สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2566

ข่าวการเมือง Tuesday August 29, 2023 17:07 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (29 สิงหาคม 2566)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2515) ออกตามความใน                                                  พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวง                                                  สาธารณสุข พ.ศ. ....
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 108 ปี สำนักงานการ                                                  ตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุม                                                  อาคาร พ.ศ. 2522 (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535)ฯ)
                    5.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุม                                                  อาคาร พ.ศ. 2522 (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538)ฯ)
                    6.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างของ                                                  ตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือ                                                  ประเภท 4 พ.ศ. ....
                    7.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 และตำรับวัตถุ                                        ออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. ....
                    8.           เรื่อง          ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตนำเข้าหรือส่งออกยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออก                                        ฤทธิ์ กรณีเป็นผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยเดินทางระหว่างประเทศโดยนำยาเสพติดให้โทษ                                        หรือวัตถุออกฤทธิ์ซึ่งจำเป็นต้องใช้รักษาโรคเฉพาะตัวติดตัวเข้ามาในหรือออกไป                                                  นอกราชอาณาจักร พ.ศ. ....
                    9.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับ                                                  พลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ....
                    10.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่                                                  จังหวัดระยอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    11.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออกหรือจำหน่ายยาเสพติดให้โทษใน                                        ประเภท 3 พ.ศ. ....
                    12.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งวัตถุ                                                  ออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. ....
                    13.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท                                         4 พ.ศ. ....
                    14.           เรื่อง           การปรับบทบาทภารกิจ หน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต                                                  และข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของ                                        ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต

เศรษฐกิจ-สังคม
                    15.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพิจารณาศึกษา ขับเคลื่อน                                         เร่งรัดการปฏิรูประบบทันตสาธารณสุขไทย และการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรม                                         ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา
                    16.           เรื่อง           รายงานตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้าง                                                  สุขภาพ พ.ศ. 2544 ประจำปี 2565
                    17.           เรื่อง           ขออนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณี                                        ฉุกเฉินหรือจำเป็นในการจ่ายเงินงบอุดหนุนเฉพาะกิจ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อ                                                  การเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    18.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ                                        ไทยให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
                    19.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราช                                                  กำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2566
                    20.           เรื่อง           สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ 3                                         ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566


ต่างประเทศ
                    21.           เรื่อง           องค์ประกอบและท่าทีของราชอาณาจักรไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดก                                        โลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 ที่ขยายออกมา
                    22.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic                                                   Community Council: AEC Council) ครั้งที่ 22
                    23.           เรื่อง           การรับรองร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการเป็นภูมิภาคที่มีภูมิคุ้มกันอย่างยั่งยืน                                         (ASEAN Leaders?Declaration on Sustainable Resilience)
                    24.           เรื่อง           การรับรองร่างกรอบงานเครือข่ายหมู่บ้านอาเซียน (ASEAN Villages Network                                         Framework)
                    25.           เรื่อง           การแต่งตั้งคณะผู้แทนไทยในการประชุมใหญ่วาระพิเศษ ครั้งที่ 4 ของสหภาพ                                                  สากลไปรษณีย์

แต่งตั้ง
                    26.           เรื่อง           แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงาน                                                  พัฒนาการวิจัยการเกษตร
?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2515) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2515) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ มท. เสนอว่า
                    1. โดยที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2515) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 เป็นการกำหนดห้ามก่อสร้างอาคาร จำนวน 6 ประเภท ได้แก่ 1) โรงงานอุตสาหกรรม       2) อาคารพิเศษ 3) ห้องแถว 4) ตึกแถว 5) อาคารที่มีความสูงกว่า 12 เมตร และ 6) หอถังน้ำที่มีความสูงกว่า         18 เมตร ภายในเขตท้องที่บางแห่งในตำบลบางปูใหม่ ตำบลท้ายบ้าน และตำบลแพรกษา อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยครอบคลุมพื้นที่เมืองโบราณและบริเวณโดยรอบ รวมพื้นที่ 4,100 ไร่ ประกอบด้วย ที่ดินของเอกชน จำนวน 2,167 ไร่ ที่ดินของเมืองโบราณ 800 ไร่ ที่ดินของการเคหะแห่งชาติ จำนวน 117 ไร่ และที่ดินราชพัสดุในความครอบครองดูแลของกรมธนารักษ์ จำนวน 1,016 ไร่
                    2. ปัจจุบันพื้นที่บริเวณดังกล่าวมีศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ในด้านที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม       ด้านอุตสาหกรรม และสถาบันราชการ แต่เนื่องจากกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2515)ฯ ได้กำหนดมิให้ก่อสร้างอาคารตามข้อ 1. ไว้ จึงไม่สามารถดำเนินการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่พื้นที่บริเวณนี้และบริเวณโดยรอบได้ และปัจจุบันพื้นที่บริเวณดังกล่าวได้มีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2556 กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณนี้แล้ว โดยกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน จำนวน 3 บริเวณ ได้แก่ ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม (สีม่วง) หมายเลข อ. 1 - 11 ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่ออุตสาหกรรมและคลังสินค้า ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยประเภทหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) หมายเลข ย. 3 - 9 ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว แต่ห้ามการอยู่อาศัยประเภทอาคารสูง (สูงเกิน 23 เมตร) หรืออาคารขนาดใหญ่ (พื้นที่อาคารเกิน 10,000 ตารางเมตร) และที่ดินประเภทสถาบันราชการ (สีน้ำเงิน) หมายเลข ส. 7 ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการของรัฐ การสาธารณูโภคและสาธารณูปการ ดังนั้น กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2515)ฯ                  ที่มีข้อกำหนดห้ามมิให้ก่อสร้างอาคารบางประเภท เช่น โรงงานอุตสาหกรรม อาคารพิเศษ ห้องแถว ตึกแถว จึงมีข้อกำหนดที่ไม่สอดคล้องกับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2556 ซึ่งมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้กฎกระทรวงที่กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารชนิดใดหรือประเภทใด หากขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองประกอบกับในอนาคตหน่วยงานราชการที่สำคัญ ได้แก่ กรมพลศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น มีแผนที่จะดำเนินการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้น มท. จึงยกร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2515) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ขึ้น เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าวและลดภาระของประชาชนที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหลายฉบับ ซึ่งในคราวประชุมคณะกรรมการควบคุมอาคาร ครั้งที่ 1509 - 22/2565 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                              ทั้งนี้ ที่ประชุมมีความเห็นว่าหากมีการปรับปรุงกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2556 ควรคำนึงถึงข้อกำหนดที่จะควบคุมเรื่องความสูงของอาคารที่อยู่ในพื้นที่บริเวณโดยรอบเมืองโบราณ ไม่ควรกำหนดให้มีความสูงมากจนเกินไปเพื่อให้ภูมิทัศน์ที่จะเกิดขึ้นไม่เป็นการลดทอนความสำคัญของเมืองโบราณ (พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง) ที่เคยเป็นสถานที่สำคัญที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
                    สาระสำคัญ
                    ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2515) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 เนื่องจากกฎกระทรวง ฉบับที่ 6     (พ.ศ. 2515)ฯ มีการกำหนดห้ามมิให้ก่อสร้างอาคารบางประเภท เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ห้องแถว ตึกแถว อาคารที่มีความสูงกว่า 12 เมตร ภายในเขตท้องที่บางแห่งในตำบลบางปูใหม่ ตำบลท้ายบ้าน และตำบลแพรกษา อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งปัจจุบันพื้นที่บริเวณดังกล่าวได้มีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2556 กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณดังกล่าวไว้แล้ว
                    โดยข้อกำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2515)ฯ ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการฯ โดยกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการฯ ได้มีข้อกำหนดให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวสามารถก่อสร้างอาคารบางประเภท เช่น โรงงานอุตสาหกรรม บ้านแถว ตึกแถวได้ ซึ่งมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้กฎกระทรวงที่กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารชนิดใดหรือประเภทใด หากขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง ประกอบกับในอนาคตหน่วยงานราชการที่สำคัญ ได้แก่ กรมพลศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น มีแผนที่จะดำเนินการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้สามารถดำเนินการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่พื้นที่บริเวณนี้และบริเวณโดยรอบ และเพื่อลดภาระของประชาชนที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหลายฉบับ ซึ่งคณะกรรมการควบคุมอาคารได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ เป็นการปรับปรุงการจัดตั้งส่วนราชการภายในสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข โดยจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นเพื่อรองรับการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งขาดแคลนและมีความจำเป็นต่อการให้บริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขตามโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor : CPIRD) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบโครงการนี้เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565 [เรื่อง โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 ? 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 ? 2570)]

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 108 ปี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 108 ปี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                     สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เดิมมีชื่อว่ากรมตรวจเงินแผ่นดิน ได้ตั้งขึ้นในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2458 โดยมีหน้าที่ตรวจตราการรับจ่ายเงินที่เบิกใช้ในราชการแผ่นดินให้รัดกุม เพื่อรักษาเงินของแผ่นดิน ซึ่งในวันที่ 18 กันยายน 2566 จะครบ 108 ปี ของการก่อตั้ง สตง.1 สตง. จึงได้ขอความร่วมมือกรมธนารักษ์ กค. จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในโอกาสดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และเผยแพร่พระเกียรติคุณให้แผ่ไพศาลไปทั้งภายในประเทศและนานาประเทศ
                     กค. ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตามรูปแบบที่นำความกราบบังคมทูลประกอบพระบรมราชวินิจฉัยแล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกดังกล่าว มาจากเงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของรัฐและการทำของ ประจำปีงบประมาณ       พ.ศ. 2566 โดย กค. ได้จัดเตรียมงบประมาณสำหรับการดำเนินงานไว้แล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กำหนดชนิด ราคา โลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนัก ขนาด อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ลวดลาย และลักษณะอื่น ๆ ของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสครบ 108 ปี สตง. ในวันที่ 18 กันยายน 2566
1 ปัจจุบัน สตง. เป็นองค์กรอิสระ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การปฏิบัติงาน และการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน และตรวจสอบการใช้งบประมาณของรัฐบาล

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535)ฯ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535)ฯ ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดบางประการด้านระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัยในส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างและอุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของอาคารสูง หรืออาคารใหญ่พิเศษ (เช่น คอนโด ห้างสรรพสินค้า สำนักงานขนาดใหญ่ เป็นต้น) และอำนวยความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการอาคารได้มากขึ้น เช่น การกำหนดให้อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องจัดให้มีถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างตามข้อกำหนด ซึ่งรวมถึงความกว้างของผิวจราจรเพื่อให้รถดับเพลิงวิ่งสวนกันได้ โดยกำหนดให้มีถนนสาธารณะต้องมีผิวจราจรรวมกันกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร สำหรับอาคารสูง และไม่น้อยกว่า 12 เมตร สำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษ เพิ่มเติมข้อกำหนดบันไดหนีไฟชั้นใต้ดิน     1 ? 2 ชั้น เพื่อใช้ในการลงไปดับเพลิง การติดตั้งแผนผังของอาคารแต่ละชั้นไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน (เช่น บริเวณห้องโถงหรือหน้าลิฟต์ทุกแห่งของทุกชั้น) และแผนผังดังกล่าวต้องประกอบด้วยสัญลักษณ์ อักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ชัดเจน การกำหนดอัตราการทนไฟของผนัง ประตู หรืออุปกรณ์อื่นที่ทำด้วยวัสดุทนไฟ เดิมไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง เป็น ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง สำหรับอาคารสูง และไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง สำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษซึ่งไม่ใช่อาคารสูง เพิ่มข้อบังคับเรื่องป้ายบอกทางหนีไฟ ป้ายชื่อ และชั้นบันไดหนีไฟ ทั้งด้านในและด้านนอกของบันไดหนีไฟให้มีความชัดเจน (เช่น ป้ายบอกทางหนีไฟ ประกอบด้วยสัญลักษณ์หรือตัวอักษร โดยต้องไม่เล็กกว่า            100 มิลลิเมตร ป้ายต้องประกอบด้วยบอกชื่อบันไดหนีไฟ บอกชั้นบันไดหนีไฟ) รวมทั้งการแก้ไขข้อกำหนดเรื่องรายละเอียดของบันไดหนีไฟเพิ่มเติมให้สามารถให้ใช้วัสดุอื่นเป็นผนังบันไดหนีไฟได้หากมีการรับรองจากสถาบันทดสอบ (ผนังทุกด้านโดยรอบต้องเป็นผนังกันไฟหรือเป็นผนังที่มีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมงหากมีการรับรองจากสถาบันทดสอบ) และเพิ่มเติมวัสดุที่ใช้เป็นผนังภายนอกอาคาร เนื่องจากกฎหมายเดิมไม่มีกำหนดไว้ เช่น         แผ่นโลหะคอมโพสิตที่ใช้สำหรับเป็นผนังภายนอกอาคารหรือวัสดุตกแต่งผิวหนังภายนอก วัสดุที่เป็นแกนกลางต้องไม่ลามไฟและไม่กระจายไฟ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ เพื่อให้อาคารสูงหรืออาคารใหญ่พิเศษมีความปลอดภัยต่อการใช้สอยเทียบเท่า หรือมากกว่าอาคารเก่า ซึ่งคณะกรรมการควบคุมอาคารได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงนี้แล้ว

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538)ฯ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538)ฯ) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับแบบของระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารประเภท ง และอาคารพักอาศัยประเภทบ้านเดี่ยว ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถวหรือบ้านแฝด โดยร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการแก้ไขปรับปรุงแบบระบบบำบัดน้ำเสียซึ่งกำหนดให้ต้องประกอบด้วยส่วนเกรอะและส่วนบำบัด โดยเพิ่มเติมให้ในส่วนของรายละเอียดหลักเกณฑ์ของส่วนเกรอะและส่วนบำบัด             เช่น รูปแบบและตำแหน่งของระบบบำบัดน้ำเสียต้องเหมาะสมให้สามารถดูแลและบำรุงรักษาได้สะดวก (เช่น มีช่องเปิดสำหรับการตรวจติดตามสภาพ หรือเก็บตัวอย่างน้ำได้โดยสะดวก) กำหนดโครงสร้างของระบบบำบัดน้ำเสีย     (เช่น ต้องมีลักษณะที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ ฝาถังบำบัดต้องมีความแข็งแรงทนทานสามารถรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยตามการใช้สอยพื้นที่นั้น และต้องรองรับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 150 กิโลกรัม) เป็นต้น จะกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารต่อไป โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมในรายละเอียดในส่วนของถ้อยคำจากเดิม ?บ่อ? เป็น ?ส่วน? (เนื่องจากเดิมระบบบำบัดน้ำเสียต้องประกอบด้วยบ่อเกรอะและบ่อซึม แต่ในทางปฏิบัติจริงสามารถรวมบ่อเกรอะและบ่อซึมไว้เป็นบ่อเดียวกันได้) แก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำจากเดิม ?บ่อซึม? เป็น ?ส่วนบำบัด? (เนื่องจากปัจจุบันบ่อซึมซึ่งเป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียรูปแบบหนึ่งนั้น ไม่ใช่วิธีการบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมกับประเทศไทยแล้ว) เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ก่อสร้างจริงในปัจจุบัน และแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดให้อาคารประเภทและขนาดตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538)ฯ ที่ขอรับบริการบำบัดน้ำเสียรวมของหน่วยงานของรัฐแล้วให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538)ฯ เพื่อให้ไม่เป็นการบำบัดน้ำเสียซ้ำซ้อนและช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็นให้แก่ประชาชน รวมทั้งกำหนดบทเฉพาะกาลให้อาคารที่ได้รับใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งการก่อสร้างหรือดัดแปลง หรือที่ได้ยื่นคำขออนุญาตหรือได้รับแจ้งการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ เนื่องจากทำให้เป็นภาระแก่ประชาชนมากขึ้น โดยร่างกฎกระทรวงดังกล่าวซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538)ฯ นี้    จะช่วยให้มีระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ ในการควบคุมเกี่ยวกับการสาธารณสุขและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งคณะกรรมการควบคุมอาคารมีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างของตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างของตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. .... ของกระทรวงสาธารณสุข             ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราค่าธรรมเนียมการขออนุญาตและการอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างของตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมกำกับดูแลการผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างของตำรับยาเสพติดให้โทษหรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ ซึ่งเป็นขั้นตอนก่อนขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษหรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ อันจะเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน และเป็นการกำกับดูแลยาเสพติดไม่ให้มีการรั่วไหลนำไปใช้ในทางที่ผิด ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายยาเสพติด และอัตราค่าธรรมเนียมจำนวน 1,000 บาท ตามร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ (5,000 บาท) และยังคงอัตราเดิมซึ่งใช้บังคับในปัจจุบัน
ประเด็น          รายละเอียด
1. ผู้มีสิทธิขออนุญาต          ? ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ที่ประสงค์จะผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างของตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ที่จะขอขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษหรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์
2. การยื่นคำขออนุญาต          ? การยื่นคำขออนุญาตให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก
3. การพิจารณาคำขออนุญาต          ? กรณีที่คำขอรับใบอนุญาต รวมทั้งข้อมูลและเอกสารไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้ผู้อนุญาต (เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา) แจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่ผู้อนุญาตกำหนด โดยหากผู้ขออนุญาตไม่แก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อไปและให้ผู้อนุญาตจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ
? กรณีที่คำขอรับใบอนุญาต รวมทั้งข้อมูลและเอกสารถูกต้องและครบถ้วนให้ผู้อนุญาตพิจารณาและออกใบอนุญาตให้ภายใน 14 วัน
? ในกรณีที่ผู้อนุญาตมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบพร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งไม่อนุญาต
หมายเหตุ : กฎกระทรวงเดิมกำหนดให้ในกรณีมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้แจ้งผู้ขออนุญาตทราบภายใน 7 วัน
4. อายุใบอนุญาต          ? ให้ใบอนุญาตมีอายุ 5 ปี หรือจนกว่าจะได้ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4
หมายเหตุ : กฎกระทรวงเดิมมิได้กำหนดอายุใบอนุญาต
5. ค่าธรรมเนียม          ? ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างของตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ฉบับละ 1,000 บาท (คงเดิม)
? ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ ยกเว้นรัฐวิสาหกิจ

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 และตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 และตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงอตุสาหกรรมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    3. ให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราค่าธรรมเนียมการขอขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 อาทิ โคเดอีน Codeine      (ยาแก้ไอ/ยาแก้ปวดในรูปแบบยาน้ำ/ยาเม็ดใช้รักษาอาการไอ/บรรเทาอาการปวด) การขอขึ้นทะเบียนตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 อาทิ เพนโตบาร์บิทาล Pentobarbital (รูปแบบยาฉีด/ยาเม็ดใช้รักษาโรคลมชัก/ยานอนหลับ) หรือประเภท 4 อาทิ ไดอะซีแพม Diazepam (รูปแบบยาฉีด/ยาเม็ดใช้รักษากลุ่มโรควิตกกังวล/ยานอนหลับ) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมกำกับดูแลการขอขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 เนื่องจากเป็นยาเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์และอาจก่อให้เกิดการนำไปใช้หรือมีแนวโน้มในการนำไปใช้ในทางที่ผิดได้ อันจะเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน และเป็นการกำกับดูแลยาเสพติดไม่ให้มีการรั่วไหลนำไปใช้ในทางที่ผิดตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายยาเสพติด และอัตราค่าธรรมเนียมตามร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ (5,000 บาท)
ประเด็น          รายละเอียด
1. ผู้ซึ่งจะขอขึ้นทะเบียน          ? ต้องเป็นผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4
2. การยื่นคำขอขึ้นทะเบียน          ? การยื่นคำขอขึ้นทะเบียนให้ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยแนบข้อมูลและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. ค่าธรรมเนียม          ? ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ปรับเพิ่มเป็น ฉบับละ 5,000 บาท (เดิมฉบับละ 2,000 บาท)
? การอนุญาตให้แก้ไขรายการทะเบียน ปรับเพิ่มเป็น ฉบับละ 1,500 บาท (เดิมฉบับละ 1,000 บาท)
? ใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษหรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ ปรับเพิ่มเป็น ฉบับละ 200 บาท (เดิมฉบับละ 100 บาท)
? การต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเท่ากับกึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมสำหรับใบสำคัญนั้น
? ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ ยกเว้นรัฐวิสาหกิจ
หมายเหตุ : ร่างกฎกระทรวงนี้ขยายอายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับให้มีช่วงระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นเป็น 7 ปี จากเดิม 5 ปี
                    สธ. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวง โดยได้รับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และระบบกลางทางกฎหมาย รวมทั้งได้เปิดเผยสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้ สธ. ได้ดำเนินการวิเคราะห์การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ โดยพิจารณาถึงปัจจัยต้นทุนในการดำเนินการ ภาระหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชน และประโยชน์ที่ได้รับด้วยแล้ว โดยอัตราค่าธรรมเนียมตามร่างกฎกระทรวงนี้มีการปรับเพิ่มจากอัตราเดิมตามตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2547 และกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรรมเนียมเกี่ยวกับวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2560 เนื่องจากมีต้นทุนในการดำเนินการส่วนของค่าตรวจวิเคราะห์ทะเบียนตำรับของเจ้าหน้าที่ในการตรวจติดตามเฝ้าระวังประสิทธิภาพและความปลอดภัยของทะเบียนตำรับหลังได้รับการขึ้นทะเบียน ประกอบกับร่างกฎกระทรวงนี้ได้ขยายอายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับให้มีช่วงระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นเป็น 7 ปี จากเดิม 5 ปี ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์จากอายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับที่ยาวขึ้น ดังนั้น เมื่อคำนึงถึงต้นทุนของเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการตรวจเฝ้าระวังทะเบียนตำรับเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค และประโยชน์ของผู้ประกอบกิจการที่จะได้รับ และสภาวะทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป จึงมีการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมดังกล่าว

8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตนำเข้าหรือส่งออกยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ กรณีเป็นผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยเดินทางระหว่างประเทศโดยนำยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ซึ่งจำเป็นต้องใช้รักษาโรคเฉพาะตัวติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตนำเข้าหรือส่งออกยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ กรณีเป็นผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยเดินทางระหว่างประเทศโดยนำยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ซึ่งจำเป็นต้องใช้รักษาโรคเฉพาะตัวติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ร่างกฎกระทรวงตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตนำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษ ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน Morphine (บรรเทาอาการปวดเจ็บรุนแรง) โคเดอีน Codeine (แก้ไอและบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง) ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยา และมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย เช่น ยาแก้ไอที่ผสมโคเดอีน หรือวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 วัตถุออกฤทธิ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ และอาจก่อให้เกิดการนำไปใช้หรือมีแนวโน้มในการนำไปใช้ในทางที่ผิดสูง เช่น เฟนเทอร์มีน phentermine (กลุ่มยาลดความอ้วน) ประเภท 3 วัตถุออกฤทธิ์ที่ใช้ในทางการแพทย์และอาจก่อให้เกิดการนำไปใช้หรือมีแนวโน้มในการนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น เพนตาโซซีน Pentazocine (กลุ่มยาบรรเทาอาการปวด) และประเภท 4 วัตถุออกฤทธิ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ และอาจก่อให้เกิดการนำไปใช้หรือมีแนวโน้มในการนำไปใช้ในทางที่ผิดน้อยกว่าประเภท 3 เช่น ไดอะซีแพม (กลุ่มยานอนหลับ) กรณีเป็นผู้ป่วยซึ่งเดินทางระหว่างประเทศนำยาเสพติดให้โทษซึ่งต้องใช้รักษาโรคเฉพาะตัวติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรพร้อมใบอนุญาตด้วย โดยมีใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองของผู้ให้การรักษา หรือกรณีเป็นสัตว์ป่วยซึ่งเดินทางระหว่างประเทศและมีความจำเป็นต้องนำวัตถุออกฤทธิ์ที่ใช้รักษาโรคเฉพาะตัวติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร         โดยมีใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ผู้ให้การรักษาเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 39 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    (1) ยกเลิกกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิตนำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 พ.ศ. 2563 เฉพาะส่วนการขอรับอนุญาตและการออกใบอนุญาตที่เกี่ยวกับผู้ป่วยซึ่งเดินทางระหว่างประเทศนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรสำหรับใช้รักษาเฉพาะตัว
                    (2) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตนำเข้าหรือส่งออกยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 2 หรือประเภทที่ 3 และวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4 กรณีผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยซึ่งเดินทางระหว่างประเทศและมีความจำเป็นต้องนำยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ที่ใช้รักษาโรคเฉพาะตัวติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
1. หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต และการอนุญาตนำเข้า ส่งออกยาเสพติดให้โทษประเภท 2 หรือประเภท 3 และวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4          (1) ผู้ป่วยซึ่งเดินทางระหว่างประเทศและมีความจำเป็นต้องใช้ยาเสพติดให้โทษประเภท 2 และประเภท 3 เพื่อรักษาโรคเฉพาะตัว ในปริมาณจำเป็นสำหรับการใช้รักษาที่ไม่เกิน 90 วัน ให้ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาตไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันที่นำยาเสพติดให้โทษดังกล่าวติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรในแต่ละครั้ง พร้อมด้วยใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองของผู้ให้การรักษา
(2) ผู้ป่วยซึ่งเดินทางระหว่างประเทศและมีความจำเป็นต้องใช้วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 ประเภท 3 และประเภท 4 เพื่อรักษาโรคเฉพาะตัว         ในปริมาณจำเป็นสำหรับการใช้รักษาที่เกิน 30 วัน แต่ไม่เกิน 90 วัน ให้ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาตไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันที่นำวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรในแต่ละครั้ง พร้อมด้วยใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองของผู้ให้การรักษา (กรณีภายใน 30 วัน      ไม่ต้องขออนุญาต ตามมาตรา 39 วรรคสอง)
(3) กรณีสัตว์ป่วยซึ่งเดินทางระหว่างประเทศและมีความจำเป็นต้องใช้วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 ประเภท 3 และประเภท 4 เพื่อรักษาโรคเฉพาะตัว ให้เจ้าของสัตว์ป่วยยื่นคำขอต่อผู้อนุญาต ไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันที่นำวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรในแต่ละครั้ง พร้อมด้วยใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง
2. คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต          (1) กรณีผู้ป่วยมีอายุไม่เกิน 18 ปี ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองยื่นคำขอรับอนุญาตแทน
(2) กรณีผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวหรือไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจหรือแสดงเจตนาได้และผู้ประกอบวิชาชีพที่ให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยดังกล่าวได้รับรองเป็นหนังสือให้บิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม    พี่น้อง ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ยื่นคำขอรับอนุญาตแทน
(3) กรณีสัตว์ป่วย ให้เจ้าของสัตว์ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งเดินทางระหว่างประเทศและมีความจำเป็นต้องใช้วัตถุออกฤทธิ์ฯ เพื่อรักษาโรคเฉพาะตัวของสัตว์ป่วยเป็นผู้ยื่นคำขอ
3. วิธีการยื่นคำขอรับอนุญาตและกระบวนการตรวจสอบ          (1) ให้ดำเนินการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก เว้นแต่ไม่สามารถกระทำได้ให้กระทำ ณ สำนักงาน อย. หรือสถานที่อื่นที่เลขาธิการ อย. กำหนด
(2) ใบอนุญาตให้นำเข้าหรือส่งออก ให้สำนักงาน อย. ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
- มอบใบอนุญาตให้แก่ผู้รับอนุญาตไว้เป็นหลักฐาน
- ส่งสำเนาใบอนุญาตไปยังด่านตรวจสอบยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์หรือด่านศุลกากร เพื่อใช้ในการตรวจสอบ
- เก็บสำเนาใบอนุญาตไว้ที่สำนักงาน อย. 1 ฉบับ เพื่อใช้ในการตรวจสอบ
4. แบบคำขอและใบอนุญาต          เป็นไปตามแบบที่เลขาธิการ อย. กำหนด
5. บทเฉพาะกาลเพื่อรองรับใบอนุญาตและคำขอรับอนุญาตที่ยังอยู่ในกระบวนการ          บรรดาคำขอรับใบอนุญาตตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 พ.ศ. 2563 ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับและยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้อนุญาต ให้ถือว่าเป็นคำขอรับอนุญาตหรือคำขอรับใบแทนใบอนุญาตตามกฎกระทรวงนี้โดยอนุโลม

9. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันบางส่วน ในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ประมาณ 95 ไร่ 30 ตารางวา เพื่อมอบหมายให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ใช้เป็นที่ตั้งศูนย์พัฒนาวิชาชีพตรวจสอบของประเทศ ซึ่งปัจจุบันราษฎรได้เลิกใช้ประโยชน์ร่วมกันแล้ว ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบในหลักการและมีความเห็นเพิ่มเติมบางประการ โดยกระทรวงกลาโหมเห็นว่า แผนที่ท้ายของร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ไม่ปรากฏแนวเขตท่อส่งน้ำของฐานทัพเรือสัตหีบกำหนดไว้ รวมถึงในหลักการ เหตุผล หรือเนื้อหาที่กำหนดสงวนแนวเขตท่อส่งน้ำดังกล่าวไว้ในร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้แต่อย่างใด จึงขอสงวนพื้นที่แนวเขตท่อส่งน้ำใช้ประโยชน์ในราชการของกองทัพเรือในร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ด้วย โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและกองทัพเรือได้หารือและจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันว่าสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจะไม่ก่อสร้างอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ         ในบริเวณแนวท่อส่งน้ำของฐานทัพเรือสัตหีบ และกองทัพเรือสามารถเข้าดำเนินการเกี่ยวกับแนวท่อส่งน้ำของฐานทัพเรือสัตหีบ โดยดำเนินการปักเขตแนวท่อส่งน้ำในที่ดินให้ชัดเจน ตรวจสอบ และซ่อมบำรุงรักษาท่อน้ำและอุปกรณ์ควบคุมท่อน้ำ รวมทั้งดำเนินการอื่นใดในบริเวณแนวท่อส่งน้ำของฐานทัพเรือสัตหีบได้โดยสะดวกและแจ้งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรับทราบในการเข้าพื้นที่ดังกล่าว และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและกองทัพเรือได้มีการหารือและได้ข้อยุติร่วมกันเกี่ยวกับการใช้ที่ดินของกองทัพเรือบางส่วนในบริเวณที่ที่จะถอนสภาพ เพื่อประโยชน์ในการวางท่อส่งน้ำของฐานทัพเรือสัตหีบตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดให้ถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันบางส่วน       ในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ประมาณ 95 ไร่ 30 ตารางวา เพื่อมอบหมายให้ สตง.     ใช้เป็นที่ตั้งศูนย์พัฒนาวิชาชีพตรวจสอบของประเทศ

10. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดระยอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดระยอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ต่อไป
                    ทั้งนี้ มท. เสนอว่าเนื่องจากมีการกำหนดเขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง กำหนดเขตส่งเสริม : เมืองการบินภาคตะวันออก ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 ดังนั้น เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมสันทนาการที่จำเป็นและเหมาะสมเพื่อให้พื้นที่ดังกล่าว มีศักยภาพสามารถรองรับนักธุรกิจ ผู้เดินทาง นักท่องเที่ยว และผู้ใช้บริการสนามบินได้ตลอด    24 ชั่วโมง สมควรกำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดระยอง เพิ่มเติม อันจะเป็นประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงจำเป็นต้องเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดระยอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดระยอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการดำเนินการตามคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565 เพื่อกำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดระยอง เพิ่มเติม เพื่อให้การตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดระยอง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย อันจะเป็นประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนในท้องที่จังหวัดระยอง สอดรับกับนโยบายสำคัญของรัฐบาลและคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ในการกำหนดสิทธิประโยชน์ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เมืองการบินภาคตะวันออก
                    สาระสำคัญ
                    ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดระยอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำหนดเขตอันมีปริมณฑลจำกัดในท้องที่ใดเพื่อการอนุญาตหรืองดอนุญาตให้ตั้งสถานบริการโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

11. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออกหรือจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออกหรือจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่ายคุณสมบัติของผู้ขออนุญาต การออกใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การแก้ไขรายการในใบอนุญาต การนำเข้าหรือส่งออกในแต่ละครั้ง          การดำเนินการของผู้รับอนุญาตเพื่อประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแล การกำหนดหน้าที่เภสัชกรและการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 (ยาเสพติดในประเภท 3 ได้แก่ ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น) โดยค่าธรรมเนียมตามร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้
ประเด็น          รายละเอียด
1. วันบังคับใช้          ? ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. คำนิยาม           ? กำหนดคำนิยามว่า ?ขายส่ง? หมายความว่า จำหน่ายตรงต่อผู้รับอนุญาตผลิตหรือจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือผู้รับอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 โดยการขายส่ง กระทรวง ทบวง กรม สภากาชาดไทย ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง
3. คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3          ? กำหนดคุณสมบัติ ดังนี้
1. ได้รับใบอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันตามกฎหมายว่าด้วยยา ในกรณีการขออนุญาตผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 3
2. ได้รับใบอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยยาในกรณีการขออนุญาตนำเข้ายาเสพติดให้โทษในประเภท 3
3. ได้รับใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันตามกฎหมายว่าด้วยยา ในกรณีการขออนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3
4. ได้รับใบอนุญาตขายยยาแผนปัจจุบันหรือใบอนุญาตขายส่งยาแผนปัจจุบันตามกฎหมายว่าด้วยยา ในกรณีการขออนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 โดยการขายส่ง
5. ได้รับใบอนุญาตผลิต จำหน่าย หรือนำเข้ายาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ในกรณีการขออนุญาตส่งออกยาเสพติดให้โทษในประเภท 3
4. การยื่นคำขออนุญาต           ? การยื่นคำขออนุญาตให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก
5. การพิจารณาคำขออนุญาต          ? กรณีที่คำขอรับใบอนุญาต รวมทั้งข้อมูลและเอกสารไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้ผู้อนุญาต (เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา) แจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่ผู้อนุญาตกำหนด โดยหากผู้ขออนุญาตไม่แก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อไปและให้ผู้อนุญาตจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ
? กรณีที่คำขอรับใบอนุญาต รวมทั้งข้อมูลและเอกสารถูกต้องและครบถ้วนให้ผู้อนุญาตออกใบอนุญาตนั้น ให้แก่ผู้ขออนุญาต โดยให้ผู้อนุญาตแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ขออนุญาตทราบภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาต
? ในกรณีที่ผู้อนุญาตมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบพร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่งไม่อนุญาต
6. อายุใบอนุญาต          ? ให้ใบอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออกหรือจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 โดยการขายส่ง ให้ใช้ได้จนถึงวันที่      31 ธันวาคมของปีที่ออกใบอนุญาต
หมายเหตุ : กฎกระทรวงเดิมมิได้กำหนดอายุใบอนุญาต
7. การนำเข้าหรือส่งออกในแต่ละครั้ง          ? กำหนดให้ผู้รับอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ผู้ใดประสงค์จะนำเข้าหรือส่งออกในแต่ละครั้งซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ต้องได้รับใบอนุญาตเฉพาะชั่วคราวทุกครั้งที่นำเข้าหรือส่งออก โดยให้ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาตพร้อมด้วยข้อมูล เอกสารหรือหลักฐานที่ระบุไว้ในแบบคำขอ และเมื่อข้อมูล เอกสารหรือหลักฐาน ถูกต้องและครบถ้วน ให้ผู้อนุญาตพิจารณาออกใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกเฉพาะคราวซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ให้แก่ผู้ขออนุญาต
? กำหนดให้ใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกเฉพาะคราวซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ต้องมีสำเนาใบอนุญาตและมีหมายเลขกำกับไว้ที่สำเนาใบอนุญาตด้วย
8. หน้าที่ของผู้รับอนุญาตผลิต นำเข้า หรือส่งออกและจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3          ? กำหนดให้ผู้รับอนุญาตผลิต นำเข้าหรือส่งออก และจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 จะต้องดำเนินการตามข้อปฏิบัติต่าง ๆ เช่น จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ผลิต ด้วยวัตถุถาวรสีเขียว มีขนาดกว้างและยาวไม่น้อยกว่า 10 x 60 เซนติเมตร และมีข้อความเป็นอักษรไทยสีขาวสูงไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร  แสดงว่าเป็นสถานที่ผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 และจัดให้มีป้ายแสดงชื่อและเวลาทำการของเภสัชกรผู้ควบคุมกิจการ  ด้วยวัตถุถาวรสีเขียวมีข้อความแสดงชื่อตัว ชื่อสกุล วิทยฐานะ และเวลาทำการของเภสัชกร เป็นอักษรไทยสีขาว ขนาดตัวอักษรสูง ไม่น้อยกว่า             2  เซนติเมตร

9. กำหนดหน้าที่เภสัชกร           ? กำหนดข้อปฏิบัติให้กับเภสัชกรผู้มีหน้าที่ในการควบคุมการผลิตยาเสพติดควบคุมการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ควบคุมการนำเข้าหรือส่งออกยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ควบคุมการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 และควบคุมการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 โดยการขายส่ง เช่น ควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต ควบคุมยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่นำเข้าหรือส่งออกให้ถูกต้องตามตำรับยาที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้และต้องอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทำการ
10. ค่าธรรมเนียม          ? ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ดังนี้
(1) ใบอนุญาตผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ฉบับละ 6,000 บาท อัตราคงเดิมตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงค่าธรรมเนียมสำหรับผู้อนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2547 (อัตราค่าธรรมเนียมสูงสุดท้ายประมวลกฎหมายยาเสพติดฯ ฉบับละ 50,000 บาท)
(2) ใบอนุญาตนำเข้ายาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ฉบับละ 6,000 บาท อัตราคงเดิมตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงค่าธรรมเนียมฯ (อัตราค่าธรรมเนียมสูงสุดท้ายประมวลกฎหมายฯ ฉบับละ 100,000 บาท)
(3) ใบอนุญาตส่งออกยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ฉบับละ 200 บาท อัตราคงเดิมตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงค่าธรรมเนียมฯ (อัตราค่าธรรมเนียมสูงสุดท้ายประมวลกฎหมายฯ ฉบับละ 10,000 บาท)
(4) ใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ฉบับละ 1,000 บาท อัตราคงเดิมตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงค่าธรรมเนียมฯ (อัตราค่าธรรมเนียมสูงสุดท้ายประมวลฯ ฉบับละ 10,000 บาท)
(5) ใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 โดยการขายส่ง ฉบับละ 1,000 บาท (เดิมมิได้กำหนดไว้ และอัตราค่าธรรมเนียมสูงสุดท้ายประมวลฯ ฉบับละ 10,000 บาท)
(6) ใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกเฉพาะคราวยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ฉบับละ 500 บาท อัตราเพิ่มขึ้นซึ่งเดิมกำหนดไว้ในกฎกระทรวงค่าธรรมเนียมฯ ฉบับละ          100 บาท (อัตราค่าธรรมเนียมสูงสุดท้าย พรบ.ฯฉบับละ 20,000 บาท)
(7) การต่ออายุใบอนุญาตยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 เท่ากับกึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตนั้น (กำหนดตามอัตราค่าธรรมเนียมท้ายประมวลกฎหมายฯ)
? ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ ยกเว้นรัฐวิสาหกิจ

12. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 [เช่น  amobarbital (ยาคลายเครียด)] หรือประเภท 4 [เช่น diazepam (ยานอนหลับ)] เพื่อกำหนดคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตกระบวนการการอนุญาต การออกใบอนุญาต การออกใบแทนอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม           โดยอัตราค่าธรรมเนียมไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น เพื่อให้การขออนุญาตและการอนุญาตเกี่ยวกับการผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแลผลิตภัณฑ์วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ให้มีคุณภาพ และป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ผิด รวมถึงส่งเสริมการประกอบกิจการของผู้ประกอบการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง มาตรา 35 วรรคสาม มาตรา 36 มาตรา 37 วรรคหนึ่งและมาตรา 40 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ที่บัญญัติขึ้นมาใหม่
                    ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
                    1. กำหนดให้ผู้ขออนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันหรือใบอนุญาตนำหรือสั่งใบอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยยา
                    2. ผู้ขออนุญาตส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ผลิต จำหน่าย หรือนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4
                    3. กำหนดให้ผู้ขออนุญาตผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ของหมวดใดตามกฎหมายว่าด้วยยา ต้องเป็นผู้รับอนุญาตให้ผลิตยาของหมวดนั้น
                    4. กำหนดให้ผู้ขออนุญาตผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อผู้อนุญาต โดยระบุเหตุผลและความจำเป็นในการขออนุญาต พร้อมด้วย ข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐาน เช่น เลขที่ใบอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบัน เลขที่ใบอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักร และเลขที่ใบอนุญาตผลิต จำหน่าย หรือนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 เป็นต้น
                    5. กำหนดกระบวนการพิจารณาอนุญาต ดังนี้
                              5.1 การยื่นคำขอ การอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตตามกฎกระทรวงนี้ ให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก เว้นแต่ไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ให้ดำเนินการดังกล่าวที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข หรือสถานที่อื่นตามที่เลขาธิการ อย. กำหนด
                              5.2 เมื่อได้รับคำขอ ให้ผู้อนุญาต1 ตรวจสอบคำขออนุญาต รวมทั้งข้อมูล  เอกสาร          และหลักฐานว่าถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ หากคำขอไม่ถูกต้องหรือยังขาดข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานใด ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ในขณะนั้น ให้แจ้งให้ผู้ขออนุญาตดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมหรือส่งข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วน และเมื่อเห็นว่าคำขออนุญาต รวมทั้งข้อมูล เอกสาร และหลักฐานว่าถูกต้องและครบถ้วนแล้วให้ออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ขออนุญาต
                              5.3 ผู้อนุญาตต้องพิจารณาคำขออนุญาตและแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ขออนุญาตทราบภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาต ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่ไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาดังกล่าว อาจขยายระยะเวลาการพิจารณาออกไปได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 30 วัน และต้องมีหนังสือแจ้งเหตุผลหรือความจำเป็นนั้นให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
                              5.4 ในกรณีที่คำขออนุญาต รวมทั้งข้อมูล เอกสาร และหลักฐาน ถูกต้องและครบถ้วนให้ผู้อนุญาตออกใบอนุญาตผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ให้แก่ผู้ขออนุญาตนั้น และในกรณีที่ผู้อนุญาตมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้ผู้อนุญาตมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งไม่อนุญาต พร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์
                    6. กำหนดให้ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 จำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวที่ตนผลิตหรือนำเข้าได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจำหน่ายอีก
                    7. กำหนดให้ผู้รับอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ที่จะมีการนำเข้าหรือส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ในแต่ละครั้ง ต้องได้รับใบอนุญาตเฉพาะคราวทุกครั้งที่นำเข้าหรือส่งออก
                    8. กำหนดเงื่อนไขที่ผู้รับอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกเฉพาะคราวซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ต้องปฏิบัติ เช่น นำวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ที่ตนนำเข้าหรือส่งออกมาให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจสอบวัตถุออกฤทธิ์เพื่อทำการตรวจสอบ นำเข้าหรือส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ตามชนิดที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเฉพาะคราวและไม่เกินจำนวนหรือปริมาณที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเฉพาะคราว ในกรณีที่ไม่สามารถส่งออกได้ตามจำนวนหรือปริมาณดังกล่าว ให้แจ้งต่อผู้อนุญาตเพื่อแก้ไขใบอนุญาตให้ถูกต้องตามจำนวนหรือปริมาณที่ส่งออกจริง เป็นต้น
                    9. กำหนดหน้าที่ผู้รับอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 และหน้าที่เภสัชกร เช่น จัดให้มีป้ายแสดงว่าเป็นสถานที่ผลิตวัตถุออกฤทธิ์ จัดให้มีการวิเคราะห์วัตถุออกฤทธิ์ที่ผลิตขึ้นก่อนนำออกจากสถานที่ผลิต จัดให้มีฉลากที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์ และมีเภสัชกรอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทำการซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาต เป็นต้น
                    10. กำหนดให้กรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือลบเลือนในสาระสำคัญ ให้ผู้รับอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อผู้อนุญาตภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือลบเลือนในสาระสำคัญ พร้อมด้วยข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานตามที่กำหนดในแบบคำขอรับใบแทนใบอนุญาต
                    11.  กำหนดให้ใบอนุญาตผลิต นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4      ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ออกใบอนุญาต หากผู้รับอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต เมื่อได้ยื่นคำขอแล้วจะประกอบกิจการต่อไปก็ได้จนกว่าผู้อนุญาตจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น สำหรับใบอนุญาตที่ออกตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. 2562      หรือกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4          พ.ศ. 2563 ให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตตามกฎกระทรวงนี้ และให้ใช้ได้ต่อไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่กฎกระทรวงนี้มีผลบังคับ หรือถูกเพิกถอน
                              12.3 ใบอนุญาตส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ฉบับละ 1,000 บาท
                              12.4 ใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกเฉพาะคราววัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ฉบับละ 500 บาท
                              12.5 ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 100 บาท
                              12.6 การต่ออายุใบอนุญาตเท่ากับกึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตนั้น
                    ทั้งนี้ ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมแก่ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ ยกเว้นรัฐวิสาหกิจ
                    13. กำหนดให้ประกาศที่ออกตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. 2562 หรือกฎกระทรวงการขออนุญาต และการอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. 2563 ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้ จนกว่าจะมีประกาศที่ออกตามกฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และให้ดำเนินการออกประกาศให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
1 มาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติดได้กำหนดนิยามของคำว่า ?ผู้อนุญาต? หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามอบหมาย

13. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                      ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตการจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 เพื่อกำหนดคุณสมบัติของผู้ขออนุญาต กระบวนการการอนุญาต การออกใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และหน้าที่ของผู้รับอนุญาต ตลอดจนการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม โดยอัตราค่าธรรมเนียมไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้การขออนุญาตและการอนุญาตเกี่ยวกับการจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแลผลิตภัณฑ์วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ให้มีคุณภาพและป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ผิด รวมถึงส่งเสริมการประกอบกิจการของผู้ประกอบการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง มาตรา 35 วรรคสาม 37 วรรคหนึ่ง และมาตรา 40 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ที่บัญญัติขึ้นมาใหม่
                      ร่างการขออนุญาตจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
                      1. กำหนดบทนิยามคำว่า ?ขายส่ง? หมายความว่า จำหน่ายตรงต่อผู้รับอนุญาตผลิตจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 กระทรวง ทบวง กรม สภากาชาดไทย หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง
                      2. กำหนดคุณสมบัติผู้ขออนุญาตจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ดังนี้
                                 2.1 ได้รับใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันตามกฎหมายว่าด้วยยา ในกรณีการขออนุญาตจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4
                                 2.2 ได้รับใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันหรือใบอนุญาตขายส่งยาแผนปัจจุบันตามกฎหมายว่าด้วยยา ในกรณีการขออนุญาตจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 โดยการขายส่ง
                      3. กำหนดให้ผู้ใดประสงค์จะจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 หรือจำหน่ายโดยการขายส่ง ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อผู้อนุญาต พร้อมด้วยข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐาน ได้แก่ 1) เลขที่ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันตามกฎหมายว่าด้วยยา ในกรณีขออนุญาตจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4     2) เลขที่ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันหรือใบอนุญาตขายส่งยาแผนปัจจุบันตามกฎหมายว่าด้วยยา ในกรณีขออนุญาตจำหน่ายวัตถุอกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 โดยการขายส่ง 3) คำรับรองของเภสัชกรที่อยู่ประจำควบคุมกิจการของสถานที่จำหน่ายหรือสถานที่จำหน่ายโดยการขายส่ง แล้วแต่กรณี 4) ข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานอื่นตามที่กำหนดในแบบคำขอรับใบอนุญาต
                    4. กำหนดกระบวนการพิจารณาอนุญาต ดังนี้
                              4.1 การยื่นคำขอ การอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต     ตามกฎกระทรวงนี้ ให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก เว้นแต่ไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ สำหรับในกรุงเทพมหานครให้ดำเนินการดังกล่าวที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข สำหรับในจังหวัดอื่นให้ดำเนินการ ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่สถานที่ของผู้ขออนุญาตตั้งอยู่      หรือสถานที่อื่นตามที่เลขาธิการ อย. กำหนด
                              4.2 เมื่อได้รับคำขอ ให้ผู้อนุญาต1 ตรวจสอบคำขออนุญาต รวมทั้งข้อมูล เอกสาร          และหลักฐานว่าถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ หากคำขอไม่ถูกต้องหรือยังขาดข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานใด ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ในขณะนั้น ให้แจ้งให้ผู้ขออนุญาตดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมหรือส่งข้อมูล เอกสาร    หรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วน และเมื่อเห็นว่าคำขออนุญาต รวมทั้งข้อมูล เอกสาร และหลักฐานว่าถูกต้องและครบถ้วนแล้วให้ออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ขออนุญาต
                              4.3 ในกรณีไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้นให้บันทึกความบกพร่องนั้นไว้และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด หากผู้ขออนุญาตไม่ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อไป และให้คืนคำขออนุญาต เอกสาร และหลักฐานให้แก่ผู้ขออนุญาต พร้อมทั้งแจ้งเป็นหนังสือถึงเหตุแห่งการคืนคำขอ และให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ
                              4.4 ผู้อนุญาตต้องพิจารณาคำขออนุญาตและแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ขออนุญาตทราบภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาต ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่ไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาดังกล่าว อาจขยายระยะเวลาการพิจารณาออกไปได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 30 วัน และต้องมีหนังสือแจ้งเหตุผลหรือความจำเป็นนั้นให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
                              4.5 ในกรณีที่คำขออนุญาต รวมทั้งข้อมูล เอกสาร และหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนให้ผู้อนุญาตออกใบอนุญาตจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 หรือใบอนุญาตจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 โดยการขายส่ง ให้แก่ผู้ขออนุญาตนั้น แล้วแต่กรณี และในกรณีที่ผู้อนุญาตมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้ผู้อนุญาตมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งไม่อนุญาต พร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์
                    5. กำหนดให้ผู้รับอนุญาตจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ได้เฉพาะสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเท่านั้น เว้นแต่เป็นการจำหน่ายโดยการขายส่ง ทั้งนี้ ให้ผู้รับอนุญาตจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 เป็นผู้ได้รับอนุญาตจำหน่ายโดยการขายส่งด้วย
                    6. กำหนดหน้าที่ผู้รับอนุญาตจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 หรือจำหน่ายโดยการขายส่ง เช่น จัดให้มีป้ายแสดงว่าเป็นสถานที่จำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ ดูแลให้มีฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ จัดให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น จัดให้มีการทำบัญชีเกี่ยวกับการจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ มีเภสัชกรอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทำการซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาต และแสดงใบอนุญาตของตนไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต เป็นต้น
                    7. กำหนดหน้าที่เภสัชกรที่อยู่ประจำควบคุมกิจการของสถานที่จำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 เช่น จำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ให้เฉพาะผู้ที่มีใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งเท่านั้น เป็นต้น
                    8. กำหนดหน้าที่เภสัชกรที่อยู่ประจำควบคุมกิจการของสถานที่จำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 โดยการขายส่ง เช่น จำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ให้เฉพาะผู้รับอนุญาตผลิต  จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 กระทรวง ทบวง กรม สภากาชาดไทย หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม         ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งเท่านั้น เป็นต้น
                    9. กำหนดให้ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือลบเลือนในสาระสำคัญ ให้ผู้รับอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อผู้อนุญาตภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือลบเลือนในสาระสำคัญ
                    10. กำหนดให้ใบอนุญาตจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4  หรือใบอนุญาตจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 โดยการขายส่ง ใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ออกใบอนุญาต หากผู้รับอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต เมื่อได้ยื่นคำขอแล้วจะประกอบกิจการต่อไปก็ได้จนกว่าผู้อนุญาตจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น สำหรับใบอนุญาตที่ออกตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. 2562 ให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตตามกฎกระทรวงนี้   และให้ใช้ได้ต่อไปได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ หรือถูกเพิกถอน
                    11. กำหนดค่าธรรมเนียม ดังนี้
                              11.1 ใบอนุญาตจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ฉบับละ 1,000 บาท
                              11.2 ใบอนุญาตจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 โดยการขายส่ง ฉบับละ 1,000 บาท
                              11.3 การต่ออายุใบอนุญาตเท่ากับกึงหนึ่งของค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตนั้น
                    12. . กำหนดให้ประกาศที่ออกตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. 2562 ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย่งกับกฎกระทรวงนี้ จนกว่าจะมีประกาศที่ออกตามกฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และให้ดำเนินการออกประกาศให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
1 มาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติดได้กำหนดนิยามของคำว่า ?ผู้อนุญาต? หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามอบหมาย

14. เรื่อง การปรับบทบาทภารกิจ หน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตและข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติ ดังนี้
                    1. เห็นชอบตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ
                    2. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงในส่วนของหน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต รวม 36 ฉบับ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วยแล้วดำเนินการต่อไปได้
                    3. ให้สำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ร่างกฎกระทรวง รวม 36 ฉบับ และข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ซึ่ง ก.พ.ร. ได้พิจารณาทบทวนตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี โดยเห็นควรคงหลักการเดิมของร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง เพื่อปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ให้มีหน้าที่ในการประเมินความเสี่ยง มีการกำหนดมาตรการบริหารความเสี่ยง เพื่อลดและปิดโอกาสการทุจริตและประพฤติมิชอบ การคุ้มครองจริยธรรมและการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรม และศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตระดับกระทรวงต้องขยายขอบเขตการเร่งรัด กำกับการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ แผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ให้คลอบคลุมทั้งส่วนราชการในสังกัด (กรม) รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน สำหรับข้อเสนอแนะ ก.พ.ร. ได้ปรับปรุงข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ซึ่งประกอบด้วย (1) ข้อเสนอแนะเชิงระบบของการป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคส่วนอื่น เพื่อพัฒนาระบบในการส่งเสริมการทำงาน ได้แก่ ระบบป้องกันการทุจริต ระบบการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน และระบบบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน (2) ข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุงคู่มือแนวทางการดำเนินงานศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตในประเด็นกี่ยวกับการบริหารความสี่ยงการทุจริตและการส่งเสริมจริยธรรม ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความชัดเจน และการปฏิบัติงานของ ศปท. มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดย ก.พ.ร. มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกระดับการทำงานของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตให้มีบทบาทเชิงรุกมากขึ้น และเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ การปฏิบัติงานในภาครัฐให้มีความโปร่งใสปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
                    การดำเนินการในเรื่องนี้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 (เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2562 และแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการต่อต้านการทุจริต) เพื่อปรับบทบาทภารกิจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตระดับกระทรวงให้รองรับการขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การเสริมสร้างวินัย การส่งเสริมธรรมาภิบาล และการต่อต้านการทุจริต
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของ ศปท. โดยแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของ สปน. สำนักงานปลัดกระทรวง ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง รวม 36 ฉบับ ใน 4 ประเด็น ดังนี้
                    1. กำหนดให้มีหน้าที่ในการประเมินความเสี่ยงและกำหนดมาตรการบริหารความเสี่ยงเพื่อลดและปิดโอกาสการทุจริตและประพฤติมิชอบ และแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการ
                    2. กำหนดให้มีหน้าที่ในการจัดทำแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของส่วนราชการในสังกัด รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน
                    3. กำหนดให้มีหน้าที่ในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรม และรับข้อร้องเรียนเรื่องการฝ่าฝืนจริยธรรมของ จนท. ส่วนราชการในสังกัด และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสานงาน เร่งรัดและติดตามจนได้ข้อยุติ
                    4.กำหนดให้จัดทำรายงานเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของส่วนราชการในสังกัด รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หน้าที่และอำนาจ ศปท. เดิม          หน้าที่และอำนาจที่ปรับปรุง
(1) เสนอแนะแก่หัวหน้าส่วนราชการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการในสังกัด รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ และนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการ
          (1)เสนอแนะแก่หัวหน้าส่วนราชการ* เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการในสังกัด ประเมินความเสี่ยงและกำหนดมาตรการบริหารความเสี่ยงเพื่อลดและปิดโอกาสการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการ*

(2) ประสานงาน เร่งรัด และกำกับให้ส่วนราชการในสังกัดดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการ          (2) เร่งรัด และกำกับการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของส่วนราชการในสังกัด รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน



(3) คุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
(4) รับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการ และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(5) ประสานงาน เร่งรัด และติดตามเกี่ยวกับการดำเนินการตาม (3) และ (4) และร่วมมือในการป้องกันและปราบปราม การทุจริตและประพฤติมิชอบกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
          (3) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้าราชการพลเรือนรับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริตการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ การฝ่าฝืนจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ส่วนราชการในสังกัดรัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ประสานงาน เร่งรัด และติดตามจนได้ข้อยุติ
(6) ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการในสังกัดและการคุ้มครองจริยธรรมเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
          (4) ติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ และจัดทำรายงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ การคุ้มครองจริยธรรม และการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของส่วนราชการในสังกัด รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการ* และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 (7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
           (5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่หัวหน้าส่วนราชการ* มอบหมาย

*กรณีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการฯ ของสำนักงานปลัดกระทรวงใช้คำว่า ?ปลัดกระทรวง? แทนคำว่า หัวหน้าส่วนราชการ

เศรษฐกิจ-สังคม
15. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพิจารณาศึกษา ขับเคลื่อน เร่งรัดการปฏิรูประบบทันตสาธารณสุขไทย และการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรม ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพิจารณาศึกษา ขับเคลื่อน เร่งรัดการปฏิรูประบบทันตสาธารณสุขไทย และการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรม ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพิจารณาศึกษา ขับเคลื่อน เร่งรัดการปฏิรูประบบทันตสาธารณสุขไทย และการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรม ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ เห็นว่า ปัจจุบัน   งานด้านทันตสาธารณสุขไทยใน สธ. ยังขาดหน่วยงานหลักในการกำหนดนโยบาย การวางแผน หรือยุทธศาสตร์ด้านทันตสาธารณสุขระดับประเทศ       ขาดระบบงานการส่งเสริมป้องกัน การรักษาด้านทันตกรรม ขาดหน่วยงานจัดการด้านบุคลากรทั้งระบบ การจัดการด้านทรัพยากร งบประมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่ ขาดหน่วยงานบริหาร อำนวยการ กำกับ ประเมินผล        ขาดหน่วยงานสารสนเทศด้าน  ทันตกรรม ทันตสาธารณสุข ระดับประเทศและระหว่างประเทศ ขาดหน่วยงานสนับสนุนด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และการวิจัยด้านทันตกรรม ขาดหน่วยงานหลักด้านทันตสาธารณสุขในชุมชนท้องถิ่น การบริการปฐมภูมิระดับประเทศ ทำให้งานด้านทันตสาธารณสุขที่จะมียุทธศาสตร์ นโยบายระดับประเทศที่จะกำหนดแผนงานใหม่ ๆ ให้ครอบคลุมระดับภูมิภาค ทั่วประเทศ แทบไม่สามารถเกิดได้ ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนายกระดับการปฏิรูประบบงานด้านทันตสาธารณสุขไทยเกิดผลสำเร็จ ทันต่อสถานการณ์ปัญหาด้านทันตสุขภาพของประชาชนไทยแล้ว จึงมีข้อเสนอแนะในการจัดตั้ง ?กรมทันตสุขภาพ? ซึ่งแบ่งโครงสร้างการบริหารภายในเป็น 6 กอง ประกอบด้วย (1) กองสนับสนุน ส่งเสริมทันตสุขภาพ (2) กองพัฒนาบริการรักษาทันตสุขภาพ (3) กองพัฒนาส่งเสริมคุณภาพบุคลากร (4) กองบริหารอำนวยการด้านทันตสุขภาพ (5) กองเทคโนโลยี นวัตกรรมและวิจัยด้านทันตกรรม และ (6) กองทันตสาธารณสุขและปฐมภูมิ
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ สธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร.     สำนักงบประมาณ ทันตแพทยสภา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    3. สธ. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ตามข้อ 1 แล้ว เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ โดยสรุปได้ดังนี้
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ          การดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
   การจัดตั้ง ?กรมทันตสุขภาพ? ซึ่งแบ่งโครงสร้างการบริหารภายในเป็น 6 กอง ประกอบด้วย
   (1) กองสนับสนุน ส่งเสริมทันตสุขภาพ
   (2) กองพัฒนาบริการรักษาทันตสุขภาพ
   (3) กองพัฒนาส่งเสริมคุณภาพบุคลากร
   (4) กองบริหารอำนวยการด้านทันตสุขภาพ
   (5) กองเทคโนโลยี นวัตกรรมและวิจัยด้านทันตกรรม
   (6) กองทันตสาธารณสุขและปฐมภูมิ              สธ. อยู่ระหว่างการศึกษาพิจารณาการจัดตั้ง ?กรมทันตสุขภาพ? ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 (เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ) และตามหลักการและแนวทางของสำนักงาน ก.พ.ร. เรื่องการยุบเลิกหรือยุบรวมหน่วยงานในสังกัดที่มีอยู่เดิม (One-In , X-Out) โดยพิจารณาเป้าหมายที่สำคัญ คือ การเพิ่มการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรมซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขไทย และ สธ.         มีนโยบายสำคัญเพื่อพัฒนาโรงพยาบาลทันตกรรม คือ นโยบาย      1 ทันตแพทย์ 1 ยูนิตทำฟัน 1 ผู้ช่วยทันตแพทย์ คณะกรรมการกำกับทิศทางการพัฒนาระบบบริการ (Service Plan) เห็นชอบให้กำหนดเป้าหมาย คือ ทุกกลุ่มวัยไม่มีฟันผุ หรือฟันดี ไม่มีผุ (cavity free) และให้โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งดำเนินการตามนโยบาย 1 ทันตแพทย์ 1 ยูนิตทำฟัน 1 ผู้ช่วยทันตแพทย์ เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากภายในปีงบประมาณ 2566 และเพื่อให้เกิดการพัฒนายกระดับการปฏิรูประบบด้านทันตสาธารณสุขอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์ต่อประชาชน

16. เรื่อง รายงานตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ พ.ศ. 2544 ประจำปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเสนอรายงานประจำปี 2565 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 มาตรา 36 ที่บัญญัติให้กองทุนฯ ทำรายงานประจำปีเสนอคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเพื่อพิจารณาภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี (ครบกำหนดวันที่ 29 มีนาคม 2566) รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของกองทุนฯ ในปีที่ล่วงมาแล้วพร้อมทั้งงบการเงิน และรายงานของผู้สอบบัญชี] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ผลงานเด่นในปี 2565 ประกอบด้วย (1) สานพลังสู้ภัย ?สิ่งเสพติด? เช่น ขับเคลื่อนการคงมาตรการห้ามนำเข้าและห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าของประเทศไทย และประกาศนโยบายสถานศึกษาปลอดบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า และกัญชา ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ครอบคลุมนักเรียน 13,192 คน   (2) เสริมพลังปัญญา สร้างทักษะ ?เด็กปฐมวัย? โดยสนับสนุนการพัฒนากระบวนการสื่อสารส่งเสริมการอ่าน เช่น พัฒนาหนังสือสร้างเสริมสุขภาวะของเด็ก ได้แก่ ชุดนิทานภูมิคุ้มใจเพื่อเด็กปฐมวัย และต้นฉบับหนังสือภาพสำหรับเด็ก     (3) นวัตกรรม ?ภูมิคุ้มใจ? ลดปัญหาสุขภาพจิต ฟื้นฟูสุขภาพใจ โดยสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานการให้บริการปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพจิตของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งหน่วยงานที่ให้บริการปรึกษาสุขภาพจิตสามารถขอการรับรองมาตรฐานได้โดยสมัครใจ เพื่อรับรองคุณภาพและเป็นโอกาสต่อการขอสนับสนุนสิทธิประโยชน์ จากการให้บริการประชาชน (4) ขับเคลื่อนสังคม สร้าง ?ทางม้าลาย? ปลอดภัย เช่น จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนักและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทางม้าลาย ส่งผลให้การเกิดอุบัติเหตุในกลุ่มคนเดินเท้าลดลง โดยผู้ขับขี่หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย และปรับปรุงสภาพถนนให้ปลอดภัยในหลายจังหวัดโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีทางม้าลาย 2,794 แห่ง และ (5) สร้างสังคมสุขภาวะ1  ?ปลอดภัย เท่าเทียม เป็นสุข?         เช่น ขับเคลื่อนการสร้างหลักประกันความมั่นคงให้ประชากรกลุ่มเปราะบาง โดยส่งเสริม สนับสนุน ทักษะการทำงาน  การดูแลสุขภาพ การออม และการส่งเสริมอาชีพเสริมทำให้คนพิการและคนไร้บ้านได้รับการจ้างงาน 7,000 คนต่อปี
                    2. ผลการดำเนินงานสำคัญตามเป้าประสงค์ 6 ประการ ดังนี้
แผนงาน          ผลการดำเนินงาน เช่น
เป้าประสงค์ที่ 1 ลดปัจจัยเสี่ยงหลักทางสุขภาพ ประกอบด้วย 5 แผนงาน
1. แผนควบคุมยาสูบ          (1) พัฒนาองค์ความรู้ประเด็นการควบคุมและป้องกันผลกระทบจากยาสูบ      15 เรื่อง นำไปสู่การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย เช่น แนวเวชปฏิบัติ สำหรับการบำบัดภาวะนิโคตินในประเทศไทย สำหรับแพทย์และบุคลากรวิชาชีพสุขภาพ     (2) พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในประเด็นบุหรี่ทำลายสิ่งแวดล้อมและขยายการดำเนินงานสู่ระดับพื้นที่ โดยประกาศมาตรการเขตปลอดบุหรี่ในชุมชน 8 พื้นที่ ใน 4 จังหวัด (จังหวัดลำปาง อุบลราชธานี นนทบุรี และตรัง) และ (3) ขยายผลการดำเนินงานวัดต้นแบบลดปัจจัยเสี่ยง 150 แห่ง ตามคู่มือวัดต้นแบบลดปัจจัยเสี่ยง2  โดยวัดในเครือข่ายร้อยละ 97 จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดอบายมุข (ยาสูบ แอลกอฮอล์ และการพนัน) ร้อยละ 92 ติดเครื่องหมายเขตปลอดบุหรี่ให้เห็นชัดเจน และร้อยละ 63 ทำข้อบังคับหรือประกาศของวัดเพิ่มเติมในรูปแบบของป้ายประชาสัมพันธ์
2. แผนควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติด          (1) สนับสนุนการพัฒนาร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระยะที่ 2 พ.ศ. 2565-25703 โดยมีการขับเคลื่อนตามแผนปฏิบัติการฯ เช่น การควบคุมพฤติกรรมการขับขี่หลังการดื่ม 54 จังหวัด และการคัดกรองและบำบัดรักษาผู้มีปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 59 จังหวัด และ (2) ขยายพื้นที่ต้นแบบงานบุญประเพณีปลอดเหล้า ตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยการจัดงานประเพณี/เทศกาล เช่น งานสงกรานต์ (บุญเดือนห้า) ใช้แนวคิด ?เที่ยวสงกรานต์วิถีใหม่ ปลอดเหล้า ปลอดภัย ห่างไกลโควิด? โดยมีปฏิบัติการสำคัญ คือ การสร้างกระบวนการนโยบายสาธารณะผลักดันให้เกิดมาตรการจัดการพื้นที่เสี่ยงเชิงรุก และงานบุญบั้งไฟ (บุญเดือนหก) เครือข่ายประชาคมงดเหล้า 40 แห่ง ใน  18 จังหวัด เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์เที่ยวบุญบั้งไฟปลอดภัยร่วมใจ 4 ปลอด ได้แก่ ปลอดภัย ปลอดโควิด ปลอดอุบัติเหตุ และปลอดเหล้า
3. แผนการจัดการความปลอดภัยและปัจจัยเสี่ยงทางสังคม           (1) สนับสนุนการปรับปรุงพระราชบัญญัติการจราจรทางบก ฉบับที่ 13        พ.ศ. 2565 โดยเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดซ้ำข้อหาเมาแล้วขับและการตรวจวัดแอลกอฮอล์ในผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตที่ไม่รู้สึกตัวจากอุบัติเหตุทางถนน และ        (2) พัฒนาโครงการรณรงค์ลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์       2 โครงการ ได้แก่ โครงการรณรงค์เทศกาลปีใหม่ ?ถ้ารับไม่ไหว อย่าบอกขับไหว? เพื่อสื่อสารให้ผู้ขับขี่และคนใกล้ตัวได้ช่วยกันเตือนสติ โดยชี้ให้เห็นถึงผลลัพธ์จากการดื่มแล้วขับ และโครงการรณรงค์เทศกาลสงกรานต์ ?ตั้งสติ ก่อนสตาร์ท สงกรานต์กลับบ้านปลอดภัย 2565? เพื่อชวนคนไทยลดความประมาท ดื่มไม่ขับ ลดความเร็ว และสวมหมวกนิรภัยก่อนขับขี่กลับไปหาคนที่รักอย่างปลอดภัย
4. แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย4          (1) พัฒนาพื้นที่สุขภาวะสู่เมืองสุขภาวะในพื้นที่นำร่องในกรุงเทพมหานครเพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงพื้นที่สาธารณะที่มีคุณภาพ เช่น โครงการ ?ย่านพระโขนง-บางนา 2040 : อนาคต ความฝัน ย่านของเรา? เป็นการพัฒนาพื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์ โดยนำมาจัดทำเป็นสวนหย่อมขนาดเล็ก เพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อให้ประชาชนใช้บริการออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ และ (2) พัฒนาลานกีฬาสาธารณะพื้นที่นำร่องในจังหวัดตรังและราชบุรี และพัฒนาศักยภาพแกนนำในพื้นที่นำร่องเกิดภาคีเครือข่ายความร่วมมือคณะปฏิรูปประเทศด้านลานกีฬาสาธารณะ 102 คน
5. แผนอาหารเพื่อสุขภาวะ          (1) ขับเคลื่อนการลดการบริโภคหวาน มัน เค็ม เกิดนโยบายส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะในระดับโรงเรียน 4 นโยบาย ได้แก่ 1) ห้ามจำหน่ายอาหาร อาหารว่าง และเครื่องดื่มที่มีรสหวานจัด เค็มจัด และไขมันสูง 2) ห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูปที่มีโซเดียมสูงกว่ามาตรฐานกำหนด 3) ควรจำหน่ายอาหารที่ระบุฉลากโภชนาการ และ 4) ควรจำหน่ายเครื่องดื่มประเภทนมรสจืด น้ำผลไม้และน้ำสมุนไพรที่มีปริมาณน้ำตาลไม่เกินค่ามาตรฐาน และส่งผลให้ผู้ผลิตอาหารทั่วไปและอาหารกึ่งสำเร็จรูปปรับสูตรลดโซเดียมลงร้อยละ 11.6 และ      (2) พัฒนาต้นแบบชุมชนที่สร้างเสริมสุขภาวะด้วยการบริโภคอาหารที่สมดุล 2 แห่ง คือ เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี และชุมชนเทศบาลเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ โดยครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 512 คน
เป้าประสงค์ที่ 2  พัฒนากลไกที่จำเป็นเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพอื่น ๆ ประกอบด้วย 3 แผนงาน
1. แผนควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ          (1) จัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ เพื่อเป็นศูนย์รวมนักวิชาการและองค์ความรู้การป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นภัยด้านสิ่งแวดล้อมที่คุกคามสุขภาพของประชาชน และผลิตชุดองค์ความรู้ทางวิชาการ เช่น องค์ความรู้เรื่องมลพิษอากาศและสถานการณ์มลพิษทางอากาศ ผลกระทบของมลพิษอากาศต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย และการควบคุมมลพิษอากาศจากการจราจรขนส่งและอุตสาหกรรม และ (2) พัฒนาจังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่ต้นแบบบูรณาการดำเนินงานเรื่องเพศและสุขภาพจิต ส่งผลสำคัญให้เด็กและเยาวชนได้รับการเสริมสร้างทักษะด้านสุขภาวะทางเพศและสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น
2. แผนสุขภาวะเด็กเยาวชนและครอบครัว          (1) พัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับเด็ก เยาวชน  และครอบครัว 3 แพลตฟอร์ม สำหรับ 3 กลุ่ม (เด็ก พ่อแม่และผู้ดูแลเด็ก และผู้ทำงานด้านเด็ก) ได้แก่ แชทบอท ?ใจดี? สำหรับรับฟังและให้คำปรึกษาปัญหาชีวิตวัยรุ่น แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับพ่อแม่ ผู้ดูแลเด็ก ?เน็ตป๊าม๊า? เพื่อสอนเทคนิคเชิงบวกในการปรับพฤติกรรมเด็กสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับผู้ทำงานด้านเด็ก ?https://coachforchange.co? เป็นเว็บไซต์รวมเครื่องมือ หลักสูตรการเรียนรู้สำหรับพี่เลี้ยง หรือบุคคลที่ทำงานกับสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย แกนนำเด็กและเยาวชน หรือคนรุ่นใหม่ที่ต้องการสร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคม มีจุดเน้นเรื่องสิทธิเด็กและการพัฒนาเยาวชนเชิงบวก มีกลุ่มเป้าหมายได้รับประโยชน์ 47,181 คน และ (2) พัฒนาชุดความรู้สำหรับเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับเด็กวัยเรียนอายุ 6-12 ปี โดยนำแนวคิดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์และลงมือทำมาเป็นฐานในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เช่น กว่าจะมาเป็นข้าว ค้นหาผักผลไม้ที่กินได้ในชุมชน ห่างไกลไวรัสด้วยมือเรา และชุมชนในฝันเราไม่โดดเดี่ยว และนำชุดความรู้ไปใช้จัดกระบวนการเรียนรู้และทดสอบใน 67 พื้นที่ มีเด็กและเยาวชนอายุ 6-12 ปี เข้าร่วม 3,270 คน
3. แผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ          (1) สนับสนุนให้คนไทยที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนให้สามารถเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพและสวัสดิการขั้นพื้นฐาน โดยสามารถช่วยเหลือคนไทยให้สามารถเข้าถึงกระบวนการพิสูจน์สิทธิ 799 คน และผ่านการพิสูจน์สิทธิได้รับสถานะเป็นคนไทยอย่างถูกต้อง 452 คน และ (2) พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบที่ทำงานผ่านแพลตฟอร์ม โดยกระทรวงแรงงานรับข้อเสนอนำไปพัฒนาเป็นร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานอิสระ พ.ศ. ....5
เป้าประสงค์ที่ 3 เพิ่มขีดความสามารถเชิงสถาบัน บทบาทชุมชน  และองค์กร ในการพัฒนาสุขภาวะองค์รวมประกอบด้วย 2 แผนงาน
1. แผนสุขภาวะชุมชน          (1) พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนไปสู่การปฏิบัติในเครือข่ายเสริมสร้างศักยภาพชุมชนท้องถิ่นที่มีสมาชิกเครือข่าย 3,214 แห่ง เช่น จัดทำแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยแบบบูรณาการ พัฒนาแผนควบคุมโรคติดต่อของตำบล จัดทำแผนพัฒนาตำบลเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และพัฒนาศูนย์ดูแลผู้สูงอายุครบวงจร และ (2) พัฒนารูปแบบแนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ภายใต้ ?โครงการบูรณาการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน? ในพื้นที่เป้าหมาย คือ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส หรือ ?แว้งโมเดล? มีผู้ป่วยได้รับการดูแล 758 ราย และเกิดการศึกษาและใช้ข้อมูลตำบลแว้งเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยจิตเวชให้พื้นที่อื่น ๆ
2. แผนการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร          (1) เกิดกลไกศูนย์ประสานงานสาธารณสงเคราะห์ในวัด 426 แห่ง ใน             76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร และมีวัดเป็นพื้นที่ต้นแบบสร้างเสริมสังคมสุขภาวะ 44 แห่งทุกภูมิภาค ซึ่งแต่ละพื้นที่มีความหลากหลายในการทำงานด้านสุขภาวะ เช่น วัดโพธิการาม จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นวัดต้นแบบสร้างสังคมสุขภาวะ โดยปรับพื้นที่วัดเป็นโรงพยาบาลสนามสำหรับรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และวัดห้วยยอด จังหวัดตรัง ได้จัดชมรมชายผ้าเหลืองที่ให้ความสำคัญเรื่องจิตอาสาดูแลผู้ป่วย และ (2) สถานประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าร่วมโครงการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร 80 แห่ง ใน 34 จังหวัด ครอบคลุมพนักงาน 12,425 คน เพื่อส่งเสริมให้สถานประกอบการนำแนวคิดองค์กรสุขภาวะ6 เป็นแนวทางพัฒนาศักยภาพองค์กร ควบคู่กับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตบุคลากรในองค์กร เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ทั้งนี้ มีวิสาหกิจที่ผ่านการคัดเลือกเป็นองค์กรต้นแบบด้านการสร้างสุขภาวะองค์กรและพัฒนาผลิตภาพ 37 แห่ง
เป้าประสงค์ที่ 4 สร้างค่านิยมและโอกาสการเรียนรู้ในการสร้างเสริมสุขภาวะให้เกิดขึ้นในสังคมไทยประกอบด้วย 2 แผนงาน
1. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา          (1) พัฒนาศักยภาพนักสื่อสารสุขภาวะทุกช่วงวัย 3,702 คน และต่อยอดเป็นผู้นำสร้างการเปลี่ยนแปลง 1,479 คน ที่มีทักษะเท่าทันสื่อ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการเป็นผู้นำ และเป็นพลเมืองตื่นรู้ และ (2) เกิดพื้นที่ปฏิบัติการสื่อสารสุขภาวะและเฝ้าระวังตรวจสอบสื่ออย่างมีส่วนร่วมในชุมชน รวมถึงการพัฒนาทักษะการตรวจสอบข้อมูลให้กับเครือข่ายภาคพลเมืองระดับพื้นที่ 10 พื้นที่ใน 10 จังหวัด เพื่อร่วมกันสื่อสารสุขภาวะ ตรวจสอบเนื้อหาข่าวลวงที่เกิดขึ้นในชุมชน เช่น ยกระดับกลไกเฝ้าระวังข่าวลวงอย่างมีส่วนร่วมจากองค์กรภาครัฐ องค์กรสื่อ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม ภายใต้ชื่อ ?Cofact?7
2. แผนสร้างเสริมความเข้าใจสุขภาวะ          (1) ขยายผลการดำเนินงาน ?สื่อเฉพาะคุณ (Persona Health)? แอปพลิเคชันสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเฉพาะบุคคล ด้วยการสนับสนุนข้อมูลและแนวทางสร้างเสริมสุขภาพที่ตรงความต้องการและความสนใจ สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาวะได้ และ (2) พัฒนาโครงการรณรงค์การสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม       9 โครงการ เช่น โครงการรณรงค์ให้เหล้าเท่ากับแช่ง ห่วงใยใครไม่ให้เหล้า โครงการรณรงค์ฝุ่น PM2.5  และ โครงการรณรงค์ลดการสูบบุหรี่ไฟฟ้า สามารถสร้างแนวโน้มให้ประชาชนอยากปรับเปลี่ยนหรือตั้งใจปรับพฤติกรรมร้อยละ 91
เป้าประสงค์ที่ 5 ขยายโอกาสและพัฒนาศักยภาพการสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาวะประกอบด้วย 1 แผนงาน
แผนสร้างสรรค์โอกาสสร้างเสริมสุขภาวะ          (1) สนับสนุนโครงการสร้างเสริมสุขภาวะระดับชุมชน 2,018 โครงการเพื่อสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ มีผู้ได้รับประโยชน์ 302,787 คน เช่น โครงการ ?สายใยสัมพันธ์ผู้ผลิต-ผู้บริโภค? ร่วมผลิตอาหารปลอดภัยแก้ไขปัญหาสุขภาวะในชุมชน ที่เทศบาลเมืองกระบี่ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ (2) เกิดกลไกสภาผู้นำชุมชน [ผู้นำที่เป็นทางการ (กรรมการหมู่บ้าน) และผู้นำที่ไม่เป็นทางการที่มาจากตัวแทนของกลุ่มต่าง ๆ เช่น อาสาสมัครสาธรณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้สูงอายุ เยาวชน  และผู้นำทางศาสนา] ที่สามารถสร้างความเข้มแข็งชุมชนในการจัดการปัญหาทุกมิติ 260 หมู่บ้านทั่วประเทศ ทำให้คนในชุมชนเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และ (3) ส่งเสริมการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพผ่านการร่วมทุนกับหน่วยงานต่าง ๆ รวม 9.20 ล้านบาท เพื่อนำไปกระจายโอกาสและสนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ 349 โครงการ เช่น การลดปัญหาฝุ่นควัน การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และการจัดการอาหารปลอดภัย
เป้าประสงค์ที่ 6 เพิ่มสมรรถนะระบบบริการและระบบสนับสนุนในการสร้างเสริมสุขภาวะ ประกอบด้วย      2 แผนงาน
1. แผนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพผ่านระบบบริการสุขภาพ          (1) พัฒนาทีมหมอครอบครัว8  ของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินี ให้มีรูปแบบบริการคลินิกโรคไม่ติดต่อ9 ที่สร้างความรอบรู้สุขภาพให้ผู้ป่วย (2) ส่งเสริมการออกแบบระบบบริการสุขภาพแบบใหม่ (เช่น มีการจัดระบบการบริการแยกตามความเสี่ยงหรือความรุนแรงของผู้ป่วยและมีระบบนัดหมายตามกลุ่ม ช่วยลดความแออัดในหน่วยบริการ) สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยมีหน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาล และศูนย์สุขภาพเขตชุมชนเมืองเข้าร่วม 34 แห่ง และ (3) พัฒนาแอปพลิเคชัน ?Fun D? ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและความรู้การดูแลสุขภาพและสุขภาพช่องปาก มีผู้ใช้งาน 9,648 คน
2. แผนพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ          (1) พัฒนาต้นแบบนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพ 2 ต้นแบบ ได้แก่ ต้นแบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ ?แอปพลิเคชันสานสุข (SAANSOOK)? เก็บข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของบุคคล และต้นแบบโมเดลและระบบพยากรณ์ทักษะสมองส่วนหน้า (Executive Function: EF)10 เป็นแพลตฟอร์มแบบเปิดสำหรับครูปฐมวัยให้สามารถใช้สร้างแผนกิจกรรมเสริมสร้าง EF สำหรับเด็กปฐมวัย และจัดประกวดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ?Prime Minister?s Award for health Promotion Innovation 2022? ขยายแนวคิดนวัตกรรมที่ลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพและส่งเสริมให้คนมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน โดยมีผู้เข้าร่วม 290 ทีมทั่วประเทศ และ (2) พัฒนาและออกแบบหลักสูตรการสร้างเสริมสุขภาพและศักยภาพการดำเนินงานของภาคีเครือข่าย เช่น หลักสูตรสมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพเวทีเสวนาออนไลน์ให้ความรู้ด้านสุขภาวะ และหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพผู้นำเพื่อสังคมที่เป็นธรรม โดยมีผู้ได้รับประโยชน์ 3,955 คน
                    3. การตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการทำงานในปี 2565
                              3.1 ผลการดำเนินงานในภาพรวมของกองทุนฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามหลักการของ Balanced Scorecard11 ได้คะแนน 4.76 คะแนน (คะแนนเต็ม 5 คะแนน) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ. 2562-2564) ที่ได้ 4.61 คะแนน นอกจากนี้ กองทุนฯ ยังมีการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล     ได้คะแนนเฉลี่ย 9.67 คะแนน (คะแนนเต็ม 10 คะแนน) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2564  ที่ได้ 9.25 คะแนน ขณะที่การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ได้รับผลการประเมิน 93.25 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับ ?A? โดยได้คะแนนสูงกว่าผลประเมินภาพรวมระดับประเทศ (ผลคะแนนเฉลี่ย 87.53 คะแนน)
                              3.2 รายงานผลการตรวจสอบงบการเงินของกองทุนฯ สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 30 กันยายน 2565 โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรายงานการเงินของกองทุนฯ และรับรองรายงานการเงินดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 เห็นว่ารายงานการเงินฯ ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ          ปี 2565          ปี 2564          เพิ่มขึ้น/(ลดลง)
1. งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2565
รวมสินทรัพย์          3,068.10          2,754.16          313.94
รวมหนี้สิน          283.90          269.98          13.92
รวมสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน          2,784.19          2,484.18          300.01
2. งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 30 กันยายน 2565
รวมรายได้          4,301.43          4,262.82          38.61
รวมค่าใช้จ่าย          3,990.94          3,788.50          202.44
รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ          310.49          474.32          (163.83)
หมายเหตุ : เนื่องจากมีการปรับเป็นทศนิยมสองหลัก ดังนั้น จึงส่งผลต่อการคำนวณผลรวมบางรายการในตาราง
1 สุขภาวะ หมายถึง ภาวะที่ประชาชนมีความสมบูรณ์และสมดุลใน 4 มิติ ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ ปัญญา และสังคม โดยมีการเชื่อมโยงซึ่งกันและกันและสะท้อนถึงความเป็นองค์รวมของบุคคล
2 คู่มือวัดต้นแบบลดปัจจัยเสี่ยง เป็นคู่มือเพื่อให้เครือข่ายพระสงฆ์และนักพัฒนาสังคมนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการต่อยอดการทำงานของพระสงฆ์และนักพัฒนาสังคม โดยกระบวนการทำงานประกอบด้วย (1) ?1ผ? คือ ผู้นำ เจ้าอาวาส (2) ?5ส? คือสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วม สร้างกลไก คณะทำงาน สร้างกติการ่วมของวัดและชุมชน สร้างแรงจูงใจในการทำความดี ลด ละ เลิกบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การพนัน และสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้เป็นนักรณรงค์และนักสื่อสาร และ (3) ?3ป? คือ ป้ายประชาสัมพันธ์ในพื้นที่วัด ประสานความร่วมมือกับภาคีในท้องถิ่น  และประสานระดับนโยบาย
3 คณะรัฐมนตรีมีมติ (16 สิงหาคม 2565) เห็นชอบแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระยะที่ 2            พ.ศ. 2565-2570 ตามที่คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติเสนอ เพื่อเป็นกรอบทิศทางการขับเคลื่อนการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ได้ตามเป้าหมาย นำไปสู่การสร้างสุขภาวะที่ดีของประชาชนและลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการสูญเสียเนื่องมาจากโรคและความรุนแรงที่เกิดจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4 กิจกรรมทางกาย คือ การขยับเคลื่อนไหวร่างกายทั้งหมดในชีวิตประจำวันในอิริยาบถต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดการใช้และเผาผลาญพลังงานโดยกล้ามเนื้อ เช่น การทำงาน การเดินทาง กิจกรรมนันทนาการ การทำงานบ้าน การปั่นจักรยาน และการเล่นกีฬา
5 อยู่ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่างดังกล่าว
6 องค์กรสุขภาวะหรือองค์กรแห่งความสุข คือ องค์กรที่มีการส่งเสริมและพัฒนาคนในองค์กรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยมีเป้าหมายให้คนทำงานในองค์กรมีสุขภาพที่ดีในการทำงาน มีความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่ดี มีสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน มีทักษะ และประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน มีความรักและผูกพันองค์กร เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ของระบบการจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมและยั่งยืน
7 COFACT (Collaborative Fact Checking) คือพื้นที่สาธารณะที่เปิดให้ทุกคนมาช่วยกันตรวจสอบเรื่องที่น่าสงสัย ข่าวลวง ข่าวลือ หรือความเชื่อต่าง ๆ ให้กระจ่างชัด ด้วยการร่วมมือกันให้ความคิดเห็น ให้แหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ แบ่งปันความรู้ประสบการณ์ หรือนำข้อความนั้นมาส่งต่อให้ผู้ที่ใช้งานระบบได้พิจารณาว่าควรเชื่อหรือไม่ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของข่าวลวงหรือความเชื่อถือที่ไม่กระจ่างชัด และได้รับความรู้ที่รอบด้านในประเด็นนั้นก่อนส่งต่อไปให้เพื่อนและครอบครัวในสื่อสังคมออนไลน์
8 ทีมหมอครอบครัว คือ ทีมผู้ดูแลสุขภาพประจำตัวครอบครัว กระจายครอบคลุมในทุกครัวเรือนทั่วประเทศไทย พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลสุขภาพถึงที่บ้าน และสามารถส่งต่อผู้ป่วยโดยมีแพทย์เป็นที่ปรึกษา
9 โรคไม่ติดต่อ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคตับแข็ง โรคอ้วน  และโรคหลอดเลือดตีบตัน
10 ทักษะสมองส่วนหน้า (Executive Function : EF) คือ ความสามารถที่เกิดจากการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ช่วยให้คนเราสามารถควบคุมความคิด อารมณ์ พฤติกรรม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตนต้องการสำเร็จ หรือเป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการตนเอง ซึ่งเป็นทักษะขั้นสูงของสมองที่ต้องได้รับโอกาสและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการฝึกฝนและพัฒนาและมีความเกี่ยวข้องกับผู้ปกครองและครูโดยตรงเพราะใกล้ชิดเด็กที่สุดและมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
11 เครื่องมือด้านการจัดการที่จะช่วยให้องค์กรแปลงกลยุทธ์และเป้าหมายไปสู่การปฏิบัติ โดยการประเมินครอบคลุมการดำเนินงานด้านผลสัมฤทธิ์ตามพันธกิจ ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านการเงิน และด้านปฏิบัติการ

17. เรื่อง ขออนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นในการจ่ายเงินงบอุดหนุนเฉพาะกิจ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประจำปีงบประมาณ           พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในการจ่ายเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (โครงการฯ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 998.442 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด   ที่จะได้รับเงินต่อเนื่องในเดือนกันยายน 2566 จำนวน 2,254,534 คน โดยเบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ตามที่นายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้กรมกิจการเด็กและเยาวชนใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แล้ว ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายสำคัญระดับชาติในการสร้างระบบการคุ้มครองทางสังคมในโครงการฯ โดยมีวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อจัดสวัสดิการพื้นฐานในการคุ้มครองทางสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ และเป็นหลักประกันสิทธิ์ขั้นพื้นฐานให้เด็กแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพและเพื่อส่งเสริมให้เด็กแรกเกิดและปฐมวัยมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสู่ช่วงวัยอื่น ๆ ฯลฯ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมของยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเท่าเทียมของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 - 2570 โดยปัจจุบันให้เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็ก ตั้งแต่แรกเกิด - 6 ปี และอยู่ในครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน รายได้ไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี (เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป) ในอัตราเดือนละ 600 บาท/คน
                    2. ที่ผ่านมา พม. ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายตามแผนบูรณาการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต งบเงินอุดหนุน อุดหนุนเฉพาะกิจ รายการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ พ.ศ.          เป้าหมาย          ผลการดำเนินงาน (ข้อมูล ณ 10 กรกฎาคม 2566)
          จำนวน (คน)          งบเงินอุดหนุน          ผู้มีสิทธิ์ได้รับเงิน (ยอดสะสม) (คน)          รวมเบิกจ่ายเงินทั้งสิ้น          คงเหลือ
2559          128,000          614.400          90,216          278.571          -
2560          200,000          1,113.120          310,041          1,912.787          4.327
2561          508,174          2,131.186          518,174          3,499.825          0.613
2562          557,298          3,485.037          513,702          4,353.617          34.482
2563          1,745,200          10,875.914          1,758,633          15,046.890          973.259
2564          1,966,093          13,074.410          2,148,363          12,020.397          756.779
2565          2,655,272          16,659.490          2,347,403          14,690.844          1,968.646
2566          2,579,046          16,321.176          2,293,663          14,526.813          1,794.363
ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พม. ได้รับงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 16,321.176 ล้านบาท      (บวกเงินกันเหลื่อมปี 2565 จำนวน 13,800 บาท หักเงินยืมทดรองราชการ 20.205 ล้านบาท) คงเหลืองบประมาณที่จะใช้ในโครงการฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวนทั้งสิ้น 16,300.985 ล้านบาท โดย พม. ได้จ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดและมีผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำแนกรายเดือน ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ          จำนวนผู้ได้รับเงิน (คน)          จำนวนเงินเบิกจ่าย
พม. มีเงินอุดหนุนสำหรับใช้ในโครงการฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566           16,300.985
จ่ายให้กับผู้มีสิทธิ์รอบเดือนตุลาคม 2565          2,328,397          1,450.117
จ่ายให้กับผู้มีสิทธิ์รอบเดือนพฤศจิกายน 2565          2,324,360          1,459.389
จ่ายให้กับผู้มีสิทธิ์รอบเดือนธันวาคม 2565          2,321,653          1,465.205
จ่ายให้กับผู้มีสิทธิ์รอบเดือนมกราคม 2566           2,312,095          1,438.523
จ่ายให้กับผู้มีสิทธิ์รอบเดือนกุมภาพันธ์ 2566          2,313,601          1,452.045
จ่ายให้กับผู้มีสิทธิ์รอบเดือนมีนาคม 2566          2,310,460          1,453.688
จ่ายให้กับผู้มีสิทธิ์รอบเดือนเมษายน 2566          2,307,465          1,456.099
จ่ายให้กับผู้มีสิทธิ์รอบเดือนพฤษภาคม 2566          2,297,969          1,437.845
จ่ายให้กับผู้มีสิทธิ์รอบเดือนมิถุนายน 2566          2,293,203          1,449.756
จ่ายให้กับผู้มีสิทธิ์รอบเดือนกรกฎาคม 2566          2,293,663          1,464.146
รวมเบิกจ่าย (เดือนตุลาคม 2565 - กรกฎาคม 2566)                    14,526.813
คงเหลือ                    1,774.171*
ประมาณการเบิกจ่ายรอบเดือนสิงหาคม 2566          2,296,669          1,450.001
ประมาณการเบิกจ่ายรอบเดือนกันยายน 2566          2,291,007          1,446.604
รวมประมาณการเบิกจ่าย (เดือนสิงหาคม - กันยายน 2566)                    2,896.606
ประมาณการงบประมาณคงเหลือ                    (1,122.434)
หมายเหตุ : *เท่ากับงบประมาณคงเหลือสุทธิ (งบประมาณคงเหลือ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 จำนวน 1,794.363 ล้านบาท บวกกับเงินกันเหลื่อมปีของปี 2565 จำนวน 13,800 บาท รวมเป็นเงินเท่ากับ 1,794.376 ล้านบาท โดยนำมาหักการชดใช้เงินยืมทดรองราชการ จำนวน 20.205 ล้านบาท จึงเหลือเงินอุดหนุนสุทธิเท่ากับ 1,774.171 ล้านบาท)
                    3. พม. (กรมกิจการเด็กและเยาวชน) ได้ประมาณการงบประมาณหลังจากเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - สิงหาคม 2566 และเห็นว่างบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่ได้รับจัดสรรไว้จะไม่เพียงพอต่อการเบิกจ่ายให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีสิทธิ์ในเดือนกันยายน 2566 จึงได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 1,119.045 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดในเดือนกันยายน 2566 โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อขอความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรี
                    4.  สงป. ได้นำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วนายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้ พม. (กรมกิจการเด็กและเยาวชน) ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นภายในกรอบวงเงิน 998.442 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดที่จะได้รับเงินต่อเนื่องในเดือนกันยายน 2566 จำนวน 2,254,534 คน โดยเบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแล้ว สงป. จะเสนอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการอนุมัติเงินจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณต่อไป
                    5. พม. แจ้งว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ       พ.ศ. 2561 มาตรา 20 (6) โดยเป็นการตั้งงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการตามภารกิจที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วนของรัฐ เนื่องจากเป็นการจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดในครัวเรือนที่มีรายได้น้อยที่จะได้รับเงินต่อเนื่องในเดือนกันยายน 2566 เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดแก่ผู้ปกครอง โดยมุ่งให้เด็กแรกเกิดมีคุณภาพชีวิตที่ดีและเข้าสู่ระบบการบริการของรัฐได้อย่างทันท่วงที และเป็นไปตามข้อ 5 (3) ของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้การขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ให้กระทำได้ในกรณีที่เป็นรายจ่ายที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้วแต่มีจำนวนไม่เพียงพอและมีความจำเป็นเร่งด่วนของรัฐต้องใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันงบประมาณโดยเร็ว

18. เรื่อง ขอความเห็นชอบการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำหน่ายที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งสถานีไฟฟ้าแรงสูงชลบุรี 2 (บางส่วน) ของ กฟผ. ตามหลักฐานโฉนดที่ดิน เลขที่ 245978 ท้องที่ตำบลบางพระ    อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ 14 - 0 - 20 ไร่ ให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟผ.) ในราคาที่ดินไร่ละ 5,616,966 บาท เป็นเงิน 78,918,372 บาท และค่าดำเนินการร้อยละ 20 ของราคาที่ดิน เป็นเงิน 15,783,674 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 94,702,046 บาท ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ

19. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม        พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2566 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ เสนอดังนี้
                    1. อนุมัติให้กรมควบคุมโรคเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทยจำนวน 60,000,000 โดส (AstraZeneca) ปี พ.ศ. 2565 (โครงการจัดหาวัคซีนฯ AstraZeneca) และโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย จำนวน 30,002,310 โดส (Pfizer) ปี พ.ศ. 2565 (โครงการจัดหาวัคซีนฯ Pfizer) โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ เป็นเดือนมีนาคม 2567 พร้อมทั้งมอบหมายให้กรมควบคุมโรค รับความเห็นขอบ คกง. ไปดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
                    2. อนุมัติให้จังหวัด1 เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการจำนวน 9 โครงการ กรอบวงเงิน 74.1363 ล้านบาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 (โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ) รับความเห็นของ คกง. ไปดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
                    3. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1 และ 2 เร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) (ระบบeMENSCR) ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี รายงานผลสัมฤทธิ์และคืนเงินกู้เหลือจ่าย (ถ้ามี) ตามระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
                    4. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 8 (1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2566) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คกง. รายงานว่า ที่ประชุม คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2566 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และการจัดทำรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 8 (1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2566) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                    1. การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการกรณีโครงการจัดหาวัคซีนฯ AstraZeneca และโครงการจัดหาวัคซีนฯ Pfizer ของ สธ. มีรายละเอียด ดังนี้
โครงการ          มติคณะรัฐมนตรีเดิม          มติ คกง.
1.1 โครงการจัดหาวัคซีนฯ AstraZeneca          สิ้นสุดเดือนกันยายน 2566 (กรอบวงเงิน 18,639.1073 ล้านบาท)          ขยายระยะเวลาโครงการเป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2567
เนื่องจากอยู่ระหว่างรอหนังสือแจ้งยืนยันผลการเจรจากับบริษัท AstraZeneca (ประเทศไทย) จำกัด ในการขอเปลี่ยนแปลงรายการจากวัคซีน AstraZeneca ที่ยังไม่ได้รับการส่งมอบจำนวน 19.0744 ล้านโดส เป็น LAAB2
ความเห็น คกง. การเปลี่ยนแปลงวัคซีน AstraZeneca เป็นผลิตภัณฑ์อื่น (LAAB) นั้น ต้องมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และควรบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ไม่ให้เสียประโยชน์และไม่เหลือทิ้ง นอกจากนี้ภายหลังจากได้รับหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการแล้ว เห็นควรให้กรมควบคุมโรคเร่งเสนอขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการตามขั้นตอนข้อ 18 (2) ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ต่อไป
1.2 โครงการจัดหาวัคซีนฯ Pfizer          สิ้นสุดเดือนกันยายน 2566
(กรอบวงเงิน 16,297.7006 ล้านบาท)          ขยายระยะเวลาโครงการเป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2567
ปัจจุบันได้รับการส่งมอบวัคซีนครบแล้ว (จำนวน 30,002,310 โดส) แต่อยู่ระหว่างการบริหารจัดการวัคซีนในส่วนที่เหลือเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานบริหารจัดการวัคซีน Pfizer (Maroon Cap) ในพื้นที่
ความเห็น คกง. เนื่องจากกรมควบคุมโรคได้รับวัคซีนครบตามจำนวนแล้ว จึงควรเร่งรัดการกระจายวัคซีนไปยังหน่วยบริการในระดับพื้นที่ รวมถึงเร่งกระบวนการในการส่งเอกสารหลักฐานเพื่อทำการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
                    ทั้งนี้ ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของ คกง. เห็นควรมอบหมายให้กรมควบคุมโรค เร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการในระบบ eMENSCR ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด
                    2. การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการกรณีโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ของกระทรวงมหาดไทย
                              2.1 คกง. เห็นชอบให้จังหวัดเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ จำนวน 7 จังหวัด (จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดสมุทรสาคร) รวม 9 โครงการ กรอบวงเงินรวม 74.1363 ล้านบาท              มีรายละเอียด ดังนี้
                                        2.1.1 ยกเลิกการดำเนินโครงการ จำนวน 2 จังหวัด (จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดนครราชสีมา) รวม 3 โครงการ กรอบวงเงิน 2.1372 ล้านบาท เนื่องจากไม่สามารถจัดหาผู้รับจ้างและลงนามผูกพันสัญญาได้ทันภายในเดือนพฤศจิกายน 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 รวมถึงไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ทันตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี
                                        2.1.2 ขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการเป็นสิ้นสุดเดือนกันยายน 2566 จำนวน 1 จังหวัด (จังหวัดนครศรีธรรมราช) รวม 2 โครงการ กรอบวงเงิน 16.4539 ล้านบาท เนื่องจากดำเนินการแล้วเสร็จและอยู่ระหว่างเบิกจ่ายเงินตามขั้นตอน
                                        2.1.3 ขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการเป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2566 จำนวน 3 จังหวัด (จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดนราธิวาส) รวม 3 โครงการ กรอบวงเงิน 52.8652 ล้านบาท เนื่องจากได้ลงนามผูกพันสัญญาแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินโครงการ
                                        2.1.4 เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการและขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการ เป็นสิ้นสุดเดือนกันยายน 2566 จำนวน 1 จังหวัด (จังหวัดสมุทรสาคร) รวม 1 โครงการ วงเงิน 2.6800 ล้านบาท
                              ทั้งนี้ ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของ คกง. เห็นควรมอบหมายให้จังหวัด เร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการในระบบ eMENSCR ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด
                              2.2 เห็นควรมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ เร่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายตามข้อ 22 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พร้อมทั้งจัดทำรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางในการประเมินผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการตามที่กระทรวงการคลังกำหนดต่อไป
                    3. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 8 (1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2566) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                              3.1 ภาพรวมผลการดำเนินงานและเบิกจ่าย ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2566 ดังนี้
แผนงาน          จำนวนโครงการ          รายละเอียด
(1) โครงการของส่วนราชการ          85          ? กรอบวงเงินอนุมัติรวม 494,760.93 ล้านบาท แบ่งเป็น
          (1) โครงการที่แล้วเสร็จ จำนวน 79 โครงการ วงเงินอนุมัติรวม 455,233.34 ล้านบาท และมีผลการเบิกจ่ายรวม 438,671.87 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 96.36 ของวงเงินอนุมัติ
          (2) โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน          6 โครงการ วงเงินอนุมัติรวม 39,527.59 ล้านบาท และมีผลการเบิกจ่ายรวม 30,662.90 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 77.57 ของวงเงินอนุมัติ
(2) โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ          2,285          ? กรอบวงเงินอนุมัติรวม 4,762.87 ล้านบาท โดยมีความก้าวหน้าการดำเนินโครงการแบ่งเป็น 4 สถานะ ได้แก่
          (1) โครงการแล้วเสร็จ จำนวน 2,224 โครงการ วงเงินอนุมัติรวม 4,526.06 ล้านบาท
          (2) โครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ จำนวน    27 โครงการ วงเงินอนุมัติรวม 97.30 ล้านบาท
          (3) โครงการที่สิ้นสุดระยะเวลาโดยไม่มีการเบิกจ่าย จำนวน 28 โครงการ วงเงินอนุมัติรวม 67.51 ล้านบาท
          (4) โครงการที่ขอขยายระยะเวลา จำนวน                6 โครงการ วงเงินอนุมัติรวม 72.00 ล้านบาท
                              3.2 ข้อเสนอแนะของ คกง.
                                        (1) กรณีโครงการแล้วเสร็จ ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินการคืนวงเงินเหลือจ่าย โดยควรตรวจสอบความถูกต้องของการเบิกจ่ายให้ครบถ้วนก่อนจัดส่งรายงานผลสำเร็จของโครงการให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ตามข้อ 21 และ 22 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564
                                        (2) กรณีโครงการของส่วนราชการที่มีสถานะอยู่ระหว่างดำเนินการที่มีความก้าวหน้าการเบิกจ่ายน้อย ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ เร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และหากหน่วยงานรับผิดชอบโครงการพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถดำเนินโครงการได้ให้เร่งเสนอขอขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการให้ คกง. พิจารณาตามขั้นตอน
                                        (3) กรณีโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ สิ้นสุดระยะเวลาเบิกจ่าย หากหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้ดำเนินการลงนามผูกพันสัญญาภายในเดือนพฤศจิกายน 2565 แล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินโครงการ เห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และหากหน่วยงานรับผิดชอบโครงการพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถดำเนินโครงการดังกล่าวได้ให้เร่งเสนอเรื่องให้ คกง. พิจารณาตามขั้นตอน สำหรับโครงการที่ยังไม่สามารถจัดหาผู้รับจ้างได้ หรือยังไม่ได้ผูกพันสัญญาภายในเดือนพฤศจิกายน 2565 เห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินการเสนอขอยกเลิกโครงการให้ คกง. พิจารณาตามขั้นตอนโดยเร็ว เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565
                                        (4) กรณีโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการที่มีความก้าวหน้าน้อยและหรือไม่มีผลเบิกจ่าย ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จตามแผนที่ได้รับการอนุมัติขยายเวลาแล้ว สำหรับโครงการที่ไม่มีผลเบิกจ่ายใด ๆ หรือประสบปัญหาระหว่างดำเนินโครงการที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนดระยะเวลาดำเนินโครงการ ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งเสนอเรื่องขอยกเลิกโครงการให้ คกง. พิจารณาโดยเร็ว
                              3.3 มติ คกง.
                                   รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 8 (1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2566) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1 จำนวน 7 จังหวัด (จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดมหาสารคาม        จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดสมุทรสาคร) รวม 9 โครงการ กรอบวงเงินรวม 74.1363 ล้านบาท
2 LAAB (Long Acting Antibody) คือ แอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว สำหรับใช้เพื่อการป้องกันและรักษาโควิด-19 โดยใช้ในกลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และมีน้ำหนักตัวมากกว่า 40 กิโลกรัม ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ไม่เพียงพอจากโรคต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน      ผู้ป่วยล้างไต รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้

20. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (เดือนเมษายน-มิถุนายน 2566) และแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค โดย สปน. จะประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน และการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ต่อไป [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (29 พฤศจิกายน 2548) ที่รับทราบแนวทางการจัดระเบียบของระบบกระบวนการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนของประชาชนและมอบหมายให้ทุกกระทรวงดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว โดยให้ สปน. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการติดตามผลการดำเนินการและสรุปรายงานผลความคืบหน้าในการดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบทุก 3 เดือน] สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (เดือนเมษายน-มิถุนายน 2566)
                              1.1 สถิติการแจ้งเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นของประชาชนที่ยื่นเรื่องผ่านช่องทางการร้องทุกข์ 1111* รวมทั้งสิ้น 13,877 เรื่อง สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ 11,757 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 84.72 และรอผลการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2,120 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 15.28
                              1.2 หน่วยงานที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นมากที่สุด 5 ลำดับแรก ดังนี้
                                        (1) ส่วนราชการ ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1,232 เรื่อง กระทรวงการคลัง 400 เรื่อง กระทรวงคมนาคม 292 เรื่อง กระทรวงแรงงาน 240 เรื่อง และกระทรวงสาธารณสุข 215 เรื่อง ตามลำดับ
                                        (2) รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 222 เรื่อง การไฟฟ้านครหลวง 136 เรื่อง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 135 เรื่อง การประปาส่วนภูมิภาค 107 เรื่อง และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) 61 เรื่อง ตามลำดับ
                                        (3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 668 เรื่อง จังหวัดนนทบุรี 205 เรื่อง สมุทรปราการ 174 เรื่อง ปทุมธานี 171 เรื่อง  และชลบุรี 161 เรื่อง ตามลำดับ
                    2. การประมวลผลและวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 สถิติจำนวนเรื่องร้องทุกข์เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่ผ่านมา โดยในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีจำนวนการติดต่อเรื่องร้องทุกข์ 13,877 ครั้ง ซึ่งน้อยกว่าในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 2,865 ครั้ง (มีจำนวนการติดต่อเรื่องราวร้องทุกข์ 16,742 ครั้ง)
                              2.2 ประเด็นเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่
                                        (1) เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน เช่น การแสดงดนตรีสด การเปิดเพลงเสียงดังของร้านอาหารและสถานบันเทิง การรวมกลุ่มมั่วสุมดื่มสุรา และเสียงจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ทำการดัดแปลงเครื่องยนต์ 1,411 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 1,348 เรื่อง (ร้อยละ 95.53)
                                        (2) ไฟฟ้า เช่น ปัญหาที่เกิดจากการให้บริการไฟฟ้า ไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง ไฟฟ้าตกบ่อยครั้ง ขอขยายเขตไฟฟ้า ขอให้ลดอัตราค่าไฟฟ้า รวมทั้งขอให้ตรวจสอบการคิดอัตราค่าไฟฟ้าที่สูงกว่าปกติ และขอผ่อนผันการชำระค่าไฟฟ้า 1,260 เรื่องดำเนินการจนได้ข้อยุติ 1,149 เรื่อง (ร้อยละ 91.19)
                                        (3) การเมือง เช่น การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการเมืองนโยบายของพรรคการเมือง และการจัดตั้งรัฐบาล 769 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 754 เรื่อง  (ร้อยละ 98.05)
                                        (4) โทรศัพท์ เช่น การให้บริการผ่านโทรศัพท์ของหน่วยงานของรัฐโดยมีการให้รอสายนาน ต่อสายไปยังหน่วยงานย่อยภายในหลายครั้ง และคู่สายเต็ม 637เรื่อง  ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 577 เรื่อง (ร้อยละ 90.58)
                                        (5) น้ำประปา เช่น น้ำประปาไม่ไหลและไหลอ่อนเป็นบริเวณกว้างการขอขยายเขตการให้บริการน้ำประป่า ท่อน้ำประปาแตกชำรุด รวมทั้งน้ำประปาขุ่นและมีตะกอน 589 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 538 เรื่อง (ร้อยละ 91.34)
                                        (6) ประเด็นกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น ปัญหามิจฉาชีพหลอกลวงประชาชนหลอกลวงให้โอนเงิน หลอกลวงซื้อสินค้า รวมทั้งหลอกลวงให้ร่วมลงทุนทำธุรกิจทาง
โทรศัพท์และทางออนไลน์ 472 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 324 เรื่อง (ร้อยละ 68.64) อย่างไรก็ตาม เรื่องร้องทุกข์มีจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปิงบประมาณ พ.ศ. 2565  ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบและวิธีการของมิจฉาชีพมากขึ้นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนและติดตามการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง
                              (7) ประเด็นเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง เสรีภาพ เช่น การขอความช่วยเหลือกรณีการถูกข่มขู่คุกคาม ถูกทำร้ายร่างกาย และถูกหมิ่นประมาท 375 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 317 เรื่อง (ร้อยละ 84.53)
                              (8) ถนน เช่น ขอให้ปรับปรุงซ่อมแซมถนนชำรุด ทรุดตัว ขอให้ปรับปรุงถนนลูกรังเป็นถนนลาดยางแอสฟัลท์หรือถนนคอนกรีต ซึ่งมีสาเหตุมาจากถนนมีอายุการใช้งานมานานเป็นหลุมเป็นบ่อ และมีน้ำขัง 306 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 248 เรื่อง (ร้อยละ 81.05) ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เรื่องร้องทุกข์มีจำนวนลดลง ร้อยละ 32.89 (มีเรื่องร้องทุกข์จำนวน 456 เรื่อง) ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ปรับปรุงซ่อมแซมจนสามารถใช้งานได้ปกติในหลายพื้นที่แล้ว
                              (9) กลิ่น เช่น ขอให้แก้ไขปัญหากลิ่นเหม็นรบกวนจากขยะ การทิ้งขยะของเพื่อนบ้าน การทิ้งขยะของร้านอาหาร รวมทั้งกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ที่มาจากการทำฟาร์มและมูลสัตว์เลี้ยงของเพื่อนบ้าน 287 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 249 เรื่อง (ร้อยละ 86.76)
                              (10) การจัดระเบียบการจราจร เช่น ปัญหาการจราจรติดขัดโดยขอให้เจ้าหน้าที่เข้มงวดกวดขันการรักษาวินัยจราจรและพฤติกรรมการขับขี่รถประเภทต่าง ๆ ด้วยความเร็วสูง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่มีการร้องทุกข์เกี่ยวกับการจัดระเบียบการจราจรมากขึ้น 283 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 267 เรื่อง (ร้อยละ 94.35)
                    3. ข้อจำกัด ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ ดังนี้
                              3.1 สถิติการใช้บริการช่องทางรับเรื่องร้องทุกข์ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พบว่า มีจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวได้จากการใช้บริการผ่านช่องทาง 1111 เพียงหน่วยงานเดียว ซึ่งอาจไม่สามารถสะท้อนข้อเท็จจริงของปัญหาหรือความต้องการของประชาชนในภาพรวมของประเทศได้
                              3.2 ประชาชนใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น โดยจะเห็นว่าจำนวนการใช้บริการช่องทางไลน์สร้างสุข (@PSC1111) มีปริมาณมาก สะท้อนว่าประชาชนเลือกใช้บริการช่องทางที่เข้าถึงง่าย และสะดวก รวมทั้งมีความคาดหวังต่อการให้บริการที่รวดเร็วจากหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นความท้าทายของการบริหารจัดการภาครัฐที่จะต้องให้เกิดการประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐทั้งภายในและภายนอกองค์กร
                              3.3 สปน. ได้พัฒนาช่องทางการรับเรื่องร้องทุกข์ให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนเพื่อให้ประชาชนสามารถเลือกใช้บริการช่องทางที่ง่ายและสะดวก เช่น Line : @PSC1111 และแอปพลิเคชัน PSC 1111 รวมทั้งได้พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์เพื่อรองรับการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเรื่องร้องทุกข์จากส่วนราชการให้เป็นฐานข้อมูลเดียวกันทั่วประเทศ (Big Data) ปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งในระดับกระทรวง กรม และหน่วยงานอิสระ เข้าร่วมเชื่อมโยงฐานข้อมูลแล้ว 15 หน่วยงาน ซึ่งยังไม่ครอบคลุมในทุกกระทรวงหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และระดับท้องถิ่น
                              3.4 ปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญยังเป็นปัญหาที่ประชาชนร้องเรียนเป็นจำนวนมาก  โดยเฉพาะเสียงดังรบกวนจากการแสดงดนตรีสดและการเปิดเพลงเสียงดังของสถานบันเทิง การรวมกลุ่มดื่มสุรา การขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ทำการดัดแปลงเครื่องยนต์และเหตุเดือดร้อนรำคาญจากกลิ่น เช่น กลิ่นเหม็นจากการทิ้งขยะ กลิ่นจากมูลสัตว์  ที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้โดยง่ายและบ่อยครั้ง ประกอบกับปัจจุบันประชาชนมีช่องทางในการเข้าถึงการร้องเรียนร้องทุกข์ แจ้งเหตุ ได้ง่าย สะดวก และตลอดเวลา จึงส่งผลให้ปัญหาดังกล่าวมีจำนวนมากในทุกไตรมาส
                    4. ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒณาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงาน ดังนี้
                              4.1 ควรให้หน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและระดับท้องถิ่นที่มีระบบสารสนเทศเรื่องร้องทุกข์ และมีความพร้อม กำหนดแนวทางเข้าร่วมการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเรื่องร้องทุกข์กับ สปน. เพื่อการแบ่งปันข้อมูลและเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงาน (Data Sharing and Connected) และเพื่อขับเคลื่อนการบริการประชาชนด้านรับเรื่องร้องทุกข์ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
                              4.2 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญเคร่งครัดในการตรวจสอบ ปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อลดการเกิดเหตุในพื้นที่และควรประชาสัมพันธ์ให้สถานประกอบการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดในขณะเดียวกันต้องสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการปฏิบัติตนที่ไม่สร้างผลกระทบต่อส่วนรวมเพื่อสังคมที่อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข
*มีช่องทางการร้องเรียน ได้แก่ (1) สายด่วนของรัฐบาล 1111 (2) ตู้ ปณ. 1111/ไปรษณีย์/โทรสาร (3) ไลน์สร้างสุข (@PSC 111) (4) โมบายแอปพลิเคชัน PSC 1111 (5) จุดบริการประชาชน 1111 และ (6) เว็บไซต์ (www.1111.go.th)


ต่างประเทศ
21. เรื่อง องค์ประกอบและท่าทีของราชอาณาจักรไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ           ครั้งที่ 45 ที่ขยายออกมา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
1.          ให้ความเห็นชอบต่อการกำหนดท่าทีของราชอาณาจักรไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดก
โลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 ที่ขยายออกมา1 ดังนี้
                              1.1 หากคณะผู้แทนไทยเห็นว่า (ร่าง) ข้อมติ วาระการประชุมที่ 7B รายงานสถานภาพการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่ (7B.19) และพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน (7B.88) ไม่เป็นผลดีต่อไทย หรือสุ่มเสี่ยงต่อการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในภาวะอันตราย2 เห็นชอบให้คณะผู้แทนไทยดำเนินการชี้แจงทำความเข้าใจและโน้มน้าวคณะกรรมการมรดกโลก3 (คณะกรรมการฯ) องค์กรที่ปรึกษา4 และศูนย์มรดกโลก5  เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน และการดำเนินการของราชอาณาจักรไทยในการให้ความสำคัญต่อการดำเนินการเพื่อดูแลและอนุรักษ์พื้นที่กลุ่มป่าฯ ให้คงคุณค่าความโดดเด่น  อันเป็นสากลอย่างยั่งยืน รวมทั้งจัดให้มีการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนต่าง ๆ และองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการอนุรักษ์ ปกป้อง คุ้มครอง และบริหารจัดการพื้นที่กลุ่มป่าฯ ร่วมกันและขอปรับแก้ (ร่าง) ข้อมติที่จะส่งผลต่อผลการดำเนินงานของไทยในอนาคต
                              1.2 กรณีมีประเด็นอื่นที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า หรือได้รับการร้องขอจากรัฐภาคีสมาชิก ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ในการพิจารณากำหนดท่าทีในประเด็นนั้น ๆ  ทั้งนี้ ให้คณะผู้แทนไทยพิจารณาร่วมกันระหว่างการประชุมฯ โดยคำนึงถึงหลักการของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และข้อมูลด้านเทคนิคและวิชาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กรที่ปรึกษา
                    2. รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 ที่ขยายออกมา
                              2.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นที่ปรึกษา
                              2.2 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ทำหน้าที่กรรมการในคณะกรรมการมรดกโลกและหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
                              2.3 ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ทส. กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และผู้แทนที่เกี่ยวข้องในคณะทำงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในการดำรงตำแหน่งกรรมการมรดกโลกวาระปี พ.ศ. 2562-2566
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ทส. รายงานว่า
1.          ศูนย์มรดกโลกมีหนังสือเชิญประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ
ครั้งที่ 45 ที่ขยายออกมา (extended 45th Session of the World Heritage Committee) (การประชุมฯ) ในระหว่างวันที่ 10-25 กันยายน 2566 ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ซึ่งประเทศไทยมีฐานะเป็นหนึ่งในคณะกรรมการฯ โดยมีนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในคณะกรรมการฯ (ตามมติคณะรัฐมนตรี 29 มกราคม 2562)   โดยมีวาระการประชุมเกี่ยวข้องกับราชอาณาจักรไทยจำนวน 2 วาระ ได้แก่ วาระที่ 7B (รายงานสถานภาพการอนุรักษ์ของพื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น ? เขาใหญ่ และพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน) และวาระที่ 8B (พิจารณา เมืองโบราณศรีเทพ เป็นแหล่งมรดกโลก)
2.          ศูนย์มรดกโลกได้เผยแพร่ (ร่าง) ข้อตัดสินใจของคณะกรรมการฯ ของวาระการประชุมฯ
บางส่วน ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเทศไทยจำนวน 2 วาระ6 ได้แก่

วาระการประชุม          (ร่าง) ข้อตัดสินใจของคณะกรรมการฯ
วาระที่ 7B.88
เรื่อง รายงานสถานภาพการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก
พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน
          ให้ประเทศไทยรายงานเกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่ก่อนเริ่มการดำเนินโครงการ เช่น โครงการสร้างเขื่อนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชีซึ่งอยู่ติดกับพื้นที่แหล่งมรดกโลก อีกทั้งให้ดำเนินการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมตามแนวทางการอนุวัตตามอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก7 รวมทั้งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับขอบเขตพื้นที่กันชน8
วาระที่ 8B.41
เรื่อง การพิจารณาการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก เมืองโบราณศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์          ให้ขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพเป็นแหล่งมรดกโลก (Inscribe) และเสนอแนะให้เปลี่ยนชื่อเป็น ?The Ancient Town of Si Thep and its Associated Dvaravati Monuments? พร้อมขอให้ประเทศไทยดำเนินการตามข้อแนะนำ 11  ข้อ9 รวมทั้งให้จัดส่งรายงานผลความก้าวหน้าในการดำเนินการตามข้อเสนอแนะต่อศูนย์มรดกโลก ภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2567 เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการฯ ในการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 47
                    ทั้งนี้ ในส่วน (ร่าง) ข้อตัดสินใจของวาระการประชุมฯ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยที่ยังไม่ปรากฏ และ (ร่าง) ข้อตัดสินใจของวาระการประชุมฯ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยแต่ได้รับการร้องขอการสนับสนุนจากรัฐภาคีสมาชิก10 ทส. จะติดตามอย่างใกล้ชิดและหารือร่วมกับคณะทำงานเตรียมการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญหรือคณะทำงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในการดำรงตำแหน่งกรรมการมรดกโลกวาระปี               พ.ศ. 2562-2566 ต่อไป
                    3. เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 ทส. [สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)] มีหนังสือถึงกรมศิลปากรในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลเมืองโบราณศรีเทพ เพื่อขอให้พิจารณารายงานผลการประเมินเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลกรวมถึง (ร่าง) ข้อมติวาระที่ 8B.41 เรื่อง การพิจารณาการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกเมืองโบราณศรีเทพ และหากพบข้อผิดพลาดขอให้จัดส่งคำขอแก้ไขให้ สผ. เพื่อประสานศูนย์มรดกโลกทราบต่อไป ซึ่งกรมศิลปากรมีหนังสือแจ้งความประสงค์ขอแก้ไขข้อเท็จจริงของรายงานผลการประเมินเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลกในส่วนผู้รับผิดชอบ (เดิมตามรายงานดังกล่าวให้กรมศิลปากรและ สผ. เป็นผู้รับผิดชอบจัดทำแผนการบริหารจัดการการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองโบราณศรีเทพร่วมกัน โดยกรมศิลปากรขอแก้ไขเป็นกรมศิลปากรเป็นผู้จัดทำแผนการบริหารจัดการการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองโบราณศรีเทพเพียงหน่วยงานเดียว)
                    4. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก  (รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานกรรมการ) ในคราวประชุม    ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 ได้พิจารณาเห็นชอบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทย11 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45  ที่ขยายออกมา ดังนี้
                              4.1 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว กรรมการในคณะกรรมการฯ และหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
                              4.2 ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กต. ทส. วธ. ศธ. และผู้แทนที่เกี่ยวข้องในคณะทำงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในการดำรงตำแหน่งกรรมการมรดกโลก
                    5. ต่อมาคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกในการประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566 ได้พิจารณาท่าทีประเทศไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 ที่ขยายออกมา ดังนี้
                              5.1 หากคณะผู้แทนไทยเห็นว่า (ร่าง) ข้อมติไม่เป็นผลดีต่อไทยหรือสุ่มเสี่ยงต่อการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในภาวะอันตราย เห็นชอบให้ดำเนินการทำความเข้าใจ ชี้แจง และโน้มน้าวคณะกรรมการฯ องค์กรที่ปรึกษา และศูนย์มรดกโลกเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและการดำเนินการของประเทศไทยในการให้ความสำคัญต่อการดูแลและอนุรักษ์พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่ ให้คงคุณค่าความโดดเด่นอันเป็นสากลอย่างยั่งยืน รวมทั้งจัดให้มีการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนต่าง ๆ และองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการอนุรักษ์ ปกป้อง คุ้มครอง และบริหารจัดการพื้นที่กลุ่มป่าฯ ร่วมกัน และขอปรับแก้ (ร่าง) ข้อมติที่จะส่งผลต่อผลการดำเนินงานของไทยในอนาคต
                              5.2 กรณีมีประเด็นอื่นที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าหรือได้รับการร้องขอจากรัฐภาคีสมาชิก ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยพิจารณาร่วมกับคณะผู้แทนในการกำหนดท่าทีในประเด็นนั้น ๆ โดยคำนึงถึงหลักการของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และข้อมูลด้านเทคนิคและวิชาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                    6. ทส. แจ้งว่า เรื่องดังกล่าวไม่ได้เป็นการสร้างความผูกพันต่อรัฐบาลชุดต่อไปตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
1การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญเป็นการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกจะมีการจัดขึ้นทุกปี เพื่ออภิปรายถึงแผนการดำเนินการดูแลแหล่งมรดกโลกที่ถูกขึ้นทะเบียนไว้และพิจารณาสถานที่ที่ประเทศต่าง ๆ เสนอให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ซึ่งการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 เดิมมีกำหนดจัดขึ้นในปี 2565 โดยมีเจ้าภาพคือสหพันธรัฐรัสเซียแต่ด้วยประเด็นความขัดแย้งระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียกับสาธารณรัฐประชาชนยูเครน ทำให้หลายประเทศในภาคีสมาชิกร่วมกันประณามสหพันธรัฐรัสเซีย ส่งผลให้ต้องเลื่อนการจัดประชุมเป็นปี 2566 และให้ประเทศซาอุดิอาระเบียเป็นเจ้าภาพแทน (เรียกว่า การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 ที่ขยายออกมา)
2ทะเบียนแหล่งมรดกโลกในภาวะอันตราย คือ บัญชีรายชื่อของมรดกโลกที่กำลังได้รับผลกระทบที่จะทำให้มรดกโลกถูกทำลายหรือเสียหาย จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการอนุรักษ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งมรดกโลกที่ถูกขึ้นบัญชีนี้ ประเทศผู้ขอขึ้นทะเบียนจะต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนมิฉะนั้นอาจมีการพิจารณาถอดออกจากการเป็นมรดกโลก
3คณะกรรมการมรดกโลกเป็นคณะทำงานภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ซึ่งแต่งตั้งจากประเทศสมาชิกภายใต้ภาคี 21 คน เพื่อดำเนินงานด้านอนุรักษ์ดูแลมรดกโลกและพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกโลก มีวาระ 4 ปี โดยในวาระปี 2562-2566 ไทยเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ
4องค์กรที่ปรึกษาเป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะด้านมรดกโลก ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ดำเนินการศึกษาข้อมูลแหล่งมรดกโลกและจัดทำรายงานผลการประเมินสถานที่ที่ประเทศต่าง ๆ ส่งคำร้องเพื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลกให้แก่คณะกรรมการมรดกโลก
5ศูนย์มรดกโลกเป็นฝ่ายเลขาธิการของคณะกรรมการมรดกโลก ทำงานด้านประสานงานและจัดทำเรื่องเพื่อเสนอที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก
6ทส. แจ้งอย่างไม่เป็นทางการว่า ไทยไม่ขัดข้องในหลักการต่อ (ร่าง) ข้อตัดสินใจทั้ง 2 ข้อ ยกเว้นกรณีวาระที่ 8B.41 การเปลี่ยนชื่อเมืองโบราณศรีเทพ เดิมใช้ชื่อ The Ancient Town of Si Thep ซึ่งกรมศิลปากรยืนยันจะไม่เปลี่ยนชื่อตาม (ร่าง) ข้อตัดสินใจและประเมินแล้วว่าไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อการตัดสินใจของคณะกรรมการมรดกโลก
7ในส่วนของไทย หมายถึง รายงานผลกระทบก่อนการดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่น EIA EHIA เป็นต้น
8หมายถึง การดำเนินการให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่กันชนของมรดกโลก (แก่งกระจาน) เข้ามาร่วมมีส่วนในการอนุรักษ์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน
9ทส แจ้งอย่างไม่เป็นทางการว่า ข้อแนะนำ 11 ข้อ คือ ข้อเสนอแนะในการอนุรักษ์จากคณะกรรมการฯ ที่แจ้งมายังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ปรับใช้กับการดูแลเมืองโบราณศรีเทพ เช่น ห้ามให้มีโครงการขุดเจาะน้ำมันใหม่ในพื้นที่และพื้นที่กันชน ให้ความสำคัญในแผนการจัดการเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองโบราณศรีเทพ เป็นต้น โดยกรมศิลปากรจะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตามข้อเสนอแนะ
10ทส. แจ้งอย่างไม่เป็นทางการว่า ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกจะมีมติตามที่คณะกรรมการมรดกโลกตัดสินใจซึ่งประเทศที่ไม่ใช่คณะกรรมการอาจมีการติดต่อประเทศผู้เป็นคณะกรรมการ เพื่อขอให้ชี้แจงและขอแก้ไขมติในที่ประชุมแทนได้โดยในการประชุมครั้งนี้ มีประเทศที่ขอให้ประเทศไทยชี้แจงแทน เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  สาธารณรัฐอินเดีย
11(1) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุมัติให้เดินทางไปราชการและการจัดการประชุมของทางราชการ พ.ศ. 2524 ข้อ 14 กำหนดให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการเดินทางของคณะผู้แทนรัฐบาลเพื่อเข้าร่วมการประชุมในระดับต่ำกว่ารัฐมนตรีซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อนุมัติแล้ว และ (2) ในชั้น การพิจารณาของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกไม่ได้มีการนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นที่ปรึกษาในคณะผู้แทนแต่ได้มีการเพิ่มองค์ประกอบดังกล่าวเข้าไปภายหลัง

22. เรื่อง ผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Council: AEC Council) ครั้งที่ 22
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Council: AEC Council) ครั้งที่ 22 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมีรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ (นายเอกฉัตร ศีตวรรัตน์) เข้าร่วมการประชุมฯ (เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (2 พฤษภาคม 2566) เห็นชอบร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาคและร่างภาคผนวกประกอบแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต ในส่วนของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีเคยได้เห็นชอบไว้ ให้สามารถดำเนินการได้โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.          การประชุม AEC Council) ครั้งที่ 22 สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          ผลการประชุม
1) ภาพรวมเศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาคอาเซียน
          คาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน (พ.ศ. 2565-2567) จะมีการขยายตัวในระดับปานกลาง ที่ร้อยละ 5.6 ในปี 2565 เป็นร้อยละ 4.7 ในปี 2566 และคาดว่าจะขยายตัวเป็นร้อยละ 5.0 ในปี 2567 เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศ กิจกรรมทางการค้าที่ต่อเนื่องมาตรการทางการค้าที่ผ่อนคลายลง และการฟื้นตัวของภาคการบริการโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อลดลงจากร้อยละ 5.0 ในปี 2565 เป็นร้อยละ 4.4 ในปี 2566 และคาดว่าจะลดลงเหลือร้อยละ 3.3 ในปี 2567
(2) ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจที่อินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จ
ในปี 2566 (Priority Economic
Deliverable: PEDs)          มี PEDs จำนวนทั้งสิ้น 16 ประเด็น โดยอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน จำนวน 7 ประเด็น เช่น การจัดทำกรอบการอำนวยความสะดวกด้านการบริการของอาเซียน การลงนามพิธีสาร ฉบับที่ 2 เพื่อปรับปรุงความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ การจัดตั้งหน่วยสนับสนุนความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ในสำนักเลขาธิการอาเซียนและการจัดทำแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยการจัดทำกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน
 (3) วาระที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล          เน้นย้ำความสำคัญของวาระเศรษฐกิจดิจิทัลที่จะขับเคลื่อนอาเซียนไปสู่กลุ่มประเทศดิจิทัลชั้นนำ โดยขอให้เร่งศึกษาประโยชน์และผลกระทบของการจัดทำกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ โดยตั้งเป้าการประกาศเริ่มเจรจาความตกลงดังกล่าวภายในการประชุม AEC Council ครั้งที่ 23 ในเดือนกันยายน 2566
(4) วาระที่เกี่ยวกับความยั่งยืนของอาเซียน
          ติดตามความคืบหน้า เช่น 1) แผนปฏิบัติการตามกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนของอาเซียน ซึ่งจะใช้กับ 3 สาขา ได้แก่ ภาคเกษตร พลังงานและขนส่ง 2) การจัดตั้งหน่วยงานประสานงานหลักของประเทศสมาชิก เพื่อสนับสนุนการจัดทำยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน 3) ความคืบหน้าการจัดทำกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภาคทะเล
ของอาเซียนซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอาเซียนในอนาคต และ       4) ความคืบหน้าการสร้างกลไกด้านการเงินที่ยั่งยืน
(5) การจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี 2568   (วิสัยทัศน์ฯ)
          มีการพิจารณาองค์ประกอบหลักของวิสัยทัศน์ฯ ในส่วนของเสาเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การยกระดับเศรษฐกิจให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน 2) การส่งเสริมเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืนและตอบสนองต่อสภาพภูมิอากาศ 3) การผลักดันให้อาเซียนเป็นประชาคมดิจิทัล ชั้นนำ 4) การมีบทบาทเชิงรุกในประชาคมโลกโดยมีอาเซียนเป็นแกนกลาง      5) การเตรียมความพร้อมในการตอบสนองต่อโอกาสและความท้าทายอย่างมีประสิทธิภาพ และ 6) การสร้างความครอบคลุมทุกภาคส่วนและลดช่องว่างการพัฒนา โดยจะเสนอให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 ให้ความเห็นชอบต่อไป
(6) เอกสารผลลัพธ์การประชุม          ที่ประชุมได้รับรองและให้ความเห็นชอบต่อเอกสารผลลัพธ์จำนวน 2 ฉบับ และจะเสนอให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 ระหว่างวันที่ 10-11 พฤษภาคม 2566* ให้การรับรองต่อไป ได้แก่
1) รับรองร่างภาคผนวกประกอบแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต ในส่วนของเสาเศรษฐกิจ2) เห็นชอบร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค ทั้งนี้ มีประเด็นที่มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมแต่ไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2566 และยังเป็นประโยชน์ต่อไทยเนื่องจากทำให้มีดุลยพินิจมากขึ้นในการกำหนดนโยบาย รวมถึงสารัตถะในเอกสารผลลัพธ์เป็นการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในระดับภูมิภาค โดยไม่มีข้อบังคับหรือผลผูกพันต่อการปฏิบัติตามภายในประเทศเพื่อสนับสนุนการค้ากับความยั่งยืนในภูมิภาค เช่น
              2.1) เพิ่มเนื้อหาในเรื่องการขยายตัวภาคการขนส่งและยานยนต์โดยให้เพิ่มเติมเรื่องการบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้ากับพลังงานชีวภาพสำหรับการขนส่งเพื่อช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่การบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในประเทศสมาชิกอาเซียนและในภูมิภาค ตลอดจนบทบาทของแร่ธาตุในการผลิตเทคโนโลยีดังกล่าว
          2.2) เพิ่มเนื้อหาในเรื่องความตระหนักรู้เกี่ยวกับข้อริเริ่มต่าง ๆ ของอาเซียนโดยให้เพิ่มเติมแผนปฏิบัติการด้านแร่ธาตุอาเซียน (ฉบับที่ 3) ระยะที่ 2 ค.ศ. 2021-2025
          2.3) เพิ่มเนื้อหาในประเด็นการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานโลกโดยให้เพิ่มเติมการส่งเสริมการลงทุนที่ยั่งยืนเพื่อสร้างระบบนิเวศและห่วงโซ่มูลค่าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนความจำเป็นในการขยายนโยบายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของ  แต่ละประเทศในขั้นตอนต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
          2.4) เพิ่มเนื้อหาในประเด็นที่มีการเห็นพ้องกันที่จะแสวงหาความร่วมมือและประสานงานในเรื่องการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าโดยเพิ่มประเด็นด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใช้วัสดุที่ยั่งยืนและทรัพยากรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นของห่วงโชอุปทานยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค การเพิ่มการมีส่วนร่วมของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย การเลิกใช้ยานยนต์สันดาปภายในแบบดั้งเดิมอย่างค่อยเป็นค่อยไปไปสู่ยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค

                    2. ความเห็นและข้อสังเกตของ พณ. อินโดนีเชียในฐานะประธานอาเซียน ปี 2566 ได้ผลักดันประเด็นความยั่งยืนอย่างแข็งขัน โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน      ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีนโยบายสนับสนุนการใช้งานและการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยไทยในฐานะที่เป็นผู้นำด้านการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนในภูมิภาคในปัจจุบัน ได้ตั้งเป้าการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าร้อยละ 30 ของปริมาณการผลิต ภายใน ค.ศ. 2030 และเพื่อเป็นการเตรียมตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมนโยบายที่ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนเสริมสร้างและยกระดับองค์ความรู้ด้านยานยนต์ไฟฟ้าของผู้ผลิตและแรงงานไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยและสามารถเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคอาเซียนได้
?????????________________________
*คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (8 สิงหาคม 2566) รับทราบผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป

23. เรื่อง การรับรองร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการเป็นภูมิภาคที่มีภูมิคุ้มกันอย่างยั่งยืน (ASEAN Leaders?Declaration on Sustainable Resilience)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการเป็นภูมิภาคที่มีภูมิคุ้มกันอย่างยั่งยืน (ASEAN Leaders? Declaration on Sustainable Resilience) ทั้งนี้ หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างปฏิญญาฯ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยและอาเซียน ให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก และอนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาดังกล่าวตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างปฏิญญาฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของผู้นำอาเซียน ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของประชาคมอาเซียนต่อความไม่แน่นอน ความชับซ้อน และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็นระบบทั้งจากภัยพิบัติและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการใช้ทรัพยากรที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยได้ตอกย้ำความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันดำเนินการตามพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศภายใต้กรอบการดำเนินงานระดับนานาชาติและระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พร้อมทั้งได้ให้หลักการและแนวทางสำหรับให้คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ (ACDM) และองค์กรที่เกี่ยวข้องในอาเซียนร่วมกันพัฒนายุทธศาสตร์ที่มีความครอบคลุมรอบด้าน เพื่อส่งเสริมให้ภูมิภาคอาเซียนมีภูมิคุ้มกันอย่างยั่งยืน ภายใต้การกำกับดูแลของกลไกการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ (ASEAN Ministerial Meeting on Disaster Management: AMMDM)
                    ทั้งนี้ สาธารณรัฐอินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียน ปี พ.ศ. 2566 จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 4 ? 7 กันยายน 2566 โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 จะมีการรับรองร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการเป็นภูมิภาคที่มีภูมิคุ้มกันอย่างยั่งยืน (ASEAN Leaders? Declaration on Sustainable Resilience) ที่จะเสนอในนามคณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ (ASEAN Committee on Disaster Management: ACDM) เป็นหนึ่งในเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ
                    2. ข้อคิดเห็นของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
                              ร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญเพื่อตอกย้ำความสำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันอย่างยั่งยืนภายในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงการส่งเสริความร่วมมือข้ามภาคส่วนระหว่างองค์กรรายสาขาที่เกี่ยวข้องในอาเซียน โดยเฉพาะด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการภัยพิบัติ และการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและความสามารถในการสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับภูมิภาคโดยเน้นชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง ตลอดจนการเน้นย้ำการดำเนินการตามพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศภายใต้กรอบการดำเนินงานระดับนานาชาติและระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมให้การรับรองไว้แล้ว เช่น กรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558 - 2573 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ความตกลงปารีส และความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน (ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response: AADMER) เป็นต้น กอปรกับร่างปฏิญญาฯ     มีหลักการและแนวทางที่สอดคล้องกับการดำเนินการตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ          พ.ศ. 2564 - 2570 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติแผนดังกล่าว เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 เพื่อเป็นแผนแม่บทในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของประเทศสำหรับให้หน่วยงานทุกภาคส่วนดำเนินการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ จึงเป็นภารกิจที่หน่วยงานดำเนินการอยู่เป็นประจำและได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีไว้เพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าวแล้ว ดังนั้น การให้ความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาฯ จึงไม่มีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ประกอบกับกระทรวงการต่างประเทศมีความเห็นว่า ร่างปฏิญญาฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่มีการลงนาม จึงไม่เข้าข่ายเป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

24. เรื่อง การรับรองร่างกรอบงานเครือข่ายหมู่บ้านอาเซียน (ASEAN Villages Network Framework)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างกรอบงานเครือข่ายหมู่บ้านอาเซียนโดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน มีหนังสือแจ้งความเห็นชอบรับรองร่างกรอบงานเครือข่ายหมู่บ้านอาเซียนไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียนภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงมหาดไทยสรุปสาระสำคัญของร่างกรอบงานเครือข่ายหมู่บ้านอาเซียน ดังนี้
                    1. สาธารณรัฐอินโดนีเซียได้ยกร่างกรอบงานเครือข่ายหมู่บ้านอาเซียน (ASEAN Villages Network Framework) โดยสำนักเลขาธิการอาเซียนได้มีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แจ้งเวียนเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างกรอบงานฯ ดังกล่าว ซึ่งได้รับความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2566 และสำนักเลขาธิการอาเซียนได้มีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แจ้งเวียนรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน (AMRDPE) พิจารณาให้การรับรองร่างกรอบงานฯ ดังกล่าว ก่อนนำเข้าสู่การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43
                    2. ร่างกรอบงานเครือข่ายหมู่บ้านอาเซียนเป็นการกำหนดรายละเอียดแนวทางการขับเคลื่อนงานในระดับหมู่บ้านของอาเซียนผ่านกลไกเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ อาทิ หลักการและสาขาที่ให้ความสำคัญ ผลลัพธ์เชิงยุทธศาสตร์ การใช้ระบบ และแผนปฏิบัติการระหว่าง ปี 2566 - 2568 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนในภูมิภาคอาเซียนและมีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพลเมืองอาเซียน มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านให้มีความเข้มแข็งในลักษณะจากล่างขึ้นบน (bottom-up) ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมืองจากฐานรากและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้หญิงและกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ รวมทั้งเสริมสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับหุ้นส่วนภายนอก โดยใช้เวทีการเรียนรู้และความร่วมมือเป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดี ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาและพัฒนาเชิงพื้นที่
                    3. ในระยะแรกเครือข่ายหมู่บ้านอาเซียน (ASEAN Villages Network AVN) จะเริ่มต้นขับเคลื่อนการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของหมู่บ้านใน 3 รูปแบบหลัก ประกอบด้วย 1) หมู่บ้านท่องเที่ยว (Tourism Villages) 2) หมู่บ้านดิจิทัล (Digital Villages) และ 3) หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Village One Product: OVOP) เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์อาเซียน ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาชนบทในภูมิภาคอาเซียนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งขับเคลื่อนความร่วมมือของอาเชียนให้บรรตามเป้าหมายวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
                    ทั้งนี้การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 (43rd ASEAN Summit) กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 ? 7 กันยายน 2566 ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

25. เรื่อง การแต่งตั้งคณะผู้แทนไทยในการประชุมใหญ่วาระพิเศษ ครั้งที่ 4 ของสหภาพสากลไปรษณีย์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบเอกสารท่าทีของประเทศไทยในการเข้าร่วมการประชุมใหญ่วาระพิเศษ ครั้งที่ 4  ของสหภาพสากลไปรษณีย์ รวมถึงร่างข้อสงวนต่อกรรมสาร และมอบหมายให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนไทยที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าคณะพิจารณาใช้ดุลยพินิจตามสถานการณ์ ตามความเหมาะสมในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ต่อไป
                    2. มอบอำนาจให้แก่หัวหน้าคณะและรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการอภิปราย ลงมติและลงนามในกรรมสารของการประชุมใหญ่วาระพิเศษครั้งที่ 4 ของสหภาพสากลไปรษณีย์
                    3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือแต่งตั้งผู้แทน (Credentials) โดยมอบอำนาจตาม 2 ให้แก่หัวหน้าคณะและรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
                    สาระสำคัญ
                    1. สหภาพสากลไปรษณีย์ (Universal Postal Union: UPU) ได้มีหนังสือเลขที่ 2100 (DPRM.PPRE.CCA)1007 ลงวันที่ 30 มกราคม 2566 เชิญประเทศสมาชิกเข้าร่วมการประชุมใหญ่วาระพิเศษ ครั้งที่ 4  ของสหภาพสากลไปรษณีย์ ระหว่างวันที่ 1-5 ตุลาคม 2566 ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย            และหนังสือเลขที่ 2102(DPRM.PPRE.CCA)1019 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2566 ขอให้ประเทศสมาชิกที่จะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวจัดส่งหนังสือแต่งตั้งผู้แทน (Credentials) ซึ่งลงนามโดยผู้นำประเทศหรือหัวหน้ารัฐบาลหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
                    2. การประชุมใหญ่วาระพิเศษ (Extraordinary Congress) เป็นการประชุมองค์กรสูงสุดของ UPU ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกทุกประเทศ มักจะจัดระหว่างหลังการประชุมใหญ่ไม่เกิน 2 ปี เพื่อพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ที่มีผลต่อการพัฒนานโยบายไปรษณีย์ระหว่างประเทศ ปรับปรุงแก้ไขพิธีสารต่าง ๆ และประเด็นเร่งด่วนด้านไปรษณีย์ก่อนการประชุมใหญ่ UPU สมัยถัดไป โดยมีคณะผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลของประเทศสมาชิก UPU (ปัจจุบันมีจำนวน 193 ประเทศ) เข้าร่วมการประชุม และมีสิทธิในการออกเสียงในนามของรัฐบาล โดยการประชุมใหญ่วาระพิเศษ ครั้งที่ 4 ของสหภาพสากลไปรษณีย์ มีประเด็นสำคัญประกอบด้วย การขยายบทบาทของ UPU ไปภาคอุตสาหกรรมอื่นนอกเหนือจากไปรษณีย์ การทบทวนกรอบงบประมาณของ UPU สำหรับปี ค.ศ. 2024 ? 2025 ในการเสนอปรับขึ้นค่าสมาชิก การตั้งเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคไปรษณีย์ และประเด็นเร่งด่วนด้านกิจการไปรษณีย์
                    3. ตามข้อบังคับของการประชุมใหญ่ ข้อ 3 ได้ระบุหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งคณะผู้แทนของประเทศสมาชิกเพื่อเข้าร่วมการประชุมใหญ่ของสหภาพฯ ว่าจะต้องมีหนังสื่อแต่งตั้งผู้แทน (Credentials) ซึ่งลงนามโดยผู้นำประเทศ หรือหัวหน้ารัฐบาล หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยให้ระบุเกี่ยวกับการมอบอำนาจให้ผู้แทนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ (1) มอบอำนาจเต็มให้แก่คณะผู้แทน (2) มอบอำนาจให้คณะผู้แทนเป็นตัวแทนของรัฐโดยไม่มีข้อจำกัด และ (3) ให้สิทธิแก่คณะผู้แทนหรือผู้แทนรายใดลงนามในกรรมสาร
                    4. ในการประชุมใหญ่วาระพิเศษ จะมีการลงนามในกรรมสาร (Acts) ในวันสุดท้ายของการประชุมฯ เพื่อรับรองผลการประชุมฯ


แต่งตั้ง
26. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรชุดใหม่แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิม ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งครบกำหนดสามปีตามวาระแล้ว ตามมาตรา 16 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ดังนี้
                     1. นายชวลิต ชูขจร                     ประธานกรรมการ
                     2. นางดาเรศร์ กิตติโยภาส           ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเกษตร
                    3. นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส           ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
                    4. นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย                      ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์
                    5. นางสาวเสริมสุข สลักเพชร์           ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
                     6. นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์           ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหาร
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ