สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 มีนาคม 2566

ข่าวการเมือง Tuesday March 21, 2023 16:08 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (21 มีนาคม 2566)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566
                    2.            เรื่อง           แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร

เศรษฐกิจ-สังคม
                    3.           เรื่อง           สรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 1/2566
                    4.           เรื่อง           ความก้าวหน้าของการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนมกราคม 2566
                    5.           เรื่อง           รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี : การนำเสนอ                                                  วัฒนธรรมของประเทศในลักษณะ Soft Power
                    6.           เรื่อง           สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน

ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

                    7.           เรื่อง           รายงานสรุปผลการดำเนินงานของรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มี                                                  ผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ในห้วงวันที่ 1 ตุลาคม 2564-30 กันยายน 2565
                    8.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566

ต่างประเทศ

                    9.           เรื่อง           รายงานผลการเดินทางเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ของรองนายกรัฐมนตรีและ                                                  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
                    10.           เรื่อง           สรุปผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 3 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    11.           เรื่อง            การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันการต่างประเทศ                                        เทวะวงศ์วโรปการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย กับสถาบัน                                                  การทูตฮังการี กระทรวงการต่างประเทศและการค้าแห่งฮังการี

?
กฎหมาย
1. เรื่อง พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566
                       คณะรัฐมนตรีรับทราบพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติแทนคณะรัฐมนตรี ในการตราร่างพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร                  พ.ศ. 2566 ซึ่งได้ประกาศใช้บังคับในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566

พระราชกฤษฎีกา ประกอบด้วย 5 มาตรา มีสาระสำคัญให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ เป็นการเลือกตั้งทั่วไป และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

2. เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ และมอบหมายให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป

ด้วยพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ได้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2566 สลค. จึงขอเสนอ

1. แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร และให้แจ้งหน่วยงานต่าง ๆ ทราบและถือปฏิบัติต่อไป ดังนี้

1.1. ด้านนิติบัญญัติ

1.1.1 สมาชิกสภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงทันทีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรมีผลใช้บังคับ1 และต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน2

1.1.2 เงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะคำนวณถึงก่อนวันยุบสภาผู้แทนราษฎร 1 วัน

1.1.3 ภายใน 5 วันนับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการการเลือกตั้งจะประกาศกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันที่ยุบสภาผู้แทนราษฎร3

1.1.4 กระทู้ถามและญัตติทั้งหมดตกไป4

1.1.5 กรรมาธิการสามัญและกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎรพ้นจาก ตำแหน่ง5

1.1.6 ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาและได้ส่งให้รัฐบาลนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ไม่ตกไป และดำเนินการต่อไปได้6

1.1.7 ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมหรือร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วแต่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยหรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา ให้เป็นอันตกไป7

1.1.8 ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมหรือร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบ ให้เป็นอันตกไป เว้นแต่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะร้องขอต่อรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี พิจารณาต่อไป ภายใน 60 วันนับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป8 [หมายเหตุ : มาตรา 85 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องประกาศผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว แต่ต้องไม่ช้ากว่า 60 วันนับแต่วันเลือกตั้ง และมาตรา 121 บัญญัติให้ภายใน 15 วันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก]

1.1.9 วุฒิสภายังไม่สิ้นสุด9 แต่จะมีการประชุมวุฒิสภามิได้เว้นแต่10

(1) กรณีที่ต้องประชุมเพื่อดำเนินการบางประการที่รัฐธรรมนูญกำหนด เช่น การแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งไว้ก่อน การปฏิญาณตนของผู้สำเร็จราชการในพระองค์ การประกาศสงคราม เป็นต้น

(2) กรณีที่ต้องประชุมเพื่อทำหน้าที่พิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ [ได้แก่ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 204 และมาตรา 207) กรรมการการเลือกตั้ง (มาตรา 222 และมาตรา 223) ผู้ตรวจการแผ่นดิน (มาตรา 228 และมาตรา 229 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (มาตรา 232 และมาตรา 233) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (มาตรา 238มาตรา 239 และมาตรา 241) และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (มาตรา 246)] [หมายเหตุ : กรณีวุฒิสภาต้องดำเนินการประชุมข้างต้น มาตรา 126 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการประกาศเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญและประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ]

1.1.10 คณะกรรมาธิการของวุฒิสภาจะพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แหนราษฎรมิได้ เว้นแต่จะดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมาธิการนั้น ๆ หรือตามที่วุฒิสภามอบหมาย11

1.2 คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี

1.2.1 สถานะของคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี

                                                  (1) คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง แต่ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป               (ไม่เรียกว่า รักษาการ และได้รับเงินเดือนแต่ยังไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน) (มาตรา 168 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย)

(2) คณะรัฐมนตรียังคงมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศเท่าที่จำเป็นทุกประการ กรณีมีสถานการณ์คุกคามความมั่นคงของชาติ ย่อมมีอำนาจหน้าที่ที่จะประกาศมาตรการเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติได้ เช่น ประกาศภาวะฉุกเฉินหรือประกาศกฎอัยการศึก เป็นต้น12

(3) การลงชื่อตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรียังคงลงชื่อในตำแหน่งเดิม มิใช่เป็นการรักษาการหรือรักษาการในตำแหน่ง13

(4) นายกรัฐมนตรีจะปรับรัฐมนตรีออก หรือรัฐมนตรีจะลาออกก็กระทำได้ แต่ไม่ควรแต่งตั้งแทน14

1.2.2 การปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี

(1) การประชุมคณะรัฐมนตรี15

(1.1) คณะรัฐมนตรีประชุมต่อไปได้ตามปกติจนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาจัดเฉพาะระเบียบวาระที่เป็นไปตามปกติปฏิบัติ

(1.2) สำหรับเรื่องใดที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีและมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการหรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะกลั่นกรองไว้ชั้นหนึ่งก่อน แล้วเสนอคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี เพื่อมีมติหรือคำสั่งให้เสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ต่อไป

(2) การอนุมัติงานหรือโครงการ (มาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย)

(2.1) ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป เว้นแต่ที่กำหนดไว้แล้วในงบประมาณรายจ่ายประจำปี

(2.2) การกระทำใด ๆ ที่มีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะกระทำมิได้ เช่น การกำหนดนโยบายหรือแนวทางปฏิบัติที่มีผลต้องดำเนินการต่อเนื่อง

(3) การแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากตำแหน่ง (มาตรา 169 (2) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย)

(3.1) ไม่แต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำหรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือพ้นจากตำแหน่ง หรือให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน

(3.2) การใช้อำนาจตามข้อ (3.1) จะต้องกระทำเท่าที่จำเป็นและต้องเป็นไปเพื่อรักษาประโยชน์ของรัฐรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะและต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน

การใช้อำนาจดังกล่าวให้หมายความรวมถึงกรณีที่มีกฎหมาย กฎ หรือระเบียบกำหนดเป็นเงื่อนไขให้การแต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือพันจากตำแหน่ง หรือให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน นั้น มีผลต่อเมื่อคณะรัฐมนตรีได้รับทราบ อนุญาต อนุมัติ เห็นชอบ หรือการดำเนินการอื่นที่มีผลลักษณะเดียวกัน

(3.3) เมื่อมีกรณีที่ต้องขอรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้

(ก) จัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง โยกย้าย การให้พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากตำแหน่ง หรือให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน

(ข) ประวัติย่อของบุคคลดังกล่าว

(ค) จัดทำสรุปสาระสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งรวมถึงกระบวนการ เหตุผลในการพิจารณา รวมทั้งเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องใช้อำนาจในระหว่างเวลาดังกล่าว

ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้การแต่งตั้งโยกย้าย การให้พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากตำแหน่ง หรือให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทนเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรี ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลดังกล่าว และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน

(3.4) ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือในการส่งผู้แทนไปชี้แจงหรือส่งข้อมูลเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งร้องขอ

(3.5) เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัตินี้ คำว่า ?กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่?16 ให้พิจารณาโดยคำนึงถึงกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองและระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง พ.ศ. 2563 ด้วย [หมายเหตุ ข้อ (3.2) - (3.5) เป็นไปตามแนวปฏิบัติและขั้นตอนดำเนินการตามมาตรา 169 (2) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง]

(4) การอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (มาตรา 169 (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย)

(4.1) ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน

(4.2) การกระทำตามข้อ (4.1) จะต้องกระทำเท่าที่จำเป็น และต้องเป็นไปเพื่อรักษาประโยชน์ของรัฐ รักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการหรือเป็นการบรรเทาภัยพิบัติแก่ประชาชน และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน

การดำเนินการดังกล่าวจะกระทำได้เฉพาะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ ที่มีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณนอกเหนือจากที่ได้รับการจัดสรร หรือที่ได้รับการจัดสรรไปแล้วแต่ไม่เพียงพอและมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องขอใช้บประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อฉุกเฉินหรือจำเป็น

(4.3) เมื่อมีกรณีที่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าว ให้สำนักงบประมาณรวมรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเหตุผลและความจำเป็นในการขอใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นของส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณรายจ่ายดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

(4.4) ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ หน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือในการส่งผู้แทนไปชี้แจง หรือส่งข้อมูลเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งร้องขอ [หมายเหตุ ข้อ (4.2) - (4.4) เป็นไปตามแนวปฏิบัติและขั้นตอนดำเนินการตามมาตรา 169 (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง]

(5) การใช้ทรัพยากรหรือบุคลากรของรัฐ (มาตรา 169 (4) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย)

(5.1) ไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดอันอาจมีผลต่อการเลือกตั้ง และไม่กระทำการอันเป็นการผ่าฝืนข้อห้ามตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด (ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง พ.ศ. 2563) ดังนั้น ถ้าเป็นการดำเนินการในการปฏิบัติราชการปกติ ซึ่งไม่มีผลต่อการเลือกตั้งก็ยังคงดำเนินการได้

(5.2) ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง พ.ศ. 2563 ได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้งด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้

(ก) ใช้ทรัพยากรของรัฐ หรือบุคลากรของรัฐ โดยการกำหนดนโยบาย โครงการ แผนงาน โดยให้มีผลบังคับใช้ในทันที และมีลักษณะเป็นการสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง

(ข) จัดให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่นอกเหนือจากการประชุมตามปกติ และมีการใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง

(ค) กำหนด สั่งการหรือมอบหมายให้มีการประชุม อบรม หรือสัมมนาบุคคลากรของรัฐหรือเอกชน โดยใช้เงินงบประมาณของหน่วยงานของรัฐหรือเงินของกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ โดยอาจให้มีการแจกจ่ายทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเว้นแต่เป็นการประชุมตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐหรือประชาชน แต่ต้องมิใช่เป็นการสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง

(ง) กำหนด สั่งการหรือมอบหมายให้มีการอนุมัติ โอนหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานของรัฐหรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือให้หน่วยงานของรัฐหรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ทำการแจกจ่ายทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดให้แก่ประชาชน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐหรือประชาชน แต่ต้องมิใช่เป็นการสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง

(จ) กำหนด สั่งการหรือมอบหมายให้มีการแจกจ่ายหรือจัดสรรทรัพยากรของรัฐให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด โดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่เป็นกรณีต้องดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด หรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐหรือประชาชน แต่ต้องมิใช่เป็นการสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง

(ฉ) ใช้พัสดุหรือเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากหน่วยงานของรัฐ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือใช้บุคลากรของรัฐปฏิบัติงานเพื่อสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง

(ช) ใช้ทรัพยากรของรัฐ เช่น คลื่นความถี่ หรือเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม หรือใช้งบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานของรัฐ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ที่จะเป็นการสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง

ทั้งนี้ ในกรณีใดที่ไม่ได้กำหนดไว้หรือมีเหตุจำเป็น คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจกำหนดยกเว้นหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามความในระเบียบดังกล่าวได้

(6) การปฏิบัติตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ

(6.1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560

(ก) มาตรา 73 บัญญัติห้ามมิให้ข้าราชการการเมืองใช้สถานะหรือตำแหน่งหน้าที่เรี่ยไรหรือชักชวนให้มีการบริจาคให้พรรคการเมืองหรือผู้สัมครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ไม่รวมถึงการที่ข้าราชการการเมืองผู้นั้นเข้าร่วมกิจกรรมระดมทุนของพรรคการเมือง โดยมิได้กระทำหรือมีส่วนกระทำการอันเป็นการต้องห้ามนั้น

(ข) มาตรา 76 บัญญัติห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ บริจาคเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคการเมืองหรือเข้าร่วมกิจกรรมระดมทุนของพรรคการเมือง

(6.2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561

มาตรา 73 บัญญัติห้ามมิให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น ให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัคร หรือการชักชวนให้ไปลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

(ก) จัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด

(ข) ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถานศึกษา สถานสงเคราะห์ หรือสถาบันอื่นใด

(ค) ทำการโฆษณาหาเสียงด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง ๆ

(ง) เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยงผู้ใด

(จ) หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพล คุกคาม ใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง

(7) การออกกฎหมาย17

(7.1) การเสนอร่างกฎหมายใหม่โดยเฉพาะร่างพระราชบัญญัติซึ่งเป็นเรื่องในทางนโยบาย ไม่สมควรดำเนินการเสนอในระหว่างยุบสภา ส่วนร่างอนุบัญญัติ เช่น พระราชกฤษฎีกา ร่างกฎกระทรวง ร่างระเบียบ เป็นตัน ซึ่งเป็นการกำหนดรายละเอียดการปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ ย่อมดำเนินการได้ตามปกติ

(7.2) ร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีเคยมีมติอนุมัติหลักการและส่งให้ สคก. หรือคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี (คกอ.) ตรวจพิจารณา

(ก) ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติ เมื่อ สคก.ตรวจพิจารณาแล้ว จะดำเนินการต่อไปไม่ได้ เพราะยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎร จึงต้องรอให้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่เป็นผู้พิจารณาเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร

(ข) ถ้าเป็นร่างอนุบัญญัติซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่จะดำเนินการเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไปนั้นเนื่องจากเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการไว้ก่อนที่จะมีการยุบสภา ดังนั้น เมื่อ สคก. หรือ คกอ. ตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ไปตามขั้นตอน เพื่อให้ร่างอนุบัญญัติดังกล่าวประกาศใช้บังคับต่อไปได้

(8) การแต่งตั้งคณะกรรมการ

การสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการตามกฎหมายเป็นการดำเนินการเพื่อให้มีคณะกรรมการตามกฎหมายอันจำเป็นต่อการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สามารถดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการตามกฎหมายได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข หรือกระบวนการที่กฎหมายบัญญัติและเมื่อได้แต่งตั้งแล้ว คณะกรรมการตามกฎหมายดังกล่าวสามารถปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแต่ละฉบับอันเป็นงานประจำตามปกติได้18

(9) การปฏิบัติเรื่องอื่น ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรี

(9.1) กรณีการประชุมสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชุมทางวิชาการ หากเป็นการนัดหมายล่วงหน้าก่อนพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรมีผลใช้บังคับ และเป็นการปฏิบัติตามปกติดังเช่นที่เคยปฏิบัติ รัฐมนตรีสามารถเข้าร่วมประชุมดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการหาเสียงเลือกตั้ง

(9.2) รัฐมนตรีซึ่งลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรห้ามใช้เวลาราชการในการหาเสียงเลือกตั้ง หากประสงค์จะใช้เวลาหาเสียงเลือกตั้งให้ลากิจต่อนายกรัฐมนตรี20 และกรณีที่นายกรัฐมนตรีมีความประสงค์จะลากิจ ให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการ ทั้งนี้ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 หมวด 3 การลาของข้าราชการการเมือง

(9.3) การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนของรัฐมนตรีควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกรณีการได้รับเชิญไปสัมภาษณ์ออกโทรทัศน์ในฐานะของตำแหน่งรัฐมนตรี จะให้สัมภาษณ์ได้เฉพาะหน้าที่รัฐมนตรีเท่านั้น แต่บางครั้งสื่อมวลชนอาจมีคำถามในฐานะสมาชิกพรรคการเมืองที่จะทำให้คำสัมภาษณ์ของรัฐมนตรีเป็นการให้คุณต่อพรรคการเมืองของตน ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งรัฐมนตรีกับสื่อของรัฐโดยมิชอบได้ แต่หากเป็นการเชิญผู้แทนพรรคการเมืองหลาย ๆ พรรคไปสัมภาษณ์ในลักษณะเท่าเทียมกัน ก็เป็นความรับผิดของสื่อมวลชนนั้น ๆ ไป21

(9.4) ให้รัฐมนตรีทุกท่านระมัดระวังในการดำเนินเรื่องดังต่อไปนี้ระหว่างที่พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรมีผลใช้บังคับ22

(ก) การโฆษณาประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีรูปภาพของรัฐมนตรีปรากฏอยู่ ไม่ว่าจะเป็นป้ายโฆษณา หรือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางวิทยุและโทรทัศน์ ควรจะปลดป้ายหรือยกเลิกการโฆษณาประชาสัมพันธ์ดังกล่าวทั้งหมด เว้นแต่การโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ใช้เงินของพรรคการเมืองที่ตนสังกัด

(ข) การใช้รถประจำตำแหน่งและเจ้าหน้าที่ของทางราชการที่มิได้ใช้ในการปฏิบัติภารกิจและหน้าที่ในฐานะรัฐมนตรี

(ค) การให้สัมภาษณ์รายการวิทยุและโทรทัศน์ และการรับเชิญไปบรรยายตามสถานที่ต่าง ๆ ในรายการที่ทางหน่วยงานราชการซื้อเวลาไว้หรือจัดขึ้น ยกเว้นรายการที่สถานีวิทยุหรือโทรทัศน์ที่มิใช่กิจการของรัฐจัดขึ้นเอง

(10) การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน

ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. พ.ศ. 2561 ได้กำหนดให้ในกรณีคณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะให้ถือวันที่คณะรัฐมนตรีคณะใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ เป็นวันพ้นจากตำแหน่ง ดังนั้น คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันจะยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดังนี้

(10.1) กรณีรัฐมนตรีมีสถานะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินภายใน 60 วันนับแต่วันถัดจากวันพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (วันที่ยุบสภาผู้แทนราษฎร) และต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอีกครั้งภายใน 60 วันนับแต่วันถัดจากวันพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี (วันที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณ)

(10.2) กรณีรัฐมนตรีไม่มีสถานะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินภายใน 60 วันนับแต่วันถัดจากวันพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี (วันที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณ)

(11) การผลัดเวรเฝ้าฯ ให้ปฏิบัติตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดไว้ตามปกติ

1.3 สถานะข้าราชการการเมืองอื่น

คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยมีคำวินิจฉัย (เรื่องเสร็จที่ 511/2533) ไว้ว่าสถานะข้าราชการการเมืองอื่น เช่น เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฯลฯ ยังคงอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป และพ้นจากตำแหน่งพร้อมกับการสิ้นสุดการอยู่ในตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้แต่งตั้ง แต่ต้องไม่เกินกว่าที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่

                    2. ให้ทุกส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำชับข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่และลูกจ้างในสังกัดของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 [เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป (แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0503/ว61 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562)] โดยเคร่งครัด โดยเฉพาะการให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อได้รับการร้องขอจากคณะกรรมการ              การเลือกตั้ง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง รวมทั้งการวางตัวเป็นกลางทางการเมืองของข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่และลูกจ้างทุกประเภทและทุกระดับดังกล่าวด้วย
1มาตรา 101 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เมื่อถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
2ข้อ 9 (2) ประก้อบข้อ 11 (2) แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. พ.ศ. 2561 กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินภายใน 60 วันนับแต่วันถัดจากวันพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (วันที่ยุบสภาผู้แทนราษฎร)
3มาตรา 103 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
4ข้อ 155 (4) แห่งข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 กำหนดให้กระทู้ถามตกไปเมื่อสภาสิ้นอายุ หรือสภาถูกยุบ
5ข้อ 108 แห่งข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 กำหนดให้กรรมาธิการพ้นจากตำแหน่งเมื่อสภาสิ้นอายุ หรือสภา                ถูกยุบ
6แนวทางตามข้อ 1.1.6 เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2556 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร)
7มาตรา 147 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
8มาตรา 147 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
9มาตรา 269 (4) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้ในวาระเริ่มแรก ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 250 คน  ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคำแนะนำ โดยอายุของวุฒิสภาตามมาตรานี้มีกำหนด 5 ปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง [วุฒิสภาชุดปัจจุบันได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 11พฤษภาคม 2562 (ครบวาระวันที่ 10 พฤษภาคม 2567)]
10มาตรา 126 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
11ข้อ 101 ประกอบข้อ 78 แห่งข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 (คณะกรรมาธิการมีอำนาจหน้าที่ศึกษาเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมาธิการตามที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 กำหนด เช่น คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่และอำนาจศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน แก้ไขปัญหาและพัฒนาเกษตรกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดิน น้ำและปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เป็นต้น)
12แนวทางตามข้อ 1.2.1 (2) เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2556 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร)
13ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ 6) เรื่อง การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการการเมือง (กรณีที่คณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง) (เรื่องเสร็จที่ 511/2533)
14แนวทางตามข้อ 1.2.1 (4) เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2556 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร)
15แนวทางตามข้อ 1.2.2 (1) เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2556 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร)
16ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง พ.ศ. 2563 กำหนดนิยามคำว่า ?กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่? หมายความว่า กิจการที่รัฐเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นอยู่เป็นจำนวนมากที่สุดในบรรดาผู้เป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นแต่ละคนทุกคน และจำนวนหุ้นส่วนหรือหุ้นมีจำนวนไม้น้อยกว่าหนึ่งในสามของหุ้นส่วนหรือหุ้นทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
17 แนวทางตามข้อ 1.2.2 (7) เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2556 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร) ประกอบมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร)
18 แนวทางตามข้อ 1.2.2 (8) เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2557 (เรื่อง การเสนอเรื่องเกี่ยวกับการแต่งตั้งกรรมการในช่วงการยุบสภาผู้แทนราษฎร)
19 แนวทางตามข้อ 1.2.2 (9.1) เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 (เรื่อง หารือการปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในระหว่างที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร)
20 แนวทางตามข้อ 1.2.2 (9.2) เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 (เรื่อง หารือการปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในระหว่างที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร)
21 แนวทางตามข้อ 1.2.2 (9.3) เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2556 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร)
22 แนวทางตามข้อ 1.2.2 (9.4) เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2554 (เรื่อง แนวทางการดำเนินงานของคณะรัฐมนตรีภายหลังจากพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรมีผลใช้บังคับ)

เศรษฐกิจ-สังคม
3. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 1/2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชเสนอสรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์ (นายกีรติ รัชโน) ทำหน้าที่ประธาน (คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 แต่งตั้งคณะกรรมการพืชน้ำมันฯ โดยมีอำนาจหน้าที่เสนอนโยบาย แผนการบริหารการจัดการ การพัฒนาการผลิตและการตลาดพืชน้ำมันและ                            น้ำมันพืชต่อคณะรัฐมนตรี) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. เห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีในโควตาตามพันธกรณีตามความตกลงว่าด้วยการเกษตรภายใต้องค์การค้าโลก (World Trade Organization: WTO) สำหรับสินค้ามะพร้าวและมะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมะพร้าวและแฟรกชันของน้ำมันมะพร้าว (น้ำมันมะพร้าวฯ) สำหรับปี 2566-2568 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                              1.1 การจัดสรรปริมาณการนำเข้า
หัวข้อ          สาระสำคัญ
(1) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิขอรับการจัดสรร
          1) ต้องเป็นนิติบุคคลที่ประกอบกิจการโรงงานที่ใช้มะพร้าว มะพร้าวฝอย              เนื้อมะพร้าวแห้ง หรือน้ำมันมะพร้าวฯ เป็นวัตถุดิบในการผลิตและดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ที่ได้ขึ้นทะเบียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมการค้าต่างประเทศแล้ว
2) ไม่เป็นผู้ที่ถูกตัดสิทธิขอรับการจัดสรร (เหตุเพราะโอนสิทธิที่ได้รับจัดสรร หรือเหตุเพราะไม่ใช้ปริมาณที่ได้รับการจัดสรรในปีก่อนและไม่แจ้งคืนปริมาณดังกล่าว)
(2) การจัดสรรปริมาณ
นำเข้า          1) รอบการจัดสรร ปริมาณที่จัดสรร และกำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำขอรับการจัดสรร ดังนี้
                    1.1) การจัดสรรครั้งที่ 1 จัดสรรมะพร้าวและมะพร้าวฝอย 2,427 ตันต่อปี เนื้อมะพร้าวแห้ง 1,157 ตันต่อปี และน้ำมันมะพร้าวฯ 401 ตันต่อปีโดยยื่นคำขอรับการจัดสรรภายใน 10 วันทำการนับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ของปีก่อนหน้าปีที่จะจัดสรร
                    1.2) การจัดสรรครั้งที่ 2 จัดสรรปริมาณคงเหลือจากการจัดสรรครั้งที่ 1 และปริมาณที่ผู้ได้รับการจัดสรรแจ้งคืนภายในเดือนพฤษภาคมของแต่ละปี (ถ้ามี) โดยยื่นคำขอรับการจัดสรรภายใน 10 วันทำการนับตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายนของปีที่จะจัดสรร
                    1.3) การจัดสรรครั้งที่ 3 จัดสรรปริมาณคงเหลือจากการจัดสรรครั้งที่ 2 และปริมาณที่ผู้ได้รับการจัดสรรแจ้งคืนภายในเดือนกันยายนของแต่ละปี (ถ้ามี) โดยยื่นคำขอรับการจัดสรรภายใน 10 วันทำการนับตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคมของปีที่จะจัดสรร
2) หลักเกณฑ์การจัดสรร แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
                    2.1) กรณีปริมาณที่ขอรับการจัดสรรทุกรายรวมกันไม่เกินปริมาณที่จะจัดสรรในแต่ละครั้ง ให้จัดสรรแก่ผู้ขอรับการจัดสรรตามปริมาณที่แต่ละรายยื่นขอ
                    2.2) กรณีปริมาณที่ขอรับการจัดสรรทุกรายรวมเกินกว่าปริมาณที่จะจัดสรร ให้จัดสรรแก่ผู้ขอรับการจัดสรรแต่ละรายในปริมาณที่เท่ากันโดยวิธีหารเฉลี่ย และในกรณีที่ปริมาณจัดสรรดังกล่าวเกินกว่าปริมาณที่ยื่นขอของแต่ละราย ให้นำปริมาณส่วนที่เกินกว่าปริมาณที่ยื่นขอไปจัดสรรให้กับผู้ขอรับการจัดสรรที่ได้รับการจัดสรรน้อยกว่าปริมาณที่ยื่นขอแต่ละรายในปริมาณที่เท่ากันโดยวิธีหารเฉลี่ย โดยไม่เกินปริมาณที่จะจัดสรรในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ ผู้ได้รับจัดสรรต้องใช้ปริมาณที่ได้รับจัดสรรไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของปริมาณที่ได้รับจัดสรรหรือปริมาณคงเหลือจากการแจ้งคืน (แล้วแต่กรณี) หากใช้ปริมาณที่ได้รับจัดสรรไม่ถึงร้อยละ 95 จะถูกหักปริมาณในส่วนที่ใช้ไม่ถึงดังกล่าวไปจัดสรรให้กับผู้ขอรับการจัดสรรที่ใช้ปริมาณในปีก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 และผู้รับการจัดสรรดังกล่าวต้องเป็นผู้ที่ได้รับการจัดสรรในปีปัจจุบันน้อยกว่าปริมาณที่ยื่นขอด้วย
3) ข้อกำหนดสำหรับผู้ได้รับจัดสรร
                    3.1) ห้ามผู้ได้รับจัดสรรโอนสิทธิที่ได้รับจัดสรรให้แก่ผู้อื่น
                    3.2) ผู้ได้รับจัดสรรต้องใช้ปริมาณที่ได้รับจัดสรรไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของปริมาณที่ได้รับจัดสรรหรือปริมาณคงเหลือจากการแจ้งคืน (แล้วแต่กรณี) ยกเว้นเป็นการแจ้งคืนครั้งที่ 3 ในกรณีต่าง ๆ เช่น ปริมาณที่ได้รับการจัดสรรครั้งที่ 3 น้อยเกินกว่าที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงการค้าถูกปฏิเสธ               การซื้อขาย หรือคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามสัญญา
                              1.2 การออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีโควตาตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้ WTO
หัวข้อ          สาระสำคัญ
(1) คุณสมบัติผู้มีสิทธิ
ขอหนังสือรับรอง          1) เป็นผู้ที่ได้รับการจัดสรรปริมาณนำเข้า
2) ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างถูกระงับการออกหนังสือรับรองฯ
(2) การยื่นคำร้องขอรับ
หนังสือรับรอง          ให้ผู้ได้รับการจัดสรรยื่นขอหนังสือรับรองต่อกรมการค้าต่างประเทศ เพื่อใช้ประกอบการนำเข้าพร้อมเอกสารหลักฐาน เช่น สำเนาใบกำกับสินค้า สำเนาใบตราส่งสินค้าทางเรือ และสำเนาหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า
(3) กำหนดเวลานำเข้า          1) มะพร้าว ตั้งแต่ 1 มกราคม-28 กุมภาพันธ์ และ 1 กันยายน -31 ธันวาคม
2) มะพร้าวฝอย ตั้งแต่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม
3) เนื้อมะพร้าวแห้ง ตั้งแต่ 1 มกราคม-31 พฤษภาคม และ1 พฤศจิกายน -31 ธันวาคม
4) น้ำมันมะพร้าว ตั้งแต่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม
(4) อายุหนังสือรับรอง          มีอายุ 30 วัน นับแต่วันที่ออกแต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ออกยกเว้นกรณีสินค้ามะพร้าวและเนื้อมะพร้าวแห้ง ให้มีอายุไม่เกินวันสุดท้ายของกำหนดเวลานำเข้าแต่ละช่วง
(5) หน้าที่รายงานการนำเข้า          ผู้ได้รับหนังสือรับรองฯ มีหน้าที่รายงานการนำเข้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมการค้าต่างประเทศภายใน 30  วัน นับแต่วันนำเข้าสินค้าแต่ละครั้งหากไม่รายงานภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถูกระงับการออกหนังสือรับรองฯ ในครั้งถัดไป
หมายเหตุ ข้อมูลรายละเอียดการจัดสรรปริมาณการนำเข้าและการออกหนังสือรับรองฯ เป็นข้อมูลที่ได้รับเพิ่มเติมจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)
                    2. การบริหารปริมาณการนำเข้ามะพร้าวผล พิกัดอัตราศุลกากร 0801.12.00 พิกัดฯ 0801.19.10 และพิกัดฯ 0801.19.90 ตามกรอบความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ปี 2566 ในช่วงแรก (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566) โดยผู้ประกอบการ/ผู้นำเข้าจะชะลอการนำเข้ามะพร้าวผลพิกัดฯ ดังกล่าวในช่วงแรก (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566) ออกไปก่อน และได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการ/ผู้นำเข้าชะลอการนำเข้ามะพร้าวผลภายใต้กรอบความตกลง WTO กะทิสำเร็จรูปและกะทิแช่แข็งออกไปก่อนด้วย จนกว่าราคามะพร้าวผลภายในประเทศจะกลับสู่ภาวะปกติ

4. เรื่อง ความก้าวหน้าของการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนมกราคม 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  (สศช.)  ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอ ความก้าวหน้าของการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนมกราคม 2566 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.          ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติ
                              1.1 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566*
                              1.2 การปฏิรูปประเทศ ภายหลังจากที่แผนการปฏิรูปประเทศได้สิ้นสุดเมื่อวันที่                    31 ธันวาคม 2565 หน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานร่วมดำเนินการต้องนำประเด็นปฏิรูปประเทศมาดำเนินการต่อเนื่องผ่านกลไกของแผนระดับที่ 2 แผนระดับที่ 3 และการดำเนินการต่าง ๆ ของหน่วยงาน เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์เกิดความยั่งยืนตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                              1.3 การขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) ดำเนินการผ่านกลไก 3 ระดับ ได้แก่ (1) กลไกเชิงยุทธศาสตร์ โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 จำนวน 5 คณะทำหน้าที่กำกับดูแลการขับเคลื่อนกลยุทธ์การพัฒนาประเทศในแต่ละหมุดหมาย (2) กลไกตามภารกิจเป็นการดำเนินงานของหน่วยงานเพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศผ่านการบูรณาการงานและงบประมาณ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จะให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาตาม 13 หมุดหมาย และ   (3) กลไกระดับพื้นที่ปัจจุบันได้มีการดำเนินงานของภาคีที่เป็นกลไกในระดับพื้นที่นำร่องระดับตำบลในภาคต่าง ๆ  ประเทศ เพื่อร่วมขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในหมุดหมายการพัฒนาที่มีความสอดคล้องกับบริบท ความต้องการ สภาพปัญหา ตลอดจนศักยภาพของพื้นที่เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและนำไปสู่การสังเคราะห์ต้นแบบการสร้างภาคีเครือข่ายการทำงานแบบบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาในระดับพื้นที่ต่อไป
                              1.4 ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มีการดำเนินการตามแผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย (Thaland's SDG Roadmap) ได้แก่ (1) การสร้างการตระหนักรู้ (2) การเชื่อมโยง SDGs กับแผน 3 ระดับของประเทศ (3) กลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน  (4) การดำเนินงานเพื่อให้บรรลุ SDGs และการขับเคลื่อนระดับพื้นที่ (5) ภาคีการพัฒนา และ (6) การติดตามและประเมินผล ซึ่งในส่วนยุทธศาสตร์ชาติได้มีการเชื่อมโยงเป้าหมายแผนแม่บทย่อยของแผนแม่บทฯ เข้ากับเป้าหมายย่อยของ SDGs เช่น เป้าหมายย่อยของแผนแม่บทฯ : ประชาชนมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น สัมพันธ์กับเป้าหมายย่อย SDGs : ลดความรุนแรงทุกรูปแบบและอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องในทุกแห่งให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
                    2. การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ
                              2.1 ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มเป้าหมายเร่งด่วน จำนวน 655,365 คน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ตกเกณฑ์มิติความขัดสน (2) กลุ่มครัวเรือนเปราะบาง จำนวน 11,023,225 ครัวเรือน 33,384,526 คน ซึ่งเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีบุคคลในภาวะพึ่งพิงที่ต้องได้รับความช่วยเหลือและดูแลจากครอบครัวและ/หรือเป็นครัวเรือนที่มีรายได้น้อย (3) กลุ่มคนที่ต้องสำรวจเพิ่มเติม จำนวน 13,220,965 คน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ได้รับสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและได้รับการสำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานแต่ไม่ตกเกณฑ์มิติความขัดสนหรือไม่มีข้อมูลมิติความขัดสน และ (4) กลุ่มคนที่ตกหล่นจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูลที่มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือข้อมูลระดับพื้นที่ โดยจะต้องดำเนินการสำรวจเพิ่มเติมเพื่อนำผู้ที่ตกหล่นเข้าระบบต่อไปซึ่งคณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 เห็นชอบการดำเนินการและมอบหมายให้ ศจพ. ทุกระดับและทีมปฏิบัติการในพื้นที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคนกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวต่อไป
                              2.2 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติผ่านแผนระดับที่ 3 ณ เดือนธันวาคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 165 แผน มีสถานะของแผนปฏิบัติการด้าน...สรุปได้ ดังนี้ (1) คณะรัฐมนตรีรับทราบแล้วและยังมีผลบังคับใช้อยู่ จำนวน 44 แผน (2) อยู่ระหว่าง สศช. พิจารณา จำนวน 48 แผน (3) ยกเลิกการดำเนินการ/สิ้นสุดการดำเนินการ จำนวน 61 แผน และ (4) ผ่านกระบวนการพิจารณาในรอบเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 จำนวน                12 แผน โดยคณะรัฐมนตรีมีมติ (7 มีนาคม 2566) เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570) และคณะรัฐมนตรีมีมติ (14 มีนาคม 2566) เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทยระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566-2570)* ทั้งนี้ แผนฯ ที่ผ่านการพิจารณาจาก สศช. และยังมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน รวม 62 แผน พบว่า เป็นแผนฯ ที่มีกฎหมายรองรับ 25 แผน โดยส่วนหนึ่งยังมีความทับซ้อนของประเด็นการพัฒนา ทำให้แผนฯ ที่ประกาศใช้มีมากเกินความจำเป็นและยังไม่ครอบคลุมช่องว่างของประเด็นการพัฒนา ดังนั้น หน่วยงานของรัฐผู้จัดทำแผนฯ จะต้องให้ความสำคัญในการกำหนดประเด็นที่ตรงจุดและพุ่งเป้าการพัฒนาที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทฯ ต่อไป
                    3. การติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ
                              3.1 ระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) การนำเข้าข้อมูลในระบบ eMENSCR ของปีที่ผ่านมา พบว่า มีบางหน่วยงานที่ให้ความสำคัญในการนำเข้าข้อมูลในระบบแต่เป็นข้อมูลของบางหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงนั้น เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่มีหน่วยงานในสังกัดและมหาวิทยาลัย รวม 103 หน่วยงาน มีข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR รวม 20,008 โครงการ แต่โครงการมากกว่าร้อยละ 50 ของโครงการทั้งหมดเป็นโครงการของหน่วยงานเพียง 12 หน่วยงาน โดยมีหน่วยงานกว่า                 50 หน่วยงานที่ไม่มีการนำเข้าข้อมูลโครงการ ดังนั้น ขอให้ทุกกระทรวงเน้นย้ำ กำกับ ติดตามให้ทุกหน่วยงานในสังกัดนำเข้าข้อมูลทุกโครงการ/การดำเนินงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ                      พ.ศ. 2566 ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2566
                              3.2 การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลผ่านกลไกการตรวจราชการ มีการกำหนดประเด็นการตรวจราชการเพื่อใช้เป็นกรอบในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลในภาคราชการของผู้ตรวจราชการในปี 2565 และ 2566 โดยให้ความสำคัญในบางเป้าหมายแผนแม่บทย่อยที่มีสถานการณ์บรรลุเป้าหมายในระดับวิกฤตหรืออยู่ในระดับเสี่ยง ซึ่งยังไม่ครอบคลุมประเด็นที่มีความจำเป็นเร่งด่วน โดยในปี 2565 ได้กำหนดประเด็นการตรวจราชการ 2 ประเด็น ได้แก่ (1) การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรแปรรูปและผลิตภัณฑ์ และ (2) การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของเศรษฐกิจฐานราก และในปี 2566 ได้กำหนดประเด็นการตรวจราชการ                     2 ประเด็น ได้แก่ (1) การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมและการพัฒนาระบบนิเวศการท่องเที่ยว และ                  (2) การพัฒนาช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น และการพัฒนาและยกระดับศักยภาพวัยแรงงาน ซึ่งยังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องนำมากำหนดเป็นประเด็นในการตรวจสอบเพิ่มเติม ดังนั้น คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ให้ผู้ตรวจราชการในทุกระดับติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อ ?พุ่งเป้า? ไปสู่การบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามยุทธศาสตร์ชาติโดยให้ความสำคัญในการจัดทำแนวนโยบายการตรวจสอบ กำหนดแผนการตรวจสอบ รวมถึงประเด็นในการตรวจสอบให้มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเชื่อมโยงบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ สศช. ได้พัฒนาระบบ eMENSCR ให้รองรับการติดตามและตรวจสอบรวมถึงให้มีการนำเข้ารายงานผลการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการทุกระดับในระบบด้วย
                    4. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติจากข้อมูลโครงการวิจัยและนวัตกรรมปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2565 ภายใต้แผนด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) พ.ศ. 2563-2565 พบว่า มีโครงการวิจัยและนวัตกรรมฯ ที่ได้รับจัดสรรทุน จำนวนทั้งสิ้น 12,189 โครงการ เป็นโครงการเพื่อการสนับสนุนงานวิจัยเชิงกลยุทธ์ 6,021 โครงการ  และโครงการเพื่อการสนับสนุนงานวิจัยมูลฐาน 6,168 โครงการ ซึ่งได้จัดสรรทุนวิจัยให้โครงการฯ ตามประเด็นวิจัย 17 โปรแกรม สะท้อนให้เห็นว่าที่ผ่านมา ยังไม่มีการพิจารณาถึงความจำเป็นและความเหมาะสมในการจัดทำโครงการวิจัยและนวัตกรรมฯ เท่าที่ควร ดังนั้น เพื่อให้การจัดทำงานวิจัยเป็นประโยชน์และมุ่งเน้นเฉพาะประเด็นที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงควรกำหนดประเด็นโดยพิจารณาข้อมูลประกอบ ดังนี้ (1) ความซ้ำซ้อนของประเด็นวิจัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน (2) ประเด็นช่องว่างในการขับเคลื่อนปัจจัยภายใต้ห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย และ (3) ข้อมูลสถานะการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทฯ ที่จำเป็นต้องมีงานวิจัยมารองรับแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
??_______________________
*จากการตรวจสอบข้อมูลของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

5. เรื่อง รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี : การนำเสนอวัฒนธรรมของประเทศในลักษณะ Soft Power
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี : การนำเสนอวัฒนธรรมของประเทศในลักษณะ Soft Power* ดังนี้
                    สาระสำคัญ
                    วธ. รายงานว่า ได้กำหนดแนวทางการใช้สื่อบันเทิงเพื่อนำเสนอวัฒนธรรมของประเทศในลักษณะ Soft Power เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มพูนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ โดยมีความคืบหน้า                   การดำเนินการ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
1. ด้านการส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศผ่านสื่อบันเทิงในลักษณะ Soft Power          - แต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศผ่านสื่อบันเทิงในลักษณะอำนาจละมุน (ในคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ เสนอนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์ รวมถึงกำหนดมาตรการ และแนวทางสนับสนุนการดำเนินงาน
- จัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศผ่านสื่อบันเทิงฯ เพื่อใช้สื่อบันเทิงเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์และขับเคลื่อนเศรษฐกิจสินค้าและบริการของประเทศ รวมทั้งจัดให้มีมาตรการด้านภาษี โดยเตรียมการการลดหย่อนภาษีหรือมาตรการทางการเงินในการจูงใจให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า บริการ และกำหนดกลยุทธ์การส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศ
2. ด้านการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติวัฒนธรรม          - แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติทางวัฒนธรรม (ในคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ) เพื่อกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน Soft Power เพื่อเพิ่มคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจของสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ยกระดับสถานะทางอาชีพ ทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงคุณภาพชีวิตของบุคลากรในภาคศิลปวัฒนธรรมและชุมชนท้องถิ่น
- จัดทำ (ร่าง) แผนการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อใช้เป็นแกนกลางของการขับเคลื่อน Soft Power โดยมีกรอบแนวทางที่สำคัญ เช่น การศึกษาและจัดทำจุดยืนของประเทศในการขับเคลื่อน Soft Power (Thailand?s Soft Power Positioning) เพื่อให้เกิดการจดจำในสายตาประชาคม โดยจะดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับประเทศไทยในความคิดของชาวต่างชาติทั่วโลก และการศึกษาแนวโน้มและสภาพการตลาดของสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมไทยที่มีศักยภาพในการเป็น     Soft Power ทั้งระดับประเทศและนานาชาติ
* Soft Power หมายถึง ความสามารถในการชักจูงใจ ทำให้ผู้อื่นมีความพึงพอใจหรือเต็มใจเปลี่ยนพฤติกรรม ยอมรับ คล้อยตามสิ่งที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้อำนาจ โดยมีกลไกหลักที่สำคัญ คือ การสร้างความดึงดูดใจต่อผู้อื่น โดยปราศจากการคุกคามหรือการแลกเปลี่ยนสิ่งใด

6. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565) และแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค โดย สปน. จะประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน และการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ต่อไป [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (29 พฤศจิกายน 2548) ที่รับทราบแนวทางการจัดระเบียบของระบบกระบวนการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนของประชาชนและมอบหมายให้ทุกกระทรวงดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว โดยให้ สปน. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการติดตามผลการดำเนินการและสรุปรายงานผลความคืบหน้าในการดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบทุก 3 เดือน] สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565)
                        1.1 สถิติการแจ้งเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นของประชาชนที่ยื่นเรื่องผ่านช่องทางการร้องทุกข์ 1111 รวมทั้งสิ้น 14,439 เรื่อง สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ 12,133 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 84.03 และรอการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2,306 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 15.97
                        1.2 หน่วยงานที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นมากที่สุด 5 ลำดับแรก ดังนี้
                              (1) ส่วนราชการ ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1,430 เรื่อง กระทรวงคมนาคม 383 เรื่อง กระทรวงการคลัง 302 เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข 285 เรื่อง และกระทรวงมหาดไทย 279 เรื่อง ตามลำดับ
                              (2) รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 615 เรื่อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 127 เรื่อง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 124 เรื่อง การไฟฟ้านครหลวง 109 เรื่อง และการประปาส่วนภูมิภาค                70 เรื่อง ตามลำดับ
                              (3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 767 เรื่อง จังหวัดนนทบุรี 237 เรื่อง สมุทรปราการ 212 เรื่อง ปทุมธานี 203 เรื่อง และชลบุรี 177 เรื่อง ตามลำดับ
                    2. การประมวลผลและวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สรุปได้ ดังนี้
                        2.1 สถิติจำนวนเรื่องร้องทุกข์เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่ผ่านมา โดยในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีเรื่องร้องทุกข์ 33,052 เรื่อง ซึ่งน้อยกว่าในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 1,039 เรื่อง (มีเรื่องร้องทุกข์ 34,091 เรื่อง)
                        2.2 ประเด็นเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่
                              (1) เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน เช่น การเปิดเพลงเสียงดัง และเล่นดนตรีสดของร้านอาหาร สถานบันเทิง การจับกลุ่มสังสรรค์ของเพื่อนบ้าน รวมถึงเสียงดังจากการรวมกลุ่มแข่งหรือเร่งเครื่องจักรยานยนต์ 1,576 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 1,487 เรื่อง (ร้อยละ 94.35)
                              (2) ไฟฟ้า เช่น ขอให้แก้ไขปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้อง และซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่างริมทาง หม้อแปลงไฟฟ้า สายไฟฟ้า และเสาไฟฟ้า รวมทั้งขอให้ขยายเขตการให้บริการไฟฟ้าในพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ห่างไกล 696 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 595 เรื่อง (ร้อยละ 85.49)
                              (3) สลากกินแบ่งรัฐบาล เช่น ขอให้พิจารณาจัดสรรโควตาสลากกินแบ่งรัฐบาลให้เพียงพอกับจำนวนผู้จัดจำหน่าย แจ้งเบาะแสจำหน่ายสลากเกินราคาและขอให้ตรวจสอบการกว้านซื้อสลากของบริษัทเอกชนเจ้าของแพลตฟอร์มจำหน่ายสลากออนไลน์ 644 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 623 เรื่อง (ร้อยละ 96.74)
                              (4) อุทกภัย เช่น ขอความช่วยเหลือกรณีได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลัน ขอความช่วยเหลือเงินเยียวยาผู้ประสบภัย และขอให้ระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและในพื้นที่จังหวัดที่ประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากรวมทั้งเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภาพรวม 556 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 521 เรื่อง (ร้อยละ 93.71)
                              (5) โทรศัพท์ เช่น การให้บริการผ่านโทรศัพท์ของหน่วยงานของรัฐ (เช่น หมายเลข 1422 ของกรมควบคุมโรค และหมายเลข 1506 ของสำนักงานประกันสังคม) มีการให้รอสายนาน ต่อสายไปยังหน่วยงานย่อยภายในหลายครั้ง และคู่สายเต็ม 543 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 474 เรื่อง (ร้อยละ 87.29)
                              (6) ยาเสพติด เช่น การแจ้งเบาะแสการจำหน่ายและเสพยาเสพติดประเภทยาบ้าและยาไอซ์ ประกอบกับขณะนี้รัฐบาลได้มีนโยบายรับแจ้งปัญหายาเสพติดเพื่อการบำบัด จึงทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตัว และแจ้งเรื่องร้องทุกข์/เสนอความคิดเห็นเข้ามามากขึ้น 490 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 452 เรื่อง (ร้อยละ 92.24)
                              (7) การเมือง เช่น แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่อยู่ในกระแสสังคม (เช่น การตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นโยบายของพรรคการเมือง และการบริหารงานของรัฐบาล) 487 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 479 เรื่อง (ร้อยละ 98.36)
                              (8) ประเด็นเกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น ขอให้แก้ไขปัญหามิจฉาชีพหลอกลวงประชาชนทางโทรศัพท์ (แก๊งคอลเซ็นเตอร์) และขอให้ตรวจสอบเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่มีลักษณะหลอกลวง 473 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 314 เรื่อง (ร้อยละ 66.38)
                              (9) ถนน เช่น ขอให้ปรับปรุงซ่อมแซมถนนชำรุด มีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อ ซึ่งมีสาเหตุมาจากถนนมีการใช้งานมาเป็นระยะเวลานานถนนมีรถบรรทุกหนักสัญจรไป-มา เป็นประจำ และเกิดน้ำท่วมขังในฤดูฝน รวมทั้งขอให้ปรับปรุงถนนลูกรังเป็นถนนลาดยางแอสฟัลต์หรือถนนคอนกรีต 473 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 391 เรื่อง (ร้อยละ 82.66)
                              (10) ประเด็นเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง และเสรีภาพ เช่น ขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับการถูกข่มขู่คุกคาม ถูกทำร้ายร่างกาย และถูกหมิ่นประมาทซึ่งเป็นประเด็นที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอันเนื่องมาจากความไม่ปลอดภัยในชีวิต 320 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 281 เรื่อง (ร้อยละ 87.81)
                    3. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์
                        3.1 ปริมาณเรื่องร้องทุกข์ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีอัตราลดลงร้อยละ 18.36 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่ผ่านมา ทั้งนี้ พบว่าประชาชนมีแนวโน้มการใช้บริการช่องทางไลน์เพิ่มขึ้นมาก รวมทั้งมีความคาดหวังให้หน่วยงานรับผิดชอบเร่งแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว จึงควรขอความร่วมมือให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์และกำหนดระยะเวลาการแก้ไขให้แล้วเสร็จตลอดจนตอบผู้ร้องทราบความคืบหน้าเป็นระยะ
                        3.2 ประเด็นการร้องเรียน ร้องทุกข์/เสนอข้อคิดเห็นที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ เช่น เสียงดังรบกวนจากการมั่วสุมดื่มสุรา การแข่งขันรถจักรยานยนต์ การเปิดเพลงในร้านอาหาร สถานบันเทิง หรือเสียงดังจากการจัดงานเฉลิมฉลองเทศกาลต่าง ๆ ในช่วงปลายปี และน้ำท่วมฉับพลันหรือน้ำท่วมขังซ้ำซากอันเนื่องมาจากการเกิดพายุฝนตกในช่วงฤดูมรสุม หากแต่หน่วยงานอาจยังไม่มีมาตรการ/แผนในการรับมือ หรือแผนเผชิญเหตุ หรือมีแต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน
                        3.3 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่มีแนวโน้มดีขึ้นโดยลำดับ ส่งผลให้ประเด็นการร้องเรียน ร้องทุกข์/เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลมีปริมาณลดลง แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องมีการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด เนื่องจากปัจจุบันหลายประเทศได้ทำการเปิดประเทศ ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามายังประเทศไทยเป็นจำนวนมากจึงควรมีมาตรการเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นหากมีการแพร่ระบาดจากกลุ่มนักท่องเที่ยว
                        3.4 ปัญหาเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนขอให้หน่วยงานภาครัฐมีมาตรการแก้ไขที่ชัดเจน เข้มงวด ได้แก่ ปัญหาการจำหน่ายและเสพยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดในหลายพื้นที่ เนื่องจากหาซื้อได้โดยง่าย กลุ่มการเข้าถึงยาเสพติดเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนมากขึ้น และการปล่อยปละละเลยของผู้ที่เกี่ยวข้อง และปัญหากรณีการหลอกลวงของมิจฉาชีพที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบกลวิธีต่าง ๆ ทำให้มีประชาชนหลงเชื่อหรือเข้าใจผิดในข้อเท็จจริง (เช่น กรณีอ้างอิงว่าเป็นหน่วยงานราชการ การส่งพัสดุและเรียกเก็บเงินปลายทางโดยไม่ได้สั่งของ และประเด็นการถูกข่มขู่คุกคามจากนายทุนปล่อยเงินกู้นอกระบบ) ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงต้องอาศัยความร่วมมือในการแก้ไขจากทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งจากตัวประชาชนเอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในระดับรัฐบาลที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย
                    4. ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงาน ดังนี้
                        4.1 สปน. ได้พัฒนาช่องทางการให้บริการเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ตลอดจนพัฒนาการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการปฏิบัติงาน หากแต่ยังไม่ครอบคลุมในระดับท้องถิ่นจึงเห็นควรขยายผลการเชื่อมโยงการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์ไปยังหน่วยงานในระดับท้องถิ่นโดยตรงผ่านระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์หรือนวัตกรรมการทำงานอื่นที่ทันสมัยเพื่อให้มีเครือข่ายการทำงานเรื่องร้องทุกข์ครอบคลุมทั่วประเทศ จะทำให้ปัญหาในระดับท้องถิ่นได้รับการแก้ไขที่รวดเร็วขึ้น และไม่ขยายวงกว้าง นอกจากนี้ ควรให้หน่วยงานระดับท้องถิ่นได้เข้ามาเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหา
                        4.2 ขอให้หน่วยงานเน้นการทำงานเชิงรุก วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์และเฝ้าระวังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่เคยเกิดขึ้นแล้ว หรือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดิม มาจัดทำเป็นแนวทาง มาตรการ และแผนเผชิญเหตุรองรับการแก้ไขปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันอย่างเป็นระบบ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ประชาชนทราบอย่างถูกต้องและรวดเร็วทันต่อสถานการณ์
                        4.3 ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเน้นย้ำมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้ประชาชนทราบภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยให้มีความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพที่ต้องพบปะผู้คนหรือนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เนื่องจากยังมีความเสี่ยงที่โรคโควิด-19 จะกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งหากว่าประชาชนละเลยในการป้องกันตนเอง
                        4.4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาด้านสังคมควรบูรณาการฐานข้อมูลและการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชนอย่างจริงจัง และประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อเตือนภัยให้ประชาชนมีการเฝ้าระวังมากขึ้น

7. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินงานของรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ในห้วงวันที่ 1 ตุลาคม 2564-30 กันยายน 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่คณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) เสนอรายงานสรุปผลการดำเนินงานของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ในห้วงวันที่ 1 ตุลาคม 2564-30 กันยายน 2565 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 มาตรา 9 (12) ที่บัญญัติให้ กมช. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญหรือแนวทางการพัฒนามาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้คณะรัฐมนตรีทราบ] ซึ่งในการประชุม กมช. ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 ได้มีมติเห็นชอบให้รายงานเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. สถิติเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ สามารถจำแนกประเภทภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ศปช.) ได้ดำเนินการสนับสนุนการปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์และตรวจพบมากที่สุด ดังนี้
ประเภทภัยคุกคามาทางไซเบอร์          จำนวน (เหตุการณ์)
(1) การโจมตีด้วยการแฮ็กเว็บไซต์ (Hacked Website) [การพนันออนไลน์ (Gambling) การโจมตีเว็บไซต์เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลเผยแพร่หน้าเว็บไซต์ (Website Defacement) การปลอมแปลงหน้าเว็บไซต์จริงเพื่อหลอกเอาข้อมูล (Website Phishing) การฝังมัลแวร์อันตรายบนหน้าเว็บไซต์หน่วยงานที่อาจหลอกให้ผู้เข้าถึงดาวน์โหลดไปติดตั้งได้ (Website Malware1)]          367
(2) จุดอ่อนช่องโหว่ (Vulnerability)          63
(3) ข้อมูลรั่วไหล (Data Breach)          48
(4) Ransomware2          21
(5) Emotet Malware3           9
(6) Command and Control Server4          6
(7) อื่น ๆ           37
รวม          551
                    2. สถิติการปฏิบัติงานในการสนับสนุนช่วยแก้ไขปัญหาและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ สรุปได้ ดังนี้
การดำเนินการ          จำนวน
(1) แจ้งเตือนเหตุการณ์ ให้คำปรึกษา และแนะนำในการแก้ไขปัญหา          467 เหตุการณ์
(2) การแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยคุมคามทางไซเบอร์          43 รายงาน
(3) การประเมินความเสี่ยงและทดสอบการเจาะระบบเพื่อหาจุดอ่อนช่องโหว่ให้กับหน่วยงานของรัฐ          29 หน่วยงาน
(4) การตอบสนองและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์          12 ครั้ง
(5) การเผยแพร่ข้อมูลภัยคุกคามและข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ          322 รายงาน
(6) ประสานงานเพื่อให้ระงับการเผยแพร่เว็บไซต์ปลอมหรือเลียนแบบ          43 หน่วยงาน
                    3. ประเภทของหน่วยงานที่ถูกโจมตีด้วยภัยคุกคามทางไซเบอร์มากที่สุด 5 อันดับแรก ดังนี้
ประเภทหน่วยงาน (แบ่งตามภารกิจหรือบริการ)          จำนวน (เหตุการณ์)
(1) หน่วยงานด้านการศึกษา           211
(2) หน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ          135
(3) หน่วยงานด้านสาธารณสุข          67
(4) ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทเอกชนและสัญชาติไทย          24
(5) ผู้ประกอบกิจการให้เช่าพื้นที่เว็บไซต์หรือที่เป็นดาต้าเซ็นเตอร์          12
รวม          449
                    4. แนวโน้มเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ จากเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์จำนวน 551 เหตุการณ์ (ตามข้อ 2) มีข้อมูลที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้ (1) การโจมตีด้วยการแฮ็กเว็บไซต์หน่วยงานราชการและหน่วยงานสำคัญเป็นรูปแบบที่ถูกตรวจพบมากที่สุด ซึ่งมีมากกว่าการโจมตีรูปแบบอื่น ๆ โดยคิดเป็น 2 ใน 3 ของการโจมตีทางไซเบอร์ที่ตรวจพบในประเทศไทย (2) หน่วยงานด้านการศึกษาและด้านสาธารณสุขพบการโจมตีทางไซเบอร์สูงสุด เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่มีเว็บไชต์และระบบต่าง ๆ ให้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก และใช้เว็บไซต์เป็นสื่อประชาสัมพันธ์หลักการบริหารงานด้านระบบเทคโนโลสารสนเทศมีความเป็นเอกเทศ ทำให้หน่วยงานส่วนกลางดูแลยาก เมื่อมีการพัฒนาระบบที่ต้องดำเนินการเองหรือว่าจ้างบุคคลจากภายนอก ทำให้ปรับปรุงได้เฉพาะเนื้อหาในเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว จึงขาดการดูแลรักษาระบบและการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ (3) อาชญากรทางไซเบอร์ในประเทศไทยมีการใช้เทคนิคผสมผสานระหว่าง Phishing และ Social Engineering5 หลายรูปแบบในการหลอกลวงเหยื่อเพื่อให้ได้ทรัพย์สินการกระทำดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบต่อการรักษาความลับของข้อมูลส่วนตัว รวมถึงความปลอดภัยในตัวระบบและอุปกรณ์ของเหยื่อด้วย และ (4) การโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน คือ การที่ไม่สามารถเข้าระบบเพื่อใช้งานข้อมูลที่สำคัญได้ และบางแห่งไม่สามารถใช้งานระบบสำรองได้ นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการและการทำงานของระบบสารสนเทศภายในของหน่วยงาน ซึ่งหน่วยงานจะต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาที่ยาวนาน และอาจต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญจากบุคคลภายนอก
                    5. แนวทางการจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ ศปช.ได้มีการแนะนำแก่หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกัน โดยสอดคล้องกับมาตรฐานหรือแนวทางปฏิบัติสากลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) การเตรียมการและป้องกันการเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น การจัดเตรียมข้อมูลให้พร้อม การจัดตั้งและฝึกอบรมบุคลากรและทีมงานและการจัดหาเครื่องมือและทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็น (2) การตรวจจับและวิเคราะห์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น การจัดให้มีกลไกที่สามารถตรวจจับสิ่งบ่งชี้หรือลักษณะเบื้องต้นของการเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ในเวลาอันเหมาะสม และการวิเคราะห์ข้อมูลและประวัติการใช้งานเครือข่ายและระบบงาน (3) การระงับภัยคุกคามทางไซเบอร์ การปราบปรามภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการฟื้นฟูระบบงานที่ได้รับผลกระทบ เช่น การลบมัลแวร์ และการปิดการใช้งานบัญชีของผู้ใช้งานที่ถูกละเมิด และ (4) การดำเนินกิจกรรมภายหลังการระงับภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น การกำหนดขั้นตอน วิธีปฏิบัติ หรือกำหนดนโยบายภายในที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีแนวทางที่ชัดเจน และการเก็บรักษาข้อมูลและพยานหลักฐานที่จำเป็นเพื่อใช้ในกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์หรือใช้ในกรณีที่ต้องการร้องทุกข์หรือดำเนินคดี
                    6. ข้อแนะนำในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญจากแนวโน้มสถานการณ์ทางไซเบอร์ สรุปได้ ดังนี้                 (1) การถูกโจมตีด้วยการแฮ็กเว็บไซต์เป็นเรื่องที่ผู้ดูแลระบบของหน่วยงานควรให้ความสนใจกับการปรับปรุงแพทช์6 PATCH) ของระบบปฏิบัติการ หรือระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ (Content Management System: CMS) ให้เป็นปัจจุบัน ทบทวนการใช้งาน Themes7 หรือ Pug-in8 ต่าง ๆ ที่อาจมีช่องโหว่ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขรหัสผ่านต่าง ๆ ที่ทำให้ยากต่อการคาดเดาและตรวจสอบการนำเข้าไฟล์ต่าง ๆ สำหรับผู้ใช้งานเว็บไซให้อนุญาตเฉพาะไฟล์ที่ต้องการเท่านั้น รวมถึงใช้วิธีการเข้ารหัสข้อมูลที่มีความสำคัญต่าง ๆ ด้วย (2) การดูแลเว็บไซต์และระบบที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีความเป็นเอกเทศนั้น หน่วยงานส่วนกลางควรมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการดูแลและพัฒนาเว็บไซต์ ซึ่งหากจะดำเนินการเองหรือว่าจ้างบุคคลภายนอก ควรให้มีการดูแลรักษาระบบและตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงแนวทางการเขียนร่างขอบเขตของงาน (TOR) และการกำหนดคุณสมบัติ เพื่อการจัดจ้างทำเว็บไซต์หรือพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องที่ต้องคำนึงถึงเรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วย (3) สถานการณ์อาชญากรรมทางไซเบอร์ที่กระทบต่อประชาชน ควรสร้างความรู้ความเข้าใจและให้ความตระหนักรู้กับประชาชน โดยเฉพาะการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการที่เหล่ามิจฉาชีพใช้ในการหลอกลวง รวมถึงประชาชนจะต้องรับทราบถึงความเสียหายหรือผลกระทบจากการที่ตนเองตกเป็นเหยื่อหรือถูกหลอก ซึ่งจะส่งผลทำให้สูญเสียทรัพย์สินและถูกแฮ็กเกอร์นำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ในการเข้าถึงระบบต่าง ๆ ได้ และ (4) มัลแวร์เรียกค่าไถ่ หน่วยงานต่าง ๆ ควรลดความเสี่ยงด้วยการจัดทำแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Planning: BCP) และปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ในการดำเนินการตามประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยให้ความสำคัญกับการสำรองข้อมูล และตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ
1 มัลแวร์ (Malware) คือ โปรแกรมประสงค์ร้ายที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อทำอันตรายกับข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
2 Ransomware คือ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่มีความสามารถเข้ารหัสลับข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อได้
3 Emotet Malware คือ มัลแวร์ที่มีความสามารถในการขโมยข้อมูลทางการเงิน เช่น รหัสผ่านบัญชีธนาคารออนไลน์และมีความสามารถในการแพร่กระจายตัวเองผ่านเครือข่ายและผ่านการส่งอีเมลหลอกลวง (Phishing mail)
4 Command and Control Server คือ เซิร์ฟเวอร์ที่เป็นตัวกลางของแฮ็กเกอร์ที่ใช้สำหรับการติต่อไปยังเครื่องที่ถูกฝัง malware ไว้ เพื่อควบคุมให้เครื่องเหล่านั้นกระทำสิ่งใด ๆ ตามที่แฮ็กเกอร์ต้องการ
5 Social Engineering คือ เทคนิคการหลอกหลวงโดยใช้หลักการพื้นฐานทางจิตวิทยาเพื่อให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูล
6 แพทช์ คือ โปรแกรมที่ใช้ซ่อมแซมจุดบกพร่องของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือปรับปรุงข้อมูลสำหรับโปรแกรมให้ทันสมัยและเพิ่มเติมความสามารถในการใช้งานหรือประสิทธิภาพให้ดีขึ้น
7 Themes คือ ลักษณะกราฟิกและรายละเอียดการทำงาน ประกอบด้วย รูปร่างและสี โดยสามารถปรับแต่งรูปลักษณ์ของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์หรือระบบปฏิบัติการได้ตามความพึงพอใจของผู้ใช้งาน
8 Plug-in คือ โปรแกรมเสริมที่ถูกออกแบบให้มีความสามารถเฉพาะอย่าง ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับโปรแกรมหลักเพื่อให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยจะติดตั้งเพื่อใช้งานหรือไม่ติดตั้งก็ได้

8. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) เสนอผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 ดังนี้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สคทช. รายงานว่า คทช. ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 ได้มีมติรับทราบและพิจารณาผลการดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้




เรื่อง          ความเห็นที่ประชุม/มติ คทช.
1. เรื่องเพื่อทราบ จำนวน 1 เรื่อง
          ผลการดำเนินงานของฝ่ายเลขานุการ คทช. และคณะอนุกรรมการภายใต้ คทช. ดังนี้
          1.1 ผลการดำเนินงานของฝ่ายเลขานุการ คทช. เช่น (1) ภาพรวมผลการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558-2565 พื้นที่เป้าหมาย 1,491 พื้นที่ 70 จังหวัด เนื้อที่ 5.79 ล้านไร่ ใน 9 ประเภทที่ดิน เช่น ป่าสงวนแห่งชาติ (663 พื้นที่ เนื้อที่ 3.98 ล้านไร่) ป่าไม้ถาวร (2 พื้นที่ เนื้อที่ 1.15 แสนไร่) และป่าชายเลน (577 พื้นที่ เนื้อที่ 26,217 ไร่) ทั้งนี้ ได้จัดคนเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินแล้ว 78,109 ราย 96,536 แปลง เนื้อที่ 5.29 แสนไร่ ใน 354 พื้นที่ (2) การดำเนินงานภายใต้แผนปฏิรูปประเทศด้านสังคม กิจกรรม ปฏิรูปประเทศที่ 5 (Big Rock) การสร้างมูลค่าที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชน โดย สคทช. ได้ดำเนินโครงการจัดทำแนวทางการสร้างมูลค่าที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชน ในงบปีประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมีข้อเสนอแนวทางการสร้างมูลค่าที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชน ดังนี้ 1) การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบในการจัดที่ดินเพื่อลดข้อจำกัดในการแลกเปลี่ยน/จำหน่ายจ่ายโอนและเพื่อลดข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบเพื่อลดข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2) การกำหนดแนวทางการประเมินมูลค่าที่ดินและทรัพย์สินที่รัฐจัดให้กับประชาชนและ 3) การจัดให้มีระบบหรือสถาบันที่ให้สินเชื่อระยะกลางและระยะยาวให้แก่ประชาชนที่ได้รับการจัดที่ดินของรัฐ และจัดให้มีระบบบประกันความเสี่ยงในการอำนวยสินเชื่อ ทั้งนี้ สคทช. จะได้นำแนวทางดังกล่าวเสนอต่อคณะอนุกรรมการนโยบาย แนวทาง และมาตรการการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน และ คทช. พิจารณา ตามลำดับต่อไปและ (3) การขอให้พื้นที่อาคารราชพัสดุเป็นที่ตั้งของ สคทช. ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจ้างออกแบบแก้ไขปรับปรุงอาคารโดยจะขอรับการสนับสนุนงบกลางเพื่อดำเนินการปรับปรุงอาคารต่อไป
          1.2 ผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการภายใต้ คทช. เช่น (1) คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้เห็นชอบให้นำพื้นที่ไปดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน 2 พื้นที่ ใน 2 จังหวัด เนื้อที่ 4,583 ไร่ (2) คณะอนุกรรมการจัดที่ดิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้ส่งข้อมูลให้คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัดดำเนินการจัดราษฎรเข้าครอบครองและทำประโยชน์ในพื้นที่เป้าหมาย 1,981 แปลง 1,656 ราย เนื้อที่ 6,687 ไร่ ใน 16 พื้นที่ 7 จังหวัด และ (3) คณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) และแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้ดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ตราด นครนายก นครสวรรค์ ระยอง (ยกเว้น กรณีพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด) ลพบุรี ศรีสะเกษ และสระบุรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 [เรื่อง ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตรส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด] เห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนจากการดำเนินงานปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ 10 ข้อ และให้นำไปใช้กับทุกกลุ่มจังหวัด เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติอย่างเดียวกัน          มติ คทช.: รับทราบผลการดำเนินงานของฝ่ายเลขานุการ คทช. และคณะอนุกรรมการ ภายใต้ คทช.
2. เรื่องเพื่อพิจารณา จำนวน 2 เรื่อง
          2.1 การดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 3 จำนวน 11 จังหวัด คณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ในการประชุมเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 มีมติเห็นชอบ ดังนี้
          (1) ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนแนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) พื้นที่กลุ่มที่ 3 จำนวน 11 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ สระแก้ว สุรินทร์ อุบลราชธานี เพชรบูรณ์ และเลย (ยกเว้นกรณีแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดนครราชสีมา และปราจีนบุรี) และให้นำเสนอ คทช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
          (2) ข้อเสนอแนะ/แนวทางการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่รับผิดชอบที่ดินของรัฐ กรณีการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) อาจมีผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่กลุ่มที่ 3 จำนวน 11 จังหวัดดังกล่าว โดยให้ถือเป็นส่วนประกอบของแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนจากการดำเนินงานปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 [เรื่อง ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด]
          (3) แนวทางการแก้ไขปัญหากรณีพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดนครราชสีมา และปราจีนบุรี (กรณีเร่งด่วน) ดังนี้
             (3.1) กรณีอุทยานแห่งชาติทับซ้อนกับเขตปฏิรูปที่ดิน [ซึ่งกรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม           (ส.ป.ก.) ดำเนินการ] ให้ยึดเส้นแนวเขตของ ส.ป.ก. ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) ข้อ 5.11 และ 6.12 โดยอยู่ในอำนาจของคณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) ให้นำเรื่องเสนอ คทช. และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
             (3.2) กรณีพื้นที่นอกแนวเขตที่กรมป่าไม้ส่งมอบให้ ส.ป.ก. ดำเนินการ (แต่อยู่ภายในเขตเส้นปรับปรุงปี 2543) ให้นำข้อเสนอของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2 แนวทาง คำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียเสนอคณะอนุกรรมการนโยบาย แนวทาง และมาตรการการบริหารจัดการที่ดินฯ ของ คทช. เพื่อพิจารณากำหนดนโยบายว่าพื้นที่ดังกล่าว ควรใช้แนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมอย่างไร ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 [เรื่อง ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1: 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด] เสนอ คทช. และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วแจ้งให้คณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) ทราบต่อไป          มติ คทช.:
1. เห็นชอบต่อผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) ในพื้นที่กลุ่มที่ 3 จำนวน 11 จังหวัด ดังกล่าว และมอบหมายให้ สคทช. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป [คณะรัฐมนตรีมีมติ (28 กุมภาพันธ์ 2566) เห็นชอบแล้ว
ทั้งนี้ แนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ดังกล่าว ซึ่งนำไปใช้กับทุกกลุ่ม จังหวัดเพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน
2. เห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดนครราชสีมา และปราจีนบุรี (กรณีเร่งด่วน) ดังนี้
          2.1 การดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของ   รัฐฯ (One Map) กรณีอุทยานแห่งชาติทับซ้อนกับเขตปฏิรูปที่ดิน (ซึ่งกรมป่าไม้ ส่งมอบพื้นที่ให้              ส.ป.ก. ดำเนินการ) ให้ยึดเส้นแนวเขตของ ส.ป.ก. ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) และให้ สคทช. นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป [คณะรัฐมนตรีมีมติ (14 มีนาคม 2566) เห็นชอบแล้ว]
          2.2 มอบหมายให้คณะอนุกรรมการนโยบาย แนวทาง และมาตรการการบริหารจัดการที่ดินฯ รับเรื่องไปพิจารณากรณีพื้นที่นอกแนวเขตที่กรมป่าไม้ส่งมอบให้ ส.ป.ก. ดำเนินการ (แต่อยู่ภายในเขตเส้นปรับปรุงปี 2543) ว่าควรใช้แนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมอย่างไร และนำเรื่องเสนอ คทช. พิจารณา ผลเป็นประการใดให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป [คณะรัฐมนตรีมีมติ (14 มีนาคม 2566) เห็นชอบแล้ว] แล้วแจ้งคณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) ทราบและพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
          2.2 การแก้ไขปัญหาข้อพิพาท กรณีป่าสงวนแห่งชาติ
ป่าพระแท่นดงรัง ในพื้นที่ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา
จังหวัดกาญจนบุรีทับซ้อนกับวัดพระแท่นดงรังวรวิหาร
โดยมีประเด็นข้อกฎหมาย 4 ประเด็น ดังนี้
          (1) การกำหนด ?เขตป่าสงวนแห่งชาติ? ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ จะประกาศกำหนดโดยทับซ้อนพื้นที่เดียวกันกับ ?เขตโบราณสถาน? ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน ได้หรือไม่
          (2) การประกาศกำหนด ?เขตโบราณสถาน? ของกรมศิลปากรตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน จะเป็นผลให้วัดพระแท่นดงรังฯ มีสิทธิครอบครองในที่ดินตามพื้นที่ที่กรมศิลปากรได้ประกาศกำหนดหรือไม่ เพียงใด
          (3) ตามบทกฎหมายและเอกสารของทางราชการเท่าที่ปรากฏในขณะนี้ (ทั้งของทางราชการและของวัดพระแท่นดงรังฯ) มีกฎหมายและเอกสารใดบ้างที่แสดงให้เห็นว่าวัดมีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองในที่ดินและถ้ามีเอกสารเช่นนั้น สิทธิของวัดดังกล่าวมีอยู่เพียงใดและตั้งแต่เมื่อใด
          (4) คำพิพากษาเกี่ยวกับการโต้แย้งสิทธิในที่ดินในคดีระหว่าง วัดพระแท่นดงรังฯ กับเอกชน จะนำมาใช้ยันกับทางราชการได้เพียงใดและในคำพิพากษาดังกล่าว มีข้อเท็จจริงใดบ้างที่แสดงให้เห็นว่าวัดมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน ณ ที่ใด
          คณะอนุกรรมการกลั่นกรองกฎหมายการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 ได้พิจารณาแล้ว มีมติเห็นชอบตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ ดังนี้
          (1) เสนอให้กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม (ทส.) เพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติป่าพระแท่นดงรัง บางส่วน บริเวณที่ตั้งของวัดพระแท่นดงรังฯ โบสถ์ เขาถวายพระเพลิงรวมถึงบริเวณที่โรงเรียนขอใช้พื้นที่จากวัดพระแท่นดงรังฯ จัดตั้งโรงเรียน เนื้อที่ประมาณ 193 ไร่ ตามแนวทางที่กรมป่าไม้ได้เคยดำเนินการไว้แล้ว โดยให้ระบุหมายเหตุ แนบท้ายกฎกระทรวงเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ให้มีข้อความไปถึงว่า เพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าว เพื่อให้เป็นอาณาเขตของวัดพระแท่นดงรังฯ และเป็นที่ธรณีสงฆ์
          (2) ทั้งนี้ หากภายภาคหน้า วัดพระแท่นดงรังฯ มีเอกสารหรือพยานหลักฐานเพิ่มเติมที่จะขอออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินในบริเวณนอกเหนือจากพื้นที่ 193 ไร่ ก็สามารถนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อยื่นขอออกเอกสารสิทธิในที่ดินได้ต่อไป โดยมติที่ประชุมในเรื่องนี้ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ได้รับรองในการประชุมด้วยแล้ว          มติ คทช.: เห็นชอบการแก้ไขปัญหาข้อพิพาท กรณีป่าสงวนแห่งชาติป่าพระแท่นดงรังในพื้นที่ ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
ทับซ้อนกับวัดพระแท่นดงรังฯ
โดยให้กรมป่าไม้เพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติป่าพระแท่นดงรังบางส่วนเนื้อที่ประมาณ 193 ไร่ เพื่อให้เป็นอาณาเขตของวัดพระแท่นดงรังฯ และเป็นที่ธรณีสงฆ์ และมอบหมายให้ ทส. โดยกรมป่าไม้พิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ หากภายภาคหน้าวัดพระแท่นดงรังฯ มีเอกสารหรือพยานหลักฐานเพิ่มเติมที่จะขอออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินก็สามารถนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อยื่นขอออกเอกสารสิทธิในที่ดินได้ต่อไป
3. เรื่องอื่น ๆ เรื่อง ติดตามผลการแก้ไขปัญหากลุ่มราษฎรร้องขอที่ดินทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
          3.1 จังหวัดสุพรรณบุรีขอหารือกรณีกลุ่มราษฎรผู้เดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกินเรียกร้องที่ทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าองค์พระ ป่าเขาพุระกำและป่าเขาห้วยพลู ท้องที่ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เนื้อที่ 557 ไร่ โดยกลุ่มราษฎรฯ ขอให้พิจารณาจัดที่ดินให้กลุ่มทั้งกลุ่มเนื่องจากว่าเป็นผู้เรียกร้องที่ดินทำกินที่มาลงทะเบียนผู้ยากไร้ไม่มีที่ดินทำกินเป็นกลุ่มแรก
          3.2 พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าองค์พระ ป่าเขาพุระกำ และป่าเขาห้วยพลูได้กำหนดเป็นพื้นที่เป้าหมายการจัดที่ดินทำกินป่าสงวนแห่งชาติแปลงว่าง (การจัดระบบการใช้ประโยชน์) กรมป่าไม้ได้อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (แบบ ป.ส. 23-1) เล่มที่ 16 ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 เมษายน 2565 โดยกระบวนการจัดที่ดินในป่าสงวนแห่งชาติแปลงว่างกำหนดประเภทของผู้ที่ได้รับการจัดที่ดินจะพิจารณาจากผู้ที่ถูกผลักดันและอพยพโยกย้ายออกจากพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามโครงการของทางราชการที่สูญเสียที่ดินทำกิน และผู้ที่ไร้ที่ดินทำกินที่ขอรับการจัดที่ดินที่มีถิ่นที่อยู่ในท้องที่ที่จะจัดที่ดิน (พิจารณาจากหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หากมีพื้นที่เหลือจึงจะจัดให้ผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในท้องที่ใกล้เคียงอื่นต่อไป และได้ขึ้นทะเบียนไว้กับทางราชการ) ตามลำดับ          มติ คทช.: มอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบที่ดินของรัฐพิจารณานำเสนอที่ดินของรัฐแปลงว่างที่หมดอายุสัมปทานและไม่มีแผนการดำเนินงานในพื้นที่เสนอเป็นพื้นที่เป้าหมายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนต่อไป
1 หลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) ข้อ 5.1 หมายถึง กรณีป่าสงวนแห่งชาติทับซ้อนกับเขตปฏิรูปที่ดินให้ใช้แนวเขตตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินที่มีแผนงานดำเนินการแล้วเป็นหลัก และอยู่ในเขตพื้นที่ที่กรมป่าไม้ส่งมอบให้ ส.ป.ก. กรณีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินทั้งตำบล/อำเภอ ให้ใช้แนวเขตปฏิรูปที่ดินตามแผนที่ที่กรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติให้ ส.ป.ก. รวมทั้งพื้นที่ที่ ส.ป.ก. กันคืน (RF)           ตามบันทึกข้อตกลงเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2538
2 หลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) ข้อ 6.1 หมายถึง กรณีกรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ให้ ส.ป.ก. และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินก่อนการกำหนดให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ให้ใช้แนวเขตปฏิรูปที่ดินเป็นหลัก เว้นแต่เป็นพื้นที่ที่ไม่สมควรนำไปปฏิรูปที่ดิน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2537 (เรื่อง ขออนุมัติดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ในเขตเศรษฐกิจที่เสื่อมโทรม) ให้ใช้แนวเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เป็นหลัก

ต่างประเทศ

9. เรื่อง รายงานผลการเดินทางเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอผลจากการเดินทางเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates: UAE) ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  ของรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และคณะผู้บริหารระดับสูงของ พณ. ระหว่างวันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ 2566 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (28 กุมภาพันธ์ 2566) ที่เห็นชอบการเข้าร่วมการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Comprehensive Economic Partnership Agreement: CEPA) กับ UAE ของประเทศไทย กรอบการเจจาความตกลงฯ และเอกสารร่างขอบเขต (Term Of Reference:TOR) สำหรับการเจรจาจัดทำความตกลงฯ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ประเด็นการหารือ รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้หารือกับรัฐมนตรีแห่งรัฐประจำกระทรวงเศรษฐกิจ UAE ด้านการค้าต่างประเทศสรุปได้ ดังนี้
                              1.1 ไทยและ UAE เห็นพ้องที่จะจัดทำ CEPA ระหว่างกันเนื่องจากจะก่อให้เกิดการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนอย่างยั่งยืน โดยทั้งสองฝ่ายได้มอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบหารือเพื่อให้สามารถเริ่มการเจรจาได้โดยเร็ว ซึ่งไทยจะเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบกรอบการเจรจาก่อนประกาศเริ่มการเจรจาอย่างเป็นทางการต่อไปและจะผลักดันให้การเจราจาแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน ทั้งนี้ ปัจจุบัน UAE มีความตกลง CEPA ที่ได้ข้อสรุปแล้วร่วมกับ 3 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐอินเดีย รัฐอิสราเอล และสาธารณรัฐอินโดนีเซียและอยู่ระหว่างเร่งเจรจากับหลายประเทศ เช่นสาธารณรัฐตุรกี ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐเกาหลี
                              1.2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างไทยและ UAE ได้แก่ (1) การจัดตั้งกลไกสภาธุรกิจ (Joint Business Council. (JBC) ไทย-UAE เพื่อสนับสนุนการค้าการลงทุน และการดำเนินธุรกิจ (2) การเชิญชวนนักธุรกิจ UAE มาลงทุนในไทย โดย UAE สนใจที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐาน ดิจิทัล และความมั่นคงทางอาหาร และ (3) การเชิญชวนนักธุรกิจ UAE เข้าร่วมงานแสดงสินค้าในไทย เช่น งาน Bangkok Gems & Jewelry Fair (สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ) และงาน THAIFEX (อาหาร)
                              1.3 การขอเสียงสนับสนุนให้จังหวัดภูเก็ตเป็นเจ้าภาพจัดงาน Specialised Expo1 2028 ซึ่งองค์การนิทรรศการนานาชาติจะจัดให้มีการเลือกประเทศเจ้าภาพจัดงานดังกล่าวในเดือนมิถุนายน 2566
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เป็นสักขีพยานในการลงนามสัญญาซื้อขายสินค้า (Memorandum of Purchasing: MoP) และความร่วมมือ (Memorandum of Understanding: MoU) ระหว่างภาคเอกชนไทยและ UAE สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 การลงนาม MoP ระหว่างบริษัทไทยและ UAE จำนวน 5 คู่ ใน 4 กลุ่มสินค้า ได้แก่ อาหาร สุขภัณฑ์และกระเบื้องเซรามิค ชิ้นส่วนยานยนต์ และผลิตภัณฑ์เมลามีน มูลค่ารวม
1,330 ล้านบาท
                              2.2 การลงนามจัดตั้ง JBC ไทย-UAE ซึ่งคาดว่าจะเป็นกลไกขับเคลื่อนให้เกิดมูลค่าการค้าระหว่างไทยและ UAE จำนวน 30,000 ล้านบาท
                              2.3 การลงนาม MoU ระหว่าง DP World (บริษัทด้านโลจิสติกส์ของ UAE) กับภาคเอกชนไทยเกี่ยวกับความร่วมมือด้านโลจิสติกส์ภายใต้โครงการ World Logistics Passport (WLP2) ซึ่งเอกชนจะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้ (1) การลดต้นทุนโลจิสติกส์ (2) การประหยัดเวลาขนส่งสินค้าจากการลดขั้นตอนพิธีการศุลกากร     (3) การเข้าถึงประเทศที่เป็นสมาชิก WLP ได้ง่ายขึ้น และ (4) การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายการขนส่งระหว่างประเทศของ DP World
ทั้งนี้ การเดินทางเยือน UAE ในครั้งนี้จะก่อให้เกิดมูลค่าการค้าระหว่างไทย-UAE จำนวน 31,330 ล้านบาท
                    3. กิจกรรมอื่น ๆ ประกอบด้วย
                              3.1 การประชุมร่วมกับทีมเศรษฐกิจของไทยใน UAE ปัจจุบันอินเดียเป็นคู่แข่งทางการค้ารายสำคัญของไทยในภูมิภาคตะวันออกกลางเนื่องจากอินเดียมีระยะทางการขนส่งสินค้าที่ใกล้กว่าไทย ประกอบกับอินเดียได้จัดทำ CEPA กับ UAE และอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) กับกลุ่มประเทศคณะมนตรีความร่วมมีอรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council: GCC3) ทั้งนี้ หากอินเดียได้ทำ FTA กับกลุ่ม GCC จะส่งผลให้การนำเข้าสินค้าจากอินเดียมีความรวดเร็วและราคาถูกกว่าไทย ดังนั้น จึงได้เสนอให้ พณ. จัดทำ FTA กับกลุ่มประเทศ GCC
                              3.2 พิธีเปิดโครงการ Thai Souq ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมและกระจายสินค้าและบริการของไทยในเมืองดูไบ โดยปัจจุบันมีร้านค้ามากกว่า 30 ร้าน เช่น ร้านอาหาร ของที่ระลึก เครื่องประดับ เครื่องสำอาง ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านนวดแผนไทย
                    4. แนวทางการดำเนินการในระยะต่อไปของ พณ.
                              4.1 อยู่ระหว่างประสานกับฝ่าย UAE เพื่อจัดการประชุมหารือประเมินการเจรจาเพื่อจัดทำ CEPA ระหว่างไทย-UAE ในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำ CEPA ระหว่างไทย-UAE ซึ่งคาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566
                              4.2 จัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างไทย-UAE เพื่อให้มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยขยายตัวตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น การให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการไทย การส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าไทย การจัด             คณะผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าใน UAE และการจัดคณะผู้แทนการค้าจาก UAE มาเจรจาการค้ากับผู้ประกอบการไทย และการเชิญผู้นำเข้าจาก UAE เข้าร่วมงานแสดงสินค้าของไทย
1 Specialised Expo หรืองานเอ็กซ์โปวาระพิเศษ เป็นงานมหกรรมระดับโลกภายใต้ลิขสิทธิ์ขององค์การนิทรรศการนานาชาติเพื่อการส่งเสริมภาพลักษณ์ด้านต่าง ๆ ของประเทศเจ้าภาพ
2 WLP ประกอบด้วยสมาชิกและพันธมิตร 17 ประเทศ ได้แก่ UAE ไทย สหรัฐเม็กซิโก สาธารณรัฐโคลอมเบีย สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอุรุกวัย ราชอาณาจักรโมร็อกโก สาธารณรัฐเซเนกัล สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย สาธารณรัฐเคนยา สาธารณรัฐแอฟริกาต้ สาธารณรัฐคาซัคสถาน สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ มาเลเซีย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
3 GCC ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ UAE ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย บาห์เรน รัฐสุลต่านโอมาน รัฐกาตาร์ และรัฐคูเวต

10. เรื่อง สรุปผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 3 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอสรุปผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 3 (The 3rd ASEAN Digital Ministers? Meeting: ADGMIN ครั้งที่ 3) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2566 ณ เกาะโบราไคย์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 เห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม ADGMIN ครั้งที่ 3 และการประชุมที่เกี่ยวข้องรวม 7 ฉบับ1 และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนาม รับรองและให้ความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ) โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีและ                ผู้ที่ได้รับมอบหมายของประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ2 ยกเว้นสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเข้าร่วมประชุมฯ (ประเทศไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเข้าร่วม) ร่วมกับประเทศคู่เจรจา [สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สาธารณรัฐอินเดีย (อินเดีย) สหรัฐอเมริกา และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU)] และเลขาธิการอาเซียนเข้าร่วมประชุมฯ โดยมีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          ผลการประชุมฯ
1. การร่วมแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าการพัฒนาด้านดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงและแลกเปลี่ยนมุมมองภายใต้ห้อข้อ การผนึกกำลังสู่อนาคตดิจิทัลที่ยั่งยืน (Synergy Towards a Sustainable Digital Future) โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมด้านดิจิทัล การส่งเสริมความร่วมมือตามแผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล ค.ศ. 2025 (ASEAN Digital Masterplan 2025: ADM 2025) และแบ่งปันข้อมูล การปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลของไทยโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล การพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในสาขาต่าง ๆ และเน้นย้ำถึงความท้าทายในระดับภูมิภาคและระดับโลกเกี่ยวกับผลกระทบจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มาพร้อมกับการเร่งการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล เช่น ปัญหาข่าวปลอม (Fake News) และปัญหาการหลอกลวงผ่านสื่อออนไลน์
2. การผลักดันประเด็นสำคัญเร่งด่วนของไทย          ไทยได้เสนอกิจกรรมความร่วมมือภายใต้คณะทำงานด้านการต่อต้านการหลอกลวงออนไลน์ของอาเซียน เช่น (1) การประสานงานและการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ (Anti-Online Scam) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน (2) การสร้างเครือข่ายอาเซียน ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจัดทำมาตรการเพื่อปกป้องประชาชนจากการหลอกลวงทางออนไลน์ และ (3) การจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากร โดยที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 3 (The 3rd ASEAN Digital Senior Officials?Meeting: ADGSOM ครั้งที่ 3) และ ADGMIN ครั้งที่ 3 ได้สนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวของไทย พร้อมทั้งเสนอแนะให้มีการแจ้งเวียนร่างเอกสารแนวคิดด้านการต่อต้านการหลอกลวงออนไลน์ให้องค์กรอาเซียนสาขาที่เกี่ยวข้องพิจารณาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อไป
3. การรายงานผลการดำเนินงานสำคัญ ปี 2565           รับทราบผลงานความสำเร็จของโครงการสำคัญ ประจำปี 2565 ได้แก่ (1) รายงานการศึกษาภูมิทัศน์ปัญญาประดิษฐ์ของอาเชียน (ASEAN AI Landscape Study Report) (2) แนวทางปฏิบัติร่วมระหว่างข้อสัญญาต้นแบบของอาเชียนและข้อสัญญามาตรฐานของสหภาพยุโรปสำหรับการโอนข้อมูลระหว่างประเทศ (Guide to ASEAN Model Contractual Clauses and EU Standard Contractual Clauses for International Data Transfers) (3) กรอบการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ของอาเซียน (Operational Framework ASEAN Computer Emergency Response Team: ASEAN CERT) และ (4) โครงการ ASEAN Guidelines detailing Quality of Experience (QoE) Framework
4. การรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานอาเซียนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ครั้งที่ 3          ประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการแลกเปลี่ยนพัฒนาการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับประเทศ รวมถึงการดำเนินงานขององค์กรอาเซียนรายสาขาที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของภูมิภาค โดยในส่วนของกรอบการประชุมสภาปฏิบัติการอาเซียนด้านความมั่นคงปลอดภัยบนเครือข่าย (ASEAN Network Security Action Council: ANSAC) ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนดิจิทัล มีกิจกรรมและการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น โครงการศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และบริการดิจิทัลที่น่าเชื่อถือ
5. การอนุมัติงบประมาณ ประจำปี 2566          ในปี 2566 ไทยได้รับอนุมัติงบประมาณจากกองทุน ASEAN ICT Fund 1 โครงการ คือ โครงการ Towards ASEAN regional analysis: ASEAN Guidelines and Preparation on conducting digital statistics for economy-wide CGE database and bridging-digital-divide integrated simulation3 จำนวน 57,900 ดอลลาร์สหรัฐ
6. เอกสารผลลัพธ์สำคัญของการประชุม ADGMIN ครั้งที่ 3          ได้มีการรับรอง ให้ความเห็นชอบ และรับทราบเอกสาร จำนวน 6 ฉบับ ดังนี้
6.1 รับรองปฏิญญาดิจิทัลโบราไคย์ (Boracay Digital Declaration)
ซึ่งเป็นเอกสารที่มุ่งขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล ค.ศ. 2025 แผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025: ADM 2025 และผลลัพธ์การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ที่ให้ความสำคัญกับการบูรณาการนโยบายและการดำเนินงานในทุกประชาคมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ ได้มีการปรับแก้ไข และเพิ่มเติมถ้อยคำให้สอดคล้องกับการดำเนินการตามแผนแม่บท ADM 2025 และการพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศไทย
6.2 เห็นชอบกรอบการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้นด้านดิจิทัลในอาเซียน (Framework for Promoting the Growth of Digital Startups in ASEAN) ซึ่งจัดทำขึ้นบนพื้นฐานตามความสมัครใจและไม่มีผลผูกพันโดยระบุถึงปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศของวิสาหกิจเริ่มต้นด้านดิจิทัล 6 เสาหลัก ได้แก่ ความสามารถ การศึกษา ความเชื่อมโยงสภาพแวดล้อมทางกฎหมาย โครงสร้างพื้นฐาน และเงินทุน
6.3 เห็นชอบร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรอบการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้นด้านดิจิทัลในอาเซียน (Policy Recommendation: Framework for Promoting the Growth of Digital Startups in ASEAN) เป็นเอกสารที่ระบุถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อลดช่องว่างของการพัฒนาและสนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศของวิสาหกิจเริ่มต้นด้านดิจิทัล
6.4 เห็นชอบแถลงข่าวร่วมสำหรับการประชุม ADGMIN ครั้งที่ 3 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (The 3rd ASEAN Digital Ministers? Meeting and Related Meetings Joint Media Statement) โดยเป็นเอกสารที่ระบุถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาด้านดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียนตามแผนแม่บท ADM 2025 และการขับเคลื่อนตามแผนงานของอาเซียนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ได้มีการปรับแก้ไขและเพิ่มเติมถ้อยคำให้สอดคล้องกับการดำเนินงานความร่วมมือระหว่างอาเซียนและคู่เจรจา และสนับสนุนการดำเนินการตามแผนแม่บท
6.5 รับทราบแนวทางปฏิบัติร่วมระหว่างข้อสัญญาต้นแบบของอาเซียนและข้อสัญญามาตรฐานของสหภาพยุโรปสำหรับการโอนข้อมูลระหว่างประเทศ (Guide to ASEAN Model Contractual Clauses and EU Standard Contractual Clauses for International Data Transfers) เป็นเอกสารส่วนที่ 1 ที่เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างข้อสัญญาต้นแบบของอาเซียน (ASEAN MCCs) และข้อสัญญามาตรฐานของสหภาพยุโรป (EU SCCs) ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความสอดคล้องทางกฎหมายกฎระเบียบด้านการคุ้มครองข้อมูลของภูมิภาคอาเซียนและสหภาพยุโรป
6.6 รับทราบรายงานการศึกษาภูมิทัศน์ปัญญาประดิษฐ์ของอาเซียน
(ASEAN AI Landscape Study Report) เป็นเอกสารการศึกษายุทธศาสตร์ข้อริเริ่ม และกรอบธรรมาภิบาลด้านปัญญาประดิษฐ์ (Atificial intelligence: AI) ของประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงประเทศอื่น ๆ และองค์การระหว่างประเทศเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานและแนวทางในการจัดทำธรรมาภิบาลด้าน AI สำหรับอาเซียน
ทั้งนี้ ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลของประเทศสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฯ ยังไม่มีการพิจารณาการลงนามเอกสารฉบับดังกล่าว เนื่องจาก ITU อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างเอกสารดังกล่าว
7. การประชุม ADGMIN ครั้งที่ 3 กับคู่เจรจา (จีน ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย สหรัฐอเมริกา และ ITU)          ที่ประชุม ADGMIN ครั้งที่ 3 ให้ความเห็นชอบต่อแผนงานความร่วมมือด้านดิจิทัลระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจา โดยให้ความสำคัญกับการยกระดับความร่วมมือด้านดิจิทัล การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การแสวงหาเทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ และการพัฒนาศักยภาพในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยในโลกไซเบอร์ โดยมุ่งเน้นการดำเนินการที่สอดคล้องกับแผนแม่บท ADM 2025 และเน้นย้ำการส่งเสริมเวทีการหารือเชิงนโยบายและการกำกับดูแลระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจาและหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ตลอดจนการสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคเอกชนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านดิจิทัลอย่างครอบคลุมและยั่งยืนต่อไป
8. การจัดการประชุม ADGMIN ครั้งที่ 4          สิงคโปร์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ADGMIN ครั้งที่ 4 ซึ่งมีกำหนดการจะจัดขึ้นในช่วงต้นปี 2567
9. การหารือทวิภาคีระหว่างประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ          9.1 สหรัฐอเมริกา ได้หารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลทิศทางการพัฒนาด้านดิจิทัลที่สำคัญของประเทศ และประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญและต้องการผลักดัน เช่น การพัฒนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล การพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G และการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล และความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
9.2 มาเลเซีย ได้หารือในประเด็น เช่น ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล การพัฒนาเมืองอัจฉริยะเทคโนโลยี 5G การจัดการปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว และการส่งเสริมการลงทุนจากภาคเอกชนของทั้งสองฝ่าย
9.3 ญี่ปุ่น ได้มีการหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลในประเด็น เช่น การพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G การส่งเสริมการเชื่อมโยงโครงข่ายผ่านระบบ OpenRAN และแสดงความขอบคุณและยินดีต่อความสำเร็จของโครงการศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์ (ASEAN-Japan Cybersecurity Capacity Building Centre: AJCCBC) ซึ่งดำเนินการโดยประเทศไทย
9.4 จีน ได้หารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลความร่วมมือด้านดิจิทัล เช่น ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัล โดยไทยได้แจ้งความก้าวหน้าในการเตรียมการจัดการประชุมคณะทำงานร่วมไทย-จีน ด้านความร่วมมือในสาขาเศรษฐกิจดิจิทัล (Thailand-China Ministerial Dialogue on Digital Economy Cooperation) ครั้งที่ 2 ณ ประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะจัดในช่วงปลายปี 2566 นอกจากนี้ จีนขอรับการสนับสนุนเสียงจากไทยในการลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งรองเลขาธิการขององค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Asia Pacific Telecommunity: APT) วาระปี ค.ศ. 2024-2026 และขอบคุณประเทศไทยที่ให้การสนับสนุนจีนในการเลือกตั้งตำแหน่งสมาชิกสภาบริหารของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และคณะกรรมการกฎข้อบังคับวิทยุ
10. การหารือทวิภาคีของปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในระหว่างการประชุม ADGSOM ครั้งที่ 3          10.1 สหรัฐอเมริกา ได้หารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G และโครงสร้างพื้นฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกายินดีให้การสนับสนุนอาเซียนและไทยด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยเน้นถึงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร รวมถึงการต่อต้านปัญหาการหลอกลวงทางสื่อออนไลน์
10.2 ฟิลิปินส์ ได้หารือเกี่ยวกับความก้าวหน้าของการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านดิจิทัลระหว่าง ดศ. กับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งฟิลิปินส์ และเร่งรัดการลงนามบันทึกความเข้าใจฯ เพื่อสร้างความร่วมมือด้านดิจิทัลระหว่างกัน
10.3 อินโดนีเซีย ได้ร่วมหารือในประเด็นความร่วมมือด้านดิจิทัล
ที่ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญและต้องการผลักดัน เช่น การจัดการปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ ผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการเตือนภัยเพื่อวางมาตรการเชิงป้องกัน รวมถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจสำหรับประเด็นที่ต้องเร่งดำเนินการระหว่างสองประเทศ ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจจะจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านดิจิทัลระหว่างกัน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลต่อไป
10.4 สภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน (US-ASEAN Business Council: USABC) ได้หารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันในประเด็นเทคโนโลยี 5G และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดย USABC ยินดีสนับสนุนไทยและอาเซียนในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์รวมถึงความร่วมมือด้านดิจิทัลอื่น ๆ
11. บทบาทของคณะผู้แทนไทย          11.1 เร่งรัดการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ปลอดภัย มั่นคง และยั่งยืน โดยเฉพาะการเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงทางไซเบอร์และได้ผลักดันข้อเสนอการจัดตั้งคณะทำงานด้านการต่อต้านการหลอกลวงออนไลน์ เพื่อให้เกิดการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
11.2 ขับเคลื่อนความร่วมมือด้านดิจิทัลของภูมิภาคอาเชียนที่สำคัญ เช่น การดำเนินโครงการศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (AJCCBC) โดยได้ยกระดับการดำเนินงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ครอบคลุมถึงการสร้างบริการดิจิทัลที่น่าเชื่อถือ ผ่านข้อเสนอโครงการศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น โดยรัฐบาลญี่ปุ่นจะให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการ ระหว่างปี ค.ศ. 2023-2027 เพื่อสร้างความเข้มแข็งและการยกระดับขีดความสามารถด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และการบริการดิจิทัลให้กับบุคลากรของไทย และสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น รวมทั้งภาคีภายนอก

1 7 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ว่าด้วยสาขาความร่วมมือด้านดิจิทัล (2) ร่างปฏิญญาดิจิทัลโบราเคย์ (3) ร่างแนวทางปฏิบัติร่วมระหว่างข้อสัญญาต้นแบบของอาเซียนและข้อสัญญามาตรฐานของสหภาพยุโรปสำหรับการโอนข้อมูลระหว่างประเทศ (4) ร่างรายงานการศึกษาภูมิทัศน์ปัญญาประดิษฐ์ของอาเซียน (5) ร่างกรอบการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้นด้านดิจิทัลในอาเซียน (6) ร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กรอบการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้นด้านดิจิทัสในอาเซียน และ (7) ร่างแถลงข่าวร่วมสำหรับการประชุม ADGMIN ครั้งที่ 3 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
2 ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เนการาบรูไนดารุสซาลาม สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา
3 เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางสำหรับการบริหารจัดการสถิติดิจิทัลสำหรับใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับแบบจำลองคำนวณดุลยภาพทั่วไป (Computable General Equilibrium: CGE) เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการลดช่องว่างด้านดิจิทัลของอาเซียนได้อย่างครอบคลุมและบูรณาการ โดยโครงการนี้เป็นระยะที่สอง สืบเนื่องจากโครงการระยะแรกในปี 2564

11. เรื่อง  การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย กับสถาบันการทูตฮังการี กระทรวงการต่างประเทศและการค้าแห่งฮังการี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบเป็นข้อมูล เกี่ยวกับการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย กับสถาบันการทูตฮังการี กระทรวงการต่างประเทศและการค้าแห่งฮังการีตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจฯ
                    บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จัดทำขึ้นระหว่างสถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย กับสถาบันการทูตฮังการี (Hungarian Diplomatic Academy - HDA) กระทรวงการต่างประเทศและการค้าแห่งฮังกรี มีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในการพัฒนาบุคลากรทางการทูตของไทยและฮังการี ผ่านการแลกเปลี่ยนความร่วมมือในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การแลกเปลี่ยนนักการทูตเพื่อการฝึกอบรม การแลกเปลี่ยนการฝึกอบรม และข้อมูลข่าวสารด้านการทูตและการต่างประเทศ เป็นต้น โดยการจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นรูปธรรมระหว่างกัน และเป็นประโยชน์ในการพัฒนาขีดความสามารถให้แก่บุคลากรทางการทูตของไทยและฮังการีต่อไป
                    ความสัมพันธ์ไทย - ฮังการี
                    ไทยและฮังการีจะครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 2566 โดยความสัมพันธ์ดำเนินอย่างราบรื่น และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีความสัมพันธ์ที่มีพลวัตและแน่นแฟ้นมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อนึ่ง บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ในการสร้างเครือข่ายระหว่างนักการทูตไทยกับฮังการี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ