สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 ธันวาคม 2566

ข่าวการเมือง Tuesday December 19, 2023 17:50 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ 19 ธันวาคม 2566 เวลา 10.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
                                        ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี                                        ราชมงคลตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุม                                                  อาคาร พ.ศ. 2522 (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538)ฯ)
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข                                         7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่..) พ.ศ. ....                                         (ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนต์บนทางหลวงพิเศษในช่วงเทศกาลปีใหม่ของปี                                         พ.ศ. 2567)

เศรษฐกิจ
          4.           เรื่อง           รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน                                         ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2565
          5.           เรื่อง            รายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม                                        อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566-2570)
                    6.           เรื่อง           รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3/2566 และแนวโน้ม

ไตรมาสที่ 4/2566 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือน

กันยายน 2566

                    7.           เรื่อง           รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนตุลาคมและ 10 เดือนแรกของ

ปี 2566

          8.           เรื่อง           มติการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566
          9.           เรื่อง           มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567 และกลไกการบริหารจัดการ
          10.           เรื่อง           การยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดอัตราค่าผ่าน                                        ทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี ?

สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2567

          11.           เรื่อง           ขอยกเลิกการเข้าใช้พื้นที่โครงการศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ

อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์

          12.           เรื่อง           ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2566 และแนวโน้มปี 2566 ? 2567
                    13.            เรื่อง           แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ
                    14.           เรื่อง           การจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ และมอบหมายผู้มีอำนาจกำกับแผนงาน                                        บูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568






ต่างประเทศ
                    15.            เรื่อง           ร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนระหว่างรัฐบาล                                                                       แห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                    16.            เรื่อง           ร่างปฏิญญาเนปยีดอของการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านข้าง

ครั้งที่ 4

แต่งตั้ง
                    17.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    18.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    19.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ  (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    20.           เรื่อง           รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของรองนายกรัฐมนตรีและส่วน                                                  ราชการ
                     21.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนา                                                  เกษตรกร
                    22.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    23.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายรัฐบาลในคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 แทน                                                  ตำแหน่งที่ว่างลง
                    24.           เรื่อง           การสรรหากรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ                                         แทนตำแหน่งที่ว่าง
?

กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ                          เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ อว.เสนอว่า
                    1. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ                   เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก                           รวม 11 สาขาวิชา ได้แก่ (1) สาขาวิชาการจัดการ (2) สาขาวิชาการบัญชี (3) สาขาวิชาเทคโนโลยี (4) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (5) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ (6) สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ (7) สาขาวิชาศิลปศาสตร์ (8) สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (9) สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ (10) สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ และ (11) สาขาวิชาอุตสาหกรรมศาสตร์
                    2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกได้เปิดสอนสาขาวิชาและกำหนดปริญญาในสาขาวิชาเพิ่มขึ้น 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ (ศิลปบัณฑิต หรือศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต) และในคราวการประชุมคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่แทนสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ครั้งที่ 16/2564 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรซึ่งอยู่ภายใต้สาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ ดังนี้ 1) หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565) 2) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565) 3) หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศิลปกรรม (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565) และ 4) หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรม (หลักสูตรใหม่                   พ.ศ. 2565) โดยสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับทราบหลักสูตรดังกล่าวด้วยแล้ว
                    3. อว. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา                    ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำสาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์เพิ่มเติม ดังนี้
                              3.1 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ มีปริญญาสองชั้น คือ
                                        (ก) เอก เรียกว่า ?ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ศป.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?
                                        (ข) โท เรียกว่า ?ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ศป.ม.?
                              3.2 กำหนดสีประจำสาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ สีเขียวอ่อน
                    4. การประชุมคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่แทนสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก                 ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 3 แล้ว                  จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกามาเพื่อดำเนินการ
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำสาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์


2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538)ฯ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538)ฯ) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอและให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    มท. เสนอว่า
                    1. ด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร             พ.ศ. 2522 กำหนดให้การก่อสร้างอาคารเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัยและประกอบกิจการต้องมีระบบระบายน้ำและการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เช่น หอพัก อาคารชุด โรงแรม สถานพยาบาล ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียซึ่งประกอบด้วยบ่อเกรอะ1 และบ่อซึม2 ก่อนที่จะระบายลงสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมเกี่ยวกับการสาธารณสุขและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด เช่น กำหนดให้อาคารตามที่กำหนดต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการปรับปรุงน้ำเสียจากอาคารให้เป็นน้ำที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด (เช่น อาคารประเภท ง ต้องมีปริมาณตะกอนหนักไม่เกิน 0.5 มิลลิลิตร/ลิตร มีปริมาณน้ำมันและไขมัน ไม่เกิน 20 มิลลิกรัม/ลิตร เป็นต้น) เพื่อควบคุมมาตรฐานและคุณภาพน้ำทิ้ง
                    2. เนื่องจากข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538)ฯ กำหนด ยังไม่ครอบคลุมเนื้อหาและรายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับแบบและขนาดขั้นต่ำของระบบบำบัดน้ำเสีย โดยกำหนดเพียงให้ระบบบำบัดน้ำเสียต้องประกอบด้วยบ่อเกรอะและบ่อซึมเท่านั้น ซึ่งไม่ได้กำหนดรายละเอียดอื่น เช่น รูปแบบ ขนาด หรือตำแหน่งของบ่ออันเป็นรายละเอียดที่จะทำให้ระบบดังกล่าวมีมาตรฐาน ประกอบกับปัจจุบันวิธีการบำบัดน้ำเสียด้วยบ่อซึมไม่เหมาะสมกับประเทศไทย3 และการกำหนดให้ระบบบำบัดน้ำเสียต้องประกอบด้วยบ่อเกรอะและบ่อซึมนั้น ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในทางปฏิบัติจริงที่สามารถรวมทั้ง 2 บ่อ ไว้ด้วยกัน ซึ่งการแยกระบบบำบัดออกเป็น 2 บ่อหรือรวมเป็นบ่อเดียวนี้ถือเป็นทางเลือกที่ประชาชนสามารถเลือกปฏิบัติได้ อันจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและลดภาระค่าใช้จ่ายแก่ประชาชน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับแบบระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับอาคารให้มีความเหมาะสมมากขึ้น เพื่อให้การบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพในการควบคุมเกี่ยวกับการสาธารณสุขและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและเป็นไปตามมาตรฐานสากล อีกทั้งมีความจำเป็นต้องเพิ่มเติมข้อกำหนดสำหรับอาคารประเภทและขนาดตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538)ฯ4 ที่ขอรับบริการบำบัดน้ำเสียรวมของหน่วยงานของรัฐแล้วให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538)ฯ เพื่อให้ไม่เป็นการบำบัดน้ำเสียซ้ำซ้อน และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็นให้แก่ประชาชน ทั้งนี้ ในส่วนของหลักเกณฑ์รายละเอียดของแบบระบบบำบัดน้ำเสีย เช่น รูปแบบและตำแหน่ง ลักษณะของโครงสร้าง เป็นต้นจะกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารต่อไป ซึ่งในคราวประชุมคณะกรรมการควบคุมอาคาร ครั้งที่ 1515 - 28/2565 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ               ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวด้วยแล้ว
                    3. มท. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวโดยได้รับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th) รวมทั้งได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์กระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายและเปิดเผยเอกสารดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และกฎกระทรวงกำหนด                ร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 ด้วยแล้ว
ดังนั้น มท. จึงยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวงที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้วต่อไป


                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. แก้ไขปรับปรุงแบบระบบบำบัดน้ำเสีย โดยกำหนดให้ระบบบำบัดน้ำเสียต้องประกอบด้วยส่วนเกรอะ5 และส่วนบำบัด6 ซึ่งในส่วนของหลักเกณฑ์รายละเอียดของส่วนเกรอะและส่วนบำบัด เช่น รูปแบบและตำแหน่ง ลักษณะของโครงสร้าง เป็นต้น จะกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารต่อไป (เนื่องจากเดิมกำหนดเพียงให้ระบบบำบัดน้ำเสียต้องประกอบด้วยบ่อเกรอะและบ่อซึม โดยต้องมีขนาดได้สัดส่วนที่เหมาะสมกับการใช้ของผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารเท่านั้น ไม่ได้กำหนดรูปแบบหรือขนาดขั้นต่ำแต่อย่างใด) โดยมีการแก้ไขรายละเอียดในส่วนของถ้อยคำจากเดิม ?บ่อ? เป็น ?ส่วน? (เนื่องจากเดิมระบบบำบัดน้ำเสียต้องประกอบด้วยบ่อเกรอะและบ่อซึมแต่ในทางปฏิบัติจริงสามารถรวมบ่อเกรอะและบ่อซึมไว้ในบ่อเดียวกันได้ซึ่งประชาชนสามารถเลือกปฏิบัติได้โดยอาจแยกเป็น 2 บ่อหรือรวมไว้เป็นบ่อเดียวกันได้ จึงแก้ไขเป็นคำว่า ?ส่วน? เพื่อความเหมาะสม) รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำ จากเดิม ?บ่อซึม? เป็น ?ส่วนบำบัด? (เนื่องจากปัจจุบันบ่อซึมซึ่งเป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียรูปแบบหนึ่งนั้นไม่ใช่วิธีการบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมกับประเทศไทยแล้ว) เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน
                    2. แก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำจากเดิม ?ใช้วิธีผ่านบ่อซึม? เป็น ?ใช้วิธีการซึม? เพื่อให้สอดคล้องกับกรณีที่ได้แก้ไขคำว่า ?บ่อซึม? เป็น ?ส่วนบำบัด?
                    3. เพิ่มเติมข้อกำหนด โดยกำหนดให้อาคารประเภทและขนาดตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538)ฯ ที่ขอรับบริการบำบัดน้ำเสียรวมของหน่วยงานของรัฐแล้วให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538)ฯ เพื่อให้ไม่เป็นการบำบัดน้ำเสียซ้ำซ้อน และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็นให้แก่ประชาชน
                    4. กำหนดบทเฉพาะกาล โดยกำหนดให้อาคารที่ได้รับใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งการก่อสร้างหรือดัดแปลง หรือที่ได้ยื่นคำขออนุญาตหรือได้รับแจ้งการก่สร้างหรือดัดแปลงอาคารตามมาตรา 39 ทวิ7 ได้รับยกเว้น               ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ เนื่องจากทำให้เป็นภาระแก่ประชาชนมากขึ้น
1 บ่อเกรอะ คือบ่อที่เอาไว้กักเก็บสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ เพื่อแยกกากและไขมันออกจากน้ำเสียก่อนจะส่งผ่านไปยังบ่อซึม
2 บ่อซึม คือบ่อที่รองรับน้ำเสียจากบ่อเกรอะ ก่อนจะปล่อยน้ำเสียจากบ่อซึมเหล่านี้ซึมสู่ชั้นดินหรือระบายลงสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้ง โดยเป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียรูปแบบหนึ่งที่ใช้ชั้นดินเป็นตัวปรับปรุงน้ำเสีย
3 บ่อเกรอะและบ่อซึมจะต้องตั้งอยู่ห่างจากแหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคทั่วไป เนื่องจากความสกปรกสามารถกระจายมาตามดินได้ และในกรณีที่มีน้ำใต้ดินสูง ก็จะไม่สามารถใช้บ่อเกรอะและบ่อซึมได้ เพราะน้ำในบ่อซึมจะไม่สามารถซึมออกไปในดินได้ และเมื่อถึงเวลาที่บ่อเต็มจะต้องมีการดูดสิ่งปฏิกูลจากบ่อเกรอะออกไปทิ้งด้วยมิฉะนั้นจะใช้งานไม่ได้ อีกทั้งยังพบปัญหาการปนเปื้อนของบ่อซึมไปยังแหล่งน้ำใต้ดินอีกด้วย
4 อาคารจำนวน 4 ประเภท ได้แก่ (1) อาคารประเภท ก เช่น อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดที่มีจำนวนห้องชุดรวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันเกิน 500 ห้องชุด สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลที่มีจำนวนเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนรวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันเกิน 30 เตียง (2) อาคารประเภท ข เช่น อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดที่มีจำนวนห้องชุดรวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันเกิน 100 ห้องชุด แต่ไม่เกิน 500 ห้องชุด ภัตตาคารหรือร้านอาหารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันเกิน 500 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 2,500 ตารางเมตร (3) อาคารประเภท ค เช่น อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดที่มีจำนวนห้องชุดรวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันไม่เกิน 100 ห้องชุด ภัตตาคารหรือร้านอาหารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันเกิน 100 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 500 ตารางเมตร และ (4) อาคารประเภท ง เช่น หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพักที่มีจำนวนห้องนอนรวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันไม่เกิน 50 ห้อง ภัตตาคารหรือร้านอาหารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันไม่เกิน 100 ตารางเมตร
5 ส่วนเกรอะ คือส่วนของที่กักเก็บสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ โดยในส่วนนี้จะต้องมีลักษณะมิดชิดน้ำซึมผ่านไม่ได้ เพื่อใช้เป็นที่แยกกากและไขมันที่ปนอยู่ในน้ำเสีย เพื่อเป็นการแยกกากและไขมันก่อนส่งผ่านไปยังส่วนบำบัด
6 ส่วนบำบัด คือส่วนที่รองรับน้ำเสียที่ผ่านจากส่วนเกรอะแล้ว เพื่อแยกกากและไขมันส่วนที่เหลือ และบำบัดให้น้ำเสียนี้เป็นน้ำทิ้งต่อไป
7 มาตรา 39 ทวิ กำหนดให้ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร โดยไม่ยื่นขอรับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก็ได้ โดยการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่คณะกรรมการควบคุมอาคารกำหนดพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบดังกล่าว โดยอย่างน้อยต้องแจ้งข้อมูลและยื่นเอกสารและหลักฐาน เช่น (1) ชื่อของผู้รับผิดชอบงานออกแบบอาคาร ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยสถาปนิก และต้องไม่เป็นผู้ได้รับการแจ้งชื่อตามมาตรา 49 ทวิ แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณของอาคารที่จะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอน ซึ่งลงลายมือชื่อพร้อมกับระบุชื่อของบุคคลตาม (1) และ (2) ให้ชัดเจนว่าตนเป็นผู้รับผิดชอบงานออกแบบอาคารและเป็นผู้รับผิดชอบงานออกแบบและคำนวณอาคารนั้น

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนต์บนทางหลวงพิเศษในช่วงเทศกาลปีใหม่ของปี พ.ศ. 2567)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร ? บ้านฉาง ตอนกรุงเทพมหานคร ? เมืองพัทยา รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 (บางวัว) ทางแยกเข้าชลบุรี ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง ทางแยกเข้าพัทยา และตอนบ้านหนองปรือ ? บ้านฉาง รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (บ้านอำเภอ) และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนพระประแดง ? บางแค ช่วงพระประแดง ? ต่างระดับบางขุนเทียน และตอนบางประอิน ? บางพลี ตั้งแต่เวลา 00.01 นาฬิกา ของวันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม 2566 ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันพุธที่ 3 มกราคม 2567  เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินทางบนทางหลวงพิเศษในช่วงเทศกาลดังกล่าวและช่วยสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเดินทางได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้การจราจรมีความคล่องตัว รวมทั้งเป็นการลดการใช้พลังงานของประเทศ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าแล้ว

เศรษฐกิจ
4. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปีงบประมาณ               พ.ศ. 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ดังนี้
                    1. รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
                    2. เห็นชอบให้นำความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงยุติธรรม สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรี และนำเสนอ                            สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
                    3. ให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินรับความเห็นของกระทรวงยุติธรรม สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย


                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีรายละเอียดที่สำคัญรวม 8 ด้าน คือ (1) ผลการปฏิบัติงานด้านการป้องกันการฟอกเงิน                                   (2) ผลการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการฟอกเงิน (3) ผลการปฏิบัติงานด้านการกำกับและตรวจสอบผู้มีหน้าที่รายงาน (4) ผลการปฏิบัติงานด้านความร่วมมือและพัฒนา (5) การพัฒนาองค์การ (6) ผลการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การตรวจพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ และการตรวจสอบการกระทำความผิดทางเทคโนโลยี (7) ผลการปฏิบัติงานด้านการแก้ไขกฎหมายและออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และ (8) ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รายละเอียด ดังนี้
                    1. ผลการปฏิบัติงานด้านการป้องกันการฟอกเงิน
                              1.1 การรับเรื่องราวร้องเรียน ร้องทุกข์ แจ้งเบาะแส
                                   สำนักงาน ปปง. จัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียน ร้องทุกข์ แจ้งเบาะแส พร้อมกำหนด                 เลขหมายโทรศัพท์ 4 ตัว เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการจดจำของประชาชน ?สายด่วน ปปง. 1710? เพื่อให้บริการรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ แจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน และการก่อการร้าย โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้รับเรื่อง จำนวน 1,454 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด                     การค้ามนุษย์/ค้าหญิง และเด็ก และการฉ้อโกงประชาชน เป็นต้น
                              1.2 การรับรายงานการทำธุรกรรม
                                 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีจำนวนผู้มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรม จำนวน 21,141 ราย แบ่งเป็นผู้มีหน้าที่รายงานตามมาตรา 13 สถาบันการเงิน จำนวน 6,285 ราย และตามมาตรา 16 ผู้ประกอบอาชีพ จำนวน 14,856 ราย และดำเนินการปรับปรุงฐานข้อมูลผู้มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรม จำนวน 21 กลุ่มธุรกิจ ซึ่งสำนักงาน ปปง. ได้รับรายงานการทำธุรกรรม จำนวนทั้งสิ้น 26.49 ล้านธุรกรรม
                              1.3 การดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบและวิเคราะห์ธุรกรรม
                                   ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบและวิเคราะห์ธุรกรรมเพื่อวิเคราะห์หาความผิดปกติของธุรกรรมทางการเงินที่อาจเชื่อมโยงเกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดตามกฎหมายอื่น โดยส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 487 คดี และได้นำธุรกรรมที่ได้รับรายงานมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ รวมจำนวนทั้งสิ้น 666,381 ธุรกรรม
                              1.4 การจัดทำรายงานวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์
                                   ได้มีการจัดทำรายงานวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ จำนวน 15 ฉบับ ในปีงบประมาณ                  พ.ศ. 2565 เพื่อนำไปกำหนดนโยบายและมาตรการเป็นการรวบรวมข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน
                              1.5 การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
                                   มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานภายในประเทศ จำนวน 6,128 ครั้ง และหน่วยงานต่างประเทศ จำนวน 402 ครั้ง
                              1.6 การส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับภาคประชาชน
                                        1.6.1 มีโครงการสายลับ ปปง. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือของประชาชนเกี่ยวกับการให้ข้อมูลข่าวสารในการสอบสวนดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดมูลฐาน ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน                                ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ปัจจุบันมีผู้สมัครสายลับ ปปง.                               จำนวน 75,449 ราย
                                        1.6.2 ได้ประสานความร่วมมือกับภาคประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และนโยบายร่วมกับสำนักงาน ปปง. รวมถึงร่วมทำงานกับสำนักงาน ปปง. โดยได้มีการจัดสัมมนาให้แก่บุคคลภายนอก และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายให้กับประชาชน ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
                              1.7 การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายในประเทศ
                                   ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) / บันทึกข้อตกลงกับหน่วยงานภายในประเทศเพื่อประโยชน์ในการประสานงานและการดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน                  รวมทั้งสิ้น 44 ฉบับ
                    2. ผลการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการฟอกเงิน
                              2.1 ผลการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน (ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ)
                                   ได้ดำเนินการตรวจสอบ สืบสวน สอบสวน และรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการกับทรัพย์สินผู้กระทำความผิดทั้งความผิดมูลฐานที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม                      การฟอกเงินฯ และกฎหมายอื่น ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คกก. ธุรกรรมได้มีคำสั่งมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จำนวน 692 คำสั่ง คำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สิน จำนวน 210 คำสั่ง มูลค่าทรัพย์สิน 3,658.79 ล้านบาท คำสั่งเพิกถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน จำนวน 35 คำสั่ง มูลค่าทรัพย์สิน 254.73 ล้านบาท เรื่องที่มีการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย จำนวน 45 เรื่อง มูลค่าทรัพย์สิน                    823.10 ล้านบาท เรื่องที่เห็นชอบให้ส่งพนักงานอัยการพิจารณา จำนวน 184 เรื่อง มูลค่าทรัพย์สิน 2,902.85                    ล้านบาท
                              2.2 การบริหารจัดการทรัพย์สินที่ได้จากการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน
                              ดำเนินการเก็บรักษาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน จำนวนทั้งสิ้น 38,438.54 ล้านบาท ขายทอดตลาด จำนวน 23 ครั้ง ขายทรัพย์สินได้ จำนวน 743 รายการ คิดเป็นมูลค่าทรัพย์สิน 167.77 ล้านบาท                 นำทรัพย์สินออกบริหาร จำนวน 1,419 รายการ มีรายได้จากการบริหาร 21.11 ล้านบาท การนำทรัพย์สินที่ยึดหรือายัดส่งคืนเจ้าของทรัพย์สิน จำนวนทั้งสิ้น 4,880.33 ล้านบาท นำทรัพย์สินที่ศาลมีคำสั่งให้ตกเป็นรายได้แผ่นดิน จำนวนทั้งสิ้น 2,746.57 ล้านบาท
                              2.3 การดำเนินคดีอาญาฐานฟอกเงิน
                              ผู้กระทำความผิดตาม ม. 5 แห่ง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีการร้องทุกข์กล่าวโทษ จำนวน 10 เรื่อง และบูรณาการสืบสวนร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมบุคคลตามหมายจับข้อหาฟอกเงิน จำนวน 112 ราย
                              2.4 การดำเนินงานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงิน        แก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2559
                              ได้ดำเนินการประกาศรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดตาม ม. 6 (UN Sanction List)                     จำนวน 8 คำสั่ง บุคคลที่ถูกกำหนดตาม ม. 7 (Thailand Sanction List) จำนวน 40 รายชื่อ และมีการดำเนินคดีอาญาฐานสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายกับผู้กระทำความผิดตาม ม. 15 จำนวนทั้งสิ้น 3 เรื่อง
                    3. ผลการดำเนินงานด้านการกำกับและตรวจสอบผู้มีหน้าที่รายงาน
                              3.1 การศึกษา พัฒนา นโยบาย มาตรการและแนวทางการกำกับและตรวจสอบ เพื่อให้                 การกำกับดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงินและของผู้มีหน้าที่รายงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้สามารถรองรับมาตรฐานสากลในการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้าน               การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT)
                              3.2 การตรวจสอบและประเมินผู้มีหน้าที่รายงาน
                              สำนักงาน ปปง. ได้ตรวจสอบและประเมินผู้มีหน้าที่รายงาน ตามมาตรา 13                      (สถาบันการเงิน) ตรวจประเมิน จำนวน 508 แห่ง ตรวจสอบ จำนวน 25 แห่ง เข้าแนะนำ จำนวน 101 แห่ง การติดตามจำนวน 3 แห่ง และตามมาตรา 16 (ธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน) ตรวจประเมิน จำนวน 738 แห่ง ตรวจสอบ จำนวน 24 แห่ง เข้าแนะนำ จำนวน 212 แห่ง การติดตาม จำนวน 12 แห่ง


                              3.3 โครงการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยงฯ
                              สำนักงาน ปปง. ได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติสำหรับกลุ่มสหกรณ์ จำนวน 4,000 แห่ง พร้อมทั้งจัดอบรมผ่านสื่อออนไลน์ให้กับผู้มีหน้าที่รายงาน จำนวน 354 แห่ง
                              3.4 ผลการดำเนินงานด้านการพัฒนามาตรฐานและเผยแพร่ผู้มีหน้าที่รายงาน
                              สำนักงาน ปปง. ได้จัดอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย มีผู้ผ่านการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 354 แห่ง จำนวน 818 ราย
                    4. ผลการปฏิบัติงานด้านความร่วมมือและพัฒนา
                              4.1 การส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ
                              สำนักงาน ปปง. ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองทางการเงินเพื่อป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อส่งเสริมและประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ รวมจำนวน 55 ฉบับ                  (จำนวน 52 ประเทศ) และประเทศไทยโดยสำนักงาน ปปง. เข้าร่วมในกลุ่มองค์กรระหว่างประเทศเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรและบุคลากรในด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยส่งบุคลากรเข้า              ร่วมประชุม/สัมมนาและฝึกอบรมระหว่างประเทศ
                              4.2 ผลการดำเนินงานด้านการประเมินความสี่ยงด้านการฟอกเงิน และการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง เพื่อให้ทราบถึงภัยคุกคาม จุดเปราะบาง ผลกระทบ และความเสี่ยงของประเทศ และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว รวมทั้งมีการดำเนินการที่สอดคล้องกับความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น ผลการประเมินความเสี่ยงสรุปได้ดังนี้
                                        4.2.1 ความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน ความผิดทุจริตต่อหน้าที่ราชการและยาเสพติดยังคงเป็นความผิดมูลฐานที่มีความเสี่ยงสูงสุด 2 อันดับแรก และช่องทางที่อาจถูกใช้กระทำความผิดที่มีความเสี่ยงสูงสุด ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เป็นต้น
                                        4.2.2 ความเสี่ยงด้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พฤติกรรมที่มีความเสี่ยง ได้แก่ การระดมทุน พฤติกรรมการเคลื่อนย้ายเงินทุน ได้แก่ ผ่านบุคคลเป็นพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูง พฤติกรรมการนำเงินทุนไปใช้ ได้แก่ การนำไปใช้ก่อเหตุ พฤติกรรมที่เชื่อมโยงกับการสนับสนุนองค์การก่อการร้ายสากลมีความเสี่ยงต่ำ และช่องทางที่อาจถูกใช้ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ การขนเงินข้ามแดน ธนาคาร เป็นต้น
                              4.3 ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT)
                              สำนักงาน ปปง. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2565 - 2570 ไว้ 6 ยุทธศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินการด้าน AML/CFT ของประเทศไทยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล มาตรฐานสากล รวมถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงความท้าทายใหม่ ๆ ในปัจจุบัน เพื่อพร้อมรับมือกับความเสี่ยงและภัยคุกคามจากอาชญากรรมการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
                              4.4 การเผยแพร่ผลการประเมินความเสี่ยงระดับชาติและยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธ                   ที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
                              4.5 คณะกรรมการประสานและกำกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT)
                              4.6 ผลการปฏิบัติงานด้านความร่วมมือพหุภาคีและทวิภาคี
                    5. การพัฒนาองค์การ เช่น การฝึกอบรม ประชุม สัมมนา เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีขีดสมรรถนะ      การประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นต้น
                    6. ผลการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การตรวจพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ และการตรวจสอบการกระทำความผิดทางเทคโนโลยี
                              6.1 ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
                              สำนักงาน ปปง. ได้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและสนับสนุนภารกิจหลักตามอำนาจหน้าที่ในการวางหลักเกณฑ์ และดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เช่น ระบบจัดเก็บข้อมูลสถิติด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย AML/CFT ระบบบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐของสำนักงาน ปปง. ระบบคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายเพื่อรองรับการดำเนินการยื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิจากการกระทำความมูลฐานของผู้เสียหาย และระบบตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงด้านการฟอกเงินและรายชื่อบุคคล                  ผู้ถูกกำหนด
                              6.2 ด้านการตรวจพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ (Computer Forensics)
                              ดำเนินการตรวจพิสูจน์หลักฐานดิจิทัล จากวัตถุพยาน Macbook air จำนวน 1 เครื่อง                 ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับความผิดมูลฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมปฏิบัติการนอกพื้นที่กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานดิจิทัล และเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลการตรวจพิสูจน์หลักฐานดิจิทัล
                              6.3 ด้านการตรวจสอบการกระทำความผิดทางเทคโนโลยี (Cyber Crime Detection) ตรวจสอบการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีตามความผิดมูลฐาน จำนวน 14 เรื่องประกอบด้วย การฉ้อโกงประชาชน ม. 3 (3) การพนันทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ม. 3 (9) การตรวจสอบการกระทำความผิดทางเทคโนโลยี
                    7. ผลการปฏิบัติงานด้านการแก้ไขกฎหมายและออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
                              7.1 ดำเนินการปรับปรุง แก้ไขกฎหมายและอนุบัญญัติ จำนวน 7 ฉบับ ได้แก่                          ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ฉบับคุ้มครองผู้เสียหาย) ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยแก้ไขปรับปรุงมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ มีความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ฉบับเพิ่มความผิดมูลฐานการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน) ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ฉบับเพิ่มความผิดมูลฐานเกี่ยวกับภาษีตามประมวลรัษฎากรกับความผิดมูลฐานอื่น) ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติข้อมูล                  ผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง พ.ศ. .... และร่างกฎหมาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
                              7.2 กฎหมายที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลใช้บังคับ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ระเบียบคณะกรรมการธุรกรรมว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 (ประกาศ รจ. เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565) และระเบียบสำนักงาน ปปง. ว่าด้วยการเปรียบเทียบและการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 (ประกาศ รจ. เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565)
                    8. ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                        ได้รับการจัดสรรตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 466.25 ล้านบาท กรมบัญชีกลางโอนงบประมาณสมทบงบบุคลากรที่ไม่เพียงพอ จำนวน 7.99 ล้านบาท                รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 474.24 ล้านบาท โดยจำแนกออกเป็นรายจ่ายประจำ จำนวน 407.23 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน จำนวน 67.01 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายงบประมาณภาพรวม จำนวน 441.95 ล้านบาท จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ จำนวน 397.20 ล้านบาท รายจ่ายลงทุน จำนวน 44.75 ล้านบาท เงินกันเหลื่อมปี จำนวน                             32.27 ล้านบาท คงเหลืองบประมาณตกเป็นพับ จำนวน 25,196.50 บาท
                    ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงาน
                    1. ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
                              1.1 การปรับปรุงและพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับระบบ AML/CFT
                              ในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยได้รับการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านกรอบกฎหมายดีขึ้นจาก 27 ข้อ เป็น 31 ข้อ (จาก 40 ข้อ) และมีข้อแนะนำที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล 9 ข้อ                        ซึ่งสำนักงาน ปปง. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีแนวทางการดำเนินการปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง
                    ข้อเสนอแนะ เพื่อให้การปรับปรุงและพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับระบบ AML/CFT เป็นไปตามข้อแนะนำ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการทบทวน ปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย แนวปฏิบัติ นโยบาย และมาตรการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลด้าน AML/CFT และเท่าทันสถานการณ์
                              1.2 ระบบฐานข้อมูลที่สนับสนุนงานด้าน AML/CFT
                              การพัฒนาระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ ยังประสบปัญหาการเข้าถึงข้อมูลซึ่งยังไม่ครอบคลุม              และการปรับปรุงข้อมูลยังไม่เป็นปัจจุบันเท่าที่ควรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาข้อมูลที่ไม่เพียงพอต่อการดำเนินการและการส่งผลต่อข้อมูลที่รวดเร็ว
                    ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการนำเข้าข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อให้สามารถบูรณาการข้อมูลและใช้ฐานข้อมูลเดียวกันในการดำเนินงานด้าน AML/CFT รวมทั้งผู้บริหารสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจในระดับนโยบาย
                              1.3 ความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (ML/TF/PF)
                              การทำความเข้าใจในเรื่อง ML/TF/PF มีลักษณะการดำเนินการตามหน้าที่ เน้นการทำงานตามเบาะแสหรือสำนวนมากกว่าการทำงานในเชิงรุก และการดำเนินคดีหรือสืบสวนการกระทำความผิดตามความเสี่ยงด้าน ML/TF/PF ยังเป็นกระบวนการใช้ดุลยพินิจที่แตกต่างกันซึ่งอาจทำให้เป้าหมายของการดำเนินงานต่างกัน อีกทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับด้าน AML/CFT มีจำนวนมากและมีความละเอียดค่อนข้างมาก ทำให้การดำเนินงานเชิงรุกเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้าน ML/TF/PF จึงเป็นไปได้ยาก
                    ข้อเสนอแนะ ส่งเสริมให้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและสำนักงาน ปปง. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการทำงานเชิงรุก
                    2. การดำเนินการโครงการสายลับ ปปง.
                    สำนักงาน ปปง. ได้จัดตั้งโครงการสายลับ ปปง. ขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือของภาคประชาชนเกี่ยวกับการให้ข้อมูลข่าวสารในการสอบสวนดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดมูลฐาน ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งปัจจุบันมีผู้สมัครสายลับ ปปง. จำนวนลดลงอย่างมาก เนื่องจากการปฏิบัติงนของสายลับของสำนักงาน ปปง. ไม่มีกฎหมายและระเบียบกำหนดให้มีการจ่ายเงินเดือนหรือค่าตอบแทนเป็นรายเดือน แต่อาจมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามระเบียบที่กำหนด
                    ข้อเสนอแนะ เพื่อให้ประชาชนสนใจสมัครเป็นสมาชิกโครงการสายลับ ปปง. มากยิ่งขึ้น ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ภาคประชาชนทราบถึงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาลักษณะคดี และช่องทางการสมัคร รวมถึงการปรับแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สร้างแรงจูงใจมากขึ้น




5. เรื่อง  รายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ              ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566-2570)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอดังนี้
                    1. รับทราบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ระยะที่ 1
(พ.ศ. 2566-2570)
                    2. รับทราบแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในระยะต่อไป
                    สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานหลักที่ได้รับมอบหมายให้ติดตามและรายงานผล                      การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566-2570) ต่อคณะรัฐมนตรี ขอรายงานสรุปความคืบหน้าการดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2566 และแนวทางการขับเคลื่อน                   การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ในระยะต่อไป ดังนี้
                    1. แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566-2570)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566-2570) ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2565 เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตอุปกรณ์และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในอาเซียน โดยมีเทคโนโลยีเป็นของตนเองภายในปี 2570 โดยประกอบด้วยมาตรการ ดังนี้
                    มาตรการที่ 1 ยกระดับศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เดิมและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ โดยมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้
                              1) ดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต้นน้ำ เช่น Wafer Fabrication, Micro Electronics, Power Electronics และ Communication Electronics
                              2) ยกระดับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ประเทศไทยมีฐานการผลิต เช่น IC Packaging ไปสู่ IC Design และ PCB ไปสู่ High Density PCB, Flexible PCB และ Multi-Layer PCB เป็นต้น
                              3) สร้างผู้ประกอบการ Startup และพัฒนาบุคลากรด้าน Smart Electronics
                              4) สร้างและยกระดับบุคลากรให้เป็น Smart Developer (SD)
                    มาตรการที่ 2 : กระตุ้นอุปสงค์ เพื่อสร้างตลาดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในประเทศ และต่อยอดการสร้างหรือพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ โดยมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้
                              1) สนับสนุนหน่วยงานภาครัฐในการจัดซื้อจัดจ้างใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะหรือใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่ดำเนินการโดยผู้ประกอบการไทย ในสัดส่วนที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 หรือได้มาตรฐานตามที่หน่วยงานมาตรฐานของไทยเป็นผู้กำหนดขึ้น
                              2) กระตุ้นอุปสงค์การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของภาคเอกชนและภาครัฐในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้เกิดการพัฒนาต่อยอดเป็น Smart Home & Smart Appliance, Smart Factory, Smart Hospital & Health, Smart Farm และ EV
                    มาตรการที่ 3 : สร้างและพัฒนา Eco System สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
                              1) ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและสร้าง Eco-system ให้สอดรับกับการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เช่น IoT Platform, Cloud System, Data Center, Data Security, 5G และ Connectivity Teachnology เป็นต้น
                              2) จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง (Excellence Center) เช่น ด้าน IC/Circuit/PCB Design และ Micro/Nanotechnology Design เป็นต้น
                              3) ยกระดับสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยี มาตรฐาน และการทดสอบด้าน Smart Electronics
                              4) ส่งเสริมให้เกิดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และพัฒนาระบบการบริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่การจัดเก็บ รวบรวม การขนส่ง การถอดแยก การรีไซเคิล และการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
                    2. ความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ระยะที่ 1 ในปี พ.ศ. 2566
                    กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยสรุปความคืบหน้าในการดำเนินการได้ ดังนี้
                              2.1 มาตรการยกระดับศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เดิม และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ มีการดำเนินการ ดังนี้
                                        1) การส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยมีผู้ประกอบการขอรับการส่งเสริมเพื่อขอยกเว้นเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 100 จากมูลค่าการลงทุน จำนวน 98 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 108,266.8 ล้านบาท (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน)
                                         2) การสร้างผู้ประกอบการ Startup และพัฒนาบุคลากรด้าน Smart Electronics ให้มีความรู้และต่อยอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม ผ่านการดำเนินการของกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and Innovation-Based Enterprise Development Fund หรือ TED Fund) โดยมีการบูรณาการหน่วยงานให้ทุนสนับสนุน (Funding Agency) หน่วยบ่มเพาะ (Incubator & Accelerator) และนักลงทุน (Investor) ในการสนับสนุนเงินทุน องค์ความรู้ และพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการ Startup โดยปัจจุบันมีสถานประกอบการอยู่ระหว่างดำเนินการสนับสนุนทั้งสิ้น 16 ราย (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
                                        3) การยกระดับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ประเทศไทยมีฐานการผลิต โดยมีการดำเนินการโครงการวิจัยเชิงกลยุทธ? (Strategic Fund; SF) ประเภทโครงการนวัตกรรม ระดับอุตสาหกรรม (Industrial Prototype) ในอุตสาหกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส? (Microelectronics) และอิเล็กทรอนิกส?อัจฉริยะ (Smart Electronics) ของประเทศ เพื่อสนับสนุนการวิจัยเพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงพัฒนาบุคลากรด้านการออกแบบผลิตภัณฑ?วงจรรวมในระดับอุตสาหกรรม จำนวน 7 ราย (สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ)
                              2.2 มาตรการกระตุ้นอุปสงค์เพื่อสร้างตลาดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในประเทศและต่อยอดการสร้างหรือพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ มีการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริการผ่านการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ดังนี้
                                        1) โครงการพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมเกษตรกร ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรและอาหารแปรรูป ให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล     มีการพัฒนาแพลตฟอร์มฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data platform) ด้านการเกษตร มีเกษตรกรเข้าร่วมจำนวน                300 ราย เกิดรายได้เป็นมูลค่ากว่า 450 ล้านบาท (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
                                        2) โครงการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ โดยการจัดทำกิจกรรมแปลงเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ นำเทคโนโลยี Smart Farm และ IoTs มาประยุกต์ใช้ร่วมกับองค์ความรู้ด้านการผลิตพืชของกรมวิชาการเกษตร มีแปลงเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ จำนวน 6 แปลง ได้แก่ ถั่วเหลืองฝักสด ถั่วเหลือง   ถั่วลิสง ถั่วเขียว มันสำปะหลัง และลำไย (กรมวิชาการเกษตร)
                                        3) โครงการยกระดับผลิตภาพภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) โดยการจัดกิจกรรมเพื่อยกระดับสถานประกอบการให้สามารถใช้ทรัพยากรและพลังงานในกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Smart Electronics จำนวน 5 กิจการ ทำให้สามารถลดต้นทุนด้านพลังงานเฉลี่ยร้อยละ 24.5 และสามารถลดปริมาณ              การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 552.75 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม/สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)
                                        4) การวิจัยพัฒนาต้นแบบ Smart Sensor สำหรับ Safety Home/Safety Workplace ภายใต้โครงการ "การพัฒนาระบบเซนเซอร์แบบกระจายอย่างง่าย สำหรับการเฝ้าติดตาม และแจ้งเตือนคุณภาพอากาศในพื้นที่ปฏิบัติงานแบบเรียลไทม์ผ่านระบบออนไลน์? รวมถึงมีการเผยแพร่ในบทความวิชาการ (กรมวิทยาศาสตร์บริการ)
                                        5) การจัดงานแสดงสินค้า ?TAPA 2023? ภายใต้แนวคิด ?Sustainable for The Future? ระหว่างวันที่ 5-8 เมษายน 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา (กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์)
                               2.3 มาตรการสร้างและพัฒนา Ecosystem สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะโดยการพัฒนาบุคลากร ระบบ และโครงสร้างพื้นฐาน มีการดำเนินงาน ดังนี้
                                        1) การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและสร้าง Ecosystem เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ผ่านการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ดังนี้
                                                  1.1) การดำเนินการยก (ร่าง) แผนพัฒนาแรงงานและประสานงานการ  ฝึกอาชีพในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เพื่อเสนอคณะอนุกรรมการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะก่อนนำเข้าเสนอคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานการฝึกอาชีพแรงงานแห่งชาติ (กระทรวงแรงงาน)
                                                  1.2) โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ มีการจัดกิจกรรมดิจิทัลประเทศไทยเพื่ออนาคต พ.ศ. 2566-2570 (Digital Thailand for Future 2023-2027) โดยมีศูนย์วิเคราะห์ทดสอบรับรองมาตรฐาน สร้างนวัตกรรมดิจิทัลด้านเทคโนโลยี 5G จากอุตสาหกรรมเป้าหมาย สร้างมูลค่าการลงทุนของภาคเอกชนในการดำเนินการร่วมกับรัฐ 15 ล้านบาท และมีอัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
                                                  1.3) การจัดทำ Industrial Data Analytic and Collaboration Platform ประกอบด้วยฐานข้อมูลผู้ประกอบการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงเป็น Collaboration Platform เชื่อมโยงระบบนิเวศน์เชิงธุรกิจอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงยกระดับเป็น Smart Factory ภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อยกระดับศักยภาพการแข่งขันเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 (สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม/สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)
                                                  1.4) โครงการพัฒนาศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกสำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลผู้ประกอบการ ข้อมูลการผลิต ข้อมูลการตลาด ข้อมูลเทคโนโลยี  ตลอดจนรายงานบทวิเคราะห์ และบทวิจัยเกี่ยวกับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ทั้งผู้ประกอบการภาคเอกชน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ ได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์ และพัฒนาต่อยอดในการดำเนินงานขององค์กร ตลอดจนการพัฒนานโยบายของประเทศต่อไป (สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม/สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)
                                        2) การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง (Excellence Center) รวมทั้งส่งเสริมการผลิตด้วยระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อเป็นการยกระดับและเพิ่ม Productivity ให้กับอุตสาหกรรมไทย ผ่านการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ดังนี้
                                                  2.1) โครงการไทยแลนด์ดิจิทัลวัลเล่ย์ (Thailand Digital Valley) เพื่อเป็นศูนย์กลางการออกแบบนวัตกรรมดิจิทัลของภูมิภาคครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบนวัตกรรมบริการทางธุรกิจ                การออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมดิจิทัล รวมทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์อุปกรณ์อัจฉริยะที่มีเอกลักษณ์ เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าให้กับประเทศไทย รวมถึงเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมบนเทคโนโลยี 5G ของประเทศไทยและภูมิภาค โดยใช้พื้นที่เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Park Thailand  หรือ EECd) ปัจจุบันได้ดำเนินการไปแล้ว ร้อยละ 9.04 ของแผนการจัดตั้ง (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
                                                  2.2) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ โดยจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการออกแบบและการวิเคราะห์ทดสอบวงจรรวมและเซนเซอร์ เพื่อพัฒนาต้นแบบวงจรรวมในระดับวงจรไฟฟ้า มีระบบครุภัณฑ์สำหรับห้องปฏิบัติการวิเคราะห์และทดสอบวงจรรวมและเซนเซอร์ มีหลักสูตรการออกแบบวงจรรวมแบบออนไลน์ รวมทั้ง              มีเครือข่ายผู้ออกแบบวงจรรวม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เพื่อให้ความเห็นในการดำเนินงานและ                 ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง (ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ)
                                                   2.3) ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบไมโครอิเล็กทรอนิกส์                    แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย ฐานข้อมูลด้านกำลังคน ความเชี่ยวชาญ หน่วยงาน และครุภัณฑ์ ทางด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ รวมทั้งเครือข่ายภาคเอกชนและต่างประเทศ ตลอดจนมีการพัฒนากำลังคน (Workforce) ที่เกี่ยวข้องกับด้านการออกแบบไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ)
                                        3) การยกร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง 4 มาตรฐาน (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม)
                                                  3.1) ร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ ปัญญาประดิษฐ์ ภาพรวมเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือในปัญญาประดิษฐ์
                                                  3.2) ร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ ปัญญาประดิษฐ์ การประเมินสมรรถนะการจำแนกของการเรียนรู้ของเครื่อง
                                                  3.3) ร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ ปัญญาประดิษฐ์ ภาพรวมเกี่ยวกับข้อกังวลด้านจริยธรรมและสังคม
                                                  3.4) ร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ ปัญญาประดิษฐ์ กรณีการใช้งานอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT)
                                        4) การส่งเสริมให้เกิดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และพัฒนาระบบการบริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ดังนี้
                                                  4.1) โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการในชุมชนเป้าหมายสู่การเป็นวิสาหกิจหรือสถานประกอบการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นวัตถุดิบให้แก่อุตสาหกรรมในประเทศ โดยมีผลการดำเนินงาน คือ ผู้ประกอบการและประชาชนในชุมชนเป้าหมาย รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้หลักเกณฑ์มาตรฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมาย/สิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจชุมชนหรือสถานประกอบการ และรูปแบบการดำเนินธุรกิจ (Business Model) ที่ยั่งยืน รวมทั้งมีหลักสูตรการพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการให้เป็นวิสาหกิจหรือสถานประกอบการคัดแยก/ถอดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ (กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่)
                                                  4.2) การพัฒนาเครื่องจักรและอุปกรณ์คัดแยกซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อต่อยอดและขยายผลเทคโนโลยีรีไซเคิลซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์สู่การผลิตในเชิงพาณิชย์
โดยผลการดำเนินงานมีเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับการคัดแยกวัสดุที่เป็นองค์ประกอบหลักของซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ผ่านกระบวนการทางความร้อน หรือ ผ่านกระบวนการคัดแยกกระจกออกด้วยกระบวนการ Hot Knife หรือ Heated Blade และบดย่อยส่วนประกอบที่เหลือเป็นผงขนาดไม่เกิน 1.2 มิลลิเมตร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่)
                                                  4.3) การปรับปรุง (ร่าง) พระราชบัญญัติจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกฎหมายกรมควบคุมมลพิษพิจารณาต่อไป (กรมควบคุมมลพิษ)
                              3. ปัญหาอุปสรรคและโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
                              กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ รวมทั้งมีการจัดประชุมหารือเครือข่ายความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566-2570) และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ด้านบุคลากร และกลุ่มที่ 2 ด้านระบบนิเวศอุตสาหกรรม โดยสามารถสรุปปัญหาอุปสรรคและโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะได้ ดังนี้
                                        3.1 ปัญหาอุปสรรค
                                                   1) การลงทุน : ยังไม่มีการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต้นน้ำในประเทศ เนื่องจากต้องมีการลงทุนสูง ผู้ประกอบการไทยยังมีข้อจำกัดด้านเงินทุน รวมทั้งสิทธิประโยชน์ยังไม่จูงใจนักลงทุนรายใหญ่ นอกจากนี้ ต้องมีการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรในอิเล็กทรอนิกส์ต้นน้ำ เช่น ผู้ออกแบบชิปอิเล็กทรอนิกส์ (IC Design) และผู้ผลิตชิปอิเล็กทรอนิกส์ (Wafer Fabrication) ให้เพียงพอเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมดังกล่าว
                                                  2) บุคลากร : ขาดแคลนบุคลากรด้านอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในระดับวิศวกร ช่างเทคนิค และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต้นน้ำ เช่น ผู้ออกแบบชิปอิเล็กทรอนิกส์ (IC Design) ผู้ผลิตชิปอิเล็กทรอนิกส์ (Wafer Fabrication) และผู้ออกแบบวงจรพิมพ์ขั้นสูง                 (PCB Design) รวมถึงบุคลากรในส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปลายน้ำ ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการ System Developer นอกจากนี้ การผลิตและพัฒนากำลังคนในสถาบันการศึกษา ยังไม่ตรงต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม (Mismatch)
                                                  3) การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ : ขาดการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์ รวมถึงพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับการวิเคราะห์คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
                                                  4) การจัดการของเสียจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ : กระบวนการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีขั้นตอนที่ซับซ้อน โดยมีทั้งทางเคมีและทางกล ทำให้เกิดของเสียในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันยังมีการใช้มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศที่กำหนดเงื่อนไขในด้านมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการผลิต ดังนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องมีระบบการจัดการที่สามารถรองรับของเสียจากกระบวนการผลิตดังกล่าวได้
                                        3.2 โอกาสของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
                                        ในปัจจุบันเศรษฐกิจโลกกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบ Digital Transformation ส่งผลให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ นอกจากนี้ มีความขัดแย้งเชิงภูมิภาค ทำให้มีการปรับห่วงโซ่อุปทาน มีการย้ายฐานการผลิตมากขึ้น โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศไทยเป็นตัวเลือกสำคัญ แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเป็นศูนย์กลางในการผลิตอุปกรณ์ และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในอาเซียน ซึ่งจำเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคและเร่งดำเนินการสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ ทั้งในด้านมาตรการส่งเสริมการลงทุน ด้านการพัฒนาบุคลากร รวมถึงสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมให้มีความพร้อมเพื่อรองรับการลงทุน รวมถึงสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์  เพื่อต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของประเทศไทยอย่างยั่งยืนต่อไป
                              4. แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในระยะต่อไป
                              กระทรวงอุตสาหกรรมจะใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) ในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566-2570) โดยบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เพื่อดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ โดยแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเพิ่มเติมในระยะต่อไป มีดังนี้
                                        4.1 การกำหนดมาตรการสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะให้มีความเหมาะสมกับผู้ประกอบการ เนื่องจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมมีหลายกลุ่มและมีหลายขนาด จึงมีความต้องการในการสนับสนุนที่แตกต่างกัน ดังนั้น มาตรการการสนับสนุนการลงทุนควรมีความหลากหลาย เพื่อให้สามารถสนับสนุนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะได้อย่างครอบคลุม
                                        4.2 การเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรม ทั้งในระดับวิศวกร ช่างเทคนิค และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในเทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงให้การรับรองสมรรถนะบุคคลของคุณวุฒิวิชาชีพสาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และมีการพัฒนาหลักสูตร โดยมีความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา
                                        4.3  การสนับสนุนให้มีการใช้อุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในภาคเอกชนและภาครัฐ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริการ โดยสามารถใช้กลไกแผนงานบูรณาการอุตสาหกรรมศักยภาพที่ อก. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดทำคำของบประมาณ เพื่อยกระดับผลิตภาพและประสิทธิภาพ โดยการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และพัฒนาฝีมือแรงงานของอุตสาหกรรมศักยภาพ
                                        4.4 การสนับสนุนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยควรมีพื้นที่สำหรับให้บริการในการพัฒนาและทดสอบต้นแบบผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ สำหรับนักศึกษาและผู้ประกอบการ รวมทั้งมีการพัฒนามาตรฐานและยกระดับห้องปฏิบัติการทดสอบด้าน Smart Electronics เพื่อรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ มาตรฐานกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และมาตรฐานห้องทดสอบภายในกระบวนการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์ในงานเฉพาะด้าน
                                        4.5 การสร้างกลไกการสนับสนุนของภาครัฐในการบริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่การจัดเก็บรวบรวม การขนส่ง การถอดแยก การรีไซเคิล และการกำจัดซากที่เหลือ เช่น การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวที่พิจารณาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์รีไซเคิลหรือที่มีส่วนประกอบของวัตถุดิบรีไซเคิล การเก็บภาษีหรือเพิ่มค่าธรรมเนียมฝังกลบให้สูงขึ้น การห้ามส่งออกขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือชิ้นส่วนที่ไทยมีศักยภาพในการรีไซเคิล รวมถึงผลักดันพระราชบัญญัติจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว เป็นต้น
                                        4.6 การพิจารณาเพิ่มกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่นอกเหนือจากกลุ่ม Smart Factory, Smart Product, Smart Farm, Smart Hospital & Health และรถ EV โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ รวมถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความสอดคล้องกับกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต New S-Curve เพื่อให้มาตรการสนับสนุนต่าง ๆ มีความครอบคลุมทุกสาขาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยมายาวนานกว่า 50 ปี ในปัจจุบันมีการพัฒนาต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่มีบทบาทสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคการเกษตร และภาคบริการ ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างการผลิตแบบเดิมในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไปสู่การผลิตที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการสร้าง Supply Chain ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ยานยนต์ไร้คนขับ หุ่นยนต์ ดิจิทัล และปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ชิ้นส่วนอากาศยาน และอุตสาหกรรม S-Curve ต่าง ๆ ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งทำให้การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะจะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการไทย และนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

6. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3/2566 และแนวโน้มไตรมาสที่ 4/2566 และรายงาน
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกันยายน 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3/2566  และแนวโน้มไตรมาสที่
4/2566 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกันยายน 2566 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3/2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 6.19 ยังคงปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4 ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และปัจจัยเสี่ยงทางการเงินที่เพิ่มขึ้น ทำให้การบริโภคและการลงทุนลดลง ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสำคัญที่ชะลอตัวใน               ไตรมาสที่ 3/2566 อาทิ ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่เติบโตได้ช้าลง ทำให้ความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกลดลง ยานยนต์ ตามการชะลอตัวของตลาดรถยนต์ในประเทศจากกำลังซื้อที่อ่อนตัวลง และความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง จากสินค้า Hard Disk Drive เป็นหลัก ปัจจัยจากผู้ผลิต  รายใหญ่ปรับลดแผนการผลิตตามอุปสงค์ที่ชะลอตัวต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยาวนาน สำหรับ อุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวในไตรมาสที่ 3/2566 อาทิ น้ำตาล ตามความต้องการบริโภคที่ขยายตัวต่อเนื่องทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก พลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น เนื่องจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นช่วงที่เกิดภาวะ Over supply ในตลาดโลก ทำให้ผู้ผลิตไทยปรับลดการผลิตหลังส่งออกสินค้าได้ลดลง ประกอบกับในปีนี้มีการ Shut down การผลิตน้อยกว่า              ปีก่อน สายไฟและเคเบิลอื่น ๆ ชนิดใช้ในทางอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า จากคำสั่งซื้อตามรอบของการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต รวมถึงงานโครงการอื่น ๆ จากภาครัฐและเอกชนที่มีมากขึ้น
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง รวมถึงเศรษฐกิจในประเทศยังฟื้นตัวช้า โดยมีปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนทางการเงินและภาระหนี้ของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวช่วยสนับสนุนการบริโภคในประเทศ รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลง
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกันยายน 2566 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ
1. รถยนต์ หดตัวร้อยละ 7.65 จากรถบรรทุกปิคอัพ และรถยนต์นั่งขนาดเล็กเป็นหลัก                   ตามการชะลอตัวของตลาดรถยนต์ในประเทศ ผลจากความเปราะบางด้านรายได้และหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ อย่างไรก็ตามในกลุ่มรถยนต์นั่งยังมีการขยายตัวของรถยนต์ไฟฟ้า แต่ทำให้ปริมาณจำหน่ายรถยนต์สันดาปภายในประเทศลดลง
2.           ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวร้อยละ 17.69 จากผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว รวมถึงได้รับผลจากนโยบายลดการพึ่งพาจีนของสหรัฐอเมริกากระทบห่วงโซ่อุปทานของไทย
3.           ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม หดตัวร้อยละ 5.05 จากน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว                 น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันเตาชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก จากการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นของผู้ผลิตรายหนึ่ง
อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนกันยายน 2566 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
1. พลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น ขยายตัวร้อยละ 12.35 จาก Polyethylene resin, Ethylene และ Polypropylene resin เป็นหลัก เนื่องจากในปีก่อนมีการปิดซ่อมบำรุงของผู้ผลิตบางรายประกอบกับมีสินค้าล้นตลาดทำให้ปีก่อนปรับลดการผลิตลง
2. น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 74.64 ตามความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก โดยน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ขยายตัวทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศจากการงดส่งออกน้ำตาลเข้าสู่ตลาดโลกของอินเดีย จึงส่งผลให้ไทยได้รับคำสั่งซื้อเพิ่ม สำหรับตลาดในประเทศขยายตัวตามกิจกรรมเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง
แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 4/2566
อุตสาหกรรม          เหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าจะหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาวัตถุดิบในตลาดโลก มีแนวโน้มปรับตัวลดลง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการสั่งซื้อเพื่อดูทิศทางราคา และอาจส่งผลต่อความต้องการใช้เหล็ก อย่างไรก็ตาม การเร่งก่อสร้างโครงการภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัว เนื่องจากการแบกรับภาระต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ การขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทำให้ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังคงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ทำให้ยังคงมีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่มูลค่าการส่งออกยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง เนื่องจากสินค้าสำคัญบางอย่างยังคงได้รับส่วนแบ่งของตลาดโลกและยังเติบโตได้ เช่น โซล่าร์เซลล์จากกระแส การใช้พลังงานสะอาดและความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม SDGs ที่เป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วโลก  การขยายความต้องการใช้วงจรรวมในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องอย่างอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) จะยังคงชะลอตัวจากอุปสงค์ความต้องการในตลาดต่างประเทศที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ในส่วนของปริมาณการผลิตยางรถยนต์และถุงมือยางคาดการณ์ว่าจะขยายตัว โดยยางรถยนต์คาดว่า จะขยายตัวจากการผลิต                 เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศ และถุงมือยางคาดว่าจะขยายตัวจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศเป็นหลัก
อุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมยังคงหดตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว จากความต้องการสินค้าเพื่อเตรียมสำหรับช่วงเทศกาลปลายปี รวมถึงปัญหาความไม่สงบของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ที่อาจส่งผลต่อความกังวลด้านความมั่นคงอาหารในระยะต่อไป

7. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนตุลาคมและ 10 เดือนแรกของปี 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนตุลาคมและ 10 เดือนแรกของปี 2566  ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
          สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
1.          สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนตุลาคม 2566
          การส่งออกของไทยในเดือนตุลาคม 2566 มีมูลค่า 23,578.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (841,366 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 8.0 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 5.4 ทั้งนี้ การส่งออกของโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี โดยการส่งออกของไทยในเดือนนี้ขยายตัวมากกว่าที่คาดและมากกว่าประเทศในอาเซียน มีสัญญาณฟื้นตัวในหลายสินค้าสำคัญที่กลับมาเป็นบวกหรือชะลอตัวลดลง อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารสัตว์เลี้ยง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ฯลฯ ด้วยแรงหนุนจากอุปสงค์ที่ทยอยฟื้นตัวในช่วงเทศกาลปลายปี อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั่วโลกเริ่มลดลง แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ในระดับสูง แต่เริ่มมีสัญญาณใกล้ยุติมาตรการคุมเข้มทางการเงินโดยเฉพาะสหรัฐฯ ในขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของจีนเริ่มส่งผล โดยตัวเลขการบริโภคและการลงทุนของจีนเริ่มฟื้นตัวขึ้น สำหรับสถานการณ์อิสราเอลและฮามาสยังคงอยู่ในวงจำกัดจึงยังไม่กระทบต่อการส่งออกภาพรวม ทั้งนี้ การส่งออกไทย 10 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 2.7 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 0.6
                    มูลค่าการค้ารวม
          มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนตุลาคม 2566 มีมูลค่าการค้ารวม  47,990.0  ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 9.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก
มีมูลค่า 23,578.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.0 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 24,411.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 10.2 ดุลการค้า ขาดดุล 832.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 10 เดือนแรกของปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 479,961.4 ล้านเหรียญสหรัฐ. หดตัวร้อยละ .3.7 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 236,648.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 2.7 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 243,313.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 4.6 ดุลการค้า  ขาดดุล 6,665.0 ล้านเหรียญสหรัฐ
           มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนตุลาคม 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 1,722,490 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.8 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 841,366 ล้านบาท
ขยายตัวร้อยละ 4.7 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 881,124 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.9 ดุลการค้า ขาดดุล 39,758 ล้านบาท ภาพรวม 10 เดือนแรกของปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 16,549,033 ล้านบาท              หดตัวร้อยละ 3.7 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 8,109,766 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 2.6 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 8,439,268 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 4.7 ดุลการค้า ขาดดุล 329,502                    ล้านบาท
                    การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
          มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 9.3
โดยสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 12.3 และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 5.9 ทั้งนี้ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 37.7 (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย สหรัฐฯ แอฟริกาใต้ มาเลเซีย และโกตดิวัวร์) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 4.8 (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย และสหรัฐฯ) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 44.6 (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ ฮ่องกง เวียดนาม และเกาหลีใต้) อาหารสุนัขและแมว ขยายตัวร้อยละ 5.5 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น อิตาลี มาเลเซีย เยอรมนี และไต้หวัน) ไขมันจากน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 20.0 (ขยายตัวในตลาดอินเดีย เกาหลีใต้ เมียนมา เนเธอร์แลนด์ และเวียดนาม) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 9.6 (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง และเมียนมา) สิ่งปรุงรสอาหาร ขยายตัวร้อยละ 29.4 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ เนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย) ผักกระป๋องและผักแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 19.4 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ เกาหลีใต้ จีน และออสเตรเลีย) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ยางพารา หดตัวร้อยละ 5.4 (หดตัวในตลาดมาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ตุรกี และอินเดีย) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 5.6 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย เกาหลีใต้ และอียิปต์) ไก่แปรรูป หดตัวร้อยละ 2.2 (หดตัวในตลาด  สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ แคนาดา ฮ่องกง และออสเตรเลีย) น้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 24.9 (หดตัวในตลาดลาว ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย และปาปัวนิวกินี) ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 1.0
                    การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
          มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 5.4 แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 9.0 (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ซาอุดีอาระเบีย และมาเลเซีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 8.7 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง อินเดีย เยอรมนี และสหราชอาณาจักร) เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 15.1 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง เม็กซิโก จีน และแคนาดา) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และ                ไดโอด ขยายตัวร้อยละ 27.3 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 38.5 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ ไต้หวัน อิตาลี และจีน) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 4.2 (หดตัวในตลาดจีน ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย) แผงวงจรไฟฟ้าหดตัวร้อยละ 4.6 (หดตัวในตลาดสิงคโปร์ ไต้หวัน จีน มาเลเซีย และสหรัฐฯ) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 34.2 (หดตัวในตลาดออสเตรเลีย สหรัฐฯ เวียดนาม ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 19.5 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน สหราชอาณาจักร กัมพูชา และออสเตรเลีย) ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัว                  ร้อยละ 2.8
                    ตลาดส่งออกสำคัญ
                              การส่งออกไปยังตลาดสำคัญมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ในขณะที่บางตลาดอุปสงค์ยังคงอ่อนแอ ท่ามกลางความเสี่ยงใหม่จากความไม่สงบในอิสราเอล ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ                สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 5.1 โดยขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 13.8 จีน ร้อยละ 3.4 และอาเซียน (5) ร้อยละ 16.5 ในขณะที่ตลาดญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27) และ CLMV หดตัวร้อยละ 1.1 ร้อยละ 1.4 และร้อยละ 9.7 ตามลำดับ (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 10.6 โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 7.2 ทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 13.7 แอฟริกา ร้อยละ 24.5 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 8.6 และรัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 77.2 ขณะที่ตะวันออกกลางและ         สหราชอาณาจักร หดตัวร้อยละ 3.0 และร้อยละ 11.4 ตามลำดับ (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 109.6 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 135.1

2.          มาตรการส่งเสริมการส่งออกและแนวโน้มการส่งออกระยะต่อไป
                              การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ (1) การเจรจาเพื่อสนับสนุน SMEs ไทยรุกตลาดสินค้าเกษตรในญี่ปุ่น โดยนายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมหารือกับประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JETRO เพื่อร่วมมือผลักดันศักยภาพ SMEs ไทย และผลักดันการนำเข้าสินค้าเกษตรของไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกล้วยหอมทอง (2) การสนับสนุนนักออกแบบไทยสู่ตลาดโลก ผ่านโครงการส่งเสริมนักออกแบบไทยสู่ตลาดโลก ปี 2566 ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับนักออกแบบรุ่นใหม่จากทั่วประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ พัฒนาแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับ ยกระดับสินค้าไทย ให้ตอบสนองความต้องการของตลาดสากล โดยสามารถสร้างนักออกแบบไทยที่มีศักยภาพแล้วกว่า 744 ราย แบรนด์สินค้าที่เข้าร่วมแล้วกว่า 60 แบรนด์ (3) มาตรการสนับสนุนการระบายสต็อกน้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นกลไกรับมือกับปัญหาสต็อกน้ำมันปาล์มดิบส่วนเกินในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ด้วยการช่วยค่าบริหารจัดการระบายสต็อกส่วนเกิน 2 บาท/กิโลกรัม โดยมีเป้าหมายที่ 2 แสนตัน พร้อมติดตามสถานการณ์การผลิต การส่งออก และการบริโภคในประเทศให้มีความสมดุลทุกภาคส่วน รวมทั้งประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าเพื่อวางแผนรองรับได้ทันท่วงที
                              สำหรับมาตรการขับเคลื่อนการส่งออกในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2566 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้ทำแผนเร่งด่วน (Quick Win) เพื่อผลักดันการส่งออก โดยจะดำเนินกิจกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวม 73 กิจกรรม คาดว่าจะช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้กว่า 12,400 ล้านบาท กิจกรรมสำคัญ เช่น การจัดเจรจาธุรกิจออนไลน์ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้า การจัดคณะผู้แทนการค้าไปเยือนงานแสดงสินค้า China International Import Expo (CIIE 2023) ที่นครเซี่ยงไฮ้ การนำผู้ประกอบการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ เช่น Automechanika ที่ดูไบ American Film Market ที่สหรัฐฯ Anuga และ Medica ที่เยอรมนี รวมทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริม                      การขายสินค้า TOP Thai บนแพลตฟอร์ม Shopee ในมาเลเซีย และ Rakuten ในญี่ปุ่น เป็นต้น
                    แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า การส่งออกในช่วงสุดท้ายของ              ปีจะขยายตัวเป็นบวกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงปลายปีที่จะเข้าสู่ช่วงเทศกาลเฉลิมฉลอง สอดรับกับแรงกดดันด้านราคาที่ค่อย ๆ ลดลง เนื่องจากเงินเฟ้อที่ชะลอตัว และแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะยุติวงจรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามยังคงต้องติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งอิสราเอล-ฮามาส ที่หากขยายวงกว้างอาจจะกระทบต่อราคาน้ำมันและต้นทุนการขนส่ง ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อบรรยากาศการค้าโลกที่กำลังกลับมาฟื้นตัว

8.  เรื่อง มติการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (คณะกรรมการนโยบายฯ) ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ตามที่คณะกรรมการนโยบายฯ เสนอ และเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ดังนี้
1.          เห็นชอบให้แก้ไขหลักเกณฑ์ภายใต้มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า1  (EV3) ดังนี้
                              1.1 เห็นชอบให้เงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นเดียวกับรุ่นที่ได้รับสิทธิตามมาตรการ EV3 กรณีที่นำเข้ามาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2565 โดยให้สิทธิเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 และจำหน่ายแก่ผู้บริโภคหลังจากรถยนต์รุ่นดังกล่าวได้รับสิทธิตามมาตรการ EV3 ทั้งนี้ กำหนดให้ผู้ขอรับสิทธิต้องผลิตรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภท BEV2 ชดเชยการนำเข้าภายในปี 2567 เท่ากับจำนวนรถยนต์นั่งไฟฟ้าสำเร็จรูป (Completely Built Up : CBU)  ที่นำเข้าและได้รับสิทธิเงินอุดหนุนตามมาตรการ EV3 หากจำเป็นต้องขยายเวลาการผลิตชดเชยถึงปี 2568 จะต้องผลิตในอัตราส่วน 1 : 1.5 (นำเข้า 1 คัน : ผลิต 1.5 คัน)
                              1.2 เห็นชอบให้กรมสรรพสามิตแก้ไขประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ในประเด็นการขยายเวลาการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับสิทธิ จากเดิม ?จดทะเบียนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566? เป็น ?จำหน่ายภายใน 31 ธันวาคม 2566 และจดทะเบียนภายในวันที่ 31 มกราคม 2567?
                    2. เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 (EV3.5) และมอบหมายหน่วยงาน ดังนี้
                              2.1 ให้กระทรวงการคลัง (กค.) โดยกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากร และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ดำเนินการออกประกาศ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และแนวทางปฏิบัติอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายฯ และการประชุมหารือร่วมกันระหว่าง กค. อก. กระทรวงพลังงาน (พน.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) หรือดำเนินการอื่น ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                              2.2 ให้อธิบดีกรมสรรพสามิต หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจอนุมัติให้คืนเงินสำหรับผู้รับสิทธิตามมาตรการ EV3.5 ต่อไป
                    3. เห็นชอบให้สำนักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ                           พ.ศ. 2567-2570 เพื่อใช้ในการดำเนินการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับสิทธิตามมาตรการ EV3 และ EV3.5 ตามที่กรมสรรพสามิตจะดำเนินการเสนอตามขั้นตอนต่อไป
                    4. เห็นชอบการขยายเวลาสิ้นสุดสิทธิประโยชน์ด้านภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (ECO Car) ร้อยละ 14 ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 และมอบหมายหน่วยงาน ดังนี้
                              4.1 ให้ กค. โดยกรมสรรพสามิต รับไปดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบและขั้นตอน ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
                              4.2 ให้ อก. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดแนวทางและมาตรการเพื่อพัฒนารถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (ECO Car) และรถกระบะในระยะต่อไปให้เป็นไปในทิศทางที่สอดรับกับแนวทางการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของคณะกรรมการนโยบายฯ
                    5. เห็นชอบแนวทางในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การผลิตยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับผู้ประกอบการในเขต Free Zone โดยการเพิ่มเติมกระบวนการผลิตที่เป็นสาระสำคัญ 2 ประเภทใหม่ ได้แก่ กระบวนการผลิตที่เป็นสาระสำคัญสำหรับรถยนต์นั่ง ICE/HEV/PHEV/BEV3 และกระบวนการผลิตที่เป็นสาระสำคัญสำหรับรถยนต์ BEV ซึ่งสร้างขึ้นจากโครงรถ (Vehicle Structure) ของ BEV โดยเฉพาะและมอบหมายให้ อก. ดำเนินการปรับปรุงประกาศกระบวนการผลิตที่เป็นสาระสำคัญตามระเบียบและขั้นตอนต่อไป
1สิทธิพิเศษภายใต้มาตรการ EV3 เช่น (1) ให้เงินอุดหนุนรถยนต์นั่งและรถกระบะคันละ 70,000 บาท หรือ 150,000 บาท (ขึ้นกับขนาดของแบตเตอรี่) และรถจักรยานยนต์คันละ 18,000 บาท สำหรับรถที่จำหน่ายในช่วงปี 2565-2568 (2) การลดอัตราอากรขาเข้ารถยนต์นั่งไฟฟ้าสำเร็จรูป (CBU) ไม่เกินร้อยละ 40 ในช่วง 2 ปีแรก (3) การลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ไฟฟ้า จากร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 2 ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมมาตรการ (ผู้นำเข้า ผู้ผลิต และผู้ประกอบรถ) จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการผลิตแบตเตอรี่หรือชิ้นส่วนสำคัญ และกำหนดให้มีการผลิตรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในปริมาณและเงื่อนเวลาตามที่กำหนดคือ 1 : 1 เท่า ภายในปี 2567 หรือ 1 : 1.5 เท่า ภายในปี 2568
2BEV: Battery Electric Vehicle เป็นรถยนต์ที่พึ่งกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาสร้างกำลังขับเคลื่อน
3ICE: Internal Combustion Engine เป็นเครื่องยนต์ที่ใช้การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล
HEV: Hybrid Electric Vehicle เป็นรถยนต์ที่มีการไช้เครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานจากน้ำมันเบนซินหรือดีเซลและมอเตอร์ไฟฟ้ามาขับเคลื่อนร่วมกัน
PHEV: Plug-in Hybrid Electric Vehicle เป็นรถยนต์ที่พัฒนาต่อมาจากรถยนต์ไฟฟ้าชนิด HEV ซึ่งจะมีทั้งเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันและแบตเตอรี่ที่สามารถบรรจุไฟฟ้จากภายนอกได้

9. เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567 และกลไกการบริหารจัดการ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5  ปี 2567 และกลไกการบริหารจัดการและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
                    2. รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน                    (คณะกรรมการฯ)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. เนื่องจากสถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5  (ฝุ่น PM2.5) โดยเฉพาะในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ1กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จะมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงต้นปีและปลายปีของทุกปี โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากกิจกรรมในพื้นที่ ได้แก่ ไฟป่า การเผาในพื้นที่เกษตร หมอกควันข้ามแดน การจราจรและขนส่ง และโรงงานอุตสาหกรรม  ประกอบกับในช่วงต้นปีความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ทำให้อากาศปิด  ฝุ่นละอองไม่ฟุ้งกระจายและสะสมในพื้นที่จนเกินมาตรฐาน ซึ่งในปี 2566  สถานการณ์มลพิษจากฝุ่นละอองมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสภาพอุตุนิยมวิทยาที่เริ่มเข้าสู่ปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้ง และปริมาณฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานในหลายพื้นที่โดยจะรุนแรงต่อเนื่องไปจนถึงช่วงต้นปี 2567 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน2 และส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเศรษฐกิจ และสังคม ทส. จึงจัดทำมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5  ปี 2567 และเสนอให้มีกลไกการบริหารจัดการ ทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ ภายใต้กรอบแนวคิด ดังนี้ (1) การกำหนดพื้นที่แบบมุ่งเป้า โดยระบุพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่เกษตรที่ไฟไหม้ซ้ำซาก (2) สร้างกลไกการทำงานให้ภาคเอกชนสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเพื่อลดข้อจำกัดด้านงบประมาณ (3) จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อสั่งการลงสู่ศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัดในการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษแบบถาวร (4) ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน (5) ยกระดับการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนให้เข้มข้นจากระดับภูมิภาคอาเซียนไปสู่ระดับทวิภาคี และ (6) ใช้การสื่อสารเชิงรุก ตรงจุด และต่อเนื่อง เพื่อให้ส่วนราชการได้นำมาตรการดังกล่าวไปใช้เป็นกรอบในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานและบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเตรียมการรับมือและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่น PM2.5  ที่จะเกิดขึ้น เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งเวดล้อมและสุขภาพของประชาชน
                    2. มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          รายละเอียด
(1) พื้นที่เป้าหมายและเป้าหมาย
          (1.1) พื้นที่เป้าหมายหลัก           พื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยมีเป้าหมายการเผาไหม้ในพื้นที่ป่า                      (ป่าอนุรักษ์ 10 พื้นที่ และป่าสงวนแห่งชาติ 10 พื้นที่) ลดลงร้อยละ 50 และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรมลดลงร้อยละ 50
          (1.2) พื้นที่เป้าหมายรอง          พื้นที่อื่น โดยมีเป้าหมายการเผาไหม้ในพื้นที่ป่าอื่น (นอกเหนือจากป่าอนุรักษ์ 10 พื้นที่และป่าสงวนแห่งชาติ 10 พื้นที่ข้างต้น) ลดลงร้อยละ 20 และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรมอื่น ลดลงร้อยละ 10 และควบคุมการระบายฝุ่นในพื้นที่เมือง
(2) ผลลัพธ์คุณภาพอากาศ
ค่าเฉลี่ยฝุ่น PM2.5   และจำนวนวันที่ฝุ่นละออง PM2.5   เกินมาตรฐานลดลง ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
พื้นที่เป้าหมาย          ค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM2.5
ลดลงร้อยละ           จำนวนวันที่ฝุ่นละออง PM2.5
เกินมาตรฐาน ลดลงร้อยละ
17 จังหวัดภาคเหนือ          40          30
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล          20          5
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ          10          5
ภาคกลาง          20          10


ประเด็น          รายละเอียด
(3) การปฏิบัติการ
          (3.1) ระยะเตรียมการ          ? กำหนดหลักเกณฑ์ในการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เมื่อค่าฝุ่น PM2.5   เฉลี่ย 24 ชั่วโมง อยู่ในระดับวิกฤต (เกิน 250 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กระทรงมหาดไทย                 (มท.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ทส. โดยกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และ สธ.
? แจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่น PM2.5  ให้ทั่วถึงและทันท่วงที รวมทั้งจัดเตรียมห้องปลอดฝุ่น หน้ากากอนามัย ยารักษาโรค และมีการสื่อสารเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : ทส. มท. สธ. และกรุงเทพมหานคร (กทม.)
? ดำเนินการสื่อสารเชิงรุกอย่างตรงจุดและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการของภาครัฐโดยเฉพาะการไม่เผาป่า ไม่เผาพื้นที่เกษตร ความตระหนักในภัย และความเสียหายจากการเผา
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : สำนักนายกรัฐมนตรี โดยกรมประชาสัมพันธ์
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : องค์กรสื่อมวลชน
? การจัดการไฟในป่า เช่น เตรียมความพร้อมในพื้นที่เป้าหมายหลักที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเผาซ้ำซาก โดยใช้กลยุทธ์การตรึงพื้นที่ สร้างความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่า และจัดเตรียมน้ำเพื่อการดับไฟป่า เป็นต้น
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : ทส.
?การจัดการไฟในพื้นที่เกษตรกรรม เช่น ให้ศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัดกำหนดแนวทางบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่การเกษตรที่เสี่ยงต่อการเผาไหม้ ส่งเสริมเกษตรปลอดการเผาในพื้นที่ไร่อ้อยและนาข้าว ไม่รับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบ เป็นต้น
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงพลังงาน (พน.) และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
?ควบคุมฝุ่นละอองในเขตมือง เช่น ขอความร่วมมือผู้ค้าน้ำมัน นำน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำ (Euro 5)3 มาจำหน่ายในราคาเท่ากับน้ำมันดีเซล แจ้งให้ผู้ประกอบการควบคุมการผลิตและตรวจสอบการทำงานระบบบำบัดมลพิษทางอากาศให้มีประสิทธิภาพ เป็นต้น
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : พน. และ อก.
?การสนับสนุนและการลงทุน เช่น ออกมาตรการเพื่อให้สิทธิประโยชน์หรือแรงจูงใจกับภาคเอกชนที่ร่วมสนับสนุนการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5  จัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน เพื่อลดฝุ่นละออง PM2.5  เป็นต้น
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : สำนักงบประมาณ (สงป.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.)
          (3.2) ระยะเผชิญเหตุ          ?การจัดการไฟในป่า เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการบัญชาการสถานการณ์ไฟป่าระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วม ควบคุมการเข้าป่า เพิ่มมาตรการควบคุมเมื่อสถานการณ์ไฟป่าอยู่ในระดับวิกฤตหรือเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าขั้นรุนแรง เป็นต้น
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : ทส.
?การจัดการไฟในพื้นที่เกษตรกรรม เช่น จัดตั้งชุดปฏิบัติการประจำพื้นที่ (ระดับอำเภอ) ในการเฝ้าระวัง ออกตรวจ ระงับ ยับยั้ง และแจ้งเหตุ ให้บริหารจัดการไฟ ตามข้อตกลงในบัญชีรายชื่อเกษตรกรและจำนวนพื้นที่ หากเกษตรกรต้องการเผาให้ขออนุญาตฝ่ายปกครองหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนการเผา โดยจะต้องดำเนินการตามเงื่อนไข และประมวลผลผ่านระบบบริหารจัดการเชื้อเพลิง (BurnCheck)4               เป็นต้น
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กษ. และ มท.
?การควบคุมฝุ่นละอองในเขตเมือง เช่น ตรวจสภาพรถยนต์ประจำปีอย่างเข้มงวด เพิ่มจุดตรวจสอบและจุดตรวจจับควันดำให้ครอบคลุมพื้นที่วิกฤต ตรวจกำกับโรงงานทุกแห่งที่มีความเสี่ยงสูงในการปล่อยฝุ่นละออง เป็นต้น
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กระทรวงคมนาคม (คค.) และ อก.
?จัดตั้งศูนย์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (Public Health Emergency Operation Center : PHEOC) ในทุกระดับ5
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : มท. สธ. และ กทม.
          (3.3) ระยะบรรเทา          กำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และการยกระดับคุณภาพอากาศ
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : ทส. และ สธ.
          (3.4) มาตรการการบริหารจัดการในภาพรวม          ?พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) การเผาในพื้นที่เกษตร และพื้นที่ป่า รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขเรื่องการห้ามเผากับมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ ของภาครัฐ
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กษ.
? การจัดการหมอกควันข้ามแดน เช่น เร่งดำเนินการตามแผนปฏิบัติการร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน ภายใต้ยุทธศาสตร์ฟ้าใส6 (CLEAR Sky Strategy) และสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับ PM2.5   ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เพิ่มเงื่อนไขการเผาในพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตร ในการพิจารณานำเข้า - ส่งออกสินค้า รวมทั้งเร่งจัดทำระบบ Big Data ที่บูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านคุณภาพอากาศ และเร่งรัดการนำเข้ากฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาดเสนอต่อคณะรัฐมนตรี [คณะรัฐมนตรีมีมติ (30 พฤศจิกายน 2566) อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดแล้ว]
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ทส. และกระทรวงพาณิชย์ (พณ.)
(4) กลไกการบริหารจัดการ
          (4.1) แต่งตั้งคณะกรรมการฯ เพื่อเป็นกลไกการบริหารจัดการระดับชาติ โดยมีกรมควบคุมมลพิษเป็นหน่วยงานผู้ประสานงานหลัก
          (4.2) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัด เพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง หมอกควัน และ                   ฝุ่น PM2.5   ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการศูนย์ เพื่อเชื่อมโยงนโยบาย    ไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่

(5) การป้องกันและเผชิญเหตุ
ในช่วงสถานการณ์ฝุ่นละอองปี 2567 ทส. จำเป็นต้องดำเนินโครงการยกระดับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน จำนวน               2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน เพื่อลดฝุ่นละออง PM2.5  โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 และ 2) โครงการจัดหาระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อรับมือสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือแบบครบวงจร โดยจะเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณในโอกาสต่อไป

                    3. นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 27 คน โดยมีพลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ และปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ เช่น (1) เสนอแนะนโยบาย แนวทาง และมาตรการเร่งด่วนเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง หมอกควัน และฝุ่น PM2.5  (2) เป็นศูนย์กลางในการอำนวยการ มอบหมาย ควบคุม กำกับ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (3) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเป็นหน่วยงานปฏิบัติในพื้นที่ตามความจำเป็นและเหมาะสม เป็นต้น

4. คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566
มีมติเห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5   ปี 2567 และ (ร่าง) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง หมอกควัน และฝุ่นละอองแล้ว โดยมอบหมายให้ ทส. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
1 จังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง ลำพูน ตาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี
2กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่า จากข้อมูลเฝ้าระวังโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศในช่วงต้นปี 2566 พบผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศกว่า 1.7 ล้านราย
3เนื่องจากการประกาศบังคับใช้มาตรฐานน้ำมัน Euro 5 จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 แต่เนื่องจากสถานการณ์             ฝุ่น PM2.5 ในปัจจุบันเริ่มมีแนวโน้มสูงและรุนแรงขึ้น จึงขอความร่วมมือผู้ค้าน้ำมัน ให้นำน้ำมัน Euro 5 มาจำหน่ายก่อนกำหนด และขอให้จำหน่ายในราคาเท่ากับน้ำมันดีเซล   (ปกติน้ำมัน Euro 5 จะราคาสูงกว่าน้ำมันดีเซลลิตรละ                   3 บาท)
4จังหวัดจะมีการลงทะเบียนเกษตรกรและพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อกำหนดช่วงเวลาการเผาของเกษตรกร ไม่ให้มีการเผาในช่วงเวลาเดียวกัน  โดยเกษตรกรจะต้องขออนุญาตเผาและลงทะเบียนในระบบบริหารจัดการเชื้อเพลิง (BurnCheck) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการและกำหนดช่วงเวลาเผาดังกล่าว
5จัดตั้งศูนย์ดังกล่าวเมื่อสถานการณ์หมอกควันและฝุ่น PM2.5  เข้าสู่สภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้สามารถควบคุมและจัดการสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 1. ระดับจังหวัด มีสาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ 2. ระดับเขตสุขภาพ  มีผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ 3. ระดับกรม มีอธิบดีกรมที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ และ 4. ระดับกระทรวง มีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์
6 เป็นยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผ่านความร่วมมือจาก 3 ประเทศได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

10. เรื่อง การยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2567
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลปีใหม่                    พ.ศ. 2567 ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    1. ในช่วงเทศกาลปีใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2566 กระทรวงคมนาคมมีแนวทางดำเนินการในการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดของทางพิเศษบูรพาวิถี โดยในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2566 กำหนดให้ไม่มีการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2565 เวลา 00.01 นาฬิกา ถึงวันที่ 4 มกราคม 2566 เวลา                   24.00 นาฬิกา โดยในส่วนของทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีบัญชาในการประชุมหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พิจารณายกเว้นค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) (รวมทางเชื่อม) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป โดยไม่มีการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษของทางสายดังกล่าว เช่นเดียวกับทางพิเศษบูรพาวิถี เนื่องจากเป็นสายทางที่ต่อเนื่องกันเพื่อระบายการจราจรแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด รวมทั้งเป็นการอำนวยความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทางของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
                    2. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ประสานกับเจ้าหน้าที่กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวงเกี่ยวกับกำหนดการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษของกรมทางหลวงในช่วงเทศกาล               ปีใหม่ พ.ศ. 2567 โดยได้รับแจ้งว่ากรมทางหลวงจะกำหนดให้มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2566 เวลา 00.01 นาฬิกา ถึงวันที่                  3 มกราคม 2567 เวลา 24.00 นาฬิกา
                    3. คณะกรรมการการทางหลวงพิเศษแห่งประเทศไทยได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 10/2566                เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2566 เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2567 ไม่มีการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2566 เวลา 00.01 นาฬิกา ถึงวันที่ 3 มกราคม 2567 เวลา 24.00 นาฬิกา
                    4. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จัดทำข้อมูลการวิเคราะห์ผลกระทบต่อรายได้ที่ไม่ได้เรียกเก็บ และประโยชน์ที่จะได้รับโดยรวมจากการไม่มีการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถีและทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2567 เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาดังนี้
ทางพิเศษบูรพาวิถี ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2567
ผลการวิเคราะห์          เฉลี่ย/วัน          หากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ยกเว้นค่าผ่านทาง รวม 7 วัน
ปริมาณจราจร          151,174 คัน/วัน          1,058,218 คัน
รายได้ที่ไม่ได้เรียกเก็บ          5,862,528 บาท/วัน          41,037,696 บาท
ผลประโยชน์ที่ได้รับ
- VOC Saving
- VOT Saving
2,494,572 บาท/วัน
4,558,642 บาท/วัน
17,462,004 บาท
31,910,494 บาท
รวม          7,053,214 บาท/วัน          49,372,498 บาท

ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2567
ผลการวิเคราะห์          เฉลี่ย/วัน          หากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษ รวม 7 วัน
ปริมาณจราจร          216,514 คัน/วัน          1,515,598 คัน
รายได้ที่ไม่ได้เรียกเก็บ          8,890,065 บาท/วัน          62,230,455 บาท
ผลประโยชน์ที่ได้รับ
- VOC Saving
- VOT Saving
3,971,071 บาท/วัน
5,816,574 บาท/วัน
27,797,497 บาท
40,716,018 บาท
รวม          9,787,645 บาท/วัน          68,513,515 บาท
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    การยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถีและทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี -                     สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2567 รวม 7 วัน
                    ประโยชน์ ผลประโยชน์ที่ประเทศชาติ และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะได้รับนอกเหนือจากผลประโยชน์ที่ประเมินเป็นมูลค่าเงินได้ (VOC Saving, VOT Saving) ยังมีผลประโยชน์ที่ไม่สามารถประเมินเป็นมูลค่าเงินได้ ได้แก่ ความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยต่อผู้ใช้ทางพิเศษ และลดมลพิษทางอากาศบริเวณหน้าด่านเก็บ                ค่าผ่านทางพิเศษ อีกทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางพิเศษในช่วงเทศกาลที่มีประชาชนเดินทางเป็นจำนวนมาก และเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ที่มีต่อประชาชนเพื่อให้เกิดเป็นภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงาน และเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมาใช้ทางพิเศษทั้ง 2 สายทาง มากยิ่งขึ้น
                    ผลกระทบ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ไม่ได้รับรายได้ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2567 รวม 7 วัน ซึ่งจะมีปริมาณจราจรมาใช้ทางพิเศษประมาณ 2,573,816 คัน เป็นรายได้ประมาณ 103,268,151 บาท



                    ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา หรือการสูญเสียรายได้
                    การดำเนินการยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษดังกล่าวในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2567 การทางพิเศษ              แห่งประเทศไทยไม่มีการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถีและทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2567 รวม 7 วัน จะมีปริมาณจราจรมาใช้ทางพิเศษประมาณ 2,573,816 คัน จะทำให้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไม่ได้รับรายได้ประมาณ 103,268,151 บาท แต่จะได้ผลประโยชน์ตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจประเมินเป็นมูลค่าเงินประมาณ 117,886,013 บาท ซึ่งประกอบด้วยมูลค่าจากการประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้รถ (Vehicle Operating Cost Saving : VOC Saving) 45,259,501 บาท และมูลค่าจากการประหยัดเวลาในการเดินทาง (Value Of Time Saving : VOT Saving) 72,626,512 บาท รวมเป็นเงินประมาณ 117,886,013 บาท

11. เรื่อง ขอยกเลิกการเข้าใช้พื้นที่โครงการศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์
          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบการขอยกเลิกการใช้พื้นที่โครงการศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารราชบุรี                  ดิเรกฤทธิ์ ของ ยธ. จำนวน 6,541 ตารางเมตร ประกอบด้วย
          (1) สำนักงานรัฐมนตรีและสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม พื้นที่ชั้น 8 จำนวน 1,691 ตารางเมตร และพื้นที่ชั้น 9 จำนวน 4,357 ตารางเมตร รวมจำนวน 6,048 ตารางเมตร
          (2) กรมบังคับคดี พื้นที่ชั้น 9 จำนวน 493 ตารางเมตร ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566
2. ขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2550 เรื่อง หลักเกณฑ์การยกเลิกการเข้าใช้พื้นที่ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ ในส่วนที่กำหนดให้หน่วยงานจะต้องแจ้งให้กรมธนารักษ์ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี ในประเด็น การยกเลิกการเข้าใช้พื้นที่ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ ให้แก่ ยธ. (สำนักงานรัฐมนตรีและสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม และกรมบังคับคดี) เฉพาะกรณีการขอยกเลิกการใช้พื้นที่โครงการศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ บริเวณ  ชั้น 8 ? 9 จำนวน 6,541 ตารางเมตร

12. เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2566 และแนวโน้มปี 2566 ? 2567
          คณะรัฐมนตรีรับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2566 และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2566 ? 2567 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ
          สศช.ได้เสนอรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2566 และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2566 ? 2567 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
          1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 3 ของ ปี 2566
    เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2566 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ                         (Gross Domestic Product: GDP ) ขยายตัวร้อยละ 1.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.8 ในนไตรมาสที่สอง โดยแบ่งเป็น
                    1.1 ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์สูง การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกสินค้า การอุปโภคของรัฐบาล และการลงทุนภาครัฐปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

องค์ประกอบ          ปี 2566 (%YoY)*
          ไตรมาสที่หนึ่ง          ไตรมาสที่สอง          ไตรมาสที่สาม
(1) การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน          5.8          7.8          8.1
(2) การอุปโภคภาครัฐบาล          -6.3          -4.3          - 4.9
(3) การลงทุนรวม
- ภาคเอกชน
- ภาครัฐ          3.1
2.6
4.7          0.4
1.0
-1.1          1.5
3.1
-2.6
(4) มูลค่าการส่งออกสินค้า          -4.5          -5.6          -2.0
(5) ปริมาณการส่งออกสินค้า          -6.4          -5.8          -3.1

                                                  1.2  ด้านการผลิต สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารและสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวในเกณฑ์สูง สาขาเกษตรกรรม สาขาการขายส่งและการขายปลีก และสาขาการก่อสร้างขยายตัว ส่วนสาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลงต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

สาขา          ปี 2566 (%YOY)
          ไตรมาสที่หนึ่ง          ไตรมาสที่สอง          ไตรมาสที่สาม
สาขาการผลิตที่ขยายตัวเร่งขึ้น
- การเงิน
- ก่อสร้าง
1.2
3.9
2.8
0.4
4.7
0.6
สาขาการผลิตที่ชะลอตัว
- ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
- การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
- เกษตรกรรม การป่าไม้
- ขายส่ง ขายปลีก
34.3
12.1
6.2
3.3
15.1
7.4
1.2
3.4
14.9
6.8
0.9
3.3
สาขาการผลิตที่ลดลง
- การผลิตสินค้าอุตสาหกรรม
-3.0
-3.2
-4.0
                    อย่างไรก็ดี เมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2566 ขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.8 ทั้งนี้ รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 1.9 สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.99 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 15 ไตรมาส (ปี 2563 ? 2566)
                    2. แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2566 และ 2567
                    แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในปี 2565 อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.4 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.0 ของ GDP สำหรับปี 2567 คาดว่า GDP จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.7 ? 3.7 โดยมีรายละเอียดประมาณการในด้านต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้


(%YOY)          ข้อมูลจริง          ประมาณการ ณ 20 พฤศจิกายน 2566
          ปี 2564          ปี 2565          ปี 2566          ปี 2567
(1) GDP          1.5          2.6          2.5          2.7 ? 3.7
(2) การบริโภคภาคเอกชน          0.6          6.3          7.0          3.2
(3) การบริโภคภาครัฐบาล          3.7          0.2          - 4.2          2.2
(4) การลงทุนภาคเอกชน          3.0          5.1          2.0          2.8
(5) การลงทุนภาครัฐ          3.4          - 4.9          - 0.8          -1.8
(6) มูลค่าการส่งออก (เงิน USD)          19.2          5.4          - 2.0          3.8
(7) เงินเฟ้อ (%)          1.2          6.1          1.4          1.7 ? 2.7
(8) ดุลบัญชีเดินสะพัด (%GDP)          - 2.0          - 3.2          1.0          1.5
ทั้งนี้ มีปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการประมาณการเศรษฐกิจในปี 2567 เช่น (1) การกลับมาขยายตัวของการส่งออก  โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออกสินค้าของไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้นทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม โดยกลุ่มสินค้าส่งออกที่ขยายตัวได้ดี เช่น ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์นั่ง รถกระบะ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม ข้าว และผลไม้ (2) การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการลงทุนภาคเอกชนตามปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ เช่น การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รวมถึงอุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร และการขยายตัวของพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมซึ่งสะท้อนจากยอดขายหรือเช่าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) (3) การขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากการปรับตัวดีขึ้นของตลาดแรงงานซึ่งเห็นได้จากการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนตุลาคม 2566 อยู่ที่ระดับ 60.2 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 44 เดือนและ (4) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเพิ่มสูงขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุน เช่น มาตรการยกเว้นการตรวจลงตราให้แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและมาตการส่งเสริมการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่เน้นส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง
                     3. การบริหารเศรษฐกิจมหภาคในปี 2567
               แนวทางบริหารจัดการเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2566 และปี 2567 ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่
                    3.1 การดำเนินนโยบายการเงินการคลังอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ เช่น เพิ่มพื้นที่ในการดำเนินนโยบาย (Policy space) ให้มีความเพียงพอเพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระยะต่อไปและจัดลำดับความสำคัญในการใช้จ่ายภาครัฐควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้
                       3.2 การเตรียมมาตการเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น เตรียมมาตรการรองรับผลกระทบจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางในปัจจุบันที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ ทั้งด้านแรงงาน ความผันผวนของราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์และต้นทุนภาคเกษตร
                              3.3 การขับเคลื่อนภาคการส่งออกสินค้า เช่น เร่งรัดการส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวดีและการสร้างตลาดใหม่ ใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก
                    3.4 การสร้างความเชื่อมั่นและสนับสนุนการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน เช่น ส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกผ่านยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน 5 ปี (2566 ? 2570) ส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมทั้งการขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในแต่ละภูมิภาค
                              3.5 การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง เช่น จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างการรับรู้ต่อมาตรการ Long ? term resident visa (LTR) เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ และส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศไทยโดยเฉพาะในจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง
                     3.6 การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร เช่น ป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง เพิ่มส่วนแบ่งให้เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตขั้นสุดท้าย และส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและใช้ปุ๋ยและวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศ
                                3.7 การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ เช่นเร่งรัดเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายเหลื่อมปีและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจในช่วงที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ยังไม่มีผลบังคับใช้ และติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ
* YOY (Year on Year) เป็นการเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น เปรียบเทียบระหว่างไตรมาสแรกของปี 2564 กับปี 2565 หรือการเปรียบเทียบรายได้ทั้งปีระหว่างปี 2564 และปี 2565




13.  เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ อนุมัติ และรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบมาตรการ จำนวน 3 มาตรการ1 ดังนี้
                              1.1 มาตรการช่วยเหลือพักหนี้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม [Small and Medium Enterprises (SMEs)] ที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) (มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEsฯ)
                              1.2 มาตรการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือและรองรับลูกหนี้นอกระบบ (มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบฯ)
                              1.3 มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 (มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยฯ) ตามโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 (โครงการสินเชื่อฯ)
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    2. อนุมัติวงเงินงบประมาณ จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี จำนวน 2 มาตรการ (ตามข้อ 1.1 และ 1.2) รวมทั้งสิ้น 4,900 ล้านบาท และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้
มาตรการ          หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ          วงเงินงบประมาณ (ล้านบาท)          แหล่งเงิน
(1) มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEsฯ          สถาบันการเงินเฉพาะกิจ 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)          400          ใช้งบประมาณตามมาตรา 282 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ได้รับมอบหมายทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ (สงป.) ต่อไป
(2) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบฯ          ธ.ก.ส. และธนาคารออมสิน          4,500
รวม          4,900
                    3. รับทราบมาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้ ดังนี้
                              3.1 มาตรการแก้ไขหนี้ในระบบ
                                        (1) กลุ่มที่มีรายได้ประจำ แต่มีภาระหนี้จำนวนมากจนเกินศักยภาพในการชำระคืนหนี้ เช่น ข้าราชการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำรวจ ทหาร เป็นต้น
                                        (2) กลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอนทำให้การชำระคืนหนี้ไม่ต่อเนื่อง
                                        (3) กลุ่มที่เป็นหนี้เสียคงค้างกับสถาบันการเงินมาเป็นระยะเวลานาน
                              3.2 มาตรการแก้ไขหนี้นอกระบบ ประกอบด้วย (1) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบที่ดำเนินการโดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และ (2) มาตรการสนับสนุนให้เจ้าหนี้นอกระบบขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์)
                              3.3 การปรับโครงสร้างระบบกรให้สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อ


                    สาระสำคัญ
                    กค. เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ จำนวน 3 แนวทาง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. แนวทางการแก้ไขหนี้ในระบบ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม รวม 9 มาตรการ/โครงการ ดังนี้
                              (1) กลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 ทำให้ไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้
มาตรการ/โครงการ          สาระสำคัญ
(1.1) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยฯ ตามโครงการสินเชื่อฯ (เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ)          หัวข้อ          รายละเอียด
เรื่องเดิม          คณะรัฐมนตรีมีมติ (24 มีนาคม 2563) เห็นชอบโครงการสินเชื่อฯ ภายใต้มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากโรคโควิด 19 ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2 และกำหนดให้ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. ได้รับงบประมาณชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากลูกหนี้สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ [Non - Performing Loans (NPLs)]3 รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 20,000 ล้านบาท (แห่งละไม่เกิน 10,000 ล้านบาท) ต่อมามีลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 เช่น ลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดีแต่ขาดสภาพคล่อง และลูกหนี้ที่เป็นหนี้ครั้งแรกเพราะต้องการเงินทุนไปหมุนเวียน แต่ลูกหนี้ดังกล่าวไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้จนกลายเป็น NPLs ตามข้อมูลของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด [National Credit Bureau (NCB)] (เครดิตบูโรฯ) ซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลืออาจส่งผลให้ลูกหนี้มีประวัติเป็นลูกหนี้ NPLs อยู่ในเครดิตบูโรฯ นานถึง 8 ปี และไม่สามารถขอสินเชื่อเพิ่มเติมได้หรือมีปัญหาการขอสินเชื่อต่อไป
วิธีดำเนินการ          ให้ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณี [ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้] โดยยังไม่ตัดหนี้สูญออกจากบัญชีและให้นำงบประมาณที่ได้รับชดเชยความเสียหายตามโครงการสินเชื่อฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมาให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้เพื่อไม่ให้เป็น NPLs หรือหมดสิ้นภาระหนี้ที่เกิดจากโครงการสินเชื่อดังกล่าว
กลุ่มเป้าหมาย          ลูกหนี้โครงการสินเชื่อฯ

(1.2) มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEsฯ (เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและขอรับจัดสรรงบประมาณ)          หัวข้อ          รายละเอียด
วัตถุประสงค์          เพื่อลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ SMEs ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. ธอส. ธอท. ธพว. ธสน. และ บสย. ที่ได้รับผลกระทบจากโรควิด 19 และลูกหนี้ NPLs โดยลดภาระการผ่อนชำระหนี้ให้สอดคล้องกับศักยภาพและความสามารถในการชำระหนี้
กลุ่มเป้าหมาย          ลูกหนี้ SMEs บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 10 ล้านบาท และเป็น NPLs ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาโครงการ          1 ปี 6 เดือน (18 เดือน) ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568
วิธีดำเนินการ          สถาบันการเงินเฉพาะกิจปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ SMEs โดยกำหนดเงื่อนไขในการช่วยลดภาระการจ่ายชำระหนี้ของลูกหนี้มากกว่าการขยายระยะเวลาการชำระหนี้เพียงอย่างเดียว (Restructuring) (ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส2. 14/2564 เรื่อง แนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอย่างยั่งยืน) และหากลูกหนี้ SMEs สามารถปฏิบัติ ตามเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวได้อย่างน้อย 3 เดือน ลูกหนี้จะได้รับการพักชำระต้นเงินไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้แทนลูกหนี้ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี โดยชดเชยให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
งบประมาณ          ประมาณการวงเงินชดเชยดอกเบี้ยไม่เกิน 400 ล้านบาท ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะทำความตกลงกับ สงป. เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความเหมาะสมและความจำเป็นต่อไป (ของบประมาณในครั้งนี้)

                              (2) กลุ่มที่มีรายได้ประจำ แต่มีภาระหนี้จำนวนมากจนเกินศักยภาพในการชำระคืนหนี้ เช่น ข้าราชการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำรวจ ทหาร เป็นต้น
มาตรการ/โครงการ          สาระสำคัญ
(2.1) โครงการสินเชื่อสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อแก้ไขหนี้บุคลากรภาครัฐ (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ)          หัวข้อ          รายละเอียด
วัตถุประสงค์          เพื่อรีไฟแนนซ์หนี้รายย่อยจากธนาคารออมสินไปรวมหนี้เป็นหนี้สหกรณ์
วิธีดำเนินการ          ธนาคารออมสินจะสนับสนุนสภาพคล่องให้แก่สหกรณ์เพื่อเสริมสภาพคล่องและนำไปปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยพิเศษกับลูกหนี้ ระยะเวลากู้ไม่เกิน 10 ปี ปลอดชำระเงินต้น 2 ปี โดยคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้
ปีที่          อัตราดอกเบี้ย
1          MLR - ร้อยละ 4.4 ต่อปี
2          MLR - ร้อยละ 4 ต่อปี
3 - 5          MLR - ร้อยละ 3.5 ต่อปี
6 - 10          MLR - ร้อยละ 3.25 ต่อปี
โดยสหกรณ์ออมทรัพย์ของส่วนราชการรายใดที่สนใจให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สามารถติดต่อธนาคารออมสินเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวได้

(2.2) โครงการสินเชื่อสวัสดิการข้าราชการและบุคลากรภาครัฐอัตราดอกเบี้ยพิเศษ (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ)          ธนาคารออมสินกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐดำรงเงินฝากกับธนาคารออมสินตามเงื่อนไขที่กำหนดและให้ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการเปิดบัญชีเงินเดือนกับธนาคารออมสิน โดยข้าราชการและบุคลากรภาครัฐสามารถขอสินเชื่อสวัสดิการอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ได้แก่
- สินเชื่อเคหะสำหรับซื้อหรือต่อเติมซ่อมแซมที่อยู่อาศัย
- สินเชื่อสวัสดิการสำหรับการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคหรือชำระหนี้สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น
- สินเชื่ออเนกประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายและเสริมสภาพคล่องในยามฉุกเฉิน
(2.3) การช่วยเหลือให้มีรายได้คงเหลือเพียงพอดำรงชีพ (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ)          ผลักดันให้ส่วนราชการกำหนดหลักเกณฑ์การตัดเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ของข้าราชการในสังกัดโดยต้องมีเงินเดือนคงเหลือในบัญชีอย่างน้อยร้อยละ 30 เพื่อให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ
                              (3) กลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอนทำให้การชำระคืนหนี้ไม่ต่อเนื่อง
มาตรการ/โครงการ          สาระสำคัญ
(3.1) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เกษตรกร (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ)          คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 เห็นชอบมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้เกษตรกรที่มีต้นเงิน (Principle) รวมเป็นหนี้คงเหลือทุกสัญญารวมกัน ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ไม่เกิน 3 แสนบาท ระยะเวลาพักชำระหนี้ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567 โดยปัจจุบันมีลูกหนี้เกษตรกรแสดงความประสงค์เข้าร่วมมาตรการดังกล่าวจำนวน 1.59 ล้านราย
(3.2) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เช่าซื้อและลูกหนี้เช่าแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ)          กค. ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 พ.ศ. .... โดยให้ ธปท. มีอำนาจในการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว เช่น ให้ผู้ประกอบธุรกิจประกาศข้อมูลในเรื่องอัตราดอกเบี้ย อัตราส่วนลด และค่าบริการต่าง ๆ แจ้งและแสดงวิธีการและรายละเอียดในการคำนวณ อัตราค่าบริการรายปี จัดทำบัญชีเพื่อแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสถาบันวิชาชีพ กำหนดเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น ทั้งนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการตามกระบวนการออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้ต่อไป
(3.3) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ)          กยศ. ได้ดำเนินการข่วยเหลือลูกหนี้ ได้แก่
- ปรับโครงสร้างหนี้หรือแปลงหนี้ใหม่สำหรับหนี้ที่มีคำพิพากษาแล้ว
- กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินเพิ่ม (เบี้ยปรับ) ร้อยละ 1 ต่อปี
- กำหนดลำดับการหักเงินที่รับชำระหนี้ เป็นเงินต้น - ดอกเบี้ย - เบี้ยปรับขยายขอบเขตของเงินกู้ยืม กยศ. โดยเปิดโอกาสให้กู้ยืมเงินสำหรับการพัฒนาทักษะ (Upskill) หรือการปรับทักษะ (Reskill) รวมทั้งการพิจารณาการใช้เงิน กยศ. เพื่อให้ทุนการศึกษาได้
- กำหนดงวดการชำระคืนที่ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยสามารถชำระหนี้แบบรายเดือน รายไตรมาสหรือรายปีได้
ทั้งนี้ ปัจจุบัน กยศ. อยู่ระหว่างคำนวณเงินผ่อนชำระของลูกหนี้ กยศ. ตามหลักเกณฑ์ใหม่ โดยหากลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้มามากกว่าจำนวนที่คำนวณใหม่แล้วถือว่าสามารถปิดบัญชีได้
                              (4) กลุ่มที่เป็นหนี้เสียคงค้างกับสถาบันการเงินมาเป็นระยะเวลานาน
มาตรการ/โครงการ          สาระสำคัญ
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้โดยบริษัทร่วมทุนระหว่างสถาบันการเงินเฉพาะกิจและบริษัทบริหารสินทรัพย์ (บบส.) (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ)          ธปท. ได้หารือร่วมกับ กค. และสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อส่งเสริมการร่วมลงทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและ บบส. ในการจัดตั้ง บบส. ในรูปแบบกิจการร่วมทุน [Joint Venture Asset Management Company (JV AMC)] เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถร่วมลงทุนจัดตั้ง บบส. ได้ และโอนหนี้บางส่วนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจไปยัง JV AMC เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการช่วยเหลือลูกหนี้ โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือตัดหนี้บางส่วนให้กับลูกหนี้ โดยคาดว่าจะสามารถออกประกาศได้ภายในเดือนธันวาคม 2566 ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวและเพิ่มความยืดหยุ่นในการแก้ไขปัญหาให้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและมี บบส. ที่เชี่ยวชาญเรื่องการบริหารจัดการหนี้โดยเฉพาะมาช่วยแก้ไขปัญหาให้กับลูกหนี้
                    2. แนวทางการแก้ไขหนี้นอกระบบ รวม 3 มาตรการ ดังนี้
มาตรการ          สาระสำคัญ
(1) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบฯ (เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและขอรับจัดสรรงบประมาณ)          หัวข้อ          รายละเอียด
วัตถุประสงค์          เพื่อช่วยเหลือและรองรับลูกหนี้นอกระบบที่ผ่านกระบวนการไกล่เกลี่ยหนี้ในโครงการแก้หนี้นอกระบบของรัฐบาล
กลุ่มเป้าหมาย          เป็นผู้ลงทะเบียนในโครงการไกล่เกลี่ยหนี้นอกระบบของรัฐบาล โดยมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- ผู้มีรายได้ประจำหรือผู้ผระกอบอาชีพอิสระ (ขอสินเชื่อผ่านธนาคารออมสิน)
- เกษตรกรหรือบุคคลในครัวเรือนเกษตรกร (ขอสินเชื่อผ่าน ธ.ก.ส.)
วิธีดำเนินการ          ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 15,000 ล้านบาท (แห่งละ 7,500 ล้านบาท) วงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกินรายละ 20,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ร้อยละ 1 ต่อเดือน ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 งวดแรก (ชำระดอกเบี้ยปกติ) หรือเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด ระยะเวลาชำระคืนเงินงวดสูงสุดไม่เกิน 3 ปี
ระยะเวลาการขอสินเชื่อ          ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 หรือจนกว่าจะครบวงเงินตามมาตรการ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน
งบประมาณ          รัฐบาลชดเชยความเสียหายที่เกิดจาก NPLs ร้อยละ 100 สำหรับ NPLs จำนวนไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 4,500 ล้านบาท (15,000 ล้านบาท x ร้อยละ 30 x ร้อยละ 100) (แห่งละ 2,250 ล้านบาท) ทั้งนี้ ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. จะทำความตกลงกับ สงป. เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความเหมาะสมและความจำเป็นต่อไป (ของบประมาณในครั้งนี้)

(2) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบที่ดำเนินการโดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ)          ประกอบด้วย 4 โครงการ ดังนี้
(2.1) โครงการสินเชื่อธนาคารประชาชน โดยธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อเพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบที่เกิดจากการประกอบอาชีพ โดยผู้มีสิทธิยื่นกู้ต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพ มีรายได้ อายุ 20 ปีขึ้นไป และเมื่อรวมระยะเวลาชำระคืนเงินกู้แล้วไม่เกิน 65 ปี วงเงินสินเชื่อรายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Fate) ร้อยละ 0.75 ต่อเตือน ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี หรือ 60 งวด พร้อมผ่อนปรนเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อ และสามารถใช้บุคคลหรือหลักทรัพย์เป็นหลักประกันได้
(2.2) สินเชื่อเพื่อชำระหนี้สินนอกระบบ โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือให้ลูกหนี้นอกระบบ วงเงินสินเชื่อรายละไม่เกิน 200,000 บาท กรณีสงวนรักษาที่ดินวงเงินสินเชื่อรายละไม่เกิน 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น [Minimum Retail Rate (MRR)] (ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 6.975 ต่อปี) ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 12 ปี
(2.3) สินเชื่อกองทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อเพื่อสงวนรักษาที่ดินจากการจำนอง ขายฝาก หรือใช้ที่ดินเป็นประกัน โดยให้วงเงินสูงสุด 2.5 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี หากชำระหนี้ดีอย่างต่อเนื่องในแต่ละปีอัตราดอกเบี้ยจะลดเหลือร้อยละ 4 ร้อยละ 3 และร้อยละ 2 ต่อปี ตามลำดับ ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 20 ปี
(2.4) บริษัท มีที่ มีเงิน จำกัด เกิดจากการร่วมทุนของธนาคารออมสิน เพื่อให้บริการขายฝากหรือให้สินเชื่อจดจำนองที่ดินอย่างเป็นธรรม โดยมีอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ร้อยละ 7.5 ต่อปี และปลอดชำระเงินต้น 12 เดือน
(3) มาตรการสนับสนุนให้เจ้าหนี้นอกระบบขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์)4 (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ)          ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าหนี้นอกระบบสามารถยื่นขอใบอนุญาตสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์กับ กค. เพื่อประกอบธุรกิจตามกฎหมาย โดยเงื่อนไขสำคัญเบื้องต้นสำหรับการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ คือ มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท สามารถปล่อยสินเชื่อให้ลูกหนี้รายละไม่เกิน 50,000 บาท และเรียกเก็บดอกเบี้ยแบบมีหลักประกันได้ไม่เกินร้อยละ 33 ต่อปี และแบบไม่มีหลักประกันได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 36 ต่อปี แบบลดต้น ลดดอก และสำหรับการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกพลัส คือ มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท สามารถปล่อยสินเชื่อให้ลูกหนี้รายละไม่เกิน 100,000 บาท โดยสินเชื่อในส่วนที่เกิน 50,000 บาทขึ้นไป เก็บอัตราดอกเบี้ยสูงสุดได้ไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี แบบลดต้นลดดอก ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ที่เปิดให้บริการในจังหวัดใดสามารถให้บริการปล่อยสินเชื่อได้ภายในจังหวัดที่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น
                    3. การปรับโครงสร้างระบบการให้สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อ รวม 4 เรื่อง ดังนี้
มาตรการ          สาระสำคัญ
(1) การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ)          ธปท. ร่วมกับ กค. อยู่ระหว่างออกหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม เช่น กำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อให้สอดคล้องกับความเสี่ยงของลูกค้าและลักษณะของสินเชื่อ (Risk-based pricing) ต้องไม่นำดอกเบี้ย ค่าบริการ เบี้ยปรับ และค่าใช้จ่ายมารวมกับจำนวนหนี้ที่ค้างชำระเพื่อคิดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับอีก และพิจารณาเงินเหลือสุทธิของลูกค้าให้เพียงพอต่อการดำรงชีพภายหลังจากการหักภาระผ่อนชำระหนี้ทั้งหมดแล้ว และต้องปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้และภาระหนี้ทั้งหมดของลูกหนี้ รวมทั้งปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้กับลูกหนี้เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี เป็นต้น
(2) การยกระดับการค้ำประกันสินเชื่อ (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ)          กค. ร่วมกับ ธปท. อยู่ระหว่างเสนอแนวทางการยกระดับการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ รวมถึงสามารถส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายและผลักดันทิศทางเชิงกลยุทธ์ (Strategic Direction) ของประเทศได้ต่อไป
(3) การขยายขอบเขตข้อมูลเครดิตบูโรฯ (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ)          คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตอยู่ระหว่างพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 โดยมีวัตถุประสงค์ขยายขอบเขตข้อมูลเครดิตบูโรฯ ที่สามารถจัดเก็บได้ เช่น ประวัติชำระค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำ - ค่าไฟ ข้อมูลรายได้ เป็นต้น เพื่อให้สะท้อนความตั้งใจที่จะชำระสินเชื่อ และความสามารถในการชำระสินเชื่อจริงของผู้ใช้ข้อมูลซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปล่อยกู้ และประชาชนมีโอกาสเข้าถึงสินชื่อได้อย่างเป็นธรรมมากขึ้น
(4) ข้อมูลเครดิตบูโรฯ และหลักการบุริมสิทธิ5 ของสหกรณ์ (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ)          เนื่องจากสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนประกอบธุรกิจหลักในการให้สินเชื่อเช่นเดียวกับสถาบันการเงิน แต่สภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจของสหกรณ์มีความได้เปรียบกว่าสถาบันการเงิน เนื่องจากมาตรา 42/1 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้สามารถหักเงินเดือนหรือค่าจ้างเพื่อชำระหนี้แก่สหกรณ์เป็นลำดับแรก อีกทั้งสหกรณ์บางแห่งให้สินเชื่อโดยไมได้พิจารณารายได้คงเหลือเพื่อดำรงชีพทำให้ลูกหนี้สหกรณ์ถูกหักเงินเดือนจนเหลือรายได้เพื่อดำรงชีพไม่เพียงพอและไม่สามารถชำระหนี้กับสถาบันการเงินได้ ประกอบกับปัจจุบันสหกรณ์ส่วนใหญ่ยังไม่มีการรายงานข้อมูลเครดิตบูโรฯ ทำให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อโดยไม่ทราบภาระหนี้ที่แท้จริงของลูกหนี้ ซึ่งเป็นต้นเหตุให้ลูกหนี้มีภาระหนี้เกินความสามารถในการผ่อนชำระกลายเป็นปัญหาหนี้เรื้อรัง และสร้างความเสี่ยงต่อระบบการเงินและเป็นภาระทางเศรษฐกิจในที่สุด ดังนั้น สหกรณ์ที่ประกอบธุรกิจหลักในการให้สินเชื่อควรนำส่งข้อมูลเครดิตบูโรฯ ให้แก่บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ รวมทั้งควรมีการจัดการบุริมสิทธิในการตัดเงินเดือนหรือค่าจ้างเพื่อชำระหนี้ที่เป็นธรรมกับทุกฝ่ายและเหมาะสมกับต้นทุนทางการเงินของผู้ให้สินเชื่อแต่ละราย
1 มาตรการตามข้อ 1.1 และ 1.3 เป็นมาตรการที่คณะทำงานเพื่อกำหนดมาตรการในการพักหนี้เกษตรกรและผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (คณะทำงานฯ) ในคราวการประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 และการประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 [รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) เป็นประธาน] ได้มีมติเห็นชอบให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี
2 ข้อมูล ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2566 ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มียอดคงค้าง จำนวน 1,014,173.95 ล้านบาท ดังนั้น หากมีการอนุมัติมาตรการในครั้งนี้จะส่งผลให้ยอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็น 1,019,073.95 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 31.99 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ซึ่งยังคงไม่เกินอัตราร้อยละ 32 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เรื่อง กำหนดอัตราชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ของหน่วยงานของรัฐในการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 28
3 รัฐชดเชย NPLs ร้อยละ 100 ไม่เกินร้อยละ 50 ของวงเงินสินเชื่อทั้งหมด 40,000 ล้านบาท โดยลูกหนี้ขอสินเชื่อได้รายละไม่เกิน 10,000 บาท
4 สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ คือ ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับของ กค. ที่เปิดให้ประชาชนสามารถดำเนินธุรกิจสินเชื่ออย่างถูกกฎหมายในพื้นที่ที่ผู้ให้กู้กับผู้กู้มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน โดยบริษัทที่ผ่านการอนุญาตจาก กค. จะถือว่าเป็นสถาบันทางการเงินที่สามารถดำเนินธุรกิจสินเชื่อได้อย่างถูกกฎหมาย
5 บุริมสิทธิ คือ สิทธิของเจ้าหนี้ที่มีเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตนจากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่นตามที่กฎหมายกำหนด

14. เรื่อง การจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ และมอบหมายผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแผนงานบูรณาการ และมอบหมายผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้
                      โดยที่การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จะต้องมีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 14 มาตรา 16 มาตรา 31 และมาตรา 32 ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการไว้ ดังนี้                                 (1) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 อนุมัติหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ที่สำนักงบประมาณกำหนดตามนัยมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (2) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 เห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณ และปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ซึ่งกำหนดแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยสำนักงบประมาณจะต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ และมอบหมายผู้มีอำนาจ กำกับแผนงานบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวันอังคารที่ 19 ธันวาคม 2566 นั้น เพื่อดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สำนักงบประมาณขอนำเสนอ ดังนี้
                      1. แผนงานบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                      สำนักงบประมาณกำหนดให้มีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปี ประมาณ                     พ.ศ. 2568 จำนวน 10 แผนงานบูรณาการ เพื่อให้การจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการของหน่วยรับงบประมาณสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ                         ฉบับที่ 13 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยมีกรอบแนวทางในการดำเนินงานที่ชัดเจน
                     2. มอบหมายผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายตามแผนงานบูรณาการจำนวน 10 แผนงาน ดังกล่าว เห็นสมควรมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยให้มีคณะกรรมการ จำนวนทั้งสิ้น 6 คณะ (โดยนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ต่อไป) ดังนี้
                         2.1 องค์ประกอบและหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ประกอบด้วย
                                 2.1.1 องค์ประกอบของคณะกรรมการ ดังนี้
                                (1) ประธานกรรมการ : รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลหน่วยงานเจ้าภาพหรือ                          รองนายกรัฐมนตรีที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
                                 (2) รองประธานกรรมการ : รัฐมนตรีที่กำกับดูแลหน่วยงานเจ้าภาพหรือรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
                                (3) กรรมการ :  (3.1) ปลัดกระทรวงของหน่วยงานเจ้าภาพและหัวหน้าของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                                                    (3.2) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
                                                    (3.3) เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                                                    (3.4) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
                                                   (3.5) เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
                               (4) กรรมการและเลขานุการร่วม :
                                                    (4.1) หัวหน้า/ผู้แทนหน่วยงานเจ้าภาพ
                                                    (4.2) ผู้แทนสำนักงบประมาณ
                                                   (4.3) ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                                                   (4.4) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
                                2.1.2 คณะกรรมการ มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
                                (1) กำหนดหลักเกณฑ์ วัตถุประสงค์ ขอบเขตภารกิจ เป้าหมายร่วมแนวทางการดำเนินงาน ตัวชี้วัด หน่วยรับงบประมาณที่เป็นเจ้าภาพหลักในแต่ละเป้าหมาย และหน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุม ครบถ้วน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว เพื่อให้การจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชนเป็นสำคัญ
                                (2) ประสานหน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องให้จัดทำโครงการ กิจกรรม และงบประมาณรายจ่ายที่จะต้องใช้ในการดำเนินการงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามความจำเป็นและเหมาะสม
                                (3) พิจารณาโครงการ กิจกรรม และงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของแผนงานบูรณาการที่ได้รับมอบหมาย
                                (4) จัดทำข้อเสนอการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ                       พ.ศ. 2568 และแสดงผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณตามกรอบระยะเวลาของการดำเนินการ พร้อมจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณส่งสำนักงบประมาณ
                                โดยให้ประธานกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปี งบประมาณ               พ.ศ. 2568 เป็นผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการ มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
                                (1) บริหาร กำกับ ดูแลการปฏิบัติงาน ติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนงานบูรณาการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง ด้วยความโปร่งใสและถูกต้อง ปราศจากการทุจริต รวมทั้งบูรณาการการทำงานในทุกมิติ ทั้งในระดับพื้นที่และหน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องตามแผนงานบูรณาการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ และเกิดผลสัมฤทธิ์ในการบริหารรายจ่ายบูรณาการ
                                (2) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานในการปฏิบัติงาน เชิญหน่วยรับงบประมาณมาให้ข้อมูลประกอบการพิจารณา ชี้แจงรายละเอียดและข้อคิดเห็นได้ตามความจำเป็น
                                 (3) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
                      2.2 มอบหมายรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการ ดังนี้
                               2.2.1 นายภูมิธรรม เวชยชัย จำนวน 2 แผนงาน คือ
                                          1) แผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
                                          2) แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
                                2.2.2 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน จำนวน 3 แผนงาน คือ
                                          1) แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                                          2) แผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด
                                          3) แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์
                                2.2.3 นายปานปรีย์ พหิทธานุกร จำนวน 2 แผนงาน คือ
                                          1) แผนงานบูรณาการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว
                                         2) แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล
                                2.2.4 นายอนุทิน ชาญวีรกูล จำนวน 1 แผนงาน คือ
                                          1) แผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ
                               2.2.5 พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ จำนวน 1 แผนงาน คือ
                                          1) แผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย
                               2.2.6 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค จำนวน 1 แผนงาน คือ
                                          1) แผนงานบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต
                     โดยให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับแผนงานบูรณาการตามที่ได้รับมอบหมาย มีหน้าที่และอำนาจ บริหาร กำกับ ดูแลการปฏิบัติงาน ติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนงานบูรณาการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง ด้วยความโปร่งใสและถูกต้อง ปราศจากการทุจริต รวมทั้งบูรณาการการทำงานในทุกมิติ ทั้งในระดับพื้นที่และหน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องตามแผนงานบูรณาการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ และเกิดผลสัมฤทธิ์ในการบริหารรายจ่ายบูรณาการ ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 และระเบียบว่าด้วยการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการและงบประมาณรายจ่ายบุคลากรระหว่างหน่วยรับงบประมาณ พ.ศ. 2562 รวมทั้งดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ต่างประเทศ
15.  เรื่อง ร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนระหว่างรัฐบาล                               แห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ ดังนี้
                    1. ร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนระหว่างรัฐบาล                          แห่งราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ลาว) (ร่างความตกลงฯ) ฉบับปี 2566 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของร่างความตกลงฯ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญ ให้ กห. พิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสม
                    2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างความ                ตกลงฯ ฉบับปี 2566 โดยให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ร่วมลงนามในร่างความตกลงฯ
[จะมีการลงนามในร่างความตกลงฯ ฉบับปี 2566 ระหว่างการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) ไทย - ลาว ครั้งที่ 28 ระหว่างวันที่ 21 - 22 ธันวาคม 2566]
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1) คณะรัฐมนตรีมีมติ (30 กันยายน 2558) เห็นชอบร่างความตกลงฯ ฉบับปี 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายร่วมกันอย่างใกล้ชิดในด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนระหว่างสองประเทศ เช่น ความร่วมมือด้านความมั่นคง การป้องกันรักษาชายแดน การรักษาความสงบและความเป็นระเบียบเรียบร้อย การรักษาสิ่งแวดล้อมและการร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันบนพื้นฐานของหลักการของความเสมอภาค การเคารพอธิปไตยของกันและกันมีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยสอดคล้องกับระเบียบและกฎหมายของแต่ละประเทศ และความตกลงฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ลงนามเป็นต้นไป ยกเว้นกรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีความจำเป็นที่จะยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขความตกลงฉบับนี้ ฝ่ายนั้นจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรโดยผ่านช่องทางการทูต ให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน
                    2) กห. รายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (30 กันยายน 2558) เห็นชอบร่างความตกลงฯ ฉบับปี 2558 ซึ่งได้มีการลงนามเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2558 ต่อมาทั้งสองฝ่าย (ไทย ? ลาว) ได้หารือและจัดทำร่างความ            ตกลงฯ ฉบับใหม่ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์และความร่วมมือในปัจจุบัน ซึ่งได้ข้อยุติเรียบร้อยแล้ว โดยจะใช้ร่างความตกลงฯ ฉบับปี 2566 (ฉบับใหม่) แทนฉบับปี 2558 ซึ่งร่างความตกลงฯ ฉบับปี 2566 มีวัตถุประสงค์ สาระสำคัญ และหัวข้อเช่นเดียวกับความตกลงฯ ฉบับปี 2558
                    ทั้งนี้ ร่างความตกลงฯ ฉบับปี 2566 ได้เพิ่มเติมประเด็นเรื่อง การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดตามชายแดนไทย - ลาว โดยมีเจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร (กห.) และหัวหน้ากรมทหารชายแดน กรมใหญ่เสนาธิการ กองทัพประชาชนลาว เป็นประธานร่วม เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือในการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดน รวมทั้งมีการปรับปรุงแก้ไขข้อความในเนื้อหาสาระบางส่วนจากความตกลงฯ ฉบับปี 2558
                    3) ประโยชน์ที่ได้รับ: การจัดทำร่างความตกลงฯ ฉบับปี 2566 จะสนับสนุนการเสริมสร้างความสัมพันธ์และการดำเนินความร่วมมือด้านกิจการชายแดนระหว่างไทยกับลาว เช่น ความร่วมมือด้านความมั่นคง การป้องกันรักษาชายแดน การรักษาความสงบและความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมถึงความร่วมมือในการป้องกันการกระทำอันเป็นอาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ โดยมีกลไกขับเคลื่อนความร่วมมือที่มีความครอบคลุมสามารถรองรับความท้าทายด้านความมั่นคงที่มีร่วมกันในปัจจุบัน

16.  เรื่อง ร่างปฏิญญาเนปยีดอของการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านข้าง ครั้งที่ 4
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบการเปลี่ยนชื่อร่างแถลงข่าวร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง ? ล้านช้าง ครั้งที่ 8 (ร่างแถลงข่าวร่วมฯ) เป็นร่างปฏิญญาเนปยีดอของการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง ? ล้านช้าง ครั้งที่ 4 (ร่างปฏิญญาฯ) และการปรับเปลี่ยนผู้รับรองเอกสารฉบับดังกล่าวจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นนายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 4 โดยไม่กระทบต่อสาระสำคัญของร่างเอกสารดังกล่าวที่คณะรัฐมนตรีได้เคยให้ความเห็นชอบไปแล้วตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (21 พฤศจิกายน 2566) เห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 8 จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างแถลงข่าวร่วมฯ (2) ร่างแผนดำเนินการ 5 ปี กรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง (ค.ศ. 2023 - 2027) และ (3) ร่างข้อริเริ่มร่วมเรื่องการพัฒนาระเบียงนวัตกรรมภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรองร่างแถลงข่าวร่วมฯ ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 8 ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566
                    2. กต. แจ้งว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) ได้เลื่อนการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 8 จากเดิมในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เป็นวันที่ 7 ธันวาคม 2566 และในโอกาสเดียวกันได้เสนอจัดประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 4 ในวันที่ 25 ธันวาคม 2566 หรือในโอกาสแรกผ่านระบบการประชุมทางไกล จีนและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) ในฐานะประธานร่วมจึงเสนอให้นำร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ทั้ง 3 ฉบับ เสนอให้ที่ประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 4 รับรองแทน และขอปรับเปลี่ยนชื่อร่างแถลงข่าวร่วมฯ เป็นร่างปฏิญญาฯ ซึ่งมีสาระสำคัญไม่ต่างจากร่างแถลงข่าว  ร่วมฯ ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 โดยได้มีการปรับถ้อยคำเพิ่มเติมเล็กน้อยเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ เช่น ความร่วมมือด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ การบินพลเรือน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ศาสนา เป็นต้น
                    3. สาระสำคัญของร่างปฏิญญาฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศสมาชิกในการผลักดันความร่วมมือต่าง ๆ เช่น การผลักดันระเบียงพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมความร่วมมือในทางปฏิบัติด้านการบังคับใช้กฎหมาย การเปิดเสรีและการลงทุนในภูมิภาค การแลกเปลี่ยนนโยบายพลังงานใหม่ โครงการความร่วมมือด้านศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิก ความร่วมมือด้านการพัฒนาและใช้ทรัพยากรน้ำ การพัฒนาการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน การส่งเสริมธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคาร์บอนต่ำในภูมิภาคความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและการบินพลเรือน ซึ่งการรับรองปฏิญญาฯ จะแสดงถึงความมุ่งมั่นระดับผู้นำต่อความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมระหว่างอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับจีนได้อย่างรอบด้านและสอดคล้องกับผลประโยชน์ของไทยและตอบโจทย์การพัฒนาบริบทความท้าทายในปัจจุบันของอนุภูมิภาคในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น การฟื้นฟูเศรษฐกิจ ความท้าทาย                 ต่อภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ โดยมีสมาชิกร่วมรับรอง 5 ประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา จีน เมียนมา ราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ทั้งนี้ กต. แจ้งว่าร่างปฏิญญาฯ ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นสนธิสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

แต่งตั้ง
17. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                           (กระทรวงสาธารณสุข)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิในส่วนราชการต่าง ๆ                     รวม 29 ราย ดังนี้
                     1. สำนักงานปลัดกระทรวง                      จำนวน 16 ราย
                      2. กรมการแพทย์                                จำนวน 8 ราย
                     3. กรมควบคุมโรค                               จำนวน 2 ราย
                      4. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์                     จำนวน 1 ราย
                     5. กรมสุขภาพจิต                                จำนวน 1 ราย
                     6. กรมอนามัย                                         จำนวน 1 ราย
                     โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ จำนวน 28 ราย และวันที่มีคำสั่งให้ รักษาการในตำแหน่งที่ได้รับการเสนอแต่งตั้ง จำนวน 1 ราย
                      สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
                     1. นายเกรียงศักดิ์ ปิยกุลมาลา นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์) กลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลขอนแก่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2565
                      2. นายจรัญ จันทมัตตุการ สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์เชี่ยวชาญ) สำนักงานปลัดกระทรวง                 ให้ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2565
                     3. นายพิสิษฐ์ เวชกามา ผู้อำนวยการโรงพยาบาล (นายแพทย์เชี่ยวชาญ) โรงพยาบาลบุณฑริก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ                     (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2565
                      4. นางสาวสมบัติ ชุติมานุกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาล [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง] โรงพยาบาลระยอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2565 (วันที่มีคำสั่งให้รักษาการในตำแหน่ง)
                      5. นายประดิษฐ์ ไชยบุตร นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลราชบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) โรงพยาบาลราชบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2565
                      6. นายชิโนรส ลี้สวัสดิ์ สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์เชี่ยวชาญ) สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2565
                    7. นายพรณรงค์ ศรีม่วง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง] สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ                      (ด้านเวชกรรม) โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2565
                     8. นางสาวหทัยรัตน์ อัจจิมานนท์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2565
                     9. นายชัยวัฒน์ สิงห์หิรัญนุสรณ์ เภสัชกรเชี่ยวชาญ (ด้านเภสัชสาธารณสุข) กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการอาหารและยาทรงคุณวุฒิ (ด้านอาหารและยา) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2565
                     10. นางสาวพินทุสร เหมพิสุทธิ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ (ด้านนโยบายและแผนประกันสุขภาพ) กลุ่มสนับสนุนงานประกันสุขภาพ กองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ (ด้านกำลังคนสาธารณสุข) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2565
                     11. นางสุอร ชัยนันท์สมิตย์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม)  กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม)  โรงพยาบาลขอนแก่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2566
                      12. นายมงคล ภัทรทิวานนท์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลศรีสะเกษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) โรงพยาบาลศรีสะเกษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2566
                     13. นายปรเมษฐ์ กิ่งโก้ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง] สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม) โรงพยาบาลศรีสะเกษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2566
                     14. นายพิพัฒน์ คงทรัพย์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาจักษุวิทยา) กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลพระปกเกล้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาจักษุวิทยา) กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลพระปกเกล้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2566
                     15. นายปรีชา เปรมปรี สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์เชี่ยวชาญ) สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2566
                     16. นางสายสมร สบู่แก้ว ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านทันตกรรม) กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ                         (ด้านทันตกรรม) กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2566
                     กรมการแพทย์
                     17. นายปราโมทย์ ปรปักษ์ขาม นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม)                      สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2565
                     18. นายพรภวิษญ์ ศรีภิรมย์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาออร์โธปิดิกส์) กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ ภารกิจด้านวิชาการและการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ด้านเวชกรรม สาขาออร์โธปิดิกส์) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2565
                     19. นางอดิศร์สุดา เฟื่องฟู นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) กลุ่มงานกุมารเวชศาสตร์ ภารกิจด้านวิชาการและการแพทย์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565
                      20. นางวีรนันท์ วิชาไทย ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านทันตกรรม) สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง ทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านทันตกรรม) สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2566
                     21. นางสาววรางคณา พิชัยวงศ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2566
                      22. นางประภาวรรณ เชาวะวณิช นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาตจวิทยา สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาตจวิทยา สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2566
                     23. นายมนต์ชัย ศิริบำรุงวงศ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2566
                     24. นางพู่กลิ่น ตรีสุโกศล นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาตจวิทยา) สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม) กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2566
                      กรมควบคุมโรค
                      25. นางสาวศิริลักษณ์ ไทยเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงาน [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง] สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช กรมควบคุมโรค ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2565
                     26. นางเบญจมาภรณ์ ภิญโญพรพาณิชย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค ให้ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัย) กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566
                     กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
                     27. นางสุภาพร ภูมิอมร ผู้อำนวยการสถาบัน [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (วิทยาศาสตร์การแพทย์) สูง] สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เทคโนโลยีชีวภาพ) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่วันที่                   9 มีนาคม 2566
                     กรมสุขภาพจิต
                     28. นายบุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาจิตเวช) สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาจิตเวช) สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2566
                     กรมอนามัย
                     29. นายธนชีพ พีระธรณิศร์ นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม)                       กรมอนามัย ให้ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ (ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม) กรมอนามัย ตั้งแต่วันที่      30 สิงหาคม 2565
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

18. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                    (กระทรวงสาธารณสุข)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                      1. นางสาวณิษา ไปรยายุตากุล นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) สถาบันราชประชาสมาสัย                  กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2566
                      2. นายสันทิต บุณยะส่ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง] สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2560
                     3. นางมิ่งขวัญ สุพรรณพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบัน [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง]                  สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม) กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2566
                     4. นายภาคี ทรัพย์พิพัฒน์ สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์เชี่ยวชาญ) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2566
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                         (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นายวิชญ์พิพล ติวะตันสกุล ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการสูง) กองยุทธศาสตร์การพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ                   สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรง     พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

20. เรื่อง รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของรองนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการ
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของรองนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ ดังนี้
                      สาระสำคัญ
                       เนื่องจากได้มีการแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่ ปคร. ของรองนายกรัฐมนตรี ได้แก่ รองนายกรัฐมนตรี           (นายภูมิธรรม เวชยชัย) รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) รองนายกรัฐมนตรี (นายปานปรีย์ พหิทธานุกร) และรองนายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) และมีการเปลี่ยนแปลงผู้ปฏิบัติหน้าที่ ปคร. ของส่วนราชการบางแห่ง ประกอบด้วย กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) สำนักงาน ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รภ.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) เนื่องจาก ปคร. รายเดิมเกษียณอายุราชการหรือโยกย้ายเปลี่ยนตำแหน่ง รวม 18 ราย รวมทั้งส่วนราชการบางแห่งได้ยืนยันรายชื่อ ปคร. รายเดิม 19 ราย ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการได้แจ้ง สลค. เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ รวม 37 ราย ดังนี้
รองนายกรัฐมนตรี/ส่วนราชการ          รายชื่อ ปคร.
1. รองนายกรัฐมนตรี
   (นายภูมิธรรม เวชยชัย)          นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
2. รองนายกรัฐมนตรี
   (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน)          นางสาวอรณี รัตนประเสริฐ
นักทัณฑวิทยาชำนาญการ
3. รองนายกรัฐมนตรี
   (นายปานปรีย์ พหิทธานุกร)          นายศึกษิษฏ์ ศรีจอมขวัญ
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
4. รองนายกรัฐมนตรี
   (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)          นายชื่นชอบ คงอุดม
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
5. กห.           พลเอก ธนะศักดิ์ ชื่นอิ่ม
รองปลัดกระทรวงกลาโหม
6. กต.           นางสาวพินทุ์สุดา ชัยนาม
เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง
7. คค.           นายมนตรี เดชาสกุลสม
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
8. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
          นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์
รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
9. พณ.           นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์
รองปลัดกระทรวงพาณิชย์
10. กระทรวงมหาดไทย          นายสมคิด จันทมฤก
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
11. กระทรวงแรงงาน           นายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์
ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน
12. กระทรวงวัฒนธรรม          นางโชติกา อัครกิจโสภากุล
รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
13. ศธ.           นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี
รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
14. สธ.           นายพงศธร พอกเพิ่มดี
นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านสาธารณสุข)
รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
15. อก.           นายเอกภัทร วังสุวรรณ
รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
16. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี           นายมงคลชัย สมอุดร
รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
17. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี           นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร
18. สลค.           (1) นางอุดมพร เอกเอี่ยม
รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
(2) นางสาวสาวิตรี ชำนาญกิจ
รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
19. สขช.           นายวีรศักดิ์ ทิพย์มณเฑียร
รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
20. สำนักงบประมาณ           นายยุทธนา สาโยชนกร
รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
21. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ           นายฉัตรชัย บางชวด
รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
22. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา           นายกิตติศักดิ์ จุลสำรวล
กรรมการร่างกฎหมายประจำ
(นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ)
23. สำนักงาน ก.พ          นายสุวัฒน์ เอื้อเฟื้อ
รองเลขาธิการ ก.พ.
24. สำนักงาน ก.พ.ร.           นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข
รองเลขาธิการ ก.พ.ร.
25. สกท.           นายนฤชา ฤชุพันธุ์
ที่ปรึกษาด้านการลงทุน
26. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ          นายชยันต์ เมืองสง
รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
27. สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง           นายศุภฤกษ์ ภู่พงศ์ศักดิ์
รองผู้อำนวยการสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง
28. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ          นายประเสริฐ ศิรินภาพร
รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
29. สำนักงาน กปร.           นางพิชญดา หัศภาค
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
30. รภ.           นายศานติ ภักดีคำ
รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา รักษาราชการแทนเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา
31. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน          นายเทพสุ บวรโชติดารา
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
32. สกพอ.           นายธัชพล กาญจนกูล
รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
33. สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ          พลตรี ธีรวุฒิ วิทยากรณ์
รองเลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัย                  ไซเบอร์แห่งชาติ
34. ศรชล.           พลเรือตรี จุมพล นาคบัว
ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
35. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา          นายทศพร แย้มวงษ์
รองเลขาธิการวุฒิสภา
36. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร          ว่าที่ร้อยตำรวจตรี อาพัทธ์ สุขะนันท์
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

21. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 11 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้
                    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภาคราชการ
                    1. นายภาสกร เลาหวณิช
                     2. นายวิสมัญญา ทุลไธสงค์
                     3. นายกฤษฎา พลสิทธิ์
                    4. นายสธนธร ดวงสอดศรี
                    5. นายชาญประเสริฐ พลซา
                    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน
                     6. นายสวาท สุทธิอาคาร
                     7. นายพัฒนา นุศรีอัน
                    8. นายสุรชัย เบ้าจรรยา
                    9. นายเกริกฤทธิ แจ้งพรมมา
                    10. นายอัษฎางค์ สีหาราช
                    11. นายไตรฤกษ์ มือสันทัด
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป

22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                      (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง                            นางครองขนิษฐ รักษ์เจริญ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิสบอน สาธารณรัฐโปรตุเกส ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมยุโรป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่จะว่าง เรื่องจากผู้ดำรงตำแหน่งเดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 อนุมัติแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอแลนด์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

23. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายรัฐบาลในคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 แทนตำแหน่งที่ว่างลง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้ง นางโสภา เกียรตินิรชา เป็นกรรมการผู้แทนฝ่ายรัฐบาลในคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 แทนตำแหน่งที่ว่างลง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป และมีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการที่แทน

24. เรื่อง การสรรหากรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ แทนตำแหน่งที่ว่าง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) เสนอรายชื่อ นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมครบถ้วน และ            ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยความเห็นชอบของรองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ให้เป็นบุคคลที่คณะรัฐมนตรีสรรหาและเสนอรายชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือกโดยคณะกรรมการคัดเลือก แทนตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ท. ที่ว่างลง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ