นามบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการต่ออายุโครงการ Country Programme                                                   ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ                                        และการพัฒนา (OECD)
                    34.           เรื่อง           ผลการประชุมระดับโลกว่าด้วยนโยบายวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนของ                                                  ยูเนสโก (Mondiacult 2022)
                    35.           เรื่อง            การลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและองค์การทางทะเลระหว่าง                                        ประเทศเกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการตรวจสอบประเทศสมาชิกองค์การทางทะเล                                        ระหว่างประเทศภาคบังคับ
                    36.           เรื่อง           สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 และการประชุมสุดยอดที่                                        เกี่ยวข้อง
                    37.           เรื่อง           กรอบการเจรจาสำหรับกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด - แปซิฟิก (Indo -                                         Pacific Economic Framework: IPEF)

แต่งตั้ง
                    38.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    39.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    40.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    41.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
                    42.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงสาธารณสุข)
                    43.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม
                    44.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

_______________________________ ? กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. รับความเห็นของสำนักงบประมาณและธนาคารแห่งประเทศไทยไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ มท. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัล พ.ศ. 2565 เพื่อยกเว้นค่าธรรมเนียมการให้บริการการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัล อันเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในการขอรับบริการการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัล               ซึ่งปัจจุบันกรมการปกครองได้มีการให้บริการการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัล โดยผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน D.DOPA และทางเว็บไซต์ BORA Web Portal ของกรมการปกครอง (thportal.bora.dopa.go.th) ซึ่งในส่วนงานการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัลได้ให้บริการในส่วนการแจ้งการย้ายที่อยู่ และการคัด หรือคัดและรับรองรายการทะเบียนบ้าน ทะเบียนประวัติและทะเบียนคนเกิด โดยได้มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎรที่ต้องเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการด้วยระบบดิจิทัลเป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 12 มีนาคม 2566 ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชนเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัลดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ สามารถอำนวยความสะดวกและเป็นการช่วยเหลือประชาชนผู้ขอรับบริการได้อย่างเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงสมควรยกเว้นค่าธรรมเนียมการให้บริการการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัล โดยการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมและการให้บริการการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัลตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าแล้ว โดยกำหนดให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการให้บริการการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัลตาม 1) กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2562 (เช่น การขอคัดและรับรองสำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนคนเกิด หรือทะเบียนคนตาย        มีอัตราค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท การแจ้งการเกิด การแจ้งการตาย การแจ้งย้ายที่อยู่ มีอัตราค่าธรรมเนียม      ฉบับละ 20 บาท และ 2) กฎกระทรวงกำหนดให้คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยปฏิบัติเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2562 (เช่น การแจ้งการเกิด การแจ้งการตาย การแจ้งย้ายที่อยู่ มีอัตราค่าธรรมเนียม ฉบับละ 20 บาท) สำหรับกรณีการแจ้งหรือขอดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัลเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมการแจ้งหรือขอเมื่อพ้นกำหนดเวลา พ.ศ. 2562 จะไม่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมตามร่างกฎกระทรวงนี้ เนื่องจากค่าธรรมเนียมในกรณีดังกล่าวเป็นมาตรการบังคับตามกฎหมายเพื่อให้ผู้แจ้งหรือผู้ขอดำเนินการภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกระทรวงมหาดไทย (กรมการปกครอง) และสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงบประมาณ) ได้เห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมด้วยแล้ว ทั้งนี้ การยกเว้นค่าธรรมเนียมการให้บริการการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัลดังกล่าวจะทำให้ประชาชนผู้ขอรับบริการการทะเบียนราษฎรได้รับบริการด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย รวมทั้งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
                     มท. ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยรายงานว่าการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนของประชาชนผู้ขอรับบริการผ่านระบบดิจิทัล ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2565 ถึงวันที่      9 ธันวาคม 2565 มีประชาชนใช้บริการผ่านระบบดิจิทัลที่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงกำหนดการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัล พ.ศ. 2565 จำนวน 2,258 รายการ (การแจ้การย้ายที่อยู่ จำนวน      132 รายการ และการคัด หรือคัดและรับรองรายการทะเบียนบ้าน ทะเบียนประวัติ และทะเบียนคนเกิด จำนวน 2,126 รายการ) คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 23,900 บาท

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัล พ.ศ. 2565 โดยกำหนดให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการให้บริการการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัล สำหรับกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้

                     1. กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร          พ.ศ. 2562

2. กฎกระทรวงกำหนดให้คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยปฏิบัติเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2562

3. กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมการแจ้งหรือขอเมื่อพ้นกำหนดเวลา พ.ศ. 2562 ทั้งนี้ กำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

2. เรื่อง ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จำนวน 3 ฉบับ

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการ 1. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) 2. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ และค่าทดแทนกรณีการตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน 3. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19) จำนวน 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้

                    ทั้งนี้ ร่างประกาศ รวม 3 ฉบับ ที่ รง. เสนอ เป็นการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนการขาดรายได้              กรณีทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้กับแรงงานภาคเอกชน โดยได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องต่าง ๆ เช่น กำหนดเพิ่มจำนวนสิทธิวันลาเพื่อคลอดบุตรจาก 90 วัน เป็น 98 วัน กำหนดเพิ่มให้ลูกจ้างมีสิทธิในวันหยุดพิเศษตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด กำหนดเพิ่มให้ลูกจ้างที่ถึงแก่ความตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานในปีที่จะเกษียณอายุ มีสิทธิได้รับค่าทดแทนกรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน เป็นต้น รวมทั้งเป็นการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 8 มีนาคม 2565)

รง. ได้นำร่างประกาศในเรื่องนี้ รวม 3 ฉบับ ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว โดยผู้ที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เห็นด้วยกับร่างประกาศรวม 3 ฉบับดังกล่าว นอกจากนี้ รง. ได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยประมาณการว่าการแก้ไขเพิ่มเติมตามร่างประกาศในเรื่องนี้จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้สำหรับปี พ.ศ. 2566 ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตรประมาณ 206,643,504.30 ล้านบาท และค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีประมาณ 38,211,206.81 ล้านบาท

สาระสำคัญของร่างประกาศ

1. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ในเรื่องดังต่อไปนี้

ประกาศเดิม          ร่างประกาศในเรื่องนี้
1. วันหยุดพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี
- ?วันหยุด? หมายความว่า วันที่กำหนดให้ลูกจ้างหยุดประจำสัปดาห์ หยุดตามประเพณี หรือหยุดพักผ่อนประจำปี



- ในกรณีที่วันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้าง ให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป          - ?วันหยุด? หมายความว่า วันที่กำหนดให้ลูกจ้างหยุดประจำสัปดาห์ หยุดตามประเพณี หยุดพักผ่อนประจำปี หรือหยุดพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีที่นายจ้างกำหนด
- ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี ตามความเหมาะสมและความจำเป็นของกิจการ
- ในกรณีที่วันหยุดตามประเพณีหรือวันหยุดพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีวันใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้าง ให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป
2. วันลาเพื่อคลอดบุตร
- ลูกจ้างมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้างเท่าเวลาที่ลาตามอัตราที่ได้รับอยู่ แต่ไม่เกิน 90 วัน           - ลูกจ้างมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้างเท่าเวลาที่ลาตามอัตราที่ได้รับอยู่ แต่ไม่เกิน 98 วัน
3. เงินทดแทน
- ห้ามนายจ้างหักเงินทดแทนเพื่อการใด ๆ           - ห้ามนายจ้างหักเงินทดแทนเพื่อการใด ๆ และเงินทดแทนไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

2. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ และค่าทดแทนกรณีการตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ในเรื่องดังต่อไปนี้

2.1 กำหนดเพิ่มเติมให้ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไปและถึงความตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานในปีที่จะเกษียณอายุ มีสิทธิได้รับค่าทดแทนกรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน โดยค่าทดแทนดังกล่าวมีอัตราเดียวกันกับอัตราการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานซึ่งลูกจ้างจะได้รับเมื่อเกษียณอายุ

2.2 กำหนดให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนกรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานตามข้อ 2.1 เพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

(2) ลูกจ้างกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา

(3) ลูกจ้างเสพของมึนเมาหรือสิ่งเสพติดอื่น

(4) ลูกจ้างฆ่าตัวตาย

3. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19) มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ในเรื่องดังต่อไปนี้

ประกาศเดิม          ร่างประกาศในเรื่องนี้
1. บทนิยาม
- ?ผู้ป่วย? หมายความว่า ลูกจ้าง หรือคู่สมรสหรือบุตรของลูกจ้าง ผู้ซึ่งป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)]           - ?ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต? หมายความว่า ลูกจ้าง หรือคู่สมรสหรือบุตรของลูกจ้าง ผู้ซึ่งป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน เฉพาะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
2. ค่าใช้จ่ายการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- กรณีที่ลูกจ้าง หรือคู่สมรสหรือบุตรของลูกจ้างมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ หากแพทย์เห็นว่ามีความจำเป็นต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการนั้นสำหรับตนเอง หรือคู่สมรส หรือบุตรของตนเอง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ           - ยกเลิก
3. ค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาล
- กรณีที่ลูกจ้าง หรือคู่สมรสหรือบุตรของลูกจ้าง เป็นผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลสำหรับตนเอง หรือคู่สมรส หรือบุตรของตนเอง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ           - กรณีที่ลูกจ้าง หรือคู่สมรสหรือบุตรของลูกจ้าง เป็นผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลสำหรับตนเอง หรือคู่สมรส หรือบุตรของตนเอง ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำหนด
- กรณีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่ไม่เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลสำหรับตนเอง หรือคู่สมรส หรือบุตรของตนเอง ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กำหนด
4. บทเฉพาะกาลและวันที่มีผลใช้บังคับ
- กำหนดให้ร่างประกาศในเรื่องนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป
- กำหนดให้การเข้ารับการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 16 มีนาคม 2565 และการรักษาพยาบาลยังไม่สิ้นสุดลง ให้ได้รับสิทธิตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (ประกาศเดิม) ต่อไปจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินสนับสนุน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากภาครัฐในปีภาษี 2565)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้

ทั้งนี้ กค. เสนอว่า

1. เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน และเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ประกอบกับกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2565 อยู่ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2566 กค. พิจารณาแล้วจึงได้ดำเนินการยกร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร โดยเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินสนับสนุน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากภาครัฐในปีภาษี 2565

2. กค. ได้พิจารณาการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ดังนี้

2.1. รายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินสนับสนุน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากภาครัฐเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และจากราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นไม่อยู่ในประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้กำหหนดให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะสามารถจัดเก็บภาษีดังกล่าวได้ประมาณ 7,931 ล้านบาท

2.2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมีดังนี้

1) ทำให้การบริโภคภายในประเทศขยายตัว อันเป็นผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

2) ช่วยสนับสนุนภาคธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงภาคธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

3) ช่วยลดภาระภาษี และเพิ่มขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

4) ช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงฯ มาเพื่อดำเนินการ

3. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงฯ เป็นการล่วงหน้าด้วยแล้ว

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

ร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร มีสาระสำคัญดังนี้

ประเด็น          รายละเอียด
1. มาตรการ           - กำหนดให้เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ได้รับเป็นเงินสนับสนุนหรือประโยชน์อื่นใด และเงินค่าตอบแทนจากภาครัฐเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2. ประเภทของเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี ฯ           - เงินสนับสนุนหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับเป็นค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม และค่าซื้อสินค้าหรือบริการที่ได้ใช้จ่ายผ่านระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ ตามโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 และโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 5
- เงินสนับสนุนหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับเป็นค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยว ค่าสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ค่าสปาหรือนวดเพื่อสุขภาพ ค่ารถเช่าหรือเรือเช่าเพื่อการท่องเที่ยวหรือค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินตามโครงการเราเที่ยวด้วยกัน
- ประโยชน์อื่นใดที่ได้รับเป็นค่าเดินทางและค่าซื้อแพ็กเกจทัวร์จากผู้ประกอบการนำเที่ยวตามโครงการทัวร์เที่ยวไทย
- ประโยชน์อื่นใดที่ได้รับเป็นค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและค่าซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าหรือผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 และระยะที่ 5 ตามโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 4 และระยะที่ 5
- ประโยชน์อื่นใดที่ได้รับเป็นค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและค่าซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าหรือผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 และระยะที่ 5 ตามโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ระยะที่ 2 และระยะที่ 3
- ประโยชน์อื่นใดที่ได้รับตามโครงการบรรเทาผลกระทบราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินสำหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ
- ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุม และรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่ได้รับอนุญาตจาก กค.
- ค่าตอบแทนในการให้คำปรึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ สธ. จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอกซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโรโรนา 2019 ตามที่ได้รับอนุญาตจาก กค.
- ค่าตอบแทนในการให้บริการฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ สธ. จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานให้บริการฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019                            นอกสถานพยาบาลตามที่ได้รับอนุญาตจาก กค.
3. ปีภาษีที่ได้รับการยกเว้น           - สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษี 2565 (ผู้เสียภาษีจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปี 2565 ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2566)
4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางด้วน แขวงบางหว้า แขวงบางจาก แขวงคูหาสวรรค์ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ แขวงบางขุนเทียน แขวงบางค้อ แขวงจอมทอง แขวงบางมด เขตจอมทอง แขวงท่าข้าม แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน แขวงบางมด แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ และแขวงบางปะกอก แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางด้วน แขวงบางหว้า แขวงบางจาก แขวงคูหาสวรรค์ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ แขวงบางขุนเทียน แขวงบางค้อ แขวงจอมทอง แขวงบางมด เขตจอมทอง แขวงท่าข้าม แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน แขวงบางมด แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ และแขวงบางปะกอก แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

                    ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ที่ มท. เสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางด้วน แขวงบางหว้า แขวงบางจาก แขวงคูหาสวรรค์ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ แขวงบางขุนเทียน แขวงบางค้อ แขวงจอมทอง แขวงบางมด เขตจอมทอง แขวงท่าข้าม แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน แขวงบางมด แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ และแขวงบางปะกอก แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างและขยายทางหลวงท้องถิ่น สายเชื่อมระหว่างถนนเพชรเกษมกับถนนสุขสวัสดิ์ และสายเชื่อมระหว่างสายเชื่อมดังกล่าวกับถนนกาญจนาภิเษก     มีกำหนดใช้บังคับ 5 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้ภายใน 120 วัน นับแต่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค ตลอดจนเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด และเพื่อบรรเทาความหนาแน่นของการจราจรในเขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง เขตบางขุนเทียน เขตทุ่งครุ และเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร                       โดยกรุงเทพมหานครได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่โครงการแล้ว ส่วนใหญ่เห็นชอบด้วยกับโครงการดังกล่าว และสำนักงบประมาณแจ้งว่า ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการใช้จ่ายจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

                    กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางด้วน แขวงบางหว้า แขวงบางจาก แขวงคูหาสวรรค์ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ แขวงบางขุนเทียน แขวงบางค้อ แขวงจอมทอง แขวงบางมด เขตจอมทอง แขวงท่าข้าม แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน แขวงบางมด แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ และแขวงบางปะกอก แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างและขยายทางหลวงท้องถิ่น สายเชื่อมระหว่างถนนเพชรเกษมกับถนนสุขสวัสดิ์ และสายเชื่อมระหว่างสายเชื่อมดังกล่าวกับถนนกาญจนาภิเษก มีกำหนดใช้บังคับ 5 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้ภายใน 120 วัน          นับแต่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีอากรสำหรับการร่วมทุนในบริษัท LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) ณ บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้

ทั้งนี้ กค. เสนอว่า

                    1. เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 22 มิถุนายน 2564 และวันที่ 6 ธันวาคม 2565 เห็นชอบให้ กฟผ. เข้าร่วมทุนกับบริษัท PTTLNG ในสัดส่วนการถือหุ้นเท่ากันคือ ร้อยละ 50 (บริษัท PTTLNG ได้ดำเนินการใน LMPT2 โดยถือหุ้นร้อยละ 100) ดังนั้น บริษัท PTTLNG จึงต้องมีการจัดตั้งบริษัทที่เกิดจากการร่วมทุนขึ้นมาใหม่โดยต้องโอนหุ้นใน LMPT2 ทั้งหมดไปที่บริษัทที่เกิดจากการร่วมทุนดังกล่าวและต่อมาจะขายหุ้นที่โอนไปบริษัทที่เกิดการร่วมทุนร้อยละ 50 ให้กับ กฟผ. ซึ่งการโอนและขายหุ้นดังกล่าวถือเป็นการขายทรัพย์สินที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ หากมีการเสียภาษีดังกล่าวจะทำให้ต้นทุนของโครงการเพิ่มสูงขึ้นและจะส่งผลให้ต้นทุนทางพลังงานของประเทศเพิ่มสูงขึ้นด้วย จึงมีความจำเป็นต้องขอยกเว้นภาษี เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม                                         และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้กับบริษัท PTTLNG ในขั้นตอนดังกล่าว
                    2. กค. พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติตามแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน รองรับการจัดหาและนำเข้า LNG เสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศในระยะยาวและไม่ก่อให้เกิดภาระต้นทุนทางพลังงานของประเทศที่จะเพิ่มสูงขึ้น จึงได้ดำเนินการยกร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร        ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีอากรสำหรับการร่วมทุนในบริษัท LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) ณ บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง) เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้กับบริษัท PTTLNG อันเนื่องมาจากการร่วมลงทุนในโครงการ LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) ณ บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565

3. กค. ได้ดำเนินการจัดทำประมาณการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยคาดว่าจะสูญเสียรายได้ภาษีอากรรวม 5,745 ล้านบาท แต่มีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้

3.1 สามารถช่วยให้ราคาเชื้อเพลิงและค่าไฟฟ้าไม่เพิ่มขึ้นอันเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ทั้งนี้ หากไม่มีการยกเว้นภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มจะส่งผลให้ราคาเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 0.34 บาทต่อล้านบีทียู และค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 0.16 สตางค์ต่อหน่วย

3.2 ช่วยสนับสนุนการร่วมทุน LMPT2 โดยการร่วมทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน LNG รองรับการเติบโตของตลาดในอนาคต การเพิ่มความหลากหลายของผู้ให้บริการสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว สนับสนุนนโยบายการเปิดเสรีธุรกิจก๊าซธรรมชาติ (การส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ) โดยมีผู้ให้บริการสถานีฯ และผู้นำเข้า LNG รายใหม่ ๆ (Third Party Access: TPA) เสริมความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าในประเทศ และการเป็นศูนย์กลางการซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลวในอาเซียน (Regional LNG Hub) ในอนาคต

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

                    1. กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (เดิมร้อยละ 20) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (เดิมร้อยละ 7)            ภาษีธุรกิจเฉพาะ (เดิมร้อยละ 3.3) และอากรแสตมป์ (เดิมร้อยละ 0.5) ให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล [บริษัท พีทีทีแอลเอ็นจี จำกัด (PTTLNG)] สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า และสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการร่วมลงทุนในโครงการ LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) ณ บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง

2. กำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

เศรษฐกิจ-สังคม
6. เรื่อง นโยบายกำกับการนำเข้าเศษพลาสติก
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอนโยบายกำกับการนำเข้าเศษพลาสติกและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป                                                              สาระสำคัญ
                    1. คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (3 กรกฎาคม 2561) รับทราบมาตรการการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อให้มีการกำหนดแหล่งกำเนิดของวัตถุดิบที่จะนำมาใช้หรือผลิตในโรงงาน รวมทั้งให้เกิดการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ต่อมา อก. ได้กำหนดนโยบายให้ปรับลดการนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศให้หมดภายใน 2 ปี           (ปี 2562 ? 2563) โดยมีเงื่อนไขว่าเศษพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศต้องสะอาด และส่งไปโรงงานเพื่อแปรรูปได้ทันที นอกจากนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมยังไม่อนุญาตให้มีผู้ประกอบการนำเข้าเศษพลาสติกรายใหม่ตั้งแต่ปี 2562 โดยการนำเข้าในปี 2562 ? 2563 เป็นไปตามโควตาเก่าที่ได้รับอนุญาตและสิ้นสุดใบอนุญาตแล้ว ส่งผลให้ไม่มีการนำเข้าเศษพลาสติกสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ทั่วไปแล้วตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบัน แต่ในพื้นที่ปลอดอากรยังคงมีการนำเข้าเศษพลาสติกเพื่อใช้สำหรับวัตถุประสงค์ในการส่งออก
                     2. คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565        มีมติเห็นชอบนโยบายกำกับการนำเข้าเศษพลาสติก และให้กรมศุลกากร อก. และกรมการค้าต่างประเทศดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าว และให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ นโยบายกำกับการนำเข้าเศษพลาสติก มีสาระสำคัญสรุปดังนี้
ประเด็น          การดำเนินการ
1. ห้ามนำเข้าเศษพลาสติกตั้งแต่ปี 2568           ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์กำหนดให้เศษพลาสติกเป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร
หน่วยงานรับผิดชอบ: กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) (กรมการค้าต่างประเทศ)
2. การนำเข้าเศษพลาสติกในพื้นที่เขตปลอดอากร          1. อนุญาตเฉพาะ 14 โรงงานที่กำหนด
2. อนุญาตนำเข้าไม่เกินความสามารถในการผลิตจริง รวม 372,994 ตันต่อปี
3. ระยะเวลาการนำเข้าเศษพลาสติกในพื้นที่เขตปลอดอากรจำนวน 2 ปี
3.1 ปีที่ 1 (2566) ให้โรงงานอุตสาหกรรม 14 แห่ง นำเข้าปริมาณร้อยละ 100 ของความสามารถในการผลิตจริง
3.2 ปีที่ 2 (2567) ให้โรงงานอุตสาหกรรม 14 แห่ง นำเข้าปริมาณไม่เกินร้อยละ 50 ของความสามารถในการผลิตจริง
3.3 ปีที่ 3 (2568) ห้ามนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศ
4. มาตรการควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อมิให้เกิดมลพิษในประเทศตามประกาศกรมศุลกากร ปี 2564 เช่น เศษพลาสติกที่นำเข้าต้องแยกชนิดและไม่ปะปนกัน สามารถนำเข้าสู่กระบวนการผลิตโดยไม่ต้องทำความสะอาด ต้องใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อส่งออกเท่านั้น เป็นต้น
5. กรมศุลกากรออกประกาศหรือปรับปรุงประกาศให้สอดคล้องและเป็นไปตามนโยบายกำกับการนำเข้าเศษพลาสติก
หน่วยงานรับผิดชอบ: กระทรวงการคลัง (กค.) (กรมศุลกากร) และ อก. (กรมโรงงานอุตสาหกรรม)
3. การนำเข้าเศษพลาสติกในพื้นที่ทั่วไป           ให้นำเข้าเฉพาะกรณีที่ไม่มีเศษพลาสติกในประเทศหรือมีปริมาณไม่เพียงพอในช่วงปี 2566 ? 2567 โดยมีหลักเกณฑ์ เช่น ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องแสดงหลักฐานว่ามีความจำเป็นในการนำเข้าและไม่สามารถหาได้ในประเทศและนำเข้าได้ในปริมาณที่สอดคล้องกับกำลังการผลิต ต้องนำเข้ามาเพื่อเป็นวัตถุดิบเท่านั้น (ไม่รวมถึงการคัดแยกหรือย่อยพลาสติก) สามารถนำเข้าสู่กระบวนการผลิตโดยไม่ต้องทำความสะอาด เป็นต้น โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้อนุญาต และให้ พณ. (กรมการค้าต่างประเทศ) จัดทำร่างระเบียบเพื่ออนุญาตให้นำเข้าเศษพลาสติกตามนโยบายกำกับการนำเข้าเศษพลาสติกที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
หน่วยงานรับผิดชอบ: กค. (กรมศุลกากร) พณ. (กรมการค้าต่างประเทศ) และ อก. (กรมโรงงานอุตสาหกรรม)
4. มาตรการควบคุมในช่วง 2 ปี ต่อไป           1. มาตรการกำกับการนำเข้าเศษพลาสติก 3 ประเด็น ประกอบด้วย (1) ควบคุมปริมาณนำเข้าให้สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการรีไซเคิลขยะพลาสติกในประเทศ (2) ป้องกันการลักลอบนำเข้า และ (3) การควบคุมการประกอบกิจการพลาสติกไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2. มาตรการลดผลกระทบจากการห้ามนำเข้าเศษพลาสติก 4 ประเด็น ประกอบด้วย (1) การป้องกันการขาดแคลนเศษพลาสติกบางชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรม (2) การคัดแยกขยะที่เป็นระบบตั้งแต่ต้นทางเพื่อนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม (3) งานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับการนำพลาสติกกลับไปใช้ประโยชน์ และ (4) การมีกฎหมายเพื่อกำกับดูแลและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกโดยเฉพาะ


7. เรื่อง การพิจารณารับรองวัดคาทอลิก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอการรับรองวัดคาทอลิกเป็นวัดคาทอลิกตามกฎหมาย จำนวน 33 วัด แบ่งเป็นจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้

จังหวัด          จำนวนวัด          จังหวัด          จำนวนวัด
กรุงเทพมหานคร          2          จันทบุรี          5
ปทุมธานี          1          ตราด          1
อยุธยา          1          ปราจีนบุรี          2
สุพรรณบุรี          1          สระแก้ว          3
นครปฐม          1          ราชบุรี          2
นครนายก          4          นครสวรรค์          1
ฉะเชิงเทรา          3          ลพบุรี          1
ชลบุรี          1          เพชรบูรณ์          2
ระยอง          1          อุทัยธานี          1

และให้กระทรวงวัฒนธรรมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงศึกษาธิการไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

ทั้งนี้การรับรองวัดคาทอลิกเป็นวัดคาทอลิกตามกฎหมาย จำนวน 33 วัดในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการตามนัยมาตรา 16 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564 ซึ่งวัดดังกล่าวเป็นวัดที่มีอยู่ก่อนวันที่ระเบียบฯ มีผลบังคับใช้ และต้องรับรองให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี หลังจากวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ (ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2566) (ปัจจุบันมีวัดที่ให้การรับรองไปแล้ว จำนวน 43 วัด คงเหลือยังมิได้รับรองอีกประมาณ 312 วัด) ในการนี้คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองคำขอจัดตั้งวัดคาทอลิก ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ได้พิจารณาคำขอให้รับรองวัดคาทอลิก ตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในข้อที่ 16 แห่งระเบียบดังกล่าวประกอบด้วย (1) ได้รับความเห็นชอบให้ยื่นคำขอรับรองวัดคาทอลิกจากสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย (2) มีข้อมูลที่ตั้งวัด (3) มีข้อมูลที่ดินที่ตั้งวัดและการอนุญาตให้ใช้ที่ดิน (4) มีรายชื่อบาทหลวงซึ่งจะไปประกอบศาสนกิจประจำ ณ วัดคาทอลิก และ (5) มีข้อมูลอื่นที่จำเป็นเกี่ยวกับการรับรองวัดคาทอลิก เช่น คุณค่าและประโยชน์ของวัดคาทอลิกการอุปถัมภ์และทำนุบำรุงจากภาคส่วนต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว และมีมติให้เสนอคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกทั้ง 33 วัด ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้การรับรองตามนัยระเบียบดังกล่าว

8. เรื่อง รายงานสถานการณ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ประจำปี 2565

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) เสนอรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและผลการดำเนินงานของ ท.ท.ช. ประจำปี 2565 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 14 (8) ที่บัญญัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของ ท.ท.ช. จัดทำรายงานดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง] โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

1. รายงานสถานการณ์การท่องเที่ยว

1. สถานการณ์การท่องเที่ยวทั่วโลก (เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565) มีนักท่องเที่ยวเดินทางทั่วโลก 248 ล้านคน (เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 221 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564) ซึ่งเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาค เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางและแนวทางการบริหารจัดการการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศต่าง ๆ

2. การประมาณการสถานการณ์การท่องเที่ยวไทย

ประเด็น          จำนวนนักท่องเที่ยว          รวมรายได้
จากการท่องเที่ยว
          ไทย          ชาวต่างชาติ
สถานการณ์การท่องเที่ยวไทย ณ ธันวาคม 2565          149.03 ล้านคน-ครั้ง1
(เพิ่มขึ้นร้อยละ 168
จากปีก่อน)          10.64 ล้านคน          0.96 ล้านล้านบาท
แนวโน้มสถานการณ์           การท่องเที่ยว ปี 2566          (ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2565)          160 ล้านคน-ครั้ง          18 ล้านคน          1.20 ล้านล้านบาท

2. ผลการดำเนินงานของ ท.ท.ช.

ประเด็น          สาระสำคัญ
การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวต่างชาติ          ได้ดำเนินการปรับปรุง (ร่าง) ประกาศ ท.ท.ช. เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียม         การท่องเที่ยวฯ พ.ศ. ....2 เพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ท.ท.ช. และคณะรัฐมนตรี
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน          ท.ท.ช. ได้มีมติเห็นชอบ (1) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองเก่าน่าน (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อการบูรณะฟื้นฟูและการอนุรักษ์พื้นที่เมืองเก่าน่าน รวมทั้งยกระดับและเพิ่มมูลค่าแห่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม (2) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองโบราณอู่ทองและพื้นที่เชื่อมโยง (พ.ศ. 2566-2570) (3) การประกาศและขยายเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองโบราณอู่ทองและพื้นที่เชื่อมโยง ครอบคลุมเนื้อที่ 53,358.01 ตารางกิโลเมตร (จากเดิม 38.16 ตารางกิโลเมตรให้แก่พื้นที่ทุกอำเภอของจังหวัดสุพรรณบุรี) โดยให้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (อพท.) เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป (4) การประกาศพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา3  โดยมีเนื้อที่รวม 5,553.26 ตารางกิโลเมตร           หรือ 3,470,788 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด 15 อำเภอ (จังหวัดพัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช) และ (5) การประกาศจังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเชียงราย โดยมีเนื้อที่รวม 11,687.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,299,000 ไร่ ครอบคลุม 18 อำเภอ ของจังหวัดเชียงราย เช่น อำเภอเมืองเชียงราย แม่จัน และแม่สาย
การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ภายใต้ ท.ท.ช.          - คณะอนุกรรมการจัดทำ ขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570) มีหน้าที่และอำนาจ เช่น กำหนดแนวทางและให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฯ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนที่เกี่ยวข้องทุกระดับ
- คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาและฟื้นฟูการท่องเที่ยวอันดามันอย่างยั่งยืน มีหน้าที่และอำนาจ เช่น ให้คำปรึกษาและสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและติดตาม รับฟัง แก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (24 พฤษภาคม 2565) ที่ให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาและฟื้นฟูการท่องเที่ยวอันดามันอย่างยั่งยืนภายใต้ ท.ท.ช.]

3. ผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ

3.1 ดำเนินการตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2564-2565 โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินงานตามแผนฯ ไม่น้อยกว่า 200 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งโครงการส่วนใหญ่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นควบคู่ไปกับการพัฒนาสินค้าและการบริการทางการท่องเที่ยวมูลค่าสูงเพื่อเพิ่มการใช้จ่ายและดึงดูดนักท่องเที่ยว กลุ่มศักยภาพการใช้จ่ายสูง ตลอดจนการท่องเที่ยวโดยคำนึงถึงความยั่งยืนในทุกมิติ เช่น โครงการพัฒนาและจัดทำระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและโครงการพื้นที่ท่องเที่ยวปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว

3.2 จัดทำ (ร่าง) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570)4 เพื่อเป็นกรอบแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในภาพรวมและให้ความสำคัญต่อกลไกการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ เช่น ยุทธศาสตร์ที่ 1 เสริมสร้างความเข้มแข็งและภูมิคุ้นกันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาปัจจัยพื้นฐานของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพสูง และยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว

3.3 จัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสีขาวภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG5 (Bio-Circular-Green Economy Model) โดยประเด็นการขับเคลื่อนครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ เช่น (1) การสร้างความร่วมมือเพื่อการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสีขาวภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG อย่างเป็นรูปธรรม (2) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ (3) การลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เกิดจากการท่องเที่ยว ซึ่งทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น ดึงดูดนักท่องเที่ยวและกระตุ้นการใช้จ่ายด้วยสินค้าและบริการที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการ

3.4 เขตพัฒนาการท่องเที่ยว 15 เขต เกิดจากแนวคิดคลัสเตอร์เป็นกรอบกำหนดทิศทางและเป้าหมายร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการรักษา ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวหรือการบริหารพัฒนาการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฯ โดยกำหนดเป็นกลุ่มจังหวัดหรือพื้นที่เฉพาะ ซึ่งปัจจุบันมีเขตพัฒนาการท่องเที่ยว 15 เขต ในพื้นที่ 60 จังหวัด 4 หมู่เกาะ (เช่น เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาเขตพัฒนาการท่องเที่ยวมรดกโลกด้านวัฒนธรรรม และเขตพัฒนาการท่องเที่ยวหมูเกาะทะเลใต้) ทั้งนี้ อยู่ระหว่างดำเนินการปรับแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570)

1 ล้านคน-ครั้ง เป็นหน่วยการนับที่หมายถึงจำนวนทริปที่นักท่องเที่ยวไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ
2 คณะรัฐมนตรีมีมติ (14 กุมภาพันธ์ 2566) เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) ประกาศฯ แล้ว
3 คณะรัฐมนตรีมีมติ (27 ธันวาคม 2565) รับทราบการประกาศพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาฯ ของ อพท.
4 คณะรัฐมนตรีมีมติ (3 มกราคม 2566) อนุมัติ (ร่าง) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฯ แล้ว
5 กลยุทธ์ดังกล่าวจัดทำเพื่อให้ภาคการท่องเที่ยวมีบทบาทนำในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

9. เรื่อง รายงานผลการกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลรุ่น LB236A เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานผลการกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลรุ่น LB236A ที่จะครบกำหนดในวันที่ 16 มิถุนายน 2566 (เป็นการดำเนินการตามพระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่สอง พ.ศ. 2545 มาตรา 6 ที่บัญญัติให้ในการกู้เงินแต่ละคราวต้องรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในหกสิบวันนับตั้งแต่วันทำสัญญากู้หรือวันออกพันธบัตรหรือตราสารอื่น) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. พันธบัตรรัฐบาลรุ่น LB236A ที่ออกภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง ที่จะครบกำหนดในวันที่ 16 มิถุนายน 2566 มีวงเงินที่ครบกำหนดสูง จำนวน 98,163 ล้านบาท กค. จึงได้ดำเนินการกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลดังกล่าวเพื่อลดความเสี่ยงในการปรับโครงสร้างหนี้ ผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 1 (LB236A) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
วันที่ประมูล          อายุ          วงเงิน
(ล้านบาท)          อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย
(ร้อยละต่อปี)
11 มกราคม 2566          5.43 ปี          33,340          1.9263
                    2. กค. ได้ออกประกาศ กค. เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 1 เพื่อลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ภายในวันที่ 13 มีนาคม 2566) ต่อไปด้วยแล้ว

10. เรื่อง รายงานผลการวิเคราะห์ค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ประจำปี พ.ศ. 2565 (Corruption Perceptions Index: CPI 2022)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) เสนอรายงานผลการวิเคราะห์ค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ประจำปี พ.ศ. 2565 (Corruption Perceptions Index: CPI 2022) และกรอบแนวทางการขับเคลื่อนการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. รายงานผลการวิเคราะห์ค่าคะแนน CPI ประจำปี พ.ศ. 2565 (CPI 2022)
                        1.1 องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) ได้ประกาศผลคะแนน CPI 2022 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 ซึ่งมีประเทศที่ได้รับการประเมินทั้งหมด 180 ประเทศ พบว่า 2 ใน 3 ของประเทศที่ได้รับการประเมินมีระดับคะแนนต่ำกว่า 50 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน) มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 43 คะแนน มีประเทศที่ได้คะแนนสูงที่สุด 10 อันดับแรก คือ ราชอาณาจักรเดนมาร์ก (90 คะแนน) สาธารณรัฐฟินแลนด์ (87 คะแนน) ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์ (87 คะแนน) ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (84 คะแนน) สาธารณรัฐสิงคโปร์ (83 คะแนน) ราชอาณาจักรสวีเดน (83 คะแนน) สมาพันธรัฐสวิส (82 คะแนน) ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (80 คะแนน) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (79 คะแนน) และสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (77 คะแนน) สำหรับประเทศที่ได้คะแนนน้อยที่สุด คือ สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน (13 คะแนน) สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (13 คะแนน) และสาธารณรัฐโซมาเลีย (12 คะแนน)
                        1.2 ไทยได้คะแนน CPI 36 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 101 และอยู่ในอันดับที่ 4 ของอาเซียน รองจากสาธารณรัฐสิงคโปร์ (83 คะแนน) สหพันธรัฐมาเลเซีย (47 คะแนน) และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม       (42 คะแนน) โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นจากปี 2564 (35 คะแนนอยู่ในอันดับที่ 110) ในภาพรวมคะแนนของไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีคะแนนเพิ่มขึ้นซึ่งมี 49 ประเทศ มีประเทศที่มีคะนนลดลง 73 ประเทศ และมีคะแนนเท่าเดิม 58 ประเทศ สะท้อนว่า   การประเมิน CPI ของไทยในสายตานานาชาติ ในปี 2565 ดีขึ้นกว่าปี 2564
                        1.3 คะแนน CPI ของประเทศในอาเซียน ประเทศที่มีคะแนนลดลง ได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ลดลง 5 คะแนน) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (ลดลง 4 คะแนน) สาธารณรัฐสิงคโปร์ (ลดลง 2 คะแนน) และสหพันธรัฐมาเลเซีย (ลดลง 1 คะแนน) ซึ่งสะท้อนถึงระดับความโปร่งใสที่ลดลงของกลุ่มประเทศเหล่านี้ ขณะที่มีประเทศที่มีคะแนนเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไทย (เพิ่มขึ้น 1 คะแนน) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เพิ่มขึ้น                 1 คะแนน) ราชอาณาจักรกัมพูชา (เพิ่มขึ้น 1 คะแนน) และสาธารณรัฐสังคมเวียดนาม (เพิ่มขึ้น 3 คะแนน) ซึ่งถือว่าเป็นช่วงคะแนนที่ก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน
                        1.4 สาเหตุสำคัญของคะแนน CPI ที่มีการเปลี่ยนแปลงในปี 2565 ได้แก่
                              1.4.1 คะแนนเพิ่มขึ้นใน 2 แหล่งการประเมินที่เกี่ยวข้องกับประเด็นกลุ่มคำถามด้านการติดสินบน คือ IMD1 โดยไทยได้ 43 คะแนน (เพิ่มขึ้น 4 คะแนนจากปี 2564 ที่ได้ 39 คะแนน) และ WEF2 ไทยได้             45 คะแนน (เพิ่มขึ้น 3 คะแนนจากปี 2564 ที่ได้ 42 คะแนน) โดย WEF เป็นคะแนนที่ไทยได้รับการประเมินดีที่สุดนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประเมินในปี 2555 ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการพัฒนาระบบการบริหารงานภาครัฐผ่านอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมากขึ้น เป็นรัฐบาลดิจิทัลที่ประชาชนสามารถติดต่อรับบริการภาครัฐได้อย่างสะดวกและ     มีการเปิดเผยข้อมูลของรัฐให้ประชาชนเข้าถึงได้มากขึ้น
                              1.4.2 คะแนนลดลงใน 2 แหล่งการประเมิน คือ WJP3 โดยไทยได้คะแนน 34 คะแนน (ลดลง 1 คะแนนจากปี 2564 ที่ได้ 35 คะแนน) และ PERC4 ไทยได้ 35 คะแนน (ลดลง 1 คะแนนจากปี 2564 ที่ได้ 36 คะแนน) ดังนั้น จึงควรมีการเร่งรัดกระบวนการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และเปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินการในประเด็นสำคัญให้สาธารณชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและมีผลต่อคะแนนของ 2 แหล่งการประเมินนี้ในปีถัดไป
                              1.4.3 คะแนนของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับค่ากลางของคะแนนจากประเทศทั้งหมดที่ได้รับการประเมิน พบว่ามีคะแนนมากกว่าค่ากลาง 2 แหล่งการประเมิน คือ BF (TI)5 (37 คะแนน) และ WEF         (45 คะแนน) มีค่าคะแนนเท่ากับค่ากลาง 2 แหล่งการประเมิน คือ EIU6 (37 คะแนน) และ GI7 (35 คะแนน) และมีคะแนนน้อยกว่า ค่ากลาง 5 แหล่ง คือ IMD (43 คะแนน) PERC (37 คะแนน) PRS8 (32 คะแนน) V-DEM9              (26 คะแนน) และ WJP (34 คะแนน)
                        1.5 องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติได้มีข้อเสนอแนะสำคัญ 4 ประเด็น
                              1.5.1 ส่งเสริมการตรวจสอบการถ่วงดุลและสนับสนุนการแบ่งอำนาจ หน่วยงานต่อต้านทุจริตและหน่วยงานตรวจสอบต้องมีทรัพยากรที่พอเพียง และเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ รัฐบาลควรมีมาตรการควบคุมหน่วยงานที่เข้มงวดขึ้นเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต ด้านการป้องกันการทุจริต และการรักษาความมั่นคงของประเทศ
                              1.5.2 ประชาชนทุกคนต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญได้อย่างรวดเร็ว โดยควรรวมถึงข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณและทรัพยากรภาครัฐ การมีแนวปฏิบัติที่เข้มงวดและชัดเจนในการเปิดเผยข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน และข้อมูลของหน่วยงานด้านการแก้ไขปัญหาการทุจริตด้วย
                              1.5.3 ควบคุมผู้มีอิทธิพล ผู้มีอำนาจ โดยควบคุมการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องและส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ นโยบายและทรัพยากรสาธารณะควรถูกกำหนดขึ้นด้วยความยุติธรรมและผ่านกระบวนการให้ความเห็นชอบจากสาธารณะและกำหนดมาตรการสำคัญ ๆ เช่น การจัดตั้งระบบเพื่อป้องกันการวิ่งเต้น การฮั้วประมูล การเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง ประชาชนสามารถตรวจสอบการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องได้และบังคับใช้กฎหมายด้านการขัดกันของผลประโยชน์ที่เข้มงวด
                              1.5.4 การปราบปรามการทุจริตข้ามชาติ ประเทศที่มีคะแนนสูงสุดจำเป็นต้องมีการควบคุมความลับขององค์กร การติดสินบนต่างชาติ และการกระทำผิดที่มีผู้สนับสนุนจากวิชาชีพเฉพาะ เช่น             นายธนาคาร และ นักกฎหมาย โดยต้องมีการทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการตรวจสอบ ติดตาม          ยึดทรัพย์และส่งทรัพย์สินที่ผิดกฎหมายคืนให้กับผู้เสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                    2. กรอบแนวทางการขับเคลื่อนการยกระดับคะแนน CPI จากการวิเคราะห์ค่าคะแนน CPI 2022      พบข้อมูลที่มีนัยสำคัญในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่ต้องเร่งรัดการดำเนินการ โดยสำนักงาน ป.ป.ท. จะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
                        2.1 เร่งรัดการดำเนินการกำหนดแผนปฏิบัติการยกระดับดัชนีการรับรู้การทุจริต ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ด้วยการขับเคลื่อนงาน 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการป้องกันการติดสินบน (2) ด้านการตรวจสอบการใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ (3) ด้านการใช้งบประมาณและทรัพยากรภาครัฐอย่างคุ้มค่า และ (4) ด้านประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาการทุจริต ซึ่งอยู่ระหว่างคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ภายใต้ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ จัดทำแผนฯ เพื่อเป็นกรอบการดำเนินการในการขับเคลื่อนคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตให้สูงขึ้นและสอดคล้องตามเป้าหมายแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ
                        2.2 ให้หน่วยงานภาครัฐทุกภาคส่วนตระหนักและประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกันทั้งองคาพยพ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องของแต่ละหน่วยงานให้เกิดความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐ
                        2.3 ส่งเสริมให้ภาคเอกชน กลุ่มธุรกิจ นักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติสร้างมาตรฐานความถูกต้องที่มีธรรมาภิบาลในการประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยร่วมกันต่อต้านการทุจริตติดสินบนทุกรูปแบบ
                        2.4 เร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการประเมินความเสี่ยงการทุจริตเพื่อจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงการทุจริต ซึ่งเป็นมาตรการภายในของหน่วยงานที่จะป้องกันและลดโอกาสการทุจริต
1 IMD World Competitiveness Center World Competitiveness Yearbook Executive Opinion Survey: IMD แหล่งการประเมินเกี่ยวกับการให้สินบนและการทุจริตคอร์รัปชันยังคงมีอยู่หรือไม่
2 World Economic Forum Executive Opinion Survey: WEF แหล่งการประเมินเกี่ยวกับการจ่ายเงินสินบนเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออก การเข้าถึงสาธารณูปโภค การประเมินภาษีประจำปี การได้รับสัมปทาน การแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม และการนำเงินงบประมาณภาครัฐไปให้กับบริษัทบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด ๆ เพื่อการคอร์รัปชัน
3 World Justice Project Rule of Law Index Expert Survey: WJP แหล่งการประเมินเกี่ยวกับการใช้อำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนของข้าราชการเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายทหาร และตำรวจ
4 Political and Economic Risk Consultancy Asian Intelligence: PERC แหล่งการประเมิน (นักธุรกิจต่างประเทศที่อาศัยอยู่ในประเทศ) เกี่ยวกับการคอร์รัปชันในประเทศ
5 Bertelsmann Stiftung Transformation Index 2022: BF (TI) แหล่งการประเมินเกี่ยวกับการใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อผลประโยชน์มิชอบและประสิทธิภาพของรัฐบาลในการควบคุมปัญหาการทุจริต
6 Economist Intelligence Unit Country Risk Service: EIU แหล่งการประเมินเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้งบประมาณ การใช้อำนาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รัฐ และความเป็นอิสระขององค์กรตรวจสอบ
7 Global Insight Country Risk Ratings: GI แหล่งการประเมินเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านทางธุรกิจ การติดสินบนเจ้าหน้าที่และการออกนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจบางธุรกิจ
8 The PRS Group International Country Risk Guide: PRS แหล่งการประเมินเกี่ยวกับการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออก การประเมินภาษี การได้รับความคุ้มครองจากตำรวจ
9 Varieties of Democracy (V-Dem): V-DEM แหล่งการประเมินเกี่ยวกับการทุจริตในภาคการเมืองมีการแพร่ขยายตัวอย่างไร

11. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 5/2565 เรื่อง โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 5/2565 เรื่อง โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ (โครงการฯ) ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กพอ. รายงานว่า
                    1. สกพอ. ได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2566 ภายใต้แผนงานบูรณาการเขตพิเศษภาคตะวันออก สำหรับโครงการฯ จำนวน 3 รายการ วงเงินรวม 1,970.5285 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) โครงการจัดหาพื้นที่เตรียมพร้อมพัฒนาโครงการฯ จำนวน 1,500 ล้านบาท (2) โครงการบริหารจัดการเพื่อเตรียมพื้นที่โครงการฯ จำนวน 10.7938 ล้านบาท และ (3) โครงการจ้างที่ปรึกษาออกแบบขั้นรายละเอียดและจัดทำรายละเอียดการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) ในโครงการฯ จำนวน 459.7347 ล้านบาท โดยในส่วนของการจัดหาพื้นที่เตรียมพร้อมพัฒนาโครงการฯ สกพอ. ได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องสรุปได้ ดังนี้
                        1.1 การจัดการที่ดินโครงการฯ
                              สกพอ. ได้แต้งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการที่ดินโครงการฯ จำนวน 3 คณะ โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
1.1.1
คณะกรรมการกำหนด
ค่าชดเชยโครงการฯ          กำหนดแนวทางและหลักเกณฑ์ในการสำรวจ การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน และการกำหนดค่าชดเชย โดยพิจารณาจากทำเลที่ตั้งของแปลงที่ดิน โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง     ไม้ยืนต้น ตลอดจนค่าเสียหายอื่นอันเกิดจากการที่เจ้าของต้องออกจากที่ดิน เป็นต้น       สรุปได้ ดังนี้
- แนวทางการประเมินราคาที่ดินคราวละมากแปลงของกรมธนารักษ์
- ราคาค่าต้นไม้ยืนต้นประเมินโดยอ้างอิงจากราคาที่ส่วนราชการอื่นกำหนดไว้ไม่เกินสามปี  ในพื้นที่ใกล้เคียงกับโครงการ คือ โครงการของกรมทางหลวงชนบท ถนนสาย ชบ. 3023 แยก ทล.315-บ้านหนองปลาไหล
- ราคาค่าโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างประเมินโดยอ้างอิงมาตรฐานค่าก่อสร้างสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2563 - 2564
- ค่าเสียหายอื่นอันเกิดจากการที่ต้องออกจากที่ดินประเมินโดยอ้างอิงกฎกระทรวงกำหนดเงินค่าทดแทนอื่นนอกจากค่าที่ดิน พ.ศ. 2564
1.1.2
คณะทำงานตรวจสอบผู้มีสิทธิได้รับค่าชดเชยโครงการฯ          เห็นชอบรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับค่าชดเชย กลุ่มที่ 1 (จำนวน 72 แปลง) และรายชื่อผู้ครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. รวม 523 แปลง ครอบคลุมพื้นที่ครบ 14,619 ไร่
1.1.3
คณะทำงานเจรจาจ่ายค่าชดเชยโครงการฯ          - นำหลักเกณฑ์กำหนดราคาค่าชดเชยโครงการฯ ไปเจรจาตกลงกับผู้มีสิทธิได้รับค่าชดเชยที่ผ่านการตรวจสอบจากคณะทำงานตรวจสอบฯ จำนวน 72 แปลง รวมขนาดพื้นที่ประมาณ 2,483 ไร่
- ผู้มีสิทธิฯ ทั้งหมดแสดงเจตนาขอรับเงินค่าชดเชยและส่งมอบการครอบครอง พร้อมส่งมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) ฉบับจริงให้แก่ สกพอ.
- เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 สกพอ. ได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในพื้นที่โครงการฯ ครบทั้ง 72 แปลง ขนาดพื้นที่ประมาณ 2,483 ไร่ วงเงินรวมทั้งสิ้น 1,499.7967 ล้านบาท แล้วเสร็จ คิดเป็นค่าชดเชยเฉลี่ย 604,026 บาทต่อไร่
                        1.2 การดูแลและเตรียมการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
                              สกพอ. ได้เข้าปกครองดูแลที่ดินและได้ออกระเบียบว่าด้วยการรื้อถอนและทำลายสิ่งปลูกสร้าง พืชผลอาสิน หรือสิ่งอื่นใด เพื่อเข้าใช้ประโยชน์ที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2565 โดยได้ดำเนินการตามแนวทางต่าง ๆ ตามระเบียบแล้ว ดังนี้
                              1.2.1 ติดตั้งกล้องวงจรปิดในบริเวณจุดเสี่ยงและทางเข้า - ออก ที่สำคัญ
                              1.2.2 ปิดป้ายประกาศเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ทราบว่า สกพอ. ได้เข้าใช้ที่ดิน ส.ป.ก. ตามกฎหมาย
                              1.2.3 ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหน่วยงานรัฐในพื้นที่และสหกรณ์การเกษตร      บางละมุง จำกัด เพื่อขอความร่วมมือในการดูแลรักษาที่ดิน
                              1.2.4 กำหนดเจ้าหน้าที่ลงตรวจสอบพื้นที่และทรัพย์สินรายสัปดาห์
                              1.2.5 เตรียมจำหน่ายสิ่งปลูกสร้าง และต้นไม้ที่ไม่อยู่ในแผนการพัฒนาโครงการฯ ซึ่งหากปล่อยเนิ่นช้าจะเสื่อมสภาพ เสียหาย สูญหาย
                        1.3 การดำเนินงานในระยะต่อไป
                              สกพอ. อยู่ระหว่างดำเนินการจ้างที่ปรึกษาระดับนานาชาติที่มีประสบการณ์ในการออกแบบพัฒนาพื้นที่เมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะและประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์มาดำเนินการออกแบบขั้นรายละเอียดของเมือง อาทิ สถาปัตยกรรมเมือง (Urban Design) ระบบวิศวกรรมเมือง (Urban Engineering)       และองค์ประกอบของเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ (Livable Smart City) และแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินเต็มพื้นที่โครงการประมาณ 14,619 ไร่ รวมถึงออกแบบรายละเอียดโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค และพื้นที่ส่วนกลางในพื้นที่นำร่อง เป็นต้น เพื่อประกาศพื้นที่โครงการฯ ให้เป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษต่อไป โดยแบ่งโครงการตามกิจกรรมออกเป็น 5 โครงการย่อย เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในระยะเวลา 18 เดือน ดังนี้
                              1.3.1 โครงการจ้างที่ปรึกษาพิเศษต่างประเทศ (รายสาขา) สำหรับโครงการฯ
                              1.3.2 โครงการจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดผังการพัฒนาโครงการฯ
                              1.3.3 โครงการจ้างที่ปรึกษาจัดทำรายละเอียดแผนธุรกิจ การเงินและการตลาด สำหรับกลุ่มธุรกิจเป้าหมายของโครงการฯ
                              1.3.4 โครงการจัดทำพื้นที่แสดงนวัตกรรมการพัฒนาและเจรจาการลงทุนศูนย์ธุรกิจอีอีซีและเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
                              1.3.5 โครงการจัดจ้างที่ปรึกษาด้านกฎหมายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน           เพื่อสนับสนุน สกพอ. สำหรับโครงการฯ
                    2. อย่างไรก็ดี แผนปฏิบัติการฯ ที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 กำหนดให้การพัฒนาพื้นที่โครงการฯ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566 - 2570) ใช้พื้นที่จำนวน 5,795 ไร่ (ร้อยละ 40 ของพื้นที่โครงการ) สำหรับการพัฒนาย่านศูนย์กลางการเงินย่านสำนักงานภูมิภาค ธุรกิจศูนย์การแพทย์แม่นยำและการแพทย์เพื่ออนาคต สถานที่ราชการ ที่อยู่อาศัย โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ซึ่งตามข้อ 1.1 สกพอ. ได้จัดหาพื้นที่สำหรับการพัฒนาโครงการฯ ระยะที่ 1 แล้ว จำนวน 2,483 ไร่ (คิดเป็นร้อยละ 42 ของพื้นที่พัฒนาระยะที่ 1) ทำให้ยังเหลือพื้นที่ที่ต้องจัดหาอีกจำนวนประมาณ 3,312 ไร่ โดย สกพอ. ได้ดำเนินการสอบถามเกษตรกรผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ที่ดินฯ จำนวนประมาณ 120 แปลงแล้ว ซึ่งเกษตรกรทั้งหมดตกลงรับค่าชดเชยตามแนวทางและหลักเกณฑ์ที่ สกพอ. กำหนด ดังนั้น สกพอ. จึงมีความจำเป็นต้องขอรับการจัดสรรงบประมาณสำหรับจัดหาพื้นที่สำหรับใช้พัฒนาโครงการฯ อีกจำนวนประมาณ 3,312 ไร่ กรอบวงเงิน 2,500 ล้านบาท            เฉลี่ย 754,831 บาท/ไร่ เพื่อจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมสำหรับจัดเตรียมที่ดินพร้อมสำหรับการพัฒนาศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ ระยะที่ 1 จนครบพื้นที่ 5,795 ไร่ ตามแผนการพัฒนาโครงการฯ ระยะที่ 1
                    3. กพอ. ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565 มีความเห็นและมติ กพอ.        สรุปได้ ดังนี้
                        3.1 ความเห็นที่ประชุม
                              3.1.1 การจ่ายค่าชดเชยให้แก่เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับค่าชดเชยของโครงการฯ นั้น            ให้ดำเนินการอย่างชัดเจนตามข้อเสนอซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้กล่าวไว้ในการประชุมที่ผ่านมา เพื่อให้สามารถดำเนินการได้เสร็จสิ้นและไม่มีผู้อ้างสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินเรียกร้องเพิ่มเติมได้อีกในอนาคต ทั้งนี้ ขอให้ดำเนินการพิสูจน์สิทธิของเกษตรกรผู้มีสิทธิฯ อย่างรอบคอบและต้องสามารถตรวจสอบได้เพื่อให้แน่ใจว่าเกษตรกรที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง
                              3.1.2 สิทธิการร่วมถือหุ้นของเกษตรกรในพื้นที่โครงการฯ นั้น จะต้องร่างระเบียบและแนวทางปฏิบัติให้รอบคอบ มีความชัดเจน เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการดำเนินการ โดยให้สิทธิในการถือครองหุ้นแก่เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับค่าชดเชยฯ ทุกรายในพื้นที่โครงการฯ แต่ไม่สามารถโอนสิทธิ์ให้แก่บุคคลอื่นได้
                              3.1.3 ให้ทำการทดสอบตลาด (Market Test) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อปรับปรุงแผนการพัฒนาโครงการฯ ให้สอดคล้องกับปริมาณและความต้องการในการลงทุน รวมทั้งชักจูงและดึงดูดนักลงทุนหลัก (Anchor Investor) โดยเริ่มจากนักลงทุนหลักชาวไทยในเขตกรุงเทพฯ ที่สนใจย้ายฐานการลงทุนไปในพื้นที่โครงการฯจากนั้นจะสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในพื้นที่โครงการฯ ต่อไปได้ ทั้งนี้ การพัฒนาโครงการอาจแบ่งเป็นระยะและดำเนินการทดสอบตลาดควบคู่กันไปด้วยซึ่งจะสามารถสร้างความชัดเจนในการพัฒนาศูนย์ธุรกิจ EEC ขึ้นได้
                              3.1.4 การให้เช่าที่ดินในพื้นที่โครงการฯ อาจใช้การคำนวณอัตราค่าเช่าเป็นกลุ่ม โดยกลุ่มที่รัฐจะให้การสนับสนุนให้เกิดการลงทุนอาจคิดค่าเช่าในอัตราต้นทุนและค่าบริหาร หรือไม่คิดกำไรเลย แต่สำหรับในส่วนที่สามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ จะนำมาคิดอัตราค่าเช่าที่สามารถนำมาเฉลี่ยกับกลุ่มแรกเพื่อให้ได้ราคาเฉลี่ยในอัตราที่เหมาะสม
                              3.1.5 ให้ สกพอ. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเร่งดึงดูดกลุ่มนักลงทุนและส่งเสริมการลงทุนในโครงการฯ
                              3.1.6 ให้ สกพอ. จัดเตรียมข้อมูล แผนการดำเนินงาน และแผนที่สำหรับใช้ในการจัดหาที่ดินสำหรับพัฒนาโครงการฯ โดยให้เรียงลำดับความสำคัญของแปลงที่ดินที่ต้องการจัดหาเพิ่มเดิม เพื่อให้เพียงพอสำหรับพัฒนาโครงการฯ ตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
                              3.1.7 สงป. ไม่ขัดข้องในการขอรับการจัดสรรงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (งบกลางๆ) สำหรับโครงการจัดหาพื้นที่เพื่อโครงการฯ โดยขอให้ดำเนินการตามระเบียบการขอใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และในขั้นตอนการขอรับการจัดสรรงบประมาณ ขอให้ สกพอ. แสดงความพร้อมในการดำเนินงานจ่ายค่าชดเชยที่ดินตามจำนวนที่ต้องจ่ายจริง
                        3.2 มติ กพอ.
                              รับทราบความก้าวหน้าโครงการฯ และอนุมัติให้ สกพอ. ขอรับจัดสรรงบกลางฯ กรอบวงเงิน 2,500 ล้านบาท สำหรับโครงการจัดหาพื้นที่เพื่อโครงการฯ โดยให้ สกพอ. รับความเห็นของที่ประชุมไปพิจารณาประกอบการดำเนินงานและให้ สงป. พิจารณาตามความเหมาะสมและจำเป็นต่อไป
                    4. สำหรับประเด็นความเห็นของรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์) ซึ่งระบุว่า         ในการประชุม กพอ. ครั้งที่ 5/2565 ในระเบียบวาระนี้ได้ขอให้ สกพอ. กับ สงป. หารือกันในการจัดหางบประมาณตามที่ขอตามความจำเป็นเพื่อให้ดำเนินการได้ในพื้นที่บางส่วนที่สำคัญก่อน เพราะงบกลางฯ อาจจะมีจำกัด หากต้องการขออนุมัติเงินจำนวนมากในคราวเดียวนั้น สกพอ. ขอชี้แจงว่า การขอรับจัดสรรงบกลางฯ กรอบวงเงิน 2,500 ล้านบาท สำหรับจ่ายค่าชดเชยที่ดิน 3,312 ไร่ ให้แก่เกษตรกรผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการฯ ระยะที่ 1 ซึ่งเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 กล่าวคือเป็นรายจ่ายที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้วแต่มีจำนวนไม่เพียงพอและมีความจำเป็นเร่งด่วนของรัฐต้องใช้จ่ายเพื่อให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการด้านโครงการฯ ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 นอกจากนี้ ในเรื่องความพร้อมของโครงการฯ สกพอ. ได้เจรจาค่าชดเชยและเกษตรกรผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ที่ดินได้ตกลงรับค่าชดเชยแล้ว ครบทั้ง 3,312 ไร่ เพื่อให้ได้จำนวนที่ดินครบตามระยะการพัฒนาที่ 1 (5,795 ไร่)

12. เรื่อง ข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมปศุสัตว์เพื่อโอกาสในการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจประเทศอย่างเป็นธรรม
                    คณะรัฐมนตรีพิจารณาข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมปศุสัตว์เพื่อโอกาสในการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจประเทศอย่างเป็นธรรม (แนวทางการส่งเสริมฯ) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงยุติธรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับไปพิจารณาศึกษาแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสม แล้วดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย หลักเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้องต่อไป                                                  สาระสำคัญ
                    ยธ. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมปศุสัตว์เพื่อโอกาสในการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจประเทศอย่างเป็นธรรม และมอบหมายให้ ยธ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจาก ยธ. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจในเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เช่น ไก่ชน วัวชน ปลากัด ดังนั้น จึงได้ศึกษากฎหมายการส่งเสริมการปศุสัตว์ของไทยเปรียบเทียบกับออสเตรเลีย และได้จัดการประชุมหารือเพื่อพิจารณาแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมปศุสัตว์ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน         โดยพบว่า บทบัญญัติของกฎหมายด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบการเกี่ยวกับสัตว์พื้นเมืองหรือสัตว์อื่นที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจในเชิงวัฒนธรรมหรือการท่องเที่ยวมีความล้าสมัยหรือไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นการลดทอนขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของไทย รวมถึงส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจฐานรากและโอกาสในการสร้างรายได้ของเกษตรกรหรือคนในชุมชน ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาจัดทำกฎหมาย/ดำเนินการโดยมีหลักการสำคัญ ได้แก่
                    1. กำหนดให้มีกลไก หลักเกณฑ์และวิธีการในการสนับสนุนและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการเกี่ยวกับสัตว์พันธุ์พื้นเมืองที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ในด้านการพัฒนาพันธุ์สัตว์ การตลาด        และการศึกษาวิจัย อาจสร้างกลไกในการให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุน หรือการให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น
                    2. กำหนดหลักการที่ชัดเจนในการคุ้มครองพันธุ์สัตว์และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของเจ้าของพันธุ์สัตว์หรือชุมชน
                    3. กำหนดมาตรการในการส่งเสริมและกำกับดูแลการแข่งขัน การจัดแสดง และกิจกรรมอื่น ๆ         ที่มีการใช้สัตว์พันธุ์พื้นเมือง โดยคำนึงถึงหลักกฎหมายทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศ

13. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหารถยนต์หุ้มเกราะกันกระสุนทดแทนที่ใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 396 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหารถบรรทุก (ดีเซล) ขนาด 1 ตัน ขับเคลื่อน 4 ล้อ แบบดับเบิ้ลแค็บ หุ้มเกราะกันกระสุน ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา (ทดแทน) จำนวน 150 คัน (ราคาคันละ 2.64 ล้านบาท) ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ

14. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการจัดหากล้องบันทึกภาพและเสียงตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 444.81 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินโครงการจัดหากล้องบันทึกภาพและเสียงตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย           พ.ศ. 2565 (โครงการฯ) ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ

15. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน 2565 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2565 และแนวโน้มปี 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน 2565       และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2565 และแนวโน้มปี 2566 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากภาคการส่งออกที่หดตัวจากผลกระทบของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศหลายอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี อาทิ รถยนต์ น้ำมันปาล์ม อาหารสัตว์
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนพฤศจิกายน 2565 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ
                    1. การกลั่นน้ำมัน หดตัวร้อยละ 20.58 จากการหยุดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นบางรายต่อเนื่องจากเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม พบว่าสินค้าน้ำมันเครื่องบินมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น ตามความต้องการใช้เพื่อการเดินทางที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน หลังการเปิดประเทศรับการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบในปีนี้
                    2. Hard Disk Drive หดตัวร้อยละ 47.67 ตามการทยอยยกเลิกผลิตสินค้าที่มีความต้องการในตลาดโลกลดลง รวมถึงเศรษฐกิจโลกชะลอตัวส่งผลต่อการลงทุนและกำลังซื้อ
                    3. เม็ดพลาสติก หดตัวร้อยละ 15.32 จากการหยุดซ่อมบำรุงของผู้ผลิตบางราย รวมถึง มีการปรับลดการผลิตและจำหน่ายลงจากความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอยซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อ
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนพฤศจิกายน 2565 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
                    1. รถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 12.95 จากปัญหาการขาดแคลนชิปในปีนี้คลี่คลายลงผู้ผลิตสามารถทยอยผลิตและส่งมอบรถยนต์ได้เพิ่มขึ้น
                    2. น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 32.47 ตามความต้องสินค้าเพื่อบริโภคในภาคอุตสาหกรรมและภาคพลังงาน รวมถึงมีผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดจำนวนมากกว่าปีก่อน
                    สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.0 ชะลอตัวจากปี 2564 ที่ MPI ขยายตัวร้อยละ 5.85 ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลกระทบต่อเนื่องผ่านราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความผันผวนของตลาดการเงินโลก และการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิตโลก อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจในประเทศทยอยฟื้นตัวหลังจากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัวในปี 2565 อาทิ รถยนต์ จากการเพิ่มขึ้นของตลาดในประเทศ เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนชิปเริ่มคลี่คลาย สามารถผลิตและส่งมอบรถยนต์ได้ตามปกติ รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่สภาวะปกติ การกลั่นปิโตรเลียม เป็นผลจากสถานการณ์การท่องเที่ยวทั้งในประเทศและจากต่างประเทศฟื้นตัวขึ้นมาก หลังจากการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่ยังขยายตัว การผลิตน้ำตาล เนื่องจากในปีนี้โรงงานต่าง ๆ ได้กลับมาผลิตได้ตามปกติ หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ในขณะที่ปีก่อนโรงงานได้รับผลกระทบจากการระบาดค่อนข้างมาก เภสัชภัณฑ์ ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของตลาดในประเทศ โดยเฉพาะโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ต้องสำรองยา เพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนยาบางชนิด และเพื่อรองรับความต้องการของผู้ป่วยทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
                    แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2566 ประมาณการอัตราการขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 โดยมีแรงสนับสนุนจาก (1) อุปสงค์ในประเทศขยายตัว เนื่องจากมีการเปิดประเทศส่งผลให้มีการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มมากขึ้น ทำให้การอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น (2) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว จากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติและมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศที่ผ่อนคลายลงใกล้เคียงกับช่วงปกติ และ (3) แนวโน้มการขยายตัวในเกณฑ์ดีของภาคการเกษตร ตามแนวโน้มการขยายตัวของผลผลิตการเกษตร โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ส่งผลต่อเนื่องให้กำลังซื้อจากภาคเกษตรปรับตัวดีขึ้น

16. เรื่อง ผลการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนมของกรมการขนส่งทางบก
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอผลการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม  (โครงการฯ) ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนฯ พ.ศ. 2556) ประกอบบทเฉพาะกาล มาตรา 68 (1) แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ พ.ศ. 2562) ตามที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คค. รายงานว่า
                    1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ ขบ. ดำเนินโครงการฯ โดยให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost ขบ. ได้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกฯ ซึ่งต่อมาคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนสำหรับโครงการฯ ครบถ้วนตาม พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนฯ พ.ศ. 2556 และกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง โดยได้ประกาศเชิญชวนการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการฯ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 และวันที่ 6 สิงหาคม 2564 เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการรับซองเอกสารข้อเสนอมีผู้ยื่นข้อเสนอการร่วมลงทุนจำนวน 1 ราย1 ได้แก่ บริษัท สินธนโชติ จำกัด ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งในด้านคุณสมบัติ (ซองที่ 1 ) ข้อเสนอด้านเทคนิค (ซองที่ 2) และข้อเสนอด้านราคา (ซองที่ 3) โดยบริษัทฯ ได้ยื่นข้อเสนอผลประโยชน์ในรูปแบบของค่าสัมปทานให้แก่ ขบ. สรุปได้ ดังนี้
รายการ          ผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำ          ข้อเสนอ
(1) ค่าตอบแทนคงที่รายปี (ตลอดอายุสัญญา รวม 30 งวด) (ล้านบาท)           291.1611          298.3690
(2) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) ณ ปี 2564 ของค่าตอบแทนคงที่ (ล้านบาท) (อัตราคิดลดร้อยละ 8)          78.1573          81.0471
(3) เงื่อนไขการชำระค่าตอบแทนคงที่ขั้นต่ำในแต่ละช่วงปี (ล้านบาท)
-          ปีที่ 1 ? 5 จำนวนที่ต้องชำระอย่างน้อยต่อปี          6.3600          6.3600
-          ปีที่ 6 ? 10 จำนวนที่ต้องชำระอย่างน้อยต่อปี          7.3140          7.3140
-          ปีที่ 11 ? 15 จำนวนที่ต้องชำระอย่างน้อยต่อปี          8.4111          9.4111
-          ปีที่ 16 ? 20 จำนวนที่ต้องชำระอย่างน้อยต่อปี          9.6728          10.6728
-          ปีที่ 21 ? 25 จำนวนที่ต้องชำระอย่างน้อยต่อปี          11.1237          12.1237
-          ปีที่ 26 ? 30 จำนวนที่ต้องชำระอย่างน้อยต่อปี          12.7922          13.7922
(4) ส่วนแบ่งรายได้ในกรณีที่ร่วมลงทุนมีผลประกอบการที่ได้กำไร (ร้อยละของกำไรสุทธิในปีนั้น ๆ)           10          10
ทั้งนี้ ข้อเสนอผลประโยชน์ในรูปแบบของค่าสัมปทานให้แก่ ขบ. ที่บริษัทฯ เสนอ มีมูลค่าสูงกว่าผลประโยชน์ตอบแทนที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการของโครงการฯ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2562 ตามผลการศึกษาของ ขบ. ดังนั้น คณะกรรมการคัดเลือกฯ ในคราวประชุม ครั้งที่ 22/2565 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2565 จึงมีมติเห็นชอบให้บริษัท สินธนโชติ จำกัด เป็นผู้ที่ผ่านการประเมินสูงสุด ซึ่งข้อเสนอดังกล่าว2 มีความครบถ้วนถูกต้องตามรายการในเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนโครงการฯ และเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐ จึงเห็นควรให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดใน พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนฯ พ.ศ. 2556 ต่อไป และได้มีมติเจรจาต่อรองกับบริษัทฯ ทั้งในเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ของรัฐ เช่น การเป็นผู้รับผิดชอบในกรณีที่มีหน่วยงานขอเข้าไปศึกษาดูงานภายในโครงการฯ และการรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนไม่ให้เกินอัตราส่วน 1 : 3 ตลอดปีบัญชี ตลอดระยะเวลาโครงการฯ และร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯ อย่างต่อเนื่องมาเป็นลำดับจนเป็นที่ยุติ และได้จัดทำร่างสัญญาฯ ที่ผ่านการเจรจากับบริษัทฯ รวมถึงเอกสารแนบท้ายสัญญาตามผลการเจราจาแล้วเสร็จ
                    2. ขบ. ได้ส่งผลการคัดเลือกเอกชน ประเด็นเจรจาต่อรองเรื่องผลประโยชน์ของรัฐ ร่างสัญญาร่วมลงทุนที่ผ่านการเจรจากับเอกชนที่ได้รับการคัดเลือกให้ร่วมลงทุนและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) ตรวจพิจารณา ตามนัยมาตรา 40           (1) และ (2) แห่ง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนฯ พ.ศ. 2556 ตามลำดับ
                    3. สรุปสาระสำคัญของร่างสัญญาฯ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
3.1 วัตถุประสงค์ของโครงการฯ          (1) เพื่อเป็นสถานีปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งระหว่างประเทศไปสู่ภายในประเทศ รองรับการเชื่อมต่อระบบการขนส่งจากทางถนนไปสู่ทางรถไฟร่วมกับโครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-นครพนม รองรับการขนส่งสินค้าจากทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนและทางตอนเหนือของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามกับภูมิภาคต่าง ๆ ของราชอาณาจักรไทย
(2) เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าตู้คอนเทนเนอร์หรือสินค้าบรรจุหีบห่อ (Break Bulk Cargo)
(3) เพื่อเป็นศูนย์ให้บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ทำให้สามารถดำเนินการพิธีการที่เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกได้ในจุดเดียว
3.2 ที่ตั้งโครงการ          ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดพนม บริเวณทิศใต้ของด่านพรมแดนนครพนมและด่านศุลกากรนครพนม มีเส้นทางเข้าออกหลักบริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 295 ซึ่งเป็นเส้นทางเข้าสู่สะพานมิตรภาพไทย ? ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม ? คำม่วน) และใกล้กับทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 212 บนขนาดเนื้อที่ประมาณ 121 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา โดยโครงการฯ ทางด้านทิศตะวันตกได้ถูกออกแบบให้มีการเชื่อมต่อและประชิดกับแนวการพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่ ? นครพนม ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งระหว่างทางถนนและทางรางอีกด้วย
3.3 ขอบเขตของงาน          - งานในระยะที่ 1 การก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง จำนวน 6 รายการ คือ อาคารรวบรวมและกระจายสินค้าหลังที่ 1 อาคารคลังสินค้าทั่วไป อาคารซ่อมบำรุง โรงอาหารบริการทั่วไป สถานีชั่งน้ำหนักและห้องควบคุมระบบไฟฟ้า (ซึ่งรวมถึงการจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับระบบไฟฟ้าในห้องควบคุมระบบไฟฟ้า) รวมทั้งการจัดหาและติดตั้งเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานภายในพื้นที่โครงการ
- งานในระยะที่ 2 การก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง จำนวน 1 รายการ คือ อาคารรวบรวมและกระจายสินค้าหลังที่ 2 รวมทั้งการจัดหาและติดตั้งเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานภายในพื้นที่โครงการ โดยจะเริ่มภายในปีถัดไปจากปีที่โครงการมีปริมาณสินค้าที่เข้ามาใช้บริการอาคารรวบรวมและกระจายสินค้าหลังที่ 1 เฉลี่ยทั้งปีมากกว่าร้อยละ 80 ของขีดความสามารถในการจัดเก็บสินค้าเฉลี่ยเท่ากับ 30,000 ตันต่อปี หรือเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 18 ปี นับจากปีเปิดให้บริการแล้วแต่ว่าเหตุการณ์ใดจะถึงก่อน
3.4 หน้าที่ของ ขบ.           - ลงทุนค่าพื้นที่โครงการและค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานส่วนกลาง เช่น ลานกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard) ลานเปลี่ยนถ่ายสินค้ารถบรรทุกและหัวลาก (Transshipment Yard) ลานจอดรถยนต์ (Parking Lot) ลานตรวจพิธีการศุลกากร จุดตรวจทางเข้า-ออก (Checking Point) ถนนภายในโครงการและทางเข้าออกโครงการ ระบบสาธารณูปโภคและงานอื่น ๆ และอาคารที่ภาครัฐใช้ประโยชน์ เช่น อาคารอำนวยการกลาง (Main Office) อาคารสำนักงานขนส่งทางบก (Land Transport Office) อาคารตรวจควบคุมร่วม (Common Control Area : CCA) พื้นที่ใช้สอยรวมไม่น้อยกว่า 1,300 ตารางเมตร อาคารคลังสินค้าศุลกากร (Customs Warehouse) และอาคารที่พักอาศัย (Residential Building)
- เป็นผู้บำรุงรักษาเฉพาะอาคารที่ภาครัฐใช้ประโยชน์
- ส่งมอบพื้นที่โครงสร้างพื้นฐานส่วนกลางให้ผู้ร่วมลงทุนเข้าดำเนินการและรับผิดชอบตามหน้าที่ที่กำหนดตลอดระยะเวลาของโครงการ และส่งมอบพื้นที่โครงการในส่วนที่ผู้ร่วมลงทุนใช้ในการดำเนินงานในระยะที่ 1 และการดำเนินงานในระยะที่ 2 ให้แก่ผู้ร่วมลงทุน
- ดำเนินการประสานในการจัดให้มีศูนย์ให้บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพื่อให้สามารถดำเนินพิธีการที่เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกได้ในจุดเดียว
- เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการประสานงานร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อจัดให้มีบริการขนส่งสินค้าทางรางให้เชื่อมต่อกับพื้นที่โครงการ
3.5 หน้าที่ของผู้ร่วมลงทุน          - จัดหาเงินลงทุน ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง และดำเนินงานโครงการทั้งในส่วนของงานในระยะที่ 1 เช่น อาคารรวบรวมและกระจายสินค้า (Distribution Center) อาคารคลังสินค้าทั่วไป (Warehouse) และสถานีชั่งน้ำหนัก (Weight Station) และงานในระยะที่ 2 เช่น อาคารรวบรวมและกระจายสินค้าหลังที่ 2 (Distribution Center) รวมทั้งจัดหาและติดตั้งเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานในระยะที่ 2 ทั้งหมด
- ดำเนินกิจการทางพาณิชย์และบำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงบำรุงรักษาเครื่องมือและระบบที่ใช้ในการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ดังกล่าวทั้งหมด
- รับผิดชอบในการจัดสรรพื้นที่และดำเนินการด้านการตลาดเพื่อสนับสนุนให้ผู้ใช้บริการหรือเอกชนรายอื่นเข้ามาใช้บริการอาคารที่ก่อให้เกิดรายได้ รวมถึงลานกองเก็บตู้สินค้าและลานเปลี่ยนถ่ายสินค้ารถบรรทุกและหัวลาก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานส่วนกลาง
- รับความเสี่ยงทางด้านรายได้จากการให้บริการ
- จ่ายค่าสัมปทานให้ ขบ. ตลอดระยะเวลา 30 ปี นับจากปีเปิดให้บริการ
- รับผิดชอบชำระบรรดาภาษีอากรทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ รวมถึงอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียม และค่าใบอนุญาต และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับโครงการทั้งหมด
- จัดให้มีประกันภัยคุ้มครองทรัพย์สินทั้งหมดของโครงการ โดยระบุให้ ขบ. เป็นผู้รับผลประโยชน์แต่เพียงผู้เดียว
3.6 ค่าสัมปทาน          ค่าสัมปทานออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
(1) ค่าตอบแทนคงที่ สำหรับการให้สิทธิดำเนินการตามสัญญาฉบับนี้เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 298.369 ล้านบาท โดยแบ่งชำระออกเป็นรายงวด งวดละปี จำนวนทั้งสิ้น 30 งวด โดยมีรายละเอียดของจำนวนเงินค่าตอบแทนคงที่ ที่จะต้องชำระในแต่ละงวดตลอดระยะเวลา 30 ปี นับจากปีเปิดให้บริการตามเอกสารแนบท้ายของสัญญา (ตามข้อ 1)
(2) ส่วนแบ่งรายได้ ในกรณีที่ผู้ร่วมลงทุนมีผลประกอบการที่ได้กำไร ผู้ร่วมลงทุนจะต้องชำระเพิ่มเติมให้แก่ ขบ. ในอัตราร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิในปีนั้น ๆ
3.7 อายุของสัญญา          สัญญาฉบับนี้ให้มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญา และให้มีผลใช้บังคับจนครบกำหนดระยะเวลาโครงการ (30 ปี นับจากปีที่เปิดให้บริการ) หรือจนกว่าสัญญาฉบับนี้สิ้นสุดลงตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาฉบับนี้
3.8 การโอนกรรมสิทธิ์          ขบ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธ์แต่ผู้เดียวในพื้นที่โครงการและสิ่งปลูกสร้างที่ ขบ. ได้ลงทุนเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ของผู้ร่วมลงทุนภายใต้สัญญาฉบับนี้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะก่อนหรือในระหว่างอายุของสัญญาฉบับนี้หรือภายหลังจากที่สัญญาฉบับนี้สิ้นสุดลงก็ตาม ทั้งนี้ ขบ. อนุญาตให้ผู้ร่วมลงทุนสามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่โครงการและสิ่งปลูกสร้างที่ ขบ.         ได้ลงทุนตามวัตถุประสงค์และภายใต้เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในสัญญาฉบับนี้
3.9 เหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน          เมื่อมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นและส่งผลกระทบโดยตรงทำให้คู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาข้อใดข้อหนึ่งในสัญญาฉบับนี้ได้ เมื่อคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอเป็นหนังสือไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งพร้อมแสดงหลักฐานที่ครบถ้วนชัดเจนและเชื่อถือได้เพื่อสนับสนุนคำร้องขอของตน คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมกันพิจารณาถึงการร้องขอนั้นโดยมิชักช้าเพื่อหาทางป้องกันหรือแก้ไขโดยเร็วอย่างเป็นธรรมต่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย หากเป็นเรื่องที่พึงบรรเทาความเสียหายระหว่างกันได้ ก็ให้คู่สัญญามทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันตามนั้นเพื่อให้โครงการสามารถดำเนินต่อไปได้
3.10 การระงับข้อพิพาท          กรณีที่มีข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับข้อกำหนดของสัญญาฉบับนี้หรือการปฏิบัติตามสัญญาฉบับนี้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะดำเนินการตามวิธีการและขั้นตอนที่กำหนดไว้ (การแก้ไขปัญหาการดำเนินงานโครงการ) และหากผู้ร่วมลงทุนไม่เห็นด้วยกับแนวทางการแก้ไขปัญหาของคณะกรรมการกำกับดูแลภายหลังจากการดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดแล้ว ผู้ร่วมลงทุนสามารถนำเรื่องขึ้นสู่การพิจารณาและพิพากษาของศาลไทยที่มีเขตอำนาจได้
3.11 กฎหมายที่ใช้บังคับ          ให้สัญญาฉบับนี้อยู่ภายใต้บังคับและตีความตามกฎหมายไทย
                    4. ผลประโยชน์จากการดำเนินโครงการฯ
                              4.1 ช่วยกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนมตามนโยบายของรัฐบาล
                              4.2 ลดต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์ให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งของไทย อันเนื่องมาจากการลดจำนวนการวิ่งรถเที่ยวเปล่า
                              4.3 เกิดการจ้างงานภายในศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม
                              4.4 ลดความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุจากการขับรถบรรทุกเข้าไปในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเนื่องจากรถบรรทุกสามารถเปลี่ยนหัวลากหางพ่วงตู้คอนเทนเนอร์ได้ภายในศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม
                              4.5 เพิ่มมูลค่าทางการค้าระหว่างประเทศ และประหยัดเวลาในการขนส่ง อันเนื่องมาจากการลดขั้นตอนของพิธีการทางการค้าให้มีความสะดวกมากขึ้น เนื่องจากการเป็นศูนย์ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ทำให้สามารถดำเนินพิธีการที่เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกได้ในจุดเดียว
                              4.6 ส่งเสริมและสร้างบทบาทให้จังหวัดนครพนมมีความสำคัญมากขึ้นจากตำแหน่งที่ตั้งโครงการซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงทางการค้าระหว่างภูมิภาค
1 คค. ชี้แจงว่า ตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนฯ พ.ศ. 2556 บัญญัติว่า การประกาศเชิญชวนให้เอกชนร่วมลงทุนในครั้งใด มีผู้เสนอเพียงรายเดียวหลายราย แต่เสนอถูกต้องตามรายการในเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนเพียงรายเดียว หากคณะกรรมการคัดเลือกฯ เห็นว่ารัฐได้ประโยชน์ ก็ให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ต่อไป ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ได้พิจารณาร่วมกันแล้วเห็นว่าจะประเมินข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอให้ครบถ้วนทั้งหมดก่อนว่าข้อเสนอดังกล่าวเป็นประโยชน์กับรัฐหรือไม่ ถ้าข้อเสนอเป็นประโยชน์แก่ภาครัฐ คณะกรรมการคัดเลือกฯ จะดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดต่อไป ทั้งนี้ หากพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเสนอไม่เป็นประโยชน์แก่รัฐ คณะกรรมการคัดเลือกฯ อาจพิจารณายกเลิกการคัดเลือกในครั้งนี้ก็ได้
2 สำหรับข้อเสนอด้านผลประโยชน์อื่น ๆ (ซองที่ 4) บริษัทฯ ได้ยื่นข้อเสนอว่า ?ไม่มีข้อเสนอ? ซึ่งถือว่าตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุน

17. เรื่อง ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บีเอ็ม เพื่อต่ออายุประทานบัตรทำเหมืองแร่ของบริษัท หินอ่อน จำกัด ที่จังหวัดสระบุรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอผ่อนผันให้บริษัท หินอ่อน จำกัด ใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บีเอ็ม1 เพื่อต่ออายุประทานบัตรทำเหมืองแร่หินอ่อนและหินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่อทำปูนขาว ตามคำขอต่ออายุประทานบัตรที่ 1/2560 (ประทานบัตรที่ 32517/16065) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 และวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)  เสนอ ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและหน่วยงานเจ้าของพื้นที่อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์แล้ว อก. (กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่) จะได้ดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนการพิจารณาอนุญาตประทานบัตรต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    อก. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาผ่อนผันให้บริษัท หินอ่อน จำกัด ใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บีเอ็ม เพื่อต่ออายุประทานบัตรทำเหมืองแร่หินอ่อนและหินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่อทำปูนขาว2  ตามคำขอต่ออายุประทานบัตรที่ 1/2560 (ประทานบัตรที่ 32517/16065) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 และวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 (การต่ออายุการอนุญาตประทานบัตรเหมืองแร่ในพื้นที่เดิมหากอยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ ในเขตพื้นที่ต้นน้ำชั้นที่ 1 และในเขตพื้นที่หวงห้ามอื่น ๆ ให้ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเป็นราย ๆ ไป) โดยพื้นที่ที่ขอผ่อนผันในครั้งนี้เป็นพื้นที่ตามประทานบัตรเดิมทั้งหมด ซึ่งมีอายุประทานบัตรตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2556 ? 28 ตุลาคม 2566 โดยพื้นที่ตามประทานบัตรตั้งอยู่อยู่ในตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี มีเนื้อที่ 227 ไร่ 1 งาน 80 ตารางวา
                    พื้นที่ที่ อก. ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์ในครั้งนี้มีลักษณะ ดังนี้
ลักษณะพื้นที่          การดำเนินการ
1) การขออนุญาตใช้พื้นที่ ได้มีการยื่นขออนุญาตทำประโยชน์บริเวณพื้นที่ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 แล้ว และได้รับการต่อสัญญาการใช้ที่ดินในส่วนของนิคมสร้างตนเองพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการแล้ว          ?
2) อยู่ในเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมือง ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ พ.ศ. 2560 ? 2564 (แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 ? 2570 กำหนดให้พื้นที่เขตแหล่งแร่ คือพื้นที่เขตแหล่งแร่ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ พ.ศ. 2560 ? 2564 ทั้งหมด)          ?
3) ไม่เป็นพื้นที่ต้องห้ามสำหรับการทำเหมืองตามระเบียบและกฎหมายของส่วนราชการต่าง ๆ และไม่เป็นแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์          ?
4) ไม่มีปัญหาการร้องเรียนคัดค้าดที่เกี่ยวข้องกับคำขอประทานบัตร          ?
5) คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการเหมืองแร่เห็นชอบรายงาน EIA เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2562 โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด          ?
6) เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559 ที่กำหนดให้การผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีเพื่อใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 สำหรับการทำเหมืองแร่และเพื่อการต่ออายุประทานบัตรทำเหมืองแร่ จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้
          6.1) จะต้องเป็นโครงการที่ดำเนินการในพื้นที่เดิมที่มีการทำเหมืองมาก่อน ซึ่งคำขอประทานบัตรนี้เป็นพื้นที่ประทานบัตรเดิมทั้งหมด          ?
          6.2) จะต้องเป็นโครงการที่มีความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจ อก. แจ้งว่าหินอ่อนที่ผลิตได้ คือหินอ่อนดำพระลานที่มีสีดำและมีลวดลายเฉพาะตัว  มีความสำคัญในการทำอุตสาหกรรมหินประดับ ในส่วนของหินปูน เป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตปูนขาวเพื่อป้อนโรงงานผลิตปูนขาวในพื้นที่จังหวัดสระบุรี          ?
          6.3) จะต้องเป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าและความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเมื่อเปรียบเทียบกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น อก. แจ้งว่าโครงการมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ (อก. แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมอย่างไม่เป็นทางการว่า โครงการมีมูลค่าสุทธิภายหลังหักมูลค่าที่สูญเสียไปของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่โครงการเท่ากับ 1,065.13 ล้านบาท)          ?
          6.4) จะต้องเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง อก. ขอดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 และวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 (การขอทำเหมืองหรือต่ออายุใบอนุญาตทำเหมืองในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 ให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นรายไป)          ?
ทั้งนี้ อก. แจ้งว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้วไม่ขัดข้อง โดย อก. และบริษัท หินอ่อน จำกัด จะต้องควบคุมวิธีการปฏิบัติในการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเข้มงวดและเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการและข้อเสนอแนะมาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำอย่างเคร่งครัดเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บีที่ยังไม่ผ่านการทำเหมืองและพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะการควบคุมการชะล้างพังทลายของดิน การปลูกป่าทดแทน และการฟื้นฟูที่ทั้งในช่วงระยะเวลาการทำเหมืองจนถึงสิ้นสุดการทำเหมือง รวมทั้งควรสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในพื้นที่ต่อไปด้วย
1 พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บีเอ็ม หมายถึง พื้นที่ที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี ที่มีศักยภาพแหล่งแร่ที่รัฐมีข้อผูกพันเป็นประทานบัตรแล้ว รวมทั้งพื้นที่ที่ได้รับความเห็นชอบรายงาน EIA
2 มีปริมาณสำรองแร่หินอ่อนประมาณ 51,000 ลูกบาศก์เมตร และปริมาณสำรองแร่หินปูนประมาณ 26.8 ล้านตัน

18. เรื่อง โครงการการยกระดับโรงพยาบาลปลวกแดง 2 ให้มีศักยภาพเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก (M1) และมีมาตรฐานโรงพยาบาลคู่สัญญาของประกันสังคม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการโครงการการยกระดับโรงพยาบาลปลวกแดง 2 ให้มีศักยภาพเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก (M1) และมีมาตรฐานโรงพยาบาลคู่สัญญาของประกันสังคม (โครงการฯ) ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กพอ. รายงานว่า
                    1. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้จัดทำรายงานการศึกษาวิเคราะห์โครงการฯ ตามประกาศฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
1.1 วัตถุประสงค์          - เพื่อสร้างให้มีการลงทุนโรงพยาบาลปลวกแดง 2 ในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ประเภท Build-Transfer-Operate: BTO
- เพื่อให้สถานพยาบาลที่สร้างขึ้นนั้นศักยภาพการบริการเท่าโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก M1 (120/200 เตียง) ของ สธ. และมีมาตรฐาน/คุณสมบัติที่รองรับผู้ประกันตนประมาณไม่ต่ำกว่า 200,000 คน ในอำเภอปลวกแดง และเป็นโรงพยาบาลคู่สัญญาของประกันสังคม
1.2 กลุ่มเป้าหมายและประมาณการการเข้ารับบริการ          - ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม โดยเริ่มต้นปีที่ 3 จำนวน 50,000 คน และปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนเป็น 200,000 คน ในปีที่ 17 และคงที่ไปจนครบอายุโครงการ
- ผู้ป่วยสิทธิบัตรทองส่งต่อจากโรงพยาบาลปลวกแดง โดยเริ่มต้นปีที่ 3 จำนวน 1,125 ครั้ง/ปี และปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนเป็น 11,147 ครั้ง/ปี ในปีที่ 50
- ข้าราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น แบ่งเป็นข้าราชการส่วนกลาง 216 คน และข้าราชการส่วนท้องถิ่น 54 คน (ประมาณร้อยละ 25 ของข้าราชการในพื้นที่) ตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป
- ผู้ป่วยที่เข้าใช้บริการ Premium Service รวมทั้งการใช้สิทธิประกันสุขภาพเอกชน โดยเริ่มต้นปีที่ 3 จำนวน 2,540 คน และปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนเป็น 76,160 คน ในปีที่ 32 และคงที่ไปจนครบอายุโครงการ
1.3 พื้นที่ดำเนินโครงการฯ           ตั้งอยู่บนที่ดินราชพัสดุ บริเวณหมู่ที่ 6 ตำบลปลวกแดง อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ขนาดพื้นที่ 29 ไร่ 3 งาน 11.7 ตารางวา (กรมธนารักษ์อนุญาตให้ใช้พื้นที่แล้ว)
1.4 ขอบเขตการดำเนินโครงการ          (1) ก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อให้สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 200 เตียง ประกอบด้วย
-          อาคารผ่าตัด-อุบัติเหตุ 5 ชั้น [สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ดำเนินการก่อสร้าง]
-          อาคารผู้ป่วยในพิเศษ 7 ชั้น โดยมีพื้นที่ใช้สอย 7,928 ตารางเมตร
-          อาคารสนับสนุนบริการ 5 ชั้น โดยมีพื้นที่ใช้สอย 2,236 ตารางเมตร
-          อาคารโรงไฟฟ้า-พักขยะ
-          อาคารบำบัด 200 ลูกบาศก์เมตร
-          สิ่งก่อสร้างประกอบ เช่น การถมที่ดิน สาธารณูปโภค ทางเดินเชื่อมถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก รั้วคอนกรีตเสริมเหล็ก การระบายน้ำ
สำหรับอาคารที่เหลือ (นอกเหนือจากที่ สป.สธ. รับผิดชอบ) ภาคเอกชนสามารถเสนอแบบที่มีพื้นที่ใช้สอยและมีหน้าที่การทำงานทัดเทียมกันได้
(2) การจัดหาอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ใช้ในการดำเนินโครงการฯ โดยอ้างอิงหลักเกณฑ์กำหนดมาตรฐานของสถานพยาบาลแนบท้ายประกาศประกันสังคมและมาตรฐาน Service plan สธ. สำหรับโรงพยาบาลทั่วไป นอกจากนี้ ต้องจัดหาอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการรองรับนโยบายการให้บริการการแพทย์ทางไกลและการพัฒนานวัตกรรมการบริการที่มีการใช้เทคโนโลยี Digital Health และปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ด้วย
(3) การจัดหาบุคลากรทางการแพทย์และบุคลากรอื่นในการให้บริการทางการแพทย์ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของการเป็นสถานพยาบาลคู่สัญญาของประกันสังคมและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
1.5 รูปแบบการลงทุน          ใช้รูปแบบการลงทุนในลักษณะการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership: PPP) แบบ PPP Net Cost
- เอกชนได้รับสิทธิในการจัดเก็บรายได้และจัดสรรผลตอบแทนบางส่วนให้แก่ภาครัฐตามข้อตกลง ซึ่งเอกชนจะต้องรับความเสี่ยงจากผลการดำเนินงานทั้งหมด
- เอกชนเป็นผู้ออกแบบ ลงทุน และก่อสร้างทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญแล้วโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญให้แก่รัฐหลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยเอกชนจะมีสิทธิในการใช้ทรัพย์สินของโครงการตามสัญญาในการดำเนินงานเพื่อหาผลตอบแทนภายในระยะเวลาที่กำหนด (Build-Transfer-Operate: BTO)
1.6 หน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานภาครัฐ            (1) สป.สธ. แบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง (สนง.สธ.จ.ระยอง) เพิ่มเติม โดยให้มีโรงพยาบาลปลวกแดง 2 เป็นหน่วยงานสาธารณสุขภายใน สนง.สธ. จ.ระยอง อ้างอิงกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 รวมทั้งกำหนดระเบียบ วิธีปฏิบัติสำหรับโรงพยาบาลปลวกแดง 2 ที่ได้มาด้วยสัญญาการร่วมลงทุน แบบ BTO
(2) ประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น กรมบัญชีกลาง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกันสังคม ให้เข้าใจความเป็นโรงพยาบาลรัฐของโรงพยาบาลปลวกแดง 2 ภายใต้การบริการของเอกชนคู่สัญญา ให้กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับระบบการเบิกจ่ายเงิน ระบบข้อมูล และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(3) สธ. โดยกรมสนับสนุนบริกรสุขภาพพิจารณาสถานะของโรงพยาบาลปลวกแดง 2 ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2559
(4) สป.สธ. เตรียมความพร้อมของพื้นที่ โดยมีการปรับปรุงพื้นที่ให้มีกำแพงกันดินที่คลองปลวกแดง ข้างที่ดินโครงการฯ และกำหนดรายละเอียดสิ่งก่อสร้างประกอบของโครงการฯ
(5) สป.สธ. ส่งมอบที่ดินราชพัสดุของโครงการฯ ให้ สกพอ. เพื่อดำเนินการให้เป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ และ สกพอ. ดำเนินการกำหนดให้พื้นที่การลงทุนเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษตามระเบียบของ สกพอ. และดำเนินการกำหนดสิทธิประโยชน์ของพื้นที่ดังกล่าว
(6) สป.สธ. พิจารณาแบบอาคารที่เอกชนเสนอให้มีหน้าที่การทำงานและพื้นที่ใช้สอยทัดเทียมกับแบบอาคารตามที่ สป.สธ. กำหนดเพิ่มเติม 4 อาคาร
(7) พิจารณาคัดเลือกเอกชนคู่สัญญา และทำสัญญาร่วมลงทุน
(8) สป.สธ. ส่งมอบอาคารแรกและที่ดินในโครงการฯ ให้เอกชนก่อสร้างและปรับปรุงตามสัญญาแล้วเอกชนโอนทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญให้แก่ สป.ส.ธ.
(9) สป.สธ. รับโอนและลงทะเบียนอาคารและสิ่งก่อสร้างประกอบที่เสร็จสมบูรณ์จากเอกชนภายในเวลาที่กำหนด เป็นทรัพย์สินของ สป.สธ. โดยไม่ต้องชำระค่าตอบแทนใด ๆ แก่เอกชนคู่สัญญาตามรูปแบบ Build Transfer Operation: BTO โดยอาจพิจารณาแต่งตั้งให้มีคณะกรรมการรับโอน
(10) สป.สธ. ออกเลขทะเบียนโรงพยาบาลปลวกแดง 2 และมอบหมาย สนง.สธ.จ.ระยองดูแลทรัพย์สินที่รับโอนและกำกับดูแลให้เอกชนดำรงรักษาทรัพย์สินให้เป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุน
(11) สนง.สธ.จ.ระยอง ทำหน้าที่กำกับ ดูแล ประเมินผล และสนับสนุนการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลปลวกแดง 2 เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมาย มีการบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและมีการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 ข้อ 20
(12) สป.สธ. กำหนด KPI ของสัญญา เกี่ยวกับการบริการ ครุภัณฑ์ บุคลากร ระบบ การบริหารและอื่น ๆ ที่เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของเอกชนในการจัดหาครุภัณฑ์และบุคลากรที่จำเป็นในการให้บริการทางการแพทย์ เช่น แพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการโรงพยาบาล ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ถือเป็นลูกจ้างของเอกชนไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งให้เอกชนมีระบบงานที่จำเป็น ทั้งนี้ เป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุน
(13) ติดตาม กำกับดูแลโครงการให้มีการดำเนินงานตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุน
1.7 หน้าที่และความรับผิดชอบของเอกชนผู้ร่วมลงทุน          (1) เสนอแบบอาคารเพิ่มเติมให้มีพื้นที่ใช้สอยและประโยชน์ใช้สอยทัดเทียมกับทั้ง 4 อาคาร ที่ สป.สธ กำหนด หรือใช้แบบทั้ง 4 อาคารที่ สป.สธ กำหนด
(2) รับมอบอาคารแรกและที่ดินในโครงการฯ เพื่อทำการปรับปรุง ตกแต่ง ต่อเติมอาคารแรกตามความจำเป็น และดำเนินการก่อสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างประกอบเพิ่มเติมตามสัญญา
(3) ก่อสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างประกอบเพิ่มเติมให้เสร็จสมบูรณ์ และโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ สป.สธ โดยรัฐไม่ต้องชำระค่าตอบแทนใด ๆ แก่เอกชน (Build Transfer Operate: BTO) รวมทั้งดำเนินการซ่อมบำรุงทรัพย์สินต่าง ๆ ของโครงการให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตลอดระยะเวลาโครงการ
(4) จัดหาครุภัณฑ์และบุคลากรที่จำเป็นในการให้บริการทางการแพทย์ เช่น แพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการโรงพยาบาล ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ถือเป็นลูกจ้างของเอกชนคู่สัญญาไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งให้เอกชนมีระบบงานที่จำเป็น ทั้งนี้ เป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุน และมีความรับผิดชอบด้านความเสียหายทางการแพทย์จากการให้บริการและอื่น ๆ ในระดับโรงพยาบาลโดยให้เป็นไปตามกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งสำหรับความรับผิดชอบเกี่ยวกับความเสียหายทางการแพทย์ในระดับบุคคล ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวกับวิชาชีพต่าง ๆ
(5) ดำเนินการให้บริการทางการแพทย์ให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่รวมถึงการให้ความร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง
(6) มีสิทธิในการใช้ทรัพย์สินในการดำเนินโครงการตามสัญญาร่วมลงทุน เพื่อหาผลตอบแทนและแบ่งผลตอบแทนแก่รัฐภายในจำนวนและระยะเวลาที่กำหนด
(7) ดำเนินการใด ๆ เพื่อให้ได้มาและดำรงรักษาใบอนุญาตใดๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการฯ ตลอดจนการดำเนินกิจการของเอกชนให้มีผลใช้บังคับ
(8) ยื่นขอใบอนุญาตใด ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินการโครงการฯ ตลอดจนดำเนินกิจการของเอกชนคู่สัญญา ภายในระยะเวลาที่กฎหมายไทยกำหนด รวมทั้งจดทะเบียน ปฏิบัติและรับผิดชอบตามกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจำเป็นต่อภาระหน้าที่ของเอกชนตามสัญญาร่วมลงทุน
(9) ดำเนินการอื่น ๆ ตามสัญญา
1.8 ระยะเวลาของโครงการ          50 ปี ครอบคลุมตั้งแต่การส่งมอบพื้นที่ การปรับปรุง ตกแต่ง ต่อเติมอาคารแรก การสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างประกอบเพิ่มเติม การดำเนินการ การบำรุงรักษา และการสิ้นสุดการให้สิทธิดำเนินการโดยการก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มเติมพร้อมทั้งการตกแต่งให้สามารถบริการได้นั้นต้องเสร็จสิ้นภายใน 3 ปี นับแต่ส่งมอบพื้นที่และอาคารที่ 1 (อาคารที่ดำเนินการก่อสร้างโดย สธ.)
1.9 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน          เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ สิทธิของเอกชน (หรือผู้ร่วมลงทุน) ในการดำเนินโครงการจะมีดังต่อไปนี้
(1) สิทธิในการใช้อาคารที่ 1 (อาคารที่ดำเนินการก่สร้างโดย สธ.) ผู้ร่วมลงทุนสามารถใช้อาคารที่ 1 ซึ่งเป็นอาคารที่ดำเนินการก่อสร้างโดยกระทรวงสาธารณสุข สำหรับการให้บริการสาธารณสุข และการดำเนินการเชิงพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ รวมถึงการปรับปรุง ตกแต่งต่อเติมอาคารตามความจำเป็น เพื่อให้สามารถให้บริการสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม โดย สธ. จะเป็นผู้จัดเตรียมพื้นที่ส่งมอบ
(2) สิทธิในการใช้ที่ดินในโครงการ อาคาร และสิ่งก่อสร้างประกอบเพิ่มเติมเอกชนสามารถใช้ที่ดินในโครงการ อาคาร และสิ่งก่อสร้างประกอบเพิ่มเติม สำหรับการให้บริการสาธารณสุขและการดำเนินการเชิงพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
(3) สิทธิในการใช้ทรัพย์สินที่ลงทุนตามสัญญาร่วมลงทุน เอกชนสามารถใช้ทรัพย์สินที่ตนเองเป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างในพื้นที่ของโครงการฯ ตามสัญญาร่วมลงทุน สำหรับให้บริการสาธารณสุขตามสัญญาร่วมลงทุน
ทั้งนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำเป็นในการดำเนินโครงการในช่วงระยะเวลาโครงการ จะปรับปรุงเพิ่มเติมโดยคณะกรรมการคัดเลือกต่อไป
1.10 เงินลงทุน          รวม 2,647.37 ล้านบาท แบ่งเป็น
- ส่วนของภาครัฐ รวม 242.48 ล้านบาท ประกอบด้วยที่ดิน จำนวน 7.11 - 3 - 29 ไร่ และอาคารผ่าตัด - อุบัติเหตุ 5 ชั้น (อาคารที่ 5)
- ส่วนของภาคเอกชน รวม 2,404.89 ล้านบาท ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างหลักและสิ่งก่อสร้างประกอบ ประมาณ 326.15 ล้านบาท และครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ประมาณ 2,078.74 ล้านบาท
1.11 ผลตอบแทนทางการเงิน          โครงการฯ มีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยมีผลตอบแทนทางการเงิน ดังนี้
- มีอัตราผลตอบแทนการลงทุนของโครงการ (Project Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 15.68 มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) ณ อัตราคิดลดเท่ากับร้อยละ 7.6 อยู่ที่ 1,631.64 ล้านบาท
1.12 ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ          - มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 43.31 มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ณ อัตราคิดลดเท่ากับร้อยละ 7.6 อยู่ที่ 7,051.71 ล้านบาท
1.13 การแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนระหว่างรัฐและเอกชน          - รายได้ของภาครัฐ ประกอบด้วย
  (1) ค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร ตลอดระยะเวลาโครงการคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) ณ อัตราคิดลดร้อยละ 7.6 จำนวน 200.34 ล้านบาท
  (2) ส่วนแบ่งรายได้ที่เป็นเงินสด ตลอดระยะเวลาโครงการคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ณ อัตราคิดลดร้อยละ 7.6 ขั้นต่ำประมาณ 367.48 ล้านบาท
  (3) ส่วนแบ่งรายได้กรณีผลประกอบการดีกว่าที่คาด
- รายได้ของภาคเอกชน ประกอบด้วย
  (1) รายได้จากค่าบริการทางการแพทย์
  (2) รายได้จากการให้บริการอื่น ๆ เช่น ร้านอาหาร และร้านค่า
  (3) เอกชนมีอัตราผลตอบแทนการลงทุนของส่วนทุน (Equity Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 18.78
1.14 การประมาณการผลตอบแทนภาครัฐขั้นต่ำจากรายได้บางส่วน          ให้เอกชนประมาณการรายได้แต่ละปีและคำนวณเป็นจำนวนเงินที่จะแบ่งให้ภาครัฐตามที่กำหนดไว้เบื้องต้น เสนอในชั้นการคัดเลือก โดยเอกชนจะต้องชำระรายได้บางส่วน (Revenue Sharing) ให้แก่ภาครัฐ ดังนี้
(1) กำหนดให้เอกชนเสนอผลตอบแทนภาครัฐขั้นต่ำไม่น้อยกว่าจำนวน ดังนี้
- ปีที่ 1 จำนวนผลตอบแทนภาครัฐ จำนวน 36 ล้านบาท
- ปีที่ 2 จำนวนผลตอบแทนภาครัฐ จำนวน 36 ล้านบาท
- ปีที่ 3 - 8 จำนวนผลตอบแทนภาครัฐ ร้อยละ 0 ของประมาณการรายได้รวม
- ปีที่ 9 - 50 จำนวนผลตอบแทนภาครัฐ ร้อยละ 2.5 ของประมาณการรายได้รวม
(2) หากจำนวนรายได้รวมของโครงการที่เกิดขึ้นจริง คิดเป็นจำนวนเกินกว่าร้อยละ 130 แต่ไม่ถึงร้อยละ 150 ของประมาณการรายได้ที่เอกชนคู่สัญญาได้เสนอไว้ในขั้นตอนการคัดเลือก ให้เอกชนแบ่งรายได้แก่รัฐเพิ่มเติมจากที่เอกชนคู่สัญญาได้เสนอไว้ในขั้นตอนการคัดเลือก อีกจำนวนร้อยละ 4 ของรายได้รวมในส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 130 แต่ไม่ถึงร้อยละ 150 ของประมาณการรายได้ที่เอกชนคู่สัญญาได้เสนอไว้ในขั้นตอนการคัดเลือก
(3) หากจำนวนรายได้รวมของโครงการที่เกิดขึ้นจริง คิดเป็นจำนวนเกินกว่าร้อยละ 150 ของประมาณการรายได้ที่เอกชนคู่สัญญาได้เสนอไว้ในขั้นตอนการคัดเลือก ให้เอกชนแบ่งรายได้แก่รัฐเพิ่มเติมจากที่เอกชนคู่สัญญาได้เสนอไว้ในขั้นตอนการคัดเลือก อีกจำนวนร้อยละ 8 ของรายได้รวมในส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 150 ของประมาณการรายได้ที่เอกชนคู่สัญญาได้เสนอไว้ในขั้นตอนการคัดเลือก
(4) ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการคัดเลือกสามารถปรับปรุงจำนวนร้อยละที่เอกชนแบ่งรายได้เพิ่มเติมแก่รัฐได้ตามความเหมาะสมและการตรวจสอบรายได้ของเอกชนคู่สัญญาเป็นไปตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุน
1.15 มาตรการสนับสนุนโครงการทั้งด้านการเงินและไม่ใช่ด้านการเงิน          (1) งบประมาณของ สธ. ที่ใช้ในการสร้างอาคารที่ 1 คือ อาคารผ่าตัด - อุบัติเหตุ 5 ชั้น วงเงิน 232 ล้านบาท ซึ่งได้รับงบลงทุนผูกพันไว้แล้ว
(2) สิทธิประโยชน์ตามหมวด 5 เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ของพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ทั้งนี้จะเทียบเคียงกับสิทธิประโยชน์ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร เป็นต้น ซึ่งหลังจากการประกาศให้พื้นที่โครงการการยกระดับโรงพยาบาลปลวกแดง 2 เป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการเจรจาเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์จะไม่เกินสิทธิประโยชน์สูงสุดตามมาตรา 48 (1) (2) (3) (4) และ (5) ที่ กพอ. กำหนด
1.16 การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม          โครงการฯ ได้รับการยกเว้นการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เนื่องจากโรงพยาบาลปลวกแดง 2 เป็นสถานพยาบาลที่ดำเนินการโดย สธ. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ทำให้ไม่เป็นสถานพยาบาลที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 กำหนดให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ตามเงื่อนไขที่กำหนด ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม)
1.17 แผนการดำเนินงานที่สำคัญ          - เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2566 จัดทำประกาศเชิญชวน เอกสารร่วมลงทุน และร่างสัญญาร่วมลงทุน
- เดือนพฤษภาคม 2566 เอกชนยื่นเอกสารประกวดราคา
- เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2566 ประกาศผลการคัดเลือกเอกชน
- เดือนมิถุนายน 2566 อัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญา
- เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2566 ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.)/กพอ. เพื่ออนุมัติผลการคัดเลือก

19. เรื่อง โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
                    2. อนุมัติงบประมาณวงเงินรวม 2,193.76 ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3 พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    1. โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3 ของ ธอส. ที่ กค. เสนอมาในครั้งนี้เป็นการดำเนินโครงการต่อเนื่องจากโครงการบ้านล้านหลัง [คณะรัฐมนตรีมีมติ (20 พฤศจิกายน 2561 12 มีนาคม 2562 และ 16 มิถุนายน 2563)] และโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (7 กันยายน 2564 และ 7 มิถุนายน 2565)] ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และสร้างโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อย กลุ่มคนวัยทำงานหรือประชาชนที่กำลังเริ่มต้นสร้างครอบครัว รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อภายใต้เงื่อนไขที่ผ่อนปรนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ปัจจุบันโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 มียอดคำขอสินเชื่อเต็มกรอบวงเงิน 20,000 ล้านบาทแล้ว โดยผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2565 ธอส. มียอดอนุมัติสินเชื่อจำนวน 22,240 ราย เป็นจำนวนเงิน 19,937.46 ล้านบาท
ทั้งนี้ สัดส่วนของจำนวนผู้ที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อมีการกระจายตัว ดังนี้
วงเงินที่ได้รับสินเชื่อ          ร้อยละ
ต่ำกว่า 500,000 บาท          11
500,001 ? 1,000,000 บาท          47
1,000,001 ? 1,500,000 บาท          42
และอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลร้อยละ 36 และอยู่ในพื้นที่จังหวัดภูมิภาคร้อยละ 64
                    2. เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และสร้างโอกาสให้กับผู้มีรายได้น้อยได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในระดับราคาที่ไม่สูงและเหมาะสมกับศักยภาพของประชาชนแต่ละกลุ่ม กค. จึงเสนอโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเช่นเดียวกับโครงการบ้านล้านหลังที่ผ่านมาทั้ง 2 ระยะ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข          รายละเอียด
วัตถุประสงค์          เพื่อสนับสนุนประชาชนให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในระดับราคาที่ไม่สูงและเหมาะสมกับศักยภาพของประชาชนแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ กลุ่มคนวัยทำงานหรือประชาชนที่กำลังเริ่มต้นสร้างครอบครัว รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ โดย ธอส. สนับสนุนสินเชื่อที่อยู่อาศัยในเงื่อนไขผ่อนปรน สำหรับประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
ประเภทที่อยู่อาศัย          ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และต่างจังหวัดในราคาซื้อขายไม่เกิน 1,500,000 บาท/หน่วย เช่น ที่อยู่อาศัยที่สร้างบนที่ดินของตนเอง หรือที่อยู่อาศัยที่สร้างใหม่ สร้างเสร็จพร้อมอยู่ที่สร้างบนที่ดินของเอกชนผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดินของรัฐ หรือที่ดินของการเคหะแห่งชาติ หรือบ้านมือสอง และทรัพย์สินรอการขาย (Non-Performing Assets : NPAs) ของสถาบันการเงินของรัฐ (SFI) ทรัพย์สินรอการขายของบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (BAM) และบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (SAM) รวมทั้งทรัพย์รอการขายของกรมบังคับคดี เป็นต้น
กลุ่มเป้าหมาย          ประชาชนทั่วไปที่มีความต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาซื้อขายไม่เกิน 1,500,000 บาท/หน่วย
วัตถุประสงค์ในการให้สินเชื่อ          1. ซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด
2. เพื่อปลูกสร้างอาคาร หรือซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร
3. เพื่อปลูกสร้างอาคารบนที่ดินของรัฐ
4. เพื่อซื้ออาคาร หรือห้องสมุด บนที่ดินของรัฐ
5. เพื่อซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย พร้อมกับวัตถุประสงค์ซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด
วงเงินโครงการ          20,000 ล้านบาท
ประเภทสินเชื่อ / ระยะเวลาการกู้          สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย/ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 40 ปี
วงเงินกู้          วงเงินกู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกันไม่เกิน 1,500,000 บาท (ราคาตามสัญญาจะซื้อจะขายและ/หรือค่าก่อสร้างไม่เกิน 1,500,000 บาท)
อัตราดอกเบี้ย          ปีที่ 1 ? 5 : อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3 ต่อปี
ปีที่ 6 ? 7 : อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MRR ? 2.00 ต่อปี
ปีที่ 8 ตลอดจนอายุสัญญากู้เงิน
          - กรณีรายย่อยทั่วไป อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MRR ? 0.75 ต่อปี
          - กรณีสวัสดิการหักเงินเดือน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MRR ? 1.00 ต่อปี
          - กรณีกู้ซื้ออุปกรณ์ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MRR
(ข้อมูล ณ วันที่ 26 มกราคม 2566 อัตราดอกเบี้ย MRR = ร้อยละ 6.4)
ฟรีค่าธรรมเนียม          1. ค่าประเมินราคาหลักประกัน ไม่เกิน 2,300 บาท
2. ค่าจดทะเบียนนิติกรรมจำนอง ร้อยละ 1 ของวงเงินจำนอง
เงื่อนไขการให้สินเชื่อ          เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อรายย่อยของธนาคาร
ระยะเวลาโครงการ          กำหนดระยะเวลายื่นคำขอกู้เงินตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดโครงการวันที่ 30 ธันวาคม 2568 หรือก่อนกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหาก ธอส. ให้สินเชื่อเต็มตามกรอบวงเงินของโครงการแล้ว ทั้งนี้ ธอส. สามารถพิจารณาปรับเปลี่ยนระยะเวลาดำเนินโครงการได้ตามความเหมาะสม
เงื่อนไขการขอชดเชยจากรัฐบาล          1. ขอแยกบัญชีโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3) เป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA)
2. ขอนำผลกระทบรายได้และค่าใช้จ่ายจากการจัดทำโครงการดังกล่าวปรับตัวชี้วัดทางการเงินที่เกี่ยวข้องตามบันทึกข้อตกลงการประเมินผลดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ
3. ขอไม่นับรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans : NPLs) ที่เกิดจากการดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3)        ในการคำนวณตัวชี้วัดด้านความสามารถในการบริหาร NPLs ตามบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ
4. ขอนำผลขาดทุนจากการดำเนินโครงการดังกล่าว นำมาบวกกลับกำไรเพื่อการจัดสรรโบนัสประจำปี
วงเงินวงประมาณที่รัฐบาลชดเชย          ขอรับการชดเชยส่วนต่างระหว่างรายได้ดอกเบี้ยรับตามแผนวิสาหกิจของ ธอส. กับรายได้ดอกเบี้ยรับจากโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3 เป็นจำนวนเงิน 2,193.76 ล้านบาท

20. เรื่อง การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2566 ครั้งที่ 1
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ (คณะกรรมการฯ) เสนอดังนี้
                    1. อนุมัติและรับทราบตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่   9 มกราคม 2566 ดังนี้
                              1.1 อนุมัติการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ (แผนฯ) ประจำปีงบประมาณ 2566 ครั้งที่ 1 ประกอบด้วย (1) แผนการก่อหนี้ใหม่ ปรับเพิ่ม 81,242.89 ล้านบาท (จากเดิม 1,052,785.47 ล้านบาท เป็น 1,134,028.36 ล้านบาท และ (2) แผนการชำระหนี้ ปรับเพิ่ม 825.31 ล้านบาท (จากเดิม 360,179.68 ล้านบาท เป็น 361,004.99 ล้านบาท) รวมทั้งเห็นควรให้หน่วยงานที่บรรจุกรอบวงเงินกู้ภายใต้แผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2566 ปรับปรุงครั้งที่ 1 เร่งรัดการดำเนินการตามแผนฯ ดังกล่าวด้วย โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัดในการประเมินหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ และให้มีกระบวนการพิจารณาตัวชี้วัดของการดำเนินโครงการที่สำคัญ
                              1.2 อนุมัติการบรรจุโครงการพัฒนา โครงการ และรายการเพิ่มเติม ในการปรับปรุงแผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2566 ครั้งที่ 1 จำนวน 19 โครงการ/รายการ
                              1.3 รับทราบการปรับปรุงแผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2566 ครั้งที่ 1 ได้แก่ แผนการบริหารหนี้เดิม ปรับลด 6,282.51 ล้านบาท (จากเดิม 1,735,962.93 ล้านบาท เป็น 1,729,680.42 ล้านบาท)
                    2. อนุมัติการกู้เงินของรัฐบาลเพื่อการก่อหนี้ใหม่ การกู้มาและการนำไปให้กู้ต่อ การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และการค้ำประกันเงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจ (ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 และมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545) รวมทั้งขออนุมัติการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนา และการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ภายใต้กรอบวงเงินของแผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2566 ปรับปรุงครั้งที่ 1 และให้กระทรวงการคลัง (กค.) เป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน การค้ำประกันและการบริหารความเสี่ยงในแต่ละครั้งได้ตามเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ หากรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการกู้เงินได้เองก็ให้สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ

21. เรื่อง การพิจารณามีมติให้มีการโอนบรรดาอำนาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และงบประมาณของบรรดาภารกิจที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ของสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 นี้ใช้บังคับ ไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เสนอให้มีการโอนบรรดาอำนาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และงบประมาณของบรรดาภารกิจที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (สป.ดศ.) และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ ไปเป็นของ สกมช.
                    สาระสำคัญ
                    1. สกมช. เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562) เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินภารกิจเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ โดยมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 บัญญัติให้ในระหว่างที่การดำเนินการจัดตั้ง สกมช. ยังไม่แล้วเสร็จ ให้ สป.ดศ. ทำหน้าที่ สกมช. จนกว่าจะจัดตั้ง สมกช. แล้วสเร็จ ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการจัดตั้ง สมกช. เรียบร้อยแล้ว และเพื่อให้ สมกช. สามารถดำเนินการตามภารกิจต่าง ๆ เช่น การรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ในด้านการเงิน ด้านสื่อสารโทรคมนาคม ด้านความมั่นคง ด้านพลังงาน และด้านสาธารณสุข ดังนั้น สกมช. จึงได้เสนอขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้มีการโอนบรรดาอำนาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และงบประมาณของบรรดาภารกิจที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของ สป.ดศ. และ สพธอ. ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไปเป็นของ สกมช. สรุปได้ ดังนี้
หน่วยงานเดิม          รายละเอียดของรายการที่จะโอนไปยัง สกมช.
สป.ดศ.          - รายการครุภัณฑ์ จำนวน 149 รายการ เช่น โต๊ะทำงาน เก้าอี้ทำงาน และตู้เอกสาร
สพธอ.          - สิทธิและบัญชีการบริหารจัดการโดเมน thaicert.or.th. และสิทธิในการจัดการบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงแนวทางการดำเนินการที่เกี่ยวข้องจาก สพธอ. เพื่อใช้เป็นช่องทางในการแจ้งเตือนภัยคุกคามทางไซเบอร์ การรับส่งข่าวสาร ตลอดจนเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
- การบริหารจัดการศูนย์ความร่วมมืออาเซียน ? ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (ASEAN ? JAPAN Cybersecurity Capacity Building Center : AJCCBC)
- พันธะความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์กับต่างประเทศ เช่น การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย ? แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum: ARF) และการประชุมสภาปฏิบัติการอาเซียนด้านความมั่นคงปลอดภัยบนเครือข่าย (ASEAN Network Security Action Council: ANSAC)
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบการโอนบรรดาอำนาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และงบประมาณของบรรดาภารกิจที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ไปเป็นของ สกมช. ด้วยแล้ว

22. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 เรื่อง แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ?การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง?
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 เรื่อง แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ?การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง? (แผนปฏิบัติการฯ) เฉพาะในส่วนมาตรการที่ 2 การป้องกัน และการลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด) ระยะสั้น (พ.ศ. 2562 - 2564) ข้อ (1) ควบคุมและลดมลพิษจากยานพาหนะ จากเดิม ?...บังคับใช้มาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ยูโร 5 ภายใน                 ปี 2564...? เปลี่ยนเป็น ?...บังคับใช้มาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ยูโร 5 ตั้งแต่วันที่            1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป...?
                    2. ให้กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ดำเนินการกำหนดแผนเพื่อบังคับใช้มาตรฐานยูโร 6 สำหรับผลิตภัณฑ์รถยนต์ใหม่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อบริษัทผู้ผลิตรถยนต์จะได้เตรียมความพร้อมและวางแผนการผลิตรถยนต์ได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดได้และไม่กระทบต่อการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. มาตรฐานยูโรเป็นมาตรฐานเพื่อควบคุมการปล่อยพิษไอเสียของยานพาหนะในทวีปยุโรป โดยทวีปยุโรปเริ่มกำหนดมาตรฐานยูโร 1 ในปี 2535 และเพิ่มระดับความเข้มงวดของมาตรฐานอย่างต่อเนื่องจนถึงมาตรฐานยูโร 5 (ประกาศใช้ปี 2552) และยูโร 6 (ประกาศใช้ปี 2557) ซึ่งมาตรฐานยูโร 5 และยูดร 6 มีความแตกต่างและเข้มงวดกว่ามาตรฐานยูโร 4 (ประกาศใช้ปี 2548) หลายประการ เช่น การเพิ่มมาตรฐาน Particulate Number หรือ PN (จำนวนอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก) และกำหนดค่ามาตรฐานออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) และสารไฮโดรคาร์บอน (HC) (เป็นหนึ่งในสารที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM 2.5) ให้เข้มงวดยิ่งขึ้น เป็นต้น
                    2. ทส. รายงานว่า
                              2.1 ประเทศไทยได้เริ่มบังคับใช้มาตรฐานยูโร 1 ตั้งแต่ปี 2541 และเพิ่มระดับมาตรฐานตามลำดับจนถึงมาตรฐานยูโร 4 ซึ่งเริ่มบังคับใช้ในปี 2555 จนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังประสบปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองอย่างต่อเนื่อง จึงมีการจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ?การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง? (แผนปฏิบัติการฯ) (คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนดังกล่าวเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562) ซึ่งกำหนดให้รถยนต์ใหม่เป็นไปตามมาตรฐานยูโร 5 ภายในปี 2564 และยูโร 6 ภายในปี 2565
                              2.2 แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้ภาคเอกชนไม่สามารถปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้ จึงมีการหารือร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อเลื่อนกำหนดเวลาดังกล่าวออกไป โดยได้สรุปว่าในส่วนของมาตรฐานยูโร 5 ให้เริ่มบังคับใช้กับรถยนต์ใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567            ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 มีมติเห็นชอบแล้วและให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ดังนั้น ทส. จึงนำเสนอ คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 โดยเปลี่ยนกำหนดเวลาบังคับใช้มาตรฐานยูโร 5 สำหรับรถยนต์ใหม่ที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการฯ จากเดิม บังคับใช้มาตรฐานยูโร 5 สำหรับรถยนต์ใหม่ภายในปี 2564 เป็น บังคับใช้มาตรฐานยูโร 5 สำหรับรถยนต์ใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

23. เรื่อง ร่างนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด             (พ.ศ. 2566 - 2570)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม         และแก้ไขปัญหายาเสพติด (พ.ศ. 2566 - 2570) (ร่างนโยบายและแผนฯ) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    โดยที่แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2563 - 2565 ได้สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการแล้ว ประกอบกับได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดซึ่งระบุให้มีการจัดทำร่างนโยบายและแผนฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยร่างนโยบายและแผนฯ ฉบับนี้ ได้มีการปรับเพิ่มเติมประเด็นสำคัญต่าง ๆ เช่น (1) ป้องกันการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดในพื้นที่สังคมออนไลน์ โดยพัฒนาระบบเฝ้าระวังในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อปิดกั้นการเข้าถึงการค้ายาเสพติด (2) ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพิ่มช่องทางการเข้าถึงโอกาสในการการพัฒนาฝีมือและทักษะในการประกอบอาชีพ การเข้าถึงแหล่งงาน และเงินทุนช่วยเหลือ เป็นต้น ซึ่งได้ผ่านการประชุมหารือและรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ แล้ว รวมทั้งคณะกรรมการป้องกันและปรามปราบยาเสพติด (คณะกรรมการ ป.ป.ส.) ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบ และได้ผ่านการพิจารณาจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่11/2565 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 แล้ว โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
ประเด็น          สรุปสาระสำคัญ
 วัตถุประสงค์          1) เป็นยุทธศาสตร์ในการกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งระบบ และลดระดับความรุนแรงของปัญหายาเสพติดจนไม่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทย
2) เป็นการบูรณาการนโยบายและแผนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้มุ่งไปสู่การแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งระบบอย่างเป็นรูปธรรม และยั่งยืน
3) เป็นกรอบในการบริหารจัดการ ประสานการปฏิบัติ จัดสรรทรัพยากร งบประมาณในการแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งระบบ กำกับติดตามและประเมินผลทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรวม
วิสัยทัศน์          สังคมไทยปลอดภัยจากยาเสพติด ด้วยมาตรการทางเลือกใหม่ สู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
 นโยบายและแผน          ประกอบด้วย 6 ด้าน ดังนี้
1) ด้านการป้องกันยาเสพติด
-          เสริมสร้างความรู้เท่าทันและป้องกันยาเสพติดในเด็กและเยาวชนผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาเพื่อให้มีความรู้เทาทันกับปัญหายาเสพติด
-          สร้างกระแสความตื่นตัวในสังคมให้เกิดความตระหนักและจิตสำนึกร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพติด โดยการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป
-          เสริมสร้างการป้องกันยาเสพติดในพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ โดยพัฒนาระบบเฝ้าระวังและควบคุมปัญหายาเสพติดในพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์
2) ด้านการปราบปรามยาเสพติด
-          สกัดกั้นยาเสพติด สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ เพื่อไม่ให้เข้าสู่พื้นที่ตอนในของประเทศ/ใช้เป็นเส้นทางนำผ่านไปยังประเทศที่สาม
-          ปราบปรามเครือข่ายการค้ายาเสพติด
-          ดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
3) ด้านการยึดทรัพย์สินคดียาเสพติด
-          ขยายผลคดียาเสพติดเพื่อนำไปสู่การยึดหรืออายัดทรัพย์สิน
-          พัฒนารูปแบบการยึดหรืออายัดทรัพย์สินคดียาเสพติด โดยมุ่งเน้นการสืบหาทรัพย์สินที่ได้รับมาจากการค้ายาเสพติด/ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดขยายไปสู่การใช้มาตรการการริบทรัพย์สินตามมูลค่า
-          บริหารจัดการกองทุนป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด (กองทุนฯ) โดยเร่งรัด ติดตาม บังคับคดี ให้ทรัพย์สินตกเป็นของกองทุนฯ
4) ด้านการบำบัดรักษายาเสพติด
-          การนำผู้เสพยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา
-          การคัดกรองผู้เสพยาเสพติด โดยจัดตั้งและขยายศูนย์คัดกรองผู้เสพยาเสพติดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
-          การบำบัดรักษาที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับผู้เสพยาเสพติด โดยพัฒนาสถานบำบัดรักษาหรือสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้มีคุณภาพตามมาตรฐานทางสาธารณสุข
5) ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ
-          เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนและนอกภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติด โดยประสานการปฏิบัติการร่วมการสกัดกั้นยาเสพติด สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ตามแนวชายแดนและอาชญากรรมยาเสพติดทางไซเบอร์ภายใต้กรอบและกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศในทุกระดับ
-          พัฒนาบทบาทของประเทศไทยในการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือในภูมิภาคอาเชียน นอกภูมิภาค และองค์การระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อให้ไทยเป็นแกนกลางในการประสานงานภายในภูมิภาคอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยน การจัดทำฐานข้อมูลยาเสพติด การวิเคราะห์ติดตามสถานการณ์ยาเสพติดในภูมิภาคอาเซียน
6) ด้านการบริหารจัดการ
-          พัฒนากลไกอำนวยการ ระเบียบ กฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด
-          เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนเพื่อพัฒนากลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานเชิงพื้นที่ กระจายบทบาทในระดับพื้นที่อย่างเป็นระบบ โดยใช้หมู่บ้าน/ชุมซนเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนากลไกในระดับพื้นที่เพื่อบูรณาการการแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วน
-          เสริมสร้างสมรรถนะของบุคลากรภาครัฐที่ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับการจัดการปัญหายาเสพติด เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการบังคับใช้กฎหมาย วิธีการสืบสวน สอบสวน ขยายผล การสืบทรัพย์ การสืบสวนเส้นทางการเงินควบคู่กับการสืบสวนพฤติการณ์ เทคนิคการสืบสวน สินทรัพย์ดิจิทัล และดำเนินมาตรการทางทรัพย์สินในคดียาเสพติด
-          การบริหารจัดการแก้ไขปัญหาพื้นที่แบบบูรณาการ โดยกำหนดพื้นที่ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไขปัญหายาเสพติด (พื้นที่ที่มีปัญหายาเสพติด/มีปัญหาอาชญากรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับยาเสพติดที่รุนแรง) เป็นพื้นที่เป้าหมายพิเศษในการปฏิบัติการ

24. เรื่อง  สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ครั้งที่ 1/2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.)  ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการยางแห่งประเทศไทย จะได้จัดทำรายละเอียดและเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    กนย. ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 มีมติเรื่องสำคัญต่าง ๆ  ที่ กนย. พิจารณาให้ความเห็นชอบ ตังนี้
                    1. ขออนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 4
                              1) เห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 4 วงเงินรวมทั้งสิ้น 7,643,857,284.15 บาท
                              2) เห็นชอบกรอบวงเงิน 7,566,857,284.15 บาท โดยใช้เงินทุนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำรองจ่ายแทนรัฐบาลไปก่อน จำนวน 7,421,536,955.47 บาท และให้ ธ.ก.ส. เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 และปีถัด ๆ ไป ตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป เพื่อรัฐบาลชำระคืนต้นเงินและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินโครงการทั้งหมด รวมถึงค่าใช้จ่ายในการโอนเงิน จำนวน 8,021,895 บาท และชดเชยต้นทุนทางการเงินของธนาคารประจำไตรมาส บวก 1 (ปัจจุบันอัตราต้นทุนเงินธนาคารประจำไตรมาสเท่ากับ 0.85) ภายในวงเงินไม่เกิน จำนวน 137,298,433.68 บาท ปีละ           1,600,000,000 บาท ยกเว้นปีที่ 5 จ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมด
                              3) เห็นชอบค่าบริหารจัดการโครงการ จำนวน 77,000,000 บาท โดยให้ กยท. เสนอขอรับจัดสรรจากงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีบประมาณ 2566
                              4) มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการยางแห่งประเทศไทย ดำเนินการจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
                    2. ขออนุมัติโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ ระยะที่ 2
                              1) เห็นชอบโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ ระยะที่ 2 วงเงิน 20,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการของโครงการ 2 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการ โดยมีระยะเวลาในการชดเชยดอกเบี้ย ตามโครงการฯ 1 ปี แต่ระยะเวลาชดเชยไม่เกินระยะเวลาดำเนินโครงการ
                              2) เห็นชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการฯ จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีวงเงิน             604 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น
                                        2.1) งบประมาณชดเชยดอกเบี้ยในอัตราตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี
จำนวนไม่เกิน 600 ล้านบาท จากวงเงินกู้ 20,000 ล้านบาท
                                        2.2) งบประมาณค่าบริหารโครงการ 4 ล้านบาท
                              3) มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการยางแห่งประเทศไทย ดำเนินการจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อนำเสนอคณะรัฐนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
                    3. ขออนุมัติแผนปฏิบัติการด้านยางพารา พ.ศ. 2566-2580
                              1) อนุมัติแผนยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2566-2580) ตามที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี ซึ่งมีการยางแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักเสนอ โดยให้ใช้ชื่อ ?แผนปฏิบัติการด้านยางพารา พ.ศ. 2566-2580?
                              2) มอบหมายให้การยางแห่งประเทศไทย ปรับเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับข้อ 1)  และรับข้อคิดเห็นที่ประชุมปรับปรุงแผนให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วน โดยนำแผนปฏิบัติการด้านยางพารา พ.ศ. 2566-2580 ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
                    4. หลักเกณฑ์กำหนดอัตราภาษีที่ดินในการประกอบเกษตรกรรมสวนยางพาราตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งก่อสร้าง พ.ศ. 2562
                    มอบหมายการยางแห่งประเทศไทยหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้และรายงานให้ กนย. ทราบต่อไป
                    5. การประกาศต้นยางพันธุ์ดีตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542
                    มอบหมายการยางแห่งประเทศไทยหารือกับกรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้และรายงานให้ กนย. ทราบต่อไป
                    6. รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา บังคับใช้กฎหมายห้ามใช้ถุงมือยางลาเท็กซ์ในกลุ่มธุรกิจบริการอาหาร และกลุ่มการให้บริการทางการแพทย์
                    มอบหมายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการยางแห่งประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ โดยเร่งด่วนและรายงานให้ กนย. ทราบต่อไป
                    7. การตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการสวนยางยั่งยืน
                    มอบหมายการยางแห่งประเทศไทย พิจารณาดำเนินการทบทวนองค์ประกอบคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ยางพาราที่เกี่ยวข้องกับสวนยางยั่งยืนที่มีอยู่เดิมก่อนที่จะจัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาใหม่ เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการสวนยางยั่งยืนไม่เกิดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน

25. เรื่อง  ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ทั้งปี 2565 และแนวโน้มปี 2566
          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ทั้งปี 2565 และแนวโน้มปี 2566 ดังนี้
                    1. ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2565
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 1.4 (%YoY) ชะลอตัวลงจาก
การขยายตัวร้อยละ 4.6 ในไตรมาสที่สามของปี 2565 และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ลดลงจากไตรมาสที่สามของปี 2565 ร้อยละ 1.5 (%QoQ_SA) รวมทั้งปี 2565 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.6 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในปี 2564
1.1          ด้านการใช้จ่าย ปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวเร่งขึ้นของการส่งออกบริการ
การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการปรับตัวดีขึ้นของการลงทุนภาครัฐ ในขณะที่การส่งออกสินค้าและการใช้จ่ายอุปโภคบริโภคของภาครัฐปรับตัวลดลง การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดีร้อยละ 5.7 แม้จะชะลอตัวลงจากการขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 9.1 ในไตรมาสก่อนหน้า
ตามการลดลงของการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทน ในขณะที่การใช้จ่ายในหมวดบริการและการใช้จ่ายในหมวดสินค้า
ไม่คงทนยังขยายตัวดี โดยการใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 0.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 17.7
ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะร้อยละ 2.6 ภายหลังจากการเร่งใช้จ่าย
และขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 33.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัวร้อยละ 1.6 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของการใช้จ่ายหมวดเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่ง และหมวดเสื้อผ้าและรองเท้า ขณะที่การใช้จ่ายหมวดบริการขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 10.5 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 16.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของบริการในหมวดที่พักแรมและภัตตาคาร สอดคล้องกับการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 3.7 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของค่าใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 42.0 จากระดับ 37.6 ในไตรมาสก่อนหน้า สูงสุดในรอบ 7 ไตรมาส การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลลดลงร้อยละ 8.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยรายจ่ายการโอนเพื่อสวัสดิการทางสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดลดลงร้อยละ 37.6 ส่วนรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 0.5 ตามการลดลงของค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาโรคโควิด-19 และค่าตอบแทนแรงงาน (ค่าจ้าง เงินเดือน) ลดลงร้อยละ 1.4 สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 34.1 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 21.4 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าร้อยละ 35.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน)การลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 3.9 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 5.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวลงของการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 เทียบกับการขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 11.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือขยายตัวร้อยละ 5.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 14.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการลงทุนในหมวดก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 1.9 ใกล้เคียงกับร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า การลงทุนภาครัฐกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาสร้อยละ 1.5 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการขยายตัวของการลงทุนของรัฐวิสาหกิจร้อยละ 10.3 ขณะที่การลงทุนรัฐบาลลดลงร้อยละ 2.2 สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 18.6 (ต่ำกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 21.2 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่าร้อยละ 17.2 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน)
1.2          ด้านภาคต่างประเทศ
1.2.1          การส่งออกมีมูลค่า 65,814 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 7.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 10.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.1              ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ชะลอลงจากร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามต้นทุนราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์
ที่ชะลอตัวลง กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง อาทิ เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ลดลงร้อยละ 1.7) เคมีภัณฑ์
และปิโตรเคมี (ลดลงร้อยละ 23.7) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 8.4) รถยนต์นั่ง (ลดลงร้อยละ 1.5)                   รถกระบะและรถบรรทุก (ลดลงร้อยละ 9.4) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ลดลงร้อยละ 31.2)
ข้าว (ลดลงร้อยละ 2.2) ยาง (ลดลงร้อยละ 36.9) และน้ำตาล (ลดลงร้อยละ 8.3) เป็นต้น กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น อาทิ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 31.3) แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน (ร้อยละ 0.5) ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 0.2) ปลากระป๋องและปลาแปรรูป (ร้อยละ 6.2) และเครื่องดื่ม (ร้อยละ 2.2) เป็นต้น การส่งออกสินค้า
ไปยังตลาดส่งออกหลักลดลง ขณะที่การส่งออกไปยังตะวันออกกลางและสหราชอาณาจักรขยายตัว เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 7.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.4
ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ชะลอลงจากร้อยละ 18.1    ในไตรมาสก่อนหน้า
1.2.2          การนำเข้าสินค้า มีมูลค่า 62,844 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 23.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณนำเข้าลดลงร้อยละ 9.2 ขณะที่ราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 3.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (108.8 พันล้านบาท)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าของประเทศสำคัญ
YoY%          GDP          มูลค่าการส่งออกสินค้า (ดอลลาร์ สรอ.)
          2562          2563          2564          2565          2562          2563          2564          2565
          ทั้งปี          ทั้งปี          ทั้งปี          Q1          Q2          Q3          Q4          ทั้งปี          ทั้งปี          ทั้งปี          ทั้งปี          Q1          Q2          Q3          Q4          ทั้งปี
 สหรัฐฯ           2.3          -2.8          5.9          3.7          1.8          1.9          1.0          2.1          -1.5          -13.5          23.3          18.8          23.1          23.7          9.0          18.4
 ยูโรโซน          1.6          -6.1          5.3          5.5          4.3          2.3          1.9          3.5          -2.5          -7.2          18.1          9.1          6.2          2.5          2.4          5.0
 สหราชอาณาจักร          1.6          -11.0          7.6          10.5          3.9          1.9          0.4          4.0          -0.7          -11.3          13.6          14.1          8.6          19.6          4.0          11.2
 ออสเตรเลีย          1.9          -1.9          5.2          2.7          3.4          5.8                              5.3          -7.3          37.2          23.2          26.7          14.7          15.2          19.8
 ญี่ปุ่น          -0.4          -4.3          2.1          0.5          1.7          1.5          0.6          1.1          -4.4          -9.1          17.9          4.4          -2.3          -2.0          -4.6          -1.2
 จีน          6.0          2.2          8.4          4.8          0.4          3.9          2.9          3.0          -0.1          4.0          29.7          15.6          12.8          10.0          -6.9          7.0
 อินเดีย          4.5          -6.6          8.3          4.1          13.5          6.3                              -0.2          -14.7          43.0          29.3          26.6          7.9          -2.1          14.6
 เกาหลีใต้          2.2          -0.7          4.1          3.0          2.9          3.1          1.4          2.6          -10.4          -5.5          25.7          18.4          13.0          5.8          -10.0          6.1
 ไต้หวัน          3.1          3.4          6.5          3.9          3.0          4.0          -0.9          2.4          -1.5          4.9          29.3          23.5          15.4          3.4          -8.6          7.4
 ฮ่องกง          -1.7          -6.5          6.4          -3.9          -1.2          -4.6          -4.2          -3.5          -4.1          -0.5          26.0          2.8          -3.3          -11.6          -22.0          -9.3
 สิงคโปร์          1.3          -3.9          8.9          4.0          4.5          4.0          2.1          3.6          -5.2          -4.1          22.1          17.1          20.8          19.5          -4.4          12.7
 อินโดนีเซีย          5.0          -2.1          3.7          5.0          5.5          5.7          5.0          5.3          -6.8          -2.7          41.9          35.1          39.0          27.3          8.0          26.1
 มาเลเซีย          4.4          -5.5          3.1          5.0          8.9          14.2          7.0          8.7          -3.4          -2.3          27.5          18.3          23.3          29.4          2.4          17.7
 ฟิลิปปินส์          6.1          -9.5          5.7          8.2          7.5          7.6          7.2          7.6          2.3          -8.1          14.5          9.9          4.4          0.6          8.0          5.6
 เวียดนาม          7.4          2.9          2.6          5.1          7.8          13.7          5.9          8.0          8.4          6.9          18.9          14.4          21.3          15.8          -7.1          10.3
 ไทย          2.1          -6.1          1.5          2.2          2.5          4.6          1.4          2.6          -3.3          -6.5          19.2          14.2          9.6          6.7          -7.5          5.5
ที่มา: CEIC รวบรวมโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1.3          ด้านการผลิต สาขาเกษตรกรรมและสาขาก่อสร้างกลับมาขยายตัว ส่วนสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขายส่งขายปลีกและการซ่อมฯ และสาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้ายังขยายตัวในเกณฑ์ดีตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง
สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง กลับมาขยายตัวร้อยละ 3.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.2
ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากสภาพอากาศและปริมาณน้ำที่เอื้ออำนวย ผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ หมวดพืชผลสำคัญ อาทิ กลุ่มไม้ผล (ร้อยละ 37.5) โดยเฉพาะทุเรียน (ร้อยละ 136.4) ปาล์มน้ำมัน (ร้อยละ 20.9) และอ้อย (ร้อยละ 29.5) หมวดประมง โดยเฉพาะกุ้งขาวแวนนาไม (ร้อยละ 11.4) และหมวดปศุสัตว์ โดยเฉพาะไก่เนื้อ (ร้อยละ 1.1) ในขณะที่ผลผลิตบางรายการที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ หมวดปศุสัตว์ อาทิ สุกร (ลดลงร้อยละ 3.0) และไข่ไก่ (ลดลงร้อยละ 3.0) หมวดพืชผลสำคัญ อาทิ ยางพารา (ลดลงร้อยละ 0.8) ข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 0.7) เป็นต้น ราคาสินค้าเกษตร เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 12.8 ตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าสำคัญ      อาทิ กลุ่มไม้ผล (ร้อยละ 38.4) โดยเฉพาะทุเรียน (ร้อยละ 51.5) ข้าวเปลือก (ร้อยละ 27.6) สุกร (ร้อยละ 42.4) ไก่เนื้อ (ร้อยละ 25.6) และมันสำปะหลัง (ร้อยละ 19.0) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการปรับตัวลดลง เช่น ราคาปาล์มน้ำมัน (ลดลงร้อยละ 39.2) ราคายางพารา (ลดลงร้อยละ 13.7) และราคากุ้งขาวแวนนาไม (ลดลงร้อยละ 2.5) เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 16.5 สาขาการก่อสร้าง กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส ร้อยละ 2.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการก่อสร้างภาครัฐกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส ร้อยละ 3.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 5.7 ในไตรมาสก่อนหน้า (การก่อสร้างของรัฐบาลกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส
ร้อยละ 0.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 9.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 11.5 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อนหน้า) และการก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 1.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการก่อสร้างที่อยู่อาศัย และการก่อสร้างอาคารที่มิใช่ที่อยู่อาศัย ในขณะที่การก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 โดยเฉพาะการก่อสร้างรถไฟฟ้า สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่องร้อยละ 30.6 แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 53.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามฐานการขยายตัวที่สูงขึ้น โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยในไตรมาสนี้มีจำนวน 5.465 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 55.66 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19) ส่งผลให้มูลค่าบริการรับด้านการท่องเที่ยวในไตรมาสนี้อยู่ที่ 0.239 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 ร้อยละ 362.1 ส่วนรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยมีจำนวน 0.186 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 122.3 ส่งผลให้ในไตรมาสนี้มีรายรับรวมจากการท่องเที่ยว 0.425 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 213.9 สำหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 62.64 สูงกว่าร้อยละ 49.96 ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงสุดในรอบ 12 ไตรมาส สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ร้อยละ 9.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 10.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยบริการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 11.1 ในไตรมาสก่อนหน้า
ตามการขยายตัวของบริการขนส่งทางอากาศและบริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียงเป็นสำคัญ สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 4.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.0 ในไตรมาสก่อนหน้าตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร้อยละ 5.8 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ลดลงร้อยละ 13.5 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ลดลงร้อยละ 5.1 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 ? 60 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ชะลอตัวลงมากจากการขยายตัวร้อยละ 22.9 ในไตรมาสก่อนหน้า การผลิตสินค้าสำคัญ ๆ ที่ลดลง อาทิ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ลดลงร้อยละ 42.5) การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 8.7) การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น (ลดลงร้อยละ 19.6) การผลิตเฟอร์นิเจอร์ (ลดลงร้อยละ 38.5) และการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน (ลดลงร้อยละ 10.5) เป็นต้น ส่วนการผลิตสินค้าสำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น อาทิ การผลิตยานยนต์ (ร้อยละ 8.5) การผลิตน้ำมันปาล์ม (ร้อยละ 30.6) การผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ (ร้อยละ 6.1) การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 3.4) และการผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ (ร้อยละ 36.5) เป็นต้น อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่
ร้อยละ 60.20 ต่ำกว่าร้อยละ 62.61 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 64.51 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
1.4          เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.15 ต่ำกว่าร้อยละ 1.23 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 1.66 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.8 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.2 สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.              (4.3 หมื่นล้านบาท) ขณะที่เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565 อยู่ที่ 2.2 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565 มีมูลค่าทั้งสิ้น 10,587,313.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60.7 ของ GDP
          2. เศรษฐกิจไทยปี 2565
เศรษฐกิจไทยปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.6 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในปี 2564
ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์ภายในประเทศทั้งการบริโภคและ             การลงทุนภาคเอกชน ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 6.3         และร้อยละ 5.1 เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.6 และร้อยละ 3.0 ในปี 2564 ตามลำดับ การส่งออกบริการกลับมาขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 65.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 19.9 ในปีก่อนหน้า ขณะที่การส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 1.3 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 15.3 ในปี 2564 ส่วนการลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 4.9 ด้านการผลิต สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารกลับมาขยายตัวร้อยละ 39.3 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 15.0 ของปีก่อนหน้า สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 2.8 ในปี 2564 และสาขาการขายส่งและการขายปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.7 ในปี 2564 ส่วนสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงขยายตัวร้อยละ 2.5 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.3 ในปี 2564 ขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 0.4 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.7 ในปี 2564 และสาขาการก่อสร้างลดลงร้อยละ 2.7 รวมทั้งปี 2565 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ 17.4 ล้านล้านบาท (4.95 แสนล้านดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นจาก 16.2 ล้านล้านบาท (5.05 แสนล้านดอลลาร์ สรอ.) ในปี 2564 และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวของคนไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 248,635.3 บาทต่อคนต่อปี (7,089.7 ดอลลาร์ สรอ. ต่อคนต่อปี) เพิ่มขึ้นจาก 231,986.1 บาทต่อคนต่อปี (7,254.1 ดอลลาร์ สรอ. ต่อคนต่อปี) ในปี 2564
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 6.1 และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 3.4 ของ GDP
          3. แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2566
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.7 ? 3.7
(ค่ากลางของการประมาณการอยู่ที่ร้อยละ 3.2) โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญจาก (1) การฟื้นตัวของ
ภาคการท่องเที่ยว (2) การขยายตัวของการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ (3) การขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และ (4) การขยายตัวในเกณฑ์ดีของภาคเกษตร ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 3.2 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 2.1 และร้อยละ 2.7 ตามลำดับ และมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 1.6 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 ? 3.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP
รายละเอียดของการประมาณการเศรษฐกิจในปี 2566 ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้
3.1          การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค (1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.3 ในปี 2565 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจตามการปรับตัวดีขึ้นของภาคการท่องเที่ยวและภาคเกษตร
รวมทั้งตลาดแรงงานที่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง และ (2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่า
จะลดลงร้อยละ 1.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.04 ในปี 2565 และเป็นการปรับลดจากการลดลงร้อยละ 0.1 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ตามการปรับลดกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำภายหลังการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณปี 2566 รวมทั้งการลดลงของการใช้จ่ายจากพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (พระราชกำหนด              เงินกู้ฯ) 1 ล้านล้านบาท และพระราชกำหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม 5 แสนล้านบาท
3.2          การลงทุนรวม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อเนื่องจากร้อยละ 2.3 ในปี 2565 โดย               (1) การลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.1 ปรับลดลงจากร้อยละ 2.6 ในการประมาณการครั้งก่อน และเทียบกับร้อยละ 5.1 ในปี 2565 สอดคล้องกับแนวโน้มการลดลงของการส่งออกสินค้า และ (2) การลงทุนภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 4.9 ในปี 2565 และเป็นการปรับเพิ่มจากร้อยละ 2.4 ในการประมาณการครั้งก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของกรอบงบประมาณรายจ่ายงบลงทุนในปีงบประมาณ 2566 วงเงิน 664,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 จากวงเงิน 564,319 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2565 และการปรับกรอบงบประมาณหลังการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณ
3.3            มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะลดลงร้อยละ 1.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.5 ในปี 2565 และเป็นการปรับลดลงจากการขยายตัวร้อยละ 1.0 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ตามการปรับลดสมมติฐานราคาส่งออกและการปรับลดประมาณการปริมาณส่งออก โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกจะลดลงร้อยละ 0.6 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.0 ในการประมาณการครั้งก่อน ขณะที่การส่งออกบริการมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นตามจำนวนและรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นมากกว่าในสมมติฐานประมาณการครั้งก่อน โดยเป็นผลจากการเปิดประเทศที่เร็วกว่าที่คาดของจีน ทั้งนี้ ในกรณีฐานคาดว่ารายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2566 จะอยู่ที่ 1.31 ล้านล้านบาท เทียบกับ 0.58 ล้านล้านบาท ในปี 2565 ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2566 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เทียบกับร้อยละ 8.5 ในการประมาณการครั้งก่อน และร้อยละ 6.8 ในปี 2565
          4. ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจมหภาคในปี 2566
การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2566 ควรให้ความสำคัญกับ (1) การดูแลแก้ไขปัญหาหนี้สินของลูกหนี้รายย่อย ทั้งหนี้สินในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
(2) การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร โดยการเตรียมมาตรการรองรับผลผลิตสินค้าเกษตร
ที่จะออกสู่ตลาด การสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่การผลิตของภาคการเกษตร การปรับโครงสร้างการผลิต และ      การขยายผลการทำเกษตรยั่งยืนและเกษตรอินทรีย์ (3) การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกสินค้า โดย               (i) การอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก (ii) การส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเกณฑ์ดี และการสร้างตลาดใหม่ที่มีกำลังซื้อสูง (iii) การติดตามประเมินสถานการณ์และเงื่อนไขการค้าโลก (iv) การพัฒนาสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าอุตสาหกรรม ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตรงตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า ควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิต (v) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และ (vi) การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสมเพื่อรองรับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน (4) การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง โดย                 (i) การแก้ไขปัญหาและเตรียมความพร้อมให้ภาคการท่องเที่ยวรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมทั้ง           การพิจารณามาตรการสินเชื่อและมาตรการสนับสนุนอื่น ๆ ให้ผู้ประกอบการสามารถกลับมาประกอบธุรกิจได้                   (ii) การส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูงและยั่งยืน (iii) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง และ (iv) การส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ (5) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดย (i) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2563 - 2565 ให้เกิดการลงทุนจริง โดยเฉพาะโครงการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (ii) การแก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างประเทศเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต (iii) การดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมาย              (iv) การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ (v) การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่สำคัญ และ (vi) การพัฒนากำลังแรงงานทักษะสูงเพื่อรองรับกับอุตสาหกรรมที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้มข้น (6) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐควบคู่ไปกับการเพิ่มพื้นที่ทางการคลังเพื่อรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนในระยะปานกลางและเพิ่มศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (7) การติดตาม เฝ้าระวัง และประเมินสถานการณ์ความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก และ (8) การรักษาบรรยากาศทางเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ

26. เรื่อง ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายช่วยเหลือเยียวยาซื้อเรือประมงในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ตามโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรณีเร่งด่วน (เรือชุดที่ 1)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายช่วยเหลือเยียวยาซื้อเรือประมงในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ตามโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรณีเร่งด่วน (เรือชุดที่ 1) จำนวน 96 ลำ งบประมาณรวม 163,363,400 บาท ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2566 มีมติให้ความเห็นชอบโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรณีเร่งด่วน (เรือชุดที่ 1) ตามที่คณะอนุกรรมการกลั่นกรองการเยียวยาตามมาตรการลดจำนวนเรือประมงเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เห็นชอบผลการตรวจสอบประวัติ ความถูกต้อง และคุณสมบัติเรือประมง และเจ้าของเรือพื้นที่จังหวัดปัตตานี และผลการประเมินราคาค่าชดเชยเรือประมงที่เข้าร่วมโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบฯ ของกลุ่มเรือที่รับการประเมินสภาพเรือ จำนวน 96 ลำ งบประมาณรวม 163,363,400 บาท และมอบหมายให้ ศอ.บต. เป็นหน่วยดำเนินการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายช่วยเหลือเยียวยาซื้อเรือประมงในพื้นที่จังหวัดปัตตานีตามขั้นตอน โดยไม่ต้องรอผลการรับรองรายงานการประชุมดังกล่าว
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ในฐานะสั่งและปฏิบัติราชการ ศอ.บต. แทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายช่วยเหลือเยียวยาซื้อเรือประมงในพื้นที่จังหวัดปัตตานี จำนวน 96 ลำ งบประมาณรวม 163,363,400 บาท ตามมติคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ประกอบข้อ 8 วรรค 1 ของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 เพื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่เจ้าของเรือตามโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรณีเร่งด่วน (เรือชุดที่ 1) เป็นไปตามกระบวนการทำงานและนโยบายของรัฐบาล
                    3. ศอ.บต. เสนอสำนักงบประมาณพิจารณาคำขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายช่วยเหลือเยียวยาซื้อเรือประมงในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ตามโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรณีเร่งด่วน (เรือชุดที่ 1) จำนวน 96 ลำ งบประมาณรวม 163,363,400 บาท
                    4. สำนักงบประมาณได้แจ้งว่านายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้ ศอ.บต. ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 163,363,400 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นกรณีเร่งด่วน (เรือชุดที่ 1) ในการชดเชยเยียวยาเจ้าของเรือประมงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ปี 2558 โดยเป็นกลุ่มเรือพื้นที่จังหวัดปัตตานี ที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ไม่พบการกระทำความผิด (กลุ่มขาว) และประสงค์จะเลิกอาชีพทำการประมง จำนวน 96 ลำ สำหรับอัตราค่าใช้จ่ายในการชดเชยเยียวยาดังกล่าว ซึ่งเป็นลักษณะงบดำเนินการให้เป็นไปตามการพิจารณาความเหมาะสมของอัตราค่าใช้จ่ายของกระทรวงการคลัง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายในบางกรณี พ.ศ. 2559

27. เรื่อง รับทราบรายงานผลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 และขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 และอนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัด 66 จังหวัด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 จากเดิมที่กำหนดให้จังหวัดที่ประสบภัยเร่งรัดดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ฯ และช่วยเหลือให้แล้วเสร็จ ภายใน 60 วัน ตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ (วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566) เป็น 90 วัน ตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ (วันที่ 20 มีนาคม 2566) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. รายงานผลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566)
                              1.1 จากข้อมูลผู้ประสบอุทกภัยเบื้องต้น จำนวน 1,046,460 ครัวเรือน จังหวัดได้ตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินการ คงเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่มีผู้ยื่นคำร้องขอรับความช่วยเหลือในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัด 56 จังหวัด รวมจำนวน 594,477 ครัวเรือน
                              1.2 ผลการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ดังนี้
                                        (1) กรุงเทพมหานคร และจังหวัด 56 จังหวัดส่งข้อมูลครัวเรือนที่ขอรับความช่วยเหลือ และเข้าตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 จำนวน 579,742 ครัวเรือน เป็นเงิน 3,651,344,000 บาท
                                        (2) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนที่ขอรับความช่วยเหลือให้ธนาคารออมสินและได้โอนจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัย ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัด 55 จังหวัด แล้ว รวมจำนวน 553,795 ครัวเรือน เป็นเงิน 3,503,555,000 บาท
                                        (3) อยู่ระหว่างกระบวนการจ่ายเงินและคาดว่าจะต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัย จำนวน 25,947 ครัวเรือน เป็นเงิน 147,789,000 บาท
                                        (4) คาดว่าจะคงเหลือวงเงินที่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น งบเงินอุดหนุนลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป จากสำนักงบประมาณ จำนวน 2,607,196,000 บาท
                    2. การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ที่กำหนดให้จังหวัดที่ประสบภัยเร่งรัดดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องตามหลักเกณฑ์และช่วยเหลือให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น งบเงินอุดหนุน ลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไปจากสำนักงบประมาณ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 โดยมีกำหนดสิ้นสุดระยะเวลาการช่วยเหลือฯ ดังกล่าว เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 แต่เนื่องจากการให้ความช่วยเหลือมีขั้นตอนการตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของข้อมูลผู้ประสบภัยที่ขอรับความช่วยเหลือเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ที่กำหนดไว้ และเกิดความถูกต้อง ชัดเจนครอบคลุม โปร่งใส เป็นธรรมกับประชาชนที่ประสบภัย ทำให้การจ่ายเงินช่วยเหลือฯ ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร และขณะนี้ ยังคงมีผู้ประสบอุทกภัยอยู่ในกระบวนการจ่ายเงินช่วยเหลือฯ คงเหลืออยู่อีก 25,947 ครัวเรือน และคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณเพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือฯ ประมาณ147,789,000 บาท ทำให้การดำเนินการยังไม่เสร็จสิ้นและไม่สามารถดำเนินการได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยช่วงฤดูฝน ปี 2565 จากเดิมที่กำหนดให้จังหวัดที่ประสบภัยเร่งรัดดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องตามหลักเกณฑ์และช่วยเหลือให้แล้วเสร็จ ภายใน 60 วัน ตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ (วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566) เป็น 90 วัน ตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ (วันที่ 20 มีนาคม 2566 ทั้งนี้สำนักงบประมาณได้ให้ความเห็นชอบแล้ว

28. เรื่อง ขอรับความอนุเคราะห์ในการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 1,500,755,595 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดการหนี้ของเกษตรกร โดยเบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรใช้จ่ายจากเงินสะสมคงเหลือของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในโอกาสแรกก่อน หากไม่เพียงพอให้จัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณพร้อมรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป โดยคำนึกถึงศักยภาพ ความสามารถในการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณตามภารกิจเท่าที่จำเป็น รวมทั้งประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

ต่างประเทศ
29. เรื่อง  การดำเนินการตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับสาธารณรัฐเฮติ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบรับรองการดำเนินการตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council - UNSC) ที่ 2653 (ค.ศ. 2022) เกี่ยวกับสาธารณรัฐเฮติ (ข้อมติ UNSC ที่ 2653ฯ)
                    2. เห็นชอบการดำเนินการตามข้อมติดังกล่าวจนกว่า UNSC จะรับรองข้อมติเพื่อเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญหรือยกเลิกมาตรการลงโทษกรณีสาธารณรัฐเฮติ (เฮติ) ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเมื่อมีการรับรองข้อมติที่เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกมาตรการลงโทษกรณี เฮติต่อไป
                    3. มอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงกลาโหมกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานอัยการสูงสุด และธนาคารแห่งประเทศไทย ถือปฏิบัติและปรับปรุงฐานข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการลงโทษเฮติ โดยเฉพาะรายชื่อบุคคลและองค์กรที่ต้องถูกมาตรการลงโทษให้ทันสมัยตามข้อมูลเว็บไซต์ของสหประชาชาติ (https://ww.un.org/securitycouncil/ sanctions/2653/materials) รวมทั้งแจ้งผลการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้กระทรวงการต่างประเทศทราบ เพื่อประโยชน์ในการรายงานต่อสหประชาชาติต่อไป ทั้งนี้ สหประชาชาติจะปรับปรุงรายชื่อบุคคล องค์กร ภายใต้หัวข้อ ?Sanctions List Materials? เป็นระยะ
                    สาระสำคัญ
                    1) ข้อมติ UNSC ที่ 2653ฯ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในครั้งนี้ได้กำหนดมาตรการลงโทษต่อบุคคลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่บั่นทอนสันติภาพ ความมั่นคง                 และเสถียรภาพของเฮติและภูมิภาค ซึ่งประเทศไทยในฐานะสมาชิกสหประชาชาติจะต้องดำเนินการ เช่น
                              1.1 การห้ามการเดินทาง : ห้ามบุคคลที่ถูกกำหนดในบัญชีรายชื่อซึ่งกำหนดโดยคณะกรรมการเพื่อตรวจตราการดำเนินการตามมาตรการลงโทษตามข้อมติ UNSC ที่ 2653ฯ (คณะกรรมการฯ)       เดินทางเข้าหรือผ่านดินแดนของตนเป็นเวลา 1 ปีนับตั้งแต่วันที่รับรองข้อมตินี้ (21 ตุลาคม 2565)
                              1.2 การอายัดทรัพย์สิน : ให้อายัดเงินทุน สินทรัพย์อื่น ๆ และทรัพยากรทางเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในครอบครองของบุคคลหรือองค์กรตามที่ระบุในภาคผนวกของข้อมตินี้ หรือที่ถูกกำหนดในบัญชีรายชื่อโดยคณะกรรมการฯ เป็นเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่รับรองข้อมตินี้
                              1.3 การห้ามค้าอาวุธที่เฉพาะเจาะจง : ให้ดำเนินมาตรการเพื่อป้องกันการจัดหา การขาย หรือการโอนย้ายอาวุธและวัสดุที่เกี่ยวข้องทุกชนิด ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม หรือการดำเนินการเพื่อผลประโยชน์ของบุคคลหรือองค์กรที่ถูกกำหนดโดยคณะกรรมการฯ เป็นเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่รับรองข้อมตินี้
                              1.4 การกำหนดขอบเขตของมาตรการลงโทษ : กำหนดให้มาตรการข้างต้น ใช้บังคับกับบุคคลและองค์กรที่ถูกกำหนดในบัญชีรายชื่อสำหรับมาตรการนั้น ๆ ซึ่งคณะกรรมการฯ จะพิจารณาว่า บุคคลและองค์กรดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำหรือนโยบายที่บั่นทอนสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพของเฮติ
                              1.5 การจัดตั้งคณะกรรมการและคณะผู้เชี่ยวชาญ : กำหนดให้จัดตั้งคณะกรรมการฯ            ซึ่งสามารถดำเนินการได้ เช่น พิจารณาคำร้องขอยกเว้นการบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ กำหนดรายชื่อบุคคลและองค์กรที่ถูกลงโทษ และรายงานข้อสังเกตและข้อเสนอแนะแก่ UNSC
                              1.6 การรายงานและการทบทวน : กำหนดให้เลขาธิการสหประชาชาติจัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 4 คน เพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการฯ เช่น การรวบรวมศึกษาข้อมูลหลักฐาน         และจัดทำรายงาน โดยสำหรับจะทบทวนสถานการณ์ในเฮติและความเหมาะสมของมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง          โดยการปรับเปลี่ยน การระงับ หรือยกเลิกมาตรการตามความจำเป็น
                    2. กระทรวงกลาโหม กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพิจารณาแล้วเห็นชอบในหลักการ/ไม่มีข้อขัดข้องตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ส่วนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่า การดำเนินการตามข้อมติ UNSC ที่ 2653ฯ เป็นการดำเนินการตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่ตามข้อ 25 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติในฐานะที่เป็นรัฐสมาชิก กรณีจึงไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการดำเนินการตามข้อมติดังกล่าวแล้ว การดำเนินการตามข้อมติ UNSC ที่ 2653ฯ จะต้องเป็นไปตามกฎหมายภายในของไทย

30. เรื่อง การต่ออายุการบริจาคเงินอุดหนุนแก่ฝ่ายเลขานุการของอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการต่ออายุการบริจาคเงินอุดหนุนแก่ฝ่ายเลขานุการของอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล* (อนุสัญญาฯ) ปีละ 10,000 ฟรังก์สวิส หรือเท่ากับ 379,800 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ฟรังก์สวิส เท่ากับ 37.98 บาท) เป็นระยะเวลา 4 ปี นับแต่ปีงบประมาณ 2567 เป็นต้นไป ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 - 2570) โดยให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เบิกจ่ายเงินอุดหนุนดังกล่าวจากงบประมาณของ กต. ตามที่ กต. เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. ฝ่ายเลขานุการของอนุสัญญาฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2544 ทำหน้าที่เป็นจุดประสานการติดต่อระหว่างรัฐภาคีและองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการอนุวัติการตามพันธกรณีของอนุสัญญาฯ ซึ่งเป็นภารกิจที่มีความสำคัญต่อการผลักดันให้การดำเนินการตามอนุสัญญาฯ มีความก้าวหน้าและสามารถบรรลุตามเจตนารมณ์ของอนุสัญญาฯ อย่างไรก็ดีเนื่องจากงบประมาณในการดำเนินงานของฝ่ายเลขานุการของอนุสัญญาฯ ถูกกำหนดให้มาจากการบริจาคโดยสมัครใจจากรัฐภาคี จึงทำให้ขาดเสถียรภาพด้านงบประมาณ และส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน ทั้งในด้านการบริหารจัดการและการผลักดันโครงการความร่วมมือและการให้ความช่วยเหลือแก่รัฐภาคีเพื่อสนับสนุนและผลักดันการอนุวัติการตามพันธกรณีของอนุสัญญาฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งที่ผ่านมาฝ่ายเลขานุการของอนุสัญญาฯ ได้ให้ความช่วยเหลือไทยมาโดยตลอด ทั้งในด้านการจัดทำรายงานประเทศ (National Report) ตามพันธกรณีอนุสัญญาฯ และการจัดทำคำขอขยายระยะเวลาการเก็บกู้และทำลายทุ่นระเบิดของไทย รวมทั้งสนับสนุนให้ไทยเข้าร่วมดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการต่าง ๆ ในกรอบอนุสัญญา ดังนั้น ที่ผ่านมาไทยจึงมีการบริจาคเงินอุดหนุนแก่ฝ่ายเลขานุการ ของอนุสัญญาฯ ตามความสมัครใจ เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของฝ่ายเลขานุการของอนุสัญญาฯ เกิดความคล่องตัวและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
ปี (พ.ศ.)          จำนวนเงินที่ไทยบริจาค/ครั้ง
2546          6,950 ฟรังก์สวิส
2553          3,500 ฟรังก์สวิส
2554          2,000 ฟรังก์สวิส
2559 - 2566          10,000 ฟรังก์สวิส/ปี (รวม 80,000 ฟรังก์สวิส)
รวมทั้งสิ้น          92,450 ฟรังก์สวิส
แต่โดยที่การบริจาคเงินอุดหนุนดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในปีนี้ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2562 กต. จึงขอต่ออายุการบริจาคเงินอุดหนุนแก่ฝ่ายเลขานุการของอนุสัญญาฯ ออกไปอีก 4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 - 2570) ปีละ 10,000 ฟรั่งก์สวิส (ประมาณ 379,800 บาท) โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของ กต. งบเงินอุดหนุนองค์การระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก
                    2. กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณและสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นชอบ/ไม่ขัดข้อง/เห็นควรอนุมัติตามที่ กต. เสนอ โดยสำนักงบประมาณเห็นควรให้ กต. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
*ปัจจุบันมีรัฐภาคีภายใต้อนุสัญญาฯ จำนวน 164 ประเทศ ซึ่งไทยเป็นรัฐภาคีประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2541 ส่งผลให้อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ต่อไทยตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2542 และมีพันธกรณีที่จะต้องดำเนินการเก็บกู้และทำลายทุ่นระเบิดให้หมดสิ้นภายใน 10 ปี (ครบกำหนดในปี 2552) ซึ่งที่ผ่านมาไทยได้อนุวัติการตามพันธกรณีอนุสัญญาดังกล่าวอย่างมุ่งมั่นมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเก็บกู้และทำลายทุ่นระเบิดที่ตกค้างในพื้นดินและในคลัง การให้ความช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประสบภัย และการให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับอันตรายและวิธีป้องกันภัยจากทุ่นระเบิด อย่างไรก็ดี ไทยไม่สามารถดำเนินการเก็บกู้และทำลายทุ่นระเบิดได้แล้วเสร็จตามกำหนดระยะเวลาข้างต้น เนื่องจาก (1) สภาพทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ซึ่งเข้าถึงและเก็บกู้ได้ยาก (2) มีพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการเก็บกู้และทำลายทุ่นระเบิดได้ ได้แก่ พื้นที่ที่ยังไม่ได้จัดทำหลักเขตแดนและพื้นที่การเจรจาปักปั่นเขตแดน (Area to be Demarcated : AD) ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านที่ยังไม่ได้ข้อยุติ      เป็นต้น ดังนั้น ไทยจึงได้ยื่นคำขอขยายระยะเวลาการเก็บกู้และทำลายทุ่นระเบิดต่อที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ จำนวน 3 ครั้ง        โดยครั้งล่าสุดขยายระยะเวลาไปจนถึง 31 ธันวาคม 2569

31. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือภายใต้โครงการทุนการศึกษา Stipendium Hungaricum ประจำปี ค.ศ. 2023 ? 2025 ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกับกระทรวงการต่างประเทศและการค้าฮังการี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือภายใต้โครงการทุนการศึกษา (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) Stipendium Hungaricum ประจำปี ค.ศ. 2023 - 2025 ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กับกระทรวงการต่างประเทศและการค้าฮังการี (Memorandum of Understanding between the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Foreign Affairs and Trade of Hungary on Cooperation within the Framework of the Stipendium Hungaricum Programme for the Years 2023 - 2025) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของไทย ให้ อว. หารือร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจ Stipendium Hungaricumฯ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    ร่างบันทึกความเข้าใจฯ Stipendium Hungaricum เป็นความร่วมมือระหว่าง อว. และกระทรวงการต่างประเทศและการค้าฮังการี โดยฝ่ายฮังการีเสนอให้ทุนการศึกษาเต็มจำนวนแก่ผู้รับทุนชาวไทย จำนวน 40 ทุนต่อปี เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ปริญญาตรี - โทต่อเนื่อง ปริญญาโท และปริญญาเอก ณ สถาบันอุดมศึกษาในประเทศฮังการี ในสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น วิทยาศาสตร์การเกษตร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และการแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ            รัฐประศาสนศาสตร์และการบริหารการปกครองสาธารณะ และครุศาสตร์และอักษรศาสตร์ โดยมีนักศึกษาชาวไทยเข้ารับทุนเป็นประจำทุกปี ซึ่งทุนการศึกษานี้ครอบคลุมค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายรายเดือน ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าประกันสุขภาพ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และฝ่ายไทยจะเสนอทุนการศึกษาให้ฝ่ายฮังการีเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ อว. แจ้งว่า ร่างบันทึกความเข้าใจฯ Stipendium Hungaricum ฉบับเดิม ได้หมดอายุลงแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 ซึ่งปัจจุบันสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมอยู่ระหว่างดำเนินการคัดเลือกและจัดลำดับคะแนนของผู้สมัครเพื่อแจ้งให้แก่ฝ่ายฮังการีทราบต่อไป เพื่อให้การสนับสนุนทุนการศึกษาดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ร่างบันทึกความเข้าใจฯ Stipendium Hungaricum มีผลบังคับใช้ภายหลังวันที่ลงนามหนึ่งวันจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (มีผลบังคับใช้ 3 ปี)1
1ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีผลบังคับใช้คราวละ 3 ปี โดยครั้งล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (24 มีนาคม 2563) เห็นชอบอนุมัติร่างเอกสารโครงการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาและวิทยาศาสตร์ ระหว่าง อว. และกระทรวงการต่างประเทศและการค้าฮังการี ค.ศ. 2020 ? 2022

32. เรื่อง การลงนามข้อตกลงเพื่อการใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศ (CTS User Agreement)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างข้อตกลงเพื่อการใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศ (Common Transmission System User Agreement) (ข้อตกลง CTS) และเห็นชอบในการลงนามในร่างข้อตกลง CTS โดยให้อธิบดีกรมสรรพากรในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ลงนามในร่างข้อตกลง CTS และเมื่อลงนามแล้ว ให้กระทรวงการคลัง (กค.)  โดยกรมสรรพากรส่งข้อตกลง CTS พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยจัดทำเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดและส่งให้ฝ่ายเลขาธิการองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Cooperation and Development: OECD) ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (23 สิงหาคม 2559) เห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกกรอบความร่วมมือเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษี [Global Forum on Transparency and Exchange of Information for Tax Purposes (Global Forum)] ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Cooperation and Development: OECD) เพื่อให้มีการจัดเก็บภาษีอย่างโปร่งใสและเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดย OECD ได้ตอบรับประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกในลำดับที่ 139 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2560 ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 165 ประเทศ ซึ่งเมื่อประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก Global Forum จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของ Global Forum กค. จึงได้เริ่มดำเนินการด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับการดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีของสถาบันการเงิน เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีตามมาตรฐานการรายงานทั่วไป Common Reporting Standard (CRS) และมีแนวทางในการขยายความร่วมมือด้านภาษีอากรในอนาคต เช่น การพิจารณาเครื่องมือความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้แก่ การจัดทำความตกลงพหุภาคีว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารภาษี Multilateral Convention on Mutual Administrative Assistance in Tax Matters (ความตกลง MAC) ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (21 มกราคม 2563) เห็นชอบให้ไทยเข้าเป็นภาคีตามความตกลง MAC ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีระหว่างประเทศ                  โดยเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ในฐานะผู้รับมอบอำนาจเต็มได้ลงนามเข้าเป็นภาคีในความตกลง MAC เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2563 พร้อมยื่นเอกสารประกอบแจ้งรายชื่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศไทย คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย และกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ได้ยื่นสัตยาบันสารเพื่อแสดงเจตนาให้ความตกลง MAC มีผลผูกพันเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 โดยความตกลง MAC        มีผลใช้บังคับกับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565
                    2. คณะรัฐมนตรีมีมติ (18 พฤษภาคม 2564) เห็นชอบต่อร่างความตกลงพหุภาคีระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินแบบอัตโนมัติ [Multilateral Competent Authority Agreement on Automatic Exchange of Financial Account information (ความตกลง MCAA CRS)] ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐภาคีตามความตกลง MAC ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินแบบอัตโนมัติ ตามมาตรฐานการรายงานทั่วไป (CRS) ประกอบด้วยข้อมูลที่ต้องแลกเปลี่ยนสำหรับบัญชีทางการเงินที่เข้าข่ายต้องรายงาน ระยะเวลาและรูปแบบในการแลกเปลี่ยนข้อมูล การรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูล การปฏิบัติตามข้อกำหนดในการรายงานหรือตรวจสอบข้อมูล การบังคับใช้และการแก้ไขเพิ่มเติมความตกลง             โดยความตกลง MCAA CRS จะมีผลใช้บังคับภายหลังจากที่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจแจ้งต่อ OECD เพื่อแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจได้ลงนามเข้าเป็นภาคีในความตกลงดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 ปัจจุบันมีประเทศภาคีจำนวน 119 ประเทศ ซึ่งกรมสรรพากรจะต้องเริ่มแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทั่วไป (Common Reporting Standard: CRS) กับประเทศคู่สัญญาภายในเดือนกันยายน 2566 ตามคำมั่นที่ได้ให้ไว้กับ Global Forum
                    3. คณะรัฐมนตรีมีมติ (18 ตุลาคม 2565) เห็นชอบการเข้าเป็นภาคีในความตกลงพหุภาคีระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนรายงานข้อมูลรายประเทศ [Multilateral Competent Authority Agreement on the Exchange of Country-by-Country Report (ความตกลง CbC MCAA)] ซึ่งความตกลง CbC MCAA มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบการดำเนินการและรายละเอียดเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนรายงานข้อมูลประเทศเพื่อดำเนินการป้องกันการวางเผนเพื่อกัดกร่อนฐานภาษีและโอนกำไรไปต่างประเทศของบริษัทข้ามชาติโดยกรอบการดำเนินการดังกล่าวกำหนดให้การดำเนินงานตามปฏิบัติการที่ 13 เรื่อง การรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Reports: CbCR) เป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่ประเทศสมาชิกจะต้องดำเนินการพัฒนาหรือปรับปรุงกฎหมายให้เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนด โดยมีสาระสำคัญ เช่น (1) การแลกเปลี่ยนข้อมูล CbCR เกี่ยวกับกลุ่มกิจการข้ามชาติ (กลุ่มบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลข้ามชาติที่มีรายได้รวมทั้งหมด 750 ล้านยูโรขึ้นไป ต้องจัดทำรายงานข้อมูล CbCR เพื่อนำข้อมูลไปแลกเปลี่ยนกับประเทศคู่สัญญา) (2) วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูล CbCR แบบอัตโนมัติเป็นรายปี (3) ระยะเวลาการแลกเปลี่ยนข้อมูล CbCR ภายใน 15 เดือน หลังจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี (4) การนำข้อมูล CbCR ไปใช้จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การรักษาความลับและความปลอดภัย รวมทั้งต้องใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีเท่านั้น เป็นต้น ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจได้ลงนามเข้าเป็นภาคีในความตกลงดังกล่าว เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565 ปัจจุบันมีประเทศภาคีจำนวน 95 ประเทศ ซึ่งกรมสรรพากรจะต้องเริ่มแลกเปลี่ยนข้อมูล CbCR กับประเทศคู่สัญญาภายในเดือนมิถุนายน 2566 ตามคำมั่นที่ประเทศไทยให้ไว้กับ Code of Conduct Group (Business Taxation) (COCG)1 แห่งสหภาพยุโรป เพื่อให้ประเทศไทยไม่ถูกบรรจุอยู่ในรายชื่อประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือด้านภาษีของสหภาพยุโรป (EU List of Non-cooperative Jurisdictions for Tax Purposes: EU List)2
                    4. เรื่องนี้กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างข้อตกลงเพื่อการใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศ (Common Transmission System User Agreement) (ข้อตกลง CTS) ซึ่งเป็นการดำเนินการตามความตกลง 2 ฉบับ ที่ไทยได้ลงนามความร่วมมือไว้ ได้แก่ (1) ความตกลงพหุภาคีระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินแบบอัตโนมัติ (ความตกลง MCAA CRS) ซึ่งกรมสรรพากรจะต้องเริ่มแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทั่วไป (Common Reporting Standard: CRS) กับประเทศคู่สัญญาภายในเดือนกันยายน 2566 (ตามข้อ 2) และ (2) ความตกลงพหุภาคีระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนรายงานข้อมูลรายประเทศ (ความตกลง CbC MCAA) ซึ่งกรมสรรพากรจะต้องเริ่มแลกเปลี่ยนรายงานข้อมูลรายประเทศ (CbCR) กับประเทศคู่สัญญาภายในเดือนมิถุนายน 2566 ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวต้องผ่านระบบนำส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มาตรฐานในเรื่องการรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูลตามที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Cooperation and Development: OECD) กำหนด เรียกว่า CTS และประเทศภาคีของความตกลงทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวได้ใช้ระบบ CTS ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยประเทศภาคีที่ประสงค์จะใช้ระบบ CTS จะต้องลงนามในข้อตกลง CTS และชำระค่าใช้จ่ายรายปีในการเข้าใช้ระบบ CTS ซึ่งร่างข้อตกลง CTS เป็นสัญญารูปแบบมาตรฐานที่ OECD กำหนด                 มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดขอบเขตของข้อตกลงของผู้ใช้งาน กล่าวคือ การระบุข้อกำหนดและเงื่อนไขที่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจได้รับตั้งแต่วันที่ข้อตกลงมีผลใช้บังคับ สิทธิในการใช้ระบบ ตลอดจนภาระหน้าที่ขององค์การที่เกี่ยวข้อง และมีหัวข้อสำคัญอื่น ๆ เช่น ภาระผูกพันของคู่สัญญา เงื่อนไขทางการเงิน ระยะเวลา การยกเลิกข้อตกลง ความรับผิดชอบ การรักษาความลับและกฎหมายที่ใช้บังคับและการระงับข้อพิพาท เป็นต้น
หมายเหตุ
1CoCG คือ กลุ่มคณะทำงานย่อยในด้านภาษีภายใต้คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับการแข่งขันทางภาษีที่เป็นอันตราย โดยมีหน้าที่ตรวจสอบ แก้ไข หรือยกเลิกมาตรการทางภาษีที่เป็นอันตรายต่อประเทศอื่น และส่งเสริมสนับสนุนหลักธรรมาภิบาลภาษีอย่างเป็นธรรม
2หากประเทศไทยถูกจัดอยู่ใน EU List อาจก่อให้เกิดผลกระทบ เช่น 1) ทำให้ประเทศเสียภาพลักษณ์และอาจถูกมองว่าเป็นประเทศที่เอื้อต่อการหลีกเสี่ยงภาษี ส่งสัญญาณเชิงลบต่อนักลงทุนต่างชาติ 2) ประเทศในกลุ่ม EU อาจใช้มาตรการตอบโต้ทางภาษี เช่น           การเพิ่มอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศ EU และถูกโอนมายังประเทศไทย มาตรการเพิ่มการตรวจสอบทางภาษีสำหรับผู้ที่ดำเนินธุรกิจคู่ค้าในประเทศไทย เป็นต้น 3) ถูกจำกัดการเข้าถึงเงินทุนและการลงทุนจากสถาบันหรือองค์การใน EU รวมถึงองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ เช่น กลุ่มธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งอาจตั้งข้อกำหนดที่เข้มงวดมากขึ้นในการให้เงินกู้แก่ประเทศไทย เป็นต้น

33. เรื่อง ขออนุมัติการดำเนินโครงการ Country Programme (CP) ระยะที่ 2 และการลงนามบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการต่ออายุโครงการ Country Programme ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเครษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการต่ออายุโครงการ Country Programme ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับ OECD1 (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์โดยรวมของไทย ให้ สศช. และกระทรวงการต่างประเทศสามารถพิจารณาดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    2. เห็นชอบการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (งบกลางฯ) จำนวน 166.7201 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ Country Programme (CP) (โครงการฯ) ระยะที่ 2 โดยเบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน จำนวน 119.1041 ล้านบาท และงบดำเนินงาน จำนวน 47.6160 ล้านบาท โดยในส่วนของงบเงินอุดหนุนจะจัดสรรให้กับ สศช. จำนวนทั้งหมด เพื่อดำเนินการมอบให้กับ OECD และให้ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
                    3. เห็นชอบการอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
                    4. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) เป็นผู้ลงนามเอกสารดังกล่าวข้างต้น
                    สาระสำคัญ
                    1) ปี 2561 ประเทศไทยได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเพื่อดำเนินโครงการ Country Programme (CP) ระยะที่ 1     ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และเพิ่มพูนขีดความสามารถของหน่วยงานไทยในการดำเนินยุทธศาสตร์และนโยบายปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ  โดยมี สศช. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 1 และต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติ (15 กุมภาพันธ์ 2565) รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 1 ซึ่งได้สิ้นสุดลงแล้วใน ปี 2564 และเห็นควรให้กระทรวงการต่างประเทศและ สศช. หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ เพื่อขยายความร่วมมือดังกล่าว และหารือกับสำนักงบประมาณเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลางฯ เพื่อดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 2 ทั้งนี้ สศช. ได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยได้จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ เพื่อดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 2 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
1.1 รูปแบบความร่วมมือ          แบ่งเป็นออกเป็น 4 สาขาความร่วมมือ ได้แก่ (1) หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) (2) สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและขีดความสามารถในการแข่งขัน (Business Climate and Competitiveness) (3) ความครอบคลุมทางสังคมและการพัฒนาทุนมนุษย์ (Social Inclusion and Human Capital Development) และ (4) การฟื้นฟูสีเขียว (Green Recovery) รวมจำนวน 20 โครงการ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ 19 หน่วยงาน ทั้งนี้ จะดำเนินโครงการผ่านรูปแบบความร่วมมือที่สำคัญ เช่น การจัดทำรายงานการศึกษาวิจัยร่วม การทบทวนนโยบายและบทวิเคราะห์อื่น ๆ การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูลทางสถิติในการวิเคราะห์และการจัดการประชุม สัมมนา และการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกัน เป็นต้น
1.2 ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา          ฝ่ายไทยและฝ่าย OECD จะร่วมกันสนับสนุนจำนวนเงิน รวมทั้งสิ้น 5,598,950 ยูโร แบ่งเป็น
- งบประมาณที่ OECD เสนอให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานไทย รวมทั้งสิ้น 2,545,000 ยูโร (ร้อยละ 45)
- งบประมาณที่รัฐบาลไทยจะสนับสนุนสมทบให้ OECD รวมทั้งสิ้น 3,053,950 ยูโร (ร้อยละ 55)
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณแจ้งว่า นายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลางฯ จำนวน 166.7201 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 2 โดยเบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน จำนวน 119.1041 ล้านบาท และงบดำเนินงาน จำนวน 47.6160 ล้านบาท โดยในส่วนของงบเงินอุดหนุนจัดสรรให้กับ สศช. จำนวนทั้งหมด เพื่อดำเนินการมอบให้กับ OECD และขอให้ สศช.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
1.3 ระยะเวลาดำเนินโครงการ          ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา 3 ปี เมื่อมีการลงนามจากคู่ภาคีทั้งสองฝ่ายโดยสามารถต่ออายุได้อีกแต่ไม่เกิน 3 ปี
1.4 ทรัพย์สินทางปัญญา          ผลงานที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของคู่ภาคีภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ จะถือเป็นสิทธิร่วมกันของคู่ภาคีโดยก่อนจะให้สิทธิ์ใด ๆ แก่บุคคลที่สาม ภาคีแต่ละฝ่ายจะต้องให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร
1.5 การระงับข้อพิพาท          บันทึกความเข้าใจฯ มีผลบังคับใช้บนเจตนาของความร่วมมือและประสานงาน คู่ภาคีจะดำเนินการเจรจาอย่างฉันมิตรเป็นลำดับแรกเพื่อระงับข้อพิพาท โดยหากคู่ภาคีไม่สามารถระงับข้อพิพาทได้อย่างฉันมิตรจะต้องระงับโดยอนุญาโตตุลาการ ซึ่งจะถือเป็นที่สิ้นสุด

                    2) สศช. ได้มีหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้เสนอความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องประกอบการนำเสนอคณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงการต่างประเทศ (กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีข้อขัดข้องต่อสารัตถะ/ไม่มีข้อขัดข้องในหลักการและถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ทั้งนี้ ร่างบันทึกความเข้าใจฯ เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่ไม่เข้าลักษณะหนังสือสัญญาที่จะต้องเสนอขอความเห็นชอบของรัฐสภา
1องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD)

34. เรื่อง ผลการประชุมระดับโลกว่าด้วยนโยบายวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนของยูเนสโก
(Mondiacult 2022)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบทั้ง 2 ข้อ ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบผลการประชุมระดับโลกว่าด้วยนโยบายวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนของยูเนสโก (Mondiacult 2022)1
                    2. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามปฏิญญาฉบับสุดท้ายของการประชุม Mondiacult 2022 เพื่อจะได้ขับเคลื่อนงานตามภารกิจที่รับผิดชอบและบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันต่อไป                         และให้ วธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและคณะผู้แทนไทยได้เข้าร่วมการประชุม Mondiacult 2022 ระหว่างวันที่ 28 - 30 กันยายน 2565 ณ กรุงเม็กชิโกซิตี้ สหรัฐเม็กชิโก ผ่านระบบการประชุมทางไกล ในหัวข้อ ?อนาคตของเศรษฐกิจสร้างสรรค์? มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมได้กล่าวในที่ประชุมว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์2 ถือเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงเวลาที่เกิดสถานการณ์ความผันผวนต่าง ๆ (เช่น การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) และเป็นรากฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยได้มีการดำเนินการตามแนวคิด ?เศรษฐกิจวัฒนธรรมใหม่ สร้างรายได้ เสริมคุณค่า พัฒนาสังคม? เพื่อเพิ่มโอกาสทางอาชีพ สร้างรายได้
                              2) ที่ประชุมได้ร่วมกันรับรองปฏิญญาฉบับสุดท้ายของการประชุม Mondiacult 2022 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (27 กันยายน 2565) เห็นชอบร่างปฏิญญาฉบับสุดท้ายฯ และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายรับรองปฏิญญาฉบับสุดท้ายฯ ตามที่ วธ. เสนอ] เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 มีสาระสำคัญ เช่น (1) การเป็นข้อผูกพันของประเทศสมาชิกที่จะมีแผนงานร่วมกันในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของนโยบายสาธารณะด้านวัฒนธรรม (2) การกล่าวถึงสิทธิทางวัฒนธรรมที่จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาให้มีการระบุไว้ในนโยบายสาธารณะ เช่น สิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมของศิลปิน สิทธิเสรีภาพทางศิลปะ และสิทธิของกลุ่มชนพื้นเมืองในการสงวนรักษาและส่งผ่านองค์ความรู้ที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ (3) การยกระดับการปราบปรามการลักลอบค้าทรัพย์สินทางวัฒนธรรมผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อคุ้มครองแหล่งโบราณคดีที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงเพราะไม่ได้ขึ้นบัญชีไว้ และเพื่อป้องกันการขุดค้นโดยผิดกฎหมายและการลักขโมย และ (4) การกำหนดให้มีการประชุมเวทีระดับโลกว่าด้วยนโยบายวัฒนธรรมขึ้นทุก 4 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2568
                              3) เนื่องจากผลการประชุมฯ มีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านนโยบายวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งเพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับการเข้าร่วมการประชุมเวทีระดับโลกว่าด้วยนโยบายวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2568 จึงเห็นควรมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง5 ได้แก่ กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงแรงงาน วธ. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)  กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) และสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) (สบร.) บูรณาการทำงานร่วมกันต่อไป

1การประชุม Mondiacult จัดขึ้นมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกที่เม็กชิโก ในปี พ.ศ. 2525 และครั้งที่ 2 ที่ราชอาณาจักรสวีเดน ในปี         พ.ศ. 2541 ซึ่งที่ผ่านมาเป็นการรวบรวมแนวความคิดเกี่ยวกับคำจำกัดความของมรดกทางวัฒนธรรม การแสดงออกทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ และความสำคัญต่อมนุษย์และสังคม อันเป็นที่มาของอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม ค.ศ. 2005 ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ซึ่งการประชุม Mondiacult 2022 ในครั้งนี้ เป็นการสนทนาในระดับรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายด้านวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั่วโลก ตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 เพื่อร่วมกันหารือสำหรับการพัฒนาภาควัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และการสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกมีการปรับนโยบายทางวัฒนธรรมเพื่อรับมือความท้ายร่วมสมัย
2เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ การพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์บนฐานขององค์ความรู้ ทรัพย์สินทางปัญญาและการศึกษาวิจัยซึ่งเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ การสั่งสมความรู้ของสังคม เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อใช้ในการพัฒนาธุรกิจ การผลิตสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่ ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจหรือคุณค่าทางสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิต           เพิ่มการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคม และเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของไทย และการดำเนินโครงการ 5F3 ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจใหม่ (BioCircular-Green Economy: BCG) รวมไปถึงการส่งเสริม Soft Power4 ของไทย               ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
3โครงการ 5F หมายความถึง อาหาร (Food) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (FiIm) ผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่น (Fashion) มวยไทย (Fighting) และการอนุรักษ์และขับเคลื่อนเทศกาลและประเพณีสู่ระดับโลก (Festival)
4Soft Power เป็นการขยายอิทธิพล การเปลี่ยนแปลงความคิด การทำให้ผู้อื่นมีส่วนร่วม หรือการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้อื่นโดยไม่ได้ใช้อำนาจบังคับขู่เข็ญ
5 วธ. แจ้งว่า จะประสานรายละเอียดการดำเนินการต่าง ๆ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

35. เรื่อง  การลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและองค์การทางทะเลระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการตรวจสอบประเทศสมาชิกองค์การทางทะเลระหว่างประเทศภาคบังคับ
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอการลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization: IMO)* เกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการตรวจสอบประเทศสมาชิกองค์การทางทะเลระหว่างประเทศภาคบังคับ (Memorandum of Cooperation between Thailand and the International Maritime Organization concerning Participation in the IMO Member State Audit Scheme: IMSAS) และการเตรียมการเข้ารับการตรวจสอบตาม IMSAS ของประเทศไทย [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (16 มิถุนายน 2563) ที่เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือฯ IMSAS และอนุมัติให้อธิบดีกรมเจ้าท่าหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามบันทึกความร่วมมือดังกล่าว รวมทั้งอนุมัติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม IMSAS ตามกำหนดการของ IMO ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความร่วมมือดังกล่าว ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ คค. ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. อธิบดีกรมเจ้าท่าได้ลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือฯ IMSAS เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 และ IMO ได้ส่งบันทึกความร่วมมือฉบับลงนามสมบูรณ์ให้กรมเจ้าท่าแล้ว เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 อย่างไรก็ตาม บันทึกความร่วมมือฉบับที่ลงนามดังกล่าว มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาจากฉบับที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563 แต่ยังคงสาระสำคัญเดิมและไทยสามารถปฏิบัติได้ภายใต้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับในปัจจุบัน ประกอบกับการลงนามในบันทึกความร่วมมือดังกล่าวเป็นการดำเนินการในฐานะรัฐสมาชิก IMO โดยไม่ก่อให้เกิดพันธกรณีใหม่หรือเพิ่มเติมขึ้นแต่ประการใดและไม่ถือเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สรุปรายละเอียดของการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมได้ ดังนี้
                              1.1 ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจสอบติดตามผล ณ สถานที่จริงในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามกรอบและขั้นตอน โดยมีการนำการติดตามผลการตรวจสอบและการเตรียมการสำหรับการตรวจสอบทางไกลซึ่งนำมาใช้ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เพื่อให้เกิดความชัดเจนในกระบวนการตรวจสอบของ IMO
                              1.2 ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตการตรวจสอบของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานการฝึกอบรม การออกประกาศนียบัตร และการเข้ายามสำหรับคนประจำเรือ โดยให้ดำเนินการตามประมวลข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานการฝึกอบรมและการเข้ายามสำหรับคนประจำเรือเพื่อลดความช้ำซ้อนของการตรวจสอบตามกรอบประมวลข้อบังคับว่าด้วยการอนุวัติการของ IMO
                              1.3 ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตของการตรวจสอบขั้นต่ำของการอนุวัติการตราสารของ IMO ด้านบริหาร กฎหมาย และด้านเทคนิค เช่น (1) ขอบเขตอำนาจรัฐ (2) กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ และ (3) การแจ้งรายงานต่อ IMO และทางการอื่น ๆ เพื่อเป็นการเน้นย้ำประเด็นดังกล่าวไว้ในบันทึกความร่วมมือฯ
                              1.4 ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาตรวจสอบไทยของคณะผู้ตรวจสอบ ซึ่ง IMO จะเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนค่าใช้จ่ายในการเดินทางภายในไทยของคณะผู้ตรวจสอบ IMO     ไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวซึ่งเป็นไปตามกรอบและขั้นตอนสำหรับ IMSAS
                    2. การเตรียมการเข้ารับการตรวจสอบตาม IMSAS
                              2.1 ไทยมีกำหนดการเข้ารับการตรวจสอบตาม IMSAS ระหว่างวันที่ 20 - 27 กุมภาพันธ์ 2566 หลังจากเลื่อนมา 2 ครั้ง เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 โดยการตรวจสอบดังกล่าวจะครอบคลุมการปฏิบัติตามพันธกรณีและหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะรัฐเจ้าของธง รัฐเจ้าของท่า และรัฐชายฝั่งภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศด้านความปลอดภัยและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลของ IMO ซึ่งไทยเป็นภาคี จำนวน 6 ฉบับ
                              2.2 การเตรียมการเข้ารับการตรวจสอบตามโครงการ IMSAS คค. โดยคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อประสานงานกับ IMO ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำและขับเคลื่อนกลยุทธ์เพื่อดำเนินการตามพันธกรณีอนุสัญญาระหว่างประเทศของ IMO เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อน ติดตาม ประเมิน และทบทวนผลการดำเนินการตามกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการเพื่อให้การดำเนินการตามพันธกรณีดังกล่าวประสบผลสำเร็จและบรรลุผลตามเป้าหมาย พร้อมทั้งได้รับรองแผนกลยุทธ์การดำเนินการตามข้อกำหนดของ IMO ของไทย
                              2.3 กรมเจ้าท่าโดยคณะอนุกรรมการจัดทำและขับเคลื่อนกลยุทธ์ฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก้ไขข้อบกพร่องในการดำเนินการพันธกรณีต่าง ๆ ของไทยอย่างต่อเนื่องโดยปัจจุบันไทยมีความพร้อมสำหรับการตรวจสอบตาม IMSAS ประกอบกับกรมเจ้าท่าได้จัดประชุมเตรียมการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อซักซ้อมความเข้าใจในรายละเอียดต่าง ๆ แล้วเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565
*IMO เป็นองค์กรกลางในการกำหนดกรอบมาตรฐาน แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศผ่านการให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามอนุสัญญา พิธีสาร กฎและข้อบังคับ ซึ่งปัจจุบัน IMO มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 174 ประเทศ

36. เรื่อง สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบทั้ง 2 ข้อ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
                    2. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมสุดยอดอาเซียนฯ ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าผลการประชุมสุดยอดอาเซียนฯ ต่อไป
                    และให้ กต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงคมนาคมไปดำเนินการต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า
                    1. เมื่อวันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2565 ราชอาณาจักรกัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนปี 2565 ได้จัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงพนมเปญ กัมพูชา              รวม 16 การประชุม สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ/ผลการประชุมสุดยอดอาเซียนฯ
(1) ภาพรวม          - การประชุมสุดยอดอาเซียนฯ ครั้งนี้ถือเป็นบทสรุปของการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของกัมพูชาในปี 2565 ภายใต้แนวคิดหลัก ?อาเซียน เอ.ซี.ที : รับมือความท้าทายร่วมกัน? (ASEAN ACT: Addressing Challenges Together) ซึ่งในช่วงเวลานี้อาเซียนต้องเผชิญความท้าทายในหลายมิติ เช่น ผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019       (โควิด-19) วิกฤตด้านอาหารและพลังงาน สถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
- นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมในกรอบอาเซียนจำนวน 16 การประชุม เช่น              การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 การประชุมสุดยอดกับคู่เจรจา (เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา) การประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม และการพบหารือระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้แทนรัฐสภา เยาวชน และภาคธุรกิจ และเข้าร่วมการประชุม ASEAN Global Dialogue  ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ                 ?การฟื้นฟูหลังโควิด-19 อย่างครอบคลุม?
- นายกรัฐมนตรีร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมสุดยอดอาเซียน จำนวน                  26 ฉบับ รวมทั้งแสดงวิสัยทัศน์ในประเด็นความเป็นอยู่ของประขาชนอาเซียน การรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค โดยเน้นแนวทาง ?การสร้างปัจจุบันให้เข้มเข็ง-ร่วมแรงสู่อนาคต-เคารพวิถีอาเซียน? นอกจากนี้ ได้กล่าวถ้อยแถลงร่วมของอาเซียนในการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 25 ด้วย
(2) การสร้างความเข้มแข็งแก่ประชาคมอาเซียน          - ความมั่นคงทางสาธารณสุข สนับสนุนให้ศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ (ASEAN Centre for Public Health Emergencies and Emerging Diseases: ACPHEED) สามารถเริ่มดำเนินการได้โดยเร็ว ซึ่งไทยได้รับเลือกให้เป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการศูนย์ฯ
- ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน ผู้นำอาเซียนและคู่เจรจาแสดงความห่วงกังวลเกี่ยวกับวิกฤตด้านอาหารและพลังงาน ซึ่งมีสาเหตุทั้งจากสถานการณ์ในยูเครนและปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยไทยได้เสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยความมั่นคงทางอาหารโลกที่ยั่งยืนในปี 2566
- การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ที่ประชุมย้ำความสำคัญของการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทั้งภายในอาเซียนและกับหุ้นส่วนภายนอก และใช้ประโยชน์จากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) และความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจา โดยได้ประกาศการสรุปผลการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และการเริ่มต้นการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน รวมทั้งสนับสนุนการเจรจาทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอรับการสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพจัดงานเอ็กซ์ โปวาระพิเศษ ค.ศ. 2028 ของไทย
- ความร่วมมือด้านดิจิทัลและนวัตกรรม อาเซียนและคู่เจรจาเห็นพ้องถึงความจำเป็นในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านดิจิทัลและนวัตกรรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล  การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาขีดความสามารถและทักษะของผู้ประกอบการ Startup และวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และรายย่อย (Micro Small and Medium Enterprises: MSMEs) และความมั่นคงทางไซเบอร์ โดยจีนได้ประกาศสนับสนุนการฝึกอบรมแก่บุคลากรด้านดิจิทัล 1,000 คน ใน 3 ปีข้างหน้า และอินเดียประกาศให้งบประมาณสนับสนุนกองทุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาเซียน-อินเดีย เพิ่มเติม 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(3) การสร้างโอกาสสำหรับอนาคตที่ยั่งยืน           - ความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น ไทยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และความเชี่ยวชาญในสาขาความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว [Bio-Circular Green (BCG) Economy] กับประเทศสมาชิกอาเซียนและหุ้นส่วนภายนอก เช่น เศรษฐกิจหมุนเวียนและการเกษตรอัจฉริยะ นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกาได้ประกาศข้อริเริ่มโครงสร้างพื้นฐานยานยนต์ไฟฟ้าระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ เพื่อช่วยพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค
- การสร้างพลังให้แก่ประชาชน ผู้นำอาเซียนย้ำถึงการสร้างโอกาสและขีคความสามารถให้แก่ประชาชนทุกกลุ่ม โดยคู่เจรจาได้สนับสนุนความพยายามและการดำเนินงานของอาเซียน เช่น ออสเตรเลียประกาศสนับสนุนงบประมาณ 154 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3,400 ล้านบาท) ภายใต้ข้อริเริ่ม Australia for ASEAN Future Initiatives เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และความร่วมมือเพื่อรับมือกับความท้าทายของภูมิภาค
(4) การสมัครเป็นสมาชิกอาเซียนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์เลสเต          ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบในหลักการที่จะรับติมอร์-เลสเตเป็นสมาชิกลำดับที่ 11 ของอาเซียน และให้ติมอร์-เลสเตเข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ ของอาเซียนได้ในฐานะ                ผู้สังเกตการณ์ โดยอาเซียนจะจัดทำแผนงานเพื่อระบุหลักเกณฑ์ที่ติมอร์-เลสเตต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนอย่างเต็มตัวในอนาคต
(5) การส่งเสริมบรรยากาศแห่งสันติภาพและความร่วมมือ           - ผู้นำอาเซียนเน้นย้ำการเร่งส่งเสริมความร่วมมือกายใต้มุมมองอาเซียนต่อ                   อินโด-แปซิฟิก (ASEAN Outlook on the Indo-Pacific: AOIP) เพื่อเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน ทั้งนี้ คู่เจรจาหลายประเทศได้เสนอยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก         ซึ่งส่วนใหญ่สอดคล้องกับ AOIP และสนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมภูมิภาค
- ผู้นำอาเซียนเห็นชอบกับข้อเสนอการเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้านระหว่าง            อาเซียนกับอินเดียและอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา รวมทั้งเห็นชอบกับข้อเสนอของญี่ปุ่นใน               การจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 26 ณ อินโดนีเซียและการประชุมสุดยอด           อาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ฯ ที่กรุงโตเกียว                 ในปี 2566 นอกจากนี้ สาธารณรัฐเกาหลีได้ประกาศ ASEAN-Korea Solidarity Initiative ซึ่งครอบคลุมความร่วมมืออาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี และสอดคล้องกับ AOIP รวมทั้งประกาศให้งบประมาณสนับสนุนกองทุนความร่วมมืออาเซียนสาธารณรัฐเกาหลี เพิ่มเติม 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐในระยะเวลา 5 ปี และแคนาดาประกาศจัดตั้งกองทุนความร่วมมืออาเซียน-แคนาดา เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการอาเซียน-แคนาดา
(6) สถานการณ์ระหว่างประเทศและในภูมิภาค          - สถานการณ์ในเมียนมา เช่น ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบเอกสารการทบทวนและข้อตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้อ* โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจัดทำแผนการดำเนินงานตามฉันทามติฯ และให้เชิญผู้แทนที่ไม่ไช่ระดับการเมืองของเมียนมาเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ซึ่งไทยได้เน้นย้ำความจำเป็นถึงการรักษาช่องทางการปฏิสัมพันธ์กับเมียนมาต่อไป นอกจากนี้ ผู้นำบางประเทศ เช่น สิงคโปร์และสหรัฐฯ รวมทั้งเลขาธิการสหประชาชาติได้แสดงความห่วงกังวลต่อการกระทำของรัฐบาลเมียนมา และแสดงความผิดหวังที่เมียนมาไม่ให้ความร่วมมือกับอาเซียนในการดำเนินการตามฉันทามติฯ               โดยสหรัฐฯ จะยังคงใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจและเพิ่มแรงกดดันต่อรัฐบาลเมียนมาต่อไป
- ทะเลจีนใต้ อาเซียนและคู่เจราเห็นพ้องต่อความสำคัญของการรักษาสันติภาพเสถียรภาพ ความปลอดภัย เสรีภาพในการเดินเรือและบินผ่านในทะเลจีนใต้ และย้ำถึงความจำเป็นในการแก้ไขข้อพิพาทโดยสันติวิธี รวมทั้งสนับสนุนการเจรจาประมวลการปฏิบัติในทะเล จีนใต้ (Code of Conduct: COC) ที่สอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศรวมถึงอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) ค.ศ 1982
- สถานการณ์ในยูเครน เช่น ผู้นำอาเซียนเน้นย้ำหลักการตามกฎบัตรสหประชาชาติและสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) โดยเฉพาะการเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน รวมทั้งเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกันและเห็นพ้องถึงความจำเป็นที่อาเซียนจะต้องหาแนวทางรับมือกับผลกระทบด้านอาหารและพลังงานจากความขัดแย้งในยูเครน
(7) การส่งมอบตำแหน่งประธานอาเซียนปี 2566
แก่อินโดนีเซีย          ในช่วงพิธีปิดการประชุมสุดยอดอาเซียนฯ กัมพูชาได้ส่งมอบตำแหน่งประธานอาเซียนให้แก่อินโดนีเซีย โดยประธานาธิบดีอินโดนีเซียได้ประกาศแนวคิดหลักของการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนปี 2566 ได้แก่ ?ASEAN Matters: Epicentrum of Growth?โดยการทำหน้าที่ประธานอาเซียนของอินโดนีเซียจะเริ่มต้นในวันที่ 1 มกราคม 2566
                    2. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า การประชุมยอดอาเซียนฯ มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่าง ๆ เช่น

ประเด็น          การดำเนินการที่สำคัญ          หน่วยงานที่รับผิดชอบ
การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41
(1) การสร้างประชาคมอาเซียน          ส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นผ่านการขจัดอุปสรรคทางการค้า การใช้ประโยชน์จากความตกลงทางเศรษฐกิจของอาเซียน และความตกลง RCEP          กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(2) การสมัครเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต          ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบในหลักการที่จะรับติมอร์-เลสเตเป็นสมาชิกลำดับที่ 11ของอาเซียน และให้ติมอร์-เลสเตสามารถเข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ ของอาเซียนได้ในฐานะผู้สังเกตการณ์ โดยอาเซียนจะจัดทำแผนงานระบุหลักเกณฑ์ที่ติมอร์-เลสเตต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนที่จะเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนอย่างเต็มตัวในอนาคต          กต. กระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์
(พม.) พณ. และหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง

(3) สถานการณ์ในเมียนมา          ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบเอกสารการทบทวนและข้อตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินการตามฉันทามติฯ เช่น มอบหมายให้รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจัดทำแผนการดำเนินงาน และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มจะดำเนินการโดยผู้แทนพิเศษของประธานอาเซียน          กต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 25
(1) ภาพรวม          ที่ประชุมสนับสนุนการขับเคลื่อนความสัมพันธ์อาเซียน- จีน ในฐานะหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้านให้เกิดผลเป็นรูปธรรม          กต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(2) เศรษฐกิจและการฟื้นฟูหลังการระบาด          ที่ประชุมสนับสนุนการยึดมั่นในระบบการค้าพหุภาคีและการรักษาห่วงโซ่อุปทานการค้าและการลงทุนผ่านความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ASEAN China Free Trade Agreement: ACFTA) และจะสานต่อความร่วมมือเพื่อรับมือกับโรคโควิด-19 และความร่วมมือด้านสาธารณสุขผ่านการกระจายวัคซีน การวิจัยและพัฒนาวัคซีนและยา และสนับสนุนการฟื้นฟูของภูมิภาคที่สอดคล้องกับแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ในการสนับสนุนกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน          กต. พณ. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การประชุมสุดยอดอาเซียนสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 23
(1) ภาพรวม          ที่ประชุมมุ่งพัฒนาความสัมพันธ์อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี และความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ภายใต้การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลีเพื่อปฏิบัติตามถ้อยแถลงวิสัยทัศน์ร่วมเพื่อสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นหุ้นส่วน ค.ศ. 2021-2025          กต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(2) เศรษฐกิจและการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน          ประเทศสมาชิกอาเซียนเสนอให้ต่อยอดความร่วมมือในด้านที่สาธารณรัฐเกาหลีมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เมืองอัจฉริยะ และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุค 4IR พัฒนาทักษะของ MSMEs และ Startups          กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) พณ. กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
(3) ประเด็นความท้าทาย          ที่ประชุมเห็นพ้องที่จะขยายต่อความร่วมมือในด้านการจัดการภัยพิบัติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม และขยะทะเลตลอดจนอาชญากรรมข้ามชาติ การต่อต้านการก่อการร้ายและแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง ความมั่นคงทางไซเบอร์ ความมั่นคงทางทะเล ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน          เช่น กต. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม (ทส.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงทางไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)
การประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 25
(1) ภาพรวม          ที่ประชุมเห็นชอบการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ เนื่องในโอกาสการฉลองวาระครบรอบ 50 ปี ของความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่นในปี 2566 ที่ญี่ปุ่น รวมทั้งการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 26 ณ อินโดนีเซียก่อนการประชุมสุดยอดฯ สมัยพิเศษ ในปีหน้า          กต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(2) สาธารณสุข          ญี่ปุ่นยินดีต่อการจัดตั้งสำนักเลขาธิการ ACPHEED ที่กรุงเทพมหานคร และมุ่งหวังว่าอาเซียนจะสามารถจัดทำความตกลงการจัดตั้งศูนย์ฯ ได้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยญี่ปุ่นประสงค์จะส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญไปประจำยังศูนย์ ACPHEED ต่อไป          กต. และ สธ.
(3) เศรษฐกิจและการฟื้นฟูหลังโควิด-19           ที่ประชุมเห็นพ้องที่จะส่งเสริมการฟื้นตัวจากโรคโควิด-19 อย่างยั่งยืนในระยะยาว และย้ำความสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล การเสริมสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาค และการเสริมสร้างศักยภาพของ MSMEa โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี          ดศ. พณ. กต. สคช. กระทรวงคมนาคม (คค.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งที่ 10
(1) เศรษฐกิจ          ที่ประชุมย้ำความสำคัญของการส่งเสริมการค้าและการลงทุน การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล โดยไทยผลักดันการขยายลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและการพัฒนาขีดความสามารถด้านดิจิทัลให้แก่แรงงานและผู้ประกอบการซึ่งรวมถึงการสร้างโอกาสทางธุรกิจภายใต้กิจกรรม Trade Winds Business Forum ที่ไทย ในปี 2566          กค. ดศ. และ พณ.
(2) สังคม วัฒนธรรม และ
การพัฒนาที่ยั่งยืน          สหรัฐฯ แสดงความสนใจที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ ACPHEED          สธ.
การประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย ครั้งที่ 2
(1) เศรษฐกิจ          ที่ประชุมรับทราบว่า โครงการ Australia for ASEAN Futures Economic Connectivity จะเริ่มดำเนินการหลังจากที่โครงการ ASEAN-Australia Development Cooperation Phase II สิ้นสุดลงในปี 2565 เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาค การรวมตัวกันของอาเซียน และการพัฒนาเมืองอัจริยะ          พณ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(2) ความร่วมมือด้านสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม          ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอของออสเตรเลียในการเป็นประธานร่วมคู่กับเวียดนามและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในการจัดการประชุม ASEAN-Australia High Level Dialogue on Climate Change and Energy Transition ในปี 2566          กต. ทส. และกระทรวงพลังงาน
* ฉันทามติ 5 ข้อ ได้แก่ (1) ทุกฝ่ายหยุดความรุนแรง (2) ทุกฝ่ายเจรจาอย่างสันติ (3) ให้มีทูตพิเศษเพื่อให้เกิดกระบวนการเจรจา (4) อาเซียนช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และ (5) ทูตพิเศษเข้าไปเมียนมาเพื่อพูดคุยกับทุกฝ่าย

37. เรื่อง กรอบการเจรจาสำหรับกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด - แปซิฟิก (Indo - Pacific Economic Framework: IPEF)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบพัฒนาการการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนผลประโยชน์ของไทยและความร่วมมือภายใต้ (Indo - Pacific Economic Framework: IPEF) เพื่อนำไปสู่ผลประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งรวมถึงการรับรองถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรี IPEF จำนวน 4 ฉบับ เมื่อวันที่ 8 - 9 กันยายน 2565 และการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานในกรอบ IPEF รวมทั้งเห็นชอบร่างกรอบการเจรจาสำหรับ IPEF เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณากำหนดท่าทีไทยและการดำเนินความร่วมมือภายใต้กรอบ IPEF ต่อไป โดยมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามกรอบการเจรจาฯ ต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับส่วนราชการที่เป็นผู้รับผิดชอบหลักรายสาขาไว้จัดทำร่างกรอบการเจรจาสำหรับ IPEF และได้จัดการประชุมร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆ รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 เพื่อหารือแนวทางการผลักดันและขับเคลื่อนผลประโยชน์ของไทยในกรอบ IPEF และรับฟังข้อคิดเห็นของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อแนวทางการจัดทำร่างกรอบการเจรจาดังกล่าว
                    2. ร่างกรอบการเจรจาฯ ประกอบด้วย 4 เสาความร่วมมือ ได้แก่ (1) ด้านการค้า (2) ด้านห่วงโซ่อุปทาน (3) ด้านเศรษฐกิจที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ (4) ด้านเศรษฐกิจที่เป็นธรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนกรอบ IPEF ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในภาพรวมต่อประเทศ โดยสาระของการดำเนินความร่วมมือภายใต้กรอบ IPEF ควรสอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่มีอยู่ในปัจจุบันหรืออาจต่อยอดจากพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องของไทย ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ โดยคำนึงถึงความพร้อมและระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ และพิจารณาถึงความยืดหยุ่นที่เหมาะสม ตลอดจนส่งเสริมให้มีความร่วมมือในการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค การเสริมสร้างขีดความสามารถ และการจัดทำความร่วมมือที่เป็นประโยชน์สำหรับประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายในด้านต่าง ๆ

แต่งตั้ง
38. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง นางสาวศศิริทธิ์ ตันกุลรัตน์ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพิธีการทูต เพื่อทดแทนตำแหน่งที่จะว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
                    1. นายอิทธิพล ช่างกลึงดี ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                     2. นายทัศพันธ์ พงษ์เภตรา ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

40. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแต่งตั้ง นางภานุมาศ         สิทธิเวคิน กรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคำสั่งให้รักษาราชการแทนตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

41. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอแต่งตั้ง นายณัฐวุฒิ กลางณรงค์ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป

42. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงสาธารณสุข)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ดังนี้
                     1. นายเธียรชัย สุวรรณเพ็ญ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
                     2. นางสาวเจนจิรา รัตนเพียร ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป

43. เรื่อง ขอความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นางมิ่งขวัญ สุพรรณพงศ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม และการกำหนดอัตราค่าตอบแทนตามมติคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป แต่ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ

44. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายไพรินทร์         ชูโชติถาวร เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ แทน นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2565 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ