สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566

ข่าวการเมือง Wednesday November 22, 2023 09:21 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ (21 พฤศจิกายน 2566) เวลา 09.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความใน                                                            พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย                                                  พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
                    2.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน                                         พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่                                        แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 และที่แก้ไข                                        เพิ่มเติม
                    3.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาในการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามความใน                                                  พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความ                                                  ร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. 2527
                    4.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตาม                                                            พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก

พ.ศ. 2560

                    5.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค                                         พ.ศ. 2534 พ.ศ. ....
                    6.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง                                                   พ.ศ. ....
                    7.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติ                                                  ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติระบบการชำระเงิน

พ.ศ. 2560

                    8.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ                                        หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
                                        พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ                                                  พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)
                    9.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎอื่นใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่ง                                                  พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของ                                        กฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ. 2551)
                    10.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราช                                                  กำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และแก้ไข                                                  เพิ่มเติม
                    11.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตาม                                                            พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
                    12.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 22                                         วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการ                                                  ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้                                                   พ.ศ. 2558)
                    13.           เรื่อง           ขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22                                                   วรรคสอง แห่งหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของ                                        กฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)
                    14.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความใน                                                  กฎหมายที่กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบ
                    15.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความใน                                                            พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ                                                   (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562
                    16.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตาม                                                            พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไข                                        เพิ่มเติม
                    17.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความใน                                                  มาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ                                                   พ.ศ. 2535
                    18.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตาม                                                            พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติการ                                        ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559
                    19.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง (กระทรวงการพัฒนา                                                  สังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
                    20.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง (กระทรวงการพัฒนา                                                  สังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
                    21.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย                                                  การยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของ                                                  ประเทศไทย)
                    22.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..)                                                   พ.ศ. .... (สมรสเท่าเทียม)
                    23.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตาม                                                            พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561
                    24.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความ                                                            พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544
                    25.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความใน                                                            พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย                                        และนวัตกรรม พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562
                    26.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความใน                                                  พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ                                                  หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย

พ.ศ. 2562

                    27.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22                                         วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการ                                                  ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (สำนักงาน ก.พ.)
                    28.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติ                                        ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553                                         และที่ออกตามพระราชบัญญัติการบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่                                        กระทำผิด พ.ศ. 2561
                    29.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติ                                                  กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                                                   พ.ศ. 2542
                    30.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความใน                                                            พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 และ                                        พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม                                                  แห่งชาติ พ.ศ. 2562
                    31.           เรื่อง           ขอขยายระยเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22                                         วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการ                                                  ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติการประปาส่วน                                                  ภูมิภาค พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ. 2526)

เศรษฐกิจ-สังคม
                    32.           เรื่อง           รายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562 - 2565)

                    33.           เรื่อง           การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
                    34.           เรื่อง           รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนสิงหาคม 2566
                    35.           เรื่อง           รายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    36.           เรื่อง           การป้องกันและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
                    37.           เรื่อง           รายงานสถานการณ์ส่งออกของไทย ประจำเดือนกันยายนและ 9 เดือนแรกของ

ปี 2566

ต่างประเทศ
                    38.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียน - ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ (ASEAN - Japan                                                   Special Meeting of Justice Ministers: AJSMJ) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    39.            เรื่อง            ขอความเห็นชอบร่างกรอบความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับทบวง                                        การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ รอบปี ค.ศ. 2023-2029 (Country                                                   Programme Framework: CPF)
                    40.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติกับ                                                  กระทรวงการต่างประเทศ การค้า และการพัฒนาแห่งประเทศแคนาดา
                    41.           เรื่อง           ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง                                         ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับหุ้นส่วนการ                                        พัฒนา ครั้งที่ 28
                    42.           เรื่อง           การแก้ไขสัญญาประธานในการจ้างธนาคารโลกเป็นที่ปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่าย                                                   (Amendments to the Framework Agreement for Reimbursable                                                   Advisory Services)
                    43.           เรื่อง           ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-

ล้านช้าง ครั้งที่ 8

แต่งตั้ง
                    44.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                    45.           เรื่อง           การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร (นักบริหาร ระดับสูง และนักบริหาร                                        การทูต ระดับสูง) กระทรวงการต่างประเทศ
                    46.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันอนุญาโตตุลาการ

กฎหมาย
1. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ออกไป 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ

                    ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานเสนอขอขยายระยะเวลาในการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองระดับกฎกระทรวงและประกาศซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 55 ฉบับ (โดยอยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ จำนวน         4 ฉบับ อยู่ระหว่างเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานพิจารณาลงนามเพื่อนำลงประกาศราชกิจจานุเบกษา จำนวน 13 ฉบับ และอยู่ระหว่างจัดทำร่างของกรมธุรกิจพลังงาน จำนวน 38 ฉบับ) เนื่องจากเป็นกฎหมายเชิงเทคนิคด้านความปลอดภัยในการประกอบกิจการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง จึงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษามาตรฐานความปลอดภัยสากลเพื่อนำมาประกอบการยกร่าง รวมทั้งต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน เพื่อให้การจัดทำกฎหมายลำดับรองมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอันจะทำให้การประกอบกิจการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงมีความปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ประกอบกับขั้นตอนการจัดทำประกาศดังกล่าวจะต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงและคณะอนุกรรมการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงจึงไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จทัน ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานโดยกรมธุรกิจพลังงานได้ดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองที่มีผลใช้บังคับแล้ว จำนวน 83 ฉบับ จากจำนวน 138 ฉบับ

สาระสำคัญของเรื่อง

                    ขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองจำนวน 55 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่               27 พฤศจิกายน 2566

2. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ

ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เป็นการขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 59 ฉบับซึ่งพระราชบัญญัติทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ

มีผลบังคับใช้ จึงจะครบกำหนดระยะเวลาการออกกฎหรือดำเนินการตามมาตรา 22 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย                พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน          59 ฉบับ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 โดยที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินการศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบเพื่อประกอบการยกร่างกฎหมายลำดับรอง จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ ประชาชน และหน่วยงานอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อนำมาประกอบการยกร่างกฎหมายลำดับรองเพื่อให้ร่างกฎหมายลำดับรองดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบกิจการโรงงาน หรือประชาชน รวมทั้งส่วนราชการสามารถควบคุมกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งต้องนำร่างกฎหมายลำดับรองนั้นเสนอคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาตามขั้นตอน จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการร่างกฎหมายลำดับรองในเรื่องนี้ จำนวน 59 ฉบับ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ได้ ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 59 ฉบับออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

สาระสำคัญของเรื่อง

ขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พะราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 59 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

3. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาในการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. 2527

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามความในมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. 2527 รวม 2 ฉบับ ตามความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

                     ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาจากความเห็นของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วเห็นว่า กระทรวงยุติธรรมมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการจัดทำกฎหมายลำดับรองเพียง 2 ฉบับ (จาก 10 ฉบับ) ได้แก่ 1. ประกาศกระทรวงกำหนดการจำแนกประเภทหรือชั้นของเรือนจำซึ่งต้องออกตามความในมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ฯ และ                    2. กฎกระทรวงกำหนดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการโอนนักโทษซึ่งต้องออกตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศฯ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

4. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง จำนวน           1 ฉบับ ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ

ทั้งนี้ สธ. เสนอว่า

1. พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2560 ซึ่งบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้ออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 13 ฉบับ สธ. ได้ยกร่างกฎหมายลำดับรองและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำนวน 12 ฉบับ ขณะนี้ยังมีกฎหมายลำดับรองที่อยู่ในขั้นตอนการจัดทำร่างกฎหมาย อีก 1 ฉบับ ได้แก่ ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกำหนดอาหารอื่นที่มีจุดมุ่งหมายในการใช้เลี้ยงเด็กเล็ก พ.ศ. .... เป็นการกำหนดความเฉพาะของอาหารสำหรับเด็กเล็ก1 ซึ่งเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในการประกาศกำหนด

                     2. การดำเนินการจัดทำร่างประกาศฯ ตามข้อ 1. คณะอนุกรรมการพัฒนาและให้ความเห็นในประเด็นข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กฯ เห็นว่า ร่างประกาศฉบับนี้ยังมีประเด็นด้านวิชาการเกี่ยวกับชนิดอาหารสำหรับเด็กเล็กที่ยังต้องควบคุม การกำหนดอาหารอื่นที่มีส่วนประกอบของสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอที่จะใช้เลี้ยงเด็กเล็กได้ต้องกำหนดจากช่วงอายุตามคำนิยามคำว่า ?เด็กเล็ก? คือ ในช่วงอายุของเด็กที่เกิน 12 เดือนถึง 3 ปี แต่ในท้องตลาดพบว่ามีผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายที่สามารถใช้เลี้ยงเด็กเล็กได้เป็นจำนวนมาก โดยบนฉลากของผลิตภัณฑ์จะระบุข้อความ ว่า ?สำหรับเด็กอายุ 1  ปีขึ้นไปและทุกคนในครอบครัว? ซึ่งมีความใกล้เคียงกับบรรจุภัณฑ์หรือฉลากนมผงสำหรับทารกอย่างแพร่หลาย ซึ่งนมผงสำหรับทารกเป็นผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายห้ามโฆษณา ประกอบกับร่างประกาศฉบับนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการสำรวจและเก็บข้อมูลเพื่อทำการวิจัย โดยงานวิจัยจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2566 เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพของกลุ่มวัยเด็กเล็ก และไม่เป็นการออกกฎหมายที่เกินขอบเขตหรือสร้างภาระเกินสมควรกับผู้ประกอบกิจการ แต่โดยที่พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ มีผลใช้บังคับ ดังนั้น การออกกฎหมายลำดับรองจึงต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 19 มกราคม 2564 และ            28 กุมภาพันธ์ 2566 สธ. จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป
1 ?อาหารสำหรับเด็กเล็ก? หมายความว่า นมหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ใช้เป็นอาหาร ทั้งนี้ ที่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าใช้ในการเลี้ยงเด็กเล็กและเฉพาะตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ

5. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไปได้
                      ทั้งนี้ ยธ. เสนอว่าได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. .... ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว และยืนยันให้ดำเนินการต่อไป ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ทั้งฉบับ เพื่อยกเลิกบทบัญญัติที่กำหนดความผิดทางอาญาที่เกิดจากการใช้เช็ค ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และข้อ 11 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ทั้งนี้ ได้ดำเนินการตามแนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว โดยมีการรับฟังความคิดเห็นก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี และในชั้นการตรวจพิจารณาของ สคก. ได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมทางเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (Iaw.go.th) ระหว่างวันที่ 2 - 16 สิงหาคม 2565 (รวม 15 วัน) และได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 พร้อมทั้งได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบแล้ว
                     สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                      1. ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534
                      2. กำหนดให้พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                     3. กำหนดมาตรการเพื่อรองรับกรณีที่เจ้าหนี้ได้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีอาญาแล้ว และในกระบวนพิจารณาของศาล เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ตกลงให้มีการผ่อนชำระเงินตามข้อตกลงที่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณา โดยให้ถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามกฎหมายและหากต่อมาลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำขอต่อศาลให้ออกคำบังคับได้โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่
                     4. กำหนดศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาและพิพากษาคดีในส่วนแพ่ง โดยในคดีที่โจทก์ได้รวมฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็คต่อศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีอาญาตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 กอนวันที่กฎหมายนี้ใช้บังคับและศาลยังมิได้มีคำพิพากษา ให้ศาลที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีสั่งจำหน่ายคดีในส่วนที่เป็นคดีอาญา แต่ยังคงมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีในส่วนแพ่งนั้นต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งการกำหนดในลักษณะนี้จะรวมถึงอำนาจของศาลแขวงในการพิจารณาและพิพากษาคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็คซึ่งมีมูลหนี้ หรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 300,000 บาท ตามความในมาตรา 25 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
                     5. กำหนดมาตรการเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปล่อยตัวผู้ต้องโทษจำคุกและผู้ที่อยู่ระหว่างการคุมประพฤติหรือการพักการลงโทษโดยเร็ว โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
                               5.1 ในกรณีของผู้ที่อยู่ระหว่างการต้องโทษจำคุก ให้กรมราชทัณฑ์ต้องปล่อยตัวทันทีภายในวันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ โดยให้กรมราชทัณฑ์มีอำนาจปล่อยตัวผู้ต้องโทษทันทีโดยไม่ต้องขอศาลให้ออกหมายปล่อย
                               5.2 ในกรณีของผู้ที่อยู่ระหว่างการคุมประพฤติหรือการพักการลงโทษ กำหนดเป็นบทเร่งรัดให้ผู้ออกคำสั่งการคุมประพฤติหรือคำสั่งการพักการลงโทษจะต้องเพิกถอนคำสั่งการคุมประพฤติหรือคำสั่งการพักการลงโทษโดยเร็ว
                     6. กำหนดวิธีการคำนวณโทษจำคุกในกรณีที่ผู้ต้องโทษจำคุกได้รับโทษจำคุกสำหรับความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค และความผิดตามกฎหมายอื่นซึ่งเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน โดยให้ถือว่าโทษที่ผู้ต้องโทษได้รับไปแล้วเป็นโทษสำหรับการกระทำความผิดตามกฎหมายอื่น และถ้าโทษที่ได้รับไปแล้วเท่ากับหรือเกินโทษที่ได้รับสำหรับการกระทำความผิดตามกฎหมายอื่นนั้น ให้ปล่อยตัวผู้ต้องโทษโดยทันที แต่ทั้งนี้ การปล่อยตัวผู้ต้องโทษในกรณีนี้กรมราชทัณฑ์จะต้องขอศาลให้ออกหมายปล่อย เพื่อให้มีการตรวจสอบว่าระยะเวลาในการจำคุกสำหรับความผิดอื่นนั้นเป็นไปตามกฎหมาย
                     7. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อกำกับดูแลให้การดำเนินการต่าง ๆ เป็นไปโดยรวดเร็วตามความมุ่งหมายของพระราชบัญญัตินี้

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. .... (ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2566) ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ สลค. เสนอว่า
                     1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 121 บัญญัติให้ในปีหนึ่งมีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสองสมัย ๆ หนึ่งให้มีกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยให้ถือวันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองให้เป็นไปตามที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนด และเนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2566 กำหนดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก โดยให้ถือเป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 และต่อมา สภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดให้วันที่ 12 ธันวาคม เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบแล้ว (18 กรกฎาคม 2566) ดังนั้น ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรจึงมีวันเปิดและวันปิดสมัยประชุม ดังนี้
ปีที่          สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง          สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง
1          3 กรกฎาคม 2566 ? 30 ตุลาคม 2566          12 ธันวาคม 2566 ? 9 เมษายน 2567
2          3 กรกฎาคม 2567 ? 30 ตุลาคม 2567          12 ธันวาคม 2567 ? 9 เมษายน 2568
3          3 กรกฎาคม 2568 ? 30 ตุลาคม 2568          12 ธันวาคม 2568 ? 9 เมษายน 2569
4          3 กรกฎาคม 2569 ? 30 ตุลาคม 2569          12 ธันวาคม 2569 ? 9 เมษายน 2570
                     2. โดยที่ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสามัญประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง      พ.ศ. 2566 ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2566 ดังนั้น จึงสมควรให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองสำหรับปี พ.ศ. 2566 ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2566

7. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติระบบการชำระเงิน พ.ศ. 2560
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติระบบการชำระเงิน พ.ศ. 2560 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการคลังเสนอขอขยายระยะเวลาในการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 จำนวน 6 ฉบับ และพระราชบัญญัติระบบการชำระเงิน พ.ศ. 2560 จำนวน 4 ฉบับ (รวมกฎหมายลำดับรองที่เสนอมาในครั้งนี้ 10 ฉบับ) โดยการออกกฎหมายลำดับรองจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 มกราคม 2564 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่เนื่องจากการดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินฯ อยู่ระหว่างจัดทำร่างประกาศเพื่อเสนอคณะอนุกรรมการภายในธนาคารแห่งประเทศไทย และรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบด้านและเป็นระบบ เพื่อให้การออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์หรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการตั้งสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในประเทศไทยไม่เป็นภาระแก่ภาคธรุกิจเกินสมควร โดยมีการคำนึงถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนผู้ใช้บริการตลอดจนภาระค่าใช่จ่ายของภาครัฐในการกำกับดูแลสถาบันการเงินอย่างครบถ้วน และในส่วนการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติระบบการชำระเงินฯ อยู่ระหว่างพิจารณาหลักเกณฑ์และผลกระทบต่อการกำหนดค่าธรรมเนียมเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน เพื่อไม่ให้การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายแก่ภาคธุรกิจเกินสมควร และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและส่งเสริมระบบการชำระเงินของประเทศไทย ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินฯ จำนวน 6 ฉบับ และตามพระราชบัญญัติระบบการชำระเงินฯ จำนวน 4 ฉบับ (รวมกฎหมายลำดับรองที่เสนอมาในครั้งนี้ 10 ฉบับ) ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เพื่อให้การจัดทำกฎหมายลำดับรองมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสถาบันการเงินและระบบการชำระเงินต่อไป
                    ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองที่มีผลใช้บังคับแล้วตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินฯ จำนวน 144 ฉบับ จากกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินฯ ทั้งหมด จำนวน 150 ฉบับ และกฎหมายลำดับรองที่มีผลใช้บังคับแล้วตามพระราชบัญญัติระบบการชำระเงินฯ จำนวน 30 ฉบับ จากกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติระบบการชำระเงินฯ ทั้งหมด จำนวน 34 ฉบับ

8. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการคลังเสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 7 ฉบับ และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 6 ฉบับ (รวมกฎหมายลำดับรองที่เสนอมาในครั้งนี้ รวม 13 ฉบับ) ซึ่งพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับดังถล่าวมีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น การออกกฎหมายลำดับรองจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 มกราคม 2564 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติประกันชีวิตฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อยู่ระหว่างการจัดทำหลักการและร่างกฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนดำเนินการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (Regulatory Impact Assessment: RIA) เพื่อนำไปประกอบการจัดทำและปรับปรุงร่างกฎหมายให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามพระราขบัญญัติประกันชีวิตฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 7 ฉบับ และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยฯ และที่ แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 6 ฉบับ (รวมกฎหมายลำดับรองที่เสนอมาในครั้งนี้ 13 ฉบับ) ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เพื่อให้การจัดทำกฎหมายลำดับรองมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยไทยต่อไป
                    ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยได้ดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองที่มีผลใช้บังคับแล้วตามพระราชบัญญัติประกันชีวิตฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 112 ฉบับ จากกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติประกันชีวิตฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งหมด 119 ฉบับ และกฎหมายลำดับรองที่มีผลใช้บังคับแล้วตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 123 ฉบับ จากกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งหมด 129 ฉบับ

9. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎอื่นใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ. 2551)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎอื่นใดตามมาตรา 22        วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ของมาตรา 10 (5) แห่งพระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ. 2551 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 1 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 (5) แห่งพระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ. 2551 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ ดังนั้น จะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองฉบับดังกล่าวก่อให้เกิดภาระกับประชาชน และอาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน จึงต้องพิจารณาจัดทำกฎหมายลำดับรองด้วยความรอบคอบและมีความจำเป็นจะต้องรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการเตรียมข้อมูลเพื่อจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการออกกฎ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรอง ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

10. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และแก้ไขเพิ่มเติม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไป 1 ปี นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงแรงงานเสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 13 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติมที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น การออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 มกราคม 2564 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การออกกฎดังกล่าวเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว การประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานของนายจ้าง ซึ่งมีผลต่อนโยบายรัฐบาลที่เร่งฟื้นฟูทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านแรงงาน การประกอบธุรกิจของผู้ขออนุญาตฯ ผู้รับอนุญาตฯ และมีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ จึงต้องพิจารณาทั้งนโยบายรัฐบาล ความเหมาะสม และศึกษาข้อมูลและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรอง ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

11. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ออกไป 1 ปี ตั้งแต่วันที่                27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงศึกษาธิการเสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 5 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย       พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น จะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่             27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่         19 มกราคม 2564 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การจัดทำกฎหมายลำดับรองในเรื่องนี้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชนที่จะต้องมีการศึกษาและสำรวจข้อมูลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เกิดภาระหรือส่งผลกระทบต่อผู้รับใบอนุญาตและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาเอกชน รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการออกกฎหมายลำดับรอง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการพอสมควร ทำให้ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป

12. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ของมาตรา 9 (2) แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่                27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงมหาดไทยเสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 1 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 (2) แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ ดังนั้น จะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองฉบับดังกล่าวต้องใช้เวลาในการรวบรวมความคิดเห็นและข้อมูลจากผู้มีสิทธิและหน้าที่ หรือได้รับผลกระทบจากการใช้บังคับกฎหมายดังกล่าวอย่างรอบด้าน รวมทั้งต้องหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดช่วงเวลาอื่น (นอกจากเวลา 08.00 น. ถึง 20.00 น. ในวันจันทร์ถึงศุกร์ และเวลา 08.00 น.      ถึง 18.00 น. ในวันหยุดราชการหรือช่วงเวลาดังกล่าวไม่เหมาะสม เช่น ลูกหนี้มีอาชีพทำงานในเวลากลางคืนและนอนหลับในเวลากลางวัน โดยปิดโทรศัพท์หรือปิดเสียงโทรศัพท์ทำให้ไม่สามารถติดต่อได้) ที่ผู้ทวงถามหนี้สามารถติดต่อลูกหนี้ได้ให้เป็นไปตามความเหมาะสมของสภาพการณ์ในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

13. เรื่อง ขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการออกกฎตามพระราชบัญญัติทางหลวง         พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงมหาดไทยเสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยที่มาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 บัญญัติให้กฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายนั้นได้ หากมิได้มีการออกกฎดังกล่าวหรือยังมิได้ดำเนินการนั้นภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับและบทบัญญัติในเรื่องนั้นก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชนให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลบังคับ ทั้งนี้ ระยะเวลา 2 ปีดังกล่าวคณะรัฐมนตรีจะมีมติขยายออกไปอีกก็ได้แต่ไม่เกิน 1 ปี และต้องมีมติก่อนที่จะครบกำหนดเวลา 2 ปี ดังกล่าว ประกอบกับ มาตรา 39 (1) กำหนดให้ระยะเวลา 2 ปี ตามมาตรา 22 วรรคสอง สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้นับแต่เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ (นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564)
                    โดยที่ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดค่าใช้เขตทางหลวงท้องถิ่น พ.ศ. .... เป็นกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับใช้อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ มีผลบังคับใช้จะครบกำหนดระยะเวลาการออกกฎหรือดำเนินการตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งกระทรวงมหาดไทยต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 แต่เนื่องจากร่างกฎกระทรวงดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการพิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดอัตราค่าใช้เขตทางหลวงท้องถิ่น (สำหรับบุคคลที่จะสร้างอาคาร รุกล้ำ หรือปักเสา พาดสาย วางท่อ หรือกระทำการใด ๆ ในเขตทางหลวง) อีกทั้งจะต้องรวบรวมความคิดเห็นและข้อมูลจากผู้มีสิทธิหรือหน้าที่หรือได้รับผลกระทบที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอย่างรอบด้าน เพื่อกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมต่อสภาพการณ์ปัจจุบัน ดังนั้น กระทรวงมหาดไทย (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองฉบับดังกล่าว ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่      27 พฤศจิกายน 2566

14. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในกฎหมายที่กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
                    1. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง จำนวน 111 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 หรือตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 แล้วแต่กรณี ซึ่งออกตามความในกฎหมาย ดังต่อไปนี้
                              (1) พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                              (2) พระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2547
                              (3) พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
                              (4) พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558
                              (5) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
                              (6) พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562
                              (7) พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562
                              (8) พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562
                              (9) ประมวลกฎหมายยาเสพติด
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
                    2. ให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งรัดออกกฎหมายลำดับรองตามประมวลกฎหมายยาเสพติดให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                    สาระสำคัญ
                    การจัดทำร่างกฎหมาย จำนวน 111 ฉบับ ตามที่ขอขยายระยะเวลาการจัดทำมาในครั้งนี้มีสาระสำคัญในหลายเรื่อง เช่น การกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ การกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการควบคุมเครื่องสำอาง วัตถุอันตราย และยาเสพติด (กฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอางฯ พระราชบัญญัติวัตถุอันตรายฯ และประมวลกฎหมายยาเสพติด) การกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด (กฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัดฯ) การกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับเครื่องมือทางการแพทย์ (กฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ฯ) การกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการควบคุมโรคติดต่อและโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ รวมทั้งการให้บริการด้านสาธารณสุข (กฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อฯ พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพฯ และพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิฯ) การกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการราชการในสถาบันอุดมศึกษา (กฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนกฯ) เป็นต้น ซึ่งการพิจารณาจัดทำหลักเกณฑ์ของกฎหมายลำดับรองดังกล่าว นอกจากจะต้องพิจารณาบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังต้องพิจารณาแนวนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะด้านยาเสพติดที่ต้องร่วมพิจารณากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน ประกอบกับการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 111 ฉบับดังกล่าวยังมีการดำเนินการในหลายขั้นตอน เช่น การรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและจากประชาชน การเสนอต่อคณะกรรมการตามกฎหมายเพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรือกลั่นกรองก่อนดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป การจัดเตรียมเรื่องเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี การตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามกฎหมายดังกล่าว จำนวน 111 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 หรือตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 แล้วแต่กรณีเพื่อให้การจัดทำกฎหมายลำดับรองมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและมีเนื้อหาที่ครอบคลุม รวมทั้งสอดคล้องกับบทบัญญัติที่ให้อำนาจในการจัดทำกฎหมายลำดับรองนั้นต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองที่มีผลใช้บังคับแล้ว รวม 354 ฉบับ

15. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 รวม 8 ฉบับ ออกไป 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 จำนวน 1 ฉบับ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 จำนวน 3 ฉบับ และพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 จำนวน 6 ฉบับ ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น จะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่         19 มกราคม 2564 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การออกกฎหมายลำดับรองรวม 8 ฉบับดังกล่าวยังมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมากทั้งภาคประชาชนและหน่วยงานของรัฐ การใช้ประโยชน์และการควบคุม ดูแล บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสมดุลและยั่งยืนของทรัพยากรดังกล่าวในอนาคต จึงต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบและรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

16. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไป 1 ปี นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 1 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น จะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 มกราคม 2564 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวเป็นการกำหนดสิทธิขององค์กรคนพิการหรือองค์กรอื่นที่ให้บริการแก่คนพิการให้สามารถดำเนินการเกี่ยวกับสิทธิของคนพิการ การเข้าถึงความช่วยเหลือของคนพิการ การจัดหางานและส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการ การขอใช้ที่ราชพัสดุหรือทรัพย์สินทางราชการ ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญจากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบเนื้อหาและกลไกของกฎหมายลำดับรองดังกล่าว ซึ่งมีความละเอียดอ่อนเป็นพิเศษ การดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ และต้องใช้เวลา จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่         27 พฤศจิกายน 2566

17. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ออกไปอีกหนึ่งปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    ทั้งนี้ ทส. เสนอว่า
                    1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 37 ลงวันที่ 4 เมษายน 2535 มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2535 ซึ่งมีผลบังคับใช้อยู่ในวันก่อนที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2522 มีผลบังคับใช้ จะครบกำหนดระยะเวลาการดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
                    2. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 73 วรรคสอง บัญญัติให้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาต คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต การควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ได้รับใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต การสั่งพักและการเพิกถอนการอนุญาต และการเสียค่าธรรมเนียมการขอและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ควบคุมหรือผู้รับจ้างให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ประกอบกับมาตรา 73 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 บัญญัติให้อัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสียที่ผู้รับจ้างให้บริการจะเรียกเก็บต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
                    3. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษได้อยู่ระหว่างการจัดทำร่างกฎกระทรวงซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตและการปฏิบัติงานเป็นผู้ควบคุมระบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. .... ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำฐานข้อมูลและระบบการยื่นคำขอและการพิจารณาใบอนุญาตโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับหลักการและสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เป็นการกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นผู้พิจารณาให้ใบอนุญาต รวมถึงต้องมีการจัดทำฐานข้อมูลและระบบการยื่นขอและการพิจารณาใบอนุญาตโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมทั้งให้เชื่อมโยงระบบการรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตามมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลระบบในการติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติการของผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย จึงมีความจำเป็นต้องพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวอย่างละเอียด โดยต้องดำเนินการหารือ ทำความเข้าใจกับเจ้าพนักงานท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำระบบการยื่นและการพิจารณาให้ใบอนุญาตโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ระยะเวลาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
                    สาระสำคัญของร่างกฎหมาย
                    ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตและการปฏิบัติงานเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. .... ซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองออกตามความในมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มีหลักการและสาระสำคัญ โดยสรุป ดังนี้
                              1. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
                              2. กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต
                              3. กำหนดวิธีการและแนวทางในการควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ได้รับใบอนุญาต
                              4. กำหนดเหตุแห่งการสั่งพักและการเพิกถอนการอนุญาต
                              5. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการขอและการออกใบอนุญาต
                              6. กำหนดการเสียค่าธรรมเนียมโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

18. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ออกไป 1 ปี นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับซึ่งจะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 มกราคม 2564 และ             28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การออกกฎหมายลำดับรองที่ผ่านยังต้องพิจารณาทบทวนในการออกกฎหมายลำดับรองในลำดับศักดิ์ที่ต่ำกว่า ซึ่งต้องออกตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง หรือระเบียบกระทรวงดังกล่าวที่มีผลใช้บังคับแล้ว เพื่อกำหนดรายละเอียดให้ครบถ้วนสามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้ ตามนัยความเห็นคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่องเสร็จที่ 981/2566 เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

19. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในทางแพ่งเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิควบคุมดูแลเด็ก พ.ศ. 2555 ออกไปอีกหนึ่งปีนับแต่วันที่ครบกำหนดตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชนมีพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในทางแพ่งเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิควบคุมดูแลเด็ก พ.ศ. 2555 ที่ต้องมีการออกกฎหมายลำดับรองตามมาตรา 11 วรรคสอง โดยมีสาระสำคัญให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ออกระเบียบว่าด้วยการคุ้มครองดูแลเด็ก กรณีพนักงานอัยการยื่นคำขอต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้นำตัวเด็กส่งไว้ในความคุ้มครองดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และมาตรา 24 โดยมีสาระสำคัญให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นการขอความช่วยเหลือไปยังต่างประเทศในการให้ความช่วยเหลือเด็กให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการถูกพาไปหรือกักตัวไว้โดยมิชอบ ซึ่งบรรดาค่าใช้จ่ายให้ความช่วยเหลือซึ่งต้องร่วมพิจารณากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดหรือประเมินค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ตามข้อเท็จจริง หรือกำหนดแบบประเมินเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันอยู่ในชั้นการพิจารณาของกรมกิจการเด็กและเยาวชน และอาจดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณาร่างกฎหมายและประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ไม่ทันภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562

20. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความในพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 ออกไปอีกหนึ่งปีนับแต่วันที่ครบกำหนดตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการมีร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 ได้แก่ (1) ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสนับสนุนการดำเนินการแก่หน่วยงานของรัฐ องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนา กลุ่มคนไร้ที่พึ่ง หรือกลุ่มบุคคล เพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ตามมาตรา 15 มาตรา 17 ซึ่งจำเป็นต้องออกประกาศกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสนับสนุนการดำเนินการตามประกาศของคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งฉบับนี้ (2) มาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 กำหนดให้คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งดำเนินการออกระเบียบเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งสำหรับการเข้าร่วมการฝึกอาชีพ และเริ่มต้นประกอบอาชีพของคนไร้ที่พึ่ง ซึ่งปัจจุบันได้ผ่านการพิจารณาร่างดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และคณะอนุกรรมการพัฒนามาตรการและกลไกเพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง โดยมีมติให้มีการหารือในข้อกฎหมายกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรมบัญชีกลาง แนวทางการดำเนินงานร่วมกับองค์กรที่ดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งซึ่งอาจดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณาร่างกฎหมายและประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ไม่ทันภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562

21. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป
                    ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                    1. โดยที่รัฐบาลมีนโยบายจะใช้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สภาธุรกิจตลาดทุนไทยจึงได้มีข้อเสนอต่อ กค. ในการใช้ตลาดทุนไทยเป็นกลไกบรรลุเป้าหมายด้านความสามารถในการแข่งขันควบคู่ไปกับความยั่งยืนของประเทศ กค. จึงได้ประชุมร่วมกันกับสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 โดยที่ประชุมได้มีความเห็นร่วมกันในการจัดตั้ง ?กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESG1 Fund หรือ TESG)? และกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าว
                    2. การลงทุนของกองทุน TESG จะเป็นการนำเงินที่ได้จากการขายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, and Governance หรือ ESG) สำหรับการลงทุนในตราสารทุนจะลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน (Thailand Sustainability Investment หรือ THSI) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือที่เปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งปัจจุบันมี 210 บริษัทกระจายอยู่ในหลายกลุ่ม อาทิ ขนส่ง จัดการของเสีย ทรัพยากร พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรม และคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้จะลงทุนในตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน (Sustainable Bond) ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์2 (สำนักงาน ก.ล.ต.) ได้แก่ ตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) ตราสารหนี้เพื่อพัฒนาสังคม (Social Bond) ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) และตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bond) โดยจะลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทไทยเท่านั้น
                    3. กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่จะใช้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จึงเห็นควรยกร่างกฎกระทรวงฉบับที่ ..(พ.ศ. .... ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร กำหนดให้เงินได้ของบุคคลธรรมดาที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนใน TESG ในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 100,000 บาทสำหรับปีภาษีนั้น เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2575 และกำหนดให้ผู้มีเงินได้ไม่ต้องนำเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ TESG มารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะกรณีที่เงินหรือผลประโยชน์ดังกล่าวคำนวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่กล่าวมา ทั้งนี้ ต้องถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน
                    4. กค. ได้พิจารณาการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยสภาธุรกิจตลาดทุนไทยได้คาดการณ์ว่า ในปีแรก       (ปี 2566) จะมีบัญชีนักลงทุนใหม่ 100,000 บัญชี และในปีถัด ๆ ไปจะมีบัญชีนักลงทุนใหม่ 300,000 บัญชี จึงจะมีจำนวนเงินลงทุนใหม่ 10,000 ล้านบาท และ 30,000 ล้านบาทตามลำดับ คาดว่าจะก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐโดยสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีแรกประมาณ 3,000 ล้านบาท และในปีถัด ๆ ไปปีละประมาณ 10,000 ล้านบาท มีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้ 1) เพิ่มทางเลือกในการออมและการลงทุนระยะยาวให้แก่ผู้มีเงินได้ 2) เพิ่มการลงทุนระยะยาวในตลาดทุนไทย อันจะทำให้เสถียรภาพของตลาดทุนไทยเพิ่มขึ้นด้วย และ 3) ทำให้เกิดการลงทุนในกิจการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลเพิ่มขึ้น และบริษัทไทยที่ให้ความสำคัญแก่สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลเพิ่มขึ้นตามไปด้วย อันจะมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs3) ของสหประชาชาติ รวมทั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality4) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero5)
จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงฯ มาเพื่อดำเนินการ
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
ประเด็น          สาระสำคัญ
1. ผู้มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์          ? บุคคลธรรมดาที่มีรายได้ (ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง)
2. เงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์          จากการซื้อหน่วยลงทุน TESG
          จากการขายหน่วยลงทุน  TESG
          ? นำเงินได้มาซื้อหน่วยลงทุนใน TESG
? เป็นเงินได้ที่ได้มาตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 75
? ต้องถือหน่วยลงทุนใน TESG ไม่น้อยกว่า 8 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน (แต่ไม่รวมกรณีทุพพลภาพหรือตาย)          ? ขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ TESG
? ถือหน่วยงลงทุนใน TESG มาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน (แต่ไม่รวมกรณีทุพพลภาพหรือตาย)
3. สิทธิประโยชน์          จากการซื้อหน่วยลงทุน TESG          จากการขายหน่วยลงทุน TESG
          ? ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนใน TESG มารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น ๆ           ? ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินหรือผลประโยชน์ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ TESG มารวมคำนวณภาษีเงินได้ (เฉพาะกรณีที่คำนวณเงินหรือผลประโยชน์จากเงินที่ได้หักลดหย่อนกรณีซื้อหน่วยลงทุนใน TESG)

1 ESG (Environment, Social, Governance) คือแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืน โดยไม่หวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่คำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก คือ 1) ด้านสิ่งแวดล้อม 2) ด้านสังคม และ 3) ด้านบรรษัทภิบาล
2 สำนักงาน ก.ล.ต. กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการออกประกาศเพื่อรองรับการจัดตั้งกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (TESG)
3 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นชุดเป้าหมายการพัฒนาระดับโลกที่ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติ เป็นทิศทางการพัฒนาที่ทุกประเทศที่ต้องดำเนินการร่วมกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 ไปจนถึงปี ค.ศ. 2030 มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย (Goals) และจัดกลุ่มได้เป็น 5 มิติแห่งความยั่งยืน ได้แก่ (1) People (มิติด้านสังคม) (2) Prosperity (มิติด้านเศรษฐกิจ) (3) Planet (มิติด้านสิ่งแวดล้อม) (4) Peace (มิติด้านสันติภาพและสถาบัน) และ (5) Partnership (มิติด้านหุ้นส่วนการพัฒนา)
4 Carbon neutrality หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน คือ การที่ปริมาณการปล่อยคาร์บอน (CO2) เข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ถูกดูดซับกลับคืนมาผ่านป่าหรือวิธีการอื่น
5 Net Zero หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ คือ การที่ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีความสมดุลเท่ากับก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดซับออกจากชั้นบรรยากาศ

22. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สมรสเท่าเทียม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สมรสเท่าเทียม) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่กระทรวงยุติธรรมเสนอเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยกำหนดให้บุคคล 2 คน ไม่ว่าเพศใดสามารถทำการหมั้นหรือสมรสกันได้ แก้ไขคำว่า ?ชาย? ?หญิง? ?สามี? ?ภริยา? และ ?สามี ภริยา? เป็น ?บุคคล? ?ผู้หมั้น? ?ผู้รับหมั้น? และ ?คู่สมรส? เพื่อให้มีความหมายครอบคลุมคู่หมั้นหรือคู่สมรสไม่ว่าจะมีเพศใด (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 43 มาตรา 193/22 มาตรา 1439 มาตรา 1440 ฯลฯ) ดังนั้น เพื่อให้สอดรับการแก้ไขถ้อยคำที่กำหนดให้บุคคล 2 คน ไม่ว่าเพศใดสามารถทำการหมั้นหรือสมรสกันได้ จึงได้มีการปรับแก้ไขถ้อยคำเล็กน้อยตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อรองรับสิทธิของคู่สมรสเพศเดียวกันให้มีสิทธิ หน้าที่ และสถานะทางครอบครัวเท่าเทียมกับคู่สมรสที่เป็นชายและหญิง แต่ยังคงหลักการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเพิ่มเหตุเรียกค่าทดแทนและเหตุฟ้องหย่าให้ครอบคลุมกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งไปมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นเพศใด โดยกำหนดให้คู่หมั้นฝ่ายหนึ่งอาจเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งกระทำกับคู่หมั้นของตนเพื่อสนองความใคร่ของผู้นั้นหรือคู่หมั้นของตน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1445) กำหนดให้หญิงที่ชายผู้เป็นคู่สมรสตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทำการสมรสใหม่กับชายได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1453) ในกรณีการสมรสระหว่างชายหญิง เมื่อหญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบ      17 ปีบริบูรณ์ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เดิม กำหนดให้กรณีถ้าศาลมิได้สั่งให้เพิกถอนการสมรสจนบุคคลทั้งสองมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อหญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส) (แก้ไขเพิ่มเติม ม. 1504) ในกรณีการสมรสระหว่างชายหญิง เมื่อหญิงมีครรภ์ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เดิม กำหนดให้สิทธิขอเพิกถอนการสมรสตามมาตรานี้เป็นอันระงับเมื่อคู่สมรสนั้นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อหญิงมีครรภ์) (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1510)
                    อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..)      พ.ศ. .... ที่กระทรวงยุติธรรมเสนอในครั้งนี้ มิได้ส่งผลกระทบต่อหลักการสำคัญบางประการ เช่น บุคคลทั้งสองฝ่ายสามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ รับมรดกของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ รวมทั้งการจัดการทรัพย์สินบางกรณีต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นไปหลักการแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สำหรับการเข้าถึงสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น ๆ เช่น กรณีการจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการนั้น ปัจจุบันกำหนดให้จ่ายเงินแก่ ?สามีหรือภริยา? แต่เมื่อมีการแก้ไขให้คู่สมรสหมายถึงบุคคลเพศเดียวกันด้วยแล้ว หน่วยงานจะต้องดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไปเพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในครั้งนี้
                    กระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นประกอบการจัดทำร่างกฎหมาย และเปิดเผยสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้งจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 แล้ว และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ law.go.th ให้ประชาชนได้รับทราบด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้บุคคล 2 คน ไม่ว่าเพศใดสามารถทำการหมั้นและสมรสได้ แก้ไขคำว่า ?ชาย? ?หญิง? ?สามี? ?ภริยา? และ ?สามีภริยา? เป็น ?บุคคล? ?ผู้หมั้น? ?ผู้รับหมั้น? และ ?คู่สมรส? เพื่อให้มีความหมายครอบคลุมคู่หมั้น หรือคู่สมรส ไม่ว่าจะมีเพศใด รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นมีสิทธิ หน้าที่ และสถานะทางครอบครัวเท่าเทียมกับคู่สมรสที่เป็นชายและหญิง สรุปสาระสำคัญดังนี้
ประเด็นสำคัญ          ประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ (ปัจจุบัน)          ร่างฯ ที่ ยธ. เสนอในครั้งนี้
1. เหตุการเรียกค่าทดแทนเนื่องจากผิดสัญญาหมั้น กรณีที่คู่หมั้นไปมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น          กำหนดให้ชายหรือหญิงคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งได้ร่วมประเวณีกับคู่หมั้นของตนโดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้นนั้น
(มาตรา 1445)          กำหนดให้คู่หมั้นฝ่ายหนึ่งอาจเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งได้ร่วมประเวณีกับคู่หมั้นของตน หรือผู้ซึ่งกระทำกับคู่หมั้นของตนเพื่อสนองความใคร่ของผู้นั้นหรือคู่หมั้นของตนโดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้นนั้น
2. การกำหนดอายุขั้นต่ำในการจดทะเบียนสมรส          การสมรสจะกระทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้
(มาตรา 1448)           การสมรสจะกระทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีมีเหตุอันสมควรศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้
3. เงื่อนไขแห่งการสมรสใหม่          กำหนดให้หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
1) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
2) สมรสกับคู่สมรสเดิม
3) มีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการรักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์ หรือ
4) มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
(มาตรา 1453)          กำหนดให้หญิงที่ชายผู้เป็นคู่สมรสตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทำการสมรสใหม่กับชายได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
1) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
2) สมรสกับคู่สมรสเดิม
3) มีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการรักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์ หรือ
4) มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
4. การเพิกกถอนการสมรส (ในกรณีมิได้มีการขอเพิกถอนการมรส ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส)          กำหนดให้กรณีถ้าศาลมิได้สั่งให้เพิกถอนการสมรสจนชายหญิง มีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อหญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส
(มาตรา 1504 วรรคสอง)          กำหนดให้กรณีถ้าศาลมิได้สั่งให้เพิกถอนการสมรสจนบุคคลทั้งสองมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ หรือในกรณีการสมรสระหว่างชายหญิงเมื่อหญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส
5. เงื่อนไขที่ทำให้การเพิกถอนการสมรสสิ้นสุด          กำหนดให้สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเป็นอันระงับเมื่อคู่สมรสนั้นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หรือเมื่อหญิงมีครรภ์
(มาตรา 1510 วรรคสอง)           กำหนดให้สิทธิขอเพิกถอน
การสมรสเป็นอันระงับเมื่อคู่สมรสนั้นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หรือในกรณีการสมรสระหว่างชายหญิงเมื่อหญิงมีครรภ์

23. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาในการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองจำนวน 8 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น การออกกฎหมายลำดับรองจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 19 มกราคม 2564 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองจำนวน 8 ฉบับดังกล่าวอยู่ระหว่างการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นฯ โดยการประชุมและทำหนังสือสอบถามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมที่ดิน กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย และเอกชนคู่สัญญา PPP (Public Private Partnership) ซึ่งใช้ระยะเวลาในการดำเนินการนานพอสมควร ประกอบกับการออกกฎหมายลำดับรองจะต้องเสนอต่อคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายเพื่อพิจารณากลั่นกรองให้เกิดความรอบคอบ และเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้ความเห็นชอบ ก่อนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไปซึ่งคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายชุดใหม่เพิ่งได้รับการแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามพระราชบัญญัติเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกฯ จำนวน 8 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เพื่อให้การจัดทำกฎหมายลำดับรองมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและมีเนื้อหาที่ครอบคลุมและสอดคล้องกับบทบัญญัติที่ให้อำนาจในการจัดทำกฎหมายลำดับรองนั้นต่อไป

24. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความในพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มาตรา 57 วรรคสอง และมาตรา 66 วรรคสาม ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 โดยที่มาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 บัญญัติให้กฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายนั้นได้ หากมิได้มีการออกกฎดังกล่าวหรือยังมิได้ดำเนินการนั้นภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับและบทบัญญติในเรื่องนั้นก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชนให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลบังคับ ทั้งนี้ ระยะเวลา 2 ปีดังกล่าวคณะรัฐมนตรีจะมีมติขยายออกไปอีกก็ได้แต่ไม่เกิน 1 ปีและต้องมีมติก่อนที่จะครบกำหนดเวลา 2 ปีดังกล่าว ประกอบกับมาตรา 39 (1) กำหนดให้ระยะเวลา 2 ปี ตามมาตรา 22 วรรคสอง สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้นับแต่เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ (นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564) ซึ่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ เป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติจึงต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
                    สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติได้จัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 จำนวนทั้งสิ้น 82 ฉบับ ซึ่งได้ประกาศใช้บังคับแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการตามความในมาตรา 66 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติฯ จำนวน 1 ฉบับ และมาตรา 57 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติฯ จำนวนอย่างน้อย 1 ฉบับ แต่โดยที่ประกาศตามมาตรา 57 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติฯ กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตได้รับการลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการสำหรับการให้บริการข้อมูลข่าวสารและความรู้เป็นเรื่องที่มีหลายมิติ การลดหรือยกเว้นค่าบริการให้แก่ทุกหมายเลขที่ให้ข้อมูลข่าวสารย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ให้บริการโทรคมนาคมจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายจึงจำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นจากหลายกลุ่มบุคคลทั้งจากผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนทั่วไปเพื่อให้การรับฟังความคิดเป็นไปอย่างรอบด้านเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้ใช้บริการ และเป็นธรรมต่อผู้ให้บริการโทรคมนาคมและสำหรับการออกกฎหมายลำดับรองตามความในมาตรา 66 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติฯ สำนักงานฯ เห็นว่า หากไม่มีการออกประกาศพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าว ผู้ให้บริการโทรคมนาคมอาจอาศัยช่องทางดังกล่าวกระทำความผิดร้ายแรงบางประการที่อาจมีผลเป็นการเอาเปรียบผู้ใช้บริการ ซึ่งการออกประกาศดังกล่าวทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวเป็นวงกว้าง การพิจารณาจัดทำประกาศดังกล่าวจึงต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการด้วยความรอบคอบและละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนทั่วไปอย่างรอบด้าน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาก่อนออกประกาศ สำนักงานฯ ไม่สามารถดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองตามมาตรา 57 วรรคสอง และมาตรา 66 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่          27 พฤศจิกายน 2566 จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

25. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
                    1. ให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562
                    2. ให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง จำนวน 3 ฉบับซึ่งออกตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562
ออกไป 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 และเป็นการขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 3 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น จะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 มกราคม 2564 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การออกกฎหมายลำดับรองรวม 5 ฉบับดังกล่าว เป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งซึ่งประธานกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษาและคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา จะดำรงตำแหน่งไม่ได้ การกำหนดมาตรฐานการอุดมศึกษา การกำหนดความร่วมมือในการจัดการศึกษา การวิจัย ฯลฯ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานภาคเอกชนส่งข้อมูลเกี่ยวกับการอุดมศึกษาและการอื่นที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดหลักการอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดในการจัดการอุดมศึกษา ซึ่งยังมีประเด็นที่จะต้องพิจารณา รวบรวมข้อมูลและตรวจสอบ เพื่อให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนมีการบูรณาการในความร่วมมือการจัดการศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอบด้าน จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

26. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในพระราชบัญญัติแร่           พ.ศ. 2560 ตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 จำนวน 11 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 11 ฉบับ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ซึ่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 เป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566) ดังนั้น การออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าว กระทรวงอุตสาหกรรมต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 แต่เนื่องจากการดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาและรวบรวมแนวทางความเหมาะสมในการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายในการบริหารจัดการแร่ ซึ่งต้องใช้เวลาในการทบทวนตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการเหมืองแร่อย่างรอบด้าน และกฎหมายลำดับรองบางฉบับจะดำเนินการต่อเมื่อมีสถานการณ์หรือเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในกรณีที่มีความจำเป็น กระทรวงอุตสาหกรรมจึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในพระราชบัญญัติแร่        พ.ศ. 2560 จำนวน 11 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

27. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (สำนักงาน ก.พ.)
                    คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรอง จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ออกไป 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    สำนักงาน ก.พ. เสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น จะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 มกราคม 2564 และ            28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่มีประเด็นปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 25 และมาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่จะต้องหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดังนั้น เพื่อให้สำนักงาน ก.พ. สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

28. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 และที่ออกตามพระราชบัญญัติการบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด พ.ศ. 2561
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติการบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด พ.ศ. 2561 รวม 12 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่         27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    การเสนอเรื่องของกระทรวงยุติธรรมเป็นการดำเนินการตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งบทบัญญัติให้กฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎหรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมาย หรือได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายนั้นได้ หากมิได้มีการออกกฎดังกล่าวหรือยังมิได้ดำเนินการนั้นภายในระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับและบทบัญญัติในเรื่องนั้นก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชนให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลบังคับ แต่ในกรณีที่บทบัญญัติในเรื่องนั้นให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชน ให้บทบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้โดยไม่ต้องมีกฎหรือดำเนินการดังกล่าว โดยระยะเวลา 2 ปีดังกล่าวคณะรัฐมนตรีจะมีมติขยายออกไปอีกก็ได้แต่ไม่เกิน 1 ปี และต้องมีมติก่อนที่จะครบกำหนดเวลา 2 ปีดังกล่าว ประกอบกับมาตรา 39 (1) กำหนดให้ระยะเวลา 2 ปี ตามมาตรา 22 สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้นับแต่เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ (นับแต่วันที่       27 พฤศจิกายน 2564) ซึ่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว      พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติการบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด พ.ศ. 2561 เป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562)
                    โดยมีการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับดังกล่าวมีประเด็นที่ต้องพิจารณาโดยละเอียดรอบคอบให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชน เนื่องจากร่างกฎหมายลำดับรองบางฉบับเป็นการดำเนินการให้จัดตั้งสถานศึกษา สถานฝึกอบรม หรือสถานแนะนำทางจิตเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด เป็นจำเลย หรือเป็นผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ลงโทษหรือใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน จึงต้องมีการรับฟังความคิดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและศึกษาวิเคราะห์กฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศเพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาและประสิทธิพลต่อไป ดังนั้น กระทรวงยุติธรรมจึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 12 ฉบับดังกล่าวออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

29. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาในการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอขอขยายระยะเวลาในการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง จำนวน 3 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น การออกกฎหมายลำดับรองจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 แต่เนื่องจากการดำเนินการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 3 ฉบับ ต้องใช้เวลาในการทบทวน ตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน รวมทั้งต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่อาจได้รับผลกระทบที่จากการต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น วิธีการจัดเก็บและการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างรอบด้าน จึงไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จทันภายในวันที่             27 พฤศจิกายน 2566 ได้ คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง จำนวน 3 ฉบับตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นฯ ออกไปอีก 1ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
                    สำหรับการดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองตามมาตรา 23 (15) และมาตรา 25 (16) แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯ นั้น เนื่องจากพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 ได้แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวกับ ?ค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน? เป็น ?ค่าบริการการใช้สนามบิน? ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถจัดเก็บรายได้จากค่าธรรมเนียมสนามบินตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศได้จนกว่าจะมีการแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    ทั้งนี้ คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการออกฎหมายลำดับรองที่มีผลใช้บังคับแล้ว รวม 171 ฉบับ จากกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯ ทั้งหมด รวม 175 ฉบับ และปัจจุบันยังมีกฎหมายลำดับรองซึ่งอยู่ในขั้นตอนการจัดทำร่างกฎหมายอีก 4 ฉบับ โดยแบ่งเป็น 1) กฎหมายลำดับรองที่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ จำนวน 3 ฉบับ (กฎหมายลำดับรองที่เสนอขยายระยะเวลาในครั้งนี้)และ 2) กฎหมายลำดับรองที่มีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น จำนวน 1 ฉบับ

30. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความในพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความในพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 รวม 3 ฉบับ ออกไป 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้นจะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองดังดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่         19 มกราคม 2564 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การออกกฎหมายลำดับรองรวม 3 ฉบับดังกล่าว ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ โดยในส่วนพระราชกฤษฎีกาฯ อยู่ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดทำเรื่องเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี ส่วนร่างระเบียบฯ อีก 2 ฉบับอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งยังมีประเด็นเกี่ยวกับกระบวนการกำหนดโจทย์วิจัย การให้ทุนวิจัยและพัฒนา การจัดสรร และการประเมินผลงานทางวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และการประเมิน จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

31. เรื่อง ขอขยายระยเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ. 2526)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของ มท. รวม 8 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    การเสนอเรื่องของกระทรวงมหาดไทย เป็นการดำเนินการตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งบัญญัติให้กฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎหรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมาย หรือได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายนั้นได้ หากมิได้มีการออกกฎดังกล่าวหรือยังมิได้ดำเนินการนั้นภายในระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับและบทบัญญัติในเรื่องนั้นก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชนให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลบังคับ แต่ในกรณีที่บทบัญญัติในเรื่องนั้นให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชน ให้บทบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้โดยไม่ต้องมีกฎหรือดำเนินการดังกล่าว โดยระยะเวลา 2 ปีดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจะมีมติขยายออกไปอีกก็ได้ไม่เกิน 1 ปี และต้องมีมติก่อนที่จะครบกำหนดเวลา 2 ปีดังกล่าว ประกอบกับมาตรา 39 (1) กำหนดให้ระยะเวลา 2 ปี ตามมาตรา 22 สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้นับแต่เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ (นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564) ซึ่งพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ. 2526 เป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562)
                    โดยที่การออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับดังกล่าวมีประเด็นที่ต้องพิจารณาโดยละเอียดรอบคอบในการกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์แนวทางปฏิบัติในการเดินท่อน้ำและติดตั้งอุปกรณ์ และด้านการพิจารณาอนุญาต ตลอดจนบทกำหนดโทษแก่ผู้ฝ่านฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับ ซึ่งต้องใช้เวลาในการทบทวนตรวจสอบข้อมูลให้รอบคอบและหารือไปยังหน่วยงานอื่นที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ ดังนั้น กระทรวงมหาดไทยจึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 8 ฉบับดังกล่าว ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

เศรษฐกิจ-สังคม
32. เรื่อง รายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562 - 2565)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562 - 2565) (แผนสิทธิมนุษยชนฯ) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    ยธ. รายงานว่า
                    1. แผนสิทธิมนุษยชนฯ เป็นเครื่องมือ กลไก และมาตรการให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าไปใช้ในการส่งเสริม ปกป้อง คุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชน ซึ่ง ยธ. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำและขับเคลื่อนแผนดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยแผนสิทธิมนุษยชนฯ ประกอบด้วย โครงการ/กิจกรรม จำนวน 2,409 โครงการ มีโครงการที่ทำเสร็จ จำนวน 1,837 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 76.26 และมีผลการดำเนินการในภาพรวม ดังนี้
ปีงบประมาณ          โครงการทั้งหมด          โครงการที่ทำสำเร็จ          โครงการที่กำลังดำเนินการ          โครงการ
ที่ยังไม่ได้ดำเนินการ          โครงการ
ที่ไม่ได้รับรายงานผล          ไม่ปรากฏข้อมูล
พ.ศ. 2563          707          707          -          -          -          -
พ.ศ. 2564          853          470          251          67          42          23
พ.ศ. 2565          849          660          104          85          -          -
รวม          2,409          1,837          355          152          42          23
คิดเป็นร้อยละ          -          76.26          14.74          6.31          1.74          0.95
                    2. เมื่อนำผลการประเมินระยะครึ่งแผนและระยะสิ้นสุดแผนการสังเคราะห์มีผลสำเร็จและข้อสังเกตของการดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนฯ สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 ตัวอย่างผลการดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนฯ มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
ด้าน          ผลการดำเนินการ/ข้อสังเกต
1) กระบวนการยุติธรรม          ได้มีสร้างกลไกการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนและความรู้พื้นฐานในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนผ่านกลไกต่าง ๆ เช่น (1) กลไกระดับจังหวัดทุกจังหวัด (2) ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนจำนวนกว่า 1,500 แห่ง ทั่วประเทศ และ (3) การส่งเสริม ?บวร? สร้างเครือข่ายบ้าน วัด โรงเรียน รวมถึงการทำงานของสำนักงานอัยการสูงสุดในการมีคณะทำงานเพื่อติดตามและประสานเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนของคนไทยในต่างประเทศอีกด้วย
2) การศึกษา          อัตราการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมมีการเพิ่มขึ้นน้อยมาก ดังนั้น การศึกษายังคงต้องมีการทุ่มเทด้านทรัพยากรกำลังคนและงบประมาณอีกเป็นอย่างมาก
3) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม          ควรถอดบทเรียนและปรับแนวทางในการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะหากเกิดโรคระบาดใหม่หรือภัยพิบัติฝุ่น PM2.5 ซึ่งถือเป็นภัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน เช่น ลดการเผาป่า ทำไร่เลื่อนลอย การควบคุมควันดำจากรถยนต์ ตลอดจนการส่งเสริมพลังงานสะอาด รถไฟฟ้า การใช้พลังงานในครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม
4) เศรษฐกิจและธุรกิจ          ไทยมีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้สูงเป็นอันดับ 4 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกและผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด - 19 ส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยหดตัวอย่างรุนแรง ประชาชนไทยในภาพรวมและยังได้รับผลกระทบทางการเมืองและภาวะการเงินการลงทุนที่ผันผวน แม้จะมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดและข้อเสนอแนะต่าง ๆ แต่ไม่มีโครงการใด หรือผลในภาพรวมที่ชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จ ของการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และความยากจนในไทยได้
5) การขนส่ง          มีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านคมนาคมขนส่งในการดำเนินการพัฒนาสู่ ?ระบบขนส่งเพื่อความเสมอภาคและเท่าเทียม? เป็นระบบขนส่งสำหรับทุนคน เช่น การสร้างสะพานข้ามแยก อย่างไรก็ดี อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนยังคงเพิ่มขึ้น เนื่องจากโครงการฯ ไม่มีมาตรฐานด้านความปลอดภัย
6) สาธารณสุข          มีการขับเคลื่อนงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุขทั้งหมดและการสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย รวมถึงการให้บริการทางการแพทย์ทางไกล (TeleMedicine) เพื่อให้ประชาชนทุกที่ทั่วไทยเข้าถึงบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
7) ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ          การผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนบนโลกออนไลน์หรือกฎหมาย Personal Data Protection Act: PDPA1 และอื่น ๆ การยอมรับและนำไปใช้ปฏิบัติในสังคม รวมถึงการสร้างทักษะการรู้เท่ากันสื่อดิจิทัล เพราะระดับความรุนแรงส่งผลถึงชีวิตและทรัพย์สิน และมีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้นตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้น
8) ด้านการเมือง การปกครองและความมั่นคง          ประชาชนคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่สนใจมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น อย่างไรก็ดี มีประเด็นสังคมอีกมากที่สะท้อนถึงข้อสงสัยว่า หน่วยงานหลักสามารถดำเนินการตามที่ให้สร้างวัฒนธรรมการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ได้หรือไม่ ซึ่งสถาบันการเมืองหลักของประเทศควรจะเป็นหน่วยงานสำคัญที่ขับเคลื่อนงานตามข้อเสนอแนะให้ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมให้ได้
9) ที่อยู่อาศัย          การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบางยังมีอีกมากที่ยังไม่มีที่อยู่อาศัยทั้งในเขตเมืองและชนบท ทำให้เกิดปัญหาชุมชนแออัด คนเร่ร่อนและการบุกรุกพื้นที่ของกรมป่าไม้ หรือที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม         (ส.ป.ก.) ในต่างจังหวัดที่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญญาตามข้อเท็จจริงได้
10) ชุมชน วัฒนธรรมและศาสนา          ไทยมีความหลากหลายทางศาสนา และมีการส่งเสริมกิจกรรมของศาสนาต่าง ๆ รวมถึงวิถีวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้ดี
                              2.2 รายงานระบุประเด็นที่แสดงถึงความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนฯ มีสาระสำคัญ เช่น
                                        (1) การประกาศใช้บังคับกฎหมายหลายฉบับที่สอดคล้องตามสิทธิในกระบวนการยุติธรรม เช่น พระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 พระราชบัญญัติการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2566
                                        (2) การมีคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์กลาง ที่ได้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา และมีคำสั่งให้คณะกรรมการขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชนของไทย (คณะกรรมการฯ) พิจารณาวินิจภัยกำหนดค่าตอบแทนผู้เสียหายแก่ผู้เสียหาย แม้จะเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เท่ากับเป็นการยืนยันว่ารัฐมีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองบุคคลทุกคนสอดคล้องตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
                                        (3) การส่งเสริมสิทธิเข้าถึงสิทธิการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ตามมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2565 โดยสอดคล้องกับหลักการมีอิสระที่จะตัดสินใจบนฐานข้อมูลที่รอบด้าน ทั้งในเรื่องสุขภาพ และเพื่อป้องกันการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยซึ่งอาจนำไปสู่อันตรายและเสียชีวิตได้
                    3. ข้อเสนอแนะต่อกลไกการติดตามและประเมินผลของแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5       (พ.ศ. 2566 - 2570) สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          ข้อเสนอแนะ
ด้านบริบทและปัจจัยนำเข้า          ควรขับเคลื่อนแผนในลักษณะแผนบูรณาการทั้งการจัดทำแผนและโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและดำเนินงานในลักษณะงบบูรณาการ เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการเตรียมความพร้อมบุคลากรและระบบการจัดเก็บข้อมูล รวมถึงการประชาสัมพันธ์โครงการที่โดดเด่นให้มีความตระหนักรู้ไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้กระบวนการติดตามผลการจัดทำตัวชี้วัด การรายงานผลการดำเนินการและผลการใช้งบประมาณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ด้านกระบวนการ          ควรมีการกำหนดกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสู่แผนปฏิบัติการโดยมีการกำหนดหน่วยงานเจ้าภาพ หน่วยงานหลัก หน่วยงานสนับสนุนจะต้องกำหนดกิจกรรมไว้อย่างชัดเจน เพื่อจะสามารถกำหนดผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) ได้อย่างถูกต้อง
ด้านการติดตามและประเมินผล          ควรมีระบบการติดตามประเมินผล พร้อมทั้งมีคณะทำงานติดตามจัดเก็บข้อมูลที่มีความต่อเนื่องชัดเจนระบบการจัดเก็บข้อมูลส่วนกลาง และกำหนดรูปแบบการรายงานให้หน่วยงานสามารถรายงานข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้ตลอดเวลา
ด้านการถ่ายทอดส่งต่อและความยั่งยืน          ควรมีกลไกการขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในรูปของกฎหมาย และควรมีการพิจารณาโครงการต้นแบบเพื่อสานต่อโครงการได้อย่างต่อเนื่อง และขยายผลในระดับประเทศ พร้อมทั้งมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก้ไขปัญหา หรืออุปสรรคร่วมกัน
ด้านความรู้ ความเข้าใจ และการสื่อสารสังคม          ควรมีการประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้เข้าถึงประชาชน และสถาบันการศึกษาทุกระดับ ภาคประชาสังคม เพื่อช่วยให้งานด้านสิทธิมนุษยชนส่งผลในระดับประเทศได้อย่างชัดเจนมากขึ้น การกำหนดเป้าหมายโดยพิจารณาจากปัญหาและสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยที่ยังคงเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้สามารถสะท้อนได้ว่า การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตอบสนองต่อการลดสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทยอย่างแท้จริง
กรณีการเกิดสถานการณ์ข้อท้าทายที่เข้ามาแทรกระหว่างการขับเคลื่อนแผนฯ          เช่น การจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 สถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งในต่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อไทย ควรมีการนำมาเป็นกรณีตัวอย่างหรือเป็นต้นแบบ หากเกิดกรณีสถานการณ์ฉุกเฉินที่ไม่คาดคิดขึ้น หน่วยงานอื่น ๆ จะมีความยืดหยุ่นในการปรับแผนดำเนินงานอย่างไร เพื่อให้โครงการ/กิจกรรมที่กำหนดไว้ประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายต่อไปได้
                    4. ยธ. โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้นำเสนอรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนฯ ต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนและขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 และที่ประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 เรียบร้อยแล้ว โดยที่ประชุมทั้ง 2 คณะ มีมติเห็นชอบต่อรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฯ และให้ ยธ. โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเสนอรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฯ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบต่อไป
1 พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายที่เข้ามากำหนดเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ (1) ข้อมูลสวนบุคคลพื้นฐาน และ (2) ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน

33. เรื่อง การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 29 กันยายน 2566 เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    รง. รายงานว่า
                    1. คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการทบทวนอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ เพื่อพิจารณาทบทวนอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ จำนวน 54 สาขาอาชีพ โดยพิจารณาทบทวนอัตราค่าจ้างจากลักษณะการทำงาน การจ่ายค่าจ้างจริงในตลาดแรงงานความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง รวมทั้งสถานการณ์และสภาพข้อเท็จจริงในแต่ละสาขาอาชีพและจัดทำร่างอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือเสนอคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 แล้ว ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22* (ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน) ครั้งที่ 6/2566 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 ได้มีมติกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 เห็นชอบให้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 6 สาขาอาชีพ 54 สาขา ดังนี้
หน่วย : บาทต่อวัน
ลำดับ          สาขาอาชีพ/สาขา          ระดับ 1          ระดับ 2          ระดับ 3
สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์
1          ช่างเย็บ          370          460          575
2          ช่างเครื่องประดับ (ประดับอัญมณี)          470          645          825
3          ช่างเครื่องเรือนไม้          395          745          560
4          ช่างบุครุภัณฑ์          380          460          560
5          ช่างสีเครื่องเรือน          415          510          -
6          ช่างเครื่องประดับ (รูปพรรณ)          485          575          665
7          ช่างประกอบติดตั้งเฟอร์นิเจอร์          460          570          -
8          ช่างฝีมือเครื่องประดับแนวอนุรักษ์ (เทคนิคโบราณ)          565          -          -
9          ช่างเครื่องถม          670          -          -
10          พนักงานเตรียมวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง          375          430          -
11          พนักงานผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้จริงด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ          425          505          -
12          พนักงานประกอบเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง          390          460          -
13          ช่างทำสีเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง          400          455          -
14          พนักงานตัดวาดรองเท้า          425          470          -
15          พนักงานอัดพื้นรองเท้า          435          475          -
16          ช่างเย็บรองเท้า          435          480          -
17          พนักงานประกอบรองเท้า (เย็น)          415          460          -
สาขาอาชีพช่างเครื่องกล
18          ช่างสีรถยนต์          470          545          630
19          ช่างเคาะตัวถังรถยนต์          500          585          680
20          ช่างซ่อมรถยนต์          430          545          640
21          ช่างบำรุงรักษารถยนต์          400          480          -
22          ช่างซ่อมเครื่องยนต์ดีเซล          430          535          625
23          ช่างเครื่องปรับอากาศรถยนต์ขนาดเล็ก          430          530          625
24          พนักงานควบคุมเครื่องจักรรถยกไฟฟ้า          460          -          -
25          พนักงานควบคุมเครื่องจักรรถยกใช้เครื่องยนต์          460          -          -
26          ช่างตั้งศูนย์และถ่วงล้อรถยนต์          445          -          -
27          ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์          445          -          -
สาขาอาชีพช่างก่อสร้าง
28          ช่างไม้ก่อสร้าง          445          595          685
29          ช่างก่ออิฐ          410          530          645
30          ช่างฉาบปูน          455          565          675
31          ช่างอะลูมิเนียมก่อสร้าง          435          545          650
32          ช่างหินขัด          470          -          -
33          ช่างฉาบยิปซัม          470          -          -
34          ช่างมุงหลังคากระเบื้องคอนกรีต          470          590          685
35          ช่างติดตั้งยิปซัม          485          595          -
36          ช่างเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์          690          -          -
37          ช่างปูกระเบื้องผนังและพื้น          485          580          685
38          ช่างสีอาคาร          500          640          -
39          ช่างก่อและติดตั้งคอนกรีตมวลเบา          510          625          -
สาขาอาชีพภาคบริการ
40          นักบริหารการขนส่งสินค้าทางถนน          495          620          -
41          ผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน          430          540          -
42          ผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง          415          535          -
43          ผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า          400          505          -
44          ผู้ประกอบอาหารไทย          470          605          -
45          การดูแลผู้สูงอายุ          535          -          -
สาขาอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
46          ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร          470          595          695
47          ช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก          470          570          675
48          ช่างติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์          485          -          -
สาขาอาชีพช่างอุตสาหการ
49          ช่างเชื่อมแม็ก          470          575          675
50          ช่างเชื่อมทิก          540          685          855
51          ช่างเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ          500          610          685
52          ผู้ควบคุมระบบงานเชื่อมมิก-แม็กด้วยหุ่นยนต์          560          -          -
53          ช่างเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์อุตสาหกรรม          585          660          755
54          ช่างเชื่อมมิก-แม็กสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์          470          565          -
หมายเหตุ : มาตรฐานฝีมือแรงงาน คือ ข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และทัศนคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพสาขาต่าง ๆ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยแบ่งเกณฑ์วัดระดับฝีมือแรงงานเป็น 3 ระดับ และจะมีรายละเอียดของเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงานที่แตกต่างกันในแต่ละสาขา ซึ่งผู้ที่ผ่านการทดสอบจะได้รับใบรับรองผ่านการทดสอบของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
                              1.2 เห็นชอบวันที่ประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือมีผลใช้บังคับคือ เก้าสิบวันหลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                              1.3 เห็นชอบให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 9-12) โดยให้รวบรวมอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือดังกล่าวไว้ในประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 13) เพียงฉบับเดียว (รวม 129 สาขา) เพื่อให้มีความเหมาะสมและสะดวกต่อการถือปฏิบัติต่อไป
* คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 คือ คณะกรรมการชุดปัจจุบัน โดยคณะกรรมการค่าจ้างแต่ละชุดจะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งวาระละ 2 ปี

34. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนสิงหาคม 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนสิงหาคม 2566 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
                    สาระสำคัญ
                     ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง รวมถึงเศรษฐกิจในประเทศยังฟื้นตัวช้า โดยมีปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนทางการเงินและภาระหนี้ของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวช่วยสนับสนุนการบริโภคในประเทศ รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลง
                     อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนสิงหาคม 2566 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ
                     1. รถยนต์ หดตัวร้อยละ 11.39 ตามการหดตัวของตลาดในประเทศเป็นหลัก จากความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน และผู้บริโภคชะลอการซื้อเพื่อรอมาตรการส่งเสริมการขายในงานแสดงรถยนต์ช่วงปลายปี
                     2. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวร้อยละ 13.65 ตามภาวะตลาดโลกที่ชะลอตัว ผู้ผลิตส่วนใหญ่มียอดการผลิตและจำหน่ายลดลง บางรายผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงแต่ปริมาณการผลิตน้อย
                     3. Hard Disk Drive (HDD) หดตัวร้อยละ 32.36 ตามการพัฒนาเทคโนโลยีความจุ ทำให้ปริมาณการผลิตน้อยลง แต่ราคาต่อหน่วยสูงขึ้นตามปริมาณความจุ รวมถึงความต้องการใช้ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ Solid State Drive (SSD) มีสัดส่วนการใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ทดแทน HDD เพิ่มมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีฐานการผลิต SSD ในประเทศ
                       อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนสิงหาคม 2566 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
                      1. น้ำตาล ขายตัวร้อยละ 40.5 ตามความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก โดยน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ขยายตัวทั้งตลาดในประเทศ ตามคำสังซื้อจากห้างไฮเปอร์มาร์เก็ต เพื่อตอบสนองลูกค้าในกลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องปรุงรส เครื่องสำอางและเวชภัณฑ์ และตลาดส่งออก ไปอาเซียน เกาหลีใต้ และไต้หวัน
                     2. ปุ๋ยเคมี ขยายตัวร้อยละ 29.52 จากราคาปุ๋ยปรับลดลงจากปีก่อน รวมถึงมีการทำโปรโมชันกระตุ้นยอดขาย ทำให้สินค้าถูกระบายออกต่อเนื่อง

35. เรื่อง รายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                       คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และให้เสนอต่อรัฐสภาต่อไป
                      ทั้งนี้ กค. เสนอว่า โดยที่พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 74 บัญญัติให้ กค. จัดทำรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุด เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอรายงานดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ (ภายในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566) และเสนอต่อรัฐสภาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ (ภายในวันที่ 28 ธันวาคม 2566) ซึ่ง กค. ได้จัดทำรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ? 30 กันยายน 2566 ตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว จึงได้เสนอรายงานฯ มาเพื่อดำเนินการ
                     สาระสำคัญของรายงานฯ
                      1. รายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีรายละเอียดประกอบด้วย รายงานสรุปรายรับประเภทรายได้แผ่นดิน (รายได้จากภาษีอากร รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ และรายได้จากรัฐพาณิชย์) รายงานสรุปรายรับประเภทเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และรายงานสรุปรายจ่ายตามงบประมาณ จำแนกประเภทงบรายจ่าย (รายจ่ายกระทรวง รายจ่ายงบกลาง รายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ รายจ่ายบูรณาการ รายจ่ายงบบุคลากร รายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน และรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ) และรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณ (บทวิเคราะห์) เพื่อรายงานผลการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีของรัฐบาล โดย กค. ได้ประมวลข้อมูลการรับจ่ายเงินจากรายงานในระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS: Financial Analytics) ในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) และข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐบันทึกเข้ามาในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai)       ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2566
                     2. สาระสำคัญของผลการดำเนินงานรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปี สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2566) สรุปได้ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ          งบประมาณ

(1)          รับจริง - จ่ายจริง
(2)          เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
(3)          รวมรับจริง ? จ่ายจริง และเงินกันฯ
(4) = (2) + (3)          สูง (ต่ำ)
กว่างบประมาณ
(5) = (4) ? (1)
1. รายรับ
1.1 รายได้แผ่นดิน
1.2 เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
รวม (ก)
2,490,000.00
695,000.00
2,650,796.33
632,612.39
-
-
2,650,796.33
632,612.39

160,796.33
(62,387.61)
          3,185,000.00          3,283,408.72          -          3,283,408.72          98,408.72
2. รายจ่าย
2.1 รายจ่ายตามงบประมาณ
2.2 รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้
รวม (ข)
3,115,369.63

69,630.37
2,943,878.89

69,630.37

160,130.75

-
3,104,009.64

69,630.37
(11,359.99)

-
          3,185,000.00          3,013,509.26          160,130.75          3,173,640.01          (11,359.99)
3. รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี (งบประมาณปี 65)
รวม (ค)           190,453.26          173,901.33          -          173,901.33          (16,551.93)
          190,453.26          173,901.33          -          173,901.33          (16,551.93)
4. รายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
รวม (ง)
รวมรายจ่ายทั้งสิ้น
(จ) = [(ข) + (ค) + (ง)]           -


-          83,814.10


83,814.10          -


-          83,814.10


83,814.10          83,814.10


83,814.10

3,375,453.26
3,271,224.69
160,130.75
3,431,355.44
55,902.18
5. ดุลของงบประมาณประจำปี
5.1 รายได้แผ่นดินสูง (ต่ำ) กว่ารายจ่ายตามงบประมาณ [1.1 ? (ข)]
5.2 รายรับสูง (ต่ำ) กว่ารายจ่ายตามงบประมาณ [(ก) ? (ข)]


(695,000.00)




-


(362,712.93)




269,899.46


(160,130.75)




(160,130.75)


(522,843.68)




109,768.70


172,156.32




109,768.71
6. ดุลการรับ ? จ่ายเงิน
รายรับสูง (ต่ำ) กว่ารายจ่ายทั้งสิ้น (ก) ? (จ)

(190,453.26)

12,184.03

(160,130.75)

(147,946.73)

42,506.53
หมายเหตุ :            1) เรียกข้อมูล ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2566
                    2) รายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง ได้แก่ งบกลาง จำนวน 57,425.71 ล้านบาท งบบุคลากร จำนวน 17,490.39 ล้านบาท และงบชำระหนี้ จำนวน 8,898.00 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นจำนวน 83,814.10 ล้านบาท
                               2.1 รายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                                          (1) รายรับของรัฐบาลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ รายรับจากรายได้แผ่นดินและรายรับจากเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยรัฐบาลได้ประมาณการรายรับรวมทั้งสิ้น จำนวน 3,185,000.00 ล้านบาท รายรับที่รัฐบาลได้รับรวมทั้งสิ้น จำนวน 3,283,408.72 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ จำนวน 98,408.72 ล้านบาท ประกอบด้วย
                                                   (1.1) รายได้แผ่นดิน มีการประมาณการรายได้ จำนวน 2,490,000.00 ล้านบาท และมีการรับรายได้แผ่นดินรวมทั้งสิ้น จำนวน 2,650,796.33 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ จำนวน 160,796.33 ล้านบาท
                                                   (1.2) เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ มีการประมาณการวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 695,000.00 ล้านบาท และมีการรับเงินกู้รวมทั้งสิ้น จำนวน 632,612.39 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ จำนวน 62,387.61 ล้านบาท
                                         (2) รายจ่ายตามงบประมาณของรัฐบาล ประกอบด้วย รายจ่ายตามงบประมาณและรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ โดยรัฐบาลได้ประมาณการรายจ่ายตามงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวมทั้งสิ้น จำนวน 3,185,000.00 ล้านบาท รายจ่ายตามงบประมาณของรัฐบาลมีการใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น จำนวน 3,173,640.01 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ จำนวน 11,359.99 ล้านบาท ประกอบด้วย
                                                   (2.1) รายจ่ายตามงบประมาณ มีการประมาณการรายจ่ายตามงบประมาณ จำนวน 3,115,369.63 ล้านบาท และมีรายจ่ายจากเงินงบประมาณ จำนวน 2,943,878.89 ล้านบาท และเงินกันไว้เบิกเหลือมปี จำนวน 160,130.75 ล้านบาท รวมรายจ่ายตามเงินงบประมาณและเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี รวมทั้งสิ้น จำนวน 3,104,009.64 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ จำนวน 11,359.99 ล้านบาท
                                                    (2.2) รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ มีการประมาณการรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 69,630.37 ล้านบาท มีรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้เท่ากับประมาณการ จำนวน 69,630.37 ล้านบาท
                               2.2 รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี (เงินงบประมาณปีก่อน) รัฐบาลมีเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวมทั้งสิ้น จำนวน 190,453.26 ล้านบาท มีรายจ่ายจากเงินกับไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 173,901.33 ล้านบาท ต่ำกว่าเงินที่กันไว้ จำนวน 16,551.93 ล้านบาท
                                2.3 รายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 83,814.10 ล้านบาท เป็นการจ่ายเงินคงคลังตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 7 (1) รายการจ่ายที่มีการอนุญาตให้จ่ายเงินได้แล้ว ตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ แต่เงินที่ตั้งไว้มีจำนวนไม่พอจ่าย และพฤติการณ์เกิดขึ้นให้มีความจำเป็นต้องจ่ายโดยเร็ว
                                2.4 ดุลการรับ - จ่ายเงิน เมื่อเปรียบเทียบรายรับที่รัฐบาลได้รับ รวมทั้งสิ้น จำนวน 3,283,408.72 ล้านบาท กับรายจ่ายที่รัฐบาลมีการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น จำนวน 3,271,224.69 ล้านบาท (ประกอบด้วย รายจ่ายตามงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566 รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี (เงินงบประมาณปีก่อน) และรายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง) จึงทำให้รายรับสูงกว่ารายจ่ายทั้งสิ้น จำนวน 12,184.03 ล้านบาท
                                2.5 ผลการวิเคราะห์และข้อสังเกต
                                          (1) ผลการวิเคราะห์
                                                    (1.1) ด้านรายรับ ประเภทรายได้แผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีการจัดเก็บและนำส่งได้สูงกว่าประมาณการ จำนวน 160,796.33 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.46 เนื่องจากรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ให้เพิ่มสูงขึ้น เพื่อให้มีรายได้ที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้จ่ายตามยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการบริหารงานยุคใหม่มาประยุกต์ใช้ในการจัดเก็บภาษี ซึ่งจะช่วยสร้างเสถียรภาพการคลังของไทยให้ยั่งยืน โดย กค. ได้วางแผนการบริหารจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล เพื่อให้การจัดเก็บรายได้เป็นไปตามที่ประมาณการไว้ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้เป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานจัดเก็บรายได้ในสังกัด กค. ได้มีการพัฒนาระบบต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดเก็บรายได้อย่างต่อเนื่อง มีการใช้เทคโนโลยีในการติดตามและตรวจสอบการจัดเก็บภาษี ช่วยในการขยายฐานภาษี
                                                     (1.2) ด้านรายจ่าย งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีการใช้จ่ายงบประมาณรวมทั้งสิ้น จำนวน 3,173,640.01 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.64 ของวงเงินงบประมาณ เนื่องจากมีการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยกรมบัญชีกลางและสำนักงานคลังจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด เร่งรัดและสนับสนุนการดำเนินงาน พร้อมทั้งให้คำแนะนำหน่วยรับงบประมาณทุกแห่ง ให้สามารถดำเนินการเบิกจ่ายได้ตามแผนการใช้จ่ายเงิน เพื่อให้เม็ดเงินงบประมาณมีส่วนในการผลักดันการกระตุ้นเศรษฐกิจ
                                          (2) ข้อสังเกต
                                                    (2.1) ด้านรายรับ ประเภทรายได้แผ่นดิน นอกเหนือจากการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ รัฐบาลควรให้ความสำคัญในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ภาคการผลิต ภาคการเกษตร ภาคการท่องเที่ยว ภาคการแพทย์ และภาคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยนำนวัตกรรมและมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่เน้นการสร้างคุณค่าให้แก่สินค้าและบริการเชิงคุณภาพ การปรับเปลี่ยนภาคการท่องเที่ยวให้เน้นคุณภาพและความยั่งยืน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริการที่สอดรับกับทิศทางและแนวโน้มของตลาดยุคใหม่ และผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง เพื่อการยกระดับสู่การให้บริการบนฐานนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง จะส่งผลให้รัฐบาลมีรายได้ที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้จ่ายตามยุทธศาสตร์ของประเทศและมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีความยั่งยืน
                                                   (2.2) ด้านรายจ่าย นอกเหนือจากการกำหนดมาตรการการคลังด้านการใช้จ่ายภาครัฐในการติดตามเร่งรัดเบิกจ่ายเงินงบประมาณและเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด รัฐบาลควรยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐโดยนำระบบดิจิทัลและเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการสาธารณะให้มีความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรมและทันต่อสถานการณ์ รวมถึงการพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต เพื่อให้ประเทศไทยมีภาครัฐที่มีสมรรถนะ ทันสมัย คล่องตัว และเป็นปัจจัยผลักดันการขับเคลื่อนในภาคธุรกิจ

36. เรื่อง การป้องกันและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่อง การป้องกันและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ดังนี้
                     สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                     เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ดำเนินการจัดประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการบูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์จากกรณีข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลและมีการซื้อ-ขายในเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยมีนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธาน ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมด้วย พลตำรวจโท วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี นายศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล            นายสมศักดิ์ เจริญไพฑูรย์ รองอธิบดีกรมการปกครอง ผู้แทนจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เข้าร่วมหารือกำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาการซื้อ - ขายข้อมูลส่วนบุคคลทางออนไลน์ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                       สาเหตุและช่องทางการเกิดข้อมูลรั่วไหล
                      1. หน่วยงานภาครัฐขาดระบบเฝ้าระวังและตรวจสอบ และความเอาใจใส่และละเลยกระบวนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลทำให้เกิดการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล (Personal Data Breach) ปรากฏหรือเปิดเผยต่อสาธารณะโดยไม่จำเป็น และไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูล
                     2. เจ้าหน้าที่ภาครัฐและหน่วยงานไม่ได้จัดให้มีระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลที่ดีพอทั้งจากการนำข้อมูลไปเก็บอยู่ใน Data Center ของบริษัทเอกชน หรือไม่จัดให้มีการรักษาความปลอดภัยเพียงพอให้แก่ระบบคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ (Computer Server) ขาดการตรวจสอบเฝ้าระวังที่ดีพอ ทำให้มีช่องโหว่ในระบบ เป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล การโจมตีหรือบุกรุกจาก Hacker ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาตและนำข้อมูลออกไปเผยแพร่ ซึ่งพบได้บ่อยจากหน่วยงานที่ไม่มีหรือขาดระบบรักษาความปลอดภัยเพียงพอ ขาดการตรวจจับ เฝ้าระวังการบุกรุกเข้าถึงระบบจากภายนอก การตั้งค่าระบบที่ผิดพลาด เป็นต้น
                      3. เจ้าหน้าที่ภาครัฐและหน่วยงานขาดการสร้างความตระหนักรู้ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การสื่อสารให้บุคลากร พนักงาน หรือลูกจ้างในองค์กรเห็นถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในการทำงานโดยขาดความระมัดระวัง ส่งผลให้เกิดโทษต่อหน่วยงานและส่วนตัวอย่างไร การสร้างเสริมความตระหนักรู้ให้แก่บุคลากร พนักงาน หรือลูกจ้าง เป็นการป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากบุคคล (human error) ในการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในการทำงานขององค์กร
                     ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางร่วมกันกำหนดมาตรการป้องกันและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไข ดังนี้
                      ระยะเร่งด่วน 30 วัน
                      1. ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตรวจสอบข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (PDPC Eagle Eye) และเร่งตรวจสอบค้นหา เฝ้าระวัง การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลว่าเกิดขึ้นจากหน่วยงานใด หรือช่องทางใด และเมื่อพบข้อบกพร่องของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ เร่งประสานแจ้งเตือนการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลแก่หน่วยงานนั้น เพื่อระงับยับยั้งไม่ให้เกิดความเสี่ยงหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยเร็ว จากการเฝ้าระวังตรวจสอบที่ผ่านมา (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 9 - 20 พฤศจิกายน 2566) มีผลจากการเร่งตรวจสอบ ดังนี้
                                - ดำเนินการตรวจสอบแล้ว จำนวน 3,119 หน่วยงาน (ภาครัฐ/ภาคเอกชน)
                                - ตรวจพบข้อมูลรั่วไหล/แจ้งเตือนหน่วยงาน จำนวน 1,158 เรื่อง
                                - หน่วยงานแก้ไขแล้ว จำนวน 781 เรื่อง
                                - พบกรณีซื้อ - ขายข้อมูลส่วนบุคคล 3 เรื่อง ซึ่งอยู่ระหว่างสืบสวนดำเนินคดีร่วมกับกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.)
                      ทั้งนี้ ภายใน 30 วัน ศูนย์ PDPC Eagle Eye มีเป้าหมายตรวจสอบ ให้ครบ 9,000หน่วยงาน
                     2. ให้สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวัง และวิเคราะห์ความเสี่ยงของพฤติกรรมหรือช่องโหว่ต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดข้อมูลรั่วไหลของหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานภาครัฐที่เป็นหน่วยงานในลักษณะหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (Critical Information Infrastructure: CII) ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงภาครัฐ ด้านบริการภาครัฐที่สำคัญ ด้านการเงินการธนาคาร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ด้านพลังงานและสาธารณูปโภค และด้านสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงาน CII จำนวน 54 หน่วยงาน หากพบข้อบกพร่องของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ หรือข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ เร่งประสานแจ้งเตือนช่องโหว่หรือการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลแก่หน่วยงานนั้น เพื่อระงับยับยั้งไม่ให้เกิดความเสี่ยงหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยเร็ว จากการเฝ้าระวังตรวจสอบที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติตรวจพบการโจมตีไซเบอร์เกี่ยวกับข้อมูลรั่วไหล (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 9 - 20 พฤศจิกายน 2566) ดังนี้
                     1. การตรวจสอบช่องโหว่ จำนวน 91 หน่วยงาน ซึ่ง สกมช. พบว่าทั้ง 91 หน่วยงานมีความเสี่ยง โดยมีความเสี่ยงระดับสูง จำนวน 21 หน่วยงาน และ สกมช. ได้แจ้งแก้ไขทั้ง 91 หน่วยงานแล้ว
                     2. การตรวจพบการโจมตีทางไซเบอร์ เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 11 เหตุการณ์ โดยแบ่งเป็น
                                - กรณีข้อมูลรั่วไหล (Data Leak) ส่ง สคส. เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย จำนวน              8 เหตุการณ์
                                 - กรณีข้อมูลถูกละเมิดหรือถูกโจมตี (Data Breach) ส่ง บช.สอท. สืบสวนดำเนินคดี จำนวน 3 เหตุการณ์

                     3. ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมโรงแรมไทย รวมถึงเครือข่ายภาคสื่อมวลชนสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยของหน่วยงาน ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Awareness Training) เช่น การป้องกันการบุกรุกจากบุคคลภายนอก การตั้งค่าระบบอย่างปลอดภัย และการบังคับใช้กฎหมายตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ในวันที่ 16 พ.ย. 66 ได้มีการจัดอบรม DPO (Data Protection Officer) สำหรับหน่วยงานรัฐ ที่มีข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมาก จำนวน 85 หน่วยงาน เพื่อกำชับให้ดูแลข้อมูลส่วนบุคคลอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และให้ความรู้ตลอดจนแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง
                     4. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเร่งรัดมาตรการปิดกั้นกรณีการซื้อ - ขายข้อมูลส่วนบุคคลที่ผิดกฎหมาย และสืบสวนดำเนินคดี ตลอดจนจับกุมผู้กระทำความผิดโดยเร็ว
                     ระยะ 6 เดือน
                     เพื่อป้องกันและลดปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลจากการที่หน่วยงานภาครัฐส่งข้อมูลแก่หน่วยงานภายนอก หรือขาดบุคลากรในการกำกับดูแลงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของหน่วยงาน เห็นควรส่งเสริมการใช้งานระบบคลาวด์กลางภาครัฐที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นระบบที่มีความมั่นคงปลอดภัยตามหลักวิชาการสากล สามารถรองรับการใช้งานของบุคลากรของหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัยไม่เกิดการโจรกรรมหรือการรั่วไหลของข้อมูล
                     ระยะ 12 เดือน
                     ประเมินและปรับปรุง พัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สามารถบังคับใช้กฎหมายให้ทันสมัยต่อบริบทของสังคมและพฤติการณ์ที่เปลี่ยนไป เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ. 2562 เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบและป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่ดียิ่งขึ้น

37. เรื่อง รายงานสถานการณ์ส่งออกของไทย ประจำเดือนกันยายนและ 9 เดือนแรกของปี 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์ส่งออกของไทย ประจำเดือนกันยายนและ 9 เดือนแรกของปี 2566 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนกันยายน 2566
                       การส่งออกของไทยในเดือนกันยายน 2566 มีมูลค่า 25,476.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (888,666 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 2.1 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 1.0 การส่งออกของไทยขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร โดยเฉพาะการส่งออกผลไม้ไปจีน อาทิ ทุเรียน และมังคุด รวมทั้งการส่งออกข้าวที่ขยายตัวได้ดีในตลาดแอฟริกาใต้และอินโดนีเซีย สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมดาวรุ่งที่ขยายตัวต่อเนื่องยังคงเป็นสินค้าที่เติบโตตามเมกะเทรนด์ เช่น โซลาเซลล์ และโทรศัพท์มือถือ อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตโลกเดือนนี้ยังอยู่ในภาวะหดตัว การฟื้นตัวของตลาดหลักยังเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง จากปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และการคงอัตราดอกเบี้ยสูงยาวนาน ชะลออุปสงค์ทั่วโลก ทั้งนี้ การส่งออกไทย 9 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 3.8 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 1.2
                              มูลค่าการค้ารวม
                              มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนกันยายน 2566 มีมูลค่าการค้ารวม  48,859.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 25,476.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 23,383.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 8.3 ดุลการค้า เกินดุล 2,092.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 9 เดือนแรกของปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 431,971.5 ล้านเหรียญสหรัฐ. หดตัวร้อยละ 4.9 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 213,069.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.8 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 218,902.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.0 ดุลการค้า ขาดดุล 5,832.7 ล้านเหรียญสหรัฐ
                              มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนกันยายน 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 1,713,976 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 5.3 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 888,666 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 825,310 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 10.2 ดุลการค้า เกินดุล 63,355 ล้านบาท ภาพรวม 9 เดือนแรกของปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 14,826,543 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 4.7 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 7,268,400 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 3.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 7,558,144 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 5.9ดุลการค้า ขาดดุล 289,744 ล้านบาท
                              การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
                              มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 12.0 โดยสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 17.7 และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 5.4 ทั้งนี้ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 166.2 (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ เวียดนาม และฮ่องกง) ข้าว ขยายตัวร้อยละ 51.4 (ขยายตัวในตลาดแอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย สหรัฐฯ มาเลเซีย และเบนิน) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 3.7 (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย และเกาหลีใต้)  น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 16.3 (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย กัมพูชา เวียดนาม ไต้หวัน และสิงคโปร์) ไขมันจากน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 12.8 (ขยายตัวในตลาดอินเดีย เกาหลีใต้ เวียดนาม เนเธอร์แลนด์ และฟิลิปปินส์) สิ่งปรุงรสอาหาร ขยายตัวร้อยละ 27.1 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร) ผักกระป๋องและผักแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 17.3 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย) นมและผลิตภัณฑ์นม ขยายตัวร้อยละ 3.1 (ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ ฮ่องกง เวียดนาม เมียนมา และอียิปต์) ผักสด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 7.9 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น ไต้หวัน สหรัฐฯ กัมพูชา และเมียนมา) ไข่ไก่สด ขยายตัวร้อยละ 52.7 (ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ ไต้หวัน มัลดีฟส์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 12.0 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ยางพารา หดตัวร้อยละ 30.3 (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และเกาหลีใต้) ไก่แปรรูป หดตัวร้อยละ 11.2 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ และไอร์แลนด์) อาหารสัตว์เลี้ยง หดตัวร้อยละ 7.9 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และเยอรมนี) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 3.9 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และกัมพูชา) ทั้งนี้ 9 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 2.0
                              การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
                              มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 0.3 แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 3.3 (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และซาอุดีอาระเบีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 27.3 (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง อิตาลี สหราชอาณาจักร เบลเยียม และญี่ปุ่น) เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 23.9  (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ และเม็กซิโก) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 46.4 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ ไต้หวัน อิตาลี และญี่ปุ่น) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัวร้อยละ 28.8 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน  ไต้หวัน  เกาหลีใต้  และเม็กซิโก) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 24.3 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น) ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัวร้อยละ 5.5 (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ออสเตรเลีย เวียดนาม และเนเธอร์แลนด์) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 27.7 (หดตัวในตลาดออสเตรเลีย สหรัฐฯ เวียดนาม ญี่ปุ่น และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 34.6 (หดตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และเบลเยียม) ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม หดตัวร้อยละ 15.8 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ อินเดีย เวียดนาม และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ทั้งนี้ 9 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 3.7
                              ตลาดส่งออกสำคัญ
                                        การส่งออกไปยังตลาดสำคัญขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะตลาดจีนที่ขยายตัวต่อเนื่อง และการกลับมาขยายตัวในรอบหลายเดือนของตลาดอาเซียน (5) และเอเชียใต้ อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังหลายตลาดยังคงมีความไม่แน่นอน จากปัจจัยกดดันของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 4.2 โดยกลับมาหดตัวในตลาดสหรัฐฯ  และญี่ปุ่น กลับมาหดตัวร้อยละ 10.0 และร้อยละ 5.0 ตามลำดับ และหดตัวต่อเนื่องในตลาด CLMV และสหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 18.1 และร้อยละ 9.3 ตามลำดับ ในขณะที่ขยายตัวในตลาดจีนและอาเซียน (5) ร้อยละ 14.4 และร้อยละ 4.1 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 10.5 โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 7.8 แอฟริกา ร้อยละ 23.0 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 4.6 และรัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 33.9 ขณะที่ทวีปออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง และสหราชอาณาจักร หดตัวร้อยละ 11.8 ร้อยละ 5.9 และร้อยละ 15.0 ตามลำดับ (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 423.6 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 749.8
                    2. มาตรการส่งเสริมการส่งออกและแนวโน้มการส่งออกระยะต่อไป
                       การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ (1) การจับมือร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ในการผลักดันและแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า (2) การนำคณะผู้แทนการค้าไทยไปยังซาอุดีอาระเบีย และอียิปต์ พร้อมด้วยผู้ประกอบการไทยกว่า 26 บริษัท เข้าร่วมงาน Saudi-Thai Business Matching 2023 ณ ซาอุดีอาระเบีย และงาน Thai-Egyptian B2B Matching Event 2023 ณ อียิปต์ เพื่อเจรจาการค้าและขยายตลาดส่งออกสินค้าในกลุ่มอาหารฮาลาล ผลไม้ สินค้าใช้ในบ้าน และชิ้นส่วนยานยนต์ (3) ยกระดับความร่วมมือกับผู้ประกอบการแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศลงนาม MOU ร่วมกับบริษัท ลาซาด้า จำกัด ในการร่วมมือส่งเสริมการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนเพื่อเปิดโอกาสให้สินค้าของผู้ประกอบการไทยทุกระดับได้มีโอกาสขยายตลาดสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านร้าน TOPTHAI Store บนแพลตฟอร์มลาซาด้า (4) นำคณะผู้ส่งออกร่วมงานแสดงสินค้าจีน-อาเซียน ครั้งที่ 20 ณ นครหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีผู้ส่งออกเข้าร่วม 76 ราย 4 กลุ่มสินค้า คาดว่าจะสร้างยอดขายไม่ต่ำกว่า 150 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีการสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจสมัยใหม่ อาทิ เทคโนโลยีขั้นสูง ความมั่นคงด้านห่วงโซ่อุปทาน การค้าดิจิทัล การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามแดน
                              แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า การส่งออกในไตรมาส 4 ของปี 2566 จะมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการทยอยฟื้นตัวของประเทศคู่ค้า ที่ต่างออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และอุปสรรคด้านห่วงโซ่อุปทานคลี่คลายลงจากปีก่อนหน้าที่ต้องเผชิญกับโควิด-19 ขณะที่กระแสความมั่นคงทางอาหาร และแรงส่งจากภาคบริการและท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปลายปีจะช่วยหนุนการส่งออกสินค้าเกษตร และอาหารที่ไทยมีศักยภาพ สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมยังสามารถเติบโตได้ตามเทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัลและพลังงานสะอาด โดยกระทรวงพาณิชย์ทำงานอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าและเดินหน้าเจรจาความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งติดตามเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ ๆ จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-กลุ่มฮามาส ซึ่งอาจขยายวงกว้างจนส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการค้าของโลกในระยะถัดไป

ต่างประเทศ
38. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียน - ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ (ASEAN - Japan Special Meeting of Justice Ministers: AJSMJ) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบผลการประชุมรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียน - ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ ASEAN - Japan Special Meeting of Justice Ministers: AJSMJ (การประชุม AJSMJ) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    2. มอบหมายให้ ยธ. เป็นหน่วยงานในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินความร่วมมือตามแผนงานอาเซียน - ญี่ปุ่น ด้านกฎหมายและงานยุติธรรม (แผนงานอาเซียนฯ) ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าวต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ยธ. รายงานว่า
                    1. การประชุม AJSMJ จัดขึ้นในวาระครบรอบ 50 ปี แห่งมิตรภาพและความร่วมมืออาเซียน - ญี่ปุ่น โดยกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพ และมาเลเซียเป็นประธานร่วม ระหว่างวันที่ 5-7 กรกฎาคม 2566              ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในส่วนของไทยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ในขณะนั้น เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยผลการประชุม AJSMJ และการประชุมที่เกี่ยวข้องสรุปได้ ดังนี้
                              1.1 การประชุมประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Coordination Meeting) ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาร่างเอกสารผลลัทธ์การประชุม AJSMJ เป็นครั้งสุดท้าย จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ 1) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AJSMJ และ 2) แผนงานอาเซียนฯ โดยเห็นพ้องที่จะคงไว้ซึ่งสาระสำคัญของเอกสารทั้ง 2 ฉบับ ตามที่ได้เคยหารือกันไว้ในที่ประชุมเตรียมการสำหรับการประชุม AJSMJ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 และมีการปรับแก้ไขในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและตรงกับความเป็นจริง ดังนี้ (1) แถลงการณ์ร่วมฯ ในย่อหน้าที่ 1 (อารัมภบท) จากเดิมที่ได้ระบุวันที่การประชุม AJSMJ คือ ?6th and 7 th of July 2023? ปรับแก้ไขเป็น ?6th of July 2023? และจากเดิมที่ได้ระบุชื่อประเทศประธานร่วมกับญี่ปุ่นคือ ?ZZZZ? ปรับแก้ไขเป็น ?Malaysia? และในย่อหน้าสุดท้ายจากเดิมที่ได้ระบุสถานที่ในการรับรองเอกสาร คือ ?[city], [country], [date] and [month)? ปรับแก้ไขเป็น ?Tokyo, Japan this 6th of July...? และ (2) แผนงานอาเซียนฯ ย่อหน้าที่ 1 จากเดิมที่ได้ระบุวันที่การประชุม AJSM คือ ?July 6-7, 2023? ปรับแก้ไขเป็น ?July 6, 2023?
                              1.2 การประชุม AJSMJ โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธาน (ASEAN Law Ministers? Meeting : ALAWMM) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น (นายเคน ไซโต) เป็นประธานร่วม ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมสรุปว่า ?ไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น มีความยินดีที่เป็นส่วนหนึ่งโอกาสการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ระหว่างกันในครั้งนี้โดยไทยมีการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่สังคมที่มีความมั่นคงและปลอดภัย เช่น การมีผลใช้บังคับของพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 และการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน เป็นต้น เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและสังคมที่สงบสุขและตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง? ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีมติต่อเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม AJSMJ 2 ฉบับ ได้แก่ (1) รับรองแถลงการณ์ร่วมการประชุม AJSMJ และ (2) เห็นชอบแผนงานอาเซียนฯ
                              1.3 การประชุมพบปะระหว่างรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียนและกลุ่มประเทศ G7 (ASEAN - G7 Justice Ministers? Interface: Interface) โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธาน ALAWMM และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น ในฐานะประธาน G7 ปี 2566 เป็นประธานร่วม ซึ่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (นายฟุมิโอะ คิชิดะ) ได้กล่าวถ้อยแถลงในพิธีเปิดการประชุมฯ โดยเน้นย้ำว่า การประชุมในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนและ G7 ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นในด้านกฎหมายและงานยุติธรรม ทั้งในมิติทางวัฒนธรรมและระบบกฎหมายที่มีความแตกต่าง
                              1.4 การหารือทวิภาคี หัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้เข้าร่วมประชุมหารือทวิภาคีกับหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ในห้วงการประชุม AJSMJ และการประชุม Interface ดังนี้
                                        (1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น ในประเด็นการส่งเสริมการดำเนินงานต่อยอดให้เกิดผลเป็นรูปธรรมภายหลังจากการประชุม AJSMJ และการประชุม Interface สิ้นสุดลง และการดำเนินงานภายใต้บันทึกความร่วมมือฯ ระหว่าง ยธ. -ญี่ปุ่น ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของทั้งสองประเทศได้ลงนามไว้ร่วมกันเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2562
                                        (2) ผู้อำนวยการของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) (Ms. Ghada Waly ในประเด็นการบริหารจัดการเรือนจำและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติผ่านกรอบความร่วมมือต่าง ๆ การต่อต้านการทุจริต และการแสดงความพร้อมที่สนับสนุนไทยในการดำเนินการประเด็นอื่น ๆ เช่น การสนับสนุนการดำเนินงานตามประมวลกฎหมายยาเสพติด การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการต่อต้านการลักลอบขนขยะ และอาชญากรรมภาคประมง และการส่งเสริมให้ไทยเป็นภาคีพิธีสารต่อต้านการผลิตและลักลอบค้าอาวุธปืน ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ และเครื่องกระสุนโดยผิดกฎหมาย
                    2. การเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวปฏิบัติ เพื่อนำมาประกอบการพัฒนาการดำเนินงานด้านกฎหมายและงานยุติธรรมที่เกี่ยวข้องของไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีต่าง ๆ ของสากล ดังนั้น จึงจะต้องขอความร่วมมือการบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานด้านกฎหมายและงานยุติธรรม รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องของไทยภายใต้กรอบความร่วมมือนี้ต่อไป

39.  เรื่อง  ขอความเห็นชอบร่างกรอบความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ รอบปี ค.ศ. 2023-2029 (Country Programme Framework: CPF)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกรอบความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) (กรอบความร่วมมือฯ) รอบปี ค.ศ. 2023-2029 (Country Programme Framework: CPF) (ปี 2566-2572) รวมทั้งมอบหมายให้เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในกรอบความร่วมมือฯ ดังกล่าวตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    อว. รายงานว่า
                    ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ IAEA เมื่อปี 2500 จากนั้นได้ลงนามในความตกลงเสริมฉบับแก้ไขเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคโดย IAEA1 ในปี 2523 และได้เข้าร่วมโครงการความร่วมมือทางวิชาการ (Technical Cooperation: TC) กับ IAEA ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ทั้งนี้ กรอบความร่วมมือฯ เป็นกรอบความร่วมมือฉบับที่ 4 ของประเทศไทย (3 ฉบับแรก จัดทำเมื่อปี 2549-2554 ปี 2555 -2559 และปี 2560-2565 ตามลำดับ2) โดยกรอบความร่วมมือฯ ประกอบด้วยโครงการความร่วมมือทางเทคนิคสำหรับปี 2566-2572 ระหว่างไทยกับ IAEA ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์สามารถมีส่วนร่วมโดยตรงและมีความคุ้มค่าต่อลำดับความสำคัญและเป้าหมายการพัฒนาประเทศของไทยในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ได้ประสานงานและจัดประชุมเพื่อจัดทำกรอบความร่วมมือฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 รวมทั้งได้ส่งร่างกรอบความร่วมมือฯ ให้ IAEA ทบทวนและให้ความเห็นเพิ่มติมเพื่อนำมาปรับปรุงร่างดังกล่าวให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์และสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติ นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศ และพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2562 รวมถึงกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่เกี่ยวข้อง โดยคาดว่าจะมีการลงนามกรอบความร่วมมือฯ ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2566
                    สาระสำคัญของกรอบความร่วมมือฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการในด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสีซึ่งครอบคลุมทุกสาขา เช่น ด้านการเกษตร โภชนาการ การแพทย์ อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม การวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้อง โดยจัดทำในรูปแบบโครงการ TC กรอบระยะเวลา ค.ศ. 2023-2023 (ปี 2566-2572) โดยประเด็นหลักของกรอบความร่วมมือฯ ได้แก่ ความปลอดภัยและความมั่นคงด้านนิวเคลียร์และรังสี  อาหารและการเกษตร สุขภาพและโภชนาการ การจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อมทางทะเล  อุตสาหกรรมและพลังงาน

1ความตกลงเสริมฉบับแก้ไขเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคโดย IAEA คือข้อตกลงระหว่าง IAEA กับรัฐบาลไทยในการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคในการใช้พลังงานปรมาณูอย่างสันติ เช่น การใช้งาน การบำรุงรักษา การจัดเก็บ การกำจัดอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานปรมาณู
2จากการประสานข้อมูลเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ปส. แจ้งว่า กรอบความร่วมมือฯ 3 ฉบับแรก ไม่ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเนื่องจากอยู่ในอำนาจของเลขาธิการสำนักงานปรมาญเพื่อสันติที่สามารถลงนามในกรอบความร่วมมือฯ ได้ ภายหลังจากที่คณะอนุกรรมการว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศได้ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่โดยที่ร่างกรอบความร่วมมือฯ ฉบับที่ 4 กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)เห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ปส. ในฐานะส่วนราชการเจ้าของเรื่องจึงควรพิจารณาเสนอร่างกรอบความร่วมมือฯ ดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วย

40. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติกับกระทรวงการต่างประเทศ การค้า และการพัฒนาแห่งประเทศแคนาดา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กับกระทรวงการต่างประเทศ การค้า และการพัฒนาแห่งประเทศแคนาดา (Department of Foreign Affairs, Trade and Development of Canada: DFATD) (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้ อว. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งเห็นชอบให้เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
                    1. เรื่องเดิม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติ (12 พฤษภาคม 2563) เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่าง DFATD กับ ปส. โดยมีกำหนดระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2563 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 เพื่อสร้างกรอบความร่วมมือเกี่ยวกับการให้บริการและการฝึกอบรมที่ไม่เป็นตัวเงินและแบบให้เปล่าเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศไทยในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีผ่านการพัฒนาหลักสูตร การจัดตั้ง และการดำเนินงานของศูนย์สนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์
                    2. สาระสำคัญของเรื่อง
                    อว. รายงานว่า
                    ภายหลังจากที่ อว. โดย ปส. ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่าง DFATD กับ ปส. เพื่อขอรับการสนับสนุนความช่วยเหลือในการจัดตั้งและการดำเนินงานของศูนย์สนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของไทยจาก DFATD (ตามข้อ 1) ปส. ได้รับการสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ เช่น การพัฒนาระบบตามมาตรฐาน ISO 299931 การรับรองมาตรฐานสำหรับหลักสูตรการฝึกอบรมด้านความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ปี 2565 การพัฒนาหลักสูตรการจัดการความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุกัมมันตรังสีและการจัดฝึกอบรมในหัวข้อดังกล่าว รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรให้เป็นวิทยากรด้านการจัดการความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุกัมมันตรังสี จำนวน 9 ราย ทั้งนี้ เนื่องจากบันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้สิ้นอายุเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 ดังนั้น ปส. และ DFATD จึงเห็นพ้องที่จะจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับใหม่ เพื่อให้การดำงานตามบันทึกความเข้าใจฯ เป็นไปด้วยความต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566
                    ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้มีความแตกต่างจากฉบับเดิมในเรื่องระยะเวลามีผลผูกพัน จากเดิมที่มีกำหนดระยะเวลาไว้ชัดเจน แก้ไขเป็นไม่มีกำหนดระยะเวลา โดยจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งความประสงค์ขอยกเลิกร่างบันทึกความเข้าใจฯ นี้ รวมทั้งได้เพิ่มเติมให้ ปส. มีบทบาทในการอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม รวมถึงการยกเว้นภาษีนำเข้า ภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และภาษีอื่นใดที่อาจเกิดขึ้นจากการขนส่งอุปกรณ์หรือการให้บริการอันเนื่องมาจากการให้ความช่วยเหลือจาก DFATD โดยสาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ       มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความร่วมมือที่ไม่ใช่ทางการเงินและการสนับสนุนอุปกรณ์ การให้บริการและการฝึกอบรมแบบให้เปล่า เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของไทยในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี และจะทำให้เกิดความต่อเนื่องในการทำงาน ซึ่งจะเป็นประโยซน์ต่อการดำเนินงาน รวมถึงเพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างสมรรถนะด้านความมั่นคงทางนิวเคลียร์ของไทยและการฝึกอบรมระดับชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจของ ปส. เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากนิวเคลียร์และรังสี
1ISO 29993 คือ ข้อกำหนดด้านคุณภาพสำหรับหน่วยงานที่ให้บริการด้านการเรียนรู้นอกเหนือจากการศึกษาปกติ เช่น การฝึกอบรมเชิงวิชาชีพ การฝึกอบรมภายในองค์กร และการให้บริการฝึกอบรมภายนอกองค์กร โดย ปส. ได้รับการรับรองคุณภาพตามข้อกำหนดมาตรฐาน ISO 29993 สำหรับการจัดฝึกอบรมหลักสูตรด้านความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์

41. เรื่อง ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 28
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย (คณะกรรมการฯ) [รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุหิน) เป็นประธานกรรมการ] เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (การประชุมคณะมนตรีฯ) ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับหุ้นส่วนการพัฒนา (การประชุมคณะมนตรีฯ กับหุ้นส่วนการพัฒนา) ครั้งที่ 28
                    2. รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะมนตรีฯ ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรีฯ กับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 28
                    3. เห็นชอบให้คณะผู้แทนไทยหารือกับประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงตามประเด็นในกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรีฯ ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรีฯ กับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 28 เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานและความร่วมมือเป็นไปตามพันธกรณีของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538 (ความตกลงฯ)
                    4. อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ในฐานะสมาชิกคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เป็นผู้ลงนามรับรองรายงานการประชุม โดยที่เอกสารดังกล่าวมิได้ใช้ถ้อยคำก่อให้เกิดพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เข้าข่ายหนังสือสัญญา
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คณะกรรมการฯ รายงานว่า
                    1. รัฐบาลไทยได้ลงนามความตกลงฯ ร่วมกับ กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และเวียดนาม เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2538 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินความร่วมมือในทุกด้านของการพัฒนาที่ยั่งยืน การใช้การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องของลุ่มแม่น้ำโขงเป็นผลให้มีการก่อตั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (คณะกรรมาธิการฯ) (Mekong River Commission: MRC) มีสถานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศ ในการสนับสนุนการดำเนินงานและความร่วมมือให้เป็นไปตามพันธกรณีของความตกลงฯ โดยโครงสร้างการบริหารของคณะกรรมาธิการฯ แบ่งออกเป็นองค์กรบริหารถาวร 3 องค์กร คือ (1) คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วย ผู้แทนจากประเทศสมาชิกในระดับรัฐมนตรี ประเทศละ 1 คน [ในส่วนของไทย คือ รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน)] (2) คณะกรรมการร่วม (Joint Committee) ประกอบด้วย ผู้แทนจากประเทศสมาชิกในระดับอธิบดีขึ้นไป ประเทศละ 1 คน (ในส่วนของไทย คือ นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ) และ (3) สำนักงานเลขาธิการ (Secretariat)1 มีหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ซึ่งคณะมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่บริหารงานและเป็นหน่วยงานปฏิบัติการของคณะกรรมาธิการฯ โดยที่ในแต่ละปีผู้แทนในคณะมนตรี จะหมุนเวียนทำหน้าที่ประธานคณะมนตรี ตามลำดับตัวอักษรของประเทศสมาชิก เพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายและตัดสินใจการดำเนินงานตามความตกลงฯ ให้บรรลุผลสำเร็จ
                    2. การประชุมคณะมนตรีฯ ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรีฯ กับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 282 มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือและกำหนดนโยบายความร่วมมือในการบริหารองค์กรของคณะกรรมาธิการฯ และกำหนดแนวทางความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา รวมถึงหุ้นส่วนการพัฒนา3และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยมีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องหรือผู้แทนจากประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย กัมพูชา สปป.ลาว เวียดนาม และประเทศไทย รวมทั้งประเทศคู่เจรจา (สาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพเมียนมา)และหุ้นส่วนการพัฒนา เข้าร่วมการประชุม โดยมีระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่จำเป็นต้องมีการหารือในระดับนโยบายเพื่อกำหนดท่าทีของประเทศ จำนวน 1 เรื่อง คือ การสรรหาตำแหน่ง CEO ของสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการฯ (สำนักงานฯ) โดยมีกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรีฯ ครั้งที่ 30 ดังนี้ 1) การปรับปรุงร่างขอบเขตงาน (Term of Reference: TOR) ของ CEO4 2) กระบวนการคัดเลือก CEO ของสำนักงานฯ
1สำนักงานเลขาธิการ (Mekong River Commission Secretariat: MRCS) ตั้งอยู่ที่เวียงจันทน์ สปป.ลาว และกรุงพนมเปญ กัมพูชา
2เป็นการประชุมสมัยสามัญของคณะมนตรีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี
3เช่น ออสเตรเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น โดยจะบริจาคเงินทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ของคณะกรรมาธิการฯ
4เมื่อการดำรงตำแหน่ง CEO หมุนเวียนไปถึงประเทศใด ประเทศนั้นจะสามารถปรับปรุงร่างขอบเขตงานของ CEO ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของประเทศนั้น ๆ ได้

42. เรื่อง การแก้ไขสัญญาประธานในการจ้างธนาคารโลกเป็นที่ปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่าย (Amendments to the Framework Agreement for Reimbursable Advisory Services)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างสัญญาประธานในการจ้างธนาคารโลกเป็นที่ปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่าย ฉบับแก้ไข ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงร่างสัญญาประธานในการจ้างธนาคารโลกเป็นที่ปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่าย ฉบับแก้ไข ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยขอให้กระทรวงการคลังสามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสม รวมทั้งรับทราบว่าไม่จำเป็นต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจเต็ม เนื่องจากในทางปฏิบัติเป็นที่ยอมรับกันระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคารโลก และอนุมัติให้ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังลงนามในร่างสัญญาประธานในการจ้างธนาคารโลกเป็นที่ปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่าย ฉบับแก้ไขตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ความเป็นมา
                              1) ธนาคารโลกมีบริการเป็นที่ปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยงานรัฐของประเทศสมาชิก โดยการให้บริการดังกล่าวจะต้องทำสัญญาจ้างตามแบบสัญญามาตรฐานของธนาคารโลก ขณะที่หน่วยงานรัฐของประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ซึ่งได้กำหนดให้ใช้รูปแบบสัญญามาตรฐานซึ่งกำหนดโดยคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นรายกรณี ดังนั้น เพื่อลดความซับซ้อนของกระบวนการจ้างธนาคารโลกเป็นที่ปรึกษา ธนาคารโลกจึงได้ร่วมกับกระทรวงการคลังและสำนักงานอัยการสูงสุด จัดทำสัญญาประธานฯ เพื่อใช้เป็นสัญญามาตรฐานสำหรับหน่วยงานรัฐในการจ้างธนาคารโลกเป็นที่ปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่าย
                              2) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 เห็นชอบร่างสัญญาประธานฯ และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ลงนาม ตามที่กระทรวงการคลังสนอ โดยกระทรวงการคลังได้ลงนามในสัญญาประธานฯ ดังกล่าว เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561
                              3) เนื่องจากสัญญาประธานฯ จะครบกำหนดอายุสัญญาในวันที่ 22 พฤศจิกายน2566 ธนาคารโลกจึงได้มีหนังสือเลขที่ 343/ 2023 ลงวันที่ 6 เมษายน 2566 ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เรื่องการแก้ไขสัญญาประธานฯ เพื่อพิจารณาขยายกำหนดอายุของสัญญาประธานฯ และแก้ไขเนื้อหาบางส่วนของสัญญาประธานฯ
                              4) ตั้งแต่มีการลงนามในสัญญาประธานฯ ปัจจุบันมีการดำเนินโครงการจ้างธนาคารโลกเป็นที่ปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 23 โครงการ คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งหมด 9.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในปี 2566 มีการทำสัญญาจ้างธนาคารโลกเป็นที่ปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 4 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นโครงการในภาคการศึกษา การพัฒนานวัตกรรมและนโยบายทางวิทยาศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น
                    2. สัญญาประธานฯ เป็นการกำหนดเงื่อนไข และภาระหน้าที่ต่าง ๆ ระหว่างหน่วยงานรัฐของประเทศไทยในฐานะผู้รับบริการ และธนาคารโลกในฐานะผู้ให้คำปรึกษา ซึ่งครอบคลุมถึงการให้คำปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่าย การติดต่อผู้รับบริการ ระยะเวลาการบริการให้คำปรึกษา การชำระเงิน การมีผลและการสิ้นสุดของสัญญา และความร่วมมือของหน่วยงานรัฐ

43. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 8
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ทั้ง 3 ฉบับ 1) ร่างแถลงข่าวร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 8 2) ร่างแผนดำเนินการ 5 ปี กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (ค.ศ. 2023-2027) 3) ร่างข้อริเริ่มร่วมเรื่องการพัฒนาระเบียงนวัตกรรมภายใต้กรอบความร่วมมือแหม่โขง-ล้านช้าง หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
                    2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างแถลงข่าวร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านข้าง ครั้งที่ 8 ตามที่ประเทศสมาชิกมีฉันทามติ
                    3. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองร่างแผนดำเนินการ 5 ปี กรอบความร่วมมือแม่โขงล้านช้าง (ค.ศ. 2023-2027) และร่างข้อริเริ่มร่วม เรื่องการพัฒนาระเบียงนวัตกรรมภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง หากประธานร่วมพิจารณาแล้วเสนอให้มีการรับรองเอกสารข้างต้นในระดับรัฐมนตรี เนื่องจากคาดว่า ไม่น่าจะสามารถจัดการประชุมผู้นำฯ ร่วมกันได้ในอนาคตอันใกล้ อย่างไรก็ดี หากประธานร่วมสามารถจัดการประชุมผู้นำฯ ได้ในอนาคตอันใกล้ ขอให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองเอกสารข้างต้นในการประชุมผู้นำฯ ตามที่ประเทศสมาชิก
มีฉันทามติ
                    สาระสำคัญ
                    กรอบ MLC ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และลดความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศฯ ครั้งแรก เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 และการประชุมผู้นำฯ ครั้งแรก เมื่อเดือนมีนาคม 2559
                    ฝ่ายจีนเสนอให้การประชุมรัฐมนตรีฯ ครั้งที่ 8 รับรองร่างแถลงข่าวร่วมฯ 1 ฉบับ และหากยังไม่สามารถจัดการประชุมผู้นำฯ ได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ฝ่ายจีนจะเสนอให้มีการรับรองร่างแผนดำเนินการ 5 ปีฯ และร่างข้อริเริ่มร่วมการพัฒนาระเบียงนวัตกรรมฯ ในการประชุมรัฐมนตรีฯ ครั้งที่ 8 ด้วย
                    ทั้งนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประธานร่วมของกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong-Lancang Cooperation: MLC) เสนอให้จัดการประชุมรัฐมนตรีฯ ครั้งที่ 8 ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ณ เมืองฉงจั่ว เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง สาธารณรัฐประชาชนจีน

แต่งตั้ง
44. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. นายธงทอง นิพัทธรุจิ     2. นายกฤตนัน สุทธิธนาเลิศ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป

45. เรื่อง การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร (นักบริหาร ระดับสูง และนักบริหารการทูต ระดับสูง) กระทรวงการต่างประเทศ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้
                      1. การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมัสกัต รัฐสุลต่านโอมาน ของนายสุวัฒน์ แก้วสุข ตั้งแต่วันที่ 25 กฎาคม 2566 ถึงวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 ซึ่งเป็นการขอต่อเวลาครั้งที่ 2
                     2. การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ของนายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2566 จนถึงวันที่ 25 กันยายน 2567 ซึ่งเป็นการขอต่อเวลาครั้งแรก
                     3. การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ                      รัฐอิสราเอล ของนางสาวพรรณนภา จันทรารมย์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 ซึ่งเป็นการขอต่อเวลาครั้งแรก
                     4. การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล ราชอาณาจักรนอร์เวย์ ของนางสาววิมลพัชระ รักษาเกียรติ ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งเป็นการขอต่อเวลาครั้งแรก
                     5. การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิสบอน สาธารณรัฐโปรตุเกส ของนางครองขนิษฐ รักษ์เจริญ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2567 ซึ่งเป็นการขอต่อเวลาครั้งแรก
                     6. การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา แคนาดา ของนายกัลยาณะ วิภัติภูมิประเทศ ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2567 จนถึงวันที่ 17 มกราคม 2568 ซึ่งเป็นการขอต่อเวลาครั้งแรก

46. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันอนุญาโตตุลาการ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันอนุญาโตตุลาการ จำนวน 5 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้
                    1. นายวัลลภ นาคบัว
                    2. นายพิศุทธ์ อรรถกมล                       (กรรมการจากผู้แทนภาคเอกชน)
                    3. นายสมพร สืบถวิลกุล                      (กรรมการจากผู้แทนภาคเอกชน)
                    4. นางสาวนภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์           (กรรมการจากผู้แทนภาคเอกชน)
                    5. นายไกรรวี ศิริกุล                     (กรรมการจากผู้แทนภาคเอกชน)
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป และให้สถาบันอนุญาโตตุลาการรับข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (21 พฤศจิกายน 2566)  เวลา 09.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล  ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความใน                                                            พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย                                                  พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
                    2.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน                                         พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่                                        แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 และที่แก้ไข                                        เพิ่มเติม
                    3.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาในการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามความใน                                                  พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความ                                                  ร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. 2527
                    4.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตาม                                                            พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก
                                        พ.ศ. 2560
                    5.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค                                         พ.ศ. 2534 พ.ศ. ....
                    6.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง                                                   พ.ศ. ....
                    7.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติ                                                  ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติระบบการชำระเงิน
                                        พ.ศ. 2560
                    8.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ                                        หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
                                        พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ                                                  พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)
                    9.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎอื่นใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่ง                                                  พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของ                                        กฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ. 2551)
                    10.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราช                                                  กำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และแก้ไข                                                  เพิ่มเติม
                    11.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตาม                                                            พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
                    12.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 22                                         วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการ                                                  ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้                                                   พ.ศ. 2558)
                    13.           เรื่อง           ขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22                                                   วรรคสอง แห่งหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของ                                        กฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)
                    14.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความใน                                                  กฎหมายที่กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบ
                    15.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความใน                                                            พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ                                                   (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562
                    16.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตาม                                                            พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไข                                        เพิ่มเติม
                    17.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความใน                                                  มาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ                                                   พ.ศ. 2535
                    18.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตาม                                                            พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติการ                                        ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559
                    19.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง (กระทรวงการพัฒนา                                                  สังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
                    20.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง (กระทรวงการพัฒนา                                                  สังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
                    21.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย                                                  การยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของ                                                  ประเทศไทย)
                    22.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..)                                                   พ.ศ. .... (สมรสเท่าเทียม)
                    23.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตาม                                                            พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561
                    24.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความ                                                            พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544
                    25.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความใน                                                            พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย                                        และนวัตกรรม พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562
                    26.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความใน                                                  พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ                                                  หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
                                        พ.ศ. 2562
                    27.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22                                         วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการ                                                  ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (สำนักงาน ก.พ.)
                    28.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติ                                        ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553                                         และที่ออกตามพระราชบัญญัติการบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่                                        กระทำผิด พ.ศ. 2561
                    29.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติ                                                  กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                                                   พ.ศ. 2542
                    30.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความใน                                                            พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 และ                                        พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม                                                  แห่งชาติ พ.ศ. 2562
                    31.           เรื่อง           ขอขยายระยเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22                                         วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการ                                                  ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติการประปาส่วน                                                  ภูมิภาค พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ. 2526)

เศรษฐกิจ-สังคม
                    32.           เรื่อง           รายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                                        ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562 - 2565)
                    33.           เรื่อง           การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
                    34.           เรื่อง           รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนสิงหาคม 2566
                    35.           เรื่อง           รายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    36.           เรื่อง           การป้องกันและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
                    37.           เรื่อง           รายงานสถานการณ์ส่งออกของไทย ประจำเดือนกันยายนและ 9 เดือนแรกของ
                                        ปี 2566

ต่างประเทศ
                    38.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียน - ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ (ASEAN - Japan                                                   Special Meeting of Justice Ministers: AJSMJ) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    39.            เรื่อง            ขอความเห็นชอบร่างกรอบความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับทบวง                                        การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ รอบปี ค.ศ. 2023-2029 (Country                                                   Programme Framework: CPF)
                    40.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติกับ                                                  กระทรวงการต่างประเทศ การค้า และการพัฒนาแห่งประเทศแคนาดา
                    41.           เรื่อง           ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง                                         ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับหุ้นส่วนการ                                        พัฒนา ครั้งที่ 28
                    42.           เรื่อง           การแก้ไขสัญญาประธานในการจ้างธนาคารโลกเป็นที่ปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่าย                                                   (Amendments to the Framework Agreement for Reimbursable                                                   Advisory Services)
                    43.           เรื่อง           ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-
                                        ล้านช้าง ครั้งที่ 8

แต่งตั้ง
                    44.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                    45.           เรื่อง           การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร (นักบริหาร ระดับสูง และนักบริหาร                                        การทูต ระดับสูง) กระทรวงการต่างประเทศ
                    46.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันอนุญาโตตุลาการ

กฎหมาย
1. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ออกไป 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ
                    ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานเสนอขอขยายระยะเวลาในการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองระดับกฎกระทรวงและประกาศซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 55 ฉบับ (โดยอยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ จำนวน         4 ฉบับ อยู่ระหว่างเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานพิจารณาลงนามเพื่อนำลงประกาศราชกิจจานุเบกษา จำนวน 13 ฉบับ และอยู่ระหว่างจัดทำร่างของกรมธุรกิจพลังงาน จำนวน 38 ฉบับ) เนื่องจากเป็นกฎหมายเชิงเทคนิคด้านความปลอดภัยในการประกอบกิจการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง จึงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษามาตรฐานความปลอดภัยสากลเพื่อนำมาประกอบการยกร่าง รวมทั้งต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน เพื่อให้การจัดทำกฎหมายลำดับรองมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอันจะทำให้การประกอบกิจการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงมีความปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ประกอบกับขั้นตอนการจัดทำประกาศดังกล่าวจะต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงและคณะอนุกรรมการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงจึงไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จทัน ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานโดยกรมธุรกิจพลังงานได้ดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองที่มีผลใช้บังคับแล้ว จำนวน 83 ฉบับ จากจำนวน 138 ฉบับ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองจำนวน 55 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่               27 พฤศจิกายน 2566

2. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ
                    ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เป็นการขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 59 ฉบับซึ่งพระราชบัญญัติทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ
มีผลบังคับใช้ จึงจะครบกำหนดระยะเวลาการออกกฎหรือดำเนินการตามมาตรา 22 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย                พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน          59 ฉบับ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 โดยที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินการศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบเพื่อประกอบการยกร่างกฎหมายลำดับรอง จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ ประชาชน และหน่วยงานอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อนำมาประกอบการยกร่างกฎหมายลำดับรองเพื่อให้ร่างกฎหมายลำดับรองดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบกิจการโรงงาน หรือประชาชน รวมทั้งส่วนราชการสามารถควบคุมกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งต้องนำร่างกฎหมายลำดับรองนั้นเสนอคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาตามขั้นตอน จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการร่างกฎหมายลำดับรองในเรื่องนี้ จำนวน 59 ฉบับ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ได้ ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 59 ฉบับออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พะราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 59 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

3. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาในการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. 2527
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามความในมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. 2527 รวม 2 ฉบับ ตามความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
                     ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาจากความเห็นของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วเห็นว่า กระทรวงยุติธรรมมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการจัดทำกฎหมายลำดับรองเพียง 2 ฉบับ (จาก 10 ฉบับ) ได้แก่ 1. ประกาศกระทรวงกำหนดการจำแนกประเภทหรือชั้นของเรือนจำซึ่งต้องออกตามความในมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ฯ และ                    2. กฎกระทรวงกำหนดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการโอนนักโทษซึ่งต้องออกตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศฯ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

4. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง จำนวน           1 ฉบับ ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                     ทั้งนี้ สธ. เสนอว่า
                     1. พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2560 ซึ่งบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้ออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 13 ฉบับ สธ. ได้ยกร่างกฎหมายลำดับรองและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำนวน 12 ฉบับ ขณะนี้ยังมีกฎหมายลำดับรองที่อยู่ในขั้นตอนการจัดทำร่างกฎหมาย อีก 1 ฉบับ ได้แก่ ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกำหนดอาหารอื่นที่มีจุดมุ่งหมายในการใช้เลี้ยงเด็กเล็ก พ.ศ. .... เป็นการกำหนดความเฉพาะของอาหารสำหรับเด็กเล็ก1  ซึ่งเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในการประกาศกำหนด
                     2. การดำเนินการจัดทำร่างประกาศฯ ตามข้อ 1. คณะอนุกรรมการพัฒนาและให้ความเห็นในประเด็นข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กฯ เห็นว่า ร่างประกาศฉบับนี้ยังมีประเด็นด้านวิชาการเกี่ยวกับชนิดอาหารสำหรับเด็กเล็กที่ยังต้องควบคุม การกำหนดอาหารอื่นที่มีส่วนประกอบของสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอที่จะใช้เลี้ยงเด็กเล็กได้ต้องกำหนดจากช่วงอายุตามคำนิยามคำว่า ?เด็กเล็ก? คือ ในช่วงอายุของเด็กที่เกิน 12 เดือนถึง 3 ปี แต่ในท้องตลาดพบว่ามีผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายที่สามารถใช้เลี้ยงเด็กเล็กได้เป็นจำนวนมาก โดยบนฉลากของผลิตภัณฑ์จะระบุข้อความ ว่า ?สำหรับเด็กอายุ 1  ปีขึ้นไปและทุกคนในครอบครัว? ซึ่งมีความใกล้เคียงกับบรรจุภัณฑ์หรือฉลากนมผงสำหรับทารกอย่างแพร่หลาย ซึ่งนมผงสำหรับทารกเป็นผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายห้ามโฆษณา ประกอบกับร่างประกาศฉบับนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการสำรวจและเก็บข้อมูลเพื่อทำการวิจัย โดยงานวิจัยจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2566 เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพของกลุ่มวัยเด็กเล็ก และไม่เป็นการออกกฎหมายที่เกินขอบเขตหรือสร้างภาระเกินสมควรกับผู้ประกอบกิจการ แต่โดยที่พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ มีผลใช้บังคับ ดังนั้น การออกกฎหมายลำดับรองจึงต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 19 มกราคม 2564 และ            28 กุมภาพันธ์ 2566 สธ. จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป
1 ?อาหารสำหรับเด็กเล็ก? หมายความว่า นมหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ใช้เป็นอาหาร ทั้งนี้ ที่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าใช้ในการเลี้ยงเด็กเล็กและเฉพาะตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ

5. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไปได้
                      ทั้งนี้ ยธ. เสนอว่าได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. .... ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว และยืนยันให้ดำเนินการต่อไป ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ทั้งฉบับ เพื่อยกเลิกบทบัญญัติที่กำหนดความผิดทางอาญาที่เกิดจากการใช้เช็ค ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และข้อ 11 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ทั้งนี้ ได้ดำเนินการตามแนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว โดยมีการรับฟังความคิดเห็นก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี และในชั้นการตรวจพิจารณาของ สคก. ได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมทางเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (Iaw.go.th) ระหว่างวันที่ 2 - 16 สิงหาคม 2565 (รวม 15 วัน) และได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 พร้อมทั้งได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบแล้ว
                     สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                      1. ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534
                      2. กำหนดให้พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                     3. กำหนดมาตรการเพื่อรองรับกรณีที่เจ้าหนี้ได้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีอาญาแล้ว และในกระบวนพิจารณาของศาล เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ตกลงให้มีการผ่อนชำระเงินตามข้อตกลงที่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณา โดยให้ถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามกฎหมายและหากต่อมาลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำขอต่อศาลให้ออกคำบังคับได้โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่
                     4. กำหนดศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาและพิพากษาคดีในส่วนแพ่ง โดยในคดีที่โจทก์ได้รวมฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็คต่อศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีอาญาตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 กอนวันที่กฎหมายนี้ใช้บังคับและศาลยังมิได้มีคำพิพากษา ให้ศาลที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีสั่งจำหน่ายคดีในส่วนที่เป็นคดีอาญา แต่ยังคงมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีในส่วนแพ่งนั้นต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งการกำหนดในลักษณะนี้จะรวมถึงอำนาจของศาลแขวงในการพิจารณาและพิพากษาคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็คซึ่งมีมูลหนี้ หรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 300,000 บาท ตามความในมาตรา 25 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
                     5. กำหนดมาตรการเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปล่อยตัวผู้ต้องโทษจำคุกและผู้ที่อยู่ระหว่างการคุมประพฤติหรือการพักการลงโทษโดยเร็ว โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
                               5.1 ในกรณีของผู้ที่อยู่ระหว่างการต้องโทษจำคุก ให้กรมราชทัณฑ์ต้องปล่อยตัวทันทีภายในวันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ โดยให้กรมราชทัณฑ์มีอำนาจปล่อยตัวผู้ต้องโทษทันทีโดยไม่ต้องขอศาลให้ออกหมายปล่อย
                               5.2 ในกรณีของผู้ที่อยู่ระหว่างการคุมประพฤติหรือการพักการลงโทษ กำหนดเป็นบทเร่งรัดให้ผู้ออกคำสั่งการคุมประพฤติหรือคำสั่งการพักการลงโทษจะต้องเพิกถอนคำสั่งการคุมประพฤติหรือคำสั่งการพักการลงโทษโดยเร็ว
                     6. กำหนดวิธีการคำนวณโทษจำคุกในกรณีที่ผู้ต้องโทษจำคุกได้รับโทษจำคุกสำหรับความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค และความผิดตามกฎหมายอื่นซึ่งเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน โดยให้ถือว่าโทษที่ผู้ต้องโทษได้รับไปแล้วเป็นโทษสำหรับการกระทำความผิดตามกฎหมายอื่น และถ้าโทษที่ได้รับไปแล้วเท่ากับหรือเกินโทษที่ได้รับสำหรับการกระทำความผิดตามกฎหมายอื่นนั้น ให้ปล่อยตัวผู้ต้องโทษโดยทันที แต่ทั้งนี้ การปล่อยตัวผู้ต้องโทษในกรณีนี้กรมราชทัณฑ์จะต้องขอศาลให้ออกหมายปล่อย เพื่อให้มีการตรวจสอบว่าระยะเวลาในการจำคุกสำหรับความผิดอื่นนั้นเป็นไปตามกฎหมาย
                     7. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อกำกับดูแลให้การดำเนินการต่าง ๆ เป็นไปโดยรวดเร็วตามความมุ่งหมายของพระราชบัญญัตินี้

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. .... (ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2566) ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ สลค. เสนอว่า
                     1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 121 บัญญัติให้ในปีหนึ่งมีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสองสมัย ๆ หนึ่งให้มีกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยให้ถือวันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองให้เป็นไปตามที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนด และเนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2566 กำหนดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก โดยให้ถือเป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 และต่อมา สภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดให้วันที่ 12 ธันวาคม เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบแล้ว (18 กรกฎาคม 2566) ดังนั้น ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรจึงมีวันเปิดและวันปิดสมัยประชุม ดังนี้
ปีที่          สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง          สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง
1          3 กรกฎาคม 2566 ? 30 ตุลาคม 2566          12 ธันวาคม 2566 ? 9 เมษายน 2567
2          3 กรกฎาคม 2567 ? 30 ตุลาคม 2567          12 ธันวาคม 2567 ? 9 เมษายน 2568
3          3 กรกฎาคม 2568 ? 30 ตุลาคม 2568          12 ธันวาคม 2568 ? 9 เมษายน 2569
4          3 กรกฎาคม 2569 ? 30 ตุลาคม 2569          12 ธันวาคม 2569 ? 9 เมษายน 2570
                     2. โดยที่ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสามัญประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง      พ.ศ. 2566 ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2566 ดังนั้น จึงสมควรให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองสำหรับปี พ.ศ. 2566 ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2566

7. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติระบบการชำระเงิน พ.ศ. 2560
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติระบบการชำระเงิน พ.ศ. 2560 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการคลังเสนอขอขยายระยะเวลาในการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 จำนวน 6 ฉบับ และพระราชบัญญัติระบบการชำระเงิน พ.ศ. 2560 จำนวน 4 ฉบับ (รวมกฎหมายลำดับรองที่เสนอมาในครั้งนี้ 10 ฉบับ) โดยการออกกฎหมายลำดับรองจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 มกราคม 2564 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่เนื่องจากการดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินฯ อยู่ระหว่างจัดทำร่างประกาศเพื่อเสนอคณะอนุกรรมการภายในธนาคารแห่งประเทศไทย และรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบด้านและเป็นระบบ เพื่อให้การออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์หรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการตั้งสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในประเทศไทยไม่เป็นภาระแก่ภาคธรุกิจเกินสมควร โดยมีการคำนึงถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนผู้ใช้บริการตลอดจนภาระค่าใช่จ่ายของภาครัฐในการกำกับดูแลสถาบันการเงินอย่างครบถ้วน และในส่วนการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติระบบการชำระเงินฯ อยู่ระหว่างพิจารณาหลักเกณฑ์และผลกระทบต่อการกำหนดค่าธรรมเนียมเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน เพื่อไม่ให้การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายแก่ภาคธุรกิจเกินสมควร และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและส่งเสริมระบบการชำระเงินของประเทศไทย ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินฯ จำนวน 6 ฉบับ และตามพระราชบัญญัติระบบการชำระเงินฯ จำนวน 4 ฉบับ (รวมกฎหมายลำดับรองที่เสนอมาในครั้งนี้ 10 ฉบับ) ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เพื่อให้การจัดทำกฎหมายลำดับรองมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสถาบันการเงินและระบบการชำระเงินต่อไป
                    ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองที่มีผลใช้บังคับแล้วตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินฯ จำนวน 144 ฉบับ จากกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินฯ ทั้งหมด จำนวน 150 ฉบับ และกฎหมายลำดับรองที่มีผลใช้บังคับแล้วตามพระราชบัญญัติระบบการชำระเงินฯ จำนวน 30 ฉบับ จากกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติระบบการชำระเงินฯ ทั้งหมด จำนวน 34 ฉบับ

8. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการคลังเสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 7 ฉบับ และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 6 ฉบับ (รวมกฎหมายลำดับรองที่เสนอมาในครั้งนี้ รวม 13 ฉบับ) ซึ่งพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับดังถล่าวมีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น การออกกฎหมายลำดับรองจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 มกราคม 2564 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติประกันชีวิตฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อยู่ระหว่างการจัดทำหลักการและร่างกฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนดำเนินการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (Regulatory Impact Assessment: RIA) เพื่อนำไปประกอบการจัดทำและปรับปรุงร่างกฎหมายให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามพระราขบัญญัติประกันชีวิตฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 7 ฉบับ และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยฯ และที่ แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 6 ฉบับ (รวมกฎหมายลำดับรองที่เสนอมาในครั้งนี้ 13 ฉบับ) ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เพื่อให้การจัดทำกฎหมายลำดับรองมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยไทยต่อไป
                    ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยได้ดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองที่มีผลใช้บังคับแล้วตามพระราชบัญญัติประกันชีวิตฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 112 ฉบับ จากกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติประกันชีวิตฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งหมด 119 ฉบับ และกฎหมายลำดับรองที่มีผลใช้บังคับแล้วตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 123 ฉบับ จากกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งหมด 129 ฉบับ

9. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎอื่นใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ. 2551)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎอื่นใดตามมาตรา 22        วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ของมาตรา 10 (5) แห่งพระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ. 2551 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 1 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 (5) แห่งพระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ. 2551 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ ดังนั้น จะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองฉบับดังกล่าวก่อให้เกิดภาระกับประชาชน และอาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน จึงต้องพิจารณาจัดทำกฎหมายลำดับรองด้วยความรอบคอบและมีความจำเป็นจะต้องรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการเตรียมข้อมูลเพื่อจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการออกกฎ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรอง ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

10. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และแก้ไขเพิ่มเติม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไป 1 ปี นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงแรงงานเสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 13 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติมที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น การออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 มกราคม 2564 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การออกกฎดังกล่าวเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว การประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานของนายจ้าง ซึ่งมีผลต่อนโยบายรัฐบาลที่เร่งฟื้นฟูทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านแรงงาน การประกอบธุรกิจของผู้ขออนุญาตฯ ผู้รับอนุญาตฯ และมีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ จึงต้องพิจารณาทั้งนโยบายรัฐบาล ความเหมาะสม และศึกษาข้อมูลและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรอง ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

11. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ออกไป 1 ปี ตั้งแต่วันที่                27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงศึกษาธิการเสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 5 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย       พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น จะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่             27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่         19 มกราคม 2564 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การจัดทำกฎหมายลำดับรองในเรื่องนี้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชนที่จะต้องมีการศึกษาและสำรวจข้อมูลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เกิดภาระหรือส่งผลกระทบต่อผู้รับใบอนุญาตและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาเอกชน รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการออกกฎหมายลำดับรอง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการพอสมควร ทำให้ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป

12. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ของมาตรา 9 (2) แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่                27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงมหาดไทยเสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 1 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 (2) แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ ดังนั้น จะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองฉบับดังกล่าวต้องใช้เวลาในการรวบรวมความคิดเห็นและข้อมูลจากผู้มีสิทธิและหน้าที่ หรือได้รับผลกระทบจากการใช้บังคับกฎหมายดังกล่าวอย่างรอบด้าน รวมทั้งต้องหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดช่วงเวลาอื่น (นอกจากเวลา 08.00 น. ถึง 20.00 น. ในวันจันทร์ถึงศุกร์ และเวลา 08.00 น.      ถึง 18.00 น. ในวันหยุดราชการหรือช่วงเวลาดังกล่าวไม่เหมาะสม เช่น ลูกหนี้มีอาชีพทำงานในเวลากลางคืนและนอนหลับในเวลากลางวัน โดยปิดโทรศัพท์หรือปิดเสียงโทรศัพท์ทำให้ไม่สามารถติดต่อได้) ที่ผู้ทวงถามหนี้สามารถติดต่อลูกหนี้ได้ให้เป็นไปตามความเหมาะสมของสภาพการณ์ในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

13. เรื่อง ขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการออกกฎตามพระราชบัญญัติทางหลวง         พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงมหาดไทยเสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยที่มาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 บัญญัติให้กฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายนั้นได้ หากมิได้มีการออกกฎดังกล่าวหรือยังมิได้ดำเนินการนั้นภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับและบทบัญญัติในเรื่องนั้นก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชนให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลบังคับ ทั้งนี้ ระยะเวลา 2 ปีดังกล่าวคณะรัฐมนตรีจะมีมติขยายออกไปอีกก็ได้แต่ไม่เกิน 1 ปี และต้องมีมติก่อนที่จะครบกำหนดเวลา 2 ปี ดังกล่าว ประกอบกับ มาตรา 39 (1) กำหนดให้ระยะเวลา 2 ปี ตามมาตรา 22 วรรคสอง สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้นับแต่เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ (นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564)
                    โดยที่ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดค่าใช้เขตทางหลวงท้องถิ่น พ.ศ. .... เป็นกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับใช้อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ มีผลบังคับใช้จะครบกำหนดระยะเวลาการออกกฎหรือดำเนินการตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งกระทรวงมหาดไทยต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 แต่เนื่องจากร่างกฎกระทรวงดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการพิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดอัตราค่าใช้เขตทางหลวงท้องถิ่น (สำหรับบุคคลที่จะสร้างอาคาร รุกล้ำ หรือปักเสา พาดสาย วางท่อ หรือกระทำการใด ๆ ในเขตทางหลวง) อีกทั้งจะต้องรวบรวมความคิดเห็นและข้อมูลจากผู้มีสิทธิหรือหน้าที่หรือได้รับผลกระทบที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอย่างรอบด้าน เพื่อกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมต่อสภาพการณ์ปัจจุบัน ดังนั้น กระทรวงมหาดไทย (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองฉบับดังกล่าว ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่      27 พฤศจิกายน 2566

14. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในกฎหมายที่กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
                    1. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง จำนวน 111 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 หรือตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 แล้วแต่กรณี ซึ่งออกตามความในกฎหมาย ดังต่อไปนี้
                              (1) พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                              (2) พระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2547
                              (3) พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
                              (4) พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558
                              (5) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
                              (6) พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562
                              (7) พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562
                              (8) พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562
                              (9) ประมวลกฎหมายยาเสพติด
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
                    2. ให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งรัดออกกฎหมายลำดับรองตามประมวลกฎหมายยาเสพติดให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                    สาระสำคัญ
                    การจัดทำร่างกฎหมาย จำนวน 111 ฉบับ ตามที่ขอขยายระยะเวลาการจัดทำมาในครั้งนี้มีสาระสำคัญในหลายเรื่อง เช่น การกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ การกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการควบคุมเครื่องสำอาง วัตถุอันตราย และยาเสพติด (กฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอางฯ พระราชบัญญัติวัตถุอันตรายฯ และประมวลกฎหมายยาเสพติด) การกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด (กฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัดฯ) การกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับเครื่องมือทางการแพทย์ (กฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ฯ) การกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการควบคุมโรคติดต่อและโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ รวมทั้งการให้บริการด้านสาธารณสุข (กฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อฯ พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพฯ และพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิฯ) การกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการราชการในสถาบันอุดมศึกษา (กฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนกฯ) เป็นต้น ซึ่งการพิจารณาจัดทำหลักเกณฑ์ของกฎหมายลำดับรองดังกล่าว นอกจากจะต้องพิจารณาบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังต้องพิจารณาแนวนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะด้านยาเสพติดที่ต้องร่วมพิจารณากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน ประกอบกับการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 111 ฉบับดังกล่าวยังมีการดำเนินการในหลายขั้นตอน เช่น การรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและจากประชาชน การเสนอต่อคณะกรรมการตามกฎหมายเพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรือกลั่นกรองก่อนดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป การจัดเตรียมเรื่องเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี การตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามกฎหมายดังกล่าว จำนวน 111 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 หรือตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 แล้วแต่กรณีเพื่อให้การจัดทำกฎหมายลำดับรองมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและมีเนื้อหาที่ครอบคลุม รวมทั้งสอดคล้องกับบทบัญญัติที่ให้อำนาจในการจัดทำกฎหมายลำดับรองนั้นต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองที่มีผลใช้บังคับแล้ว รวม 354 ฉบับ

15. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 รวม 8 ฉบับ ออกไป 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 จำนวน 1 ฉบับ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 จำนวน 3 ฉบับ และพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 จำนวน 6 ฉบับ ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น จะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่         19 มกราคม 2564 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การออกกฎหมายลำดับรองรวม 8 ฉบับดังกล่าวยังมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมากทั้งภาคประชาชนและหน่วยงานของรัฐ การใช้ประโยชน์และการควบคุม ดูแล บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสมดุลและยั่งยืนของทรัพยากรดังกล่าวในอนาคต จึงต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบและรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

16. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไป 1 ปี นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 1 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น จะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 มกราคม 2564 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวเป็นการกำหนดสิทธิขององค์กรคนพิการหรือองค์กรอื่นที่ให้บริการแก่คนพิการให้สามารถดำเนินการเกี่ยวกับสิทธิของคนพิการ การเข้าถึงความช่วยเหลือของคนพิการ การจัดหางานและส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการ การขอใช้ที่ราชพัสดุหรือทรัพย์สินทางราชการ ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญจากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบเนื้อหาและกลไกของกฎหมายลำดับรองดังกล่าว ซึ่งมีความละเอียดอ่อนเป็นพิเศษ การดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ และต้องใช้เวลา จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่         27 พฤศจิกายน 2566

17. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ออกไปอีกหนึ่งปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    ทั้งนี้ ทส. เสนอว่า
                    1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 37 ลงวันที่ 4 เมษายน 2535 มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2535 ซึ่งมีผลบังคับใช้อยู่ในวันก่อนที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2522 มีผลบังคับใช้ จะครบกำหนดระยะเวลาการดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
                    2. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 73 วรรคสอง บัญญัติให้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาต คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต การควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ได้รับใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต การสั่งพักและการเพิกถอนการอนุญาต และการเสียค่าธรรมเนียมการขอและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ควบคุมหรือผู้รับจ้างให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ประกอบกับมาตรา 73 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 บัญญัติให้อัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสียที่ผู้รับจ้างให้บริการจะเรียกเก็บต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
                    3. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษได้อยู่ระหว่างการจัดทำร่างกฎกระทรวงซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตและการปฏิบัติงานเป็นผู้ควบคุมระบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. .... ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำฐานข้อมูลและระบบการยื่นคำขอและการพิจารณาใบอนุญาตโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับหลักการและสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เป็นการกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นผู้พิจารณาให้ใบอนุญาต รวมถึงต้องมีการจัดทำฐานข้อมูลและระบบการยื่นขอและการพิจารณาใบอนุญาตโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมทั้งให้เชื่อมโยงระบบการรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตามมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลระบบในการติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติการของผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย จึงมีความจำเป็นต้องพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวอย่างละเอียด โดยต้องดำเนินการหารือ ทำความเข้าใจกับเจ้าพนักงานท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำระบบการยื่นและการพิจารณาให้ใบอนุญาตโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ระยะเวลาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
                    สาระสำคัญของร่างกฎหมาย
                    ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตและการปฏิบัติงานเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. .... ซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองออกตามความในมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มีหลักการและสาระสำคัญ โดยสรุป ดังนี้
                              1. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
                              2. กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต
                              3. กำหนดวิธีการและแนวทางในการควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ได้รับใบอนุญาต
                              4. กำหนดเหตุแห่งการสั่งพักและการเพิกถอนการอนุญาต
                              5. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการขอและการออกใบอนุญาต
                              6. กำหนดการเสียค่าธรรมเนียมโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

18. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ออกไป 1 ปี นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับซึ่งจะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 มกราคม 2564 และ             28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การออกกฎหมายลำดับรองที่ผ่านยังต้องพิจารณาทบทวนในการออกกฎหมายลำดับรองในลำดับศักดิ์ที่ต่ำกว่า ซึ่งต้องออกตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง หรือระเบียบกระทรวงดังกล่าวที่มีผลใช้บังคับแล้ว เพื่อกำหนดรายละเอียดให้ครบถ้วนสามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้ ตามนัยความเห็นคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่องเสร็จที่ 981/2566 เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

19. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในทางแพ่งเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิควบคุมดูแลเด็ก พ.ศ. 2555 ออกไปอีกหนึ่งปีนับแต่วันที่ครบกำหนดตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชนมีพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในทางแพ่งเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิควบคุมดูแลเด็ก พ.ศ. 2555 ที่ต้องมีการออกกฎหมายลำดับรองตามมาตรา 11 วรรคสอง โดยมีสาระสำคัญให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ออกระเบียบว่าด้วยการคุ้มครองดูแลเด็ก กรณีพนักงานอัยการยื่นคำขอต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้นำตัวเด็กส่งไว้ในความคุ้มครองดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และมาตรา 24 โดยมีสาระสำคัญให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นการขอความช่วยเหลือไปยังต่างประเทศในการให้ความช่วยเหลือเด็กให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการถูกพาไปหรือกักตัวไว้โดยมิชอบ ซึ่งบรรดาค่าใช้จ่ายให้ความช่วยเหลือซึ่งต้องร่วมพิจารณากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดหรือประเมินค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ตามข้อเท็จจริง หรือกำหนดแบบประเมินเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันอยู่ในชั้นการพิจารณาของกรมกิจการเด็กและเยาวชน และอาจดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณาร่างกฎหมายและประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ไม่ทันภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562

20. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความในพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 ออกไปอีกหนึ่งปีนับแต่วันที่ครบกำหนดตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการมีร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 ได้แก่ (1) ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสนับสนุนการดำเนินการแก่หน่วยงานของรัฐ องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนา กลุ่มคนไร้ที่พึ่ง หรือกลุ่มบุคคล เพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ตามมาตรา 15 มาตรา 17 ซึ่งจำเป็นต้องออกประกาศกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสนับสนุนการดำเนินการตามประกาศของคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งฉบับนี้ (2) มาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 กำหนดให้คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งดำเนินการออกระเบียบเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งสำหรับการเข้าร่วมการฝึกอาชีพ และเริ่มต้นประกอบอาชีพของคนไร้ที่พึ่ง ซึ่งปัจจุบันได้ผ่านการพิจารณาร่างดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และคณะอนุกรรมการพัฒนามาตรการและกลไกเพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง โดยมีมติให้มีการหารือในข้อกฎหมายกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรมบัญชีกลาง แนวทางการดำเนินงานร่วมกับองค์กรที่ดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งซึ่งอาจดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณาร่างกฎหมายและประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ไม่ทันภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562

21. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป
                    ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                    1. โดยที่รัฐบาลมีนโยบายจะใช้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สภาธุรกิจตลาดทุนไทยจึงได้มีข้อเสนอต่อ กค. ในการใช้ตลาดทุนไทยเป็นกลไกบรรลุเป้าหมายด้านความสามารถในการแข่งขันควบคู่ไปกับความยั่งยืนของประเทศ กค. จึงได้ประชุมร่วมกันกับสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 โดยที่ประชุมได้มีความเห็นร่วมกันในการจัดตั้ง ?กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESG1 Fund หรือ TESG)? และกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าว
                    2. การลงทุนของกองทุน TESG จะเป็นการนำเงินที่ได้จากการขายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, and Governance หรือ ESG) สำหรับการลงทุนในตราสารทุนจะลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน (Thailand Sustainability Investment หรือ THSI) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือที่เปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งปัจจุบันมี 210 บริษัทกระจายอยู่ในหลายกลุ่ม อาทิ ขนส่ง จัดการของเสีย ทรัพยากร พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรม และคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้จะลงทุนในตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน (Sustainable Bond) ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์2 (สำนักงาน ก.ล.ต.) ได้แก่ ตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) ตราสารหนี้เพื่อพัฒนาสังคม (Social Bond) ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) และตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bond) โดยจะลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทไทยเท่านั้น
                    3. กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่จะใช้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จึงเห็นควรยกร่างกฎกระทรวงฉบับที่ ..(พ.ศ. .... ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร กำหนดให้เงินได้ของบุคคลธรรมดาที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนใน TESG ในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 100,000 บาทสำหรับปีภาษีนั้น เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2575 และกำหนดให้ผู้มีเงินได้ไม่ต้องนำเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ TESG มารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะกรณีที่เงินหรือผลประโยชน์ดังกล่าวคำนวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่กล่าวมา ทั้งนี้ ต้องถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน
                    4. กค. ได้พิจารณาการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยสภาธุรกิจตลาดทุนไทยได้คาดการณ์ว่า ในปีแรก       (ปี 2566) จะมีบัญชีนักลงทุนใหม่ 100,000 บัญชี และในปีถัด ๆ ไปจะมีบัญชีนักลงทุนใหม่ 300,000 บัญชี จึงจะมีจำนวนเงินลงทุนใหม่ 10,000 ล้านบาท และ 30,000 ล้านบาทตามลำดับ คาดว่าจะก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐโดยสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีแรกประมาณ 3,000 ล้านบาท และในปีถัด ๆ ไปปีละประมาณ 10,000 ล้านบาท มีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้ 1) เพิ่มทางเลือกในการออมและการลงทุนระยะยาวให้แก่ผู้มีเงินได้ 2) เพิ่มการลงทุนระยะยาวในตลาดทุนไทย อันจะทำให้เสถียรภาพของตลาดทุนไทยเพิ่มขึ้นด้วย และ 3) ทำให้เกิดการลงทุนในกิจการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลเพิ่มขึ้น และบริษัทไทยที่ให้ความสำคัญแก่สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลเพิ่มขึ้นตามไปด้วย อันจะมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs3) ของสหประชาชาติ รวมทั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality4) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero5)
จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงฯ มาเพื่อดำเนินการ
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
ประเด็น          สาระสำคัญ
1. ผู้มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์          ? บุคคลธรรมดาที่มีรายได้ (ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง)
2. เงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์          จากการซื้อหน่วยลงทุน TESG
          จากการขายหน่วยลงทุน  TESG
          ? นำเงินได้มาซื้อหน่วยลงทุนใน TESG
? เป็นเงินได้ที่ได้มาตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 75
? ต้องถือหน่วยลงทุนใน TESG ไม่น้อยกว่า 8 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน (แต่ไม่รวมกรณีทุพพลภาพหรือตาย)          ? ขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ TESG
? ถือหน่วยงลงทุนใน TESG มาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน (แต่ไม่รวมกรณีทุพพลภาพหรือตาย)
3. สิทธิประโยชน์          จากการซื้อหน่วยลงทุน TESG          จากการขายหน่วยลงทุน TESG
          ? ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนใน TESG มารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น ๆ           ? ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินหรือผลประโยชน์ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ TESG มารวมคำนวณภาษีเงินได้ (เฉพาะกรณีที่คำนวณเงินหรือผลประโยชน์จากเงินที่ได้หักลดหย่อนกรณีซื้อหน่วยลงทุนใน TESG)

1 ESG (Environment, Social, Governance) คือแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืน โดยไม่หวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่คำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก คือ 1) ด้านสิ่งแวดล้อม 2) ด้านสังคม และ 3) ด้านบรรษัทภิบาล
2 สำนักงาน ก.ล.ต. กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการออกประกาศเพื่อรองรับการจัดตั้งกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (TESG)
3 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นชุดเป้าหมายการพัฒนาระดับโลกที่ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติ เป็นทิศทางการพัฒนาที่ทุกประเทศที่ต้องดำเนินการร่วมกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 ไปจนถึงปี ค.ศ. 2030 มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย (Goals) และจัดกลุ่มได้เป็น 5 มิติแห่งความยั่งยืน ได้แก่ (1) People (มิติด้านสังคม) (2) Prosperity (มิติด้านเศรษฐกิจ) (3) Planet (มิติด้านสิ่งแวดล้อม) (4) Peace (มิติด้านสันติภาพและสถาบัน) และ (5) Partnership (มิติด้านหุ้นส่วนการพัฒนา)
4 Carbon neutrality หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน คือ การที่ปริมาณการปล่อยคาร์บอน (CO2) เข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ถูกดูดซับกลับคืนมาผ่านป่าหรือวิธีการอื่น
5 Net Zero หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ คือ การที่ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีความสมดุลเท่ากับก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดซับออกจากชั้นบรรยากาศ

22. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สมรสเท่าเทียม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สมรสเท่าเทียม) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่กระทรวงยุติธรรมเสนอเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยกำหนดให้บุคคล 2 คน ไม่ว่าเพศใดสามารถทำการหมั้นหรือสมรสกันได้ แก้ไขคำว่า ?ชาย? ?หญิง? ?สามี? ?ภริยา? และ ?สามี ภริยา? เป็น ?บุคคล? ?ผู้หมั้น? ?ผู้รับหมั้น? และ ?คู่สมรส? เพื่อให้มีความหมายครอบคลุมคู่หมั้นหรือคู่สมรสไม่ว่าจะมีเพศใด (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 43 มาตรา 193/22 มาตรา 1439 มาตรา 1440 ฯลฯ) ดังนั้น เพื่อให้สอดรับการแก้ไขถ้อยคำที่กำหนดให้บุคคล 2 คน ไม่ว่าเพศใดสามารถทำการหมั้นหรือสมรสกันได้ จึงได้มีการปรับแก้ไขถ้อยคำเล็กน้อยตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อรองรับสิทธิของคู่สมรสเพศเดียวกันให้มีสิทธิ หน้าที่ และสถานะทางครอบครัวเท่าเทียมกับคู่สมรสที่เป็นชายและหญิง แต่ยังคงหลักการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเพิ่มเหตุเรียกค่าทดแทนและเหตุฟ้องหย่าให้ครอบคลุมกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งไปมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นเพศใด โดยกำหนดให้คู่หมั้นฝ่ายหนึ่งอาจเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งกระทำกับคู่หมั้นของตนเพื่อสนองความใคร่ของผู้นั้นหรือคู่หมั้นของตน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1445) กำหนดให้หญิงที่ชายผู้เป็นคู่สมรสตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทำการสมรสใหม่กับชายได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1453) ในกรณีการสมรสระหว่างชายหญิง เมื่อหญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบ      17 ปีบริบูรณ์ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เดิม กำหนดให้กรณีถ้าศาลมิได้สั่งให้เพิกถอนการสมรสจนบุคคลทั้งสองมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อหญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส) (แก้ไขเพิ่มเติม ม. 1504) ในกรณีการสมรสระหว่างชายหญิง เมื่อหญิงมีครรภ์ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เดิม กำหนดให้สิทธิขอเพิกถอนการสมรสตามมาตรานี้เป็นอันระงับเมื่อคู่สมรสนั้นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อหญิงมีครรภ์) (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1510)
                    อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..)      พ.ศ. .... ที่กระทรวงยุติธรรมเสนอในครั้งนี้ มิได้ส่งผลกระทบต่อหลักการสำคัญบางประการ เช่น บุคคลทั้งสองฝ่ายสามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ รับมรดกของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ รวมทั้งการจัดการทรัพย์สินบางกรณีต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นไปหลักการแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สำหรับการเข้าถึงสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น ๆ เช่น กรณีการจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการนั้น ปัจจุบันกำหนดให้จ่ายเงินแก่ ?สามีหรือภริยา? แต่เมื่อมีการแก้ไขให้คู่สมรสหมายถึงบุคคลเพศเดียวกันด้วยแล้ว หน่วยงานจะต้องดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไปเพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในครั้งนี้
                    กระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นประกอบการจัดทำร่างกฎหมาย และเปิดเผยสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้งจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 แล้ว และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ law.go.th ให้ประชาชนได้รับทราบด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้บุคคล 2 คน ไม่ว่าเพศใดสามารถทำการหมั้นและสมรสได้ แก้ไขคำว่า ?ชาย? ?หญิง? ?สามี? ?ภริยา? และ ?สามีภริยา? เป็น ?บุคคล? ?ผู้หมั้น? ?ผู้รับหมั้น? และ ?คู่สมรส? เพื่อให้มีความหมายครอบคลุมคู่หมั้น หรือคู่สมรส ไม่ว่าจะมีเพศใด รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นมีสิทธิ หน้าที่ และสถานะทางครอบครัวเท่าเทียมกับคู่สมรสที่เป็นชายและหญิง สรุปสาระสำคัญดังนี้
ประเด็นสำคัญ          ประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ (ปัจจุบัน)          ร่างฯ ที่ ยธ. เสนอในครั้งนี้
1. เหตุการเรียกค่าทดแทนเนื่องจากผิดสัญญาหมั้น กรณีที่คู่หมั้นไปมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น          กำหนดให้ชายหรือหญิงคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งได้ร่วมประเวณีกับคู่หมั้นของตนโดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้นนั้น
(มาตรา 1445)          กำหนดให้คู่หมั้นฝ่ายหนึ่งอาจเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งได้ร่วมประเวณีกับคู่หมั้นของตน หรือผู้ซึ่งกระทำกับคู่หมั้นของตนเพื่อสนองความใคร่ของผู้นั้นหรือคู่หมั้นของตนโดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้นนั้น
2. การกำหนดอายุขั้นต่ำในการจดทะเบียนสมรส          การสมรสจะกระทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้
(มาตรา 1448)           การสมรสจะกระทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีมีเหตุอันสมควรศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้
3. เงื่อนไขแห่งการสมรสใหม่          กำหนดให้หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
1) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
2) สมรสกับคู่สมรสเดิม
3) มีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการรักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์ หรือ
4) มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
(มาตรา 1453)          กำหนดให้หญิงที่ชายผู้เป็นคู่สมรสตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทำการสมรสใหม่กับชายได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
1) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
2) สมรสกับคู่สมรสเดิม
3) มีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการรักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์ หรือ
4) มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
4. การเพิกกถอนการสมรส (ในกรณีมิได้มีการขอเพิกถอนการมรส ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส)          กำหนดให้กรณีถ้าศาลมิได้สั่งให้เพิกถอนการสมรสจนชายหญิง มีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อหญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส
(มาตรา 1504 วรรคสอง)          กำหนดให้กรณีถ้าศาลมิได้สั่งให้เพิกถอนการสมรสจนบุคคลทั้งสองมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ หรือในกรณีการสมรสระหว่างชายหญิงเมื่อหญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส
5. เงื่อนไขที่ทำให้การเพิกถอนการสมรสสิ้นสุด          กำหนดให้สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเป็นอันระงับเมื่อคู่สมรสนั้นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หรือเมื่อหญิงมีครรภ์
(มาตรา 1510 วรรคสอง)           กำหนดให้สิทธิขอเพิกถอน
การสมรสเป็นอันระงับเมื่อคู่สมรสนั้นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หรือในกรณีการสมรสระหว่างชายหญิงเมื่อหญิงมีครรภ์

23. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาในการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองจำนวน 8 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น การออกกฎหมายลำดับรองจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 19 มกราคม 2564 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองจำนวน 8 ฉบับดังกล่าวอยู่ระหว่างการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นฯ โดยการประชุมและทำหนังสือสอบถามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมที่ดิน กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย และเอกชนคู่สัญญา PPP (Public Private Partnership) ซึ่งใช้ระยะเวลาในการดำเนินการนานพอสมควร ประกอบกับการออกกฎหมายลำดับรองจะต้องเสนอต่อคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายเพื่อพิจารณากลั่นกรองให้เกิดความรอบคอบ และเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้ความเห็นชอบ ก่อนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไปซึ่งคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายชุดใหม่เพิ่งได้รับการแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามพระราชบัญญัติเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกฯ จำนวน 8 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เพื่อให้การจัดทำกฎหมายลำดับรองมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและมีเนื้อหาที่ครอบคลุมและสอดคล้องกับบทบัญญัติที่ให้อำนาจในการจัดทำกฎหมายลำดับรองนั้นต่อไป

24. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความในพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มาตรา 57 วรรคสอง และมาตรา 66 วรรคสาม ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 โดยที่มาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 บัญญัติให้กฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายนั้นได้ หากมิได้มีการออกกฎดังกล่าวหรือยังมิได้ดำเนินการนั้นภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับและบทบัญญติในเรื่องนั้นก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชนให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลบังคับ ทั้งนี้ ระยะเวลา 2 ปีดังกล่าวคณะรัฐมนตรีจะมีมติขยายออกไปอีกก็ได้แต่ไม่เกิน 1 ปีและต้องมีมติก่อนที่จะครบกำหนดเวลา 2 ปีดังกล่าว ประกอบกับมาตรา 39 (1) กำหนดให้ระยะเวลา 2 ปี ตามมาตรา 22 วรรคสอง สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้นับแต่เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ (นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564) ซึ่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ เป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติจึงต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
                    สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติได้จัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 จำนวนทั้งสิ้น 82 ฉบับ ซึ่งได้ประกาศใช้บังคับแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการตามความในมาตรา 66 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติฯ จำนวน 1 ฉบับ และมาตรา 57 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติฯ จำนวนอย่างน้อย 1 ฉบับ แต่โดยที่ประกาศตามมาตรา 57 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติฯ กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตได้รับการลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการสำหรับการให้บริการข้อมูลข่าวสารและความรู้เป็นเรื่องที่มีหลายมิติ การลดหรือยกเว้นค่าบริการให้แก่ทุกหมายเลขที่ให้ข้อมูลข่าวสารย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ให้บริการโทรคมนาคมจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายจึงจำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นจากหลายกลุ่มบุคคลทั้งจากผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนทั่วไปเพื่อให้การรับฟังความคิดเป็นไปอย่างรอบด้านเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้ใช้บริการ และเป็นธรรมต่อผู้ให้บริการโทรคมนาคมและสำหรับการออกกฎหมายลำดับรองตามความในมาตรา 66 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติฯ สำนักงานฯ เห็นว่า หากไม่มีการออกประกาศพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าว ผู้ให้บริการโทรคมนาคมอาจอาศัยช่องทางดังกล่าวกระทำความผิดร้ายแรงบางประการที่อาจมีผลเป็นการเอาเปรียบผู้ใช้บริการ ซึ่งการออกประกาศดังกล่าวทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวเป็นวงกว้าง การพิจารณาจัดทำประกาศดังกล่าวจึงต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการด้วยความรอบคอบและละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนทั่วไปอย่างรอบด้าน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาก่อนออกประกาศ สำนักงานฯ ไม่สามารถดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองตามมาตรา 57 วรรคสอง และมาตรา 66 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่          27 พฤศจิกายน 2566 จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

25. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
                    1. ให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562
                    2. ให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง จำนวน 3 ฉบับซึ่งออกตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562
ออกไป 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 และเป็นการขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 3 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น จะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 มกราคม 2564 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การออกกฎหมายลำดับรองรวม 5 ฉบับดังกล่าว เป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งซึ่งประธานกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษาและคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา จะดำรงตำแหน่งไม่ได้ การกำหนดมาตรฐานการอุดมศึกษา การกำหนดความร่วมมือในการจัดการศึกษา การวิจัย ฯลฯ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานภาคเอกชนส่งข้อมูลเกี่ยวกับการอุดมศึกษาและการอื่นที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดหลักการอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดในการจัดการอุดมศึกษา ซึ่งยังมีประเด็นที่จะต้องพิจารณา รวบรวมข้อมูลและตรวจสอบ เพื่อให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนมีการบูรณาการในความร่วมมือการจัดการศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอบด้าน จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

26. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในพระราชบัญญัติแร่           พ.ศ. 2560 ตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 จำนวน 11 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 11 ฉบับ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ซึ่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 เป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566) ดังนั้น การออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าว กระทรวงอุตสาหกรรมต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 แต่เนื่องจากการดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาและรวบรวมแนวทางความเหมาะสมในการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายในการบริหารจัดการแร่ ซึ่งต้องใช้เวลาในการทบทวนตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการเหมืองแร่อย่างรอบด้าน และกฎหมายลำดับรองบางฉบับจะดำเนินการต่อเมื่อมีสถานการณ์หรือเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในกรณีที่มีความจำเป็น กระทรวงอุตสาหกรรมจึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในพระราชบัญญัติแร่        พ.ศ. 2560 จำนวน 11 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

27. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (สำนักงาน ก.พ.)
                    คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรอง จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ออกไป 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    สำนักงาน ก.พ. เสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น จะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 มกราคม 2564 และ            28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่มีประเด็นปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 25 และมาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่จะต้องหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดังนั้น เพื่อให้สำนักงาน ก.พ. สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

28. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 และที่ออกตามพระราชบัญญัติการบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด พ.ศ. 2561
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติการบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด พ.ศ. 2561 รวม 12 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่         27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    การเสนอเรื่องของกระทรวงยุติธรรมเป็นการดำเนินการตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งบทบัญญัติให้กฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎหรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมาย หรือได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายนั้นได้ หากมิได้มีการออกกฎดังกล่าวหรือยังมิได้ดำเนินการนั้นภายในระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับและบทบัญญัติในเรื่องนั้นก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชนให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลบังคับ แต่ในกรณีที่บทบัญญัติในเรื่องนั้นให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชน ให้บทบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้โดยไม่ต้องมีกฎหรือดำเนินการดังกล่าว โดยระยะเวลา 2 ปีดังกล่าวคณะรัฐมนตรีจะมีมติขยายออกไปอีกก็ได้แต่ไม่เกิน 1 ปี และต้องมีมติก่อนที่จะครบกำหนดเวลา 2 ปีดังกล่าว ประกอบกับมาตรา 39 (1) กำหนดให้ระยะเวลา 2 ปี ตามมาตรา 22 สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้นับแต่เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ (นับแต่วันที่       27 พฤศจิกายน 2564) ซึ่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว      พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติการบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด พ.ศ. 2561 เป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562)
                    โดยมีการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับดังกล่าวมีประเด็นที่ต้องพิจารณาโดยละเอียดรอบคอบให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชน เนื่องจากร่างกฎหมายลำดับรองบางฉบับเป็นการดำเนินการให้จัดตั้งสถานศึกษา สถานฝึกอบรม หรือสถานแนะนำทางจิตเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด เป็นจำเลย หรือเป็นผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ลงโทษหรือใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน จึงต้องมีการรับฟังความคิดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและศึกษาวิเคราะห์กฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศเพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาและประสิทธิพลต่อไป ดังนั้น กระทรวงยุติธรรมจึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 12 ฉบับดังกล่าวออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

29. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาในการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอขอขยายระยะเวลาในการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง จำนวน 3 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น การออกกฎหมายลำดับรองจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 แต่เนื่องจากการดำเนินการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 3 ฉบับ ต้องใช้เวลาในการทบทวน ตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน รวมทั้งต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่อาจได้รับผลกระทบที่จากการต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น วิธีการจัดเก็บและการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างรอบด้าน จึงไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จทันภายในวันที่             27 พฤศจิกายน 2566 ได้ คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง จำนวน 3 ฉบับตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นฯ ออกไปอีก 1ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
                    สำหรับการดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองตามมาตรา 23 (15) และมาตรา 25 (16) แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯ นั้น เนื่องจากพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 ได้แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวกับ ?ค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน? เป็น ?ค่าบริการการใช้สนามบิน? ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถจัดเก็บรายได้จากค่าธรรมเนียมสนามบินตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศได้จนกว่าจะมีการแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    ทั้งนี้ คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการออกฎหมายลำดับรองที่มีผลใช้บังคับแล้ว รวม 171 ฉบับ จากกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯ ทั้งหมด รวม 175 ฉบับ และปัจจุบันยังมีกฎหมายลำดับรองซึ่งอยู่ในขั้นตอนการจัดทำร่างกฎหมายอีก 4 ฉบับ โดยแบ่งเป็น 1) กฎหมายลำดับรองที่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ จำนวน 3 ฉบับ (กฎหมายลำดับรองที่เสนอขยายระยะเวลาในครั้งนี้)และ 2) กฎหมายลำดับรองที่มีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น จำนวน 1 ฉบับ

30. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความในพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความในพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 รวม 3 ฉบับ ออกไป 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้นจะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองดังดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่         19 มกราคม 2564 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การออกกฎหมายลำดับรองรวม 3 ฉบับดังกล่าว ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ โดยในส่วนพระราชกฤษฎีกาฯ อยู่ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดทำเรื่องเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี ส่วนร่างระเบียบฯ อีก 2 ฉบับอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งยังมีประเด็นเกี่ยวกับกระบวนการกำหนดโจทย์วิจัย การให้ทุนวิจัยและพัฒนา การจัดสรร และการประเมินผลงานทางวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และการประเมิน จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

31. เรื่อง ขอขยายระยเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ. 2526)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของ มท. รวม 8 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    การเสนอเรื่องของกระทรวงมหาดไทย เป็นการดำเนินการตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งบัญญัติให้กฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎหรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมาย หรือได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายนั้นได้ หากมิได้มีการออกกฎดังกล่าวหรือยังมิได้ดำเนินการนั้นภายในระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับและบทบัญญัติในเรื่องนั้นก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชนให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลบังคับ แต่ในกรณีที่บทบัญญัติในเรื่องนั้นให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชน ให้บทบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้โดยไม่ต้องมีกฎหรือดำเนินการดังกล่าว โดยระยะเวลา 2 ปีดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจะมีมติขยายออกไปอีกก็ได้ไม่เกิน 1 ปี และต้องมีมติก่อนที่จะครบกำหนดเวลา 2 ปีดังกล่าว ประกอบกับมาตรา 39 (1) กำหนดให้ระยะเวลา 2 ปี ตามมาตรา 22 สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้นับแต่เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ (นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564) ซึ่งพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ. 2526 เป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562)
                    โดยที่การออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับดังกล่าวมีประเด็นที่ต้องพิจารณาโดยละเอียดรอบคอบในการกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์แนวทางปฏิบัติในการเดินท่อน้ำและติดตั้งอุปกรณ์ และด้านการพิจารณาอนุญาต ตลอดจนบทกำหนดโทษแก่ผู้ฝ่านฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับ ซึ่งต้องใช้เวลาในการทบทวนตรวจสอบข้อมูลให้รอบคอบและหารือไปยังหน่วยงานอื่นที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ ดังนั้น กระทรวงมหาดไทยจึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 8 ฉบับดังกล่าว ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

เศรษฐกิจ-สังคม
32. เรื่อง รายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562 - 2565)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562 - 2565) (แผนสิทธิมนุษยชนฯ) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    ยธ. รายงานว่า
                    1. แผนสิทธิมนุษยชนฯ เป็นเครื่องมือ กลไก และมาตรการให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าไปใช้ในการส่งเสริม ปกป้อง คุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชน ซึ่ง ยธ. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำและขับเคลื่อนแผนดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยแผนสิทธิมนุษยชนฯ ประกอบด้วย โครงการ/กิจกรรม จำนวน 2,409 โครงการ มีโครงการที่ทำเสร็จ จำนวน 1,837 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 76.26 และมีผลการดำเนินการในภาพรวม ดังนี้
ปีงบประมาณ          โครงการทั้งหมด          โครงการที่ทำสำเร็จ          โครงการที่กำลังดำเนินการ          โครงการ
ที่ยังไม่ได้ดำเนินการ          โครงการ
ที่ไม่ได้รับรายงานผล          ไม่ปรากฏข้อมูล
พ.ศ. 2563          707          707          -          -          -          -
พ.ศ. 2564          853          470          251          67          42          23
พ.ศ. 2565          849          660          104          85          -          -
รวม          2,409          1,837          355          152          42          23
คิดเป็นร้อยละ          -          76.26          14.74          6.31          1.74          0.95
                    2. เมื่อนำผลการประเมินระยะครึ่งแผนและระยะสิ้นสุดแผนการสังเคราะห์มีผลสำเร็จและข้อสังเกตของการดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนฯ สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 ตัวอย่างผลการดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนฯ มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
ด้าน          ผลการดำเนินการ/ข้อสังเกต
1) กระบวนการยุติธรรม          ได้มีสร้างกลไกการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนและความรู้พื้นฐานในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนผ่านกลไกต่าง ๆ เช่น (1) กลไกระดับจังหวัดทุกจังหวัด (2) ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนจำนวนกว่า 1,500 แห่ง ทั่วประเทศ และ (3) การส่งเสริม ?บวร? สร้างเครือข่ายบ้าน วัด โรงเรียน รวมถึงการทำงานของสำนักงานอัยการสูงสุดในการมีคณะทำงานเพื่อติดตามและประสานเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนของคนไทยในต่างประเทศอีกด้วย
2) การศึกษา          อัตราการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมมีการเพิ่มขึ้นน้อยมาก ดังนั้น การศึกษายังคงต้องมีการทุ่มเทด้านทรัพยากรกำลังคนและงบประมาณอีกเป็นอย่างมาก
3) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม          ควรถอดบทเรียนและปรับแนวทางในการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะหากเกิดโรคระบาดใหม่หรือภัยพิบัติฝุ่น PM2.5 ซึ่งถือเป็นภัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน เช่น ลดการเผาป่า ทำไร่เลื่อนลอย การควบคุมควันดำจากรถยนต์ ตลอดจนการส่งเสริมพลังงานสะอาด รถไฟฟ้า การใช้พลังงานในครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม
4) เศรษฐกิจและธุรกิจ          ไทยมีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้สูงเป็นอันดับ 4 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกและผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด - 19 ส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยหดตัวอย่างรุนแรง ประชาชนไทยในภาพรวมและยังได้รับผลกระทบทางการเมืองและภาวะการเงินการลงทุนที่ผันผวน แม้จะมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดและข้อเสนอแนะต่าง ๆ แต่ไม่มีโครงการใด หรือผลในภาพรวมที่ชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จ ของการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และความยากจนในไทยได้
5) การขนส่ง          มีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านคมนาคมขนส่งในการดำเนินการพัฒนาสู่ ?ระบบขนส่งเพื่อความเสมอภาคและเท่าเทียม? เป็นระบบขนส่งสำหรับทุนคน เช่น การสร้างสะพานข้ามแยก อย่างไรก็ดี อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนยังคงเพิ่มขึ้น เนื่องจากโครงการฯ ไม่มีมาตรฐานด้านความปลอดภัย
6) สาธารณสุข          มีการขับเคลื่อนงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุขทั้งหมดและการสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย รวมถึงการให้บริการทางการแพทย์ทางไกล (TeleMedicine) เพื่อให้ประชาชนทุกที่ทั่วไทยเข้าถึงบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
7) ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ          การผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนบนโลกออนไลน์หรือกฎหมาย Personal Data Protection Act: PDPA1 และอื่น ๆ การยอมรับและนำไปใช้ปฏิบัติในสังคม รวมถึงการสร้างทักษะการรู้เท่ากันสื่อดิจิทัล เพราะระดับความรุนแรงส่งผลถึงชีวิตและทรัพย์สิน และมีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้นตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้น
8) ด้านการเมือง การปกครองและความมั่นคง          ประชาชนคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่สนใจมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น อย่างไรก็ดี มีประเด็นสังคมอีกมากที่สะท้อนถึงข้อสงสัยว่า หน่วยงานหลักสามารถดำเนินการตามที่ให้สร้างวัฒนธรรมการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ได้หรือไม่ ซึ่งสถาบันการเมืองหลักของประเทศควรจะเป็นหน่วยงานสำคัญที่ขับเคลื่อนงานตามข้อเสนอแนะให้ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมให้ได้
9) ที่อยู่อาศัย          การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบางยังมีอีกมากที่ยังไม่มีที่อยู่อาศัยทั้งในเขตเมืองและชนบท ทำให้เกิดปัญหาชุมชนแออัด คนเร่ร่อนและการบุกรุกพื้นที่ของกรมป่าไม้ หรือที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม         (ส.ป.ก.) ในต่างจังหวัดที่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญญาตามข้อเท็จจริงได้
10) ชุมชน วัฒนธรรมและศาสนา          ไทยมีความหลากหลายทางศาสนา และมีการส่งเสริมกิจกรรมของศาสนาต่าง ๆ รวมถึงวิถีวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้ดี
                              2.2 รายงานระบุประเด็นที่แสดงถึงความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนฯ มีสาระสำคัญ เช่น
                                        (1) การประกาศใช้บังคับกฎหมายหลายฉบับที่สอดคล้องตามสิทธิในกระบวนการยุติธรรม เช่น พระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 พระราชบัญญัติการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2566
                                        (2) การมีคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์กลาง ที่ได้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา และมีคำสั่งให้คณะกรรมการขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชนของไทย (คณะกรรมการฯ) พิจารณาวินิจภัยกำหนดค่าตอบแทนผู้เสียหายแก่ผู้เสียหาย แม้จะเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เท่ากับเป็นการยืนยันว่ารัฐมีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองบุคคลทุกคนสอดคล้องตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
                                        (3) การส่งเสริมสิทธิเข้าถึงสิทธิการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ตามมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2565 โดยสอดคล้องกับหลักการมีอิสระที่จะตัดสินใจบนฐานข้อมูลที่รอบด้าน ทั้งในเรื่องสุขภาพ และเพื่อป้องกันการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยซึ่งอาจนำไปสู่อันตรายและเสียชีวิตได้
                    3. ข้อเสนอแนะต่อกลไกการติดตามและประเมินผลของแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5       (พ.ศ. 2566 - 2570) สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          ข้อเสนอแนะ
ด้านบริบทและปัจจัยนำเข้า          ควรขับเคลื่อนแผนในลักษณะแผนบูรณาการทั้งการจัดทำแผนและโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและดำเนินงานในลักษณะงบบูรณาการ เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการเตรียมความพร้อมบุคลากรและระบบการจัดเก็บข้อมูล รวมถึงการประชาสัมพันธ์โครงการที่โดดเด่นให้มีความตระหนักรู้ไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้กระบวนการติดตามผลการจัดทำตัวชี้วัด การรายงานผลการดำเนินการและผลการใช้งบประมาณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ด้านกระบวนการ          ควรมีการกำหนดกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสู่แผนปฏิบัติการโดยมีการกำหนดหน่วยงานเจ้าภาพ หน่วยงานหลัก หน่วยงานสนับสนุนจะต้องกำหนดกิจกรรมไว้อย่างชัดเจน เพื่อจะสามารถกำหนดผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) ได้อย่างถูกต้อง
ด้านการติดตามและประเมินผล          ควรมีระบบการติดตามประเมินผล พร้อมทั้งมีคณะทำงานติดตามจัดเก็บข้อมูลที่มีความต่อเนื่องชัดเจนระบบการจัดเก็บข้อมูลส่วนกลาง และกำหนดรูปแบบการรายงานให้หน่วยงานสามารถรายงานข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้ตลอดเวลา
ด้านการถ่ายทอดส่งต่อและความยั่งยืน          ควรมีกลไกการขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในรูปของกฎหมาย และควรมีการพิจารณาโครงการต้นแบบเพื่อสานต่อโครงการได้อย่างต่อเนื่อง และขยายผลในระดับประเทศ พร้อมทั้งมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก้ไขปัญหา หรืออุปสรรคร่วมกัน
ด้านความรู้ ความเข้าใจ และการสื่อสารสังคม          ควรมีการประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้เข้าถึงประชาชน และสถาบันการศึกษาทุกระดับ ภาคประชาสังคม เพื่อช่วยให้งานด้านสิทธิมนุษยชนส่งผลในระดับประเทศได้อย่างชัดเจนมากขึ้น การกำหนดเป้าหมายโดยพิจารณาจากปัญหาและสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยที่ยังคงเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้สามารถสะท้อนได้ว่า การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตอบสนองต่อการลดสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทยอย่างแท้จริง
กรณีการเกิดสถานการณ์ข้อท้าทายที่เข้ามาแทรกระหว่างการขับเคลื่อนแผนฯ          เช่น การจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 สถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งในต่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อไทย ควรมีการนำมาเป็นกรณีตัวอย่างหรือเป็นต้นแบบ หากเกิดกรณีสถานการณ์ฉุกเฉินที่ไม่คาดคิดขึ้น หน่วยงานอื่น ๆ จะมีความยืดหยุ่นในการปรับแผนดำเนินงานอย่างไร เพื่อให้โครงการ/กิจกรรมที่กำหนดไว้ประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายต่อไปได้
                    4. ยธ. โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้นำเสนอรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนฯ ต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนและขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 และที่ประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 เรียบร้อยแล้ว โดยที่ประชุมทั้ง 2 คณะ มีมติเห็นชอบต่อรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฯ และให้ ยธ. โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเสนอรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฯ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบต่อไป
1 พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายที่เข้ามากำหนดเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ (1) ข้อมูลสวนบุคคลพื้นฐาน และ (2) ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน

33. เรื่อง การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 29 กันยายน 2566 เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    รง. รายงานว่า
                    1. คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการทบทวนอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ เพื่อพิจารณาทบทวนอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ จำนวน 54 สาขาอาชีพ โดยพิจารณาทบทวนอัตราค่าจ้างจากลักษณะการทำงาน การจ่ายค่าจ้างจริงในตลาดแรงงานความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง รวมทั้งสถานการณ์และสภาพข้อเท็จจริงในแต่ละสาขาอาชีพและจัดทำร่างอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือเสนอคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 แล้ว ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22* (ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน) ครั้งที่ 6/2566 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 ได้มีมติกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 เห็นชอบให้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 6 สาขาอาชีพ 54 สาขา ดังนี้
หน่วย : บาทต่อวัน
ลำดับ          สาขาอาชีพ/สาขา          ระดับ 1          ระดับ 2          ระดับ 3
สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์
1          ช่างเย็บ          370          460          575
2          ช่างเครื่องประดับ (ประดับอัญมณี)          470          645          825
3          ช่างเครื่องเรือนไม้          395          745          560
4          ช่างบุครุภัณฑ์          380          460          560
5          ช่างสีเครื่องเรือน          415          510          -
6          ช่างเครื่องประดับ (รูปพรรณ)          485          575          665
7          ช่างประกอบติดตั้งเฟอร์นิเจอร์          460          570          -
8          ช่างฝีมือเครื่องประดับแนวอนุรักษ์ (เทคนิคโบราณ)          565          -          -
9          ช่างเครื่องถม          670          -          -
10          พนักงานเตรียมวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง          375          430          -
11          พนักงานผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้จริงด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ          425          505          -
12          พนักงานประกอบเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง          390          460          -
13          ช่างทำสีเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง          400          455          -
14          พนักงานตัดวาดรองเท้า          425          470          -
15          พนักงานอัดพื้นรองเท้า          435          475          -
16          ช่างเย็บรองเท้า          435          480          -
17          พนักงานประกอบรองเท้า (เย็น)          415          460          -
สาขาอาชีพช่างเครื่องกล
18          ช่างสีรถยนต์          470          545          630
19          ช่างเคาะตัวถังรถยนต์          500          585          680
20          ช่างซ่อมรถยนต์          430          545          640
21          ช่างบำรุงรักษารถยนต์          400          480          -
22          ช่างซ่อมเครื่องยนต์ดีเซล          430          535          625
23          ช่างเครื่องปรับอากาศรถยนต์ขนาดเล็ก          430          530          625
24          พนักงานควบคุมเครื่องจักรรถยกไฟฟ้า          460          -          -
25          พนักงานควบคุมเครื่องจักรรถยกใช้เครื่องยนต์          460          -          -
26          ช่างตั้งศูนย์และถ่วงล้อรถยนต์          445          -          -
27          ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์          445          -          -
สาขาอาชีพช่างก่อสร้าง
28          ช่างไม้ก่อสร้าง          445          595          685
29          ช่างก่ออิฐ          410          530          645
30          ช่างฉาบปูน          455          565          675
31          ช่างอะลูมิเนียมก่อสร้าง          435          545          650
32          ช่างหินขัด          470          -          -
33          ช่างฉาบยิปซัม          470          -          -
34          ช่างมุงหลังคากระเบื้องคอนกรีต          470          590          685
35          ช่างติดตั้งยิปซัม          485          595          -
36          ช่างเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์          690          -          -
37          ช่างปูกระเบื้องผนังและพื้น          485          580          685
38          ช่างสีอาคาร          500          640          -
39          ช่างก่อและติดตั้งคอนกรีตมวลเบา          510          625          -
สาขาอาชีพภาคบริการ
40          นักบริหารการขนส่งสินค้าทางถนน          495          620          -
41          ผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน          430          540          -
42          ผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง          415          535          -
43          ผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า          400          505          -
44          ผู้ประกอบอาหารไทย          470          605          -
45          การดูแลผู้สูงอายุ          535          -          -
สาขาอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
46          ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร          470          595          695
47          ช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก          470          570          675
48          ช่างติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์          485          -          -
สาขาอาชีพช่างอุตสาหการ
49          ช่างเชื่อมแม็ก          470          575          675
50          ช่างเชื่อมทิก          540          685          855
51          ช่างเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ          500          610          685
52          ผู้ควบคุมระบบงานเชื่อมมิก-แม็กด้วยหุ่นยนต์          560          -          -
53          ช่างเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์อุตสาหกรรม          585          660          755
54          ช่างเชื่อมมิก-แม็กสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์          470          565          -
หมายเหตุ : มาตรฐานฝีมือแรงงาน คือ ข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และทัศนคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพสาขาต่าง ๆ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยแบ่งเกณฑ์วัดระดับฝีมือแรงงานเป็น 3 ระดับ และจะมีรายละเอียดของเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงานที่แตกต่างกันในแต่ละสาขา ซึ่งผู้ที่ผ่านการทดสอบจะได้รับใบรับรองผ่านการทดสอบของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
                              1.2 เห็นชอบวันที่ประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือมีผลใช้บังคับคือ เก้าสิบวันหลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                              1.3 เห็นชอบให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 9-12) โดยให้รวบรวมอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือดังกล่าวไว้ในประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 13) เพียงฉบับเดียว (รวม 129 สาขา) เพื่อให้มีความเหมาะสมและสะดวกต่อการถือปฏิบัติต่อไป
* คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 คือ คณะกรรมการชุดปัจจุบัน โดยคณะกรรมการค่าจ้างแต่ละชุดจะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งวาระละ 2 ปี

34. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนสิงหาคม 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนสิงหาคม 2566 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
                    สาระสำคัญ
                     ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง รวมถึงเศรษฐกิจในประเทศยังฟื้นตัวช้า โดยมีปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนทางการเงินและภาระหนี้ของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวช่วยสนับสนุนการบริโภคในประเทศ รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลง
                     อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนสิงหาคม 2566 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ
                     1. รถยนต์ หดตัวร้อยละ 11.39 ตามการหดตัวของตลาดในประเทศเป็นหลัก จากความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน และผู้บริโภคชะลอการซื้อเพื่อรอมาตรการส่งเสริมการขายในงานแสดงรถยนต์ช่วงปลายปี
                     2. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวร้อยละ 13.65 ตามภาวะตลาดโลกที่ชะลอตัว ผู้ผลิตส่วนใหญ่มียอดการผลิตและจำหน่ายลดลง บางรายผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงแต่ปริมาณการผลิตน้อย
                     3. Hard Disk Drive (HDD) หดตัวร้อยละ 32.36 ตามการพัฒนาเทคโนโลยีความจุ ทำให้ปริมาณการผลิตน้อยลง แต่ราคาต่อหน่วยสูงขึ้นตามปริมาณความจุ รวมถึงความต้องการใช้ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ Solid State Drive (SSD) มีสัดส่วนการใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ทดแทน HDD เพิ่มมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีฐานการผลิต SSD ในประเทศ
                       อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนสิงหาคม 2566 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
                      1. น้ำตาล ขายตัวร้อยละ 40.5 ตามความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก โดยน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ขยายตัวทั้งตลาดในประเทศ ตามคำสังซื้อจากห้างไฮเปอร์มาร์เก็ต เพื่อตอบสนองลูกค้าในกลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องปรุงรส เครื่องสำอางและเวชภัณฑ์ และตลาดส่งออก ไปอาเซียน เกาหลีใต้ และไต้หวัน
                     2. ปุ๋ยเคมี ขยายตัวร้อยละ 29.52 จากราคาปุ๋ยปรับลดลงจากปีก่อน รวมถึงมีการทำโปรโมชันกระตุ้นยอดขาย ทำให้สินค้าถูกระบายออกต่อเนื่อง

35. เรื่อง รายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                       คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และให้เสนอต่อรัฐสภาต่อไป
                      ทั้งนี้ กค. เสนอว่า โดยที่พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 74 บัญญัติให้ กค. จัดทำรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุด เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอรายงานดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ (ภายในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566) และเสนอต่อรัฐสภาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ (ภายในวันที่ 28 ธันวาคม 2566) ซึ่ง กค. ได้จัดทำรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ? 30 กันยายน 2566 ตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว จึงได้เสนอรายงานฯ มาเพื่อดำเนินการ
                     สาระสำคัญของรายงานฯ
                      1. รายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีรายละเอียดประกอบด้วย รายงานสรุปรายรับประเภทรายได้แผ่นดิน (รายได้จากภาษีอากร รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ และรายได้จากรัฐพาณิชย์) รายงานสรุปรายรับประเภทเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และรายงานสรุปรายจ่ายตามงบประมาณ จำแนกประเภทงบรายจ่าย (รายจ่ายกระทรวง รายจ่ายงบกลาง รายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ รายจ่ายบูรณาการ รายจ่ายงบบุคลากร รายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน และรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ) และรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณ (บทวิเคราะห์) เพื่อรายงานผลการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีของรัฐบาล โดย กค. ได้ประมวลข้อมูลการรับจ่ายเงินจากรายงานในระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS: Financial Analytics) ในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) และข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐบันทึกเข้ามาในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai)       ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2566
                     2. สาระสำคัญของผลการดำเนินงานรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปี สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2566) สรุปได้ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ          งบประมาณ

(1)          รับจริง - จ่ายจริง
(2)          เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
(3)          รวมรับจริง ? จ่ายจริง และเงินกันฯ
(4) = (2) + (3)          สูง (ต่ำ)
กว่างบประมาณ
(5) = (4) ? (1)
1. รายรับ
1.1 รายได้แผ่นดิน
1.2 เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
รวม (ก)
2,490,000.00
695,000.00
2,650,796.33
632,612.39
-
-
2,650,796.33
632,612.39

160,796.33
(62,387.61)
          3,185,000.00          3,283,408.72          -          3,283,408.72          98,408.72
2. รายจ่าย
2.1 รายจ่ายตามงบประมาณ
2.2 รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้
รวม (ข)
3,115,369.63

69,630.37
2,943,878.89

69,630.37

160,130.75

-
3,104,009.64

69,630.37
(11,359.99)

-
          3,185,000.00          3,013,509.26          160,130.75          3,173,640.01          (11,359.99)
3. รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี (งบประมาณปี 65)
รวม (ค)           190,453.26          173,901.33          -          173,901.33          (16,551.93)
          190,453.26          173,901.33          -          173,901.33          (16,551.93)
4. รายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
รวม (ง)
รวมรายจ่ายทั้งสิ้น
(จ) = [(ข) + (ค) + (ง)]           -


-          83,814.10


83,814.10          -


-          83,814.10


83,814.10          83,814.10


83,814.10

3,375,453.26
3,271,224.69
160,130.75
3,431,355.44
55,902.18
5. ดุลของงบประมาณประจำปี
5.1 รายได้แผ่นดินสูง (ต่ำ) กว่ารายจ่ายตามงบประมาณ [1.1 ? (ข)]
5.2 รายรับสูง (ต่ำ) กว่ารายจ่ายตามงบประมาณ [(ก) ? (ข)]


(695,000.00)




-


(362,712.93)




269,899.46


(160,130.75)




(160,130.75)


(522,843.68)




109,768.70


172,156.32




109,768.71
6. ดุลการรับ ? จ่ายเงิน
รายรับสูง (ต่ำ) กว่ารายจ่ายทั้งสิ้น (ก) ? (จ)

(190,453.26)

12,184.03

(160,130.75)

(147,946.73)

42,506.53
หมายเหตุ :            1) เรียกข้อมูล ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2566
                    2) รายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง ได้แก่ งบกลาง จำนวน 57,425.71 ล้านบาท งบบุคลากร จำนวน 17,490.39 ล้านบาท และงบชำระหนี้ จำนวน 8,898.00 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นจำนวน 83,814.10 ล้านบาท
                               2.1 รายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                                          (1) รายรับของรัฐบาลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ รายรับจากรายได้แผ่นดินและรายรับจากเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยรัฐบาลได้ประมาณการรายรับรวมทั้งสิ้น จำนวน 3,185,000.00 ล้านบาท รายรับที่รัฐบาลได้รับรวมทั้งสิ้น จำนวน 3,283,408.72 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ จำนวน 98,408.72 ล้านบาท ประกอบด้วย
                                                   (1.1) รายได้แผ่นดิน มีการประมาณการรายได้ จำนวน 2,490,000.00 ล้านบาท และมีการรับรายได้แผ่นดินรวมทั้งสิ้น จำนวน 2,650,796.33 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ จำนวน 160,796.33 ล้านบาท
                                                   (1.2) เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ มีการประมาณการวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 695,000.00 ล้านบาท และมีการรับเงินกู้รวมทั้งสิ้น จำนวน 632,612.39 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ จำนวน 62,387.61 ล้านบาท
                                         (2) รายจ่ายตามงบประมาณของรัฐบาล ประกอบด้วย รายจ่ายตามงบประมาณและรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ โดยรัฐบาลได้ประมาณการรายจ่ายตามงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวมทั้งสิ้น จำนวน 3,185,000.00 ล้านบาท รายจ่ายตามงบประมาณของรัฐบาลมีการใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น จำนวน 3,173,640.01 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ จำนวน 11,359.99 ล้านบาท ประกอบด้วย
                                                   (2.1) รายจ่ายตามงบประมาณ มีการประมาณการรายจ่ายตามงบประมาณ จำนวน 3,115,369.63 ล้านบาท และมีรายจ่ายจากเงินงบประมาณ จำนวน 2,943,878.89 ล้านบาท และเงินกันไว้เบิกเหลือมปี จำนวน 160,130.75 ล้านบาท รวมรายจ่ายตามเงินงบประมาณและเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี รวมทั้งสิ้น จำนวน 3,104,009.64 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ จำนวน 11,359.99 ล้านบาท
                                                    (2.2) รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ มีการประมาณการรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 69,630.37 ล้านบาท มีรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้เท่ากับประมาณการ จำนวน 69,630.37 ล้านบาท
                               2.2 รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี (เงินงบประมาณปีก่อน) รัฐบาลมีเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวมทั้งสิ้น จำนวน 190,453.26 ล้านบาท มีรายจ่ายจากเงินกับไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 173,901.33 ล้านบาท ต่ำกว่าเงินที่กันไว้ จำนวน 16,551.93 ล้านบาท
                                2.3 รายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 83,814.10 ล้านบาท เป็นการจ่ายเงินคงคลังตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 7 (1) รายการจ่ายที่มีการอนุญาตให้จ่ายเงินได้แล้ว ตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ แต่เงินที่ตั้งไว้มีจำนวนไม่พอจ่าย และพฤติการณ์เกิดขึ้นให้มีความจำเป็นต้องจ่ายโดยเร็ว
                                2.4 ดุลการรับ - จ่ายเงิน เมื่อเปรียบเทียบรายรับที่รัฐบาลได้รับ รวมทั้งสิ้น จำนวน 3,283,408.72 ล้านบาท กับรายจ่ายที่รัฐบาลมีการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น จำนวน 3,271,224.69 ล้านบาท (ประกอบด้วย รายจ่ายตามงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566 รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี (เงินงบประมาณปีก่อน) และรายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง) จึงทำให้รายรับสูงกว่ารายจ่ายทั้งสิ้น จำนวน 12,184.03 ล้านบาท
                                2.5 ผลการวิเคราะห์และข้อสังเกต
                                          (1) ผลการวิเคราะห์
                                                    (1.1) ด้านรายรับ ประเภทรายได้แผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีการจัดเก็บและนำส่งได้สูงกว่าประมาณการ จำนวน 160,796.33 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.46 เนื่องจากรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ให้เพิ่มสูงขึ้น เพื่อให้มีรายได้ที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้จ่ายตามยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการบริหารงานยุคใหม่มาประยุกต์ใช้ในการจัดเก็บภาษี ซึ่งจะช่วยสร้างเสถียรภาพการคลังของไทยให้ยั่งยืน โดย กค. ได้วางแผนการบริหารจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล เพื่อให้การจัดเก็บรายได้เป็นไปตามที่ประมาณการไว้ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้เป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานจัดเก็บรายได้ในสังกัด กค. ได้มีการพัฒนาระบบต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดเก็บรายได้อย่างต่อเนื่อง มีการใช้เทคโนโลยีในการติดตามและตรวจสอบการจัดเก็บภาษี ช่วยในการขยายฐานภาษี
                                                     (1.2) ด้านรายจ่าย งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีการใช้จ่ายงบประมาณรวมทั้งสิ้น จำนวน 3,173,640.01 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.64 ของวงเงินงบประมาณ เนื่องจากมีการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยกรมบัญชีกลางและสำนักงานคลังจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด เร่งรัดและสนับสนุนการดำเนินงาน พร้อมทั้งให้คำแนะนำหน่วยรับงบประมาณทุกแห่ง ให้สามารถดำเนินการเบิกจ่ายได้ตามแผนการใช้จ่ายเงิน เพื่อให้เม็ดเงินงบประมาณมีส่วนในการผลักดันการกระตุ้นเศรษฐกิจ
                                          (2) ข้อสังเกต
                                                    (2.1) ด้านรายรับ ประเภทรายได้แผ่นดิน นอกเหนือจากการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ รัฐบาลควรให้ความสำคัญในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ภาคการผลิต ภาคการเกษตร ภาคการท่องเที่ยว ภาคการแพทย์ และภาคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยนำนวัตกรรมและมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่เน้นการสร้างคุณค่าให้แก่สินค้าและบริการเชิงคุณภาพ การปรับเปลี่ยนภาคการท่องเที่ยวให้เน้นคุณภาพและความยั่งยืน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริการที่สอดรับกับทิศทางและแนวโน้มของตลาดยุคใหม่ และผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง เพื่อการยกระดับสู่การให้บริการบนฐานนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง จะส่งผลให้รัฐบาลมีรายได้ที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้จ่ายตามยุทธศาสตร์ของประเทศและมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีความยั่งยืน
                                                   (2.2) ด้านรายจ่าย นอกเหนือจากการกำหนดมาตรการการคลังด้านการใช้จ่ายภาครัฐในการติดตามเร่งรัดเบิกจ่ายเงินงบประมาณและเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด รัฐบาลควรยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐโดยนำระบบดิจิทัลและเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการสาธารณะให้มีความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรมและทันต่อสถานการณ์ รวมถึงการพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต เพื่อให้ประเทศไทยมีภาครัฐที่มีสมรรถนะ ทันสมัย คล่องตัว และเป็นปัจจัยผลักดันการขับเคลื่อนในภาคธุรกิจ

36. เรื่อง การป้องกันและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่อง การป้องกันและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ดังนี้
                     สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                     เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ดำเนินการจัดประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการบูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์จากกรณีข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลและมีการซื้อ-ขายในเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยมีนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธาน ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมด้วย พลตำรวจโท วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี นายศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล            นายสมศักดิ์ เจริญไพฑูรย์ รองอธิบดีกรมการปกครอง ผู้แทนจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เข้าร่วมหารือกำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาการซื้อ - ขายข้อมูลส่วนบุคคลทางออนไลน์ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                       สาเหตุและช่องทางการเกิดข้อมูลรั่วไหล
                      1. หน่วยงานภาครัฐขาดระบบเฝ้าระวังและตรวจสอบ และความเอาใจใส่และละเลยกระบวนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลทำให้เกิดการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล (Personal Data Breach) ปรากฏหรือเปิดเผยต่อสาธารณะโดยไม่จำเป็น และไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูล
                     2. เจ้าหน้าที่ภาครัฐและหน่วยงานไม่ได้จัดให้มีระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลที่ดีพอทั้งจากการนำข้อมูลไปเก็บอยู่ใน Data Center ของบริษัทเอกชน หรือไม่จัดให้มีการรักษาความปลอดภัยเพียงพอให้แก่ระบบคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ (Computer Server) ขาดการตรวจสอบเฝ้าระวังที่ดีพอ ทำให้มีช่องโหว่ในระบบ เป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล การโจมตีหรือบุกรุกจาก Hacker ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาตและนำข้อมูลออกไปเผยแพร่ ซึ่งพบได้บ่อยจากหน่วยงานที่ไม่มีหรือขาดระบบรักษาความปลอดภัยเพียงพอ ขาดการตรวจจับ เฝ้าระวังการบุกรุกเข้าถึงระบบจากภายนอก การตั้งค่าระบบที่ผิดพลาด เป็นต้น
                      3. เจ้าหน้าที่ภาครัฐและหน่วยงานขาดการสร้างความตระหนักรู้ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การสื่อสารให้บุคลากร พนักงาน หรือลูกจ้างในองค์กรเห็นถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในการทำงานโดยขาดความระมัดระวัง ส่งผลให้เกิดโทษต่อหน่วยงานและส่วนตัวอย่างไร การสร้างเสริมความตระหนักรู้ให้แก่บุคลากร พนักงาน หรือลูกจ้าง เป็นการป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากบุคคล (human error) ในการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในการทำงานขององค์กร
                     ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางร่วมกันกำหนดมาตรการป้องกันและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไข ดังนี้
                      ระยะเร่งด่วน 30 วัน
                      1. ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตรวจสอบข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (PDPC Eagle Eye) และเร่งตรวจสอบค้นหา เฝ้าระวัง การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลว่าเกิดขึ้นจากหน่วยงานใด หรือช่องทางใด และเมื่อพบข้อบกพร่องของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ เร่งประสานแจ้งเตือนการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลแก่หน่วยงานนั้น เพื่อระงับยับยั้งไม่ให้เกิดความเสี่ยงหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยเร็ว จากการเฝ้าระวังตรวจสอบที่ผ่านมา (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 9 - 20 พฤศจิกายน 2566) มีผลจากการเร่งตรวจสอบ ดังนี้
                                - ดำเนินการตรวจสอบแล้ว จำนวน 3,119 หน่วยงาน (ภาครัฐ/ภาคเอกชน)
                                - ตรวจพบข้อมูลรั่วไหล/แจ้งเตือนหน่วยงาน จำนวน 1,158 เรื่อง
                                - หน่วยงานแก้ไขแล้ว จำนวน 781 เรื่อง
                                - พบกรณีซื้อ - ขายข้อมูลส่วนบุคคล 3 เรื่อง ซึ่งอยู่ระหว่างสืบสวนดำเนินคดีร่วมกับกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.)
                      ทั้งนี้ ภายใน 30 วัน ศูนย์ PDPC Eagle Eye มีเป้าหมายตรวจสอบ ให้ครบ 9,000หน่วยงาน
                     2. ให้สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวัง และวิเคราะห์ความเสี่ยงของพฤติกรรมหรือช่องโหว่ต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดข้อมูลรั่วไหลของหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานภาครัฐที่เป็นหน่วยงานในลักษณะหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (Critical Information Infrastructure: CII) ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงภาครัฐ ด้านบริการภาครัฐที่สำคัญ ด้านการเงินการธนาคาร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ด้านพลังงานและสาธารณูปโภค และด้านสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงาน CII จำนวน 54 หน่วยงาน หากพบข้อบกพร่องของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ หรือข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ เร่งประสานแจ้งเตือนช่องโหว่หรือการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลแก่หน่วยงานนั้น เพื่อระงับยับยั้งไม่ให้เกิดความเสี่ยงหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยเร็ว จากการเฝ้าระวังตรวจสอบที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติตรวจพบการโจมตีไซเบอร์เกี่ยวกับข้อมูลรั่วไหล (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 9 - 20 พฤศจิกายน 2566) ดังนี้
                     1. การตรวจสอบช่องโหว่ จำนวน 91 หน่วยงาน ซึ่ง สกมช. พบว่าทั้ง 91 หน่วยงานมีความเสี่ยง โดยมีความเสี่ยงระดับสูง จำนวน 21 หน่วยงาน และ สกมช. ได้แจ้งแก้ไขทั้ง 91 หน่วยงานแล้ว
                     2. การตรวจพบการโจมตีทางไซเบอร์ เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 11 เหตุการณ์ โดยแบ่งเป็น
                                - กรณีข้อมูลรั่วไหล (Data Leak) ส่ง สคส. เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย จำนวน              8 เหตุการณ์
                                 - กรณีข้อมูลถูกละเมิดหรือถูกโจมตี (Data Breach) ส่ง บช.สอท. สืบสวนดำเนินคดี จำนวน 3 เหตุการณ์

                     3. ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมโรงแรมไทย รวมถึงเครือข่ายภาคสื่อมวลชนสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยของหน่วยงาน ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Awareness Training) เช่น การป้องกันการบุกรุกจากบุคคลภายนอก การตั้งค่าระบบอย่างปลอดภัย และการบังคับใช้กฎหมายตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ในวันที่ 16 พ.ย. 66 ได้มีการจัดอบรม DPO (Data Protection Officer) สำหรับหน่วยงานรัฐ ที่มีข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมาก จำนวน 85 หน่วยงาน เพื่อกำชับให้ดูแลข้อมูลส่วนบุคคลอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และให้ความรู้ตลอดจนแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง
                     4. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเร่งรัดมาตรการปิดกั้นกรณีการซื้อ - ขายข้อมูลส่วนบุคคลที่ผิดกฎหมาย และสืบสวนดำเนินคดี ตลอดจนจับกุมผู้กระทำความผิดโดยเร็ว
                     ระยะ 6 เดือน
                     เพื่อป้องกันและลดปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลจากการที่หน่วยงานภาครัฐส่งข้อมูลแก่หน่วยงานภายนอก หรือขาดบุคลากรในการกำกับดูแลงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของหน่วยงาน เห็นควรส่งเสริมการใช้งานระบบคลาวด์กลางภาครัฐที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นระบบที่มีความมั่นคงปลอดภัยตามหลักวิชาการสากล สามารถรองรับการใช้งานของบุคลากรของหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัยไม่เกิดการโจรกรรมหรือการรั่วไหลของข้อมูล
                     ระยะ 12 เดือน
                     ประเมินและปรับปรุง พัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สามารถบังคับใช้กฎหมายให้ทันสมัยต่อบริบทของสังคมและพฤติการณ์ที่เปลี่ยนไป เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ. 2562 เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบและป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่ดียิ่งขึ้น

37. เรื่อง รายงานสถานการณ์ส่งออกของไทย ประจำเดือนกันยายนและ 9 เดือนแรกของปี 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์ส่งออกของไทย ประจำเดือนกันยายนและ 9 เดือนแรกของปี 2566 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนกันยายน 2566
                       การส่งออกของไทยในเดือนกันยายน 2566 มีมูลค่า 25,476.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (888,666 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 2.1 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 1.0 การส่งออกของไทยขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร โดยเฉพาะการส่งออกผลไม้ไปจีน อาทิ ทุเรียน และมังคุด รวมทั้งการส่งออกข้าวที่ขยายตัวได้ดีในตลาดแอฟริกาใต้และอินโดนีเซีย สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมดาวรุ่งที่ขยายตัวต่อเนื่องยังคงเป็นสินค้าที่เติบโตตามเมกะเทรนด์ เช่น โซลาเซลล์ และโทรศัพท์มือถือ อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตโลกเดือนนี้ยังอยู่ในภาวะหดตัว การฟื้นตัวของตลาดหลักยังเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง จากปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และการคงอัตราดอกเบี้ยสูงยาวนาน ชะลออุปสงค์ทั่วโลก ทั้งนี้ การส่งออกไทย 9 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 3.8 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 1.2
                              มูลค่าการค้ารวม
                              มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนกันยายน 2566 มีมูลค่าการค้ารวม  48,859.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 25,476.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 23,383.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 8.3 ดุลการค้า เกินดุล 2,092.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 9 เดือนแรกของปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 431,971.5 ล้านเหรียญสหรัฐ. หดตัวร้อยละ 4.9 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 213,069.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.8 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 218,902.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.0 ดุลการค้า ขาดดุล 5,832.7 ล้านเหรียญสหรัฐ
                              มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนกันยายน 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 1,713,976 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 5.3 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 888,666 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 825,310 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 10.2 ดุลการค้า เกินดุล 63,355 ล้านบาท ภาพรวม 9 เดือนแรกของปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 14,826,543 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 4.7 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 7,268,400 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 3.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 7,558,144 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 5.9ดุลการค้า ขาดดุล 289,744 ล้านบาท
                              การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
                              มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 12.0 โดยสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 17.7 และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 5.4 ทั้งนี้ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 166.2 (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ เวียดนาม และฮ่องกง) ข้าว ขยายตัวร้อยละ 51.4 (ขยายตัวในตลาดแอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย สหรัฐฯ มาเลเซีย และเบนิน) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 3.7 (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย และเกาหลีใต้)  น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 16.3 (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย กัมพูชา เวียดนาม ไต้หวัน และสิงคโปร์) ไขมันจากน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 12.8 (ขยายตัวในตลาดอินเดีย เกาหลีใต้ เวียดนาม เนเธอร์แลนด์ และฟิลิปปินส์) สิ่งปรุงรสอาหาร ขยายตัวร้อยละ 27.1 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร) ผักกระป๋องและผักแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 17.3 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย) นมและผลิตภัณฑ์นม ขยายตัวร้อยละ 3.1 (ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ ฮ่องกง เวียดนาม เมียนมา และอียิปต์) ผักสด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 7.9 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น ไต้หวัน สหรัฐฯ กัมพูชา และเมียนมา) ไข่ไก่สด ขยายตัวร้อยละ 52.7 (ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ ไต้หวัน มัลดีฟส์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 12.0 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ยางพารา หดตัวร้อยละ 30.3 (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และเกาหลีใต้) ไก่แปรรูป หดตัวร้อยละ 11.2 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ และไอร์แลนด์) อาหารสัตว์เลี้ยง หดตัวร้อยละ 7.9 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และเยอรมนี) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 3.9 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และกัมพูชา) ทั้งนี้ 9 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 2.0
                              การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
                              มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 0.3 แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 3.3 (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และซาอุดีอาระเบีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 27.3 (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง อิตาลี สหราชอาณาจักร เบลเยียม และญี่ปุ่น) เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 23.9  (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ และเม็กซิโก) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 46.4 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ ไต้หวัน อิตาลี และญี่ปุ่น) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัวร้อยละ 28.8 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน  ไต้หวัน  เกาหลีใต้  และเม็กซิโก) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 24.3 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น) ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัวร้อยละ 5.5 (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ออสเตรเลีย เวียดนาม และเนเธอร์แลนด์) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 27.7 (หดตัวในตลาดออสเตรเลีย สหรัฐฯ เวียดนาม ญี่ปุ่น และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 34.6 (หดตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และเบลเยียม) ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม หดตัวร้อยละ 15.8 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ อินเดีย เวียดนาม และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ทั้งนี้ 9 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 3.7
                              ตลาดส่งออกสำคัญ
                                        การส่งออกไปยังตลาดสำคัญขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะตลาดจีนที่ขยายตัวต่อเนื่อง และการกลับมาขยายตัวในรอบหลายเดือนของตลาดอาเซียน (5) และเอเชียใต้ อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังหลายตลาดยังคงมีความไม่แน่นอน จากปัจจัยกดดันของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 4.2 โดยกลับมาหดตัวในตลาดสหรัฐฯ  และญี่ปุ่น กลับมาหดตัวร้อยละ 10.0 และร้อยละ 5.0 ตามลำดับ และหดตัวต่อเนื่องในตลาด CLMV และสหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 18.1 และร้อยละ 9.3 ตามลำดับ ในขณะที่ขยายตัวในตลาดจีนและอาเซียน (5) ร้อยละ 14.4 และร้อยละ 4.1 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 10.5 โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 7.8 แอฟริกา ร้อยละ 23.0 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 4.6 และรัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 33.9 ขณะที่ทวีปออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง และสหราชอาณาจักร หดตัวร้อยละ 11.8 ร้อยละ 5.9 และร้อยละ 15.0 ตามลำดับ (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 423.6 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 749.8
                    2. มาตรการส่งเสริมการส่งออกและแนวโน้มการส่งออกระยะต่อไป
                       การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ (1) การจับมือร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ในการผลักดันและแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า (2) การนำคณะผู้แทนการค้าไทยไปยังซาอุดีอาระเบีย และอียิปต์ พร้อมด้วยผู้ประกอบการไทยกว่า 26 บริษัท เข้าร่วมงาน Saudi-Thai Business Matching 2023 ณ ซาอุดีอาระเบีย และงาน Thai-Egyptian B2B Matching Event 2023 ณ อียิปต์ เพื่อเจรจาการค้าและขยายตลาดส่งออกสินค้าในกลุ่มอาหารฮาลาล ผลไม้ สินค้าใช้ในบ้าน และชิ้นส่วนยานยนต์ (3) ยกระดับความร่วมมือกับผู้ประกอบการแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศลงนาม MOU ร่วมกับบริษัท ลาซาด้า จำกัด ในการร่วมมือส่งเสริมการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนเพื่อเปิดโอกาสให้สินค้าของผู้ประกอบการไทยทุกระดับได้มีโอกาสขยายตลาดสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านร้าน TOPTHAI Store บนแพลตฟอร์มลาซาด้า (4) นำคณะผู้ส่งออกร่วมงานแสดงสินค้าจีน-อาเซียน ครั้งที่ 20 ณ นครหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีผู้ส่งออกเข้าร่วม 76 ราย 4 กลุ่มสินค้า คาดว่าจะสร้างยอดขายไม่ต่ำกว่า 150 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีการสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจสมัยใหม่ อาทิ เทคโนโลยีขั้นสูง ความมั่นคงด้านห่วงโซ่อุปทาน การค้าดิจิทัล การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามแดน
                              แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า การส่งออกในไตรมาส 4 ของปี 2566 จะมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการทยอยฟื้นตัวของประเทศคู่ค้า ที่ต่างออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และอุปสรรคด้านห่วงโซ่อุปทานคลี่คลายลงจากปีก่อนหน้าที่ต้องเผชิญกับโควิด-19 ขณะที่กระแสความมั่นคงทางอาหาร และแรงส่งจากภาคบริการและท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปลายปีจะช่วยหนุนการส่งออกสินค้าเกษตร และอาหารที่ไทยมีศักยภาพ สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมยังสามารถเติบโตได้ตามเทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัลและพลังงานสะอาด โดยกระทรวงพาณิชย์ทำงานอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าและเดินหน้าเจรจาความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งติดตามเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ ๆ จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-กลุ่มฮามาส ซึ่งอาจขยายวงกว้างจนส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการค้าของโลกในระยะถัดไป

ต่างประเทศ
38. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียน - ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ (ASEAN - Japan Special Meeting of Justice Ministers: AJSMJ) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบผลการประชุมรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียน - ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ ASEAN - Japan Special Meeting of Justice Ministers: AJSMJ (การประชุม AJSMJ) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    2. มอบหมายให้ ยธ. เป็นหน่วยงานในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินความร่วมมือตามแผนงานอาเซียน - ญี่ปุ่น ด้านกฎหมายและงานยุติธรรม (แผนงานอาเซียนฯ) ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าวต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ยธ. รายงานว่า
                    1. การประชุม AJSMJ จัดขึ้นในวาระครบรอบ 50 ปี แห่งมิตรภาพและความร่วมมืออาเซียน - ญี่ปุ่น โดยกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพ และมาเลเซียเป็นประธานร่วม ระหว่างวันที่ 5-7 กรกฎาคม 2566              ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในส่วนของไทยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ในขณะนั้น เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยผลการประชุม AJSMJ และการประชุมที่เกี่ยวข้องสรุปได้ ดังนี้
                              1.1 การประชุมประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Coordination Meeting) ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาร่างเอกสารผลลัทธ์การประชุม AJSMJ เป็นครั้งสุดท้าย จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ 1) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AJSMJ และ 2) แผนงานอาเซียนฯ โดยเห็นพ้องที่จะคงไว้ซึ่งสาระสำคัญของเอกสารทั้ง 2 ฉบับ ตามที่ได้เคยหารือกันไว้ในที่ประชุมเตรียมการสำหรับการประชุม AJSMJ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 และมีการปรับแก้ไขในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและตรงกับความเป็นจริง ดังนี้ (1) แถลงการณ์ร่วมฯ ในย่อหน้าที่ 1 (อารัมภบท) จากเดิมที่ได้ระบุวันที่การประชุม AJSMJ คือ ?6th and 7 th of July 2023? ปรับแก้ไขเป็น ?6th of July 2023? และจากเดิมที่ได้ระบุชื่อประเทศประธานร่วมกับญี่ปุ่นคือ ?ZZZZ? ปรับแก้ไขเป็น ?Malaysia? และในย่อหน้าสุดท้ายจากเดิมที่ได้ระบุสถานที่ในการรับรองเอกสาร คือ ?[city], [country], [date] and [month)? ปรับแก้ไขเป็น ?Tokyo, Japan this 6th of July...? และ (2) แผนงานอาเซียนฯ ย่อหน้าที่ 1 จากเดิมที่ได้ระบุวันที่การประชุม AJSM คือ ?July 6-7, 2023? ปรับแก้ไขเป็น ?July 6, 2023?
                              1.2 การประชุม AJSMJ โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธาน (ASEAN Law Ministers? Meeting : ALAWMM) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น (นายเคน ไซโต) เป็นประธานร่วม ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมสรุปว่า ?ไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น มีความยินดีที่เป็นส่วนหนึ่งโอกาสการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ระหว่างกันในครั้งนี้โดยไทยมีการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่สังคมที่มีความมั่นคงและปลอดภัย เช่น การมีผลใช้บังคับของพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 และการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน เป็นต้น เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและสังคมที่สงบสุขและตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง? ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีมติต่อเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม AJSMJ 2 ฉบับ ได้แก่ (1) รับรองแถลงการณ์ร่วมการประชุม AJSMJ และ (2) เห็นชอบแผนงานอาเซียนฯ
                              1.3 การประชุมพบปะระหว่างรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียนและกลุ่มประเทศ G7 (ASEAN - G7 Justice Ministers? Interface: Interface) โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธาน ALAWMM และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น ในฐานะประธาน G7 ปี 2566 เป็นประธานร่วม ซึ่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (นายฟุมิโอะ คิชิดะ) ได้กล่าวถ้อยแถลงในพิธีเปิดการประชุมฯ โดยเน้นย้ำว่า การประชุมในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนและ G7 ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นในด้านกฎหมายและงานยุติธรรม ทั้งในมิติทางวัฒนธรรมและระบบกฎหมายที่มีความแตกต่าง
                              1.4 การหารือทวิภาคี หัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้เข้าร่วมประชุมหารือทวิภาคีกับหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ในห้วงการประชุม AJSMJ และการประชุม Interface ดังนี้
                                        (1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น ในประเด็นการส่งเสริมการดำเนินงานต่อยอดให้เกิดผลเป็นรูปธรรมภายหลังจากการประชุม AJSMJ และการประชุม Interface สิ้นสุดลง และการดำเนินงานภายใต้บันทึกความร่วมมือฯ ระหว่าง ยธ. -ญี่ปุ่น ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของทั้งสองประเทศได้ลงนามไว้ร่วมกันเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2562
                                        (2) ผู้อำนวยการของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) (Ms. Ghada Waly ในประเด็นการบริหารจัดการเรือนจำและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติผ่านกรอบความร่วมมือต่าง ๆ การต่อต้านการทุจริต และการแสดงความพร้อมที่สนับสนุนไทยในการดำเนินการประเด็นอื่น ๆ เช่น การสนับสนุนการดำเนินงานตามประมวลกฎหมายยาเสพติด การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการต่อต้านการลักลอบขนขยะ และอาชญากรรมภาคประมง และการส่งเสริมให้ไทยเป็นภาคีพิธีสารต่อต้านการผลิตและลักลอบค้าอาวุธปืน ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ และเครื่องกระสุนโดยผิดกฎหมาย
                    2. การเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวปฏิบัติ เพื่อนำมาประกอบการพัฒนาการดำเนินงานด้านกฎหมายและงานยุติธรรมที่เกี่ยวข้องของไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีต่าง ๆ ของสากล ดังนั้น จึงจะต้องขอความร่วมมือการบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานด้านกฎหมายและงานยุติธรรม รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องของไทยภายใต้กรอบความร่วมมือนี้ต่อไป

39.  เรื่อง  ขอความเห็นชอบร่างกรอบความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ รอบปี ค.ศ. 2023-2029 (Country Programme Framework: CPF)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกรอบความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) (กรอบความร่วมมือฯ) รอบปี ค.ศ. 2023-2029 (Country Programme Framework: CPF) (ปี 2566-2572) รวมทั้งมอบหมายให้เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในกรอบความร่วมมือฯ ดังกล่าวตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    อว. รายงานว่า
                    ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ IAEA เมื่อปี 2500 จากนั้นได้ลงนามในความตกลงเสริมฉบับแก้ไขเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคโดย IAEA1 ในปี 2523 และได้เข้าร่วมโครงการความร่วมมือทางวิชาการ (Technical Cooperation: TC) กับ IAEA ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ทั้งนี้ กรอบความร่วมมือฯ เป็นกรอบความร่วมมือฉบับที่ 4 ของประเทศไทย (3 ฉบับแรก จัดทำเมื่อปี 2549-2554 ปี 2555 -2559 และปี 2560-2565 ตามลำดับ2) โดยกรอบความร่วมมือฯ ประกอบด้วยโครงการความร่วมมือทางเทคนิคสำหรับปี 2566-2572 ระหว่างไทยกับ IAEA ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์สามารถมีส่วนร่วมโดยตรงและมีความคุ้มค่าต่อลำดับความสำคัญและเป้าหมายการพัฒนาประเทศของไทยในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ได้ประสานงานและจัดประชุมเพื่อจัดทำกรอบความร่วมมือฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 รวมทั้งได้ส่งร่างกรอบความร่วมมือฯ ให้ IAEA ทบทวนและให้ความเห็นเพิ่มติมเพื่อนำมาปรับปรุงร่างดังกล่าวให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์และสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติ นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศ และพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2562 รวมถึงกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่เกี่ยวข้อง โดยคาดว่าจะมีการลงนามกรอบความร่วมมือฯ ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2566
                    สาระสำคัญของกรอบความร่วมมือฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการในด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสีซึ่งครอบคลุมทุกสาขา เช่น ด้านการเกษตร โภชนาการ การแพทย์ อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม การวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้อง โดยจัดทำในรูปแบบโครงการ TC กรอบระยะเวลา ค.ศ. 2023-2023 (ปี 2566-2572) โดยประเด็นหลักของกรอบความร่วมมือฯ ได้แก่ ความปลอดภัยและความมั่นคงด้านนิวเคลียร์และรังสี  อาหารและการเกษตร สุขภาพและโภชนาการ การจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อมทางทะเล  อุตสาหกรรมและพลังงาน

1ความตกลงเสริมฉบับแก้ไขเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคโดย IAEA คือข้อตกลงระหว่าง IAEA กับรัฐบาลไทยในการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคในการใช้พลังงานปรมาณูอย่างสันติ เช่น การใช้งาน การบำรุงรักษา การจัดเก็บ การกำจัดอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานปรมาณู
2จากการประสานข้อมูลเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ปส. แจ้งว่า กรอบความร่วมมือฯ 3 ฉบับแรก ไม่ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเนื่องจากอยู่ในอำนาจของเลขาธิการสำนักงานปรมาญเพื่อสันติที่สามารถลงนามในกรอบความร่วมมือฯ ได้ ภายหลังจากที่คณะอนุกรรมการว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศได้ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่โดยที่ร่างกรอบความร่วมมือฯ ฉบับที่ 4 กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)เห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ปส. ในฐานะส่วนราชการเจ้าของเรื่องจึงควรพิจารณาเสนอร่างกรอบความร่วมมือฯ ดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วย

40. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติกับกระทรวงการต่างประเทศ การค้า และการพัฒนาแห่งประเทศแคนาดา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กับกระทรวงการต่างประเทศ การค้า และการพัฒนาแห่งประเทศแคนาดา (Department of Foreign Affairs, Trade and Development of Canada: DFATD) (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้ อว. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งเห็นชอบให้เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
                    1. เรื่องเดิม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติ (12 พฤษภาคม 2563) เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่าง DFATD กับ ปส. โดยมีกำหนดระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2563 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 เพื่อสร้างกรอบความร่วมมือเกี่ยวกับการให้บริการและการฝึกอบรมที่ไม่เป็นตัวเงินและแบบให้เปล่าเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศไทยในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีผ่านการพัฒนาหลักสูตร การจัดตั้ง และการดำเนินงานของศูนย์สนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์
                    2. สาระสำคัญของเรื่อง
                    อว. รายงานว่า
                    ภายหลังจากที่ อว. โดย ปส. ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่าง DFATD กับ ปส. เพื่อขอรับการสนับสนุนความช่วยเหลือในการจัดตั้งและการดำเนินงานของศูนย์สนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของไทยจาก DFATD (ตามข้อ 1) ปส. ได้รับการสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ เช่น การพัฒนาระบบตามมาตรฐาน ISO 299931 การรับรองมาตรฐานสำหรับหลักสูตรการฝึกอบรมด้านความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ปี 2565 การพัฒนาหลักสูตรการจัดการความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุกัมมันตรังสีและการจัดฝึกอบรมในหัวข้อดังกล่าว รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรให้เป็นวิทยากรด้านการจัดการความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุกัมมันตรังสี จำนวน 9 ราย ทั้งนี้ เนื่องจากบันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้สิ้นอายุเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 ดังนั้น ปส. และ DFATD จึงเห็นพ้องที่จะจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับใหม่ เพื่อให้การดำงานตามบันทึกความเข้าใจฯ เป็นไปด้วยความต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566
                    ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้มีความแตกต่างจากฉบับเดิมในเรื่องระยะเวลามีผลผูกพัน จากเดิมที่มีกำหนดระยะเวลาไว้ชัดเจน แก้ไขเป็นไม่มีกำหนดระยะเวลา โดยจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งความประสงค์ขอยกเลิกร่างบันทึกความเข้าใจฯ นี้ รวมทั้งได้เพิ่มเติมให้ ปส. มีบทบาทในการอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม รวมถึงการยกเว้นภาษีนำเข้า ภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และภาษีอื่นใดที่อาจเกิดขึ้นจากการขนส่งอุปกรณ์หรือการให้บริการอันเนื่องมาจากการให้ความช่วยเหลือจาก DFATD โดยสาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ       มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความร่วมมือที่ไม่ใช่ทางการเงินและการสนับสนุนอุปกรณ์ การให้บริการและการฝึกอบรมแบบให้เปล่า เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของไทยในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี และจะทำให้เกิดความต่อเนื่องในการทำงาน ซึ่งจะเป็นประโยซน์ต่อการดำเนินงาน รวมถึงเพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างสมรรถนะด้านความมั่นคงทางนิวเคลียร์ของไทยและการฝึกอบรมระดับชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจของ ปส. เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากนิวเคลียร์และรังสี
1ISO 29993 คือ ข้อกำหนดด้านคุณภาพสำหรับหน่วยงานที่ให้บริการด้านการเรียนรู้นอกเหนือจากการศึกษาปกติ เช่น การฝึกอบรมเชิงวิชาชีพ การฝึกอบรมภายในองค์กร และการให้บริการฝึกอบรมภายนอกองค์กร โดย ปส. ได้รับการรับรองคุณภาพตามข้อกำหนดมาตรฐาน ISO 29993 สำหรับการจัดฝึกอบรมหลักสูตรด้านความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์

41. เรื่อง ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 28
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย (คณะกรรมการฯ) [รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุหิน) เป็นประธานกรรมการ] เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (การประชุมคณะมนตรีฯ) ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับหุ้นส่วนการพัฒนา (การประชุมคณะมนตรีฯ กับหุ้นส่วนการพัฒนา) ครั้งที่ 28
                    2. รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะมนตรีฯ ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรีฯ กับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 28
                    3. เห็นชอบให้คณะผู้แทนไทยหารือกับประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงตามประเด็นในกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรีฯ ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรีฯ กับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 28 เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานและความร่วมมือเป็นไปตามพันธกรณีของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538 (ความตกลงฯ)
                    4. อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ในฐานะสมาชิกคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เป็นผู้ลงนามรับรองรายงานการประชุม โดยที่เอกสารดังกล่าวมิได้ใช้ถ้อยคำก่อให้เกิดพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เข้าข่ายหนังสือสัญญา
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คณะกรรมการฯ รายงานว่า
                    1. รัฐบาลไทยได้ลงนามความตกลงฯ ร่วมกับ กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และเวียดนาม เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2538 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินความร่วมมือในทุกด้านของการพัฒนาที่ยั่งยืน การใช้การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องของลุ่มแม่น้ำโขงเป็นผลให้มีการก่อตั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (คณะกรรมาธิการฯ) (Mekong River Commission: MRC) มีสถานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศ ในการสนับสนุนการดำเนินงานและความร่วมมือให้เป็นไปตามพันธกรณีของความตกลงฯ โดยโครงสร้างการบริหารของคณะกรรมาธิการฯ แบ่งออกเป็นองค์กรบริหารถาวร 3 องค์กร คือ (1) คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วย ผู้แทนจากประเทศสมาชิกในระดับรัฐมนตรี ประเทศละ 1 คน [ในส่วนของไทย คือ รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน)] (2) คณะกรรมการร่วม (Joint Committee) ประกอบด้วย ผู้แทนจากประเทศสมาชิกในระดับอธิบดีขึ้นไป ประเทศละ 1 คน (ในส่วนของไทย คือ นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ) และ (3) สำนักงานเลขาธิการ (Secretariat)1 มีหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ซึ่งคณะมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่บริหารงานและเป็นหน่วยงานปฏิบัติการของคณะกรรมาธิการฯ โดยที่ในแต่ละปีผู้แทนในคณะมนตรี จะหมุนเวียนทำหน้าที่ประธานคณะมนตรี ตามลำดับตัวอักษรของประเทศสมาชิก เพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายและตัดสินใจการดำเนินงานตามความตกลงฯ ให้บรรลุผลสำเร็จ
                    2. การประชุมคณะมนตรีฯ ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรีฯ กับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 282 มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือและกำหนดนโยบายความร่วมมือในการบริหารองค์กรของคณะกรรมาธิการฯ และกำหนดแนวทางความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา รวมถึงหุ้นส่วนการพัฒนา3และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยมีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องหรือผู้แทนจากประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย กัมพูชา สปป.ลาว เวียดนาม และประเทศไทย รวมทั้งประเทศคู่เจรจา (สาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพเมียนมา)และหุ้นส่วนการพัฒนา เข้าร่วมการประชุม โดยมีระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่จำเป็นต้องมีการหารือในระดับนโยบายเพื่อกำหนดท่าทีของประเทศ จำนวน 1 เรื่อง คือ การสรรหาตำแหน่ง CEO ของสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการฯ (สำนักงานฯ) โดยมีกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรีฯ ครั้งที่ 30 ดังนี้ 1) การปรับปรุงร่างขอบเขตงาน (Term of Reference: TOR) ของ CEO4 2) กระบวนการคัดเลือก CEO ของสำนักงานฯ
1สำนักงานเลขาธิการ (Mekong River Commission Secretariat: MRCS) ตั้งอยู่ที่เวียงจันทน์ สปป.ลาว และกรุงพนมเปญ กัมพูชา
2เป็นการประชุมสมัยสามัญของคณะมนตรีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี
3เช่น ออสเตรเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น โดยจะบริจาคเงินทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ของคณะกรรมาธิการฯ
4เมื่อการดำรงตำแหน่ง CEO หมุนเวียนไปถึงประเทศใด ประเทศนั้นจะสามารถปรับปรุงร่างขอบเขตงานของ CEO ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของประเทศนั้น ๆ ได้

42. เรื่อง การแก้ไขสัญญาประธานในการจ้างธนาคารโลกเป็นที่ปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่าย (Amendments to the Framework Agreement for Reimbursable Advisory Services)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างสัญญาประธานในการจ้างธนาคารโลกเป็นที่ปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่าย ฉบับแก้ไข ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงร่างสัญญาประธานในการจ้างธนาคารโลกเป็นที่ปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่าย ฉบับแก้ไข ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยขอให้กระทรวงการคลังสามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสม รวมทั้งรับทราบว่าไม่จำเป็นต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจเต็ม เนื่องจากในทางปฏิบัติเป็นที่ยอมรับกันระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคารโลก และอนุมัติให้ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังลงนามในร่างสัญญาประธานในการจ้างธนาคารโลกเป็นที่ปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่าย ฉบับแก้ไขตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ความเป็นมา
                              1) ธนาคารโลกมีบริการเป็นที่ปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยงานรัฐของประเทศสมาชิก โดยการให้บริการดังกล่าวจะต้องทำสัญญาจ้างตามแบบสัญญามาตรฐานของธนาคารโลก ขณะที่หน่วยงานรัฐของประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ซึ่งได้กำหนดให้ใช้รูปแบบสัญญามาตรฐานซึ่งกำหนดโดยคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นรายกรณี ดังนั้น เพื่อลดความซับซ้อนของกระบวนการจ้างธนาคารโลกเป็นที่ปรึกษา ธนาคารโลกจึงได้ร่วมกับกระทรวงการคลังและสำนักงานอัยการสูงสุด จัดทำสัญญาประธานฯ เพื่อใช้เป็นสัญญามาตรฐานสำหรับหน่วยงานรัฐในการจ้างธนาคารโลกเป็นที่ปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่าย
                              2) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 เห็นชอบร่างสัญญาประธานฯ และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ลงนาม ตามที่กระทรวงการคลังสนอ โดยกระทรวงการคลังได้ลงนามในสัญญาประธานฯ ดังกล่าว เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561
                              3) เนื่องจากสัญญาประธานฯ จะครบกำหนดอายุสัญญาในวันที่ 22 พฤศจิกายน2566 ธนาคารโลกจึงได้มีหนังสือเลขที่ 343/ 2023 ลงวันที่ 6 เมษายน 2566 ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เรื่องการแก้ไขสัญญาประธานฯ เพื่อพิจารณาขยายกำหนดอายุของสัญญาประธานฯ และแก้ไขเนื้อหาบางส่วนของสัญญาประธานฯ
                              4) ตั้งแต่มีการลงนามในสัญญาประธานฯ ปัจจุบันมีการดำเนินโครงการจ้างธนาคารโลกเป็นที่ปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 23 โครงการ คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งหมด 9.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในปี 2566 มีการทำสัญญาจ้างธนาคารโลกเป็นที่ปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 4 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นโครงการในภาคการศึกษา การพัฒนานวัตกรรมและนโยบายทางวิทยาศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น
                    2. สัญญาประธานฯ เป็นการกำหนดเงื่อนไข และภาระหน้าที่ต่าง ๆ ระหว่างหน่วยงานรัฐของประเทศไทยในฐานะผู้รับบริการ และธนาคารโลกในฐานะผู้ให้คำปรึกษา ซึ่งครอบคลุมถึงการให้คำปรึกษาแบบมีค่าใช้จ่าย การติดต่อผู้รับบริการ ระยะเวลาการบริการให้คำปรึกษา การชำระเงิน การมีผลและการสิ้นสุดของสัญญา และความร่วมมือของหน่วยงานรัฐ

43. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 8
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ทั้ง 3 ฉบับ 1) ร่างแถลงข่าวร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 8 2) ร่างแผนดำเนินการ 5 ปี กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (ค.ศ. 2023-2027) 3) ร่างข้อริเริ่มร่วมเรื่องการพัฒนาระเบียงนวัตกรรมภายใต้กรอบความร่วมมือแหม่โขง-ล้านช้าง หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
                    2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างแถลงข่าวร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านข้าง ครั้งที่ 8 ตามที่ประเทศสมาชิกมีฉันทามติ
                    3. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองร่างแผนดำเนินการ 5 ปี กรอบความร่วมมือแม่โขงล้านช้าง (ค.ศ. 2023-2027) และร่างข้อริเริ่มร่วม เรื่องการพัฒนาระเบียงนวัตกรรมภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง หากประธานร่วมพิจารณาแล้วเสนอให้มีการรับรองเอกสารข้างต้นในระดับรัฐมนตรี เนื่องจากคาดว่า ไม่น่าจะสามารถจัดการประชุมผู้นำฯ ร่วมกันได้ในอนาคตอันใกล้ อย่างไรก็ดี หากประธานร่วมสามารถจัดการประชุมผู้นำฯ ได้ในอนาคตอันใกล้ ขอให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองเอกสารข้างต้นในการประชุมผู้นำฯ ตามที่ประเทศสมาชิก
มีฉันทามติ
                    สาระสำคัญ
                    กรอบ MLC ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และลดความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศฯ ครั้งแรก เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 และการประชุมผู้นำฯ ครั้งแรก เมื่อเดือนมีนาคม 2559
                    ฝ่ายจีนเสนอให้การประชุมรัฐมนตรีฯ ครั้งที่ 8 รับรองร่างแถลงข่าวร่วมฯ 1 ฉบับ และหากยังไม่สามารถจัดการประชุมผู้นำฯ ได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ฝ่ายจีนจะเสนอให้มีการรับรองร่างแผนดำเนินการ 5 ปีฯ และร่างข้อริเริ่มร่วมการพัฒนาระเบียงนวัตกรรมฯ ในการประชุมรัฐมนตรีฯ ครั้งที่ 8 ด้วย
                    ทั้งนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประธานร่วมของกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong-Lancang Cooperation: MLC) เสนอให้จัดการประชุมรัฐมนตรีฯ ครั้งที่ 8 ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ณ เมืองฉงจั่ว เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง สาธารณรัฐประชาชนจีน

แต่งตั้ง
44. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. นายธงทอง นิพัทธรุจิ     2. นายกฤตนัน สุทธิธนาเลิศ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป

45. เรื่อง การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร (นักบริหาร ระดับสูง และนักบริหารการทูต ระดับสูง) กระทรวงการต่างประเทศ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้
                      1. การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมัสกัต รัฐสุลต่านโอมาน ของนายสุวัฒน์ แก้วสุข ตั้งแต่วันที่ 25 กฎาคม 2566 ถึงวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 ซึ่งเป็นการขอต่อเวลาครั้งที่ 2
                     2. การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ของนายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2566 จนถึงวันที่ 25 กันยายน 2567 ซึ่งเป็นการขอต่อเวลาครั้งแรก
                     3. การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ                      รัฐอิสราเอล ของนางสาวพรรณนภา จันทรารมย์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 ซึ่งเป็นการขอต่อเวลาครั้งแรก
                     4. การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล ราชอาณาจักรนอร์เวย์ ของนางสาววิมลพัชระ รักษาเกียรติ ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งเป็นการขอต่อเวลาครั้งแรก
                     5. การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิสบอน สาธารณรัฐโปรตุเกส ของนางครองขนิษฐ รักษ์เจริญ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2567 ซึ่งเป็นการขอต่อเวลาครั้งแรก
                     6. การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา แคนาดา ของนายกัลยาณะ วิภัติภูมิประเทศ ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2567 จนถึงวันที่ 17 มกราคม 2568 ซึ่งเป็นการขอต่อเวลาครั้งแรก

46. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันอนุญาโตตุลาการ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันอนุญาโตตุลาการ จำนวน 5 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้
                    1. นายวัลลภ นาคบัว
                    2. นายพิศุทธ์ อรรถกมล                       (กรรมการจากผู้แทนภาคเอกชน)
                    3. นายสมพร สืบถวิลกุล                      (กรรมการจากผู้แทนภาคเอกชน)
                    4. นางสาวนภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์           (กรรมการจากผู้แทนภาคเอกชน)
                    5. นายไกรรวี ศิริกุล                     (กรรมการจากผู้แทนภาคเอกชน)
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป และให้สถาบันอนุญาโตตุลาการรับข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ